ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมอะไร..ที่ทำให้ 'ปรองดอง'  (อ่าน 3812 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28510
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ธรรมอะไร..ที่ทำให้ 'ปรองดอง'
« เมื่อ: พฤษภาคม 31, 2012, 09:21:39 am »
0



ธรรมเพื่อความสามัคคี 6 ประการ (สารณียธรรม 6) (Six Principles On Harmony)

ธรรมบรรยาย โดย ท่านธรรมาจารย์เว่ยวู แสดงให้กับ นักศึกษา ของวิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ ในวันที่ 2 มกราคม 2008 บันทึกคำบรรยาย (เป็นภาษาจีน) โดย ท่านธรรมาจารย์เจินหรู

สิ่งท้าท้ายที่วิทยาลัยของเราเผชิญหน้าอยู่ ก็คือทุกคนมาจากประเทศที่ต่างกัน มีขนบธรรมเนียมประเพณีแตกต่างกัน และได้มาใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันที่นี่ การดำเนินชีวิตอยู่ด้วยกันในหมู่คณะสงฆ์เช่นนี้ ควรรักษาความปรองดอง และสามัคคีกันอย่างไร ก่อนอื่น เราควรจะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตระหนักถึงบุญคุณซึ่งกันและกัน

ในคณะสงฆ์ จำเป็นต้องปฏิบัติตาม “สารณียธรรม 6” SIX SARANYA-DHAMMA คือ ธรรมที่ทำให้เกิดความสามัคคี หรือ หลักธรรมอยู่ร่วมกัน 6 ประการ ซึ่งประกอบด้วย :
    เมตตากายกรรม ( Metta-kayakamma )
    เมตตาวจีกรรม ( Metta-vacikamma )
    เมตตามโนกรรม ( Metta-manokamma )
    สาธารณโภคิตา( Sadharana-bhogi )
    ศีลสามัญญตา( Sila-samannata )
    และ ทิฏฐิสามัญญตา( Ditthi-samannata )


ในการสัมพันธไมตรีกับผู้ร่วมงาน พรรคพวกเพื่อนฝูง สมาชิกในหมู่คณะ และพี่น้องในครอบครัว ไม่ว่าองค์กรใดก็ตาม การใช้หลักธรรมที่ทำให้เกิดความสามัคคี 6 หรือที่เรียกว่า “สารณียธรรม 6” (ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน ธรรมที่ทำให้เกิดความสามัคคี) มาเป็นหลักปฏิบัติ จะได้รับประโยชน์อย่างยิ่ง



(1) เมตตากายกรรม ( Metta-kayakamma ) การมีเมตตา มีไมตรีจิต ต่อกันทางการกระทำ ในเพื่อนสมาชิก คือช่วยเหลือกิจธุระของสมาชิกในหมู่คณะด้วยความเต็มใจ จริงใจ และแสดงกิริยาสุภาพ เคารพนับถือกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

(2) เมตตาวจีกรรม ( Metta-vacikamma ) การมีเมตตา มีไมตรีจิตต่อกันทางวาจา คือช่วยบอกสิ่งที่เป็นประโยชน์ สอน แนะนำตักเตือนด้วยความหวังดี มีมิตรไมตรี กล่าวแต่วาจาสุภาพ เคารพนับถือซี่งกันและกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

(3) เมตตามโนกรรม ( Metta-manokamma ) มีเมตตา มีไมตรีจิตต่อกันอย่างจริงใจ คือตั้งจิตปรารถนาดี ต่อกัน คิดทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กัน มองกันในแง่ดี มีหน้าตาท่าทาง ยิ้มแย้มแจ่มใส มีความชื่นชมยินดีต่อกัน พัฒนาจิต เริ่มต้นจากจิตใจที่เบิกบานสู่จิตใจที่สงบ และอิสระ ในการพิจารณาจัดการสิ่งใด พวกเราต้องคำนึงถึงจุดยืนของผู้อื่น ภิกษุอาวุโสป๋อหยวน กล่าวไว้ว่า เราควรปฏิบัติจนถึงขั้น “จิตใจใสสะอาดบริสุทธิและสงบ”



(4) สาธารณโภคิตา ( Sadharana-bhogi ) “มีความเสมอภาค ไม่เห็นแก่ส่วนตัว” ชีวิตของบรรพชิต เรียบง่าย ได้รับมาเท่าใดก็ ให้ไปเท่านั้น แบ่งปันซึ่งกันและกันให้เท่าเทียมกัน เมื่อได้ของสิ่งใดมาโดยชอบธรรม แม้เป็นของเล็กน้อย ก็นำมาแบ่งปันกันให้มีส่วนได้ใช้โดยทั่วกัน

(5) ศีลสามัญญตา ( Sila-samannata ) รักษาและปฎิบัตให้มีศีลบริสุทธิ์เสมอกันกับเพื่อสมาชิกทั้งหลาย คือมีความประพฤติสุจริตดีงามถูกต้องตามระเบียบวินัย ไม่ทำตนให้เป็นที่น่ารังเกียจของหมู่คณะหรือทำลายหมู่คณะ

(6) ทิฏฐิสามัญญตา ( Ditthi-samannata ) มีทิฏฐิงามเสมอกันกับเพื่อนสมาชิกทั้งหลาย ให้ความเคารพ และให้เกียรติต่อความคิดของผู้อื่น มีความเห็นชอบร่วมกัน ในเรื่องกรรมและผลแห่งกรรม และหลักการสำคัญอันจะนำไปสู่ความหลุดพ้น ซึ่งเป็นเป้าหมายอันสูงสุด

   พวกเราร่วมกันปฏิบัติ “สารณียธรรม 6” พวกเราอาศัยพลังแห่งหมู่คณะ และคำสอนของพระพุทธองค์ ใน“สารณียธรรม 6” เป็นแนวทางในการปฏิบัติ นี่เป็นแนวทางอันยิ่งใหญ่ ที่ทำให้พวกเราสามารถดำรงอยู่บนเส้นทางการปฏิบัติธรรมได้ต่อไป



ที่มา http://ibc.ac.th/thai/node/6
ขอบคุณภาพจาก http://i.ytimg.com/,http://prd.rmutp.ac.th/,http://campus.sanook.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28510
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ธรรมอะไร..ที่ทำให้ 'ปรองดอง'
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 31, 2012, 09:36:37 am »
0



สารณียธรรม ๖ (ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง, ธรรมเป็นเหตุที่ระลึกถึงกัน, หลักการอยู่ร่วมกัน — states of conciliation; virtues for fraternal living) สารณียธรรม ก็ใช้

๑. เมตตากายกรรม (ตั้งเมตตากายกรรมในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ ช่วยเหลือกิจธุระของผู้ร่วมคณะด้วยความเต็มใจ แสดงกิริยาอาการสุภาพ เคารพนับถือกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง — to be amiable in deed, openly and in private)

๒. เมตตาวจีกรรม (ตั้งเมตตาวจีกรรมในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ ช่วยบอกแจ้งสิ่งที่เป็นประโยชน์ สั่งสอน แนะนำตักเตือนด้วยความหวังดี กล่าววาจาสุภาพ แสดงความเคารพนับถือกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง — to be amiable in word, openly and in private)


๓. เมตตามโนกรรม (ตั้งเมตตามโนกรรม ในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือตั้งจิตปรารถนาดี คิดทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กัน มองกันในแง่ดี มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสต่อกัน — to be amiable in thought, openly and in private)

๔. สาธารณโภคี (ได้ของสิ่งใดมาก็แบ่งปันกัน คือ เมื่อได้สิ่งใดมาโดยชอบธรรม แม้เป็นของเล็กน้อย ก็ไม่หวงไว้ผู้เดียว นำมาแบ่งปันเฉลี่ยเจือจาน ให้ได้มีส่วนร่วมใช้สอยบริโภคทั่วกัน — to share any lawful gains with virtuous fellows) ข้อนี้ ใช้ อัปปฏิวิภัตตโภคี ก็ได้

๕. สีลสามัญญตา (มีศีลบริสุทธิ์เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ มีความประพฤติสุจริตดีงาม ถูกต้องตามระเบียบวินัย ไม่ทำตนให้เป็นที่น่ารังเกียจของหมู่คณะ — to keep without blemish the rules of conduct along with one’s fellows, openly and in private)

๖. ทิฏฐิสามัญญตา (มีทิฏฐิดีงามเสมอกันเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ มีความเห็นชอบร่วมกัน ในข้อที่เป็นหลักการสำคัญที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้น สิ้นทุกข์ หรือขจัดปัญหา — to be endowed with right views along with one’s fellows, openly and in private)



  ธรรม ๖ ประการนี้ มีคุณ คือ
        เป็น สารณียะ (ทำให้เป็นที่ระลึกถึง — making others to keep one in mind)
        เป็น ปิยกรณ์ (ทำให้เป็นที่รัก — endearing)
        เป็น ครุกรณ์ (ทำให้เป็นที่เคารพ — bringing respect)
        เป็นไปเพื่อ ความสงเคราะห์ (ความกลมกลืนเข้าหากัน — conducing to sympathy or solidarity)
        เพื่อ ความไม่วิวาท (to non—quarrel)
        เพื่อ ความสามัคคี (to concord; harmony) และ
        เอกีภาพ (ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน — to unity)


อ้างอิง
ที.ปา.๑๑/๓๑๗/๒๕๗; องฺ.ฉกก.๒๒/๒๘๒-๓/๓๒๑-๓.
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพจาก http://www.oknation.net/,http://www.thaigoodview.com/,http://fwmail.teenee.com/



สามัคคี
    น. ความพร้อมเพรียงกัน, ความปรองดองกัน.ว. ที่พร้อมเพรียงกันทำ, ที่ร่วมมือร่วมใจกันทำ, เช่น กฐินสามัคคี ผ้าป่าสามัคคี. (ป.; ส. สามคฺรี).


ปรองดอง
    [ปฺรอง-] ก. ออมชอม, ประนีประนอม, ยอมกัน, ไม่แก่งแย่งกัน, ตกลงกันด้วยความไกล่เกลี่ย, ตกลงกันด้วยไมตรีจิต.


ที่มา พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ศรีสุพรรณ

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 66
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ธรรมอะไร..ที่ทำให้ 'ปรองดอง'
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 31, 2012, 10:13:23 am »
0
อ้างถึง
๑. เมตตากายกรรม (ตั้งเมตตากายกรรมในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ ช่วยเหลือกิจธุระของผู้ร่วมคณะด้วยความเต็มใจ แสดงกิริยาอาการสุภาพ เคารพนับถือกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง — to be amiable in deed, openly and in private)

๒. เมตตาวจีกรรม (ตั้งเมตตาวจีกรรมในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ ช่วยบอกแจ้งสิ่งที่เป็นประโยชน์ สั่งสอน แนะนำตักเตือนด้วยความหวังดี กล่าววาจาสุภาพ แสดงความเคารพนับถือกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง — to be amiable in word, openly and in private)

๓. เมตตามโนกรรม (ตั้งเมตตามโนกรรม ในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือตั้งจิตปรารถนาดี คิดทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กัน มองกันในแง่ดี มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสต่อกัน — to be amiable in thought, openly and in private)

เป็นธรรมที่สำคัญ มากนะคะ

   ตั้งแต่ข้อที่ 1 เลยนะคะ

    ตั้งความเมตตาปรารถนาดี ต่อเพื่อนร่วมทุกข์ ด้วยกัน ข้อนี้ก็สำคัญแล้ว ไม่ใช่เรื่องทำได้ง่าย ๆ นะคะเพราะว่ามันเกี่ยวกับความชอบและความไม่ชอบส่วนตัวด้วยคะ  เพราะไม่ชอบก็ไม่อยากช่วย เพราะเกลียดจึงไม่สงเคราะห์ เมตตาธรรม ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ที่จะภาวนากันได้

   ดังนั้นถ้าปรองดองกันได้ นับว่าเป็นเรื่องที่ดีคะ เพราะที่ไหนปรองดองกันที่นั้นก็สงบคะ

      ปรองดอง มีอยู่ สี่อย่างสำหรับชาวโลก คือ ปรองดองด้วยการทำดี  ( อันนี้ดี ) ปรองดองด้วยการทำชั่ว ( อันนี้แย่ ) ปรองดองด้วยการทำทั้งดีและชั่ว ( อันนี้ก็ยังเดือดร้อน) ปรองดองไม่ทำทั้งดีและชั่ว (คืออยู่เฉย ๆ)

    สำหรับสารา๊ณียธรรม น่าจะอยู่ประเภทที่ 1

   :s_hi:
           
บันทึกการเข้า
อย่าเห็นแก่ตัว จนทำให้คนอื่นเดือดร้อน
เชื่อมั่นในพระรัตนตรัย ..... ด้วยใจศรัทธา