ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ส่งคืน 35 โบราณวัตถุอายุพันปี จิ๊กซอว์เทพประจำทิศ ปราสาทหินพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์  (อ่าน 24 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28497
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
.



ส่งคืน 35 โบราณวัตถุอายุพันปี จิ๊กซอว์เทพประจำทิศ ปราสาทหินพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์

ส่งคืน 35 โบราณวัตถุอายุพันปี คืนปราสาทหินพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์ นักประวัติศาสตร์ชี้ จิ๊กซอว์สำคัญ ที่เทพประจำทิศทั้ง 8 มีลักษณะโดดเด่น มีสัตว์พาหนะข้างกาย เป็นปราสาทหินเดียวที่มี เพราะไม่เคยพบลักษณะดังกล่าวในไทยและเขมร



ผศ.ดร.กังวล คัชชิมา อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร กล่าวว่า หน่วยงานรัฐที่ดูแลพื้นที่ประวัติศาสตร์ปราสาทหินพิมาย จ.นครราชสีมา ส่งคืนโบราณวัตถุ 35 ชิ้น ให้กับปราสาทหินพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์ เพื่อให้หน่วยงานรัฐไปดูแล จัดแสดงให้อยู่กับปราสาทดั้งเดิม หลังชิ้นส่วนโบราณวัตถุทั้งหมดมีอายุกว่าพันปี ถูกนำไปเก็บไว้ที่โคราชมานาน ก่อนจะมีการจัดส่งคืนให้กับปราสาทหินพนมรุ้ง และเป็นการเชื่อมต่อข้อมูลประวัติศาสตร์ใหม่



ชิ้นส่วนโบราณวัตถุที่ส่งคืน ส่วนใหญ่เป็นทวารบาล เทพประจำทิศ มีความพิเศษกว่าปราสาทหินที่อื่น เพราะยังไม่เคยพบโบราณวัตถุที่เป็นเทพประจำทิศในลักษณะนี้ ทั้งในไทยและกัมพูชา ถ้าเป็นปราสาทหินปกติ เทพประจำทิศจะอยู่กับทับหลังและหน้าบัน แต่โบราณวัตถุที่ส่งคืน เป็นเทพประจำทิศ ที่มีลักษณะเป็นหินสลักแบบลอยตัวเป็นสัดส่วน



โบราณวัตถุที่ส่งคืนจะมีทั้งแบบเป็นแท่งสี่เหลี่ยม สลักรูปเทพพร้อมพาหนะ เช่น แรด ควาย หงส์ มีความพิเศษจากที่อื่น บ่งบอกถึงการให้ความสำคัญกับเทพประจำทิศทั้ง 8 เพราะปราสาทหินปกติ จะให้ความสำคัญกับเทพที่เป็นศูนย์กลางเพียงอย่างเดียว


ผศ.ดร.กังวล คัชชิมา อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร

โบราณวัตถุที่ส่งคืนมายังปราสาทพนมรุ้ง เป็นการแสดงให้เห็นประวัติศาสตร์ใหม่ของปราสาทหิน ที่ให้ความสำคัญกับเทพประจำทิศ แสดงให้เห็นว่าตัวปราสาทหลังกลางต้องมีความพิเศษมากกว่าที่อื่น

ลักษณะการตั้งจะวางโดยรอบปราสาทหลังกลาง ที่สำคัญคือแท่งสี่เหลี่ยม ด้านบนมีลักษณะคล้ายกับดอกบัว เหมือนกับโบราณสถานในอินเดีย ที่ทางก่อนเข้าปราสาทชั้นในจะมีแท่น ไว้สำหรับวางสิ่งของที่นำมาบูชาเพียง 1 ทิศ แต่ของปราสาทหินพนมรุ้ง มีแท่นบูชาทั้งหมด 8 ทิศ




“ลักษณะเทพประจำทิศดังกล่าว ไม่เคยเจอในปราสาทหินทั้งที่ไทยและเขมร นี่จึงเป็นครั้งแรกที่เทพประจำทิศที่ถูกส่งคืนมา จะได้ไขความลับของปราสาทหินพนมรุ้งที่ถูกเก็บงำไว้”

อีกประเด็นทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจคือ ใบหน้าของทวารบาลปราสาทพนมรุ้ง มีใบหน้าที่ไม่ดุดัน ต่างจากทวารบาลที่เขมร จะมีการถือกระบอง แต่ทวารบาลที่นี่ มือหนึ่งถือสิ่งของลักษณะกลม สันนิษฐานว่าเป็นตราประจำแผ่นดิน ส่วนมืออีกข้างเป็นเหมือนกำอะไรบางอย่าง ซึ่งของที่ถือได้สูญหายไปแล้ว




“โบราณวัตถุทั้ง 35 ชิ้น ตอนนี้ได้ส่งคืนไปยังศูนย์ข้อมูลของปราสาทหินพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์ จากเดิมที่ถูกเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์พิมาย จ.นครราชสีมา ซึ่งถูกเก็บไว้ในคลังหลายสิบปี แต่พอส่งคืนมายังปราสาทหินพนมรุ้ง ทำให้คนที่อยากศึกษาประวัติศาสตร์ปราสาทหินเห็นภาพมากขึ้น และเห็นความพิเศษของปราสาทหลังนี้ ที่มีที่เดียวในโลก”

การส่งคืนเทพประจำทิศ ทำให้เห็นภาพทางประวัติศาสตร์ของปราสาทพนมรุ้งชัดเจนมากขึ้น และเป็นข้อมูลสำคัญที่นักประวัติศาสตร์ทั้งของไทยและต่างประเทศ จะได้เห็นโบราณวัตถุชัดเจนมากขึ้น แต่พิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงของปราสาทพนมรุ้งยังค่อนข้างคับแคบ ที่ผ่านมามีความพยายามจะให้ทาง จ.บุรีรัมย์ สร้างพิพิธภัณฑ์จัดแสดงโบราณวัตถุของพนมรุ้งแบบครบวงจร เพราะตอนนี้มีโบราณวัตถุอีกหลายชิ้นที่จะถูกส่งคืนมาจากต่างประเทศ และสามารถทำให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่คนทั่วโลกจะสามารถมาศึกษาได้




ปราสาทพนมรุ้ง เป็นแหล่งประวัติศาสตร์ที่เจอหลักศิลาจารึกมากที่สุด เฉลี่ยมีอยู่ 12 หลัก ซึ่งโบราณวัตถุที่ส่งคืนมายังศูนย์จัดแสดงข้อมูลของปราสาทพนมรุ้ง ยังมีข้อมูลไม่มากพอ จึงต้องใช้เวลาศึกษาอีกสักพัก เพราะโบราณวัตถุกลุ่มดังกล่าวเพิ่งถูกส่งคืนมาไม่นาน หลังถูกเก็บไว้ในโกดังโบราณวัตถุที่โคราช นานหลายสิบปี.




https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2781582
บทความโดย ทีมข่าวเจาะประเด็น ไทยรัฐออนไลน์
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ