ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อยากมีกินมีใช้ หน้าใสโกงอายุ.! คาถาพระอรหันต์ (คาถาไม่แก่)  (อ่าน 2641 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28453
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


อยากมีกินมีใช้ หน้าใสโกงอายุ.! ให้ว่าตามนี้..คาถาพระอรหันต์ (คาถาไม่แก่) ตามตำนานเล่าไว้ หญิงกะเหรี่ยงสวดทุกวันจนดูอ่อนกว่าวัยและไม่อดอยาก

มนต์คาถาอาคมนั้นเรียกว่ามีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ไม่ว่าจะเป็นคาถาที่ให้ผลด้านเมตตามหานิยม มหาเสน่ห์ แคล้วคลาด คงกระพัน มหาอุตม์ สวดกำกับด้วยสมาธิเชื่อว่าจะเห็นผลของคาถาได้อย่างน่าอัศจรรย์! โดยหนึ่งในคาถาที่เล่าสืบต่อกันมา เกี่ยวกับอานุภาพที่ให้ผลด้านชะลอความแก่ ทำให้อายุยืน ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และยังทำให้เป็นผู้เจริญด้วยทรัพย์ มีกินมีใช้ นั่นคือ “คาถาพระอรหันต์” หรือเรียกว่า “คาถาไม่แก่”

ที่มาของคาถานี้ มีการอ้างอิงว่าได้มาจากประเทศพม่า โดยท่านเจ้าคุณพระเมธีวรญาณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชโอรสนำมาเผยแผ่ และปรากฏตามเว็บไซต์ต่างๆ หนึ่งในนั้น คือ เว็บไซต์พระนิพพาน ซึ่งโพสต์โดยคุณเตอร์ และระบุท้ายบทความว่า เรียบเรียงมาจากหนังสือของอาจารย์ธวัชชัย พึ่งชัย ผู้เขียนขอสรุปใจความโดยย่อของตำนานคาถาพระอรหันต์ ดังนี้

@@@@@@@

ครั้งหนึ่งเมื่อนานมาแล้วได้มีพระธุดงค์รูปหนึ่งไปปักกลดในรัฐกะเหรี่ยง ใกล้กับหมู่บ้านแห่งหนึ่งเป็นเวลา ๒-๓ วัน ซึ่งในทุกๆเช้าจะมีหญิงชาวกะเหรี่ยงผู้หนึ่งมาใส่บาตร ในวันสุดท้ายก่อนที่ท่านจะเดินทางต่อ เมื่อรับบิณฑบาตรจากโยมผู้นี้แล้ว ท่านก็ถามถึงสารทุกข์สุขดิบทั่วไป และอายุของหญิงผู้นี้ หญิงกะเหรี่ยงได้ตอบว่าตนอยู่สุขสบายดี แต่อายุของตนนั้นไม่ทราบเช่นกันเพราะไม่ได้นับมานานแล้ว ส่วนสามีของตนก็ได้เสียไปแล้วในอายุร้อยกว่าปี เมื่อพระท่านพิจารณาแล้วเห็นว่าโยมผู้นี้น่าจะมีอายุเพียง ๔๐-๕๐ ปีเท่านั้นเอง

ท่านจึงสอบถามว่ามีของดีอะไรทำไมจึงมีอายุยืน โยมผู้นี้ได้ตอบว่า เมื่อครั้งที่ตนแต่งงาน ตนได้นิมนต์พระรูปหนึ่งซึ่งชาวบ้านเชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ มาเป็นประธานในพิธี แล้วท่านก็ให้คาถามาภาวนา ตนจึงเรียกว่าคาถาพระอรหันต์ และได้สวดคาถานี้ทุกๆวัน โดยสวดจำนวนจบเท่ากับอายุของตนเอง จึงทำให้สุขภาพแข็งแรงแม้จะมีอายุมากแล้วก็ตาม ส่วนอาชีพของตน คือ ขายข้าวสาร แต่พอข้าวสารจะตักขายได้แล้วก็กลับเต็มขึ้นมาอีกตลอดเวลา ทำให้เธอมีอยู่มีกิน และใช้ทำบุญมาโดยตลอด เธอเชื่อว่า เป็นเพราะอานิสงส์ของการสวดคาถาพระอรหันต์ จากนั้นเธอจึงได้ถวายพระคาถานี้แก่พระธุดงค์รูปนั้นเพื่อให้ผู้ศรัทธาใช้สวดต่อไป

สามารถอ่านตำนานคาถาพระอรหันต์ฉบับเต็มได้ที่ http://www.pranippan.com/new/board/index.php?showtopic=53&mode=threaded

@@@@@@@

ส่วนสาเหตุที่พระเมธีวรญาณ ท่านได้นำคาถาพระอรหันต์มาเผยแผ่นั้น ท่านได้กล่าวไว้ในตอนท้ายเรื่องว่า

หมายเหตุ : “อาตมาได้พระคาถานี้มาจากประเทศพม่า เมื่อคราวไปอยู่ที่นั่นระหว่าง พ.ศ. ๒๕๐๓ - ๒๕๐๖ เห็นว่าพระคาถานี้มีประวัติดี และตัวพระคาถาก็มีความหมายดี รู้คำแปลแล้วสวดมนต์อยู่เสมอก็เป็นการเจริญกรรมฐานไปในตัวด้วย จึงได้นำมาเผยแพร่ ญาติโยมหลายท่านนำไปใช้ ก็บอกว่าได้ผลดี หากท่านมีศรัทธาก็จงท่องบ่นภาวนาสวดคาถานี้เป็นประจำเถิด”

           พระเมธีวรญาณ



คาถาพระอรหันต์

๑. พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ นามะรูปัง อะนิจจัง ทุกขัง อะนัตตา
ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง นามรูป (ใจ-กาย) ไม่เที่ยงเป็นทุกข์
๒. ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ นามะรูปัง อะนิจจัง ทุกขัง อะนัตตา
ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง นามรูป (ใจ-กาย) ไม่เที่ยงเป็นทุกข์
๓. สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ นามะรูปัง อะนิจจัง ทุกขัง อะนัตตา
ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง นามรูป (ใจ-กาย) ไม่เที่ยงเป็นทุกข์

๔. พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง
นามะรูปัง อะนิจจัง ทุกขัง อะนัตตา
นามรูป (ใจ-กาย) ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวตน

๕. อะนันตัง พะละวัง พุทธัง พระพุทธเจ้ามีพระกำลังหาที่สุดมิได้
อะนันตัง โตจะรัง ธัมมัง พระธรรมคำสอนเป็นอารมณ์หาที่สุดมิได้
อะนันตัง อะริยัง สังฆัง พระสงฆ์สาวกมีจำนวนหาที่สุดมิได้
อะนันตัง อะริยัง สังฆัง พระสงฆ์สาวกมีจำนวนหาที่สุดมิได้
อะนันตัง โพธิมุตตะมังฯ พระโพธิญาณอันสูงสุดก็หาที่สุดมิได้


     (เรียบเรียงจากหนังสือของอาจารย์ธวัชชัย พึ่งชัย)

@@@@@@

หากพิจารณาจากคำแปลของคาถาแล้ว จะเห็นว่าเป็นการสวดเพื่อให้พิจารณาถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตาของกายใจ ซึ่งควรปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่นในใจกาย เนื่องจากรูปนามถือเป็นสิ่งไม่เที่ยง ไม่จีรัง ไม่แน่นอน(อนิจจัง) ด้วยเป็นสภาพที่ทนอยู่ได้ยาก หรือไม่สามารถทนอยู่ในสภาพเดิมได้(ทุกข์) จึงไม่สามารถบังคับบัญชาได้ เพราะไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่ใช่ของเรา ของเขา หรือของใคร (อนัตตา) จึงต้องปล่อยวางและไม่ยึดมั่นถือมั่นในกายในใจ

หากผู้สวดได้สวดทุกวันและพึงพิจารณาน้อมเข้าหาไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้งรูปและนาม ย่อมเกิดการปล่อยวาง ไม่ถือมั่น เมื่อวางได้แล้วใจย่อมเป็นสุขอย่างละเอียด ส่งผลถึงร่างกาย หน้าตา ผิวพรรณให้ผ่องใส เพราะอย่าลืมว่า จิตเป็นนายกายเป็นบ่าว จิตเป็นอย่างไรย่อมส่งผลถึงกายที่เป็นเช่นนั้นนั่นเอง




ขอบคุณข้อมูลจาก: หนังสือของอาจารย์ธวัชชัย พึ่งชัย และคุณเตอร์ โพสต์ในเว็บไซต์พระนิพพาน http://www.pranippan.com/new/board/index.php?showtopic=53&mode=threaded
เครดิตภาพ : Napapawn
เรียบเรียงโดย นภาพร เครือชัยสุ
http://www.tnews.co.th/contents/428876
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 17, 2018, 06:49:14 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ