ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "แดนสุขาวดี" อยู่ที่ใดกันแน่.?  (อ่าน 71 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28559
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
"แดนสุขาวดี" อยู่ที่ใดกันแน่.?
« เมื่อ: พฤษภาคม 29, 2024, 07:23:52 am »
0
.

ขอบคุณภาพจาก : https://www.blockdit.com/posts/619343f9fc6bab0cabb3dfcf


"แดนสุขาวดี" อยู่ที่ใดกันแน่.?

โดย สุดาพร เขียวงามดี , Sudaporn Khiewngamdee
นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาภาษาสันสกฤต คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

ขอบคุณที่มา : pdf.file แดนสุขาวดีอยู่ที่ใดกันแน่ | Damrong Journal, Vol 11, No.2, 2012
website : www.damrong-journal.su.ac.th/?page=view_article&article_id=32




 :25: :25: :25:

บทคัดย่อ : "แดนสุขาวดี" อยู่ที่ใดกันแน่.?

คนทั่วไปมักจะรู้จักแดนสุขาวดีในมุมมองที่ว่า เป็นสวรรค์ซึ่งเปี่ยมไปด้วยความสุขอย่างยิ่ง แต่ทว่าสุขาวดีมิได้มีชื่ออยู่ในบรรดาสวรรค์ทั้ง 6 ชั้นของพระไตรปิฎกเถรวาท เดิมทีเดียวชื่อ “สุขาวดี” ปรากฏอยู่ในพระสูตรฝ่ายมหายานในราวพุทธศตวรรษที่ 7 เป็นดินแดนอยู่ทางฝั่งตะวันตกนอกโลกของเราเป็นระยะทางหาที่สุดมิได้

ดินแดนสุขาวดีมีต้นกำเนิดมาพร้อมกับแนวคิดเรื่องของพระพุทธเจ้ามากมาย จนกระทั่งกลายเป็นนิกายสุขาวดีขึ้นในภายหลัง เหล่าสาวกต่างพากันสวดภาวนาต่อพระอมิตาภะเพื่อปรารถนาไปเกิดยังสุขาวดี ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางสูงสุดของพวกเขา ทุกวันนี้คำสอนเรื่องแดนสุขาวดีเป็นที่นิยมและแพร่หลายอย่างมากในประเทศญี่ปุ่นและจีน

Abstract : Where is the land of “Sukhāvatī”.?

Common people may know the Pure Land (Sukhāvatī) as a heaven which is full of a lot happiness. On the other hand, Sukhāvatī is not on the list of names of 6 heavens in Tripitaka in Theravāda Buddhism. In the early period, the name of “Sukhāvatī” appeared in Mahāyāna Sūtra during the seventh Buddhist Era. This land is in the west which is very far from earth.

“Sukhāvatī” was the origin together with the view point of many Buddhists until it became the Sukhāvatī School at later time. The disciples prayed to Amitābha Buddha, because they wished to be born in Sukhāvatī which is their highest aim. At present, the teaching about the Pure Land is the most popular and well-known teaching in Japan and China.




 st12 st12 st12

บทนำ : "แดนสุขาวดี" อยู่ที่ใดกันแน่.?

สุขาวตี (สตรีลิงค์) เป็นคำศัพท์เฉพาะ แปลว่า ดินแดนแห่งความสุขที่มาของคำศัพท์นี้ มาจาก สุข (นปุงสกลิงค์) แปลว่า ความสุข, ความพึงพอใจ(1-) นำมาลง วนฺตฺ, วตฺ ปัจจัยตัตธิต เป็นคำคุณศัพท์ แปลว่า ซึ่งมีความสุข, อันมีความสุข แล้วลง อี ปัจจัย เพื่อทำให้เป็นสตรีลิงค์(2-)

ดังนั้นคำว่า สุขาวตี(3-) จึงเป็นคำคุณศัพท์ประเภทตัทธิต (The Secondary Affixes) (4-) สตรีลิงค์ หมายถึง ที่ซึ่งทำให้มีความสุข สาเหตุที่ทำให้ “สุขาวตฺ” เป็นสตรีลิงค์ คือ มาจากคำเต็มของคำว่า สุขาวตี โลกธาตุ (สตรีลิงค์) หมายความถึง โลก-ธาตุ หรือสถานที่ที่ทำให้มีความสุข หรือความพอใจ จึงเป็นที่มาของคำว่า Pure Land, Land of Bliss หรือ ดินแดนแห่งความสุข

ในพระพุทธศาสนามหายาน คนส่วนใหญ่จะเข้าใจกันว่าสุขาวดีเป็นสวรรค์ชั้นหนึ่งซึ่งเป็นดินแดนแห่งความสุข ชื่อแดนสุขาวดีมักจะปรากฏอยู่ในนิยายหรือในภาพยนตร์จีนกำลังภายใน จนกลายเป็นแดนในฝันอันงดงามแห่งเทพนิยายไป แต่ชื่อสุขาวดีมิได้อยู่ในทำเนียบสวรรค์ของพระพุทธศาสนาเถรวาท

นวนิยายที่มีชื่อเสียงซึ่งได้กล่าวถึงแดนสุขาวดีจนทำให้ดินแดนนี้เป็นที่รู้จักกันดีของนักอ่าน ก็คือ นวนิยายอิงพุทธประวัติเรื่องกามนิต-วาสิฏฐี(5-) ภาคสอง คือ ภาคบนสวรรค์ ผู้แต่งได้นำเอาแนวคิดเรื่องสุขาวดีในพระสูตรมหายาน ซึ่งเป็นต้นแบบของสุขาวดี มาแต่งเป็นฉากและเสริมบทบาทให้กับตัวละคร ในเนื้อเรื่องกล่าวถึงตอนที่กามนิตและวาสิฏฐีได้สิ้นภพจากโลกมนุษย์ไปแล้ว ได้ไปบังเกิดยังสุขาวดีตามความปรารถนาของตน โดยกามนิตได้ไปอุบัติก่อนวาสิฏฐีตามไปอุบัติทีหลัง

ในนิยายเรื่องนี้ กล่าวพรรณนาถึงสุขาวดีว่า เป็นสวรรค์แดนตะวันตก ผู้ที่ไปเกิดจะมุ่งอยู่ในทิพยกามสุข เสวยกามาพจรสุขอยู่ที่นั่น เป็นเวลาหลายโกฏิปีจนกว่าจะสิ้นบุญ มีสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่งดงามอย่างหาที่เปรียบมิได้ มีคงคาสวรรค์สายใหญ่โอบล้อมแดนสุขาวดี เพื่อบ่งบอกการสิ้นสุดเขตแดน ชาวสวรรค์สุขาวดีเกิดขึ้นมาจากดอกบัว กามนิตอยู่ในดอกบัวสีแดง วาสิฏฐีอยู่ในดอกบัวสีขาว(6-) ดอกบัวและดอกไม้บนสวรรค์สุขาวดีมีการเหี่ยวเฉาและเสื่อมไปตามกาลเวลาเหมือนดอกไม้บนโลก ชาวสวรรค์ก็มีเกิดมีตายเหมือนชาวมนุษย์

สวรรค์ชั้นสุขาวดีภูมิในนวนิยายเรื่องกามนิต-วาสิฏฐีนั้น ผู้แต่งน่าจะหมายถึงสวรรค์ชั้นที่ 6 คือ ปรนิมมิตวสวัตตีเทวภูมิ เพราะเป็นเทวโลกชั้นสูงสุดฝ่ายกามาพจ รอันเป็นที่สถิตอยู่แห่งเทพยดาทั้งหลายผู้เสวยกามคุณารมณ์ ทิพยสมบัติอันวิเศษและทิพยวิมานที่อลังการกว่าสวรรค์ชั้นอื่นๆ เป็นสวรรค์ชั้นบรมสุขที่สุด เพราะในคัมภีร์สุขาวตีวยูหสูตรของคติมหายานที่ผู้เขียนนิยายได้รับอิทธิพลมา ได้กล่าวว่า สรรพสัตว์ทั้งหลายในสุขาวดีโลก-ธาตุจะดำรงอยู่และเพรียบพร้อมทุกประการ เทียบเท่ากับเทวดาชั้นปรนิร-มิตวศวรตี

ผู้เขียนนำแนวคิดสุขาวดีในคติมหายานมาผสมกับแนวคิดของหลักธรรมเถรวาทที่ว่า ไม่ว่าจะเป็นเทวโลกหรือพรหมโลกก็มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปเป็นวัฏจักรเหมือนมนุษย์โลก แต่ต่างกันตรงที่ระยะเวลาของแต่ละโลกซึ่งยาวนานไม่เท่ากัน ผู้เขียนต้องการสื่อให้เห็นถึงสิ่งที่เลิศกว่าดินแดนสูงสุดอย่างพรหมโลก นั่นก็คือ แดนนิพพานที่ไม่มีภพ ไม่มีชาติ ไม่มีกาลอวสานแห่งจักรวาลและวงจรแห่งกรรม

ในขณะที่พระพุทธศาสนามหายานจะเน้นเรื่องของโลกธาตุและพุทธเกษตรต่างๆ ของพระพุทธเจ้ามากกว่าจะเน้นคำสอนเรื่องการเข้าถึงพระนิพพานอย่างถาวร สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า ผู้เขียนนวนิยายเรื่องนี้มีความเคารพและศรัทธาในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาเถรวาทเป็นอย่างยิ่ง


(ยังมีต่อ..)







อ้างอิง :-

(1-) Gérard Huet, Lexique Sanskrit-français à l’usage de glossaire indianiste (Paris-Rocquencourt : inria.fr, 2004), 321.

(2-) Edward Delavan Perry, A Sanskrit Primer (New York : Columbia University press, 1936), 98.

(3-) จากการที่ผู้วิจัยได้สอบถามเกี่ยวกับคำว่า “สุขาวตี” ในเชิงภาษาศาสตร์นั้น ผศ.ดร.จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา ได้ให้ความเห็นว่า คำว่า “สุข”(นปุงสกลิงค์) ลากเสียงยาวกลายเป็น “สุขา” ก่อนที่จะลงปัจจัยเป็นสุขาวตี น่าจะอนุโลมมาจากสูตรของปาณินิ สูตรที่ 6.3.119 (มเตา พหฺวโจ’ นชิรา ทีณามฺ) สระท้ายของคำที่มีมากกว่า 2 พยางค์จะทำเป็นเสียงยาว เมื่ออยู่หน้าปัจจัย มตฺ เมื่อเป็นชื่อแต่ไม่ใช่คำว่า อชิร เป็นต้น, ดู Sumitra M. Katre. Astādhyāyī of Pānini (Delhi : Motilal Banarsidass, 1989), 796.

ส่วนในความคิดเห็นของผู้วิจัย ผู้วิจัยคิดว่าน่าจะมาจากคำว่า สุขา (นามสตรีลิงค์) + วตฺ ปัจจัย ตามพจนานุกรมของ Gérard Huet ซึ่งคำว่า “สุขา” เป็นภาษาที่เขียนขึ้นในยุค Hybrid Sanskrit ต่างจากในยุคเริ่มแรกที่ใช้คำว่า “สุข”(นปุงสกลิงค์) เพียงอย่างเดียว

(4-) คำตัทธิตทำหน้าที่เป็นนามบ้าง เป็นคุณศัพท์บ้าง แจกรูปตามการันต์ของลิงค์นั้นๆ,ดู จำลอง สารพัดนึก, ไวยากรณ์สันสกฤตชั้นสูง, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ : มหาจุฬา-ลงกรณราชวิทยาลัย, 2548), 163.

(5-) นวนิยายเรื่องกามนิต-วาสิฏฐีเขียนขึ้นเป็นภาษาเยอรมันชื่อ Der Pilger Kamanita เมื่อปี ค.ศ. 1906 โดยคาร์ล อดอล์ฟ เจลเลอร์รูป (Karl Adolph Gjellerup) กวีและนักเขียนชาวเดนมาร์ก ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ปี ค.ศ. 1917

ต่อมา John E. Logie นำมาแปลเป็นภาษาอังกฤษชื่อ The Pilgrim Kamanita และเป็นฉบับที่ เสฐียรโกเศศ-นาคะประทีปนำมาแปลเป็นภาษาไทยในปีค.ศ. 1930 ให้ชื่อว่า “กามนิต” มีภาพประกอบโดยอาจารย์ช่วง มูลพินิจ เนื้อหาแบ่งเป็นสองภาค คือ ภาคหนึ่ง บนดินมี 21 ตอน และภาคสอง บนสวรรค์ มี 24 ตอน รวมทั้งหมดมี 45 ตอน

หนังสือกามนิต ได้รับการยกย่องให้เป็นหนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน อ้างใน วิกิพีเดีย. กามนิต . [Online] accessed on 20 July 2011. Available from http://th.wikipedia.org/wiki/

(6-) ปกรณ์ กิจมโนมัย. กามนิ ต-วาสิ ฏฐี นวนิ ยายอิ งพระพุทธประวัติและหลักธรรม. (กรุงเทพฯ : ธรรมสาร, 2542), 43 – 48.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 29, 2024, 10:02:11 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28559
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: "แดนสุขาวดี" อยู่ที่ใดกันแน่.?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 29, 2024, 09:11:45 am »
0
 :25: :25: :25:

ทรรศนะของแดนสุขาวดีที่ปรากฏในพระสูตรมหายาน

ทรรศนะของพระสูตรมหายานมีแนวคิดเรื่องของจักรวาลและวิสุทธิภูมิที่สำคัญ คือ เรื่องโลกธาตุและพุทธเกษตร ในจูฬนีสูตรของพระไตรปิฎกเถรวาทระบุถึงขนาดและส่วนประกอบของโลกธาตุและจักรวาลเอาไว้ แต่มิได้ระบุถึงแนวคิดเรื่องพุทธเกษตรเลย เนื่องจากมิได้มีความเชื่อเรื่องนี้

แนวคิดพุทธเกษตรเริ่มปรากฏขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 7 ตามคัมภีร์มหายานต่างๆ ตามความหมายของพุทธเกษตรก็คือ ดินแดนที่มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติ ชื่อสุขาวดีเป็นชื่อของพุทธเกษตรและโลกธาตุแห่งหนึ่ง โดยเป็นที่ประทับของพระอมิตาภะ ซึ่งปรากฏอยู่ในคัมภีร์ตามแนวความคิดเรื่องพระพุทธเจ้ามากมาย

การจัดทิศทางตำแหน่งที่ตั้งต่างๆ ของพุทธเกษตรแต่ละแห่ง ผู้รจนาคัมภีร์นำเอาโลกที่เราดำรงอยู่นี้เป็นจุดศูนย์กลาง คือ โลกของพระศากยมุนีพุทธเจ้า ซึ่งในพระสูตรมหายานให้ชื่อโลกธาตุนี้ว่า “สหาโลกธาตุ” ซึ่งเป็นเพียงโลกธาตุหนึ่งในบรรดาหลายแสนโกฏิโลกธาตุ โลกธาตุของสุขาวดี อยู่ทางทิศตะวันตกของโลกเราระยะทางไกลจากโลกเราถึงหลายแสนโกฏิจักรวาล สุขาวดีโลกธาตุเป็นโลกของพระอมิตาภพุทธเจ้า

  ส่วนโลกธาตุอื่นนั้น เช่น
  อภิรติโลกธาตุเป็นโลกของพระอักโษภย-พุทธเจ้าอยู่ทางทิศตะวันออก
  วิศุทธิไวฑูรย์โลกธาตุเป็นโลกของพระไภษัชย-คุรุไวฑูรยประภาราชพุทธเจ้าอยู่ทางทิศตะวันออกเช่นกัน
  ไวปูลยโกศลโลกธาตุ เป็นโลกของพระรัตนสัมภวพุทธเจ้าอยู่ทางทิศใต้
  สิทธิกรรมโลกธาตุเป็นโลกของพระอโมฆสิทธิพุทธเจ้าอยู่ทางทิศเหนือ

ชื่อโลกธาตุของพระพุทธเจ้าต่างๆ นั้นมาจากการระบุไว้ในคัมภีร์มหายานหลายเล่ม แต่ละคัมภีร์จะให้ความสำคัญกับพระพุทธเจ้าแต่ละองค์ตามนิกายหรือสาวกของพระพุทธเจ้าองค์นั้นๆ เช่น ในคัมภีร์สุขาวตีวยูหสูตรจะบรรยายรายละเอียดของแดนสุขาวดีของพระอมิตาภะไว้อย่างละเอียด ในคัมภีร์ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา-ราชสูตรก็บรรยายรายละเอียด โลกของพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาราชพุทธ-เจ้าไว้

@@@@@@@

แนวคิดเรื่องของจักรวาลวิทยาตามคติของมหายานนั้น ต่างจากส่วนประกอบของจักรวาลในจูฬนีสูตรของเถรวาท เนื่องจากคุณสมบัติหรือคุณา-ลังการของแต่ละโลกธาตุนั้นต่างกัน พุทธเกษตรหรือโลกธาตุแต่ละแห่งจะสำเร็จได้ด้วยพุทธานุภาพของพระพุทธเจ้าแต่ละองค์ จึงเป็นเหตุให้ดินแดนเกษตรแต่ละแห่งนั้นมีคุณสมบัติที่ต่างกัน

ในพระสูตรมหายานโดยทั่วไป ก็จะกล่าวถึงแดนสุขาวดีอย่างเล็กน้อย มิได้ให้ความสำคัญมากเหมือนคัมภีร์ในนิกายของสุขาวดีเอง จึงทำให้รู้ว่าแดนสุขาวดีอยู่ทางทิศตะวันตก มิใช่สวรรค์อย่างที่คนทั่วไปเข้าใจ แต่เป็นโลกอีกโลกนึงหรืออาจจะเรียกว่าโลกต่างดาวก็ว่าได้

ผู้เขียนขอยกตัวอย่างพระสูตรมหายานบางเล่มนอกเหนือจากคัมภีร์ของนิกายสุขาวดีที่กล่าวถึงแดนสุขาวดี เช่น ในไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา-ราชสูตรกล่าวบรรยายว่า โลกธาตุของพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาราช-พุทธเจ้างดงามเทียบเท่าสุขาวดีโลกธาตุ ดังข้อความ

    "พื้นมหาปฐพีทำด้วยแก้วไพฑูรย์ ป้อมปราการ ปราสาทราชวังประตูหน้าต่าง ตาข่ายสายโยงประดับประดา ล้วนแล้วแต่ทำด้วยรัตนะทั้ง 7 ดินแดนนี้งดงามเทียบเท่ากับสุขาวดีโลกธาตุ" |(7-)

การกล่าวถึงแดนสุขาวดีในคัมภีร์สัทธรรมปุณฑรีกสูตร บ่งบอกถึงทิศตะวันตกของสุขาวดี ดินแดนนี้ไม่มีสตรี มีแต่บุรุษ มีดอกบัวเป็นสัญลักษณ์มีพระอมิตาภะเป็นนาย ดังข้อความ

    "ในทิศตะวันตก เป็นที่ตั้งของโลกธาตุซึ่งกระทำแต่ความสุข มีชื่อว่าสุขาวดี ดินแดนอันบริสุทธิ์ เป็นที่ประทับของพระอมิตาภะนายกะ ผู้เป็นสารถีฝึกสัตว์ทั้งปวง" || 30 ||

     "ไม่มีอิสตรีเพศ ไม่มีเมถุนธรรม โดยประการทั้งปวง ณ ที่นั้น บรรดาพระชินบุตรทั้งหลายอุบัติขึ้นโดยประทับนั่งบนใจกลางดอกบัวอันปราศจากมลทิน" || 31 ||

    "ส่วนพระอมิตาภะนายกะนั้น ประทับนั่งบนสิงหาสนะในใจกลางดอกบัวอันบริสุทธิ์และน่ารื่นรมย์ ทรงส่องแสงโอภาสประดุจพระศาลราช" || 32 || (8-)

ในคัมภีร์การัณฑวยูหสูตรซึ่งเป็นเรื่องราวของพระอวโลกิเตศวรทั้งเล่มได้กล่าวถึงแดนสุขาวดีเป็นส่วนประกอบบางบท แม้ว่าพระอวโลกิ-เตศวรจะเป็นสาวกของพระอมิตาภะ แต่ก็เป็นพระโพธิสัตว์ที่เด่นและเป็นที่ยอมรับของคนทั่วโลก พระอวโลกิเตศวรก็ประทับอยู่ ณ แดนสุขาวดีเช่นกัน แต่ในเนื้อหาของคัมภีร์นี้จะเน้นการช่วยเหลือสรรพสัตว์ของพระองค์ให้ไปเกิดยังแดนสุขาวดี ดังความว่า

    "ดูก่อน.! กุลบุตร พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์นี้ เป็นอจินไตยย่อมปรากฏให้เห็นเป็นรูปร่างมากมาย | ท่านได้ทำการอบรมพระโพธิสัตว์หลายแสนล้านโกฏิพระองค์ และทำให้สัตว์เหล่านั้นดำรงอยู่ในพระโพธิมรรค | เมื่อดำรงอยู่ในพระโพธิมรรคแล้ว ก็ย่อมไปถึงสุขาวดีโลกธาตุ | แล้วจึงได้สดับพระธรรมในสำนักของพระอมิตาภะตถาคต" || (9-)



ขอบคุณภาพจาก : https://www.blockdit.com/posts/619343f9fc6bab0cabb3dfcf


แดนสุขาวดีจากร่องรอยทางประวัติศาสตร์

เซอร์ ชาร์ล เอเลียต (Sir Charles Eliot) ผู้ทำการศึกษาวิจัยเรื่องตำนานของศาสนาในตะวันออกไกลและเอเชียกลาง ได้ค้นหาความเชื่อมโยงกันของศาสนาโซโรอัสเตอร์ (Zoroaster) แห่งอาณาจักรเปอร์เซีย(10-) ซึ่งส่งอิทธิพลมาจนเป็นลัทธิที่บูชาอมิตาภะ (Amidist) การเชื่อมโยงนี้เอเลียตได้พยายามอ้างถึงความคล้ายคลึงกันของ เทพที่นับถือบูชาและดินแดนที่เป็นเสมือนสวรรค์แห่งความสุข ชาวโซโรเอสเตอร์นับถือพระเจ้าอาหุรมาสดา(Ahura Mazda) เป็นเทพเจ้าสูงสุด

ประเด็นนี้อาจจะเชื่อมโยงกันทางด้านระบบเสียงในทางภาษาศาสตร์ เนื่องจาก Ahura เป็นภาษาในตระกูลอินโด-อิราเนี่ยน (Indo-Iranian) เป็นคำเดียวกับคำว่า Asura ในภาษาสันสกฤต คำว่า Mazda เป็นภาษาอเวสตะในตระกูลอินโด-อิราเนี่ยนเช่นกัน แปลว่า “ปัญญา” ตรงกับภาษาสันสกฤต คือคำว่า Medhā (11-)

เทพเจ้าอหุร มาสดา เป็นเทพแห่งแสงสว่าง คือ แสงสว่างแห่งปัญญา และรัศมีแห่งความรุ่งโรจน์ ที่ส่องสว่างไปถึงผู้ที่บูชาพระองค์ ดินแดนสวรรค์ของเทพเจ้าอหุร มาสดานั้น เป็นดินแดนที่บริสุทธิ์ มีเสียงเพลงที่ไพเราะเสนาะหู มีสวนดอกไม้ที่งดงาม(12-) ผู้ที่เคารพบูชาพระองค์เมื่อสิ้นชีวิตแล้ว เทพเจ้าอหุร มาสดาจะมานำวิญญาณไปสู่แสงสว่างแห่งสวรรค์ของพระองค์

ตำนานของพระพุทธ-ศาสนาในยุคเริ่มแรก สวรรค์ที่เรารู้จักกันดี คือ สวรรค์ชั้นดุสิต แต่สุขาวดีจะแตกต่างออกไปจากพุทธดั้งเดิม เอเลียตได้ค้นคว้าประวัติของพระพุทธ-ศาสนาที่มาจากต่างแดน เขาได้ตั้งข้อสังเกตถึงร่องรอยการเชื่อมโยงกันระหว่างสุขาวดีกับดินแดนเสากวัสตัน (Saukavastan) ซึ่งเป็นดินแดนศักดิ์-สิทธิ์อยู่ระหว่างเตอร์กิสถาน (Turkestan) และจีน ทั้งสุขาวดี (Sukhāvatī) และเสากวัสตัน (13-)

ทั้งสองคำนี้เป็นคำที่มาจากภาษาสันสกฤตออกเสียงคล้ายกัน แต่ก็ยังไม่มีผู้ใดกล้ายืนยันว่า สองดินแดนนี้เกี่ยวข้องกันอย่างไร เสา-กวัสตัน จะใช่ต้นแบบที่ส่งอิทธิพลให้เกิดแนวคิดของสุขาวดีหรือไม่ หรือเป็นแค่เรื่องบังเอิญทางด้านภาษาศาสตร์เท่านั้น แต่ที่แน่นอนต้นกำเนิดศาสนาเก่าแก่นี้มาจากทางตะวันตก ผู้นับถือศรัทธาพระอมิตาภะจึงมีความเชื่อว่า โลกธาตุอันบริสุทธิ์ที่พระองค์สถิตอยู่นั้นอยู่ทางทิศตะวันตกเป็นทิศที่ผู้บูชาปรารถนาจะไปให้ถึง

ดร.โลเกษ จันทระ (Lokesh Chandra) ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับรูปแบบพุทธศาสนาตันตระที่ได้รับอิทธิพลจากอิหร่าน เขาเสนอว่า การบูชาพระอมิตาภะได้รับความนิยมในพระพุทธศาสนามาก พระองค์ทรงมาแทนที่พระศากยมุนี การรู้แจ้งทางประวัติศาสตร์มาแทนที่การรู้แจ้งทางปัญญาของแนวคิดเดิม ถือว่าเป็นการพลิกโฉมรูปแบบใหม่ของพระตถาคตพระองค์ใหม่

โดยการเปลี่ยนมานับถือสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจใหม่ๆ แทนที่ของเดิมตามกาลเวลาทางประวัติศาสตร์ คือ พระศากยมุนีเปลี่ยนไปเป็นพระอมิตาภะ พระพรหมกลายเป็นพระอวโลกิเตศวร พระอินทร์กลายเป็นมหาสถามปราปตะ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากเทพเจ้าของโซโรอัสเตอร์ คือ เทพมิถรา (Mithra) เป็นเทพผู้ปกป้อง เทพรัสนุ (Rasnu) เป็นเทพแห่งความเป็นธรรม และเทพเศฺราสะ (Sraosa) เทพแห่งการเชื่อฟัง ซึ่งเทพทั้งหลายเหล่านี้ล้วนเป็นสาวกของเทพเจ้าอหุร มาสดา(14-)

@@@@@@@

ผู้ค้นคว้าวิจัยในประเด็นเกี่ยวกับวิวัฒนาการของศาสนา ส่วนใหญ่จะมีความเห็นตรงกันว่ารูปเคารพต่างๆ ในพระพุทธศาสนาและความเชื่อเรื่องพระพุทธเจ้าและสาวกมากมายนั้น ได้รับอิทธิพลมาจากความเชื่อเรื่องเทพเจ้ามากมายและศาสนาที่มาจากทางตะวันตก แล้วกลายไปเป็นตำนานต่างๆ มากมายในจีน มองโกล ทิเบต และญี่ปุ่นผ่านเส้นทางสายไหม โดยเริ่มจากอาณาจักรเปอร์เซียหรืออิหร่านผ่านมายังแบกเตรีย(Bactria) คาซคาร์(Kashgar) โกฐาน(Khotan) กุจ๊ะ(Kucha) เตอร์ฟัน(Turfan) (15-) ตุนหวง(Dunhuang) และเข้าไปแพร่หลายในจีน

ส่วนเส้นทางสายใต้ อิทธิพลตำนานของพระอมิตาภะนั้น แยกผ่านจากแบกเตรียลงไปยังเมืองตักสิลาและเมืองปุรุษปุระ(Peshawar) เข้าสู่อาณาเขตอินเดีย แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมนัก เนื่องจากศาสนาดั้งเดิมแข็งแกร่งกว่า(16-) เป็นที่แน่ชัดว่า แนวคิดเรื่องรูปเคารพจากทางอิหร่านหรือแนวคิดของศาสนาปาร์ซีเกิดขึ้นก่อนแนวคิดเรื่องพระอมิตาภะ ความสัมพันธ์และการเชื่อมโยงกันระหว่างพระธยานิพุทธและเหล่าบริวารโพธิสัตว์ก็ถูกนำมาเปรียบเทียบกับศาสนาโซโรอัสเตอร์

ลัทธิบูชาพระอมิตาภะหรือนิกายสุขาวดีมีผู้คนนับถือมากในประเทศจีนและญี่ปุ่น แต่ในอินเดียนั้นลัทธินี้ไม่ปรากฏว่าแพร่หลายนัก ในความนิยมเชื่อถือของชาวอินเดีย เนปาลและทิเบต ถือว่าพระอมิตาภะเป็นเทพองค์หนึ่งที่รวมหรือเป็นส่วนประกอบของเทพที่สำคัญองค์อื่นเสียส่วนมาก พระอมิตาภะจึงมีฐานะสภาพเพียงเทพชั้นรองตามคติพุทธมหายานเท่านั้น จะเห็นได้จากรูปเคารพของอมิตาภะที่มีตัวอย่างน้อยมากในศิลปะอินเดีย ผิดกับประเพณีบูชาเทพเคารพองค์อื่นๆ ของพุทธมหายาน อย่างเช่น พระโพธิสัตว์(17-)

คัมภีร์ของพุทธตันตระเริ่มปรากฏขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 12 พระเถระฝ่ายวัชรยานเริ่มจัดระเบียบตระกูลให้เทพเจ้า พระโพธิสัตว์และพระพุทธเจ้าที่กระจัดกระจายอยู่ในคัมภีร์เป็นจำนวนมาก จนเกิดเป็นต้นตระกูลของธยานิพุทธทั้ง 5 ต่อจากนั้นจึงมีลำดับตระกูลอื่นๆ ตามมาอีก

คัมภีร์นิกายตันตระนั้นส่วนใหญ่แล้ว จะให้ความสำคัญเกี่ยวกับการบรรยายเรื่องมณฑล และรูปลักษณ์ของเทพเจ้าต่างๆ นำไปสู่การสร้างประติมากรรมตันตระ วัชรยาน คัมภีร์ที่สำคัญ ได้แก่ คุหยสมาช มัญชูศรีมูลกะ เหวัชระตันตระสาธนมาลา นิสปันนโยคาวลี เป็นต้น โดยเฉพาะในคัมภีร์หลังนี้ จะเน้นเรื่องมณฑลและทิศทางที่อยู่ของพระพุทธเจ้าและบริวารในตระกูลของตน

พระอมิตาภะยังคงถูกกำหนดให้อยู่ทางทิศตะวันตกเหมือนในยุคแรกที่มหายานเฟื่องฟู ส่วนพระพุทธเจ้าองค์อื่นก็จะถูกกำหนดทิศทางที่อยู่ตามมณฑลต่างๆ ในคัมภีร์ หากแต่ยุคตันตระนี้ เรื่องของโลกธาตุ และพุทธเกษตรถูกลดบทบาทลงมิได้มีการกล่าวถึงเลย

เมื่อคำว่า “มณฑล” เข้ามาแทนที่ สุขาวดี พุทธเกษตรจึงมิได้มีความสำคัญในดินแดนตันตระอย่างทิเบตและเนปาล ซึ่งในดินแดนแห่งนี้จะให้ความสำคัญกับรูปองค์ของพระพุทธเจ้ามากกว่าทฤษฎีคำสอน ดังนั้นในยุคเดียวกันนี้ลัทธิสุขาวดีจึงไปรุ่งเรืองที่จีน ญี่ปุ่นเกาหลีแทน

(ยังมีต่อ..)







อ้างอิง :-

(7-) ไวฑูรฺยมยี จ สา มหาปฤถิวี กุฑยปฺราการ ปฺราสารท โตรณควากฺษ ชาลนิรฺยูห สปฺตรตฺนมยี, ยทฤศี สุขาวตี โลกธาตุสฺตาทฤศี |(คัมภีร์ ภษค. บทที่ 3)

(8-) ทิศิ ปศฺจิมตะ สุขากรา โลกธาตุ วิรชา สุขาวตี | ยตฺร เอษ อมิตาภนายกะ สํปฺรติ ติษฺฐติ สตฺตฺวสารถิะ || 30 || น จ อิสตฺริณ ตตฺร สํภโว นาปิ จ ไมถุนธรฺม สรฺวศะ อุปปาทุก เต ชิโนรสาะ ปทฺมครฺเภษุ นิษณฺณ นิรฺมลาะ || 31 || โส ไจว อมิตาภนายกะ ปทฺมครฺเภ วิรเช มโนรเม |สึหาสนิ สํนิษณฺณโก ศาลรโช ว ยถา วิราชเต || 32 || (คัมภีร์ สธป. บทที่ 24 โศลกที่30, 31, 32)

(9-) อจินฺตฺโย’ยํ กุลปุตฺร อวโลกิเตศฺวโร โพธิสตฺตฺโว มหาสตฺตฺวะ ปฺราติหารฺยาณิ สมุปทรฺศยติ | อเนกานิ จ โพธิสตฺตฺวโกฏินิยุตศตสหสฺราณิ ปริปาจยติ, สตฺตฺวำศฺจ ตานฺ โพธิมารฺเค ปฺรติษฺฐาปยติ | ปฺรติษฺฐาปยิตฺวา สุขาวตีโลกธาตุมนุคจฺฉติ | อมิตาภสฺย ตถาคตสฺยานฺติเก ธรฺมมนุศฤโณติ || (คัมภีร์กรฑ. ภาค2 บทที่ 2)

(10-) ศาสนาโซโรอัสเตอร์ได้ชื่อตามนามศาสดาผู้ให้กำเนิดซึ่งชื่อว่า ซาราธุสตรา (Zara-thustra) เป็นภาษากรีก ศาสนานี้สามารถเรียกได้อีกอย่างว่า ศาสนาปาร์ซี (Fravasi)เพราะเกิดขึ้นในเปอร์เซีย (อิหร่านในปัจจุบัน) เมื่อประมาณ 600 ปีก่อนคริสตกาล ศาสนานี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ลัทธิมาสดา (Mazdaism) ซึ่งมีความหมายว่าลัทธิบูชาพระเจ้าอาหุรมาสดา (Ahura Mazda) ได้แก่ พระเจ้าผู้เป็นจอมอสูร และอาศัยเหตุที่ว่า โซโรอัสเตอร์ประกาศว่า พระเจ้าอาหุรมาสดาเป็นพระเจ้าแห่งความดีและแสงสว่าง ผู้ที่นับถือใช้แสงประทีปเป็นเครื่องหมายแห่งการบูชา จึงเรียกว่า ศาสนาบูชาไฟ (Reli-gion of Fire Worshipper) คัมภีร์ทางศาสนา คือ คัมภีร์อเวสตะ (Avesta) อ้างในWikipedia . Zoroastrianism . [Online] accessed on 12 July 2011. Available from http://en.wikipedia.org/wiki/Zoroastrianism.

(11-) Wikipedia. Ahura Mazda. [Online] accessed on 12 July 2011. Available from http://en.wikipedia.org/wiki/Ahura_Mazda.

(12-) Santipriya Mukhopadhyay. Amitãbha and his Family. (Delhi : Agam Kala Prakashan, 1985), 57.

(13-) Puri, B.N., Buddhism in Central Asia. , 143.

(14-) Ibid., 142.

(15-) พระพุทธศาสนามหายานเคยมีชื่อเสียงอยู่ในเมืองโกฐานมาก่อนที่คริสต์ศาสนาจะเข้าไปครอบครองในภายหลัง ส่วนเมืองกุจ๊ะและเตอร์ฟันก็เคยเป็นศูนย์กลางพระพุทธ-ศาสนาเถรวาทมาก่อน อ้างใน Puri, B.N., Buddhism in Central Asia. , 141.

(16-) Eliot, Charles. Hinduism and Buddhism (Vol. III). (London : Routledge & Kegan Paul Ltd., 1921), 220.

(17-) พรหมศักดิ์ เจิมสวัสดิ์. “อมิตาภะ” เมืองโบราณ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (เม.ย. – ก.ค. 2525), 75.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 29, 2024, 09:49:11 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28559
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: "แดนสุขาวดี" อยู่ที่ใดกันแน่.?
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 29, 2024, 09:44:22 am »
0
.

ขอบคุณภาพจาก : https://www.blockdit.com/posts/619343f9fc6bab0cabb3dfcf


ทรรศนะของแดนสุขาวดีที่ปรากฏในพระสูตรนิกายสุขาวดี

คัมภีร์หลักของนิกายสุขาวดีมีอยู่ 4 คัมภีร์ คือ สุขาวตีวยูหสูตรจุลสุขาวตีวยูหสูตร อมิตา-ยุรธยานสูตร และอมิตายุสูโตรปเทศ คัมภีร์ที่กล่าวบรรยายถึงลักษณะของแดนสุขาวดีอย่างละเอียด คือ คัมภีร์สุขาวตีวยู-หสูตร ส่วนคัมภีร์อื่นเป็นการอธิบายถึงวิธีการไปเกิดยังสุขาวดี คัมภีร์สุขาวตี-วยูหสูตรประกอบไปด้วย 47 บท บทที่บรรยายภาพลักษณ์ของแดนสุขาวดี

คือ บทที่ 15–25 จึงทำให้รู้ว่าแดนสุขาวดีคือแดนในฝัน แตกต่างกับโลกของเราอย่างยิ่ง มีในสิ่งที่โลกเราไม่มี เนรมิตทุกอย่างได้ดั่งใจ ไม่มีคนชั่วมีแต่สิ่งดีงาม ส่วนผู้ที่ทำบาปจากโลกของเรา หากปรารถนาอยากมาเกิดยังแดนสุขาวดี เมื่อได้มาเกิดแล้ว ก็ต้องมาบำเพ็ญตนอยู่ในดอกบัวบนดินแดนนี้เสียก่อน จนกว่าจะหมดสิ้นจากบาปของตนซึ่งต้องใช้เวลานานหลายกัลป์ ข้อความที่บรรยายภาพลักษณ์อันวิจิตรพิสดารของแดนสุขาวดีโลกธาตุในคัมภีร์สุขาวตีวยูหสูตรนั้น เป็นการบอกกล่าวของพระศากยมุนี-พุทธเจ้าตรัสต่อพระอานนท์เถระ ดังข้อความที่ยกตัวอย่าง ดังนี้

    "ดูก่อน อานนท์.! อีกทั้ง โลกธาตุที่ชื่อว่าสุขาวดีของพระผู้มีพระภาคอมิตาภะนั้น มีฤทธิ์ กว้างขวาง เกษมสุข อุดมสมบูรณ์ น่ารื่นรมย์ เต็มไปด้วยเทวดาและมนุษย์มากมาย | ดูก่อน อานนท์.! และในโลกธาตุนั้นก็ไม่มีสัตว์นรก ไม่มีสัตว์เดรัจฉาน ไม่มีเปรตวิษัย ไม่มีอสุรกาย ไม่มีการเกิดในเวลาที่ไม่เหมาะสม | รัตนะทั้งหลายเหล่าใดที่มีอยู่ในสุขาวดีโลกธาตุ รัตนะทั้งหลายเหล่านั้นย่อมไม่มีทั่วไปในโลกเลย" || 15 ||

     "อีกอย่างหนึ่ง อานนท์.! เขาเล่าว่าในสุขาวดีโลกธาตุนั้น เมื่อถึงฤดูกาล เมฆฝนที่มีกลิ่นหอมเป็นทิพย์ก็ตกลงมาโดยทั่ว ดอกไม้ทั้งหลายที่มีสีทุกอย่างเป็นทิพย์ รัตนะทั้ง 7 ประการที่เป็นทิพย์ ผงจันทร์ที่เป็นทิพย์ ฉัตร ธง และริ้วธงที่เป็นทิพย์ก็พากันตกลงมาโดยทั่ว | ดอกไม้ที่มีสีทั้งปวงเป็นทิพย์ย่อมปรากฏขึ้นเป็นเพดานทิพย์ ฉัตรแก้วที่เป็นทิพย์ย่อมปรากฏขึ้นเป็นเครื่องอาภรณ์ทั้งปวงในอากาศ เครื่องดนตรีที่เป็นทิพย์ย่อมบรรเลงขึ้น และนางอัปสรที่เป็นทิพย์ก็ย่อมร่ายรำขึ้นมา" || 23 ||(18-)

เมื่อผู้อ่านได้ศึกษาเนื้อหาในคัมภีร์ทั้งเล่ม ก็จะทำให้เข้าใจถึงแนวคิดของดินแดนสุขาวดีจากผู้รจนาคัมภีร์มหายานในยุคนี้ แนวคิดที่ว่าพระพุทธเจ้าประจำตำแหน่งต่างๆ ของโลกธาตุของตน คอยอยู่เพื่อสั่งสอนเวไนยสัตว์ พระองค์มีญาณวิเศษที่สามารถติดต่อพระพุทธเจ้าจากโลกธาตุอื่นได้ ทำให้เรารู้ว่าแนวคิดนี้ไม่เพียงแต่จะบ่งบอกถึงลักษณะของแต่ละโลกแต่ละจักรวาลที่มีคุณสมบัติต่างกัน แม้แต่แนวคิดเรื่องกฎแห่งกรรมก็ยังมีเกณฑ์ที่ต่างกัน

บทสรุป

ร่องรอยจากประวัติศาสตร์ที่พอจะวิเคราะห์ได้บ้าง คือ จุดกำเนิดศาสนาโซโรอัสเตอร์ที่มีเทพเจ้าอหุร มาสดา เทพแห่งแสงสว่างและไฟเป็นเทพสูงสุด จนมีผู้วิจัยนำไปเชื่อมโยงกับการส่งอิทธิพลไปสู่พระอมิตาภะแห่งแดนสุขาวดี  ความเชื่อในประเด็นนี้เกิดจากศาสนาโซโรอัสเตอร์กำเนิดจากทางตะวันตก จึงทำให้มีความเชื่อว่าแดนสุขาวดีก็อาจอยู่ทางตะวันตกเช่นกัน

ต่อมาในยุคที่คัมภีร์มหายานเฟื่องฟู แนวคิดพุทธเกษตรเป็นที่กล่าวถึงกันมาก จึงทำให้เข้าใจว่าแดนสุขาวดีเป็นโลกธาตุหรือพุทธเกษตรแห่งหนึ่งในบรรดาหลายแสนล้านโลกธาตุ หรืออาจจะกล่าวว่าเป็นโลกต่างดาวก็ว่าได้

สุขาวดีโลกธาตุเป็นโลกธาตุที่มีชื่อเสียงที่สุดในบรรดาโลกธาตุทั้งหมด จากที่เราได้ยินได้ฟังนิยายที่ได้เขียนให้สุขาวดีเป็นชื่อสวรรค์ชั้นหนึ่ง คนทั่วไปอาจเข้าใจว่า สุขาวดีคือ สวรรค์ที่คั่นอยู่ระหว่างโลกมนุษย์กับแดนนิพพาน ซึ่งเป็นการเข้าใจที่ขาดหลักฐาน ต่อมาในยุคตันตระสุขาวดีแห่งทิศตะวันตกก็ถูกลดบทบาทลง เนื่องจากมีการจัดกลุ่มทิศทางของพระพุทธเจ้าองค์อื่นๆ ขึ้นมาอีกมากมาย








อ้างอิง :-

(18-) ตสฺย ขลุ ปุนรานนฺท ภควโต’ มิตาภสฺย สุขาวตี นาม โลกธาตุรฺฤทฺธา จ สฺผีตา จ เกฺษมา จ สุภิกฺษา จ รมณียา จ พหุเทวมนุษฺยากีรฺณา จ | ตตฺร ขลฺวานนฺท โลกธาเตา น นิรยาะ สนฺติ น ติรฺยคฺโยนิรฺน เปฺรตวิษโย นาสุราะ กายา นากฺษโณปปตฺตยาะ | น จ ตานิ รตฺนานิ โลเก ปฺรจรนฺติ ยานิ สุขาวตฺยำ โลกธาเตา วิทฺยนฺเต || 15 || ตสฺยำ ขลุ ปุนรานนฺท สุขาวตฺยำ โลกธาเตา กาเล ทิวฺยคนฺโธทกเมฆา อภิปฺรวรฺษยนฺติ ทิวฺยานิ สรฺววรฺณิกานิ กุสุมานิ ทิวฺยานิ สปฺตรตฺนานิ ทิวฺยํ จนฺทนจูรฺณํ ทิวฺยาศฺฉตฺรธฺวชป ตากา อภิปฺรวรฺษยนฺติ | ทิวฺยานิ สรฺววรฺณิกานิ กุสุมานิ ทิวฺยานิ วิตานานิ ธฺริยนฺเต ทิวฺยานิ จฺฉตฺรรตฺนานิ สรฺวาภรณานฺยากาเศ ธฺริยนฺเต ทิวฺยานิ วาทฺยานิ ปฺรวาทฺยนฺเต ทิวฺยาศฺจาปฺสรโส นฤตฺยนฺติ || 23 || (คัมภีร์ สขว. บทที่ 15 และ 23)




บรรณานุกรม

ภาษาไทย
- จำลอง สารพัดนึก. ไวยากรณ์สันสกฤตชั้นสูง. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2548.
- ปกรณ์ กิจมโนมัย. กามนิต-วาสิฏฐี นวนิยายอิงพระพุทธประวัติและหลักธรรม. กรุงเทพฯ : ธรรมสาร, 2542.
- สุมาลี มหณรงค์ชัย. พุทธศาสนามหายาน. กรุงเทพฯ : ศยาม, 2546.

ภาษาอังกฤษ
- Huet, Gérard. Lexique Sanskrit-français à l’usage de glossaire indianiste. Paris-Rocquencourt : inria.fr, 2004.
- Muller,F. Max, Bunyiu Nanjio. SUKHĀVATĪ – VYŪHA Description of SUKHĀVATĪ, The Land of Bliss. Aryan Series, Vol. I – Part II, Amsterdam Oriental Press, 1972.
- Perry, Edward Delavan. A Sanskrit Primer. New York : Columbia University press, 1936.
- Santipriya Mukhopadhyay. Amitãbha and his Family. Delhi : Agam Kala Prakashan, 1985.
- Puri, B.N., Buddhism in Central asia. Delhi : Motilal Banarsidass,1987.
- Eliot, Charles. Hinduism and Buddhism (Vol. III). London : Routledge & Kegan Paul Ltd., 1921.

วารสาร
- พรหมศักดิ์ เจิมสวัสดิ์. “อมิตาภะ” เมืองโบราณ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (เม.ย. – ก.ค. 2525).

เวปไซด์
- วิกิพีเดีย. กามนิต . [Online] accessed on 20 July 2011. Available from http://th.wikipedia.org/wiki/
- Wikipedia . Zoroastrianism . [Online] accessed on 12 July 2011. Available from http://en.wikipedia.org/wiki/Zoroastrianism.
- Wikipedia . Ahura Mazda. [Online] accessed on 12 July 2011. Available from http://en.wikipedia.org/wiki/Ahura_Mazda.
- University of Oslo. Buddhist Sanskrit Text. [Online] accessed on 2 April 2011. Available from http://www2.hf.uio.no/polyglotta/index.php
- University of the West. Digital Sanskrit Buddhist Canon. [Online] accessed on 2 April 2011. Available from http://dsbc.uwest.edu/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 29, 2024, 10:00:17 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28559
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: "แดนสุขาวดี" อยู่ที่ใดกันแน่.?
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 30, 2024, 05:30:02 am »
0
.


สุขาวดี

ตามความเชื่อของศาสนาพุทธนิกายมหายาน สุขาวดี (สันสกฤต: सुखावती สุขาวตี) คือ พุทธเกษตรของพระอมิตาภพุทธะ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของโลก สุขาวดีไม่ใช่นิพพาน แต่เป็นภูมิที่สาวกของพระอมิตาภะใช้ปฏิบัติธรรมต่อหลังจากสิ้นชีวิตบนโลกเพื่อบรรลุนิพพานต่อไป




ความเชื่อ

ในอมิตาภสูตรซึ่งเป็นพระสูตรมหายาน (ไม่ปรากฏในพระไตรปิฎกภาษาบาลี) ได้พรรณนาลักษณะของสุขาวดีพุทธเกษตรไว้ว่า เป็นดินแดนที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจบารมีของพระอมิตาภพุทธะ ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าในอดีตย้อนไปก่อนหน้าพระโคตมพุทธเจ้าไป 10 กัป ที่ได้ชื่อว่าสุขาวดีก็เพราะผู้อยู่ในดินแดนนี้ย่อมไม่มีความทุกข์เลย แต่เสวยสุขอยู่เสมอ สุขาวดีเป็นดินแดนที่สวยงามและสุขสบาย กล่าวคือ มีล้อมรอบด้วยภูเขาแก้ว กำแพงแก้ว มีสระโบกขรณีที่ประดับด้วยแก้วมณี มีดนตรีทิพย์บรรเลงอยู่เสมอ มีนกร้องออกมาเป็นเสียงธรรมเทศนา บรรยากาศต่าง ๆ นี้ทำให้ผู้อาศัยเกิดพุทธาสุสติ ธัมมานุสสติ และสังฆานุสสติ และตั้งใจปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุนิพพานในดินแดนแห่งนี้

ส่วนอมิตายุรัธยานสูตรระบุว่า ผู้ไปเกิดในแดนสุขาวดีแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือผู้ศรัทธาในมหายาน สาวกยาน และพวกมิจฉาทิฏฐิ แต่ละชั้นยังแบ่งออกเป็น 3 ระดับ จึงรวมทั้งสิ้นมี 9 ระดับ ผู้เกิดในระดับสูงจะใช้เวลาบำเพ็ญบารมีต่ออีกไม่นานก็จะได้บรลุธรรม ส่วนระดับต่ำลงไปก็จะใช้เวลนานขึ้นตามลำดับ โดยชั้นต่ำสุดจะใช้เวลา 12 กัปจึงจะบรรลุธรรม





ask1 ans1 ask1 ans1

ภาพประกอบทั้งหมดเป็น "วิหารสุขาวดีหมื่นพุทธ" ของวัดเล่งเน่ยยี่2 เป็นที่ประดิษฐานพระอมิตาภพุทธเจ้า ซึ่งเป็นองค์ประธาน มีพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และพระสถามปราปต์โพธิสัตว์เป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายและขวา รวมถึงเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธเจ้าหมื่นพระองค์ เป็นสัญญลักษณ์ว่า พระพุทธเจ้านั้น ได้อุบัติขึ้นมีจำนวนมากมาย เหมือนดั่งเม็ดทรายที่อยู่ในคงคามหานที วิหารสุขาวดีหมื่นพุทธยังเป็นที่นั่งวิปัสสนาและปฏิบัติธรรมของภิกษุสามเณรและประชาชนทั่วไป



การตีความ

แต่เดิมนิกายสุขาวดีถือว่า สุขาวดีเป็นพุทธเกษตรที่ดำรงอยู่จริง ๆ ทางกายภาพ และมีลักษณะดังที่พระสูตรได้อธิบายไว้ ต่อมามีการผสมผสานความเชื่อของนิกายนี้เข้ากับนิกายเซน ทำให้แนวคิดสุขาวดีถูกอธิบายในเชิงธรรมาธิษฐานว่า แท้จริงแล้วสุขาวดีเป็นเพียงแดนที่ถูกสมมติขึ้น เพื่อเป็นอุบายให้พุทธศาสนิกชนใช้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจว่า การหลุดพ้นจากทุกข์ไม่ใช่เรื่องยากลำบากเกินไป

การระลึกถึงพระอมิตาภะและพระโพธิสัตว์ต่าง ๆ ในสุขาวดีก็เพื่อเป็นอุบายให้นักปฏิบัติปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนของตน พระอมิตาภะแท้จริงหมายถึง ธรรมชาติพุทธะที่มีอยู่ในตัวคนทุกคนอยู่แล้ว การระลึกถึงพระอมิตาภะก็เพื่อน้อมนำจิตของผู้นั้นให้กลับก้าวไปสู่ความเป็นพุทธะต่อไป และแดนบริสุทธิ์สุขาวดีถูกตีความใหม่เป็นภาวะที่จิตที่บริสุทธิ์ที่มีอยู่แล้วในจิตของสรรพสัตว์ทั้งหลาย การปฏิบัติต่าง ๆ จึงทำเพื่อน้อมจิตให้กลับไปสู่สภาพบริสุทธิ์ดั้งเดิม การสวดพระนามพระอมิตาภะกลายเป็นการปฏิบัติสมาธิรูปแบบหนึ่ง ซึ่งต้องปฏิบัติควบคู่ไปกับการรักษาศีลและศึกษาพระธรรม




การประดับผนังวิหารด้วยพระพุทธรูปจำนวนมาก โดยใช้คำว่า "หมื่นพุทธ" แทนพระพุทธเจ้าจำนวนดังกล่าว 
เพื่อสื่อถึงคติของมหายานที่ว่า "พระพุทธเจ้าได้อุบัติขึ้นมีจำนวนมากมาย เหมือนดั่งเม็ดทรายที่อยู่ในคงคามหานที"
และยังกำหนดให้อาณาเขตของพระพุทธเจ้าจำนวนนับหมื่นนั้นเป็น "พุทธเกษร"


ลัทธิอนุตตรธรรม

ลัทธิอนุตตรธรรมมีความเชื่อเกี่ยวกับสุขาวดีต่างจากพระพุทธศาสนา ในพระโอวาทพระอนุตตรธรรมมารดาสิบบัญญัติ (จีน: 皇母訓子十誡‏) ซึ่งเป็นคัมภีร์เล่มหนึ่งของลัทธิอนุตตรธรรมระบุว่า สุขาวดีคือนิพพาน เรียกอีกอย่างว่าอนุตตรภูมิ (จีน: 理天 หลี่เทียน) เป็นที่ประทับของพระแม่องค์ธรรม พระเจ้าผู้สร้างสรรพสิ่ง และให้กำเนิดจิตจำนวน 9,600,000,000 ดวง สุขาวดีจึงเป็นต้นกำเนิดของเวไนยสัตว์ทั้งหลาย

พระแม่และดวงจิตทั้งหมดได้เสวยสุขร่วมกันบนสุขาวดีเป็นเวลานาน จนเมื่อพระแม่สร้างโลกขึ้นจึงส่งดวงจิตทั้งหมดลงมาเกิดบนโลก เพื่อใหช่วยกันพัฒนาโลกให้เจริญขึ้น แต่สรรพสัตว์กลับหลงลืมธรรมชาติบริสุทธิ์ดั้งเดิมของตน จึงต้องเวียนว่ายตายเกิดต่อไปและไม่สามารถกลับสู่สุขาวดีได้ พระแม่องค์ธรรมจึงต้องส่งพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ และเซียนทั้งหลาย ลงมาชี้แนะมนุษย์และนำพาเวไนยสัตว์กลับสู่นิพพานคือสุขาวดีซึ่งเป็นบ้านเดิมต่อไป



ภาพประกอบชุดนี้ยังเป็นวิหารสุขาวดีหมื่นพุทธ

ภาพนี้ถ่ายจากวิหารสุขาวดีหมื่นพุทธ(ชั้น ๔) วิหารที่เห็นคือ พระอุโบสถ




ขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
th.wikipedia.org/wiki/สุขาวดี

อ้างอิง
1. อมิตาพุทธสูตร, หลวงจีนวิศวภัทร มณีปัทมเกตุ แปล, พ.ศ. 2552
2. อมิตายุรัธยานสูตร, หลวงจีนวิศวภัทร มณีปัทมเกตุ แปล, พ.ศ. 2552
3. เสถียร โพธินันทะ, ปรัชญามหายาน, กรุงเทพฯ:มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2548, หน้า168-170
4. สุมาลี มหณรงค์ชัย, พุทธศาสนามหายาน, กรุงเทพฯ:ศยาม, 2546, หน้า 236-248
5. พระโอวาทพระอนุตตรธรรมมารดาสิบบัญญัติ : ข้อหนึ่ง
6. The Organization and Ideologies of the White Lotus Sects
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28559
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: "แดนสุขาวดี" อยู่ที่ใดกันแน่.?
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 30, 2024, 05:31:56 am »
0
.


พุทธเกษตร คือ อะไร

ชาวมหายานเชื่อว่าพระพุทธเจ้า และพระโพธิสัตว์ มีเป็นจำนวนมากมายในจักรวาลนี้ พระองค์เสด็จมาอุบัติเพื่อสั่งสอนธรรมอยู่ทั่วไปนับจำนวนไม่ถ้วน แม้ในโลกธาตุของเราจะว่างเว้นจากพระพุทธเจ้าแต่โลกธาตุอื่น ๆ ก็มีพระพุทธเจ้าองค์อื่น ๆ กำลังสั่งสอนสัตว์โลก โลกธาตุที่พระพุทธเจ้ามาอุบัติเรียกว่า “ พุทธเกษตร ” ซึ่งมีหลายแห่ง เช่น

     - พุทธเกษตรของพระพุทธไภสัชชคุรุไวฑูรย์ประภาราชา ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของโลกธาตุ
     - พุทธเกษตรของพระพุทธอักโฆภยะ มณฑลเกษตรของพระเมตไตรย โพธิสัตว์ในดุสิตสวรรค์ และ
     - สุขาวดีพุทธเกษตรของพระอมิตาภะ ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของโลกธาตุ เป็นพุทธเกษตรที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมของชาวมหายานเป็นส่วนมาก

     สุขาวดีพุทธเกษตรห่างจากโลกธาตุนี้แสนโกฏิ ผู้ไปอุบัติในพุทธเกษตรนั้นล้วนเป็นอุปปาติกะเกิดขึ้นในดอกบัว ไม่มีทุกข์โศก โรคภัย มีอายุอันนับประมาณมิได้ เป็นแดนเสมือนที่พักระหว่าง สังสารวัฏฏ์กับพระนิรวาณ ผู้ไปอุบัติในที่แห่งนี้ล้วนเป็นผู้เที่ยงต่อพระนิพพาน แต่ถ้ายังมีกิเลส ติดจากโลกอื่นไปก็จะได้รับการอบรมตัดกิเลสกัน ณ ที่แห่งนี้






การที่ชาวมหายานสร้างความเชื่อในเรื่องพุทธเกษตร อาจเป็นเพราะต้องการปลอบใจมหาชนที่ยังอยากมีชีวิตสุขสบาย ไม่ต้องการบรรลุนิพพาน คนส่วนมากคิดว่า การบรรลุนิพพานเป็นการยากยิ่งจึงต้องสร้างความเชื่อในเรื่องพุทธเกษตรขึ้นมา เพื่อสนองความต้องการของคนบางกลุ่มที่ยังรักความสะดวกสบาย ทำให้เกิดการตั้งปณิธานไปเกิดในพุทธเกษตรเพื่อเป็นพระโพธิสัตว์ และแล้วก็จะบรรลุนิพพานได้โดยสะดวกไปเอง

ซึ่งต่างจากพวกเถรวาท แม้จะเชื่อว่ามีพระพุทธเจ้ามากมายหลายองค์ มีโลกธาตุอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากโลกธาตุเรานี้ แต่ไม่ได้สอนให้มีการตั้งปณิธานไปเกิดในพุทธเกษตร การบรรลุหลุดพ้นของเถรวาทจึงเป็นไปอย่างรีบเร่งโดยไม่จำเป็นต้องรอไปถึงพุทธภูมิ เพราะต้องใช้เวลาอีกยาวนานแสนไกลกว่าจะบรรลุเป็นพระพุทธเจ้าได้ ชาวเถรวาทส่วนมากจึงมุ่งเพียงอรหันตภูมิยาน



        ภายในวิหารสุขาวดีหมื่นพุทธของวัดเล่งเน่ยยี่2 มีพระประธานอยู่ ๓ องค์ แต่ไม่ได้ติดป้ายพระนามเอาไว้ จากการหาข้อมูลจากวัดเล่งเน่ยยี่2 พออนุมานได้ว่า องค์กลางคือพระอมิตาภพุทธเจ้า องค์ที่เหลือเป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายและขวา คือ พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และพระสถามปราปต์โพธิสัตว์ สรุปก็คือ ที่นี่เป็นสุขาวดีพุทธเกษตรของพระอมิตาภะ..(ผู้โพสต์)


อ้างอิง
http://community.buddhayan.com/index.php?topic=2.msg2
http://www.buddhayan.com/?p=article&content_id=40
http://www.mahayana.in.th/tmayana/sukhavati.html
http://anamnikay.is.in.th/?md=webboard&ma=showtopic&id=40
ข้อมูลพระพุทธเจ้า ในทัศนะมหายานเพิ่มเติมที่
http://www.mahaparamita.com/Misc/BuddhaInMahayana.pdf
http://www.buddhist.saiyaithai.org
ที่มา : http://www.crs.mahidol.ac.th/thai/mahayana14.htm
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28559
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: "แดนสุขาวดี" อยู่ที่ใดกันแน่.?
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 30, 2024, 05:34:17 am »
0
.


ท่องแดนสุขาวดี(พุทธเกษตร)...ไปกับพุทธญาณ

ชื่อสวรรค์ชั้นสุขาวดี อาจจะไม่เป็นที่คุ้นเคยนักกับชาวพุทธเถรวาท แต่ชื่อนี้จะคุ้นเคยกันดีในหมู่พุทธมหายานหรือทาง ศาสนาเต๋า ในทางพุทธศาสนาแบบเถรวาท จะจัดชั้นของสุขคติภูมิ ออกเป็นภูมิมนุษย์, สวรรค์ 6 ชั้น, พรหม 16 ชั้น และอรูปพรหมอีก 4 ชั้น พวกเราจึงคุ้นเคยกันเพียงว่า สวรรค์ จะหมายถึง 6 ชั้น ซึ่งเป็นกามาวจรกุศล

ความจริงภูมิต่างๆ ที่แบ่งกันแบบที่เรารู้จักกันดีที่ว่านี้ เป็นเพียงภูมิหลักๆ เท่านั้น ในโลกของวิญญาณมีภูมิย่อยละเอียดอีกมาก มาย ตามกลุ่มประเภทหรือวาสนาบารมีของสัตว์โลกที่สั่งสมกันมากรรมดี-กรรมชั่ว ของสัตว์โลกจะจำแนกสัตว์โลกเป็นกลุ่มๆ พวกๆ ตามกรรมของพวกเขาเองกรรมแบบเดียวกันจะเป็นกลุ่มพวกเดียวกันไปเอง




ในทางพุทธมหายานแบบจีน ซึ่งผสมผสานกับแนวของเต๋า เขาจะเรียกสุขคติภูมิที่สูงกว่ามนุษย์ขึ้นไปทั้งหมดว่า สวรรค์ ดังนั้น คำว่า สวรรค์ของเขาจึงกินความกว้างเทียบกับที่เราคุ้นเคย ตั้งแต่ระดับของภูมิของภุมมะเทวดา หรือจาตุมหาราชิกาไปจนถึง นิพพาน ซึ่งเขา แบ่งกลุ่มระดับเป็น 4 ระดับ คือ
     1. ระดับล่าง
     2. ระดับกลาง
     3. ระดับสูง
     4. ระดับสุขาวดี




ถ้าสูงกว่านั้นคือ นิพพาน ทางฝ่ายมหายานและเต๋าเชื่อว่า ในระดับสุขาวดีนั้นผู้ที่ไปอุบัติขึ้น ได้ในชั้นนี้จะสามารถบำเพ็ญธรรมต่อไปชั้นสุขาวดีนี้ จนบรรลุมรรคผลเป็นพระอรหันต์ เข้าสู่นิพพานไปเลย ได้โดยไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีก แต่ตอนที่ยังอยู่ในดินแดนสุขาวดีนี้อาจจะลงมาเกิดเป็นมนุษย์อีกก็ได้ ถ้าปรารถนาจะเกิดเอง ซึ่งถ้ากลับมาเกิดก็เป็นการเข้าสู่วัฏจักรเดิม การได้เกิดชั้นสุขาวดีจึงอาจถือว่าพ้นการเวียนว่ายตายเกิดก็ได้ (ถ้าไม่ปรารถนาจะลงมาเกิดอีก) แต่ยังต้องบำเพ็ญธรรมเพื่อ ความหลุดพ้นเข้านิพพานอยู่



ดังนั้นในระดับสุขาวดี จึงเป็นที่ปรารถนาจะไปเกิดกันอย่างยิ่งในหมู่ชาวพุทธมหายานและศาสนิกชนเต๋า โดยผู้ได้ไปเกิดในระดับสุขาวดีนี้อาจจะยังไม่สามารถบรรลุผลใดๆ เลยก็ได้เพียงแต่ต้องสั่งสมบุญให้เพียงพอ ไม่เหมือนกับแดนพรหมชั้นสุทธาวาส ที่ผู้ไปเกิดในแดนระดับนี้จะบรรลุมรรคผลเข้านิพพานได้ในชั้นสุทธาวาสนี้ไม่ต้องกลับไปเวียนว่ายตายเกิดอีกเช่นกัน แต่ผู้จะไปเกิดในชั้นสุธาวาสได้ จะต้องบรรลุธรรมถึงระดับเป็นพระอนาคามีบุคคลเสียก่อน

การไปเกิดในสุทธาวาสจึงยากมาก ไม่เหมือนในสุขาวดีที่ไม่ต้องบรรลุธรรมเป็นพระอนาคามีก่อนก็ได้ ในสวรรค์ชั้นสุขาวดีนั้น จะเป็นแดนที่ประทับของพระโพธิสัตว์ ต่างๆ (ทางมหายาน) เช่น พระกวนอิม พระมหาสถามปราบต์โพธิสัตว์ เป็นต้น หรือผู้ที่ปฏิบัติในแนวทางโพธิสัตว์ที่บรรลโพธิสัตว์ภูมิ(ตามคติมหายาน) แม้บารมีมีเต็มแต่ยังไม่ยอมเข้านิพพาน ยังคอยโปรดสัตว์โลกอยู่ รวมทั้งเทพเจ้าทั้งหลายที่บำเพ็ญบรรลุธรรมตามแนวทางของเต๋า (ซึ่งทางจีนจะเรียกว่าเป็น วิสุทธิเทพ) ท่านเหล่านี้ยังคอยโปรดสัตว์โลกอยู่เช่นกัน




นอกจากนี้ในระดับสุขาวดีนี้ เป็นระดับที่มีพุทธเกษตรต่างๆ อยู่มากมาย พุทธเกษตร หมายถึง แดนที่มีพระพุทธเจ้า(พระฌานีพุทธเจ้า) ประทับเป็นประธาน (หรือผู้ปกครองแดน) อยู่ ที่มีชื่อเสียงมาก และเป็นที่ปรารถนาจะได้ไปเกิดกันมากใน หมู่ชาวพุทธมหายานก็คือ สุขาวดีพุทธเกษตรของพระอมิตาภะพุทธเจ้า

การบำเพ็ญบุญปฏิบัติธรรมเพื่อสั่งสมบารมีให้เพียงพอ และการผูกจิตมั่นต่อแดนนี้ (เช่นการภาวนาถึงพระนามของพระอมิตาภะ) จะสามารถทำให้ไปเกิดในแดนนี้ได้ ซึ่งจะได้มีโอกาสฟังธรรม จากพระพุทธเจ้า และปฏิบัติธรรม จนบรรลุมรรคผลเข้านิพพานพ้นทุกข์โดยเด็ดขาดได้ต่อไป และสภาพเป็นอยู่จะเป็นสุขตลอดไม่มีความยากลำบากเลย เพราะเป็นสุขคติภูมิ

ถึงแม้ว่าจะบรรลุมรรคผลเข้านิพพานได้ อาจกินเวลานานนับเป็นเวลาหลายๆ กัลป์ แต่ก็เป็นสุขตลอดกาลนั้น ไม่เหมือนการเกิดมาเป็นมนุษย์บำเพ็ญปฏิบัติ แม้ว่าอาจบรรลุถึงธรรมถึงนิพพานได้เร็ว แต่ก็ทุกข์ยากและเสี่ยงกับการพลาดพลั้งต้องไปเกิดในทุคติวินิบาตนรก ซึ่งจะยิ่งทำให้ล่าช้า และทุกข์มหันต์อย่างยิ่ง

สุขาวดีพุทธเกษตร จึงเป็นแดนบรมสุขแดนหนึ่งที่น่าไปหวังไว้อย่างยิ่ง สำหรับผู้ที่ไม่อาจจะปฏิบัติธรรมจนบรรลุมรรคผลได้ใน ชาติปัจจุบัน






ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.buddha-dhamma.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&No=135937
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28559
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: "แดนสุขาวดี" อยู่ที่ใดกันแน่.?
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พฤษภาคม 30, 2024, 05:46:41 am »
0
.



ทำความเข้าใจใหม่ “แดนสุขาวดี” ความรู้-ความเชื่อ-ความหมาย

หลังงานเสวนาเรื่อง “สุขาวดีที่ไม่รู้จัก” ที่สถาบันวัชรสิทธา ผมเหมือนได้ทั้งฟังความรู้อันไม่เคยรู้ และได้ฟังธรรมที่ไม่เคยฟัง แม้จะทำหน้าที่ผู้ร่วมเสวนาด้วย แต่ก็เหมือนได้กลับไปเป็นนักเรียนอีกครั้ง ทั้งนี้ก็ด้วยความรู้และประสบการณ์ทางธรรมของคนที่เข้าใจสุขาวดีอย่างอาจารย์ศุภโชค ชุมสาย ณ อยุธยา ผู้รู้ทั้งทางศาสนาและศิลปะอันเยี่ยมยอด อยากจะขอขอบคุณกัลยาณมิตรผู้นี้ด้วยศีรษะและใจที่ก้มลงบูชาหลายต่อหลายครั้ง

อาจารย์ศุภโชค หรือผมเรียกอย่างสนิทสนมว่า “พี่ดอน” เริ่มศึกษาเกี่ยวกับสุขาวดีด้วยตนเอง จนได้มีโอกาสพบนักบวชในนิกายนั้นๆ บ้าง จึงผสานเอาคำสอนและประสบการณ์มาเป็นส่วนหนึ่งในเส้นทางฝึกฝนของตน ที่สำคัญ คนเปี่ยมศรัทธาพูดออกมาจากใจด้วยศรัทธา ฟังแล้วก็ขนลุกขนพองละครับ

ผมจึงอยากเก็บเอาสิ่งที่ได้ยินได้ฟังจากงานวันนั้นมาแบ่งปันกับท่านผู้อ่านบ้าง เป็นบุปผามาลาบูชาคนสอนและมอบเป็นสินน้ำใจตัวหนังสือ ถ้ามีส่วนผิดอันนั้นย่อมเพราะความหลงลืมของผม ถ้ามีส่วนดีย่อมเป็นของท่านผู้สอนมิพักต้องสงสัย


@@@@@@@

นิกายสุขาวดี ที่จริงควรเรียกว่า นิกาย “วิสุทธิภูมิ” (pureland) จะตรงมากกว่า น่าสนใจว่า นิกายนี้เป็นผลผลิตของจีน มิใช่อินเดีย แม้จะมีรากอยู่ในอินเดียก็ตาม เช่นเดียวกับนิกายฉาน หรือนิกายเซนนั่นแล

เหตุที่เรียกว่าวิสุทธิภูมิ เพราะหมายมุ่งไปยัง “พุทธเกษตร” ของพระพุทธะอันมีนามว่าอมิตาภะ ซึ่งเป็นแดนพิสุทธิ์ สัตว์ใดไปเกิดที่นั่น ย่อมได้หลุดพ้นจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งหลายเป็นแน่

จีนกับอินเดียนั้น ในทางวัฒนธรรมและนิสัยใจคอต่างกันราวน้ำกับน้ำมัน ชาวจีนมีนิสัยเป็นนักปฏิบัติ ส่วนชาวอินเดียนั้นชอบทฤษฎี ปรัชญาของอินเดียจึงเต็มไปด้วยความซับซ้อนด้านอภิปรัชญาและเหตุผลอีนุงตุงนัง คล้ายกับปรัชญาตะวันตก

มิใช่ปรัชญาจีนจะไม่ซับซ้อน ทว่าไม่มุ่งเน้นการอธิบายความยืดยาวหรือแสดงความคิดด้านอภิปรัชญาหรือความจริงสูงสุดอะไรมากมาย แต่เน้นความคิดที่เรียบง่าย มีความชัดเจนในตัวเอง

ดังนั้น สิ่งที่อินเดียทะลวงเข้าไปในแผ่นดินจีนได้คือ “พุทธศาสนา” จึงถูกทำให้มีความเป็นจีนเสีย โดยลดความยุ่งยากในทางทฤษฎีหรืออภิปรัชญาลง และมีลักษณะในเชิงปฏิบัติมากขึ้น

มีผู้กล่าวถึงการเกิดขึ้นของนิกายเซนหรือฉานไว้มากแล้ว ส่วนสุขาวดีนั้นยังไม่มากพอ ทั้งที่ทั้งสองนั้นเคียงคู่กันมา

@@@@@@@

นิกายสุขาวดีหรือวิสุทธิภูมิไม่มีในอินเดีย และมีพระสูตรหลงเหลืออยู่เพียงสามพระสูตรสำคัญ โดยเข้าใจว่าต้นฉบับภาษาสันสกฤตก็ได้หายไปหมดแล้ว คือ พระมหาสุขาวดีวยูหสูตร พระจุลสุขาวดีวยูหสูตร และพระอมิตยุสธยานสูตร

พระสูตรเหล่านี้ไม่มีปรากฏในพระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาท แต่นั่นก็มิใช่ปัญหาของชาวมหายาน เพราะเขาถือว่า พระพุทธองค์อาจเทศนาในวาระต่างๆ กันไป และถึงจะบอกว่ามีคณาจารย์ในยุคหลังแต่งขึ้นก็ไม่ใช่ปัญหาอีก เพราะคณาจารย์เหล่านั้นก็เป็นพระนิรมาณกายของพระพุทธองค์ต่างๆ นั่นแหละ โดยคุณภาพจึงไม่ต่างกัน

ทั้งนี้ นิกายวิสุทธิภูมิได้แพร่หลายไปยังประเทศต่างๆ ที่พุทธศาสนาแบบจีนไปถึง เช่น เกาหลีและญี่ปุ่น ทั้งในแง่ที่เป็นตัวนิกายเอง หรือหลักคำสอนต่างๆ หลักปฏิบัติที่ไปผสมผสานอยู่ในนิกายอื่นๆ

ที่น่าสนใจคือ เมื่อไปถึงญี่ปุ่นแล้ว ก็ได้รับการพัฒนาเพิ่มเติมโดยคณาจารย์ของญี่ปุ่นเอง เกิดเป็นนิกายโจโด (วิสุทธิภูมิ) และโจโดชิน (วิสุทธิภูมิแท้) นิกายโจโดชินนี่เองที่เป็นนิกายที่มีประชาชนนับถือมากที่สุด โดยท่านชินรัน คณาจารย์ต้นนิกาย ผู้เป็นศิษย์ของโฮเนน

นักวิชาการมักจะบอกว่า เพราะมันง่าย แค่สวดถึงพระอมิตาภะแค่สิบคาบ ก็ไปบังเกิดในสุขาวดีได้แล้ว ไม่ยากเลย ใครๆ ก็เลยนิยม โดยเฉพาะชาวบ้านที่ไม่รู้หนังสือ ทว่าความง่ายของคำสอนนี่แหละที่ทำให้คณาจารย์เช่นท่านชินรัน ต้องเขียนหนังสือจำนวนมากตลอดชีวิตของท่านเพื่ออธิบายคำสอนเหล่านี้

@@@@@@@

ชาววิสุทธิภูมินั้นแตกต่างกับพุทธศาสนาโดยทั่วไปคือเชื่อใน “อำนาจภายนอก” ซึ่งโดยปกติแล้วเราก็เข้าใจว่าพุทธศาสนาปฏิเสธอำนาจภายนอก แต่ให้กลับมาสู่ความเชื่อมั่นในอำนาจของตนเอง ที่จะพาตนเองพ้นกิเลสได้ อำนาจภายนอกที่ว่า นี้คืออำนาจของพระอมิตาภะพุทธเจ้า ที่จะฉุดช่วยสรรพสัตว์ไปยังวิสุทธิภูมิของพระองค์

หลักศรัทธาของสุขาวดีจึงเริ่มต้นด้วยการเชื่อในอำนาจของพระอมิตาภะและมั่นใจว่า พระองค์ย่อมจะฉุดช่วย “ปุถุชน” อย่างเราแน่ๆ

ด้วยเหตุนี้ เราจึงไม่อาจเชื่อมั่นในอำนาจอะไรของ “ตัวตน” ของเราได้ ในนิกายโจโดชินจึงสอนว่า แม้แต่การปฏิบัติการสวด “นะโม อมิตพุทธ” (ภาษาญี่ปุ่นว่า นำโม อมิดาบุตสึ) ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติเดียวที่ง่ายที่สุดนั้น ก็ไม่เกี่ยวกับจำนวนมากน้อยหรือมุ่งมั่นแค่ไหน

เพราะหากเราคิดว่า การสวดของเราดีถึงขนาด และสวดมากจนพระอมิตาภะพึงพอใจ เพื่อที่เราจะถูกรับไปยังสุขาวดีแล้วไซร้ นั่นเท่ากับว่า เราไม่ได้เชื่อมั่นในอำนาจของพระอมิตาภะอย่างแท้จริง แต่เชื่อในพลังอำนาจการสวดหรือการปฏิบัติของตัวเราเอง

ท่านชินรันเห็นว่า การสวดนะโมอมิตพุทธ (อาจารย์ดอนท่านว่า ที่ไม่สวดว่า นะโม อมิตาภพุทธะนั้น ก็เพราะคำ อมิต รวมความทั้งพระอมิตาภะ และพระอมิตายุส ซึ่งเป็นพระนามทั้งสองของพระพุทธเจ้าองค์นั้น) เป็นเพียงการสรรเสริญพระปณิธานของพระองค์ ไม่ได้มีอำนาจวิเศษ หรือยิ่งสวดยิ่งขลังอะไรแบบนั้นเลย ก็เพราะไม่ว่าเราจะสวดมากน้อยแค่ไหน เราจะชั่วดีอย่างไร พระอมิตาภะย่อมนำเราไปสุขาวดีแน่ๆ

กระนั้นก็มิได้แปลว่า เราควรกระทำชั่วอย่างสบายใจ แล้วรอเข้าสุขาวดี (แม้ในพระสูตรจะรับว่าคนชั่วก็เข้าสุขาวดีได้) เพราะเมื่อไปยังสุขาวดีแล้วคนทำกรรมมากต้องใช้เวลายาวนานถึง 12 กัป กว่าดอกบัวที่บรรจุตนเองจะบานเพื่อรับธรรมจากพระอมิตาภะแล้วตรัสรู้ในที่นั้น

@@@@@@@

อาจารย์เสถียร โพธินันทะ ท่านว่า สุขาวดีเปรียบดังโรงแรมระหว่างไปนิพพาน คือเป็นสถานที่ที่มีสภาพแวดล้อมดี ช่วยให้ “ทุกคน” ที่ไปถึงยังที่นั่นได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณจนหมดสิ้น

นิกายนี้จึงไม่รังเกียจคนชั่ว คนต่ำต้อย ถึงกับมีคำกล่าวที่ชวนฉงนว่า “ก็คนชั่วยังเข้าในสุขาวดีได้ ไฉนคนดีจะเข้าในสุขาวดีไม่ได้” กล่าวคือ ปกติเรามักจะให้เกียรติคนดีก่อน แต่ในสุขาวดี ขนาดคนไม่ดีแค่ไหนยังไปได้ พวกคนดีก็ไม่ต้องเสียใจ ก็ย่อมไปได้แน่

พุทธศาสนาแบบสุขาวดีไม่ต้องห่วงคนดีมาก เพราะพวกนี้มีที่ไปอยู่แล้ว แต่พุทธแบบสุขาวดีห่วงหาอาทรคนชั่วหรือคนที่รู้ตัวว่าบกพร่องต่างหาก

ท่านชินรันผู้ก่อตั้งนิกายมักกล่าวเมื่อมีคนถามว่า ท่านจะได้ไปยังสุขาวดีไหม ท่านตอบว่า “ที่ที่ฉันจะไปน่าจะเป็นนรกมากกว่า” นั่นคือ ท่านแสดงถึงความบกพร่องที่ท่านมีอยู่ในใจเสมอ

แต่นั่นแหละครับ เอาเข้าจริงสุขาวดีแม้จะสุขสบาย แต่เป้าหมายไม่ได้หยุดแค่นั้น การไปสุขาวดี คือการรับเอาปณิธานว่า จะบรรลุเป็นพระพุทธะ เพื่อออกไปฉุดช่วยสรรพสัตว์ในโลกธาตุอื่นๆ ต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด

นี่เป็นมโนทัศน์ธรรม พื้นฐานของความเป็น “มหายาน” นั่นเอง


@@@@@@@

เมื่อท่านโฮเนนและท่านชินรันมรณภาพ (ไปบังเกิดในสุขาวดีแล้ว) สานุศิษย์จึงเชื่อว่า ที่จริงทั้งสองท่านก็คือ นิรมาณกายของพระอมิตาภะหรือพระพุทธะในแดนนั้นกลับมายังโลกของเรา เพื่อสั่งสอน ฉุดช่วยสรรพสัตว์ต่อไปอีก

ที่จริงคำสอนสุขาวดีนั้นกว้างใหญ่ไพศาล ตีความได้มากหลาย บางท่านจึงกล่าวว่า ที่จริงแล้ว พระอมิตาภะคือตัวเราแต่ละคนนี่เอง จึงมีคำกล่าวว่า ใจของเรากับใจของพระอมิตาภะไม่ต่างกัน หากเรามีความรักความกรุณา เราก็คือพระอมิตาภะ และโลกของเราก็ย่อมเป็นวิสุทธิภูมิไปด้วย

ดังนี้แล้ว นิกายนี้จึงควรค่าแก่การศึกษา ค้นคว้า และหาความหมายอย่างยิ่ง มิได้เป็นแค่ “ความงมงาย” หรือ “จุดเสื่อม” ของพุทธศาสนา อย่างที่เคยกล่าวกัน





ขอขอบคุณ :-
ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 10-16 สิงหาคม 2561
คอลัมน์ : ผี-พราหมณ์-พุทธ
ผู้เขียน : คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง
เผยแพร่ : วันพฤหัสที่ 16 สิงหาคม พ.ศ.2561
URL : https://www.matichonweekly.com/column/article_126179
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28559
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: "แดนสุขาวดี" อยู่ที่ใดกันแน่.?
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: พฤษภาคม 30, 2024, 06:19:20 am »
0
.

ภาพวาด พุทธอมิตาภะ ในดินแดน สุขาวดี


“สุขาวดี” คืออะไร.? ทำอย่างไร.? จึงจะได้เข้าสู่แดนสวรรค์อันบริสุทธิ์ของชาวพุทธ

หนังสือ “ปรัชญามหายาน” ของอาจารย์เสถียร โพธินันทะ บอกเราผู้อาจยังไม่คุ้นเคยกับพุทธศาสนาคติมหายานมาก่อนได้รู้ว่า สุขาวดี เป็นนิกายหนึ่งในหลาย ๆ นิกายของมหายาน เช่น นิกายสัทธรรมปุณฑริกะ (เทียนไท้) และนิกายเซน (ธยานหรือเซี่ยงจง) เป็นต้น นอกจากนั้นยังได้รู้ว่า นิกายสุขาวดีมีสวรรค์อันบริสุทธิ์นามว่า สุขาวดีที่น่ารื่นรมย์สำราญ มีพุทธอมิตาภะเสด็จประทับแสดงธรรมอยู่มากมาย พร้อมด้วยหมู่พระโพธิสัตว์ พระอรหันต์ และบรรดาสาวกอีกเหลือคณานับ

สุขาวดี มีความหมายตามตัวอักษรว่า ดินแดนแห่งความสุข สุขา คือ ความสุข วดี ในพจนานุกรม ฉบับมติชน คือ รั้วหรือกำแพง หรือเครื่องตกแต่ง

สุขาวดีเป็นที่ปรารถนาของชาวพุทธ ต้องการจะไปเกิดหรืออุบัติ ณ ภพภูมินั้นเมื่อถึงคราวสิ้นอายุขัยจากโลกมนุษย์นี้ไปแล้ว ไม่แต่เท่านั้น สำหรับผู้มีจิตแน่วแน่ในทางธรรม ก็ยังสามารถเข้าสู่แดนสุขาวดีได้แม้ขณะเมื่อยังมีชีวิตอยู่ ความละเอียดเรื่องนี้จะกล่าวถึงข้างหน้า น่าสนใจมากใช่ไหมครับ ที่เราสามารถเข้าสู่แดนสุขาวดีได้ แม้ขณะยังมีชีวิตอยู่!

ในวรรณคดีเชิงพุทธศาสนาคติมหายานของ คาร์ล เจลเลอรุป (Karl Gjellerup) ผู้เป็นนักเขียนนวนิยายรางวัลโนเบลไพรซ์ ปี 2464 ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกสั้น ๆ ว่า เค.จี. ซึ่งรู้จักกันว่าชื่อเรื่อง กามนิตผู้แสวงบุณย์ (The Pilgrim Kamanita) แต่ในบ้านเรารู้จักกันดีว่า วาสิฏฐี (แปลโดยเสฐียรโกเศศและนาคะประทีป) ครั้งหนึ่งเคยกำหนดให้เป็นหนังสือเรียนวรรณคดีชั้นมัธยมปลาย… สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ยังแนะนําว่าเป็นหนังสือดี หนึ่งในร้อยเล่มที่คนไทยควรอ่านอีกด้วย

ขณะเดียวกัน ดร.พิศมัย อินทรชาต อยู่โพธิ์ เขียนเป็นภาษาอังกฤษชื่อ The Pilgrim Kamanita : The Truth Seeker มีชื่อไทยว่า กามนิตผู้แสวงหาสัจธรรม



ภาพวาดพุทธอมิตาภะ ในดินแดนสุขาวดี เขียนขึ้นในยุคโชซอน เกาหลี ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18- ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ภาพจาก metmuseum.org, Public Domain)


ส่วนท่านอมโรภิกขุ พระฝรั่งสายพระอาจารย์ชา วัดหนองป่าพง… ท่านได้อ่านเรื่องวาสิฏฐีจากต้นฉบับภาษาอังกฤษและภาษาเยอรมัน ท่านสนใจมาก ได้ทำภาคผนวกโดยพิสดาร เผยแพร่ไว้ในอินเตอร์เน็ตด้วย

จแดนสุขาวดี จึงน่าจะเป็นที่รู้จักโดยกว้างขวางและคงเป็นที่ปรารถนาไปอุบัติหรือเกิด ณ ดินแดนทิพยสถานแห่งนั้นเป็นแน่นอน ขอยกตัวอย่างภาพอันงดงามของแดนสุขาวดีจากปากคำของวาสิฏฐี ดังนี้

    “สวรรค์อันมีความสว่างรุ่งเรืองหาเขตมิได้นั้น มีอยู่ทางทิศตะวันตก ถ้าผู้มีใจเด็ดเดี่ยวรู้สึกเบื่อหน่ายในสิ่งซึ่งเป็นวิสัยโลก แล้วตั้งจิตเป็นสมาธิมุ่งแต่สถานอันเป็นบรมสุข ก็จะได้ไปจุติอยู่ในดอกบัวบนแดนสวรรค์ ผู้ใดมุ่งแต่สวรรค์ก็จะเป็นปัจจัยให้เกิดดอกไม้ทิพย์ขึ้นในน้ำอันศักดิ์สิทธิ์ในทะเลแก้ว ความตรึกนึกที่บริสุทธิ์ทุกครั้ง ความดีที่กระทำทุกเมื่อเป็นเหตุให้ดอกไม้ทิพย์นั้นเจริญยิ่งขึ้น ถ้าความคิด วาจา และการกระทำเป็นไปในทางชั่ว ก็จะเป็นเหมือนดังหนอนที่บ่อนไส้ ให้ดอกไม้ทิพย์นั้นเหี่ยวแห้งไปโดยเร็ว”

จากคำบอกเล่านั้น แดนสุขาวดีอยู่ทางทิศตะวันตก ซึ่งตรงตามคัมภีร์มหายาน ดอกไม้ทิพย์คือดอกบัว และตามเรื่องราว กามนิตไปเกิดก่อน วาสิฏฐีไปเกิดภายหลังใกล้ ๆ กันตามที่มีจิตมุ่งมั่นไว้ แต่กว่าวาสิฏฐีจะได้เกิด ดอกไม้ก็เกือบจะเป็นหนอนบ่อนไส้ เพราะเธอเคยคิดจะฆ่าสามีโดยร่วมมือกับองคุลิมาล ถือเป็นการกระทำปาณาติบาต แต่ทางชั่วก็มิได้เกิดขึ้น ดอกไม้ทิพย์จึงคืนกลับสู่ความงามดังเดิม และเธอก็ได้เกิดในดอกบัวใกล้ ๆ กับกามนิตสมปรารถนา

@@@@@@@

อย่างไรก็ดี แดนสุขาวดีของ เค.จี. มิได้เป็นนิรันดร เทพและเทวีบางองค์ย่อมหมดบุญ ตกสวรรค์ชั้นสุขาวดีได้ หากมิได้เจริญธรรมอย่างเคร่งครัดอันจะคงความเป็นทิพย์หรือเป็นพลังบุญหนุนส่ง และการขาดผู้มีพลังบุญช่วยเหลืออุปถัมภ์ กามนิตนั้นมีพลังบุญไม่มาก ริม ๆ จะตกสวรรค์เหมือนเทพองค์อื่น แต่เพราะมีวาสิฏฐีช่วยเหลือจึงมีโอกาสเลื่อนชั้นสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ จนบรรลุนิพพานได้ในที่สุด คือ เข้าสู่แดนพุทธภูมิ ไม่คืนกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีกเลย

ประเด็นแดนสุขาวดี อยู่ทางทิศตะวันตก ของ เค.จี. ตามความเห็นของท่านอมโรภิกขุ บอกว่าเป็นความเชื่อของสำนักมหายานโบราณตอนเหนือของประเทศอินเดีย ซึ่งแท้จริงแล้วสุขาวดีมีถึง 5 แห่ง ทั้ง เหนือ ใต้ ออก ตก และตรงกลางอีกด้วย ดังนี้

    ทิศเหนือ ชื่อ Amoghasiddhi
    ทิศใต้ ชื่อ Ratanasambhava
    ทิศตะวันออก ชื่อ Akshobya
    ทิศตะวันตก ชื่อ Amitabha
    กลาง ชื่อ Vairocana

ส่วนสำนักพุทธมหายานทางใต้ ยืนตามคติพราหมณ์ คือ สวรรค์มี 3 ชั้น แต่ไม่มีที่ประทับของพระอมิตาภะอยู่ในชั้นใดเลย


@@@@@@@

คติเถรวาท สวรรค์มี 4 ชั้น โดย สรุปก็คือ

- ชั้นต้น ชาวสวรรค์ในชั้นนี้มีโอกาสตกลงไปเกิดในโลกมนุษย์ไม่เกิน 7 ครั้ง แต่จะไม่ไปเกิดเป็นสัตว์หรือตกนรก
- ชั้นที่ 2 ชาวสวรรค์ในชั้นนี้กลับไปเกิดในโลกมนุษย์ได้เพียงครั้งเดียว
- ชั้นที่ 3 ไม่กลับไปเวียนว่ายตายเกิดอีกเลย
- สําหรับสวรรค์ชั้นที่ 4 เป็นชั้นของพุทธอรหันต์ ซึ่งจะไม่กลับไปเวียนว่ายตายเกิดอีกไม่ว่าในภพภูมิใด ๆ

ดังกรณีของเจ้าชายปุกกุสาติ กล่าวคือ โดยพลันที่ถึงตาย ก็ได้เกิดทันที ในสวรรค์ชั้นที่ 4 ที่เรียกว่าชั้นอวิหา (Aviha) เป็นชั้นวิสุทธิภูมิสูงสุด

ในธาตุวิภังคสูตร กล่าวว่า ปุกกุสาติ ผู้ครองนครคันธาระ อยู่ย่านแคชเมียร์ ในอินเดียตอนเหนือ (ปัจจุบันอยู่ในปากีสถาน) สละราชสมบัติออกแสวงบุญเป็นนักบวช ได้พบกับพระพุทธองค์ในเรือนโถงของกุมภะช่างปั้นหม้อ ชานมหานครราชคฤห์ พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมให้ฟัง ปุกกุสาติซาบซึ้งในธรรมนั้นมาก ขอบวช พระพุทธองค์ทรงอนุญาต แต่ให้หาบาตรและจีวรมาเอง ขณะหาบาตรและจีวรถูกแม่โคบ้าขวิดตาย เชื่อกันว่าความในพระสูตรตอนนี้ เป็นต้นแบบให้ เค.จี. เขียนเรื่องวาสิฏฐี

ถึงตรงนี้เราก็ได้ทราบว่า สุขาวดีเป็นทิพยสถาน ตั้งอยู่ในมหาสากลจักรวาล มิใช่มีแต่ทางทิศตะวันตกเท่านั้น แต่มีอยู่ทุกทิศดังได้กล่าวแล้ว ปัญหาจึงเกิดขึ้นว่าเราจะเข้าไปสู่แดนสุขาวดีได้อย่างไร แม้ เค.จี. จะบอกผ่านมาทางวาสิฏฐีบ้างแล้วก็ตาม

@@@@@@@

ในปรัชญามหายาน ของ อาจารย์เสถียร โพธินันทะ ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้แล้วโดยพิสดาร ในหมวดนิกายสุขาวดี (เจ้งโท้วจง) สรุปความว่า ผู้จะถึงแดนสุขาวดีได้ จะต้องมีคุณสมบัติทำนองนี้

1. ต้องมีกตัญญูกตเวที ปรนนิบัติบิดามารดา ครูอาจารย์ และรักษากุศลกรรมบถ 10
2. ต้องถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ สมบูรณ์ในศีลสิกขาและอภิสมาจาร
3. ต้องมีโพธิจิต เชื่อในกฎแห่งกรรม และศึกษาเล่าบ่นในคัมภีร์มหายาน
4. ต้องเจริญสมถกัมมฐาน 16 ประการ (จับลักกวงมึ้ง) สำหรับเพ่งพินิจคุณาลังการต่าง ๆ ในแดนสุขาวดี

ท่านผู้มีคุณสมบัติ 4 ประการนี้ ประตูสวรรค์สุขาวดีย่อมเปิดต้อนรับทันที

ตรงข้อ 4 ขยายความว่า การเจริญสมถกัมมฐาน 16 ประการ น่าจะหมายถึง การเจริญสติปัฏฐาน 4 กาย เวทนา จิต ธรรม ประกอบการเจริญลมหายใจเข้า-ออก อย่างละ 4 ลักษณะ เพื่อการเกิดสมาธิ และอาจรวมถึงวิธีอื่น ๆ ซึ่งมีอีกหลายวิธี เช่น เพ่งกสิณ 10 และเพ่งอสุภ 10 เป็นต้น (ดู พุทธธรรม-ฉบับเดิม ของ พระพรหมคุณาภรณ์-ป.อ. ปยุตฺโต) เมื่อเจริญสมาธิแก่กล้าดีแล้วย่อมได้ฌาน (absorption)



ภาพวาดพุทธอมิตาภะ ในดินแดนสุขาวดี เขียนขึ้นในธิเบตตอนกลาง ราวคริสต์ศตวรรษที่ 17-18 (ภาพจาก metmuseum.org, Public Domain)


ฌาน ก็คือ ธยาน (ในบาลีสันสกฤต) หรือฉาน (ในภาษาจีน) หรือเซน (ในภาษาญี่ปุ่น) คือการเพ่งอารมณ์จนกระทั่งจิตสงบ ตั้งมั่นแน่วแน่

เมื่อเจริญสมาธิจนได้ฌานแล้ว ก็จะได้สัมผัสพิเศษตามมา เรียกว่าได้อภิญญา ทางจิตวิทยาเรียกว่าได้อีเอสพี (ESP-Extra Sensory Perception) ซึ่งมี 6 อย่าง คือ

อิทธิวิธี คือการแสดงฤทธิ์ได้เป็น magical power และมโนมยิทธิ เป็น psychic power, หูทิพย์, ตาทิพย์, รู้ความคิดผู้อื่น รู้เหตุการณ์ข้างหน้า, ระลึกชาติได้, หยั่งรู้ความสิ้นอาสวะของตน

สัมผัสพิเศษเหล่านี้ได้จากการเพ่งกสิณ โดยใช้วัตถุภายนอกเข้าช่วย จิตรวมกันเป็นหนึ่ง วัตถุที่ใช้เพ่ง คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว อากาศ (ช่องว่าง) แสงสว่าง ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อให้เหมาะกับการเพ่งโดยเฉพาะ

ในคติมหายานใช้การเพ่งไปยังสรรพสิ่งที่เชื่อว่ามีอยู่ในแดนสุขาวดี เช่น ต้นไม้ทิพย์ สระโบกขรณี ปราสาท ราชมณเฑียร และพระรูปของอมิตาภะกับปวงโพธิสัตว์ เพ่งว่าตนไปเกิดในดอกบัวสีสวยต่าง ๆ การเพ่งอย่างมุ่งมั่นแน่วแน่ ภาพของแดนสุขาวดีที่สวยสดงดงามอลังการย่อมปรากฏในนิมิต (mental image) ผู้ที่ฝึกฝนอย่างแก่กล้าจะสามารถจัดการ (mastery) ภาพงามได้ตามปรารถนานั้น ๆ ขึ้นทันใด เป็นภาพเล็กภาพใหญ่ งดงามสดใสขึ้นได้เร็วหรือช้าแค่ไหนก็ได้ในกาลปัจจุบัน โดยไม่ต้องรอเอาเมื่อเวลามรณะไปแล้วนั่นเลย นี่แหละคือการไปสู่สุขาวดีได้ในปัจจุบัน ที่ไม่ต้องรอให้ตายก่อนแต่อย่างใด

ความตอนนี้ระบุไว้ในอมิตายุรธยานสูตร (กวงบ้อเหลียงสิ่วเก็ง) อันเป็นคัมภีร์หนึ่ง ในสี่คัมภีร์สำคัญของมหายาน จึงผู้ปรารถนาสุขาวดี จำต้องพร่ำบ่นคัมภีร์เหล่านี้จงมาก จะได้เข้าถึงสุขาวดีขณะยังมีชีวิตอยู่ได้ง่าย ๆ

@@@@@@@

อีกประการหนึ่ง เมื่อไปเกิดในแดนสุขาวดีแล้ว ย่อมมีโอกาสพลัดหล่นกลับสู่วัฏจักรของการเวียนว่ายตายเกิดได้อีก ถ้ายังมีมิจฉาทิฏฐิ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่า กั้นขวางมหาเมตตากรุณา ย่อหย่อนในหิริโอตตัปปะ ทำลายกุศลกรรมผู้อื่น มากด้วยโมหะ และขาดกำลังผู้อื่นช่วย

เฉพาะในข้อหลังนี้ ตัวอย่างคือ ในกรณีของกามนิต ซึ่งหมดบุญและเกือบจะตกสวรรค์อยู่แล้ว แต่มีวาสิฏฐีเป็นผู้ช่วย ทำให้ได้หลุดพ้น จากวัฏจักรของการเวียนว่ายตายเกิดได้อุบัติตนในสวรรค์สูงขึ้นไปและเห็นแจ้งในพุทธธรรมได้ในที่สุด (โปรดดูวาสิฏฐีภาคสวรรค์ ซึ่งเป็นคำอธิบาย ของ เค.จี. ตามคติมหายานได้ชัดแจ้งและงดงามยิ่ง)

อย่างไรก็ดี ในมิติของปรัชญาสุขาวดีมิได้อยู่ไกลแสนไกลในมหาสากลจักรวาล และมิได้อยู่ในนิมิตใด ๆ เลย แต่อยู่ใกล้แสนใกล้ในจิตมนุษย์นี่เองหากไม่มีอวิชชามาบดบังไว้


อ่านเพิ่มเติม :-

   • ตามรอยนักเขียนนิยายรักใคร่อิงพุทธมหายาน สู่ “กุสินารา” เมืองที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน
   • นิยามความรักสีดำของ “วาสิฏฐี” นางเอกหัวก้าวหน้าในนวนิยายอิงพระพุทธศาสนา





ขอขอบคุณ :-
ที่มา : ศิลปวัฒนธรรม ฉบับพฤศจิกายน 2556
ผู้เขียน : ส.สีมา
เผยแพร่ : วันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 27 พฤษภาคม 2564
URL : https://www.silpa-mag.com/culture/article_68025
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 30, 2024, 06:31:31 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ