แสดงกระทู้
|
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to. |
Messages - raponsan
|
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 721
|
42
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / รู้จัก “หน่วยบริการฉุกเฉิน” ใต้ทะเลลึก ที่ช่วยให้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก ยังทำงานได้
|
เมื่อ: ตุลาคม 25, 2024, 10:53:35 am
|
. ที่มาของภาพ, Getty Imagesรู้จัก “หน่วยบริการฉุกเฉิน” ใต้ทะเลลึก ที่ช่วยให้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก ยังทำงานได้ 99% ของการสื่อสารดิจิทัลทั่วโลกต่างพึ่งพาสายเคเบิลใต้ทะเล มันอาจร่ายมนต์ให้เกิดความหายนะให้กับอินเทอร์เน็ตทั้งประเทศได้ หากเกิดอะไรขึ้นกับพวกมัน ดังนั้น คุณจะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นที่ก้นมหาสมุทรได้อย่างไร
หลังเวลา 17.00 น. ของวันที่ 18 พ.ย. 1929 ผ่านไปไม่นาน พื้นดินเริ่มสั่นสะเทือนนอกชายฝั่งคาบสมุทรบุรินซึ่งเป็นส่วนที่ยื่นออกมาเหมือนนิ้วมือ และตั้งอยู่ทางตอนใต้ของนิวด์ฟันด์แลนด์ของแคนาดา ต่อมาพบว่าสิ่งที่รบกวนความสงบสุขในช่วงเย็นคือแผ่นดินไหวขนาด 7.2 แมกนิจูด ซึ่งพวกเขาสังเกตเห็นความเสียหายเพียงเล็กน้อยในตอนแรก นั่นคือหม้อปล่องไฟ 2-3 อันที่ล้มลง
แต่มันยังมีพลังงานที่มองไม่เห็นเกิดขึ้นในทะเล เวลาประมาณ 19.30 น. สึนามิสูง 13 เมตรยกตัวขึ้นฝั่งคาบสมุทรบุรินและคร่าผู้คนไป 28 ชีวิต จากการจมน้ำหรือบาดเจ็บที่เกิดจากคลื่นยักษ์
แผ่นดินไหวนี้ไม่ได้สร้างความเสียหายให้กับชุมชนท้องถิ่นเท่านั้น แต่มันมีผลกระทบระยะยาวในทะเลด้วยเช่นกัน มันทำให้เกิดดินถล่มใต้น้ำ (submarine landslide) ซึ่งบันทึกทางประวัติศาสตร์ชี้ว่าผู้คนไม่ได้ตระหนักถึงเรื่องนี้ในขณะนั้น เพราะไม่มีใครรู้เลยว่าดินถล่มใต้น้ำคืออะไร
เมื่อตะกอนถูกรบกวนจากแผ่นดินใหญ่ ประกอบกับกิจกรรมทางธรณีวิทยาอื่น ๆ จะทำให้น้ำหนาแน่นขึ้น และไหลลงมาราวกับหิมะที่กำลังถล่มบนภูเขา โดยดินถล่มใต้น้ำยังถูกเรียกว่ากระแสน้ำตะกอนขุ่นข้น (turbidity current) ซึ่งต่อมาพบว่ามันไหลห่างจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวมากกว่า 1,000 กิโลเมตร บนเนินทวีปโลเรียนเทียล ด้วยความเร็ว 50-70 นอตส์ (ราว 80-112 กม./ชั่วโมง)
แม้ไม่มีใครสังเกตเห็นดินถล่มใต้น้ำในขณะนั้น แต่มันกลับทิ้งเบาะแสผ่านความเสียหายของสายเคเบิลใต้ทะเลข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกที่ขาดสะบั้นลง โดยพบว่ามี 28 จุดที่แตกหักต่อเนื่องกันจากเหตุแผ่นดินไหวในครั้งนี้ ขณะที่อีก 16 จุดเกิดขึ้นเมื่อนานมาแล้ว เนื่องจากสายเคเบิลหักทีละอันในลักษณะระลอกคลื่นลึกลับ จาก 59 นาทีหลังแผ่นดินไหวเป็น 13 ชั่วโมง 17 นาทีในเวลาต่อมา และห่างออกไปกว่า 500 กิโลเมตรจากศูนย์กลางแผ่นดินไหว
@@@@@@@
นักวิทยาศาสตร์เริ่มสงสัยว่า เหตุใดพวกมันถึงแตกหักทีละอัน แทนที่จะสายเคเบิลทั้งหมดจะขาดพร้อม ๆ กันเมื่อเกิดแผ่นดินไหว
จนกระทั่งปี 1952 นักวิจัยจึงปะติดปะต่อข้อมูลต่าง ๆ ได้ว่าเหตุใดสายเคเบิลจึงขาดตามลำดับทั่วพื้นที่ขนาดใหญ่เช่นนี้ และดูเหมือนว่าช่วงเวลาการหักสะบั้นจะช้าลงตามระยะห่างของศูนย์กลางแผ่นดินไหว
พวกเขาพบว่าดินถล่มทะลุสายเคเบิลต่าง ๆ และสายเคเบิลที่แตกหักก็เคลื่อนที่ไปตามการเคลื่อนไหวของกระแสน้ำตะกอนขุ่นข้นไปทั่วพื้นท้องทะเล ซึ่งในตอนนั้นไม่มีใครรู้สึกถึงการมีอยู่ของกระแสน้ำดังกล่าว จนกระทั่งสายเคเบิลขาดและมีการบันทึกช่วงเวลาที่มันขาดไว้ ซึ่งช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ทำความเข้าใจการเคลื่อนไหวของมหาสมุทรที่อยู่ด้านบนและใต้ผิวน้ำได้ด้วยความบังเอิญ และมันเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่น่าสนใจซึ่งอยู่ห่างไกลสายตามนุษย์ และยิ่งไปกว่านั้นคือมันทำให้เกิดงานซ่อมแซมที่ซับซ้อนขึ้น
สายเคเบิลใต้ทะเลลึกขยายตัวไปทั่วโลกในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา และงานซ่อมแซมบำรุงรักษาต่าง ๆ ก็ทำให้เกิดการค้นพบทางวิทยาศาสตร์น่าทึ่งตามมาด้วย มันช่วยเปิดโลกใบใหม่ที่เอื้อให้เราสอดแนมพื้นทะเลอย่างที่ไม่เกิดขึ้นมาก่อน และในขณะเดียวกันมันก็ช่วยให้การสื่อสารของเรามีความเร็วสูงสุดเป็นประวัติการณ์ นอกจากนี้ยังเห็นได้ว่าชีวิตประจำวันของพวกเรา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแหล่งรายได้ สุขภาพ หรือความปลอดภัย ล้วนต้องพึ่งพาอินเทอร์เน็ตมากขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึงเครือข่ายสายเคเบิลใต้ทะเลที่ซับซ้อนอันนี้ แต่มันจะเกิดอะไรขึ้น หากสายเคเบิลเหล่านี้แตกหักลง . ที่มาของภาพ, Getty Images | คำบรรยายภาพ, สายเคเบิลใต้น้ำก่อตัวเป็นเครือข่ายทั่วโลกที่ก้นทะเล ช่วยให้เราทุกคนเชื่อมต่อกันข้อมูลของเราเดินทางอย่างไร ?
มีสายเคเบิลโทรคมนาคมยาว 1.4 ล้านกิโลเมตรบนพื้นทะเลและครอบคลุมทุกมหาสมุทรบนโลกนี้ เมื่อวางสายเคเบิลเหล่านี้ต่อกัน มันจะมีความยาวเกือบถึงเส้นผ่านศูนย์กลางของดวงอาทิตย์ โดยพบว่าพวกมันมีหน้าที่ถ่ายโอนข้อมูลดิจิทัลราว 99% ของข้อมูลทั้งหมด แต่สิ่งที่สำคัญมากกว่านั้นคือลักษณะเพรียงบางอย่างน่าประหลาดที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางราว 2 เซนติเมตรเท่านั้น
การหยุดทำงานของสายเคเบิลขนาดใหญ่ในปี 1929 ซ้ำแล้วซ้ำเล่าได้ส่งผลกระทบต่อการสื่อสารระหว่างอเมริกาเหนือและยุโรปเป็นวงกว้าง อย่างไรก็ตาม “ส่วนใหญ่แล้ว เครือข่ายทั่วโลกมีความยืดหยุ่นอย่างน่าทึ่ง” ไมค์ แคลร์ ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมทางทะเลของคณะกรรมการคุ้มครองสายเคเบิลระหว่างประเทศ ซึ่งค้นคว้าผลกระทบของเหตุรุนแรงที่ส่งผลต่อระบบเรือดำน้ำ กล่าว
“ในแต่ละปีมีความเสียหาย 150-200 ครั้ง เกิดขึ้นต่อเครือข่ายทั่วโลก ดังนั้น หากเราเทียบกับระยะทาง 1.4 ล้านกิโลเมตร มันก็ไม่ได้เยอะเท่าไรนัก และส่วนใหญ่แล้วการซ่อมแซมก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อเกิดความเสียหายเหล่านี้ขึ้น” เขาบอก
@@@@@@@
อินเทอร์เน็ตทำงานบนสายเคเบิลที่บาง และหลีกเลี่ยงการหยุดทำงานที่สร้างความหายนะ ได้อย่างไร.?
นับตั้งแต่มีการวางสายเคเบิลในศตวรรษที่ 19 พวกมันต้องเผชิญกับเหตุการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงหลายต่อหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการระเบิดของภูเขาไฟใต้ทะเล ไปจนถึงพายุไต้ฝุ่น หรือน้ำท่วม แต่สิ่งที่สร้างความเสียหายให้กับพวกมันมากที่สุด กลับไม่ใช่ธรรมชาติ
สตีเฟน โฮลเดน หัวหน้าฝ่ายบำรุงรักษาสำหรับยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา ของโกลบอลมารีนซึ่งเป็นบริษัทวิศวกรรมใต้ทะเลที่รับงานซ่อมแซมสายเคเบิล บอกว่า ความผิดพลาดส่วนใหญ่ซึ่งมีตัวเลขระหว่าง 70-80% ขึ้นอยู่กับว่าคุณอยู่ที่ไหนบนโลกนี้ มักเกี่ยวข้องกับกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การวางสมอเรือหรือการลากอวนลาก โดยสิ่งเหล่านี้มักเกิดขึ้นในระดับความลึก 200-300 เมตร (แต่การประมงพาณิชย์พยายามผลักดันให้ลงลึกไปเรื่อย ๆ เช่น ลึกราว 1,500 เมตรในทางตะวันออกเฉียงเหนือของแอตแลนติก)
ขณะที่มีเพียง 10-20% เท่านั้นที่เกิดจากภัยธรรมชาติ และส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับสายเคเบิลที่เริ่มสึกหรอ เนื่องจากกระแสน้ำทำให้เกิดการเสียดสีกับหิน จนทำให้เกิด shunt fault ซึ่งหมายถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการที่ฉนวนเสื่อมสภาพหรือมีค่าต่ำกว่ามาตรฐาน และส่งผลให้การส่งข้อมูลมีความผิดปกติ
เหตุผลที่สายเคเบิลต้องมีความบางและเบาในน้ำลึก ก็เพื่อช่วยให้การฟื้นฟูซ่อมแซมทำได้ง่ายขึ้น เนื่องจากการลากสายเคเบิลขนาดใหญ่และหนักขึ้นจากระดับน้ำทะเลหลายพันเมตร จะสร้างความตึงเครียดให้กับวัสดุอย่างมาก ทั้งนี้ สายเคเบิลที่อยู่ใกล้ชายฝั่งนั้นมีแนวโน้มที่จะหุ้มฉนวนป้องกันที่มีคุณภาพดีกว่า เพราะพวกมันมักติดกับตาข่ายหรือเสียหายจากสมอเรือ
@@@@@@@
กองทัพผู้เตรียมพร้อมรอซ่อมแซมสายเคเบิลตลอดเวลา
หากมีการค้นพบจุดบกพร่อง จะมีการส่งเรือซ่อมออกไป “เรือเหล่านี้จะถูกวางไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ ทั่วโลก โดยใช้เวลาเดินทางจากฐานไปยังท่าเรือราว 10-12 วัน” มิค แมคโกเวิร์น รองประธานฝ่ายปฏิบัติการทางทะเลของอัลคาเทล ซับมารีน เน็ตเวิร์คส์ กล่าว
“คุณมีเวลาที่จะหาว่าจุดบกพร่องมันอยู่ตรงไหน จากนั้นก็โหลดสายเคเบิล และทวนตัวขยายสัญญาณ” ซึ่งจะเพิ่มความแรงของสัญญาณขณะมันเดินทางไปตามสายเคเบิล “โดยพื้นฐานแล้ว มันใช้เวลาไม่นานเลย เมื่อคุณคิดว่าระบบทั้งหมดมีขนาดใหญ่เพียงใด”
แมคโกเวิร์นบอกว่า แม้จะใช้เวลา 9 เดือนในการซ่อมแซมความเสียหายของสายเคเบิลใต้ทะเลครั้งล่าสุดที่เกิดจากแผ่นดินไหวนิวฟันด์แลนด์เมื่อปี 1929 แต่การซ่อมแซมในน้ำลึกที่ทันสมัยในปัจจุบัน ควรใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและสถานที่
“เมื่อคุณคิดถึงความลึกของน้ำและบริเวณที่มันอยู่ มันก็ไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่เลวร้ายมากนัก” เขากล่าว
@@@@@@@
นั่นไม่ได้หมายความว่า อินเทอร์เน็ตของประเทศทั้งประเทศจะหยุดให้บริการเป็นเวลา 1 สัปดาห์ หลายประเทศมีสายเคเบิลและแบนด์วิดท์มากกว่าจำนวนขั้นต่ำที่กำหนด ดังนั้นหากสายเคเบิลบางเส้นเสียหาย สายเคเบิลอื่น ๆ ก็จะรับช่วงต่อได้ นี่เรียกว่าความซ้ำซ้อนในระบบ และจากความซ้ำซ้อนนี้นี่เอง ที่ทำให้พวกเราส่วนใหญ่ไม่เคยสังเกตเห็นว่าสายเคเบิลใต้น้ำเส้นใดเส้นหนึ่งเสียหาย
เช่น บางทีบทความนี้อาจใช้เวลาในการโหลดนานกว่าปกติ 1 หรือ 2 วินาที หรือยกตัวอย่างเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 7 แมกนิจูดนอกชายฝั่งไต้หวันในปี 2006 ที่ทำให้สายเคเบิลหลายสิบเส้นในทะเลจีนใต้ขาดลง แต่สายเคเบิลที่เหลืออยู่ก็ทำให้ทั้งประเทศยังคงออนไลน์ต่อไปได้
เพื่อซ่อมแซมความเสียหาย เรือจะใช้ตะขอเกี่ยวเพื่อยกและตัดสายเคเบิล โดยดึงปลายด้านหนึ่งที่ขึ้นมาบนผิวน้ำ แล้วม้วนสายเคเบิลข้ามหัวเรือด้วยดรัมขนาดใหญ่ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ จากนั้นจึงใช้รอกดึงส่วนที่เสียหายเข้าไปในห้องภายในและวิเคราะห์หาข้อบกพร่อง จากนั้นจึงซ่อมแซม ทดสอบโดยส่งสัญญาณกลับไปยังสู่ฝั่งจากเรือ ก่อนจะปิดผนึกและติดเข้ากับทุ่น แล้วกลับไปทำซ้ำขั้นตอนนี้กับปลายอีกด้านหนึ่งของสายเคเบิลอีกที
แมคโกเวิร์น บอกว่า เมื่อยึดทั้งสองด้านเรียบร้อยแล้ว เส้นใยแก้วนำแสงแต่ละเส้นจะถูกต่อเข้าด้วยกันภายใต้กล้องจุลทรรศน์เพื่อให้แน่ใจว่าเชื่อมต่อได้ดี จากนั้นจึงปิดผนึกเข้าด้วยกันด้วยข้อต่อสากลที่เข้ากันได้กับสายเคเบิลของผู้ผลิตทุกราย ทำให้ทีมซ่อมแซมระดับนานาชาติทำงานได้ง่ายขึ้นที่มาของภาพ, Getty Images | คำบรรยายภาพ, สายเคเบิลใต้ทะเลลึกสามารถใช้เป็นเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ได้ ซึ่งช่วยให้เราได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรสายเคเบิลที่ซ่อมแซมแล้วจะถูกปล่อยกลับลงไปในน้ำ หากลงไปในน้ำตื้นซึ่งอาจมีเรือสัญจรไปมาจำนวนมาก สายเคเบิลเหล่านี้จะถูกฝังไว้ในร่องลึกที่ถูกสร้างโดยเครื่องพ่นไอพ่นกำลังสูงของยานใต้น้ำสำหรับการควบคุมจากระยะไกล (ROVs)
ส่วนในน้ำที่ลึกกว่านั้น งานนี้จะทำโดยใช้เครื่องไถที่ติดตั้งเครื่องพ่นไอพ่นและลากไปตามพื้นทะเลโดยเรือซ่อมขนาดใหญ่ที่อยู่เหนือขึ้นไป เครื่องไถบางเครื่องมีน้ำหนักมากกว่า 50 ตัน และในสภาพแวดล้อมที่รุนแรงนั้น จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ที่มีขนาดใหญ่กว่า เช่น งานหนึ่งที่แมคโกเวิร์นเล่าว่าต้องใช้เรือลากเครื่องไถขนาด 110 ตัน ในมหาสมุทรอาร์กติก ซึ่งสามารถฝังสายเคเบิลได้ลึก 4 เมตร และเจาะผ่านชั้นดินเยือกแข็ง
@@@@@@@
หูบนพื้นทะเล
การวางและซ่อมแซมสายเคเบิลทำให้เกิดข้อมูลเชิงลึกทางวิทยาศาสตร์ที่น่าประหลาดใจ ในตอนแรกค่อนข้างจะเป็นเรื่องบังเอิญ เช่น กรณีสายเคเบิลขาดและดินถล่ม และในภายหลัง นักวิทยาศาสตร์เริ่มตั้งใจใช้สายเคเบิลเป็นเครื่องมือวิจัยด้วย
บทเรียนจากท้องทะเลลึกเหล่านี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อมีการวางสายเคเบิลข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเส้นแรกในศตวรรษที่ 19 ผู้วางสายเคเบิลสังเกตเห็นว่ามหาสมุทรแอตแลนติกมีระดับตื้นขึ้นตรงกลาง จนค้นพบสันเขาตอนกลางมหาสมุทรแอตแลนติกได้โดยบังเอิญ
ปัจจุบัน สายเคเบิลโทรคมนาคมสามารถใช้เป็น "เซ็นเซอร์เสียง" เพื่อตรวจจับวาฬ เรือ พายุ และแผ่นดินไหวในทะเลหลวงได้
ความเสียหายที่เกิดกับสายเคเบิลทำให้ภาคอุตสาหกรรมมี "ความเข้าใจพื้นฐานใหม่เกี่ยวกับอันตรายที่เกิดขึ้นในทะเลลึก" แคลร์กล่าว "เราคงไม่เคยรู้มาก่อนว่ามีดินถล่มใต้ท้องทะเลหลังจากภูเขาไฟระเบิด หากไม่ใช่จากความเสียหายที่เกิดขึ้น"
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในบางพื้นที่ทำให้สถานการณ์ต่าง ๆ ท้าทายมากขึ้น น้ำท่วมในแอฟริกาตะวันตกทำให้แม่น้ำคองโกไหลลงสู่หุบเขามากขึ้น ซึ่งเป็นช่วงที่ตะกอนจำนวนมากไหลลงสู่แม่น้ำหลังจากเกิดน้ำท่วม ตะกอนเหล่านี้จะถูกพัดพาออกจากปากแม่น้ำไปยังมหาสมุทรแอตแลนติก และอาจสร้างความเสียหายให้กับสายเคเบิลได้
“ตอนนี้เรารู้แล้วว่าต้องวางสายเคเบิลให้ห่างจากปากแม่น้ำมากขึ้น” แมคโกเวิร์น กล่าว
@@@@@@@
ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าความเสียหายบางส่วนจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ การปะทุของภูเขาไฟ ฮูงา-โตงา-ฮูงา-ฮาอาไป ในปี 2021-2022 ได้ทำลายสายเคเบิลอินเทอร์เน็ตใต้ทะเลที่เชื่อมต่อประเทศเกาะตองกาในมหาสมุทรแปซิฟิกกับส่วนอื่น ๆ ของโลก และมันใช้เวลา 5 สัปดาห์ว่าจะเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตกลับมาเป็นปกติ แม้ว่าจะมีบริการชั่วคราวบางส่วนกลับมาใช้งานได้หลังจากหนึ่งสัปดาห์ก็ตาม
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปะทุครั้งใหญ่ครั้งนี้ (ซึ่งพ่นเถ้าถ่านขึ้นไปในอากาศ 58 กม.) จะเป็นเหตุการณ์ที่ใหญ่ผิดปกติ แต่การเชื่อมต่อประเทศเกาะในพื้นที่ภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นอยู่ก็มีความเสี่ยงอยู่เสมอ โฮลเดน ระบุ
อย่างไรก็ตาม ประเทศต่าง ๆ หลายแห่งให้บริการสายเคเบิลใต้น้ำหลายสาย ซึ่งหมายความว่า ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอาจไม่สังเกตเห็นความผิดพลาดเพียงจุดเดียวหรือหลายจุด เนื่องจากเครือข่ายอาจหันกลับมาใช้สายเคเบิลอื่น ๆ เมื่อเกิดวิกฤต
“เรื่องนี้ชี้ให้เห็นจริง ๆ ว่าทำไมจึงจำเป็นต้องมีเส้นทางสายเคเบิลที่มีความหลากหลายทางภูมิศาสตร์” แคลร์กล่าวเสริม “โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเกาะเล็ก ๆ ในพื้นที่แปซิฟิกใต้ที่มีพายุโซนร้อน แผ่นดินไหว และภูเขาไฟ เกาะเหล่านี้มีความเสี่ยงเป็นพิเศษ และจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ พื้นที่ต่าง ๆ จะได้รับผลกระทบในลักษณะที่แตกต่างกัน”
โฮลเดนบอกด้วยว่า เนื่องจากการทำประมงและการเดินเรือมีความซับซ้อนมากขึ้น การหลีกเลี่ยงสายเคเบิลจึงอาจทำได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้การถือกำเนิดของระบบระบุอัตโนมัติ (AIS) ในการเดินเรือ ก็ทำให้ความเสียหายจากการทอดสมอลดลง เนื่องจากบริษัทบางแห่งในปัจจุบันเสนอบริการที่ให้คุณปฏิบัติตามรูปแบบที่กำหนดไว้สำหรับการชะลอความเร็วและการทอดสมอ แต่ในพื้นที่ของโลกที่เรือประมงยังไม่ค่อยมีความซับซ้อนและมีลูกเรือจำนวนน้อยกว่า ความเสียหายจากการทอดสมอก็ยังคงเกิดขึ้นอยู่
แคลร์กล่าวเสริมว่า ในสถานที่ดังกล่าว ทางเลือกหนึ่งคือการบอกผู้คนว่าสายเคเบิลอยู่ที่ไหน และควรเพิ่มการรับรู้ให้เกิดขึ้นกว้างขวางกว่าเดิม เพื่อ "อินเทอร์เน็ตยังคงทำงานต่อไป ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับทุกคน"Thank to : https://www.bbc.com/thai/articles/c5y5850ld9loวิลเลียม ปาร์ก > บีบีซีเวิลด์เซอร์วิส | 23 ตุลาคม 2024
|
|
|
43
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ทำไม ห้ามกวาดบ้านตอนกลางคืน เพราะอะไร.?
|
เมื่อ: ตุลาคม 25, 2024, 10:38:49 am
|
. ทำไม ห้ามกวาดบ้านตอนกลางคืน เพราะอะไร.?”ห้ามกวาดบ้านตอนกลางคืน เคยสงสัยไหมว่า ทำไมคนโบราณถึงห้ามกวาดบ้านตอนกลางคืน? ความเชื่อนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร และเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง มาไขข้อข้องใจไปพร้อมกัน
ห้ามกวาดบ้านตอนกลางคืน ความเชื่อที่สืบทอดกันมา เรื่องห้ามกวาดบ้าน ตอนกลางคืนนั้นเป็น ความเชื่อ ที่ฝังรากลึกในสังคมไทยมานาน แต่ความเชื่อนี้มีเหตุผลอะไรซ่อนอยู่ มาค้นหาคำตอบกันทำไมห้ามกวาดบ้านตอนกลางคืน เพราะอะไร เหตุผลที่อยู่เบื้องหลังความเชื่อ
1. การกวาดเงินกวาดทอง : ความเชื่อที่แพร่หลายที่สุดคือ การกวาดบ้านตอนกลางคืนจะทำให้กวาดเงินกวาดทองออกจากบ้านไปด้วย เนื่องจากในสมัยก่อน บ้านส่วนใหญ่เป็นบ้านไม้ยกพื้นสูง และพื้นบ้านก็ปูด้วยไม้ทำให้มีร่องเล็ก ๆ ระหว่างรอยต่อ หากกวาดบ้านตอนกลางคืนก็อาจจะเผลอกวาดของชิ้นเล็ก ๆ ตกลงไปใต้ถุนบ้านและหาไม่เจอได้
2. ความเชื่อเรื่องสิ่งลี้ลับ : ในอดีต ผู้คนมีความเชื่อเรื่องผีสางนางไม้เป็นอย่างมาก การกวาดบ้านตอนกลางคืนอาจรบกวนวิญญาณเหล่านั้น จึงอาจนำมาซึ่งความไม่สงบหรือโชคร้าย
3. ความเชื่อเรื่องโชคลาภ : การกวาดบ้านเปรียบเสมือนการกวาดสิ่งไม่ดีออกไป แต่หากกวาดในเวลากลางคืน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พลังงานด้านลบอาจมีอิทธิพลมากขึ้น อาจทำให้โชคลาภเหือดหายไป
4. เหตุผลด้านความปลอดภัย : ในอดีตที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ การกวาดบ้านตอนกลางคืนอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เช่น สะดุดล้ม หรือบาดเจ็บจากของมีคมเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ (หรืออาจจะไม่?)
แม้จะไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนความเชื่อนี้โดยตรง แต่ก็มีนักวิทยาศาสตร์บางส่วนที่พยายามหาเหตุผลมาสนับสนุนความเชื่อนี้ เช่น
• ความปลอดภัย : การทำความสะอาดในที่มืดอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายกว่าการทำตอนกลางวัน • จิตวิทยา : การทำความสะอาดก่อนนอนอาจทำให้จิตใจไม่สงบ และส่งผลต่อการนอนหลับ
ความเชื่อในปัจจุบัน
แม้ว่าในปัจจุบันบ้านเรือนจะเปลี่ยนแปลงไปมาก แต่ความเชื่อเรื่องการห้ามกวาดบ้านตอนกลางคืนก็ยังคงมีให้เห็นอยู่บ้าง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ หรือคนที่ยังคงยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณี สรุป
ความเชื่อเรื่องการห้ามกวาดบ้านตอนกลางคืนเป็นความเชื่อที่สืบทอดกันมาจากอดีต และมีเหตุผลที่หลากหลายที่เกี่ยวข้อง ทั้งความเชื่อเรื่องสิ่งลี้ลับ ความเชื่อเรื่องโชคลาภ และเหตุผลด้านความปลอดภัย แม้ว่าในปัจจุบันเราจะมีความรู้และเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากขึ้น แต่ความเชื่อเหล่านี้ก็ยังคงมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของคนบางกลุ่มอยู่Thank to : https://www.thainewsonline.co/belief/87678824 ตุลาคม 2567
|
|
|
44
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ชาวบ้านย้าย “หลวงพ่อเพชรจังหวัดพิจิตร” หนี เหตุทางการเชิญไปไว้แทน “พระพุทธชินราช
|
เมื่อ: ตุลาคม 25, 2024, 09:58:39 am
|
. หลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง จังหวัดพิจิตร (ภาพจาก http://www.m-culture.in.th)ชาวบ้านย้าย “หลวงพ่อเพชรจังหวัดพิจิตร” หนี เหตุทางการเชิญไปไว้แทน “พระพุทธชินราช” พระพุทธรูปในไทยหลายองค์มีชื่อว่า “หลวงพ่อเพชร” หากที่จะกล่าวนี้คือ “หลวงพ่อเพชรจังหวัดพิจิตร” พระพุทธรูปที่ครั้งหนึ่งทางการคิดจะอัญเชิญไปแทน “พระพุทธชินราช” ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองพิษณุโลก ที่จะไปประดิษฐานเป็นพระประธานที่อุโบสถวัดเบญจมพิตรฯ จนชาวเมืองพิจิตรร่วมใจกันย้ายหลวงพ่อเพชรฯ หนี
@@@@@@@
หลวงพ่อเพชรจังหวัดพิจิตร มาจากไหน.?
หลวงพ่อเพชรฯ มีประวัติว่า สมัยอยุธยาเกิดกบฏจอมทองเมืองเชียงใหม่ กองทัพอยุธยาจึงขึ้นไปปราบปราม ระหว่างทางมีการแวะพักที่เมืองพิจิตร ซึ่งเจ้าเมืองพิจิตรก็ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี
ก่อนเดินทัพต่อ เจ้าเมืองพิจิตรกล่าวกับแม่ทัพว่า ถ้าปราบกบฏเรียบร้อยดีแล้ว ขอให้หาพระพุทธรูปงามๆ มาฝากสักองค์หนึ่ง ทางแม่ทัพก็รับปาก
ขากลับหลังปราบกบฏจอมทอง กองทัพอยุธยาก็นำ “หลวงพ่อเพชร” มามอบให้ เจ้าเมืองพิจิตรพร้อมด้วยชาวเมืองจำนวนมาก จึงอัญเชิญ “หลวงพ่อเพชร” มาประดิษฐานที่ วัดนครชุม (เมืองพิจิตรเก่า) ปัจจุบันคือพื้นที่ ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร
บางกระแสอ้างอิงกับวรรณคดีไทย เรื่องขุนช้าง-ขุนแผน โดยแม่ทัพปราบกบฏจอมทองเมืองเชียงใหม่ครั้งนั้น คือ ขุนแผนกับจมื่นไวยวรนาถผู้เป็นลูกชาย เมื่อยกทัพมาถึงเมืองพิจิตร ได้หยุดพักกองทัพ ด้วยขุนแผนให้ความเคารพนับถือเจ้าเมืองพิจิตรเสมือนบิดาของตน เจ้าเมืองพิจิตรยังฝากว่า เมื่อปราบกบฏเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ช่วยหาพระเมืองเหนือมาฝากสัก 1 องค์
“ตำนานเสภา” พระนิพนธ์สมัยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในบทเสภาขุนช้าง-ขุนแผน ฉบับหอสมุดแห่งชาติ ว่าด้วยเรื่องขุนช้าง-ขุนแผน ตอนหนึ่งว่า ผู้อัญเชิญองค์หลวงพ่อเพชรจากเมืองเหนือมามอบให้เจ้าเมืองพิจิตรก็คือ ขุนแผน ซึ่งเป็นแม่ทัพฝีมือยอดเยี่ยมของกรุงศรีอยุธยาหลวงพ่อเพชร จังหวัดพิจิตรย้ายหลวงพ่อเพชรฯ
ราวปี 2442 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง “วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม” ทั้งมีพระราชประสงค์จะอัญเชิญ “พระพุทธชินราช” จากเมืองพิษณุโลกไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ
รัชกาลที่ 5 จึงมีพระราชกระแสรับสั่งให้สืบหาพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงามอื่นไปประดิษฐานแทนพระพุทธชินราช
เจ้าพระยาสุรสีห์วิศิษฐ์ศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) สมุหเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลก ทราบว่า “หลวงพ่อเพชรจังหวัดพิจิตร” วัดนครชุม เมืองพิจิตรเก่า มีพุทธลักษณะงดงาม ควรแก่การนำไปแทนพระพุทธชินราช จึงสั่งให้พระยาเทพาธิบดี (อิ่ม) เจ้าเมืองพิจิตร อัญเชิญหลวงพ่อเพชรฯ มาที่เมืองพิษณุโลก
เมื่อชาวเมืองพิจิตรทราบข่าวดังกล่าว ด้วยความเคารพศรัทธาและหวงแหนหลวงพ่อเพชร จึงคิดอ่านวางแผนช่วยกันยกหนีไปซุกซ่อนไว้ในป่า แต่ก็หนีไม่พ้นมือเจ้าหน้าที่ ในที่สุดก็อัญเชิญหลวงพ่อเพชรมาจากเมืองพิจิตรเก่าจนได้ และนำมาพักไว้ที่วัดท่าหลวงเมืองพิจิตรใหม่ เพื่อรอการนำไปเมืองพิษณุโลก
เวลาเดียวกันนั้น เจ้าพระยาสุรสีห์วิศิษฐ์ศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) นำความกราบบังคมทูลรัชกาลที่ 5 ว่า ชาวเมืองพิษณุโลกหวงแหนพระพุทธชินราช พากันโศกเศร้ากันทั้งเมือง เพราะก่อนหน้าเคยอัญเชิญ “พระพุทธชินสีห์” และ “พระศรีศาสดา” จากเมืองพิษณุโลกไปประดิษฐานที่กรุงเทพฯ
รัชกาลที่ 5 ทรงเห็นใจชาวเมืองพิษณุโลก จึงโปรดเกล้าฯ ให้ระงับการอัญเชิญพระพุทธชินราช โดยให้หล่อพระพุทธชินราชจำลองประดิษฐานในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรแทน การอัญเชิญ
“หลวงพ่อเพชรฯ” จึงระงับไปด้วย แต่ไม่ได้อัญเชิญหลวงพ่อเพชรฯ กลับไปที่วัดนครชุม หากประดิษฐานที่ วัดท่าหลวง (เมืองพิจิตรใหม่) จนถึงปัจจุบันนี้ ภาพถ่ายพระพุทธชินราช สมัยรัชกาลที่ 5 (ภาพจากสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ) ความงาม “หลวงพ่อเพชร”
หลวงพ่อเพชรจังหวัดพิจิตร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยโลหะสําริดนั่งขัดสมาธิเพชร ชายสังฆาฏิสั้น เหนือพระอุระ ขนาดหน้าตักกว้าง 2 ศอก 1 คืบ 6 นิ้ว สูง 3 ศอก 3 นิ้ว พระเกศเป็นรูปบัวตูม ประทับนั่งบนฐานรูปบัวคว่ำบัวหงาย
จากข้อมูลต่างๆ สันนิษฐานเบื้องต้นว่า หลวงพ่อเพชรฯ รับอิทธิพลศิลปะของพระพุทธรูปในหลายรูปแบบ เช่น รับอิทธิพลการสร้างแบบศิลปะล้านนา พระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์หนึ่ง มีรัศมีเปลวเหนืออุษณีษะ, นิ้วมืออวบอ้วน ที่เป็นลักษณะเฉพาะ แต่ก็มีซุ้มเรือนแก้วที่เป็นเอกลักษณ์ของศิลปะอยุธยา เพื่อต้องการให้คนทั่วไปมองว่า หลวงพ่อเพชรฯ เป็นพระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์หนึ่ง
ผู้ชำนาญการด้านการตรวจพุทธลักษณะขององค์พระปฏิมากรหลายท่านให้ความเห็นตรงกันว่า องค์หลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนรุ่นแรก สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1160-1800
เมื่อปี 2483 กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุ และยกย่อง “หลวงพ่อเพชรจังหวัดพิจิตร” เป็น 1 ใน 108 องค์พระปฏิมา พระพุทธรูปคู่แผ่นดิน หมวดพระพุทธปฏิมา ศิลปะล้านนา
อ่านเพิ่มเติม :-
• ทำไม “พระพุทธชินราช” จึงเป็นพระพุทธรูปที่มีการจำลองมากที่สุด? • พระพุทธรูปชุดแรกในโลก ศิลปะคันธาระ ทำไมหน้าตาเป็น “ฝรั่ง”
อ้างอิง :- - ฉลอง สุวรรณโรจน์. “หลวงพ่อเพชร, พระพุทธรูปจังหวัดพิจิตร” ใน, สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง, มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ จัดพิมพ์เนื่องในโอกาส พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2552. - ไม่ระบุชื่อผู้เขียน. “หลวงพ่อเพชร พระพุทธรูปประจำจังหวัดพิจิตร” ใน http://www.m-culture.in.th- กองบรรณาธิการข่าวสด. ไหว้พระประธาน 77 จังหวัด , สำนักพิมพ์มติชน 2557. ขอขอบคุณ :- ผู้เขียน : วิภา จิรภาไพศาล เผยแพร่ : วันพฤหัสที่ 24 ตุลาคม พ.ศ.2567 เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 24 ตุลาคม 2567 website : https://www.silpa-mag.com/history/article_141856
|
|
|
45
|
เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: บทสวด "ยถา-สัพพี" ไม่ใช่พุทธพจน์ แล้วมาจากไหน.?
|
เมื่อ: ตุลาคม 25, 2024, 07:01:21 am
|
. ที่มา : สามัญญานุโมทนาคาถา สามัญญานุโมทนาคาถา (บาลี)
บทที ๑. สพฺพีติโย วิวชฺชนฺตุ สพฺพโรโค วินสฺสตุ มา เต ภวตฺวนฺตราโย สุขี ทีฆายุโก ภว
สพฺพีติโย วิวชฺชนฺตุ สพฺพโรโค วินสฺสตุ มา เต ภวตฺวนฺตราโย สุขี ทีฆายุโก ภว
สพฺพีติโย วิวชฺชนฺตุ สพฺพโรโค วินสฺสตุ มา เต ภวตฺวนฺตราโย สุขี ทีฆายุโก ภว
บทที ๒. อภิวาทนสีลิสฺส นิจฺจํ วุฑฺฒาปจายิโน จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ ที่มาของบทที่ ๒. อยู่ในอรรถกถา เรื่องอายุวัฒนกุมาร
อรรถกถาเล่มที่ ๒๑ ภาษาบาลีอักษรไทย ธ.อ.๔ ปณฺฑิต-สหสฺสวคฺค | ๘. สหสฺสวคฺควณฺณนา
๘. อายุวฑฺฒนกุมารวตฺถุ. (๘๘)
อเถกทิวสํ ภิกฺขู ธมฺมสภายํ กถํ สมุฏฺฐาเปสุํ "ปสฺสถาวุโส, อายุวฑฺฒนกุมาเรน กิร สตฺตเม ทิวเส มริตพฺพํ อภวิสฺส, โส อิทานิ (วีสวสฺสสตฏฺฐายี หุตฺวา) ปญฺจหิ อุปาสกสเตหิ ปริวุโต วิจรติ ; อตฺถิ มญฺเญ อิเมสํ สตฺตานํ อายุวฑฺฒนการณนฺติ.
สตฺถา อาคนฺตฺวา "กาย นุตฺถ ภิกฺขเว เอตรหิ กถาย สนฺนิสินฺนาติ ปุจฺฉิตฺวา, "อิมาย นามาติ วุตฺเต,
"ภิกฺขเว น เกวลํ อายุวฑฺฒนเมว, อิเม ปน สตฺตา คุณวนฺโต วนฺทนฺตา จตูหิ การเณหิ วฑฺฒนฺติ, ปริสฺสยโต มุจฺจนฺติ, ยาวตายุกเมว ติฏฺฐนฺตีติ วตฺวา อนุสนฺธึ ฆเฏตฺวา ธมฺมํ เทเสนฺโต อิมํ คาถมาห
"อภิวาทนสีลิสฺส นิจฺจํ วุฑฺฒาปจายิโน จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ อายุ วณฺโณ สุขํ พลนฺติ. (คาถานี้อยู่ในบทที่ ๒. สามัญญานุโมทนาคาถา)
@@@@@@@
ตตฺถ "อภิวาทนสีลิสฺสาติ : วนฺทนสีลิสฺส อภิณฺหํ วนฺทนกิจฺจํ ปสุตสฺสาติ อตฺโถ.
วุฑฺฒาปจายิโนติ : คิหิสฺส ตทหุปฺปพฺพชิเต ทหรสามเณเรปิ ปพฺพชิตสฺส วา ปน ปพฺพชฺชาย วา อุปสมฺปทาย วา วุฑฺฒตเร คุณวุฑฺเฒ อปจายมานสฺส อภิวาทเนน วา นิจฺจํ ปูเชนฺตสฺสาติ อตฺโถ.
จตฺตาโร ธมฺมาติ : อายุมฺหิ วฑฺฒมาเน, ยตฺตกํ กาลํ ตํ วฑฺฒติ, อิตเรปิ ตตฺตกํ วฑฺฒนฺติเยว. เยน หิปญฺญาสวสฺสายุสํวตฺตนิกํ กุสลํ กตํ, ปญฺจวีสติวสฺสกาเลปิสฺส ชีวิตนฺตราโย อุปฺปชฺเชยฺย ; โส อภิวาทนสีลตาย ปฏิปฺปสฺสมฺภติ. โส ยาวตายุกเมว ติฏฺฐติ. วณฺณาทโยปิสฺส อายุนาว สทฺธึ วฑฺฒนฺติ.
อิโต อุตฺตรึปิ เอเสว นโย. อนนฺตราเยน ปวตฺตสฺส ปน อายุโน วฑฺฒนํ นาม นตฺถีติ.
เทสนาวสาเน อายุวฑฺฒนกุมาโร ปญฺจหิ อุปาสกสเตหิ สทฺธึ โสตาปตฺติผเล ปติฏฺฐหิ, อญฺเญปิ พหู โสตาปตฺติผลาทีนิ ปาปุณึสูติ.
อายุวฑฺฒนกุมารวตฺถุ. _____________________________________________________ ที่มา : https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=21&A=1780 อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท สหัสสวรรคที่ ๘ ๘. เรื่องอายุวัฒนกุมาร [๘๘] หน้าต่างที่ ๘ / ๑๔.
การกราบไหว้ท่านผู้มีคุณทำให้อายุยืน ภายหลังวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมว่า "ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงดู ได้ยินว่า อายุวัฒนกุมารพึงตายในวันที่ ๗ บัดนี้ อายุวัฒนกุมารนั้น (ดำรงอยู่ ๑๒๐ ปี) อันอุบาสก ๕๐๐ คนแวดล้อมเที่ยวไป เหตุเครื่องเจริญอายุของสัตว์เหล่านี้ เห็นจะมี."
พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งประชุมกัน ด้วยเรื่องอะไรหนอ?" เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า "ด้วยเรื่องชื่อนี้"
จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย อายุเจริญอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่, ก็สัตว์เหล่านี้ไหว้ท่านผู้มีพระคุณ ย่อมเจริญด้วยเหตุ ๔ ประการ, พ้นจากอันตราย ดำรงอยู่จนตลอดอายุทีเดียว" ดังนี้แล้ว
เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
๘. อภิวาทนสีลิสฺส นิจฺจํ วุฑฺฒาปจายิโน จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ. ธรรม ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ เจริญแก่ บุคคลผู้กราบไหว้เป็นปกติ ผู้อ่อนน้อมต่อท่านผู้เจริญเป็นนิตย์.
@@@@@@@
แก้อรรถ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิวาทนสีลิสฺส คือ ผู้ไหว้เป็นปกติ ได้แก่ผู้ขวนขวายกิจคือการไหว้เนืองๆ.
บทว่า วุฑฺฒาปจายิโน ความว่า แก่คฤหัสถ์ผู้อ่อนน้อมหรือผู้บูชาเป็นนิตย์ ด้วยการกราบไหว้ แม้ในภิกษุหนุ่มและสามเณรบวชในวันนั้น, ก็หรือแก่บรรพชิตผู้อ่อนน้อมหรือผู้บูชาเป็นนิตย์ ด้วยการกราบไหว้ในท่านผู้แก่กว่าโดยบรรพชาหรือโดยอุปสมบท (หรือ)ในท่านผู้เจริญด้วยคุณ.
สองบทว่า จตฺตาโร ธมฺมา ความว่า เมื่ออายุเจริญอยู่, อายุนั้นย่อมเจริญสิ้นกาลเท่าใด, ธรรมทั้งหลายแม้นอกนี้ ก็เจริญสิ้นกาลเท่านั้นเหมือนกัน ด้วยว่าผู้ใดทำกุศลที่ยังอายุ ๕๐ ปี ให้เป็นไป, อันตรายแห่งชีวิตของผู้นั้นพึงเกิดขึ้นแม้ในกาลมีอายุ ๒๕ ปี, อันตรายนั้นย่อมระงับเสียได้ ด้วยความเป็นผู้กราบไหว้เป็นปกติ. ผู้นั้นย่อมดำรงอยู่ได้จนตลอดอายุทีเดียว. แม้วรรณะเป็นต้นของผู้นั้น ย่อมเจริญพร้อมกับอายุแล.
นัยแม้ยิ่งกว่านี้ ก็อย่างนี้แล. ก็ชื่อว่า การเจริญแห่งอายุ ที่เป็นไปโดยไม่มีอันตราย หามีไม่.
ในเวลาจบเทศนา อายุวัฒนกุมารตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล พร้อมกับอุบาสก ๕๐๐ แล้ว, แม้ชนเหล่าอื่นเป็นอันมาก ก็บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องอายุวัฒนกุมาร จบ. ___________________________________________________ ที่มา : https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25.0&i=18&p=8พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต ๘. สหัสสวรรค หมวดว่าด้วยหนึ่งในร้อยในพัน
๘. อายุวัฑฒนกุมารวัตถุ เรื่องอายุวัฒนกุมาร
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่อายุวัฒนกุมารและอุบาสก ๕๐๐ คน ดังนี้)
[๑๐๙] ธรรม ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญแก่ผู้กราบไหว้ ผู้อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ เป็นนิตย์_______________________________________________ ที่มา : https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=17ขอบคุณภาพจาก : pinterest
|
|
|
46
|
เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: บทสวด "ยถา-สัพพี" ไม่ใช่พุทธพจน์ แล้วมาจากไหน.?
|
เมื่อ: ตุลาคม 24, 2024, 10:31:19 am
|
. ขอบคุณภาพจาก http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=39615ที่มา : สามัญญานุโมทนาคาถา สามัญญานุโมทนาคาถา (บาลี)
บทที ๑. สพฺพีติโย วิวชฺชนฺตุ สพฺพโรโค วินสฺสตุ มา เต ภวตฺวนฺตราโย สุขี ทีฆายุโก ภว
สพฺพีติโย วิวชฺชนฺตุ สพฺพโรโค วินสฺสตุ มา เต ภวตฺวนฺตราโย สุขี ทีฆายุโก ภว
สพฺพีติโย วิวชฺชนฺตุ สพฺพโรโค วินสฺสตุ มา เต ภวตฺวนฺตราโย สุขี ทีฆายุโก ภว
บทที ๒. อภิวาทนสีลิสฺส นิจฺจํ วุฑฺฒาปจายิโน จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ ที่มาของบทที่ ๑. อยู่ในอรรถกถา พระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกรกับสุเมธดาบส
อรรถกถาเล่มที่ ๔๙ ภาษาบาลีอักษรไทย อป.อ.๑ (วิสุทฺธ.๑) ขุทฺทกนิกาย อปทานฏฺฐกถา (ปฐโม ภาโค)
โพธิสตฺโตปิ เทวตาหิ อภิตฺถวิโต "อหํ ทส ปารมิโย ปูเรตฺวา กปฺปสตสหสฺสาธิกานํ จตุนฺนํ อสงฺเขฺยยฺยานํ มตฺถเก พุทฺโธ ภวิสฺสามี "ติ วีริยํ ทฬฺหํ กตฺวา อธิฏฺฐาย นภํ อพฺภุคฺคนฺตฺวา หิมวนฺตเมว อคมาสิ.
เตน วุตฺตํ :-
"ทิพฺพํ มานุสกํ ปุปฺผํ เทวา มานุสกา อุโภ สโมกิรนฺติ ปุปฺเผหิ วุฏฺฐหนฺตสฺส อาสนา.
เวทยนฺติ จ เต โสตฺถึ เทวา มานุสกา อุโภ มหนฺตํ ปตฺถิตํ ตุยฺหํ ตํ ลภสฺสุ ยถิจฺฉิตํ.
สพฺพีติโย วิวชฺชนฺตุ โสโก โรโค วินสฺสตุ มา เต ภวนฺตฺวนฺตรายา(๑-) ผุส ขิปฺปํ โพธิมุตฺตมํ. (คาถานี้อยู่ในบทที่ ๑. สามัญญานุโมทนาคาถา) _______________ (๑-) สี. ภวตฺวนฺตราโย. ยถาปิ สมเย ปตฺเต ปุปฺผนฺติ ปุปฺผิโน ทุมา ตเถว ตฺวํ มหาวีร พุทฺธญาเณน ปุปฺผสุ..ฯ_________________________________________________ ที่มา : https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=49&A=1 อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๑. พุทธวรรค ๑. พุทธาปทาน หน้าต่างที่ ๓ / ๑๑.
ฝ่ายพระโพธิสัตว์ผู้อันเทวดาทั้งหลายสรรเสริญแล้ว จึงคิดว่า เราจักบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์เป็นพระพุทธเจ้าในที่สุดสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป ดังนี้แล้ว อธิษฐานความเพียรกระทำให้มั่น แล้วได้เหาะขึ้นสู่ท้องฟ้าไปสู่ป่าหิมพานต์ทันที.
ด้วยเหตุนั้น ท่าน(เทวดา)จึงกล่าวว่า :-
เหล่าเทวดาและมนุษย์ทั้งสองพวก ต่างโปรยปรายดอกไม้ทิพย์ และดอกไม้อันเป็นของมนุษย์ แก่เขาผู้ลุกขึ้นจากอาสนะ.
เทวดาและมนุษย์ทั้งสองพวกนั้น ต่างก็ประกาศความสวัสดีว่า ความปรารถนาของท่านยิ่งใหญ่ ขอท่านจงได้สิ่งนั้น ตามความปรารถนา.
ขอสรรพเสนียดจัญไรจงบำราศไป ขอความโศกและโรคจงพินาศไป อันตรายทั้งหลายจงอย่าได้มีแก่ท่าน ท่านจงได้สัมผัสพระโพธิญาณอันอุดม โดยเร็วพลัน.
เมื่อถึงฤดูกาล ต้นไม้ทั้งหลายที่มีดอก ย่อมผลิดอก แม้ฉันใด ข้าแต่มหาวีระ ขอท่านจงเบิกบานด้วยพุทธญาณ ฉันนั้นเถิด.__________________________________________________ ที่มา : https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32.0&i=1&p=3 อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก ได้ที่ :- พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ ๑. พุทธวรรค หมวดว่าด้วยพระพุทธเจ้า เป็นต้น ๑. พุทธาปทาน พระประวัติในอดีตชาติของพระพุทธเจ้าhttps://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=32&siri=1
|
|
|
48
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / "จิตตุปบาท" ที่เป็นไปโดยอาการมีพระรัตนตรัยเป็นเบื้องหน้า ชื่อว่า "สรณคมน์."
|
เมื่อ: ตุลาคม 23, 2024, 08:25:03 am
|
. ๑. ทีปังกรพุทธวงศ์ | อรรถกถา ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ แก้อรรถ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เต ได้แก่ อุบาสกชาวรัมมนครเหล่านั้น. พึงทราบ สรณะ สรณคมน์ และ ผู้ถึงสรณะ ในคำว่า สรณํ นี้ คุณชาตใดระลึก เบียดเบียน กำจัด เหตุนั้นคุณชาตนั้น จึงชื่อว่า สรณะ.
สรณะนั้น คืออะไร คือ "พระรัตนตรัย." ก็พระรัตนตรัยนั้น ท่านกล่าวว่า สรณะ เพราะตัด เบียดเบียน กำจัดภัย ความหวาดกลัว ทุกข์ ทุคติ ความเศร้าหมอง ด้วยสรณคมน์นั้นนั่นแหละ ของเหล่าผู้ถึงสรณะ.
สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ชนเหล่านั้นจักไม่ไปอบายภูมิ ละกายมนุษย์ไปแล้ว จักยังกายเทพให้บริบูรณ์. ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ถึงพระธรรมเป็นสรณะ ชนเหล่านั้นจักไม่ไปอบายภูมิ ละกายมนุษย์ไปแล้ว จักยังกายเทพให้บริบูรณ์. ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ ชนเหล่านั้นจักไม่ไปอบายภูมิ ละกายมนุษย์ไปแล้ว จักยังกายเทพให้บริบูรณ์.
จิตตุปบาท(ความคิดที่เกิดขึ้น) ที่เป็นไปโดยอาการมีพระรัตนตรัยเป็นเบื้องหน้า ชื่อว่า สรณคมน์. บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยสรณคมน์นั้น ชื่อว่า ผู้ถึงสรณะ. ๓ หมวดนี้ คือ สรณะ สรณคมน์ ผู้ถึงสรณะ พึงทราบดังกล่าวมานี้ก่อน.______________________________________________ ที่มา : https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33.2&i=2
. อรรถกถาเล่มที่ ๕๑ ภาษาบาลีอักษรไทย พุทฺธ.อ.(มธุรตฺถ.) ตตฺถ เตติ เต รมฺมนครวาสิโน อุปาสกา. สรณนฺติ เอตฺถ สรณํ สรณคมนํ สรณสฺส คนฺตฺวา จ เวทิตพฺพา. สรติ หึสติ วินาเสตีติ สรณํ,
กึ ตํ? รตนตฺตยํ. ตํ ปน สรณคตานํ เตเนว สรณคมเนน ภยํ สนฺตาสํ ทุกฺขํ ทุคฺคตึ ปริกฺกิเลสํ หนติ หึสติ วินาเสตีติ สรณนฺติ วุจฺจตีติ. วุตฺตเญฺหตํ :-
"เย เกจิ พุทฺธํ สรณํ คตาเส น เต คมิสฺสนฺติ อปายภูมึ ปหาย มานุสํ เทหํ เทวกายํ ปริปูเรสฺสนฺติ. เย เกจิ ธมฺมํ สรณํ คตาเส น เต คมิสฺสนฺติ อปายภูมึ ปหาย มานุสํ เทหํ เทวกายํ ปริปูเรสฺสนฺติ. เย เกจิ สํฆํ สรณํ คตาเส น เต คมิสฺสนฺติ อปายภูมึ ปหาย มานุสํ เทหํ เทวกายํ ปริปูเรสฺสนฺตี" ติ.
สรณคมนํ นาม รตนตฺตยปรายนาการปฺปวตฺโต จิตฺตุปฺปาโท. สรณสฺส คนฺตา นาม ตํสมงฺคีปุคฺคโล. เอวํ ตาว สรณํ สรณคมนํ สรณสฺส คนฺตา จาติ อิทํ ตยํ เวทิตพฺพํ._____________________________________________________ ที่มา : https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=51&A=3893
|
|
|
50
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ย้อนที่มา พระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 5 ภาพคุ้นตาคนไทย ที่มีติดแทบทุกร้านอาหาร
|
เมื่อ: ตุลาคม 23, 2024, 06:45:57 am
|
. ย้อนที่มา พระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 5 ภาพคุ้นตาคนไทย ที่มีติดแทบทุกร้านอาหารวันปิยมหาราช ย้อนที่มา พระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 5 ทรงทอดปลาทู ภาพคุ้นตาคนไทย ที่มีติดแทบทุกร้านอาหาร
เชื่อว่าคนไทยเกือบทั้งประเทศต่างเคยพบเห็นภาพพระบรมฉายาลักษณ์ เรียบง่าย แต่แฝงไปด้วยความอุ่น ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือรัชกาลที่ 5 ในขณะทรงโสร่งสบายๆ ประทับหน้าเตาถ่าน และทรงกำลังทำอะไรบางอย่างในกระทะด้วยพระองค์เอง ซึ่งพระบรมฉายาลักษณ์นี้ถือเป็นภาพมงคล ที่ร้านอาหารทั่วประเทศไทย รวมทั้งร้านอาหารไทยในต่างประเทศมักจะนำติดประดับไว้ในร้านเพื่อบูชาเสมอ และคนไทยไม่น้อยที่เชื่อกันว่า หากร้านใดมีภาพนี้ติดอยู่ การันตีได้ว่าเป็นคนไทยแท้ รสชาติถูกปากแน่นอน
ภาพนี้ถูกถ่ายไว้ได้ในขณะที่พระองค์ประทับ ณ บริเวณ พระตำหนักเรือนต้น อยู่ในพระราชวังดุสิต ริมบึงน้ำที่เรียกกันว่า "อ่างหยก" ตรงกันข้ามกับพระที่นั่งวิมานเมฆ และมีพระประสงค์จะเสวยปลาทู ซึ่งเป็นพระกระยาหารที่โปรดปรานอย่างมาก อีกทั้งจะหาใครทอดได้ถูกพระราชหฤทัยนั้นก็ยาก มีเพียงแต่เจ้าจอมเอิบเท่านั้นที่ทอดได้อร่อย ไม่เหม็นคาว
เรื่องนี้ถึงขั้นมีพระราชหัตถเลขาถึงพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ สั่งให้รับเจ้าจอมเอิบออกไปทอดปลาทู เมื่อมีพระราชประสงค์จะเสวยพระกระยาหารแบบปิคนิคที่พลับพลาทุ่งพญาไท ว่า…
“เรื่องทอดปลาทู ข้าอยู่ข้างจะกลัวมาก ถ้าพลาดไปแล้ว ข้ากลืนไม่ลง ขอให้จัดตั้งเตาทอดปลาที่สะพานต่อเรือนข้างหน้าข้างใน บอกกรมวังให้จัดรถให้นางเอิบออกไปทอดปลา”
แต่ ณ คราวนี้ ทรงลองทอดด้วยพระองค์เอง อีกทั้งยังรับสั่งให้เจ้าจอมเอิบสลับหน้าที่ไปเป็นช่างภาพ ฉายพระรูปเก็บเอาไว้ เนื่องจากในสมัยนั้นยังไม่มีข้าราชบริพารคนไหนใช้กล้องเป็นนัก มีแต่เพียงเจ้าจอมเอิบ พระสนมคนโปรดที่สามารถใช้กล้องและสามารถล้างรูปได้ด้วย เจ้าจอมเอิบประวัติเจ้าจอมเอิบ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านทรงมีพระมเหสี, พระราชา และพระสนม ถึง 92 คน แต่ที่ทรงโปรดปรานมากที่สุดคนหนึ่งคือ เจ้าจอมเอิบ ผู้มีสิริโฉมงดงามและเก่งในหลายเรื่อง
เจ้าจอมเอิบ อยู่ในกลุ่มเจ้าจอมก๊ก อ. (คือพี่น้องมีชื่อด้วยพยัญชนะ อ) คือ ลูกสาวสกุลบุนนาค ที่ได้เป็นฝ่ายใน เป็นธิดาของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) ซึ่งเป็นบุตรของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ก่อนหน้านี้ท่านได้เป็นเจ้าเมืองเพชรบุรี
เจ้าจอมเอิบได้รับเลือกเป็นนางมยุรฉัตรเข้าในกระบวนแห่โสกันต์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตร์สุขุมพันธุ์ เสร็จงานแล้วถวายตัวเป็นข้าฝ่ายใน พ.ศ.2434 ขณะนั้นอายุได้ 12 ปี และได้อยู่ในวังกับเจ้าจอมมารดาอ่อนผู้เป็นพี่สาวจนได้เป็นเจ้าจอม เนื่องจากเจ้าจอมเอิบนั้นเป็นผู้ที่มีสิริโฉมงดงามที่สุดในบรรดาพี่น้อง
กล่าวกันว่า ท่านเจ้าจอมเอิบนั้นมีคุณสมบัติตรงตามตำราหญิงงามอันเป็นที่นิยมแห่งยุคสมัยนั้นทีเดียว กล่าว คือที่หน้าตาที่อ่อนหวานงดงามเยือกเย็น
กล่าวกันอีกว่า ท่อนแขนของท่านเจ้าจอมเอิบนั้นงดงามกลมกลึงราวกับลำเทียน จึงเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพิเศษ ได้ตามเสด็จไปแปรพระราชฐานประพาสหัวเมืองเหนือ เมื่อ พ.ศ.2444 หรือไปประทับที่พระราชวังบางปะอิน เมื่อ พ.ศ.2445 และเสด็จประพาสต้นเมื่อ พ.ศ.2447 เป็นผู้ถวายงานอย่างใกล้ชิด จนกระทั่งสิ้นรัชกาล เช่นเดียวกับเจ้าจอมเอี่ยมผู้เป็นพี่สาวแท้ๆThank to : https://www.sanook.com/news/9619170/S! News : สนับสนุนเนื้อหา | 23 ต.ค. 67 (03:31 น.)
|
|
|
51
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ฤๅ “นิราศเมืองแกลง” เกิดจากสุนทรภู่เดินทางไปทำ “ราชการลับ”.?
|
เมื่อ: ตุลาคม 23, 2024, 06:34:42 am
|
. หุ่นขี้ผึ้งสุนทรภู่ ที่พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย จังหวัดนครปฐมฤๅ “นิราศเมืองแกลง” เกิดจากสุนทรภู่เดินทางไปทำ “ราชการลับ”.?“นิราศเมืองแกลง” ของสุนทรภู่ เล่าเรื่องราวการเดินทางไปหาบิดาที่เมืองแกลง จังหวัดระยอง ของสุนทรภู่ และเป็นไปได้ว่า นี่อาจเป็นส่วนหนึ่งในภารกิจ “ราชการลับ” ของราชสำนัก
นิราศเมืองแกลงเป็นนิราศคำกลอนความยาว 248 บท แต่งเมื่อราว พ.ศ. 2350 ขณะสุนทรภู่อายุได้ 21 ปี ซึ่งกำลังลอบรักอยู่กับแม่จัน เมื่อความทราบถึงกรมพระราชวังหลังจึงถูกลงโทษจำคุกทั้งสองคน เมื่อพ้นโทษ สุนทรภู่ออกเดินทางไปเยี่ยมบิดาที่บวชอยู่ที่เมืองแกลง และอาจตั้งใจที่จะบวชด้วยเพราะอายุครบบวช ทั้งเพื่อล้างอัปมงคลที่ถูกจองจำ แต่บังเอิญป่วยจึงมิได้บวช
แต่การเดินทางครั้งนี้อาจมี “เบื้องลึก” มากกว่านั้น ข้อสังเกตคือ สุนทรภู่แต่งนิราศเมืองแกลงขึ้นหลังเดินทางกลับกรุงเทพฯ แล้ว มิใช่แต่งขณะเดินทางอนุสาวรีย์สุนทรภู่ ณ ตำบลบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยองอนึ่ง นิราศ คือกลอนเพลงยาวเล่าเรื่องการเดินทางอย่างจดหมายเหตุ การเกิดนิราศมาจากระหว่างเดินทาง (โดยมากเป็นทางเรือ) ผู้เดินทางมีเวลาว่างมาก ได้แต่นั่ง ๆ นอน ๆ จนเบื่อหน่าย ประกอบกับความคิดถึงบ้าน คิดถึงคนรัก จึงต้องคิดหาอะไรทำ
ผู้สันทัดในทางวรรณศิลป์จึงแก้เบื่อด้วยการแต่งบทกลอน พรรณนาถึงสิ่งที่เห็นระหว่างทาง สาระสำคัญจึงวนอยู่กับการบอกเล่าบรรยายเส้นทาง สิ่งที่พบเจอ และการคร่ำครวญถึงคนรัก
ดังนั้น การที่สุนทรภู่แต่งนิราศเมืองแกลงหลังเสร็จสิ้นการเดินทาง จึงชวนให้คิดว่า ระหว่างทางคงไม่สู้จะมีเวลาได้แต่งนิราศ จึงมาประพันธ์ขึ้นภายหลัง
อีกประจักษ์พยานคือ เส้นทางจากกรุงเทพฯ ไปเมืองแกลงในสมัยรัชกาลที่ 2 นั้น ต้องบอกว่ายากลำบากนัก ถนนหนทางทุรกันดาร สุนทรภู่ซึ่งเป็นชาวกรุงฯ จึงรู้สึกเข็ดขยาด ถึงกับแต่งกลอนรำพึงรำพันว่า
“จะกรวดน้ำคว่ำขันจนวันตาย แม้เจ้านายท่านไม่ใช้แล้วไม่มา”
เป็นหลักฐานว่าสุนทรภู่ไม่ได้อยากไปเมืองแกลง แต่ไปเพราะเจ้านายสั่ง แต่ใช้ไปทำอะไรไม่ทราบได้ เพราะไม่ได้ขยายความตรงนี้
ทั้งชวนให้คิดต่อไปว่า หรือแท้จริงสุนทรภู่ไม่รู้จักและไม่เคยไปเมืองแกลงมาก่อนด้วยซ้ำอนุสาวรีย์สุนทรภู่ และพระอภัยมณี ที่บ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยองเป็นที่เข้าใจด้วยว่า บิดาของสุนทรภู่ “บวชการเมือง” เป็นสมภารเจ้าวัดอยู่ที่บ้านกร่ำ เมืองแกลง การที่สุนทรภู่ไปพบบิดาจึงอาจเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติ “ราชการลับ” ให้กรุงเทพฯ
ทั้งนี้ นิราศเมืองแกลงได้แสดงให้เห็นถึงสภาพความเป็นอยู่ของสังคม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และวิถีการใช้ชีวิตของชุมชนตลอดเส้นทาง ยังไม่รวมการสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ และคติธรรมอย่างลึกซึ้งของสุนทรภู่ นับเป็นอีกหนึ่งวรรณคดีชิ้นสำคัญของไทย
อ่านเพิ่มเติม :-
• ตามหา “บ้านสุนทรภู่” กวีเอกรัตนโกสินทร์ ที่เคยอยู่ฝั่งธนฯ • ข้างหลัง “พระอภัยมณี” สุนทรภู่ ซ่อนความคิดต้านชาติตะวันตก • “สุนทรภู่” เล่าประสบการณ์เห็น “ผี” เจอภูตผีปีศาจมาแล้วแทบทุกชนิด!อ้างอิง :- -สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2566). อำนาจของภาษาและวรรณกรรมไทย. กรุงเทพฯ : นาตาแฮก. -ศ. ดร. รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. ลักษณะของนิราศในวรรณคดีสันสกฤต. เอกสารประกอบการเรียนวิชา TH 433 มหาวิทยาลัยราชคำแหง - นามานุกรมวรรณคดีไทย, ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. นิราศเมืองแกลง. สืบค้น 22 ตุลาคม 2567. จาก https://thailitdir.sac.or.th/detail.php?meta_id=184ขอขอบคุณ :- ผู้เขียน : ธนกฤต ก้องเวหา เผยแพร่ : วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2567 เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 22 ตุลาคม 2567 website : https://www.silpa-mag.com/history/article_141755
|
|
|
52
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ขันธ์ 5 มีอะไรบ้าง.? | ทำความรู้จักขันธ์ 5 หลักธรรมสอนใจ พร้อมตัวอย่าง
|
เมื่อ: ตุลาคม 22, 2024, 06:45:46 am
|
. ขันธ์ 5 มีอะไรบ้าง.? | ทำความรู้จักขันธ์ 5 หลักธรรมสอนใจ พร้อมตัวอย่าง“ขันธ์ 5” หลักธรรมในพุทธศาสนาที่เหล่าพุทธศาสนิกชนจะได้เรียนรู้ เป็นหนึ่งในเนื้อหาของวิชาสังคมศึกษาหรือวิชาพระพุทธศาสนา บทความนี้ ไลฟ์สไตล์ไทยรัฐชวนทำความรู้จักขันธ์ 5 คืออะไร พร้อมสรุปขันธ์ 5 อธิบายง่ายๆ เข้าใจไม่ยาก
ทำความรู้จัก “ขันธ์ 5” คืออะไร.?
ขันธ์ 5 มาจากคำว่า "ขันธ์" แปลว่า พวก หมวด เมื่อรวมกับ 5 จึงหมายถึงสภาวธรรม 5 อย่าง
ขันธ์ 5 หมายถึง รูปธรรมและนามธรรมทั้ง 5 ที่สร้างตัวตนหรือชีวิตขึ้นมา หากเรานำขันธ์ 5 มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันแล้ว จะช่วยให้เข้าใจถึงความทุกข์ ชีวิต และธรรมชาติความเป็นไปของชีวิตได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งก็จะหาทางแก้ไขและหาทางดับทุกข์ให้กับตนเองได้หลักธรรมขันธ์ 5 มีอะไรบ้าง.?
เบญจขันธ์ หรือขันธ์ 5 ประกอบด้วยรูปธรรมและนามธรรมทั้ว 5 ได้แก่
1. รูปขันธ์ ส่วนที่เป็นรูปธรรม ว่าด้วยเรื่องของร่างกายและอวัยวะทั้งหมดของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อ ไขมัน เส้นประสาท หัวใจ แขน ขา หรือแม้แต่สมอง
2. เวทนาขันธ์ ส่วนที่เป็นนามธรรม หมายถึง ความรู้สึกที่เกิดขึ้น มีทั้งหมด 3 รูปแบบ คือ สุขเวทนา รู้สึกสุขสบาย, ทุกขเวทนา รู้สึกทุกข์ และอทุกขมสุขเวทนา รู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์
3. สัญญาขันธ์ ส่วนที่เป็นนามธรรม คือ ความจำได้หมายรู้ในสิ่งที่ได้พบเจอ ไม่ว่าจะเป็นรู้รส รู้รูป รู้เสียง รู้ใจหรืออารมณ์ที่เกิดขึ้น เช่น รู้ว่าน้ำสีขาว ไม่มีรสชาติ คือ น้ำเปล่า รู้ว่าเมื่อแดดออกอากาศจะร้อน
4. สังขารขันธ์ ส่วนที่เป็นนามธรรม การคิดปรุงแต่งของจิต เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ซึ่งเมื่อจิตปรุงแต่งไปในทางที่ดีก่อให้เกิดพฤติกรรมที่ดี จิตปรุงแต่งในทางชั่ว ก็จะก่อให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่ดี
5. วิญญาณขันธ์ วิญญาณขันธ์ หมายถึง จิตที่รับรู้ถึงสิ่งต่างๆ ผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ หรือการรับรู้ รูป รส กลิ่น เสียงขันธ์ 5 ในชีวิตประจำวัน มีอะไรบ้าง.?
การนำขันธ์ 5 มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันจะช่วยให้เราได้เข้าใจในสัจธรรมและธรรมชาติของชีวิตมากยิ่งขึ้น เช่น
• การสังเกตรสชาติอาหารเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยน • การสังเกตผิวพรรณที่เปลี่ยงแปลงไปตามกาลเวลา • การสังเกตพฤติกรรมดีชั่วว่าเกิดจากความคิด เหตุผลหรืออารมณ์ ณ ขณะนั้น • การสังเกตผลดี ผลเสีย หรืออารมณ์ที่เป็นผลของการกระทำ • การสังเกตเหตุการณ์หรือสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นว่าสิ่งเหล่านั้นส่งผลต่ออารมณ์และความรู้สึกตนเองอย่างไร • การนึกคิดถึงที่มาของเสียง รส หรือรูป
หลักธรรมเกี่ยวกับขันธ์ 5 จะเน้นสอนเรื่องความทุกข์ และชี้ให้เห็นถึงความเป็นจริงของสังขารว่าเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง พุทธศาสนิกชนสามารถนำไปปรับใช้กับการดำเนินชีวิตประจำวันกันได้Thank to : https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/282111421 ต.ค. 2567 11:21 น. | ไลฟ์สไตล์ > ไลฟ์ | ไทยรัฐออนไลน์
|
|
|
53
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / จิตแพทย์ วิเคราะห์ 4 ข้อ จิตวิทยา หมูเด้ง ทำไมถึงครองใจคนทั่วโลก
|
เมื่อ: ตุลาคม 22, 2024, 06:35:51 am
|
. ภาพจากเพจ ขาหมู แอนด์เดอะแก๊งจิตแพทย์ วิเคราะห์ 4 ข้อ จิตวิทยา หมูเด้ง ทำไมถึงครองใจคนทั่วโลกจิตแพทย์วิเคราะห์ 4 ข้อ จิตวิทยา หมูเด้ง ทำไมถึงครองใจคนทั่วโลก ชอบดูคลิป-คนแห่เอ็นดู
วันที่ 21 ตุลาคม 2567 นพ.เจษฎา ทองเถาว์ แพทย์เฉพาะทางสาขาจิตเวชศาสตร์ จิตแพทย์ประจำ รพ.พระศรีมหาโพธิ์ จ.อุบลราชธานี ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก คลินิกสุขภาพจิตนายแพทย์เจษฎา เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม ระบุว่า
หมูเด้ง คือลูกฮิปโปแคระที่เกิดในสวนสัตว์เขาเขียว ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมาก ๆๆ ในโลกออนไลน์ เราจะลองมาวิเคราะห์ว่าทำไมเจ้าหมูเด้งถึงได้รับความนิยมจากมุมมองทางจิตวิทยา
1. ความน่ารักตามหลักจิตวิทยา (Cuteness Effect) : งานวิจัยด้านจิตวิทยาพบว่า สัตว์ที่มีลักษณะเหมือนเด็กทารก เช่น มีตาโต หูใหญ่ หน้ากลม และท่าทางซุกซน มักสร้างความรู้สึกเอ็นดูให้กับเราได้เป็นอย่างมาก
2. ผลจาก Social Media : ภาพและวิดีโอของ “หมูเด้ง” ถูกเผยแพร่อย่างกว้างขวาง ทำให้เกิดกระแสติดตามเป็นวงกว้าง เมื่อเราเสพสื่อจะเกิดการหลั่งของฮอร์โมนโดปามีนในสมอง ทำให้ผู้ชมรู้สึกมีความสุขเมื่อได้เห็นการอัพเดตเกี่ยวกับน้อง
3. ตัวแทนของความสุขและการคลายเครียด : การติดตามเรื่องราวของสัตว์น่ารักอย่างหมูเด้ง สามารถช่วยลดความเครียด และสร้างความผ่อนคลายได้ งานวิจัยพบว่าการรับชมภาพหรือวิดีโอของสัตว์น่ารักสามารถลดความวิตกกังวลและเพิ่มความสุขในชีวิตประจำวันได้
4. ความหายากและเอกลักษณ์ของฮิปโปแคระ : ฮิปโปแคระเป็นสัตว์ที่มีจำนวนไม่มากและหาได้ยาก การเกิดของลูกฮิปโปแคระในสวนสัตว์จึงสร้างความตื่นเต้นให้กับผู้คน ทำให้เรื่องราวของหมูเด้งกลายเป็นที่สนใจในทันที
อ้างอิง :- – Sherman, G. D., & Haidt, J. (2011). Cuteness and Happiness: How Animals Affect Human Emotion. Journal of Positive Psychology. – Dodman, N. H. (2018). Animals and the Mind: A Behavioral Study. Behavioral Science Reports. – Smith, A. M. (2020). Social Media and Its Effect on Emotional Well-Being. Journal of Social Psychology Thank to : https://www.prachachat.net/social-media-viral/news-1678050โซเชียลมีเดีย Viral | วันที่ 21 ตุลาคม 2567 - 14:53 น.
|
|
|
54
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ประเพณีแห่ หลวงพ่อปาน ปี 2567 ครบรอบ 114 ปี วันที่ 4-10 พฤศจิกายน 2567
|
เมื่อ: ตุลาคม 22, 2024, 06:20:26 am
|
. ประเพณีแห่ หลวงพ่อปาน ปี 2567 ครบรอบ 114 ปี”งานประเพณี แห่หลวงพ่อปาน จังหวัดสมุทรปราการ แห่งเดียวที่ วัดมงคลโคธาวาส เริ่มแล้วเดือนพฤศจิกายนนี้ ปี 2567 ครบรอบ 114 ปี
งานแห่หลวงพ่อปาน 2567 วันนี้ทีมข่าวไทยนิวส์ออนไลน์ มีงานประเพณีแห่หลวงพ่อปานมาบอกทุกคนค่ะ งานประจำปี งานปิดทอง พระเกจิดัง งานยิ่งใหญ่ของชาว สมุทรปราการ งานนมัสการหลวงพ่อปาน จัดขึ้นในวันที่ 4 - 10 พฤศจิกายน 2567 ติดตามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่นี่
@@@@@@@
ประวัติหลวงพ่อปาน
หลวงพ่อปาน หรือ หลวงปู่ปาน เป็นชาวตำบลบางเหี้ย (ตำบลคลองด่านในปัจจุบัน) เกิดปี พ.ศ. 2368 เป็นบุตรคนที่ 3 ของนายปลื้มกับนางตาล มีเชื้อสายจีนทั้งสองคน เมื่อโตขึ้นได้เรียนหนังสือที่วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร แล้วบวชเป็นสามเณรโดยมีพระศรีสากยบุตร (เซ่ง) เป็นพระอุปัชฌาย์ แต่ภายหลังได้ลาสิกขาบทเพื่อกลับมาช่วยทำงานหาเลี้ยงครอบครัว จนอายุครบ 20 ปี จึงอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดอรุณราชวราราม โดยมีพระศรีสากยบุตร (เซ่ง) เป็นพระอุปัชฌาย์ ไม่ปรากฏฉายาแน่ชัด (บ้างว่าติสฺสโร บ้างว่าอคฺคปญฺโญ) ท่านอยู่ศึกษากรรมฐานพอสมควรแล้วจึงลากลับมาอยู่วัดมงคลโคธาวาส และได้เป็นเจ้าอาวาสต่อมา
เมื่ออายุครบบวชจึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดอรุณราชวรารามนั่นเอง โดยมีท่านเจ้าคุณศรีศากยมุนีเป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านศึกษาด้านวิปัสสนากรรมฐาน รวมถึงไสยศาสตร์ ท่านได้รับการถ่ายทอดจากคณาจารย์หลายองค์จนเชี่ยวชาญ ภายหลังได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดบางเหี้ยนอก ปัจจุบัน เรียกว่า วัดมงคลโคธาวาส โดยมีพระที่เป็นสหายสนิทตามมาด้วยองค์หนึ่งชื่อ หลวงพ่อเรือน หลังออกพรรษาท่านและพระเรือนเริ่มออกธุดงค์ไปสถานที่ต่างๆ
หลวงพ่อปาน มรณภาพ ด้านสมณศักดิ์ หลวงพ่อปาน ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น “พระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ” ท่านมรณภาพเมื่อ วันที่ 29 สิงหาคม 2453 เวลา 4 ทุ่ม 45 นาที พระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2454 สิริอายุ 85 ปีประเพณีแห่ หลวงพ่อปาน ปี 2567 ครบรอบ 114 ปี
งานนมัสการปิดทองหลวงปู่ปาน วัดมงคลโคธาวาส จะจัดขึ้นในวันที่ 4 - 10 พฤศจิกายน 2567 ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมงาน “แห่หลวงปู่ปาน” ประจำปี 2567 (ครบรอบ 114ปี) มาร่วมสัมผัสความสวยงามของขบวนแห่หลวงปู่ปาน และสัมผัสพลังศรัทธาของชาวคลองด่านและตำบลใกล้เคียงที่มีต่อองค์หลวงปู่ปานว่ามากมายล้นหลามขนาดไหน
ในวันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2567 • แห่ทางเรือ เวลา 07.09 น. • แห่ทางรถ เวลา 09.39 น. ณ วัดมงคลโคธาวาส ต.คลองด่าน อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ ขอขอบคุณ :- ภาพจาก : https://today.line.me/th/v2/article/BEYKBOQอ้างอิง : หลวงปู่ปานวัดบางเหี้ยนอกที่มา : https://www.thainewsonline.co/belief/87665321 ตุลาคม 2567
|
|
|
56
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เป็น Introvert หรือโรคกลัวสังคม เช็กความต่างอย่างเข้าใจ ก่อนตัดสิน
|
เมื่อ: ตุลาคม 21, 2024, 06:03:46 am
|
. เป็น Introvert หรือโรคกลัวสังคม เช็กความต่างอย่างเข้าใจ ก่อนตัดสินคนจำนวนไม่น้อยมักจะเกิดความสับสนและเข้าใจผิดว่าคนที่มีบุคลิกแบบ Introvert ซึ่งชอบเก็บตัว เป็นกลุ่มเดียวกับโรคกลัวสังคม (Social anxiety disorder) ที่มักจะมีอาการวิตกกังวลเมื่ออยู่ท่ามกลางผู้คนจำนวนมาก ซึ่งแม้จะมีลักษณะบางอย่างที่คล้ายกัน แต่ความจริงแล้วแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
ความต่างของ Introvert และโรคกลัวสังคม
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี อธิบายว่า Introvert เป็นคำที่บอกถึงลักษณะนิสัยหรือพฤติกรรมของคนที่ชอบเก็บตัว พูดน้อย ไม่ชอบเริ่มบทสนทนาก่อนเมื่อต้องอยู่กับคนแปลกหน้า บุคลิกภาพที่ชอบทำกิจกรรมต่างๆ เพียงคนเดียว ซึ่งผู้คนที่มีบุคลิกภาพประเภทนี้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ และไม่ได้มีความวิตกกังวลเมื่อต้องพบปะพูดคุยกับผู้อื่น แม้ในบางครั้งอาจรู้สึกหมดพลัง แต่สามารถเพิ่มพลังให้กับตัวเองได้เมื่ออยู่คนเดียว
ขณะที่โรคกลัวสังคม หรือ Social anxiety disorder เป็นอาการวิตกกังวลอย่างหนึ่ง กลุ่มคนที่จะมีความกังวลอย่างรุนแรงในการเข้าสังคม พบปะพูดคุยกับผู้อื่น กลัวการถูกตัดสิน วิพากษ์วิจารณ์ หรือกลัวว่าผู้อื่นมองว่าตนเองไม่ปกติ จนส่งผลให้หลีกเลี่ยงการเข้าสังคม เช่น การสนทนากับผู้อื่น หรือพูดคุยต่อหน้าผู้คนจำนวนมาก และส่งผลต่อปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวันภาพจาก iStockดังนั้น Introvert จึงเป็นลักษณะของบุคลิกภาพไม่ใช่ปัญหาทางด้านสุขภาพจิต ซึ่งคนที่เป็น Introvert ไม่ได้กลัวการเข้าสังคมหรือกลัวการพูดคุยกับผู้อื่น แต่การสื่อสารกับผู้อื่นจะต้องใช้พลังงานมาก การที่ได้อยู่กับตนเองได้ทำกิจกรรมที่ชื่นชอบจะเป็นการเติมพลังมากกว่าการพบปะผู้คน
ส่วนผู้ที่เป็นโรคกลัวสังคม จะมีความวิตกกังวลอย่างรุนแรงเมื่อต้องเจอคนแปลกหน้า เพราะกลัวว่าตนเองจะทำเรื่องน่าอายต่อหน้าผู้อื่น จึงหลีกเลี่ยงสภาวะกดดัน จนไม่สามารถทำงานหรืออยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้ ทำให้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และการทำหน้าที่หรือได้รับโอกาสที่สำคัญต่างๆแพทย์หญิงอริยาภรณ์ ตั้งชีวินศิริกูล จิตแพทย์โรงพยาบาล BMHH- Bangkok Mental Health Hospitalแพทย์หญิงอริยาภรณ์ ตั้งชีวินศิริกุล จิตแพทย์โรงพยาบาล BMHH- Bangkok Mental Health Hospital เผยว่า โรคกลัวสังคม (Social anxiety disorder) เป็นหนึ่งในกลุ่มโรควิตกกังวลที่สามารถเกิดขึ้นกับคนได้ทุกช่วงอายุ ไม่ว่าจะเพศหญิง หรือเพศชาย โดยอาการจะเด่นชัดในช่วงวัยรุ่น
อาการโรคกลัวสังคม
1. รู้สึกวิตกกังวลหรือกลัวการเข้าสังคมอย่างรุนแรง 2. หลีกเลี่ยงการเข้าสังคมหรือสถานการณ์ที่ต้องมีการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น 3. มีอาการทางร่างกาย เช่น ใจสั่น เหงื่อออก พูดติดอ่าง หน้าแดง ท้องเสีย ปวดท้อง 4. มีอาการทางจิตใจ เช่น รู้สึกกังวล กลัวถูกตัดสิน กลัวถูกปฏิเสธ
สาเหตุโรคกลัวการเข้าสังคมสามารถเกิดขึ้นได้หลายปัจจัย เช่น สารเคมีในสมองที่เปลี่ยนแปลงไป, คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรควิตกกังวล, สภาพแวดล้อม เช่น มีการใช้ความรุนแรงในครอบครัว ถูกเพื่อนรังแก, ความกดดันจากการทำงาน และความผิดปกติด้านร่างกาย เช่น ใบหน้าเสียโฉม พูดติดอ่างภาพจาก iStockโรคกลัวการเข้าสังคม (Social anxiety disorder) สามารถรักษาให้หายได้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยวิธีที่มักนำมาใช้รักษา ได้แก่ การรักษาด้วยยา ซึ่งยาที่ใช้รักษาโรคกลัวสังคมมักเป็นยาในกลุ่มยาต้านอาการซึมเศร้าหรือยาต้านความวิตกกังวล ยาเหล่านี้สามารถช่วยบรรเทาอาการวิตกกังวลและช่วยให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ และการบำบัดด้วยการเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy) จะเป็นการพูดคุยกับนักจิตบำบัด หรือจิตแพทย์เพื่อจัดการกับความกังวลด้วยการผ่อนคลายร่างกาย และปรับความคิดแง่ลบให้เป็นบวก ซึ่งถือเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการรักษาโรควิตกกังวล
อย่างไรก็ตาม โรคกลัวการเข้าสังคม อาจทำให้ผู้ป่วยสูญเสียโอกาสในชีวิต เช่น โอกาสในการเรียน การทำงาน บางคนที่มีอาการรุนแรงอาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้ ดังนั้นหากใครมีอาการกลัวสังคมต่อเนื่องกันนานเกิน 6 เดือน ควรรีบมาพบจิตแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสมThank to : https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/281988814 ต.ค. 2567, 14:51 น. | ไลฟ์สไตล์ > ไลฟ์ | ไทยรัฐออนไลน์
|
|
|
59
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เปิด 'ไร่เชิญตะวัน' ศูนย์วิปัสสนา ท่าน ว.วชิรเมธี พื้นที่ 170 ไร่ กลางป่าสงบ
|
เมื่อ: ตุลาคม 20, 2024, 07:43:10 am
|
. เปิด 'ไร่เชิญตะวัน' ศูนย์วิปัสสนา ท่าน ว.วชิรเมธี พื้นที่ 170 ไร่ กลางป่าอันเงียบสงบเปิด ‘ไร่เชิญตะวัน’ ศูนย์วิปัสสนา ท่าน ว.วชิรเมธี พื้นที่ 170 ไร่ กลางป่าอันเงียบสงบ ทำเลดีมาก ติดอ่างเก็บน้ำห้วยสัก ประชาชนเข้าร่วมจำนวนมาก
เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2567 การไปปฏิบัติธรรม นับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคนที่ต้องการพักจิตพักใจ หันหลังให้เมืองที่วุ่นวาย หันหน้าเข้าหาธรรมชาติและธรรมะ ใช้เวลากับตัวเอง
โดยเชื่อว่าหลายคนน่าจพคุ้นหูกับชื่อ ไร่เชิญตะวัน หรือ ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดย ท่าน ว.วชิรเมธี หรือ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ศูนย์กลางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ที่จังหวัดเชียงราย บนเนื้อที่กว่า 170 ไร่ ท่ามกลางความเงียบสงบกลางป่าเขา ใกล้ชิดธรรมชาติและหัวใจตนเอง
วันนี้ ข่าวสดออนไลน์ รวบรวมข้อมูลมาให้แล้ว จุดเริ่มต้นที่มาของ ‘ไร่เชิญตะวัน’ อยู่ที่ไหน มีความเป็นมาอย่างไร ใครเป็นคนก่อตั้ง และมีความสำคัญอย่างไรภาพประกอบศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน (Cherntawan International Meditation Center)
ความหมาย “เชิญตะวัน” : ไร่เชิญตะวัน
คำว่า “เชิญตะวัน” หมายถึง “เชิญธรรมะมาเป็นแสงสว่างนำทางชีวิต” ธรรมะเป็นดั่งดวงตะวัน เมื่อดวงตะวันอุทัยขึ้นมาความมืดก็อันตรธานไป ฉันใด เมื่อธรรมะอุบัติขึ้นมาในใจของผู้ใด ความหลงก็ปลาสนาการไป ฉันนั้น
ไร่เชิญตะวัน จึงเป็นดั่งรมณียสถานในการฝึกตนเพื่อก้าวพ้นจากความมืดมนอนธการของชีวิตและบรรลุสู่ภาวะ “โชติช่วงดั่งดวงตะวัน” ดังกวีนิพนธ์ที่ท่านว.วชิรเมธี นิพนธ์ไว้ว่า
ความเป็นมา ไร่เชิญตะวัน
ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน ก่อตั้งโดย พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ท่านว.วชิรเมธี) พระนักคิด นักเขียน นักเทศน์ และนักพัฒนาสังคมชื่อดังของประเทศไทย เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2552
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็น “ศูนย์กลางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประชาคมโลก” (International Meditation Center) รมณียสถานแห่งนี้ตั้งอยู่เลขที่ 217 บ้านใหม่สันป่าเหียง ต.ห้วยสัก อ.เมือง จ.เชียงราย
บนเนื้อที่กว่า 170 ไร่ ทิศเหนือติด ทุ่งนา ทิศใต้ติดอ่างเก็บน้ำห้วยสัก ทิศตะวันออกติดอ่างเก็บน้ำห้วยสัก ทิศตะวันตกติดถนนของชุมชนภาพประกอบความสำคัญ ไร่เชิญตะวัน
นอกจากเป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแล้ว ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน ยังเป็นที่ตั้งของ
1. สำนักงานมูลนิธิวิมุตตยาลัย 2. สถาบันวิมุตตยาลัย 3. มหาวิชชาลัยพุทธเศรษฐศาสตร์ (สถาบันการศึกษาทางเลือกเพื่อการพัฒนาตามปรัชญาพุทธเศรษฐศาสตร์)
หลักสูตรสมาธิภาวนา ไร่เชิญตะวัน
ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน มีการจัดอบรมหลักสูตรสมาธิภาวนาทั้งแก่ชาวไทยและชาวต่างประเทศเป็นประจำทุกเดือน เดือนละ 2 ครั้ง ทั้งแก่ผู้สนใจกลุ่มใหญ่ (200 คนขึ้นไป) หรือแก่ผู้สนใจกลุ่มย่อย (เฉพาะหน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา หรือองค์กรทางธุรกิจ 50 คนขึ้นไป)
โดยมีหลักสูตรที่หลากหลายให้เลือก ดังต่อไปนี้
• สำหรับผู้บริหารระดับสูง : หลักสูตร 1 วัน • สำหรับนักเรียน-นักศึกษา : หลักสูตร 2 วัน • สำหรับธุรกิจ-ข้าราชการ : หลักสูตร 3 วัน • สำหรับประชาชนทั่วไป : หลักสูตร 4 วัน • สำหรับชาวต่างชาติ : หลักสูตร 7 วัน • บรรพชิต : หลักสูตร 9 วัน
ข้อมูลการเดินทาง ไร่เชิญตะวัน
ที่อยู่ 217 หมู่ที่ 25 บ้านใหม่สันป่าเหียง ต.ห้วยสัก อ.เมือง จ.เชียงราย 57000 GPS 19.762560, 99.876671ภาพประกอบขอขอบคุณ :- ที่มา : เทศบาลตำบลห้วยสักwebsite : https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_946616719 ต.ค. 2567 - 11:49 น. | เด่นออนไลน์
|
|
|
60
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / หลวงพ่อโต วัดบวรฯ พระพุทธรูปเก่าแก่อายุกว่า 800 ปี
|
เมื่อ: ตุลาคม 20, 2024, 07:28:23 am
|
. (ขอบคุณภาพจาก เพจเฟซบุ๊ก : พิกุลบรรณศาลา)หลวงพ่อโต วัดบวรฯ พระพุทธรูปเก่าแก่อายุกว่า 800 ปีหลวงพ่อโต วัดบวรฯ พระพุทธรูปองค์ใหญ่กลางเมืองเพชรบุรี ก่อนอัญเชิญมาประดิษฐานที่กรุงเทพฯ
พระพุทธรูปสำคัญของวัดบวรนิเวศวิหารองค์ที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดคือ พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา พระพุทธรูปสำคัญของหัวเมืองเหนือ ซึ่งสร้างขึ้นในคราวเดียวกับพระพุทธชินราช และพระเหลือ แห่งวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก
พระศรีศาสดา ปัจจุบันประดิษฐานที่วิหารพระศาสดา ส่วนพระพุทธชินสีห์ประดิษฐานที่พระอุโบสถ หากแต่ด้านหลังของพระพุทธชินสีห์ ยังมีพระพุทธรูปสำคัญอีกองค์หนึ่ง นั่นคือ หลวงพ่อโต วัดบวรฯ พระพุทธรูปสำคัญที่มีอายุเก่าแก่มากอีกองค์หนึ่งของไทยพระพุทธชินสีห์ และพระสุวรรณเขต (ขอบคุณภาพจาก เพจเฟซบุ๊ก : พิกุลบรรณศาลา)ตามประวัติ หลวงพ่อโตเคยประดิษฐานอยู่ที่วัดสระตะพาน จังหวัดเพชรบุรี ต่อมาสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือวังหน้าในสมัยรัชกาลที่ 2 ทรงอัญเชิญมายังกรุงเทพฯ
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า เมื่ออัญเชิญหลวงพ่อโตมาประดิษฐานที่กรุงเทพฯ องค์พระพุทธรูปน่าจะชำรุดทรุดโทรมมาก หักพังได้มาเป็นส่วน ๆ แล้วเอามาประกอบเข้าเป็นองค์พระ โดย “ลักษณะเป็นฝีมือช่างกรุงเทพฯ โดยมาก สังเกตพอรู้ได้แต่เป็นเค้าว่าเดิมเห็นจะเป็นลักษณะพระขอม”
หลวงพ่อโตมีชื่อเรียกหลากหลายชื่อ ทั้ง หลวงพ่อโต, พ่อโต, พระศรีสรรเพชญ์สัตตะพันพาน, พระสุวรรณเขมา และพระสุวรรณเขต
หลวงพ่อโต, พ่อโต เรียกตามลักษณะขององค์พระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่มาก คือขนาดหน้าตัก 9 ศอก กับ 21 นิ้ว หรือเกือบ 5 เมตร
สำหรับชื่อเรียกพระศรีสรรเพชญ์สัตตะพันพาน มาจากตำนานการสร้างพระพุทธรูปองค์นี้ โดย อ. ล้อม เพ็งแก้ว ปราชญ์แห่งเมืองเพชรบุรี ตรวจสอบข้อมูลพบว่า วัดสระตะพาน จังหวัดเพชรบุรี เป็นวัดใหญ่กลางเมือง ปัจจุบันเป็นวัดร้าง ตำแหน่งที่ตั้งอยู่ใกล้กับศาลหลักเมืองเดิม ชื่อวัดสระตะพานเป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกขานกัน แต่เมื่อตรวจสอบกับโฉนดที่ดินที่ทำไว้เมื่อ พ.ศ. 2460 พบว่าเรียกชื่อวัดเป็น วัดสัตตพาน
อ. ล้อม อธิบายว่า ตามตำนานการสร้างหลวงพ่อโตต้องใช้พานเจ็ดพันใบหลอมหล่อเป็นองค์พระพุทธรูป (สัตตะ = 7, พัน = จำนวน 1,000) ดังนั้น ชื่อวัดสัตตพาน ก็สอดคล้องกับชื่อเรียกพระศรีสรรเพชญ์สัตตะพันพาน ซึ่งคำพระศรีสรรเพชญ์ก็เป็นนามเรียกพระพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นพระศาสดาแห่งพระพุทธศาสนาพระสุวรรณเขต (ขอบคุณภาพจาก เพจเฟซบุ๊ก : พิกุลบรรณศาลา)ส่วนชื่อเรียกพระสุวรรณเขมา และพระสุวรรณเขต เกี่ยวข้องกับก้อนแร่กายสิทธิ์ที่ซ่อนอยู่ในเม็ดพระศกของพระพุทธรูป
โดย 3 ก้อนแร่กายสิทธิ์ในตำนานความเชื่อโบราณของไทย ประกอบด้วย เหล็กไหล, เจ้าน้ำเงิน และสุวรรณเขต (หรือขีด)
เล่ากันว่า เมื่ออัญเชิญหลวงพ่อโตมายังกรุงเทพฯ แล้วนั้น นายช่างวังหน้ากราบทูลสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพว่า เม็ดพระศกขององค์พระพุทธรูปใหญ่เกินไป ดูไม่งดงามตามความนิยมในสมัยนั้น จึงเลาะเม็ดพระศกเดิมออกเพื่อทำใหม่ และการเลาะเม็ดพระศกในคราวนั้นก็พบสุวรรณเขตซ่อนอยู่
เชื่อกันว่า สุวรรณเขตมีคุณสมบัติพิเศษคือ หากนำสุวรรณเขตไปขีดลงบนโลหะอื่นใด โลหะนั้นก็จะกลายเป็นทองคำไปทันที
หลวงพ่อโตเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดบวรฯ มานานหลายปี ก่อนที่ในสมัยรัชกาลที่ 4 จะทรงอัญเชิญพระพุทธชินสีห์มาประดิษฐานในพระอุโบสถอีกองค์หนึ่ง
อ่านเพิ่มเติม :-
• ตำนานสร้าง “พระศรีศาสดา” พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง “พระพุทธรูปผู้พิทักษ์พระพุทธชินสีห์” • พระเทพโมลี (สิน) เจ้าอาวาส “วัดบวรนิเวศวิหาร” เมื่อแรกสถาปนา
อ้างอิง :- - เพ็งแก้ว. (สิงหาคม, 2532). หลวงพ่อโต วัดบวรฯ ใน, “ศิลปวัฒนธรรม”. ปีที่ 10 : ฉบับที่ 10. - บุศยารัตน์ คู่เทียม. (กันยายน-ตุลาคม, 2549). ย้อนอดีต…วัดบวรนิเวศวิหาร ใน, “ศิลปากร”. ปีที่ 49 : ฉบับที่ 5. - ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. (2548). ตำนานพระพุทธรูปสำคัญ. กรุงเทพฯ : มติชน. ขอขอบคุณ :- ผู้เขียน : กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม เผยแพร่ : วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ.2567 เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 18 ตุลาคม 2567 website : https://www.silpa-mag.com/history/article_141515
|
|
|
61
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / วัดสระเกศฯ เร่งฟื้นฟู ‘ต้นโพธิ์ลังกา’ อายุกว่า 200 ปี ลำต้นผุ รากถูกคุกคาม
|
เมื่อ: ตุลาคม 20, 2024, 07:20:38 am
|
. วัดสระเกศฯ เร่งฟื้นฟู ‘ต้นโพธิ์ลังกา’ อายุกว่า 200 ปี ลำต้นผุ รากถูกคุกคามพระพรหมสิทธิ เจ้าอาวาสวัดสระเกศฯ ตั้งคณะกรรมการฟื้นฟูดูแลรักษาต้นโพธิ์ลังกา และเริ่มขั้นตอนการฟื้นฟูด้วยการเติมปุ๋ยที่ราก เพื่อให้กลับมาอยู่ในสภาพแข็งแรง
พระพรหมสิทธิ เจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร กรรมการมหาเถรสมาคม(มส.) ได้ลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการฟื้นฟูและดูแลรักษาต้นโพธิ์ลังกาขึ้น เนื่องจากทางกรมศิลปากรได้มีหนังสือลงวันที่ 4 ต.ค.2567 เรื่อง โพขี้นกคุกคามต้นโพธิ์ลังกา วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ซึ่งเป็นโบราณสถาน ที่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 22 พ.ย.2492 และกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 2 ก.ย.2566
กรมศิลปากรจึงได้ขออนุญาตนำคณะผู้เชี่ยวชาญจากกรมป่าไม้ และสำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย สำรวจตรวจสอบและศึกษาวิธีดูแลรักษาต้นโพธิ์ลังกา พบว่า ต้นโพธิ์ลังกามีความเสี่ยงจากการคุกคามของโพขี้นกในระดับสูง ประกอบกับการผุของลำต้นเป็นแผล และระบบรากถูกคุกคามโดยกรอบปูน ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของต้นโพธิ์ลังกาในระดับสูงมาก จึงเห็นสมควรที่จะต้องทำการพื้นฟูดูแลรักษาต้นโพธิ์ลังกาให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่ออนุรักษ์ต้นโพธิ์ลังกาให้เจริญเติบโตอย่างมั่นคงโดยเมื่อวันที่ 16 ต.ค.ที่ผ่านมา คณะกรรมการฟื้นฟูและดูแลรักษาต้นโพธิ์ลังกา ได้ประชุมร่วมกับผู้อำนวยการเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรมศิลปากร รุกขกร กรมป่าไม้ อาจารย์ประจำภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และไวยาวัจกรวัดสระเกศฯ เพื่อหาแนวทางการฟื้นฟูดูแลรักษาต้นโพธิ์ลังกาให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ
และเมื่อวันที่ 18 ต.ค. คณะกรรมการฟื้นฟูดูแลรักษาต้นโพธิ์ลังกา ได้เริ่มขั้นตอนการฟื้นฟูต้นโพธิ์ลังกา ด้วยการเติมปุ๋ยที่ราก เพื่อให้รากต้นโพธิ์ลังกากลับมาอยู่ในสภาพแข็งแรง ซึ่งก่อนหน้านี้รุกขกรตรวจพบว่า รากต้นโพธิ์ลังกาอยู่ในสภาพอ่อนแอมาก จากการถูกคุกคามโดยกรอบปูน หากไม่เร่งรีบดำเนินการ อาจเป็นอันตรายต่อต้นโพธิ์ลังกาได้ รุกขกรจึงจำเป็นต้องรีบฟื้นฟูรากต้นโพธิ์ลังกาให้กลับมาแข็งแรงก่อนที่จะดำเนินด้านอื่นๆ ตามขั้นตอนต่อไปสำหรับต้นโพธิ์นี้ เป็นพันธุ์พระศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มีประวัติว่า เมื่อรัชกาลที่ 2 ปีจอ จุลศักราช 1176 ตรงกับพุทธศักราช 2357 โปรดให้เลือกพระภิกษุผู้ชอบธุดงค์ ได้พระอาจารย์ดีกับพระอาจารย์เทพจากวัดสระเกศ เป็นหัวหน้าสมณทูตออกไปสืบพระศาสนาที่ลังกาทวีป อาจารย์ดีกับอาจารย์เทพไปอยู่เป็นเวลา 3 ปี ครั้นกลับมาได้นำหน่อต้นโพธิ์ลังกาพันธุ์พระศรีมหาโพธิ์เมืองอนุราธบุรีมาถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย 3 ต้น ทรงโปรดให้ปลูกไว้ที่ วัดสระเกศฯ 1 ต้น อยู่ที่ลานโพธิ์หน้าพระอุโบสถ ปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบันThank to : https://www.dailynews.co.th/news/3990040/ข่าว > การศึกษา-ศาสนา | 19 ต.ค. 2567 • 9:58 น.
|
|
|
62
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / คณะสงฆ์ปลื้มหลักสูตร ‘มจร วัดไร่ขิง’ พัฒนาศักยภาพ ‘มัคนายก’
|
เมื่อ: ตุลาคม 20, 2024, 07:16:23 am
|
. คณะสงฆ์ปลื้มหลักสูตร ‘มจร วัดไร่ขิง’ พัฒนาศักยภาพ ‘มัคนายก’อธิการบดีมจร เป็นประธานในพิธีมอบประกาศนียบัตรหลักสูตร “การพัฒนาศักยภาพมัคนายกเพื่อเป็นผู้นำศาสนพิธีแห่งศรัทธา” รุ่นที่ 1
พระพรหมวัชรธีราจารย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) เป็นประธานในพิธีมอบประกาศนียบัตรหลักสูตร “การพัฒนาศักยภาพมัคนายกเพื่อเป็นผู้นำศาสนพิธีแห่งศรัทธา” รุ่นที่ 1 แก่ผู้ผ่านการพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติหน้าที่มัคนายกให้มีความรู้และความเข้าใจในหลักพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับมงคลพิธีและอวมงคลพิธี ที่อาคารเรียนรวมพระเทพศาสนาภิบาล วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หรือ มจร วัดไร่ขิง
ทั้งนี้ พระราชวชิรสุตาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดนครปฐม กล่าวว่า มัคนายกนำประกอบพิธีกรรมเมื่อก่อนก็ทำไปตามประเพณีที่สืบๆกันมา แต่พอผ่านการอบรมหลักสูตรนี้แล้วมีการนำไปทดลองปฏิบัติหน้าที่เมื่อช่วงทำบุญวันพระที่ผ่านมา พบว่า มัคนายกมีการอธิบายปรัชญาธรรมที่สอดแทรกอยู่ขั้นตอนต่างๆของการประกอบพิธี คนมาทำบุญก็ได้รู้จุดมุ่งหมายของการประกอบพิธี เข้าถึงเข้าใจแก่นธรรมหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา
@@@@@@@
ขณะที่ พระศรีวิสุทธิวงศ์ รองเจ้าคณะจังหวัดนครปฐม กล่าวว่า ตามที่สังเกตเห็นแล้ว ผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรนี้ สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง ทั้งรูปแบบการจัดพิธีและศัพท์ที่ใช้มัคนายกจากการอบรมดังกล่าวจึงเป็นผู้นำพุทธศาสนิกชนให้ก้าวเดินสู่หนทางบุญกุศลที่เป็นเป้าหมายของชาวพุทธ
พระครูสิริปุญญาภิวัฒน์ เจ้าคณะอำเภอนครชัยศรี จ.นครปฐม กล่าวว่า ได้ส่งมัคนายกมาร่วมอบรมด้วย พบว่าเมื่อกลับไปนำทำพิธีก็เห็นว่าเข้าใจพิธีกรรมต่างๆดีขึ้น การกล่าวนำคำถวายข้าวพระพุทธก็ถูกต้องชัดเจน มีบทกลอนและคติธรรมสอนใจคนที่มาทำบุญ การปฏิบัติตนก็สงบดีขึ้นกว่าเดิมด้วย
Thank to : https://www.dailynews.co.th/news/3990184/ข่าว > การศึกษา-ศาสนา | 19 ต.ค. 2567 • 11:02 น.
|
|
|
63
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ปักตะไคร้ไล่ฝน ทำไมต้องเป็น "สาวพรหมจรรย์".?
|
เมื่อ: ตุลาคม 18, 2024, 08:18:10 am
|
. นางสาคร มาปากลัด ชาวไทยเชื้อสายมอญบ้านอ้อมโรงหีบ ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร สาธิตการปักตะไคร้ปักตะไคร้ไล่ฝน ทำไมต้องเป็น "สาวพรหมจรรย์".? เคยสงสัยไหมว่า ปักตะไคร้ไล่ฝน ทำไมต้องเป็น “สาวพรหมจรรย์”.?
“รับสมัครสาวพรหมจรรย์อายุ ในมาตรการรักษาพรหมจรรย์ภายหลัง ตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป 3 คน ปลูกตะไคร้ ด้านหน้าเวที ขอไวหน่อยนะครับ เมฆตั้งเค้ามาแล้ว…”
เสียงพิธีกรรมบนเวทีปฏิรูปประเทศหลังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ประกาศเมื่อบ่ายวันที่ 27 พฤศจิกายน 2556 ใดๆ ขณะที่ผมเข้าไปร่วมสังเกตการณ์อยู่ข้างเวที สาวรุ่นป้า รุ่นยาย แย่งยกมือกันสลอน เรียกเสียงฮาครื้นเครงจากผู้เข้าร่วมชุมนุม เนื้อความที่ประกาศนั้นไม่ได้มีการทํากันขึ้นมาจริง แต่เชื่อว่าเป็นมุขที่ต่างเข้าอกเข้าใจกันดีว่า การ “ปลูกตะไคร้” หรือ “ปักตะไคร้” เอาเคล็ดป้องกันไม่ให้ฝนตก เป็นที่เชื่อถือกันอยู่ในเกือบทั่วทุกภูมิภาคของไทย แถมคนที่จะทําหน้าที่นี้ได้ต้องเป็น “สาวพรหมจารี” หรือ “สาวพรหมจรรย์” เท่านั้น
ผู้คนส่วนใหญ่รับรู้ในแบบเดียวกันว่า คนที่จะปลูกตะไคร้เพื่อไม่ให้ฝนตกนั้นต้องเป็นสาวพรหมจารี ถึงวันนี้ที่เราต่างอยู่ในยุคดิจิทัล ผมไม่มีข้อสงสัยหรอกว่าพิธีนี้จะได้ผลหรือไม่ ผมสนใจวิธีคิดในการพยายามหาที่พึ่งทางใจ และการเลือกคุณสมบัติของผู้มาปักตะไคร้มากกว่า และที่สําคัญ สมุทรสาครบ้านผมใช้ “แม่หม้าย” แน่นอนว่าลดอัตราเสี่ยง และทนแรงต้านที่อาจถูกตั้งข้อสงสัยในมาตรการรักษาพรหมจรรย์ภายหลังการปักตะไคร้แล้วฝนเทลงมาได้ในระดับดี
การรับมือกับธรรมชาติขณะมีงานมหรสพ หรืองานประเพณีกิจกรรมใดๆ ในพื้นที่โล่งแจ้งของชาวบ้าน ซึ่งสุ่มเสี่ยงจะมีฝนตกลงมาขณะจัดงาน อันจะทำให้งานนั้นกร่อยหรือถึงกับล่มด้วยวิธีการต่างๆ นั้นคงมีอยู่ด้วยกันในหลายชาติ แม้จะรู้ดีว่าเป็นการฝืนธรรมชาติ แต่ก็คงเป็นความพยายามหาสิ่งยึดเหนี่ยวทางใจ หรืออาจจะเรียกว่าเป็นการละเล่นแก้เครียด ที่น่าจะดีกว่าไม่ทําอะไรเอาเสียเลย
การปลูกหรือปักตะไคร้เพื่อป้องกันฝนตก อันเป็นที่รู้จักกันดีแล้วในบางแห่ง เช่น ปทุมธานี ที่ผมเคยพบมาด้วยตนเอง นอกจากการปักตะไคร้แล้ว ยังมีพิธีกรรมอื่นพ่วงเสริมเข้าไปด้วย คือ ปักตะไคร้พร้อมหงายครกหงายสาก โดยเอาสากตั้งขึ้นชี้ฟ้า
ย่านอําเภอสองพี่น้อง สุพรรณบุรี นิยมเอากางเกงในแม่หม้ายสีแดงผูกเข้ากับปลายไม้ยาวๆ ปักแขวนไว้กลางแจ้งกันฝนตก
แถบภาคเหนือในบางถิ่น นิยมนําเอาผ้าถุงผู้หญิงขึ้นพาดหรือตากไว้บนหลังคาบ้านหรือเพิงพัก นัยว่าเพื่อ ให้เกิดอาเพศฝนฟ้าจะได้ไม่ตก แต่ก็ไม่มีหลักปฏิบัติชัดเจนว่าจะต้องเป็นผ้าถุงแม่หม้ายด้วยหรือไม่อย่างไร
@@@@@@@
ในขณะที่ประเทศจีน เจ้าของอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดชาติหนึ่งของเอเชีย และมีคติความเชื่อที่ผูกติดกับสิ่งเหนือธรรมชาติขนานใหญ่ไม่แพ้ชาติใดในโลก แม้จะยังมีความคิดเรื่องการป้องกันฝนตกเช่นเดียวกัน แต่กลับเลือกใช้วิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่น่าสนใจ ผมได้อ่านบทความของคุณพิษณุ นิลกลัด เรื่อง “วิธีห้ามฝนสมัย ทําพิธีเปิดและวันทําพิธีปิดการแข่งขัน ใหม่ไม่ต้องปักตะไคร้” คอลัมน์คลุกวงใน นิตยสารมติชนสุดสัปดาห์ เมื่อปี 2551 เล่าเอาไว้อย่างน่าสนใจว่า
คณะกรรมการจัดการแข่งขันมีการเตรียมการวางแผนรับมือ หากเกิดฝนตกขึ้นระหว่างจัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 8-24 สิงหาคม 2551 โดยนักอุตุนิยมวิทยาของจีนวิเคราะห์จากสถิติฝนตกในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา และพยากรณ์ว่า โอกาสที่ฝนจะตกในวันทำพิธีเปิดและวันทำพิธีปิดการแข่งขัน มีความน่าจะเป็นสูงถึง 50 เปอร์เซ็นต์ นับเป็นเรื่องน่าหนักใจสำหรับเจ้าภาพเป็นอย่างยิ่ง แต่ทั้งนี้เจ้าภาพก็ไม่ได้วิตกกังวลมากนัก เพราะมั่นใจในวิธีห้ามฝนแบบใหม่ที่จะนำมาใช้เป็นครั้งแรกในการแข่งขันโอลิมปิคครั้งนั้น
แน่นอนว่าการห้ามฝนของจีนไม่ได้ใช้วิธีทางไสยศาสตร์ ที่จะเชิญสาวพรหมจรรย์มาทําพิธีปักตะไคร้เอายอดลงดินเอาปลายชี้ฟ้า หรือเอาซินแสมาทําพิธีห้ามฝน แต่จีนยุคใหม่ใช้เทคนิคทางวิทยาศาสตร์ในการห้ามฝนที่เรียกว่า Cloud Seeding ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเดียวกันกับการทําฝนเทียมที่เรารู้จักคุ้นเคยกันดี
วิธีการก็คือ ในช่วงระยะเวลาก่อนถึงวันทําพิธีเปิดและพิธีปิด การแข่งขันโอลิมปิค 2-3 วัน ทางเจ้าหน้าที่ของกรุงปักกิ่งจะยิงจรวดบรรจุสารเคมีขึ้นฟ้าเหนือกรุงปักกิ่ง ให้ไประเบิดท่ามกลางก้อนเมฆ เป็นการเร่งให้ฝนตก นั่นก็เท่ากับว่า เป็นการรีดเมฆให้กลั่นตัวเป็นเม็ดฝนให้หมดจากน่านฟ้ากรุงปักกิ่ง เพื่อที่จะได้ไม่ตกในวันพิธีเปิดและปิดกีฬา
วิธีการนี้นอกจากจะทําให้งานใหญ่ระดับชาติดําเนินไปได้อย่างราบรื่นแล้ว ฝนยังช่วยชะล้างมลพิษในอากาศของกรุงปักกิ่ง ที่มีระดับมลพิษในอากาศสูงกว่าระดับมลพิษที่องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) รับรองถึง 2-3 เท่า นับเป็นการยิงจรวด นัดเดียวได้ประโยชน์ถึง 2 สถาน
พิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคที่กรุงปักกิ่งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2551 นั้นตรงกับปฏิทินตะวันตก วันที่ 8 เดือน 8 ค.ศ. 2008 ซึ่งถือเป็นตัวเลขมงคลอย่างยิ่งของคนจีน ถือเป็นคติความเชื่อโบราณ แต่ขณะเดียวกันก็เลือกใช้วิธีห้ามฝนตกด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ นับว่าเป็นการผสมผสานกันทางเทคโนโลยีชนิดที่เรียกว่าตะวันตกพบตะวันออกอย่างแท้จริง
ทีนี้มาว่ากันด้วยวิธีการ ปักตะไคร้ เป็นความเชื่อที่มีมาช้านานของไทย ไม่พบหลักฐานว่ามีมาแต่เมื่อครั้งใด อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากวิธีการป้องกันฝนตกวิธีอื่นๆ ดังกล่าวข้างต้นแล้ว เราลองมาดูวิธีการแบบที่เรียกว่า “วิธีการแบบบ้านๆ” ดูบ้าง ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มีพิธีกรรมอะไรซับซ้อน โดยจะกระทำพิธีตรงลานดินกลางแจ้งภาพประกอบเนื้อหา – ฟ้าผ่าสําหรับสังคมเมืองในปัจจุบันที่หาลานดินที่โล่งกลางแจ้งได้ยาก ก็เคยเห็นมีคนนําเอากระถางหรือภาชนะใส่ดิน แล้วนําไปวางกลางแจ้ง แล้วปักตะไคร้ลงในภาชนะนั้นแทน ซึ่งวิธีการก็แค่เพียงปักตะไคร้ลงดิน โดยเอาด้านปลายลงดินให้ด้านโคนชี้ฟ้า พิจารณาดูแล้วก็ถือว่าเป็นเจตนาที่จะทำการให้มันฝืนธรรมชาติโดยตัวของมันเอง พระพิรุณเห็นเข้าคงจะนึกขัน ไม่ทันจะโปรยปรายละอองฝนลงมายังพื้นโลก
ลองสอบถามคนเคยมีประสบการณ์หลายคนก็ตอบตรงกันว่า ระหว่างทำพิธีปักตะไคร้ก็กลั้นใจตั้งจิตอธิษฐานบนบานศาลกล่าวแต่สิ่งดีๆ ตามแต่จะนึกเอา เพื่อให้เทวดาเมตตา ไม่ได้มีคำสวดหรือคาถาบทไหนเป็นการเฉพาะ
แต่สิ่งที่ดูจะเป็นหลักการสำคัญในการปักตะไคร้น่าจะอยู่ที่คนปัก ส่วนใหญ่เชื่อกันว่า ถ้าจะให้ได้ผลดีต้องให้สาวพรหมจรรย์เป็นผู้ปัก ส่วนทางมอญพระประแดง สมุทรปราการ มีคติต่างออกไปเพื่อเสริมเติมความเข้มขลังว่า คนปักจะต้องเป็นลูกคนเล็กของครอบครัวด้วย
ประเด็นสําคัญคือ การเลือกคุณสมบัติของคนปักตะไคร้ จากการที่ผมได้พูดคุยกับผู้คนในหลายถิ่นก็พบว่าต้องเป็นสาวพรหมจรรย์เหมือนกัน จะเว้นก็แต่ที่บ้านของผมที่สมุทรสาคร ส่วนใหญ่จะใช้แม่หม้ายเป็นคนปัก และเมื่อผมนําเรื่องดังกล่าวนี้ไปพูดคุยแลกเปลี่ยนกับคนบ้านอื่น ก็มักพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าแปลก ผมจึงได้ไปสอบถามคนปักตะไคร้แถวบ้านที่มีผลงานดีเยี่ยมที่สุดคนหนึ่ง ได้รับความไว้วางใจให้ปักมาแล้วหลายงานติดต่อกัน เนื่องจากภายหลังการปักตะไคร้ ลมหอบเอาเมฆปลิวหาย ได้ผลชะงัดทุกครั้ง
คนที่ผมไปคุยด้วยคือ น้าสาคร มาปากลัด บ้านอยู่ย่านตําบลบ้านเกาะ น้าสาครเล่าว่า การปลูกตะไคร้ ไล่ฝน เอาแน่ไม่ได้ เพราะเรื่องฟ้าเรื่องฝนไม่มีใครห้ามได้ หากมันจะตกมันก็ตก อย่างเช่นคราวก่อนน้าไปร่วมงานเพื่อนต่างหมู่บ้าน เมื่อเกิดฝนตั้งเค้าขึ้น แม่ครัวภายในงานก็จัดแจงปลูกตะไคร้ ปลูกเสร็จไม่นานฝนก็เทลงมาไม่ลืมหูลืมตา
นอกจากนี้ น้าสาครยังระบุอีกว่า ในการเลือกคนปักตะไคร้ต้องเลือกเอาแม่หม้ายที่มีสามีคนเดียว รักเดียวใจเดียว โดยเลือกเอาจากบรรดาคนที่มาช่วยในงานนั่นเอง เพราะใครเป็นใครก็รู้จักมักคุ้นกันดีอยู่แล้ว หากมีแม่หม้ายหลายคนก็ต้องปรึกษาหารือกันว่าใครจะเหมาะสมที่สุด นางสาคร มาปากลัด ชาวไทยเชื้อสายมอญบ้านอ้อมโรงหีบ ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร สาธิตการปักตะไคร้ไล่ฝน“วันงานศพยาย [มารดาของนางสาคร – ผู้เขียน] ฝนครึ้มมา ก็คุยกันในครัวว่าจะหาใครปลูกตะไคร้ งานนั้นมีฉันคนหนึ่ง ยายยา นังแตน คุยกันไปคุยกันมา ตกลงเอาฉัน เพราะยายยา ชักจะมีหนุ่มมาเมียงมอง ไอ้แตนยังสาวสาวยอยู่ก็ยังมีหนุ่มจีบเยอะ…อย่างเมื่อตอนงานแต่งไอ้หมวยนั่นไง ใครปลูกก็ไม่รู้ ฝนเทโครม น้ำท่วมหม้อไหกะละมังลอยต้องตามเก็บกัน…”
สมัยเป็นเด็ก ผมติดแม่แจ เวลาแม่ไปงานบวชงานแต่งแถวบ้านก็ตามไปด้วย ขณะที่แม่เข้าไปช่วยงานในครัวขูดมะพร้าว ตำน้ำพริก หั่นผักหั่นเนื้อ ผมก็นั่งเล่นอยู่ข้างแม่ ทำให้ได้ยินทุกเรื่องที่แม่ครัวเขาคุยกัน บอกได้คำเดียวว่า ช่วงเวลาที่ผู้หญิงเขารวมตัวกันแบบนั้น เขาเป็นผู้ใหญ่ในครัว พวกผู้ชายก็รวมกลุ่มกับผู้ชายไกลออกไป จัดการหุงข้าว ต้มน้ำชา ปิ้งขนมหม้อแกง เป็นงานที่ต้องอยู่ใกล้กองไฟขนาดใหญ่แสบร้อนผิว ผู้หญิงเขาไม่ทำ
นอกนั้นก็งานขนของแบกหาม รับแขก เสิร์ฟอาหาร จัดแจงพิธีสงฆ์ และพิธีกรรมต่างๆ หากผู้ชายหลุดเข้าไปในครัวอันเป็นถิ่นของพวกผู้หญิง ก็จำต้องนอบน้อมรู้อยู่เจียม เรื่องที่พวกผู้หญิงคุยกันในครัวจะเป็นใต้สะดือหรือเหนือสะดือ หากต่อปากต่อคำกันแล้ว ผู้หญิงไม่มีทางลงให้ผู้ชายในนาทีนั้นเด็ดขาด
เรื่องในครัวนั้นผู้หญิงเขาเหมาหมดว่างั้นเถอะ รวมทั้งการดูแลบอกกล่าวเจ้าที่เจ้าทางผีสางและฝนฟ้าสิ่งเหนือความคาดหมายหากงานใหม่ฝนตั้งเค้าเมฆครึ้มขึ้นมา คนที่จะต้องลุกขึ้นมาจัดการคือกลุ่มแม่ครัวพวกนี้เอง
งานบวชงานหนึ่ง ผมจำได้ติดหูอยู่รางๆ พวกแม่ครัวหารือกันเรื่องจะให้ใครเป็นคนปักตะไคร้ไล่ฝน ถกเถียงกันลั่นครัวเหมือนจะส่งสาวงามหมู่บ้านขึ้นประกวดเทพี ถ้อยคำคล้ายจะเคร่งเครียดแต่ก็ขบขันกับความสัปดีสีปดน
“เอาอีช้อนนั่นไง” คนหนึ่งแย้มว่า “งานที่แล้วมันปักฝนตกห่าใหญ่ มึงจำไม่ได้เรอะ ฝีมือไม่ถึง” เสียงใครสักคนแทรกขึ้นมากลางวง “อีเพิ่มก็ได้อยู่หรอกกูว่า ผัวตายห่าไปหลายปี ไม่ค่อยได้ปัก คงเหงาพิลึก”
อีกคนขัด “ปีกลายมันปักงานปิดทองหลวงพ่อโต ฝนเทโครมเดียวหม้อกระจาย กระทะกระโถนลอยน้ำคว้ากันไม่ทัน…” “เออ ใช่ ไม่รู้ไปแอบมีผัวซุกไว้ที่ไหนหรือเปล่า”
@@@@@@@
แม้จะเป็นที่รู้กันดีว่าฝนฟ้าเป็นเรื่องธรรมชาติ ไม่มีใครสามารถคุมได้อย่างใจตัว เป็นความจริงที่เราต้องยอมรับและปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติ มากกว่าการคิดเอาชนะธรรมชาติที่ไม่มีความเที่ยงแท้ เพราะวันใดวันหนึ่งธรรมชาติก็อาจเอาคืนกับมนุษย์ตัวเล็กๆ ผู้บังอาจท้าทาย อย่างที่ธรรมชาติกำลังส่งสัญญาณให้เห็นในปัจจุบันในหลายแห่งของโลก พูดถึงตรงนี้ก็นึกถึงคำพูดของน้าสาครที่ว่า “เพราะมันเป็นธรรมชาติ แต่จะไม่ให้ทำอะไรเลยก็ไม่ได้ ก็ลองดู เป็นที่พึ่งทางใจอะไรกันไป”
การปักตะไคร้ไล่ฝนในปัจจุบันเป็นที่รับรู้กันทั่วไปว่า มีปัจจัยสำคัญอีกสิ่งหนึ่งที่ควบคู่กันไปคือ คนปักต้องเป็น “สาวพรหมจรรย์” แม้ไม่อาจระบุที่มาได้ว่าเหตุใดต้องเป็นเช่นนี้ แต่ก็มีเค้าลางวิธีคิดเรื่องสาวพรหมจรรย์อยู่ในหลายแห่ง เช่น การใช้สาวพรหมจรรย์กวนข้าวทิพย์บูชาพระพุทธเจ้า หรือแม้แต่ความเชื่อเรื่องการฝังร่างสาวพรหมจรรย์ลงในหลุมเสาในการสร้างเมืองสมัยโบราณ อันอาจเป็นชุดความเชื่อเรื่องของความบริสุทธิ์ทางด้านจิตใจ มากกว่าที่จะเป็นเรื่องทางเพศ หรือการตีตราทางเพศอย่างที่มีบางท่านตีความด้วยบริบทปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้ สาวพรหมจรรย์ ในการปักตะไคร้ในปัจจุบัน ได้กลายเป็นวาทกรรมที่ใช้ในการล้อเลียนเชิงตลกขบขัน กรณีที่ปักตะไคร้แล้วฝนยังตก และแทนที่จะให้เหตุผลว่าเป็นเรื่องของสภาวะทางธรรมชาติ แต่กลับเลือกที่จะพุ่งเป้าไปตั้งคำถามกับคนปักตะไคร้ ในทำนองข้องใจว่าเป็น สาวพรหมจรรย์ หรือ “บริสุทธิ์” จริงหรือไม่ แม้จะแลดูเหมือนเป็นเรื่องล้อกันเล่น แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นเรื่องเล่นที่ผู้หญิงหลายคนคงไม่สนุกด้วย
โดยเฉพาะในสังคมเก่าที่ผู้ชายยังให้ความสำคัญกับความบริสุทธิ์ทางเพศ มากกว่าความบริสุทธิ์ทางศีลธรรมของผู้หญิง
อ่านเพิ่มเติม :-
• “น้ำท่วมดีกว่าฝนแล้ง” คารมจอมพล ป. ที่ครูไพบูลย์ใช้แต่งเพลง “น้ำท่วม” จนดังระเบิด • “ห่าฝน” ในประวัติศาสตร์ไทย “ห่าหนึ่ง” หมายถึงเท่าไหร่?ขอขอบคุณ :- ที่มา : ศิลปวัฒนธรรม ฉบับมีนาคม 2557 ผู้เขียน : องค์ บรรจุน เผยแพร่ : วันพฤหัสที่ 29 สิงหาคม พ.ศ.2567 เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 9 พฤศจิกายน 2561 website : https://www.silpa-mag.com/culture/article_22513
|
|
|
64
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / วิธีปักตะไคร้ คติโบราณเพื่อไล่ฝนงานอีเวนต์กลางแจ้ง
|
เมื่อ: ตุลาคม 18, 2024, 06:31:42 am
|
. วิธีปักตะไคร้ คติโบราณเพื่อไล่ฝนงานอีเวนต์กลางแจ้งวิธีปักตะไคร้ เป็นความเชื่อโบราณของคนรุ่นก่อนที่ใช้สำหรับไล่ฝน แม้ว่าลมฟ้าอากาศจะเป็นสิ่งที่กำหนดไม่ได้ แต่เพื่อการจัดงานกลางแจ้งให้ราบรื่น จึงมักเรียกสาวพรหมจารีไปท่องคาถาปักตะไคร้ทำพิธี ความเชื่อนี้อยู่คู่กับคนไทยมาทุกภูมิภาค แม้ว่าบางแห่งจะใช้วิธีการอื่นไล่ฝน แต่ก็มักมีเรื่องของหญิงสาวมาเกี่ยวข้องอยู่ด้วย มาดูวิธีทำให้ฝนหยุดตามความเชื่อคนไทยรุ่นก่อน โปรดใช้วิจารณญาณในการพิจารณา
ความเชื่อ “ปักตะไคร้ไล่ฝน” ห้ามฝนได้จริงหรือ
วัตถุประสงค์ของการปักตะไคร้ไล่ฝน เพื่อต้องการห้ามลม ห้ามฝน ไม่ให้ตกในช่วงที่จัดงานพิธีต่างๆ ทั้งงานบวช งานบุญ งานแต่ง งานจัดเลี้ยงกลางแจ้ง ไม่ว่าจะเป็นพิธีมงคลของชาวบ้าน หรือการจัดงานอีเวนต์แบบสากล ทางผู้จัดที่ไม่ต้องการให้ฝนตกสร้างความเสียหาย ก็มักใช้วิธีปักตะไคร้เพื่อสร้างความอุ่นใจขึ้นมาบ้าง
หากสอบถามกับผู้สูงอายุ หรือผู้ใหญ่ในครอบครัวก็อาจจะเคยได้ยินประสบการณ์ใช้หญิงสาวพรหมจารีปักตะไคร้มาบ้าง แต่วิธีการห้ามลมห้ามฝนของแต่ละจังหวัดก็แตกต่างกันไป
@@@@@@@
วิธีปักตะไคร้
• ใช้ตะไคร้ 3 ต้น หรือ 7 ต้น โดยตัดยอดออก เพื่อใช้ส่วนใบที่แข็ง ปักลงดินเพื่อให้โคนต้นตะไคร้ชี้ฟ้า
• ให้สาว พรหมจารีเป็นคนทำพิธี
โดยลักษณะของสาวพรหมจารีต้องมีคุณสมบัติ 5 อย่าง ได้แก่
1. ไม่เคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์ 2. ไม่อยู่ในช่วงมีรอบเดือน 3. เป็นหญิงสาวที่ไม่ใช่เด็ก (หญิงสาวที่เคยมีประจำเดือนแล้ว) อายุไม่เกินช่วงวัยเบญจเพส 4. เป็นหญิงสาวที่อยู่ในศีลในธรรม 5. เป็นหญิงหม้ายที่ถือพรหมจรรย์
ทำไมต้องให้ผู้หญิงเป็นผู้ปักตะไคร้ หรือทำพิธีห้ามฝน
ตามความเชื่อของคนสมัยก่อน ได้ยกย่องเพศหญิงเป็นเพศที่เกี่ยวข้องกับเทพยดาที่คุ้มครองผืนดิน ผืนน้ำ เช่นการเรียกเทพที่คุ้มครองแผ่นดินว่า “พระแม่ธรณี” หรือเรียกเทพที่คุ้มครองผืนน้ำว่า “พระแม่คงคา” จึงเชื่อว่าเพศหญิงเป็นเพศที่มีพลังศักดิ์สิทธิ์ และการเลือกผู้หญิงบริสุทธิ์ เชื่อว่าเป็นผู้ที่มีความดีงามทำไมต้องใช้ตะไคร้กลับด้าน
ไม่มีใครทราบว่าพิธีปักตะไคร้ไล่ฝนนั้นใครเป็นคนคิด บ้างก็คาดว่ามาจากพิธีชาวกะเหรี่ยง หรือเป็นความเชื่อจากพราหมณ์ แต่การใช้ตะไคร้ เพราะเป็นพืชหาง่าย และเมื่อปักหันโคนขึ้น เป็นการฝืนธรรมชาติ เป็นกุศโลบายเพื่อห้ามลมห้ามฝน
คาถาปักตะไคร้
เมื่อเลือกสาวพรหมจารี และเตรียมต้นตะไคร้พร้อมแล้ว คณะผู้จัดงานก็จะพาหญิงสาวไปบริเวณที่เหมาะสมเพื่อปักตะไคร้ ด้วยการท่องคาถา ดังนี้
1. ตั้ง นะโม 3 จบ
2. กล่าวตั้งจิตอธิษฐาน “อากาเสจะ พุทธทีปังกะโร นะโมพุทธายะ”
3. ข้าพเจ้า และคณะผู้จัดงาน (กล่าววัตถุประสงค์จัดงาน) ขอเทพยดาและพระภูมิเจ้าที่ ช่วยสนับสนุนค้ำจุน ให้ (วันที่) ไม่มีฝนตกใน (สถานที่) และขอให้สภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการรองรับแขกเหรื่อที่มาร่วมงานด้วยเทอญ.
4. หลังจากกล่าวเสร็จแล้ว ให้ยกต้นตะไคร้ขึ้น และกล่าว “ขอบารมีคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เทวดาอารักษ์ ได้โปรดดลบันดาลให้ฝนไม่ตก ให้ท้องฟ้าเปิดสว่างไสว ให้ฝนไปตกที่อื่นตามคำขอด้วยเทอญ”
@@@@@@@
แม้ว่าเราอาจจะเคยได้ยินเรื่องพิธีกรรมปักตะไคร้ แต่ว่าจะ “สำเร็จ” หรือ “ไม่สำเร็จ” ก็ไม่เคยมีใครเก็บสถิติเอาไว้ เรื่องนี้เคยมีคนพูดถึงกันในเว็บบอร์ดพันทิป ในหัวข้อ “สาวๆ คนไหนเคยมีประสบการณ์ปักตะไคร้บ้างไหมคะ” โดยมีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นน่าสนใจ เช่น
• "ตอนมหาลัย ทำกิจกรรมรับน้อง ผมให้เพื่อน ผญ. ที่เป็นคนสุดท้องและจิ้นเป็นคนปักตะไคร้ ผลคือฝนไม่ตกครับ ทั้งๆที่ครึ้มฟ้าครึ้มฝนมานาน"
• "ที่บ้านเป็นโรงเรียนสอนรำ จะต้องจัดงานไหว้ครูช่วงเดือนตุลาคมทุกปี ก็ต้องทำพิธีปักตะไคร้ทุกปี คนปักก็ไม่ใช่ใคร คุณย่า ปักตั้งแต่สาวจนตอนนี้อายุ 80 ปี เวอร์จิ้นมาจนถึงตอนนี้"
• "..สมัยเรียน ป.ตรี ไปทำค่ายที่จังหวัดตาก ต้องเทปูนให้เสร็จ ฝนตั้งเค้ามา เราเห็นท่าไม่ดี ก็ชวนเพื่อนไปปักตะไคร้ ไม่มีใครรู้ ทำกันเอง แอบไปปัก สักพักฝนหายหมด แดดเปรี้ยง ได้ผลแฮะ..แต่ๆๆ ประเดี๋ยวหนึ่งหลังทำงานได้เกือบเสร็จ เมฆมาใหม่ ฝนเริ่มปรอย ทำไมมันไม่ได้ผล ปรากฏเห็นชาวบ้านไปด้อมๆ ดุ่มๆ เดินเก็บพืชผัก สงสัยจะเอาตะไคร้เราไปเลย"คาถาไล่ฝนอื่นๆ
นอกจากวิธีปักตะไคร้แล้ว ยังมีคาถาอื่นๆ ที่เล่าลือกันว่าเป็น "คาถาไล่ฝน" โดยสมเด็จพระศรีสมโพธิ์ราชครู มีตำนานดังนี้
สมเด็จพระศรีสมโพธิ์ราชครู เป็นพระภิกษุสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ช่วงกรุงแตก มีตำนานที่เก่ียวข้องกับท่านว่าท่านเป็นพระภิกษุที่ถูกกวาดต้อนไปพม่าช่วงกรุงแตก พร้อมกับครอบครัวของท่าน พอทราบว่าพระเจ้าตากสินกอบกู้เอกราชสร้างเมืองได้ ท่านก็กลับเมืองไทยพร้อมน้องสาว
โดยระหว่างทาง เมื่อต้องพักค้างแรม ก็ใช้มีดอีโต้ที่น้องสาวพกมา วางคั่นกลางเอาไว้ ทำเช่นนี้มาเรื่อยจนถึงกรุงธนบุรี เมื่อท่านถูกสอบสวนเพราะเป็นพระสงฆ์ที่เดินทางมาพร้อมกับหญิงสาว ท่านจึงเสี่ยงทายว่า ถ้าท่านบริสุทธิ์ ขอให้มีดอีโต้นี้ไม่จมน้ำ เมื่อท่านโยนอีโต้ลงน้ำ มีดก็ลอยน้ำขึ้นมาเป็นอัศจรรย์แก่ชาวบ้าน หมดข้อครหา
@@@@@@@
หลังจากนั้น ก็มีการลือถึง "คาถาห้ามฝน" ของท่าน โดยมีวิธีสวดตามกำลังของวัน เริ่มต้นสวดนะโม 3 จบ และสวดบทไตรสรณคมน์
ท่องคาถา ดังนี้
“สิทธิ พุทธะ จะ อุตตะมะ สิทธิ ธัมมา เทวะ สังฆา สัพพะ มหาวิชา คาถา สิทธิสาวัง พุทธัง ประสิทธิเม ธัมมัง ประสิทธิเม สังฆัง ประสิทธิเม สมเด็จพระศรีสมโพธิ์ราชครู ประสิทธิเม พระขรัวอีโต้ประสิทธิเม”
วันอาทิตย์ 6 จบ วันจันทร์ 15 จบ วันอังคาร 8 จบ วันพุธกลางวัน 17 จบ วันพุธกลางคืน 12 จบ วันพฤหัสบดี 19 จบ วันศุกร์ 21 จบ และวันเสาร์ 10 จบ
อย่างไรก็ดี พิธีกรรมปักตะไคร้ เป็นความเชื่อส่วนบุคคล หากเกิดต้องทำพิธีไล่ฝนก็เลือกพื้นที่ปัก ตั้งจิตอธิษฐาน แต่หากทำพิธีในเดือนที่มีเมฆฝนเยอะ ก็ติดตามข่าวสารจากพยากรณ์กรมอุตุฯ ไว้ด้วย เพื่อความแม่นยำแบบวิทยาศาสตร์อีกทางThank to : https://www.thairath.co.th/horoscope/belief/207016814 ก.ย. 2565 15:37 น. | ดวง > ความเชื่อ | ไทยรัฐออนไลน์
|
|
|
65
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ล้มทฤษฎี ‘ดื่มน้ำผึ้ง’ มีประโยชน์.?
|
เมื่อ: ตุลาคม 18, 2024, 05:52:39 am
|
. ล้มทฤษฎี ‘ดื่มน้ำผึ้ง’ มีประโยชน์.?เป็นที่ทราบกันมาอย่างยาวนาน ถึง “ประโยชน์มากมาย” ของ “น้ำผึ้ง” อย่างไรก็ดี “ประโยชน์ของน้ำผึ้ง” ขึ้นอยู่กับ “ชนิดของดอกไม้” และ “วิธีการแปรรูป”
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “น้ำผึ้งดิบ” ที่ไม่ผ่าน “กระบวนการแปรรูป” ไม่ว่าจะเป็น “ความร้อน” “พาสเจอไรซ์” “กลั่น” หรือ “กรอง” จะมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่า “น้ำผึ้งแปรรูป”
และเป็นที่ทราบกันดีว่า “น้ำผึ้ง” นั้นคือ “ยาฆ่าเชื้อขนานเอก” เพราะ “น้ำผึ้ง” นั้น “ช่วยสมานบาดแผล” ได้ ไม่ว่าจะเป็นแผลสด แผลพุพอง และแผลไฟไหม้
เนื่องจาก “น้ำผึ้ง” ประกอบด้วย “กลูโคส” และ “ฟรุกโตส” มีคุณสมบัติแบบน้ำตาล ที่ดูดน้ำได้ดีมาก “น้ำผึ้ง” จึงสามารถดูดซับความชื้นจากบาดแผล ทำให้แผลแห้งเร็ว
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “น้ำผึ้ง” ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา เพราะ “น้ำผึ้ง” มีสารประกอบ “ฟลาโวนอยด์” สารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อโรค ทำให้ช่วยลดการอักเสบ และต้านภูมิแพ้
อย่างไรก็ดี แม้ว่า “น้ำผึ้ง” จะมี “ดัชนีน้ำตาล” ที่น้อยกว่า “น้ำตาล” แต่ก็ยังมี “แคลอรีสูง” ที่จะทำให้ “ระดับน้ำตาลในเลือด” เพิ่มขึ้นได้
ดังนั้น จึงมีการแนะนำให้บริโภค “น้ำผึ้ง” ในปริมาณที่เหมาะสมเสมอมา
@@@@@@@
ตําราแพทย์โบราณ ทั้งตะวันออก (จีน) และตะวันตก (กรีก) ล้วนยกย่อง “น้ำผึ้ง” ว่าเป็น “อาหารของเทพเจ้า” (กรีก) และ “ยารักษาโรคชั้นดี” (จีน)
เพราะ “น้ำผึ้งดิบ” ประกอบไปด้วยกรดอะมิโน สารต้านอนุมูลอิสระ วิตามิน แร่ธาตุ และน้ำตาล
แม้ “น้ำผึ้ง” จะมีปริมาณ “ฟรุกโตส” สูงกว่าน้ำตาล ทว่า “ค่าดัชนีน้ำตาล” หรือ GI (Glycemic Index) อยู่ในระดับปานกลาง
GI เป็นมาตรฐานที่วัดเป็นตัวเลขสำหรับอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต และการบริโภคอาหารดังกล่าวจะส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด หรือเปลี่ยนเป็น “กลูโคส” ได้อย่างรวดเร็วเพียงใด
การที่ “น้ำผึ้ง” มีค่า GI ต่ำกว่าน้ำตาล ทำให้การบริโภค “น้ำผึ้ง” ไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นเร็วเท่า “น้ำตาล”
และการที่ “น้ำผึ้ง” จะมีปริมาณ “ฟรุกโตส” สูงกว่าน้ำตาล ทำให้ “น้ำผึ้ง” หวานกว่า “น้ำตาล” คุณสมบัตินี้ ทำให้เราใช้ “น้ำผึ้ง” ในปริมาณที่น้อยกว่า “น้ำตาล” ไปในตัว
@@@@@@@
อย่างไรก็ดี “น้ำผึ้ง” มี “ปริมาณแคลอรี” มากกว่า “น้ำตาล” เล็กน้อย ดังนั้น จึงควรระมัดระวังในปริมาณที่บริโภค “น้ำผึ้ง” พอสมควร
เนื่องจากมี “ความเข้าใจผิด” เป็นอย่างมาก ว่าการบริโภค “น้ำผึ้ง” ดีกว่า “น้ำตาล” โดยในบางครั้ง “น้ำผึ้ง” ถูกจัดอยู่ในอาหารประเภท “ไม่มีน้ำตาล” ด้วยซ้ำ ซึ่งผิดเป็นอย่างมาก
เป็นอันตราย หากเข้าใจผิดคิดเช่นนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ผู้ป่วยเบาหวาน” หรือ “ผู้ที่ต้องมีการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด” เพราะ “น้ำผึ้ง” ส่งผลต่อระดับ “น้ำตาลในเลือด” เช่นเดียวกับ “น้ำตาล”
นอกจากนี้ เด็กทารกที่อายุต่ำกว่า 12 เดือน ไม่ควรรับประทาน “น้ำผึ้ง” เนื่องจากอาจเสี่ยงต่อการเป็นโรค “โบทูลิซึ่ม” เพราะ “น้ำผึ้ง” อาจมีสปอร์พิษ Botulinum ของเชื้อโรค ที่อาจทำให้เป็นโรค “โบทูลิซึ่ม” ได้
กล่าวอีกนัยหนึ่ง แม้ว่าผู้คนส่วนใหญ่จะบอกต่อๆ กันถึง “ประโยชน์ของน้ำผึ้ง” ทว่า “น้ำผึ้ง” ก็ไม่ใช่อาหารที่ปลอดภัย 100% สำหรับทุกคน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ความเข้าใจผิด” ที่คิดว่า “น้ำผึ้ง” เป็นอาหารที่ให้ความหวานตามธรรมชาติ ใช้ทดแทน และดีกว่า “น้ำตาล” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “น้ำตาลทรายขาว” ที่หาซื้อง่ายๆ กันได้ทั่วไปตามท้องตลาดแต่ในความเป็นจริงแล้ว “น้ำผึ้ง” ถือว่าเป็น “น้ำตาล” ในทางเคมี “น้ำผึ้ง” มีสารประกอบหลักเหมือนกันกับ “น้ำตาล” คือ “กลูโคส” และ “ฟรุกโตส”
ต่างกันตรงที่ “น้ำตาล” มี “โมเลกุลคู่” ขณะที่ “น้ำผึ้ง” เป็น “น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว” ที่ร่างกายมนุษย์สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที
ที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งก็คือ “น้ำผึ้ง” มีแคลอรีสูงกว่า “น้ำตาล” เพราะ “น้ำผึ้ง” 1 ช้อนชา ให้พลังงานประมาณ 22 แคลอรี ส่วน “น้ำตาลทรายขาว” 1 ช้อนชา จะให้พลังงานประมาณ 16 แคลอรีเท่านั้น
แต่ด้วยความที่ “น้ำผึ้ง” ในปริมาณเท่ากัน ให้ความหวานมากกว่า “น้ำตาล” เราก็เลยใช้ปริมาณ “น้ำผึ้ง” ในการประกอบอาหารต่างๆ น้อยกว่า “น้ำตาล” นั่นเอง
มีคำถามมากว่า ควรรับประทาน “น้ำผึ้ง” ในปริมาณเท่าไรต่อวันจึงจะเหมาะสม คำตอบก็คือ ขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์ หรือวิถีการดำเนินชีวิต และพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของแต่ละคน
แต่หากจะให้แนะนำ ว่ากิน “น้ำผึ้ง” ได้เท่าไรจึงจะปลอดภัย ก็ตอบได้ว่า ประมาณ 6 ช้อนชา หรือ 2 ช้อนโต๊ะ และไม่ควรเกิน 10 ช้อนชา
เนื่องจากว่าในแต่ละวัน เราจะได้รับ “น้ำตาล” อื่นๆ จากอาหาร ผลไม้ เครื่องดื่ม และขนมต่างๆ มากอยู่แล้ว
@@@@@@@
“ข้อห้าม” และ “ข้อควรระวัง” ในการบริโภค “น้ำผึ้ง”
1. ผู้ป่วยเบาหวานควรระวัง “น้ำผึ้ง” ให้ดี และบางครั้งถึงขั้น “ห้ามกิน” เลยทีเดียว เนื่องจาก “น้ำผึ้ง” มีปริมาณ “กลูโคส” และ “ฟรุกโทส” ที่สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ทันที ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
2. ผู้ป่วยท้องเสีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากถ่ายเหลว ไม่ควรกิน “น้ำผึ้ง” เพราะจะทำให้ถ่ายมากขึ้น เนื่องจากน้ำผึ้งมีคุณสมบัติดูดน้ำที่ดี ทำให้ขับอุจจาระมากขึ้น
3. ผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียน หรือเป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง ไม่ควรบริโภค “น้ำผึ้ง” เนื่องจากจะเกิดภาวะความชื้นตกค้าง
4. ไม่ควรกิน “น้ำผึ้ง” ร่วมกับ “เต้าหู้” เนื่องจากเต้าหู้มีคุณสมบัติเย็น มีสรรพคุณขับร้อน กระจายเลือด เมื่อกินร่วมกัน จะทำให้ท้องเสียง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “เอนไซม์” ใน “น้ำผึ้ง” จะทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุ โปรตีน และสารอินทรีย์ของ “เต้าหู้” ทำให้คุณค่าทางโภชนาการลดลง
5. ไม่ควรกิน “น้ำผึ้ง” พร้อมกับ “กุยช่าย” เพราะ “กุยช่าย” มี “วิตามินซี” มาก ซึ่งจะทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุในน้ำผึ้งคือ “ธาตุเหล็ก” ทำให้เกิดอ็อกซิเดชั่น ลดคุณค่าของอาหารให้ด้อยลง อีกเหตุผลหนึ่ง “น้ำผึ้ง” เป็นระบายอ่อนๆ เมื่อมารวมกับ “กุ้ยช่าย” ที่มี “ไฟเบอร์” มาก จะทำให้ท้องเสียง่าย
6. ไม่ควรกิน “น้ำผึ้ง” ร่วมกับ “หัวหอม” และ “กระเทียม” จะทำให้ฤทธิ์ของ “น้ำผึ้ง” ด้อยลง
7. ไม่ควรผสม “น้ำร้อน” กับ “น้ำผึ้ง” เพราะจะทำลายคุณค่าของเอนไซม์ วิตามิน และกรดอะมิโน และห้ามบริโภค “น้ำผึ้ง” ในปริมาณมาก โดยเฉลี่ยไม่ควรเกินวันละ 2 ช้อนโต๊ะ หรือประมาณ 20 กรัม และไม่ควรบริโภคเกิน 50 กรัม/วัน
@@@@@@@
วิธีกิน “น้ำผึ้ง” ให้อร่อย และได้ประโยชน์จากคุณค่าทางโภชนาการของ “น้ำผึ้ง”
1. ผสมกับน้ำอุ่นดื่ม 4 เวลา ก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง และก่อนเข้านอน
2. กินเหมือนเป็นสารที่ให้ความหวานแทนน้ำตาล เช่น ใส่ลงไปในชา กาแฟ น้ำผลไม้ หรือทานบนขนมปังแทนแยม เป็นต้น
หากบริโภค “น้ำผึ้ง” มาก จะมีโทษดังนี้
1. อาจเกิดอาการท้องอืด หรืออาการท้องเสียได้ เนื่องจาก “น้ำผึ้ง” มี “ฟรุกโตส” มาก ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาการดูดซึมในลำไส้
2. “น้ำผึ้ง” ไม่เหมาะกับ “ผู้ป่วยโรคเบาหวาน” อย่างแน่นอนครับ
3. ไม่ควรให้เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 1 ขวบ และสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตรดื่ม “น้ำผึ้ง” เพราะ “น้ำผึ้ง” อาจมีสปอร์ของเชื้อโรค ที่อาจทำให้เป็นโรค “โบทูลิซึ่ม” หรือโรคผิดปกติทางระบบประสาทที่เกิดขึ้นเฉียบพลันจากการรับพิษ Botulinum ได้
4. ส่งผลให้อ้วนขึ้น หากรับประทานในปริมาณมากๆ และติดต่อกันเป็นเวลานาน
@@@@@@@
วิธีการตรวจสอบ “น้ำผึ้งแท้”
1. หยดบนกระดาษทิชชู่ ถ้าเป็น “น้ำผึ้งปลอม” จะมีน้ำซึมออกมา
2. นำ “น้ำผึ้ง” ไปละลายน้ำ ถ้า “ละลายน้ำยาก” เป็น “น้ำผึ้งแท้”
นอกจากนี้ “น้ำผึ้ง” ไม่นับเป็น “อาหารมังสวิรัติ” เนื่องจากกระบวนการเก็บรวบรวม “น้ำผึ้ง” ถูกมองว่าเป็นการ “ทำร้ายผึ้ง” ที่ทำงานหนักเพื่อเอาชีวิตรอดในฤดูหนาว และเก็บสะสมน้ำผึ้งไว้ใช้ในยามขาดแคลนนั่นเองขอขอบคุณ :- ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 11 - 17 ตุลาคม 2567 ผู้เขียน : .จักรกฤษณ์ สิริริน เผยแพร่ : วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ.2567 URL : https://www.matichonweekly.com/column/article_806127
|
|
|
66
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / มส.เห็นชอบแต่งตั้ง ‘คณะกรรมการส่งเสริมสำนักปฏิบัติธรรม’
|
เมื่อ: ตุลาคม 18, 2024, 05:36:16 am
|
. มส.เห็นชอบแต่งตั้ง ‘คณะกรรมการส่งเสริมสำนักปฏิบัติธรรม’ตามระเบียบมหาเถรสมาคม (มส.) ว่าด้วยการส่งเสริมสำนักปฏิบัติธรรมแห่งคณะสงฆ์ พ.ศ. 2567 ที่กำหนดให้มีคณะกรรมการ ซึ่งมส.แต่งตั้งในคณะสงฆ์แต่ละฝ่าย
นายพงศ์พล โยธินทวี รองโฆษกสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวว่า ที่ประชุมมหาเถรสมาคม (มส.) ครั้งที่ 25/2567 ได้มีมติเห็นชอบรายชื่อ คณะกรรมการส่งเสริมสำนักปฏิบัติธรรมแห่งคณะสงฆ์ (ม) ซึ่งเป็นการเสนอตามระเบียบ มส.ว่าด้วยการส่งเสริมสำนักปฏิบัติธรรมแห่งคณะสงฆ์ พ.ศ. 2567 ที่กำหนดให้มีคณะกรรมการซึ่ง มส.แต่งตั้ง โดยการเสนอของคณะกรรมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ ในคณะสงฆ์แต่ละฝ่าย เรียกว่า คณะกรรมการส่งเสริมสำนักปฏิบัติธรรมแห่งคณะสงฆ์ (ม) หรือคณะกรรมการส่งเสริมสำนักปฏิบัติธธรรมแห่งคณะสงฆ์ (ธ) แล้วแต่กรณี
โดยในการประชุมคณะกรรมการการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2567 ได้มีมติเห็นชอบเสนอรายชื่อคณะกรรมการฝ่ายมหานิกาย ดังนี้
@@@@@@@
1. ประธานกรรมการ พระพรหมวัชรวิมลมุนี เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
2. กรรมการโดยตำแหน่ง แม่กองบาลีสนามหลวง แม่กองธรรมสนามหลวง ประธานกรรมการการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ประธานกรรมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ ประธานศูนย์พระปริยัตินิเทศก์แห่งคณะสงฆ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
3. พระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนากัมมัฏฐาน จำนวนไม่เกิน 4 รูป พระพรหมพัชรญาณมุนี วิ. (ฌอน ชยสาโร) สถานพำนักสงฆ์บ้านไร่ทอสี จ.นครราชสีมา พระราชภาวนาวชิรญาณ วิ. (สุรศักดิ์ เขมรํสี) วัดมเหยงคณ์ จ.พระนครศรีอยุธยา พระภาวนาพัฒนานุสิฐ วิ. (สมัย สมโย) วัดคลองตาลอง จ.นครราชสีมา พระภาวนาธรรมาภิรัช วิ. (สุพันธ์ อาจิณฺณสีโล) วัดร่ำเปิง จ.เชียงใหม่
รองโฆษกพศ. กล่าวต่อไปว่า
4. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่เกิน 5 รูปหรือคน พระเทพวิสุทธิโสภณ (เฉลา เตชวนโต) วัดราชคฤห์ พระราชวชิรานุสิฐ (ปราโมทย์ ปณฺฑิโต) วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม จ.ราชบุรี พระศรีวัชรนาถมุนี (บุญช่วย ปคุโณ) วัดโคกกะฐิน จ.นครศรีธรรรมราช พระเมธีวัชรบัณฑิต (หรรษา ธมฺมหาโส) วัดใหม่ (ยายแป้น) พระมหาไพโรจน์ ญาณกุสโล วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
@@@@@@@
ส่วนกรรมการเลขานุการและผู้ช่วย
1. ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กรรมการและเลขานุการ 2. พระราชวชิราธิบดี (สุรศักดิ์ ธมฺมรํสี) กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 3. พระโสภณวชิรวาที (อาทิตย์ อตฺถเวที) กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 4. ผอ.กองส่งเสริมงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 5. ผอ.กลุ่มเผยแผ่พระพุทธศาสนา กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 6. นักวิชาการศาสนา ที่ได้รับมอบหมาย กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการขอบคุณ : https://www.dailynews.co.th/news/3984270/ข่าว > การศึกษา-ศาสนา | 17 ต.ค. 2567 • 15:01 น.
|
|
|
67
|
เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: บทสวด "ยถา-สัพพี" ไม่ใช่พุทธพจน์ แล้วมาจากไหน.?
|
เมื่อ: ตุลาคม 17, 2024, 11:06:30 am
|
. ที่มา : อนุโมทนารัมภคาถา อนุโมทนารัมภคาถา (บาลี)
บทที่ ๑. ยถา วาริวหา ปูรา ปริปูเรนฺติ สาครํ เอวเมว อิโต ทินฺนํ เปตานํ อุปกปฺปติ
บทที ๒. อิจฺฉิตํ ปตฺถิตํ ตุมฺหํ ขิปฺปเมว สมิชฺฌตุ สพฺเพ ปูเรนฺตุ สงฺกปฺปา จนฺโท ปณฺณรโส ยถา มณิ โชติรโส ยถา ที่มาของบทที่ ๒. อยู่ใน เรื่องสุขสามเณร
๑๑. สุขสามเณรวตฺถุ. (๑๑๗) (ยกมาแสดงบางส่วน) อรรถกถาเล่มที่ ๒๒ ภาษาบาลีอักษรไทย | ธ.อ.๕ ปาป-ชราวคฺค | ๑๐. ทณฺฑวคฺควณฺณนา"อชฺช ตเมว ปริวาเรถาติ วตฺวา สพฺพํ สมฺปตฺตึ ตสฺส นิยฺยาเทสิ. โส เสฏฺฐิโน นหาโนทเกน ตตฺเถว (๑-) โกฏฺฐเก ตสฺมึ ผลเก นิสินฺโน นหาตฺวา ตสฺเสว นิวาสนสาฏเก นิวาเสตฺวา ตสฺเสว ปลฺลงฺเก นิสีทิ.เสฏฺฐีปิ นคเร เภริญฺจาราเปสิ
"ภตฺตภติโก คนฺธเสฏฺฐิสฺส เคเห ตีณิ สํวจฺฉรานิ ภตึ กตฺวา ภตฺตปาตึ ลภิ, ตสฺส ภุญฺชนสมฺปตฺตึ โอโลเกนฺตูติ.
มหาชโน มญฺจาติมญฺจํ อภิรุหิตฺวา ปสฺสติ. คามวาสิสฺส โอโลกิโตโลกิตฏฺฐานํ กมฺปนาการปฺปตฺตํ อโหสิ. นาฏกา ตํ ปริวาเรตฺวา อฏฺฐํสุ. ตสฺส ปุรโต ภตฺตปาตึ วฑฺเฒตฺวา ฐปยึสุ.
อถสฺส หตฺถโธวนเวลาย คนฺธมาทเน เอโก ปจฺเจกพุทฺโธ สตฺตเม ทิวเส สมาปตฺติโต วุฏฺฐาย "กตฺถ นุ โข อชฺช ภิกฺขาจารตฺถาย คจฺฉามีติ อุปธาเรนฺโต ภตฺตภติกํ อทฺทส. อถ โส (๒-) "อยํ ตีณิ สํวจฺฉรานิ ภตึ กตฺวา ภตฺตปาตึ ลภิ, อตฺถิ นุ โข เอตสฺส สทฺธา นตฺถีติ อุปธาเรนฺโต
"อตฺถีติ ญตฺวา "สทฺธาปิ เอกจฺเจ สงฺคหํ กาตุํ น สกฺโกนฺติ, สกฺขิสฺสติ นุ โข เม สงฺคหํ กาตุนฺติ จินฺเตตฺวา [อถ นํ] "สกฺขิสฺสติ เจว มม จ สงฺคหการณํ นิสฺสาย มหาสมฺปตฺตึ ลภิสฺสตีติ ญตฺวา จีวรํ ปารุปิตฺวา ปตฺตมาทาย เวหาสํ อพฺภุคฺคนฺตฺวา ปริสนฺตเรน คนฺตฺวา ตสฺส ปุรโต ฐิตเมว___________________________________________ @เชิงอรรถ : (๑-) สี. ยุ. ตสฺเสว. , (๒-) สี. ยุ. อถสฺส เอตทโหสิ. (คำแปล)นายภัตตภติกะเตรียมบริโภคภัต นายภัตตภติกะนั้น นั่งบนแผ่นกระดานนั้นในซุ้มนั้นนั่นแล อาบน้ำด้วยน้ำสำหรับอาบของเศรษฐี นุ่งผ้าสาฎกสำหรับนุ่งของเศรษฐีนั่นแหละ แล้วนั่งบนบัลลังก์ของเศรษฐีนั้นเหมือนกัน.
แม้ท่านเศรษฐีก็ใช้ให้คนเอากลองเที่ยวตีประกาศไปในพระนครว่า "นายภัตตภติกะทำการรับจ้างตลอด ๓ ปีในเรือนของคันธเศรษฐี ได้ถาดภัตถาดหนึ่ง ขอชนทั้งหลายจงดูสมบัติแห่งการบริโภคของเขา."
มหาชนได้ขึ้นเตียงซ้อนเตียงดูอยู่. ที่ๆ ชายชาวบ้านนอกแลดูแล้วๆ ก็ได้ถึงอาการหวั่นไหว. พวกนักฟ้อนได้ยืนล้อมนายภัตตภติกะนั้น. พวกคนใช้ยกถาดภัตถาดหนึ่ง ตั้งไว้ข้างหน้าของนายภัตตภติกะนั้นแล้ว.
ครั้งนั้น ในเวลาที่นายภัตตภติกะนั้นล้างมือ พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งที่ภูเขาคันธมาทน์ ออกจากสมาบัติในวันที่ ๗ แล้ว ใคร่ครวญอยู่ว่า "วันนี้ เราจักไปเพื่อประโยชน์แก่ภิกขาจารในที่ไหนหนอแล.?" ก็ได้เห็นนายภัตตภติกะแล้ว.
ครั้งนั้น ท่านพิจารณาต่อไปอีกว่า "นายภัตตภติกะนี้ทำการรับจ้างถึง ๓ ปี จึงได้ถาดภัต. ศรัทธาของเขามีหรือไม่มีหนอ.?"
ใคร่ครวญไปก็ทราบได้ว่า "ศรัทธาของเขามีอยู่" คิดไปอีกว่า "คนบางพวก ถึงมีศรัทธา ก็ไม่อาจเพื่อทำการสงเคราะห์ได้, นายภัตตภติกะนี้จักอาจหรือไม่หนอ เพื่อจะทำการสงเคราะห์เรา.?"
ก็รู้ว่า "นายภัตตภติกะจักอาจทีเดียว ทั้งจักได้มหาสมบัติเพราะอาศัยเหตุ คือการสงเคราะห์แก่เราด้วย" ดังนี้แล้ว จึงห่มจีวรถือบาตร เหาะขึ้นสู่เวหาสไปโดยระหว่างบริษัท แสดงตนยืนอยู่ข้างหน้าแห่งนายภัตตภติกะนั้น นั่นแล.
อตฺตานํ ทสฺเสสิ. โส ปจฺเจกพุทฺธํ ทิสฺวา จินฺเตสิ
"อหํ ปุพฺเพ อทินฺนภาเวน เอกิสฺสา ภตฺตปาติยา อตฺถาย ตีณิ สํวจฺฉรานิ ปรเคเห ภตึ อกาสึ, อิทานิ เม อิทํ ภตฺตํ เอกรตฺตินฺทิวํ รกฺเขยฺย, สเจ ปน ตํ อยฺยสฺส ทสฺสามิ ;
อเนกานิ (๑-) กปฺปโกฏิสหสฺสานิ รกฺขิสฺสติ, อยฺยสฺเสว นํ ทสฺสามีติ. โส ตีณิ สํวจฺฉรานิ ภตึ กตฺวา ลทฺธภตฺตปาติโต เอกปิณฺฑมฺปิ มุเข อฏฺฐเปตฺวาว ตณฺหํ วิโนเทตฺวา สยเมว ปาตึ อุกฺขิปิตฺวา ปจฺเจกพุทฺธสฺส สนฺติกํ คนฺตฺวา ปาตึ อญฺญสฺส หตฺเถ ทตฺวา ปญฺจปติฏฺฐิเตน วนฺทิตฺวา ปาตึ วามหตฺเถน คเหตฺวา ทกฺขิณหตฺเถน ตสฺส ปตฺเต ภตฺตํ อากิริ.
ปจฺเจกพุทฺโธ ภตฺตสฺส อุปฑฺฒเสสกาเล ปตฺตํ หตฺเถน ปิทหิ. อถ นํ โส อาห
"ภนฺเต เอโกว ปฏิวึโส น สกฺกา ทฺวิธา กาตุํ, มา มํ อิธ โลเก สงฺคณฺหาถ (๒-), ปรโลเก สงฺคหเมว กโรถ, สาวเสสํ อกตฺวา นิรวเสสเมว ทสฺสามีติ. _________________________________________________ @เชิงอรรถ : (๑-) สี. ยุ. เอตฺถนฺตเร "มนฺติ อตฺถิ. , (๒-) สงฺคณฺหถาติ ภวิตพฺพํ. (คำแปล)นายภัตตภติกะถวายภัตแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า นายภัตตภติกะนั้นเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว คิดว่า "เราได้ทำการรับจ้างในเรือนคนอื่นถึง ๓ ปี ก็เพื่อประโยชน์แก่ถาดภัตถาดเดียว เพราะความที่เราไม่ได้ให้ทานในกาลก่อน, บัดนี้ ภัตนี้ของเราพึงรักษาเรา ก็เพียงวันหนึ่งคืนหนึ่ง, ก็ถ้าเราจักถวายภัตนั้นแก่พระผู้เป็นเจ้า, ภัตจักรักษาเราไว้มิใช่พันโกฏิกัลป์เดียว เราจักถวายภัตนั้นแก่พระผู้เป็นเจ้าละ."
นายภัตตภติกะนั้นทำการรับจ้างตลอด ๓ ปี ได้ถาดภัตแล้ว ไม่ทันวางภัตแม้ก้อนเดียวในปาก บรรเทาความอยากได้ ยกถาดภัตขึ้นเองทีเดียว ไปสู่สำนักของพระปัจเจกพุทธเจ้า ให้ถาดในมือของคนอื่นแล้ว ไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์แล้ว เอามือซ้ายจับถาดภัต เอามือขวาเกลี่ยภัตลงในบาตรของพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น.
พระปัจเจกพุทธเจ้าได้เอามือปิดบาตรเสีย ในเวลาที่ภัตยังเหลืออยู่กึ่งหนึ่ง.
ครั้งนั้น นายภัตตภติกะนั้นเรียนท่านว่า "ท่านขอรับ ภัตส่วนเดียวเท่านั้น ผมไม่อาจเพื่อจะแบ่งเป็น ๒ ส่วนได้ ท่านอย่าสงเคราะห์ผมในโลกนี้เลย ขอจงทำการสงเคราะห์ในปรโลกเถิด ผมจักถวายทั้งหมดทีเดียว ไม่ให้เหลือ."
อตฺตโน หิ โถกมฺปิ อนวเสเสตฺวา ทินฺนํ นิรวเสสนฺนาม, ตํ มหปฺผลํ โหติ. โส ตถา กโรนฺโต สพฺพํ ทตฺวา ปุน วนฺทิตฺวา
"ภนฺเต เอกํ ภตฺตปาตึ นิสฺสาย ตีณิ สํวจฺฉรานิ เม ปรเคเห ภตึ กโรนฺเตน ทุกฺขํ อนุภูตํ, อิทานิ เม นิพฺพตฺตฏฺฐาเน สุขเมว โหตุ, ตุมฺเหหิ ทิฏฺฐธมฺมสฺเสว ภาคี ภเวยฺยนฺติ อาห.
ปจฺเจกพุทฺโธ "เอวํ โหตุ, จินฺตามณิ วิย เต สพฺพกาเม ททมานา สงฺกปฺปา ปุณฺณจนฺโท วิย ปริปูเรนฺตูติ อนุโมทนํ กโรนฺโต
"อิจฺฉิตํ ปตฺถิตํ ตุยฺหํ ขิปฺปเมว สมิชฺฌตุ, สพฺเพ ปูเรนฺตุ สงฺกปฺปา จนฺโท ปณฺณรโส (๑-) ยถา, อิจฺฉิตํ ปตฺถิตํ ตุยฺหํ ขิปฺปเมว สมิชฺฌตุ, สพฺเพ ปูเรนฺตุ สงฺกปฺปา มณิ โชติรโส ยถาติ (คาถานี้อยู่ในบทที่ ๒. อนุโมทนารัมภคาถา)
วตฺวา "อยํ มหาชโน (๒-) ยาว คนฺธมาทนปพฺพตคมนา มํ ปสฺสนฺโตว ติฏฺฐตูติ อธิฏฺฐาย อากาเสน คนฺธมาทนํ อคมาสิ. มหาชโนปิ นํ ปสฺสนฺโตว อฏฺฐาสิ.
โส ตตฺถ คนฺตฺวา ตํ ปิณฺฑปาตํ ปญฺจสตานํ ปจฺเจกพุทฺธานํ วิภชิตฺวา อทาสิ. สพฺเพ อตฺตโน ปโหนกํ คณฺหึสุ.
"อปฺโป ปิณฺฑปาโต กถํ ปโหตีติ น จินฺเตตพฺพํ. จตฺตาริ หิ อจินฺเตยฺยานิ วุตฺตานิ, ตตฺรายํ ปจฺเจกพุทฺธวิสโยติ. __________________________________ @เชิงอรรถ : (๑-) ยุ. ปณฺณเรสี., (๒-) สี. ยุ. ชโน. (คำแปล)ทานที่ถวายไม่เหลือมีผลมาก จริงอยู่ ทานที่บุคคลถวายไม่เหลือไว้เพื่อตน แม้แต่น้อยหนึ่ง ชื่อว่าทานไม่มีส่วนเหลือ ทานนั้นย่อมมีผลมาก.
นายภัตตภติกะนั้น เมื่อทำอย่างนั้น จึงได้ถวายหมด ไหว้อีกแล้ว เรียนว่า "ท่านขอรับ ผมอาศัยถาดภัตถาดเดียว ต้องทำการรับจ้างในเรือนของคนอื่นถึง ๓ ปี ได้เสวยทุกข์แล้ว, บัดนี้ ขอความสุขจงมีแก่กระผมในที่ที่บังเกิดแล้วเถิด. ขอกระผมพึงมีส่วนแห่งธรรมที่ท่านเห็นแล้วเถิด."
พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า "ขอจงสมคิด เหมือนแก้วสารพัดนึก ความดำริอันให้ความใคร่ทุกอย่าง จงบริบูรณ์แก่ท่าน เหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญฉะนั้น"
เมื่อจะทำอนุโมทนา จึงกล่าวว่า
"สิ่งที่ท่านมุ่งหมายแล้ว จงสำเร็จพลันทีเดียว, ความดำริทั้งปวง จงเต็มเหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญ. สิ่งที่ท่านมุ่งหมายแล้ว จงสำเร็จพลันทีเดียว, ความดำริทั้งปวง จงเต็มเหมือนแก้วมณีโชติรส ฉะนั้น"
ดังนี้แล้ว อธิษฐานว่า "ขอมหาชนนี้จงยืนเห็นเรา จนกระทั่งถึงเขาคันธมาทน์เถิด." ได้ไปสู่ภูเขาคันธมาทน์โดยอากาศแล้ว. ถึงมหาชนก็ได้ยืนเห็นท่านอยู่นั่นแหละ.
พระปัจเจกพุทธเจ้าไปภูเขาคันธมาทน์แล้ว ได้แบ่งบิณฑบาตนั้นถวายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ รูป พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆ รูป ได้รับเอาภัตเพียงพอแก่ตนๆ แล้ว.
ใครๆ ไม่พึงคิดว่า "บิณฑบาตเล็กน้อยจะพอเพียงอย่างไร.?" ด้วยว่าอจินไตย ๔ อย่าง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว ในอจินไตย ๔ เหล่านั้น นี้ก็เป็นปัจเจกพุทธวิสัยแล._____________________________________________________ ที่มา(บาลี) : https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=22&A=882ที่มา(คำแปล) : https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=20&p=11ขอบคุณภาพจาก : pinterest
คำอนุโมทนาของพระปัจเจกพุทธเจ้า (อีกสำนวนหนึ่ง) แก้ไขเพิ่มเติม ณ วันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๗
ผมได้มีโอกาสอ่าน เรื่อง พรรณนาอัพภันตรนิทาน (อยู่ใน อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๑. พุทธวรรค , ๑. พุทธาปทาน , หน้าต่างที่ ๙ / ๑๑.) ได้เห็นคำอนุโมทนาของพระปัจเจกพุทธเจ้า ขอยกมาแสดงดังนี้ เถราปทาน ๑. พุทฺธวคฺค อพฺภนฺตรนิทานวณฺณนา
[๕] "อถ พุทฺธาปทานานิ สุณาถ สุทฺธมานสา ตึสปารมิสมฺปุณฺณา ธมฺมราชา อสงฺขิยา" ติ
เอตฺถ อถาติ อธิการนฺตรูปทสฺสนตฺเถ นิปาตปทํ, วิภตฺติยุตฺตายุตฺตนิปาตทฺวเยสุ วิภตฺติยุตฺตนิปาตปทํ.
อถ วา :- อธิกาเร มงฺคเล เจว นิปฺผนฺนตฺเถวธารเณ อนนฺตเรปคมเน อถสทฺโท ปวตฺตติ.
ตถา หิ:- "อธิกิจฺจํ อธิฏฺฐานํ อธิอตฺถํ วิภาสติ เสฏฺฐเชฏฺฐกภาเวน อธิกาโร วิธียเต" ติ
วุตฺตตฺตา พุทฺธานํ สมตฺตึสปารมิธมฺมานํ อธิกิจฺจโต, เสฏฺฐเชฏฺฐโต อธิการฏฺเฐน อถสทฺเทน ยุตฺตมปทานานีติ.
ติวิธโพธิสตฺตานํ ปูชามงฺคลสภาวโต "ปูชา จ ปูชเนยฺยานํ, เอตํ มงฺคลมุตฺตมนฺ" ติ วจนโต มงฺคลฏฺเฐน อถสทฺเทน ยุตฺตมปทานานีติ.
พุทฺธาทีนํ ภควนฺตานํ สมฺปตฺติกิจฺจสฺส อรหตฺตมคฺเคน นิปฺผนฺนโต นิปฺผนฺนฏฺเฐน อถสทฺเทน ยุตฺตมปทานานีติ.
พุทฺธาทีนํ อรหตฺตมคฺคาทิกุสลโต อญฺญกุสลานํ อภาวโต อวธารณฏฺเฐน นิวารณฏฺเฐน อถสทฺเทน ยุตฺตมปทานานีติ.
ขุทฺทกปาฐสงฺคหานนฺตรํ สงฺคหิตนฺติ อนนฺตรฏฺเฐน อถสทฺเทน ยุตฺตมปทานานีติ.
@@@@@@@
อิโต ขุทฺทกปาฐโต ปฏฺฐายาติ อปคมนฏฺเฐน อถสทฺเทน ยุตฺตมปทานานีติ.
พุทฺโธติ เอตฺถ พุชฺฌิตา สจฺจานีติ พุทฺโธ, โพเธตา ปชายาติ พุทฺโธ, สพฺพญฺญุตาย พุทฺโธ, สพฺพทสฺสาวิตาย พุทฺโธ, อนญฺญเนยฺยตาย พุทฺโธ, วิสวิตาย พุทฺโธ, ขีณาสวสงฺขาเตน พุทฺโธ, นิรุปกฺกิเลสสงฺขาเตน พุทฺโธ, ปพฺพชฺชาสงฺขาเตน พุทฺโธ, อทุติยฏฺเฐน พุทฺโธ, ตณฺหาปหานฏฺเฐน พุทฺโธ, เอกายนมคฺคํ คโตติ พุทฺโธ, เอโก อนุตฺตรํ สมฺมาสมฺโพธึ อภิสมฺพุทฺโธติ พุทฺโธ, อพุทฺธิวิหตตฺตา พุทฺธิปฏิลาภา พุทฺโธ,
พุทฺธิ พุทฺธํ โพโธติ อนตฺถนฺตรเมตํ. ยถา นีลาทิวณฺณโยคโต ปโฏ "นีโล ปโฏ, รตฺโต ปโฏ" ติ วุจฺจติ, เอวํ พุทฺธคุณโยคโต พุทฺโธ.
@@@@@@@
อถ วา "โพธี"ติ วุจฺจติ จตูสุ มคฺเคสุ ญาณํ, เตน ญาเณน สกลทิยฑฺฒสหสฺสกิเลสาริคเณ เขเปตฺวา นิพฺพานาธิคมนโต ญาณํ "โพธี" ติ วุจฺจติ. เตน สมฺปยุตฺโต สมงฺคีปุคฺคโล พุทฺโธ. เตเนว ญาเณน ปจฺเจกพุทฺโธปิ สพฺพกิเลเส เขเปตฺวา นิพฺพานมธิคจฺฉติ.
พุทฺธานํ ปน จตูสุ อสงฺเขฺยยฺเยสุ กปฺปสตสหสฺเสสุ จ ปารมิโย ปูเรตฺวา โพธิญาณสฺสาธิคตตฺตา จ อินฺทฺริยปโรปริยตฺตญาณ มหากรุณาสมาปตฺติ-ญาณ ยมกปาฏิหาริยญาณ สพฺพญฺญุตญฺญาณ อนาวรณอาสยานุสยาทิอสาธารณญาณานํ
สมธิคตตฺตา จ เอกายปิ ธมฺมเทสนาย อสงฺเขฺยยฺยสตฺตนิกาเย ธมฺมามตํ ปาเยตฺวา นิพฺพานสฺส ปาปนโต จ ตเทว ญาณํ พุทฺธานเมวาธิกภาวโต เตสเมว สมฺพุทฺธานํ อปทานํ การณํ พุทฺธาปทานํ.
ตญฺหิ ทุวิธํ กุสลากุสลวเสน. ปจฺเจกพุทฺธา ปน น ตถา กาตุํ สมตฺถา, อนฺนาทิปจฺจยทายกานํ ๒- สงฺคหํ กโรนฺตาปิ :-
"อิจฺฉิตํ ปตฺถิตํ ตุยฺหํ ขิปฺปเมว สมิชฺฌตุ ปูเรนฺตุ จิตฺตสงฺกปฺปา จนฺโท ปณฺณรโส ยถา. อิจฺฉิตํ ปตฺถิตํ ตุยฺหํ ขิปฺปเมว สมิชฺฌตุ ปูเรนฺตุ จิตฺตสงฺกปฺปา มณิโชติรโส ยถา" ติ (คาถานี้อยู่ในบทที่ ๒. อนุโมทนารัมภคาถา)
@@@@@@@
อิมาหิ ทฺวีหิเยว คาถาหิ ธมฺมํ เทเสนฺติ. เทเสนฺตาปิ อสงฺเขฺยยฺยสตฺตนิกาเย โพเธตุํ น สกฺกุณนฺติ, ตสฺมา น สพฺพญฺญุพุทฺธสทิสา หุตฺวา ปาฏิเยกฺกํ วิสุํ พุทฺธาติ ปจฺเจกพุทฺธา. เตสํ อปทานํ การณํ ปจฺเจกพุทฺธาปทานํ.
จิรํ ฐิตาติ เถรา. อถ วา ถิรตรสีลาจารมทฺทวาทิคุเณหิ ยุตฺตาติ เถรา. อถ วา ถิรวรสีลสมาธิปญฺญาวิมุตฺติวิมุตฺติญาณทสฺสนคุเณหิ ยุตฺตาติ เถรา. อถ วา ถิรตรสงฺขาตปณีตานุตฺตรสนฺตินิพฺพานมธิคตาติ เถรา, เถรานํ อปทานานิ เถราปทานานิ. ตถา ตาทิคุเณหิ ยุตฺตาติ เถรี, เถรีนํ อปทานานิ เถรีปทานานิ.__________________________________________ ที่มา : อรรถกถาเล่มที่ ๔๙ ภาษาบาลีอักษรไทย อป.อ.๑ (วิสุทฺธ.๑) , ขุทฺทกนิกาย อปทานฏฺฐกถา (ปฐโม ภาโค) https://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=49&A=1พรรณนาอัพภันตรนิทาน ศัพท์ว่า อถ ในคาถานี้ว่า ลำดับนี้ ท่านทั้งหลายผู้มีใจบริสุทธิ์ จงสดับพุทธาปทานว่า เราเป็นพระธรรมราชาสมบูรณ์ด้วยบารมี ๓๐ ถ้วน ซึ่งใครๆ นับไม่ได้ ดังนี้.
เป็นบทนิบาตใช้ในอรรถว่า แสดงลำดับแห่งอธิการ คือเป็นบทนิบาตที่ประกอบด้วยวิภัตติ ในบรรดานิบาตทั้งสอง ที่ประกอบด้วยวิภัตติและไม่ประกอบวิภัตติ.
อีกอย่างหนึ่ง อถ ศัพท์เป็นไปในอรรถว่า อธิการ, มงคล, อรรถว่า สำเร็จ, อวธารณะ, อรรถว่า ต่อเนื่องกันไป, และอรรถว่า ปราศจากไป.
จริงอย่างนั้น เพราะท่านกล่าวไว้ว่า อธิการย่อมบ่งบอกถึงกิจอันยิ่ง ฐานะอันยิ่ง และอรรถอันยิ่ง ท่านกล่าวไว้โดยภาวะอันประเสริฐที่สุดและเจริญที่สุด ดังนี้.
(เชื่อมความว่า) ท่านทั้งหลายจงฟังอปทาน (คือเหตุ) อันประกอบด้วย อถศัพท์อันมีอธิการเป็นอรรถ โดยเป็นกิจอันยิ่งแห่งบารมีธรรม ๓๐ ถ้วนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือโดยภาวะอันประเสริฐที่สุดและเจริญที่สุด.
เชื่อมความว่า ท่านทั้งหลายจงฟังอปทานอันประกอบด้วย อถศัพท์ซึ่งมีมงคลเป็นอรรถ โดยพระบาลีว่า การบูชาผู้ควรบูชา นั่นเป็นมงคลอันสูงสุด เพราะการบูชาพระโพธิสัตว์ ๓ จำพวกเป็นมงคลโดยสภาพ.
เชื่อมความว่า ท่านทั้งหลายจงฟังอปทานที่ประกอบด้วย อถศัพท์อันมีความสำเร็จเป็นอรรถ เพราะกิจแห่งสมบัติของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นต้น สำเร็จแล้วด้วยพระอรหัตมรรค.
เชื่อมความว่า ท่านทั้งหลายจงฟังอปทานอันประกอบด้วย อถศัพท์อันมีอวธารณะเป็นอรรถ คือมีการห้ามเป็นอรรถ เพราะพระพุทธเจ้าเป็นต้น ไม่มีกุศลอื่นจากกุศลมีอรหัตมรรคเป็นต้น.
เชื่อมความว่า ท่านทั้งหลายจงฟังอปทานอันประกอบด้วย อถศัพท์อันมีอนันตระ ความต่อเนื่องกันเป็นอรรถ เพราะท่านร้อยกรองไว้ติดต่อกับการร้อยกรองขุททกปาฐะ.
เชื่อมความว่า ท่านทั้งหลายจงฟังอปทานอันประกอบด้วย อถศัพท์ซึ่งมีการจากไปเป็นอรรถ เพราะเริ่มจากขุททกปาฐะนี้ไป.
@@@@@@@
ในบทว่า พุทฺโธ พระพุทธเจ้า นี้มีวิเคราะห์ดังต่อไปนี้. ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย. ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะยังหมู่สัตว์ให้ตรัสรู้. ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้รู้สิ่งทั้งปวง. ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะทรงหยั่งเห็นสิ่งทั้งปวง. ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้ไม่มีคนอื่นแนะนำ. ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะทรงเป็นผู้เบิกบาน. ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะสิ้นอาสวะแล้ว. ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะปราศจากอุปกิเลส. ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะการถือบวช. ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะอรรถว่าไม่เป็นที่สอง. ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะอรรถว่าละตัณหาได้. ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะเสด็จดำเนินทางเป็นที่ไปอันเอก. ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะพระองค์เดียวตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม. ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะทรงได้เฉพาะความรู้ เป็นเหตุกำจัดความไม่รู้เสียได้. บททั้งสามคือ พุทฺธิ พุทฺธํ โพโธ นี้ ไม่มีความแตกต่างกัน. ผ้าเขาเรียกว่า ผ้าเขียว ผ้าแดง เพราะประกอบด้วยสีเขียวเป็นต้น ฉันใด. ชื่อว่า พระพุทธเจ้า เพราะประกอบด้วยคุณของพระพุทธเจ้า ฉันนั้น.
@@@@@@@
อีกอย่างหนึ่ง ญาณในมรรคทั้ง ๔ เรียกว่า โพธิ, ญาณที่เรียกว่าโพธิ เพราะทำหมู่กิเลส ๑,๕๐๐ ทั้งสิ้นให้สิ้นไป ด้วยญาณนั้นนั่นแหละแล้วบรรลุพระนิพพาน. สมังคีบุคคลผู้ประกอบพร้อมด้วยญาณนั้น ชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้า. แม้พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ทำกิเลสทั้งปวงให้สิ้นไปด้วยญาณนั้นเหมือนกัน แล้วจึงบรรลุพระนิพพาน.
ก็ญาณนั้นเท่านั้นเป็นอปทาน คือ เป็นเหตุของพระสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น โดยเป็นญาณอันยิ่งเฉพาะของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย จึงชื่อว่า พุทธาปทาน
เพราะพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงบำเพ็ญบารมีมา ๔ อสงไขยแสนกัป จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ และเพราะทรงบรรลุอสาธารณญาณมีอินทริยปโรปริยัตติญาณ มหากรุณาสมาบัติญาณ ยมกปาฏิหาริยญาณ สัพพัญญุตญาณ อนาวรณญาณ อาสยานุสยญาณ เป็นต้น และเพราะทรงให้หมู่สัตว์นับไม่ถ้วนดื่มอมตธรรมด้วยพระธรรมเทศนา แม้กัณฑ์เดียวแล้วให้บรรลุพระนิพพาน.
ก็พุทธาปทานนั้นมี ๒ อย่าง โดยเป็นกุศลและอกุศล แต่พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายไม่สามารถจะทำอย่างนั้นได้ แม้เมื่อจะทำการสงเคราะห์ทายกผู้ถวายปัจจัยมีข้าวเป็นต้น ก็แสดงธรรมด้วยคาถา ๒ คาถานี้เท่านั้นแหละ ว่า
ขออิฐผลที่ท่านอยากได้แล้วปรารถนาแล้ว จงสำเร็จโดยเร็วพลัน ความดำริไว้ในใจจงเต็มที่ เหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญ ฉะนั้น. ขออิฐผลที่ท่านอยากได้แล้วปรารถนาแล้ว จงสำเร็จโดยเร็วพลัน ความดำริในใจจงเต็มที่ เหมือนแก้วมณีชื่อโชติรส ฉะนั้น ดังนี้. (คาถานี้อยู่ในบทที่ ๒. อนุโมทนารัมภคาถา)
@@@@@@@
พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายแม้จะแสดงธรรม ก็ไม่อาจทำหมู่สัตว์นับไม่ถ้วนให้ตรัสรู้ได้ เพราะฉะนั้น จึงไม่เป็นเหมือนพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ตรัสรู้ได้เฉพาะโดยโดดเดี่ยว เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าพระปัจเจกพุทธเจ้า. อปทาน คือ เหตุแห่งพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ชื่อว่า ปัจเจกพุทธาปทาน.
ชื่อว่า เถระ เพราะดำรงอยู่นาน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เถระ เพราะประกอบด้วยคุณ มีศีล อาจาระและมัทวะ ความอ่อนโยน เป็นต้น อันมั่นคงกว่า. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เถระ เพราะประกอบด้วยคุณ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติและวิมุตติญาณทัสสนะอันมั่นคงและประเสริฐ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เถระ เพราะบรรลุพระนิพพาน คือ สันติที่นับว่ามั่นคงกว่า ประณีตและยอดเยี่ยม.
อปทานของพระเถระทั้งหลาย ชื่อว่า เถราปทาน. ชื่อว่า เถรี เพราะประกอบด้วยตาทิคุณทั้งหลายเหมือนพระเถระ. อปทานของพระเถรีทั้งหลาย ชื่อว่า เถรีปทาน.___________________________________________ ที่มา : อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๑. พุทธวรรค , ๑. พุทธาปทาน หน้าต่างที่ ๙ / ๑๑. https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32.0&i=1&p=9ขอบคุณภาพจาก : pinterest อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=32&A=1&Z=146
|
|
|
68
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / วินาทีบรรลุธรรม | กัมมัฏฐาน แนวหลวงพ่อแป้น
|
เมื่อ: ตุลาคม 17, 2024, 07:55:12 am
|
พระครูภาวนานุศาสก์ (หลวงพ่อแป้น ธัมมธโร)วินาทีบรรลุธรรมคอลัมน์ ทำมาธรรมะ โดย ราชรามัญ________________________________________ KEYPOINTS
• มนุษย์เราทั้งหลายบุญวาสนาบารมีธรรม แตกต่างกันออกไป ดังนั้นวิธีการที่จะหลุดพ้นไปสู่นิพพาน ย่อมมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามบุญ วาสนาบารมีของแต่ละบุคคล
• การเห็นภาวะธรรมที่เรียกว่าเกิดดับนั้น จะทำให้เราเข้าใจอย่างลึกซึ้งว่าทุกๆ สัดส่วนของร่างกายนี้ ยึดมั่นถือมั่นไม่ได้เลย เป็นเพียงของอาศัยอยู่และท้ายสุด การละอัตตาก็จะเกิดขึ้น วินาทีบรรลุธรรม : คอลัมน์ ทำมาธรรมะ โดย ราชรามัญ
พระสายปฏิบัติธรรม พระกัมมัฏฐาน ในเมืองไทย ถ้าสมมุติมีอยู่พันรูป ผมได้พบได้กราบได้สนทนาธรรมมาแล้วอย่างน้อยห้าร้อยรูป เพราะการเป็นนักเขียนในนิตยสารคนพ้นโลก /โลกทิพย์ / ศักดิ์สิทธิ์ /มหัศจรรย์ และอีกหลายๆ ยี่ห้อ ทำให้ผมได้มีโอกาส กราบนมัสการขอความรู้ จากพระสุปฏิปันโนทั่วประเทศ ได้ฟังประวัติได้เห็นแนวทางการปฏิบัติ อย่างอุกฤติของหลวงปู่หลวงพ่อแต่ละรูปที่แตกต่างกันออกไป...
ประเทศไทยนับได้ว่าโชคดี ที่มีพระป่า มุ่งประพฤติปฏิบัติ เพื่อความหลุดพ้น เป็นเป้าหมายอันสูงสุด แม้ว่าจะไปถึงหรือไม่ถึงก็สุดแท้แต่อย่างน้อย ตลอดชีวิตของหลวงปู่หลวงพ่อเหล่านั้น ก็ประพฤติปฏิบัติหรือมีปฏิปทา อยู่ในจารีต อันงดงามตามคำสอน โดยเฉพาะเรื่องพระธรรมวินัย ส่วนกุศโลบาย ในการสอนพระกัมมัฏฐาน อาจจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป ก็มิใช่เรื่องที่จะต้องมาตำหนิติเตียน
ด้วยเหตุผลที่ว่า มนุษย์เราทั้งหลายบุญวาสนาบารมีธรรม แตกต่างกันออกไป ดังนั้นวิธีการที่จะหลุดพ้นไปสู่ นิพพาน ย่อมมีลักษณะ ที่แตกต่างกันออกไปตามบุญ วาสนาบารมีของแต่ละบุคคลได้ ไม่จำเป็นที่จะต้อง หลุดพ้นจากความทุกข์ด้วยวิธีเดียวกันทั้งหมด พระอรหันต์รูปใดในพุทธกาล ที่บรรลุธรรม เหมือนกันบ้าง ในแต่ละรูป ใครที่เคยได้เรียนรู้ได้ศึกษาประวัติพระอรหันต์ จะเห็นได้ชัดเจนว่าวิธีการบรรลุธรรมแต่ละองค์นั้นมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
พระกัมมัฏฐานในเมืองไทย ต่างมีวินาทีบรรลุธรรมแตกต่างกัน บางรูปอาจจะเห็นกายระเบิดแตกยับเป็นจุณ โลกธาตุหวั่นไหว ในขณะที่ปฏิบัติพระกัมมัฏฐานทรงฌานทรงฤทธิ์อยู่
บางรูปก็เห็นภาวะเกิดดับตลอดทั้งสายตั้งแต่เช้าจรดเย็นทั่วร่างกาย เรียกได้ว่า ภาวะการเกิดการดับนั้น ได้ถอนวิสัยแห่งความเป็นปุถุชนจนสิ้น อย่างชนิดที่เรียกว่ายากจะอธิบายออกมาเป็นคำพูด
@@@@@@@
พระกัมมัฏฐานรูปหนึ่ง... ไม่ค่อยมีชื่อเสียงกว้างขวางในวงนอกเท่าไหร่ แต่ในวงการสงฆ์ต่างรู้จักท่านดี ว่าเป็นพระอาจารย์ใหญ่ในสายพระกัมมัฏฐาน คือ พระครูภาวนานุศาสก์ (แป้น ธัมมธโร) วัดไทรงาม ต.ดอนมะสังข์ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
หลวงพ่อแป้น ท่านมุ่งเน้นให้เห็นสภาวะอาการเกิดดับของร่างกายที่มีอยู่ทั่ว โดยท่านยืนยันว่า การเห็นภาวะธรรมที่เรียกว่าเกิดดับนั้น จะทำให้เราเข้าใจอย่างลึกซึ้งว่าทุกๆ สัดส่วนของร่างกายนี้ ยึดมั่นถือมั่นไม่ได้เลย เป็นเพียงของอาศัยอยู่และท้ายสุด การละอัตตาก็จะเกิดขึ้น
กุศโลบายในการสอนของหลวงพ่อแป้น ท่านจะให้ยกมือขวา โดยแบมือออก ค่อยๆ เคลื่อนลงค่อยๆ เคลื่อนขึ้นอย่างช้าๆ จะเป็นจังหวะก็ได้ หรือเคลื่อนติดต่อก็ได้ แต่เอาความรู้สึกทั้งหมดไปอยู่ที่กลางฝ่ามือ แต่ไม่ควรเพ่ง ไม่ควรจดจ้อง เพียงแค่อาศัยเฝ้าดูเฝ้ารู้สังเกต จะเห็นว่ากลางฝ่ามือ มีสภาวะเกิดดับ คล้ายกับการเต้นของชีพจรที่ข้อมือ ตุบตุบตุบ เรามีหน้าที่แค่เฝ้าดูไม่เพ่งไม่จ้อง ไม่นานก็จะทะลุ ไปถึงกลางหน้าอก แล้วทะลุไปถึงข้างหลัง วิ่งขึ้นไปตลอดสาย จนถึงศีรษะ แล้วย้อนเข้าถึงมโนวิญญาณ
นับว่าเป็นกุศโลบาย ที่มิได้พึ่งพลังแห่งสมาธิแต่ พึ่ง ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ร่วมกับสติในการเฝ้าดูเฝ้ารู้ภาวะธรรมที่เกิดดับนั้น พระคณาจารย์บางรูปให้ความเห็นว่านี่คือ หนทางสู่การรู้แจ้ง ที่ชัดตัดและเร็ว ไม่ต้องผ่านภาวะปิติไม่ต้องผ่านภาวะความสุขในอารมณ์สมาธิ
@@@@@@@
สำหรับผู้ที่ฝึกแบบการบริกรรมและเน้นสมถกรรมฐาน เมื่อนั่งมากๆ ก็จะต้องดับดิ่งสู่ระบบฌาน ตั้งแต่ฌานที่ 1 ถึงฌานที่ 4 และสุดท้ายก็ต้องสละฌานออก เพื่อให้เข้ามาถึง ภาวะธรรมที่เรียกว่าเกิดดับ จึงจะเป็น การเข้าสู่หนทางที่จะทำให้รู้แจ้ง ที่บางคนอาจเรียกว่า วิปัสสนา
แต่ตราบใดที่ยังจมอยู่กับอารมณ์สมาธิในฌานต่างๆ นั้นเรียกแค่เพียงว่าอารมณ์สมถะ คือการทำจิตให้เป็นหนึ่ง แน่นิ่งสงบในสมาธิ พึงจะหวังให้เกิดมรรคเกิดผล เพื่อการหลุดพ้นเป็นการยากเพราะโดยมากจะน้อมไปในฤทธิ์ทางใจเสียมาก
ผู้ที่ฝึกพระกัมมัฏฐาน แบบหลวงพ่อแป้น ถ้าทำต่อเนื่องติดกัน อย่างน้อย 7 วัน ภาวะธรรมอันแจ่มแจ้งย่อมก้าวลงสู่อริยมรรคแห่งโสดาบันเป็นเบื้องต้น และเมื่อทำต่อเนื่อง ผลแห่งโสดาย่อมปรากฏตามวาสนาบารมี ของผู้ปฏิบัติในวันใดวันหนึ่ง
พระราชภาวนาวัชราจารย์ วิ. เป็นศิษย์เอกของหลวงพ่อแป้น ยืนยัน การปฏิบัติพระกัมมัฏฐาน ตามแนวของหลวงพ่อแป้น บางภาวธรรมก็สามารถระลึกกรรมได้หรือภาษาในสาย ปฏิบัติเรียกว่า "สังขารปรุงแต่ง" นักปฏิบัติบางท่านสังขารปรุงแต่งจนสิ้นแห่งกรรมทั้งปวง ภายในระยะเวลา 3 ปีก็มี
@@@@@@@
วินาทีบรรลุธรรมของแต่ละท่านนั้น ย่อมมีความเป็นไปตามวาสนาบารมี ที่สั่งสมกันมา ตลอดทั้งกุศโลบายหรือวิธีการปฏิบัติก็ย่อมแตกต่างกันออกไป ไม่มีสำนักใดผิดไม่มีวัดใดถูก ทุกอย่าง เราต้องถามตัวเองว่าเมื่อปฏิบัติแล้วเราจิตสงบไม่เครียดมีความทุกข์น้อยลง แนวทางการปฏิบัตินั้นก็เหมาะสมแก่เรา
แต่สิ่งหนึ่งที่พึงอยากจะแนะนำนักปฏิบัติทั้งหลาย อย่ายึดติดครูบาอาจารย์ อย่ายึดติดกุศโลบาย แนวทางในการปฏิบัติ ขอให้รู้เพื่อทำความเข้าใจ และปล่อยให้สภาวะธรรมปรากฏ ตามธรรมชาติ ความเป็นตัวเรา ไม่ไปกดไม่ไปข่ม แล้วเราจะได้เห็น ความจริงทั้งปวง อย่างน้อยอริยมรรคหรือเส้นทางอันประเสริฐก็ย่อมปรากฏขึ้นในจิตใจของเราอย่างชนิดที่คิดไม่ถึง
ภาวะแห่งการปล่อยวางจะเกิดขึ้นเอง โดยที่สมองมิได้ทำงานไปกดไปข่มเพราะนั่นเป็นแค่การปล่อยทิ้ง ใครปฏิบัติอย่างต่อเนื่องก็จะลึกซึ้งและเข้าใจกับคำว่าวินาทีบรรลุธรรม Thank to : https://www.thansettakij.com/blogs/lifestyle/60946017 ต.ค. 2567 | 06:00 น.
|
|
|
69
|
เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: บทสวด "ยถา-สัพพี" ไม่ใช่พุทธพจน์ แล้วมาจากไหน.?
|
เมื่อ: ตุลาคม 16, 2024, 11:38:08 am
|
. ที่มา : อนุโมทนารัมภคาถา อนุโมทนารัมภคาถา (บาลี)
บทที่ ๑. ยถา วาริวหา ปูรา ปริปูเรนฺติ สาครํ เอวเมว อิโต ทินฺนํ เปตานํ อุปกปฺปติ
บทที ๒. อิจฺฉิตํ ปตฺถิตํ ตุมฺหํ ขิปฺปเมว สมิชฺฌตุ สพฺเพ ปูเรนฺตุ สงฺกปฺปา จนฺโท ปณฺณรโส ยถา มณิ โชติรโส ยถา ที่มาของบทที่ ๑. อยู่ใน ติโรกุฑฑสูตร
ขุทฺทกปาเฐ ติโรกุฑฺฑกณฺฑํ , พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ ภาษาบาลี อักษรไทย พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ สุตฺต. ขุ. ขุทฺทกปาฐ-ธมฺมปทคาถา-อุทานํ-อิติวุตฺตก-สุตฺตนิปาตา
[๘] |๘.๑|(มตฺตาสุขปริจฺจาคา ปสฺเส เจ วิปุลํ สุขํ จเช มตฺตาสุขํ ธีโร สมฺปสฺสํ วิปุลํ สุขํ ฯ)
|๘.๒| ติโรกุฑฺเฑสุ ติฏฺฐนฺติ สนฺธิสิงฺฆาฏเกสุ จ ทฺวารพาหาสุ ติฏฺฐนฺติ อาคนฺตฺวาน สกํ ฆรํ ฯ
|๘.๓| ปหุเต (๑-) อนฺนปานมฺหิ ขชฺชโภชฺเช อุปฏฺฐิเต น เตสํ โกจิ สรติ สตฺตานํ กมฺมปจฺจยา ฯ
|๘.๔| เอวํ ททนฺติ ญาตีนํ เย โหนฺติ อนุกมฺปกา สุจึ ปณีตํ กาเลน กปฺปิยํ ปานโภชนํ อิทํ โว ญาตีนํ โหตุ สุขิตา โหนฺตุ ญาตโย ฯ
|๘.๕| เต จ ตตฺถ สมาคนฺตฺวา ญาติเปตา สมาคตา ปหุเต (๒-) อนฺนปานมฺหิ สกฺกจฺจํ อนุโมทเร
|๘.๖| จิรํ ชีวนฺตุ โน ญาตี เยสํ เหตุ ลภามฺหเส ฯ อมฺหากญฺจ กตา ปูชา ทายกา จ อนิปฺผลา ฯ
|๘.๗| น หิ ตตฺถ กสิ อตฺถิ โครกฺเขตฺถ น วิชฺชติ วณิชฺชา ตาทิสี นตฺถิ หิรญฺเญน กยากยํ ฯ อิโต ทินฺเนน ยาเปนฺติ เปตา กาลกตา ตหึ
@@@@@@@
|๘.๘| อุนฺนเต (๓-) อุทกํ วุฏฺฐํ ยถา นินฺนํ ปวตฺตติ เอวเมว อิโต ทินฺนํ เปตานํ อุปกปฺปติ ฯ
|๘.๙| ยถา วาริวหา ปูรา ปริปูเรนฺติ สาครํ เอวเมว อิโต ทินฺนํ เปตานํ อุปกปฺปติ ฯ (ข้อนี้อยู่ในบทที่ ๑. อนุโมทนารัมภคาถา)
|๘.๑๐| อทาสิ เม อกาสิ เม ญาติมิตฺตา สขา จ เม เปตานํ ทกฺขิณํ ทชฺชา ปุพฺเพ กตมนุสฺสรํ ฯ
|๘.๑๑| น หิ รุณฺณํ วา โสโก วา ยาวญฺญา ปริเทวนา น ตํ เปตานมตฺถาย เอวํ ติฏฺฐนฺติ ญาตโย ฯ
|๘.๑๒| อยญฺจ โข ทกฺขิณา ทินฺนา สงฺฆมฺหิ สุปติฏฺฐิตา ทีฆรตฺตํ หิตายสฺส ฐานโส อุปกปฺปติ ฯ
|๘.๑๓| โส ญาติธมฺโม จ อยํ นิทสฺสิโต เปตานปูชา จ กตา อุฬารา พลญฺจ ภิกฺขูนมนุปฺปทินฺนํ ตุมฺเหหิ ปุญฺญํ ปสุตํ อนปฺปกนฺติ ฯ
ติโรกุฑฺฑกณฺฑํ นิฏฺฐิตํ ฯ_______________________________________________ (๑-) ม. ปหูเต ฯ , (๒-) ม. ปหูเต ฯ , (๓-) ม. อุนฺนเม ฯ ที่มา : https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=25&item=8&items=1 ๗. ติโรกุฑฑสูตร (๑-) ว่าด้วยเรื่อง เปรตที่อยู่ภายนอกฝาเรือน (๒-) พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้ เพื่ออนุโมทนาพระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพมคธรัฐ ดังนี้)
[๑] พวกเปรตพากันมาสู่เรือนของตน (๓-) บ้างยืนอยู่ที่ฝาเรือนด้านนอก บ้างยืนอยู่ที่ทางสี่แพร่ง สามแพร่ง บ้างยืนพิงอยู่ที่บานประตู
[๒] เมื่อมีข้าวและน้ำดื่มมากมาย เมื่อของเคี้ยวของกินถูกจัดเตรียมไว้แล้ว ญาติสักคนก็ไม่นึกถึงเปรตเหล่านั้น เพราะกรรมของสัตว์เหล่านั้นเป็นปัจจัย
[๓] เหล่าชนผู้อนุเคราะห์ ย่อมถวายอาหารและน้ำดื่ม ที่สะอาดประณีต เหมาะแก่พระสงฆ์ตามกาล อุทิศให้ญาติทั้งหลาย(ที่เกิดเป็นเปรต)อย่างนี้ว่า ขอทานนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของเรา ขอญาติทั้งหลาย จงเป็นสุขเถิด
[๔] ส่วนญาติที่เกิดเป็นเปรตเหล่านั้น พากันมาประชุมพร้อมกัน ณ ที่ให้ทานนั้น ย่อมอนุโมทนาในอาหารและน้ำดื่มเป็นอันมากโดยเคารพว่า
[๕] เพราะเหตุแห่งญาติเหล่าใด พวกเราจึงได้สุขสมบัติเช่นนี้ ขอญาติเหล่านั้นของพวกเราจงมีอายุยืน อนึ่ง การบูชา ญาติผู้เป็นทายกก็ได้ทำแก่พวกเราแล้ว และทายกก็ไม่ไร้ผล [๖] ในเปตวิสัย (๔-) นั้น ไม่มีกสิกรรม (การทำไร่ไถนา) ไม่มีโครักขกรรม (การเลี้ยงวัวไว้ขาย) ไม่มีพาณิชกรรม (การค้าขาย) เช่นนั้น การแลกเปลี่ยนซื้อขายด้วยเงิน ก็ไม่มี ผู้ที่ตายไปเกิดเป็นเปรตในเปตวิสัยนั้น ดำรงชีพด้วยผลทานที่พวกญาติอุทิศให้จากมนุษยโลกนี้
@@@@@@@
[๗] น้ำฝนที่ตกลงมาในที่ดอนย่อมไหลไปสู่ที่ลุ่ม ฉันใด ทานที่ทายกอุทิศให้จากมนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จผลแน่นอนแก่พวกเปรต ฉันนั้นเหมือนกัน
[๘] ห้วงน้ำที่เต็มย่อมยังสมุทรสาครให้เต็มเปี่ยม ฉันใด ทานที่ทายกอุทิศให้จากมนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จแก่เปรตทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน (ข้อนี้อยู่ในบทที่ ๑. อนุโมทนารัมภคาถา)
[๙] กุลบุตรเมื่อระลึกถึงอุปการะ ที่ญาติผู้ละไปแล้ว(เปรต)เคยทำไว้ในกาลก่อนว่า ‘ผู้นั้นได้ให้สิ่งนี้แก่เรา ได้ทำสิ่งนี้แก่เรา ได้เป็นญาติ มิตร และสหายของเรา’ ก็ควรถวายทักษิณาทานอุทิศให้แก่ญาติผู้ละไปแล้ว
[๑๐] การร้องไห้ ความเศร้าโศก หรือความร่ำไห้คร่ำครวญอย่างอื่นใด ใครๆ ไม่ควรทำเลย เพราะการร้องไห้ เป็นต้นนั้น ไม่เป็นประโยชน์แก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว ญาติทั้งหลายก็ยังคงสภาพอยู่อย่างนั้น [๑๑] ส่วนทักษิณาทานนี้แล ที่ตั้งไว้ดีแล้วในพระสงฆ์ ย่อมสำเร็จประโยชน์เกื้อกูลสิ้นกาลนาน แก่หมู่ญาติที่เกิดเป็นเปรตนั้น โดยพลันทีเดียว
[๑๒] ญาติธรรม (๕-) นี้นั้น ท่านแสดงออกแล้ว การบูชาญาติที่ตายไปเป็นเปรต ท่านทำอย่างยิ่งใหญ่แล้ว ทั้งกำลังกายของภิกษุ ท่านก็เพิ่มให้แล้ว เป็นอันว่าท่านสั่งสมบุญไว้มิใช่น้อยเลย
ติโรกุฑฑสูตร จบ______________________________________________ (๑-) พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสแก่พระเจ้าพิมพิสาร ณ กรุงราชคฤห์ (ขุ.ขุ.อ. ๗/๑๗๗) (๒-) ดูเทียบ ขุ.เปต. (แปล) ๒๖/๑๔-๒๕/๑๗๐-๑๗๒, อภิ.ก. ๓๗/๔๙๐/๒๙๕ (๓-) เรือนของตน หมายถึงเรือนญาติของตน หรือเรือนที่เคยอยู่ในปางก่อน (ขุ.ขุ.อ. ๗/๑๘๑) (๔-) เปตวิสัย หมายถึงภูมิหรือกำเนิดแห่งเปรต (ขุ.ขุ.อ. ๗/๑๘๘) (๕-) ญาติธรรม หมายถึงกิจคือการสงเคราะห์ต่อกันที่ญาติจะพึงกระทำต่อกัน (ขุ.ขุ.อ. ๗/๑๙๐) ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๕ หน้า : ๑๕ - ๑๖} url : https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=7 อรรถกถาติโรกุฑฑสูตร อรรถกถา ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ ติโรกุฑฑกัณฑ์ในขุททกปาฐะ ประโยชน์แห่งการตั้งพระสูตร บัดนี้ ถึงลำดับการพรรณนาความติโรกุฑฑสูตร ที่ยกขึ้นตั้งต่อลำดับรัตนสูตร โดยนัยว่า ติโรกุฑฺเฑสุ ติฏฺฐนฺติ เป็นต้น จักกล่าวประโยชน์แห่งการตั้งติโรกุฑฑสูตรนั้นไว้ในที่นี้ แล้วจึงจักทำการพรรณนาความ.
ในข้อนั้น ความจริง ติโรกุฑฑสูตรนี้ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็มิได้ตรัสตามลำดับนี้ แต่ก็ทรงแสดงการปฏิบัติกุศลกรรมนี้ได้ โดยประการต่างๆ ไว้ก่อนพระสูตรนี้ เพราะเหตุที่บุคคลประมาทในการปฏิบัติกุศลกรรมนั้นอยู่ เมื่อเกิดในฐานะ ที่แม้เศร้าหมองกว่านรกและกำเนิดสัตว์เดียรฉาน ก็ย่อมเกิดในจำพวกเปรตเห็นปานนั้น ฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสรัตนสูตร เพื่อแสดงว่าบุคคลไม่ควรทำความประมาทในการปฏิบัติกุศลกรรมนั้น และเพื่อระงับอุปัทวะแห่งกรุงเวสาลี ที่พวกหมู่ภูตเหล่าใดเบียดเบียนแล้ว หรือตรัสเพื่อแสดงว่า ในหมู่ภูตเหล่านั้น มีหมู่ภูตบางพวกมีรูปเห็นปานนั้น
พึงทราบประโยชน์แห่งการตั้งติโรกุฑฑสูตรนี้ในที่นี้.
@@@@@@@
กถาอนุโมทนา แต่เพราะเหตุที่ ติโรกุฑฑสูตร ผู้ใดประกาศ ประกาศที่ใด ประกาศเมื่อใด และประกาศเพราะเหตุใด การพรรณนาความของติโรกุฑฑสูตรนั้น ครั้นประกาศติโรกุฑฑสูตรนั้นหมดแล้ว เมื่อทำตามลำดับ ชื่อว่าทำดีแล้ว ฉะนั้น ข้าพเจ้าก็จักทำการพรรณนาความนั้น อย่างนั้นเหมือนกันแล.
ข้อว่า ก็ติโรกุฑฑสูตรนี้ ใครประกาศ.? ประกาศที่ไหน.? ประกาศเมื่อไร.?
ขอชี้แจงดังนี้ ติโรกุฑฑสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศ ก็ติโรกุฑฑสูตรนั้นแล ทรงประกาศเพื่อทรงอนุโมทนาแก่พระเจ้ามคธรัฐในวันรุ่งขึ้น เพื่อทำความข้อนี้ให้แจ่มแจ้ง ควรกล่าวเรื่องไว้พิศดารในข้อนี้ ดังนี้.
ในกัปที่ ๙๒ นับแต่กัปนี้ มีนครชื่อกาสี ในนครนั้น มีพระราชาพระนามว่า ชัยเสน พระเทวีของพระราชานั้นพระนามว่า สิริมา. พระโพธิสัตว์พระนามว่า ปุสสะ เกิดในครรภ์ของพระนาง ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณตามลำดับ พระราชาชัยเสนทรงเกิดความรู้สึกถึงความเป็นของพระองค์ว่า โอรสของเราออกทรงผนวชเกิดเป็นพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็เป็นของเรา พระธรรมก็ของเรา พระสงฆ์ก็ของเรา ทรงอุปฐากด้วยพระองค์เองตลอดทุกเวลา ไม่ยอมประทานโอกาสแก่คนอื่นๆ.
เจ้าพี่เจ้าน้องของพระผู้มีพระภาคเจ้า ต่างพระมารดา ๓ พระองค์พากันดำริว่า ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเสด็จอุบัติ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกทั้งปวง มิใช่เพื่อประโยชน์แก่บุคคลคนเดียวเท่านั้น แต่พระบิดาของเรา ไม่ทรงประทานโอกาสแก่เราและคนอื่นๆ เลย เราจะได้การอุปฐากอย่างไรหนอ.
@@@@@@@
พระราชโอรสเหล่านั้นจึงตกลงพระหฤทัยว่า จำเราจะต้องทำอุบายบางอย่าง. ทั้ง ๓ พระองค์จึงให้หัวเมืองชายแดนทำประหนึ่งแข็งเมือง. ต่อนั้น พระราชาทรงทราบข่าวว่า หัวเมืองชายแดนกบฏ จึงทรงส่งพระราชโอรสทั้ง ๓ พระองค์ออกไปปราบกบฏ. พระราชโอรสเหล่านั้นปราบกบฏเสร็จแล้วก็เสด็จกลับมา.
พระราชาทรงดีพระราชหฤทัย พระราชทานพรว่า เจ้าปรารถนาสิ่งใด ก็จงรับสิ่งนั้น. พระราชโอรสทั้ง ๓ พระองค์กราบทูลว่า ข้าพระบาทปรารถนาจะอุปฐากพระผู้มีพระภาคเจ้า พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า เว้นพรข้อนั้นเสีย รับพรอย่างอื่นไปเถิด. พระราชโอรสกราบทูลว่า พวกข้าพระบาทไม่ปรารถนาพรอย่างอื่นดอก พระเจ้าข้า.
พระราชาตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น เจ้าจงกำหนดเวลามาแล้วรับไป. พระราชโอรสทูลขอ ๗ ปี. พระราชาไม่พระราชทาน พระราชโอรสจึงทูลขอลดลงอย่างนี้ คือ ๖ ปี ๕ ปี ๔ ปี ๓ ปี ๒ ปี ๑ ปี ๗ เดือน ๖ เดือน ๕ เดือน ๔ เดือน จนถึงไตรมาส พระราชาจึงพระราชทานว่า รับได้.
พระราชโอรสเหล่านั้นได้รับพระราชทานพรแล้ว ก็ทรงยินดีอย่างยิ่ง เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ประสงค์จะอุปฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าตลอดไตรมาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงรับจำพรรษาตลอดไตรมาสนี้ สำหรับข้าพระองค์ด้วยเถิด พระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงรับโดยอาการดุษณีภาพ คือ นิ่ง. @@@@@@@
ต่อนั้น พระราชโอรสทั้ง ๓ พระองค์ก็ส่งหัตถเลขา ลายพระหัตถ์ไปแจ้งแก่พนักงานเก็บส่วย [ผู้จัดผลประโยชน์] ในชนบทของพระองค์ว่า เราจะอุปฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าตลอดไตรมาสนี้ เจ้าจงจัดเครื่องประกอบการอุปฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าไว้ให้พร้อมทุกประการ ตั้งแต่สร้างพระวิหารเป็นต้นไป. เจ้าพนักงานเก็บส่วยนั้น จัดการพร้อมทุกอย่างแล้ว ก็ส่งหนังสือรายงานให้ทรงทราบ.
พระราชโอรสเหล่านั้น ก็ทรงนุ่งห่มผ้ากาสายะ ทรงอุปฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยเคารพ ด้วยบุรุษไวยาจักร ๒,๕๐๐ คน นำเสด็จสู่ชนบทมอบถวายพระวิหาร ให้ทรงอยู่จำพรรษา.
บุตรคฤหบดีผู้หนึ่งเป็นพนักงานที่รักษาเรือนคลังของพระราชโอรสเหล่านั้น พร้อมทั้งภรรยา เป็นคนมีศรัทธาปสาทะ เขาได้ปฏิบัติการถวายทานแก่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขโดยเคารพ. เจ้าพนักงานเก็บส่วยในชนบท พาบุตรคฤหบดีนั้นให้ดำเนินการถวายทานโดยเคารพ พร้อมด้วยบุรุษชาวชนบทประมาณ ๑๑,๐๐๐ คน.
บรรดาคนเหล่านั้น ชนบางพวกมีจิตถูกอิสสามัจฉริยะครอบงำ พวกเขาก็พากันทำอันตรายแก่ทาน กินไทยธรรมด้วยตนเองบ้าง ให้แก่พวกลูกๆ เสียบ้าง และเอาไฟเผาโรงอาหาร.
ครั้นปวารณาออกพรรษา พระราชโอรสทั้งหลายก็ทรงทำสักการะยิ่งใหญ่แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตามเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเข้าไปเฝ้าพระราชบิดา. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปในที่นั้นแล้ว ก็ปรินิพพาน.
พระราชา พระราชโอรส เจ้าพนักงานเก็บส่วยในชนบทและเจ้าพนักงานรักษาเรือนคลัง ทำกาละไปตามลำดับ ก็เกิดในสวรรค์พร้อมด้วยบริษัทบริวาร.
เหล่าชนที่มีจิตถูกอิสสามัจฉริยะครอบงำ ก็พากันไปเกิดในนรกทั้งหลาย เมื่อคน ๒ คณะนั้นจากสวรรค์เข้าถึงสวรรค์ จากนรกเข้าถึงนรกด้วยอาการอย่างนี้ กัปก็ล่วงไป ๙๒ กัป.
@@@@@@@
ต่อมา ในภัทรกัปนี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสป ชนที่มีจิตถูกอิสสามัจฉริยะครอบงำเหล่านั้น ก็เกิดเป็นเปรต. ครั้งนั้น มนุษย์ทั้งหลายถวายทาน อุทิศเพื่อประโยชน์แก่พวกเปรตที่เป็นญาติของตนว่า ขอทานนี้จงมีแก่พวกญาติของเรา. เปรตเหล่านั้นก็ได้สมบัติ.
ขณะนั้น เปรตแม้พวกนี้เห็นดังนั้น ก็เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะ ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทำอย่างไรหนอ พวกข้าพระองค์จึงจะได้สมบัติบ้าง พระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า บัดนี้ พวกท่านยังไม่ได้ดอก ก็แต่ว่า ในอนาคต จักมีพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น จักมีพระราชาพระนามว่าพิมพิสาร ท้าวเธอได้เป็นญาติของพวกท่าน นับแต่นี้ไป ๙๒ กัป ท้าวเธอจักถวายทานแด่พระพุทธเจ้า อุทิศส่วนกุศลแก่พวกท่าน ครั้งนั้น พวกท่านจึงจักได้.
เขาว่า เมื่อมีพุทธดำรัสอย่างนี้แล้ว พระพุทธดำรัสนั้นได้ปรากฏแก่เปรตเหล่านั้น ประหนึ่งตรัสว่า พวกท่านจักได้ในวันพรุ่งนี้.
ต่อมา เมื่อล่วงไปพุทธันดรหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเรา ก็เสด็จอุบัติในโลก. - พระราชโอรสทั้ง ๓ พระองค์นั้นก็จุติจากเทวโลก พร้อมด้วยบุรุษ ๒,๕๐๐ คนเหล่านั้นไปเกิดในสกุลพราหมณ์ทั้งหลาย ในแคว้นมคธ บวชเป็นฤาษีโดยลำดับ ได้เป็นชฎิล ๓ คน ณ คยาสีสประเทศ. - เจ้าพนักงานเก็บส่วยในชนบทได้เป็น พระเจ้าพิมพิสาร - บุตรคฤหบดี เจ้าพนักงานรักษาเรือนคลังได้เป็น มหาเศรษฐี ชื่อวิสาขะ ภรรยาของเขาได้เป็นธิดาของเศรษฐี ชื่อธรรมทินนา - บริษัทที่เหลือ เกิดเป็นราชบริพารของพระเจ้าพิมพิสารทั้งหมด.
@@@@@@@
พระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเราเสด็จอุบัติในโลก ล่วงไป ๗ สัปดาห์ ก็เสด็จมายังกรุงพาราณสีโดยลำดับ ประกาศพระธรรมจักรโปรดพระภิกษุปัญจวัคคีย์เป็นต้นไป จนถึงทรงแนะนำชฎิล ๓ ท่าน ซึ่งมีบริวาร ๒,๕๐๐ จึงเสด็จไปกรุงราชคฤห์.
ณ กรุงราชคฤห์นั้น โปรดพระเจ้าพิมพิสาร ซึ่งเสด็จเข้าไปเฝ้าในวันนั้นเอง ให้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล พร้อมด้วยพราหมณ์และคฤหบดีชาวมคธ ๑๑ นหุต. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์พระเจ้าพิมพิสาร เพื่อเสวยภัตตาหารในวันพรุ่ง.
ครั้นวันรุ่งขึ้น อันท้าวสักกะจอมทวยเทพนำเสด็จ ทรงชมเชยด้วยคาถาทั้งหลาย เป็นต้นอย่างนี้ว่า
ทนฺโต ทนฺเตหิ สห ปุราณชฏิเลหิ วิปฺปมุตโต วิปฺปมุตฺเตหิ สิงคินิกฺขสุวณฺโณ ราชคหํ ปาวิสิ ภควา.
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงฝึกแล้ว กับเหล่าปุราณชฎิล ผู้ฝึกแล้ว พระผู้หลุดพ้นแล้ว กับเหล่าปุราณชฎิลผู้หลุดพ้นแล้ว ผู้มีพระฉวีวรรณงามดังแท่งทองสิงคี เสด็จเข้าสู่กรุงราชคฤห์ ดังนี้.
เสด็จเข้าสู่กรุงราชคฤห์ ทรงรับมหาทานในพระราชนิเวศน์ของพระเจ้าพิมพิสาร เปรตเหล่านั้นยืนห้อมล้อมด้วยหวังอยู่ว่า บัดนี้ พระราชาจักทรงอุทิศทานแก่พวกเรา บัดนี้ จักทรงอุทิศทานแก่พวกเรา.
ฝ่ายพระเจ้าพิมพิสารถวายทานแล้ว ทรงพระดำริว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ ทรงพระดำริถึงแต่เรื่องที่ประทับอยู่ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น มิได้ทรงอุทิศทานนั้นแก่ใครๆ.
@@@@@@@
เปรตทั้งหลายสิ้นหวัง ตอนกลางคืน จึงพากันทำเสียงแปลกประหลาด น่าสะพรึงกลัวอย่างเหลือเกินในพระราชนิเวศน์. พระราชาทรงสลดพระราชหฤทัยหวาดกลัว
ต่อรุ่งสว่าง จึงกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินเสียงเช่นนี้ เหตุอะไรหนอ จักมีแก่ข้าพระองค์ พระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ถวายพระพร มหาบพิตร โปรดอย่าทรงกลัวเลย จักไม่มีสิ่งชั่วร้ายอะไรๆ แก่มหาบพิตรดอก ก็แต่ว่า พวกพระญาติเก่าๆ ของมหาบพิตร เกิดเป็นเปรตมีอยู่ เปรตเหล่านั้นเที่ยวอยู่สิ้นพุทธันดรหนึ่ง หวังอยู่ต่อมามหาบพิตรว่า จักทรงถวายทานแด่พระพุทธเจ้า แล้วจักทรงอุทิศส่วนกุศลแก่พวกเรา เมื่อวันวาน มหาบพิตรมิได้ทรงอุทิศส่วนกุศลแก่เปรตพวกนั้น เปรตพวกนั้นสิ้นหวังจึงพากันทำเสียงแปลกประหลาดเช่นนั้น.
พระเจ้าพิมพิสารกราบทูลว่า พระเจ้าข้า บัดนี้ เมื่อข้าพระองค์ถวายทาน พวกเขาก็ควรได้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ถวายพระพร มหาบพิตร.
พระเจ้าพิมพิสารกราบทูลว่า พระเจ้าข้า ถ้าเช่นนั้น ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า โปรดทรงรับนิมนต์เสวยภัตตาหารเช้าพรุ่งนี้ ของข้าพระองค์ด้วยนะ พระเจ้าข้า ข้าพระองค์จักอุทิศทานแก่เปรตพวกนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับ.
@@@@@@@
พระราชาเสด็จเข้าพระราชนิเวศน์ จัดแจงมหาทาน แล้วให้กราบทูลเวลาภัตตาหารแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าภายในพระราชนิเวศน์ ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์ที่เขาจัดไว้ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์.
เปรตพวกนั้นพากันไปยืนที่นอกฝาเรือนเป็นต้น ด้วยหวังว่า วันนี้ พวกเราคงได้อะไรกันบ้าง. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำโดยอาการที่เปรตพวกนั้นจะปรากฎ แก่พระราชาหมดทุกตน.
พระราชาถวายน้ำทักษิโณทก ทรงอุทิศว่า "ขอทานนี้จงมีแก่พวกญาติของเรา." (ราชา ทกฺขิโณทกํ เทนฺโต "อิทํ เม ญาตีนํ โหตู")
ทันใดนั้นเอง สระโบกขรณีดารดาษด้วยปทุม ก็บังเกิดแก่เปรตพวกนั้น. เปรตพวกนั้นก็อาบและดื่มในสระโบกขรณีนั้น ระงับความกระวนกระวาย ความลำบากและหิวกระหายได้แล้ว มีผิวพรรณดุจทอง.
ลำดับนั้น พระราชาถวายข้าวยาคู ของเคี้ยว ของกินเป็นต้น แล้วทรงอุทิศ. ในทันใดนั้นเอง ข้าวยาคูของเคี้ยวและของกินอันเป็นทิพย์ ก็บังเกิดแก่เปรตพวกนั้น. เปรตพวกนั้นก็พากันบริโภคของทิพย์เหล่านั้น มีอินทรีย์เอิบอิ่ม.
ลำดับนั้น พระราชาถวายผ้าและเสนาสนะเป็นต้น ทรงอุทิศให้เครื่องอลังการต่างๆ มีผ้าทิพย์ ยานทิพย์ ปราสาททิพย์ เครื่องปูลาดและที่นอนเป็นต้น ก็บังเกิดแก่เปรตพวกนั้น.
สมบัติแม้นั้นของเปรตพวกนั้น ปรากฏทุกอย่างโดยประการใด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงอธิษฐาน (ให้พระราชาทรงเห็น) โดยประการนั้น. พระราชาทรงดีพระทัยยิ่ง.
แต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยเสร็จแล้ว ทรงห้ามภัตตาหารแล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า ติโรกุฑฺเฑสุ ติฏฺฐนฺติ เป็นต้น เพื่อทรงอนุโมทนาแก่พระเจ้ามคธรัฐ.
@@@@@@@
ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ มาติกาหัวข้อนี้ว่า เยน ยตฺถ ยทา ยสฺมา ติโรกุฑฺฑํ ปกาสิตํ ปกาสยิตฺวา ตํ สพฺพํ ก็เป็นอันจำแนกแล้ว ทั้งโดยสังเขป ทั้งโดยพิศดาร.
บัดนี้ จักกล่าวพรรณนาความแห่งติโรกุฑฑสูตรนี้ตามลำดับไป คือ ...ฯลฯ (ยกมาแสดงบางส่วน)_________________________________________________________ อ่านฉบับเต็มได้ที่ : https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=8ขอบคุณภาพจาก : pinterest อธิบายเพิ่มเติม
จากนี้ไป ในอรรถกถานี้จะเป็นอธิบาย คาถาอนุโมทนาของพระพุทธเจ้า(พระสมณโคดม)ที่ตรัสแก่พระเจ้าพิมพิสาร โดยลำดับ จาก พรรณนาคาถาที่ ๑ ถึง พรรณนาคาถาที่ ๑๓
ที่เกียวข้องกับ "อนุโมทนารัมภคาถา" อยู่ในหัวข้อ "พรรณนาสองคาถาคือคาถาที่ ๘ และคาถาที่ ๙" ดังนี้
@@@@@@@
พรรณนาสองคาถาคือคาถาที่ ๘ และคาถาที่ ๙ พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสว่า ผู้ทำกาลกิริยาละไปแล้ว ย่อมยังอัตภาพให้เป็นไปในปิตติวิสัยนั้น ด้วยทานที่หมู่ญาติมิตรสหายให้แล้วจากมนุษยโลกนี้ อย่างนี้แล้ว
บัดนี้ เมื่อทรงประกาศความนั้น ด้วยข้ออุปมาทั้งหลาย จึงตรัส ๒ คาถานี้ว่า อุนฺนเต อุทกํ วุฏฺฐํ (คาถาที่ ๘) เป็นต้น.
คาถาที่ ๘ :- อุนฺนเต อุทกํ วุฏฺฐํ ยถา นินฺนํ ปวตฺตติ เอวเมว อิโต ทินฺนํ เปตานํ อุปกปฺปติ คาถานั้น มีความว่า "น้ำที่หมู่เมฆให้ตกลงบนที่ดอนบนบก บนภูมิภาคที่สูง ย่อมไหลลงที่ลุ่ม คือไหลไปถึงภูมิภาคที่ลุ่มต่ำ ฉันใด ทานที่หมู่ญาติมิตรสหายให้จากมนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จผล"
อธิบายว่า บังเกิดผลปรากฎผลแก่หมู่เปรต ฉันนั้นเหมือนกัน. จริงอยู่ เปตโลก โลกเปรต ชื่อว่า ฐานะ ที่ตั้งแห่งความสำเร็จผลแห่งทาน เหมือนที่ลุ่มเป็นฐานะที่ขังน้ำอันไหลม
เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ ทานนั้นย่อมสำเร็จผลแก่สัตว์ที่ตั้งอยู่ในปิตติวิสัยใด ปิตติวิสัยนั้นแลเป็นฐานะ ดังนี้ เหมือนอย่างว่า "น้ำที่ไหลมาจากชุมนุมห้วย ซอกเขา คลองใหญ่ คลองซอย หนองบึง เป็นแม่น้ำใหญู่ เต็มเข้าก็ทำให้สาครทะเลเต็มเปี่ยมฉันใด ทานที่ญาติมิตรสหายให้ไปจากมนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จผลแก่หมู่เปรตตามนัยที่กล่าวมาก่อนแล้ว แม้ฉันนั้น."
คาถาที่ ๙ :- ยถา วาริวหา ปูรา ปริปูเรนฺติ สาครํ เอวเมว อิโต ทินฺนํ เปตานํ อุปกปฺปติ (ในอรรถกถานี้ ไม่มีคำอธิบาย)
จากนั้นจะเป็น พรรณนาคาถาที่ ๑๐ คาถาที่ ๑๐ :- อทาสิ เม อกาสิ เม ญาติมิตฺตา สขา จ เม เปตานํ ทกฺขิณํ ทชฺชา ปุพฺเพ กตมนุสฺสรํ (ในอรรถกถานี้ มีคำอธิบาย และอธิบายจนถึงคาถาที่ ๑๓)_______________________________________________________ อ่านฉบับเต็มได้ที่ : https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=8(ยังมีต่อ...)
|
|
|
70
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เปิดตำนานความเชื่อ “Healing Buddha” พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ “เมืองตักศิลา”
|
เมื่อ: ตุลาคม 16, 2024, 07:02:02 am
|
. พระพุทธรูปแห่งการรักษา (Healing Buddha) ณ อารามโจวเลียน เมืองตักศิลา (ภาพโดย Nawab Afridi via Wikimedia Commons)เปิดตำนานความเชื่อ “Healing Buddha” พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ “เมืองตักศิลา” แหย่นิ้วในสะดือ รักษาอาการเจ็บป่วย“เมืองตักศิลา” (Taxila) ปัจจุบันอยู่ในประเทศปากีสถาน เป็นเมืองที่ยิ่งใหญ่และเจริญรุ่งเรืองอย่างมากของโลกในอดีตกาล เพราะเป็นศูนย์กลางการศึกษาศิลปะและวิทยาการแขนงต่างๆ เป็นแหล่งรวมเหล่าผู้รู้และนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ แม้เวลาจะผ่านไปนับพันๆ ปี แต่ทุกวันนี้ เมืองตักศิลาก็ยังเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลก เพราะยังคงปรากฏโบราณสถานและศิลปกรรมทรงคุณค่ามากมาย หนึ่งในนั้นคือ “พระพุทธเจ้าแห่งการรักษา” หรือ “Healing Buddha” ที่ไม่เพียงงดงามด้วยรูปแบบทางศิลปะเก่าแก่ แต่ยังมีตำนานเล่าขานถึงการช่วยเยียวยารักษาอาการเจ็บป่วยให้ดีขึ้นอารามโจวเลียน ในเมืองตักศิลา (ภาพจาก https://taxilamuseum.com/jaulian-buddhist-stupa-monastery/)“Healing Buddha” พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ณ อารามโจวเลียน
เมืองโบราณตักศิลา ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงอิสลามาบัด เมืองหลวงของปากีสถาน ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือราว 45 กิโลเมตร ถือเป็นเมืองมหาวิทยาลัยอันยิ่งใหญ่ของโลกที่มีมาก่อนพุทธกาล ปัจจุบันยังมีร่องรอยความเจริญรุ่งเรืองของเมืองให้เห็นจากซากสถูปเจดีย์ วัดวาอารามในศิลปะคันธาระ ที่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากกรีกและโรมัน
เมืองนี้เป็นที่ตั้งของ “โจวเลียน” (Jaulian) อารามสำคัญที่มีอายุกว่า 2,000 ปี ชื่อของอารามแปลได้ว่า “ที่ประทับของนักบุญ” สร้างขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 2 อารามตั้งอยู่บนเนินเขาสูงจากพื้นดินโดยรอบราว 100 เมตร ประกอบด้วยเจดีย์และวิหาร ได้รับการขุดแต่งใน ค.ศ. 1916-1917 และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดย UNESCO เมื่อ ค.ศ. 1980
ภายในอารามโจวเลียน มีพระพุทธรูปอยู่องค์หนึ่ง คือ “Healing Buddha” ที่ขึ้นชื่อเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ ใครเจ็บไข้ได้ป่วยก็มักจะมากราบไหว้ขอพรพระพุทธรูปองค์นี้เสมอ ด้วยเชื่อว่าอาการเจ็บป่วยทั้งหลายจะบรรเทาเบาบางลงไปได้ หลังจากใช้นิ้วสอดเข้าไปในรูพระนาภี (สะดือ)
พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์แห่งอารามโจวเลียน ประดิษฐานบนผนังด้านเหนือของฐานเจดีย์ประธานทางด้านซ้ายของบันได ลานรอบเจดีย์ประธานรายล้อมด้วยเจดีย์ราย ที่ส่วนฐานมีพระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์ปูนปั้นอันสวยงามประทับอยู่ในซุ้มบนฐานป็นชั้นๆ รูปแบบศิลปะคันธาระพระพุทธรูปศิลปะแบบคันธาระ ราวศตวรรษที่ 1-2 (ภาพจาก Wikimedia Commons)ป้ายข้อมูลที่ติดไว้เหนือองค์พระพุทธรูป ระบุว่า
“พระพุทธรูปประทับนั่ง มีรูกลมตรงพระนาภี ปรากฎจารึกอักษรขโรษฐี ที่ด้านล่างส่วนฐานว่า ‘เป็นของอุทิศโดยหนึ่งใน ‘พุทธมิตร’ ผู้มีความยินดีในธรรมะ’ [พุทธมิตร สันนิษฐานว่าเป็นพระธุดงค์ผู้มั่งมี ผู้มีความยินดีในธรรมะ] รูที่พระนาภีมีไว้สำหรับให้ผู้มาขอพรวางนิ้วไว้เมื่ออธิษฐาน เพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บ
พระพุทธเจ้าแห่งการรักษาได้รับการบูชาอย่างกว้างขวางในพม่า ทิเบต จีน และญี่ปุ่น ตามความเชื่อที่แพร่หลายในประเทศเหล่านี้ โรคบางชนิดสามารถรักษาให้หายได้เพียงสัมผัสพระพุทธรูป หรือเรียกพระนามของพระองค์
การค้นพบรูปพระพุทธเจ้าแห่งการรักษาที่โจเลียน บ่งชี้ว่า ลัทธินี้มีต้นกำเนิดจากคันธาระเมื่อราวศตวรรษที่ 3-4 หรืออาจก่อนหน้านั้น และแพร่กระจายไปทั่วโลกโดยพุทธศาสนิกชนในเวลาต่อมา”
ความศักดิ์สิทธิ์ของ “Healing Buddha” ขจรขจายไปทั่วประเทศ เลื่องลือโด่งดัง ถึงขั้นที่หนังสือพิมพ์ Dawn ของปากีสถาน เคยลงบทสัมภาษณ์หญิงชาวจีนที่อาศัยอยู่ในกรุงอิสลามาบัด ผู้ศรัทธาพระพุทธรูปองค์นี้ว่า
“ฉันมาที่นี่ทุกเดือนเพื่อสวดมนต์ โดยเอานิ้วชี้สอดเข้าไปในรูพระนาภีของพระพุทธรูป และอาการเจ็บป่วยทางจิตใจและร่างกายของฉันก็หายเป็นปกติ โดยไม่ต้องทานยาใดๆ”
จะเห็นได้ว่า มรดกวัฒนธรรมทางพุทธศาสนา ศาสนสถานอายุนับพันปีในปากีสถาน ที่ได้รับการดูแลอย่างดี โดยเฉพาะ “พระพุทธเจ้าแห่งการรักษา” หรือ “Healing Buddha” พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่อารามโจวเลียนแห่งเมืองโบราณตักศิลา ถือได้ว่าเป็น “พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา” พระนามพระพุทธเจ้าบรมครูแห่งโอสถ ผู้คุ้มครองรักษามนุษย์ให้พ้นจากความทุกข์ที่เกิดจากโรคทางกาย และทางใจ ที่สักครั้งหนึ่งในชีวิตต้องได้มาสัมผัสตั้งจิตอธิษฐานขอพร นับเป็นความศรัทธาที่เชื่อมโยงพุทธศาสนิกชนทั่วโลกเข้าด้วยกัน
@@@@@@@
เยือน “ปากีสถาน” ดินแดนแห่งอารยธรรมอันยิ่งใหญ่ พร้อมเก็บเกี่ยวความประทับใจจากการเดินทางอย่างเต็มอิ่มในทริป “ฮัชช่า ปากี! THE CHARMING PAKISTAN” (7 วัน 5 คืน) โดย “ทัวร์เอื้องหลวง” การบินไทย วันที่ 8-14 พฤศจิกายน 2567 และวันที่ 13-19 ธันวาคม 2567
รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.royalorchidholidays.com สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ อีเมล : roh.booking@thaiairways.com โทรศัพท์ : 02-545-3252 หรือ 095-987-1929 LINE : @roh.tg
อ่านเพิ่มเติม :-
• พระพุทธรูปชุดแรกในโลก ศิลปะคันธาระ ทำไมหน้าตาเป็น “ฝรั่ง” • “พระพุทธรูปสุลตานคัญช์” พระพุทธรูปโลหะศิลปะคุปตะ ใหญ่ที่สุดและมีองค์เดียวในโลก
ขอขอบคุณ :- ผู้เขียน : กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม เผยแพร่ : วันอังคารที่ 15 ตุลาคม พ.ศ.2567 เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 15 ตุลาคม 2567 website : https://www.silpa-mag.com/history/article_141352อ้างอิง :- - จิรัสสา คชาชีวะ. “ปากีสถาน แหล่งอารยธรรมทางพุทธศาสนาที่ถูกลืม” ดำรงวิชาการ - Buddhist practice attracts patients seeking drug-free cure เผยแพร่ใน Dawn วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2023 - Buddhust Travel. Jaulian Buddhist Stupa and Monastery.
|
|
|
71
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เผยผลสำรวจคนไทย 79% สนใจการกินเจ พร้อมเปิดมุมใหม่ที่ตอบรับคนทุก Gen
|
เมื่อ: ตุลาคม 16, 2024, 06:49:35 am
|
. เผยผลสำรวจคนไทย 79% สนใจการกินเจ พร้อมเปิดมุมใหม่ที่ตอบรับคนทุก Genจบลงไปแล้วสำหรับเทศกาลกินเจ 2567 ปีนี้คึกคักกว่าที่เคย พบว่าคนไทยต่าง Gen แต่ไม่ต่างใจถึง 79% สนใจเข้าร่วมกินเจเพื่อตอบโจทย์ความต้องการในรูปแบบของตนเอง
สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) หรือ Hakuhodo Institute of Life and Living ASEAN (THAILAND) เผยผลสำรวจการคาดการณ์พฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศไทยประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 ว่า เดือนตุลาคมนี้เข้าช่วงเทศกาลกินเจ ชวนคนไทย อิ่มบุญ อิ่มใจ อิ่มเจ ต่างวัย ต่าง Gen ทำให้เทศกาลกินเจในปีนี้คึกคักกว่าที่เคย พบว่ากว่า 79% ของคนไทยสนใจเข้าร่วมเทศกาลกินเจ ซึ่งในแต่ละช่วงวัยก็มีมุมมองต่อกิจกรรมในช่วงเทศกาลกินเจที่ต่างกัน
• Gen X มีแนวโน้มปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมดั้งเดิม • Gen Y ที่มองการกินเจเป็นหัวข้อการสนทนาในสังคมเพื่อแสดงถึงความเปิดกว้างต่อทัศนคติที่หลากหลาย • Gen Z อยากจะเข้าร่วมการกินเจแบบที่เข้ากับไลฟ์สไตล์ของตัวเองได้แบบไร้รอยต่อ
เมื่อเทียบเคียงจากผลสำรวจฉบับประจำเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ดัชนีความต้องการใช้จ่ายโดยรวมในเดือนตุลาคมนี้เพิ่มขึ้น +1 โดยหลักๆ มีผลมาจากความต้องการในการจับจ่ายซื้ออาหารและของใช้จำเป็น เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ของทุกปี ด้วยเหตุผลนี้เองทำให้สร้างความกังวลและเพิ่มความเครียดให้กับสังคมเป็นอย่างมาก ทำให้คนไทยส่วนใหญ่เน้นใช้จ่ายเพื่อความจำเป็นของตัวเองและครอบครัว ยังไม่มองเรื่องการซื้อของใช้ฟุ่มเฟือยในขณะนี้ภาพจาก iStockด้วยสถานการณ์ต่างๆ ที่สำคัญ คุณดวงแก้ว ไชยสุริวิรัตน์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ ได้ให้ข้อแนะนำกับแบรนด์และองค์กรต่าง ๆ เพื่อให้ปรับตัวไปพร้อมกับสถานการณ์ครั้งนี้ ไว้ 2 หัวข้อใหญ่ คือ
1. เจมุมใหม่ ตอบโจทย์คนทุกเจน
แบรนด์สามารถสร้างแคมเปญ customize เทศกาลเจ ไปตามความสนใจของแต่ละ Gen เพื่อสร้างแรงกระตุ้นให้คนไทยอยากเข้าร่วมเทศกาลนี้มากยิ่งขึ้น เช่น การจัดกิจกรรม “J-Mu tour” แพ็กเกจทำบุญและทานเจสำหรับ Gen X (traditional x new experience) หรือ “J-Healthy talk show” การจัดเวทีพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องกินเจพร้อมนำเสนออาหารเจไปพร้อมกัน สำหรับ Gen Y (spark topic of conversation) และ Gen Z อาจเป็นการจัดงาน “Good for You Day” ผสมผสานความสนุกและความร่วมสมัยของเทศกาลให้เป็นเรื่องง่ายและเข้าถึงได้ในชีวิตประจำวัน
2. ส่งพลังบวก เพิ่มพลังใจ
ในช่วงเวลาที่บรรยากาศเต็มไปด้วยภาวะความเครียด ความกังวล และความกดดันของคนไทย ที่ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ต่างๆ แนวทางการตลาดที่ธุรกิจหรือองค์กรควรดำเนินคือ กิจกรรมที่มุ่งเน้นการสนับสนุนทั้งทางจิตใจและทางปฏิบัติ เช่น การทำแคมเปญซื้อ 1 ส่งต่อ 1 เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ซึ่งกิจกรรมที่ยกตัวอย่างนี้ ไม่เพียงแต่จะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้าแต่ยังสร้างคุณค่าและพลังในเชิงบวกให้กับสังคมอีกด้วย
ในภาพรวมของคะแนนความต้องการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมา +1 นั้น เมื่อเจาะจงแบ่งออกเป็นภูมิภาค ทำให้เห็นว่า ภาคเหนือ มีความต้องการใช้จ่ายมากขึ้นถึง +7 ซึ่งความต้องการใช้จ่ายที่มากขึ้นนี้เป็นผลมาจากการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับเหตุการณ์น้ำท่วมและการจัดการผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน คะแนนของแนวโน้มความต้องการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นนี้ ถือเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศ แต่ไม่ว่าใครก็ไม่อยากให้เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่นี้เกิดขึ้น เพราะเราต่างรู้ดีว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อคนไทยมากเพียงใดภาพจาก iStockเมื่ออ้างอิงถึงเทศกาลกินเจในเดือนตุลาคมนี้ จากผลสำรวจที่พบว่า กว่า 79% ของคนไทยต้องการเข้าร่วมเทศกาลกินเจในปีนี้ ทำให้เกิดคำถามพิเศษขึ้นในผลสำรวจครั้งนี้คือ เทศกาลเจแบบไหนที่คุณอยากเข้าร่วม และในผลสำรวจครั้งนี้ได้จัดคำตอบ Top 5 ของผู้เข้าร่วมสำรวจทั้ง 3 Gen ออกมาได้ ดังนี้
• J Sanctuary กว่า 35% เลือกพักผ่อนร่างกายผ่านอาหารเจที่มีคุณภาพ พร้อมพักผ่อนจิตใจด้วยกิจกรรมสปา เข้าวัด ทำบุญ รวมไปถึงการนั่งสมาธิแบบง่ายๆ เพื่อให้จิตใจสงบ
• J Healthy Everyday อันดับที่ 2 (28%) ในผลสำรวจนี้ เลือกการกินเจแบบเฮลตี้ ด้วยแพคเกจ เจผูกปิ่นโต 3 มื้อ 10 วัน (รวมล้างท้อง) ด้วยการคำนวณโภชนาการตามที่ร่างกายของตนเองต้องการให้ได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน
• beauty ผู้ทำผลสำรวจกว่า 18% มองว่า หากในช่วงเทศกาลเจนี้ มีสถาบันความงามชื่อดัง จัด Workshop อาหารเจพร้อมแพคเกจดูแลผิวสวย จะทำให้มีความต้องการเข้าร่วมเทศกาลเจมากขึ้นและถือว่าเป็นการปรับตัวของเทศกาลเจให้เข้ากับยุคปัจจุบัน
• J MU Tour ถือเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับการมูเตลูในช่วงเทศกาลเจ แนะนำให้จัดแพคเกจทัวร์ทำบุญและทานเจ 9 วัน 9 ศาลเจ้าดัง เพื่อขอพรทานเจและได้ทำบุญไปพร้อมกัน
• 88 Menu Challenge TikTok เมื่อแอปพลิเคชัน TikTok กำลังมาแรงในขณะนี้ ทำให้เป็นที่สนใจของกลุ่มคนทุกเพศ ทุกวัย การจัดทำชาเลนจ์ที่ให้ทุกคนสามารถเข้าร่วมในการครีเอตเมนูเจในแบบของตนเองไม่ซ้ำใคร 88 เมนู ถือเป็นโอกาสที่ดีในการกระตุ้นให้คนไทยอยากเข้าร่วมเทศกาลกินเจมากยิ่งขึ้น
ในท้ายที่สุดนี้ สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) ได้สรุปความสนใจของคนไทยในช่วงนี้ออกมาว่า ‘สถานการณ์สำคัญในตอนนี้ เป็นเรื่องที่คนไทยทุกคนกำลังให้ความสนใจกันทั้งประเทศ คือ ข่าวสถานการณ์น้ำท่วม เป็นข่าวที่ได้รับการพูดถึงมากที่สุดในทุกวงสังคม รวมไปถึงกระแสของการระดมความช่วยเหลือจากทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็น ภาครัฐบาล ภาคเอกชน รวมไปถึงภาคประชาชน เหตุการณ์ครั้งนี้เองทำให้เราเห็นความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและความมีน้ำใจ จิตใจเอื้อเฟื้ออารีที่คนไทยมีต่อกันในสังคม’Thank to : https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/282009315 ต.ค. 2567 18:21 น. | ไลฟ์สไตล์ > ไลฟ์ | ไทยรัฐออนไลน์
|
|
|
72
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / โลกกำลังหยุดฟื้นฟูตัวเอง ดิน-น้ำ-ป่า แทบไม่ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว
|
เมื่อ: ตุลาคม 16, 2024, 06:37:50 am
|
. โลกกำลังหยุดฟื้นฟูตัวเอง ดิน-น้ำ-ป่า แทบไม่ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์แล้วผลวิจัยชี้ ปี 2023 แหล่งธรรมชาติบนโลกแทบไม่ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ หวั่นเป็นสัญญาณอันตรายว่าโลกจะหยุดฟื้นฟูตัวเอง
จากผลการวิจัยของปี 2023 ซึ่งเป็นปีที่ร้อนที่สุดเท่าที่เคยบันทึกมา แสดงให้เห็นว่าปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของโลก แทบจะไม่ถูกดูดซับผ่านกระบวนการธรรมชาติของทั้งผืนดิน ผืนป่า และมหาสมุทรเลย ซึ่งนับเป็นสัญญาณอันตรายที่กำลังบอกมนุษย์ว่า โลกของเราอาจไม่สามารถแบกรับการช่วยฟื้นฟูปัญหาโลกร้อนได้อีกต่อไป
ในช่วง 12,000 ปีที่ผ่านมา สภาพอากาศของโลกมีความสมดุลที่ค่อนข้างเปราะบาง โดยปกติแล้วต้นไม้ในป่าจะต้องช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ เช่นเดียวกับผืนดิน และมหาสมุทรซึ่งมีแพลงตอนรวมถึงสัตว์ทะเลหลายชนิด ทำหน้าที่กักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์และนำมันลงสู้ก้นลึกของท้องทะเล
แม้ต่อมามนุษย์จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น แต่ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ธรรมชาติดูดซับก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย เหมือนโลกที่กำลังเผชิญความเครียด ก็แอบช่วยเหลือเราอยู่เงียบๆ แต่สมดุลดังกล่าวกำลังจะเปลี่ยนไปเนื่องมาจากความร้อนที่เพิ่มขึ้นงานวิจัยระบุว่า เมื่อปีที่แล้ว ต้นไม้และพื้นดินดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศได้น้อยมาก ขณะที่เราได้สูญเสียพื้นที่ป่าสำคัญไปมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งยังยังมีสัญญาณเตือนในทะเล เมื่อธารน้ำแข็งของกรีนแลนด์และแผ่นน้ำแข็งในอาร์กติกกำลังละลายเร็วกว่าที่คาดไว้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อกระแสน้ำในกระแสกัลฟ์สตรีมและทำให้การดูดซับคาร์บอนในมหาสมุทรช้าลงไปด้วย
โยฮัน ร็อคสตรอม ผู้อำนวยการสถาบัน Potsdam Institute for Climate Impact Research กล่าวว่า เรากำลังเห็นรอยร้าวในการฟื้นตัวของระบบต่างๆของโลก ระบบนิเวศบนบกกำลังสูญเสียแหล่งกักเก็บคาร์บอนและความสามารถในการดูดซับคาร์บอนฯ ส่วนมหาสมุทรก็แสดงสัญญาณของความไม่มั่นคงด้วยเช่นกัน
“ธรรมชาติได้สร้างสมดุลให้กับการกระทำของมนุษย์มาจนถึงตอนนี้ และมันกำลังจะสิ้นสุดลง”อย่างไรก็ตาม ความล้มเหลวของการดูดซับคาร์บอนฯ ในปี 2023 อาจเป็นเพียงสถานการณ์ชั่วคราว เพราะหากไม่มีแรงกดดันจากภัยแล้งหรือไฟป่า ธรรมชาติก็น่าจะกลับมาดูดซับคาร์บอนฯ ได้อีกครั้ง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็แสดงให้เห็นถึงความเปราะบางของระบบนิเวศ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อวิกฤตด้านสภาพอากาศ
ที่สำคัญคือ การบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนฯ เป็นศูนย์นั้น แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย หากไม่มีธรรมชาติคอยช่วยเหลือ เนื่องจากปัจจุบันเรายังไม่มีเทคโนโลยีที่สามารถกำจัดคาร์บอนฯ ในชั้นบรรยากาศได้ในระดับใหญ่ การพึ่งพาป่าดิบ ทุ่งหญ้า หนองบึง และมหาสมุทรของโลก จึงเป็นทางเลือกเดียวในการดูดซับมลพิษคาร์บอนจากมนุษย์ ซึ่งในปี 2023 มีการปล่อยคาร์บอนฯ เป็นสถิติสูงสุดถึง 37.4 พันล้านตัน Thank to : https://www.springnews.co.th/keep-the-world/climate-change/85341715 Oct 2024
|
|
|
73
|
เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: บทสวด "ยถา-สัพพี" ไม่ใช่พุทธพจน์ แล้วมาจากไหน.?
|
เมื่อ: ตุลาคม 15, 2024, 11:01:35 am
|
. ยถา และ สัพพี สำนักงานราชบัณฑิตยสภา Office of the Royal Society บทที่เริ่มต้นว่า “ยถา” มีชื่อเรียกว่า บทอนุโมทนารัมภคาถา หมายถึง คาถาที่เริ่มก่อนการอนุโมทนา กล่าวคือ ก่อนที่พระสงฆ์จะอนุโมทนาในบุญกุศลที่อุบาสกอุบาสิกาได้ทำแล้ว พระสงฆ์จะกล่าวบทอนุโมทนารัมภคาถานี้ เพื่อให้อุบาสกอุบาสิกาได้เตรียมตัวตั้งใจรับพรสืบไป บทนี้เป็นภาษาบาลี ดังนี้
ยถา วาริวหา ปูรา ปริปูเรนฺติ สาครํ เอวเมว อิโต ทินฺนํ เปตานํ อุปกปฺปติ อิจฺฉิตํ ปตฺถิตํ ตุมฺหํ ขิปฺปเมว สมิชฺฌตุ สพฺเพ ปูเรนฺตุ สงฺกปฺปา จนฺโท ปณฺณรโส ยถา มณิ โชติรโส ยถา
มีคำแปลว่า “ห้วงน้ำที่เต็มย่อมยังสมุทรสาครให้บริบูรณ์ได้ฉันใด ทานที่ท่านอุทิศให้แล้วแต่โลกนี้ย่อมสำเร็จประโยชน์ แก่ผู้ที่ละโลกนี้ไปแล้วฉันนั้น ขออิฐผลที่ท่านปรารถนาแล้ว ตั้งใจแล้ว จงสำเร็จโดยฉับพลัน ขอความดำริทั้งปวง จงบริบูรณ์ เหมือนดังพระจันทร์วันเพ็ญ (และ) เหมือนแก้วมณีอันสว่างไสว”
@@@@@@@
ส่วนบทที่เริ่มต้นว่า “สัพพี” มีชื่อเรียกว่า บทสามัญญานุโมทนาคาถา หมายถึง คาถาที่พระสงฆ์ใช้สวดทุกครั้งที่อนุโมทนาในบุญกุศลที่อุบาสกอุบาสิกาได้ทำแล้ว บทนี้เป็นภาษาบาลี ดังนี้
สพฺพีติโย วิวชฺชนฺตุ สพฺพโรโค วินสฺสตุ มา เต ภวตฺวนฺตราโย สุขี ทีฆายุโก ภว อภิวาทนสีลิสฺส นิจฺจํ วุฑฺฒาปจายิโน จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ
มีคำแปลว่า “ความจัญไรทั้งปวงจงบำราศไป โรคทั้งปวงจงหายไป อันตรายอย่ามีแก่ท่าน ขอท่านจงเป็นผู้มีความสุข มีอายุยืน ธรรม ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้มีการอภิวาทเป็นปรกติ อ่อนน้อมต่อผู้เจริญเป็นนิตย์”ขอบคุณ : legacy.orst.go.th/?knowledges=ยถา-และ-สัพพี-๗-กุมภาพันธ โดย สำรวย นักการเรียน (๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑) | Photo : pinterest อนุโมทนารัมภคาถา
ยะถา วาริวะหา ปูรา ปะริปูเรนติ สาคะรัง เอวะเมวะ อิโต ทินนัง เปตานัง อุปะกัปปะติ อิจฉิตัง ปัตถิตัง ตุมหัง ขิปปะเมวะ สะมิชฌะตุ สัพเพ ปูเรนตุ สังกัปปา จันโท ปัณณะระโส ยะถา มะณิ โชติระโส ยะถา ฯ
สามัญญานุโมทนาคาถา
สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ มา เต ภะวัตตวันตะราโย สุขี ทีฆายุโก ภะวะ สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ มา เต ภะวัตตวันตะราโย สุขี ทีฆายุโก ภะวะ สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ มา เต ภะวัตตวันตะราโย สุขี ทีฆายุโก ภะวะ อะภิวาทะนะสีลิสสะ นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง___________________________________ ที่มา : https://www.dmycenter.com/site/index.php/ordinate-spell/95-2009-03-05-10-43-30Photo : pinterest อนุโมทนารัมภคาถา
การสวดอนุโมทนาในการทำบุญทั่วไป เรียกสั้น ๆ ว่าให้พร พระผู้เป็นประธานนำขึ้นต้นว่า (เจ้าภาพเริ่มกรวดนํ้าอุทิศบุญกุศล)
ยะถา วาริวะหา ปูรา ปะริปูเรนติ สาคะรัง, ห้วงนํ้าที่เต็มย่อมยังสมุทรสาครให้บริบูรณ์ได้ ฉันใด ;
เอวะเมวะ อิโต ทินนัง เปตานัง อุปะกัปปะติ, ทานที่ท่านอุทิศให้แล้วแต่โลกนี้, ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่ผู้ที่ละโลกนี้ไปแล้วได้ ฉันนั้น ;
อิจฉิตัง ปัตถิตัง ตุมหัง, ขออิฏฐผลที่ท่านปรารถนาแล้ว ตั้งใจแล้ว ;
ขิปปะเมวะ สะมิชฌะตุ, จงสำเร็จโดยฉับพลัน ;
สัพเพ ปูเรนตุ สังกัปปา, ขอความดำริทั้งปวงจงเต็มบริบูรณ์ ;
จันโท ปัณณะระโส ยะถา, เหมือนพระจันทร์วันเพ็ญ ;
มะณิ โชติระโส ยะถา. เหมือนแก้วมณีอันสว่างไสวควรยินดี._________________________ ที่มา : https://kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=20505 สามัญญานุโมทนาคาถา
(พระรูปที่ ๒ รับ แล้วสวดพร้อมกัน เจ้าภาพประนมมือรับพร)
สัพพีติโย วิวัชชันตุ, ขอความจัญไรทั้งปวง จงบำราศไป ;
สัพพะโรโค วินัสสะตุ, ขอโรคทั้งปวง (ของท่าน) จงหายไป ;
มา เต ภะวัฅวันตะราโย, ขออันตรายอย่ามีแก่ท่าน ;
สุขี ทีฆายุโก ภะวะ. ขอท่านจงเป็นผู้มีความสุขมีอายุยืน.
สัพพีติโย วิวัชชันตุ, ขอความจัญไรทั้งปวง จงบำราศไป ;
สัพพะโรโค วินัสสะตุ, ขอโรคทั้งปวง (ของท่าน) จงหายไป ;
มา เต ภะวัตวันตะราโย, ขออันตรายอย่ามีแก่ท่าน ;
สุขี ทีฆายุโก ภะวะ. ขอท่านจงเป็นผู้มีความสุขมีอายุยืน.
สัพพีติโย วิวัชชันตุ, ขอความจัญไรทั้งปวง จงบำราศไป ;
สัพพะโรโค วินัสสะตุ, ขอโรคทั้งปวง (ของท่าน) จงหายไป ;
มา เต ภะวัตวันตะราโย, ขออันตรายอย่ามีแก่ท่าน ;
สุขี ฑีฆายุโก ภะวะ. ขอท่านจงเป็นผู้มีความสุขมีอายุยืน.
อะภิวาทะนะสีลิสสะ นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน, จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ, อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง. ธรรมทั้งสี่ประการคือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ, ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้มีปกติกราบไหว้, มีปกติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ เป็นนิตย์._______________________________________________ ที่มา : https://kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=20506Photo : pinterest ...ยังมีต่อ โปรดติดตาม...
|
|
|
74
|
เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / บทสวด "ยถา-สัพพี" ไม่ใช่พุทธพจน์ แล้วมาจากไหน.?
|
เมื่อ: ตุลาคม 15, 2024, 10:33:35 am
|
. ยถา วาริ วหา คือ อะไร.?ตอบโดย : khampan.a ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
บทว่า ยถา วาริวหา เป็นต้น นั้น จะได้ยินเวลาพระภิกษุท่านสวดแล้วคฤหัสถ์ก็จะกรวดน้ำ จริงๆ คืออะไร.? แล้วเป็นไปตามพระธรรมคำสอนในทางพระพุทธศาสนา หรือไม่.?
จริงๆ แล้ว บทดังกล่าวเป็นคำภาษาบาลี เป็นข้อความที่มาจากพระไตรปิฎก คือ
บท "ยถา วาริวหา ปูราปาริปูเรนฺติ สาครํ เอวเมว อิโต ทินฺนํ เปตานํ อุปกปฺปติ" นั้น ปรากฏในติโรกุฑฑสูตร ( [เล่มที่ 39] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ หน้าที่ ๒๗๗)
ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ พระเจ้าพิมพิสาร ปรารภการถวายทานอุทิศแก่ญาติผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ที่ไปเกิดเป็นเปรต แปลเป็นไทยตามข้อความที่ปรากฏในพระไตรปิฎกที่แปลเป็นภาษาไทยแล้ว คือ
"ห้วงน้ำเต็มแล้ว ย่อมยังสาครให้เต็ม ฉันใด ทานที่ทายกให้ไปจากมนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จผลแก่ฝูงเปรต ฉันนั้น เหมือนกัน"
@@@@@@@
ส่วน บท "อิจฉิตํ ปตฺถิตํ ตุยฺหํ ฯลฯ " เป็นต้นนั้น ไม่ใช่บทที่ต่อกันกับบท ยถา วาริวหา เลย เป็นคนละเรื่องเลย เพราะบทเต็มๆ ของบทหลังนั้น เรียกว่า เป็นคาถาอนุโมทนาของพระปัจเจกพุทธเจ้า ซึ่งจะปรากฏในหลายๆ พระสูตร เช่น อดีตชาติของท่านสุขสามเณร อดีตชาติของท่านพระอนุรุทธะ เป็นต้น ที่ได้ถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า พระปัจเจก-พุทธเจ้าก็กล่าวอนุโมทนาในบุญกุศลที่ได้กระทำไปแล้ว บทนั้น คือ
อิจฺฉิตํ ปตฺถิตํ ตุยฺหํ ขิปฺปเมว สมิชฺฌตุ สพฺเพ ปูเรนฺตุ สงฺกปฺปา จนฺโท ปณฺณรโส ยถา ฯ อิจฺฉิตํ ปตฺถิตํ ตุยฺหํ ขิปฺปเมว สมิชฺฌตุ สพฺเพ ปูเรนฺตุ สงฺกปฺปา มณิ โชติรโส ยถาติ
แปลเป็นไทยได้ตามข้อความจากพระไตรปิฎกได้ว่า [เล่มที่ 32] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๓๐๘
"สิ่งที่ต้องการแล้ว ปรารถนาแล้ว จงพลันสำเร็จแก่ท่าน, ขอความดำริทั้งปวง จงเต็ม ดังพระจันทร์ ซึ่งมีในดิถีที่ ๑๕. สิ่งที่ต้องการแล้ว ปรารถนาแล้ว จงพลันสำเร็จแก่ท่าน, ขอความดำริทั้งปวง จงเต็ม ดังแก้วมณี ชื่อว่า โชติรส"
@@@@@@@
ดังนั้น บทดังกล่าว จึงไม่ใช่บทกรวดน้ำอย่างที่ทำตามๆ กันมา แต่เป็นพระธรรมคำสอนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง และเป็นคาถาอนุโมทนาของพระปัจเจกพุทธเจ้าที่ได้กล่าวกับผู้ที่ได้เจริญกุศล เช่น ถวายอาหารบิณฑบาต เป็นต้น
และที่สำคัญ การอุทิศส่วนกุศล ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเทหรือหลั่งน้ำ แต่อยู่ที่สภาพจิตที่ดีงามมีความปรารถนาดีต่อผู้อื่นเพื่อเกิดกุศลจิตอนุโมทนาในส่วนบุญนั้น
แม้พระเจ้าพิมพิสารที่พระองค์ทรงถวายทานแล้วทรงอุทิศส่วนกุศล นั้น พระองค์ก็ทรงอุทิศว่า "ขอทานนี้จงมีแก่พวกญาติของเรา"
และข้อความที่แสดงถึงบุญกิริยาวัตถุประการที่เกี่ยวกับการอุทิศส่วนกุศล นั้น มีดังนี้ คือ [เล่มที่ 75] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ หน้า ๔๒๙
"เมื่อบุคคลให้ทาน กระทำการบูชาด้วยของหอม เป็นต้น แล้วให้ส่วนบุญว่า ขอส่วนบุญ จงมีแก่บุคคลชื่อโน้น หรือว่า ขอส่วนบุญจงมีแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ดังนี้ พึงทราบว่า เป็นบุญกิริยาวัตถุอันเกิดแต่การให้ส่วนบุญ"
ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า บทดังกล่าวที่ได้ยินกันอยู่บ่อยๆ นั้น เป็นคำที่ยุคหลังได้นำเอาข้อความ ๒ ที่มาต่อกัน ที่ควรจะได้เข้าใจอย่างถูกต้อง ว่าความจริงเป็นอย่างไรอนึ่ง บท สพฺพีติโย วิวชฺชนฺตุ สพฺพโรโค วนสฺสตุ มา เต ภวตฺวนฺตราโย สุขี ทีฆายุโก ภว
[แปลได้ว่า ความเสนียดจัญไรทั้งปวง จงบำราศไป โรคทั้งปวงของท่านจงบำราศไป (ปราศจากไป) อันตรายจงอย่ามีแก่ท่าน ขอให้ท่านเป็นผู้มีความสุข ขอให้ท่านเป็นผู้มีอายุยืน]
ที่จะได้ยินต่อจากบท ยถา วาริวหา นั้น เป็นบทที่แต่งต่อเติมจากข้อความที่ปรากฏในพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นช่วงที่เทวดาได้กล่าวชื่นชมสรรเสริญสุเมธดาบส พระโพธิสัตว์ผู้ได้รับการพยากรณ์จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่าทีปังกรว่า ในอีกสี่อสงไขยแสนกัปป์ จักได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่า "พระสมณะโคดม"
ตามข้อความจาก [เล่มที่ 70] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ หน้าที่ ๖๒ ว่า
ลำดับนั้น เทวดาในหมื่นจักรวาลทั้งสิ้น ประชุมกันบูชาพระโพธิสัตว์ผู้ลุกขึ้นจากอาสนะ ด้วยดอกไม้และของหอมอันเป็นทิพย์ ไหว้แล้วป่าวประกาศคำสรรเสริญอันเป็นมงคลมีคำเป็นต้นว่า
"ข้าแต่ท่านสุเมธดาบสผู้เป็นเจ้า วันนี้ท่านตั้งความปรารถนายิ่งใหญ่ไว้ที่ใกล้บาทมูลของพระทีปังกรทศพล ความปรารถนานั้นจงสำเร็จแก่ท่าน โดยหาอันตรายมิได้ ความกลัวหรือความหวาดเสียว อย่าได้มีแก่ท่าน โรคแม้มีประมาณน้อยจงอย่าเกิดขึ้นในร่างกาย ท่านจงรีบเร่งบำเพ็ญบารมีให้บริบูรณ์แล้วรู้แจ้งพระสัมมาสัมโพธิญาณ"
และในพระคาถาจะมีข้อความว่า "สพฺพีติโย วิวชฺชนฺตุ โสโก โรโค วิวชฺชตุ มา เต ภวตฺวนฺตราโย ผุสฺส ขิปฺปํ โพธิมุตฺตมํ"
แปลเป็นไทยได้ว่า "ขอสรรพเสนียดจัญไรจงบำราศไป ขอความโศกและโรคจงพินาศไป อันตรายทั้งหลายจงอย่าได้มีแก่ท่าน ท่านจงได้สัมผัสพระโพธิญาณอันอุดมโดยเร็วพลัน"
ดังนี้ บท สพฺพีติโย ที่ได้ยินกันอยู่ในสมัยนี้ เป็นคำที่แต่งต่อเติมจากข้อความที่ปรากฏในพระไตรปิฎก
@@@@@@@
และท้ายสุด จะได้ยินบทที่ลงท้ายว่า อายุ วัณโณ สุขัง พลัง ตามมาอีกด้วย ซึ่งบทนี้นั้น ก็ไม่ใช่บทให้พร แต่เป็นพระธรรมคำสอนที่พระสัมมสัมพุทธเจ้าทรงแสดง บทที่ว่า อายุ วัณโณ สุขัง พลัง นั้น คำเต็มๆ คือ
"อภิวาทนสีลิสฺส นิจฺจํ วุฑฺฒาปจายิโน จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ แปลได้ว่า ธรรม ๔ ประการ คืออายุ วรรณะ สุขะ พละ เจริญแก่บุคคลผู้กราบไหว้เป็นปกติ ผู้อ่อนน้อมต่อท่านผู้เจริญเป็นนิตย์"
ซึ่งเป็นพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นจริงของกุศลธรรม ว่า ให้ผลเป็นสุขเท่านั้น ครับ
ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ ธรรม ๔ ประการย่อมเจริญแก่ผู้มีปกติกราบไหว้ [เรื่องอายุวัฑฒนกุมาร]
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ Thank to : https://www.dhammahome.com/webboard/topic/26649บ้านธัมมะ > กระดานสนทนา > กระทู้สนทนาธรรม 2558 | วันที่ 17 มิ.ย. 2558 Photo : pinterest
|
|
|
75
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ‘สมเด็จพระมหาวีรวงศ์’ เตือน ‘มหันตภัย’ ต่อความยั่งยืนพระพุทธศาสนา
|
เมื่อ: ตุลาคม 15, 2024, 08:32:42 am
|
‘สมเด็จพระมหาวีรวงศ์’ เตือน ‘มหันตภัย’ ต่อความยั่งยืนพระพุทธศาสนา ปัจจุบันเกิดคณะบุคคลประเภทที่พากันสอนและพากันเชื่อตามอัตโนมติของตนมากขึ้น โดยไม่ศึกษาอ้างอิงพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา ตามกระบวนวิธีวิทยาทางการศึกษาที่ถูกต้อง
ตามที่สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง โดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม ได้กำหนดให้ นักเรียนนักธรรม เข้าสอบวัดความรู้การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม ตามหลักสูตรของคณะสงฆ์ พร้อมกันทั่วราชอาณาจักร โดยนักธรรมชั้นตรี สอบในวันที่ 11-14 ต.ค. นั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทางเว็บไซต์สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง ได้มีการเผยแพร่คำปราศรัยของ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ แม่กองธรรมสนามหลวง เนื่องในวันเปิดสอบนักธรรมชั้นตรี ประจำปี 2567 ว่า
การศึกษาและการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม เป็นพันธกิจหนึ่งในพันธกิจทั้ง 6 ด้านของคณะสงฆ์ เป็นภารธุระที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน เจ้าคณะพระสังฆาธิการในฐานะผู้บริหารกิจการคณะสงฆ์ จะละเว้นเพิกเฉยต่อหน้าที่นี้มิได้ เพราะความเสื่อมก็ดี ความเจริญก็ดี ของคณะสงฆ์และของชาติบ้านเมือง ย่อมขึ้นกับการศึกษาเป็นสำคัญ
ทั้งนี้ กว่าจะบรรลุเป้าหมายของการศึกษาได้ ย่อมต้องอาศัยเวลา ซึ่งอาจไม่รวดเร็วทันใจคนยุคใหม่ ปัจจุบันจึงเกิดคณะบุคคลประเภทที่พากันสอนและพากันเชื่อตามอัตโนมติของตนมากขึ้นๆ หลายหมู่หลายคณะ ต่างพอใจกันรวบรัดกระทำการลงโดยไม่ศึกษาอ้างอิงพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา ตามกระบวนวิธีวิทยาทางการศึกษาที่ถูกต้อง ประจวบกับเทคโนโลยีการสื่อสารและการผลิตข้อมูลข่าวสารเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ปัญหาเหล่านี้ลุกลามใหญ่โตอย่างรวดเร็วตามกัน
@@@@@@@
ภาวะเช่นนี้ คือ มหันตภัยต่อความบริสุทธิ์บริบูรณ์และความยั่งยืนของพระพุทธศาสนา จึงขอให้ท่านผู้บริหารการศึกษา จงพยายามช่วยกันรักษาและพัฒนากระบวนการจัดการพุทธศาสนศึกษาให้เป็นไปตามหลักพระไตรปิฎก และคัมภีร์สำคัญอันอ้างอิงเชื่อถือได้ โดยยึดถือหลักสูตรที่คณะสงฆ์ได้ตั้งไว้อย่างรอบคอบแล้วเป็นสำคัญ เพื่อให้พระธรรมวินัยยังคงประดิษฐานอยู่อย่างมั่นคง เป็นกลไกในการสร้างเสริมคุณสมบัติที่พึงประสงค์สำหรับพุทธศาสนิกชน
ตามพระบรมราโชบายในรัชกาลที่ 9 ที่พระราชทานไว้เมื่อพ.ศ.2529 ความตอนหนึ่งว่า
“..เมื่อชาวพุทธรู้ธรรมะ ปฏิบัติธรรมอย่างถูกต้องทั่วถึง พระศาสนาก็จะมั่นคงขึ้นได้ ทั้งนี้ เพราะเหตุที่บ่อนเบียนพระศาสนาให้เศร้าหมองนั้น มักจะมาจากการกระทำของชาวพุทธผู้ไม่รู้ ไม่เข้าใจ และไม่ปฏิบัติตามธรรมะนั่นเองเป็นสำคัญ”
ผู้ที่เข้าสอบนักธรรมชั้นตรี ล้วนได้ผ่านการเรียนมาแล้ว จึงเข้ามาทดสอบความรู้หรือประเมินผลของความรู้ของตน จึงขอให้ผู้จัดและผู้เข้าสอบธรรมสนามหลวงรำลึกถึงความเพียรชอบในการศึกษาตามหลักสูตรธรรมสนามหลวง แล้วตั้งปณิธานว่าจะเป็นศาสนทายาทที่ดี เป็นพลเมืองที่ดีของชาติบ้านเมืองต่อไป กับทั้งขอเน้นย้ำให้ทุกท่าน จงจัดการสอบและทำข้อสอบโดยสุจริต อันนับเป็นบุญกิริยาเบื้องต้น ที่นำพาให้ท่านงอกงามในพระบวรพุทธศาสนายิ่งๆ ขึ้นไป
Thank to : https://www.dailynews.co.th/news/3971233/ข่าว > การศึกษา-ศาสนา | 14 ต.ค. 2567 • 8:55 น.
|
|
|
76
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เสถียรธรรมสถาน-สวนโมกข์กรุงเทพ จัดงาน ‘71 ปี ชาตกาล แม่ชีศันสนีย์’
|
เมื่อ: ตุลาคม 15, 2024, 08:23:45 am
|
. เสถียรธรรมสถาน-สวนโมกข์กรุงเทพ จัดงาน ‘71 ปี ชาตกาล แม่ชีศันสนีย์’เสถียรธรรมสถาน ร่วมกับ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ (สวนโมกข์กรุงเทพ) ขอเชิญร่วมภาวนาถวายเป็นอาจาริยบูชา ’71 ปี ชาตกาล แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต’
เสถียรธรรมสถาน ร่วมกับ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ (สวนโมกข์กรุงเทพ) ขอเชิญร่วมภาวนาถวายเป็นอาจาริยบูชา ‘71 ปี ชาตกาล แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต’ พร้อมชมสารคดี A Walk of Wisdom และร่วมเสวนาในประเด็น ‘ผู้หญิงกับหนทางพ้นทุกข์ด้วยปฏิจจสมุปบาท’ ในวันที่ 27 ต.ค. 2567 เวลา 10.00-12.00 น. ที่หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ (สวนโมกข์กรุงเทพ) ห้องนิพพานชิมลอง ชั้น 2
โดยในงานดังกล่าว จะได้พบกับตัวแทนผู้หญิงที่ได้รับแรงบันดาลใจจาก แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต ได้แก่
1. ดร.ภิกษุณี สุธาสินี น้อยอินทร์ แม่พระผู้ดูแลเด็กกำพร้า ผู้รับรางวัล HER AWARDS, UNFPA THAILAND 2024 และผู้ก่อตั้งมูลนิธิสุธาสินี น้อยอินทร์ เพื่อเด็กและเยาวชน (บ้านโฮมฮัก) จ.ยโสธร 2. คุณไจตนย์ ศรีวังพล นักจัดรายการวิทยุ 3. ดร.เพชรยุพา บูรณ์สิริจรุงรัฐ นักประพันธ์ นักพูด และประธานกรรมการบริหารสถาบันไทยปัญญ์สุข 4. คุณปิยพร พรรณเชษฐ์ แม่ของ ‘แม่ชีน้อยพอฟ้า’ ผู้เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการบวชเด็กผู้หญิง 5. คุณสายสัมพันธ์ ปัญญศิริ พี่สาวของแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต และประธานมูลนิธิเสถียรธรรมสถาน
@@@@@@@
ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนร่วมวงเสวนาซึ่งจัดขึ้นที่ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ (สวนโมกข์กรุงเทพ) ได้ทาง https://docs.google.com/forms/d/1odTZ4YVhAwwoB4OMiqf5xERwj5VWWb8kUoaAlM0tKRg/edit
รับชมถ่ายทอดสดการเสวนาได้ทาง FB Live ได้ 2 ช่องทาง 1. กิจกรรมสวนโมกข์กรุงเทพ https://www.facebook.com/activitiessuanmokkhbkk และ 2. เสถียรธรรมสถาน https://web.facebook.com/sdsface
นอกจากนี้ในวาระ 71 ปี ชาตกาล และ 3 ปี คืนสู่ธรรมชาติ (เกิด-ตาย) ของแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต ยังมีการจัดนิทรรศการ ‘ปฏิจจสมุปบาท’ กตัญญุตาธรรมในชีวิต แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต ตั้งแต่วันที่ 25 ต.ค.-9 ธ.ค. 2567 ใน 3 สถานที่ ได้แก่ - สวนโมกข์ กรุงเทพ - เสถียรธรรมสถาน กรุงเทพฯ และ - เสถียรธรรมสถาน หุบเขาโพธิสัตว์ จ.เพชรบุรี หรือรับชมนิทรรศการออนไลน์ได้ทาง เว็บไซต์เสถียรธรรมสถาน www.sds.or.th
ทั้งนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดการจัดกิจกรรมทั้งหมดได้ทางไลน์ @sdsfamily ขอบคุณ : https://www.dailynews.co.th/news/3971693/ข่าว > การศึกษา-ศาสนา | 14 ต.ค. 2567 • 10:23 น.
|
|
|
78
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / กรมอนามัย เตือน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปโซเดียมสูง กินบ่อย เสี่ยง ‘ความดันสูง – หัวใจ
|
เมื่อ: ตุลาคม 14, 2024, 08:03:36 am
|
. กรมอนามัย เตือน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปโซเดียมสูง กินบ่อย เสี่ยง ‘ความดันสูง – หัวใจวาย’กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เตือนกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่มีโซเดียมสูงเป็นประจำ เสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง หัวใจทำงานหนักขึ้น และหัวใจวายได้ในที่สุด แนะเลี่ยงเติมผงปรุงรสหมดซอง และกินน้ำซุปหมดถ้วย และเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีสัญลักษณ์ “ทางเลือกเพื่อสุขภาพ” เพื่อสุขภาพที่ดี
นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากกรณีมีการโพสต์ภาพบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปนำเข้าจากต่างประเทศยี่ห้อหนึ่ง พบปริมาณโซเดียมระบุบนซองสูงถึง 26,240 มิลลิกรัมเกินกว่า ที่องค์การอนามัยโลกแนะนำต่อวัน โดยปริมาณโซเดียมที่ควรได้รับต่อวันไม่ควรเกินวันละ 2,000 มิลลิกรัม หรือเท่ากับเกลือ 1 ช้อนชา
การกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจึงต้องคำนึงถึงปริมาณโซเดียมด้วย เนื่องจาก บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ส่วนใหญ่ห่อละประมาณ 60 กรัม หากกินหมดห่อจะได้รับโซเดียม 1,400 – 2,600 มิลลิกรัม ถ้าเป็นห่อใหญ่ขึ้น ปริมาณผงปรุงรสหรือเครื่องปรุงยิ่งเพิ่มมากขึ้นตามขนาดผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นด้วย ส่งผลให้ร่างกายได้รับโซเดียมในปริมาณมากเกินความต้องการทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ
เพราะเมื่อร่างกายไม่สามารถกำจัดเกลือและน้ำส่วนเกินในร่างกาย จะทำให้เกิดการคั่งของเกลือและน้ำในอวัยวะต่าง ๆ ทำให้แขน ขา บวม เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก และหากร่างกายไม่สามารถขับโซเดียมออกได้ทัน จะเกิดการสะสมในร่างกายเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง และเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น หัวใจทำงานหนักขึ้น ทำให้เกิดหัวใจโตและหัวใจวายได้ในที่สุด
@@@@@@@
“ทั้งนี้ ไม่แนะนำกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปอย่างเดียว เพราะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน เนื่องจากสารอาหารหลักในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป คือ คาร์โบไฮเดรต ไขมันอิ่มตัว และโซเดียม จึงไม่ควรกินบ่อย ควรต้มให้สุกอาจเพิ่มเนื้อสัตว์ ไข่ และผัก เพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วน
เลี่ยงการกินดิบ เติมผงปรุงรสหมดซอง และกินน้ำซุปหมดถ้วย ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีสัญลักษณ์ “ทางเลือกเพื่อสุขภาพ”
นอกจากนี้ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไม่ใช่ผลิตภัณฑ์เดียวที่อาจทำให้ร่างกายได้รับโซเดียมเกินความจำเป็นต่อร่างกาย เครื่องปรุงรสประเภท น้ำปลา กะปิ เกลือ ซอสปรุงรส ซุปก้อน น้ำจิ้ม ยังแฝงไปด้วยโซเดียม รวมทั้งอาหารอื่นที่ไม่มีรสชาติ เช่น ผงชูรส ผงฟู อีกด้วย”
อธิบดีกรมอนามัย กล่าว ขอบคุณ : https://multimedia.anamai.moph.go.th/news/010265/กรมอนามัย / 1 กุมภาพันธ์ 2565
|
|
|
79
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เทียบชัด ๆ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ใส่เครื่องปรุง กับ ไม่ใส่ โซเดียมต่างกันแค่ไหน.?
|
เมื่อ: ตุลาคม 14, 2024, 07:54:08 am
|
. เทียบชัด ๆ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ใส่เครื่องปรุง กับ ไม่ใส่ โซเดียมต่างกันแค่ไหน.?ช่อง “ฉลาดกิน” ทดลองเทียบชัด ๆ ระหว่าง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ใส่เครื่องปรุงจุก ๆ กับใส่แค่ซุปใส และไม่ใส่ โซเดียมจะต่างกันแค่ไหน.?
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักในชีวิตหลายคนที่ต้องซื้อเก็บไว้ติดประจำบ้าน ไม่ว่าจะเพราะการกินง่าย แค่ฉีกซองใส่น้ำร้อน รสชาติที่อร่อยหลากหลาย หรือต้นทุนทางสังคมต่าง ๆ
ล่าสุด โลกออนไลน์แชร์คลิปวิดีโอในติ๊กต็อกบัญชี chaladgin ฉลาดกิน ของคุณเฟิร์น ที่ออกมามาทำคอนเทนต์ทดลองเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปใส่เครื่องปรุงกับไม่ใส่เครื่องปรุง จะมีค่า “โซเเดียม” จะต่างกันแค่ไหน
@@@@@@@
โดยการทดลอง คุณเฟิร์น ได้แยกเป็น 3 ประเภทได้แก่ - บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่ใช้ซุปใส (น้ำซุปไก่) - บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบไม่ใส่เครื่องปรุง และ - บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่ปรุงด้วยผงเครื่องปรุง
ผลปรากฏออกมาว่า จากการวัดค่า “โซเดียม” น้ำซุปไก่โซเดียมอยู่ที่ประมาณ 300 มิลลิกรัม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไม่ใส่เครื่องปรุง โซเดียมอยู่ที่ประมาณ 300 มิลลิกรัม ไม่ต่างจากน้ำซุปไก่ ขณะที่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่ปรุงด้วยผงเครื่องปรุง โซเดียมอยู่ที่ประมาณ 1,000 มิลลิกรัม
คลิปดังกล่าวมีผู้เข้าชมมากกว่า 2 แสนครั้ง และแชร์ต่อไปในแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ อีกมากมาย
ชมคลิปได้ที่ : https://www.tiktok.com/@chaladgin/video/7422984601817058561?is_from_webapp=1&sender_device=pc&web_id=6965302034318280194Thank to : https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_945538811 ต.ค. 2567 - 18:29 น.
|
|
|
80
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / หลวงพ่อวัดท่าขนุน ชี้ คนตื่นธรรม อันตราย ปราศจากสาราณียธรรม บูลลี่-ด้อยค่า
|
เมื่อ: ตุลาคม 14, 2024, 07:44:30 am
|
. หลวงพ่อวัดท่าขนุน ชี้ คนตื่นธรรม อันตราย ปราศจากสาราณียธรรม บูลลี่-ด้อยค่าหลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน หรือ พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. วัดท่าขนุน เมืองกาญจน์ โพสต์ถึง คนที่อันตรายคือ คนตื่นธรรม เหตุปราศจากสาราณียธรรม ด่าสาดเสียเทเสีย บูลลี่-ด้อยค่า ความรู้ของคนอื่น
พระครูวิลาศกาญจนธรรม ดร. วัดท่าขนุน โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ค watthakhanun เกี่ยวกับเรื่อง คนที่อันตรายคือ คนตื่นธรรม เหตุปราศจากสาราณียธรรม ด่าสาดเสียเทเสีย ย้ำ หากตั้งใจสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องหาคอนเทนต์
ในเรื่องปัจจุบันนี้เกี่ยวกับ "หมอดู" และ "คนตื่นธรรม" จะว่าไปแล้วเป็นเรื่องของการเอากิเลสไปชนกัน..! ในส่วนของหมอดู กระผม/อาตมภาพตำหนิเขาน้อย ตำหนิเขาน้อยตรงที่ว่าเขาแค่ปากไว แล้วก็ไปพูดกระทบกระเทือนในลักษณะปรามาสพระพุทธเจ้าว่า พระพุทธเจ้าก็ไม่แน่ว่าจะรู้จริงทั้งหมด ซึ่งตรงนี้ไปสวนกับความเชื่อของพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ เลยเจอ "ทัวร์ลง" เยอะหน่อย..!
ในเรื่องของหมอดูนั้น ถ้าหากว่ามีจรรยาบรรณและมีความคล่องตัวจริง ๆ สามารถอาศัยได้ในระดับหนึ่ง ที่กระผม/อาตมภาพบอกไปวันก่อนก็คือได้ ๖๐ เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่ใช่ไปฝากชีวิตไว้กับหมอดู อย่าลืมว่า ๔๐ เปอร์เซ็นต์ที่นอกเหตุเหนือผล นั่นก็คือคนที่ไม่ยอมจำนนต่อชะตากรรม ดิ้นรนฝ่าฟันจนกระทั่งผ่านพ้นไปได้ นั่นคือสิ่งที่พระพุทธเจ้าเชื่อว่าพวกเรามีศักยภาพเพียงพอ พระองค์ท่านถึงได้เสียเวลามาสอนพวกเราอยู่ถึง ๔๕ ปี ไม่อย่างนั้นถ้าหากว่าเชื่อหมอดูอย่างเดียว ก็ไม่ต้องทำมาหากินอะไรแล้ว เขาบอกว่าไม่ดีก็ไม่ดีไปตลอดชีวิต เขาบอกว่าดีแล้วจะดีไปตลอดชีวิตได้อย่างไร ? เพราะว่าเราเองก็ทำดีไม่ทั่ว ทำชั่วไม่หมด ก็ต้องมีขึ้น ๆ ลง ๆ ดีบ้าง ชั่วบ้าง
แต่ว่าในส่วนของบุคคลที่อ้างว่าเป็นผู้ตื่นธรรมหรือผู้รู้ธรรมนั้น การสอนธรรมของท่านปราศจากสาราณียธรรม ตรงนี้อันตราย
ท่านที่เรียนนักธรรมชั้นตรีมาก็รู้อยู่แล้ว สาราณียธรรม ธรรมอันเป็นเครื่องยังให้ทุกคนระลึกถึงกัน เมื่อจะคิดก็คิดถึงผู้อื่นด้วยเมตตา เมื่อจะพูดก็พูดถึงผู้อื่นด้วยเมตตา เมื่อจะกระทำก็กระทำต่อผู้อื่นด้วยเมตตา ไม่ใช่อยู่ในลักษณะของด่าสาดเสียเทเสีย ไป "บูลลี่" หรือว่า "ด้อยค่า" ความรู้ของคนอื่น ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายไปนึกถึง ปิรามิดพระพุทธศาสนาที่กระผม/อาตมภาพเคยเปรียบเทียบไปแล้ว - ส่วนของพิธีกรรมพิธีการก็คือฐานใหญ่ที่สุด นี่คือพุทธศาสนิกชน ๘๐ - ๙๐ เปอร์เซ็นต์เลยนะ..! - ขึ้นมาถึงระดับกลาง ก็คือ ศีล สมาธิเบื้องต้น - พวกที่จะใช้ปัญญาได้จริง ๆ ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญาครบถ้วน ไปอยู่ที่ยอดปิรามิดนิดเดียวถ้าหากว่าเราไป "ด้อยค่า" คนอื่น หรือไป "บูลลี่" คนอื่น ถือว่าคนอื่นตื่นไม่เท่ากูก็แปลว่าชั่วหมด..! อย่างนั้นใช้ไม่ได้ เราจะไปอ้างว่าเรื่องของธรรมะไม่ต้องเอาใจใคร..ก็ถูก แต่ลักษณะของการสอนธรรม เราสอนด้วยกิเลส หรือว่าเราสอนเพราะเจตนาให้ผู้อื่นรู้ตาม ?ถ้าท่านทั้งหลายลองไปฟังดูแล้วก็จะรู้
ถ้าหากว่าท่านตั้งใจสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องหาคอนเท็นต์หรือว่าแนวทางที่โลดโผน เพื่อที่จะเป็นติ๊กต็อกเกอร์ หรือเป็นยูทูบเบอร์ เพราะลักษณะอย่างนั้นก็คือการดึงคนเข้ามา ดึงคนเข้ามาเพื่ออะไร ? ก็ต้องหวังยอดวิว หวังยอดไลค์..!
ดังนั้น..เรื่องพวกนี้เราอย่าไปกล่าววาจาอันเป็นเหตุให้เถียงกัน พระพุทธเจ้าตรัสไว้ชัดแล้วว่า วาจาอันเป็นเหตุให้เถียงกันทำให้ต้องพูดมาก บุคคลที่พูดมาก จิตใจย่อมฟุ้งซ่าน บุคคลที่ฟุ้งซ่านย่อมห่างจากสมาธิ..!ในเมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านทั้งหลายก็ต้องเข้าใจว่าคนเราสร้างบุญสร้างกรรมมาไม่เท่ากัน เหมือนอย่างกับวิทยานิพนธ์วิเคราะห์ภพภูมิที่ ดร.ซ้วงท่านทำมา ในเมื่อสร้างบุญสร้างกรรมมาไม่เท่ากัน บุคคลที่สร้างบุญมาดีก็ได้ครูบาอาจารย์ดี สิ่งใดผิดพลาดก็แก้ไขให้
บอกกล่าวแต่ในสิ่งที่ถูกต้อง แต่ถ้าหากว่าเราสร้างบุญสร้างกรรมมาไม่เท่ากัน แล้วเราดันไปสร้างด้านที่ไม่ดี ถ้าไม่โดนพวกบรรดา "คอลเซ็นเตอร์" หลอกจนหมดเนื้อหมดตัว ก็โดนหมอดูหลอกให้ไปสะเดาะเคราะห์บ้าง ไปเปลี่ยนชื่อบ้าง สารพัด แล้วแต่ละวิธีก็ล้วนแล้วแต่เสียเงินทั้งนั้น..!
ทั้ง ๆ ที่ถ้าเราตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติใน ศีล สมาธิ ปัญญา โดยไม่ต้องเสียสตางค์ และเป็นการแก้ดวงที่ดีที่สุด แต่พวกเรากลับขี้เกียจ มักง่าย อะไรยากไม่ทำ สิ่งไม่ดีเกิดขึ้นแทนที่จะรีบแก้ไขด้วยการพัฒนา กาย วาจา ใจ ของตนเองให้ดีขึ้น เรากลับไปเปลี่ยนชื่อ ฟังดูแล้วว่ามันใช่หรือไม่ ? เปลี่ยนชื่อให้ตาย ถ้าความประพฤติไม่เปลี่ยน แล้วสิ่งดี ๆ จะเข้ามาได้อย่างไร ?
จึงเป็นเรื่องพวกเราทั้งหลาย โดยเฉพาะพระภิกษุสามเณรต้องตระหนักให้มากไว้ว่า เรื่องของพระพุทธศาสนา ต่อให้ปฏิบัติไปไม่ถึงพระอริยเจ้า ก็ต้องรักษาพระไตรปิฎกเอาไว้ พูดง่าย ๆ ก็คืออย่านอกคอก เพราะว่าถ้าความนอกคอกของเรา แล้วมีคนเดินตาม..พังแน่ ๆ..! คือถ้านอกคอกเมื่อไร โอกาสที่จะไปได้ดีนั้นก็ยากแล้ว เพราะว่าไม่ว่าโลกไหน ๆ ก็ไม่มีใครที่จะมีความสามารถเสมอกับพระพุทธเจ้า
พระองค์ท่านวางแนวทางเอาไว้แล้ว ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ สรุปลงมาเหลือหนทาง ๘ ประการ ย่อลงมาก็คือแนวปฏิบัติ ๓ อย่าง คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
ดังนั้น..ถ้าหากว่าใครคิดว่าจะหาทางใหม่ที่จะเก่งกว่าพระพุทธเจ้าได้ เราก็ปล่อยท่านไปเถอะ เอาที่ท่านสบายใจก็แล้วกัน เดี๋ยวตอนตายก็รู้เองว่าจะไปพบกันข้างบนหรือข้างล่าง..!Thank to : https://www.tnews.co.th/social/social-news/61594413 ต.ค. 2567
|
|
|
|