เรื่องทั่วไป > ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน)

หน้าที่ของพระสงฆ์ คืออะไร ครับ ใครรู้บ้างครับ ?

(1/2) > >>

เด็กวัด:
คือจริง ๆ ผมเองก็เป็นเด็กวัด เมื่อถาม พระที่วัด ก็จะตอบว่า คือ กิจวัตร 10 อย่าง

แต่ก็มีผู้คร้านว่า กิจวัตร 10 อย่างมี อยู่ในมนต์พิธี เท่านั้น แต่ กิจของสงฆ์ จริง มีอยู่ในพระไตรปิฏก คือการภาวนา

แล้วอย่างไรเรียกว่า กิจของสงฆ์ครับ


   หรือว่า พระที่บวชกันเข้ามาจริง ๆ  นั้นมีหน้่าที่อย่างไรกันแน่ ๆ

 ขออภัยทุกท่านครับ แล้วกราบขอขมาพระสงฆ์ ทุกรูป นะครับ ที่ถามคำถามในเรื่องพระสงฆ์

  :s_hi: :25: :c017:

sunee:
คุณเด็กวัด ถามคำถามที่จะดึงเข้าไปหา นรกได้ ง่าย เพราะเป็นเหตุที่ไม่มีใคร ใคร่จะวิจารณ์กัน นะจ๊ะ

หน้าที่ของพระสงฆ์ หลัก ๆ ก็น่าจะเป็นการภาวนา เพื่อ ลด ละ ตัดกิเลส และ เผยแพร่ คำสอน ของพระพุทธเจ้า

ชี้ทางเดินที่เรียกว่า อริยมรรค คะ

  :19:

raponsan:


หน้าที่ของพระสงฆ์
   หน้าที่ของพระสงฆ์ในการศึกษาปฏิบัติ
      พระสงฆ์ทุกรูปในพระพุทธศาสนา จะต้องปฏิบัติตามพระวินัยในพระพุทธศาสนาเพราะถือเป็นกฏระเบียบที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้น เพื่อให้พระสงฆ์อยู่ร่วมกันอย่างสงบไม่สร้างความเสื่อมเสียให้แก่พระพุทธศาสนา ทั้งยังเป็นการสร้างศรัทธาให้แก่ผู้พบเห็นด้วย วินัยของสงฆ์มีมากมาย ในสมัยพุทธกาลพระสงฆ์จะต้องมีกิจวัตร ( กิจ = สิ่งที่ต้องทำ วัตร = สิ่งที่ควรทำ ) 2 อย่าง

      1. นิสัย 4 หมายถึง ต้องอาศัยปัจจัย 4 อย่างในการดำเนินชีวิต คือ
         1.1 บิณฑบาตเป็นกิจวัตร คือ ไม่ประกอบอาชีพใด ๆ นอกจากบิณฑบาตเลี้ยงชีพ
         1.2 ถือผ้าบังสกุลเป็นกิจวัตร คือ นำผ้าที่ทิ้งแล้วมาเย็บเป็นจีวร ต่อมาพระองค์อนุญาตให้รับผ้าที่มีผู้นำมาถวายได้
         1.3 อยู่โคนต้นไม้เป็นกิจวัตร คือ อาศัยอยู่ตามถ้ำ ป่า โคนต้นไม้ จะอยู่ประจำเฉพาะฤดูฝน 3 เดือนเท่านั้น
         1.4 ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า คือ ฉันยาสมุนไพรรักษาโรคตามที่หาได้

      2. อกรณียกิจ 4 หมายถึง สิ่งที่พระสงฆ์ไม่ทำ 4 อย่าง คือ
         2.1 ไม่เกี่ยวข้องกับกามารมณ์
         2.2 ไม่ลักทรัพย์
         2.3 ไม่ฆ่าสัตว์
         2.4 ไม่อวดคุณวิเศษที่ตนไม่มี

   หน้าที่ของพระสงฆ์ในการศึกษาอบรม
   พระสงฆ์จะต้องฝึกอบรม กาย วาจา ใจ ให้ครบสมบรูณ์ 3 ด้าน คือ

      1. ด้านศีล ต้องควบคุม กาย วาจา ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย งดเว้นจากข้อห้ามที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ ศีลของพระสงฆ์มี 2 อย่าง คือ
         1.1 ศีลในปาติโมกข์ คือ ศีล 227 ข้อ ของพระภิกษุและศีล 311 ข้อ ของภิกษุณี
         1.2 ศีลนอกปาติโมกข์ คือ ศีลเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ข้อบัญญัติที่เกี่ยวกับมารยาทต่าง ๆ เพื่อความดีงามของสถาบันสงฆ์

      2. ด้านสมาธิ พระสงฆ์ต้องฝึกฝนจิตใจด้วยการฝึกเจริญภาวนา เพื่อทำจิตใจให้สงบ ข่มกิเลสได้ทีละน้อย ๆ จนมากขึ้นถึงขั้นวิปัสนา ภาวนา คือ เกิดปัญญารู้แจ้ง แล้วสละกิเลสได้เด็ดขาด

      3. ด้านปัญญา พระสงฆ์จะต้องศึกษาอบรมตนเองให้เป็นผู้มีปัญญา 2 ด้าน คือ มีปัญญาในสรรพวิทยาการทั้งหลายที่เป็นปัจจุบัน เช่น พระสงฆ์มีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์ก็จะช่วยอธิบายหลักธรรมได้กว้างยิ่งขึ้น นอกจากนี้พระสงฆ์จะต้องมีปัญญาในทางธรรมโดยเข้าใจโลกและชีวิตการปล่อยวางความติดยึดตามลำดับ แล้วพยายามลดละความโลภ โกรธ หลง ให้ลดลงจนกระทั่งหมดไปโดยสิ้นเชิง

อ้างอิง
วิถีธรรมวิถีไทย โดย อ.อมร สังข์นาค
หน่วยที่ 6 เรื่อง พระสงฆ์ หน้าที่ของพระสงฆ์และการปฏิบัติตนต่อพระสงฆ์
http://www.nayoktech.ac.th/~amon/in6_3.html
ขอบคุณภาพจาก http://www.oknation.net/

raponsan:


หน้าที่และบทบาทของพระสงฆ์
           หน้าที่หลักของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา  ได้แก่การศึกษาหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาแล้วปฏิบัติตาม พร้อมทั้งนำหลักคำสอนมาเผยแผ่แก่ประชาชน

        สำหรับพระสงฆ์ไทย  มีหน้าที่และบทบาทที่ต้องรับผิดชอบ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยตรงและเป็นหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ  ดังนี้.-

            1.  ด้านการปกครองคณะสงฆ์     ได้แก่   งานด้านการบริหารพระภิกษุสามเณร     ซึ่งพระสงฆ์ที่มีความรู้ ความสามารถจะได้รับแต่งเป็นเจ้าคณะต่างๆ  ตำแหน่งสังฆราช เป็นตำแหน่งสูงที่สุด รองลงมาได้แก่เจ้าคณะหน เจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบล เจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส และเลขานุการแต่ละเจ้าคณะ เป็นตำแหน่งสุดท้าย, มหาเถรสมาคม ถือว่าเป็นองค์กรปกครองสูงสุดของคณะสงฆ์ทั้งสองนิกาย

            2.  ด้านการจัดการศึกษาแก่พระภิกษุสามเณรและประชาชนทั่วไป  ได้แก่     งานบริหารและเป็นอาจารย์สอนตามสถาบันการศึกษาของสงฆ์ที่มีอยู่ ได้แก่ มหาวิทยาลัยสงฆ์ โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม-บาลี และแผนกสามัญศึกษา (ม.1-ม.6)

            3.  ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา    ได้แก่   การสอน การอบรม  การแสดงธรรม  การปาฐกถาธรรม และการเขียนตำรา และการปฏิบัติธรรม  โดยเผยแผ่ผ่านสื่อต่างๆ  เช่นวิทยุ  โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์  เป็นต้น

            4.  ด้านการก่อสร้างและการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม    หมายถึง  การเป็นผู้ดูแลการสร้างวัดวาอาราม และรักษาบูรณะซ่อมแซม

            5.  ด้านการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์แก่สังคม    ได้แก่ การมีส่วนรวมในการทำประโยชน์แก่สังคมด้านต่างๆ เช่น การจัดการศึกษาแก่เด็กด้อยโอกาส การต่อต้านยาเสพติด การบริจาคเงินทุนแก่หน่วยงานต่างๆ  และการส่งเสริมวิชาชีพต่างๆ เป็นต้น


บทบาทของพระสงฆ์ในปัจจุบันที่ปรากฏในสังคมไทย

พระสงฆ์ไทยมีบทบาทที่ได้ปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมไทยเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้

1.     การจัดการศึกษาแก่ชาวบ้าน (ทั้งมหาวิทยาลัย และระดับมัธยมศึกษา ตลอดจนเด็กเล็ก)
2.     การเป็นครูผู้สอนตามสถาบันการศึกษาต่างๆ
3.     การช่วยเหลือสังคมด้านการบริจาคทุนทรัพย์แก่หน่วยงานต่างๆ 
4.     การช่วยเหลือด้านการรักษาโรคพยาบาลแก่ผู้ยากจน
5.     การเป็นผู้นำชุมชนในการพัฒนาชุมชน
6.     การเป็นผู้นำในการแก้ไขปัญหายาเสพติด
7.     การช่วยเหลือด้านการสร้างสถานที่ราชการ
8.     การเผยแผ่หลักธรรมผ่านสื่อวิทยุ โทรทัศน์ โดยการเป็นผู้แสดงธรรม ปาฐกถาธรรม  และการประพฤติปฏิบัติธรรมฯ

หน้าที่ของพระสงฆ์ตามพระธรรมวินัย

     พระภิกษุสงฆ์ ซึ่งเป็นบรรพชิตในพระพุทธศาสนา มีหน้าที่ศึกษา ปฏิบัติธรรม  เผยแผ่คำสอน และสืบต่อพระพุทธศาสนาโดยตรง  มีคุณธรรมและหลักความประพฤติที่ต้องปฏิบัติมากมาย  แต่กล่าวตามหน้าที่ทางศาสนาแล้ว มี  6  อย่าง  ได้แก่.-

1.     ห้ามปรามสอนให้เว้นจากความชั่ว
2.     แนะนำสั่งสอนให้ตั้งอยู่ในความดี
3.     อนุเคราะห์ด้วยความปรารถนาดี
4.     ให้ได้ฟัง ได้รู้สิ่งที่ยังไม่เคยรู้ ไม่เคยฟัง
5.     ชี้แจงอธิบาย ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
6.     บอกทางสวรรค์ สอนวิธีดำเนินชีวิตให้ประสบความสุข ความเจริญในชีวิต

อ้างอิง
http://watlantong.igetweb.com/index.php?mo=3&art=251287
ขอบคุณภาพจาก http://pic20.picturetrail.com/

ธัมมะวังโส:
คุณ nathaponson ตอบได้ดี ครบถ้วนตามเนื้อหา เบื้องต้น

 แต่จุดประสงค์หลัก ของการบวช ก็คือ การดำเนินตามอริยะมรรค เพื่อข้าม โอฆะ นี้เป็นเหตุแรก

 เพิ่มบารมีธรรม เนกขัมมะบารมี เป็นเหตุสอง ( เพื่อตัดปลิโพธในการภาวนา )

 เพื่อเผยแผ่ พระธรรม วันัย แก่ผู้ที่ ควร แก่การ รับธรรมแ ละวินัย

 เจริญพร

 สาธุ

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป