ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ลักษณะตัดสินธรรมวินัย  (อ่าน 1075 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ลักษณะตัดสินธรรมวินัย
« เมื่อ: มีนาคม 09, 2015, 08:20:46 pm »
0


ลักษณะตัดสินธรรมวินัย

   ในงานชุมนุมส่งเสริมวัฒนธรรมไทย 20 มิ.ย.2508 ม.จ.หญิง พูนพิศมัย ดิศกุล กล่าวไว้ตอนหนึ่ง
    ขอให้ช่วยกันเรียนพุทธศาสนา ให้ถึงขีดที่จะตอบโต้เขาได้ทุกอย่าง ตัวอย่างของพวกไทยเรา มักจะถามกันว่า สวรรค์ นรก มีจริงไหม เด็กฝรั่งอายุ 19 เคยถามว่า พระนิพพานนี่น่ะ จะไปกันเป็นๆได้ไหม หรือจะต้องรอจนตายแล้ว

    กองตำราคณะธรรมทาน ได้แถบบันทึกเสียงคำบรรยายธรรมะ ของท่านอาจารย์พุทธทาส จัดทำต้นฉบับ หนังสือที่มีความรู้ในพุทธศาสนา มีความเข้าใจ และมีความเห็นแจ้ง สามารถอธิบาย ตอบปัญหาดังกล่าวได้
    หนังสือเล่มนี้ชื่อ การศึกษาธรรมะอย่างถูกวิธี (จัดพิมพ์ ในโอกาส 100 ปีพุทธทาส พ.ศ.2449-2549)

    ตัวอย่าง หากมีปัญหาเกิดขึ้นว่า การปฏิบัติอย่างใด จะเป็นไปถูกต้องตามหลักแห่งการดับทุกข์หรือไม่ หรือสงสัย จนมีคำถามถึงวัตรปฏิบัติของพระภิกษุสงฆ์ในพุทธศาสนา...


    ans1 ans1 ans1 ans1

    หาคำตอบได้จาก “ลักษณะตัดสินธรรมวินัย 8”
    ถ้าธรรม (การปฏิบัติ) เหล่าใด...
    1. เป็นไปเพื่อความกำหนัดย้อมใจ
    2. เป็นไปเพื่อการประกอบทุกข์
    3. เป็นไปเพื่อสะสมกองกิเลส
    4. เป็นไปเพื่อความอยากใหญ่
    5. เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษ
    6. เป็นไปเพื่อความคลุกคลี
    7. เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน
    8. เป็นไปเพื่อความเลี้ยงยาก


     st12 st12 st12 st12

    ถ้ายังเข้าใจไม่พอ มีคำอธิบาย
    ความกำหนัดย้อมใจ ได้แค่ความติดใจรักยิ่งๆขึ้น ในสิ่งที่เกี่ยวข้อง เช่น การดูหนังดูละคร ชอบคิดฝันถึงสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งราคะ ก็ย่อมทำจิตให้ถูกย้อมด้วยราคะมากขึ้นๆ เป็นไปเพื่อความประกอบทุกข์ ส่วนใหญ่ได้แก่การปฏิบัติที่เรียกว่าอัตตกิลมถานุโยค คือการทรมานตนอย่างงมงาย ทำด้วยความไม่รู้เท่าถึงการณ์ ด้วยความเข้าใจผิด ด้วยอำนาจของโมหะ ความอยากดีอยากเด่น

    สะสมกองกิเลส หมายถึง การเพิ่มพูน โลภะ โทสะ โมหะ เช่นการมีเครื่องประดับ เครื่องใช้ที่ไม่มีความจำเป็น แต่เป็นไปเพื่อความลุ่มหลง ความเห่อเหิมทะเยอทะยาน ประกวด ประขันกัน ขยายทางมาของกิเลสให้กว้างขวางไปไม่มีที่สิ้นสุด

    ความอยากใหญ่ หมายถึง ความอยากเกินมาตรฐานของสถานะ หรือกำลังสติปัญญา ความไม่สันโดษ ไม่รู้จักพอใจในสิ่งที่ได้มา หรือมีอยู่แล้ว

    ความคลุกคลี หมายถึง การระคนกันเป็นอยู่ เพื่อความเพลิดเพลินอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีรสดึงดูดในทางธรรมารมณ์ มีความยั่วยวน ไม่แพ้อารมณ์ที่ได้รับทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย แต่การประชุมกันเพื่อศึกษาเล่าเรียน ปรึกษาหารือกิจการงานอันเป็นหน้าที่ ท่านไม่เรียกว่า การคลุกคลี การนั่งคิดฝัน กลุ้มรุมด้วยสัญญาอดีต ที่เคยผ่านมาแล้วแต่หนหลัง นั่งคิดฝันคนเดียว สงเคราะห์ไว้ในคำว่า การคลุกคลีในหมู่ ได้อย่างหนึ่ง

    การเกียจคร้าน และคำว่า เลี้ยงยาก มีความหมายชัดแจ้ง การปฏิบัติทำความดับทุกข์ จึงไม่ต้องมีเรื่องภาระอาหารมากกว่าที่จำเป็น

     :96: :96: :96: :96:

     ท่านอาจารย์พุทธทาสสรุปว่า ลักษณะทั้ง 8 นี้ เป็นปฏิปักษ์ต่อการปฏิบัติ เพื่อความดับทุกข์โดยตรงก็มี เป็นเพียงอุปสรรคก็มี เป็นการปฏิบัติผิดโดยตรงก็มี ถือว่า การปฏิบัติเหล่านี้ ไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่คำสอนของพระศาสดา

     วันเพ็ญกลางเดือน 3 วันศิวราตรี ของพวกพราหมณ์ ศิษย์จะต้องกลับมาคารวะ ดูแลอาจารย์ เมื่อพราหมณ์ไปบวชในพระพุทธศาสนา 1250 พราหมณ์พระอรหันต์ ก็นัดกันมาขอฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า


     การปฏิบัติต่างๆ ความเคลื่อนไหวนานาของพระสมัยนี้...ฟังธรรมทบทวนจากท่านอาจารย์แล้ว ก็ชัดเจน...พระที่อยู่ในธรรม อยู่ในวินัย...ยังพอมี เพียงแต่ไม่ได้เห็นหน้าท่านทางทีวี.

 

คอลัมน์ชักธงรบ โดยกิเลน ประลองเชิง
http://www.thairath.co.th/content/484822
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ