ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เตือน “พระอุปัชฌาย์ต่างประเทศ” ไม่ควรกลับมา ให้การบรรพชาอุปสมบทในไทย  (อ่าน 97 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28448
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0




เตือน “พระอุปัชฌาย์ต่างประเทศ” ไม่ควรกลับมา ให้การบรรพชาอุปสมบทในไทย

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปญฺโญ) เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) ประธานสมัชชามหาคณิสสร เจ้าอาวาสวัดไตรมิตรฯ เป็นประธาน เปิดการฝึกซ้อมอบรมพระสังฆาธิการ เพื่อสอบความรู้แต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ รุ่นที่ 57 ครั้งที่ 1

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปญฺโญ) เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) ประธานสมัชชามหาคณิสสร เจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม กล่าวในการเป็นประธาน เปิดการฝึกซ้อมอบรมพระสังฆาธิการ เพื่อสอบความรู้แต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ รุ่นที่ 57 ครั้งที่ 1 จำนวน 338 รูป เมื่อวันที่ 11 มี.ค. ที่ผ่านมา ที่วัดสามพระยา ว่า

พระอุปัชฌาย์เป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญ โดยในจริยาพระอุปัชฌาย์นั้นระบุว่า ต้องเอื้อเฟื้อ สังวร ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย และกฎหมายอย่างเคร่งครัด ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎ มส. ตามคำสั่งหรือคำแนะนำชี้แจงของผู้บังคับบัญชา ที่สั่งโดยชอบด้วยพระธรรมวินัย กฎ มส. และต้องระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ไม่ให้บกพร่อง

ซึ่งในทางพระธรรมวินัย พระอุปัชฌาย์ถือว่ามีความสำคัญ เพราะต้องมีหน้าที่กลั่นกรองกุลบุตรผู้มีคุณสมบัติครบถ้วน เข้ามาเป็นสมาชิกในหมู่สงฆ์ ต้องเป็นประธานและรับผิดชอบในการบรรพชาอุปสมบท ทั้งต้องปกครอง ดูแล อบรม สั่งสอน สัทธิวิหาริก (คำเรียกผู้ที่ได้รับการบวชจากพระอุปัชฌาย์ใครเคยบวชจากพระอุปัชฌาย์รูปใดก็เป็นสัทธิวิหาริกของพระอุปัชฌาย์นั้น) ให้ตั้งอยู่ในสัมมาปฏิบัติ ต้องขวนขวายให้ได้รับการศึกษาตามพระธรรมวินัย ซึ่งถือเป็นภาระ ธุระของพระอุปัชฌาย์ โดยสัทธิวิหาริกที่พรรษายังไม่พ้น 5 หากจะไปอยู่ที่ใด พระอุปัชฌาย์ต้องมีหน้าที่คอยติดตามด้วย




สมเด็จพระพุฒาจารย์ กล่าวต่อไปว่า ในที่นี้จะขอพูดถึงหน้าที่ของพระอุปัชฌาย์ และสัทธิวิหาริก ตามวินัยมุข ซึ่งเป็นหน้าที่ที่เกิดจากความเคารพซึ่งกันและกัน

โดยหน้าที่ของพระอุปัชฌาย์ต่อสัทธิวิหาริก เรียกว่า สัทธิวิหาริกวัตร มีอยู่ 4 ข้อ
1. มุ่งการศึกษาของสัทธิวิหาริก
2. สงเคราะห์สัทธิวิหาริกด้วยสมณบริขาร
3. ป้องกันความเสื่อมเสียที่จะพึงเกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นแล้วแก่สัทธิวิหาริก
4. ให้การรักษาพยาบาลเมื่อสัทธิวิหาริกเจ็บไข้ได้ป่วย

ส่วนหน้าที่ของสัทธิวิหาริอ ต่อพระอุปัชฌาย์ เรียกว่า อุปัชฌายวัตร มี 7 ข้อ
1. อุปัฏฐากรับใช้พระอุปัชฌาย์
2. มุ่งการศึกษา
3. ป้องกันความเสื่อมเสียที่จะเกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นแล้วกับพระอุปัชฌาย์
4. รักษาน้ำใจของพระอุปัชฌาย์
5. มีความเคารพต่อท่าน
6. ไปไหนมาไหนบอกกล่าวท่าน
7. เมื่อพระอุปัชฌาย์เจ็บไข้ ต้องรักษาพยาบาล

ทั้งนี้ เมื่อปฏิบัติต่อกันดังกล่าวจะเกิดความผูกพันกัน นอกจากนี้ ยังมีการอนุญาตให้พระอุปัชฌาย์ สามารถขับไล่สัทธิวิหาริก ที่ไม่มีความเลื่อมใส ไม่มีความละอาย ไม่มีความเคารพ และพระอุปัชฌาย์สามารถประณามสัทธิวิหาริกได้




สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (ปสฤทธ์ เขมงฺกโร) กรรมการ มส. ประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม บรรยายพิเศษว่า สำหรับพระอุปัชฌาย์ที่เป็นพระธรรมทูตในต่างประเทศนั้น ในการจะดำเนินการบรรพชาอุปสมบทในต่างประเทศนั้น จะต้องทำให้ถูกกฎหมายในแต่ละประเทศ และถูกต้องตามพระธรรมวินัยด้วย ไม่ควรให้การบรรพชาอุปสมบทนอกเขตของตนเองที่ไปปฏิบัติหน้าที่ในประเทศนั้นๆ

เพราะในแต่ละประเทศ ทางสมัชชาสงฆ์ไทยจะมีการแบ่งเขตในการปฏิบัติหน้าที่อยู่แล้ว ถ้าให้การบรรพชาอุปสมบทนอกเขต ต้องขออนุญาตจากสมัชชาสงฆ์ไทยในประเทศนั้นก่อน และพระอุปัชฌาย์ในต่างประเทศ เมื่อได้รับการแต่งตั้งแล้ว ไม่ควรมาให้การบรรพชาอุปสมบทในประเทศไทย เพราะจะเกิดปัญหา แม้จะได้รับการนิมนต์ให้กลับมาทำหน้าที่พระอุปัชฌาย์ในไทย ก็ไม่ควรรับ ต้องระมัดระวังในเรื่องนี้ด้วย





ขอบคุณ : https://www.dailynews.co.th/news/3250086/
12 มีนาคม 2567 , 12:57 น. | การศึกษา-ศาสนา
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ