ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติตำนาน "วันไหว้พระจันทร์"  (อ่าน 2027 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ประวัติตำนาน "วันไหว้พระจันทร์"
« เมื่อ: สิงหาคม 31, 2012, 12:21:44 pm »
0



ประวัติตำนาน "วันไหว้พระจันทร์"

'เทศกาลไหว้พระจันทร์' เป็นการไหว้ครั้งที่ 6 ของปี เรียกการไหว้ครั้งนี้ว่า “ตงชิวโจ่ย” ถือเป็นวันสารทวันหนึ่งของชาวจีน ตรงกับวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวง ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 (ของจีน) ซึ่งตรงกับเดือน 10 ของไทย

      31 ส.ค. 55  'เทศกาลไหว้พระจันทร์' เป็นเทศกาลดี ที่มีความเกี่ยวข้องกับตำนาน เรื่องดวงจันทร์ของชาวจีนอย่างแนบแน่น เช่นเรื่อง “ฉังเอ๋อเหินสู่ดวงจันทร์” ถือว่าเป็นเรื่องที่มีชื่อเสียงมาก เป็นการไหว้ครั้งที่ 6 ของปี เรียกการไหว้ครั้งนี้ว่า “ตงชิวโจ่ย” ถือเป็นวันสารทวันหนึ่งของชาวจีน เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ ในวันกลางฤดูใบไม้ร่วง ตรงกับวันที่ 15 เดือน 8 ของจีน เมื่อคำนวณตามจันทรคติแบบจีน แต่จะตรงกับจันทรคติแบบไทย คือ เดือน 10 (ประมาณเดือนกันยายน)

      ชาวจีนหรือคนไทยเชื้อสายจีนในเมืองไทย จะทำพิธีเซ่นไหว้ทั้งพระจันทร์ และเจ้าแม่กวนอิม การไหว้พระจันทร์ของคนจีนเ ป็นที่รู้จักกันดีกว่าเทศกาลไหว้อื่นๆ เพราะมีเรื่องราวที่น่าสนใจ
      และมีของไหว้ที่เป็นแบบเฉพาะ เช่น มีขนมไหว้พระจันทร์ มีต้นอ้อย โคมไฟ   
     เทศกาลนี้เป็นอุบายในการปลดแอกชาติจีน ออกจากการปกครองของพวกมองโกล

      ในคืนวันไหว้พระจันทร์ ดวงจันทร์สว่างและกลม ถือว่าสวยที่สุด ผู้คนถือว่าดวงจันทร์ที่กลมเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของความสามัคคี ดังนั้นจึงเรียกเทศกาลนี้ว่า ” เทศกาลแห่งความกลมเกลียว ”

 



ตำนานเทศกาล ไหว้พระจันทร์ ( ตำนานฉางเอ๋อสู่พระจันทร์ )
     เรื่องราวเล่าขานกันว่า ในสมัยโบราณมีอยู่วันหนึ่ง อยู่ๆ ก็ปรากฏพระอาทิตย์บนท้องฟ้า มากถึง 10 ดวง แผดเผาจนแผ่นดินแห้งแล้งไปหมด ทะเลเหือดแห้ง ทุกหัวระแหงลุกเป็นควันไฟ ชาวบ้านต่างสิ้นหวังที่จะมีชีวิตอยู่รอดไปได้ เรื่องราวทุกข์ร้อนของชาวบ้านนี้ได้ยินถึงหูของผู้กล้านาม โฮ่วยี่ เขาจึงอยู่เฉยไม่ได้ ได้ขึ้นไปบนยอดเขาคุนหลุน ใช้พละกำลังสุดฤทธิ์ดึงเกาทัณฑ์ยิงพระอาทิตย์ดับไป 9 ดวง

     วีรกรรมครั้งนี้ทำให้ชาวบ้านรอดพ้นจากความตาย จึงได้รับการเคารพ รักใคร่จากชาวบ้าน และผู้กล้าต่างๆ ในแผ่นดินต่างเดินทางมาเพื่อขอเป็นลูกศิษย์ฝึกวิทยายุทธ ซึ่งในเหล่าผู้เกล้าเหล่านี้มีผู้จิตใจคิดชั่ว นามว่า นายเผิงเหมิง รวมอยู่ด้วย

     หลังจากนั้น โฮ่วยี่ ได้แต่งงานกับสาวงามที่มีจิตใจอ่อนโยน มีความเมตตาชื่อ ฉางเอ๋อ ชีวิตของทั้งคู่จึงเป็นคู่กิ่งทองใบหยกที่ชาวบ้านต่างยินดีชมชอบกัน วันหนึ่ง โฮ่วยี่ ได้ขึ้นไปยอดเขาคุนหลุนเพื่อเยี่ยมมิตรสหายและศึกษาธรรม ในระหว่างทางบังเอิญได้พบกับ ฮองเฮาแห่งสวรรค์ โฮ่วยี่ จึงได้กราบขอยาอายุวัฒนะ ซึ่งกล่าวกันว่า เมื่อกินเข้าไปแล้ว สามารถเหาะเหินขึ้นสวรรค์กลายเป็นเซียนทันที

     โฮ่วยี่ ได้ยามาแล้ว แต่ก็อาลัยอาวรณ์ ฉางเอ๋อ จึงไม่อยากทิ้งนางไว้คนเดียว จึงได้แต่มอบยาดังกล่าวให้ ฉางเอ๋อ เก็บรักษาไว้ในลิ้นชักโต๊ะเครื่องแป้ง แต่ก็ไม่คลาดสายตาของ เผิงเหมิง ผู้ซึ่งรู้เรื่องราวดังกล่าวด้วย




     หลังจากนั้นสามวัน โฮ่วยี่ ได้พาเหล่าลูกศิษย์ออกไปล่าสัตว์ แต่ เผิงเหมิง แกล้งป่วย จึงทำเป็นนอนรักษาตัวอยู่ในบ้าน เมื่อได้โอกาส เผิงเหมิง จึงควงกระบี่ขู่บังคับให้ ฉางเอ๋อ มอบยาให้เขา ฉางเอ๋อ รู้ว่าตนไม่ใช่คู่ต่อสู้ของ เผิงเหมิง จึงหยิบยาออกมา แต่ฉวยจังหวะในเสี้ยววินาที เอายาเข้าปากกลืนจนหมดสิ้น

     จากนั้นร่างของ ฉางเอ๋อ ก็ลอยเหนือ พื้นดิน และเหาะออกหน้าต่าง เหินฟ้าสู่สวรรค์ไป แต่เนื่องจากยังเป็นห่วงสามี จึงเหาะไปเป็นเซียนในโลกพระจันทร์ เนื่องจากอยู่ใกล้โลกมนุษย์มากที่สุด

     ค่ำคืนนั้น เมื่อ โฮ่วยี่ กลับจากการล่าสัตว์ สาวใช้ร้องห่มร้องไห้เล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อตอนกลางวันให้ฟัง โฮ่วยี่ ทั้งเจ็บแค้นทั้งโศกเศร้า แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ เนื่องจาก เผิงเหมิง หนีไปไกลแล้ว ก็ได้แต่นั่งร้องไห้พร้อมกับแหงนหน้าตระโกนเรียกชื่อ ภรรยาตัวเอง ทันใดนั้นเขาก็สังเกตเห็นพระจันทร์ในคืนนี้ สดสกาวและสว่างกว่าทุกคืนที่ผ่านๆ มา และยังสังเกตเห็นเงาเคลื่อนไหวในพระจันทร์ ซึ่งดูเหมือนรูปร่างของ ฉางเอ๋อ

     เมื่อชาวบ้านได้ยินเรื่องราวของ ฉางเอ๋อ กลายเป็นเซียนบนพระจันทร์ ต่างก็จัดขนม เซ่นไหว้ พร้อมจุดธูปกราบไหว้ขอพรจาก ฉางเอ๋อ ผู้ซึ่งมีความเมตตา ให้คุ้มครองชีวิต มีความสงบสุข จึงเป็นจุดเริ่มต้นของตำนานเทศกาลไหว้พระจันทร์ตั้งแต่นั้นมา จะเห็นว่าตำนานของ ฉางเอ๋อ ข้างต้นนั้น เมื่อเทียบกับตำนานฉบับดั้งเดิม ช่างแตกต่างกันเหลือเกิน

      ตำนานข้างต้นได้ผ่านการปรุงแต่ง เติมสีสัน ให้เรื่องราวของ ฉางเอ๋อ เป็นเรื่องสวยงาม เพื่อให้เข้ากับความงามของแสงจันทร์ในค่ำคืน และให้เหมาะกับทัศนคติของผู้รับสื่อในยุคนั้นๆ อย่างไรก็ตามเรื่องราวจะเป็นอย่างไรคงไม่สำคัญเท่ากับจิตวิญญาณของเทศกาลมากไปกว่าใช้เทศกาล เพื่อการค้า ค้าขายขนมไหว้พระจันทร์ เหมือนอย่างเทศกาลของฝรั่ง อย่าง ฮาโลวีน หรือวาเลนไทน์ เป็นต้น





ชาวจีนแต่โบราณให้ความสำคัญในเรื่องใดบ้าง
    ความจริงชาวจีนมีความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระจันทร์มาแต่โบราณกาล ยิ่งกว่าพระอาทิตย์ การนับปฏิทินก็นับโดยอาศัยดวงจันทร์เป็นเกณฑ์ ดังที่เรียกว่า จันทรคติ การเพาะปลูก และการเกิดน้ำขึ้นน้ำลง ชาวจีนโบราณจะอาศัยดูจากดวงจันทร์ เพื่อให้เหมาะสมในการทำนาทำไร่ ซึ่งต้องอาศัยเป็นหลักรวมความว่า ชาวจีนแต่โบราณให้ความสำคัญทางด้านจิตใจต่อดวงจันทร์มาก ในเรื่องต่างๆ ดังนี้

     1. การ ทำนา - ทำไร่
     2. การเพาะปลูกพืชต่างๆ
     3. การเจริญเติบโตของพืช
     4. การเพาะชำพืช
     5. การดูปริมาณ น้ำขึ้น - น้ำลง


     ดังนั้น จึงมองเห็นว่าดวงจันทร์มีคุณต่อมนุษยชาติมาก ทั้งมีแสงสว่างร่มเย็น สบายตา น่าสดชื่นรื่นรมย์เป็นอย่างมาก อากาศกำลังดี ไม่ร้อนไม่หนาว





เทพเจ้ากระต่าย
    เทพองค์หนึ่ง คือ “ทู่ เอ๋อร์ เย๋” ซึ่งแปลว่า “เทพกระต่าย” ซึ่งเทพองค์นี้มาจากเทพนิยาย “กระต่ายหยกในตำหนักจันทร์” ของจีน คนจีนนำดินมาปั้นเป็นรูปกระต่าย จัดเป็นเครื่องเซ่นไหว้ในเทศกาลไหว้พระจันทร์ และเป็นของเล่นเด็กที่มีมาแต่โบราณกาล




เวลาเซ่นไหว้
    วันทำพิธีเซ่นไหว้ จะเริ่มจัดแต่งโต๊ะวางข้าวของบริเวณกลางแจ้ง ที่พอจะมองเห็นดวงจันทร์ได้เต็มดวง และวันนั้นก็คือ เย็นวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวง ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 (ของจีน ซึ่งตรงกับเดือน 10 ของไทย)   
     เจ้าภาพจะนำเอาต้นอ้อย 2 ต้นมาผูกที่ซุ้มประตู โดยเอายอดอ้อยทั้งสองโค้งเข้าหากัน แล้วมีการประดับประดาให้ดูสวยงามตามใจชอบ สิ่งของที่เซ่นไหว้


     พอกะว่าแลเห็นพระจันทร์เต็มดวงโผล่ขึ้นมาให้เห็นแล้ว ก็จะเริ่มพิธีเซ่นไหว้ มีการจุดธูปและโคมไฟด้วย คืนนี้จะเป็นคืนที่ลูกหลานชาวจีนจะออกมาชมพระจันทร์แห่งฤดูใบไม้ร่วงกันถ้วนหน้า

     แต่ปัจจุบันตั้งแต่ฝรั่งต่างแดนได้ขึ้นไปเหยียบบนดวงจันทร์แล้ว
     การเซ่นไหว้พระจันทร์ ที่เคยยึดมั่นถือมั่นมาแต่โบราณ ค่อยๆ ลดความสำคัญลงไปอย่างมาก



ขอบคุณบทความและภาพจาก
ข้อมูล - จิตรา ก่อนันทเกียรติ. 2540. ตึ่งหนั่งเกี้ย. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : แพรว
ที่มา - http://teen.mthai.com/variety/42508.html
ขอบคุณ www.komchadluek.net/detail/20120831/138961/ประวัติตำนานวันไหว้พระจันทร์.html#.UEBCyaDvolg
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 31, 2012, 12:24:41 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ประวัติตำนาน "วันไหว้พระจันทร์"
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2012, 05:04:19 pm »
0
วันนี้ วันศาสตร์จีน คุณธรรมธวัช ไปไหนหรือคะ
ไม่มาเล่าเรื่อง ศาสตร์จีนเพิ่มเติม หรือคะ .....


  :88: :58:
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

วิชชุดา

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 275
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ประวัติตำนาน "วันไหว้พระจันทร์"
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 01, 2012, 09:35:44 am »
0
วันนี้ วันศาสตร์จีน คุณธรรมธวัช ไปไหนหรือคะ
ไม่มาเล่าเรื่อง ศาสตร์จีนเพิ่มเติม หรือคะ .....


  :88: :58:

 คุณธรรมธวัช เก็บตัวฝึกฝน กรรมฐาน เหมือนพระอาจารย์ แน่ ๆ เลย คะ
  :smiley_confused1: :s_hi: :c017:
บันทึกการเข้า
ขอให้ทุกท่าน จงเป็นผู้มีความสุข กันทุกคนนะจ๊ะ