ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การเจริญภาวนา "พรหมวิหาร 4." ในชีวิตประจำวัน ไม่ยากอย่างที่คิด  (อ่าน 513 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


การเจริญภาวนา "พรหมวิหาร 4." ในชีวิตประจำวัน ไม่ยากอย่างที่คิด

พรหมวิหาร 4 เป็นคำสอนหนึ่งของพระพุทธเจ้า ที่มีความหมายว่า เครื่องแห่งพรหม พรหมในคติของพระพุทธศาสนาหรือในสมัยพุทธกาลเชื่อว่า เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา เป็นนิสัยของพรหม หากผู้ใดมีนิสัย 4 อย่างนี้ ก็มีความเป็นพรหมอยู่กับตัว หากสิ้นบุญก็จะเกิดยังพรหมโลก ถึงจะเป็นคำสอนที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ก็จริง แต่เหมือนว่าจะปฏิบัติตามได้ยาก เพราะมีอุปสรรคตัวสำคัญคือความโกรธ บทความนี้จะมุ่งเรื่องการภาวนาด้วยพรหมวิหาร 4 ซึ่งสามารถทำได้ในชีวิตประจำวัน

@@@@@@

คัมภีร์วิมุตติมรรคบรรยายไว้ว่า

เมตตา : เปรียบเหมือนพ่อแม่มองดูลูกของตน ทำจิตด้วยความเมตตา มีความปรารถนาดีต่อลูก หากกระทำให้จิตมีความเมตตาและปรารถนาดีต่อสรรพสัตว์ได้เฉกเช่นพ่อแม่เมตตาลูก อานิสงส์แห่งเมตตาภาวนาย่อมเกิดขึ้น คือ
 
(1) เธอหลับเป็นสุข
(2) ตื่นเป็นสุข
(3) ไม่ฝันร้าย
(4) เป็นที่รักของมนุษย์
(5) เป็นที่รักของอมนุษย์
(6) เทวดาย่อมรักษาคุ้มครองเธอ
(7) ไฟ ยาพิษ และอาวุธทำอันตรายไม่ได้
(8) จิตจะเป็นสมาธิ ถ้ายังไม่บรรลุพระนิพพาน ก็จะได้เกิดยังพรหมโลก


@@@@@@

เมตตาภาวนา : คือ การแผ่เมตตา การที่จะประคับประคองให้จิตมีเมตตา จะต้องเห็นโทษของความโกรธ หากความโกรธเกิดขึ้นแล้ว ย่อมเผาพลาญความเมตตาจนสิ้นไป หากปล่อยให้ความโกรธเข้าครอบงำบ่อย ๆ อาจทำให้ขาดสติ ทำร้ายตัวเอง ผู้อื่น หรือแม้กระทั่งบุพการี ความโกรธนี้ยังเป็นต้นเหตุให้พระเทวทัตตามจองเวรพระผู้มีพระภาคเจ้ามาหลายภพ-ชาติ แม้ในสมัยพุทธกาลก็ยังมีความโกรธเคืองส่งผลให้คิดประทุษร้ายพระพุทธเจ้า

การที่จะละความโกรธได้ คือ
(1) ช่วยเหลือคนที่เราไม่ชอบ 
(2) นึกถึงแต่ความดีของเขา
(3) มีความปรารถนาดี
(4) เขากับเราต่างก็มีความทุกข์
(5) เขาทำให้เราโกรธเพราะเป็นหนี้กรรม
(6) นึกถึงความเป็นญาติ
(7) ให้อภัยคนเราผิดพลาด
(8) ไม่ควรใส่ใจกับความโกรธนี้อีก
(9) พิจารณาว่าเป็นเรื่องธรรมชาติ
(10) เดี๋ยวก็หายโกรธ เพราะเป็นเพียงอารมณ์ชั่ววูบ
(11) เป็นเรื่องที่เกิดจากขันธ์ 5.
(12) คิดว่าไม่มีสิ่งใดเป็นตัวตน เพราะสุดท้ายก็เป็นสุญญตา (ความว่างเปล่า)

ความเมตตาเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ เพราะความเมตตานี้เองทำให้พระโพธิสัตว์ตั้งมหาปณิธาน เพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นจากการเวียนว่ายในสังสารวัฏ ดังนั้นเมตตาจึงเป็นบ่อเกิดของพระโพธิสัตว์ให้มีจิตปรารถนาพระโพธิมรรคเพื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

@@@@@@

กรุณา : เปรียบเหมือนพ่อแม่มองดูลูกด้วยความสงสาร ดังนั้นผู้ที่สงสารผู้อื่นย่อมเรียกว่าเป็นผู้มีกรุณา กรุณาภาวนาคือการมองเห็นสิ่งใดแล้ววิเคราะห์ด้วยปัญญาได้ว่าสิ่งนั้นกำลังเป็นทุกข์ ผู้นั้นยังเป็นผู้ปฏิบัติกรุณาภาวนา เช่น สงสารผู้ที่เจ็บไข้ ผู้ที่ถูกความแก่ครอบงำ ผู้ที่ตกอยู่ในอวิชชา เมื่อเกิดความกรุณาแล้ว การฆ่าย่อมไม่เกิดขึ้น

มุทิตา : เปรียบเหมือนพ่อแม่มองลูกด้วยความชื่นชม การเปล่งคำว่า “สาธุ” หรือเห็นสิ่งต่าง ๆ ด้วยใจที่เป็นกลาง อันเกิดจากการไตร่ตรองด้วยปัญญาแล้ว เมื่อมีมุทิตาเกิดขึ้นในจิต การพูดจาโกหกหรือไร้สาระ เพ้อเจ้อย่อมไม่มี จะมีแต่การกล่าวตามจริง ตามสมควร และการยกย่องการกระทำที่ถูกต้องเท่านั้น

อุเบกขา : เปรียบเหมือนพ่อแม่ที่ไม่เอาใจใส่ลูกเกินไป และไม่ละเลยลูกจนเกินไป เป็นการใส่ใจที่พอประมาณ ผู้ปฏิบัติอุเบกขาย่อมใส่ใจคนรอบข้างแบบไม่มากไม่น้อยเกินไป ผลที่ตามมาคือความไม่ยึดมั่นถือมั่นเกิดขึ้นแล้ว ที่จริงแล้วหากยึดในเมตตา กรุณา และมุทิตา ผลที่ตามมาคืออุเบกขาโดยอัตโนมัติ อุเบกขาจะทำให้ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่ลักขโมย และไม่ดื่มสุรา เพราะใจเป็นกลางแล้วจะไม่ยุ่งหรือสนใจในกิเลสอีกต่อไป


 

ที่มา วิมุตติมรรค แปลโดยพระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) และคณะ
ภาพ Image by Capri23auto from Pixabay
ขอบคุณ : https://goodlifeupdate.com/healthy-mind/144351.html
By nintara1991 ,12 March 2019
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ