ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติพระอาจารย์ทองเฒ่า วัดเขาอ้อ  (อ่าน 10142 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

รักหนอ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +22/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 369
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

ประวัติพระอาจารย์ทองเฒ่า วัดเขาอ้อ
วัดเขาอ้อ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ยังมีการกล่าวถึงอยู่ในพงศาวดารพัทลุง ดังปรากฏในหนังสือ "พระสังฆพิจารณ์ฉัททันต์บรรพต (อาจารย์ทองเฒ่า) อาจารย์ผู้เฒ่าวัดเขาอ้อ" ซึ่งอาจารย์ชุม ไชยคีรี ศิษย์เอกทางไสยเวทคนหนึ่งของสำนักวัดเขาอ้อได้ค้นคว้าและเรียบเรียงขึ้นมา เป็นประวัติพระอาจารย์ทองเฒ่า วัดเขาอ้อ มีความว่า

"เท่าที่ค้นพบจากพงศาวดาร และจากคำบันทึกของพระ เจ้าของตำรา พระอาจารย์ทุกองค์ในสำนักวัดเขาอ้อมีความรู้ความสามารถในทางไสยศาสตร์ให้แก่ทุกชั้น ตั้งแต่ชั้นเจ้าเมือง และนักรบมาแต่ครั้งโบราณ เริ่มตั้งแต่สมัยศรีวิชัยตลอดมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เช่น พระอาจารย์ที่ปรากฏองค์ที่ 1 ชื่อ พระอาจารย์ทอง ในสมัยนั้นทางฟากตะวันตกของทะเลสาบตรงกับวัดพระเกิด ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน ปัจจุบันนี้

ครั้งนั้น ตามพงศาวดารเมืองพัทลุงกล่าวว่า ยังมีตายาย 2 คน ตาชื่อ สามโม ยายชื่อ ยายเพ็ชร์ ตายายมีบุตรหลานบุญธรรมอยู่ 2 คน ผู้ชายชื่อ กุมาร ผู้หญิงชื่อ เลือดขาว นางเลือดขาวกล่าวว่าเป็นอัจริยะมนุษย์ คือ เลือดในตัวนางมีสีขาว ผิวขาวผิดกับมนุษย์ธรรมดาสามัญ

ตาสามโมเป็นนายกองช้าง หน้าที่จับช้าง เลี้ยงช้างถวายพระยากรงทอง ปีละ 1 เชือก

เมื่อบุตรธิดาทั้งสองเจริญวัยพอสมควรแล้ว ตายายจึงนำไปฝากให้พระอาจารย์ทอง วัดเขาอ้อ สอนวิชาความรู้ให้ พบบันทึกในตำราว่าเริ่มนำตัวไปถวายพระอาจารย์ทองเมื่อวันพฤหัสบดี ปีกุน เดือน 8 ขึ้น 15 ค่ำ จุลศักราช 301 (พ.ศ.1482) จะศึกษาอยู่นานเท่าใดไม่ปรากฏ ทราบแต่ว่าเป็นผู้มีความรู้ทางอยู่ยงคงกระพัน กำบังกายหายตัว และอื่นๆ เป็นอย่างดียิ่ง ต่อมาตายายให้บุตรบุญธรรมทั้งสองแต่งงานเป็นสามีภรรยากัน พระยากรงทองโปรดให้ไปเป็นเจ้าเมืองชื่อพระกุมารและนางเลือดขาว ตั้งเมืองอยู่ที่บางแก้วฝั่งทะเลสาบตะวันตก ชื่อเมืองตะลุง ได้สร้างวัดและเจดีย์วัดตะเขียน (วัดบางแก้ว ตำบลเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง เดี๋ยวนี้)

การที่ให้ชื่อเมืองว่า เมืองตะลุง อาจจะเป็นเพราะว่าเดิมเป็นหลักล่ามช้าง ต่อมาจึงกลายเป็นเมืองพัทลุง พระกุมารและนางเลือดขาวเป็นผู้มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา สร้างวัดวาอาราม พระพุทธรูป พระเจดีย์ ในเขตเมืองพัทลุง เมืองนครศรีธรรมราช และเมืองตรัง หลายแห่งด้วยกัน เช่น วัดบางแก้ว วัดสทังใหญ่ เมื่อปีพ.ศ. 1493 สร้างวัดพระพุทธสิหิงค์ จังหวัดตรัง 1 วัด สร้างพระพุทธรูปปางไสยาสน์ 1 องค์ พอจะจับเค้ามูลได้ว่าวัดเขาอ้อมีมาก่อนเมืองพัทลุง เพราะกุมารมาศึกษาวิชาความรู้ก่อนเป็นเจ้าเมือง"

และยังมีตอนหนึ่งซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องถึงประวัติของหลวงพ่อทวด แห่งวัดช้างให้ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี แต่ครั้งยังอยู่วัดพะโคะ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ว่า

"เมื่อจุลศักราช 991 (พ.ศ.2171) พระสามีรามวัดพะโคะ หรือที่เราทราบกันเดี๋ยวนี้ว่า หลวงพ่อทวด วัดช้างให้ ซึ่งประชาชนในสมัยนั้นยกย่องถวายนามว่าสมเด็จเจ้าพะโคะ ท่านได้ไปเรียนพระปริยัติธรรม ณ กรุงศรีอยุธยา เป็นผู้แตกฉานในอรรถธรรม ครั้งนั้นยังมีพราหมณ์เป็นนักปราชญ์มาจากประเทศสิงหล (ลังกา) มาตั้งปริศนาปัญหาธรรมที่แสนยาก พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาโปรดให้พระสามีรามเถระแก้ปัญหาธรรมนั้นๆ จนชนะพราหมณ์ชาวสิงหล จึงพระราชทานยศเป็นพระราชมุนี

เมื่อกลับมาเมืองพัทลุงได้ก่อพระเจดีย์บรรจุพระรัตนมหาธาตุไว้บนเขาพะโคะ สูง 1 เส้น 5 วา มีระเบียงล้อมรอบพระเจดีย์

ตามตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่า ครั้นฉลองพระเจดีย์นั้น ท่านอาจารย์เฒ่า วัดเขาอ้อ พัทลุง องค์หนึ่งชื่อ สมเด็จเจ้าจอมทอง ซึ่งคงจะเป็นชื่อที่ยกย่องเช่นเดียวกับสมเด็จเจ้าพะโคะ นำพุทธบริษัทไปในงานฉลองพระเจดีย์ทางเรือใบ แสดงอภินิหารวิ่งเรือใบเลยขึ้นไปถึงเขาพะโคะ ซึ่งไกลจากทะเลมาก ทำให้ประชาชนที่เห็นอภินิหารเคารพนับถือ และปัจจุบันสถานที่ตรงนั้นเรียกกันว่า "ที่จอดเรือท่านอาจารย์วัดเขาอ้อ"

ต่อมา ท่านสมเด็จเจ้าพะโคะ ให้คนกวนข้าวเหนียวด้วยน้ำตาลโตนด ภาษาภาคใต้เรียกว่า เหนียวกวน ทำเป็นก้อนยาวประมาณ 2 ศอก โตเท่าขา ให้พระนำไปถวายสมเด็จเจ้าจอมทอง วัดเขาอ้อ ครั้นถึงเวลาฉันท่านสมเด็จเจ้าจอมทองสั่งให้แบ่งถวายพระทุกองค์ ศิษย์วัดตลอดถึงพระก็ไม่มีใครที่จะแบ่งได้ เอามีดมาฟันเท่าใดก็ไม่เข้า ทราบถึงสมเด็จเจ้าจอมทอง ท่านสั่งให้เอามาแล้วท่านจึงเอามือลูบ แล้วส่งให้ศิษย์ตัดแบ่งถวายพระอย่างข้าวเหนียวธรรมดา

อยู่มาวันหนึ่ง สมเด็จเจ้าจอมทองให้พระนำแตงโมใบใหญ่ 2 ลูก ไปถวายสมเด็จเจ้าพะโคะ พอถึงเวลาฉันก็ไม่มีใครผ่าออก สมเด็จเจ้าพะโคะทราบเข้าก็หัวเราะชอบใจ พูดขึ้นว่า สหายเราคงแสดงฤทธิ์แก้มือเรา ท่านรับแตงโมแล้วผ่าด้วยมือของท่านเองออกเป็นชิ้นๆ ถวายพระ

การแสดงอภินิหารของพระอาจารย์ครั้งโบราณเป็นกีฬาประเภทหนึ่ง ซึ่งมีมากอาจารย์ด้วยกัน ต่อจากนั้นพระอาจารย์วัดเขาอ้อทุกๆ องค์ ได้แสดงฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ตลอดมา จึงเป็นที่เคารพนับถือของบุคคลทุกชั้น เจ้าเมืองพัทลุงทุกคนต้องไปเรียนวิชาความรู้ที่วัดเขาอ้อ

กล่าวสำหรับเจ้าอาวาสวัดเขาอ้อ เท่าที่สืบค้นพบจนถึงปัจจุบัน มี 11 รูป ด้วยกัน ดังนี้

1. พระอาจารย์ทอง

2. พระอาจารย์สมเด็จเจ้าจอมทอง

3. พระอาจารย์พรมทอง

4. พระอาจารย์ไชยทอง

5. พระอาจารย์ทองจันทร์

6. พระอาจารย์ทองในถ้ำ

7. พระอาจารย์ทองนอกถ้ำ

8. พระอาจารย์สมภารทอง

9. พระครูสังฆวิจารย์ฉัตรทันต์บรรพต

10. พระอาจารย์ปาล ปาลธฺมโม

11. พระครูอดุลธรรมกิตติ์ (กลั่น อคฺคธมฺโม)

พระอาจารย์วัดเขาอ้อนั้นล้วนต่างมีวิชาความรู้ความสามารถมิได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ทั้งนี้เพราะต่างศึกษาวิชากันมาไม่ขาดระยะ ตำราและวิชาความรู้ที่เป็นหลัก คือ การศึกษาเวทมนตร์คาถาเป็นหลัก เรียนตั้งแต่ธาตุ 4 ธาตุ การตั้งธาตุ หนุนธาตุ แปลงธาตุ และตรวจธาตุ วิชาคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด มหาอุด สอนให้รู้กำเนิดที่มาของเลขยันต์อักขระต่างๆ


ขอบคุณเนื้อหา สามารถตามอ่านได้ที่นี่คะ
http://www.tumsrivichai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=5327499&Ntype=5
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 03, 2011, 08:48:12 am โดย รักหนอ »
บันทึกการเข้า

เสกสรรค์

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 419
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ประวัติพระอาจารย์ทองเฒ่า วัดเขาอ้อ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 03, 2011, 03:19:14 pm »
0
สำหรับ สายเขาอ้อ ผมสนใจมากครับ

 น่าจะลงประวัติพระอาจารย์ สายนี้เพิ่ม อีกนะครับ

   :25:
บันทึกการเข้า