ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ใครมีเคล็ดลับ นั่งสมาธิ ได้นาน ๆ ช่วยถ่ายทอดด้วยครับ  (อ่าน 14501 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

มะเดื่อ

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 181
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คืออยากนั่ง สมาธิให้ได้นาน ๆ ครับ แต่นั่งทีไร ก็ได้แค่ 15 นาที ปวดขา เหมื่อยตัวเป็นอย่างมากครับ ทำอย่างไร จะนั่งสมาธิได้นาน ๆ ครับ ใครมีเคล็ดวิธีการนั่งที่นั่งได้นานกว่า 15 นาที โปรดชี้แนะด้วยครับ

  :'( :smiley_confused1: :c017:
บันทึกการเข้า

เสริมสุข

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 223
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เคล็ดลับ นั่งให้ได้นาน ๆ นะครับ

  1.เตรียมความพร้อมก่อนนั่ง เช่น เข้าห้องน้ำ ถ่ายหนักเบา ให้เรียบร้อยเป็นต้น
  2.เมื่อนั่งก็ให้ ขอขมา และ อธิษฐานกรรมฐาน
  3.เมื่อภาวนาให้อาศัยจังหวะ ตามดู กับ การนับ เพื่อไม่ให้ สติ หลุด
  4.เมื่อปวดเมื่อย ให้อดทนให้ได้ตามเวลา โดยตั้งมั่นการภาวนากับ ฐานจิต และ การนับ
  5.จะให้ดีก่อนนั่ง ให้เดินก่อน เดินมาก ๆ ไปต้องถึงขั้นเดินจงกรม ก็ได้

  อันนี้แหละที่เป็น เคล็ดให้เราสามารถฝึกกรรมฐาน ได้เพิ่มเวลา และ นั่งได้นาน

 :25: :25: :25:

 
บันทึกการเข้า
อยากได้รับความสุข จาก ธรรมะ อยากได้รับ ..... แหมก็อยากนี้จ๊ะ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
การที่จะนั่งได้นาน ๆ ก็ทิ้งความกังวลเรื่องกาย ให้มุ่งจิตให้เป็นสมาธิ ถ้าหากเรามัวพะวงกับเรื่องกาย ก็จะต้องอยู่กับกาย เป็นทุกข์กับกาย

   กายนี้ ควบคุมอะไรไม่ได้ ถ้าจิตของเราไม่เข้มแข็งจากกาย คือ ตั้งมั่นด้วยนิมิตสมาธิ

   คิดดูวันหนึ่ง เราต้องบำรุง บำเรอ กายนี้อย่างไร ในวันหนึ่ง เดี๋ยวร้อน เดี่ยวหนาว เด๊๋ยวหิว ปวดท้องถ่าย เจ็บไข้ ได้ปวย อะไร ๆ อีกสารพัด ที่กายนี้เขาจะเรียกร้อง

  ดังนั้นเวลาเจริญ สมาธิ ผู้ภาวนาส่วนใหญ่ ก็ยังห่วงกังวลกับกาย เวลานั่งกรรมฐาน ก็จะพะวงต่ออาการปวด อาการเหน็บ เมื่อยล้า อะไรต่าง ๆ สาระพัดก็มาจากการที่ ไม่คลายความกังวลต่อกาย

  แล้วเราจะคลายกังวล ต่อกายนี้ ได้อย่างไร ในตอนที่ภาวนา

  คลายได้ด้วยการตั้งมั่น ในนิมิต ทั้ง 3 ประการ

  เมื่อจิตเรามั่นคงในนิมิตทั้ง 3 ประการก็จะเหมือนเรานอนหลับ ทับแขน นั่นแหละ ทับไปกี่ชั่วโมงก็ไม่รู้ ๆ แต่ว่าหลับ ดังนั้นเมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว อาการปวดนั้นจะคลายลงไปเอง แต่ไม่ใช่อาการปวดจะหายไป เพราะอาการปวดนั้นเป็นไปตามสภาพของกาย ไม่เว้นใครทั้งนั้น เพราะเรามีความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นธรรมดา


อ ด ท น



บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

นักเดินทาง

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 695
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา ที่พระอาจารย์ตอบคำถามไว้ดีแล้วครับ เพื่อน ๆ ต้องอ่านย้อนหลังกันบ้างนะครับ เพราะคำตอบดีจริง ๆ นะครับ เพื่อเป็นการลดภาระเรื่องการตอบของพระอาจารย์ลงด้วยครับ

  :c017: :25:
บันทึกการเข้า

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุครับพระอาจารย์ เป็นประโยชน์อย่างสูงครับ  ผมขออนุญาตเพิ่มเติมส่วนที่ผมปฏิบัติอยู่เพื่อนั่งสมาธินานขึ้นดังนี้นะครับ

1. พิจารณากายนี้เป็นสติ เจ็บรู้เจ็บ ปวดรู้ปวด นั่งอยู่ ยืนอยู่ นอนอยู่ ยืนอยู่ รู้อิริยาบถนั้น
2. พิจารณานาโดยมองเข้ารูปขันธ์ทั้งหลายเรานี้ อาการทั้ง 32 ประการนี้ มันก็แค่ส่วนเนื้อ ส่วนเอ็น หนัง กระดูก ฯ เป็นสิ่งที่ไม่ควรพิศมัยยินดี ไม่มีตัวตนอันที่เราจะไปยังคับจับต้องให้เป็นไปดั่งใจต้องการได้ นี่มันนั่งอยู่นี้ มันเป็นอิริยาบถนี้ มันก็เจ็บก็ปวด จะไปบังคับอยากให้มันไม่เจ็บปวดก็ไม่ได้ ขอจงอย่าปวดขาเลย มันก็ยังปวด บังคับไม่ได้ ก็ทุกข์จากการเสพย์เวทนาจากกายนั้น หอบจับเอา ยึดเอา ติดเอา ตั้งเอา รูปนี้มาเป็นอารมณ์ของใจมันก็มีแต่ทุกข์ทั้งนั้น เพราะมันไม่ใช่ของเรา ไม่มีตัวตนบุคคลใด เราจะทิ้งกายนี้ไปเสียจะไม่ยินดีกับกายนี้ ไม่ยินดีกับรูปขันธ์นี้อีก มันเป็นกองทุกข์ แล้วพิจารณารู้หายใจะเข้าออกระลึกในใจว่า จะดับกายสังขารนี้ไปเสีย จะดับไปเสียซึ่งทุกขเวทนาจากความเจ็บปวดนั้น (นี่รู้กายานุสติปัฏฐานและเวทนานุสติปัฏฐานเบื้องต้นแล้ว เวทนาเกิดทางกายนี่มันทุกข์ส่งต่อไปถึงเวทนาทางใจเลย)............

3. เมื่อรู้ในข้อที่ 1-2 แล้ว มาพิจารณาต่อลงลึกเข้าไปอีกว่า นี่นะพอเราไปจดจ่อกับมันตรงจุดที่เป็นมันก็ยิ่งปวด เพราะจิตเข้าไปรู้อารมณ์ผัสสะนั้น เมื่อรู้ผัสสนะนั้นแล้วก็เสพย์ต่อปรุงแต่งสมมตินึกคิดต่อว่า อาการนี้มันคือเจ็บ อาการนี้คือตะคริว อาการนี้คือปวด ทั้งๆที่กายนี้แลไม่มีความรู้สึกใดๆแม้มีการเกิดดับของการกระทบสัมผัสทางกายตลอด(โผฏฐัพพะ) แต่ก็มีที่จิตไปรู้อารมณ์จากการกระทบสัมผัสทางกายนั้นบ้าง(โผฏฐัพพารมณ์) ไม่รู้อารมณ์จากการกระทบสัมผัสทางกายนั้นบ้าง นั่นก็เพราะว่ามีแต่จิตเท่านั้นที่รู้ มีแต่จิตเท่านั้นที่เกิดรู้ประกอบผัสสะ มีแต่จิตเท่านั้นที่รู้อารมณ์ หายใจเข้าออกระลึกว่าจะดับจิตสังขารใดๆนี้ไปเสีย จะดับความปรุงแต่งนี้ไปเสีย เราจะทิ้งความปรุงแต่งรู้อรารมณ์นี้ไปเสีย จะไม่เอาจิตไปจดจ่อพิศมัยกับรูปขันธ์นี้อีก (นี่รู้จิตตานุสติปัฏฐานเบื้องต้นแล้วนะครับ) แล้วนี่จิตมันจะเริ่มลดคงามปวดลงนะเพราะไปรู้ทันตัวจริงของมันแม้การนี้จะเป็นแค่ในความตรึกนึกคิดยังเป็นบัญญัติใดๆอยู่แต่ก็จะส่งผลให้เห็นชัดเจนได้............

4. เมื่อรู้พิจารณาทบทวนกลับไปกลับมาในข้อที่ 1-3 แล้วหากยังไม่หายให้เข้าสู่สภาวะการพิจารณาเช่นนี้ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งนี้เป็นของไม่เที่ยงหนอ มีหายเจ็บ มีเจ็บเกิดดับๆไปๆมาๆ สิ่งใดๆนี้หนอเป็นกองทุกข์อันที่เรานั้นไม่สามารถจะไปบังคัฃจับต้องให้เป็นไปดั่งใจได้ ยิ่งทะยานอยากให้มันเป็นไปดั่งใจเท่าไหร่ เช่น ปารถนาว่าขอความเจ็บนี้จงหายไปเถิด ขอความเจ็บปวดนี้จงอย่ามีแก่เราเลย นี่มันไม่เป็นไปตามปารถนาก็ทุกข์ซ้ำไปอีก เพราะมันเป็นอนัตตา ไม่มีตัวตน มันไม่ใช่ของเรา เราจึงไปบังคับจับจ้องสั่งให้มันเป็นไปดั่งใจปารถนาต้องการไม่ได้ กอฃสังขสรธรรมทั้งหลาย(ขันธ์ทั้ง ๕) นี่มันเป็นตัวทุกข์ กายสังขาร(นัยยะนี้หมายเอารูปขันธ์) มันเป็นกองทุกข์ (นี่รู้ถึงธรรมเลยขนะครับทีนี้)
5. พิจารณาตรงที่มันปวดนั้นแหละ ไม่ต้องไม่ตรึกนึกคิด เอาแค่จิตไปรู้สภาพปรมัติของมัน เอาแค่รู้ว่ามันเป็นอย่างนี้ๆ รู้สึกอย่างนี้ๆ รู้แค่สภาพนี้ๆ ไม่มีบัญญัติไปให้ความหมายมัน ไม่มีความตรึกนึกคิดปรุงแต่งว่ามันเป็นนั่นเป็นนี่ แค่รู้อย่างเดียว (เมื่อรู้เช่นนี้แล้วนี้สติปัฏฐานเกิดเลย) พิจารณาดูรู้มันไปเมื่อมีสัมมาสติเกิด มีสัมมาสมาธิเกิด นี่จะเห็นว่าความปวดนี่มันเกิดมันดับ มันเฉยไม่ปวด ความเฉยดับ นี่ปวดมันเกิด มันเกิดดับๆไปอย่างนี้ไปเรื่อยๆ เมื่อคุณเห็นเช่นนี้ หายปวดทันทีแน่นอนครับ มีแต่รู้สภาพปรมัตถธรรม ไม่มีตัวตนบุคคลใด มีแค่สภาพธรรม ความรู้สึก หากรู้ในวิปัสนาแปล้วจะเห็นเข้าสู่รูปนามเลยครับ ให้พิจารณาอย่างนี้ไปเรื่อยๆทุกครั้งที่เจ็บ ปวด เมื่อเป็นประจำแล้ว สติมันจะทำหน้าที่พิจารณาของมันเองอัตโนมัติ จนบางครั้งคุณจะเห็นว่าความเจ็บปวดตอนนั้งสมาธินี้ก็ดีอย่าง ที่ทำให้รู้พิจารณาในสติปัฏฐานได้ชัดแจ้ง............
บางครั้งเมื่อพิจารณาไปเรื่อยๆจิตคุณจะพิจารณาดูเห็น เข้าใจตามจริงในความปรุงแต่งของมัน ว่ารูปธาตุนี้เกิดการแปรเปลี่ยนไปอย่างนี้ กายวิญญาณไปรู้ความเป็นไปนั้นของมันนี่ เกิดผัสสะจิตเกิดรู้ตาม เข้าใจโดยสัญญาว่ามันเป็นสภาพอะไรแล้วตรึกนึกคิดรู้ปรุงแต่งเรื่องราวไปนี่ แค่นี้เสพย์ทุกเวทนาทั้งทางกายและใจเลย

- แต่มีข้อแม้นะครับ อย่าไปฝืนมากไปหากปวดมากทนไม่ไหวก้อเปลี่ยนอิริยาบถเอาครับ ไม่อย่างนั้นพิกลพิการเอาได้ (หากจิตยังใคร่ในรูปขันธ์อยู่ไม่มีทางตัดได้แน่นอนเหมือนพระอาจารย์บอกครับ หากไปเอาอย่างพระอรหันต์ที่ท่านบอกว่าจะตายจะพิการก็ช่างจะไม่ลุกขึ้นจากนี้ อย่างนี้ท่านทำได้เพราะท่านมีบารมีมามากพอแล้วครับ หากคุณตัดรูปขันธ์ได้ความติดข้องใจความเจ็บปวดก็จะไม่มีอีก) โดยทรงอารมณ์ของสมาธิจิตไว้ หากหลุดสมาธิเมื่อเปลี่ยนท่าก็ให้ตั้งเข้าสมาธิใหม่ระลึกถึงสภาพจริงความรู้สึกจริงๆที่เกิดในขณะทรงสมาธิจิตก่อนจะหลุดนั้นแล้วกำหนดหายใจเข้าออกระลึกจะเข้าสู่สภาพจิตนั้นๆ จะทำให้กลับมาสู่สมาธิจิตไวขึ้นครับ

ผมร่ายพร่ำเพ้อมานานแล้ว..ไม่รู้จะเป็นประโยชน์แก่คุณไหม หากผิดพลาดไม่ตรง หรือ ผิดเพี้ยนจากที่พระพุทธเจ้าสอน หรือ ไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ก็กราบขออภัยพระอาจารย์และท่านเจ้าของกระทู้และท่านอื่นๆที่แวะชมกระทู้นี้ด้วยนะครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 31, 2012, 08:10:50 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

inlove

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 51
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุ กับท่าน Admax คะ ที่มาช่วยตอบให้ความรู้ คะ
 แต่อยากให้ขยาย ตัวหนังสือ ขึ้นอีกนิดได้หรือไม่คะ มองลำบากคะ อ่านจาก tablet ซูมมากก็แตกคะ
 ขอบคุณมากคะ ติดตามที่ท่าน Admax ตอบด้วยเช่นกันคะ

   :s_hi: :25: :c017:
บันทึกการเข้า

นักเดินทาง

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 695
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา กับทุกท่านที่มาช่วยกัน ตอบ และ ถามด้วยนะครับ

สาธุ สาธุ สาธุ

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า