ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: มรณัสสติ ควรเจริญเมื่อไหร่  (อ่าน 5373 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
มรณัสสติ ควรเจริญเมื่อไหร่
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2012, 06:08:11 pm »
0

QA  ใครช่วยตอบได้ ก็ช่วยตอบกัน ด้วยนะ จะนำคำถามมาลงก่อน ก็แล้วกันนะ ส่วนคำตอบจะทะยอยตอบ


ปุจฉา
      มรณัสสติ ควรเจริญเมื่อไหร่ และศิษย์กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับควรฝึกการเจริญ มรณัสสติ เมื่อไหร่ เพราะอะไร ช่วยด้วยครับ 


วิสัชชนา

    <?<?<? ยังไม่ได้ตอบ รอให้ สมาชิกธรรม ร่วมตอบกันก่อน


 ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

paisalee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 382
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: มรณัสสติ ควรเจริญเมื่อไหร่
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2012, 08:09:47 am »
0
ระลึกถึงความตายสบายนัก
มันหักรักหักหลงในสงสาร
บรรเทามืดโมหันต์อันธการ
ทำให้หาญหายสะดุ้งไม่ยุ่งใจ

พระศาสนโสภณ (จตตสลลเถร)

บันทึกการเข้า
บุญที่้ข้าพเจ้าได้ทำวันนี้ ขออุทิศให้แก่ บิดาและน้องชายที่ล่วงลับ มารดาที่ยังมีชีวิตอยู่

saiphone

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 134
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: มรณัสสติ ควรเจริญเมื่อไหร่
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2012, 09:24:55 pm »
0
***พิจรณาความตาย***
ยศและลาภหาบไปไม่ได้แน่...เหลือเพียงแต่ต้นทุนบุญกุศล...
ทรัพย์สมบัติทิ้งไว้ให้ปวงชน...แม้ร่างตนเขาก็เอาไปเผาไฟ...
เมื่อเจ้ามามีอะไรมาด้วยเจ้า...เจ้าจะเอาแต่สุขสนุกไฉน...
เมื่อเจ้ามามือเปล่าจะเอาอะไร...เจ้าก็ไปมือเปล่าเหมือนเจ้ามา...
สิ่งปรุงแต่งทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ...มันเกิดก่อตามหน้าที่มีสังขาร...
แล้วก็ดับเป็นธรรมดาเป็นอาการ...อยู่ไม่นานมันเป็นเช่นนี้แล...
สังขารกลุ่มนี้หนอก็เหมือนกัน...จะสิ้นสุดลงในวันนี้เป็นแน่...
ไม่มีใครเกิดหรือตายมีได้แต่...สังขารแท้ๆมันจะดับเป็นธรรมดา...

บันทึกการเข้า
พระธรรม นำให้ ส่วางไสว ในดวงจิต

ปักษาวายุ

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 96
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: มรณัสสติ ควรเจริญเมื่อไหร่
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 12, 2012, 12:38:58 am »
0
อนุโมทนาสาธุ ครับ โดยปกติ อนุสสติ ที่เหลือจะได้ฝึกต่อจาก อานาปานสติ นะครับในสายกรรมฐาน มัชฌิมา ส่วนสาเหตุคำอธิบาย นั้นยังไม่ค่อยแม่นนะครับ รู้สึกว่า จะเป็นกายคตาสติ อสุภกรรมฐาน และ อนุสสติ 7 ประมาณนี้ใช่หรือไม่ครับ

  :25:
บันทึกการเข้า

painting

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 72
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: มรณัสสติ ควรเจริญเมื่อไหร่
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 13, 2012, 12:20:09 am »
0
มรณัสสติ ควรเจริญ เมื่อผ่านกรรมฐาน มัชฌิมา อย่างน้อย 3 ห้อง

 กล่้าวว่า มรณัสสติ นั้นจะเป็นคุณธรรมพิเศษ ของ พระอริยะบุคคล

    พระโสดาบัน ระลึกได้อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
    พระสกิทาคามี ระลึกได้อย่างน้อยวันละ หลาย ๆ ครั้ง
    พระอนาคามี ยิ่งระลึกได้มากครั้ง
    พระอรหันต์ ระลึกได้ทุกเวลา .....

    กล่าวว่า มรณัสสติ ไม่ใช่คุณธรรม ทั่วไปของบุคคลที่ยังไม่บรรลุ ได้ดวงตาเห็นธรรม ครับ

   :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

ปักษาวายุ

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 96
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: มรณัสสติ ควรเจริญเมื่อไหร่
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 13, 2012, 12:33:18 am »
0
เบื้องต้น ควรรำลึกไว้ นะครับ เพราะจะทำให้จิตวางจากโลกธรรมได้ครับ

 แต่ในด้านการปฏิบัติ นั้น ผมไม่ทราบเพราะผมเอง ก็มี บ้าง ไม่มี บ้าง ครับในการระลึกถึงความตาย

   :s_hi:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: มรณัสสติ ควรเจริญเมื่อไหร่
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 13, 2012, 11:57:03 am »
0

ปุจฉา
      มรณัสสติ ควรเจริญเมื่อไหร่ และศิษย์กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับควรฝึกการเจริญ มรณัสสติ เมื่อไหร่ เพราะอะไร ช่วยด้วยครับ 



ขั้นตอนการปฏิบัติพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

ตอนสมถะภาวนา

รูปกรรมฐาน ตอน ๑
    ๑.ห้องพระปีติห้า
    ๒.ห้องพระยุคลหก
    ๓.ห้องพระสุขสมาธิ


รูปกรรมฐาน ตอน ๒
    ๔.ห้อง อานาปานสติ ๙ จุด ทำให้จิตละเอียดขึ้น ถึงอัปปนาสมาธิ หรืออัปปนาฌาน
    ๕.ห้อง กายคตาสติกรรมฐาน
    ๖.ห้องกสิณ ๑๐ ประการ
    ๗.ห้องอสุภ ๑๐ ประการ เพื่อละราคะ
    ๘.ห้องปัญจมฌาน


อรูปกรรมฐาน (สอบสภาวธรรม)
    ๙. ห้อง อนุสสติ เจ็ดประการ (มี มรณัสสติ เป็นต้น)
    ๑๐.ห้อง อัปปมัญญาพรหมวิหาร
    ๑๑. ห้อง อาหาเรปฎิกูลสัญญา
    ๑๒.ห้อง จตุธาตุววัฏฐาน
    ๑๓.ห้อง อรูปฌาน


ที่มา กระทู้ของคุณ komol
วิธีฝึกกัมมัฏฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของสังฆราช(สุก)
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=1535.msg6240#msg6240

อ้างอิง
คู่มือ สมถะ-วิปัสสนากรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน) 
วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร (พลับ) กรุงเทพฯ
พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร  รวบรวม เรียบเรียง


    ตอบว่า ตามหลักสูตรแล้ว มรณัสสติ อยู่ในห้องที่ ๙ ถ้าจะพูดต่อไป ก็ไม่พ้นจ้องบอกว่า
    กว่าจะเรียนจบ ๘ ห้องแรก ไม่ใช่เรื่องง่ายครับ
   
    แต่ถ้าอยากรู้ว่า ในพระไตรปิฏกกล่าวไว้ว่าอย่างไร เชิญคลิกลิงค์นี้ได้เลย
    "พระพุทธเจ้าตรัสเรื่อง "มรณัสสติ" ไว้ว่าอย่างไร"
    http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5638.msg21086#msg21086

     :25:
   
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: มรณัสสติ ควรเจริญเมื่อไหร่
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2012, 06:13:44 pm »
0
อนุโมทนาด้วยค่ะ  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: มรณัสสติ ควรเจริญเมื่อไหร่
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2012, 08:49:44 am »
0
ทำไมต้องเจริญ มรณัสสติ

  เพราะ ความกลัว ต่อการที่จะตาย ด้วยอำนาจอกุศลจิต เป็นสิ่งที่ทำให้ไม่อยากตาย  มีทุกข์เป็นเหตุ
         และ ความอาลัย ( ความห่วง ) ด้วยอำนาจ กุศลจิต เป็นสิ่งที่ทำให้ไม่อยากตาย มีสุขเป็นเหตุ


มรณานุสสติ ควรเจริญทุกวัน และ เจริญบ่อย ๆ นะจ๊ะ
เพราะเป็นกรรมฐาน ที่ อารักขากรรมฐาน อื่น ๆ ได้นะจีะ

ว่าโดยผล แล้ว มรณานุสสติ นั้นจักมีแก่พระอริยะบุคคล ตั้งแต่พระโสดาบัน เป็นต้นไป

ว่าโดยเหตุ แล้ว มรณานุสสติ นั้นจักมีแก่ โคตรภูบุคคล ขึ้นไป คือผู้ปรารถนาพ้นจากสังสารวัฏ

 การฝึก มรณานุสสติ นั้น มีอยู่ 2 แบบ

    แบบที่ 1 เจริญเป็น สติ ตามชื่อ เจริญแบบนี้นึกขึ้น คิดถึง บ่อย ด้วยอำนาจปัญญา ประกอบด้วยสติ ทำให้จิตของผู้เจริญ ได้มีความรู้สึก ปล่อยวาง เข้าใจ ละได้บางอารมณ์ บางโอกาส เป็นบางครั้ง อย่างน้อยเพื่อชนะ โลกธรรม 8 เบื้องต้น

    มีวิธีการคือ การสวด การนึกถึง การคิดถึง ความตาย เพื่อให้รู้สาระแก่นสาร ก่อนตาย และ เห็นความสำคัญ ก่อนที่จะตาย และ เห็นความตายเป็นเรื่อง ธรรมดา มีผลเป็น ธรรมสังเวช เท่านี้ การเจริญเช่นนี้ ทำให้ตัดอาลัยในความตาย ได้ แต่ ไม่สามารถละความกลัว จากความตายได้ เพราะอำนาจ สติ นั้นยังไม่พอ

    การเจริญ อภิณหปัจจเวกขณ ก็เป็นวิธีการนี้ ด้วยเช่นกัน


    แบบที่ 2 เจริญ มรณานุสสติ ด้วยอำนาจ สมาธิ ตั้งแต่ อุปจาระฌาน ขึ้นไป มีผลจิตเข้าสู่ การรู้แจ้งเห็นตามความเป็นจริง ชัดเจน แจ่มแจ้ง ผ่องใส พ้นจากอำนาจแห่งความกลัว และ อาลัย ไม่หวนคืน เกิิดขึ้นแล้วมิอยู่ ไม่เสื่อม ไม่ดับ เพราะผู้ที่เจริญได้นั้น ต้องเป็นพระอริยะบุคคลตั้งแต่ พระโสดาบัน ขึ้นไป

    ผู้ที่เจริญแบบที่สองนี้ เป็นผู้ที่เจริญได้ ถึง นิพพิทานุปัสสนา คือความหน่ายต่อสังสารวัฏ


  ควรเจริญแบบไหน ใน 2 แบบ

    ควรเจริญ มรณัสสติ ทั้ง 2 แบบ เพราะ ทั้ง 2 แบบ เกื้อกูล ซึ่งกันและกัน เพราะ มรณัสสตินั้น ทำลายอัตตา ความเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวเป็นตนของเราได้

   ลำดับการบรรลุธรรมของ มรณัสสติ

   1.การได้ธรรมสังเวช ในเรื่อง ความเกิด และ ความตาย ธรรมของคู่ เห็น ความเกิด และ ตาย เป็นธรรมดา เป็นอำนาจของสติ เบื้องต้น
     
   2.การได้ความหน่าย ต่อ การเกิด และ การตาย อำนาจจิตที่ต้องการพ้นจากอำนาจความเกิดและตาย เป็นอำนาจของสัมปชัญญะ

   3.การได้รูปนิมิตตน และ เห็นรูปนิมิต เป็นของไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ และ ว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวเป้นตน เป็นอำนาจของสมาธิ

   4. จากนี้ไปเป็นอำนาจของวิปัสสนา

   เจริญธรรม

    ;)





บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ