สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ พฤษภาคม 24, 2022, 06:45:22 am



หัวข้อ: รักษ์ศาสน์ วาดศิลป์ แผ่นดินสยาม - อนุรักษ์พระไตรปิฎกใบลาน (MPSC)
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ พฤษภาคม 24, 2022, 06:45:22 am

(https://obs.line-scdn.net/0hqQCVfkJdLn5-LzqR9pNRKSh5LRFNQz19Ghl_fSJBd0kHS2t4S0h9HVl6eFJWHWkrXkBmH18zeUYDTW8uREsxHQl7cEYBF28rQ0wkGQx9dR4BSjo/w1200)


รักษ์ศาสน์ วาดศิลป์ แผ่นดินสยาม - อนุรักษ์พระไตรปิฎกใบลาน (MPSC)

บรรพชนชาวสยามน้อมรับเอาพระพุทธศาสนามานับถือและรักษาไว้ ไม่ว่าจะเปลี่ยนผ่านมากี่ยุคสมัยผ่านมากี่แผ่นดิน อาณาประชาราษฎร์ล้วนอยู่ร่วมกันอย่างร่มเย็นเป็นสุขภายใต้พระบรมโพธิสมภารแห่งพระมหากษัตริย์ ผู้ทรงเป็น “ธรรมราชา” องค์เอกอัครศาสนูปถัมภก ปกครองแผ่นดินโดยธรรมตามหลักพระธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

(https://obs.line-scdn.net/0hpKi_kJ67L2RUJjuL32pQMwJwLAtnSjxnMBB-ZwhIc1Z6E2AzPUB8VnAuJEh8ETgwdBNgBHM6JAMpF2szOBVpAyEmcVwsFmw1bkYlAyZ0dAQsFzs/w1200)

แม้พระมหากษัตริย์จะได้รับการยกย่องประดุจสมมุติเทพ แต่พระองค์ทรงเคารพบูชาพระรัตนตรัยเหนือสิ่งใด ดังจะเห็นได้จากจารึกวัดป่ามะม่วง จารึกด้วยอักษรขอมสุโขทัย ภาษาเขมร เมื่อ พ.ศ.1904 ด้านที่ 2 บรรทัดที่ 44-47 ว่า

จารึกดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าคัมภีร์พระไตรปิฎกได้ถูกจารขึ้นในแผ่นดินสยามตั้งแต่เมื่อพันกว่าปีก่อนและได้รับการดูแลรักษาอย่างดีภายในพระราชมณเทียร ซึ่งแม้แต่กษัตริย์ก็ทรงให้ความเคารพพระธรรมคำสอนนั้น

แม้เราจะทราบว่ามีการจารคัมภีร์พระไตรปิฎก และการสร้างอาคารเพื่อเก็บรักษาพระไตรปิฎกในแผ่นดินสยามมานานแล้ว แต่ยังไม่มีหลักฐานใดระบุชี้ชัดว่าชาวสยามเริ่มรู้จักใช้ตู้พระธรรมตั้งแต่เมื่อใด เราสามารถสันนิษฐานได้เพียงว่า เมื่อมีการสร้างหอไตรขึ้น ก็น่าจะมีการสร้างสิ่งที่บรรจุคัมภีร์พระไตรปิฎกใบลานอย่างเหมาะสมและมีการตกแต่งที่ประณีตงดงาม ให้สมกับความศักดิ์สิทธิ์ของพระคัมภีร์อันเป็นตัวแทนของพระบรมศาสดา

เชื่อกันว่าตู้พระไตรปิฎก หรือตู้พระธรรม หรือเป็นที่รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่า ตู้ลายรดน้ำ แต่เดิมเป็นหีบที่ใช้เก็บเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มของคหบดีหรือขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ตกแต่งด้วยลายรดน้ำ เมื่อเจ้าของหีบเสียชีวิตไปลูกหลานจึงนำมาถวายวัดให้เป็นบุญกุศล พระภิกษุจึงนำมาใช้เพื่อเก็บรักษาคัมภีร์

ตู้ที่ทำขึ้นใช้สำหรับบรรจุพระไตรปิฎกจริง ๆ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ ส่วนบนสอบเข้าทำให้ดูแคบกว่าตอนล่าง ตกแต่งด้วยลายรดน้ำ หรือลงรักปิดทอง ภาพลายรดน้ำทั่วไปเป็นเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ภาพเทวดาทวารบาล ภาพธรรมชาติ เป็นต้น


(https://obs.line-scdn.net/0h8PVS90ZlZ39rKnOQ4F8YKD18ZBBYRnR8Dxw2fDdEPEtBTSF7Ahk0GkspOlNDH3QoSxwrTUg2PEZHHHItVxx8SxsiOUcTGiQuXkttGBl4PB8TGiM/w1200)

แม้ความนิยมของลวดลายจะแตกต่างไปตามยุคสมัย แต่ผลงานที่ช่างศิลป์สรรสร้างขึ้นล้วนสะท้อนให้เห็นความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะฝากผลงานชั้นเลิศของตนไว้เคียงคู่และปกปักษ์รักษาคำสอนของพระบรมครู อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นเรื่องราวประวัติศาสตร์ของบ้านเมืองในแต่ละยุคสมัยอีกด้วย

อาทิเช่นความงดงามประณีตและความมีชีวิตชีวาอย่างหาที่ติไม่ได้ของงานศิลป์ลายรดน้ำสมัยอยุธยากระหนกเปลวที่มีพลังและเป็นกลุ่มก้อนแสดงให้ประจักษ์ถึงภาคภูมิใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชาติ ความสงบผาสุกของราษฎร โดยเฉพาะลวดลายรดน้ำช่วงอยุธยาตอนปลายที่มีความสลับซับซ้อนอ่อนช้อยสะท้อนถึงความเจริญรุ่งเรือง และสังคมที่หรูหราช่วงปลายอาณาจักร

ซึ่งต่างจากลวดลายหลังสงครามสมัยกรุงธนบุรีเชื่อมต่อถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ช่วงรัชกาลที่ 1-2แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นช่วงที่บ้านเมืองผ่านความคุกรุ่นของสงคราม สถาปัตยกรรมอันงดงามและคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาถูกเผาทำลายไปมาก


(https://obs.line-scdn.net/0h2wSD3jDmbVhuPXm35UYSDzhrbjddUX5bCgs8WzJTNWwTCX0MAA4-Okg1ZnRGDC0HTlJybE4hYzgXXS9ZBg4kbUI7M2AWDS4IU11nPxxvNjgWDXg/w1200)

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสละพระราชทรัพย์จ้างช่างจารจารึกพระไตรปิฎกลงในใบลานทดแทนฉบับที่ถูกทำลายและสูญหายในช่วงสงคราม โปรดฯ ให้สร้างตู้ใส่ไว้ในหอมณเทียรธรรม และสร้างพระไตรปิฎกถวายพระสงฆ์ไว้ในพระอารามหลวงทุกแห่ง

ส่วนศิลปะลายรดน้ำบนตู้พระไตรปิฎกในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น นี้ยังคงความงามเพราะสืบต่อจากสมัยอยุธยาอันรุ่งเรือง แต่เพราะความสูญเสียจากสงครามได้บั่นทอนขวัญและกำลังใจของช่างศิลป์ทำให้งานที่ออกมาแม้จะไม่ด้อยค่าความงาม แต่ไม่มีพลังและไม่เป็นกลุ่มก้อนเหมือนก่อน

สถาปัตยกรรม จิตรกรรม ประติมากรรมทั้งหลายที่ยังปรากฏอยู่ให้เราเห็นในทุกวันนี้นั้นได้ผ่านกาลเวลามาหลายยุคสมัย และล้วนแล้วแต่เป็นศิลปะที่สะท้อนถึงสภาพความรุ่งเรืองของสังคม การดำเนินชีวิต

และจิตใจของคนในชาติที่ช่างศิลป์ในยุคสมัยนั้นๆ ได้สื่อออกมาให้คนรุ่นหลังได้ทราบ ภายใต้ความงามของศิลปะทุกแขนงจึงมีเรื่องราวแทรกอยู่ ให้มองเห็นสังคมที่สงบสุขไพร่ฟ้าหน้าใส หรือให้รู้สึกถึงช่วงเวลาทุกข์ยากมีสงครามที่เลวร้ายต้องรบพุ่งฆ่าฟันกัน

พระพุทธศาสนาในสยามเองก็ได้เดินทางผ่านทั้งแสงเพลิงแห่งสงคราม ทั้งรุ่งเรืองในยามที่แผ่นดินสงบ แต่ไม่ว่าจะผ่านช่วงเวลาใดความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของผู้คนยังมั่นคง ถูกเก็บรักษาและแสดงออกมาในรูปแบบศิลปะแขนงต่างๆ ทั้งสถาปัตยกรรมโบสถ์วิหารที่เป็นเอกลักษณ์


(https://obs.line-scdn.net/0hxQ3LB0tsJ34ONTORhVhYKVhjJBE9WTR9agN2fVJbKkYkUmF9MFR0SyIxK1ImAmB6LgA9GCspe0gjVmZ4O1E7SHszeUZxVmQrN1AtGXxnfB52BjA/w1200)

ทั้งลายภาพจิตรกรรมที่บรรจงวาดไว้ ทั้งความงดงามของลายรดน้ำบนตู้พระไตรปิฎก ที่งามสมศรัทธาแห่งช่างศิลป์แผ่นดินสยาม วาดไว้ให้เป็นที่ประจักษ์ว่าจะปกปักรักษาคัมภีร์ที่จารจารึกพระธรรมคำสอนอันล้ำค่าให้ปลอดภัย ขณะเดียวกันก็บอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของประวัติศาสตร์แผ่นดินสยามให้คนรุ่นหลังภาคภูมิใจในความเป็นชาติ และให้ยืนหยัดรักษาพระศาสนาให้คู่แผ่นดินไทย แผ่นดินธรรมตลอดไป





Thank to : https://today.line.me/th/v2/article/0MYy7GD
เผยแพร่ 2 วันที่แล้ว • อนุรักษ์พระไตรปิฎกใบลาน (MPSC)