ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การปรากฏ วิปัสสนา คือ หยั่งพระไตรลักษณ์ มีในตอนไหน ของการฝึกกรรมฐาน  (อ่าน 3853 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

mitdee

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 67
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การปรากฏ วิปัสสนา คือ หยั่งพระไตรลักษณ์ มีในตอนไหน ของการฝึกกรรมฐาน
โดยเฉพาะ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ หรือต้องผ่านอย่างไร จึงจะมีวิปัสสนา ครับ

 :c017:
บันทึกการเข้า

samapol

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 304
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การปรากฏ วิปัสสนา คือ หยั่งพระไตรลักษณ์ มีในตอนไหน ของการฝึกกรรมฐาน
โดยเฉพาะ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ หรือต้องผ่านอย่างไร จึงจะมีวิปัสสนา ครับ

 :c017:

เป็นคำถามที่น่าสนใจ มาก ครับเพราะผมก็คิดอยู่เหมือนกัน ว่า วิปัสสนา จักเกิดขึ้นตอนไหน ในการภาวนากรรมฐาน
เสียดายจังยังไม่มีใครตอบ อาจจะเป็นเพราะพระอาจารย์นั่งกรรมฐาน ในช่วงพรรษาเลยไม่ได้ตอบคำถามในช่วงนี้

ผมเองก็ยังไม่สันถัดในคำตอบ ต้องรอศิษย์ที่เข้าใจช่วยกันตอบแล้วครับ

 :c017: :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28525
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
การปรากฏ วิปัสสนา คือ หยั่งพระไตรลักษณ์ มีในตอนไหน ของการฝึกกรรมฐาน
โดยเฉพาะ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ หรือต้องผ่านอย่างไร จึงจะมีวิปัสสนา ครับ

 :c017:

 ญาณ ๑๖ หรือ โสฬสญาณ (ความหยั่งรู้ ในที่นี้หมายถึงญาณที่เกิดขึ้นแก่ผู้เจริญวิปัสสนาตามลำดับ ตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุด)

๑. นามรูปปริจเฉทญาณ (ญาณกำหนดจำแนกรู้นามและรูป คือ รู้ว่าสิ่งทั้งหลายมีแต่รูปเป็นธรรมและนามธรรม และกำหนดแยกได้ว่า อะไรเป็นรูปธรรม อะไรเป็นนามธรรม)

๒. ปัจจยปริคคหญาณ (ญาณกำหนดรู้ปัจจัยของนามและรูป คือรู้ว่า รูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุปัจจัยและเป็นปัจจัยแก่กัน อาศัยกัน โดยรู้ตามแนวปฏิจจสมุปบาท ก็ดี ตามแนวกฏแห่งกรรม ก็ดี ตามแนววัฏฏะ ๓ ก็ดี เป็น)


๓. สัมมสนญาณ (ญาณกำหนดรู้ด้วยพิจารณาเห็นนามและรูปโดยไตรลักษณ์ คือ ยกรูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายขึ้นพิจารณาโดยเห็นตามลักษณะที่เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตน)

(๔-๑๒. ได้แก่ วิปัสสนาญาณ ๙)
[วิปัสสนาญาณ ๙ (ญาณในวิปัสสนา, ญาณที่นับเข้าในวิปัสสนาหรือที่จัดเป็นวิปัสสนา คือ เป็นความรู้ที่ทำให้เกิดความเห็นแจ้ง เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง)]


๔. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ (ญาณอันตามเห็นความเกิดและความดับ คือ พิจารณาความเกิดขึ้นและความดับไปแห่งเบญจขันธ์ จนเห็นชัดว่า สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นครั้นแล้วก็ต้องดับไป ล้วนเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทั้งหมด)

๕. ภังคานุปัสสนาญาณ (ญาณอันตามเห็นความสลาย คือ เมื่อเห็นความเกิดดับเช่นนั้นแล้ว คำนึงเด่นชัดในส่วนความดับอันเป็นจุดจบสิ้น ก็เห็นว่าสังขารทั้งปวงล้วนจะต้องสลายไปทั้งหมด)

๖. ภยตูปัฏฐานญาณ (ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว เพราะล้วนแต่จะต้องสลายไป ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น)

๗. อาทีนวานุปัสสนาญาณ (ญาณอันคำนึงเห็นโทษ คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงซึ่งล้วนต้องแตกสลายไป เป็นของน่ากลัวไม่ปลอดภัยทั้งสิ้นแล้ว ย่อมคำนึงเห็นสังขารทั้งปวงนั้นว่าเป็นโทษ เป็นสิ่งที่มีความบกพร่อง จะต้องระคนอยู่ด้วยทุกข์)

๘. นิพพทานุปัสสนาญาณ (ญาณอันคำนึงเห็นด้วยความหน่าย คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารว่าเป็นโทษเช่นนั้นแล้ว ย่อมเกิดความหน่าย ไม่เพลิดเพลินติดใจ)

๙. มุญฺจิตุกัมยตาญาณ (ญาณอันคำนึงด้วยใคร่จะพ้นไปเสีย คือ เมื่อหน่ายสังขารทั้งหลายแล้ว ย่อมปรารถนาที่จะพ้นไปจากสังขารเหล่านั้น)

๑๐. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ (ญาณอันคำนึงพิจารณาหาทาง คือ เมื่อต้องการจะพ้นไปเสีย จึงกลับหันไปยกเอาสังขารทั้งหลายขึ้นมาพิจารณากำหนดด้วยไตรลักษณ์ เพื่อมองหาอุบายที่จะปลดเปลื้องออกไป)

๑๑. สังขารุเปกขาญาณ (ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร, คือ เมื่อพิจารณาสังขารต่อไป ย่อมเกิดความรู้เห็นสภาวะของสังขารตามความเป็นจริง ว่า มีความเป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา จึงวางใจเป็นกลางได้ ไม่ยินดียินร้ายในสังขารทั้งหลาย แต่นั้นมองเห็นนิพพานเป็นสันติบท ญาณจึงแล่นมุ่งไปยังนิพพาน เลิกละความเกี่ยวเกาะกับสังขารเสียได้)

๑๒. สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ (ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจ คือ เมื่อวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลาย ไม่พะวง และญาณแล่นมุ่งตรงไปสู่นิพพานแล้ว ญาณอันคล้อยต่อการตรัสรู้อริยสัจ ย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไป เป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ ต่อจากนั้นก็จะเกิดโคตรภูญาณมาคั่นกลาง แล้วเกิดมรรคญาณให้สำเร็จความเป็นอริยบุคคลต่อไป)


ธรรมหมวดนี้ ท่านปรุงศัพท์ขึ้น โดยถือตามนัยแห่งคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค นำมาอธิบายพิสดารในวิสุทธิมรรค แต่ในอภิธัมมัตถสังคหะ ท่านเติม สัมมสนญาณ(ญาณที่กำหนดพิจารณานามรูป คือ ขันธ์ ๕ ตามแนวไตรลักษณ์ ) เข้ามาเป็นข้อที่ ๑ จึงรวมเป็น วิปัสสนาญาณ ๑๐ และเรียกชื่อญาณข้ออื่นๆ สั้นกว่านี้ คือ เรียก อุทยัพพยญาณ ภังคญาณ ภยญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ

๑๓. โคตรภูญาณ (ญาณครอบโคตร คือ ความหยั่งรู้ที่เป็นหัวต่อแห่งการข้ามพ้นจากภาวะปุถุชนเข้าสู่ภาวะอริยบุคคล)

๑๔. มัคคญาณ (ญาณในอริยมรรค คือ ความหยั่งรู้ที่ให้สำเร็จภาวะอริยบุคคลแต่ละขั้น)

๑๕. ผลญาณ (ญาณในอริยผล คือ ความหยั่งรู้ที่เป็นผลสำเร็จของพระอริยบุคคลชั้นนั้นๆ)

๑๖. ปัจจเวกขณญาณ (ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน คือ สำรวจรู้มรรค ผล กิเลสที่ละแล้ว กิเลสที่เหลืออยู่ และนิพพาน เว้นแต่ว่าพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่)


ในญาณ ๑๖ นี้ ๑๔ อย่าง (ข้อ ๑-๑๓ และ ๑๖) เป็น โลกียญาณ, ๒ อย่าง (ข้อ ๑๔ และ ๑๕) เป็น โลกุตตรญาณ

ญาณ ๑๖ (บางทีเรียกว่า โสฬสญาณ ซึ่งก็แปลว่าญาณ ๑๖ นั่นเอง) ที่จัดลำดับเป็นชุดและเรียกชื่อเฉพาะอย่างนี้ มิใช่มาในพระบาลีเดิมโดยตรง พระอาจารย์ในสายวงการวิปัสสนาธุระได้สอนสืบกันมา โดยประมวลจากคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค และวิสุทธิมรรค ในกาลต่อมา

อ้างอิง
(พึงดู ขุ.ปฏิ.๓๑/มาติกา/๑-๒ และ วิสุทธิ.๓/๒๐๖-๓๒๘ )
ที่มา พจนานุกรม พุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม(ป.อ.ปยุตโต)



ขอนำข้อความใน บทเรียนพระอภิธรรมทางไปรษณีย์ ชุดที่ ๑๐
เรื่อง วิปัสสนากรรมฐาน ในบทที่ ๔ ที่กล่าวถึงญาณ ๑๖ มาตอบดังนี้ครับ

๒ ญาณแรก เพียงแต่ละทิฏฐิได้ รู้จักนามรูป
แต่ยังไม่มีสภาพของไตรลักษณ์ปรากฏ
ยังไม่จัดเป็นวิปัสสนาญาณโดยตรง


ตั้งแต่ญาณที่ ๓ – ๑๒ คือสัมมสนญาณ – อนุโลมญาณ
รวม ๑๐ ญาณ จัดเป็น วิปัสสนาญาณ
เพราะเป็นปัญญาที่มีพระไตรลักษณ์ปรากฏ


ตั้งแต่ โคตรภูญาณ–ปัจจเวกขณญาณ รวม ๔ ญาณ
เป็นขั้นผลของวิปัสสนาญาณ เลยขั้นของวิปัสสนาญาณแล้ว ขั้นนี้มีพระนิพพานเป็นอารมณ์




คำสอนตามคัมภีร์ "พระวิสุทธิมรรค" เป็นส่วนหนึ่งของกรรมมัชฌิมา แบบลำดับ

 ญาณ ๑๖ ที่นำเสนอในที่นี้ นอกจากจะอธิบายตาม "พระวิสุทธิมรรค" ยังอธิบายตามพระสูตร

 และพระอภิธรรม สรุป ก็คือ


ตามนัยพระสูตรจะเป็น วิปัสสนาญาณ ๙ เท่านั้น เริ่มที่ "อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ"

 ตามนัยอภิธรรมจะเป็น วิปัสสนาญาณ ๑๐ เริ่มที่ "สัมมสนญาณ"

 แต่ในพระวิสุทธิมรรคจเป็น วิปัสสนาญาณ ๑๖ เริ่มที่ "นามรูปปริจเฉทญาณ"


ดังนั้นโดยทั่วไป อาจมีวิปัสสนาจารย์กล่าวว่า

 วิปัสสนาที่แท้จริง เริ่มที่ "อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ" ก็ถือว่า "กล่าวได้ถูกแล้ว"


  :welcome: :49: :25: ;)


ผมจะแนบหนังสือให้เล่มหนึ่ง คือ บทเรียนพระอภิธรรมทางไปรษณีย์ ชุดที่ ๑๐

เรื่อง วิปัสสนากรรมฐาน ทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณ mitdee ต้องการรู้อยู่ในเล่มนี้แล้ว

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 28, 2011, 08:26:17 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

sakol

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 242
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ง่าย ๆ ครับ นะครับ ว่า ญาณหยั่งในพระไตรลักษณะ นั้นจะมีตอนไหน
ผมว่า ประเด็น อยู่ที่การหยั่งพระไตรลักษณะ นั้น มี อยู่ 3  ช่วง

 1.ช่วงที่ หยั่ง พระอนิจจัง คือ ความไม่เที่ยง

 2.ช่วงที่ หยั่ง พระทุกขัง คือ ความทุกข์

 3.ช่วงที่ หยั่ง พระอนัตตา คือ อนัตตา

  ญาณหยั่งรู้ อาศัย ความต่อเนื่องของจิตดังนี้ นะครับ

     1. มีสติ
     2. มีปัสสัทธิ ( คือ สงบจากฟุ้งซ๋าน มีนิวรณ์ เป็นต้น )
     3. มีสุข
     4. มีสัมปชัญญะ รู้ตัวทั่วพร้อม
     5. มีธรรม คือ ใจหยั่งลง พระอนิจจัง มี บาทฐาน จาก ขันธ์ 5
     6. มีธรรม คือ ใจหยั่งลง พระทุกขัง มี บาทฐาน จาก ขันธ์ 5
     7. มีผล คือ พระโสดาปัตติผล เป็นต้น ที่เห็นแจ่มชัด ในพระิอนิจจัง พระทุกขัง
     8. มีกระแสธรรม คือ พระนิพพานหยั่งลง พระอนัตตา มีบาทฐาน คือ อายตนะ 12 ประการ
     
   ถ้าลำดับ ก็ควรมีเท่านี้ นะครับ

   ที่นี้ ขอให้พิจารณา ปฏิจจสมุิปบาท สายดับกิเลส ด้วยนะครับ

     มี วิชชา ( เห็น ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค )
     มี นิพพิทา คือ ความหน่ายต่อ สังขารธรรม ทั้งหลาย ทั้งปวง
     มี วิราคะ คือ จากคลาย สิ่งที่เหนื่อยหน่าย อิดหนา ระอาใจ ต่อกิเลส
     มี ญาณทัศนะ คือ เห็นความจริงใน ธรรมที่จางคลายจากกิเลส
     มี ยถาภูตญาณทัศนะ คือ เห็นแจ้ง รู้แจ้ง ตามความเป็นจริง
     มี วิมุตติ สันติ นิพพาน

     ประมาณนี้ นะครับ ( ผมจำได้ไม่หมด นะครับ )

    คุยเป็นเพื่อนกัน เท่านี้ นะครับ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า