สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: แพนด้า ที่ กุมภาพันธ์ 21, 2013, 10:09:53 am



หัวข้อ: เมื่อเราปฏิบัติ กรรมฐาน ภาวนาไป แล้ว รู้สึกว่า ใจหยุด กายหยุด และอยู่นิ่ง ๆ
เริ่มหัวข้อโดย: แพนด้า ที่ กุมภาพันธ์ 21, 2013, 10:09:53 am
 ask1

เมื่อเราปฏิบัติ กรรมฐาน ภาวนาไป แล้ว รู้สึกว่า ใจหยุด กายหยุด และอยู่นิ่ง ๆ
  อาการอย่างนี้เรีัยกว่า วิมุตติ ใช่หรือไม่ครับ
  ถ้าใช่ก็หมายถึง ให้เราทรงอารมณ์ เช่นนี้ไว้ให้ได้ นาน ๆ ใช่หรือ ไม่ครับ

  st11 ที่ตอบคำถาม ให้ครับ





หัวข้อ: Re: เมื่อเราปฏิบัติ กรรมฐาน ภาวนาไป แล้ว รู้สึกว่า ใจหยุด กายหยุด และอยู่นิ่ง ๆ
เริ่มหัวข้อโดย: นักเดินทาง ที่ กุมภาพันธ์ 21, 2013, 10:56:24 am
ผมว่าไม่ใช่ การบรรลุธรรม ครับ ส่วนนี้น่าจะเรียกว่า ติด อทุขมสุขเวทนา มากกว่า ครับ


 :49:


หัวข้อ: Re: เมื่อเราปฏิบัติ กรรมฐาน ภาวนาไป แล้ว รู้สึกว่า ใจหยุด กายหยุด และอยู่นิ่ง ๆ
เริ่มหัวข้อโดย: nippan55 ที่ กุมภาพันธ์ 21, 2013, 11:04:32 am
อุปกิเลส (ธรรมเครื่องเศร้าหมอง, สิ่งที่ทำให้จิตขุ่นมัว) มีด้วยกัน ๑๖ ประการ คือ

๑.อภิชฌาวิสมโลภะ (คิดเพ่งเล็งอยากได้ โลภไม่สมควร, โลภกล้า จ้องจะเอา ไม่เลือกควรไม่ควร)

๒.พยาบาท (คิดร้ายเขา)                             

๓.โกธะ (ความโกรธ

๔.อุปนาหะ (ความผูกโกรธ)

๕.มักขะ (ความลบหลู่คุณท่าน, ความหลู่ความดีของผู้อื่น, การลบล้างปิดซ่อนคุณค่าความดีของผู้อื่น)

๖.ปลาสะ (ความตีเสมอ, ยกตัวเทียมท่าน, เอาตัวขึ้นตั้งขวางไว้ ไม่ยอมยกให้ใครดีกว่าตน)

๗.อิสสา (ความริษยา)

๘.มัจฉริยะ (ความตระหนี่)

๙.มายา (มารยา)

๑๐.สาเถยยะ (ความโอ้อวดหลอกเขา, หลอกด้วยคำโอ้อวด)

๑๑.ถัมภะ (ความหัวดื้อ, กระด้าง)

๑๒.สารัมภะ (ความแข่งดี, ไม่ยอมลดละ มุ่งแต่จะเอาชนะกัน)

๑๓.มานะ (ความถือตัว, ทะนงตน)

๑๔.อติมานะ (ความถือตัวว่ายิ่งกว่าเขา, ดูหมิ่นเขา)

๑๕.มทะ (ความมัวเมา)

๑๖.ปมาทะ (ความประมาท, ละเลย, เลินเล่อ)


 


หัวข้อ: Re: เมื่อเราปฏิบัติ กรรมฐาน ภาวนาไป แล้ว รู้สึกว่า ใจหยุด กายหยุด และอยู่นิ่ง ๆ
เริ่มหัวข้อโดย: ธรรมะ ปุจฉา ที่ กุมภาพันธ์ 21, 2013, 09:41:56 pm
ถ้าเป็น วิมุตติ แล้ว จะหลุดพ้น ทำได้ แบบไม่ห้วนกลับคืนอีก

    ก็แล้วท่านยังคงกลับมามีกิเลสอยู่อีกหรือไม่ ?

   เอาแบบ เข้าใจง่าย ๆ ว่า เราจะทำอย่างไร ไม่ให้กิเลส กลับมามีได้อีก อย่างตลอดไป  เป็นข้อ ๆ  สังโยช สิบ