ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: รวมข้อความสั้น จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม บันทึกการภาวนาของธัมมะวังโส  (อ่าน 162871 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0

"ชีวิตจริง ไม่อิงนิยาย ก็ต้องมีทั้งสุข และทั้งทุกข์ สลับกันไป บัณฑิตที่ยังต้องเวียนว่ายตายเกิด จึงต้องหมั่นสะสมคุณความดีทางจิต ด้วยการบ่มเพาะสติ อย่าให้ลิงโลด ในสุขเกินไป และอย่าให้ท้อแท้ ต่อทุกข์ ที่มีอยู่ แต่พึงรักษาจิตด้วยการปล่อยวาง ทุกข์ และ สุข ที่เกิดขึ้นมาขณะนั้นบ้างว่า เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ทำให้ชีวิตมีรสชาด ถึงแม้ ทุกข์ ไม่มีใครต้องการ ใคร ๆ ก็ต้องการสุข แต่ถ้าไม่มีทุกข์ สุขก็มีไม่ได้ เพราะทุกข์ และ สุข อาศัยซึ่งกันและ เหมือนสีดำ สีชาว ก็อาศัยซึ่งกันและกัน ดังนั้นเมื่อเรียนกรรมฐาน ส่วนแรกที่ครูอาจารย์ จะสอนไว้ในกองกรรมฐาน คือ การวางจิตเป็นกลาง ก็คือรู้ธรรมสองส่วน เพื่อให้จิตวางอุเบกขา ลูกศิษย์ที่ฝึกปฏิบัติตามมา อย่างนี้เขาจึงวางอารมณื ไม่ยินดีในสุข และ ไม่ยินร้าย ในทุกข์ มากเกินควร บางท่านวางอารมณ์ ได้ดีแม้ยังปฏิบัติไม่ได้มาก ก็นับว่าเป็นศิษย์ที่สมควร อนุโมทนา ...."
ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของธัมมะวังโส
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


"ปิดทองหลังพระ ที่นี่ ไม่ได้เลือกบัวว่าเหล่าไหน ? หรือเพ่งสอนแนะนำเฉพาะ เหล่าบัว ใน เหล่าใดเหล่าหนึ่ง อย่างที่หลายคนไปเข้าใจเอาเอง แต่ที่นี่เลือกคนที่มีวาสนาต้องชะตา และอธิษฐานบารมีร่วมธรรม กันมาในอดีตถึงปัจจุบันในสายกรรมฐาน เพื่อได้ปะติด ปะต่อวิชา ให้สมความปรารถนา การสอนก็สอนกันตั้งแต่เบื้องต้น นั่นแหละ ไม่ได้มาสอนชั้นสูงกันเลย ทุกคนต้องผ่านไปตามลำดับขั้นตอน จนถึงตอนสุดท้ายที่ตนเองได้ นั่นแหละถึงจะเรียกว่า สูง บางคนชาติก่อนทำได้แค่ อุปจาระฌาน บางคนก็อัปปนา บางคนก็วิปัสสนาไปแล้ว อย่างไรชาตินี้ ของที่ซ้ำ ก็ไม่ซ้ำนาน ที่ซ้ำนานนั้น ก็ด้วยเหตุไม่กี่อย่าง คือ 1. ของเก่ายังทำไม่ได้ 2. ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่สอน ( ยังดื้อไม่ทำตามอยู่ ) 3. ขาดความต่อเนื่องของตนเอง ต่อหน้าครูอาจารย์ ก็ทำพอหลับหลัง ก็เลิกทำ 4. ตอนภาวนาไม่ศึกษาขั้นตอนให้เข้าใจก่อน หรือสงสัยในขั้นตอนไม่ได้สอบถาม ....."


ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดิืนทางของธัมมะวังโส

บารมี หลายคน รอบตัวอาจารย์ตอนนี้ เป็นจิ๊กซอว์ ที่ค่อนข้างจะสมบูรณ์ แล้ว ขาดเพียงแต่ เหตุปัจจัยบางประการ บางท่านก็ขาดความเพียร บางท่านขาดปฏิภาณ บางท่านก็ขาดการสั่งสมทาน บางท่านก็ขาดการรักษาศีล บางท่านขาดการอธิษฐาน บางท่านขาดการหยั่งรวมในธรรม บางท่านก็ไม่ต้องการตัดโลกเองตอนนี้

และอีกหลายเหตุผล
คำว่า ห่วง .... มันมีมากมาย
บางท่าน ก็ห่วง ทรัพย์สมบัติ
บางท่าน ก็ห่วง พ่อแม่
บางท่านก็ห่วง ลูกหลานญาติมิตร
บางท่านก็ห่วง อนาคตของตนเอง มากไป
ลางท่าน ก็ห่วงเกรียติยศ
ลางทาน ก็ห่วงในอุดมการณ์
ลางท่าน กก็ห่วงการศึกษาเล่าเรียน
ลางท่าน ก็ห่วงสนุก

และอีกหลายห่วง ที่เป็นข้ออ้างสารพัด ที่พยายามอธิบายบอกฉันจนฉันต้องอนุญาต ไม่ต้องสอบกรรมฐาน ไม่ต้องภาวนาต่อ เพราะทุกอย่างมันอยู่ที่ตัวท่านทั้งหลาย ด้วยนะจ๊

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
โลก คือ สังขาร
« ตอบกลับ #42 เมื่อ: มกราคม 29, 2016, 11:45:51 am »
0


"ที่จำเป็นต้องสอนก็สอนแล้ว ที่เหลืออยู่ที่ท่านทั้งหลาย จะปฏิบัติตามที่สอนหรือไม่ แต่ปัญหามันไม่ได้อยู่ตรงนั้น ปัญหาจริง ๆ คือ พวกท่านที่เรียนกันไป ยังไม่ตัดสินใจจริง ๆ ที่จะละ ร้างลาจาก สังสารวัฏต่างหาก ยังชอบเผชิญ ผจญกับ โลก แล้ว ก็จะกลับมาบอกว่าฉันว่า โลก ให้ทุกข์กับพวกท่าน อย่างนั้น อย่างนี้ ซึ่งฟังจนชินชาแล้ว
พระพุทธเจ้าผู้ชนะมาร ตรัสไว้ว่า
เอถ ปสฺสถิมํ โลกํ จิตฺตํ ราชรถูปมํ
ยตฺถ พาลา วิสีทนฺติ นตฺถิ สงฺโค วิชานตํ
" ท่านทั้งหลายจงมาดูโลกนี้ อันตระการดุจราชรถ, ที่พวกคนเขลาหมกอยู่, (แต่) พวกผู้รู้หาข้องอยู่ไม่."
หากท่านทั้งหลาย อยากเห็นโลก ให้ชัดเจน ก็ต้องยืนบนที่สูง ฉันใด หากท่านต้องการเห็นกิเลสที่ปรุงแต่ง ก็ต้องทำให้ใจให้สูง ให้นิ่ง ฉันนั้น......."


ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทางและการภาวนา ของ ธัมมะวังโส
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 03, 2016, 01:54:23 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
หาต้นตอให้เจอ แล้ว ชำระต้นตอให้ถูก
« ตอบกลับ #43 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2016, 01:55:47 pm »
0


"สังขาร ไม่เที่ยงหนอ คำนี้ฉันใช้สวดประจำ แต่ความเป็นจริง เวลาภาวนากับไปนึกถึงแต่ กายสังขาร ว่่ามันแก่ชรา คร่ำคร่า แต่แท้ที่จริงแล้ว สังขารในที่นี้ คือ จิตตสังขาร การปรุงแต่งทางจิตต่างหากที่ควรจะต้องระวัง และต้องรู้ทัน และดับให้ทัน กายสังขาร เป็นไปตามกฏธรรมชาติ คือ แก่ เจ็บ และ ตาย ไม่มีใครหนีพ้น หนี้ไม่ได้ แม้แต่พระพุทธเจ้าพระองค์เอง ก็หนีไม่ได้ วจีสังขาร อันนี้ นักภาวนาส่วนใหญ่ จะหยุดเองอยู่แล้ว ด้วยการปิดวาจา ส่วนตัวที่เป็น ข้าศึกแท้จริง คือ มโนสังขาร และ มโนสังขาร ที่เราจำเป็นต้องฝึกฝนพระกรรมฐาน เพื่อต่อกร กับเขา นี่แหละท่านทั้งหลาย ถ้าท่านไม่รู้ว่าฝึกภาวนาไปเพื่ออะไร ก็ควรจะต้องลำดับ ให้ถูกปัญหา จริง ๆ มันจะได้หมด สังสารวัฏจะได้สิ้น แต่เป็นพวกเรามัวแต่ไปแก้คนละสังขาร จึงทำให้การภาวนาไม่ก้าวหน้า....."

ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดืนทาง และการภาวนาของ ธัมมะวังโส
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


"เมื่อก่อนฉันก็ไม่เข้าใจ ว่าทำไม ถ้าเราจะถึงแก่น ของศาสนา แล้วทำไมต้องบวช ครั้นพอได้ศึกษา จากลูกศิษย์ ทั้งที่อยู่ใกล้ และ อยู่ไกล ทั้งใกล้ชิดสนิทกัน ทั้งห่างเหินไม่สนิทกัน จึงได้ทราบความเป็นจริงว่าทำ พวกเขาเหล่านั้นจึงไม่มีความก้าวหน้า ในระดับที่เราพึงพอใจ นั่นก้เพราะเหตุว่า ท่านทั้งหลายเหล่านั้น มัวแต่ยุ่งในเรื่องการประกอบอาชีพ เพราะการประกอบอาชีพ มันมีความหมายหลายอย่าง ไม่ว่า จะความเป็นอยู่ ชื่อเสียง คนรัก ลูกหลาน ญาติ มิตร ความสะดวก เจ็บไข้ได้ป่วย ทั้งหลายทั้งปวง ของชาวโลก ล้วนมีตัวแปรสำคัญ อยู่ที่การประกอบอาชีพ เขาทั้งหลายเหล่านั้น จึงใช้เวลา และสูญเสียเวลา ไปกับเรื่องการประกอบอาชีพ จนไม่ยอม หรือ จะรอ เพื่อที่จะภาวนา โดยที่ไม่ยอมไปถึง แก่นธรรม คือการพ้นจากสังสารวัฏ อย่างที่ฉันพยายาม มอบธรรม ให้เขาทั้งหลายเหล่านั้น กลไกของโลก ที่มีเป้าหมายในการประกอบอาชีพ นั่นเอง ที่เป็นอุปสรรคใหญ่ หลายท่าน จึงเพียงแต่ รอ และ รอ และ ก็ รอ ในขณะที่ฉัน ไม่มีเวลา จะรอ ใครอีกต่อไปแล้ว
ดังนั้นสาระธรรมที่ท่านพยายามปรึกษา กับฉันทุกวันนนี้ไม่ใช่เรื่องการภาวนา ที่ถึงแก่น กันเลย มีแต่ปรึกษาว่า จะทำงานรอดไหม จะหาเงินได้คล่องไหม จะดำรงค์ชีวิตแบบฟู่ฟ่า กับเขาบ้างได้ไหม ถึงตอนนี้ฉันจึงบางอ้อว่า คนที่จะไปถึงแก่น ในขณะที่ ครูถึงแก่นแล้ว มันน้อยเหลือเกิน
ปัจจุบันยังไม่มีทั้งพระ และฆราวาส ท่านใดที่จะมาศึกษา หาแก่นธรรมจากฉัน มีแต่ปรึกษาปัญหา ชีวิต ในขณะที่ชีวิตฉัน ก็กำลังจะหมดไป
สิ่งที่คงทำไว้ดได้ในตอนนี้ก็เพียง ตำรา ข้อความ ซึ่งอาจจะมีประโยชน์ กับท่านใด ท่านหนึ่ง หลังจากที่ฉันได้ไปแล้ว
สำคัญหรือไม่ ที่จะมีใคร เข้าใจ ถ้าสำหรับพระอริยะแล้ว ไม่มีความสำคัญ แต่เป็นเรื่องที่ต้องทำ ....."


ข้อความบางส่วนจากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดืนทาง ของธัมมะวังโส


    รักษาศีล เพื่ออะไร ?
        ภาวนา สมาธิ เพื่ออะไร ?
            วิปัสสนา เพื่ออะไร ?

   แล้วอะไร ควรทำก่อน ทำหลัง ?
   หรือว่า ควรทำพร้อมกัน ?

   ใคร่ครวญให้ดี ก็จะเห็นธรรม ..... ว่าที่กำลัง ทำอยู่ นั้น ทำไปเพื่ออะไร ?

    ;)

    สำหรับบันทึกนี้เกิดตอนที่ฉัน ระลึก ถึงลำดับ พระกรรมฐาน และ ต้องการเฟ้นธรรม ที่สมควรในพรรษา ก่อนที่จะได้ตัดสินใจเลือก เนสัชชิกธุดงค์ ซึ่ง แม้สังขาร มันจะแย่ ลง แต่ สภาวะธรรมที่เกิด ขึ้นนั้น มีค่าอนันต์


   
       

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 04, 2016, 09:02:30 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
"อัชชดากาศ ,อัดชะดากาด,อัชชฏากาศ,อัชชดากาษ คือ อะไร ?
« ตอบกลับ #45 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2016, 09:26:41 pm »
0


"อัชชดากาศ ,อัดชะดากาด,อัชชฏากาศ,อัชชดากาษ คือ อะไร ?
เป็นคำถามที่ดี คำนี้มีปรากฏอยู่ อรรถกถา ของพระอภิธรรม เป็นส่วนใหญ่
อชฺชตากาส สนธิศัพท์ มาจากคำว่า อชฺช + อากาส ส่วนการยกศัพท์ นั้นไม่สันถัด เท่าใด เอาตรงความหมายก็แล้วกัน
อชฺชตากาส แปลง่าย คือ อากาสรอยต่อ หรือ ในอรรถกถา กล่าวว่า ช่องว่างที่มีระหว่าง จักรวาล กับ จักรวาล นั้นเรียกว่า อัชชตากาส แต่คำแปลที่ครูท่านเน้นไว้ ก็คือ อากาสที่พิเศษ โดยปกติในภาวะกรรมฐาน ผรณา จะอาศัย อากาศ และ ฌาน จิต จะอาศัยธาตุอากาส เป็นหลัก
ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นั้น คำว่า อชฺชตากาส นั้นถูกนำมาใช้ เป็น ฐานจิต สองส่วน ในพระอานาปานสติ และ โพชฌงค์
อัชชดากาศ เบื้องสูง กับ อัชชดากาศ เบื้องต่ำ
อชูชตํ ( เดี่ยวนี้ วันนี้ ระหว่าง ภาวะที่เป็น ) + อากาส ( อากาศ )
อัชชดากาศ เบื้องสูง เข้าใจง่ายหน่อย คือ กระหม่อมจอมเพดาน ครูอาจารย์ใช้คำนี้ แต่ เอาง่ายบนศรีษะนั่นแหละ เข้าใจง่ายที่สุด
อันความหมาย พระอาจารย์เฒ่า ท่านได้อธิบายไว้ ว่า ช่องหว่างที่สัมผัส กับตน และ จักรวาล เป็นส่วนที่ควรกำหนด อานาปานสติ มีที่ตน แต่กำเนิดจากจักรวาล มีเพียงอากาส ที่ห่อหุ้มกายตน คือ อานะ และ ปานะ....
มองเห็นหรือยัง อธิบายอย่างนี้.....
"

ข้อความบางส่วนจากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดืนทาง ของธัมมะวังโส


ตามคำขอ นะสำหรับคนที่ถาม มา พอดีบันทึกไว้บ้างแต่ไม่ได้ไว้มาก เพราะสภาวะ ฐานจิต อาศัย นิมิตร นั้น นิมิตรต้องมีที่อยู่แม้พื้นที่จะแนบ แต่ อัชชดากาดเบื้องบน เป็นที่ลง และ ที่ออกของชีวิต

คนเกิดมาใหม่ ตรงนี้จะยังไม่ปิด ตาจะลืมมองไม่ได้ จนกว่าชีวิตจะลง
แม้ตอนตาย ก็เป็นทางออกของ ชีิวิต ด้วย

ความสำคัญของ อัชชดากาศ มีความสำคัญเกี่ยวกับการถอดกายทิพย์ด้วย แต่คงไม่กล่าวในที่นี้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 04, 2016, 09:34:05 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


"การประกอบอาชีพ เป็นปัจจัยที่ทำให้ทุกคน เสียเวลา ดังนั้นนักบวช จึงไม่ควรเสียเวลา กับการประกอบอาชีพ พระพุทธเจ้า จึงให้มีอาชีพเป็นผู้ขอ ฟังอ่านดูเหมือนเอาเปรียบ คนอื่น ๆ อยู่ แต่เป็นเพราะว่า พระพุทธเจ้า พระองค์ต้องการให้ตัดปลิโพธ (ความกังวล) ด้วยเรื่องการประกอบอาชีพ ในกับผู้บวช ดังนั้นผู้บวชจึงดำรงค์ชีพอยู่ด้วยการขอ และภาวนาให้สมกับผู้ที่เสียสละ สิ่งต่าง ๆ มาเพื่อให้นักบวชมีเวลาในกาภาวนา เพื่อถึงธรรมอันประเสริฐ ซึ่งจะเป็นนาบุญให้แก่ผู้ที่สนับสนุน คือผู้ที่ยังต้องประกอบอาชีพอยู่ นั่นเอง
น่าเสียดาย ถ้าพระสงฆ์ พระคุณเจ้า ที่บวชมาแล้ว และใช้ชีวิตบิณฑบาต อันสำเร็จแล้วจากผู้ประกอบอาชีพ อยู่ด้วยความประมาท จึงไม่เป็นการสมควร เพราะผู้ที่ประกอบอาชีพย่อมเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าในการประกอบอาชีพ เพื่อเสียสละให้นักบวชได้มีเวลาภาวนา
ดังนั้นนักบวชไม่ควร ให้การเสียสละของตนเองและของผู้ประกอบอาชีพเสียสละบำรุงนักบวช อย่างสูญเปล่า ควรจะใช้ชีวิตอย่างสมณะ หรือบรรพชิตให้สมบูรณ์
"

ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทางของ ธัมมะวังโส
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 04, 2016, 10:06:55 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
กุศลกรรมบถ 10 ทำให้ถึง จรณ 15
« ตอบกลับ #47 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2016, 04:17:35 pm »
0


"ถ้ากุศลกรรมบถเจริญ ขึ้นในใจของท่าน อย่างสมบูรณ์ แล้ว องค์แห่งสมาธิ แม้ไม่ได้ฝึกฝน ก็เกิดขึ้นเองได้ เพราะกุศลกรรมบถ เป็นคุณธรรมของผู้มีจิตเป็นอุปจาระวิถีจิตขึ้นไป ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ ที่ผู้สำเร็จ อุปจาระฌาน หรือ อัปปนาฌาน จึงสร้างอกุศล อันขัดต่ออกุศลกรรมบถ ทั้ง 10 ประการ ในทางกลับกัน ผู้ที่กล่าวอ้างว่า ตนมี อุปจาระฌาน มี อัปปนาฌาน แต่ กุศลกรรมบถทั้ง 10 พร่องลง หรือไม่มี นั่นหมายถึงเขาไม่มีทางถึง สิ่งที่กล่าวอ้างนั้นได้
กุศลกรรมบถทั้ง 10 มีอะไรบ้าง มีดังนี้
กุศลกรรมบถ 10 แบ่งออกเป็น 3 หมวด ดังนี้
1. กายกรรม 3 ประการ
1. ไม่ฆ่าหรือทำลายชีวิตผู้อื่น
2. ไม่ลักขโมย หรือยึดเอาทรัพย์ของผู้อื่นมาเป็นของตน
3. ไม่ประพฤติผิดในกาม
2. วจีกรรม 4 ประการ
4. ไม่พูดเท็จ
5. ไม่พูดส่อเสียด
6. ไม่พูดคำหยาบคาย
7. ไม่พูดเพ้อเจ้อ
3. มโนกรรม 3 ประการ
8. ไม่โลภอยากได้ของคนอื่น
9. ไม่คิดพยาบาทปองร้ายผู้อื่น
10. เห็นชอบตามคลองธรรม
ส่วนท่านใดที่มีกุศลกรรมบถ 10 ประการ มีจิตเป็นอัปปนา ย่อม ถึง จรณะ 15 ประการ
จรณะ หมายถึง ความประพฤติอันงดงาม มี 15 ประการ ได้แก่
1.ศีลสังวร คือ ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์
2.อินทรีย์สังวร คือ ความสำรวมอินทรีย์ทั้ง 6 ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
3.โภชเนมัตตัญญุตา คือ ความรู้จักประมาณในการบริโภค
4.ชาคริยานุโยค คือ การประกอบความเพียรที่ทำให้เป็นผู้ตื่นอยู่เสมอ
5.ศรัทธา คือ ความเชื่อมั่น ต่อพระรัตนตรัย
6.สติ คือ ความระลึกได้ ในกองกรรมฐาน
7.หิริ คือ ความละอายทีจะทำอกุศล
8.โอตตัปปะคือ ความเกรงกลัวต่อการทำอกุศล
9.พาหุสัจจะ คือความเป็นผู้ศึกษาในสัจจธรรม ( พหูสูต )
10.อุปักกะโม คือ เป็นผู้มีจิตตั้งอยู่ในการเว้นจากบาป
11.ปัญญา ญาณรู้แจ้งเห็นจริงในองค์แห่ง มรรค และ ผล
12.ปฐมฌาน
13.ทุติยฌาน
14.ตติยฌาน
15.จตุตถฌาน
ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า กุศล กรรมบถ 10 เป็นสภาวะที่ทำให้เกิด จรณะ 15 ประการ
ดังนั้นผู้ ตั้งมั่นในการเจริญพระกรรมฐาน ไม่พึงขาด จาก กุศลทั้ง 10 ....
"
ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดินทาง ของธัมมะวังโส
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


"ปัจจัย 4 เป็นเรื่องที่มีความสำคัญกับ พระสงฆ์ ที่เป็นผู้ภาวนา พระพุทธเจ้ามีพระดำรัสให้ หมั่นพิจารณา ทั้งก่อนใช้ และ หลังใช้ โดยปกติ พระคุณเจ้าก็ต้องสวดพิจารณาทุกวันไม่ให้ขาด บทนี้ถ้าเป็นพระก็จะรู้ดีว่า คือบทอะไร นั้นก็คือ บท ปฏิสังขาโย พิจารณาก่อนใช้ อัชชะมะยา พิจารณาหลังใช้ เพื่อไม่ให้จิตเป็นทุกข์ ถูกครอบงำด้วยตัณหา หากพระคุณเจ้า รูปใดได้ปฏิบัติเจริญทั้งสวด ทั้งพิจารณา ก็จะเห็นความเป็นจริงของปัจจัย 4 ไม่ได้เป็นไปเพื่อการสนองตัณหา ตัวอย่าง ถ้าไม่มีการพิจารณา เวลาเวลาที่ไม่ได้กิน หลายคนอาจจะหงุดหงิด และมีอารมณืขึ้นมาได้ แต่สำหรับพระที่มีการพิจารณา ก็จะดับกิเลสส่วนนี้ไป อย่างง่ายดาย อารมณ์ที่เรียกว่า โมโหหิว สนองความอยาก ก็จะไม่มี หลายครั้งที่ฉันเอง ต้องพบกับ ชิฆัจฉา ( ความหิว ) แต่อารมณ์มันสงบ บางครั้งไม่ได้ฉันอะไร เลย สองสามวัน ฉันแต่ นมกับ น้ำ อารมณ์มันคลายไม่โมโหหิว นะ เพราะบทพิจารณาธรรม เป็นบทดักกิเลส อย่างดี ปัจจัย 4 ที่ได้รับมานั้น จึงถูกใช้อย่างพิจารณา มีคุณค่า ...."

ข้อความบางส่วนจาก หนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของธัมมะวังโส
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ฉันชอบอยู่กับผู้เจริญด้วยการภาวนา และ พระอริยะ
« ตอบกลับ #49 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 10, 2016, 08:50:17 pm »
0


"เคยมีคนถามว่า พระอาจารย์ ชอบอยู่ที่ไหนมาก ? ฉันไม่เคยตอบคำถามนี้ แต่่คำถามนี้ ก็รู้สึกจะถูกถามบ่อย ก็คืดว่า ตอบสักครั้งหนึ่งในสมุดบันทึกตัวเอง ตอบให้ตัวเองฟัง ก็ดีเหมือนกัน ถ้าถามแบบนี้คำตอบก็คือ ชอบอยู่ในสถานที่ ๆ มี บุคคลที่มีธรรมเสมอกัน หรือ สูงกว่า นั่นหมายถึง ถ้าเป็นผู้ปฏิบัติภาวนาอยู่ ก็ขอให้ มีแต่ผู้ปฏิบัติภาวนา เหมือน ๆ กัน ถ้ามิฉะนั้น ก็ขอให้มีพระอริยะตั้งแต่พระโสดาบัน ขึ้นไป สถานที่อย่างนี้ ฉันชอบอยู่ เพราะอยู่กับท่านเหล่านี้ ไม่มีความทุกข์ มีแต่ความเจริญงอกงามไพบูลย์ มากยิึ่งขึ้น แต่ถ้าอยู่กับผู้มีธรรมที่ต่ำกว่า เลวกว่า ย่อมลำบากแก่เราเพราะ บุคคลที่ต่ำช้า ย่อมไหลลง สู่ ภวังค์แห่งกิเลส ด้วยราคะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง วันหนึ่งคืนหนึ่ง ต้องเสียเวลาไปกับการให้อภัย กับคนเหล่านี้ เป็นเวลามาก บางครั้งก็ถูกราวี จากความต่ำทราม ของคนที่เลวกว่า ถึงไม่มี มานะ ว่าเราดีกว่า แต่ความเดือดร้อนย่อม มีเพราะคนทุศีลเหล่านี้ ดังนั้นฉันอยู่ไม่ได้ กับพวกทุศีล เพราะพวกทุศีล ย่อมคอยประทุษร้ายฉัน ทั้งความคิด เริ่มต้น ด้วยวาจาเป็นท่ามกลาง และด้วย กายกรรม เป็นที่สุด หนักเบาเริ่มอย่างนี้ แต่ส่วนมากฉันจะไม่ค่อยอยู่ด้วย แค่ระดับกลาง ฉันก็หนีแล้ว จากพวกทุศีล วันหนึ่ง ของฉันไม่อยากมาเสียเวลา ด้วยเรื่องไม่เป็นเรื่อง สังสารวัฏ การกลับมาเกิด มันยังอ้าแขนรับอยู่ มั่วแต่เสียเวลา ระวังโลกธรรมอย่างนี้ สู้ออกวิเวก ปฏิบัตภาวนาตรงจะดีกว่า อดอยากปากแห้งบ้าง ดีกว่า เสียเวลาเรื่องสังคมของพวก ทุุศีล อย่าไปพูดเรื่องปรมัตถ์เลย แค่ ศีลธรรม ก็ไม่ผ่านแล้ว
นั่นคือคำตอบว่า ฉันชอบอยู่กับผู้เจริญด้วยการภาวนา และ พระอริยะ นั่นเอง....."


ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของ ธัมมะวังโส
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 10, 2016, 09:15:12 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


"ฉันไม่ได้หาทาง ดับทุกข์อันเกิดจากโลกธรรม แต่ที่หาอยู่ทุกวันนี้ คือความน่าจะเป็นไปได้ในการเผยแผ่ พระกรรมฐาน ไม่ให้ติด ไม่ให้ขัด หลายคนเข้าใจผิดว่า ฉันหนีความทุกข์ไปที่ต่าง ๆ ฉันไม่มีความจำเป็นต้องมีหนีความทุกข์ไปในที่ต่าง ๆ เพราะฉันรู้ดีว่า ความทุกข์ ไม่ได้เกี่ยวกับสถานที่ หรือบุคคล แต่มันเกิดที่ใจ ที่มีเหตุปัจจัยจากตัณหาต่างหาก ดังนั้นต่อให้ฉันหนีไปที่ไหน ๆ มันก็ไม่พ้นจากทุกข์ เพราะทุกข์ที่เกิดที่ใจ ต้องดับที่ใจเท่านั้น ที่ฉันทำทุกวันนี้ คือความเป็นไปได้ ในการเผยแผ่พระกรรมฐาน ไม่ให้ติดข้อแม้มากมายต่างหาก ลำพังแค่ประเพณีการขึ้นกรรมฐาน ก็เป็นอุปสรรคใหญ่ ขาดผู้ปฏิบัติจริงจัง นี่ก็เป็นอุปสรรคอยู่เช่นกัน ดังนั้นบางครั้งการหลีกเลี่ยงเพื่อให้การเผยแผ่ธรรมเป็นไปอย่างสะดวก ก็ต้องมีการเสียสละ และผู้เสียสละ ก็ไม่ต่างอะไรจากทหารที่ไปปกปักษ์รักษาดินแดน สิ้นชีพเพื่อชาติ ไม่ต่างกันเท่าใดนัก เพียงแต่ฉันทำหน้าที่นักรบของศาสนา คือ รบกับกิเลส ของคนที่พร้อมจะไปสู่ ประตูอมตะเท่านั้น ถ้ามากกว่านั้นก็ไม่ไหวเหมือนกัน ....."


ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนาและการเดินทาง ของธัมมะวังโส
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
บันทึกหนัก เรื่อง พระเณร ก็มี แต่คงให้อ่านมากไม่ได้
« ตอบกลับ #51 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2016, 10:41:20 am »
0
"ไปเยี่ยมพระเณร อบรมบาลี พระเณรอยู่ในวัดร่วม สามร้อยรูป เวลานั่งฉันภัตรมาโดยพร้อมเพรียง เวลาเรียนก็ไปกันอย่างคับคั่ง แต่ถึงเวลาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า มี พระเณรเข้าเฝ้าเพียง 4 - 6 รูป ตกลงว่าทุกวันนี้เราให้ความรู้ หรือ ให้คุณธรรม เราให้ความรู้อะไร กับศาสนทายาท ให้ ตัวตน หัวโขน ยศศักดิ์ แล้วหลงลืมตัว กันไปเลยใช่ไหม ....."

ตัวอย่างเขียนหนัก ๆ ในบันทึก นะ เอามาให้ชมสักนิด อย่าคิดว่าฉันว่าไม่ได้มองพระเณร ดี หรือ ไม่ดี หรือ ไม่แยกแยะ เพียงแต่อาจจะไม่พูด เพราะไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะพูดได้ กับ พระเณรเหล่านั้น

 ใครมีบุญวาสนาร่วมกัน ก็ตักเตือน ชี้ทางให้ เท่านั้น ฉันเองก็ไม่ได้มีความสามารถจะเปลี่ยนแปลงสังคมตอนนี้ได้ ที่ทำอยู่ทุกวันนี้ก็เพื่อคนที่มีวาสนา เป็น ศิษย์ ครู กันมาก่อน ตามคำอธิษฐาน เท่านั้นใครจะไป สู่ประตู อมตะ รีบมา สังขารฉันเองก็ใกล้แล้ว ....

  บ่มเพาะลูกศิษย์บางครั้งใช้เวลามากทีเดียว บางท่านทดสอบกัน สอนกัน 10 กว่าปี ที่น้อย ๆ ไม่มีดอกนะจ๊ะ ยิ่งเกิดใหม่ กิเลสอนุสัย ก็พอกพูนทางลบมากขึ้นไปเรื่อย ๆ ดังนั้นยิ่งนานวัน พระอริยะ ก็จะน้อยลงไปเรื่อย ๆ ยุคนี้เป็น ยุค ของพระอนาคามี และ พระสกทาคามี ที่ยังมีจำนวนมาก

   ;)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 15, 2016, 10:44:53 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ลำดับ องค์แห่งมรรค ดู ที่คุณแห่ง จะเข้าใจ 4 ภาค
« ตอบกลับ #52 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 16, 2016, 09:24:05 am »
0


"อริยมรรค มีองค์ 8 แม้กล่าวว่า มี 8 แต่ก็มีคุณสมบัติ สำหรับการภาวนา หากจะพิจารณาให้ดีแล้ว บางท่านบอกว่า ภาวนาไม่ได้ ทำไม่ได้ นั่นเพราะว่า ข้ามลำดับของมรรค ใช่หรือไม่ องค์ ภาวนา ในอริยะมรรค อยู่ภาค ที่ 4 นั่นแหละคือสาเหตุที่หลายคน ภาวนาไม่สำเร็จ เพราะข้ามขั้นตอนที่ควรกระทำ ที่แสดงอย่างนี้ก็เพื่อให้รู้ตัวเองว่า บกพร่อง อะไร ก็ไปเติมส่วนนั้นให้เต็ม เพราะอริยะมรรคนั้น ไม่สามารถขาดองค์ใด องค์หนึ่งได้ นั่นแหละ คือสาเหตุที่ท่านภาวนากันไม่ได้ ...."
ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดินทาง ของธัมมะวังโส
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
เรียนกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ครั้งแรก พ.ศ.2526
« ตอบกลับ #53 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2016, 09:05:33 am »
0


"ฉันเรียนกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2526 เรียนตอนเป็นสามเณร แต่ตอนนั้นไม่รู้หรอกว่าคือกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ในตอนนั้น อายุ 15 ปีบวชสามเณร ที่ วัดสารภี อ.บ้านหมอ โดยความอุปถัมภ์ ของหลวงพ่อจรัญ สุญญกาโม ศิษย์สายหลวงพ่อพุทธทาส ท่านมาดูแล สำนักสงฆ์ อิทัปปัจจยตาราม ตอนนั้นฉันไปเที่ยวฟังธรรมะ กับพวกคุณป้าใหญ่ คุณป้าเล็ก คุณป้ากลาง ไปแล้วชอบการสวดมนต์แปล ฟังแล้วไพเราะดี แล้วมีความรู้สึกชอบสวนป่า สวนพฤษศาสตร์พุแค ก็เลยขอท่านบวชเป็นสามเณรเพราะเรียนจบ ป6 แล้วไม่ได้เรียนต่อ เนื่องด้วยพ่อแม่ แยกทางกันปัญหาชีวิตครอบครัว 2526 บวชมาแล้ว 3 ปี นะไม่ใช่บวชตอน 2526 ในเดือน มีนาคม ปีนั้นก่อน สงกรานต์ มีพระธุดงค์ แก่มากห่มจีวรสีคล้ำออกน้ำตาลแบกกลดเดินเท้าเปล่า มาเพื่อไปยังเส้นทางเพชรบูรณ์ ฉันเป็นสามเณร กำลังนั่งเล่นอยู่ และกวาดใบไม้หน้า กุฏิ ท่านเดินเข้ามา แล้วพูดว่า ลูกเณร ขอน้ำดื่มให้หลวงตาได้ไหม กระหายน้ำจัง อากาศร้อน ตอนนั้นก็ไม่ได้คิดอะไร เพราะว่าเจอพระแปลก ๆ บ่อย ที่สวนอิทัป สาขาสวนโมก ก็อย่างนี้ ตอนนั้นก็นิมนต์ท่านนั่ง รอหน้ากุฏิ แล้วไปหาน้ำดื่ม และเอากานั้ำท่านไปเติมน้ำ ท่านไม่ใช้ขวดใช้กาน้ำ เป็นปั้นดินอีกต่างหาก พอนำน้ำมาถวายท่าน รู้สึกถูกชะตากับท่านเหมือนกัน ดูแล้วเหมือนท่านใจดีมาก ผมหงอกสีขาวทั้งหัว ดูอายุประมาณ 80 ปีน่าจะได้ ตอนนั้นไม่ได้เรียกท่านว่า หลวงตาหรอก เรียกว่าท่านหลวงปู่ เพราะนึกถึง ก๋ง ( ปู่ ) ......."
วันทามิ ภันเต สัพพัง อะปาราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
วันทามิ ภันเต สัพพัง อะปาราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
วันทามิ ภันเต สัพพัง อะปาราธัง ขะมะถะ เม ภันเต

อยากอ่านตอนต่อไป หรือ ไม่ ติดตามนะ

นี่เป็นครั้งแรก ในชีวิต ที่ฉันได้เรียนก กรรมฐาน สายนี้ แต่ตอนนั้น ไม่ค่อยสนใจ เพราะความเป็นศิษย์ สายสวนโมก มันจะหลีกเลี่ยงการทำสมาธิ ตอนนั้น ฉันก็ฝึกตามครูที่สำนักสงฆ์ คือ อานาปานสติ ตามหนังสือปกดำ ชุดธรรมโฆษณ์ นั่นแหละ

ก่อนที่หลวงจรัล สุญญกาโม จะส่งฉันไป เรียน วิชาต่อจาก อาจารย์ ถวิล สุญญธาตุ อาจารญ์ วิรัช รวิวังโส ที่จังหวัดลำปาง

พอไปอยู่ลำปาง ก็อยู่ประจำที่ศาลาพระพุทธพิธยาจารย์ ใน วค.ลำปาง ใช้ชีวิตเดินทาง จังหวัด เชียงใหม่ ลำปาง พะเยาว์ แค่ 3 จังหวัดนี้ ไปกันบ่อย ก่อนที่จะร่วมเดินทางสาย ธรรมโฆษณ์สัญจร และลงไปอยู่ภาคใต้

พ.ศ. 2546 อายุ 35 ปีจึงได้พบท่านอีกครั้ง ก็มีเหตุการณ์อีก เดี๋ยวจะเล่าให้ฟัง เพื่อให้หลายท่านโปรดอย่าเข้าใจผิด ว่าฉันไปขึ้นกรรมฐาน เพราะว่า ใครมาแนะนำฉัน ๆ ไม่รู้จักวัดราชสิทธารามมาก่อน สมัยที่ฉันไป เว็บยังไม่มีเลย มือถือ สมัยนั้น 3310 กำลัง ฮฺิต


ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทีึกการเดินทาง และการภาวนา ของ ธัมมะวังโส


วิชาที่ท่านสอนในวันนั้น คือ วิชา ย่นฟ้าย่อพสุธา ใช้สำหรับเดินทางไกล ตอนนั้นก็เรียนไปอยางนั้นแหละ ไม่ค่อยเชือ่ กว่าจะทำได้ผ่านไปสามเดือน จึงทำได้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 19, 2016, 11:20:10 pm โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


"เข้าสมาธิครั้งแรกในชีวิต อายุ 14 ปี
ขณะเป็นสามเณร ตอนนั้นไปอยู่ที่วัดดาวเสด็จ พ.ศ.2523 โดยท่านโยมพ่อท่านนำไปฝากเรียนวิชา กับ พระอาจารย์รำลึก วัดดาวเสด็จ แต่ไปอยู่แล้วด้วยความเป็นเด็ก ก็เลยดื้อ ๆ อยู่บ้างแต่ พระอาจารย์รำลึก ท่านก็เมตตา สอนหลายอย่าง เคยพาฉันไปเที่ยว ชัยภูมิ กทม. ท่านชอบสอนการฉายหนัง 16 มม. ในสมัยนั้นคนนิยมกัน วีดีโอยังไม่มี มีอยู่วันหนึ่ง ฉันอาหารเพล แต่วันนั้นไม่ได้ปิดฝาไว้ในตอนเช้า แมลงวันตอมกันเยอะ ถึงเวลาฉัน ก็นำมาฉันโดยไม่ได้คิดว่า จะมีโทษ ไม่ค่อยฉลาดนะ ลูกศิษย์วัดเก็บอาหารไปซ่อนไว้ แกล้งเณร เหลือแกงมะรุม ที่แมลงวันตอมนั่นแหละ ปิ่นโตเดียว ก็ฉันกับข้าวตามปกติ ผ่านไปประมาณ บ่าย 2 เริ่มอาเจียร์ ท้องเสีย และหมดสติ สลบไปข้างตุ่มใหญ่ ตรงข้างพระอาจารย์รำลึก ท่านเดินมาเจอเณร นอนหมดสติ ก็เรียกโยมโชติ มัคนายกวัด ให้เอามอร์เตอร์ไซด์ พาไปส่งโรงพยาบาล หมอรับไว้นอนตึกสงฆ์ ( สมัยนั้นเรียกว่า ตึกจิตเวช เพราะตึกสงฆ์ไม่มี ) ตอนได้สติตื่นขึ้นมาก็นอนบนเตียง มีสายยาง ต่อยู่ที่แขน ตอนตื่นมานั้นมันมืด แสงไฟสลัว ๆ พอมองเห็นขวดน้ำเกลือ พยายามจะดึงออก มันปวดแขน นี่เป็นการให้น้ำเกลือ ขวดแรกในชีวิต......"

ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดินทาง ของ ธัมมะวังโส


การได้สมาธิ ครานั้นเป็น เรื่องบังเอิญ อย่างมาก ซึ่งส่วนตัวก็ไม่ทราบว่าเป็น สมาธิ หรอก

หลังจากที่ได้ตื่นขึ้นมา พร้อมสายน้ำเกลือที่โยงที่แขน ความที่ไม่เคยถูกใส่สายน้ำเกลือมาก่อน มันก็รำคาญ อยากจะถอดออก แต่ประมาณ 4 ทุ่มพยาบาล (ผู้ชาย น่าจะเป็นผช.พยาบาล ) เข้ามาตรวจสอยน้ำเกลือ เขาปรับ ๆ ไปมา คือ เร่ง ช้า เร็ว ดู แล้วถามว่าปวดหรือป่าว ก็ตอบว่าไม่ปวดเขาก็ปรับให้ช้าลงหน่อยหนึ่ง ฉันก็ถามว่า จะเอาออกเมื่อไหร่ เขาตอบว่า หมอสั่งให้ใส่ไว้ 3 ขวด ก็ถามว่า ขวด 1 ใช้เวลานานไม่ครับ ผช.พยาบาล ตอบว่าประมาณ 20 - 24 ชม. ต่อขวด แล้วเขาก็ปล่อย ตอนนั้นใจรู้สึกว่า อยากเอาออก แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ ก็เลยจ้องมองที่หยดน้ำเกลือ จ้องมองอยู่อย่างนั้น ( มีเหตุการณ์ เกิดขึ้น นะ แต่ไม่เล่าตรงนี้ ) การจ้องมองอยู่อย่างนั้น มารู้สึกตัวจริง ๆ อีกครั้งก็ตอน ไม่มีสายน้ำเกลือแล้ว รู้แต่ว่านอนจ้องขวดน้ำเกลือ ทั้งขวดเก่า ขวดใหม่ ทั้งสิ้น 4 ขวดเป็น เวลา 4 คืน 3 วัน เขาจึงให้ออกจาก รพ. กลับ วัดได้

( นี่ขอเล่าสั้น ๆ ไว้เท่านี้ )



มีเหตุการณื ในชีวิต มากมาย ทีเ่กิดขึ้น แต่ส่วนใหญ่ จะลืม แต่เถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสมาธิแล้ว จะไม่ลืมเลย และยังจำได้ดี ไม่ว่าจะผ่านมากี่ปี จนกระทั่งอายุปัจจุบัน เหตุการณ์ เหล่านั้นก็ยังนึกขึ้นได้ เสมอ ๆ ทั้งที่เหตุการณ์ พยายามจะนึก กลับนึกไม่่ออก ลืมไปซะนี่
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 19, 2016, 11:19:09 pm โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
"ตอนนี้ เป็นเวลาที่สุข ของชาวโลก กำลังสู่ความอิ่มตัว และอีกสักพักก็จะคลายเป็น ขาลง ดังนั้นท่านทั้งหลายที่ กำลังมีความสุข กัน ก็รักษาความสุข แะจดจำความสุข นั้น ๆ ไว้ เมื่อวันแห่งทุกข์ เข้ามาท่านทั้งหลาย ก็จะรู้คุณค่าของความสุข ที่หายไปอย่างแจ้งใจ หากยังดำรงชีวิตอยู่ ด้วยการเวียนว่ายตายเกิด การจะได้รับความสุข อย่างปัจจุบันนี้ ในอนาคตเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก ท่านทั้งหลายที่มีเวลา ก็ควรพิจารณาการไม่เกิด เสีย จะดีกว่า"

ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของธัมมะวังโส

บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ภาวนา ที่มีน้อย เมื่อ ถูกกระทบ ก็ย่อมกระเทือน มาก
« ตอบกลับ #56 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2016, 09:26:54 am »
0
"เมื่อผู้เริ่มฝึกภาวนา ใหม่ ๆ นั้น ส่ิงที่กระทบ เมื่อกระทบแล้ว ก็ย่อมมีการกระเทือนมาก เพราะว่า ใจที่ไม่เคยถูกฝึกฝนควบคุมมาก่อน มาเริ่มภาวนาใหม่ ก็จะเริ่มตีกรอบ แคบ ๆ เพื่อจำกัดวง ในการพิจารณา ดังนั้นพอมีอะไรกระทบกับใจ ก็รุ้สึก หดหู่ เศร้าสร้อย รับไม่ได้ ยากลำบาก เพราะความแปรปรวน แต่เมื่อฝึกบ่อยเข้า บ่อยเข้า ใจก็จะวางลง ดังนั้น ผู้ฝึกภาวนา ในเบื้องต้น จึงควรต้องอาศัย ธรรมบารมี ขันติ และ ความเพียร ไว้อย่างสม่ำเสมอ จึงจะทำให้ปริมาณของใจที่ฝึกดีแล้ว มันกว้างขึ้น ที่เรียกว่า ใจกว้าง ซึ่งเป็นคุณสมบัติ เบื้องต้นของผู้ฝึกภาวนา ขั้นกลาง เปรียบเสมิือน น้ำในมหาสมุทร ที่กระเพื่อมอยู่ แต่ก็สะอาดเพราะการกระเพื่อม ส่วนผู้ที่ฝึกฝนใหม่ ๆ นั้น เหมือนน้ำในหม้อ เมื่อถูกกระทบ ก็กระเพื่อมทันที นั่นเอง

    บัณฑิต ผู้หวังคุณธรรมเบื้องสูง จึงควรต้องฝึกฝน จิต ของตนเอง อย่างสม่ำเสมอ ..."



 ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของธัมมะวังโส

บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
กรรมฐาน ไม่ใช่ แต่ โบราณ แต่ มีมาตั้ง
« ตอบกลับ #57 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2016, 11:22:33 pm »
0


( พระวีระ สุขมีทรัพย์ ฐานวีโร

คัมภีร์สมุดไทดำต้นฉบับบันทึกพระกัมมัฏฐานโบราณ วัดป่าแก้ว อยุธยา อายุ ๔๐๐ ปี ของพระพนรัต(รอด) หรือหลวงปู่เฒ่า เจ้าอาวาส องค์ที่สี่ พระสังฆราชฝ่ายซ้าย ของวัดป่าแก้ว ตกทอดมาถึง สมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน วัดราชสิทธาราม
ข้อความจากเฟค พระครูสิทธิสังวร
)

กรรมฐาน ไม่ใช่ แต่ โบราณ แต่ มีมาตั้งแต่ สมัยพระพุทธเจ้า มีพระสชมม์อยู่
บางทีไปเน้นบอกกล่าว ว่า กรรมฐาน โบราณ แต่ ความเป็นจริง กรรมฐาน ไม่โบราณ ใช้คำว่า กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นั้นถูกต้องอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องไปเปลี่ยนตาม เพื่อให้เข้ากับยุค สมัย เหมือน หลาย ๆ คนที่พยายามชอบเปลี่ยนชื่อ หนังสือ พระไตรปิฏก นั่นแหละ จะให้เรียก คัมภีร์ นิพพาน บ้าง คัมภีร์ พุทธ บ้าง แล้วแต่จะจินตนาการ แต่ชื่อที่เหมาะสมก็คือ พระไตรปิฏก นั่นแหละ เหมาะสมอยู่แล้ว

   สมัยหนึ่ง ได้เข้ากราบ หลวงพ่อพระครูสิทธิสังวร ท่านบอกว่า ให้เรียก กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ใหม่ว่า กัมมัฏฐานโบราณ คนจะได้สนใจ ส่วนตัวรับฟังไว้ แต่ ก้อย่างที่แสดงไว้ด้านบนนั่นแหละ คือ เราไม่มีความจำเป็นต้องไปเรียกเพื่อให้เข้ากับยุคสมัย หรือ ตีฆ้องร้อง เรียกคนเข้ามาปฏิบัติ สายนี้เพราะความเป็นจริง คนที่จะเข้ามาปฏฺบัติ มันต้องมีวาสนา บารมีกันด้วย จึงจะยอมรับกันเป็น ครู เป็น ศิษย์ เรียนกรรมฐานกันด้วยความเคารพ

 อันความเป็นจริง ตัวพระกรรมฐาน ไม่ใช่โบราณ เพราะมีมาแต่ยุค สมัยพระพุทธเจ้า มีพระชมม์อยู่ ผู้ที่เป็นผู้สืบทอด องค์แรก ก็คือ พระอริยะราหุลพุทธชิโนรส การบันทึกมีมาแล้ว ตั้งแต่สมัยนั้น พระอริยะราหุลพุทธชิโนรส เป็น เอตทัคคะด้าน ผู้คงแก่การเรียน การบันทึกวิชา มีมาตั้งแต่สมัยนั้น มีตอนหนึ่งในพระไตรปิฏก อรรถกถา แต่ลืมหน้าไปแล้ว ต้องค้นใหม่ ขณะที่ ทรงอักษร ( บันทึก) ได้ร่วมกับ พระอริยะมหากัจจายนะ ในขณะ รวบร่วมอักษร เป็นตำรา ชื่อว่า มูลกัจจายนะ ซึ่งเป็นต้นแบบ ในการศึกษาบาลี ของ พระสงฆ์ หลายยุค ในสมัยนั้น มีกลุ่่มพระภิกษุ ต้องการรวบเป้น ภาษา สันสกฤต เพราะมีความไพเราะ สละสลวย เหมือนบทเพลง มีการขึ้นทูลขอพุทธานุญาต จากพระพุทธเจ้า แต่ พระพุทธเจ้าห้าม ใช้ภาษาสันสกฤต พร้อมบัญญัติ วินัยลงโทษปรับอาบัติ ไม่ให้พระภิกษุ เอื้อนเอ่ย เป็นเพลง พระสูตร พระคัมภีร์ จึงเว้นจากภาษาสันสกฤต น่าจะอยู่ในวินัย เล่มที่ 1 - 7 ต้องอ่านใหม่ มันนานแล้ว อ่านแล้วก็ไม่ได้จำไว้ เป็นพิเศษ ก็อย่างนี้
   
นวัน มาฆบูชา เป็นวันประชุม สันนิบาต คือ พระอรหันต์ เอหิภิกขุอปสัมปทา มาประชุมกัน มิได้นัดหมาย 1250 รูป และพระพุทธเจ้า ทรงประทาน โอวาทปาฏิโมกบ์ แก่พระอรหันต์ เพื่อเป็นแนวทางในการเผยแผ่ พระธรรม อย่างย่อ 3 อย่างขยาย 6 วันนั้นเป็นคืนเดือนเพ็ญ

 และมีเหตุการณ์เพิ่มขึ้นอีกสองเหตุการณ์ คือ การแต่งตั้ง พระอัครสาวก ซ้าย ขวา คือ ประกาศให้ พระอรหันต์ ทั้ง 1250 รูปนั้น เลือกพระสงฆ์ 2 รูป เป้นอัครสาวก ซ้าย ขวา พระอริยะโมคคัลานะ และ พระอริยะสารีบุตร

อีกเหตุการณ์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ คัมภีร์ มูลกัจจายนะ เรื่องรับสั่งให้มีการบันทึก พระสูตร พระวินัย ให้กับ พระธรรมกถึก และ พระวินัยธร มีการประกาศ ให้พระปุถุชน ที่สงฆ์เลือกให้ทำหน้าที่ เป็น พระธรรมธร และ พระวินัยธร

เรื่องของสองพระนี้ เป็นเรื่องที่ชวนปวดหัว สมัยหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าต้องเสด็จไปอยู่ป่า พระองค์เดียว อาศัย ลิง และ ช้า อยู่ ในขณะนั้น

สำหรับช้างได้รับ พยากรณ์ ว่าจะเป็นพระพุทธเจ้า องค์ต่อไปอีกประมาณ 7 องค์ เรื่องนี้เกิดที่ ป่าลิไลย ( ป่าเลย์ไลย์ ) ส่วนลิง ก็น่าจะไม่ธรรมดา

พระธรรมธร ให้เรียน พระสูตร และวิธีการปฏิบัติกรรมฐาน คือ มูลกัจจายนะ
พระวินัยธร ให้เรียน และ จดจำข้อบัญญัติวินัยของ พระภิกษุ และการวินัจฉัยโทษ ปรับอาบัติ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 19, 2016, 11:59:32 pm โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
สายสัมพันธ์ ที่ร่วมปิดทองหลังพระ ขออนุโมทนา ทุกท่าน
« ตอบกลับ #58 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2016, 12:17:04 am »
0


"สายสัมพันธ์ ที่ไม่ใช่สายเลือด แต่มีความอบอุ่น ถึงขั้นเสียสละให้ไดทั้งชีวิตเช่นเดียวกับ บุพพการี คือ พ่อและแม่ สายสัมพันธ์ ที่ไม่ใช่สายเลือดนี้ คือสายสัมพันธ์ ของครูกรรมฐาน กับศิษย์ ที่เรียนกรรมฐาน ซึ่งสายสัมพันธ์แตกต่างกัน สายสัมพันธ์ ระหว่าง อุปัชฌาย์ และ ผู้บวช ที่เรียกว่า อันเตวาสิก และ สัทธิวิหาริก แต่สายสัมพันธ์ ทางด้านการภาวนานั้น มันมีคุณค่าในตนเอง ในความเป็น พระที่เป็นเนื้อนาบุญ บรรดาศิษย์ถึงแม้ไม่แก่กล้าในวิชา กรรมฐาน แต่ก็ย่อมเห็น อัธยาศัย ของครูที่เป็นเนื้อนาบุญ ศรัทธา และ ความเลื่อมใส ในพระสงฆ์ ที่เป็นครูย่อมถึงพร้อมซึ่งการเสียสละ เพื่อรักษาอัตภาพ ของครู และสนับสนุนการเผยแผ่ธรรม อันงาน ทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด นี่คือที่มาของความเสียสละ ภายใต้ คำว่า ปิดทองหลังพระ ....."

ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดินทางของ ธัมมะวังโส
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0



การโปรดญาต พ่อแม่พี่น้อง เป็นเรื่องที่ควรทำสุดท้าย ก่อนละสังขาร

"พ่อแม่พี่น้อง ญาติ หลายท่านเคยถามอาจารย์ ท่านทำไม ไม่ไปโปรดพวกเขาบ้าง หรือไปเยี่ยมเยียนมอบธรรมะให้กับเขากันบ้าง ส่วนตัวก็ยินดีนะถ้า พ่อแม่พี่น้อง ญาติ สนใจธรรมะปฏิบัติ แต่ความเป็นจริง ทำได้ยาก สำหรับ พ่อแม่พี่น้อง ญาติ นั้นมีความเสี่ยงที่จะทำให้พวกเขาลงนรกมากกว่า จะได้รับธรรมะ เพราะเจอหน้า เจอตา แต่ละคน เขาก็เหยียดหยามเรา ด้วยความรู้สึกแบบญาติ ว่าไม่เอาไหน บวชเลี้ยงชีวิต ไม่สู้งาน ไม่สู้ชีวิต ประมาณนั้น เสียมากกว่า ที่จะมีใครมารับ ธรรมะ เจอหน้าแต่ละคน ก็ถามว่าเมื่อไหร่ จะสึก และแสดงความเห็น ว่าควรจะสึกออกมาเลี้ยงชีวิต มันจะภาคภูมิ กว่าอยู่เป็นพระ นี่กล่าวยังเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้นการโปรด พ่อแม่พี่น้อง ญาติ เหล่านี้ สำหรับฉันตอนนี้ไม่มีความคิดเลย เพราะ พ่อแม่พี่น้อง ญาติ ท่านทั้งหลายเหล่านี้ไม่ได้ดูความเป็นจริง ทุกวันนี้พระ ภาวนาก้าวหน้าไปถึงขั้นไหนแล้ว ควรจะที่จะสึกหาลาเพศ มาอยู่ครองเรือนให้พวกเขาเล่นหัว เหยียดหยาม กันอย่างเมามัน ซึ่งบาปมากกว่า นรกจึงมีมากกว่า .... ทุกวันนี้ ญาตฉันไม่เคยให้มาช่วยเหลือ แม้แต่ฉันให้บิณฑบาต เขายังเลือกที่จะไม่ใส่บาตรฉัน เวลา ขับรถผ่านทางเห็นฉันเดินอยู่เขาก็ไม่จอดรับ แม้จะไปทางเดียวกัน ดังนั้นควรหรือที่เราจะไปโปรดเขา บางคนถ่มน้ำลาย ถุย ใส่ บอกว่า อาศัยผ้าเหลืองแดก ก็มี นี่ละคือ ญาต ที่ท่านทั้งหลายสงสัยกันว่า ทำไมฉันไม่ขอให้ญาตมาช่วย ทุกวันนี้ ฉันมี ญาต เพียงคนเดียวคือ แม่ ที่ฉันยังยอมรับบาตร อยู่ ถึงแม้ท่านจะบ่น เรื่องให้ลาสิกขาอยู่บ้าง แต่การอนุเคราะห์ท่านเห็นว่าเป็นชาติสุดท้ายแล้ว ที่เราจะได้มาเป็นแม่ลูกกัน ดังนั้นจึงเปิดโอกาสการสนทนาธรรมที่ยังพอเป็นไปได้ให้กับท่าน ทุกคร้งที่เจอกัน ฉันยังเป็นฝ่ายฟังท่านสอน ฉันก็ยินดีอยู่เพราะทำให้ท่านสบายใจ ที่ได้สอนพระ อย่างน้อยจิตใจมีการวิจารณ์ธรรม ไปด้วย แต่ก็มีข้อเสีย คือท่านไม่เคยสนใจการภาวนาของเราที่ก้าวหน้า ไปเกินกว่าจะอยู่กับชาว ฆราวาสได้แล้ว จึงมองปัญหามุมเดียว ว่าควรใช้ชีวิตอย่างฆราวาส หรือถ้าใช้ชีวิตอย่างพระก็ควรอย่างพระที่เขาอยู่กันในวัดเสกสวดมีรายได้ จะได้ไม่ต้องมาทำให้ญาต ตระกูลเดือดร้อนตนเอง เดือดร้อน อันที่จริงก็แปลกใจอยู่เหมือนกัน สิบกว่าปีมานี้ก็อยู่ด้วยทรัพย์ของเราที่มีอยู่ก่อนไม่ได้ใช้ทรัพย์ของญาติท่านนั้นมาจุนเจือชีวิตให้อยู่รอด และได้ลูกศิษย์ช่วยกันพยุงอัตภาพ จึงพออยู่ได้ ทำงานได้ .... "



ข้อความบางส่วน จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของธัมมะวังโส
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
น้ำผึ้ง ช่วยชีวิต
« ตอบกลับ #60 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 23, 2016, 08:45:05 am »
0
บันทึกใหม่ล่าสุด 22 ก.พ.2559
"เช้านี้ลุกขึ้นมาได้ วิงเวียนศรีษะ เล็กน้อยความเป็นผู้ภาวนา อยากจะนอนมันก็ไม่นอน นอนแล้วก็ลุกขึ้นมานั่ง ร่างกายมันขึ้นมานั่งเอง พอรู้ตัวเรา นั่งอยู่อีกหรือนี่ 32 ชม. ทรมานเพราะพิษ ฉันอะไรก็อาเจียร ชมนมฉันก็อาเจียร น้าต้มค่อย ๆ จิบ นับว่าชีวิตยังดี ลูกศิษย์ท่านหนึ่งนำน้ำผึ้งมาให้ ควานหาได้ เหลือเพียงขวดเล็กนี้เท่านั้น น้ำมาดื่มสด และดื่มน้ำตาม เพื่อเจตนาให้ลงไปเคลือบกระเพาะ ที่มีอาการว่างแสบท้อง ได้ผลชะงัดทันทีหลังจากฉันลงไป 3 - 4 ช้อนชา อีกประมาณชั่วโมงกว่า ๆ รู้สึกหายอ่อนเพลีย และสดชื่นขึ้น อาการเวียนศรีษะ ก็น้อยลงไม่ได้ฉันยาอะไร แต่อาการปวดท้องยังมีอยู่บ้าง เพราะว่าเมื่อวานไม่คิดว่าจะมีน้ำผึ้งเหลืออยู่ จึงไม่ได้ค้นหามาช่วยตัวเอง ปล่อยให้อาการอาเจียร เป็นพิษลามเป็น ปวดท้องด้วย เลยดูอาการจะแย่ เช้านี้มาหลังจากได้พัก กึ่ง พักกับ นั่งบ้าง นอนบ้าง ส่วนใหญ่จะนั่งหลับ วันนี้จึงเข้าใจแล้วว่า น้ำผึ้งทำไมจัดเป็นเภสัช ไม่ใช่ ปานะ เพราะว่าผึ้ง มีคุณค่ายารักษา และ บำรุง ด้วยนั่นเอง ใครที่ไม่รู้จะถวายเภสัชพระสงฆ์อย่างไร ซื้อน้ำผึ้งไม่ต้องขวดใหญ่ แค่ขวดเล็กอย่างนี้ ก็ใช้ได้แล้ว ขอให้เป็นของแท้เท่านั้น จะได้มีสรรพคุณท่างยา ด้วย สำหรับครั้งนี้ผู้ที่ได้ถวายเภสัช ขวดนี้ ไว้ได้รับบุญเต็ม ๆ เพราะว่ามันได้ช่วยชีวิตอาจารย์ ให้อัตภาพดีขึ้นเป็นอย่างมาก
ขออนุโมทนา ถ้าจำไม่ผิด ขวดนี้คุณ ณัฐพลสรรค์ เป็นผู้ถวายไว้ใน วันที่ 20 ม.ค. 2559
เจริญพร ขอบคุณ"
ข้อความเต็ม จากบันทึก ล่าสุด


บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
เอาคำว่า จะ ออก บ้าง เพราะอะไร มันก็ไม่แน่
« ตอบกลับ #61 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 23, 2016, 08:47:53 am »
0
"อะไรที่ว่าแน่ มันก็ไม่แน่ ถ้าเราคิดว่าจะทำ ก็เอา คำว่า "จะ" ออก แล้วทำในขณะที่มียังพอมีโอกาส เนื่องด้วยเพราะว่าโอกาสย่อมมีไม่มาก อันบรรดาโอกาส บัณฑิตกล่าวว่า ย่อมไม่มีสำหรับผู้ตั้งอยู่ในความประมาท เพราะฉะนั้นเมื่อระลึกได้อย่างนี้ ชนทั้งหลายผู้ตั้งอยู่ในความประมาท ในการภาวนา ก็จงขวนขวายในการภาวนา ถ้าหากนึกถึงการภาวนาอะไรไม่ออก ก็ให้นึกถึง พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขึ้นในใจ ทำให้ได้ ในขณะ 1 ครั้ง 2 ครั้ง 3 ครั้ง 10 ครั้ง 100 คร้้ง หมื่นครั้ง แสนครั้ง ทำและนึกถึงก่อนที่จะสายเกินไป แล้ววันนั้นเมื่อความเจ็บ ความชรา ความตายเข้ามาถึง เราจะไม่เสียดายเวลาที่มีอยู่นั้นเลย ...."

ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดินทางของ ธัมมะวังโส

บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
สัมผัสชาเวทนา ถ้าวาง มัชฌิมา ไว้ที่นี่ ก็จะ......
« ตอบกลับ #62 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 23, 2016, 10:23:05 pm »
0


"วันนี้นั่งฟัง ครูอาจารย์ แต่ละรูปที่ว่าสุดยอดในด้านการภาวนา ฟังตั้งแต่ 03.00 - 08.00 , 09.00 - 15.00 , 16.00 - 21.00 หลังจาก 19 ชม.นี้ก็พักผ่อนด้วยสมาธิ ทำเนสัชชิกธุดงค์ คำว่า "มานะ" มันต้องสยบ ออกไปให้ได้ ปีนี้ตั้งใจมากเลย สำหรับภารกิจนี้ แรก ๆ ที่ฟัง จิตมันจะบอกว่า ท่านสอนผิด ท่านสอนถูก ท่านสอนดี ท่านสอนไม่ดี ท่านสอนเยี่ยม ท่านสอนไม่เยี่ยม ท่านแย่กว่าเรา ท่านเหนือกว่าเรา ท่านเสมอเรา มันวนเวียนอยู่อย่างนี้ จนช่วงที่ใกล้จะออกพรรษา หลังจากได้เข้าสายธารแห่งความว่าง เรื่องเหล่านี้มันเริ่มหายไปทีละหน่อย ท่านที่สอนผิด เราก็ไม่คิดเราดีกว่า ท่านที่สอนดี เราก็ไม่คิดว่าเสมอ ท่านที่สอนพอใช้ได้ เราก็ไม่คิดว่า เลิศ เพราะ ใจมองเห็นสิ่งที่ท่านพูดออกมานั้น เป็นสภาวะธรรม ที่เป็นกุศล และ อกุศลเท่านั้น ถึงแม้ท่านเหล่านั้น บางรูป บางองค์ แสดงธรรมเพราะลาภสักการะ ก็เป็นเพียงสภาวะของอกุศล บางรูปแสดงธรรมเพื่อธรรม ก็เป็นสภาวะของ กุศล สุดท้ายจิตมันมองเห็นแต่เพียงสภาวะธรรม ของผู้พูดไม่ได้มีบุคคลผู้พูด และไม่ได้มีบุคคลผู้ฟัง มีเพียงสภาวะธรรม สองอย่างที่เกิดสลับกันไปมา คือ กุศล และ อกุศล ก่อนออกพรรษา 1 เดือน ฉันจึงเปิดฟังแต่เสียงอ่านพระไตรปิฏกเล่มที่ 31 ฟังตั้งแต่เช้ายันหลับ ฉันก็ฟัง เข้าห้องน้ำก็ฟัง เดินก็ฟัง นั่งก็ฟัง ยืนก็ฟัง แปลกมาก เมื่อก่อนอ่านเล่มปฏิสัมภิทามรรค ไม่ค่อยจะเข้าใจ แต่หลังจากเราฟังเป็น สภาวะของกุศล และ อกุศล พอฟังรอบนี้กลายเป็นการฟังแบบกลาง ๆ คือ น้อมใจฟัง โดยไม่มีผู้ฟัง ปกติฟังเราใช้หูฟัง แล้วใช้ตัวตนของเรา ที่ว่า ต่ำกว่า เสมออยู่ หรือ เลิศกว่า เป็นตัวฟัง แต่รอบนี้มี แต่หูฟัง กับใจที่เป็นกลาง ที่ฟังแต่สภาวะ ในขณะที่ฟัง ก็มีเสียงสูง เสียงต่ำ ความแปรปรวน เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และ ดับไป ในขณะนั้น....... "



ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และการภาวนา ของธัมมะวังโส
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


"เป้าหมายของการฝึกพระกรรมฐาน คือ อะไร ? ทุกท่านควรตระหนักไว้ด้วย
บางครั้งก็ไม่ต้องเรียนมาก เหมือนพระจูฬปันถก ไม่ได้เรียนกรรมฐานอะไรมากมาย แค่ ภาวนาว่า รโช หรณํ แล้ว เอามือลูบผ้าขาวไปเรื่อย ๆ ก็สามารถบรรลุธรรมได้ สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ฝ่ายอภิญญา จากพระโง่ ๆ ที่ความจำไม่ดี ถูกพี่ชายไล่สึก เรียนกรรมฐานกับพระพุทธเจ้า ผู้เป็นจอมมุนี เพียง 3 ชม. ได้รับการแต่งตั้ง ด้าน มโนมยิทธิ ดังนั้นเป้าหมายของการเรียนกรรมฐาน การภาวนากรรมฐาน ไม่ได้อยู่ว่า เรียนไปอวดใคร หรือเรียนไปเพื่อพูด เพื่อเบ่ง เพื่อข่มคนอื่น แต่การเรียนกรรมฐาน เรียนไปเพื่อสร้างแนวทาง สำหรับการขจัดกิเลส ถ้าหากเรียนกรรมฐาน ภาวนากรรมฐาน ไม่ว่ากรรมฐานอะไรก็ตาม จะแนวไหน สาขาไหน สำนักไหนก็ตาม หากเรียน แล้ว ภาวนาตาม ไม่ขจัดกิเลส ไม่ลดละ ราคะ โทสะ และ โมหะ ลงได้ กรรมฐานนั้นก็ไม่มีประโยชน์ สำหรับท่านที่เรียนไป ดังนั้นถ้าเข้าใจเป้าหมายในพระกรรมฐาน แล้ว มันก็จะถึงที่สุดแห่งการละจากสังสารวัฏ ได้ นั่นเอง....."



ข้อความบางส่วน จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทางของ ธัมมะวังโส
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 29, 2016, 10:04:18 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
บางอ้อ แล้ว ครับ ว่าทำไม ไม่ได้เรียน กายอากาศ
« ตอบกลับ #64 เมื่อ: มีนาคม 04, 2016, 07:20:09 pm »
0


 "พระอาจารย์ ท่านกล่าวว่า แกไม่ต้องเรียน กายอากาสแล้ว
  เพราะอะไร หรือ ครับ
  สมัยข้า นั้น ไม่มีเทคโนโลยี สิ่งที่ทำได้ในขณะนั้น ก็ต้องใช้ กายอากาส ส่วนปัจจุบัน มีการบันทึกภาพ แสง เสียง ข้อความ ได้แล้ว จึงไม่มีความจำเป็น้อง ฝึก กายอากาศอีก
  !!!!!!!!???
   
"
ข้อความบางส่วนจาก บันทึกประจำวัน ของธัมมะวังโส

 
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


ภัตร อันเลิศ เกิดจากศรัทธา อันเลิศ
มีเพื่อยังอัตภาพ ให้เป็นไป เพื่อการปฏิบัติ
ข้าวก้องบ้านนา ข้าวสารเมืองเพรียว ถั่วอบจากกระนวณปากช่อง พริกจากตลาดนัด แตงกวาดองจากแก่งขนุน ปลาหยองจากพัทยา กลมกล่อม แล้ว

สำหรับฉันซึ่งศิษย์ต่างก็เรียกว่า พระอาจารย์
  อาหารแค่นี้ ฉันแค่นี้
  วิเวก อย่างนี้ มา 10 กว่าปีแล้ว เป็นอาหารนับว่าเลิศแล้ว กับอัตภาพ ของฉัน

สำหรับท่านที่ตั้งอยูในความประมาท มีชีวิตอยู่ด้วยภัตรอันเลิศ แต่ไม่พากเพียรปฏิบัติ เพียงอาศัยกินภัตร อันเลิศขาดการภาวนา ระวังจะเป็น วัว เป็น ควาย ใช้หนี้เขานะ กรรมวาจาจารย์ฉัน ท่านสอนฉันไว้ว่า ถ้าท่านกินของชาวบ้านแล้วขาดการภาวนา ขาดศีล ไม่ประพฤติธรรม รักษาศีล มันเหมือนกินก้อนถ่านไฟแดง ขณะกินก็เป็นโทษ หลังบริโภคก็เป็นโทษ มีแต่ความเสื่อม เกิดชาติต่อไป เป็นวัวเป็นควายให้เขาเชือดนะ ( เขาไม่ได้เอาไปทำนาอย่างเมื่อก่อน ) บางทีมองเห็นวัวควายที่วิ่งหนีการถูกเชือด แล้วร้องไห้ อย่างเห็นชัดเลย

ธมฺมวํโส





 "อย่าคิดว่า วันนี้ เสพสุข เพราะบุญเก่า แล้วสร้างกรรมบาปไว้ ไม่ส่งผลนะ ไม่มีอะไรเหนือกรรมหรอก เพียงแต่จะมาช้า หรือ เร็ว เท่านั้น องค์พระภควา ตรัสไว้ บุคคลหว่านพืชเช่นไร ก็ย่อมได้ผลเช่นนั้น สำหรับฉันเอง ที่ลำบาก หรือ สบาย ก็เพราะว่ากรรมที่ทำไว้เช่นกัน ดังนั้น ถ้าจะเหนือกรรมได้ ต้องออกจากสังสารวัฏ เท่านั้น การออกจากสังสารวัฏ ไม่มีหนทางอื่นเลย นอกจาก มัชฌิมา ทางสายกลางเท่านั้น "


 :s_good:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 06, 2016, 09:16:20 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


วิธีปรุงอาหารชุดนี้
 ( อาบัติอยู่นะ เพราะทำอาหารเอง )

1.ข่าวสาร 2 กำมือ
2.ข้าวก้อง 2 กำมือ
ใส่ในปิ่นโต ใส่น้ำ 1 แก้ว
หุงให้แห้งแบบข้าวสวย
3.ต้มน้ำร้อน ชงน้ำชา 1 กระติก
4. เทน้ำร้อนใส่ ข้าวทีหุงมา แกว่งน้ำให้แทรกในข้าวให้ทั่ว
5. หยิบพริกใส่ 1 เม็ด
6. ตักถั่วอบใส่ 2 ช้อนโต๊ะ
7. ปลาหยอง 1 หยิบมือ
8. แตงกวาดอง 1 ช้อนโต๊ะ
แกว่งคนให้เข้ากัน

พิจารณา ปัจจเวกขณ์ ฉัน เพื่อให้อัตภาพ อยู่ได้ ฉันเสร็จ น้ำชาอันเลิศ 1 แก้ว

เท่านี้แหละชีวิตฉัน

ถ้าวันไหน เครื่องปรุงเหลือเพียงข้าว ก็จะนั่งกรรมฐาน ให้นานขึ้น

เวลานั่งกรรมฐาน หลายวัน
ฉันน้ำผึ้ง หรือ น้ำหวาน สองแก้ว แล้วนั่งกรรมฐาน เมื่อออกจากกรรมฐาน ให้ฉันน้ำดื่มที่สะอาด 1 ขวดเล็ก ผ่านไป 4 ชม. ให้ฉันน้ำผึ้ง หรือ น้ำหวาน 2 แก้ว ผ่านไป 2 ชม. จึงฉันนมได้ ถ้าทำอย่างนี้ท้องจะไม่เสีย เคยทำผิดกฏ ออกจากกรรมฐานมาฉันนมทันที ก็ได้นอนกรรมฐานต่อเลย เดินเข้าห้องน้ำจนต้องนอน เพราะเวลาท้องเสีย ตอนท้องว่าง แม้แต่น้ำก็ฉันไม่ได้ มันพาลให้เป็นโรคกระเพาะ ด้วย นะ

ฝากไว้สำหรับ ผู้ภาวนา ที่วิเวก เช่นกัน
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
การประคองจิต ในสมัยที่ ควรประคอง ก็คือตอนนี้
« ตอบกลับ #67 เมื่อ: มีนาคม 07, 2016, 08:59:50 am »
0


 "พูดสอนลูกศิษย์ประจำ วิธีแก้อารมณ์ ออกจากภวังค์ หรือ การไปปล่อยนิ่งในอารมณ์ ระหว่างดำเนินจิต สมาธิ สอนไว้เสมอ ๆ แต่เวลาภาวนาจริง ๆ ทุกคนก็มักจะลืม
  วิธีการถอนอารมณ์ ที่ผิดทางคือ ดึงสติ รู้ตัวก่อนว่า เพื่อให้จิตยอมรับผิด ถ้าจิตยอมรับผิดแล้ว นั่นแหละเรียกว่า รู้ตัว แต่ถ้าไม่ยอมรับ จะเรียกว่า รู้ตัวไม่ได้ อะไรก็ตามถ้าทำผิดออกไปโดยไม่รู้ตัว ความผิดก็จะผิดซ้ำผิดไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะรู้ตัว และยอมรับว่าผิด ดังนั้นเมื่อรู้ตัวแล้ว ก็ให้ถอนความผิดนั้นออกด้วยการระบายลมหายใจ แบบถอนหายใจ สี่ - ห้าครั้ง ตื่่นแล้ว เริ่มใหม่ ส่งลมหายใจชุดใหม่ที่อธิษฐานใหม่เข้าไปแทน พร้อม กำหนด พุทโธ พุทโธ พุทโธ เร็ว ๆ สักสองสามรอบ เมื่อจิตนิ่งดีแล้ว ก็ดำเนินจิตไปตามลำดับกรรมฐาน ต่อไป  "


ข้อความบางส่วน จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทางของ ธัมมะวังโส

 ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0

"ฉันไม่ได้ยินดีที่ท่าน ปฏิบัติตามมา หรือ เสียใจที่ท่านไม่ได้ตามมา เพราะการตามมาของท่าน และไม่ตามมาของท่าน ไม่ได้ทำให้วิมุตติ และปณิธาน ของฉันหายไป การที่ท่านเลือกไม่ปฏิบัติตาม ก็ถือว่าท่านไม่มีวาสนาร่วมกัน การที่ท่านน้อมนำไปปฏิบัติตาม ก็ถือว่ามีวาสนาร่วมกัน ท่านจะชอบใจก็เป็นบุญของท่าน ท่านจะไม่ชอบใจก็เป็นวาสนาของท่าน ท่านจะเฉยมันก็เป็นอัพยากตาของท่าน ดังนั้นการเป็นอยู่ มีอยู่ของฉัน ไม่มีความหมายอะไรในโลกนี้ทั้งนั้น จะมีฉันหรือไม่มีฉัน โลกนี้เขาก็อยู่กันได้ ที่ทำอยู่ก็เพียงเพื่อบูชาพระรัตนตรัย ครู และคนมีวาสนาร่วมกันในชาตินี้เท่านั้น สักวันหนึ่งฉันก็ต้องจากท่านไป ตามอายุขัย สิ่งทีเหลือไว้ก็เพียงข้อความธรรมให้แก่ผู้ที่ยังข้องขัดเท่านั้น ......."
ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทางของธัมมะวังโส
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 08, 2016, 12:10:54 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


"ฉันเดินทางไปหลายร้อย กิโลเมตร ไปที่จังหวัดเเชียงราย หลังจากได้นั่งกรรมฐานที่ พะเยา" ผ่านไป 1 อาทิตย์จึงเดินทางไปต่อที่ เชียงราย ด้วยการอนุเคราะห์จากผู้มีศรัทธาท่านหนึ่ง ฉันได้เข้าพักที่วัดศรีบุญเรือง ในเช้าวันต่อมา ก็มีความคิดว่า จะลองเดินจากปากทางแยกแม่สาย ขึ้นไปนมัสการพระธาตุดอยตุง คิดดังนั้นก็จึงเริ่มเดิน มีรถจอดรับหลายคันอยู่ แต่ฉันก็ปฏิเสธในการอาศัยรถเหล่านั้น เริ่มเดิน 08.20 น. เดินขึ้นไปฉันเพลที่ ตำหนักดอยตุง ซื้อนะ ไม่มีใครถวาย ให้นายตำรวจแถวนั้นท่านหนึ่ง เอาปัจจัยไปจัดข้าวมันไก่มาจานหนึ่ง ( ไม่ได้สั่ง แต่เขาจัดมาให้หมด ปัจจัย 100 บาท ตามสั่ง )ก็อนุโมทนา ที่ยังได้บริการถ้าจะให้ฉันไปเดินถือถาดซื้อเอง เกรงว่าจะน่าเกลียด ตั้งแต่วันนั้นมาไปไหนมาไหน ก็จะบอกลูกศิษย์ว่า ข้าวมันไก่จาน น้้าขวด เป็นที่มาของการฉันข้าวมันไก่ คือทำเร็ว ยกเร็ว เสริฟเร็ว ง่ายดี และลุกจากได้ไว ฉันเสร็จก็เดินต่อมุ่งตรงสู่ พระธาตุดอยตุง ที่จริงวันที่ไป มันก็คือวันนีี้นั่นแหละ วันที่ 8 มี.ค. ปี พ.ศ.2551 ถามว่าเหนื่อยไหม เหนื่อยสิ ทำไมจะไม่เหนื่อย เพราะหลังจากแยก สถานีตำรวจตำหนักแล้ว มันเป็นทางขึ้นตลอด เดินไปหอบไป ขณะนั้นมันก็วังเวง นานมากถึงจะมีรถผ่านมาสักใคร วันนั้นที่จริงอากาศร้อนมาก แต่พอเข้าเขต จาก ป้อมตำหนักแล้ว ฉันก็อธิษฐานว่า ขอเทวดาช่วยบังแดดให้หน่อย ให้มันเหนื่อยกายอย่างเดียวอย่าได้เพลียแดด เหมือนคำอธิษฐานจะได้จริง ปรากฏมีเมฆหมอกลอยปกคลุมในพื้นที่นั้น ในเวลาประมาณ 20 นาทีหลังจากอธิษฐาน เป็นที่น่าอัศจรรย์อย่างมาก ฉันจึงตั้งใจเดินด้วยปีติ ขณะเดินไป มันอดไม่ได้ที่จะหลั่งน้ำตาที่ตื้นตันใจ อย่างน้อยธรรมชาต เทวดา เขาก็ยังเห็น ยังอำนวยช่วยอยู่บ้าง ฉันเดินถึง พระธาตุดอยตุงเวลา 16.15 น. ขณะที่กราบลงพระธาตุ ขณะนั้น ปีติมันขึ้นสูงมาก ก้มกราบไปน้ำตาไหลอย่างต่อเนื่อง จากนั้นได้ทำประทักษิณรอบพระธาตุ 3 รอบ และนั่งกรรมฐานหน้าพระธาตุอีก 1 ชม. ฝนก็ตกลงมาอย่างต่อเนื่องแต่เรื่องแปลกก็เกิดตรงนั้นอีกว่า ฝนตกทั่วไปหมด แต่ตรงที่ฉันนั่งกรรมฐาน และองค์พระธาตุไม่มีเปียกฝน ฉันเองก็ไม่เปียกฝน เป็นที่น่าอัศจรรย์ สำหรับพระธาตุดอยตุงนี้ ไม่มีความกังขาในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ ตั้งแต่ได้เดินทางไปไหว้กราบพระธาตุหลายที่ มีเพียงสองแห่ง ที่แสดงปาฏิหาริย์ให้ปรากฏแก่ฉัน นั่นก็คือ 1 พระธาตุดอยตุง 2 พระธาตุพนม มีเพียงสองแห่งที่ฉันได้ประสบปาฏิหาริย์ ในการไปไหว้ไปกราบ โดยตรง................"

ข้อความบางส่วน จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทางของธัมมะวังโส


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 08, 2016, 12:11:20 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


ขอบคุณภาพประกอบจาก https://scontent.fbkk5-2.fna.fbcdn.net/

"สำหรับฉันการเป็นพระ ก็เพื่อไปสู่่วิมุตติ กรรมฐานที่เรียน และนำมาภาวนาก็เพื่อวิมุตติ ดังนั้นถ้ากระทำการใดก็ต้องเป็นการส่งเสริม วิมุตติ มีคนเจอฉันคราเดินทาง มากมายนั่งอยู่กันก็มาก แต่เขาเหล่านั้นไม่เคยสดับคำว่ากรรมฐานจากฉัน เพราะฉันได้แต่นั่งนิ่ง จนลูกศิษย์ที่ติดตามบางท่านสงสัยและมาถามว่า
    ทำไมอาจารย์ไม่บอกเขาเหล่านั้นว่า อาจารย์เป็นผู้สอนกรรมฐาน
    ฉันถามย้อนกลับไปว่า บอกเขาทำไม
    ลูกศิษย์ บอกเขาเพื่อจะได้รับฟังกรรมฐานและเรียนไปปฏิบัติบ้าง
   ฉันก็ตอบว่า จะสอนเขานั้นด้วยการสนองตัณหา ทำไม่ได้นะ ถ้าเขามีวาสนา อาศัยการสังเกต วัตรปฏิบัติของเรา เขาจะสนในใจเอง นั่นแหละถึงจะสอน แต่ถ้าเขาไม่เป็นคนที่สังเกต ไม่พิจารณาลักษณของสมณะ หยาบ การสอนกรรมฐานกับคนหยาบ ก็จะทำได้ยาก แม้ปัจจุบันที่มีอยู่ก็ยังไม่ใช่จะทำได้ หรือ ภาวนาได้กัน ดังนั้นอย่ามัวเสียเวลาทำตัวเป็นผู้สอน ที่อาจารย์ทำอยู่ทุกวันนี้ไม่ใช่ผู้สอน เป็นเพียงผู้สนับสนุน และก็สนับสนุนแบบปิดทองหลังพระมาตลอด ถึงแม้ส่วนที่เราสนับสนุน เขาจะไม่ช่วยเหลือ หรือ ดูถูกรังเกียจบ้าง เราไม่ได้ทุกข์ใจตรงนั้น ถ้าจะทุกข์ก็จะมีเรื่องเดียว ว่า เรายังต้องแหวกว่ายในโอฆะ อีก นั่นแหละจึงจะทุกข์
   ดังนั้นกรรมฐาน ไม่ได้มีไว้เพื่อ ลาภ สักการะ ยศ หรือ สุข แบบชาวโลก แต่มีไว้เพื่อเป็นแนวทางในการเดินสู่สายกลาง ไปสู่ วิมุตติ ......"


ข้อความบางส่วน จาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของ ธัมมะวังโส

เช้านี้เห็นภาพนี้แล้วถูกใจ นะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 09, 2016, 08:33:49 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

patra

  • RDNpromote
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรมรรค
  • *
  • ผลบุญ: +100/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 971
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


"มีคำกล่าว ของบัณฑิต เวลาที่เราจะเห็นคนรักเรา ก็ตอนที่เราทุกข์ หรือ ลำบาก เวลาที่จะเห็นมิตร ก็ตอนที่เราไปขอความช่วยเหลือ เวลาที่เราจะเห็นคุณพ่อคุณแม่ ก็ตอนที่ถูกกดขี่จากสังคม เวลาที่จะรู้คุณค่าของไม้กวาด ก็ตอนทีต้องการจะกวาดนั่นเอง อุปมานี้ยังมีอีกมาก แต่รวมความสำหรับชาวโลก การเห็นเพื่อน มิตร ผู้ช่วยเหลือ พ่อแม่ ครุฮาจารย์ ส่วนมากก็ตอนที่เราเป็นทุกข์ เวลาที่ทุกข์นี่แหละที่สำคัญที่สุด ที่ชาวโลกต้องการเพื่อน มาช่วยอย่างน้อยก็เป็นกำลังใจให้ แม้จะช่วยอะไรไม่ได้ ทำไมเวลาป่วยไข้ เราจึงไปเยี่ยมคนป่วย เพราะอย่างน้อยให้เขารู้ว่าเห็นว่า เราให้กำลังใจเขาอยู่ ถ้ามองโลกสวย การแสดงน้ำใจแบบนี้ในยามยาก ภาษาพระเรียกว่า มุทิตา คือการแสดงน้ำใจ ความยินดี ที่ท่านทั้งหลายมีความสุข ...."


ข้อความบางส่วนจากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเ้ดินทาง และ การภาวนา ของ ธัมมะวังโส
บันทึกการเข้า
ข้าพจ้า สนับสนุนการเผยแผ่ พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
อดทน อดกลั้น เป็นคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ภาวนา
« ตอบกลับ #72 เมื่อ: มีนาคม 15, 2016, 09:47:41 am »
0
"ถ้าเราไม่ยอมออกมาลำบาก เพื่อส่งเสริมมันก็ไม่มีวันนี้ ความสำเร็จมาจากความอดทน อดกลั้น ส่วนหนึ่ง ถ้าคิดแล้วมัวแต่อยู่ที่วัด เราก็ไม่สามารถทำอย่างนี้ได้ ไม่มีลาภสักการะ ไม่มีชื่อเสียง ไม่มีเกรียติยศ ไม่มีสุขรออยู่ข้างหน้าแบบชาวโลก ถ้าคิดจะทำเพื่อพระรัตนตรัย สิ่งที่ต้องมีคืออย่าหวังเรื่องทางโลก แต่ให้คาดหวัง ใน มรรค ผล นิพพาน เป็นหลัก ถ้าเรามีปณิธานตรงต่อพระรัตนตรัย ความลำบากที่เกิดขึ้น ก็ถวายบูชา แด่พระรัตนตรัย ถ้าจะว่าลำบากแล้ว ก็ยังเทียบไม่ได้กับ พระอริยะทั้ง 60 ที่ท่านต้องออกเผยแผ่ไปทุกทิศทุกทาง ท่ามกลางอมิตร ต่างลัทธิ ต่างขั้ว แค่นี้ยังพอทนสำหรับเรา ยังพอไหว เพราะมีเป้าหมาย ที่ มรรค ผล นิพพาน ไม่ใช่โลกธรรม นั่นเอง ขอให้ท่านทั้งหลายที่เป็นศิษย์แล้วท้อแท้ ด้วยเหตุผลใด ๆ ก็ตาม จงอย่าได้ท้อถอย เพราะโลกธรรม ที่ไม่มีแก่ท่าน จงกระทำความเพียร มุ่งตรง ต่อ มรรค ผล นิพพาน ท่านใดทำตามนี้ ก็ขอให้ท่านประสบความสำเร็จใน มรรค ผล นิพพาน ส่วนท่านใดยังท้อถอยไม่สามารถตามมาได้ ก็ขอให้มีความสุข มีกำลังต่อสู้ กับโลกธรรม อย่าได้เพลี่ยงพล้ำพ่ายแพ้ อย่างไรก็ตาม อยู่กับโลกธรรม ต้อง อดทน อดกลั้น ไปด้วยอย่าได้ลืม....."

ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดินทาง ของ ธัมมะวังโส


บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ทำแค่นี้ ก็ไปนิพพาน ได้ ไม่ต้องซับซ้อนมากมาย
« ตอบกลับ #73 เมื่อ: มีนาคม 16, 2016, 07:55:50 am »
0
"พระพุทธเจ้า เวลาพระองค์ทรงตรัสสอนคนทั่วไป พระองค์จะยกอุปมาทางอาชีพเพื่อให้เข้าใจหลักธรรม เช่นสอนชาวนา พระองค์ก็ทรงตรัสเทียบธรรมลงไปที่ อาชีพเขาว่า
( ศรัทธาของเราเป็นพืช ความเพียรของเราเป็นฝน ปัญญาของเราเป็นแอกและไถ หิริของเราเป็นงอนไถ ใจของเรา เป็นเชือก สติของเราเป็นผาลและปฏัก เราคุ้มครองกายคุ้มครองวาจา สำรวมในอาหารในท้อง ย่อมกระทำการถอนหญ้า คือ การกล่าวให้พลาดด้วยสัจจะ ความสงบเสงี่ยมของเราเป็นเครื่องปลดเปลื้องกิเลส ความเพียรของเรานำธุระไปเพื่อธุระนำไปถึงแดนเกษมจากโยคะ ไม่หวนกลับมาย่อมถึงสถานที่ๆ บุคคลไปแล้วไม่เศร้าโศก การไถนานั้น เราไถแล้วอย่างนี้ การไถนานั้น ย่อมมีผลเป็นอมตะ บุคคลไถนานั่นแล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ฯ (กสิภารทวาชสูตรที่ ๔) )
ถ้าเทียบลงในกรรมฐาน แล้ว
ศรัทธา ก็คือ ผล และ นิพพาน
( ตามลำดับที่งอกงาม เจริญเติบโต ) ดังนั้นการพอกพูน และรักษาศรัทธาไว้นั่นแหละ คือการภาวนา
ความเพียร เปรียบเหมือนฝน เพราะมีช่วง มีฤดู มีครั้งครา ไม่ใช่ทุกวัน ดังนั้นความเพียรที่มีมากไปก็ไม่ดี หย่อนไปก็ไม่ดี
ปัญญา เปรียบเหมือนแอกและไถ สิ่งใดที่ถูกปกปิด ไปไม่ได้ไม่เข้าใจก็ต้องใช้ปัญญา การคือการตามพิจารณา ทำไว้ในใจอย่างแยบคาย
หิริ เป็นงอนไถ ความละอายใจต้องมีไว้เบื้องหน้า นำทางเพื่อละจากอกุศล
ใจ เป็นเชือก หมายถึงการควบคุมศรัทธา ความเพียร ปัญญา หิริ นั้น ต้องมีใจเป็นตัวการสั่งและควบคุม
สติ เป็นผาล และปฏัก บางครั้งจะนอกลู่ นอกทาง ก็ต้องทิ่มแทงกันบ้างให้รู้ตัว การเตือนตนสม่ำเสมอ ก็คือการตามระลึกเพื่อไปสู่ความรู้ตัว
เมื่อดำเนินชีวิตอยู่ ด้วยกาย วาจา โดยอาหาร ย่อมต้องถอนหญ้า หมายถึงเมือ่บริโภคปัจจัย 4 ก็ต้องถอนตัณหาในปัจจัย 4 เพราะถ้าปล่อยไว้ ต้นหญ้าจะใหญ่ขึ้นรกรุงรัง นำมาซึ่งภัยมากมาย วิธีที่ดีก็คือการรู้ความจริงของโทษทางวาจา และ ความไปสู่ สันโดษ
ความเพียรที่ กระทำสม่ำเสมอ อย่างนี้ย่อมได้ผลงอกงามไพบูลย์ถึงความเกษมอันไม่มีโยคะ ไม่เศร้าโศรก ย่อมมีผล เป็น อมตะ ( นิพพาน )
ถ้าไถนาอย่างนี้ ย่อมพ้ันจากทุกข์ทั้งปวง

ดังนั้นการแสดงธรรม แม้พระพุทธเจ้าจะแสดงอย่างพื้น ๆ แก่ชาวนา ก็มีที่สุดคือ พระนิพพานเช่นกัน ....."


ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และการภาวนา ของ ธัมมะวังโส

บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
เห็น เฉพาะเบื้องหน้า
« ตอบกลับ #74 เมื่อ: มีนาคม 23, 2016, 07:36:33 am »
0


"(อย่าสำออย หรือ ออดอ้อนให้เป็นภาระผู้อื่นมาก ถ้ายังมีแรงและทนได้ ก็พึง พึ่งพาตนเองให้มากขึ้น )
อุดมคติมีมาตั้งแต่เป็นสามเณร ดังนั้น เวลาทำอะไรส่วนใหญ่ จึงไม่เคยคิดให้ใครมาทำให้ก่อน แต่จะคิดทำเอง และก็ใช้ตัวเองทำในความคิดนั้นก่อน จนสุดกำลังแล้วจึง จะขอความเห็น และขอความช่วยเหลือ
ดังนั้นถ้าถามว่าเห็นอะไรบ้าง ในการป่วยครั้งนี้ ก็ตอบว่าเห็นหลายอย่าง
1.เห็นกิเลส ว่า มี หรือ ไมีมี ละวาง อัตตานุทิฏฐิได้หรือไม่
2.เห็นดอกบัวบานสีรุ้ง เบื้องหน้าห่างประมาณ หนึ่งศอก โดยที่ไม่ต้องใช้สมาธิญาณใด ๆ ทั้งสิ้น ในวันที่เจ็บแบบสุด ๆ ในขณะที่จิตเข้าสมาธิไม่ได้ แต่เข้า ญาณลำดับ ปฏิจจสมุปบาท ได้ มีการทวนไปกลับ เพื่อไม่ให้จิตหน่วงเวทนา แต่ไปรับ สุขารัมมณังอันเกิดแต่ ญาณ แทน มันมีเหตุจริง ๆ ที่รู้ว่า ถึงกาลอันสมควร ด้วยใจ ว่าจะออกจากโรงหนัง หรือนั่งเล่นชมต่อไป
3.ส่วนเรื่องของโลก มีความ แก่ ความเจ็บ ความตายนั้น ไม่ได้มีความหมายอะไรในการเห็นเนื่องด้วยอารมณ์ส่วนนี้ ถูกดับไปหลายปีแล้ว มันไม่ได้เกี่ยวกับปัจจุบันธรรม

"
ข้อความบางส่วน ล่าสุด จาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของ ธัมมะวังโส
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 23, 2016, 07:38:37 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
อะไรเรียกว่า กรรม อะไรเป็นตัว กรรม ?
« ตอบกลับ #75 เมื่อ: มีนาคม 25, 2016, 09:37:12 am »
0


"อะไร เรียกว่า กรรม ?
อะไร เป็นตัว กรรม ?
จะจัดการอย่างไร กับ กรรม ?
การกระทำที่ประกอบด้วยกาย วาจา และใจ แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จัดเรียกว่า กรรม คือ การกระทำ เช่น ไหว้พระ สวดมนต์ ภาวนา อันนี้เรียกว่า กรรมดี แต่ถ้าเป็น ฆ่าสัตว์ โกหก คิดชั่ว อันนี้เรียกว่า กรรมไม่ดี
ส่วนตัว กรรม คือ ผลสำเร็จของกรรม นั้นพระพุทธเจ้า ตรัสว่า ตัวกรรม ก็คือ ตัวเจตนา มีพุทธภาษิต รับรองไว้ว่า
เจตนาหัง ภิกขะเว กัมมัง วะเทหิ
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า เจตนาเป็นตัวกรรม
ดังนั้น ถ้าจะทำให้กรรมดี มีผลมาก ก็ต้องใส่ตัวเจตนา ลงไปให้มาก
ถ้าจะให้กรรมชั่ว มีผลมาก ก็ต้องใส่ เจตนา ลงไปให้มาก ดังนั้นกรรมบางชนิดดูว่า เบา แต่เจตนา ที่ใส่ไว้ มันมีมาก จึงทำให้ผลกรรมมันขยายออกไป คูณสอง สาม ถึง หมื่น ถึงร้อยก็มี
ดังนั้นตัวกรรม ไม่ได้เป็นเครื่องวัดว่า คุณจะได้ผลน้อย หรือ มาก แต่ เจตนาเป็นตัววัด นั่นเอง
การจัดการ กรรม ในที่นี้หลายคนไปสับสนกับคำว่า วิบากกรรม คือผลของกรรม ดังนั้นกรรม จัดการได้ด้วย กุศลธรรม และ อกุศลธรรม
ส่วนวิบากกรรม นั้น จัดการไม่ได้ ต้องปล่อยให้เกิด แม้พระพุทธเจ้าก็ต้องปล่อยให้เกิดเช่นเดียวกัน ถ้าจะจัดการวิบากกรรม คือ บุพพกรรม ( กรรมที่ทำมาแต่กาลก่อน ) ทำไม่ได้ สิ่งใดผ่านไปแล้ว ก็ต้องรับผลตามนั้น คงจัดการกรรมที่กำลังจะทำ คือ ปัจจุบันกรรม ได้เท่านั้น
ดังนั้นผู้ฉลาดใน กุศลกรรม พึงสร้างแต่กรรมดี เพราะกรรมดี ย่อมมีผลดี อย่างแน่นอน ส่วนผลที่ไม่ดี ที่กำลังรับ เกิดแต่ กรรมก่อน ๆ นั้น ไม่สามารถจัดการได้ แต่บรรเทาได้ด้วย พระธรรมในปัจจุบัน....
"

ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดินทาง ของธัมมะวังโส

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 25, 2016, 09:51:28 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


"เรื่องให้โกรธ มีหลายเรื่อง เรื่องให้หลง ก็มีมาก เรื่องให้โมโห ก็เป็นพะเรอเกวียน วันหนึ่งคิืนหนึ่ง กิเลสต่าง ๆมันก็พยายามทำหน้าที่ของมันสุด ๆ หลอกให้หลงบ้าง รักบ้าง เกลียดบ้าง ชังบ้าง ชอบบ้าง คลุกเตล้า เหมือนน้ำจิ้ม น้ำยา ปุถุชชนคนโง่เขลา จึงตกอยู่ในวังวนของ สิ่งที่เรียกว่า ยึดมั่น ถือมั่น คิดไปต่าง ๆ นานา สาระพันปัญหา มีไม่จบสิ้น พอกพูน อวิชชาคือ ความไม่รู้ ไปสู่ภพ ชาต ที่เป็นวินาทีในปัจจุบัน และ เป็นภพชาติผูกพันไปในอนาคต เมื่อภาวนาจึงสาระวน อยู่แแต่คำว่าปล่อยวาง ไม่ได้ต้นเหตุที่แท้จริง ว่าถ้าไม่เข้าไปยึดถือ มันก็ไม่มี บัณฑิตผู้ฉลาด ย่อมคลายความยึดถือ แทนคำว่า ปล่อยวาง เพราะปล่อยวาง ไม่ใช่ มรรค เป็นการหนีจากปัญหา มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายทียังพอกพูนกิเลส เขาทั้งหลายจึงคิดว่า การปล่อยวาง เป็นคุณธรรมขั้นสูง แท้ที่จริงในสายภาวนาของพระอริยะ การปล่อยวางเป็นการสะสมปัญหา และ เป็นการหนีปัญหา จึงไม่สามารถไปสู่ประตูอมตะได้ ผู้มีปัญญาย่อมใคร่ครวญ ด้วยสติ ตามความเป็นจริงว่า เรามีความแก่ ความเจ็บ ความตายเป็นธรรมดา เรามีความโสกะปริเทวะ เพราะตัณหา เมื่อรู้ดังนั้น บัณฑิตผู้ฉลาดย่อมดำเนิน มรรคามัคคญาณทัศนวิสุทธิ โดยไม่มี วิจิกิจฉา......."

ข้อความส่วนหนึ่ง จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทางของ ธัมมะวังโส
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ฉันเป็นนักฟัง มากกว่า เป็นนักสอน
« ตอบกลับ #77 เมื่อ: มีนาคม 30, 2016, 02:24:42 pm »
0
"อากาศมันร้อน น้ำก็แห้ง ฝนก็ไม่ตก พืชผลเริ่มเหี่ยวเฉา มันก็ร้อน ๆ ทั้งข้างนอก พาลให้ร้อนข้างใน นอกจากจะร้อนเพราะดินฟ้าอากาศแล้ว ยังมีเรื่องให้ร้อนใจอีก ไหนจะปากท้องลูกน้อง ไหนจะต้องเลี้ยงพ่อแลี้ยงแม่ ไหนจะต้องหาเงินใช้หนี้ ค่าเช่าผืนนา มองเห็นโยมนั่งพูดแล้วหลั่งน้ำตา พระอย่างไรจะไปช่วยอะไรเขา สงสาร ก็ไปช่วยไถนาดีไหม ? หน้าที่ของเรากับโยม ก็แค่ต้องทำตัวให้สมกับเป็นเนื้อนาบุญ บางคนบ่นว่า ทำไมไม่พูดสอนโยม ฉันก็ตอบว่า โยมไม่พร้อมให้สอน แต่โยมพร้อมที่จะระบาย ก็คงต้องทำตัวเป็นกระโถน คอยฟง แล้วให้กำลังใจ โยมไป สอนโยมพุทโธ ยอมก็เถียงคำ พูดคำ สอนให้วางใจ โยมก็บอกว่า ทานไม่ได้มาทำนา จะรู้ความทุกข์ของคนทำมาหาเช้ากินค่ำได้อย่างไร มันก็จริง สรุปโยมต้องการฉันเพียงเพื่อการฟังเขาพูดความทุกข์ ฉันก็ยินยอมรับฟัง นั่งฟังให้โยมสบายใจ อันที่จริงไม่ใช่ มีเรือ่งแค่นี้ ส่วนใหญ่ 80 เปอร์เซ้นต์ เวลาพบพระอาจารย์กัน ก็จะเล่าความทุกข์ของเขาให้ฟังกัน มีเพียง 20 เปอร์เซ้นต์ ที่มาเรียนกรรมฐาน อย่าคิดว่าการสอนพระธรรมขั้นละเอียดจะเป็นเรื่องง่ายนะ ตราบใดที่ยังมัวสาระวนอยู่กับ เรื่อง กิน กาม เกรียติ ตราบนั้นไม่มีทางที่จะสามารถรับฟัง พระธรรมขั้นละเอียดได้ ดังนั้นธรรมที่ต้องบอกประจำก็คือ การตั้งสติ การรู้ละ และ ปล่อยวาง จนธรรมสามอย่างนี้ มันเริ่มบดบังตัวพระธรรมแท้จริงไปทุกวัน เพราะ ว่าพระก็พยายามจะสอนการภาวนาแบบง่าย ๆ แต่เป็นขั้นสูง ตามภูมิธรรมแต่ละท่าน เคยนั่งมารถโยมท่านหนึ่ง เขามาส่งที่วัด โยมสอนพระมาตลอดทางเลย แต่โยมก็เชื่อมั่นกับคำสอนของครูท่านหนึ่ง ที่สอนให้ตามดูจิต เดี๋ยวก็บรรลุธรรม ถามโยมว่า ตามดูจิตมากี่ปีแล้ว โยมตอบว่า ตั้งแต่ก่อนเกษียณ จน อายุ 74 ปีแล้ว โยมเป็นข้าราชการระดับสูง ระดับจังหวัด นะ ( สงวนนาม ) ดังนั้นหลาย ๆ ท่านเวลาพบฉันจึงไม่ได้เรียนธรรม กรรมฐานใด ๆ เลยนอกจาก ฉันได้รับฟังความทุกข์ ของคนทั้งหลาย ไปคนละแบบ ..... "

ขัอความบางส่วน จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทางของ ธัมมะวังโส


ขอบคุณภาพประกอบจาก http://image.mcot.net
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ยิ่งภาวนา ยิ่งจองหอง โอหัง กระด้าง ผิดทางแน่นอน
« ตอบกลับ #78 เมื่อ: มีนาคม 30, 2016, 03:00:41 pm »
0


วันนี้วันพระ ฝากไว้ จากบันทึก เรื่อง ผู้ภาวนายิ่งสูง(ญาณ) ก็ ยิ่งอ่อน( จากมานะ)
"ยิ่งภาวนา ยิ่งกระด้าง ยิ่งหยิ่ง โอหัง ถ้าเป็นอย่างนี้เลิกภาวนา ซะนะเพราะว่า มันไม่ถูกแล้ว ยิ่งภาวนา ยิ่งอ่อน ยิ่งถ่อมตน ยิ่งไม่มีตน ถ้าอย่างนี้ถูกทาง เจริญให้มากขึ้น 
"

ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของ ธัมมะวังโส
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 30, 2016, 03:14:13 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ขอบคุณ ทุกท่าน ที่ร่วมปิดทองด้วยกัน
« ตอบกลับ #79 เมื่อ: มีนาคม 30, 2016, 04:15:45 pm »
0
"ขอบคุณทุกท่าน หลายปีมานี้ มีอาสาช่วยงานก็หลายท่าน แต่พอเริ่มจะได้ช่วยคือต้องผ่านการพิสูจน์ตน ว่าจะมั่นคงในพระธรรมกรรมฐาน ขนาดไหน ก่อนที่จะมอบงานสำคัญให้ มีทั้งการทดสอบตรง และทดสอบการตอบปัญหา สุดท้าย มีผู้ผ่านไม่กี่ท่าน ที่ยังมั่นคงในพระธรรมกรรมฐาน เดินหน้าในสายธรรมกรรมฐาน แม้ว่าจะต้องรับรู้ปัญหาที่ไม่ใช่ปัญหา ขอบคุณที่หลายท่านก็ยังคงตั้งใจเหนียวแน่นในพระธรรมกรรมฐาน ร่วมกันปิดทองด้วยกันตลอดมา แม้ผู้ที่จากไปด้วยเหตุผลใด ๆ ก็ตาม ฉันก็ขอให้ทุกท่านถึงธรรมแก่นสารของท่าน ตามที่มุ่งมาดไว้ ไม่มีใครถูกหรือผิดในการดำเนินวิธี ตามเป้าหมายของแต่ละท่าน เพราะว่าเป้าหมายการเผยแผ่พระกรรมฐาน คือ สร้างสันติสุขภายในให้แก่ผู้ปรารถนา การไม่กลับมาเกิดเป็นหลัก และสร้างบารมีให้กับผู้ที่ยังต้องโลดแล่นในสังสารวัฏ ด้วยการปิดทองหลังพระด้วย ท่านอยากจะอยู่ต่อก็เป็นเรื่องของท่าน ท่านอยากจะออกก็เป็นเรื่องของท่าน เพราะธรรมะใครภาวนา คนนั้นก็ได้ ฉันภาวนาฉันก็ได้ของฉัน ท่านภาวนา ท่านก็ได้ของท่าน นั่นเอง ดังนั้นแม้ท่านจากฉันไป ไม่ว่าเหตุผลใด ๆ ก็ตามโปรดจำไว้ว่า ฉันคือกัลยาณมิตร ไม่ใช่ ศัตรู ที่มาทำร้ายท่านให้ตกต่ำลง.... "
ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของ ธัมมะวังโส
ขอบคุณรูปภาพประกอบจาก
http://www.nanagarden.com

บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา