ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: จุดเริ่มลัทธิวัตถุนิยม : เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น  (อ่าน 1555 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0





จุดเริ่มลัทธิวัตถุนิยม : เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น

รูปแบบการสอนธรรมะของท่านอาจารย์พุทธทาส ต้นเหตุของความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง มาจากการยึด “ตัวกู ของกู” กระบวนการแยกย่อย เพื่อสลาย “ตัวกู ของกู” ของท่าน ค่อยๆเป็นค่อยๆไป

     อย่างง่าย ท่านใช้คำ “อิทัปปัจจยตา” ที่มีความหมาย “เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
     อย่างยาก ท่านอธิบาย ครบทั้งวงจร ที่เรียกว่าปฏิจจสมุปบาท เรียกอีกอย่าง ปัจยาการ ซึ่งแปลว่า อาการที่เป็นปัจจัยกันและกัน เริ่มจากห่วงโซ่ ชื่อ อวิชชา คล้องต่อๆไป จนถึงห่วงโซ่ข้อ...ทุกข์...ข้อสุดท้ายนับจากอวิชชาไปถึงชรามรณะ รวม 12 ข้อ ถ้ารวมข้อ “ทุกข์” ก็จะเป็น 13 ข้อ

     คำสอนที่ไปถึงจุดสุดท้าย...เหมือนกัน ตามแบบของพระฝรั่ง ปริญญาตรีจากเคมบริดจ์ ศิษย์หลวงปู่ชา วัดหนองป่าพง คือ พระอาจารย์พรหม แปลก แตกต่าง แต่ฟังง่ายกว่า ผมอ่านจากหนังสือ “ชวนม่วนชื่น 2” เรื่องที่ 42


 ans1 ans1 ans1 ans1

ภิกษุณีรูปหนึ่งใช้ชีวิตเรียบง่ายอยู่ในถ้ำ ทุกเช้าท่านถือบาตรไปขออาหารในปริมาณหนึ่งมื้อจากชาวบ้าน ฉันแล้วท่านเหลือเวลาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน และศึกษาพระธรรม สอนตอบแทนชาวบ้าน

เช้าวันนั้น ท่านกลับจากบิณฑบาต สังเกตว่าจีวรของท่านถูกหนูกัดขาดเป็นรู ท่านก็หาผ้าผืนเล็กๆมาเย็บปะเข้าไป ขณะเย็บผ้าท่านคิดว่า หนูกัดจีวรเรื่อยๆ ถ้าท่านมีแมวสักตัวก็คงจะดี

เช้าวันต่อมา ภิกษุณีก็ไปขอแมวจากชาวบ้าน ได้แมวสีน้ำตาลท่าทางเรียบร้อยมาตัวหนึ่ง ได้แมวมา หนูก็ไม่กล้ามารบกวน แต่ทุกวัน เจ้าแมวต้องกินนมและปลา

 :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144:

ดังนั้นทุกเช้าตอนบิณฑบาต ท่านก็ต้องขอนมขอปลาเพิ่มจากชาวบ้าน ระหว่างให้นมแมว...ภิกษุณีได้ความคิดใหม่ ถ้ามีวัวสักตัว ก็คงไม่ต้องไปขอนมจากชาวบ้านทุกวัน ท่านก็ขอบริจาควัว ได้วัวมาตัวหนึ่ง วัวให้นมแมว...ได้ แต่วัวก็ต้องกินหญ้า

ท่านก็ต้องขอบริจาคหญ้า ชาวบ้านก็มีศรัทธา แม้ยากจนต้องดิ้นรนหากิน แต่ก็เจียดเวลาไปเกี่ยวหญ้ามาให้ ถึงตอนนั้น ภิกษุณีเริ่มสังเกตเห็นแววตาไม่เต็มใจจากชาวบ้านบางคน ท่านจึงคิดต่อไป ถ้ามีที่ดินปลูกหญ้าให้วัวกินทุกวัน ท่านก็คงไม่ต้องไปรบกวนชาวบ้านทุกวัน

ได้ทุ่งหญ้ามาแล้ว งานประจำวันของท่านก็เพิ่ม ต้องวุ่นวายกับการต้อนวัวไปกินหญ้า ใช้เวลากับการรีดนมวัวให้แมวกิน เวลาที่เคยนั่งวิปัสสนา เตรียมธรรมะสอนตอบแทนชาวบ้านก็น้อยลง

คิดดังนี้ ท่านก็ไปหารือชาวบ้าน ชาวบ้านก็เลือกเด็กชายจากครอบครัวยากจน ที่มีใจใฝ่ธรรมะมาช่วยท่าน เกี่ยวหญ้าเลี้ยงวัว รีดนมวัว แต่เด็กหนุ่มคนนี้จะพักนอนในถ้ำกับภิกษุณี คงไม่ควร ท่านจึงขอให้ช่วยกันสร้างกระท่อมเล็กๆให้เด็กอยู่ เด็กหนุ่มก็ให้บังเอิญกินจุ ท่านต้องบิณฑบาตเพิ่ม


 :91: :91: :91: :91: :91:

ถึงตอนนั้น ท่าทีของชาวบ้านเปลี่ยนไปมาก เวลาท่านไปถึง บางบ้าน เจ้าของก็รีบปิดประตูใส่กลอน หนีไปซ่อนตัว เวลาชาวบ้านมีปัญหามาถาม ท่านก็ไม่ค่อยมีเวลา “ขอโทษนะ” ท่านว่า “ฉันต้องไปคุมงานสร้างกระท่อม”

ถ้ามีเวลาท่านก็อธิบายขอความเห็นใจ กระท่อมทำให้เด็กหนุ่มนอน เด็กหนุ่มจะมาช่วยเลี้ยงวัวที่ให้นมแก่แมว แมวตัวที่ไล่หนู หนูที่กัดจีวรท่านขาดเป็นประจำ บอกชาวบ้านไป ภิกษุณีก็เริ่มเข้าใจ ความวุ่นวายในชีวิตท่านเกิดขึ้นมาจากสิ่งเหล่านี้ สิ่งที่บางลัทธิเรียกว่า วัตถุนิยม

คิดได้ ท่านก็สั่งให้เลิกปลูกกระท่อม คืนเด็กหนุ่มให้พ่อแม่ ยกที่ดิน วัว และแมว...ให้ชาวบ้าน เมื่อ “ปล่อยวาง” ข้าวของเหล่านั้นไปหมดแล้ว ภิกษุณีก็กลับไปสู่วิถีชีวิตแบบเดิม

เช้าวันต่อมากลับจากบิณฑบาต ฉันอาหารแล้ว ท่านก็เห็นรูจีวรที่หนูกัดขาด ก็หาผ้าชิ้นเล็กมานั่งปะ ขณะปะผ้าท่านรู้สึกตัวเองว่าความสุขที่หายไปได้คืนมาแล้ว

 :96: :96: :96: :96: :96:

พระอาจารย์พรหม เล่านิทานจบ ท่านตั้งชื่อว่า ต้นกำเนิดของลัทธิวัตถุนิยม พูดแบบพระไทย ก็ต้นเหตุแห่งทุกข์ละกระมัง ผมอ่านแล้วมีความสุขไปกับภิกษุณี อิจฉาด้วยซ้ำ ความสุขของท่านเกิดจากสิ่งที่ไม่มี...แล้วก็พลอยสงสารพระสมภารบางรูป ทุกข์หนักหนาสาหัสในวันนี้ เพราะความมี และมีมากเกินไปนี่เอง.

กิเลน ประลองเชิง



คอลัมน์ ชักธงรบ โดย กิเลน ประลองเชิง 27 พ.ค. 2559 05:01
http://www.thairath.co.th/content/626025
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PISSAMAI

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 84
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า