ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ที่มา : บทสวด "มหากรุณาธารณีสูตร" ความเป็นมาแห่ง 'มหามนตรา'  (อ่าน 227 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
.



บทสวดเจ้าแม่กวนอิม ที่มาบทสวด "มหากรุณาธารณีสูตร" ความเป็นมาแห่ง "มหามนตรา"| สวดมนตร์นี้คืนละ ๗ จบ ก็จะดับมหันตโทษจำนวนร้อยพันหมื่นล้านกัลป์ได้

"มหากรุณาธารณี" เป็นบทสวดสำคัญในพระพุทธศาสนานิกายมหายาน เป็นธารณีประจำองค์พระอวโลกิเตศวร ปางพันหัตถ์พันเนตร มีต้นกำเนิดจากพระสูตรมหายานภาษาสันสกฤตของอินเดีย พระภควธรรมเถระชาวอินเดียนำเข้าไปแปลในประเทศจีน สมัยราชวงศ์ถัง และมีฉบับแปลเป็นภาษาทิเบตด้วย

"มหากรุณาธารณี" เป็นมนตร์อันเกิดจากความเมตตากรุณาอันยิ่งใหญ่ของพระอวโลกิเตศวรที่มีต่อสรรพสัตว์ที่ตกทุกข์ในโลก ในคัมภีร์กล่าวว่า ธารณีนี้มีชื่อต่างๆ กัน เช่น มหาไวปุลยสัมปุรณธารณี, อกิญจนมหากรุณาธารณี, อายุวัฒนธารณี, วิกรมอุตตรภูมิธารณี, มโนมัยอิศวรธารณี เป็นต้น อักษรหนึ่งตัวและประโยคหนึ่งในบทธารณีมนตร์นี้ ล้วนขยายเป็นอรรถธรรม อันจะนำเข้าถึงพระสัมมาสัมโพธิญาณ

 
@@@@@@@

ประวัติ
 
ในประเทศไทยธารณีสูตรฉบับนี้ได้แปลโดยหลวงจีนคณาจีนพรต (เย็นบุญ) เจ้าอาวาสวัดทิพย์วารีวิหาร แขวงบ้านหม้อ เขตพระนคร กรุงเทพ , ในคัมภีร์สันสกฤตของมหายาน คือ คัมภีร์ “สหัสภุชสหัสเนตรอวโลกิเตศวรโพธิสัตวไวปุลยสัมปุรณอกิญจนมหากรุณาจิตธารณีสูตรมหากรุณามนตระ” นำเข้าไปแปลในจีนโดยพระภควธรรม ชาวอินเดีย ในสมัยราชวงศ์ถัง ได้กล่าวถึงบทสวดธารณีแห่งพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร คือ มหากรุณาหฤทัยธารณี อันจะยังอานิสงส์ความศักดิ์สิทธิ์ให้บังเกิดขึ้นแก่ผู้สวดนานัปการ
 
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พันหัสต์พันเนตร รูปเคารพของพระอวโลกิเตศวรมีอยู่หลายปาง ทั้งภาคบุรุษ ภาคสตรี ไปจนถึงปางอันแสดงลักษณาการที่ดุร้าย ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการปราบมาร คือ สรรพกิเลส แต่ปางที่สำคัญปางหนึ่งคือ ปางที่ทรงสำแดงพระวรกายเป็นพันหัสถ์พันเนตร

ซึ่งมีเรื่องราวปรากฏใน "พระสูตรสันสกฤต" คือ "สหัสภุชสหัสเนตรอวโลกิเตศวรโพธิสัตวไวปุลยสัมปุรณอกิญจนมหากรุณาจิตรธารณีสูตรมหากรุณามนตร์" หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "มหากรุณาธารณีสูตร" (大悲咒) นำเข้าไปแปลในจีน โดยพระภควธรรม ชาวอินเดีย ในสมัยราชวงศ์ถัง ได้กล่าวถึง บทสวดธารณีแห่งพระโพธิสัตว์พระองค์นี้ คือ “มหากรุณาหฤทัยธารณี”

@@@@@@@

เนื้อหากล่าวถึง เมื่อครั้งที่พระศากยมุนีสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โปตาลกะบรรพต ในกาลนั้น พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ได้ขอพุทธานุญาตแสดงธารณีมนตร์อันศักดิ์สิทธิ์ไว้ เพื่อเป็นที่พึ่งแก่สรรพสัตว์ ซึ่งธารณีนี้ย้อนไปในครั้งกาลสมัยของพระพุทธเจ้านามว่า "พระสหัสประภาศานติสถิตยตถาคต" พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นได้ตรัสธารณีนี้ แก่พระอวโลกิเตศวร และตรัสว่า

    “สาธุ บุรุษ เมื่อเธอได้หฤทัยธารณีนี้ จงสร้างประโยชน์สุขสำราญแก่สัตว์ทั้งหลายในกษายกัลป์แห่งอนาคตกาลโดยทั่วถึง”

ตามเนื้อความของพระสูตรได้กล่าวว่า ในขณะนั้น เมื่อพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ได้สดับมนตร์นี้แล้ว ก็ได้บรรลุถึงภูมิที่ ๘ แห่งพระโพธิสัตว์เจ้า จึงได้ตั้งปณิธานว่า

    “ในอนาคตกาล หากข้าพเจ้าสามารถยังประโยชน์สุขแก่สรรพสัตว์ได้ ขอให้ข้าพเจ้ามีพันเนตรพันหัตถ์ในบัดดล”

เมื่อท่านตั้งปณิธานดังนี้แล้ว พลันก็บังเกิดมีพันหัสถ์พันเนตรขึ้นทันที และเพลานั้นพื้นมหาพสุธาดลทั่วทศทิศก็ไหวสะเทือนเลื่อนลั่น พระพุทธเจ้าทั้งปวงในทศทิศก็เปล่งแสงโอภาสเรืองรองมาต้องวรกายแห่งพระโพธิสัตว์ และฉายรัศมีไปยังโลกธาตุต่าง ๆ อย่างปราศจากขอบเขต

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสแก่พระอานนท์ว่า เนื่องจากปณิธานอันยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ หากเหล่ามนุษย์และทวยเทพ ตั้งจิตสวดมหากรุณาธารณี มนตร์นี้คืนละ ๗ จบ ก็จะดับมหันตโทษจำนวนร้อยพันหมื่นล้านกัลป์ได้ หากเหล่ามนุษย์ทวยเทพสวดคาถามหากรุณาธารณีนี้ เมื่อใกล้ชีวิตดับ พระพุทธเจ้าทั้ง ๑๐ ทิศจะยื่นพระกรมารับให้ไปอุบัติในพุทธเกษตรทุกแห่ง
 
@@@@@@@

จากเรื่องราวในพระสูตรนี้ทำให้เกิดการสร้างรูปพระโพธิสัตว์พันหัสถ์พันเนตร อันแสดงถึงการทอดทัศนาเล็งเห็นทั่วโลกธาตุและพันหัสต์ แสดงถึงอำนาจในการช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ บทสวดในพระสูตรนี้เป็นภาษาสันสกฤตผสมภาษาท้องถิ่นโบราณในอินเดีย ที่หลงเหลือมาในปัจจุบันมีหลายฉบับที่ไม่ตรงกัน ทั้งในฉบับทิเบต ฉบับจีนซึ่งมีทั้งของพระภควธรรม พระอโมฆวัชระ ฯลฯ

ต่อมาได้มีการค้นคว้าและปรับปรุงให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์โดย Dr.Lokesh Chandra และตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อ ค.ศ.1988 เป็นบทสวดสำคัญประจำองค์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ที่พุทธศาสนิกชนมหายานสวดกันอยู่โดยทั่วไป
 
บทสวดนี้เป็นที่นับถือและสวดบูชาพระอวโลกิเตศวรกันอยู่ทั่วไป ในหมู่พุทธศาสนิกชน ตั้งแต่อินเดียเหนือ เนปาล ทิเบต ไปจนถึงจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี มหากรุณาธารณีนี้เป็นบทสวดของพระอวโลกิเตศวรปางพันหัตถ์พันเนตร ในคัมภีร์ระบุว่า ผู้ที่เลื่อมใสถวายสักการะต่อพระอวโลกิเตศวรอยู่เป็นเนืองนิตย์ ตั้งใจสวดสรรเสริญพระนาม ย่อมจะถึงพร้อมในกุศลทั้งปวง สามารถยังวิบากกรรมอันมิมีประมาณให้สิ้นสูญ ครั้นเมื่อวายชนม์จะไปอุบัติ ณ สุขาวดีโลกธาตุแห่งองค์พระอมิตาภพุทธเจ้า

 


คาถาสวดบูชาเจ้าแม่กวนอิม
 
บทสรรเสริญพระคุณ นะโมกวงซิอิม ผ่อสัก
 
    นำโมไต๋ชื้อ ไต๋ปุย กิวโคว่ กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ
    กวงสี่อิมผู่สัก (กราบ)
    นำโมไต๋ชื้อ ไต๋ปุย กิวโคว่ กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ
    กวงสี่อิมผู่สัก (กราบ)
    นำโมไต๋ชื้อ ไต๋ปุย กิวโคว่ กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ
    กวงสี่อิมผู่สัก (กราบ)

นำโมฮูก นำโมหวบ นำโมเจ็ง นำโมกิวโคว่ กิวหลั่ง กวงสี่อิมผู่สัก ทั่งจี้โต
โอม เกียล้อฮวดโต เกียล้อฮวดโต เกียล้อฮวดโต ล้อเกียฮวดโต ล้อเกียฮวดโต
ซาผ่อออ เทียงล้อซิ้ง ตี่ล้อซิ้ง นั้งลี่หลั่ง หลั่งลี่ซิ้ง เจ็กเฉียก ใจเอียง ห่วยอุ่ยติ๊ง
นำโมม่อออป่อเยี๊ยปอล้อบิ๊ก (กราบ)

บทสวดมนต์ฮ่งไป่กวงอิม(สรรเสริญกิตติคุณพระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิม)

    ม้อเอี่ยซาผ่อออ จี้ซิมกุยเหม่งลี่
    กวงอิมผ่อสักไต่ฉื่อปุย กิ่วโต่วจงเซ็งบ่อจิงตี้
    จ๋อชิ่วจิบปั๊งกำโหล่วจุ้ย อิ๋วชิ่วจิบกีเอี่ยงลิวกี
    เท้าเจี่ยเต็งจุงอยู่ไหล่ฮุก เข้าตังเสี่ยเหนี่ยมออหนี่ท้อ

    อู่นั้งเหนียมติกกวงอิมจิ่ว ฮวยแคฮ่วยจ่อแปะโหน่ยตี๊
    เจียวเหนี่ยมกวงซี่อิม หมอเหนียมกวงซี่อิม
    จี่เต็กลิ้มตังกวงซี่อิม แปะโหน้ยตี๊ตังกวงซี่อิม
    ฉิ่มเซียกิ้วโค่วกวงซี่อิม แปะโชยบ่วงเอ็กกวงซี่อิม

    หกต่อฮุ้งตังคงลี่หิ่ง หกต่อกังโอ้วหลั่งหลีชิ้ม
    หกต่อเอี้ยงกังกิ้วจิกโค่ว หกต่ออิมฮู่โต่วจงเซ็ง
    หยิกยิกสี่ซี้ไหล่กิ้วโค่ว สี่ซี้กิ้วโค่วปุกหลี่ซิง
    ง้อกิมกี๋ซิ่วไป้กวงอิม หยุ่ยหงวงกวงอิมกั้งไหล่ลิ้ม

    ไต่ฉื่อปุยกิ้วโค่วหลั่ง นำมอเหล่งก้ำกวงซี่อิม
    ผ่อสักหม่อฮอสัก นำมอออนี้ถ่อหุก
    นำมอออนี้ถ่อหุก นำมอออนี้ถ่อหุก

คำแปล

ขอนมัสการพระรัตนตรัยด้วยจิตตั้งมั่นในหลักของศาสนาที่จะเข้าถึงธรรมะ ขอน้อมระลึกถึงพระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิมผู้ทรงมีมหาเมตตาเป็นอนันต์ที่ทรงช่วยเหลือสัตว์โลกให้พ้นจากวัฏฏะโดยไม่มีขอบข่าย พระหัตถ์ซ้ายของพระองค์ทรงถือแจกันน้ำอมฤตที่สามารถปราบมารได้ และพระหัตถ์ขวาทรงถือกิ่งหลิวอันศักดิ์สิทธิ์ไว้ สำหรับประพรมน้ำอมฤต บนเศียรทรงสวมรัตนมาลาที่มีสัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้า

พระองค์ทรงหมั่นสวดมนต์ภาวนาระลึกถึงพระพุทธเจ้าอมิตาภะอยู่เสมอ ผู้ใดหมั่นภาวนาพระคาถาบูชาพระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิมจนขึ้นใจย่อมที่จะพ้นจากทุกข์ร้อน และได้รับความร่มเย็นเหมือนดั่งความเย็นชื่นแห่งสระบัวขาว

ขอน้อมจิตระลึกถึงพระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิมเสมอทั้งเวลาเช้าและเย็น ขอน้อมจิตระลึกถึงพระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิมที่ทรงเร้นพระวรกายอยู่ในป่าไผ่ ขอน้อมจิตระลึกถึงพระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิมที่ทรงประทับอยู่บนดอกบัวขาวในโบกขรณี ขอน้อมจิตระลึกถึงพระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิมที่ทรงบำบัดทุกข์ตามเสียงพร่ำเรียกของสัตว์โลก

ขอน้อมจิตระลึกถึงพระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิมที่ทรงอยู่ห่างเราเป็นหมื่นเป็นแสนโยชน์บางครั้งพระองค์จะทรงปรากฏพระวรกายอยู่บนปุยเมฆเพื่อช่วยเหลือเรา บางครั้งพระองค์จะทรงดั้นด้นในท่ามกลางคลื่นลมของแม่น้ำและมหาสมุทร เพื่อทรงค้นหาและช่วยเหลือเรา บางครั้งพระองค์จะทรงบำบัดทุกข์ให้สัตว์โลกในมนุษยโลก บางครั้งพระองค์จะทรงช่วยเหลือสัตว์ในนรกโลกทุกๆวันทุกๆเวลา

ขออ้อนวอนพระองค์ให้เสด็จมาทรงช่วยปลดเปลื้องทุกข์ให้แก่เราทุกๆเวลา ขอให้พระองค์เสด็จมาอยู่ใกล้ๆเราเพื่อทรงขจัดทุกข์ ในวโรกาสนี้ข้าน้อยขอสักการบูชาพระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิมด้วยความเคารพยิ่ง และหวังว่ากระแสแห่งการสักการบูชานี้ คงจะกระทบถึงพระองค์ให้ทรงรับทราบและเสด็จมาโปรดข้าน้อยทั้งหลายบ้าง ขอน้อมสักการในน้ำพระทัยอันล้ำลึกของพระองค์ผู้ทรงเป็นพระมหาโพธิสัตว์ซึ่งขจัดทุกข์ให้แก่สัตว์โลกได้นะโมอนันตพุทธะ

 


บทสวดมหากรุณาธารณีสูตร

โชยชิ่ว โชยงั่ง บ่อไหง๋ ไต่ปุยซิมทอลอ นีจิ่ว (๓ จบ)
ปึงซือออนีทอ ยูไล้ (๓ จบ)

    - นำมอ ฮอลาตัน นอตอลา เหย่ เย
    - นำมอ ออลีเย ผ่อลูกิดตีซอปอลาเย
    - ผู่ทีสัตตอพอเย หม่อฮอสัตตอพอเย
    - หม่อ ฮอเกียลูนี เกียเยงัน สัตพันลาฮัวอี

    - ซูตัน นอตันเซ
    - นำมอ สิดกิด ลีตออีหม่งออลีเย
    - ผ่อลูกิด ตีสิด ฮูลาเลงถ่อพอ
    - นำมอ นอลา กินซี

    - ซีลี หม่อฮอพันตอซาเม
    - สะพอ ออทอ เตาซีพง
    - ออซีเย็น สะพอ สะตอ นอมอ พอสะตอ
    - นอมอ พอเค มอฮัว เตอเตา

    - ตันจิต ทองัน ออพอ ลูซี
    - ลูเกียตี เกียลอตี อีซีลี
    - หม่อฮอ ผู่ทีสัตตอ สัตพอ สัตพอ
    - มอลา มอลา มอซี มอซี ลีทอยิน

    - กีลูกีลูกิดมง ตูลู ตูลู ฟาเซเยตี
    - หม่อ ฮอฮัว เซเยตี ทอลา ทอลา
    - ตีลีนี สิด ฮูลาเย เจลา เจลา มอมอ ฮัวมอลา หมกตีลี
    - อีซี อีซี สิดนอ สิดนอ ออลาซัน ฮูลาเซลี

    - ฮัวซอ ฮัวซัน ฮูลา เซเย
    - ฮูลู ฮูลู มอลา ฮูลู ฮูลู ซีลี ซอลา ซอลา
    - สิดลี สิดลี ซูลู ซูลู ผู่ถี่เย ผู่ถี่เย ผู่ถ่อเย ผู่ถ่อเย
    - มีตีลีเย นอลา กินซี ตีลีสิด นีนอ

    - ผ่อเย มอนอ ซอผ่อฮอ สิดถ่อเย ซอผ่อฮอ
    - หม่อฮอ สิดถ่อเย ซอผ่อฮอ สิดทอยีอี
    - สิดพันลาเย ซอผ่อฮอ นอลากินซี ซอผ่อฮอ
    - มอลานอลา ซอผ่อฮอ สิดลาเซง ออหมกเคเย

    - ซอผ่อฮอ ซอผ่อหม่อฮอ ออสิดถ่อเย ซอผ่อฮอ
    - เจกิดลา ออสิดถ่อเย ซอผ่อฮอ ปอทอมอกิดสิดถ่อเย
    - ซอผ่อฮอ นอลากินซี พันเคลาเย ซอผ่อฮอ
    - มอพอลี เซงกิดลาเย ซอผ่อฮอ

    - นำมอห่อลาตัน นอตอลาเหย่เย
    - นำมอออลีเย ผ่อลูกิตตี ชอพันลาเย ซอผ่อฮอ
    - งัน สิดตินตู มันตอลา ปัดถ่อเย ซอผ่อฮอ


@@@@@@@

คำแปลและความหมาย โดยย่อ

1. นำมอ ห่อลาตันนอตอลาเหย่เย อ่านว่า นำ มอ ฮอ ลา ตัน นอ ตอ ลา เหย่ เย
   นำ มอ – ความนอบน้อม
   ฮอ ลา ตันนอ – ความเป็นรัตนะ
   ตอ ลา เหย่ – 3
   เย – นมัสการ

ความหมาย : ขอนอบน้อมนมัสการพระไตรรัตน์ทั้งสาม หมายถึง การน้อมเอาพระไตรสรณคมน์, พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก ผู้ต้องการปฏิบัติให้ถึงพระองค์ จะต้องสาธยายมนตราด้วยความมีเมตตากรุณาและเปี่ยมด้วยศรัทธา ไม่ควรสวดด้วยเสียงอันดัง เกรี้ยวกราด และเร่งร้อน

2. นำมอ ออหลี่เย อ่านว่า นำ มอ ออ ลี เย
    นำ มอ – ความนอบน้อม
    ออ ลี – องค์อริยะ
    เย – นมัสการ

ความหมาย :  ขอนอบน้อมนมัสการแด่องค์พระอริยะ ผู้ห่างไกลจากบาปอกุศล , วัตถุประสงค์แห่งบทนี้ พระโพธิสัตว์ทรงสั่งสอนชาวโลกให้ปฏิบัติทางจิตเป็นมูลฐาน พระสัทธรรมทั้งหลายล้วนกำเนิดมาแต่จิต เหตุนี้ผู้ปฏิบัติจะต้องมีความชัดแจ้งแห่งจิต และมองเห็นสภาวะแห่งตน จึงจะสามารถบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ เมื่อไม่แจ้งชัดในจิตก็ไม่สามารถเห็นสภาวะแห่งตน หากแต่จิตเป็นอจล มีความมั่นคง ก็สามารถเดินทางสู่พระนฤพานได้

3. ผ่อลูกิตตี ชอปอลาเย อ่านว่า ผ่อ ลู กิด ตี ซอ ปอ ลา เย
   ผ่อ ลู กิด ตี – การเพ่ง พิจารณา อีกนัยหนึ่งคือความสว่าง
   ซอ ปอ ลา – เสียงของโลกอันเป็นอิสระ
   เย – นอบน้อมนมัสการ

ความหมาย : ขอนอบน้อมคารวะแด่องค์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ผู้เพ่งเสียงแห่งสรรพสัตว์ผู้ยาก , พระโพธิสัตว์ผู้สงสารชีวิตแห่งสรรพสัตว์ผู้ตกอยู่ในกองทุกข์ เขาเหล่านั้นล้วนมีความทุกข์อันเกิดจากการหลงลืมสภาวะเดิมของตน จำต้องเวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏ พระองค์พิจารณาตามนี้ จึงเกิดเมตตาจิตที่จะโปรดสัตว์

4. ผู่ที สัตตอผ่อเย อ่านว่า ผู่ ที สัต ตอ พอ เย
   ผู่ ที (โพธิ) – ตรัสรู้
   สัต ตอ (สัตว์) – การมีชีวิต อารมณ์
   พอเย – น้อมคารวะ

ความหมาย : ขอนอบน้อมคารวะต่อผู้ให้ความตรัสรู้แก่ทุกชีวิต , หากตั้งใจในธรรม นอบน้อมต่อความแจ้งในสภาวะเดิม ก็จะถึงความหลุดพ้น

5. หม่อฮอสัตตอผ่อเย อ่านว่า หม่อ ฮอ สัต ตอ พอ เย
    หม่อ ฮอ – ใหญ่มาก
    สัต ตอ – สัตว์โลก หรืออีกนัยหนึ่งหมายถึง ผู้กล้าหาญ
    พอ เย – น้อมคารวะ

ความหมาย : เมื่อน้อมคารวะผู้กล้าหาญ ก็มีโอกาสที่จะหลุดพ้น , มวลสรรพสัตว์ในโลกอันไพศาล ถ้ารู้สึกตัวแล้วลงมือปฏิบัติ ล้วนถึงความหลุดพ้นได้

6. หม่อฮอเกียลูหนี่เกียเย อ่านว่า หม่อ ฮอ เกีย ลู นี เกีย เย
    หม่อ ฮอ -ใหญ่มาก
    เกีย ลู – กรุณา
    นี เกีย – จิต
    เย – คารวะ

ความหมาย : ขอนอบน้อมคารวะต่อผู้มีมหากรุณาจิต

7. งัน (โอม) อ่านว่า งัน
    งัน (โอม) – นอบน้อม

ความหมาย : ขอนอบน้อม, บูชาถวายแด่พระโพธิสัตว์เป็นผู้มีความเมตตากรุณาไม่มีประมาณ นำสัทธรรมอันเป็นความดับสูญโดยแท้จริง ปลุกให้มนุษย์ฟื้นคืนสภาวะเดิมที่มีอยู่ เข้าถึงสัทธรรมอันบริสุทธิ์

8. สัตพันลาฮัวอี อ่านว่า สัต พัน ลา ฮัว อี
    สัต พัน ลา – อิสระ
    ฮัว อี – อริยะ

ความหมาย : องค์อริยะผู้อิสระ ผู้มีกายใจอันบริสุทธิ์สะอาด , กายใจ จะบริสุทธิ์ได้ ต้องตั้งอยู่ในสัจธรรม ปฏิบัติตนอยู่ในศีล

9. ซูตันนอตันแซ อ่านว่า ซู ตัน นอ ตัน เซ

ความหมาย : การปฏิบัติธรรมต้องถือความสัจเป็นพื้นฐาน ใช้ความเพียรเป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุสู่อริยสัจ , หากการปฏิบัติธรรมไม่ประกอบด้วยความสัจ ก็จะไม่พบหนทางสู่ความสำเร็จ เนื่องจากความสัจนั้นเป็นธรรมที่ปราศจากการหลอกลวง จิตจึงรวมเป็นหนึ่งได้ เมื่อมีความสัจ ก็จะมีความเข้าใจ เมื่อเข้าใจก็จะมองเห็นความปลอดโปร่ง เมื่อปลอดโปร่งก็จะเกิดความเปลี่ยนแปลง และกลับกลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น

10. นำมอสิดกิตหลี่ตออีหม่งออหลี่เย อ่านว่า นำ มอ สิด กิด ลี ตอ อี หม่ง ออ ลี เย
     นำ มอ – นอบน้อม
     สิด กิด ลี ตอ อี หม่ง – ผู้ปฏิบัติธรรมย่อมได้รับความคุ้มครองจากพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย
     ออ ลี เย – การปฏิบัติธรรมจะรีบร้อนให้ได้ผลในทันทีย่อมเป็นไปไม่ได้

ความหมาย : ฉะนั้นผู้ที่จะน้อบน้อมเข้าถึงองค์อริยะ จำต้องปฏิบัติธรรมโดยมานะพากเพียร มีจิตใจมั่นคงเป็นหนึ่ง จะกระทำโดยเร่งรีบไม่ได้  ต้องทำใจให้ว่างเข้าถึงองค์แห่งพระธรรมคัมภีร์ หมั่นในการปฏิบัติตามหลักธรรม มีความคิดดำริมั่นที่จะก้าวข้ามห้วงแห่งโอฆะ คิดจะกระทำประโยชน์แก่สรรพชีวิต

@@@@@@@

11. ผ่อลูกิตตีซือฮูลาเลงถ่อพอ อ่านว่า ผ่อ ลู กิด ตี สิด ฮู ลา เลง ถ่อ พอ
     ผ่อ ลู กิด ตี – จิตต้องกับธรรม
     สิด ฮู ลา – ท่องเที่ยวไปอย่างอิสระ
     เลง ถ่อ พอ – เนื่องด้วยสำเร็จในมรรคผล

ความหมาย : ผู้ปฏิบัติต้องจงใจมุ่งไปข้างหน้า ฝึกฝนให้กายและจิตรวมเป็นหนึ่ง (เอกัคคตา)

12. นำมอนอาลากินชี อ่านว่า นำ มอ นอ ลา กิน ซี
     นำ มอ – นอบน้อม
     นอ ลา กิน ซี – การคุ้มครองคนดี นักปราชญ์ นักปฏิบัติ

ความหมาย : ด้วยความเมตตากรุณาของพระโพธิสัตว์ ทรงย้ำเตือนให้ยึดถือพระไตรสรณาคมน์ ต้องปฏิบัติตนอยู่ในมนุษยธรรม ทำตนเป็นตัวอย่างเพื่อให้สาธุชนรุ่นหลังได้รับรู้ เป็นแบบอย่างและเจริญรอยตามสาธุชน ผู้ปฏิบัติตามพระพุทธองค์และพระธรรมยิ่งต้องมีความเมตตากรุณา จิตและโพธิจิตเพื่อโปรดสัตว์ รักษาพระธรรมยิ่งกว่าชีวิตและเผื่อแผ่ทั่วไปไม่มีประมาณ

13. ซีหลี่มอฮอพันตอซาแม อ่านว่า ซี ลี หม่อ ฮอ พัน ตอ ซา เม
     ซี ลี หม่อ ฮอ – ความเมตตากรุณาอันไพศาล สามารถบำบัดทุกข์บำรุงสุขได้
     พัน ตอ ซา เม – ผู้มีบุญวาสนาจะได้รับการคุ้มครองจากเทพเจ้า มารทั้งหลายไม่สามารถมารบกวนได้

ความหมาย : พระโพธิสัตว์เล็งเห็นว่า ชาวโลกถือเอาความรวย, มีชื่อเสียง, ศักดินา เป็นที่นิยมศรัทธา อันเป็นการเพิ่มพูนความทุกข์ พระองค์จึงเตือนจิตให้มนุษย์ จงผ่อนใจในทางโลก โน้มน้าวจิตใจมาในทางมรรคผล เมื่อจิตว่างแล้ว พระสัทธรรมอันพิสุทธิ์ก็จะเจริญขึ้น

14. สัตผ่อออทอเตาซีพง อ่านว่า สะ พอ ออ ทอ เตา ซี พง
     สะ – การได้เห็น
     พอ – เสมอภาค
     ออ – พระสัทธรรมอันบริสุทธิ์
     ทอ เตา ซี พง – ธรรมไม่มีขอบเขต

ความหมาย : ทุกคนที่ปฏิบัติสามารถรู้ได้เห็นได้ และบรรลุสู่พระพุทธภูมิได้โดยเสมอกัน

15. ออซีเย็น อ่านว่า ออ ซี เย็น

ความหมาย : ผู้ที่ทำความดีย่อมได้รับการชมเชย ผู้ทำบาปจะต้องสำนึกและขอขมาโทษ
 
16. สัตผ่อสัตตอ นอมอผ่อสัตตอ นอมอผ่อเค อ่านว่า สะ พอ สะ ตอ นอ มอ พอ สะ ตอ นะ มอ พอ เค
     สะ พอ สะ ตอ – พุทธธรรมอันไม่มีขอบเขตสิ้นสุด สรรพสัตว์ในโลกนี้ล้วนสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าได้
     นอ มอ พอ สะ ตอ – พุทธธรรมเป็นความเสมอภาค มิได้แบ่งแยกเป็นสูงหรือต่ำ
     นะ มอ พอ เค – พุทธธรรมมีความไพศาล ผู้ปฏิบัติตามจะสามารถระงับภยันตรายทุกสิ่ง

ความหมาย : ไม่ว่านักปราชญ์หรือผู้โง่เขลา เบาปัญญา คนหรือสัตว์ ล้วนสามารถหลุดพ้นได้ ถ้าเขาเหล่านั้นปฏิบัติธรรมด้วยความสัจ

17. มอฮัวเตอเตา อ่านว่า มอ ฮัว เตอ เตา

ความหมาย : ผู้ปฏิบัติต้องถือพระสัทธรรมเป็นสูญ ไม่ข้องแวะ ไม่ติดในรูป ไม่ยึดในจิต ถือเอาสัจธรรมเป็นใหญ่ และต้องละความวิตกกังวล กำจัดความโกรธ ความโลภ ความหลง โดยใช้หลักแห่งปัญญาดับกิเลสให้จิตสงบ เป็นอยู่ในโลกนี้โดยสันติสุข

18. ตันจิตทอ อ่านว่า ตัน จิต ทอ

ความหมาย : ความศรัทธาจริงอันต่อเนื่องกัน จิตต้องตรงกับพระธรรม ห้ามมิให้มีความคิดทางโลกเกิดขึ้นโดยเด็ดขาด ทั้งนี้ เนื่องจากว่าหากปล่อยให้ความคิดทางโลก เกิดขึ้นในจิต กาย ใจ ก็จะไม่บริสุทธิ์ ทำให้เกิดการขัดแย้งกับพระธรรม ไม่อาจจะพบความสันติสุขได้

19. งันออผ่อลูซี อ่านว่า งัน ออ พอ ลู ซี
     งัน – นอบน้อม เป็นบทนำ
     ออ พอ ลู ซี – เป็นพระโพธิสัตว์ หมายถึง พระธรรมคือ ความสะอาดจิตสะอาดสดใสไร้ราคะ

ความหมาย : ผู้ปฏิบัติธรรมต้องมีจิตใจที่เด็ดเดี่ยว ไม่หวั่นไหวต่อการก่อกวนของเหล่ามาร(กามกิเลส) หากสามารถตั้งจิตข่มจิตสำรวมกาย วาจา และจิต ละทิ้งโลกาวิสัยทั้งหมดก็จะเข้าถึงพุทธสภาวะที่มีอยู่เดิม , ถ้าทำให้จิตมีความสงบนิ่งอยู่ทุกขณะ ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน ก็จะมีความสำเร็จในธรรมโดยมิรู้ตัว , พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ รวมทั้งพระโพธิสัตว์เจ้าได้หลุดพ้นในขณะที่อยู่ในโลกอันมากล้นไปด้วยกิเลสนี้

20. ลูเกียตี อ่านว่า ลู เกีย ตี

ความหมาย : เป็นโลกนาถ มีความเป็นอิสระ , มีกุศลจิตสะอาดบริสุทธิ์ ไม่มัวหมอง มีรัศมีสว่างรอบกาย และสามารถร่วมกับดินฟ้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน รักษาความมีกุศลจิต อย่าทำลายตนเอง อย่าหลงผิดเป็นชอบ สิ่งสำคัญ ต้องรักษาจิตให้บริสุทธิ์


@@@@@@@

21. เกียหล่อตี อ่านว่า เกีย ลอ ตี

ความหมาย : ผู้มีความกรุณา ผู้ปลดปล่อยทุกข์ เป็นผู้มีจิตในทางธรรม ดำรงมรรคมั่นคง มีสติปัญญาเฉียบแหลมยิ่งใหญ่ เมื่อจิตมีความสงบก็สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งชั่วร้ายให้กลับกลายเป็นดี

22. อีซีหลี่ อ่านว่า อี ซี ลี

ความหมาย : กระทำตามโอวาท อย่ามีจิตหลงผิด

23. หม่อฮอผู่ทีสัตตอ อ่านว่า หม่อ ฮอ ผู่ ที สัต ตอ
     หม่อ ฮอ – ความไพศาลของพุทธธรรม ทุกคนน้อมนำไปปฏิบัติได้
     ผู่ที – เห็นโลกนี้เป็นสูญ
     สัต ตอ – การเน้นปฏิบัติอนัตตธรรม มองเห็นสรรพธรรมเป็นสูญ

ความหมาย : มองความรุ่งเรืองแห่งลาภยศ สรรเสริญเป็นสูญ มองให้เห็นเป็นเงาลวง ทำจิตใจร่างกายให้หมดจด

24. สัตพอสัตพอ อ่านว่า สัต พอ สัต พอ

ความหมาย : พุทธธรรมมีความเสมอภาค อีกทั้งยังอำนวยประโยชน์สุขแก่สัตว์โลก ผู้ที่มีปัจจัยแห่งบุญย่อมได้รับความสุข

25. มอลามอลา อ่านว่า มอ ลา มอ ลา

ความหมาย : ผู้ปฏิบัติจะได้มีมโนรถแก้วมณี แก้วมณีนี้แจ่มใสไม่มีอะไรขัดข้อง , ความคิดคำนึงเกิดมาแต่จิต จิตเป็นใหญ่ จิตเป็นประธานแห่งบุญและบาป ผู้ปฏิบัติต้องกำจัดความคิดอันเป็นอกุศล ความคิดฟุ้งซ่าน ระงับความวิตกกังวล เพียรพยายามเสาะหาสัจธรรม ชำระล้างอายตนะภายในให้สะอาดพิสุทธิ์ ละความห่วงใยใดๆให้สิ้นเชิง

26. มอซีมอซี ลีถ่อเย็น อ่านว่า มอ ซี มอ ซี ลี ทอ ยิน
     มอ ซี – ความมีอิสระทันที ผู้ปฏิบัติไม่มีเวลาใดที่ไม่เป็นอิสระคือมีอิสระทุกเมื่อ
     ลี ทอ ยิน – การปฏิบัติกระทั่งสำเร็จวิชชาธรรมกาย มีอาสน์ดอกบัวรองรับ

ความหมาย : โดยปกติแล้วผู้ที่มีจิตว่างก็จะมีความสะอาดทั้งกายและจิต เมื่อลงมือปฏิบัติแล้วก็สามารถบรรลุมรรคผลได้ และก็จะตั้งอยู่เช่นนั้น ไม่มีวันเสื่อมถอย

27. กีลู กีลู กิตมง อ่านว่า กี ลู กี ลู กิด มง
     กี ลู – การเกิดความคิดปฎิบัติธรรมสามารถบันดาลให้เทพเจ้ามาปกปักรักษา
     กิด มง – ผู้ปฏิบัติจะต้องสร้างสมบุญบารมีเพื่อเป็นพื้นฐานในการบรรลุสู่มหามรรค (มรรคผล-นิพพาน)

28. ตูลู ตูลู ฮัวแซเหย่ตี อ่านว่า ตู ลู ตู ลู ฟา เซ เย ตี
     ตู ลู – ผู้ปฏิบัติจะต้องยืนให้มั่นตั้งใจปฏิบัติ ไม่หลุ่มหลงด้วยพวกเดียรถี มีความแน่วแน่ มีสมาธิ มีความสงบ
     ฟา เซ เย ตี – มีความบริสุทธิ์อันยิ่งใหญ่สามารถข้ามพ้นสังสารวัฏได้

29. หม่อฮอฮัวแซเหย่ตี อ่านว่า หม่อ ฮอ ฮัว เซ เย ตี

ความหมาย : พระสัทธรรมอันไพศาล สามารถระงับความเกิดดับแห่งกิเลสได้ ภัยพิบัติต่างๆไม่แผ้วพาน ทุกคนสามารถสำเร็จเป็นพุทธะได้เหมือนกัน กำจัดความหลงผิด ความเห็นแก่ตัว ปล่อยวางปัจจัยทางโลก

30. ทอลาทอลา อ่านว่า ทอ ลา ทอ ลา

ความหมาย : เมื่อปฏิบัติจิตให้มีสภาพเหมือนอากาศอันโปร่งใส ไร้ละอองธุลีแม้แต่น้อย ก็จะได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นพรหมได้

@@@@@@@

31. ตีลีนี อ่านว่า ตี ลี นี
     ตี – โลก
     ลี – สัตว์ทั้งหลายล้วนสามารถรับการโปรดได้
     นี – พรหมจาริณีที่ปฏิบัติธรรมอยู่

32. สึดฮูลาเย อ่านว่า สิด ฮู ลา เย

ความหมาย : เมื่อปฏิบัติธรรมเข้าถึงความสมบูรณ์แห่งสภาวะเดิมแล้ว จะมีความสว่างปรากฏในกายของตน

33. เจลาเจลา อ่านว่า เจ ลา เจ ลา

ความหมาย : ความโกรธ ดุ สุรเสียงที่เปล่งออกมาดุจเสียงคำรามของฟ้า กระหึ่มไปทั่วสารทิศ , ธรรมเหมือนดังฟ้าร้องคำรามไปทุกสารทิศ เป็นเสียงแห่งพรหมเมื่อเหล่ามารได้ยินศัพท์สำเนียงนี้ ก็จะเกิดความสะดุ้งกลัว

34. มอมอฮัวมอลา อ่านว่า มอ มอ ฮัว มอ ลา
     มอ มอ – การกระทำดี สามารถทำลายความกังวลแห่งภยันตรายได้
     ฮัว มอ ลา – ธรรมะเป็นสิ่งลึกซึ้ง เข้าใจยาก และมีความศักดิ์สิทธิ์ไม่สามารถประมาณ หรือคาดคิดได้ เป็นประโยชน์ที่ไม่มีสิ่งใดทัดเทียม

35. หมกตีลี อ่านว่า หมก ตี ลี

ความหมาย : หลุดพ้น ผู้ปฏิบัติได้เช่นนี้ ย่อมบรรลุสู่ภูมิแห่งพุทธ

36. อีซีอีซี อ่านว่า อี ซี อี ซี

ความหมาย : การชักชวนตามพระศาสนา ทุกสรรพสิ่งให้ดำเนินไปตามธรรมชาติ , ทุกสิ่งปล่อยให้ดำเนินไปตามเหตุปัจจัยปรุงแต่ง อย่าฝืนกระทำตามใจชอบ

37. สึดนอสึดนอ อ่านว่า สิด นอ สิด นอ

ความหมาย : เป็นมหาสติ มีจิตใจมั่นคงสามารถเข้าสู่มหาปัญญา , ผู้ปฏิบัติธรรม มีความสว่างแห่งสติปัญญาอยู่ ถ้าใช้จิตนี้เป็นฐานใช้ธรรมให้เป็นประโยชน์ ก็จะได้รับฐานธาตุที่สดชื่น  แต่หากไม่มีจิตใจมั่นคงกำจัดกิเลสในตนไม่หมด ก็ไม่มีทางที่จะให้ความว่างแห่งสติปัญญาที่มีอยู่ดั้งเดิมปรากฏออกมาได้เลย

38. ออลาซันฟูลาแซลี อ่านว่า ออ ลา ซัน ฮู ลา เซ ลี
     ออ ลา ซัน – ความผ่านธรรมไปถึงธรรมราชา มีความอิสระในธรรม
     ฮู ลา เซ ลี – การได้พระธรรมกายอันบริสุทธิ์ ได้ดวงแก้วแห่งพระรัตนะ

39. ฮัวซอฮัวซัน อ่านว่า ฮัว ซอ ฮัว ซัน
     ฮัว ซอ – ผู้ที่มีธรรม ตั้งอยู่ในขันติธรรม
     ฮัว ซัน – ผู้บรรลุธรรม มีความสุขอันแท้จริงยากจะบรรยาย

ความหมาย : เป็นการอนุโมทนาตามเหตุตามปัจจัย ความสุขที่แท้จริง จะต้องได้จากการปฏิบัติที่ยากลำบาก ถ้าสามารถอดทนต่อความยาก ลำบากก็จะเข้าถึงความสุขอันยิ่งได้

40. ฟูลาแซเย อ่านว่า ฮู ลา เซ เย

ความหมาย : จะต้องมีความรู้ด้วยตนเอง ผู้จะบรรลุธรรมหากสามารถละการยึดเกี่ยวเข้าถึงสภาวะดั้งเดิม ก็จะพบพระพุทธเจ้าได้ทุกพระองค์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 08, 2024, 03:11:02 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
.


41. ฮูลูฮูลูมอลา อ่านว่า ฮู ลู ฮู ลู มอ ลา

ความหมาย : การประกอบพิธีตามปรารถนา ประกอบพิธีกรรมไม่ละจากตัวตน

42. ฮูลูฮูลูซีลี อ่านว่า ฮู ลู ฮู ลู ซี ลี

ความหมาย : การประกอบธรรม โดยปราศจากความคิดคำนึงมีความเป็นอิสระสูง

43. ซอลาซอลา อ่านว่า ซอ ลา ซอ ลา

ความหมาย : ผู้ปฏิบัติเพียงแต่มีความมุ่งมั่น มีความเพียรพยายามอย่างต่อเนื่อง มีจิตอันเป็นหนึ่งเดียว ก็จะได้เห็นองค์พระโพธิสัตว์

44. ซิดลีซิดลี อ่านว่า สิด ลี สิด ลี

ความหมาย : ความเป็นมหามงคลอันสูงสุด สามารถอำนวยประโยชน์ และคุ้มครองสรรพสัตว์โดยไม่ละทิ้ง

45. ซูลูซูลู อ่านว่า ซู ลู ซู ลู

ความหมาย : น้ำอมฤตทานสามารถอำนวยประโยชน์แก่สัตว์โลกทั้งปวง

46. ผู่ถี่เย ผู่ถี่เย อ่านว่า ผู่ ถี่ เย ผู่ ถี่ เย

ความหมาย : การตรัสรู้ธรรม ตรัสรู้ถึงภูมิจิต ผู้ที่ปฏิบัติจะต้องมีความวิริยะพากเพียรอย่างแรงกล้า ปฏิบัติทุกวันทุกคืนเสมอต้นเสมอปลายไม่ท้อถอย

47. ผู่ถ่อเย ผู่ถ่อเย อ่านว่า ผู่ ถ่อ เย ผู่ ถ่อ เย

ความหมาย : เป็นการรู้ในธรรม รู้ในจิต ผู้ปฏิบัติจะต้องถือ “ตัวเขา-ตัวเรา” เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่เพียงแต่ไม่เห็นลักษณะตัวเขาตัวเรา แม้สรรพสัตว์ในทุคติ ก็ต้องถือว่าเท่าเทียมกับเรา

48. มีตีหลี่เย อ่านว่า มี ตี ลี เย

ความหมาย : มหากรุณา ให้ผู้ปฏิบัติต้องเจริญเมตตากรุณาจิต เพื่อให้สรรพสัตว์เข้าถึงโพธิมรรค รักในตนเองเท่าใด ก็ให้รักผู้อื่นเท่านั้น

49. นอลากินชี อ่านว่า นอ ลา กิน ซี

ความหมาย : นักปราชญ์ผู้รักษาตนเองได้ มีมหากรุณาจิต , ผู้ปฏิบัติจะต้องเคารพนักปราชญ์ เห็นผู้ทำดีจะต้องช่วยกันรักษา ผู้ที่เกิดความท้อถอยก็ต้องส่งเสริมให้กำลังใจ

50. ตีลีสิดนีนอ อ่านว่า ตี ลี สิด นี นอ

ความหมาย : ความคมของวัชระ ให้คนเรามีความมั่นคงในการปฏิบัติธรรม

@@@@@@@

51. ผ่อเยหม่อนอ อ่านว่า ผ่อ เย มอ นอ

ความหมาย : สุรเสียงก้องไปสิบทิศ เป็นสุรเสียงแห่งความปิติยินดี

52. ซอผ่อฮอ อ่านว่า ซอ ผ่อ ฮอ

ความหมาย : ความสำเร็จผล มงคล นิพพาน ระงับภัยเพิ่มพูลประโยชน์ พระสัทธรรมไม่เกิดไม่ดับ เป็นสภาวะอันสงบมาแต่เดิม

53. สิดถ่อเย อ่านว่า สิด ถ่อ เย

ความหมาย : ความสำเร็จในธรรมทั้งหลาย เข้าถึงพระวิสุทธิมรรคปราศจากขอบเขตอันจำกัด สรรพสัตว์เพียงแต่ละวางจากลาภยศชื่อเสียง ก็จะเข้าถึงความหลุดพ้นได้

54. ซอผ่อฮอ อ่านว่า ซอ ผ่อ ฮอ

ความหมาย : ผู้ปฏิบัติถ้าเห็นแจ้งในพระสัจธรรมและความหลอกลวง(ไม่แท้) ก็จะสำเร็จได้ง่าย

55. หม่อฮอสิดถ่อเย อ่านว่า หม่อ ฮอ สิด ถ่อ เย

ความหมาย : ความไพศาลของพระพุทธธรรม ผู้ใดน้อมนำไปปฏิบัติจะสำเร็จในพระพุทธผล

56. ซอผ่อฮอ อ่านว่า ซอ ผ่อ ฮอ

ความหมาย : เน้นย้ำประโยชน์ในการปฏิบัติธรรม

57. สิดถ่อยีอี อ่านว่า สิด ทอ ยี อี
     สิด ทอ – ความสำเร็จ
     ยี อี – ความว่างเปล่า

ความหมาย : ทวยเทพเจ้าต่างได้รับความสำเร็จอันเป็นความว่างเปล่า (สุญญตาธรรม)

58. สิดพันลาเย อ่านว่า สิด พัน ลา เย

ความหมาย : เป็นความอิสระสมบูรณ์ เป็นการกล่าวถึงบรรดาเทพีที่ต่างสำเร็จในอิสระธรรม

59. ซอผ่อฮอ อ่านว่า ซอ ผ่อ ฮอ

ความหมาย : อสังสกฤตธรรมนั้น เป็นสภาวธรรมที่สมบูรณ์โดยอิสระ เป็นการประกาศมหามรรคที่ยิ่งใหญ่มีผลที่ลึกซึ้ง

60. นอลากินชี อ่านว่า นอ ลา กิน ซี

ความหมาย : ความสำเร็จด้วยความรัก ความเมตตากรุณา การปกปักษ์รักษา

@@@@@@@

61. ซอผ่อฮอ อ่านว่า ซอ ผ่อ ฮอ

ความหมาย : แสดงถึงความเมตตากรุณาของพระโพธิสัตว์

62. มอลานอลา อ่านว่า มอ ลา นอ ลา
     มอ ลา – มโนรถ ความหวัง ความประสงค์
     นอ ลา – อนุตตรธรรม

ความหมาย : การปฏิบัติอนุตตรธรรมสมดังประสงค์

63. ซอผ่อฮอ อ่านว่า ซอ ผ่อ ฮอ

ความหมาย : พระโพธิสัตว์มุ่งเน้นให้คนปฏิบัติธรรม อีกทั้งยังเปิดเผยหัวใจอันลึกซึ้งของมหามรรคนี้

64. สิดลาเซ็ง ออหมกเคเย อ่านว่า สิด ลา เซง ออ หมก เค เย

ความหมาย : เป็นการแสดงความรักของพระโพธิสัตว์ต่อหมู่ชน

65. ซอผ่อฮอ อ่านว่า
     ...........
     ...........

66. ซอผ่อหม่อฮอออสิดถ่อเย อ่านว่า ซอ ผ่อ หม่อ ฮอ ออ สิด ถ่อ เย
     ซอ ผ่อ หม่อ ฮอ – สัตว์ทุกประเภทมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันสามารถบรรลุพระสัมมาสัมโพธิได้เหมือนกัน
     ออ สิด ถ่อ เย – สรรพสัตว์มีโอกาสร่วมรับความสุขสบายทั่วถึงกัน

ความหมาย : บุคคลมีขันติธรรมก็จะเข้าถึงธรรมได้ด้วยดี สามารถสำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณได้ไม่จำกัด

67. ซอผ่อฮอ อ่านว่า ซอ ผ่อ ฮอ

ความหมาย : (ต่อเนื่องกับบทก่อน) ความเมตตาอันสูงสุด

68. เจกิดลาออสิดถ่อเย อ่านว่า เจ กิด ลา ออ สิด ถ่อ เย
     เจ กิด ลา – การใช้วชิรจักรปราบเหล่ามาร
     ออ สิด ถ่อ เย – ความสำเร็จอันไม่มีสิ่งใดเทียบได้

ความหมาย : การใช้วชิรธรรมจักร ปราบเหล่ามารศัตรูได้รับความสำเร็จ

69. ซอผ่อฮอ อ่านว่า ซอ ผ่อ ฮอ

ความหมาย : (ต่อเนื่องกับบทก่อน) สรรพสัตว์ทั้งหลายล้วนสำเร็จในความบริสุทธิ์ได้ จึงไม่ควรประกอบอกุศลกรรมทั้งหลาย

70. ปอทอมอกิตสิดถ่อเย อ่านว่า ปอ ทอ มอ กิด สิด ถ่อ เย
     ปอ ทอ มอ กิด – พุทธธรรมเป็นธรรมที่ไม่มีขอบเขต จะต้องปฏิบัติเพื่อได้รับความสุขร่วมกัน
     สิด ถ่อ เย – ย้ำเตือนให้ผู้ปฏิบัติจะต้องประกอบด้วยสติปัญญาเพื่อการหลุดพ้น ละจากกิเลส

@@@@@@@

71. ซอผ่อฮอ อ่านว่า ซอ ผ่อ ฮอ

ความหมาย : (ต่อเนื่องกับบทก่อน) ผู้ปฏิบัติไม่ยึดในทางใดทางหนึ่ง ปฏิบัติโดยการพิจารณา พร้อมทั้งมีหิริโอตตัปปะ , มรรคผลนั้นสำเร็จได้ด้วยตนเอง สำเร็จได้ด้วยการพิจารณาในทุกขณะจะต้องพิจารณาจิตของตน รักษาไว้ในทุกเหตุปัจจัยไม่ให้วิตกจิตเกิดขึ้นได้

72. นอลากินชี พันเคลาเย อ่านว่า นอ ลา กิน ซี พัน เค ลา เย
     นอ ลา กิน ซี – รักษาไว้ด้วยความเป็นภัทร
     พัน เค ลา เย – เถระเพ่งโดยอิสระ

ความหมาย : เป็นที่รักของผู้เจริญ เป็นที่รักของพระอริยะ

73. ซอผ่อฮอ อ่านว่า ซอ ผ่อ ฮอ

ความหมาย : (ต่อเนื่องกับบทก่อน) การปฏิบัติให้ถือเอาสัมมาจิต และความมีสัจเป็นหลัก

74. มอพอลีเซ็งกิตลาเย อ่านว่า มอ พอ ลี เซง กิด ลา เย
     มอ พอ ลี เซง – ผู้กล้า
     กิด ลา เย – สภาวะเดิม

ความหมาย : คุณธรรมจะสำเร็จได้ ด้วยสภาวะแห่งเมตตาธรรม หากจิตตั้งอยู่ในอกุศลก็ย่อมเป็นการยากที่จะสำเร็จพระอนุตตรธรรม

75. ซอผ่อฮอ อ่านว่า ซอ ผ่อ ฮอ

ความหมาย : เป็นการรวมเอาพระคาถาทั้งหมดแห่งมหากรุณาธารณีสูตรมาไว้ในประโยคนี้ มีนัยบ่งบอกถึงความเมตตากรุณาของพระโพธิสัตว์ เพื่อโปรดเหล่าสรรพสัตว์ทั้งปวงให้ได้รับหิตานุหิตประโยชน์ มีพระสัมมาสัมโพธิเป็นหลักชัย

76. นำมอห่อลาตันนอตอลาเหย่เย อ่านว่า นำ มอ ห่อ ลา ตัน นอ ตอ ลา เย เย

ความหมาย : เน้นย้ำให้พยายามควบคุมกายใจไม่ให้ลื่นไหลไปตามอารมณ์ที่มากระทบ โน้มนำเอาฌานสมาธิเพ่งการเกิดการดับ

77. นำมอ ออหลี่เย อ่านว่า นำ มอ ออ ลี เย

ความหมาย : เป็นการสาธยายมนต์สรรเสริญพระอริยะ และกล่าวย้ำถึงการปฏิบัติธรรม ต้องละความเป็นตัวตน, บุคคล, เรา-เขา จึงสามารถไม่ให้เกิดความคิดนึกอันเป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์ได้ , ความนึกคิดติดยึดไม่เกิด ความเข้าใจถึงธรรมก็จะเป็นที่หวังได้

78. ผ่อลูกิตตี อ่านว่า ผ่อ ลู กิต ตี

ความหมาย : พระสัทธรรมไม่มีความสิ้นสุด บรรดาผู้ปฏิบัติธรรมย่อมมีความบริสุทธิ์เป็นเครื่องอยู่ นำทางสู่แดนสุขาวดี , มีการเกิดย่อมต้องมีการตาย มีความชนะย่อมต้องมีความพ่ายแพ้ แต่ชาวโลกผู้ตกอยู่ภายใต้อวิชชากลับยินดีต่อการเกิดเกลียดชังความตาย ท้ายที่สุดก็ต้องตายอยู่นั่นเอง ฉะนั้นหากต้องการรอดพ้นจากความตาย จะต้องค้นหาความเป็นในความตายให้ได้เสียก่อน

79. ชอพันลาเย อ่านว่า ชอ พัน ลา เย

ความหมาย : ผู้ปฏิบัติต้องสำรวมตาเห็นรูป ไม่ปรุงแต่งไปตามรูปที่มองเห็น

80. ซอผ่อฮอ อ่านว่า ซอ ผ่อ ฮอ

ความหมาย : (ต่อเนื่อง) สำรวมหูฟังเสียง ไม่ปรุงแต่งไปตามเสียงที่ได้ยิน


@@@@@@@

81. งัน สิตตินตู อ่านว่า งัน สิด ติน ตู

ความหมาย : สำรวมจมูกดมกลิ่น ไม่ปรุงแต่งไปตามกลิ่นที่จมูกดม

82. มันตอลา อ่านว่า มัน ตอ ลา

ความหมาย : สำรวมลิ้นรับรส ไม่ปรุงแต่งไปตามรสที่ลิ้นรับ

83. ปัดถ่อเย อ่านว่า ปัด ถ่อ เย

ความหมาย : สำรวมกายถูกต้องสัมผัส ไม่ปรุงแต่งไปตามที่ร่างกายถูกต้องสัมผัส

84. ซอผ่อฮอ อ่านว่า ซอ ผ่อ ฮอ

ความหมาย : สุดท้ายสำรวมใจรับรู้อารมณ์ ไม่ปรุงแต่งให้เกิดอารมณ์ใดๆที่ใจรับรู้ รวมเรียกว่า สำรวมอินทรีย์ ๖ อันมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ บรรลุเป็นโพธิสัตว์อันบริสุทธิ์




พระคาถามหากรุณาธารณีสูตร(ภาษาบาลี)

นะโมรัตนะตรายายะ นะโมอารยะ อวโลกิเตศะวะรายะ
โพธิสัตตะวายะ มหาสัตตะวายะ มหากรุณิกายะ
โอม สะวะละวะติ ศุททะนะ ตัสสะยะ นมัสกฤต วานิมาง อาระยะ
อวโลกิเต ศะวะระลันตะภา นะโม นิลากันถะ

ศรีมหาปะฎะศะมิ สระวาทวะตะศุภัม อสิยูม สะระวะสัตตะวะ
นะโมปะวะสัตตวะ นะโมภะคะมะภะเตตุ ตัทยะถา
โอมอวโลกา โลกาเต กาละติ อิศีลี มหาโพธิสัตตะวะ
สาโพสาโพ มะรามะรา มะศิมะศิ ฤธะยุ

คุรุคุรุฆามัม ธูรูธูรูภาษียะติ
มหาภาษียะติ ธาระธาระ ถิรินี ศะวะรายะ ชะละชะละ
มามะภา มะละมุธิริ เอหิเอหิ ศินะศินะ
อาละลินภะละศรี ภาษาภาษิน การะศะยะ หูลุหูลุมะระ หุลุหุลุศรี

สะระสะระ สีรีสีรี สุรุสุรุ พุทธายะพุทธายะ โพธายะโพธายะ
ไมตรีเยนิละกันสะตะ ตรีสะระณะ ภะยะมะนะ สวาหา
สีตายะ สวาหา มหาสีตายะ สวาหา
สีตายะเย ศะวะรายะ สวาหา

นีลากันถิ สวาหา มะละนะละ สวาหา
ศรีสิงหะมุขายะ สวาหา สะระวะ มหาอัสตายะ สวาหา
จักระอัสตายะ สวาหา ปัทมะเกสายะ สวาหา
นีละกันเต ปันตะลายะ สวาหา โมโผลิศัง กะรายะ สวาหา

นะโม รัตนะตรายายะ นะโมอารยะ อวโลกิเต
ศะวะรายะ สวาหา
โอมสิทธะยันตุ มันตรา ปะทายะ สวาหา.


@@@@@@@

พระคาถาบทสั้น เพื่อขมาเจ้าแม่กวนอิม

   *น่ำ บ้อ กวน ซี อิม ผ่อ สัก*
     (อีกบทสวดต่อเนื่องกันไป)

     นะโมโพธิสัตโต นะโมพุทธายะ
     อิติสุขะโต อะระหังพุทโธ
     อาคันติมายะ นะมะพะทะ
     นะโมพุทธายะ พุทธะรัตตะนัง
     ปะถะวีคงคา ธัมมะรัตตะนัง
     พระภุมมะเทวา อิติภะคะวา
     สังฆะรัตตะนัง ขะมามิหัง








ขอขอบคุณ :-
ที่มา : เว็บ เด็กดี.คอม | โดย อวตาร84
image : pinterest
website : https://www.tipniramit.com/article/2/บทสวดเจ้าแม่กวนอิม-ที่มาบทสวดมหากรุณาธารณีสูตร-ความเป็นมาแห่งมหามนตรา
9 ปีที่ผ่านมา | โดย เจ้าของร้าน

หมายเหตุ : ผู้โพสต์ได้ ดัดแปลงแก้ไข จัดวรรคตอนใหม่
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 08, 2024, 03:09:51 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
.



สรุป บทสวด "มหากรุณาธารณีสูตร" พร้อมคำแปล



มหากรุณาธารณีสูตร ภาษาจีน

    1. นำ มอ ฮอ ลา ตัน นอ ตอ ลา เหย่ เย
    2. นำ มอ ออ หลี เย
    3. ผ่อ ลู กิด ตี ซอ ปอ ลา เย
    4. ผู่ ที สัต ตอ ผ่อ เย
    5. หม่อ ฮอ สัต ตอ ผ่อ เย
    6. หม่อ ฮอ เกีย ลู
    7. งัน (โอม)
    8. สัต พัน ลา ฮัว อี
    9. ซู ตัน นอ ตัน แช
   10. นำ มอ สิต กิต หลี ตอ อี หม่ง ออ หลี เย


   11. ผ่อ ลู กิต ตี ซือ ฮุ ลา เลง ถ่อ พอ
   12. นำ มอ นอ ลา กิน ซี
   13. ซี หลี หม่อ ฮอ พัน ตา ซา แม
   14. สัต ผ่อ ออ ทอ เตา ซี พง
   15. ออ ซี เย็น
   16. สัต ผ่อ สัต ตอ นอ มอ ผ่อ สัต ตอ นอ มอ ผ่อ เค 
   17. มอ ฮัว เตอ เตา
   18. ตัน จิต ทอ
   19. งัน ออ ผ่อ ลู ซี
   20. ลู เกีย ตี

   21. เกีย หล่อ ตี
   22. อี ซี หลี่
   23. หม่อ ฮอ ผู่ ที สัต ตอ
   24. สัต พอ สัต พอ
   25. มอ ลา มอ ลา
   26. มอ ซี มอ ซี ลี ถ่อ เย็น
   27. กี ลู กี ลู กิต มง
   28. ตู ลู ตู ลู ฮัว แซ เหย่ ตี
   29. หม่อ ฮอ ฮัว เซ เย ตี
   30. ทอ ลา ทอ ลา


   31. ตี ลี นี
   32. สิด ฮู ลา เย
   33. เจ ลา เจ ลา 
   34. มอ มอ ฮัว มอ ลา
   35. หมก ตี ลี
   36. อี ซี อี ซี
   37. สิด นอ สิด นอ
   38. ออ ลา ซัน ฮู ลา เซ ลี
   39. ฮัว ซอ ฮัว ซัน
   40. ฟู ลา แซ เย

   41. ฮู ลู ฮู ลู มอ ลา
   42. ฮู ลู ฮู ลู ซี ลี
   43. ซอ ลา ซอ ลา
   44. ซิด ลี ซิด ลี
   45. ซู ลู ซู ลู
   46. ผู่ ถี่ เย ผู่ ถี่ เย
   47. ผู่ ถ่อ เย ผู่ ถ่อ เย
   48. มี ตี หลี่ เย
   49. นอ ลา กิน ซี
   50. ตี ลี สิด นี นอ


   51. ผ่อ เย หม่อ นอ
   52. ซอ ผ่อ ฮอ
   53. สิด ถ่อ เย
   54. ซอ ผ่อ ฮอ 
   55. หม่อ ฮอ สิด ถ่อ เย
   56. ซอ ผ่อ ฮอ
   57. สิด ถ่อ ยี อี
   58. สิด พัน ลา เย 
   59. ซอ ผ่อ ฮอ
   60. นอ ลา กิน ซี

   61. ซอ ผ่อ ฮอ
   62. มอ ลา นอ ลา
   63. ซอ ผ่อ ฮอ
   64. สิด ลา เซง ออ หมก เค เย
   65. ซอ ผ่อ ฮอ
   66. ซอ ผ่อ หม่อ ฮอ ออ สิด ถ่อ เย
   67. ซอ ผ่อ ฮอ
   68. เจ กิด ลา ออ สิด ถ่อ เย
   69. ซอ ผ่อ ฮอ 
   70. ปอ ทอ มอ กิต สิด ถ่อ เย


   71. ซอ ผ่อ ฮอ 
   72. นอ ลา กิน ซี พัน เค ลา เย
   73. ซอ ผ่อ ฮอ
   74. มอ พอ ลี เซง กิต ลา เย
   75. ซอ ผ่อ ฮอ
   76. นำ มอ ห่อ ลา ตัน นอ ตอ ลา เหย่ เย
   77. นำ มอ ออ หลี่ เย
   78. ผ่อ ลู กิต ตี
   79. ซอ ผ่อ ฮอ
   80. ซอ ผ่อ ฮอ

   81. งัน สิต ติน ตู
   82. มัน ตอ ลา
   83. ปัด ถ่อ เย
   84. ซอ ผ่อ ฮอ





ภาษาจีนพร้อมคำแปลเป็นภาษาไทย มหากรุณาธารณีสูตร

    1. นำ มอ ฮอ ลา ตัน นอ ตอ ลา เหย่ เย
       นอบน้อมนมัสการพระไตรรัตน์ทั้งสาม
    2. นำ มอ ออ หลี เย
       นอบน้อมนมัสการองค์พระอริยะ
    3. ผ่อ ลู กิด ตี ซอ ปอ ลา เย
       ขอน้อมคารวะแด่องค์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ผู้เพ่งเสียงแห่งสรรพสัตว์ผู้ยาก
    4. ผู่ ที สัต ตอ ผ่อ เย
       ขอน้อมคารวะต่อผู้ให้การตรัสรู้แก่ทุกชีวิต
    5. หม่อ ฮอ สัต ตอ ผ่อ เย
        เมื่อน้อมคารวะผู้กล้าหาญก็มีโอกาสที่จะหลุดพ้น
    6. หม่อ ฮอ เกีย ลู
        ขอน้อมคารวะต่อผู้มีมหากรุณาจิต
    7. งัน (โอม)
        นอบน้อม เป็นมารดาแห่งธารณีทั้งหลาย
    8. สัต พัน ลา ฮัว อี
        ใจกายสะอาดเหล่ามารมาทำร้ายไม่ได้
    9. ซู ตัน นอ ตัน แช
        พระอริยะแสดงอภินิหารปกปักษ์รักษา และตักเตือนมนุษย์ให้ตั้งใจมุ่งไปทางธรรม
   10. นำ มอ สิต กิต หลี ตอ อี หม่ง ออ หลี เย
        ผู้ปฏิบัติย่อมได้รับความคุ้มครองและจำต้องปฏิบัติธรรมโดยมานะพากเพียร มีจิตใจมั่นคงไม่เร่งรีบ


   11. ผ่อ ลู กิต ตี ซือ ฮุ ลา เลง ถ่อ พอ
        พระโพธิสัตว์ทรงสั่งสอนให้ผู้ปฏิบัติธรรมมุ่งไปข้างหน้า สำรวมจิตให้เป็นสมาธิ
   12. นำ มอ นอ ลา กิน ซี
        พระโพธิสัตว์ย้ำเตือนชาวโลกให้มีไตรสรณคมน์ ปฏิบัติตนอยู่ในมนุษยธรรม
   13. ซี หลี หม่อ ฮอ พัน ตา ซา แม
        พระโพธิสัตว์ทรงกล่าวพระคาถาเตือนจิตให้มุนษย์ผ่อนใจในทางโลก โน้มน้าวจิตมาในทางมรรคผล
   14. สัต ผ่อ ออ ทอ เตา ซี พง
        พระโพธิสัตว์ทรงประทานพระคาถาบทนี้เพื่อมนุษย์ทุกคนสามารถรู้ได้เห็นได้และบรรลุสู่พระพุทธภูมิโดยเสมอกัน
   15. ออ ซี เย็น
        พระโพธิสัตว์จำแลงเป็นพญายักษ์แสดงอภินิหารตักเตือนมนุษย์ให้ละบาปและบำเพ็ญบุญ
   16. สัต ผ่อ สัต ตอ นอ มอ ผ่อ สัต ตอ นอ มอ ผ่อ เค
        นักปราชญ์หรือผู้โง่เขลาเบาปัญญา คนหรือสัตว์สามารถหลุดพ้นได้ถ้าปฏิบัติตามพุทธธรรมด้วยความเคารพ
   17. มอ ฮัว เตอ เตา
        ผู้ปฏิบัติธรรมต้องถือสัจธรรมเป็นใหญ่ ไม่ข้องแวะไม่ติดในรูป ไม่ยึดในจิตดับกิเลสให้จิตสงบ
   18. ตัน จิต ทอ
        ความศรัทธาจริงอันต่อเนื่องยังผลให้จิตต้องตรงกับพระธรรม อย่าให้มีความคิดทางโลกเกิดขึ้น 
   19. งัน ออ ผ่อ ลู ซี
        ผู้ปฏิบัติธรรมต้องมีจิตใจที่เด็ดเดี่ยวไม่หวั่นไหว
   20. ลู เกีย ตี
        พระโพธิสัตว์ตักเตือนสรรพสัตว์ให้รักษาความมีกุศลจิตให้สะอาดบริสุทธิ์

   21. เกีย หล่อ ตี
        คาถาที่พระโพธิสัตว์มีเมตตาจิต กรุณาจิต ชักชวนให้มนุษย์ปฏิบัติธรรมเมื่อจิตสงบก็เปลี่ยนร้ายเป็นดี บาปเป็นบุญได้ 
   22. อี ซี หลี่
        พระโพธิสัตว์ทรงมีความเมตตากรุณาสรรพสัตว์ใดที่รับความไม่เป็นสุข จะทรงตามไปช่วยตามเสียงที่ร้องขอ
   23. หม่อ ฮอ ผู่ ที สัต ตอ
        พระโพธิสัตว์มุ่งชี้แนวทางสรรพสิ่งเป็นสูญ
   24. สัต พอ สัต พอ
        พุทธธรรมมีความเสมอภาค
   25. มอ ลา มอ ลา
        สัตว์โลกจะได้รับพรให้มีอายุยืนยาว
   26. มอ ซี มอ ซี ลี ถ่อ เย็น
        ผู้มีจิตว่างสะอาดทั้งกายและจิตเมื่อลงปฏิบัติแล้วย่อมสามารถบรรลุมรรคผลได้และไม่มีวันเสื่อมถอย
   27. กี ลู กี ลู กิต มง
        ผู้ปฏิบัติธรรมมีจิตอันเป็นกุศล เทพเจ้าจะอำนวยพร
   28. ตู ลู ตู ลู ฮัว แซ เหย่ ตี
        พระโพธิสัตว์มุ่งสั่งสอนผู้ปฏิบัติให้เห็นแจ้งในแนวทางที่เข้าถึงพระธรรมอันบริสุทธิ์อย่างแท้จริง
   29. หม่อ ฮอ ฮัว เซ เย ตี
        พระคาถานี้มุ่งกำจัดความหลงผิด เพื่อปล่อยวางเมื่อจิตบริสุทธิ์เหล่ามารก็ไม่อาจรบกวน
   30. ทอ ลา ทอ ลา
        กิเลสอันเปรียบดุจฝุ่นละอองธุลี ถ้าจิตมีเศษเสี้ยวแห่งกิเลสเกาะอยู่ก็ยากที่จะเห็นธรรม


   31. ตี ลี นี
        สรรพสัตว์โลกทั้งหลายผู้บำเพ็ญเพียรล้วนสามารถได้รับการโปรดได้ โดยเฉพาะหญิงสาวให้ปฏิบัติธรรมโดยเร็ว
   32. สิด ฮู ลา เย
        เมื่อปฏิบัติธรรมเข้าถึงองค์มรรค จิตย่อมสะอาดสามารถสำเร็จเป็นพุทธะอันพิสุทธิ์เปล่งปลั่งด้วยรัศมี
   33. เจ ลา เจ ลา
        ธรรมะเหมือนดั่งฟ้าร้องคำรามดังไปทุกสารทิศเป็นเสียงแห่งพรหมเมื่อเหล่ามารได้ยินก็จะเกิดสะดุ้งกลัว 
   34. มอ มอ ฮัว มอ ลา
        คุ้มครองสัตว์โลกให้มีความเป็นสิริมงคล
   35. หมก ตี ลี
        ผู้ปฏิบัติธรรมทำจิตให้สะอาดผ่องใส่ สาธยายมนต์ด้วยความสงบก็จะบรรลุพระพุทธผล
   36. อี ซี อี ซี
        ทุกสรรพสิ่งดำเนินไปตามธรรมชาติ เหตุปัจจัยแห่งชะตา
   37. สิด นอ สิด นอ
        จิตอันมั่นคงสามารถเข้าสู่มหาปัญหา
   38. ออ ลา ซัน ฮู ลา เซ ลี
        ปฏิบัติธรรมไม่ควรยึดติดขณะเดียวกันก็ห่างจากธรรมไม่ได้
   39. ฮัว ซอ ฮัว ซัน
        ความสุขที่แท้จริงจะต้องได้จากการปฏิบัติที่ยากลำบาก
   40. ฟู ลา แซ เย
        หากสามารถละการยึดเกี่ยวเข้าถึงสภาวะดั้งเดิมก็จะพบพระพุทธเจ้าได้ทุกพระองค์

   41. ฮู ลู ฮู ลู มอ ลา
        เมื่อบรรลุธรรมจะมีอภินิหารไม่อยู่ในการบังคับใดๆ
   42. ฮู ลู ฮู ลู ซี ลี
        ผู้สำเร็จมหามรรคการกระทำใดๆ จะเป็นไปโดยอิสระ
   43. ซอ ลา ซอ ลา
        ผู้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องด้วยความเพียรก็จะพบพระโพธิสัตว์
   44. ซิด ลี ซิด ลี
        ผู้ตั้งใจประกอบกุศลธรรมจะมีความสมบูรณ์ในบุญกุศล
   45. ซู ลู ซู ลู
        น้ำทิพย์อันมีคุณอนันต์มาชำละล้างกายและจิตใจ
   46. ผู่ ถี่ เย ผู่ ถี่ เย
        การตรัสรู้ธรรมต้องมีความวิริยะพากเพียรไม่มีท้อถอย
   47. ผู่ ถ่อ เย ผู่ ถ่อ เย
        ความเมตตากรุณาของพระโพธิสัตว์ที่จะให้ทั้งคนดีและคนชั่วเข้าสู่สุขาวดีภูมิ ผู้ปฏิบัติธรรมจำต้องถือความเมตตากรุณาเป็นมูลฐาน
   48. มี ตี หลี่ เย
        ปฏิบัติมหากรุณาธรรมเพื่อให้สรรพสัตว์เข้าถึงโพธิมรรค เมื่อปฏิบัติดังนี้ก็จะได้รับความหลุดพ้น
   49. นอ ลา กิน ซี
        ผู้ปฏิบัติจะต้องเคารพนักปราชญ์ เห็นผู้ทำดีต้องช่วยรักษา
   50. ตี ลี สิด นี นอ
        ผู้ปฏิบัติต้องเร่งรีบและมีความมั่นคงในการปฏิบัติธรรม

   51. ผ่อ เย หม่อ นอ
        สุรเสียงก้องไปสิบทิศ
   52. ซอ ผ่อ ฮอ
        สรรพธรรมไม่เกิดไม่ดับเป็นความสงบมาแต่ดั้งเดิม ถ้าสรรพสิ่งเข้าถึงนิพพานโลกก็จะกลับกลายเป็นสุขาวดีภูมิ
   53. สิด ถ่อ เย
        เมื่อละว่างก็จะสามารถเข้าถึงความหลุดพันได้
   54. ซอ ผ่อ ฮอ
        ผู้ปฏิบัติถ้าเห็นแจ้งในความสัจจริงกับความปลอมแปลงก็จะสำเร็จได้ง่าย 
   55. หม่อ ฮอ สิด ถ่อ เย
        ความไพศาลของพระพุทธธรรมผู้ใดน้อมนำไปปฏิบัติจะสำเร็จในพระพุทธผล
   56. ซอ ผ่อ ฮอ
        แนะนำสัตว์โลกให้เริ่มปฏิบัติมรรคผลโดยเร็ว
   57. สิด ถ่อ ยี อี
        ทวยเทพเจ้าต่างได้รับความสำเร็จอันเป็นความว่างเปล่า
   58. สิด พัน ลา เย
        โปรดเหล่าบรรดาเทพีเพื่อให้สำเร็จในอิสรธรรม
   59. ซอ ผ่อ ฮอ
        ธรรมไม่มีขอบเขตจำกัด
   60. นอ ลา กิน ซี
        โปรดพระอริยะเถระทางฝ่ายหินยาน 

   61. ซอ ผ่อ ฮอ
        สรรพสัตว์ควรตื่นตัวมาแสวงหาการบรรลุธรรมทางมหายานอันมีจุดมุ่งหมายที่พระโพธิธรรม
   62. มอ ลา นอ ลา
        การปฏิบัติธรรมอันยิ่งล้วนสำเร็จพุทธธรรมสมดังมุ่งหมาย
   63. ซอ ผ่อ ฮอ
        เนื้อแท้ของมหามรรคไม่มีอะไร เพียงทบทวนย้อนกลับเพื่อมุ่งเข้าสู่สภาวะเดิมของตนและศึกษาธรรมอย่างจริงใจและจริงจัง
   64. สิด ลา เซง ออ หมก เค เย
        พระอริยะเพียรรักษาโรคทางจิตให้มลายหายสิ้น
   65. ซอ ผ่อ ฮอ
        คนเรามีโรคทางจิตเป็นภัย พระธรรมรักษาให้หายได้
   66. ซอ ผ่อ หม่อ ฮอ ออ สิด ถ่อ เย
        สรรพสัตว์มีโอกาสสำเร็จสัมมาสัมโพธิญาณได้เสมอภาค
   67. ซอ ผ่อ ฮอ
        เผยแผ่พระสัทธรรม (ธรรมที่ดี ธรรมที่แท้ ธรรมของคนดี) โปรดสัตว์ไปจุติในสุขาวดีภูมิ
   68. เจ กิด ลา ออ สิด ถ่อ เย
        การใช้วชิรธรรมจักรปราบเหล่ามารเพื่อความสำเร็จธรรม
   69. ซอ ผ่อ ฮอ
        การปฏิบัติธรรมไม่เพียงแต่ลบล้างบาปกรรมและกำจัดมารได้เท่านั้น ยังสามารถบรรลุพุทธภูมิได้ 
   70. ปอ ทอ มอ กิต สิด ถ่อ เย
        การย้ำเตือนผู้ปฏิบัติต้องประกอบด้วยสติปัญญา

   71. ซอ ผ่อ ฮอ
        มรรคผลนั้นสำเร็จได้ด้วยตนเองด้วยพิจารณาไม่ยึดติดในทางใดทางหนึ่ง
   72. นอ ลา กิน ซี พัน เค ลา เย
        ทรงสั่งสอนให้ละลักษณะต่างๆ อันเป็นสิ่งปลอมแปลง
   73. ซอ ผ่อ ฮอ
        การปฏิบัติธรรมให้ถือเอาสัมมาจิตและความมีสัจเป็นหลัก
   74. มอ พอ ลี เซง กิต ลา เย
        ธรรมจะสำเร็จได้ด้วยอาศัยสภาวะแห่งเมตตาธรรม หากจิตตั้งอยู่ในอกุศลย่อมเป็นการยากที่จะสำเร็จพระอนุตตรธรรมได้
   75. ซอ ผ่อ ฮอ
        ความเมตตากรุณาของพระโพธิสัตว์เพื่อโปรดเหล่าสรรพสัตว์ทั้งปวงให้ได้รับพระสัมมาสัมโพธิเป็นหลักชัย (เป็นการรวมเอาพระคาถาทั้งหมด แห่งมหากรุณาธารณีสูตรมาไว้ประโยคนี้)
   76. นำ มอ ห่อ ลา ตัน นอ ตอ ลา เหย่ เย
        อย่าปล่อยเวลาให้เสียโอกาสหมั่นตั้งใจปฏิบัติธรรม
   77. นำ มอ ออ หลี่ เย
        นอบน้อมสรรเสริญพระอริยะ
   78. ผ่อ ลู กิต ตี
        พระสัทธรรมไม่มีสิ้นสุด
   79. ซอ ผ่อ ฮอ
        เป็นอุบายให้สรรพสัตว์ละประสาทตาและรูปกายนอก
   80. ซอ ผ่อ ฮอ
        แม้จะละประสาทสัมผัสทางตาแล้ว หูก็เป็นอุปสรรคที่จำต้องละเช่นกัน

   81. งัน สิต ติน ตู
        การปฏิบัติธรรมจำต้องมีจิตที่สงบบังคับการหายใจให้สม่ำเสมอจนกระทั่งไม่รู้สึกว่ามีการหายใจ
   82. มัน ตอ ลา
        ผู้ปฏิบัติต้องปล่อยละประสาทสัมผัสแห่งลิ้นเพื่อเข้าสู่ความบริสุทธิ์เป็นธรรมชาติดั้งเดิม
   83. ปัด ถ่อ เย
        ร่างกายเป็นมูลเหตุแห่งทุกข์
   84. ซอ ผ่อ ฮอ
        ธรรมเหล่าใดจะสำเร็จได้ด้วยอาศัยใจเป็นประธาน จงเว้นจากการทำบาป เร่งบำเพ็ญกุศล ชำระจิตให้สะอาดหมดจด นี่คือพระธรรมของ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย





คำแปลเป็นภาษาไทย มหากรุณาธารณีสูตร

     1. นอบน้อมนมัสการพระไตรรัตน์ทั้งสาม
     2. นอบน้อมนมัสการองค์พระอริยะ
     3. ขอน้อมคารวะแด่องค์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ผู้เพ่งเสียงแห่งสรรพสัตว์ผู้ยาก
     4. ขอน้อมคารวะต่อผู้ให้การตรัสรู้แก่ทุกชีวิต
     5. เมื่อน้อมคารวะผู้กล้าหาญก็มีโอกาสที่จะหลุดพ้น
     6. ขอน้อมคารวะต่อผู้มีมหากรุณาจิต
     7. นอบน้อม เป็นมารดาแห่งธารณีทั้งหลาย
     8. ใจกายสะอาดเหล่ามารมาทำร้ายไม่ได้
     9. พระอริยะแสดงอภินิหารปกปักษ์รักษา และตักเตือนมนุษย์ให้ตั้งใจมุ่งไปทางธรรม
   10. ผู้ปฏิบัติย่อมได้รับความคุ้มครองและจำต้องปฏิบัติธรรมโดยมานะพากเพียร มีจิตใจมั่นคงไม่เร่งรีบ


   11. พระโพธิสัตว์ทรงสั่งสอนให้ผู้ปฏิบัติธรรมมุ่งไปข้างหน้า สำรวมจิตให้เป็นสมาธิ
   12. พระโพธิสัตว์ย้ำเตือนชาวโลกให้มีไตรสรณคมน์ ปฏิบัติตนอยู่ในมนุษยธรรม
   13. พระโพธิสัตว์ทรงกล่าวพระคาถาเตือนจิตให้มุนษย์ผ่อนใจในทางโลก โน้มน้าวจิตมาในทางมรรคผล
   14. พระโพธิสัตว์ทรงประทานพระคาถาบทนี้เพื่อมนุษย์ทุกคนสามารถรู้ได้เห็นได้และบรรลุสู่พระพุทธภูมิโดยเสมอกัน
   15. พระโพธิสัตว์จำแลงเป็นพญายักษ์แสดงอภินิหารตักเตือนมนุษย์ให้ละบาปและบำเพ็ญบุญ
   16. นักปราชญ์หรือผู้โง่เขลาเบาปัญญา คนหรือสัตว์สามารถหลุดพ้นได้ถ้าปฏิบัติตามพุทธธรรมด้วยความเคารพ
   17. ผู้ปฏิบัติธรรมต้องถือสัจธรรมเป็นใหญ่ ไม่ข้องแวะไม่ติดในรูป ไม่ยึดในจิตดับกิเลสให้จิตสงบ
   18. ความศรัทธาจริงอันต่อเนื่องยังผลให้จิตต้องตรงกับพระธรรม อย่าให้มีความคิดทางโลกเกิดขึ้น 
   19. ผู้ปฏิบัติธรรมต้องมีจิตใจที่เด็ดเดี่ยวไม่หวั่นไหว
   20. พระโพธิสัตว์ตักเตือนสรรพสัตว์ให้รักษาความมีกุศลจิตให้สะอาดบริสุทธิ์
   
   21. คาถาที่พระโพธิสัตว์มีเมตตาจิต กรุณาจิต ชักชวนให้มนุษย์ปฏิบัติธรรมเมื่อจิตสงบก็เปลี่ยนร้ายเป็นดี บาปเป็นบุญได้ 
   22. พระโพธิสัตว์ทรงมีความเมตตากรุณาสรรพสัตว์ใดที่รับความไม่เป็นสุข จะทรงตามไปช่วยตามเสียงที่ร้องขอ
   23. พระโพธิสัตว์มุ่งชี้แนวทางสรรพสิ่งเป็นสูญ
   24. พุทธธรรมมีความเสมอภาค
   25. สัตว์โลกจะได้รับพรให้มีอายุยืนยาว
   26. ผู้มีจิตว่างสะอาดทั้งกายและจิตเมื่อลงปฏิบัติแล้วย่อมสามารถบรรลุมรรคผลได้และไม่มีวันเสื่อมถอย
   27. ผู้ปฏิบัติธรรมมีจิตอันเป็นกุศล เทพเจ้าจะอำนวยพร
   28. พระโพธิสัตว์มุ่งสั่งสอนผู้ปฏิบัติให้เห็นแจ้งในแนวทางที่เข้าถึงพระธรรมอันบริสุทธิ์อย่างแท้จริง
   29. พระคาถานี้มุ่งกำจัดความหลงผิด เพื่อปล่อยวางเมื่อจิตบริสุทธิ์เหล่ามารก็ไม่อาจรบกวน
   30. กิเลสอันเปรียบดุจฝุ่นละอองธุลี ถ้าจิตมีเศษเสี้ยวแห่งกิเลสเกาะอยู่ก็ยากที่จะเห็นธรรม


   31. สรรพสัตว์โลกทั้งหลายผู้บำเพ็ญเพียรล้วนสามารถได้รับการโปรดได้ โดยเฉพาะหญิงสาวให้ปฏิบัติธรรมโดยเร็ว
   32. เมื่อปฏิบัติธรรมเข้าถึงองค์มรรค จิตย่อมสะอาดสามารถสำเร็จเป็นพุทธะอันพิสุทธิ์เปล่งปลั่งด้วยรัศมี
   33. ธรรมะเหมือนดั่งฟ้าร้องคำรามดังไปทุกสารทิศเป็นเสียงแห่งพรหมเมื่อเหล่ามารได้ยินก็จะเกิดสะดุ้งกลัว 
   34. คุ้มครองสัตว์โลกให้มีความเป็นสิริมงคล
   35. ผู้ปฏิบัติธรรมทำจิตให้สะอาดผ่องใส่ สาธยายมนต์ด้วยความสงบก็จะบรรลุพระพุทธผล
   36. ทุกสรรพสิ่งดำเนินไปตามธรรมชาติ เหตุปัจจัยแห่งชะตา
   37. จิตอันมั่นคงสามารถเข้าสู่มหาปัญหา
   38. ปฏิบัติธรรมไม่ควรยึดติดขณะเดียวกันก็ห่างจากธรรมไม่ได้
   39. ความสุขที่แท้จริงจะต้องได้จากการปฏิบัติที่ยากลำบาก
   40. หากสามารถละการยึดเกี่ยวเข้าถึงสภาวะดั้งเดิมก็จะพบพระพุทธเจ้าได้ทุกพระองค์

   41. เมื่อบรรลุธรรมจะมีอภินิหารไม่อยู่ในการบังคับใดๆ
   42. ผู้สำเร็จมหามรรคการกระทำใดๆ จะเป็นไปโดยอิสระ
   43. ผู้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องด้วยความเพียรก็จะพบพระโพธิสัตว์
   44. ผู้ตั้งใจประกอบกุศลธรรมจะมีความสมบูรณ์ในบุญกุศล
   45. น้ำทิพย์อันมีคุณอนันต์มาชำละล้างกายและจิตใจ
   46. การตรัสรู้ธรรมต้องมีความวิริยะพากเพียรไม่มีท้อถอย
   47. ความเมตตากรุณาของพระโพธิสัตว์ที่จะให้ทั้งคนดีและคนชั่วเข้าสู่สุขาวดีภูมิ ผู้ปฏิบัติธรรมจำต้องถือความเมตตากรุณาเป็นมูลฐาน
   48. ปฏิบัติมหากรุณาธรรมเพื่อให้สรรพสัตว์เข้าถึงโพธิมรรค เมื่อปฏิบัติดังนี้ก็จะได้รับความหลุดพ้น
   49. ผู้ปฏิบัติจะต้องเคารพนักปราชญ์ เห็นผู้ทำดีต้องช่วยรักษา
   50. ผู้ปฏิบัติต้องเร่งรีบและมีความมั่นคงในการปฏิบัติธรรม


   51. สุรเสียงก้องไปสิบทิศ
   52. สรรพธรรมไม่เกิดไม่ดับเป็นความสงบมาแต่ดั้งเดิม ถ้าสรรพสิ่งเข้าถึงนิพพานโลกก็จะกลับกลายเป็นสุขาวดีภูมิ
   53. เมื่อละว่างก็จะสามารถเข้าถึงความหลุดพันได้
   54. ผู้ปฏิบัติถ้าเห็นแจ้งในความสัจจริงกับความปลอมแปลงก็จะสำเร็จได้ง่าย 
   55. ความไพศาลของพระพุทธธรรมผู้ใดน้อมนำไปปฏิบัติจะสำเร็จในพระพุทธผล
   56. แนะนำสัตว์โลกให้เริ่มปฏิบัติมรรคผลโดยเร็ว
   57. ทวยเทพเจ้าต่างได้รับความสำเร็จอันเป็นความว่างเปล่า
   58. โปรดเหล่าบรรดาเทพีเพื่อให้สำเร็จในอิสรธรรม
   59. ธรรมไม่มีขอบเขตจำกัด
   60. โปรดพระอริยะเถระทางฝ่ายหินยาน 

   61. สรรพสัตว์ควรตื่นตัวมาแสวงหาการบรรลุธรรมทางมหายานอันมีจุดมุ่งหมายที่พระโพธิธรรม
   62. การปฏิบัติธรรมอันยิ่งล้วนสำเร็จพุทธธรรมสมดังมุ่งหมาย
   63. เนื้อแท้ของมหามรรคไม่มีอะไร เพียงทบทวนย้อนกลับเพื่อมุ่งเข้าสู่สภาวะเดิมของตนและศึกษาธรรมอย่างจริงใจและจริงจัง
   64. พระอริยะเพียรรักษาโรคทางจิตให้มลายหายสิ้น
   65. คนเรามีโรคทางจิตเป็นภัย พระธรรมรักษาให้หายได้
   66. สรรพสัตว์มีโอกาสสำเร็จสัมมาสัมโพธิญาณได้เสมอภาค
   67. เผยแผ่พระสัทธรรม (ธรรมที่ดี ธรรมที่แท้ ธรรมของคนดี) โปรดสัตว์ไปจุติในสุขาวดีภูมิ
   68. การใช้วชิรธรรมจักรปราบเหล่ามารเพื่อความสำเร็จธรรม
   69. การปฏิบัติธรรมไม่เพียงแต่ลบล้างบาปกรรมและกำจัดมารได้เท่านั้น ยังสามารถบรรลุพุทธภูมิได้ 
   70. การย้ำเตือนผู้ปฏิบัติต้องประกอบด้วยสติปัญญา


   71. มรรคผลนั้นสำเร็จได้ด้วยตนเองด้วยพิจารณาไม่ยึดติดในทางใดทางหนึ่ง
   72. ทรงสั่งสอนให้ละลักษณะต่างๆ อันเป็นสิ่งปลอมแปลง
   73. การปฏิบัติธรรมให้ถือเอาสัมมาจิตและความมีสัจเป็นหลัก
   74. ธรรมจะสำเร็จได้ด้วยอาศัยสภาวะแห่งเมตตาธรรม หากจิตตั้งอยู่ในอกุศลย่อมเป็นการยากที่จะสำเร็จพระอนุตตรธรรมได้
   75. ความเมตตากรุณาของพระโพธิสัตว์เพื่อโปรดเหล่าสรรพสัตว์ทั้งปวงให้ได้รับพระสัมมาสัมโพธิเป็นหลักชัย (เป็นการรวมเอาพระคาถาทั้งหมด แห่งมหากรุณาธารณีสูตรมาไว้ประโยคนี้)
   76. อย่าปล่อยเวลาให้เสียโอกาสหมั่นตั้งใจปฏิบัติธรรม
   77. นอบน้อมสรรเสริญพระอริยะ
   78. พระสัทธรรมไม่มีสิ้นสุด
   79. เป็นอุบายให้สรรพสัตว์ละประสาทตาและรูปกายนอก
   80. แม้จะละประสาทสัมผัสทางตาแล้ว หูก็เป็นอุปสรรคที่จำต้องละเช่นกัน

   81. การปฏิบัติธรรมจำต้องมีจิตที่สงบบังคับการหายใจให้สม่ำเสมอจนกระทั่งไม่รู้สึกว่ามีการหายใจ
   82. ผู้ปฏิบัติต้องปล่อยละประสาทสัมผัสแห่งลิ้นเพื่อเข้าสู่ความบริสุทธิ์เป็นธรรมชาติดั้งเดิม
   83. ร่ายกายเป็นมูลเหตุแห่งทุกข์
   84. ธรรมเหล่าใดจะสำเร็จได้ด้วยอาศัยใจเป็นประธาน จงเว้นจากการทำบาป เร่งบำเพ็ญกุศล ชำระจิตให้สะอาดหมดจด นี่คือพระธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย







ขอขอบคุณ :-
ภาพ : pinterest
ข้อมูล : https://www.facebook.com/viharnrasien/posts/501661630004892/
เฟซบุ้ค วิหารเซียน-พัทยา Viharnra Sien | 13 กันยายน 2015 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 11, 2024, 05:40:21 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
.

พระอวโลกิเตศวรพันกร พระโพธิสัตว์แห่งความกรุณา ศิลปะทิเบตตะวันตก ต้นศตวรรษที่ 14 จาก พิพิธภัณฑ์ศิลปะฟิลาเดลเฟีย


มหากรุณาธารณี ฉบับพระวัชรโพธิ พร้อมคำอ่านและคำแปล

มหากรุณาธารณี ภาษาสันสกฤต ที่เป็นต้นฉบับที่นิยมในสื่อออนไลน์ ในปัจจุบัน



มหากรุณาธารณี จาก พระไตรปิฎกภาษาจีน ฉบับไทโช หมวดตันตระ พระสูตรหมายเลข ๑๐๖๑

千手千眼觀自在菩薩廣大圓滿無礙大悲心陀羅尼呪本
(สหัสรภุชสหัสรเนตระ – อวโลกิเตศวรโพธิสัตวะ – ไวปุลยะ – สัมปูรณะ – อนาวรณะ – มหากรุณาหฤทัยธารณี – มูลมนตร์ )

แปลว่า มหากรุณาหฤทัยธารณีมูลมนตร์แห่งพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ๑๐๐๐ กร ๑๐๐๐ เนตร ที่ยิ่งใหญ่ สมบูรณ์ ไร้อุปสรรค

ปริวรรตถอดเสียงเป็นอักษรจีน ราวปี ค.ศ. ๗๓๑ – ๗๓๖ โดยประมาณ โดยพระภิกษุ ผู้เป็นมันตราจารย์ชาวอินเดียใต้ (เกรละ) ฉายาว่า พระวัชรโพธิ (金剛智) โดยมีต้นฉบับอักษรสิทธัมอยู่ที่ หอพระไตรปิฎก วัดหลิงหยุน

พระวัชรโพธิ เป็นพระธรรมทูตรูปหนึ่งที่เข้าไปเผยแพร่ศาสนาในจีน ในรัชสมัยจักรพรรดิถังเสวียนจง เป็นมันตราจารย์ผู้เป็นคุรุอาจารย์ของพระอโมฆวัชระ และเป็นพระราชครูของราชสำนักถังด้วย



ภาพวาดพระวัชรโพธิ ศิลปะญี่ปุ่น สมัยคามาคุระ (ศตวรรษที่ 14)

มหากรุณาธารณี ฉบับนี้เป็นหนึ่งในหลายฉบับของมหากรุณาธารณี แม้ว่า มหากรุณาธารณีฉบับนี้จะมีชื่อว่า สหัสรภุชสหัสรเนตรฯ (ธารณีของพระอวโลกิเตศวร ๑๐๐๐ กร ๑๐๐๐ เนตร) แต่ฉบับนี้ มีเนื้อหาเฉพาะธารณีแบบ นีลกัณฐธารณี (ธารณีของพระอวโลกิเตศวรคอสีนิล) เพียงอย่างเดียว

ไม่ได้มีเนื้อหาเหมือนฉบับมหากรุณาธารณี ฉบับแปลของพระภควัทธรรม (千手千眼觀世音菩薩廣大圓滿無礙大悲心陀羅尼經 หมายเลข ๑๐๖๐) ซึ่งเป็นฉบับที่นิยมสวดในจีนมาตั้งแต่โบราณ (ไต่ปุ่ยจิ่ว : ต้าเปย์โจ้ว) ซึ่งจะมีการบรรยายถึงที่มาของพระอวโลกิเตศวรว่ามี ๑๐๐๐ กร ๑๐๐๐ เนตร เป็นมาอย่างไร เพราะอะไร มีแจกแจงอานิสงส์ในการสวดสาธยายต่างๆ ด้วย

มหากรุณาธารณี ไม่ว่าจะเป็น ฉบับสหัสรภุชสหัสรเนตร หรือ นีลกัณฐะ ตัวข้อความธารณีต่างมีความใกล้เคียงกัน ถือเป็นธารณีเดียวกัน มีหลายฉบับ มีการถ่ายถอดเสียงกันหลายคราว จำแนกเป็นประเภทได้ ๒ ประเภทใหญ่ ๆ คือ แบบธารณีสั้น และแบบธารณียาว

มหากรุณาธารณี ฉบับพระวัชรโพธิ เป็น มหากรุณาธารณี แบบยาว ต้นฉบับอักษรสิทธัมอยู่ที่ วัดหลิงหยุน(靈雲寺) บางส่วนมีอักขระวิบัติ ถอดเสียงไม่ตรงตามภาษาสันสกฤตอยู่หลายจุด เช่น มหาโพธิสตฺตฺว ในฉบับตัวสิทธัม เป็น มหาโวธิสตฺตฺว หรือ “นีลกณฺฐ” เป็น “นิรกํฏ”

และบางคำแม้จะมีกำกับเสียงโดยอักษรจีนไว้อีกชั้น แต่ข้อความในตัวธารณีบางส่วนเป็นภาษาสันสกฤตแบบผสมเฉพาะถิ่น (Buddhist Hybrid Sanskrit) และบางคำไม่มีความหมายโดยตรงในภาษาสันสกฤต

แต่อย่างไรก็ตาม ฉบับพระวัชรโพธิ ก็นับว่าสมบูรณ์กว่าฉบับที่ถ่ายเสียงธารณีโดย พระภควัทธรรม และ พระอโมฆวัชระ ที่ดูเหมือนต้นฉบับจาก ๒ ท่านนี้จะมีความบกพร่องจากการถ่ายเสียง และการคัดลอกจดจารจากต้นฉบับในภายหลัง ที่มีอักขระวิบัติมากกว่า ฉบับพระวัชรโพธิ

อีกทั้งในฉบับ พระภควัทธรรม พระอโมฆวัชระ มักใช้ภาษาสันสกฤตแบบผสมเฉพาะถิ่นเอเชียกลาง ไม่ใช่ที่ใช้กันในอินเดียส่วนกลาง ตัวอย่าง “นีลกณฺฐ” เป็น “นรกินฺทิ” (那囉謹墀 ) และยังเจอรูปแบบอื่น “นิลกนฺทิ”, “นรกิธิ”

เหตุเพราะพระภควัทธรรม เป็นชาวอินเดียภาคตะวันตก ขึ้นมาอยู่ที่เอเชียกลางมีระบุว่า อยู่ที่อาณาจักรโขตาน ปัจจุบันคือ โฮตาน ซินเจียงอุยกูร์ ประเทศจีน ส่วนพระอโมฆวัชระ เป็นชาวซอกเดีย (พวกอิหร่านโบราณกลุ่มหนึ่งใน เอเชียกลาง)


@@@@@@@

มหากรุณาธารณี ฉบับพระวัชรโพธิ จึงมีการชำระ อยู่ ๒ ฉบับใหญ่ กับ ๑ ฉบับย่อย ได้แก่

๑. ฉบับชำระ ปี ค.ศ. ๑๙๘๘ อ.โลเกศ จันทรา (Lokesh Chandra) นักวิชาการผู้มีชื่อเสียงชาวอินเดีย นักวิชาการภาษาสันสกฤต ด้านงานคัมภีร์พระเวทและพุทธศาสนา ฉบับนี้ชำระ โดยเปรียบเทียบ กับฉบับอื่นหลายฉบับและเปรียบเทียบกับฉบับสันสกฤต ที่หลงเหลืออยู่ (ในที่นี้เรียก ฉบับโลเกศ)

๒. ฉบับชำระ ปี ค.ศ. ๑๙๙๙ พุทธสมาคมเมืองราวัง รัฐสลังงอร์ ประเทศมาเลเซีย (Rawang Buddhist Association) โดย อ. Chua Boon Tuan (จีนฮกเกี้ยน : 蔡文端 ) ผู้เป็นประธานสมาคม และเจ้าของเว็บไซต์ ธารณีปิฎก (dharanipitaka) โดยท่านศึกษาภาษาสันสกฤต และอักษรสิทธัมในพระไตรปิฎกจีนด้วยตัวเอง ฉบับนี้มีเนื้อหาพื้นฐานมาจากฉบับโลเกศ แต่มีการเพิ่มเติมและปรับแก้อยู่หลายคำ ตามความเห็นของท่านอาจารย์ (ในที่นี้เรียก ฉบับพุทธสมาคมราวัง)

    ๒.๑ ฉบับขับร้องของ อิมี โอย (Imee Ooi) ที่นิยมในสื่อออนไลน์ มีปรับปรุงแก้ไขเล็กน้อย ทำเป็นบทสวดและเพลงภาษาสันสกฤต โดยต้นฉบับหลักใช้จากฉบับพุทธสมาคมราวัง ประเทศมาเลเซีย ซึ่งก็มีการการปรับแก้คำเล็กน้อย เพื่อใช้ในการในการขับร้องของ อิมี โอย (Imee Ooi) นักร้องชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน ซึ่งเป็นนักร้องแนวเพลงพุทธร่วมสมัย ชื่อเพลงว่า Nilakantha Dharani [The Great Compassionate Mantra] ปี ค.ศ. ๒๐๐๐

แต่ในที่นี้จะใช้ ฉบับโลเกศ เป็นฉบับหลัก เพราะที่มีความใกล้เคียง กับต้นฉบับของพระวัชรโพธิมากที่สุด โดยใช้ จากต้นฉบับอักษรเทวนาครี ในหนังสือ The Thousand-armed Avalokiteśvara, (พระอวโลกิเตศวรพันกร) เล่มที่ ๑ อ.โลเกศ จันทรา ปี ค.ศ. ๑๙๘๘

@@@@@@@

ส่วนธารณีที่เผยแพร่กันใน Wikipedia ที่ระบุว่าเป็น ธารณีที่ชำระโดย อ.โลเกศ จันทรา จริงๆแล้ว เป็นฉบับที่มีการปรับอักขรวิธีเพิ่มเติมจากผู้เรียบเรียงบน Wiki เช่น มีการตัดบทสนธิ ปรับสระยาวเป็นสระสั้น ในที่นี้จะใช้ต้นฉบับในหนังสือ โดยปริวรรตอักษรเทวนาครีเป็นอักษรไทย พร้อมคำอ่านอย่างง่ายและคำแปล มีเนื้อหาดังต่อไปนี้

ความในมหากรุณาหฤทัยธารณีมูลมนตร์ ฉบับพระวัชรโพธิ ชำระโดย ท่านอาจารย์ โลเกศ จันทรา ประกอบด้วยเนื้อหา ๔ ส่วน ดังนี้

    ๑. ประณามบท คือ บทนมัสการพระรัตนตรัยและพระอวโลกิเตศวร
    ๒. คาถาแจงอานิสงส์ เป็นคาถาอนุษฏุภฉันท์ ๑ บท
    ๓. ตัวบทธารณี โดยปกติบทธารณีมักจะไม่แปล เพราะถือเป็นถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์ ให้สวดตามนั้น ซึ่งส่วนมากแปลเอาความหมายทั้งประโยคไม่ได้ เพราะว่า
        ๓.๑ ไม่มีความหมายโดยตรง
        ๓.๒ ผิดไวยากรณ์ หรือ ไม่ครบประโยค
        ๓.๓ เป็นเสียงของมนตร์ที่เปล่งออกมาเป็นจังหวะ
แต่ในที่นี้จะแปลไว้ให้เห็นความหมายของศัพท์ ตามที่ผู้รู้ชาวจีนและนักวิชาการแปล วิเคราะห์และให้ความเห็นไว้ ซึ่งความหมายของแต่ละคำจะมีอุปเทศของธารณี หรือความหมายโดยนัยของธารณีซ่อนอยู่ ไม่ได้มีความหมายโดยตรงตามคำแปล
    ๔. บทนมัสการจบ เป็นบทนมัสการพระอวโลกิเตศวร

โดยมีเนื้อหาดังนี้




ส่วนที่ ๑. ประณามบท

๑. นโม รตฺนตฺรยายฯ นม อารฺยาวโลกิเตศฺวราย โพธิสตฺตฺวาย มหาสตฺตฺวาย มหาการุณิกาย สรฺวพนฺธนจฺเฉทนกราย สรฺวภวสมุทฺรโศษณกราย สรฺววฺยาธิปฺรศมนกราย สรฺเวตฺยุปทฺรววินาศนกราย สรฺวภเยษุตฺราณราย ฯ ตสฺไม นมสฺกฤตฺวา อิมํ อารฺยาวโลกิเตศฺวรภาษิตํ นีลกณฺฐนาม ฯ

[อ่านว่า]
๑. นะโม รัตนะ-ตระยายะ ฯ
   นะมะ อารยา-วะโลกิเต-ศวะรายะ โพธิ-สัตตวายะ
   มะหา-สัตตวายะ มะหา-การุณิกายะ
   สรรวะ-พันธะนะ-จเฉทะนะ-กะรายะ
   สรรวะ-ภะวะ-สะมุทระ-โศษะณะ-กะรายะ
   สรรวะ-วยาธิ- ประศะมะนะ กะรายะ
   สรรเวต-ยุปะทระวะ -วินาศะนะ- กะรายะ
   สรรวะ- ภะเยษุ-ตราณะ-กะรายะ ฯ
   ตัสไม นะมัส-กฤตวา อิมัม อารยา-วะโลกิเต-ศวะระ-ภาษิตัม นีละกัณฐะ-นามะ ฯ

   [แปล]
   ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ฯ
   ขอนอบน้อมแด่ พระอารยอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์
   มหาสัตว์ ผู้ทรงมหากรุณา
   ผู้ช่วยปลดเปลื้องพันธนาการทั้งปวง
   ผู้ทำให้มหาสมุทรแห่งภพทั้งหลายให้เหือดแห้งไป
   ผู้บรรเทารักษาโรคาพยาธิทั้งปวง
   ผู้ทำลายอุปัทวะทั้งปวงให้วินาศไป
   ผู้ทรงช่วยให้รอดพ้นจากความกลัวทั้งหมดทั้งสิ้น
   ครั้นขอถวายความนอบน้อมแด่พระองค์แล้ว ธารณีนี้มีชื่อว่า นีลกัณฐะ เป็นภาษิตแห่งพระอารยอวโลกิเตศวรที่ทรงแสดงไว้ (นีลกัณฐะ แปลว่า คอสีนิล หรือน้ำเงินเข้ม)



ส่วนที่ ๒. คาถาแจงอานิสงส์

๒. หฤทยํ วรฺตยิษฺยามิ สรฺวารฺถ สาธกํ ศุภมฺ ฯ
    อเชยํ สรฺวภูตานํา ภวมารฺควิโศธกมฺ ๚

[อ่านว่า]
๒. หฤทะยัม วรรตะ-ยิษยามิ สรร-วารถะ สาธะกัม ศุภัม ฯ
    อะเชยัม สรรวะ-ภูตานาม ภะวะ-มารคะ-วิโศธะกัม ๚

   [แปล]
   เราจักกล่าว หัวใจ [คือธารณี] อันรุ่งเรืองนี้ ซึ่งจะทำให้สำเร็จประโยชน์ที่มุ่งหวังทั้งปวง
   ยังเป็นสิ่งที่ไม่สามารถเอาชนะได้ สามารถชำระทางแห่งภพของสรรพชีวิตให้บริสุทธิ์




ส่วนที่ ๓. ธารณีมนตร์

ธารณีมนตร์ ๓/๑

๓. ตทฺยถา ฯ โอํ อาโลก เอ อาโลกมติ โลกาติกฺรานฺต เอหิ หเร อารฺยาวโลกิเตศฺวร มหาโพธิสตฺตฺว ฯ เห โพธิสตฺตฺว เห มหาโพธิสตฺตฺว เห วีรฺยโพธิสตฺตฺว เห มหาการุณิก สฺมร หฤทยมฺ ฯ เอหฺเยหิ หเร อารฺยาวโลกิเตศฺวร มเหศฺวร ปรมารฺถจิตฺต มหาการุณิก ฯ กุรุ กุรุ กรฺม ฯ สาธย สาธย วิทฺยามฺ ฯ เทหิ เทหิ ตฺวรํ กามํคม วิหํคม วิคม สิทฺธโยเคศฺวร ฯ ธุรุ ธุรุ วิยนฺต เอ มหาวิยนฺต เอฯ ธรธร ธเรนฺเทฺรศฺวร ฯ จลจล วิมลามล ฯ อารฺยาวโลกิเตศฺวร ชิน ฯ กฤษฺณชฏามกุฏา’วรม ปฺรรม วิรม [1] มหาสิทฺธวิทฺยาธรฯ พลพล มหาพล มลฺลมลฺล มหามลฺล จล จล มหาจล ฯ กฤษฺณวรฺณ ทีรฺฆ กฤษฺณปกฺษ นิรฺฆาตน เห ปทฺม หสฺต ฯ จร จร นิศาจเรศฺวร กฤษฺณสรฺปกฤต ยชฺโญปวีต ฯ

__________________________
[1] ต้นฉบับสิทธัมเป็นภาษาสันสกฤตผสมใช้ [อ]‘วรํม ปฺรรํม วิรํม ฉบับอักษรซอกเดียน ในตุนหวง และฉบับโลเกศชำระใช้ [อ]‘วรม ปฺรรม วิรม ซึ่งในรูปภาษาสันกฤตแบบแผนคือ อวลมฺพ ปฺรลมฺพ วิลมฺพ]

[อ่านว่า]
๓. ตัทยะถา ฯ
โอม อาโลกะ เอ อาโลกะ-มะติ โลกาติ-กรานตะ
เอหิ หะเร อารยา-วะโลกิเต-ศวะระ มะหา-โพธิ-สัตตวะ ฯ
เห โพธิ-สัตตวะ เห มะหา-โพธิ-สัตตวะ เห วีรยะ-โพธิ-สัตตวะ
เห มะหา-การุณิกะ สมะระ หฤทะยัม ฯ
เอห-เยหิ หะเร อารยา-วะโลกิเต-ศวะระ มะเห-ศวะระ ปะระ-มารถะ-จิตตะ มะหา-การุณิกะ ฯ

กุรุ กุรุ กรรมะ ฯ
สาธะยะ สาธะยะ วิทยาม ฯ
เทหิ เทหิ ตวะรัม กามัม-คะมะ วิหัง-คะมะ วิ-คะมะ สิทธะ-โยเค-ศวะระ ฯ

ธุรุ ธุรุ วิยันตะ เอ มะหา-วิยันตะ เอฯ
ธะระ ธะระ ธะเรนเทร-ศวะระ ฯ
จะละ จะละ วิมะลา-มะละ ฯ

อารยาวะ-โลกิเต-ศวะระ ชินะ ฯ
กฤษณะ-ชะฏา-มะกุฏา วะระมะ ประระมะ วิระมะ มะหา-สิทธะ-วิทยา-ธะระฯ

พะละ พะละ มะหา-พะละ
มัลละ มัลละ มะหา-มัลละ
จะละ จะละ มะหา-จะละ ฯ

กฤษณะ-วรรณะ ทีรฆะ-กฤษณะ-ปักษะ-นิรฆาตะนะ เห ปัทมะ-หัสตะ ฯ
จะระ จะระ นิศาจะเร-ศวะระ กฤษณะ-สรรปะ-กฤตะ ยัชโญปะวีตะ ฯ

[แปล] มีดังต่อไปนี้ :-
โอม แสงสว่าง ถึง ปัญญาอันสว่างไสว การก้าวพ้นโลก ฯ
มาเถิด พระหริ [1] พระอารยอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ฯ
โอ้โพธิสัตว์.! โอ้มหาโพธิสัตว์.! โอ้โพธิสัตว์ผู้มีความเพียร.! โอ้มหากรุณา จงระลึกถึงหัวใจ [ธารณี] นี้ ฯ
มา.! มาเถิดพระหริ พระอารยอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ พระมเหศวร [2] ที่มีจิตอันเป็นปรมัตถ์ด้วยมหากรุณา ฯ

ทำ ทำ กิจนั้น.! ฯ [เสียงมนตร์ กุรุ หมายถึง ทำ]
ทำให้บรรลุ ทำให้บรรลุ ซึ่งวิทยา.! ฯ [เสียงมนร์ สาธะยะ หมายถึง กำลังจะสำเร็จหรือบรรลุ]
ประทาน ประทานให้โดยเร็ว เป็นไปตามความปรารถนา ลอยออกไปในท้องฟ้า ไปถึงความหลุดพ้น ด้วยเถิด

พระสิทธโยเคศวร ฯ [3] (ผู้เป็นเจ้าแห่งการสำเร็จโยคะ) [เสียงมนตร์ เทหิ หมายถึง ให้ ประทาน]
ค้ำไว้ ค้ำยันฟ้าสวรรค์ไว้ด้วยเถิดพระมหาวิยันตะ [4] (ผู้เป็นใหญ่แห่งฟ้าสวรรค์)
[เสียงมนตร์ ธุรุ เป็นการแผลงเสียง รูปแบบไม่ปกติ จากธาตุ ธฺฤ หมายถึง ยึด จับ ค้ำ สนับสนุน]

แบก แบก ไว้เถิดพระธเรนเทรศวร [5] (ผู้เป็นเจ้าแห่งแผ่นดิน)
[เสียงมนตร์ ธะระ หมายถึง แบก ถือ มาจากธาตุ ธฺฤ เช่นเดียวกัน]
เคลื่อนไป เคลื่อนไป สู่ความสะอาด ไร้มลทิน
[เสียงมนตร์ จะละ หมายถึง สั่น, เคลื่อนที่]
โอ้ พระอารยอวโลกิเตศวร ผู้มีชัย [6] ทรงมกุฎด้วยมุ่นมวยผมสีดำขลับ(ชฎามกุฎ) [7] และทรงเครื่องประดับระย้าที่พระศอและพระกร ผู้เป็นพระมหาสิทธวิทยาธร [8] (ผู้สำเร็จผู้ยิ่งใหญ่ผู้ทรงไว้ซึ่งความรู้)

พลัง พลังแห่งพระมหาพละ [9] (ผู้มีพลังอันยิ่งใหญ่)
[เสียงมนตร์ พะละ หมายถึง พลัง]
แข็งแกร่ง แข็งแกร่งแห่งพระมหามัลละ [10] (ผู้เป็นนักปล้ำสู้ผู้แข็งแกร่งยิ่ง)
[เสียงมนตร์ มัลละ หมายถึง แข็งแกร่ง]
เคลื่อนไป เคลื่อนไปสู่พระมหาอจละ [11] (ผู้ไม่สั่นไหวที่ยิ่งใหญ่)
[เสียงมนตร์ จะละ หมายถึง สั่น, เคลื่อนที่]

พระผู้มีวรรณะคล้ำ ในปักษ์ข้างแรมอันยาวนาน จงกำจัดให้สิ้น [12] โอ้ ผู้ในหัตถ์ถือดอกบัว [13]
จรไป จรไปเถิดพระนิศาจเรศวร [14] (ผู้เป็นเจ้าผู้ดำเนินไปในเวลาค่ำคืน) ข้าแต่ผู้ที่มีสายยัชโญปวีตเป็นงูดำ  [15] [เสียงมนตร์ จะระ หมายถึง จร ย้าย เดิน]

@@@@@@@

ธารณีมนตร์ ๓/๒

เอหฺเยหิ มหาวราหมุข ตฺริปุรทหเนศฺวร นารายณพโลปพลเวศธร ฯ เห นีลกณฺฐ เห มหากาล หลาหล วิษ นิรฺชิต โลกสฺย ราควิษวินาศน ทฺเวษวิษวินาศน โมหวิษวินาศน หุลุหุลุ มลฺล ฯ หุลุ หเร มหาปทฺมนาภฯ สร สร สิริ สิริ สุรุ สุรุ มุรุมุรุฯ พุธฺย พุธฺย โพธย โพธย ไมตฺริย นีลกณฺฐ ฯ เอหฺเยหิ วามสฺถิตสิํห มุข ฯ หส หส มุญฺจ มุญฺจ มหาฏฺฏหาสมฺ ฯ เอหฺเยหิ โภ มหาสิทฺธโยเคศฺวร ฯ ภณ ภณ วาจมฺฯ สาธย สาธย วิทฺยามฺ ฯ สฺมร สฺมร ตํ ภควนฺตํ โลกิตวิโลกิตํ โลเกศฺวรํ ตถาคตมฺ ฯ ททาหิ เม ทรฺศนกามสฺย ทรฺศนมฺ ฯ ปฺรหฺลาทย มนะ สฺวาหา ฯ

[อ่านว่า]
เอห-เยหิ มะหา-วะราหะ-มุขะ
ตริปุระ-ทะหะเน-ศวะระ
นารายะณะ-พะโลปะ-พะละ-เวศะ-ธะระ ฯ

เห นีละ-กัณฐะ เห มะหา-กาละ
หะลา-หะละ วิษะ นิร-ชิตะ โลกัสยะ
ราคะ-วิษะ-วินาศะนะ
ทเวษะ-วิษะ-วินาศะนะ
โมหะ-วิษะ-วินาศะนะ

หุลุ หุลุ มัลละ ฯ
หุลุ หะเร มะหา-ปัทมะ-นาภะ ฯ
สะระ สะระ สิริ สิริ สุรุ สุรุ มุรุ มุรุฯ
พุธยะ พุธยะ โพธะยะ โพธะยะ ไมตริยะ นีละ-กัณฐะ ฯ

เอห-เยหิ วามะ-สถิตะ-สิงหะ- มุขะ ฯ
หะสะ หะสะ มุญจะ มุญจะ มะหาฏ-ฏะหาสัม ฯ

เอห-เยหิ โภ มะหา-สิทธะ-โยเค-ศวะระ ฯ
ภะณะ ภะณะ วาจัมฯ
สาธะยะ-สาธะยะ วิทยาม ฯ
สมะระ- สมะระ ตัม ภะคะวันตัม โลกิตะ-วิโลกิตัม โลเกศ-วะรัม ตะถาคะตัม ฯ

ทะทาหิ เม ทรรศะนะ-กามัสยะ ทรรศะนัม ฯ ประหลาทะยะ มะนะห์ สวาหา ฯ

[แปลว่า]
มา.! มาเถิด พระผู้เป็นใหญ่ที่มีหน้าเป็นหมูป่า [16] พระผู้เป็นเจ้าผู้เผาทำลายตรีปุระ [17] ฯ พระผู้ประกอบด้วยกำลังอันทรงพลังด้วยการสำแดงกายเป็นพระนารายณ์ ฯ

โอ้ พระนีลกัณฐะ [18] โอ้ พระมหากาล [19] ผู้ควบคุม “หลาหละ” พิษแห่งโลก
ผู้ทำพิษแห่งราคะให้วินาศไป
ผู้ทำพิษแห่งโทสะให้วินาศไป
ผู้ทำพิษแห่งโมหะให้วินาศไป

หุลุ.! หุลุ ! แข็งแกร่ง.!
[เสียงมนตร์ หุลุ เป็นเสียงเชียร์ หรือโห่ร้องด้วยความดีใจ ในวรรณกรรมสันสกฤต]

หุลุ.! โอ้พระหริ ผู้เป็นใหญ่ที่มีดอกบัวออกจากพระนาภี(สะดือ) [20]

สะระ.! สะระ.! สิริ.! สิริ.! สุรุ.! สุรุ.! มุรุ.! มุรุ ฯ
[เสียงมนตร์ สะระ จากธาตุ สฺฤ แปลว่า ทำให้เคลื่อนไป ผลักดัน ไหลลงมา ส่วน สิริ สุรุ เป็นการแผลงเสียงไม่ปกติ จากธาตุ สฺฤ เพื่อให้เป็นจังหวะ นัยว่าเป็นการอัญเชิญให้พระโพธิสัตว์ลงมา (Descend, come down, condescend) ส่วน มุรุ เป็นเสียงมนตร์ส่วนมากพบอยู่กับ สะระ สุรุ มุรุ]

ตื่นรู้ ตื่นรู้ รู้แจ้ง รู้แจ้ง พระนีลกัณฐะผู้มีไมตรี
[เสียงมนตร์ พุธยะ หมายถึง ตื่น, รู้, เข้าใจ และ โพธะยะ หมายถึง รู้แจ้ง]

มา.! มาเถิด พระผู้มีหน้าเป็นสิงห์สถิตอยู่ด้านซ้าย [21] ฯ
หัวเราะ หัวเราะ ปลดปล่อย ปลดปล่อยด้วยเถิดพระอัฏฏหาสะผู้ยิ่งใหญ่ [22] (ผู้หัวเราะเสียงดัง) [เสียงมนตร์ หะสะ หมายถึง หัวเราะ ส่วน มุญจะ หมายถึง ปลดปล่อย]

มา.! มาเถิด โอ้ข้าแต่พระสิทธโยเคศวร

กล่าว จงกล่าวถ้อยคำนี้ ฯ
[เสียงมนตร์ ภะณะ หมายถึง กล่าว, สวด, เปล่งเสียง]

ทำให้บรรลุ ทำให้บรรลุ ซึ่งวิทยา.! ฯ

ระลึก จงระลึกถึงพระองค์นั้น ถึงพระภควาน(ผู้มีโชค) [23] ถึงพระผู้ทรงเฝ้ามองและเพ่งดูอยู่ [24] ถึงพระโลเกศวร [25 ](พระผู้เป็นเจ้าแห่งโลก) ถึงพระตถาคตเจ้า [26] (ผู้ไปถึงแล้วอย่างนั้น)

จงโปรดประทานสิ่งข้าที่ปรารถนาที่จะเห็น ให้ข้าพเจ้าได้เห็น ฯ โปรดทำให้จิตใจของข้าพเจ้าให้เบิกบาน สวาหา  [27] ฯ


@@@@@@@

ธารณีมนตร์ ๓/๓

สิทฺธาย สฺวาหาฯ มหาสิทฺธาย สฺวาหา ฯ สิทฺธโยเคศฺวราย สฺวาหา ฯ นีลกณฺฐาย สฺวาหา ฯ วราหมุขาย สฺวาหา ฯ มหานรสิํหมุขาย สฺวาหาฯ สิทฺธ วิทฺยาธราย สฺวาหา ฯ ปทฺมหสฺตาย สฺวาหา ฯ กฤษฺณสรฺปกฤตยชฺโญปวีตาย สฺวาหา ฯ มหาลกุฏ ธราย สฺวาหาฯ จกฺรายุธาย สฺวาหา ฯ ศํขศพฺท นิโพธนาย สฺวาหา ฯ วามสฺกนฺธเทศสฺถิต กฤษฺณาชินาย สฺวาหา ฯ วฺยาฆฺรจรฺม นิวสนาย สฺวาหา ฯ โลเกศฺวราย สฺวาหา ฯ สรฺวสิทฺเธศฺวราย สฺวาหา ฯ

[อ่านว่า]
สิทธายะ สวาหา ฯ
มะหา-สิทธายะ สวาหา ฯ
สิทธะ-โยเค-ศวะรายะ สวาหา ฯ
นีละ-กัณฐายะ สวาหา ฯ
วะราหะ-มุขายะ สวาหา ฯ
มะหา-นะระ-สิงหะ-มุขายะ สวาหาฯ
สิทธะ-วิทยา-ธะรายะ สวาหา ฯ

ปัทมะ-หัสตายะ สวาหา ฯ
กฤษณะ-สรรปะ-กฤตะ-ยัชโญปะวีตายะ สวาหา ฯ
มะหา-ละกุฏะ-ธะรายะ สวาหาฯ
จะกรา-ยุธายะ สวาหา ฯ
ศังขะ-ศัพทะ-นิโพธะนายะ สวาหา ฯ

วามะ-สกันธะ-เทศะ-สถิตะ- กฤษณา-ชินายะ สวาหา ฯ
วยาฆระ จรรมะ- นิวะ-สะนายะ สวาหา ฯ
โลเก-ศวะรายะ สวาหา ฯ
สรรวะ-สิทเธ-ศวะรายะ สวาหา ฯ

[แปลว่า]
แด่พระสิทธะ สวาหา ฯ (ผู้สำเร็จ)
แด่พระมหาสิทธะ สวาหา ฯ (ผู้สำเร็จผู้ยิ่งใหญ่)
แด่พระสิทธโยเคศวร สวาหา ฯ (ผู้เป็นใหญ่แห่งการสำเร็จโยคะ)
แด่พระนีลกัณฐะ สวาหา ฯ (ผู้มีคอสีน้ำเงินเข้ม)
แด่พระวราหมุขะ สวาหา ฯ (ผู้มีหน้าเป็นหมูป่า)
แด่พระมหานรสิงหมุขะ สวาหา ฯ (ผู้มีหน้าเป็นนรสิงห์ผู้ยิ่งใหญ่ )
พระสิทธวิทยาธร สวาหา ฯ (ผู้สำเร็จ ผู้ทรงไว้ซึ่งวิทยมนตร์)

แด่ผู้ในหัตถ์ถือดอกบัว สวาหา ฯ
แด่ผู้ที่มีสายยัชโญปวีตเป็นงูดำ สวาหา ฯ
แด่ผู้ถือไม้มหาลกุฏะ สวาหา ฯ
แด่ผู้มีอาวุธจักร สวาหา ฯ
แด่ผู้มีสังข์อันมีเสียงปลุกให้ตื่นรู้ สวาหา ฯ (สิ่งของต่างๆ ดูหมายเหตุ [28] )

แด่ผู้ห่มหนังละมั่งดำ พาดเฉวียงบ่าทางซ้าย สวาหา ฯ [29]
แด่ผู้นุ่งหนังเสือ สวาหา ฯ [30]
แด่พระโลเกศวร สวาหา ฯ (ผู้เป็นใหญ่แห่งโลก )
แด่สรรพสิทเธศวร สวาหา ฯ (ผู้เป็นใหญ่แห่งความสำเร็จทั้งปวง)




ส่วนที่ ๔. บทนมัสการจบ

๔. นโม ภควเต อารฺยาวโลกิเตศฺวราย โพธิสตฺตฺวาย มหาสตฺตฺวาย มหาการุณิกาย ฯ สิธฺยนฺตุ เม มนฺตฺรปทานิ สฺวาหา ๚

[อ่านว่า]
๔. นะโม ภะคะวะเต อารยาวะโลกิเตศวะรายะ โพธิสัตตวายะ มะหาสัตตวายะ มะหาการุณิกายะ ฯ สิธยันตุ เม มันตระ – ปะทานิ สวาหา ๚

[แปลว่า]
ขอนอบน้อมแด่พระภควาน พระอารยอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ มหาสัตว์ ผู้ทรงมหากรุณา
ขอให้มนตร์ทั้งหลายแห่งข้าพเจ้าเหล่านี้จงสำเร็จเถิด สวาหา๚


@@@@@@@

หมายเหตุ

ในธารณีมีกล่าวถึง นามต่างๆ ของพระวิษณุ และพระศิวะ ไม่ได้หมายความว่า เป็นบทบูชาพระอวโลกิเตศวร และพระผู้เป็นเจ้าของพราหมณ์อื่นๆ ด้วย

แต่ความหมายของธารณีนี้ หมายถึง พระอวโลกิเตศวรเพียงพระองค์เดียว โดยพระองค์ทรงเป็นคุณสมบัติของพระวิษณุ และพระศิวะ ที่แท้จริง โดยคุณสมบัติเหล่านั้นเป็นเพียงปรากฎการณ์จากพระอวโลกิเตศวร ตามที่ได้อธิบายไปในบทความก่อนหน้า

@@@@@@@

ต่อไปนี้เป็นการให้ความหมายเพิ่มเติม ตามหมายเลขในวงเล็บ [..] ที่กำกับไว้ข้างต้น

[1] หริ หมายถึง พระวิษณุ

[2] มเหศวร หมายถึง พระศิวะ

[3] โยเคศวร หมายถึง ผู้เป็นใหญ่แห่งโยคะ หมายถึง พระศิวะ และ พระกฤษณะ อวตารของพระวิษณุ

[4] “วิยนฺต” หรือ “วิยํต” เป็นรูปสันสกฤตผสม กล่าวว่า มาจากสันสกฤต คำว่า “วิยต” อันแปลว่าท้องฟ้า สวรรค์ แต่ ในมหากรุณาธารณีฉบับสั้นอื่นๆ ใช้ “วิชยต” แทน ซึ่งแปลว่า มีชัยชนะ , ส่วน “มหาวิยนฺต” คือ ผู้เป็นใหญ่แห่งฟ้าสวรรค์ ในมหากรุณาธารณี ฉบับสั้นอื่นๆ ใช้ “มหาวิชยต” หรือ “มหาวิชยนฺต” ผู้มีชัยยิ่งใหญ่ ซึ่งรูปแบบดังกล่าวทั้งหมด พบในคัมภีร์พุทธฝ่ายสันสกฤต มักหมายถึง พระอินทร์ หรือ ท้าวสักกะ (ศักระ)

[5] ธร หมายถึง แบก, รองรับ ค้ำรองรับ สนันสนุน ในบางบริบทหมายถึง พระวิษณุ และในอวตาร “กูรมาวตาร” และ “พระกฤษณะ” ยังร่วมถึงพระศิวะด้วย ส่วน ธเรนฺเทฺรศฺวร (ธรา+อินฺทฺร+อีศฺวร) ในมหากรุณาธารณีฉบับสั้นอื่นๆ ใช้ ธราณิราช ธเรศฺวร (ผู้เป็นเจ้าแห่งแผ่นดิน) ซึ่งมักหมายถึง พระวิษณุ

[6] ตรงคำว่า ชิน แปลว่า ผู้มีชัย ในประโยคว่า อารฺยาวโลกิเตศฺวร ชิน ฯ กฤษฺณชฏามกุฏ ตรงนี้ดูเหมือนมีการเล่นคำในธารณี กับประโยคถัดไป คือ ชิน ฯ กฤษฺณ ซึ่งคล้ายกับการสลับคำว่า กฤษฺณาชิน (หนังละมั่งดำ) ในการแปลมหากรุณาธารณีฉบบับนี้ ผู้รู้ชาวจีนบางครั้ง แปล ชินฯกฤษฺณ ว่า หนังละมั่งดำ (鹿皮衣深藍) แต่ กฤษฺณาชิน มาจาก กฤษฺณ+อชิน ไม่ใช่ ชิน ในการแปลบทความนี้ไม่แปลข้ามประโยค จึงใช้คำแปลว่า ผู้มีชัย

[7] การเกล้ามุ่นผมเป็นมวยสูงที่เรียกว่าทรงชฎามกุฎ เป็นสัญลักษณ์ของของมุนี หรือ ฤๅษี อย่างหนึ่ง และเป็นเทวลักษณะของเทพเจ้าและพระโพธิสัตว์องค์อื่นๆ อีกหลายองค์ เช่น พระอวโลกิเตศวร พระศิวะ

[8] มหาสิทธวิทยาธร มีความหมายแยกดังนี้ สิทธะ หรือ มหาสิทธะ หมายถึงผู้สำเร็จ ผู้บรรลุ แต่ในมนตรยาน มีความหมายอีกอย่างว่า ผู้บรรลุในตันตระ และ มนตร์ต่างได้อีกด้วย , ส่วน วิทยาธร ในมนตรยาน มีความหมายว่า ผู้ทรงไว้ซึ่งวิทยา วิทยา ในมนตรยาน มักมีความหมายว่า มนตร์ศักดิ์สิทธิ์ หรือที่เรียกว่า วิทยมนตร์

[9] มหาพละ คุณลักษณะและพระนามหนึ่งของพระพุทธเจ้า และของพระศิวะในศิวปุราณะ ด้วย

[10] มหามัลละ เป็นพระนามหนึ่งของพระกฤษณะ จากการปราบนักมวยปล้ำชื่อจาณูระ ในมหาภารตะ

[11] มหาอจละ ในการออกมนตร์สันสกฤต คือ มหาจล มาจาก มหา+อจล หมายถึง ภูเขา (มั่นคง ไม่สั่นไหว) เป็นพระนามหนึ่งของของพระศิวะ ด้วย

[12] พระผู้มีวรรณะคล้ำ คือ พระกฤษณะ อวตารพระวิษณุ ส่วน จงกำจัดให้สิ้น(นิรฺฆาตน) อาจสื่อถึงเหตุการณ์การสู้รบในสงครามกุรุเกษตรของพระกฤษณะ ในช่วงปักษ์ข้างแรม แต่นิรฺฆาตน ในความหมายทางพุทธศาสนา มักใช้กับการกำจัดตัณหา หรือ ความทะยานอยาก

[13] ผู้ในหัตถ์ถือดอกบัว หมายถึงพระวิษณุ

[14] นิศาจเรศวร เป็นพระนามหนึ่งของของพระศิวะในศิวปุราณะ

[15] สายยัชโญปวีตเป็นงูดำ สายยัชโญปวีตหรือสายธุรำ คือ เชือกหรือด้ายศักดิ์สิทธิ์ของพราหมณ์ เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ สูงส่ง และศักดิ์สิทธิ์ เป็นเครื่องทรงพระศิวะด้วย

[16] หน้าหมูป่า เป็นพระพักต์ของพระวราหะ หรือ วราหาวตาร อวตารของพระวิษณุ ผู้ปราบหิรัณยากษะ

[17] พระตริปุรานตกะ เป็นพระนามหนึ่งของพระศิวะ หรือปางผู้ทำลายเมืองอสูรทั้งสาม

[18] พระนีลกัณฐะ เป็นพระนามหนึ่งของพระศิวะ คือ ผู้ดื่มพิษหลาหละ เพื่อปกป้องรักษาจักรวาลไว้ จนพระศอไหม้เป็นสีน้ำเงินเข้ม ในเหตุการณ์กวนเกษียรสมุทร

[19] พระมหากาล เป็นพระนามหนึ่งของพระศิวะ หรือปางผู้ทำลายล้างโลก

[20] พระวิษณุ ที่มีดอกบัวผุดขึ้นที่พระนาภี (สะดือ) เมื่อพระองค์บรรทม ก่อนที่จะสร้างจักรวาล ในตอนที่เรียกว่า วิษณุอนันตศายิน หรือ นารายณ์บรรทมสินธุ์

[21] หน้าสิงห์ เป็นพระพักต์ของพระนรสิงห์ หรือ นรสิงหาวตาร อวตารของพระวิษณุ ผู้ปราบหิรัณยกศิปุ

[22] พระอัฏฏหาสะ เป็นพระนามหนึ่งของพระศิวะ

[23] พระภควาน (ผู้มีโชค) ในวัฒนธรรมอินเดีย ใช้เรียก พระเป็นเจ้า หรือสิ่งที่ตนเองเคารพสูงสุด อย่าง พระศาสดาของศาสนา เช่น พระพุทธเจ้า พระมหาวีระ ไทยมักแปลว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

[24] ผู้ทรงเฝ้ามองและเพ่งดูอยู่ เป็นคุณลักษณะของพระอวโลกิเตศวร

[25] โลเกศวร เป็นอีกพระนามที่นิยมอีกพระนามของพระอวโลกิเตศวร

[26] ตถาคต (ผู้ไปถึงแล้วอย่างนั้น) ใช้เรียกพระพุทธเจ้า

[27] สวาหา มนตร์ คำท้ายประโยค อาจมีความหมายถึง กล่าวดีแล้ว, ขอจงเป็นเช่นนั้น, ขอถวายความเคารพบูชา หรือ เป็นการขอพร

[28] สิ่งของทั้ง ๔ คือ ดอกบัว คทา จักร สังข์ เป็นสิ่งของที่เป็นสัญลักษณ์ของพระวิษณุ ในที่นี้ มีการใช้ ไม้มหาลกุฏะ แทน คทา โดยอาวุธทั้งสองมีลักษณะคล้ายกัน คือเป็นลักษณะไม้กระบอง ซึ่งไม้มหาลกุฏะ เป็นอาวุธประจำของพระลกุลีศะ อวตารของพระศิวะ

[29] กฤษฺณาชิน (กฤษฺณ+อชิน) แปลว่า หนังสัตว์สีดำ โดยมากมักหมายถึง หนังละมั่งดำ อันเป็นเครื่องนุ่งห่มของมุนี หรือ ฤๅษี อย่างหนึ่ง และเป็นเทวลักษณะของเทพเจ้าและพระโพธิสัตว์องค์อื่นๆ อีกหลายองค์ เช่น พระอวโลกิเตศวร พระศิวะ

[30] ผู้นุ่งหนังเสือ หมายถึง พระศิวะ

@@@@@@@

อักขระ ถ้อยความหรือข้อมูลส่วนใดมีข้อผิดพลาด ผู้รู้โปรดจงอนุเคราะห์ชี้แนะ







Thank to :-
image : pinterest
website : https://blog.thai-sanscript.com/mahakarunikadharni-vajrabodhi/
11 มกราคม 2023
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 12, 2024, 09:24:15 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
.



สรุป มหากรุณาหฤทัยธารณีมูลมนตร์ ฉบับพระวัชรโพธิ

  ๑. นโม รตฺนตฺรยายฯ
      นม อารฺยาวโลกิเตศฺวราย โพธิสตฺตฺวาย
      มหาสตฺตฺวาย มหาการุณิกาย
      สรฺวพนฺธนจฺเฉทนกราย
      สรฺวภวสมุทฺรโศษณกราย
      สรฺววฺยาธิปฺรศมนกราย
      สรฺเวตฺยุปทฺรววินาศนกราย
      สรฺวภเยษุตฺราณราย ฯ
      ตสฺไม นมสฺกฤตฺวา อิมํ อารฺยาวโลกิเตศฺวรภาษิตํ นีลกณฺฐนาม ฯ

  ๒. หฤทยํ วรฺตยิษฺยามิ สรฺวารฺถ สาธกํ ศุภมฺ ฯ
      อเชยํ สรฺวภูตานํา ภวมารฺควิโศธกมฺ ๚


 ๓/๑ ตทฺยถา ฯ
      โอํ อาโลก เอ อาโลกมติ โลกาติกฺรานฺต
      เอหิ หเร อารฺยาวโลกิเตศฺวร มหาโพธิสตฺตฺว ฯ
      เห โพธิสตฺตฺว เห มหาโพธิสตฺตฺว เห วีรฺยโพธิสตฺตฺว
      เห มหาการุณิก สฺมร หฤทยมฺ ฯ
      เอหฺเยหิ หเร อารฺยาวโลกิเตศฺวร มเหศฺวร ปรมารฺถจิตฺต มหาการุณิก ฯ

      กุรุ กุรุ กรฺม ฯ
      สาธย สาธย วิทฺยามฺ ฯ
      เทหิ เทหิ ตฺวรํ กามํคม วิหํคม วิคม สิทฺธโยเคศฺวร ฯ

      ธุรุ ธุรุ วิยนฺต เอ มหาวิยนฺต เอฯ
      ธรธร ธเรนฺเทฺรศฺวร ฯ
      จลจล วิมลามล ฯ
      อารฺยาวโลกิเตศฺวร ชิน ฯ
      กฤษฺณชฏามกุฏา’วรม ปฺรรม วิรม  มหาสิทฺธวิทฺยาธร ฯ

      พลพล มหาพล
      มลฺลมลฺล มหามลฺล
      จล จล มหาจล ฯ
      กฤษฺณวรฺณ ทีรฺฆ กฤษฺณปกฺษ นิรฺฆาตน เห ปทฺม หสฺต ฯ
      จร จร นิศาจเรศฺวร กฤษฺณสรฺปกฤต ยชฺโญปวีต ฯ

 ๓/๒ เอหฺเยหิ มหาวราหมุข
      ตฺริปุรทหเนศฺวร
      นารายณพโลปพลเวศธร ฯ
      เห นีลกณฺฐ เห มหากาล
      หลาหล วิษ นิรฺชิต โลกสฺย
      ราควิษวินาศน
      ทฺเวษวิษวินาศน
      โมหวิษวินาศน

      หุลุหุลุ มลฺล ฯ
      หุลุ หเร มหาปทฺมนาภ ฯ
      สร สร สิริ สิริ สุรุ สุรุ มุรุมุรุฯ
      พุธฺย พุธฺย โพธย โพธย ไมตฺริย นีลกณฺฐ ฯ

      เอหฺเยหิ วามสฺถิตสิํห มุข ฯ
      หส หส มุญฺจ มุญฺจ มหาฏฺฏหาสมฺ ฯ
      เอหฺเยหิ โภ มหาสิทฺธโยเคศฺวร ฯ
      ภณ ภณ วาจมฺ ฯ

      สาธย สาธย วิทฺยามฺ ฯ
      สฺมร สฺมร ตํ ภควนฺตํ โลกิตวิโลกิตํ โลเกศฺวรํ ตถาคตมฺ ฯ
      ททาหิ เม ทรฺศนกามสฺย ทรฺศนมฺ ฯ
      ปฺรหฺลาทย มนะ สฺวาหา ฯ

 ๓/๓ สิทฺธาย สฺวาหาฯ
      มหาสิทฺธาย สฺวาหา ฯ
      สิทฺธโยเคศฺวราย สฺวาหา ฯ
      นีลกณฺฐาย สฺวาหา ฯ
      วราหมุขาย สฺวาหา ฯ
      มหานรสิํหมุขาย สฺวาหาฯ
      สิทฺธ วิทฺยาธราย สฺวาหา ฯ
      ปทฺมหสฺตาย สฺวาหา ฯ
      กฤษฺณสรฺปกฤตยชฺโญปวีตาย สฺวาหา ฯ
      มหาลกุฏ ธราย สฺวาหาฯ จกฺรายุธาย สฺวาหา ฯ
      ศํขศพฺท นิโพธนาย สฺวาหา ฯ
      วามสฺกนฺธเทศสฺถิต กฤษฺณาชินาย สฺวาหา ฯ
      วฺยาฆฺรจรฺม นิวสนาย สฺวาหา ฯ
      โลเกศฺวราย สฺวาหา ฯ
      สรฺวสิทฺเธศฺวราย สฺวาหา

  ๔. นโม ภควเต อารฺยาวโลกิเตศฺวราย โพธิสตฺตฺวาย
      มหาสตฺตฺวาย มหาการุณิกาย ฯ
      สิธฺยนฺตุ เม มนฺตฺรปทานิ สฺวาหา ๚





คำอ่าน

  ๑. นะโม รัตนะ-ตระยายะ ฯ
     นะมะ อารยา-วะโลกิเต-ศวะรายะ โพธิ-สัตตวายะ
     มะหา-สัตตวายะ มะหา-การุณิกายะ
     สรรวะ-พันธะนะ-จเฉทะนะ-กะรายะ
     สรรวะ-ภะวะ-สะมุทระ-โศษะณะ-กะรายะ
     สรรวะ-วยาธิ- ประศะมะนะ กะรายะ
     สรรเวต-ยุปะทระวะ -วินาศะนะ- กะรายะ
     สรรวะ- ภะเยษุ-ตราณะ-กะรายะ ฯ
     ตัสไม นะมัส-กฤตวา อิมัม อารยา-วะโลกิเต-ศวะระ-ภาษิตัม นีละกัณฐะ-นามะ ฯ

 ๒. หฤทะยัม วรรตะ-ยิษยามิ สรร-วารถะ สาธะกัม ศุภัม ฯ
     อะเชยัม สรรวะ-ภูตานาม ภะวะ-มารคะ-วิโศธะกัม ๚

๓/๑ ตัทยะถา ฯ
     โอม อาโลกะ เอ อาโลกะ-มะติ โลกาติ-กรานตะ
     เอหิ หะเร อารยา-วะโลกิเต-ศวะระ มะหา-โพธิ-สัตตวะ ฯ
     เห โพธิ-สัตตวะ เห มะหา-โพธิ-สัตตวะ เห วีรยะ-โพธิ-สัตตวะ
     เห มะหา-การุณิกะ สมะระ หฤทะยัม ฯ
     เอห-เยหิ หะเร อารยา-วะโลกิเต-ศวะระ มะเห-ศวะระ ปะระ-มารถะ-จิตตะ มะหา-การุณิกะ ฯ

     กุรุ กุรุ กรรมะ ฯ
     สาธะยะ สาธะยะ วิทยาม ฯ
     เทหิ เทหิ ตวะรัม กามัม-คะมะ วิหัง-คะมะ วิ-คะมะ สิทธะ-โยเค-ศวะระ ฯ

     ธุรุ ธุรุ วิยันตะ เอ มะหา-วิยันตะ เอฯ
     ธะระ ธะระ ธะเรนเทร-ศวะระ ฯ
     จะละ จะละ วิมะลา-มะละ ฯ
     อารยาวะ-โลกิเต-ศวะระ ชินะ ฯ
     กฤษณะ-ชะฏา-มะกุฏา วะระมะ ประระมะ วิระมะ มะหา-สิทธะ-วิทยา-ธะระฯ

     พะละ พะละ มะหา-พะละ
     มัลละ มัลละ มะหา-มัลละ
     จะละ จะละ มะหา-จะละ ฯ
     กฤษณะ-วรรณะ ทีรฆะ-กฤษณะ-ปักษะ-นิรฆาตะนะ เห ปัทมะ-หัสตะ ฯ
     จะระ จะระ นิศาจะเร-ศวะระ กฤษณะ-สรรปะ-กฤตะ ยัชโญปะวีตะ ฯ

๓/๒ เอห-เยหิ มะหา-วะราหะ-มุขะ
     ตริปุระ-ทะหะเน-ศวะระ
     นารายะณะ-พะโลปะ-พะละ-เวศะ-ธะระ ฯ
     เห นีละ-กัณฐะ เห มะหา-กาละ
     หะลา-หะละ วิษะ นิร-ชิตะ โลกัสยะ
     ราคะ-วิษะ-วินาศะนะ
     ทเวษะ-วิษะ-วินาศะนะ
     โมหะ-วิษะ-วินาศะนะ

     หุลุ หุลุ มัลละ ฯ
     หุลุ หะเร มะหา-ปัทมะ-นาภะ ฯ
     สะระ สะระ สิริ สิริ สุรุ สุรุ มุรุ มุรุฯ
     พุธยะ พุธยะ โพธะยะ โพธะยะ ไมตริยะ นีละ-กัณฐะ ฯ

     เอห-เยหิ วามะ-สถิตะ-สิงหะ- มุขะ ฯ
     หะสะ หะสะ มุญจะ มุญจะ มะหาฏ-ฏะหาสัม ฯ
     เอห-เยหิ โภ มะหา-สิทธะ-โยเค-ศวะระ ฯ
     ภะณะ ภะณะ วาจัม ฯ

     สาธะยะ-สาธะยะ วิทยาม ฯ
     สมะระ- สมะระ ตัม ภะคะวันตัม โลกิตะ-วิโลกิตัม โลเกศ-วะรัม ตะถาคะตัม ฯ
     ทะทาหิ เม ทรรศะนะ-กามัสยะ ทรรศะนัม ฯ
     ประหลาทะยะ มะนะห์ สวาหา ฯ

๓/๓ สิทธายะ สวาหา ฯ
     มะหา-สิทธายะ สวาหา ฯ
     สิทธะ-โยเค-ศวะรายะ สวาหา ฯ
     นีละ-กัณฐายะ สวาหา ฯ

     วะราหะ-มุขายะ สวาหา ฯ
     มะหา-นะระ-สิงหะ-มุขายะ สวาหาฯ
     สิทธะ-วิทยา-ธะรายะ สวาหา ฯ
     ปัทมะ-หัสตายะ สวาหา ฯ

     กฤษณะ-สรรปะ-กฤตะ-ยัชโญปะวีตายะ สวาหา ฯ
     มะหา-ละกุฏะ-ธะรายะ สวาหาฯ
     จะกรา-ยุธายะ สวาหา ฯ
     ศังขะ-ศัพทะ-นิโพธะนายะ สวาหา ฯ

     วามะ-สกันธะ-เทศะ-สถิตะ- กฤษณา-ชินายะ สวาหา ฯ
     วยาฆระ จรรมะ- นิวะ-สะนายะ สวาหา ฯ
     โลเก-ศวะรายะ สวาหา ฯ
     สรรวะ-สิทเธ-ศวะรายะ สวาหา ฯ

๔. นะโม ภะคะวะเต อารยาวะโลกิเตศวะรายะ โพธิสัตตวายะ
    มะหาสัตตวายะ มะหาการุณิกายะ ฯ
    สิธยันตุ เม มันตระ – ปะทานิ สวาหา ๚





คำแปล

 ๑. ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ฯ
    ขอนอบน้อมแด่ พระอารยอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์
    มหาสัตว์ ผู้ทรงมหากรุณา
    ผู้ช่วยปลดเปลื้องพันธนาการทั้งปวง
    ผู้ทำให้มหาสมุทรแห่งภพทั้งหลายให้เหือดแห้งไป
    ผู้บรรเทารักษาโรคาพยาธิทั้งปวง
    ผู้ทำลายอุปัทวะทั้งปวงให้วินาศไป
    ผู้ทรงช่วยให้รอดพ้นจากความกลัวทั้งหมดทั้งสิ้น
    ครั้นขอถวายความนอบน้อมแด่พระองค์แล้ว ธารณีนี้มีชื่อว่า นีลกัณฐะ เป็นภาษิตแห่งพระอารยอวโลกิเตศวรที่ทรงแสดงไว้

๒. เราจักกล่าว หัวใจ [คือธารณี] อันรุ่งเรืองนี้ ซึ่งจะทำให้สำเร็จประโยชน์ที่มุ่งหวังทั้งปวง
     ยังเป็นสิ่งที่ไม่สามารถเอาชนะได้ สามารถชำระทางแห่งภพของสรรพชีวิตให้บริสุทธิ์

๓/๑ โอม แสงสว่าง ถึง ปัญญาอันสว่างไสว การก้าวพ้นโลก ฯ
     มาเถิด พระหริ พระอารยอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ฯ
     โอ้โพธิสัตว์.! โอ้มหาโพธิสัตว์.! โอ้ โพธิสัตว์ผู้มีความเพียร.! โอ้ มหากรุณา จงระลึกถึงหัวใจ [ธารณี] นี้ ฯ
     มา.! มาเถิดพระหริ พระอารยอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ พระมเหศวร ที่มีจิตอันเป็นปรมัตถ์ด้วยมหากรุณา ฯ

     ทำ ทำ กิจนั้น.! ฯ [เสียงมนตร์ กุรุ หมายถึง ทำ]
     ทำให้บรรลุ ทำให้บรรลุ ซึ่งวิทยา.!  (ผู้เป็นใหญ่แห่งฟ้าสวรรค์)
     [เสียงมนตร์ ธุรุ เป็นการแผลงเสียง รูปแบบไม่ปกติ จากธาตุ ธฺฤ หมายถึง ยึด จับ ค้ำ สนับสนุน]

     แบก แบก ไว้เถิดพระธเรนเทรศวร  (ผู้เป็นเจ้าแห่งแผ่นดิน)
     [เสียงมนตร์ ธะระ หมายถึง แบก ถือ มาจากธาตุ ธฺฤ เช่นเดียวกัน]
     เคลื่อนไป เคลื่อนไป สู่ความสะอาด ไร้มลทิน
     [เสียงมนตร์ จะละ หมายถึง สั่น, เคลื่อนที่]
     โอ้ พระอารยอวโลกิเตศวร ผู้มีชัย ทรงมกุฎด้วยมุ่นมวยผมสีดำขลับ(ชฎามกุฎ) และทรงเครื่องประดับระย้าที่พระศอและพระกร ผู้เป็นพระมหาสิทธวิทยาธร (ผู้สำเร็จผู้ยิ่งใหญ่ผู้ทรงไว้ซึ่งความรู้)

    พลัง พลังแห่งพระมหาพละ  (ผู้มีพลังอันยิ่งใหญ่)
    [เสียงมนตร์ พะละ หมายถึง พลัง]
    แข็งแกร่ง แข็งแกร่งแห่งพระมหามัลละ  (ผู้เป็นนักปล้ำสู้ผู้แข็งแกร่งยิ่ง)
    [เสียงมนตร์ มัลละ หมายถึง แข็งแกร่ง]
    เคลื่อนไป เคลื่อนไปสู่พระมหาอจละ  (ผู้ไม่สั่นไหวที่ยิ่งใหญ่)
    [เสียงมนตร์ จะละ หมายถึง สั่น, เคลื่อนที่]

    พระผู้มีวรรณะคล้ำ ในปักษ์ข้างแรมอันยาวนาน จงกำจัดให้สิ้น  โอ้ ผู้ในหัตถ์ถือดอกบัว
    จรไป จรไปเถิดพระนิศาจเรศวร  (ผู้เป็นเจ้าผู้ดำเนินไปในเวลาค่ำคืน) ข้าแต่ผู้ที่มีสายยัชโญปวีตเป็นงูดำ [เสียงมนตร์ จะระ หมายถึง จร ย้าย เดิน]

๓/๒ มา.! มาเถิด พระผู้เป็นใหญ่ที่มีหน้าเป็นหมูป่า พระผู้เป็นเจ้าผู้เผาทำลายตรีปุระ ฯ
    พระผู้ประกอบด้วยกำลังอันทรงพลังด้วยการสำแดงกายเป็นพระนารายณ์ ฯ
    โอ้ พระนีลกัณฐะ โอ้ พระมหากาล  ผู้ควบคุม “หลาหละ” พิษแห่งโลก
    ผู้ทำพิษแห่งราคะให้วินาศไป
    ผู้ทำพิษแห่งโทสะให้วินาศไป
    ผู้ทำพิษแห่งโมหะให้วินาศไป

    หุลุ.! หุลุ ! แข็งแกร่ง.!
    [เสียงมนตร์ หุลุ เป็นเสียงเชียร์ หรือโห่ร้องด้วยความดีใจ ในวรรณกรรมสันสกฤต]
    หุลุ.! โอ้พระหริ ผู้เป็นใหญ่ที่มีดอกบัวออกจากพระนาภี(สะดือ)
    สะระ.! สะระ.! สิริ.! สิริ.! สุรุ.! สุรุ.! มุรุ.! มุรุ ฯ
    [เสียงมนตร์ สะระ จากธาตุ สฺฤ แปลว่า ทำให้เคลื่อนไป ผลักดัน ไหลลงมา ส่วน สิริ สุรุ เป็นการแผลงเสียงไม่ปกติ จากธาตุ สฺฤ เพื่อให้เป็นจังหวะ นัยว่าเป็นการอัญเชิญให้พระโพธิสัตว์ลงมา (Descend, come down, condescend) ส่วน มุรุ เป็นเสียงมนตร์ส่วนมากพบอยู่กับ สะระ สุรุ มุรุ]
    ตื่นรู้ ตื่นรู้ รู้แจ้ง รู้แจ้ง พระนีลกัณฐะผู้มีไมตรี
    [เสียงมนตร์ พุธยะ หมายถึง ตื่น, รู้, เข้าใจ และ โพธะยะ หมายถึง รู้แจ้ง]

    มา.! มาเถิด พระผู้มีหน้าเป็นสิงห์สถิตอยู่ด้านซ้าย ฯ
    หัวเราะ หัวเราะ ปลดปล่อย ปลดปล่อยด้วยเถิดพระอัฏฏหาสะผู้ยิ่งใหญ่(ผู้หัวเราะเสียงดัง) [เสียงมนตร์ หะสะ หมายถึง หัวเราะ ส่วน มุญจะ หมายถึง ปลดปล่อย]
    มา.! มาเถิด โอ้ข้าแต่พระสิทธโยเคศวร
    กล่าว จงกล่าวถ้อยคำนี้ ฯ
    [เสียงมนตร์ ภะณะ หมายถึง กล่าว, สวด, เปล่งเสียง]

    ทำให้บรรลุ ทำให้บรรลุ ซึ่งวิทยา.! ฯ
    ระลึก จงระลึกถึงพระองค์นั้น ถึงพระภควาน(ผู้มีโชค) ถึงพระผู้ทรงเฝ้ามองและเพ่งดูอยู่ ถึงพระโลเกศวร(พระผู้เป็นเจ้าแห่งโลก) ถึงพระตถาคตเจ้า(ผู้ไปถึงแล้วอย่างนั้น)
    จงโปรดประทานสิ่งข้าที่ปรารถนาที่จะเห็น ให้ข้าพเจ้าได้เห็น ฯ
    โปรดทำให้จิตใจของข้าพเจ้าให้เบิกบาน สวาหา ฯ

๓/๓ แด่พระสิทธะ สวาหา ฯ (ผู้สำเร็จ)
    แด่พระมหาสิทธะ สวาหา ฯ (ผู้สำเร็จผู้ยิ่งใหญ่)
    แด่พระสิทธโยเคศวร สวาหา ฯ (ผู้เป็นใหญ่แห่งการสำเร็จโยคะ)
    แด่พระนีลกัณฐะ สวาหา ฯ (ผู้มีคอสีน้ำเงินเข้ม)

    แด่พระวราหมุขะ สวาหา ฯ (ผู้มีหน้าเป็นหมูป่า)
    แด่พระมหานรสิงหมุขะ สวาหา ฯ (ผู้มีหน้าเป็นนรสิงห์ผู้ยิ่งใหญ่ )
    พระสิทธวิทยาธร สวาหา ฯ (ผู้สำเร็จ ผู้ทรงไว้ซึ่งวิทยมนตร์)
    แด่ผู้ในหัตถ์ถือดอกบัว สวาหา ฯ

    แด่ผู้ที่มีสายยัชโญปวีตเป็นงูดำ สวาหา ฯ
    แด่ผู้ถือไม้มหาลกุฏะ สวาหา ฯ
    แด่ผู้มีอาวุธจักร สวาหา ฯ
    แด่ผู้มีสังข์อันมีเสียงปลุกให้ตื่นรู้ สวาหา ฯ (สิ่งของต่างๆ ดูหมายเหตุ )

    แด่ผู้ห่มหนังละมั่งดำ พาดเฉวียงบ่าทางซ้าย สวาหา ฯ
    แด่ผู้นุ่งหนังเสือ สวาหา ฯ
    แด่พระโลเกศวร สวาหา ฯ (ผู้เป็นใหญ่แห่งโลก )
    แด่สรรพสิทเธศวร สวาหา ฯ (ผู้เป็นใหญ่แห่งความสำเร็จทั้งปวง)

๔. ขอนอบน้อมแด่พระภควาน พระอารยอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์
    มหาสัตว์ ผู้ทรงมหากรุณา
    ขอให้มนตร์ทั้งหลายแห่งข้าพเจ้าเหล่านี้ จงสำเร็จเถิด สวาหา ๚






ขอบคุณภาพจาก : https://www.pinterest.ca/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ