ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: จับไต๋รัฐ...ไม่ยกเลิกซิงเกิ้ลเกตเวย์ สลับร่างใหม่เดินหน้าต่อ  (อ่าน 1662 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



จับไต๋รัฐ...ไม่ยกเลิกซิงเกิ้ลเกตเวย์ สลับร่างใหม่เดินหน้าต่อ
โดย...สุภชาติ เล็บนาค

ซิงเกิ้ลเกตเวย์ไม่ใช่แนวคิดแรกที่รัฐพยายามเข้ามา “ควบคุม” เนื้อหาในสังคมออนไลน์ซึ่งถูกมองว่าเป็นหอกข้างแคร่ที่คอยทิ่มแทงรัฐบาลมาทุกยุคสมัย แต่ที่ผ่านมาหลายรัฐบาลหลายยุคต่างก็ทำในรูปแบบที่แตกต่างกัน

สฤณี อาชวานันทกุล ประธานมูลนิธิเพื่ออินเทอร์เน็ตและวัฒนธรรมพลเมือง บอกว่า ไม่ใช่รัฐบาลชุดนี้ชุดเดียวที่มีความพยายามจะดักตรวจสอบข้อมูลการใช้สื่อออนไลน์ เพราะในรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รวมถึงรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็มีความพยายามในการติดตั้ง “สนิฟเฟอร์” เพื่อดักจับข้อมูลการใช้อินเทอร์เน็ต

    “แต่รัฐบาลชุดนี้ถือว่าชัดเจนที่สุด เพราะมีเอกสารหลายชุดเป็นหลักฐานชัดเจนว่า ตั้งแต่หลังช่วงรัฐประหารใหม่ๆ มีการออกคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานควบคุมการเข้าระบบ การถอดรหัสการสื่อสารตั้งแต่เดือน ก.ค. 2557 หลังจากนั้นในเดือน ธ.ค. 2557 ก็มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานทดสอบระบบเฝ้าติดตามสื่อออนไลน์ ฉะนั้นคิดว่าเขาคงไม่ได้แค่ศึกษาและการทำซิงเกิ้ลเกตเวย์คงไม่ได้ยกเลิกง่ายๆ”


 :49: :49: :49: :49:

สฤณี บอกอีกว่า ที่ผ่านมามีคำสั่งด้วยวาจาไปยังผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) หลายราย โดยผู้บริหารได้ออกมาเปิดเผยว่าได้รับคำสั่งจากรัฐบาลให้ติดตั้งอุปกรณ์ถอดรหัส แต่ยังติดปัญหาเรื่องกฎหมาย เพราะต้องขอหมายศาลตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

     “การทำซิงเกิ้ลเกตเวย์จะทำให้รัฐบาลไม่จำเป็นต้องขอหมายศาลอีกต่อไป เพราะเพียงแค่ดักที่เกตเวย์ก็สามารถตรวจสอบได้แล้ว” สฤณี ระบุ

ทั้งนี้ ปกติถ้าให้ ISP ถอดรหัสการใช้งานจะมีการตั้งคำถามจาก ISP ว่าเป็นคำสั่งตามคำสั่งหรือกฎหมายอะไร ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งสนิฟเฟอร์ หรือการถอดรหัสอื่นๆ ล้วนต้องขอหมายศาลตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ แต่หากมีซิงเกิ้ลเกตเวย์ก็ง่ายเพราะไม่ต้องขอ เขาสามารถตรวจสอบการใช้งานได้ทันที”

 :96: :96: :96: :96: :96:

สำหรับกระแสต้านขณะนี้ แม้จะมากกว่าที่คิดแต่ก็เชื่อว่ารัฐบาลน่าจะยังทำอยู่และก็ยังมีความพยายามโดยรัฐบาลในการสื่อสารว่า ซิงเกิ้ลเกตเวย์เป็นเรื่องจำเป็นและเป็นประโยชน์ผ่านสื่อของรัฐอย่างช่อง 11

   “ขณะนี้ที่น่ากังวลมากกว่าคือการเดินหน้าทำด้วยการผลักให้เป็นเรื่อง ‘ลับ’ โดยตีตราว่าเกี่ยวข้องกับความมั่นคงไม่ต้องออกเป็นกฎหมายปกติ ซึ่งถ้าจะทำก็ไม่จำเป็นต้องแจ้งประชาชน ส่วนที่บอกว่ากำลัง ‘ศึกษา’ นั้นเชื่อว่าไม่จริง น่าจะเป็นการชะลอเสียงคัดค้านมากกว่า” สฤณี ระบุ

นอกจากนี้ สฤณี ยังเรียกร้องให้ไอเอสพีให้ความรู้กับผู้บริโภค และต้องทำหน้าที่รักษาความเป็นส่วนตัว คุ้มครองข้อมูล มากกว่าจะเอาข้อมูลไปให้รัฐ

    “คือ รัฐอาจจะเดินด้วยวิธีอื่น เช่น
        1.พยายามเดินต่อแบบลับๆ แต่วิธีปัจจุบันนั้นไม่ง่าย และการจะทำลับๆ ก็ไม่ง่าย เพราะต้องมีระบบรับรองมหาศาลมาก แต่ก็อย่าประมาท หรือ
        2.ไม่ทำซิงเกิ้ลเกตเวย์ไปดูเรื่องสนิฟเฟอร์แทน รวมถึงขอความร่วมมือจากเว็บต่างประเทศในการสอดแนมเหมือนที่เคยทำมาแล้ว ซึ่งคนไทยก็ยังต้องระวังตัวต่อไป”
สฤณี ระบุ


 :s_hi: :s_hi: :s_hi: :s_hi:

ด้าน ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บอกว่า ระบบอินเทอร์เน็ตถูกพัฒนาขึ้นในยุคสงครามเย็น เพื่อส่งข้อมูลกระจายไปเก็บในเซิร์ฟเวอร์หลายแห่ง ในกรณีที่หากเกิดสงครามนิวเคลียร์ ข้อมูลจะได้ไม่หายไปทั้งหมด หากโดนโจมตี เพราะฉะนั้นอินเทอร์เน็ต จึงตั้งอยู่บนฐานคิดที่ว่าต้องกระจายความเสี่ยงออกไปหลายเกตเวย์มากกว่าจะอยู่ภายใต้เกตเวย์เดียวอย่างที่รัฐบาลอยากให้เกิด

     “ถ้าเป็นหลายเกตเวย์ สมมติหากล่มอันหนึ่ง เซิร์ฟเวอร์ที่เหลือก็จะยังสามารถทำงานได้ แต่ถ้าเป็นซิงเกิ้ลเกตเวย์ เมื่อใส่ตัวกรอง ตัวดัก ก็จะสามารถบล็อกเว็บได้ที่ปากประตูเดียวทันที รัฐคงคิดว่ามันคุมง่ายกว่าต้องไปดักหลายปากประตูแงะ หากเกิดปัญหาแฮ็กเกอร์โจมตี รวมพลังกันทุบที่จุดเดียวระบบอินเทอร์เน็ตก็จะล่มทั้งประเทศทั้งหมด”

ทศพล บอกอีกว่า ระบบซิงเกิ้ลเกตเวย์ในประเทศใหญ่ที่ใช้แล้วพออยู่ได้ก็คือ จีน ที่มี “กองกำลังนักรบไซเบอร์” ใหญ่ที่สุดในโลกจำนวนมหาศาล แต่ถามว่าไทยมีหรือไม่ เพราะขนาดรุมกด F5 พร้อมกันเว็บรัฐยังล่มเกือบทั้งหมด

    “ส่วนเกาหลีเหนือยังใช้ซิงเกิ้ลเกตเวย์ เพราะปิดประเทศมานานแล้ว ไม่มีผลกระทบกับกิจกรรมของคนทั่วไป” ทศพล ระบุ

 :32: :32: :32: :32:

ขณะที่ผลกระทบกับการส่งเสริมนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลนั้น ทศพล บอกว่า การทำซิงเกิ้ลเกตเวย์ถือว่าขัดกันชัดเจน ผู้ประกอบการที่มีเว็บ หรือใช้เว็บเป็นหลักจะมีความเสี่ยงกับ “เว็บดำ” มากขึ้นขณะเดียวกันภาคธุรกิจก็จะกังวลในแง่การถูกดักข้อมูล รวมถึงความมั่นใจผู้บริโภคในแง่ “ความเชื่อมั่น” การทำธุรกรรมในโลกออนไลน์ เพราะจะรู้สึกถูกจับจ้องตลอดเวลา

   “ในแง่เสรีภาพก็เสี่ยงต่อการถูกดักปิดเว็บที่มีเซิร์ฟเวอร์อยู่ต่างแดนด้วย จากแต่ก่อนรัฐขอความร่วมมือไปเขาไม่ให้ เพราะไม่ได้อยู่ใต้อำนาจกฎหมายรัฐ ทีนี้ก็มาดักปิดที่เกตเวย์แทนเลย”

เขาบอกว่า สิ่งที่จะเกิดคือจะเริ่มมีบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตออกมาแสดงตัวว่าไม่ได้อยู่ในซิงเกิ้ลเกตเวย์ หรือให้ความร่วมมือกับรัฐผ่านโปรแกรมสนิฟเฟอร์ เพราะลูกค้าจะสูญเสียความมั่นใจในความเป็นส่วนตัวและสิทธิเสรีภาพของตัวเอง ส่วนเน็ตรัฐ เช่น กสท. หรือทีโอที ก็อาจเสียความสามารถในการแข่งขันไป เพราะผู้บริโภคจะไม่เชื่อใจอีกแล้ว


ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.posttoday.com/analysis/report/391865
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

saichol

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 247
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เมื่อวาน ทั้งวัน ใช้งานเว็บไปต่างประเทศไม่ได้เลย วันนี้ไปได้ แต่ความเร็วร่วง ตกยังกับไปใช้ modem ยุคแรก เลยมีผลเห็นกันอย่างชัดเจน ความเร็วที่ออกไปต่างประเทศตอนนี้มันเท่ากับ modem 56 k

    :41: :41: :41:

  ใช้เน็ตความเร็วสูง ได้แค่ในประเทศ
  แล้วจะจ่ายตังค์ไปทำไม นี่ งานฉัน ( เรา ) อยู่ต่างประเทศ ทั้งนั้น ทั้ง boss ผู้ร่วมทุน อยู่ต่างประเทศ นะ

   :021: :021: :021: :021:
บันทึกการเข้า