สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ เมษายน 26, 2024, 07:16:51 am



หัวข้อ: พนักงานลาบวชได้กี่วัน.? ตามกฎหมายแรงงาน
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ เมษายน 26, 2024, 07:16:51 am
.
(https://hmsstorage001.blob.core.windows.net/blog/image/npabgT5XzQ.webp)


HR ต้องรู้! พนักงานลาบวชได้กี่วัน? ตามกฎหมายแรงงาน

HR หลายคนยังคงมีคำถามว่า จริงๆ แล้วตามกฎหมายแรงงาน พนักงานลาบวชได้กี่วัน? และได้รับเงินเดือนตามปกติหรือไม่? มาหาคำตอบในบทความนี้



 :25:

พนักงานลาบวชได้กี่วัน.? ตามกฎหมายแรงงาน

ในส่วนของงานราชการนั้น ถูกระบุไว้ชัดเจนว่า สามารถลาบวชได้ 120 วัน ต้องยื่นขอลาล่วงหน้าอย่างน้อย 60 วัน โดยจะต้องรับราชการมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน แต่ตามกฎหมายแรงงานยังไม่มีกำหนดเรื่องสิทธิกาลาบวชสำหรับองค์กรเอกชนไว้ใน พรบ.คุ้มครองแรงงาน ดังนั้นองค์กรเอกชนแต่ละองค์กรจึงสามารถกำหนดสิทธิวันลาบวชได้เอง โดย HR สามารถจัดให้เป็นสวัสดิการบริษัทเพิ่มเติมจากที่กฎหมายแรงงานกำหนดได้เลย

ตัวอย่างหลักเกณฑ์สิทธิการลาบวชที่องค์กรเอกชนส่วนมากกำหนดไว้ดังนี้

    1. มีอายุงาน 1 ปีขึ้นไป
    2. ลาบวชได้ 15 วัน โดยได้รับค่าจ้างตามปกติ
    3. ลาบวชได้ไม่เกิน 60 วัน โดยได้รับอนุมัติจากหัวหน้างาน
    4. ใช้สิทธิลาบวชได้ 1 ครั้ง ตลอดอายุการทำงาน

หากไม่ได้กำหนดไว้ ก็สามารถแนะนำให้พนักงานใช้สิทธิลากิจ ลาพักร้อน หรือใช้สิทธิวันลากิจตามที่ พรบ.คุ้มครองแรงงาน ระบุไว้ว่าการลาไปปฎิบัติธรรมทางศาสนาตามธรรมเนียมปฏิบัติ อย่าง งานบวช เป็น วันลากิจประเภทหนึ่ง ซึ่งสามารถลาแบบได้รับค่าจ้าง 3 วันต่อปี

(https://www.madchima.org/forum/gallery/2_26_04_24_7_13_26.jpeg)


แล้วเมื่อพนักงานเอกชนลาบวช จะได้รับเงินตามปกติหรือไม่.?

คำตอบคือ เมื่อพนักงานเอกชนลาบวช จะได้รับเงินเดือนตามปกติหรือไม่ เป็นเวลากี่วัน ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละองค์กรกำหนดเลย เพราะทางกฎหมายแรงงานก็ไม่ได้มีกำหนดในเรื่องนี้ไว้ด้วยเช่นกัน ซึ่งโดยส่วนมากองค์กรเอกชนทั่วไปมักจะกำหนดสิทธิการลาบวช 15 วัน โดยได้รับค่าจ้าง หรือแล้วแต่การตกลงเป็น Case by case ไปอีกที

สรุปสิทธิการลาบวชตามกฎหมายแรงงานในองค์กรเอกชน

เมื่อกฎหมายแรงงานไม่ได้กำหนดสิทธิการลาบวชไว้ HR จึงสามารถกำหนดสิทธิการลาในองค์กรของตนเองตามความเหมาะสม หรือตามหลักเกณฑ์ที่แนะนำไว้ดังกล่างได้เลย โดยกำหนดไว้ในกฎระเบียบบริษัท เพื่อความเป็นระเบียบและชัดเจนในการทำงานร่วมกัน





ขอบคุณที่มา : https://www.humansoft.co.th/th/blog/ordination-leave?utm_source=Taboola&utm_medium=hms_tab_blog_cpc&utm_campaign=ordination-leave_1&tblci=GiAS-TOUCWbnNlLjdwtnnulcBgB8ML0IJ3ZBMLnbiatvsSDkyGQoj6ry9bzc4IQB#tblciGiAS-TOUCWbnNlLjdwtnnulcBgB8ML0IJ3ZBMLnbiatvsSDkyGQoj6ry9bzc4IQB (https://www.humansoft.co.th/th/blog/ordination-leave?utm_source=Taboola&utm_medium=hms_tab_blog_cpc&utm_campaign=ordination-leave_1&tblci=GiAS-TOUCWbnNlLjdwtnnulcBgB8ML0IJ3ZBMLnbiatvsSDkyGQoj6ry9bzc4IQB#tblciGiAS-TOUCWbnNlLjdwtnnulcBgB8ML0IJ3ZBMLnbiatvsSDkyGQoj6ry9bzc4IQB)
14/11/2023 | HR Knowledge