ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ทำบุญตักบาตร แล้ว ใครได้ บุญ มากน้อยกว่ากัน  (อ่าน 4777 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

นาตยา

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 136
  • ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่านที่เป็นกัลยาณมิตร
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
พอดี หนูเห็นการ์ตูน หลวงพี่เอี้ยง ที่คุณพรทิพย์ โพสต์ไว้ อ่านแล้วก็มานึกถึงตนเอง

คือที่บ้านหนู เป็นชาวพุทธ นับถือพุทธศาสนา

คุณพ่อเป็นคนทีต้องทำงานแต่เช้าออกไปทำงาน พร้อมคุณแม่ ตั้งแต่ ตี 4 อาชีพชาวสวน ส่งผัก คะ

คงเหลือ หนู และ ยาย และ น้อง กับ ตา สี่คนที่บ้าน

ทุกวัน คุณพ่อ และ คุณแม่ จะสั่งให้หนูใส่บาต และ ท่านจะเตรียมอาหาร และ ดอกไม้ ไว้ให้

โดยที่คุณพ่อ หนู เป็นคนให้เงิน คุณแม่หุงหา อาหาร และ กับข้าว

ส่วนหนูกับ น้อง เป็นผู้ใส่บาตร พระในตอนเช้า

ที่จริงเองหนู ก็ไม่มีศรัทธา ใส่ เพราะบางวันนั่งรอพระ แล้ว พระไม่มา ต้องไปโรงเรียนสาย

ทำให้เกิดเ้ถียง กับ พ่อแม่ เรื่องใส่บาตร บ้าง บางวัน ก็เลยแกล้งลืมไม่ใส่


  คำถามนะคะ

    1. ระหว่าง หนู คุณพ่อ คุณแม่ ใครได้บุญมากกว่ากันคะ

    2. วันไหนที่หนู ไม่ได้ใส่บาตร คุณพ่อ คุณแม่ ได้บุญหรือป่าวคะ

    3. ระหว่างที่หนูใส่บาตรพระ ในขณะที่ไม่มีศรัทธา (เป็นบางวัน) หนูได้บุญหรือป่าวคะ

    4. บุญของการใส่บาตร พระสงฆ์ มีอานิสงค์ อะไรบ้างคะ


 :c017: :25: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 30, 2010, 02:06:07 pm โดย นาตยา »
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ทำบุญตักบาตร แล้ว ใครได้ บุญ มากน้อยกว่ากัน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 30, 2010, 08:05:46 pm »
0
บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ (ที่ตั้งแห่งการทำบุญ, ทางทำความดี)
 
๑. ทานมัย (ทำบุญด้วยการให้ปันสิ่งของ)
๒. สีลมัย (ทำบุญด้วยการรักษาศีลหรือประพฤติดี)
๓. ภาวนามัย (ทำบุญด้วยการเจริญภาวนาคือฝึกอบรมจิตใจ)

๔. อปจายนมัย (ทำบุญด้วยการประพฤติอ่อนน้อม)
๕. เวยยาวัจจมัย (ทำบุญด้วยการช่วยขวนขวายรับใช้)
๖. ปัตติทานมัย (ทำบุญด้วยการเฉลี่ยส่วนแห่งความดีให้แก่ผู้อื่น)

๗. ปัตตานุโมทนามัย (ทำบุญด้วยการยินดีในความดีของผู้อื่น)
๘. ธัมมัสสวนมัย (ทำบุญด้วยการฟังธรรมศึกษาหาความรู้)
๙. ธัมมเทสนามัย (ทำบุญด้วยการสั่งสอนธรรมให้ความรู้)
๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ (ทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ตรง)


ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม และประมวลศัพท์(ป.อ.ปยุตโต)


อ่านข้อธรรมนี้ไปก่อนนะครับ แล้วจะมาตอบคำถามให้อีกที

หากเพื่อนสมาชิกท่านใด ประสงค์ที่จะตอบกระทู้นี้ เชิญได้เลยครับ

ไม่ต้องเกรงใจ(ตอนนี้อินเตอร์เน็ตผมมีปัญหา)



หนังสือ วิธีสร้างบุญบารมี

ทาน
(คัดบทความบางตอนมาแสดง)
ทานที่ได้ทำไปนั้น จะทำให้ผู้ทำทานได้บุญมากหรือน้อยเพียงใด ย่อมสุดแล้วแต่องค์ประกอบ ๓ ประการ ถ้าประกอบถึงพร้อมด้วยองค์ประกอบทั้ง ๓ ประการต่อไปนี้แล้ว ทานนั้นย่อมมีผลมาก ได้บุญบารมีมาก กล่าวคือ

องค์ประกอบข้อที่ ๑. "วัตถุทานที่ให้ต้องบริสุทธิ์"

วัตถุทานที่ให้ ได้แก่สิ่งของทรัพย์สมบัติที่ตนได้สละให้เป็นทานนั้นเอง จะต้องเป็นของที่บริสุทธิ์ ที่จะเป็นของบริสุทธิ์ได้จะต้องเป็นสิ่งของที่ตนเองได้แสวงหา ได้มาด้วยความบริสุทธิ์ในการประกอบอาชีพ ไม่ใช่ของที่ได้มาเพราะการเบียดเบียนผู้อื่น เช่น ได้มาโดยยักยอก ทุจริต ลักทรัพย์ ฉ้อโกง ปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ ฯลฯ

องค์ประกอบข้อที่ ๒. "เจตนาในการสร้างทานต้องบริสุทธิ์"
ถ้าจะบริสุทธิ์จริงจะต้องสมบูรณ์พร้อมกัน ๓ ระยะ คือ

(๑) ระยะก่อนที่จะให้ทาน ก่อนที่จะทานก็จะมีจิตที่โสมนัสร่าเริงเบิกบานยินดีที่จะให้ทาน เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่นให้ได้รับความสุขเพราะทรัพย์สิ่งของของตน

(๒) ระยะที่กำลังลงมือให้ทาน ระยะที่กำลังมือให้ทานอยู่นั้นเอง ก็ทำด้วยจิตใจโสมนัสร่าเริงยินดีและเบิกบานในทานที่ตนกำลังให้ผู้อื่น

(๓) ระยะหลังจากที่ได้ให้ทานไปแล้ว ครั้นเมื่อได้ให้ทานไปแล้วเสร็จ หลังจากนั้นก็ดี นานมาก็ดี เมื่อหวนคิดถึงทานที่ตนได้กระทำไปแล้วครั้งใด ก็มีจิตใจโสมนัสร่าเริงเบิกบาน ยินดีในทานนั้น ๆ


องค์ประกอบข้อที่ ๓. "เนื้อนาบุญต้องบริสุทธิ์"
คำว่า "เนื้อนาบุญ" ในที่นี่ได้แก่บุคคลผู้รับการทำทานของผู้ทำทานนั้นเอง นับว่าเป็นองค์ประกอบข้อที่สำคัญที่สุด

แม้ว่าองค์ประกอบในการทำทานข้อที่ ๑ และข้อที่ ๒ จะงามบริสุทธิ์ครบถ้วนดีแล้ว กล่าวคือ วัตถุที่ทำทานนั้นเป็นของที่แสวงหาได้มาด้วยความบริสุทธิ์ เจตนาในการทำทานก็งามบริสุทธิ์พร้อมทั้งสามระยะ แต่ตัวผู้ที่ได้รับการทำทานเป็นคนที่ไม่ดี ไม่ใช่ผู้ที่เป็นเนื้อนาบุญที่บริสุทธิ์ เป็นเนื้อนาบุญที่เลว ทานที่ทำไปนั้นก็ไม่ผลิดอกออกผล

เปรียบเหมือนกับการหว่านเมล็ดข้าวเปลือกลงในพื้นนา ๑ กำมือ
แม้เมล็ดข้าวนั้นจะเป็นพันธุ์ดีที่พร้อมจะงอกงาม (วัตถุทานบริสุทธิ์)
และผู้หว่านคือกสิกรก็มีเจตนาจะหว่านเพื่อทำนาให้เกิดผลิตผลเป็นอาชีพ (เจตนาบริสุทธิ์)

แต่หากที่นานั้นเป็นที่ที่ไม่สม่ำเสมอกัน เมล็ดข้าวที่หว่านลงไปก็งอกเงยไม่เสมอกัน โดยเมล็ดที่ไปตกในที่เป็นดินดี ปุ๋ยดี มีน้ำอุดมสมบูรณ์ดี ก็จะงอกเงยมีผลิตผลที่สมบูรณ์

ส่วนเมล็ดที่ไปตกบนพื้นนาที่แห้งแล้ง มีแต่กรวดกับทรายและขาดน้ำก็จะแห้งเหี่ยวหรือเฉาตายไป หรือไม่งอกเงยเสียเลย การทำทานนั้น ผลิตผลที่ผู้ทำทานจะได้รับก็คือ "บุญ" หากผู้ที่รับการให้ทานไม่เป็นเนื้อนาที่ดีสำหรับการทำบุญแล้ว ผลของทานคือบุญก็จะได้เกิดขึ้น แม้จะเกิดก็ไม่สมบูรณ์ เพราะแกร็นหรือแห้งเหี่ยวเฉาไปด้วยประการต่าง ๆ

ฉะนั้นในการทำทาน ตัวบุคคลผู้รับของที่เราให้ทานจึงเป็นเงื่อนไขที่สำคัญที่สุด เราผู้ทำทานจะได้บุญมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับคนพวกนี้ คนที่รับการให้ทานนั้นหากเป็นผู้ที่มีศีลธรรมสูง ก็ย่อมเป็นเนื้อนาบุญที่ดี ทานที่เราได้ทำไปแล้วก็เกิดผลบุญมาก หากผู้รับการให้ทานเป็นผู้ที่ไม่มีศีลไม่มีธรรม ผลของทานก็ไม่เกิดขึ้น คือได้บุญน้อย

........................................ 

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ว่า แม้วัตถุทานจะบริสุทธิ์ดี เจตนาในการทำทานจะบริสุทธิ์ดี จะทำให้ทานนั้นมีผลมากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับเนื้อนาบุญเป็นลำดับต่อไปนี้ คือ


๑. ทำทานแก่สัตว์เดรัจฉานแม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่มนุษย์ แม้จะเป็นมนุษย์ที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรมเลยก็ตาม ทั้งนี้เพราะสัตว์ย่อมมีวาสนาบารมีน้อยกว่ามนุษย์และสัตว์ไม่ใช่เนื้อนาบุญที่ดี

๒. ให้ทานแก่มนุษย์ที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรมวินัยแม้จะให้มากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้ที่มีศีล ๕
แม้จะให้เพียงครั้งเดียวก็ตาม

๓. ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล ๕แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้มีศีล ๘ แม้จะให้เพียงครั้งเดียวก็ตาม

๔. ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล ๘ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานแก่ผู้มีศีล ๑๐ คือสามเณรในพุทธศาสนา แม้จะได้ถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

๕. ถวายทานแก่สามเณรซึ่งมีศีล ๑๐ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานดังกล่าวแก่พระสมมุติสงฆ์ ซึ่งมีศีลปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ ข้อ
พระด้วยกันก็มีคุณธรรมแตกต่างกัน จึงเป็นเนื้อนาบุญที่ต่างกัน บุคคลที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนามีศีลปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ ข้อนั้น


องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ตรัสเรียกว่าเป็น "พระ" แต่เป็นเพียงพระสมมุติเท่านั้น เรียกกันว่า "สมมุติสงฆ์" พระที่แท้จริงนั้น หมายถึงบุคคลที่บรรลุคุณธรรมตั้งแต่พระโสดาปัตติผลเป็นพระโสดาบันเป็นต้นไป ไ

ม่ว่าท่านผู้นั้นจะได้บวชหรือเป็นฆราวาสก็ตาม นับว่าเป็น "พระ" ทั้งสิ้น และพระด้วยกันก็มีคุณธรรมต่างกันหลายระดับชั้น จากน้อยไปหามากดังนี้คือ "พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธมเจ้า" และย่อมเป็นเนื้อนาบุญที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

๖. ถวายทานแก่พระสมมุติสงฆ์แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานแก่ - พระโสดาบัน แม้จะได้ถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม (ความจริงยังมีการแยกเป็นพระโสดาปัตติมรรคและพระโสดาปัตติผล ฯลฯ เป็นลำดับไปจนถึงพระอรหัตผล แต่ในที่นี้จะกล่าวแต่เพียงย่นย่อพอให้ได้ความเท่านั้น)

๗. ถวายทานแก่พระโสดาบันแม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระสกิทาคามี แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

๘. ถวายทานแก่พระสกิทาคามี แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระอนาคามี แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

๙. ถวายทานแก่พระอนาคามี แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระอรหันต์ แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

๑๐. ถวายทานแก่พระอรหันต์ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม


๑๑. ถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแด่พระองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

๑๒. ถวายทานแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายสังฆทานที่มีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะถวายสังฆทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม


๑๓. การถวายสังฆทานที่มีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่า "การถวายวิหารทาน" แม้จะได้กระทำแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม "วิหารทาน ได้แก่การสร้างหรือร่วมสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ศาลาโรงธรรม ศาลาท่าน้ำ ศาลาที่พักอาศัยคนเดินทางอันเป็นสาธารณะประโยชน์ที่ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน"

อนึ่ง การสร้างสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์หรือสิ่งที่ประชาชนใประโยชน์ร่วมกัน แม้จะไม่เกี่ยวเนื่องกับกิจในพระพุทธศาสนา เช่น "โรงพยาบาล โรงเรียน บ่อน้ำ แท็งก์น้ำ ศาลาป้ายรถยนต์โดยสารประจำทาง สุสาน เมรุเผาศพ" ก็ได้บุญมากในทำนองเดียวกัน


๑๔. การถวายวิหารทานแม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง (๑๐๐ หลัง ) ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ "ธรรมทาน" แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม "การให้ธรรมทานก็คือการเทศน์ การสอนธรรมะแก่ผู้อื่นที่ยังไม่รู้ให้รู้ได้ ที่รู้อยู่แล้วให้รู้ยิ่งๆขึ้น ให้ได้เข้าใจมรรค ผล นิพพาน ให้ผู้ที่เป็นมิจฉาทิฐิได้กลับใจเป็นสัมมาทิฐิ ชักจูงผู้คนให้เข้าปฏิบัติธรรม รวมตลอดถึงการพิมพ์การแจกหนังสือธรรมะ"

๑๕. การให้ธรรมทานแม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ "อภัยทาน"
แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม การให้อภัยทานก็คือ "การไม่ผูกโกรธ ไม่อาฆาตจองเวร ไม่พยาบาทคิดร้ายผู้อื่นแม้แต่ศัตรู" ซึ่งได้บุญกุศลแรงและสูงมากในฝ่ายทาน เพราะเป็นการบำเพ็ญเพียรเพื่อ "ละโทสะกิเลส"


และเป็นการเจริญ "เมตตาพรหมวิหารธรรม" อันเป็นพรหมวิหารข้อหนึ่งในพรหมวิหาร ๔ ให้เกิดขึ้น อันพรหมวิหาร ๔ นั้น เป็นคุณธรรมที่เป็นองค์ธรรมของโยคีบุคคลที่บำเพ็ญฌานและวิปัสสนา ผู้ที่ทรงพรหมวิหาร ๔ ได้ย่อมเป็นผู้ทรงฌาน ซึ่งเมื่อเมตตาพรหมวิหารธรรมได้เกิดขึ้นแล้วเมื่อใด ก็ย่อมละเสียได้ซึ่ง "พยาบาท" ผู้นั้นจึงจะสามารถให้อภัยทานได้ การให้อภัยทานจึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและยากเย็น จึงจัดเป็นทานที่สูงกว่าการให้ทานทั้งปวง

อย่างไรก็ดี การให้อภัยทานแม้จะมากเพียงใด แม้จะชนะการให้ทานอื่น ๆ ทั้งมวล ผลบุญนั้นก็ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า "ฝ่ายศีล" เพราะเป็นการบำเพ็ญบารมีคนละขั้นต่า
งกัน

อ้างอิง
หนังสือ วิธีสร้างบุญบารมี
พระนิพนธ์ใน สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 19 วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 01, 2010, 11:10:20 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
อานิสงส์ถวายสัพพทาน
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ตุลาคม 01, 2010, 11:22:12 am »
0
อานิสงส์ถวายสัพพทาน

...... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทานของสัปบุรุษเหล่านี้ ๘ อย่าง คือ
 
๑. ให้ของที่สะอาด
๒. ให้ของประณีต
๓. ให้ถูกกาล
๔. ให้ของที่สมควร
๕. เลือกให้
๖. ให้เสมอ ๆ
๗. กำลังให้ยังจิตให้เลื่อมใส
๘. ครั้นให้แล้วปลื้มใจ

 
สัปปุริสทาน ๘ อย่างนี้ประเสริฐยิ่งนักหนา
ในกาลครั้งนั้น องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าก็สถิตสำราญอยู่ในป่าเชตวันอันเป็นอารามของนาย
อนาถปิณฑิกมหาเศรษฐีอยู่ในที่ใกล้ ๆ นครสาวัตถี
 
ในกาลครั้งนั้นมีพระยาองค์หนึ่ง ชื่อ มหานามะ ก็เอา ประธูปประทีปคันธรสของหอม
แล้วพาหมู่บริวารทั้งหลายเข้าไปสู่ที่เฝ้าพระสัพพัญญูเจ้า แล้วก็นั่งในที่
ควรแห่งหนึ่ง

จึงทูลถามพระสัพพัญญูเจ้าว่า “ภนฺเต ภควา” ข้าแต่องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าบุคคลผู้ใด
เลื่อมใสศรัทธา มาก่อสร้างสัพพาทานหลาย ๆ ชนิด ก็จักมีอานิสงส์ดังรือพระเจ้าข้า “ภควา” อันว่าองค์


... สมเด็จพระศาสดาจารย์เจ้าจึงเทศนาว่า ดูกรมหาบพิตร นรชนหญิงชายทั้งหลายมีใจเลื่อมใสศรัทธา มาก่อสร้างสัพพาทานหลาย ๆ ชนิดเป็นต้นว่า

สร้างพระพุทธรูปก็จักได้อานิสงส์ ๙ กัลป
สร้างพระไตรปิฏกธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ก็ได้อานิสงส์ ๑๐ กัลป
ผู้ใดได้บวชตนเป็นสามเณร ก็จักได้อานิสงส์ ๑๒ กัลป
ผู้ไดได้บวชตนเป็นพระภิกษุ ก็จักได้ อานิสงส์ ๒๔ กัลป

ผู้ใดได้สร้างพระธาตุเจดีย์ก็จักได้อานิสงส์ ๘๐ กัลป
ผู้ใดได้ปลูกไม้ศรีมหาโพธิ์ ก็จักได้อานิสงส์ ๙ กัลป
ผู้ใดให้โภชะนังยังข้าวน้ำ โภชนะอาหารให้เป็นทานแก่ภิกษุสามเณร ก็จักได้บริวารแสนหนึ่ง
ผู้ใดได้สร้างเจดีย์ทรายก็จักได้อานิสงส์ ๖๐ กัลป

ผู้ใดสร้างกุฏีให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป
ผู้ใดสร้างอุโบสถให้เป็น ทานก็จักได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป
ผู้ใดสร้างกฐินให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๘๐ กัลป
ผู้ใดสร้างอารามให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๔๐กัลป
ผู้ใดสร้างพัทธสีมาให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๑๐๐ กัลป

ผู้ใดได้บวชบุรุษผู้อื่นให้เป็นพระภิกษุก็จักได้อานิสงส์ ๘ กัลป
บวชบุตรตนเองให้เป็นภิกษุ ก็จะได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
ภรรยาบวชสามีของตนให้เป็นสามเณร ก็จักได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
ภรรยาบวชสามีของตนให้เป็นพระภิกษุ ก็จักได้อานิสงส์ ๓๒ กัลป
สามีบวชภรรยาให้เป็นภิกษุณี ก็จักได้อานิสงส์ ๖๔ กัลป


ผู้ใดได้สร้างพระเจดีย์ธาตุข้าวเปลือกให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๓๑ กัลป
ผู้ใดสร้างพระเจดีย์ธาตุข้าวสารให้เป็นทานได้อานิสงส์ ๔๒ กัลป
ผู้ใดได้สร้างพระเจดีย์ธาตุเหลือให้เป็นทาน ก็จักได้อานิสงส์ ๖๔ กัลป

ผู้ใดสร้างรั้วล้อมอาราม ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
ผู้ใดปัดกวาดขยะมูลฝอยถอนเสียจากเขตอารามได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
ผู้ใดสร้างศาลาสะพานบ่อน้ำให้เป็นทานได้อานิสงส์ ๓๐ กัลป
ผู้ใดได้ถวายดอกไม้ธูปเทียนได้อานิสงส์ ๘ กัลป


ผู้ใดได้สร้างอัฏฐให้เป็นทานได้อานิสงส์ ๓๖ กัลป
ผู้ใดได้ถวายจีวรเถราภิเษก ได้อานิสงส์ ๓๒ กัลป
ผู้ใดถวายผ้าป่าได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป
ผู้ใดให้ฝาผนังและเพดานเป็นทานได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป

ผู้ใดสร้างธงฝ้าย ธงผึ้ง ธงชัย ธงชาย ธงเหล็ก บูชาพระรัตนตรัย ได้อานิสงส์ ๖๔ กัลป
ผู้ใดสร้างขันหมากเบ็งบูชาระรัตนตรัย ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
ผู้ใดถวายซึ่งข้าวพันก้อนบูชาพระรัตนตรัยได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
ผู้ใดถวายผ้าอาบน้ำฝน และผ้าจำนำพรรษา ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป


ผู้ใดสร้างปราสาทดอกผึ้งให้เป็นทาน ได้อานิสงส์ ๓ กัลป
ผู้ใดสร้างต้นกัลปพฤกษ์ให้เป็นทานได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป์
ผู้ใดสร้าง ฆ้อง กลอง แคน ซอ หอยสังข์ ปี่ แตร แตรวง ดนตรีให้เป็นทานได้อานิสงส์ ๖๐ กัลป
ผู้ใดได้ถวายเสื่อสาดอาสนะได้อานิสงส์ ๔ กัลป

ผู้ใดถวายเตียงเก้าอี้ฟูกเบาะให้เป็นทาน ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
ผู้ใดได้ปลูกกุฏีกรรมให้พระภิกษุเข้าปริวาสกรรม และมานัตตกรรม ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
ผู้ใดได้สร้างบั้งไฟจุดบูชาพระรัตนตรัย ได้อานิสงส์ ๔ กัลป ผู้ได้สร้างพัทธสีมาน้ำได้อานิสงส์ ๖๗ กัลป
ผู้ใดได้สร้างธรรมาสน์ ได้อานิสงส์ ๓๒ กัลป ผู้ใดได้สร้างเวจกุฏี ได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป


ผู้ใดได้เผาซากศพที่ตกเรี่ยราดอยู่ตามป่าตามดง ได้บริวารหมื่นหนึ่ง
ผู้ใดได้เผาศพญาติมิตรสหาย ได้บริวาร ๓ หมื่น
ผู้ใดได้เผาศพบิดามารดาได้บริวารหนึ่งแสน
ผู้ใดได้เผาศพอุปัชฌาย์อาจารย์ ได้บริวารโกฏิหนึ่ง
ผู้ใดได้ถวายโอ่งน้ำ และส้วมอาบน้ำ และครุตักน้ำก็ได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป


สัพพทานทั้งหลายชนิดเหล่านี้บุคคลผู้ใดมีศรัทธากล้าหาญอาจสละสมบัติออกสร้างวัตถุประสงค์ ดังแสดงมานี้ ก็มีอานิสงส์ผลบุญพูนสุขในชั่วนี้และชั่วหน้า
 
อานิสงส์ที่ได้ปัจจุบันนี้คือ จะไปมาทางใดก็มีคนนับหน้าถือตา

ไม่ได้เป็นที่รังเกียจของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง มีแต่ผู้อยากให้ร่วมกินร่วมอยู่ทั้งนั้น เราจะเข้าไปสู่สมาคมใด ๆ ก็ไม่ครั้นคร้ามสยดสยองเกรงกลัวต่ออำนาจผู้ใด การทำมาหากินก็สมความมุ่งมาตรปรารถนาสมประสงค์

ครั้นสิ้นบุพพกรรมมนุษย์ในโลกนี้แล้ว ก็จะถือเอาตนเมื่ออุบัติขึ้นบนสวรรค์ชั้น
ดาวดึงสายามาตุสิตาโดยลำดับ จนถึงพรหมโลก ครั้นจุติจากพรหมโลกลงมาเกิดในมนุษย์โลก ก็ไม่ได้ไปเกิดในหิเนกุลชั่วร้าย และจักได้ไปเกิดในตระกูลท้าวพระยามหากษัตริย์ หรือตระกูลพราหมณ์ผู้มั่ง ครั่งมั่งมีเศรษฐีกฎุมพีแล้ว ก็จักได้ทัวระวัดไปมา


บารมีแก่กล้า ก็จะได้บ่ายหน้าเข้าสู่เมืองแก้วนิรพาน พอ
จบธรรมเทศนาแห่งองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าลง สมเด็จพระเจ้ามหานามะ ก็ได้ตั้งอยู่ในไตรสรณคมณ์สามส่วนบริษัททั้งหลาย ก็ได้ถึงโสดาสกิทาคา อนาคา อรหันต์

ที่มา  http://www.84000.org/anisong/38.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ทำบุญตักบาตร แล้ว ใครได้ บุญ มากน้อยกว่ากัน
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ตุลาคม 01, 2010, 11:28:12 am »
0
ขอให้หนูอ่านบทความที่ผมโพสต์ให้เข้าใจนะครับ แล้วหนูจะตอบข้อสงสัยของหนูเองได้

    1. ระหว่าง หนู คุณพ่อ คุณแม่ ใครได้บุญมากกว่ากันคะ

ตอบ เรื่องบุญและบาป เป็นเรื่องของกฏแห่กรรม เป็นเรื่องอจินไตย ตอบยากมาก
ปุถชน อย่าได้คิดให้เสียเวลาเลย มีแต่พระพุทธองค์เท่านั้นที่ตอบได้อย่างกระจ่าง
แต่ถ้าจะตอบแบบขวานผ่าซากล่ะก็ ก็ต้องตอบว่า ทำมากก็ได้มาก ทำน้อยก็ได้น้อย
ขอให้ดูเรื่องบุญกริยาวัตถุ ๑๐ และเรื่ององค์ประกอบของทาน


    2. วันไหนที่หนู ไม่ได้ใส่บาตร คุณพ่อ คุณแม่ ได้บุญหรือป่าวคะ

ตอบ ขอให้ดูในเรื่อง บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ หากเข้าข่ายข้อไหนก็ได้บุญข้อนั้น 
การมีส่วนร่วมก็ได้บุญแล้วครับ


    3. ระหว่างที่หนูใส่บาตรพระ ในขณะที่ไม่มีศรัทธา (เป็นบางวัน) หนูได้บุญหรือป่าวคะ

ตอบ เท่าที่ผมทราบ บุญจะได้ตามกำลังศรัทธา  แต่ศรัทธาเป็นนามธรรม ไม่รู้จะวัดอย่างไง
ผมคิดว่า ศรัทธาของหนู มีแน่นอน จะมากหรือน้อย ตอบไม่ได้ แต่หนูได้บุญแน่นอน


    4. บุญของการใส่บาตร พระสงฆ์ มีอานิสงค์ อะไรบ้างคะ

ตอบ หนูต้องอ่านบทความที่ผมโพสต์ข้างบน  อานิสงส์โดยย่อก็คือ มีกิน มีใช้ ไม่อด

ยังติดใจประเด็นไหน ก็ถามได้นะครับ
 :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ครูนภา

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +25/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 608
  • ภาวนา ร่วมกับพวกท่าน แล้วสุขใจ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ทำบุญตักบาตร แล้ว ใครได้ บุญ มากน้อยกว่ากัน
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ตุลาคม 03, 2010, 01:34:34 pm »
0
บุญจะมีอานุภาพ น้อย หรือ มาก นั้น อยู่ที่กรรมเป็นหลักคะ

จตนา กรรมมี...เจตนาไม่มี กรรมไม่มา
กรรม......
ที่แท้จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 2 ปรการคือ...
หลักเกณฑ์ข้อที่ 1. 'ผู้ทำมีเจตนา' มีหลักการที่พระพุทธเจ้า
ได้ตรัสไว้ในนิพเพธิกสูตร ฉักกนิบาต อังคุตตรนิกาย ว่า...
'เจตนาหัง ภิกขเว กัมมัง วทามิ'...แปลว่า
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าเจตนาเป็นกรรม...

เจตนา......
ได้แก่ ความตั้งใจหรือความรับรู้ ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 อย่างคือ...
1. บุพเจตนา...เจตนาก่อนทำ
2. มุญจนเจตนา...เจตนาในเวลาทำ
3. อปราปรเจตนา...เจตนาเมื่อได้ทำไปแล้ว

การกระทำโดยมีเจตนา เกิดขึ้นในตอนใดตอนหนึ่ง ถือว่าเป็นกรรม
ทั้งสิ้น ส่วนการกระทำที่ไม่มีเจตนา คือใจไม่ได้สั่งให้ทำไม่จัดว่าเป็น
กรรม เช่น คนเจ็บซึ่งมีไข้สูง เกิดเพ้อคลั่ง แม้จะพูดคำหยาบออก
มา เอามือหรือเท้าไปถูกใครเข้าก็ไม่เป็นกรรม ในทางวินัยก็ยกเว้นให้
พระที่วิกลจริตซึ่งล่วงเกินสิกขาวินัย ไม่ต้องอาบัติ ทั้งนี้ก็โดยหลัก
ที่ว่าถ้าผู้ทำไม่มีเจตนา การกระทำนั้นก็ไม่เป็นกรรม...

ส่วนหลักเกณฑ์ข้อที่ 2 การกระทำนั้นจะต้องให้ผลเป็นบุญหรือบาป
ก็เพื่อแยก การกระทำของพระอรหันต์ออกจากการกระทำของปุถุชน
เนื่องจากพระอรหันต์ เป็นผู้หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ ไม่มีความยึด
ถือในตัวตน การกระทำเรียกว่า อัพยากฤต ไม่นับว่าเป็นกรรมดีหรือ
กรรมชั่ว บุญและบาปไม่มี การกระทำของพระอรหันต์ จึงไม่เรียกว่า
กรรม...แต่เรียก กิริยา...

ส่วนปุถุชน ยังมีความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนอยู่ จะทำอะไรก็ยังยึดถือ
ว่าตนเป็นผู้กระทำ 'การกระทำ' ของปุถุชน..จึงเป็นกรรม ย่อมจะก่อให้
เกิดวิบาก หรืิอผล..เสมอ....

'กรรมดี'...ก็ก่อให้เกิด...บุญ...
'กรรมชั่ว'...ก็ก่อให้เกิด...บาป...

~~พระธรรมสิงหบุราจารย์~~
หลวงพ่อจรัญ จิตธัมโม
ขอนอบน้อมแด่คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์
บันทึกการเข้า
ศรัทธา ปัญญา ขันติ ความเพียร คุณสมบัติผู้ภาวนา
ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่าน ที่เป็นกัลยาณมิตร