ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 10
 11 
 เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2024, 07:48:58 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan


.



‘เที่ยวมุกดาหาร’ แวะ ถ้ำโส้ม....พระใหญ่บนหน้าผา

‘เที่ยวมุกดาหาร’ ครั้งนี้ เมื่อเห็น ‘พระใหญ่บนหน้าผา’ ชวนให้สะดุดตา สะดุดใจ ฉุกคิดถึงสอนของพระพุทธองค์ ที่พอจะนำมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต สู่ความสงบสุขได้บ้าง

ผมมีโอกาสได้ไปใช้ถนนสายใหม่ถนนหมายเลข 12 หรือ AH 12 (กาฬสินธุ์-คำชะอี)ที่ต่อไปถึง จังหวัดมุกดาหาร เป็นถนนที่เปิดใช้มาปีกว่าๆแล้ว เป็นถนนที่สวยมาก เป็นถนนคู่ขนานไป-กลับ ข้างละ 3 เลน(ถ้าจำไม่ผิด) ทิวทัศน์สองข้างทางสวยมากโดยเฉพาะช่วงใกล้ๆ กุฉินารายณ์ไปคำชะอี มีภูเขาสองฝั่งทาง เส้นทางสูงต่ำ   รถไม่มาก ขับรถเล่นเพลินๆ แต่หลายคนบ่นว่าไม่มีปั้ม ถนนเปิดใหม่ เข้าใจว่าคนที่อยากทำปั้มก็คงเตรียมหาที่หาทางอยู่ละครับ ไม่นานก็คงมี

จากกาฬสินธุ์ไปพอไปถึงแยกตรงบ้านนาไคร้ จะมีถนนที่มาจากกุฉินารายณ์มาเชื่อมรวมเป็นถนนเส้นเดียวกัน ช่วงนี้แหละวิวสวย เป็นถนนเส้นเดียวไปไม่เท่าไหร่ ก็จะแยกเป็นสองเส้นคู่ขนานกัน สายบนคือ สาย 12 ส่วนสายล่างคือถนนสายเก่า สาย 299 ให้ใช้ถนนสายล่างนี้ มันก็จะผ่านบ้านคำพอก ผ่านน้ำตกตาดโตน

จนกระทั่งไปถึงอำเภอหนองสูง ซึ่งถ้าตรงไปตามถนนสาย 299 เดิม ก็จะไปอำเภอคำชะอีไปบรรจบกับถนนสาย 12 นั่นเอง แต่ตรง ‘อำเภอหนองสูง’ นี้ เราจะใช้ถนนหมายเลย 2370 ซึ่งถนนเส้นนี้ จะไปทะลุออกอำเภอนิคมคำสร้อย แล้วก็ไปบรรจบถนนสาย 212 ซึ่งมาจากทางอำนาจเจริญ หรืออุบลฯ แล้วก็ไปจังหวัดมุกดาหารได้เช่นกัน 

ที่ต้องอธิบายเรื่องถนนตัดใหม่นี้ค่อนข้างมาก เพราะถ้าเราเผลอวิ่งไปบนถนนสายที่ตัดใหม่แบบขับเพลินๆ มันจะหลงไปไกลเลยครับ สมมติว่าเลยจุดที่เราจะแวะ แต่มันไม่มีทางเข้า ทางกลับรถอะไรไกลกันมาก ไม่มีชุมชน ไม่มีคนให้ถามทาง มีแต่สวนยางพารา เพราะชุมชนต่างๆ จะมาอยู่ริมถนนสายเก่า หมายเลข 299 กันหมด

ย้อนกลับมาที่ อำเภอหนองสูง อำเภอนี้เป็นอำเภอเล็กๆ บรรยากาศชนบท แต่ก็ไม่ได้ทุรกันดารอะไรถนนหนทางก็ดี ถนนสาย 2370 ที่เราจะใช้เดินทางนี้ จะผ่านหมู่บ้านในชนบท มีทิวทัศน์สองข้างทางสวยงามมากโดยเฉพาะในฤดูฝน ทุกอย่างดูเขียวขจี สดชื่น มีวิวทุ่งนา ภูเขาสองฝั่งทาง จนเข้าเขตเทศบาลตำบลบ้านเป้า ทางขวามือ(หรือด้านตะวันตกของถนน) 



ภาพที่สะดุดตา ย่านบ้านเป้า สิ่งปลูกสร้างบนหน้าผาสูง

ก็จะมี ภูเขาหินทราย สูง   หลังเขาแบนราบแบบภูเขาหินทรายทั่วไป   มีหน้าผาตัดตรง   และเห็นสิ่งก่อสร้างคล้ายศาลาอยู่บนภูเขาสูง เป็นที่สะดุดตานัก จนต้องจอดรถดู   แล้วก็เหลือบไปเห็นป้าย วัดถ้ำโส้ม หรือ วัดถ้ำผาขาว  ถามชาวบ้านเพื่อความมั่นใจว่าใช่ไหม   พอชาวบ้านบอกว่าใช่  ผมก็ยังสงสัยว่า แล้วมันจะมีทางรถยนต์ขึ้นไปได้เหรอ ก็ในเมื่อมันสูงชันขนาดนั้น

“เข้าไปเถอะ  ขึ้นได้”

พอชาวบ้านให้ความมั่นใจ ผมก็เลี้ยวรถเข้าไปทันที ทางเข้าเป็นทางปูนเล็กๆสองข้างทางเป็นนาข้าวบ้าง สวนยางพาราบ้าง ดีที่พอมีทางแยก เขาจะมีป้ายบอกตลอด พอใกล้ไปถึงตีนเขา ทางจะเริ่มชันขึ้น ก็ขับไปตามทางเรื่อยๆ จนสุดทาง มีศาลาเล็กๆ มีห้องน้ำ เราก็รู้แล้วว่าเป็นเขตวัด ก็จอดรถ แล้วเดินเท้าไปตามทาง ซึ่งจริงๆก็เป็นถนนปูน แต่เขาไม่ให้รถขึ้น ให้เดินเท้าอย่างเดียว ทางก็ชันไปเรื่อยๆ หักศอกซ้ายขวา ไปมาจนไปเห็นอาคารสูงสร้างติดอยู่กับหน้าผานั่นแหละ จึงรู้ว่ามาถึงจนได้



ทางเข้าวัดถ้ำผาขาวหรือวัดถ้ำโส้ม ในเทศบาลตำบลบ้านเป้า


แม้ทางเขาจะมีหลายแยกแต่ ก็มีป้ายบอกตลอดทาง


สิ่งปลูกสร้างบนหน้าผาสูง

อาคารนี้เป็นอาคารที่สร้างติดหน้าผาอย่างที่บอก  รูปทรงคล้ายป้อมค่ายที่เคยเห็นในอินเดีย   แต่จริงๆที่สร้างแบบนี้คงจะเป็นด้วยสถานที่บังคับ  เท่าที่เห็นมีอยู่ 2-3 ชั้น  และที่สำคัญ   กำลังอยู่ในการก่อสร้าง ยังไม่แล้วเสร็จ ผมว่าทั้งหมดคงเสร็จไปแค่ 50 %  เท่านั้น โดยเฉพาะชั้นล่างนั้น กองวัสดุ อุปกรณ์ช่าง เครื่องไม้เครื่องมือระเกะระกะไปหมด  มีการแกะสลักผนังหินทราย เป็นภาพพุทธประวัติด้วย แต่ยังไม่แล้วเสร็จ


ทางเดินขึ้นเขา ที่ห้ามนำรถยนต์ขึ้น เดินเท้าอย่างเดียว


อาคารที่เห็นบนภูเขาสูง ก็มาถึงจนได้

มีช่องทางเล็กๆแทรกเข้าไปยังบันได ที่นำพาขึ้นไปชั้นบน ซึ่งเป็นลานโล่ง ส่วนหนึ่งของลานมีหลังคาคลุม มีพื้นที่ยกสูงขึ้นมาหน่อยหนึ่ง มีโต๊ะหมู่บูชา ลานด้านนอก เปิดโล่ง มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่และพระอัครสาวกซ้ายขวา แกะสลักไปบนหน้าผาหินทราย กลายเป็นว่าศาลาที่เห็น เป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาใช้แทนพระอุโบสถ โดยมีพระพุทธรูปแกะสลักเป็นพระประธานของสถานที่


ชั้นล่าง ที่ยังก่อสร้างไม่เสร็จ จึงยังมีวัสดุอุปกรณ์มากมาย

ภูเขาที่เห็นนี้เป็นภูเขาลูกเดียวกันกับ ผาน้ำทิพย์’ หรือเจดีย์ชัยมงคล ในอำเภอหนองพอกของร้อยเอ็ดนั่นเอง เป็นภูขาลูกเดียวกันแบ่งแดนกัน ครึ่งหนึ่งอยู่ทางร้อยเอ็ด อีกครึ่งอยู่ทางมุกดาหาร


รูปแกะสลักที่หน้าผาหิน ในชั้นล่าง

เคยอ่านเจอว่าเหตุที่สร้างพระพุทธรูปบนหน้าผา นี้มาจากการที่เมื่อ มีนาคม 2544 กลุ่มตาลีบัน ในอัฟกานิสถาน ได้ระเบิดพระพุทธรูปที่เมืองบาบียัน ทิ้งอย่างไม่แยแส จึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจให้คณะสงฆ์แห่ง วัดถ้ำโส้ม ร่วมกับญาติโยมผู้มีจิตศรัทธา สร้างพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้นมาบนหน้าผาสูงดังกล่าว ซึ่งนอกจากจะมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่แล้ว ยังมีการแกะสลักหินทราย เป็นภาพพุทธประวัติต่างๆ อีกมากมาย บนหน้าผาในส่วนอื่นๆด้วย


ทางขึ้นสู่ชั้น ๒ ยังคงก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ


ชั้น ๒ คือชั้นดาดฟ้า มีศาลาเป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางสงฆ์ แทนศาลา แทนอุโบสถ

สิ่งที่เป็นที่น่าชื่นชมจากลานหน้าพระพุทธรูปแกะสลักคือ ทิวทัศน์เบื้องล่าง ที่มองไปเห็นชุมชนใน ตำบลบ้านเป้า ภูเขาในเขตอำเภอหนองสูง ที่เป็นหลังแป ตามสไตล์ ภูเขาหินทราย ไกลๆออกไปคือแนวภูเขาใหญ่ใน เขตคำชะอี และต่อเนื่องกันไป  สวยงามมาก โดยเฉพาะในฤดูฝน ทุกอย่างจะแลดูเขียวขจี สวยงาม มีสายลมพัดเอื่อยๆ เสียงนกร้อง เพลินเลยแหละ ชนิดที่ดูกี่ครั้ง ดูนานขนาดไหนก็ไม่เบื่อ ถ้าจะมีเสียอย่างเดียวก็คือ


ภาพแกะสลักทางศาสนาต่างๆ บนหน้าผาหินทราย

นักท่องเที่ยว...!

ถ้าทุกคนรู้ว่าไปเที่ยววัด แล้วไม่ส่งเสียงดัง ไม่กระโดดโลดเต้น ไม่ตะโกนชักชวนกันมามุมนั้นมุมนี้ ราวกับมองไม่เห็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่บนหน้าผา ไปเที่ยว ไปดู ก็ไปด้วยอาการสำรวม วัดเปิดให้เข้าเที่ยวชม ก็อย่าไปแสดงอากัปกริยาจนเลยเถิด ต้องคิดเสมอว่านี่คือวัด



ลานด้านบน เป็นเหมือนที่ประกอบพิธีกรรม  โดยมีพระพุทธรูปแกะสลักเป็นพระประธาน

วัดค่อยๆก่อสร้างไปตามกำลังเงินที่ได้มาจากการทอดกฐินบ้าง ความคืบหน้าจึงเป็นไปอย่างช้าๆ ถ้าท่านผู้อ่านท่านใดมีจิตศรัทธาอยากก่อสร้างให้แล้วเสร็จก็ติดต่อไปที่วัดได้


ทิวทัศน์ที่สวยงามของตำบลบ้านเป้า และภูเขาทาง อ.หนองสูง-คำชะอี

ภาพศาลาหลังใหญ่ที่เห็นบนหน้าผาจากไกลๆ ,ภาพพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่อยู่บนหน้าผาเมื่อมองจากลานด้านหน้า น่าสะดุดตาสะดุดใจ ให้ผู้คนได้ฉุกคิด น้อมนำถึงคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ นำมาแนวทางในการดำเนินชีวิตไปสู่ความสงบสุขได้บ้าง ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นได้คงไม่มีการซื้อนิพพานอย่างที่เป็นข่าวคราวในปัจจุบันแน่นอน

เที่ยววัดบ้าง จะได้สบายใจ...



ทิวทัศน์มุมสูงที่สวยงาม





ขอบคุณ : https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/travel/1126285
By คมฉาน ตะวันฉาย / คอลัมน์ประเทศไทยใจเดียว | 11 พ.ค. 2024 เวลา 7:43 น.

 12 
 เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2024, 07:29:17 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



โบสถ์จิ๋ววัดคูหาภิมุข (วัดควนถ้ำ) ขนาดเล็กสุดประเทศไทย กำลังเป็นที่สนใจของคนทั่วไป

เมื่อวันที่11 พฤษภาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่วัดควนถ้ำในอดีตที่ถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็นวัดคูหาภิมุขในปัจจุบันมีเจ้าอาวาสชื่อพระภักดี ฐิตธรรมโม วัดตั้งอยู่บนเขาควนถ้ำ บริเวณถนนอุดมธารา ต.ตะกั่วป่า จ.พังงาซึ่งไม่ปรากฎหลักฐานว่า

สร้างในสมัยใด แต่คาดว่าสร้างในสมัยระหว่างรัชกาล 2-3 เนื่องจากปรากฎหลักฐานการขุดพบเงินพดด้วงและเงินเปอร์เชียใต้ฐานโบสถ์เก่าแก่ แล้วสร้างใหม่เป็นในปัจจุบันเป็นเพียงแค่อาคารวิหารเท่านั้น ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่าวัดควนถ้ำ

ส่วนที่เป็นอาคารขนาดเล็กที่มีลักษณะคล้ายโบสถ์จิ๋วที่เล็กที่สุดในประเทศไทยนั้น พระวรรณโณ แต่สกุล รองเจ้าอาวาส ซึ่งบวชพระมา 31 พรรษาแล้ว กล่าว เดิมที่ก่อนเป็นอาคารหลังนี้เป็นสถานที่ตั้งคล้ายกับศาลพระภูมิสร้างด้วยไม้มุงหลังคาเป็นสังกะสี ใช้เป็นสถานที่สำหรับเก็บกระดูกบรรพบุรุษที่เป็นชาวจีน ด้วยกาลเวลานับร้อยปีผ่านไปได้ผุพังไปตามกาลเวลา

ต่อมาวิญญานบรรบุรุษได้เข้าฝันลูกหลานว่าสถานที่เก็บกระดูกแห่งนี้บรรพบุรุษสถิตย์อยู่อย่างยากลำบาก ในฝันลูกหลานจึงขอให้ได้โชคได้ลาภจะสร้างเป็นอาคารหลังใหม่ให้ ต่อมาลูกหลานได้มีโชคลาภตามที่ขอจริง จึงได้นำเงินก่อสร้างเป็นอาคารหลังใหม่เมื่อปี พ.ศ.2513 (สร้างโดยนางฮวดบี๋) อุทิศให้บรรพบุรุษ รูปทรงคล้ายโบสถ์ที่มีขนาดเล็กจนชาวบ้านและผู้พบเห็นเรียกกันว่าโบสถ์จิ๋วในปัจจุบัน

ส่วนลูกนิมิตที่ขุดค้นพบจำนวน 8 ลูกที่มีลักษณะเป็นวงรีไม่เหมือนลูกทรงกลมในปัจจุบันที่ขุดพบใต้ฐานโบสถ์หลังเก่าคาดว่ามาจากการนำหินในถ้ำตามสถานที่ต่างๆแล้วนำมาฝังไว้ใต้อาคารโบสถ์หลังเก่านั่นเองและคาดว่าน่าจะมีอายุหลายร้อยปีใกล้เคียงกับอายุของการสร้างศาลพระภูมิสำหรับเก็บกระดูกบรรพบุรุษที่ปัจจุบันชาวบ้านเรียกว่าโบสถ์จิ๋ว











 



ขอบคุณ : https://www.matichon.co.th/region/news_4571275
วันที่ 11 พฤษภาคม 2567 - 23:59 น.   

 13 
 เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2024, 12:51:09 am 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
การเล่าเรื่องอย่างมีส่วนร่วมเป็นองค์ประกอบพื้นฐานในการนำเสนอข่าวสารที่โดนใจผู้ชม ผู้นำเสนอข่าวสามารถดึงดูดความสนใจของผู้ชมและกระตุ้นให้เกิดความเห็นอกเห็นใจหรือความเข้าใจต่อเนื้อหาได้ด้วยการใช้การเล่าเรื่องตามอารมณ์ ตัวอย่างเช่น แทนที่จะรายงานสถิติเกี่ยวกับความยากจนเพียงอย่างเดียว เรื่องราวข่าวอาจติดตามการเดินทางของครอบครัวที่กำลังดิ้นรน ทำให้ผู้ชมสามารถเชื่อมโยงในระดับส่วนตัวได้ นอกจากนี้ การผสมผสานองค์ประกอบภาพ เช่น รูปภาพ วิดีโอ หรืออินโฟกราฟิก สามารถปรับปรุงการเล่าเรื่องโดยมอบประสบการณ์ที่ดื่มด่ำยิ่งขึ้นให้กับผู้ชม การวิจัยพบว่าเครื่องช่วยการมองเห็นสามารถเพิ่มระดับการเก็บรักษาข้อมูลและการมีส่วนร่วมได้อย่างมาก

ผลกระทบของการรายงานที่เป็นกลางต่อความน่าเชื่อถือของข่าวไม่สามารถกล่าวเกินจริงได้ การนำเสนอข้อเท็จจริงอย่างเป็นกลาง โดยไม่ใส่อคติหรือความคิดเห็นส่วนตัวถือเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาความไว้วางใจของผู้ฟัง ด้วยการให้มุมมองที่หลากหลายเกี่ยวกับเรื่องราวข่าว นักข่าวสามารถเสนอมุมมองที่รอบด้านซึ่งส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการตัดสินใจอย่างมีข้อมูล การหลีกเลี่ยงกลวิธีเชิงโลดโผนและคลิกเบตก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกันในการรักษาความน่าเชื่อถือของข่าวสาร พาดหัวข่าวที่เร้าใจหรือการกล่าวอ้างที่เกินจริงอาจสร้างความสนใจในระยะสั้น แต่ท้ายที่สุดอาจทำลายความไว้วางใจในแหล่งข่าวได้

การรักษามาตรฐานทางจริยธรรมในการนำเสนอข่าวถือเป็นความรับผิดชอบที่นักข่าวต้องยึดถือ การตรวจสอบแหล่งที่มาและการตรวจสอบข้อมูลก่อนการรายงานถือเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้มั่นใจถึงความถูกต้องและแท้จริง ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่ละเอียดอ่อน เช่น โศกนาฏกรรมส่วนตัวหรือกิจกรรมทางอาญา การเคารพความเป็นส่วนตัวและการได้รับความยินยอมจากฝ่ายที่เกี่ยวข้องถือเป็นหลักปฏิบัติทางจริยธรรมที่ไม่สามารถเจรจาต่อรองได้ นักข่าวต้องรับผิดชอบต่อข้อมูลที่นำเสนอต่อผู้ชมด้วยความโปร่งใสเกี่ยวกับข้อผิดพลาดหรือการแก้ไขใด ๆ ที่เกิดขึ้นกับข่าว

URL : https://cmnnews.co




 14 
 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2024, 11:27:38 pm 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
การเล่าเรื่องอย่างมีส่วนร่วมเป็นองค์ประกอบพื้นฐานในการนำเสนอข่าวสารที่โดนใจผู้ชม ผู้นำเสนอข่าวสามารถดึงดูดความสนใจของผู้ชมและกระตุ้นให้เกิดความเห็นอกเห็นใจหรือความเข้าใจต่อเนื้อหาได้ด้วยการใช้การเล่าเรื่องตามอารมณ์ ตัวอย่างเช่น แทนที่จะรายงานสถิติเกี่ยวกับความยากจนเพียงอย่างเดียว เรื่องราวข่าวอาจติดตามการเดินทางของครอบครัวที่กำลังดิ้นรน ทำให้ผู้ชมสามารถเชื่อมโยงในระดับส่วนตัวได้ นอกจากนี้ การผสมผสานองค์ประกอบภาพ เช่น รูปภาพ วิดีโอ หรืออินโฟกราฟิก สามารถปรับปรุงการเล่าเรื่องโดยมอบประสบการณ์ที่ดื่มด่ำยิ่งขึ้นให้กับผู้ชม การวิจัยพบว่าเครื่องช่วยการมองเห็นสามารถเพิ่มระดับการเก็บรักษาข้อมูลและการมีส่วนร่วมได้อย่างมาก

ผลกระทบของการรายงานที่เป็นกลางต่อความน่าเชื่อถือของข่าวไม่สามารถกล่าวเกินจริงได้ การนำเสนอข้อเท็จจริงอย่างเป็นกลาง โดยไม่ใส่อคติหรือความคิดเห็นส่วนตัวถือเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาความไว้วางใจของผู้ฟัง ด้วยการให้มุมมองที่หลากหลายเกี่ยวกับเรื่องราวข่าว นักข่าวสามารถเสนอมุมมองที่รอบด้านซึ่งส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการตัดสินใจอย่างมีข้อมูล การหลีกเลี่ยงกลวิธีเชิงโลดโผนและคลิกเบตก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกันในการรักษาความน่าเชื่อถือของข่าวสาร พาดหัวข่าวที่เร้าใจหรือการกล่าวอ้างที่เกินจริงอาจสร้างความสนใจในระยะสั้น แต่ท้ายที่สุดอาจทำลายความไว้วางใจในแหล่งข่าวได้

การรักษามาตรฐานทางจริยธรรมในการนำเสนอข่าวถือเป็นความรับผิดชอบที่นักข่าวต้องยึดถือ การตรวจสอบแหล่งที่มาและการตรวจสอบข้อมูลก่อนการรายงานถือเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้มั่นใจถึงความถูกต้องและแท้จริง ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่ละเอียดอ่อน เช่น โศกนาฏกรรมส่วนตัวหรือกิจกรรมทางอาญา การเคารพความเป็นส่วนตัวและการได้รับความยินยอมจากฝ่ายที่เกี่ยวข้องถือเป็นหลักปฏิบัติทางจริยธรรมที่ไม่สามารถเจรจาต่อรองได้ นักข่าวต้องรับผิดชอบต่อข้อมูลที่นำเสนอต่อผู้ชมด้วยความโปร่งใสเกี่ยวกับข้อผิดพลาดหรือการแก้ไขใด ๆ ที่เกิดขึ้นกับข่าว


URL : https://cmnnews.co
textlinks : cmnnews.co





 15 
 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2024, 08:19:57 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



เรื่องบังเอิญมีจริงไหม.? | ทำไมเราเห็นอะไรซ้ำๆ อีกแล้ว.? | เข้าใจเหตุผลทางจิตวิทยาของความบังเอิญ

เคยไหม? เวลาเราซื้อกระเป๋าใบใหม่ พอหยิบใช้ก็จะเห็นคนใช้กระเป๋ายี่ห้อเดียวกัน ทรงเดียวกันกับเราเต็มไปหมด หรือตอนที่เรากำลังเล็งจะไปกินอาหารสักร้าน เข้าไอจีไปดูดันเห็นเพื่อนหลายคนลงรูปร้านอาหารนั้น กระทั่งตอนทำงาน เวลาที่เราเงยหน้าขึ้นจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ ก็มักจะเห็นนาฬิกาบอกเวลาเดิมๆ ซ้ำๆ แบบไม่ตั้งใจ จนบางทีก็แอบนึกว่า ชีวิตคนเรานี่มันเป็นแหล่งรวมเรื่องบังเอิญชัดๆ

และไม่ใช่แค่เรื่องในชีวิตประจำวันเท่านั้น แต่ตอนนี้มีปรากฏการณ์ใหม่ในโลกทวิตภพ ที่แฟนคลับวงที่มีตัวเลขต่อท้าย มักจะบังเอิญเจอตัวเลขเหล่านั้นอยู่บ่อยๆ ราวกับว่านี่คือปาฏิหาริย์ระหว่างพวกเรา เช่น แฟนคลับวง NCT127 ก็มักจะเห็นเลข ‘127’ ในทุกๆ ที่ ไม่ว่าจะเป็นซอยที่ขับรถผ่าน ค่าอาหารที่สั่ง วินาทีที่ติดไฟแดง หรือแม้กระทั่งฉากในละคร จนกลายเป็นปรากฏการณ์ในโลกออนไลน์ที่ใครเจอเลข 127 ก็จะเก็บหลักฐานมาโพสต์ทวิตเตอร์ และเกิดเป็นแฮชแท็กโด่งดังอย่าง #ยังจะ127อยู่นั่น

มองเผินๆ แล้ว นี่อาจจะเป็นเรื่องบังเอิญที่เราเห็นสิ่งเดิมๆ ซ้ำกันหลายครั้งจนเหมือนเป็นสัญญาณพิเศษ หรือในเชิงจิตวิญญาณก็มีคำอธิบายรองรับไว้เช่นกันว่าเป็นการเปิดพลังงานให้กลับมาสำรวจชีวิตตัวเองอีกครั้ง แต่ในอีกมุมหนึ่ง นี่อาจไม่ใช่เรื่องบังเอิญ เพราะมีคำอธิบายเชิงจิตวิทยาที่อาจทำให้เราเข้าใจปรากฏการณ์นี้ได้เช่นกันว่า การบังเอิญเห็นอะไรซ้ำๆ สอดคล้องอย่างไรกับจิตใจของเรา




Synchronicity : เป็นเพราะความบังเอิญ ที่เพิ่มเติมคือมัน ‘พิเศษ’

เหตุผลข้อแรกที่เราจะหยิบยกมาอธิบายคือ มันเป็น ‘ความบังเอิญ’ จริงๆ ที่เราดันมาเจอเลขหรือสิ่งของซ้ำๆ แบบไม่ได้ตั้งใจ โดยคาร์ล จุง (Carl Jung) นักจิตวิทยาได้อธิบายลักษณะของความบังเอิญนี้ผ่านเหตุการณ์ที่ว่า ครั้งหนึ่งเขาเคยจับแมลงปีกแข็ง (scarab) ที่เป็นแมลงนำโชคในวัฒนธรรมอียิปต์ไว้ แล้วนำไปให้คนไข้ พอดีกับที่คนไข้เล่าว่า ตัวเองเพิ่งฝันว่าได้รับเครื่องประดับทองคำรูปแมลงดังกล่าว ทำให้คนไข้คนนั้นรู้สึกถึงความโชคดี และเปิดใจรับคำแนะนำในการรักษาจากจุงมากขึ้น

หลังจากเหตุการณ์นี้ จุงก็ได้ยืมคำอธิบายจากคัมภีร์อี้จิงในปรัชญาเต๋ามาอธิบายว่า ถ้าเราหมกมุ่นอยู่กับ ‘ความฝัน’ ของเรามากเท่าไร เราก็เสาะหา ‘ความบังเอิญ’ จากความฝันมากเท่านั้น และเนื่องจากคนเรามักหาความหมายให้ความฝัน ความบังเอิญนั้นๆ จึงมีความหมายขึ้นมา จุงจึงเรียกเหตุการณ์ที่มีลักษณะเช่นนี้ว่า ‘Synchronicity’ ซึ่งแปลว่าความบังเอิญอันหาสาเหตุที่ชัดเจนไม่ได้ แต่มีความหมายกับผู้ประสบพบเจอเหตุการณ์นั้นๆ ด้วย

หากจะอธิบายให้ใกล้เคียงกับชีวิตเรามากขึ้น สมมติว่าเรากำลังอยากกินหมาล่า คิดวนๆ ซ้ำๆ อยู่อย่างนั้น แต่ยังไม่ทันได้พูด หรือแชตไปบอกใคร ทันใดนั้น เพื่อนสนิทก็ทักมาว่า ‘แก ไปกินหมาล่ากันไหม’ หรือเหตุการณ์ที่เราเงยหน้ามาเห็นตัวเลขซ้ำๆ โดยที่เราไม่ได้ตั้งใจมองหา แต่บังเอิญตัวเลขนั้นดันเป็นตัวเลขที่มีความหมายกับเรามากๆ

จุงยังได้อธิบายถึง Synchronicity อีกว่า ปรากฏการณ์นี้อาจอยู่นอกเหนือจากความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่และเวลา ซึ่งเป็นที่มาของ ‘เหตุผล’ จากเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวันของเรา ความบังเอิญที่อธิบายไม่ได้นี้เองจึงกลายมาเป็นจุดตั้งต้นในการศึกษาเหตุบังเอิญรูปแบบอื่นๆ เช่น เดจาวู หรือปรากฏการณ์ตรงข้ามอย่าง จาเมส์วู ซึ่งทำให้เราค้นหาความหมายเบื้องหลังเหตุการณ์ที่ดูเหมือนจะเกิดซ้ำกันระหว่างความฝันและความเป็นจริงไปด้วย




Visual Selective Attention: เพราะสมองตั้งใจ เลยทำให้เห็นแบบ ‘เหมือนบังเอิญ’

เหตุผลทางจิตวิทยาอีกอย่างหนึ่งที่เข้ามาอธิบายปรากฏการณ์การความบังเอิญเหล่านี้ได้ คือ Visual Selective Attention  ที่เราจะเลือกเพ่ง ‘ความสนใจ’ กับบางสิ่งบางอย่างที่เราให้ความหมาย หรือให้ความสำคัญเท่านั้น จนเราไม่ได้โฟกัสสิ่งอื่นๆ ที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กัน

หนึ่งในการทดลองของ Visual Selective Attention ที่ทำให้เราเข้าใจปรากฏการณ์นี้ง่ายขึ้นคือ ‘กอริลล่าเอฟเฟ็กต์’ (Gorilla Effect) ซึ่งมาจากการทดลองที่ให้คนดูคลิปวีดิโอการรับ-ส่งลูกบอล โดยให้โจทย์ว่า คนที่ใส่เสื้อขาวส่งบอลกี่ครั้ง แต่ในคลิปวีดิโอดังกล่าว จะมีคนสวมชุดกอริลล่าเดินผ่านวงผู้เล่นบอลด้วย ผลปรากฏว่า อาสาสมัครที่เข้ารับการทดลองนี้ สามารถนับจำนวนครั้งที่คนใส่เสื้อสีขาวส่งบอลได้ แต่ไม่มีใครเห็นกอริลล่าที่เดินผ่ากลางวงเลย จึงอาจสรุปได้ว่า ถ้าเราโฟกัสการรับรู้ไว้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาจทำให้เราหลุดโฟกัสอีกสิ่งได้

@@@@@@@

แล้วมันเกี่ยวอะไรกับการเห็นเลข หรือสิ่งของแบบซ้ำๆ ล่ะ.?

นั่นก็เป็นเพราะว่าสมองของมนุษย์มีการรับรู้ ‘รูปแบบ’ ซึ่งเป็นวิวัฒนาการหนึ่งที่ทำให้มนุษย์สามารถเอาตัวรอดได้ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของการขึ้น-ตกของดวงอาทิตย์ น้ำขึ้น-น้ำลง รวมไปถึงฤดูกาลต่างๆ ทำให้มนุษย์สามารถเข้าใจรูปแบบซ้ำๆ ได้ง่ายกว่าการรับรู้อื่นๆ มนุษย์จึงสามารถจดจำและมองหารูปแบบในชีวิตประจำวันได้อย่างรวดเร็วจนเป็นเหมือนความบังเอิญ ยิ่งถ้าเราให้ความหมาย หรือให้ความสำคัญกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ ก็อาจทำให้เราเห็นสิ่งนั้นอยู่บ่อยๆ จนเหมือนเป็นเรื่องบังเอิญไปด้วย

ง่ายที่สุดคือ เราอาจจะนึกถึง ‘Angel Number’ ตัวเลขนำโชค หรือชุดตัวเลขที่เรามักพบเจออยู่บ่อยๆ ซึ่งแต่ละชุดตัวเลขมีความหมายและสอดคล้องกับชีวิตแตกต่างกันไป แม้จะมีคำอธิบายทางจิตวิญญาณบอกว่า การพบเห็นชุดตัวเลขเดิมซ้ำๆ เป็นเสมือนสัญญาณจากสวรรค์ให้ทบทวนการกระทำและชีวิตของตัวเองเพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น แต่อีกแง่หนึ่ง การเห็นตัวเลข Angel Number บ่อยๆ นั้น อาจมาจากการรับรู้เลขเชื่อมโยงกับความหมายของตัวเลขในความรู้สึกเรา จนนำไปสู่การค้นหาความหมายของตัวเลขนั้นๆ ในเชิงจิตวิญญาณด้วย

อีกตัวอย่างหนึ่งที่อาจเห็นได้ชัดคือ การรับรู้ของเรานำไปสู่การโฟกัสสิ่งที่ใกล้เคียงกับความทรงจำหรือประสบการณ์ของเรา คล้ายกับว่าเรากำลังดึงดูดสิ่งที่คล้ายคลึงกับเราเข้ามาในชีวิตเรามากขึ้น เช่น ถ้าเราเพิ่งออกรถใหม่เป็นรถไฟฟ้าสีขาว นั่นอาจทำให้คุณเห็นรถรุ่นเดียวกัน สีเดียวกันกับรถที่เราเพิ่งซื้อบ่อยขึ้นกว่าเดิม หรือหากเราเป็นคนที่กำลังวางแผนจะมีลูก เราก็อาจเห็นคนท้องบ่อยขึ้นกว่าเดิมจนดูเหมือนเป็นเรื่องบังเอิญ หรือแม้กระทั่งปรากฏการณ์ #ยังจะ127อยู่นั่น ที่กลายเป็นว่าไม่ใช่แค่แฟนคลับ NCT127 เท่านั้นที่สังเกตตัวเลขชุดนี้ในฐานะตัวเลขประจำวง แต่ยังรวมไปถึงคนอื่นๆ ที่ร่วมสังเกตตัวเลขนี้และแชร์ภาพลงในแฮชแท็ก จนกลายเป็นการสังเกตในระดับสังคม ที่ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมระหว่างกันบนโลกโซเชียลไปด้วย




จากสิ่งที่เห็นโดย ‘บังเอิญ’ สู่เรื่องที่ ‘ตั้งใจ’ ใช้ในชีวิตจริง

อย่างที่บอกไปว่า เรามักจะมองหาสิ่งที่เหมือน หรือคล้ายกับตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์ สิ่งของ หรือตัวเลขที่มีความหมายกับชีวิตของเรา ซึ่งอาจมาในรูปแบบของเรื่องบังเอิญที่ลึกๆ แล้วเกิดจากการที่สมองของเราตั้งใจ แล้วถ้าเราอยากลองเอาความบังเอิญเหล่านี้มาปรับใช้ในชีวิตของเราดูจริงๆ มันจะได้ไหมนะ?

มีแนวคิดทฤษฎีมากมายที่เป็นที่มาของการพัฒนาตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงพฤติกรรม การเข้าไปสำรวจความคิดของตัวเองแล้วแปรรูปออกมาเป็นการกระทำ แม้กระทั่ง Law of Attraction หรือ ‘กฎแห่งแรงดึงดูด’ ที่เคยเป็นเทรนด์ในการพัฒนาตัวเอง ซึ่งเริ่มต้นจากคอนเซ็ปต์ที่ว่า ความคิดในแง่บวกของเราจะเป็นพลังดึงดูดให้จักรวาลส่งพลังงานที่ดี และทำให้เจอสิ่งดีๆ ผ่านสิ่งที่เรียกว่า ‘Manifestation’ หรือการตั้งจิตมุ่งมั่นเพื่อดึงดูดพลังงานดีๆ ในชีวิต อาศัยการนึกถึงสิ่งที่เราต้องการอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เราได้ในสิ่งที่ต้องการ สิ่งเหล่านี้ก็ไม่ต่างอะไรกับการมองหาตัวเลขซ้ำๆ หรือบังเอิญโฟกัสกระเป๋าแบบเดียวกับที่เราเพิ่งซื้อมา แต่ต่างกันตรงที่ Manifestation โฟกัสไปที่เรื่องของอนาคต 

แง่หนึ่งการโฟกัสสิ่งดีๆ ในชีวิตอาจต้องเริ่มต้นจากพื้นฐานที่ดีก่อน Selective Attention จึงอาจนำมาประยุกต์ใช้กับการตั้งเป้าหมายและสร้างความสนใจกับเรื่องดีๆ ในชีวิตได้ เช่น เราอาจจะมองหาสกิลใหม่ๆ ในหน้าที่การงาน จึงอาจทำให้เราโฟกัสกับการพัฒนาตัวเองมากขึ้น เช่น หากเราต้องการโฟกัสการเขียนของเราให้ดีขึ้น เราก็อาจจะเห็นหนังสือพัฒนาการเขียน หรือจดจ่อกับการพัฒนางานเขียนมากขึ้น หรือถ้าขยับใกล้ตัวเข้ามาหน่อยอย่าง เราที่กำลังตั้งใจเก็บเงินซื้อกระเป๋าใบหนึ่ง ก็อาจจะเห็นกระเป๋ายี่ห้อนั้นบ่อยขึ้นมากๆ จนมีแรงฮึดสู้เก็บเงินเพื่อกระเป๋าใบนั้นมากขึ้น

นอกเหนือจากนี้ กฎแห่งแรงดึงดูดยังมีปรากฏการณ์หนึ่งที่สืบเนื่องจากการบังเอิญเจอสิ่งใดสิ่งหนึ่งซ้ำๆ ที่เรียกว่า ‘Self-fulfilling Prophecy’ ซึ่งมีหลักการคือ ถ้าเราคิดว่ามันจะเกิดอะไร สิ่งนั้นจะเกิดขึ้นจริง โดยเราจะมองหาข้อสนับสนุนให้สิ่งที่เราคิดเสมอ เช่น ถ้าเราคิดว่าวันนี้เป็นวันที่ดี เราก็มักจะมองหาสิ่งดีๆ ในชีวิต อย่างบังเอิญเห็นดอกไม้สวยๆ ระหว่างทางที่ไปทำงาน บังเอิญเจอแมวน่ารักระหว่างเดินเข้าซอย บังเอิญกลับถึงบ้านทันก่อนฝนจะตกห่าใหญ่ จากเหตุการณ์ที่เราบังเอิญสังเกตเห็นนี้ นำมาสู่วันดีๆ ที่เรายิ้มออกมาได้ และถ้าทุกๆ วันเราบังเอิญเจอเรื่องราวดีๆ อย่างนี้เสมอ มันก็จะพัฒนากลายเป็นรูปแบบของพฤติกรรมในชีวิตประจำวันไปได้ในที่สุด

ดังนั้น หากเราบังเอิญเจอตัวเลขซ้ำๆ สิ่งของซ้ำๆ หรือเหตุการณ์ซ้ำๆ ก็อาจไม่ได้เป็นเพราะความบังเอิญเพียงอย่างเดียว แต่เป็นเพราะเราอาจจะกำลังโฟกัสอะไรสักอย่างโดยไม่รู้ตัว และถ้าสิ่งที่เรากำลังโฟกัสนั้นเป็นเรื่องดีๆ ในชีวิตที่ทำให้ยิ้มได้แล้ว ก็ไม่มีอะไรต้องกังวล

เพราะฉะนั้นเราจะมองหาเลข 127 ต่อไปก็ได้ ในเมื่อมันทำให้เรายิ้มออกมาได้นี่นา


 




Thank to : https://thematter.co/lifestyle/why-we-see-things-again-and-again/225810
Posted On 10 May 2024 | Kewalin Thanomthong

อ้างอิงจาก :-
- psychologytoday.com
- pubmed.ncbi.nlm.nih.gov
- urbancreature.co

Graphic Designer : Krittaporn Tochan
Editorial Staff : Runchana Siripraphasuk

 16 
 เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2024, 07:34:13 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.

ภาพประกอบเนื้อหา - จิตรกรรมฝาผนัง ในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่


รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา สำนวนไทยนี้มาจากไหน เกี่ยวอะไรกับ “จั่ว” และ “เสา”


“รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา” เป็น สำนวนไทย ที่ใช้กันมาเนิ่นนาน ในพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 แปลความว่า “ใฝ่ดีจะมีความสุขความเจริญ ใฝ่ชั่วจะได้รับความลำบาก.”

แล้ว “จั่ว” กับ “เสา” เกี่ยวอะไร และสำนวนไทยนี้ต้องการสอนอะไรกันแน่.?

ใน นิตยสารศิลปวัฒนธรรม บทความ “รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา” ของ ศาสตราจารย์ ดร. อุดม วโรตม์สิกขดิตถ์ อดีตคณบดี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้ให้คำตอบเกี่ยวกับสำนวนนี้ไว้อย่างละเอียดยิบ ซึ่งขอยกมาให้อ่าน ดังนี้

@@@@@@@

ศ. ดร. อุดม คาดว่า ความหมายที่ถูกบัญญัติไว้น่าจะเกิดจากการตีความของท่านผู้รู้ เพราะไม่มีคำไหนเลยที่เกี่ยวข้องกับความเจริญและความลำบาก และอาจจะเกิดจากการตีความว่า การหามจั่วนั้นน่าจะดีกว่าหามเสา เพราะจั่วเป็นเครื่องไว้ประกอบด้านบน ต่างจากเสาที่สามารถเลอะโคลนดินได้เพราะเป็นเครื่องล่างของบ้าน

หรืออาจจะคิดไปได้ว่า จั่วนั้นเบากว่าเสา ดังนั้น คนที่รักดีก็หวังจะหามจั่วเพื่อให้ตนเองสบาย ดีกว่าหามเสาหนัก ๆ

อย่างไรก็ตาม อดีตคหบดี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เห็นต่างจากข้อสันนิษฐานดังกล่าว เพราะแท้จริงแล้ว จั่วมีรูปลักษณ์เป็นสามเหลี่ยมขนาดใหญ่ ถือและขนย้ายลำบากกว่าเสานัก และยังให้เหตุผลอีกว่า…

    “บางท่านมองว่าจั่วนั้นเบากว่าเสา คนรักดีก็เลือกหามสิ่งที่เบา คนรักชั่วเท่านั้นที่เลือกหามสิ่งที่หนัก ใครก็ตามที่มีความคิดเช่นนั้นสังคมควรจะรวมกันตำหนิว่าเขาเป็นคนเห็นแก่ตัว และไม่ควรเอาเยี่ยงอย่าง
     ถ้าเป็นไปได้ควรจะขจัดออกไปเสียจากสังคม เพราะเป็นคนเอาเปรียบเพื่อนฝูง คอยฉกฉวยโอกาสเลือกแต่สิ่งที่ง่าย ที่สบาย สังคมควรยกย่องบุคคลที่เสียสละ ไม่ใช่ยกย่องคนที่เห็นแก่ตัว การที่กล่าวเสาสกปรกเลอะเทอะเปรอะเปื้อนโคลนนั้นก็ไม่เกี่ยวอะไรด้วยกับการใฝ่ชั่ว เสาใหม่ ๆ ก็ไม่มีโคลนเปรอะเปื้อนเหมือนจั่วเช่นกัน…”


@@@@@@@

แล้ว รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา สำนวนไทยนี้ เกี่ยวข้องอะไรกับ “จั่ว” และ “เสา” รวมถึง ต้องการสอนอะไรเรากันแน่.? นักวิชาการคนเดิมให้คำตอบไว้ดังนี้…

    “ความจริงแล้วคนโบราณท่านคิดลึกกว่านั้นมากนัก ท่านให้สำนวน รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา โดยมุ่งเน้นไปที่สัญลักษณ์มากกว่าความหมายตื้นอย่างที่ท่านผู้รู้บางท่านมอง เรารู้จักกันดีว่าคนโบราณใช้ งู เป็นสัญลักษณ์ของเพศชาย

     นอกจากนั้นแล้วในคำสุภาพที่พูดถึงเพศชายก็มี ม้า ปลาช่อน หอก ถ่อ เห็ดโคน ฯลฯ อันรวมถึง เสา ด้วย

     ฉะนั้นคำพังเพยนี้จัดว่าเป็นสุภาษิตสอนหญิงที่ดีเยี่ยม เพราะท่านหมายว่า จั่ว ซึ่งเป็นรูปสามเหลี่ยมเป็นสัญลักษณ์ของเพศหญิง และ เสา เป็นสัญลักษณ์ของเพศชาย ในความที่ว่า รักดี ก็ให้รักนวลสงวนตัวดูแลจั่วไว้ให้ดี ถ้ารักชั่วก็ให้ริอ่านเอาเสาไปหามหรือคบชู้สู่ชาย ด้วยประการฉะนี้แล”


อ่านเพิ่มเติม :-

    • สำนวนไทย “สะโพกสุดเสียงสังข์” ชมความงามสตรี มีที่มาจากไหน?
    • ทำไมสำนวนไทยถึงใช้ “เกลือ” แทนความอึด ความทน? ทำไมต้องเป็นเกลือเค็มๆ?
    • สำนวนไทยใช้ “ปลากัด” ตำหนิผู้หญิงมารยา-จัดจ้าน แล้ว “กระต่ายแก่แม่ปลาช่อน” สื่ออะไร?





ขอขอบคุณ :-
ผู้เขียน : ปดิวลดา บวรศักดิ์
เผยแพร่ : วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ.2567
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 10 พฤษภาคม 2567
URL : https://www.silpa-mag.com/culture/article_132343

 17 
 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2024, 07:16:40 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 18 
 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2024, 03:37:17 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 19 
 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2024, 01:17:58 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 20 
 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2024, 10:20:57 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



ตอน ๔. ฟื้นสาระขึ้นมา รักษาหลักไว้



 :25: :25: :25:

สวดมนต์ไป ต้องได้ธรรมมา

ได้เล่าให้ฟังในเรื่องของการสวดมนต์พอให้เห็นความสําคัญว่า ในฐานะที่เราเป็นพุทธศาสนิกชน เมื่อพระพุทธศาสนาเป็น ศาสนาของผู้รู้ เราก็ควรทําอะไรๆ กันด้วยความรู้ ไม่ใช่อยู่แค่สวด กันไปๆ จนกระทั่งไปๆ มาๆ กลายเป็นมนต์ของพราหมณ์

ข้อสําคัญอยู่ที่ว่า ต้องให้เป็นมนต์ที่โยงไปถึงหลักคําสอน ของพระพุทธเจ้า ให้รู้ถึงสาระ ได้ทั้งจิตใจ ไปถึงปัญญา ไม่ใช่อยู่ กันแค่ความรู้สึก

เวลานี้ เมื่อเราเพลินจนลืมไปว่า การสาธยายสวดมนต์เป็น ส่วนสําคัญของการเล่าเรียนศึกษาปฏิบัติ และเป็นกิจใหญ่ในการ รักษาคําสอนของพระพุทธเจ้า เวลาเรามาสวดกันเป็นกลุ่ม บางทีก็ สวดกันเพียงเพื่อให้ทุกคนได้มีจิตใจสงบ นั่นก็ดีอยู่บ้าง แต่ไม่ควรพอใจแค่นั้น

มองดูสภาพปัจจุบัน ดูเหมือนมีแนวโน้มที่มุ่งจะจัดทําแต่งสรรการสวดให้ไพเราะชวนให้คนติดใจฟังติดใจจะสวดให้มากขึ้นๆ แล้วใจก็อยู่กับการที่จะสวดให้ไพเราะนั้น และจัดหาบทมาให้ได้ สวดให้มากๆ โดยไม่รู้เข้าใจไม่ได้นึกถึงสิ่งที่ตนกําลังสวดอยู่ ถ้าเพลินกันไปจนลืมนึกถึงการสาธยาย ไม่เอาใจใส่นึกถึงธรรมที่สวดกันเลย ก็จะกลายเป็นการเขวออกไปจากทางหรือไม่

ขอให้นึกถึงพุทธบัญญัติที่ทรงห้ามพระมิให้สวดธรรมด้วย เสียงขับร้องเอื้อนยืดยาวขึ้นลงฮวบฮาบ ซึ่งทําให้อักขระผิดเพี้ยน เสียหาย ใจเพลิดเพลินตามไปกับเสียง กล่อมทั้งตัวเองและคนอื่น ชื่นชมตัวเอง ใจมัวแต่อยากทําเสียงให้เพราะให้ดีจนไม่อาจจะมี สมาธิ ใจไม่อยู่กับธรรมที่ตัวสวด แต่ทรงอนุญาตให้พระสวด “สรภัญญะ” ซึ่งคัมภีร์บอกว่ามีถึง ๓๒ ทํานอง มาถึงเมืองไทยสมัย นี้ ก็ยากนักที่จะไปหาผู้รู้จักทํานองเหล่านี้ได้ที่ไหน

ก็จับเอาที่สาระว่า การกล่าวธรรมด้วยเสียง หรือใช้เสียงสื่อ ธรรม คือเอาเสียงที่ดีที่เสนาะที่รื่นไพเราะมาใช้กล่าวธรรม ให้เป็นทํานองคล่องชัดถนัดฟังง่าย โดยไม่ใช่แค่ปล่อยใจไปตามเสียง แต่มีสติว่าไป ใจก็นึกระลึกรู้ถึงถ้อยคําบอกธรรมที่กําลังสวดอยู่นั้น มองเห็นเข้าใจความหมายของบทสวด ทั้งแต่ละคํา และสารัตถะ ใจความของบทสวดทั้งบทนั้น อย่างที่สวดกันอยู่นี้ ถ้ารู้เข้าใจ ก็ทําได้

@@@@@@@

ที่ว่า มีสติ ว่าไป ใจก็นึกระลึกรู้ถึงตามทันบทธรรมแต่ละ ถ้อยคํา นี่คือ “สาธยาย

ที่ว่า สวดโดยเอาเสียงที่ดีที่เสนาะรื่นไพเราะมาใช้กล่าวธรรม โดยว่าเรียงบทให้ชัดคําชัดความทุกบทพยัญชนะไม่คละกัน ครบ สมบูรณ์ กลมกล่อม ชวนฟังชวน นี่คือ “สรภัญญะ”

สาธยาย ดําเนินไปด้วยการทํางานของสติ มีสติเป็นตัวทํางานให้สําเร็จผล โดยระลึกระบุจัดเรียงข้อมูลเข้าที่เข้าลําดับของมัน ที่จะพิจารณารู้เข้าใจ นี้เป็นแกนของการสวด และเป็นส่วนของการปฏิบัติธรรม

สรภัญญะ เป็นการสาธยายนั่นแหละ แต่อาศัยทํานองและเสียงที่ไพเราะมาคุมกํากับไปในตัวให้ถ้อยคําต้องรับต่อทอดกันไป อย่างกลมกลืน ช่วยให้คําสวดครบถ้วนชัดเจนถูกต้อง ชวนฟังชวน จ๋า พร้อมทั้งโน้มนําจิตใจให้สงบสดชื่นเกิดมีปีติ

การสวดที่ดี จึงให้ได้ให้มีสาธยายเป็นแกน และเอาการใช้ เสียงมาช่วยเสริมกํากับ ถ้าทําได้อย่างนี้ ก็ได้ครบลักษณะการสวดที่ถูกต้อง

แม้แต่ในการสวดมนต์ของพราหมณ์ ท่านก็กล่าวไว้ในคัมภีร์ต่างๆ ว่า "คายนวเสน สชฌาย์” คือ พวกพราหมณ์นั้นก็สวด มนต์ของเขา ด้วยการสาธยายโดยสวดเป็นทํานองขับร้องไป นี่คือ ถึงจะร้องเป็นเพลงอย่างไร ก็ต้องให้เป็นการสาธยายอยู่ในตัว ถ้า ชาวพุทธทําแค่นี้ไม่ได้ จะปฏิบัติและรักษาพระพุทธศาสนาไว้ให้อยู่ดีได้อย่างไร

เป็นอันว่า การสวดมนต์ที่ถูกที่ดี (คือสวดพุทธพจน์บทธรรม ตั้งแต่พระปริตรเป็นต้นไป) ได้ทั้ง ๒ อย่างไปพร้อมกัน คือได้ทั้ง “สาธยาย” ระลึกนึกรู้ธรรมที่กําลังสวดอยู่ โดยเป็นการฝึกสติไปด้วย และได้ทั้ง “สรภัญญะ” ที่ได้เสียงอันไพเราะเป็นทํานอง มาหนุนให้ ชัดเจนแม่นยําจําง่ายทั้งชวนใจให้มีปีติปราโมทย์ด้วย

(คนที่สาธยาย ก็คือระลึกนึกถึงจับยกเอาข้อมูลขึ้นมาระบุ เรียงลําาดับไปจนตลอด การ "สาธยาย” จึงเป็นการมีสติใช้สติ ดังที่ ตรัสไว้ในข้อ ๑ ของโพชฌงค์)

@@@@@@@

สวดมนต์ให้พอได้มาชุมนุมรวมใจพร้อมกัน

ถ้าจะสวดมนต์เอาแค่สวดให้ไพเราะชวนใจให้ซาบซึ้ง ก็พอจะ เหมาะที่จะใช้กับท่านที่มีสติสัมปชัญญะพร่องลงไป เช่นท่านที่เฒ่าชรา หรือผู้เจ็บไข้มากๆ โดยมุ่งไปที่จะให้เสียงและคําสวดมนต์โน้มนําใจของท่านให้สงบหรือเกิดอนุสติระลึกไปในทางของบุญกุศล เช่นนึกถึงพระพุทธรูป นึกถึงบรรยากาศในการที่ได้ไปทําบุญ นึกถึง บุญทั้งหลายที่ได้ทํา

แต่ถ้ายังมีสติสัมปชัญญะที่เจริญได้ ไม่ว่าจะสวดอย่างไร ก็ ต้องให้มีสาธยายอยู่เป็นแกน ดังที่ว่ามา

การสวดมนต์อย่างที่ทําสืบๆ กันมานี้ เป็นการกระทําของ บุคคล คือแต่ละคนทํากิจของตนๆ ถึงจะมาสวดพร้อมกัน หรือ ประชุมพร้อมกันสวด แต่ละคนก็ทํากิจของตนๆ ในฐานะเป็นส่วน ร่วมของคณะหรือของที่ประชุม โดยมาประสานกัน จะว่าเป็นคณ สาธยาย ก็ไม่ใช่ เพราะไม่ได้มีความมุ่งหมายที่จะระลึกรู้เข้าใจธรรม หรือตั้งใจว่าจะรักษาพุทธพจน์เอาไว้แต่อย่างใด สาระที่พอจะ ได้ ก็คือเป็นกายสามัคคี และเป็นจิตตสามัคคี อันนี้ก็เป็นความดีที่ เป็นพื้นฐานไว้ แต่ยังไม่ใช่เป็นตัวสาระ

ส่วนที่ว่าเมื่อสวดไปใจมาอยู่กับอารมณ์ที่ดีงามได้มีความ สงบสดชื่นรื่นใจห่างหายทุกข์ บางทีเกิดมีปีติปราโมทย์ นั่นก็เป็น บุญกิริยาดีอยู่ แต่ยังกึ่งหรือเสี่ยงต่ออกุศลที่จะเป็นความเสื่อม เสีย เมื่อกลายเป็นความติดเพลินสุขอยู่ในความเคลิบเคลิ้ม สมาธิก็ ไม่ไป สติก็ไม่มีที่จะตื่นจะทัน ปัญญาก็ไม่มารู้เข้าใจ เลยกลายไป เป็นชีวิตแห่งความประมาท มีสติขาดๆ พร่องๆ

การสวดมนต์อย่างที่ว่ามานั้น ถ้าจะว่าเป็นการสืบทอดมา ตามประเพณี ก็ไม่ถูกแท้ เป็นได้แค่ประเพณีที่เสื่อมจางรางเลื่อน ขาดด้วนจากสาระ (ที่เคยพอมีอยู่บ้าง)

การสวดมนต์อย่างที่สืบๆ กันมานั้น แม้จะเลือนรางจางสาระ ลงไป ก็ยังมีความหมายเป็นขั้นตอนหนึ่งของการเจริญกุศลหรือ การปฏิบัติธรรม เรียกได้ว่าเป็นการเตรียมตัวให้พร้อมที่จะปฏิบัติ ธรรมหรือเจริญกุศลขั้นต่อไป ที่เป็นความมุ่งหมายอันแท้จริง

ตามประเพณีที่สืบจากเดิมนั้น ใช้การมาประชุมสวดมนต์ พร้อมกันนี้ เป็นการเตรียมตัวเพื่อกิจกรรม (บุญกิริยา) ที่สําคัญขั้นต่อไป

@@@@@@@

การสวดมนต์เป็นการเตรียมตัวเตรียมคนที่มาประชุมหรือชุมนุมกันนั้น พูดให้เป็นภาษาชาวบ้านว่า รวมพล โดยเอาคนมา รวมกัน แล้วก็ รวมใจ ให้ใจของทุกคนที่มาชุมนุมกันนั้นสงบชื่น บานมองมุ่งไปที่จุดหมายอันเดียวกัน ใครมีเรื่องหงุดหงิดกังวล ฟุ้งซ่าน พอมาสวดมนต์ ก็สงบลงอย่างที่ว่าแล้ว แล้วก็รวมใจพร้อม ใจกับคนอื่นๆ มุ่งไปที่จุดมุ่งอันหนึ่งอันเดียวกันนั้น

งานหรือกิจกรรมที่ว่าเป็นบุญกิริยาอะไรที่ผู้สวดมนต์มุ่งจะทําต่อไป นี่ก็คือการฟังธรรม ได้แก่ ธรรมสวนะ อันนี้มิใช่เป็นเพียง ว่าเรามีประเพณีที่ว่าสวดมนต์แล้วฟังธรรม แต่การฟังธรรมนั่น แหละเป็นตัวบุญกิริยาที่ทําให้เกิดประเพณีนี้

ธรรมสวนะ คือการฟังธรรมนี้ ที่ว่าเป็นบุญกิริยาสําคัญนั้น ก็ คือเป็นหน้าที่ของพุทธบริษัท ทั้งพระและโยม จะต้องเอาจริงเอาจัง

การที่เรามีพระพุทธเจ้า การที่ชาวบ้านมีพระสงฆ์ไว้ ความหมายแท้สุดสําคัญ ก็เพื่อให้เรา เพื่อให้ประชาชนชาวบ้านจะ ได้ฟังธรรม เมื่อได้ฟังธรรมก็จะได้รู้เข้าใจว่าอะไรเป็นอะไร จะได้ทํา ได้ปฏิบัติให้ถูกต้องเพื่อให้เจริญก้าวไปในการเรียนการรู้และการปฏิบัติธรรมต่อไป

ดังนั้น ตั้งแต่เดิมมาจึงจัดให้การฟังธรรมนี้เป็นกิจประจําวัน ของพระของโยม ถึงกับมีคําว่า “ธัมมัสสวนโฆสนา” คือการโฆษณาประกาศป่าวร้องให้รู้ทั่วกันถึงรายการฟังธรรม แต่กาลนาน ผ่านมา ชาวพุทธอ่อนแอลง เสื่อมถอยจากธรรมสวนะ ไม่รู้จักที่จะ ใส่ใจในเรื่องการฟังธรรม

ตั้งแต่ไม่รู้จักหน้าที่สําคัญของตนคือการฟังธรรมนี้แล้ว อะไรๆก็เลื่อนรางลงไป จะทําอะไรๆ ก็ไม่ทําด้วยความรู้เข้าใจ แล้วความ เสื่อมก็ตามมา จากยุคแรกแห่งการรักษาธรรมวินัย ก็กลายเป็นแค่ ยุคสมัยของการรักษาประเพณี แล้วประเพณีเองก็ค่อยๆ เลือนราง ลงไป ได้แค่รักษารูปแบบไว้ (รักษาขวดไว้ได้ แต่น้ําหรือยาหายไป บางทีกลายเป็นมีสุราเข้ามาแทน)

การสวดมนต์แล้วฟังธรรมนี้ มีเค้าความที่โยงกับเรื่องซึ่งจะ พูดถึงดังจะเห็นในข้อต่อไปข้างหน้าด้วย

@@@@@@@

เป็นอันว่า คนที่มาพร้อมกันสวดมนต์ด้วยกันนั้น ตระหนักรู้อยู่ว่า เบื้องหน้าต่อจากนี้พวกเราจะได้ฟังธรรม จากนั้น เมื่อญาติ โยมสวดมนต์พร้อมกัน ใจสงบพร้อมดีแล้ว พระก็แสดงธรรมให้ฟัง หรือมีการพูดธรรมต่อไป นี่คือไม่ใช่ว่าสวดมนต์แล้วก็จบคือเลิกกัน

งานหรือบุญกิริยาอีกอย่างหนึ่ง ที่ใช้การสวดมนต์เป็นการเตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อมที่จะทําต่อไป ก็คือใช้การสวดมนต์เป็น การเตรียมจิตเพื่อการทําสมาธิ อย่างที่บอกแล้วว่า จิตใจของผู้ที่มา แต่ละคนๆ เมื่อมาถึงที่นั่น อยู่ในภาวะต่อเนื่องมาจากการถูก กระทบภายนอกที่ต่างๆ กันไป บ้างก็หงุดหงิดฟุ้งซ่าน บ้างก็ค้าง จิตติดอารมณ์โน่นนี่มา อะไรต่างๆ ทําให้ใจไม่พร้อม ก็มาสวดมนต์ ด้วยกัน เป็นทั้งรวมพล รวมคน รวมใจ ให้สงบนิ่งปลอดสิ่งรบกวน เข้าที่ พร้อมที่จะเจริญสมาธิให้ก้าวหน้า

แต่การทําสมาธินี่ที่จริงเป็นเรื่องการปฏิบัติภายในของแต่ละคนนั้นๆ เอง เขาอยู่ในที่ของเขา เขาก็สวดมนต์ในส่วนของตัวเอง เพื่อเตรียมจิตให้สงบพร้อมน้อมที่จะมั่นแน่วเป็นสมาธิ การชุมนุม สวดมนต์ด้วยกันเพื่อผลในการเจริญสมาธิจึงเป็นส่วนเสริมเพิ่มเข้ามา ไม่ใช่เป็นผลที่หมายตัวแท้ตัวจริง

การสวดมนต์ที่เป็นการปฏิบัติภายในของตัวบุคคลที่ควร สนับสนุนอย่างหนึ่ง คือสวดมนต์เพื่อช่วยให้นอนหลับ การสวด มนต์เพื่อนําการเจริญสมาธิและเพื่อแก้ปัญหานอนไม่หลับนี้ เป็น ประโยชน์จําเพาะทางจิตใจที่ระบุความมุ่งหมายแยกไว้เป็นพิเศษแล้ว จึงไม่มาสับสนปนเปกับวัตถุประสงค์ทั่วไปตามปกติของการสวดมนต์

รวมแล้ว ถ้าจะให้เข้าหลักแท้ ก็อย่างที่ว่า คือ ให้การสวดมนต์หมู่ตามต่อมาด้วยกิจกรรมที่เป็นบุญกิริยาใหญ่ อันให้ ประโยชน์ ที่ได้ทางจิตใจแล้วก็ได้ปัญญาด้วย ก็คือ การฟังธรรมนั่น แหละ ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่จะให้ได้ครบไปจบถึงปัญญา

นอกจากนั้น บางครั้งการชุมนุมสวดมนต์ด้วยกันพร้อมกันนี้ก็อาจใช้เป็นการเตรียมตัวให้สงบมั่นคงมั่นใจพร้อมเพื่อการทํากิจ สําคัญอย่างอื่น ตั้งแต่การรวมกําลังทํางานบุญของชาวบ้าน ไป จนกระทั่งถึงกิจการของบ้านเมือง

@@@@@@@

ในบ้านเมืองไทยสืบมาแต่สมัยก่อนโน้น มีวัดที่ชื่อว่า “ชนะสงคราม” อย่างที่กาญจนบุรี มีวัดชัยชุมพลชนะสงคราม วัดนั้น เป็นอย่างไร ตามเรื่องเก่าที่พอได้ทราบว่า ในยามที่พระมหากษัตริย์ ทรงเตรียมทัพออกศึก จะโปรดฯ ให้ทหารมาชุมพลคือมาประชุม พร้อมกันที่วัดนั้น ทําจิตใจให้สงบมั่น เป็นการได้รับพร ให้พร้อม ก่อนที่จะยกทัพออกไป จึงมีชื่อว่าวัดชัยชุมพลชนะสงคราม

ที่กรุงเทพฯ ก็มีวัดชนะสงคราม ซึ่งตามที่ทราบว่าเป็นวัดที่มี โบสถ์ใหญ่ที่สุด ซึ่งเป็นที่ชุมนุมทหารได้เหมาะ หมายความว่า องค์ พระมหากษัตริย์ทรงไปรบชนะกลับมา ก็มารวมพลที่วัดชนะสงคราม ก่อนที่จะปล่อยแยกย้ายกันไป อันนี้พูดสั้นๆ ว่าเป็นการทําจิตให้ เข้าที่ ลงท้ายโดยมารวมกันในกุศล ให้ความสงบมาปิดท้ายจบ ความวุ่นวาย ให้พร้อมดีที่จะกลับไปดําเนินชีวิตในยามปกติต่อไป

ที่พูดมานี้ ว่าไปตามที่ได้ยินได้ฟังมาบ้าง ยังไม่ได้สอบสวน ค้นคว้าอะไร ดังนั้นท่านใดซึ่งใกล้ชิดที่ ใกล้ชิดเรื่อง และมีโอกาส ก็อาจจะนําเนื้อความที่หนักแน่นชัดเจนสักหน่อยมาบอกเล่ากัน

ทีนี้ ว่าถึงการรวมพลที่จะไปรบนั้น ก็หมายความว่าทาง บ้านเมืองได้เอาการสวดมนต์เป็นต้นนี้ ขยายไปใช้ประโยชน์ โดย ยกความสงบมั่นคงความพร้อมด้านจิตใจเป็นสําคัญขึ้นมา ให้ชีวิตมีฐานทางด้านบุญก่อน แล้วเรื่องไปรบจึงมาต่อในจิตที่เตรียมไว้ให้พร้อมแล้ว

ถ้าไม่เตรียมให้พร้อมตีในด้านจิตใจ ทหารหรือคนที่จะไปรบ นั้นตื่นเต้น หลายคนก็หวาดผวา ใจไม่ดี บางคนก็คิดถึงครอบครัว ห่วงกังวลโน่นนี่ ใจฟุ้งซ่านไปต่างๆ ก็มาร่วมชุมพลที่วัดพร้อมกัน แล้วสวดมนต์ ใจจะได้สงบ นี่ก็คือรวมพล รวมคน รวมใจ ใจก็สงบ จากเรื่องทั้งหลาย มามองหมายมุ่งไปที่งานอันจะทําต่อไป และองค์พระจอมทัพก็อาจจะตรัสความนําใจนําปัญญา พามวลพลกายให้มีใจหนึ่งเดียวมุ่งไปยังจุดหมายของการรักษาบ้านเมือง เพื่อประโยชน์สุขของมวลประชาราษฎร์ ทีนี้ใจก็จะเป็นอันหนึ่งอัน เดียวกันมั่นสงบพร้อม ดังนั้น การสวดมนต์ก็จึงใช้แม้แต่ในเรื่อง ของทางการบ้านเมือง เรื่องก็เป็นมาทํานองนี้

ต้องพูดแทรกบอกไว้กันความเข้าใจผิดด้วยว่า หลายคนอาจ พูดว่า การทําอย่างนี้ก็เป็นการเอาสวดมนต์ เอาเรื่องพระเรื่องบุญไปใช้ในการรบราฆ่าฟันกันด้วยสิ

ขอให้เข้าใจตามหลักที่ได้พูดไปแล้วข้างต้นว่า การสวดมนต์ เจริญพระพุทธมนต์ อวยชัยให้พร หรือแม้แต่จะพรมน้ํามนต์ให้แก่ เหล่าทหาร แก่กองทัพนั้น ในพระพุทธศาสนา เป็นไปตามหลักของ ปริตร/ปริตต์/ปริตตาณะ คือเพื่อการคุ้มครองป้องกัน หรือปกปัก รักษา ให้ตนเองและหมู่ชนปลอดภัย มีความเกษมสวัสดี พ้นเลย จากนั้นไปแล้ว ก็เป็นเรื่องของตัวคนนั้นๆ เองที่ไปคิดไปทํา การที่จะ ไปเข่นฆ่าทําร้ายใคร หรือจะไปมีโชคลาภร่ํารวยอะไรนั้น พระไม่ไป ยุ่งด้วย พระได้แต่อ้างอิงสัจจะอ้างอิงธรรมให้อํานวยความคุ้มครอง ให้มั่นคงปลอดภัย ปกป้องรักษาให้ได้ความสงบ มั่นใจหลักการนี้ออกมาเป็นประเพณีที่มีการปฏิบัติสอดคล้องกันในขอบเขตแค่นั้น

@@@@@@@

ทีนี้ว่าถึงในปัจจุบัน การชุมนุมสวดมนต์รวมพลรวมใจให้ สงบพร้อมมั่นคงมั่นใจแบบนี้ ก็น่าจะใช้ได้ดีกับกิจกรรมบุญกุศล ส่วนรวมต่างๆ เช่นให้ชาวบ้านมาชุมนุมสวดมนต์พร้อมด้วยกัน ก่อนที่จะรวมกําลังกันทํางานบุญบําเพ็ญประโยชน์ เช่นพัฒนา หมู่บ้าน พัฒนาชุมชนให้ทุกคนอยู่กันดีมีศีลมีธรรม

เป็นอันว่า ถึงแม้เราจะไม่ใช้การสวดมนต์ในความหมาย แบบเดิมในครั้งพุทธกาล คือ หนึ่ง ใช้ในการเรียนธรรมของตน สอง ใช้ในการรักษาพุทธพจน์ ก็เอาการสวดมนต์มาใช้ในการรวมพล รวมคน รวมใจ เตรียมตัวให้พร้อมที่จะทํางานบุญหรือกิจกรรมที่ดี งาม เมื่อจะทําอะไรที่สําคัญ เราก็มารวมพลสวดมนต์กันให้ใจสงบ มั่นแน่ว แล้วก็เริ่มทําการที่คิดหมายไว้ ตัวคนก็จะพัฒนา งานของ ชุมชนก็จะได้ผลจริงจัง นี่ก็เล่าให้ฟังไว้

ข้อสําคัญคือ ในเรื่องนี้ ต้องจับให้ได้สารธรรม ที่จะทําการ สวดมนต์นั้นโดยมีปัญญารู้เข้าใจ และทําให้ได้ประโยชน์แท้ที่มุ่ง หมาย ไม่ใช่แค่สวดไปสวดมาว่าตามๆ กันไป จนกลายเป็นแย่กว่า สวดมนต์ของพราหมณ์ ได้แต่มัวเคลิบเคลิ้มเพลินๆ กันไป กลายเป็นว่าทําให้คนยิ่งเฉื่อยชาไปกันใหญ่ ดีไม่ดีก็เลยไถลลงไป อยู่ในความประมาท สติก็ห่างหาย ปัญญาก็ไม่มาฉายแสงนําทางให้

การเข้ามารวมกลุ่มชุมนุมกันสวดมนต์มากมายใช้เวลานานๆ ให้เคลิ้มจิตเคลิ้มใจอยู่กับใจของตัวได้ หายทุกข์หาย กังวลนั้น จะยอมให้ได้ก็สําหรับคนที่เจ็บไข้หนัก และท่านผู้เฒ่าชรา (และเด็กเล็กเด็กน้อย) ซึ่งไม่มีแรงกายแรงใจที่จะทําอะไรได้ มากกว่านั้น ให้ได้มีที่พึ่งจิตที่พักใจได้ชื่นชมชูกําลังให้ฟื้นคืนความ แจ่มใสขึ้นมา

แต่สําหรับคนทั่วไปที่ยังมีเรี่ยวแรง การสวดมนต์จะต้องเป็น แรงขับเคลื่อนให้เดินหน้าก้าวต่อไปกับสติและปัญญา ไม่ใช่เป็นแค่ที่พักใจให้มาติดเพลิน และไม่ใช่จะให้มาติดอยู่แค่การแก้ปัญหา จิตใจ แต่ต้องไปให้ถึงจุดหมายที่แท้แต่ดั้งเดิม คือมุ่งไปที่การมีสติ ที่จะได้เจริญปัญญา

สําหรับคนที่มีทุกข์สุมรุมล้อมจิตใจวุ่นวาย แล้วมาได้การ ชุมนุมกันสวดมนต์ เป็นที่หลบทุกข์ห่างปัญหา ได้มาชุบชูใจ สงบ ใจ หรือกล่อมใจให้พ้นเรื่องราววุ่นวายยุ่งใจไปได้คราวหนึ่งๆ ก็ให้รู้ ว่าเรื่องไม่ใช่จบแค่นั้น แต่ต้องให้การเข้ามาร่วมชุมนุมสวดมนต์นั้น เหมือนเป็นการหลีกปลีกตัวมาแวะสถานีบริการหยุดพักสักครู่เพื่อ ซ่อมเสริมเติมพลัง และได้เรียนรู้เสริมปัญญาที่จะออกไป ปฏิบัติการให้เก่งที่มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น พร้อมทั้งจะได้รู้จักปรับแก้
พัฒนาการดําเนินชีวิตและกิจการงานให้ถูกต้องดีงามเป็นคุณประโยชน์แท้จริงหรือยิ่งขึ้นไป

เอาเป็นว่า การสวดมนต์นี้ ถ้าไม่ใช้ตามความหมายเดิม ๒ อย่าง คือ หนึ่ง ใช้ในการศึกษา สอง ใช้เพื่อรักษาพุทธพจน์ ก็ใช้ใน การเตรียมตัวทํางานทํากิจการบําเพ็ญบุญกิริยาที่ยิ่งขึ้นไป โดยทํา ให้มีใจสงบพร้อมมั่นแน่ว ถ้าทําได้ในทางนี้ ก็จะดีขึ้น

เพราะฉะนั้น อย่างน้อยก็ให้ได้ประโยชน์อย่างที่สามนี้




ต้องให้สวดธรรม มาย้ำเสริมแรงแสดง-สดับธรรม มิใช่ว่าสวดมนต์มาพาแสดงสดับธรรมให้ลับหาย

ที่พูดมายืดยาว ก็เพราะเกรงว่าที่ชาวพุทธชอบมาสวดมนต์ กันนี่ ไปๆ มาๆ กลายเป็นว่าสวดกันไปอย่างนั้นๆ สวดกันให้เพลิน สวดกันให้หลับไปเลยอะไรอย่างนี้ แล้วก็ไม่ได้อะไรขึ้นมา ถ้าอย่างนั้น มันก็จะเข้าทางที่ใกล้เป็นพราหมณ์เข้าไปเต็มที่ หรืออาจจะแย่ยิ่งกว่าพราหมณ์ลงไปอีก

ทางหนึ่งที่จะช่วยไม่ให้ผิดพลาดหลงทาง คือ ย้อนหลังไปดูการสวดมนต์ในการดําเนินชีวิตเป็นอยู่และทํากิจประจําวันของชุมชนชาวพุทธทั้งพระสงฆ์และชาวบ้าน ในยุคสมัยที่สืบต่อจากพุทธกาลไม่นานไม่ห่างมากนักจากสมัยของพระพุทธเจ้า เฉพาะอย่างยิ่งในยุคสมัยที่เห็นได้จากบันทึกในคัมภีร์ทั้งหลายว่าเป็นสภาพในกาลเวลาที่การเล่าเรียนศึกษาปฏิบัติ คือทั้งปริยัติและปฏิบัติ ยังหนักแน่นจริงจังตามพระธรรมวินัย เอาง่ายๆ ชัดๆ คือในยุคที่ฟื้นอรรถกถาขึ้นมาช่วยการศึกษาพระไตรปิฎก คือ เมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๐๐๐

ในคัมภีร์ต่างๆ แห่งยุคสมัยนั้น เมื่อท่านเขียนแสดงไขขยาย ความหลักธรรมวินัย ไปๆ ก็มีบ่อยๆ ที่ท่านเล่าเรื่องราวความ เป็นไปของพระพุทธศาสนาและชีวิตความเป็นอยู่ของพระสงฆ์กับทั้งเหล่าพุทธบริษัทแทรกไปด้วย ข้อความบางท่อนบางประโยคของท่าน ทําให้เรามองเห็นชีวิตความเป็นอยู่และกิจประจําวันของพระและโยมสมัยนั้นได้อย่างชัดเจน

มีข้อความเป็นคําบาลีคําหนึ่ง ซึ่งพูดถึงการทํากิจในชีวิตประจําวันของพระภิกษุ เมื่อพันห้าร้อยปีก่อนโน้น เป็นคํายาวมาก และในหลายคัมภีร์ยกขึ้นมาพูดอย่างเดียวกัน  (เช่น ปฏิสํ.อ.๑/๓๕๗ ; วิสุทฺธิ.๒/๒๒๒ ; วินย.ฏี.๓/๗๒)  ท่านเขียนว่า “ปทภาณธมฺมกถาสรภัญญปัญหา วิสสชชนรชนปจนจีวรสพพนโธวนาทีน” คือบอกว่า “ภิกษุทั้งหลายซึ่ง กําลังทํากิจต่างๆ) เช่น สวดบทภาณอยู่บ้าง แสดงธรรมกถาอยู่ บ้าง สวดสรภัญญะอยู่บ้าง ถาม-ตอบปัญหาอยู่บ้าง ย้อมจีวรอยู่บ้าง ต้มจีวรอยู่บ้าง เย็บจีวรอยู่บ้าง ซักจีวรอยู่บ้าง"

จะเห็นว่ากิจกรรมต่างๆ มีแต่เรื่องของการพูดธรรม สวดธรรม การเทศน์ การอธิบายธรรม ตอบปัญหาธรรม และน่าสังเกต ว่ากิจกรรมในการเล่าเรียนศึกษาสั่งสอนธรรมเหล่านี้ เป็นกิจกรรม สามัญในชีวิตประจําวันของพระสมัยนั้น เหมือนกับการซักจีวรเย็บ จีวรย้อมจีวร

ส่วนทางฝ่ายชาวบ้าน ท่านพูดถึงกิจกรรมเช่นว่า “เจติยวนทน ธมฺมสฺสวนกาลาทีสุ" บอกว่า "ในกาละต่างๆ เช่นเวลาไปไหว้พระ เจดีย์ (พระพุทธรูปก็เป็นเจดีย์ชนิดหนึ่ง) เวลาไปฟังธรรม เป็นต้น"

นี่คือบอกว่า หน้าที่ของชาวพุทธ ได้แก่ การพูดธรรม-ฟังธรรม หรือแสดงธรรม-สดับธรรม แล้วก็มีสวดธรรมมาช้อนเสริมเข้าไปให้ แสดงธรรม-สดับธรรมนั้นได้ผลดียิ่งขึ้น ทั้งในด้านชัดเจนจริงจัง กระชับสาระ และไพเราะเสนาะชวนฟัง คือสวดธรรมนั้นมาเป็น ช่องทางมาเป็นวิธีปฏิบัติในการแสดงธรรม ไม่ใช่มาแทนที่การแสดงธรรม

@@@@@@@

กิจของพระที่ท่านพูดถึงเมื่อกี้ ก็คือวิธีต่างๆ ในการพูดธรรม แสดงธรรม อธิบายธรรมนั่นเอง ดังนี้

    ๑. ปทภาณ คือ การสวดแสดงธรรมเรียงบท อย่างที่ได้พูด ข้างต้นแล้วว่า “ภาณ” เป็นคําหนึ่งที่แปลกันว่า “สวด” แต่ที่จริง ภาพนี้เป็นคําสามัญ แปลว่า “พูด” “ว่า” “กล่าว” นั่นเอง แต่เมื่อ พูด-ว่า-กล่าว เป็นทํานอง เราก็เรียกว่าสวด

แล้ว “ปทภาณ” กล่าวหรือสวดตัวบทเรียงบท คืออย่างไร “บท” หมายถึงคาถาหนึ่งๆ (อย่างที่ว่า สี่บาท เป็นคาถาหนึ่งบท) ก็ ได้ หมายถึงข้อธรรมหนึ่งๆ ก็ได้ ในที่นี้มุ่งเอาพุทธพจน์

“ปทภาณ” (จะพูดว่า ปทภาณะ หรือบทภาณ ก็ได้) คือการ ยกเอาพุทธพจน์ จะเป็นคาถา เป็นพระสูตร หรือคําตรัสบทหนึ่งๆ ก็ตาม ขึ้นมากล่าวมาสวด โดยอธิบายความหมายไปด้วยเรียงตามลําดับตัวบทนั้น

    ๒. ธรรมกถา คือ การกล่าวอธิบายบรรยายธรรมหรือพูด เรื่องธรรมอย่างกว้างๆ ทั่วๆ ไป ที่มักเรียกกันว่าเทศน์ หรือแสดง ธรรม และเรียกตัวผู้แสดงว่าธรรมกถูก

    ๓. สรภัญญะ คือ การกล่าวธรรมด้วยเสียงที่เสนาะไพเราะ ชัดเจนเป็นทํานองกลมกล่อมน่าฟัง (“สร” คือ เสียง + “ภัญญะ” คือ คําเดียวกับ ภณน, ภาณ) โดยยกเอาคาถา พระสูตร พุทธพจน์ ขึ้นมาเปล่งเสียงกล่าวออกไป เรียกว่าสวดสรภัญญะ

   ๔. ปัญหาวิสัชนา (บางทีเรียกเต็มว่า ปัญหาปุจฉน-ปัญหาวิสัชนา เวลานี้นิยมเรียกว่า ปุจฉาวิสัชนา) คือ การถามปัญหา-ตอบปัญหา เป็นวิธีแสดงธรรมสอนธรรมที่ตรงกับความต้องการ และช่วยเสริมเติมเต็มให้แก่การแสดงธรรมอธิบายธรรมอย่างอื่นๆ

ย้ําว่า กิจสามัญอันสําคัญซึ่งเป็นหน้าที่ประจําตัวของชาวพุทธ คือการพูดธรรม-ฟังธรรม แสดงธรรม-สดับธรรม หรือสอน ธรรม-เรียนธรรม โดยมีการสวดธรรมเป็นวิธีการอย่างหนึ่งของการ แสดงธรรมนั้น อย่างน้อยการสวดธรรม ก็เป็นการสาธยายทบทวน ธรรมที่ได้แสดงได้สดับนั้น (มิใช่ให้การสวดเป็นกิจกรรมอะไรที่ ต่างหากออกไป จนกลายเป็นสวดมนต์เวียนวนเรื่อยไปให้ เคลิบเคลิ้มใจแค่ได้พักผ่อนได้เพลิดเพลิน)*

___________________________________
*ในข้อ ๑. บทภาณนั้น ถ้ายกเอาคาถา พระสูตร พุทธพจน์ ขึ้นมากล่าวเป็นหลัก โดย ปรารถนาให้มีการอธิบายความหมาย แต่ยังไม่บอกความหมายไม่อธิบาย ก็ไม่เรียกว่า บทภาณ แต่เรียกว่า โอสารณา ; กิจกรรมของพระภิกษุในการแสดงธรรมสอนธรรม ยังมี อีกหลายอย่าง ซึ่งพึ่งใช้ตามกาลโอกาส เช่น อุปนิสินนกถา ปริกถา อนุโมทนาถา

@@@@@@@

เมื่อนักเทศน์ ได้นักสวด มาเข้าชุด

ในคัมภีร์ชั้นฎีกาแห่งหนึ่ง (สํ.ฏี.๑/๘๙) กล่าวถึงวิธีสวด-แสดง ธรรมไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งน่าสนใจ แม้จะไม่พบหลักฐานยืนยันในคัมภีร์ อื่น ก็น่าจะนํามาบอกไว้ เป็นวิธีปฏิบัติที่ชวนให้ติดตามรอฟังธรรม ไปให้ตลอด และทําให้รู้สึกว่าได้เนื้อหาสาระหนักแน่นจริงจัง

วิธีนี้คือ ให้พระนักสวดมาทําหน้าที่เข้าชุดกับพระนักเทศน์ โดยที่ว่า เมื่อพระ เมื่อโยม อยากฟังอยากรู้ต้องการเล่าเรียนศึกษา พุทธพจน์คําสอนธรรมเรื่องใด ก็นิมนต์พระนักสวดเข้ามายกเอา คาถา พระสูตร พุทธพจน์นั้นขึ้นมาสวดสรภัญญะ ตั้งเป็นหลักหรือ เป็นบทตั้งน่าไว้ก่อน

เมื่อพระนักสวดสรภัญญะ (เรียกว่า สรภาณ) สวดบทตั้งจบแล้ว ก็นิมนต์พระนักเทศน์ (คือ ธรรมกถึก) ขึ้นมาบรรยายอธิบาย คาถา พระสูตร พุทธพจน์ ที่พระสรภาณได้สวดตั้งเป็นหลักไว้ให้ แล้วนั้น อย่างละเอียดพิสดารให้ผู้ฟังรู้เข้าใจชัดเจน

วิธีที่นิมนต์พระนักสวด มาเข้าชุดกับพระนักเทศน์อย่างนี้ ท่านเรียกว่า “สรภาณธรรมกถา

@@@@@@@

ทีนี้ ถ้าไม่มีหรือหาพระสรภาณนักสวดสรภัญญะ ไม่ได้ ก็อาจ ยักเยื้องปรับแปรในขั้นตอนนี้ได้ โดยที่ประชุมนั้นเองสวดคาถา พระสูตร พุทธพจน์ที่จะให้พระนักเทศน์ คือพระธรรมกถูกขึ้นมาอธิบายนั้น เป็นการชุมนุมสวดมนต์หรือสวดมนต์หมู่นําหน้าธรรมกถาของ พระนักเทศน์ หรือที่ประชุมจะตั้งตัวแทนขึ้นมาสวดก็ได้

ถ้าชาวพุทธชวนกันปฏิบัติให้ได้อย่างที่ว่ามานี้ ก็จะทําให้การ สวดมนต์เกิดมีประโยชน์สมตามธรรม และจะเป็นการช่วยกันฟื้นการสวดมนต์นั้นให้เป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องตามความหมายที่แท้จริง ให้การสวดเป็นส่วนร่วมอยู่ในบุญกิริยาแห่งธรรมสวนะและ ธรรมเทศนา ที่จะพาให้ก้าวหน้าไปในการปฏิบัติธรรมได้จริง

อย่างง่ายๆ ถ้าทําอย่างที่ว่ามานั้นก็ยังไม่ไหว ก็เอาแค่ว่า เมื่อใดมีการชุมนุมสวดมนต์ พระก็ใช้เป็นโอกาสที่จะสอนจะบอก ธรรมแก่ญาติโยมมากบ้างน้อยบ้าง พอให้ญาติโยมรู้เข้าใจธรรม เพิ่มขึ้นบ้าง ได้ครั้งละเล็กละน้อย ก็ยังพอสมให้ชื่อว่าได้ปฏิบัติตาม หลักที่ทําการสวดมนต์ให้เป็นส่วนแห่งบุญกิริยาข้อธรรมสวนะ(ธัมมัสสวนมัย บุญกิริยาวัตถุ) และพระก็ชื่อว่าได้ทําหน้าที่ของตนใน ฐานะเป็นผู้ให้ธรรม ในบุญกิริยาข้อธรรมเทศนา (ธัมมเทสนามัย บุญกิริยาวัตถุ) ไม่เป็นกิจกรรมที่เลื่อนลอย แต่มีพระที่เป็นผู้ให้ธรรมมิใช่แค่นำสวดมนต์

(ยังมีต่อ..)

หน้า: 1 [2] 3 4 ... 10