ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: นั่งกรรมฐาน แล้วได้ยินเสียงแปลก ๆ รอบตัว ควรทำอย่างไร ต่อครับ ?  (อ่าน 5655 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

แพนด้า

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 248
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
นั่งกรรมฐาน แล้วได้ยินเสียงแปลก ๆ รอบตัว ควรทำอย่างไร ต่อครับ ?
 ตอนแรกก็ได้กลิ่น ตอนนี้กลิ่นหายไปแล้ว กับกลายเป็นเสียง เริ่มเป็นดังนี้ครับ
  1.เริ่มได้ยินเสียง ลมหายใจ เสียงหัวใจ
  2.ได้ยินเสียงที่ห่างออกไปชัดขึ้น
  3.ได้ยินเสียงแปลก ๆ ที่ฟังไม่รู้เรื่อง
  เลยกลายเป็นความรำคาญเพราะไม่อยากได้ยิน ควรทำอย่างไร ต่อ ดีครับ

  :25: :c017:
 
บันทึกการเข้า

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ในแนวกัมมฐานที่ผมปฏิบัติอยู่นะครับ อาจจะให้คำตอบ้ไม่ครบพร้อมต้องรอถามพระอาจารย์ธัมมวังโสและผู้รู้อีกทีนะครับ

1. ธรรมชาติเมื่อสมาธิจดจ่อมากขึ้น จะได้ยินเสียงลมหายใจตนเองดังมาก อย่าตกใจไม่งั้นจะหลุดดจากสมาธิจะไม่สามารถข้ามขั้นขึ้นไปได้อีก ให้นั่งพิจารณาตามลมหายใจ หรือ บริกรรมภาวนาต่อไป ไม่นานจะข้ามไปสู่สภาวะลมหายใจที่ละเอียดอ่อนขึ้นจนเหมือนไม่หายใจ แต่จริงๆเรายังหายใจปกติ เพียงแต่เมื่อสมาธิจดจ่อมากขึ้นลมหายใจและจิตก็จะละเอียดอ่อนมากขึ้น
2. ได้ยินเสียงชัดขึ้น ก็เป็นปกติเมื่อสมาธิในขั้นนี้เกิด เมื่อได้ยินก็รู้ว่าได้ยิน แล้วก้บริกรรมภาวนาต่อไป
3. เป็นไปได้ทั้งอุปาทานและความจริง อย่าไปใส่ใจในสิ่งนี้มากให้จดจ่ออยู่กับสมาธิเพื่อข้ามขั้นต่อไป

- หากเมื่อสามารถเข้าสู่สภาวะจิตว่าง ยังมีความตรึกนึกคิดรู้อยู่ มีความปิติสุข แต่ไม่ปรุงแต่งคิดเป็นเรื่องราวใดๆ มีแค่สภาพรู้อยู่เท่านั้น  ก็ให้ตัวรู้นั้นดูสภาพของจิตนี้ไป จนกว่าจะเข้าถึงสภาพว่าง ไม่ปรุงแต่ง จดจ่อแต่อยู่กับสมาธิจิตนั้น ก็ใช้ตัวรู้นี้แหละดูสภาพจิตความปรุงแต่งนั้นไป
- เมื่อจดจ่อได้นานเท่าไหร่ ก็แสดงว่าจิตมีกำลังมากเท่านั้น ให้ปฏิบัติจนสามารถเข้าสมาธิเมื่อไหร่ก็ได้ที่ต้องการ วิธีเข้าแต่ละคนอาจจะต่างกัน แต่ผมเวลาจะเข้าสมาธิหรือกุศลจิตใดๆ จะตั้งกำหนดที่ลมหายใจเข้า เมื่อหายใจออกก้เข้าสมาธิจิตเลย หรือ กุศลจิต เช่น เมตตา กรุณา เป็นต้นทันที โดยจะตัดขาดจากความคิดปรุงแต่งในอกุศลที่เป็นไปใน รัก โลภ โกรธ หลง
- เมื่อเข้าได้ก็ต้องหัดถอยออกจากสมาธิจิต ถ้าถอยในแบบที่ผมศึกษาจากที่พระอาจารย์ตอบปัญหา ท่านจะถอยเป็นลำดับขั้น เช่น เมื่ออยู่อุเบกขา เอกัคตาได้แล้วจะถอยออกมาสู่ --> อุเบกขา และ สภาพที่มีความอิ่มเอมสุข --> ถอยมาสภาพที่การรับรู้ทางหู ทางกาย ทางใจ(ธัมมารมณ์) แต่ยังคงจดจ่อในสมาธิจิตอยู่ --> ถอยออกจากสมาธิจิต อยู่ในสภาวะปกติ
- เมื่อชำนาญในสมาธิจิตและสามารถเข้าออกดั่งใจได้แล้ว ก็ให้ถอยมาอยู่สภาพที่  ถอยมาสภาพที่การรับรู้ทางหู ทางกาย ทางใจ(ธัมมารมณ์) แต่ยังคงจดจ่อในสมาธิจิตอยู่ พิจารณาในธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ ในทั้งอริยะสัจ๔หรือพระสูตรข้อธรรมใดๆ
- เมื่อเห็นจริงตามธรรมนั้นแล้วให้พิจารณาในสิ่งที่รับรู้ต่างๆที่เป็นสภาพปรมัตถธรรม (การพิจารณาในขั้นนี้จะต้องตัดความนึกคิดปรุงแต่งออกไปเพื่อรับรู้สภาพที่เป็นจริงเท่านั้น)

แนวทางปฏิบัติของผมเป็นสายพระป่าตอนที่บวชอยู่ ซึ่งเมื่อปฏิบัติไปนานจะรู้เห็นเพิ่มขึ้นและเป็นวิถีแนวทางและจริตของผม อ่านเพิ่มเติมได้ตาม Link นี้ครับ หากไม่ก่อเกิดประโยชน์ก็ขออภัยด้วยครับ

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7416.0

ผมก็ปฏิบัติรู้มาน้อยเพียงเศษฝุ่นแค่นี้ต้องรอพระอาจารย์ธัมมวังโสและผู้รู้ท่านอื่นมาตอบอีกครั้งครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 17, 2012, 02:28:49 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เมื่อเราฝึกกรรมฐานมาได้ระยะหนึ่ง ก็จะรู้สึกว่า หูดีตาดีจมูกดี เพราะการฝึกกรรมฐาน เป็นการฝึกกรรมฐาน เป็นการฝึก วิตก วิจาร เพื่อไปสู่ ปีติ สุข เอกัคตา
          หากเรายังฝึกอยู่ในขั้นพระลักษณะ ตั้งรูปอยู่
             ก็ควรปล่อยความลังเลสงสัยต่างๆ ไปก่อนเพราะเราฝึกเป็นขั้นๆ
              เรื่องอารมณ์ความรู้สึก เป็นพระรัศมี เป็นนามธรรม ที่จะต้องเรียนรู้ในลําดับต่อไป
           ควรจะทําอย่างไรต่อ.......ขอให้อยู่กับนิมิตสามประการ
              ปล่อยวิตกวิจาร ที่เกิด ทางอายตนะเหล่านั้น ปีติ สุขทั้งหลายก็จะพอกเข้ามา
        แต่ถ้าในธรรมขั้นสูง ตอนทําฌาณ วิตกวิจารคือบาปอกุศล เพราะสุดท้ายก็ต้องเหลือแค่ หรือใช้แค่ เอกัคตา อุเบกขา

              แต่ในเมื่อเรา รู้เห็นได้ยิน ถ้ารู้สึกว่าจิตออกมา ก็ผนวกอุเบกขา กลับเข้านิมิตสามประการงานสามอย่าง

              อย่ากังวลจนทิ้งนิมิตสามประการ และหลุดจากงาน
               ปิติ ยุคล สุข ก็ไม่ทิ้งนิมิตทั้งสามประการนี้
                 จนถึง บริกรรมปฐวีกสิน บริกรรมดินให้เป็นอากาศ บริกรรมอากาศให้เป็นดินก็ยังไม่ทิ้ง

                 บริกรรมรูป บริกรรมอุปาทายรูป ก็ยังไม่ทิ้ง

                  บริกรรมอุปจาร พุทธานุสติ  บริกรรมกรรมฐานสองส่วน

                  บ้างว่าธรรมจัก-ธรรมกาย(วันก่อนเห็นคุณเนเชอร์นานํารูปของลัทธิเต๋ามาลงไว้ได้ใกล้กับเข้าจักรสุกิตติมา ของเราก็มีสวด แต่สวดสัมปยุตธรรมพระคาถา แปดคํา แปดจักร แต่ของเราภาษาไทย หมุนธรรมกายธรรมจักรลักษณะรัศมี อุคหนิมิตปฏิภาคนิมิต เราก็ยังใช้คําบริกรรมนิมิตสามประการอยู่โดยตลอด)
                  บ้างว่าบริกรรมฌาณสมาบัติ หรือฌาณญาณ
                    บ้างว่าจับ รูปนามสมาบัติ   แต่กรรมฐานมัชฌิมาไม่เรียกว่าฌาณสมาบัติ ของเราเรียกว่า ปีติ ยุคล กายสุข-จิตสุข   ก็คือได้กรรมฐานสองส่วน ก็คือจับสมถะ- วิปัสสนา นี้แหละ ควงลมหมุนลม สับคืบเข้าคืบ เข้าวัดออกวัด เข้าสะกดไปตามลําดับ....เพื่ออะไร
                        ก็เพื่อหาห้วงเวลาแห่งยถาภูตญาณทัศนะ....กายพุทธะ
               ที่ว่ามาทั้งหมด เรายังคงอยู่ที่ การงาน นิมิตสามประการตลอดไป
                 อย่าลืมส่งอารมณ์กับพระอาจารย์กรรมฐานด้วยนะ
        กรรมฐานจะได้ก้าวหน้า
               
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 17, 2012, 10:31:59 pm โดย aaaa »
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุ..พระอาจารย์ตอบได้แจ้งใจและเป็นประโยชน์มากครับ ผมขอน้อมนำไปศึกษาปฏิบัติด้วยครับ
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
นั่งกรรมฐาน แล้วได้ยินเสียงแปลก ๆ รอบตัว ควรทำอย่างไร ต่อครับ ?
 ตอนแรกก็ได้กลิ่น ตอนนี้กลิ่นหายไปแล้ว กับกลายเป็นเสียง เริ่มเป็นดังนี้ครับ
  1.เริ่มได้ยินเสียง ลมหายใจ เสียงหัวใจ
  2.ได้ยินเสียงที่ห่างออกไปชัดขึ้น
  3.ได้ยินเสียงแปลก ๆ ที่ฟังไม่รู้เรื่อง
  เลยกลายเป็นความรำคาญเพราะไม่อยากได้ยิน ควรทำอย่างไร ต่อ ดีครับ



  จิตของผู้บำเพ็ญภาวนากรรมฐาน จะมีลักษณะ คือ ว่องไว บริสุทธิ์ เมื่อภาวนาไปจนถึงความสงบตั้งแต่่ระดับ ขณิกะสมาธิขั้นหยาบ ขึ้นไปก็จะมีความสามารถทางอายตนะ สูงขึ้น หูดี สัมผัสดี ขึ้น จนกระทั่ง เป็นหูทิพย์ สัมผัสทิพย์ อย่างนี้ ก็เป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่เป็นเรื่องผิดปกติ ถ้าไม่มีอาการสิ่งเหล่านี้ก็แสดงว่า สมาธิยังไม่ดี

  ดังนั้นคำตอบแรก ก็คือ ทำสมาธิได้ดี มีผลเกิดขึ้น ตามที่ควรจะเป็น
  แต่เป้าหมายของการฝึกสมาธิ ไม่ใช่สิ่งนี้ สิ่งที่เป็นเป้าหมายในการฝึกสมาธิ ของกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับเบื้องต้น คือการเข้าถึงพระลักษณะ และ พระรัศมี

  ดังนั้นขอวางจิตเป็นกลาง คือ อยู่ที่ การภาวนาที่ ฐานจิต และ คำบริกรรม ต่อไป สิ่งทีเห็น หรือเกิดขึ้นเพียงรับทราบไว้เท่านั้นพอแล้ว หน้าที่ต้องภาวนาต่อไป อย่ามัวเสียเวลาไปชมนก ชมไม้ เดินทางไปให้ถึง สิ่งที่ถามมานั้นเรียกว่า ห้องแวะ จุดชมวิว บางคนแวะนาน ชมนานเสียเวลามาก จนรถออกไปแล้วต้องเดินเองลำบาก ดังนั้น ถ้าเราอธิษฐานเป้าหมายไว้ก็ควรทำเป้าหมาย ปล่อยให้สิ่งที่เกิดเป็นสิ่งที่รับทราบไว้เท่านั้นพอ ให้ภาวนาตั้งมั่น ในนิมิต 3 ประการ คือวางอารมณ์เป็นกลางภาวนาต่อไป ในฐานจิต และ บริกรรมนั้น ๆ

  เมื่อจิตมั่นคงก็จะคลายความยินดี และ ยินร้ายเอง

  เจริญธรรม / เจริญพร

  ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ