ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
หน้า: [1] 2 3 ... 10
 1 
 เมื่อ: เมษายน 29, 2024, 09:50:56 pm 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

 2 
 เมื่อ: เมษายน 29, 2024, 10:49:09 am 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

 3 
 เมื่อ: เมษายน 29, 2024, 10:18:54 am 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 4 
 เมื่อ: เมษายน 29, 2024, 09:51:52 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.
 :25: :25: :25:

บัญชีลำดับเล่มพระไตรปิฎกจับคู่อรรถกถาและฏีกา (9-)



















(9-)หมายเหตุ ข้อมูลพระไตรปิฎกจับคู่อรรถกถา โดยพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ. ๙)
เพิ่มเติมข้อมูลฎีกา โดย สิริ เพ็ชรไชย ป.ธ. ๙ และ ไพบูลย์ สีสรรพ กันยายน ๒๕๔๓


 st12 st12 st12


คําปรารภ

“รู้จักพระไตรปิฎก เพื่อเป็นชาวพุทธที่แท้” เป็นหนังสือที่รวบรวมคำบรรยายและข้อเขียนเกี่ยวกับพระไตรปิฎก ๓ ตอน คือ

    ๑) บทปาฐกถาธรรม โดยวีดิทัศน์ ฉายในวันสมโภชพระไตรปิฎก ฉบับแปลภาษาไทย ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๒
    ๒) คำตอบอธิบายว่าพระไตรปิฎกสําคัญอย่างไร เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๔๒ และ
    ๓) “โครงสร้างและสาระสําคัญของพระไตรปิฎก” ซึ่งเป็นตอนหนึ่งในหนังสือ พระไตรปิฎกและอรรถกถาฉบับคอมพิวเตอร์ พร้อมด้วยโปรแกรมเรียกค้นข้อมูลจากคัมภีร์ (BUDSIR) ที่สำนักคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยมหิดล พิมพ์เผยแพร่เมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๓๕

หนังสือเล่มนี้ได้มีผู้ขอพิมพ์เผยแพร่แล้วในโอกาสต่างๆ หลายครั้ง บัดนี้ มีท่านผู้ศรัทธาประสงค์จะพิมพ์หนังสือนี้เผยแพร่ครั้งใหม่ ให้เป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจใฝ่ธรรมกว้างขวางออกไปอีก จึงได้แจ้งขออนุญาตพิมพ์เป็นธรรมทาน

พร้อมนี้เห็นว่า ควรมีหนังสือนี้ไว้แจกเป็นธรรมทานที่วัดญาณเวศกวัน อีกส่วนหนึ่งด้วย จึงตกลงนำทุนพิมพ์หนังสือเป็นธรรมทานที่มีอยู่มาใช้ พิมพ์ขึ้นจำนวนหนึ่ง เป็นที่มาของหนังสือเล่มที่ท่านผู้อ่านถืออยู่ขณะนี้

                                                           พระธรรมปิฎก
                                                       ๑๔ ตุลาคม ๒๕๔๕




ดาวน์โหลด pdf file ได้ที่ด้านล่าง




ขอบคุณที่มา : หนังสือ รู้จักพระไตรปิฎก เพื่อเป็นชาวพุทธที่แท้ โดย พระธรรมปิฎก
website : https://www.watnyanaves.net/en/book_detail/371

 5 
 เมื่อ: เมษายน 29, 2024, 09:33:32 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.
 :25: :25: :25:

ค. พระอภิธรรมปิฎก

ประมวลพุทธพจน์หมวดพระอภิธรรม คือหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นเนื้อหาวิชาล้วนๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ แบ่งเป็น ๗ คัมภีร์ (เรียกย่อหรือหัวใจว่า สํ วิ ธา ปุ ก ย ป) ๑๒ เล่ม

เล่ม ๓๔ (ธัมม)สังคณี ต้นเล่มแสดงมาติกา (แม่บท) อันได้แก่บทสรุปแห่งธรรมทั้งหลายที่จัดเป็นชุดๆ มีทั้งชุด ๓ เช่น จัดทุกสิ่งทุกอย่างประดามีเป็นกุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากฤตธรรม ชุดหนึ่ง เป็นอดีตธรรม อนาคตธรรม ปัจจุบันธรรม ชุดหนึ่ง ฯลฯ และชุด ๒ เช่นจัดทุกสิ่งทุกอย่างเป็นสังขตธรรม อสังขตธรรม ชุดหนึ่ง โลกียธรรม โลกุตตรธรรม ชุดหนึ่ง เป็นต้น รวมทั้งหมดมี ๑๖๔ ชุด หรือ ๑๖๔ มาติกา

ตอนต่อจากนั้น ซึ่งเป็นเนื้อหาส่วนสำคัญของคัมภีร์นี้ เป็นคำวิสัชชนา ขยายความมาติกาที่ ๑ เป็นตัวอย่าง แสดงให้เห็นกุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม ที่กระจายออกไปในแง่ของจิต เจตสิก รูป และนิพพาน
ท้ายเล่มมีอีก ๒ บท แต่ละบทแสดงคำอธิบายย่อหรือคำจำกัดความข้อธรรมทั้งหลายในมาติกาที่กล่าวถึงข้างต้นจนครบ ๑๖๔ มาติกา ได้คำจำกัดความข้อธรรมใน ๒ บท ต่างแนวกันเป็น ๒ แบบ (แต่บทท้ายจำกัดความไว้เพียง ๑๒๒ มาติกา)

เล่ม ๓๕ วิภังค์ ยกหลักธรรมสำคัญๆ ขึ้นมาแจกแจงแยกแยะอธิบายกระจายออกให้เห็นทุกแง่ และวินิจฉัยจนชัดเจนจบไปเป็นเรื่องๆ รวมอธิบายทั้งหมด ๑๘ เรื่อง คือขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อริยสัจจ์ ๔ อินทรีย์ ๒๒ ปฏิจจสมุปบาท สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ ฌาน อัปปมัญญา ศีล ๕ ปฏิสัมภิทา ๔ ญาณประเภทต่างๆ และเบ็ดเตล็ดว่าด้วยอกุศลธรรมต่างๆ อธิบายเรื่องใด ก็เรียกว่า “วิภังค์” ของเรื่องนั้น เช่น อธิบายขันธ์ ๕ ก็เรียกขันธวิภังค์ เป็นต้น รวมมี ๑๘ วิภังค์

เล่ม ๓๖ มี ๒ คัมภีร์ คือ ธาตุกถา นำข้อธรรมในมาติกาทั้งหลาย และข้อธรรมอื่นๆ อีก ๑๒๕ อย่าง มาจัดเข้าในขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘ ว่าข้อใดจัดเข้าได้หรือไม่ได้ในอย่างไหนๆ และปุคคลบัญญัติ บัญญัติความหมายของชื่อที่ใช้เรียกบุคคลต่างๆ ตามคุณธรรม เช่นว่า “โสดาบัน” ได้แก่ บุคคลผู้ละสังโยชน์ ๓ ได้แล้ว ดังนี้เป็นต้น

เล่ม ๓๗ กถาวัตถุ คัมภีร์ที่พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ประธานการสังคายนาครั้งที่ ๓ เรียบเรียงขึ้นเพื่อแก้ความเห็นผิดของนิกายต่างๆ ในพระพุทธศาสนาครั้งนั้น ซึ่งได้แตกแยกกันออกไปแล้วถึง ๑๘ นิกาย เช่น ความเห็นว่า พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้ เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการเกิดได้ ทุกอย่างเกิดจากกรรม เป็นต้น ประพันธ์เป็นคำปุจฉาวิสัชนา มีทั้งหมด ๒๑๙ กถา

เล่ม ๓๘ ยมก ภาค ๑ คัมภีร์อธิบายหลักธรรมสำคัญให้เห็นความหมายและขอบเขตอย่างชัดเจน และทดสอบความรู้อย่างลึกซึ้ง ด้วยวิธีตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ๆ (ยมก แปลว่า คู่) เช่นถามว่า ธรรมทั้งปวงที่เป็นกุศล เป็นกุศลมูล หรือว่าธรรมทั้งปวงที่เป็นกุศลมูล เป็นกุศล, รูป (ทั้งหมด) เป็นรูปขันธ์ หรือว่ารูปขันธ์ (ทั้งหมด) เป็นรูป, ทุกข์ (ทั้งหมด) เป็นทุกขสัจจ์ หรือว่าทุกขสัจจ์ (ทั้งหมด) เป็นทุกข์ หลักธรรมที่นำมาอธิบายในเล่มนี้มี ๗ คือ มูล (เช่นกุศลมูล) ขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ สังขาร อนุสัย ถามตอบอธิบายเรื่องใด ก็เรียกว่า ยมกของเรื่องนั้นๆ เช่น มูลยมก ขันธยมก เป็นต้น เล่มนี้จึงมี ๗ ยมก

เล่ม ๓๙ ยมก ภาค ๒ ถามตอบอธิบายหลักธรรมเพิ่มเติมจากภาค ๑ อีก ๓ เรื่อง คือ จิตตยมก ธรรมยมก (กุศล - อกุศล - อัพยากตธรรม) อินทรียยมก บรรจบเป็น ๑๐ ยมก

เล่ม ๔๐ ปัฏฐาน ภาค ๑ คัมภีร์ปัฏฐาน อธิบายปัจจัย ๒๔ โดยพิสดาร แสดงความสัมพันธ์อิงอาศัยเป็นปัจจัยแก่กัน แห่งธรรมทั้งหลายในแง่ด้านต่างๆ ธรรมที่นำมาอธิบายก็คือข้อธรรมที่มีในมาติกา คือ แม่บทหรือบทสรุปธรรม ซึ่งกล่าวไว้แล้วในต้นคัมภีร์สังคณีนั่นเอง แต่อธิบายเฉพาะ ๑๒๒ มาติกา

แรกที่เรียกว่า อภิธรรมมาติกาปัฏฐานเล่มแรกนี้ อธิบายความหมายของปัจจัย ๒๔ เป็นการปูพื้นความเข้าใจเบื้องต้นก่อน จากนั้นจึงเข้าสู่เนื้อหาของเล่ม คือ อนุโลมติกปัฏฐาน อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา) โดยปัจจัย ๒๔ นั้น เช่นว่า กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมโดยอุปนิสสยปัจจัยอย่างไร กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมโดยอุปนิสสยปัจจัยอย่างไร อกุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมโดยอุปนิสสยปัจจัยอย่างไร กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมโดยอารัมมณปัจจัยอย่างไร ฯลฯ ฯลฯ (เล่มนี้อธิบายแต่ในเชิงอนุโลม คือตามนัยปกติ ไม่อธิบายตามนัยปฏิเสธ จึงเรียกว่าอนุโลมปัฏฐาน)

 st12 st12 st12

เล่ม ๔๑ ปัฏฐาน ภาค ๒ อนุโลมติกปัฏฐาน ต่อ คืออธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแม่บทชุด ๓ ต่อจากเล่ม ๔๐ เช่น อดีตธรรมเป็นปัจจัยแก่ปัจจุบันธรรม โดยอารัมมณปัจจัย (พิจารณารูป เสียง เป็นต้น ที่ดับเป็นอดีตไปแล้ว ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เกิดความโทมนัสขึ้น ฯลฯ) เป็นต้น

เล่ม ๔๒ ปัฏฐาน ภาค ๓ อนุโลมทุกปัฏฐาน อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลาย ในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) เช่น โลกียธรรมเป็นปัจจัยแก่โลกียธรรม โดย อารัมมณปัจจัย (รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ) ดังนี้ เป็นต้น

เล่ม ๔๓ ปัฏฐาน ภาค ๔ อนุโลมทุกปัฏฐาน ต่อ

เล่ม ๔๔ ปัฏฐาน ภาค ๕ ยังเป็นอนุโลมปัฏฐาน แต่อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแม่บทต่างๆ ข้ามชุดกันไปมา ประกอบด้วย อนุโลมทุกติกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) โยงกับธรรมในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา) เช่นอธิบาย “กุศลธรรมที่เป็นโลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมที่เป็นโลกียธรรม โดยอธิปติปัจจัย” เป็นอย่างไร เป็นต้น

อนุโลมติกทุกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา) โยงกับธรรมในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) อนุโลมติกติกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา) กับธรรมในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา) โยงระหว่างต่างชุดกัน เช่นอธิบายว่า “กุศลธรรมที่เป็นอดีตธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมที่เป็นปัจจุบันธรรม” เป็นอย่างไร เป็นต้น

อนุโลมทุกทุกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) กับธรรมในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) โยงระหว่างต่างชุดกัน เช่น ชุดโลกียะโลกุตตระ กับชุดสังขตะอสังขตะ เป็นต้น

เล่ม ๔๕ ปัฏฐาน ภาค ๖ เป็น ปัจจนียปัฏฐาน คืออธิบาย ความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายอย่างเล่มก่อนๆ นั่นเอง แต่อธิบายแง่ปฏิเสธ แยกเป็น
     ปัจจนียปัฏฐาน คือ ปฏิเสธ + ปฏิเสธ เช่นว่า ธรรมที่ไม่ใช่กุศล อาศัยธรรมที่ไม่ใช่กุศลเกิดขึ้นโดยเหตุปัจจัย เป็นอย่างไร
     อนุโลมปัจจนียปัฏฐาน คือ อนุโลม + ปฏิเสธ เช่นว่า อาศัยโลกิยธรรม ธรรมที่ไม่ใช่โลกุตตรธรรม เกิดขึ้นโดยเหตุปัจจัย เป็นอย่างไร
     ปัจจนียานุโลมปัฏฐาน คือ ปฏิเสธ + อนุโลม เช่นว่า อาศัยธรรมที่ไม่ใช่กุศลธรรมที่เป็นอกุศล เกิดขึ้นโดยเหตุปัจจัย เป็นอย่างไร
     และในทั้ง ๓ แบบนี้ แต่ละแบบ จะอธิบายโดยใช้ธรรมในแม่บทชุด ๓ แล้วต่อด้วยชุด ๒ แล้วข้ามชุดระหว่างชุด ๒ กับชุด ๓ ชุด ๓ กับชุด ๒ ชุด ๓ กับชุด ๓ ชุด ๒ กับชุด ๒ จนครบทั้งหมดเหมือนกัน

ดังนั้นแต่ละแบบจึงแยกซอยละเอียดออกไปเป็น ติก ทุก ทุกติก ติกทุก ติกติก ทุกทุก ตามลำดับ (เขียนให้เต็มเป็น ปัจจนียติกปัฏฐาน ปัจจนียทุกปัฏฐาน ปัจจนียทุกติกปัฏฐาน ฯลฯ ดังนี้เรื่อยไป จนถึงท้ายสุดคือ ปัจจนียานุโลมทุกทุกปัฏฐาน)

คัมภีร์ปัฏฐานนี้ ท่านอธิบายค่อนข้างละเอียดเฉพาะเล่มต้นๆ เท่านั้น เล่มหลังๆ ท่านแสดงไว้แต่หัวข้อหรือแนว และทิ้งไว้ให้ผู้เข้าใจแนวนั้นแล้ว เอาไปแจกแจงโดยพิสดารเอง โดยเฉพาะเล่มสุดท้ายคือภาค ๖ แสดงไว้ย่นย่อที่สุด แม้กระนั้นก็ยังเป็นหนังสือถึง ๖ เล่ม หรือ ๓,๓๒๐ หน้ากระดาษพิมพ์ ถ้าอธิบายโดยพิสดารทั้งหมด จะเป็นเล่มหนังสืออีกจำนวนมากมายหลายเท่าตัว ท่านจึงเรียกปัฏฐานอีกชื่อหนึ่งว่า “มหาปกรณ์” แปลว่า ตำราใหญ่ ใหญ่ทั้งโดยขนาดและโดยความสำคัญ

พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า พระไตรปิฎกมีเนื้อความทั้งหมด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งเป็น พระวินัยปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ พระสุตตันตปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ และพระอภิธรรมปิฎก ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์




- ๔ - อรรถกถา และคัมภีร์รุ่นต่อมา

เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสแสดงคำสอนคือพระธรรมวินัยแล้ว สาวกทั้งพระสงฆ์และคฤหัสถ์ก็นำหลักธรรมวินัยนั้นไปเล่าเรียน ศึกษา คำสอนหรือพุทธพจน์ส่วนใดที่ยากต้องการคำอธิบาย นอกจากทูลถามจากพระพุทธเจ้าโดยตรงแล้ว ก็มีพระสาวกผู้ใหญ่ที่เป็นอุปัชฌาย์หรืออาจารย์คอยแนะนำชี้แจงช่วยตอบข้อสงสัย

คำอธิบายและคำตอบที่สำคัญก็ได้รับการทรงจำถ่ายทอดต่อกันมา ควบคู่กับหลักธรรมวินัยที่เป็นแม่บทนั้นๆ จากสาวกรุ่นก่อนสู่สาวกรุ่นหลัง ต่อมาเมื่อมีการจัดหมวดหมู่พระธรรมวินัยเป็นพระไตรปิฎกแล้ว คำชี้แจงอธิบาย เหล่านั้นก็เป็นระบบและมีลำดับไปตามพระไตรปิฎกด้วย

คำอธิบายพุทธพจน์หรือหลักธรรมวินัย หรือคำอธิบายความในพระไตรปิฎกนั้น เรียกว่า อรรถกถา เมื่อมีการทรงจำถ่ายทอดพระไตรปิฎก ก็มีการทรงจำถ่ายทอดอรรถกถาประกอบควบคู่มาด้วย

จนกระทั่งเมื่อมีการจารึกพระไตรปิฎกลงในใบลาน เป็นลายลักษณ์อักษร ณ ประเทศลังกา เกาะสิงหล ใน พ.ศ. ๔๕๐ ตำนานก็กล่าวว่าได้มีการจารึกอรรถกถาพร้อมไปด้วย เช่นเดียวกัน

อนึ่ง พึงสังเกตว่า พุทธพจน์หรือข้อความในพระไตรปิฎกนั้น ในภาษาวิชาการท่านนิยมเรียกว่า บาลี หรือ พระบาลี หมายถึง พุทธพจน์ที่รักษาไว้ในพระไตรปิฎก (ไม่พึงสับสนกับคำว่าภาษาบาลี)

สำหรับ บาลี หรือ พระไตรปิฎก นั้น ท่านทรงจำถ่ายทอดกันมา และจารึกเป็นภาษาบาลีมคธ แต่ อรรถกถา สืบมาเป็นภาษาสิงหล

ทั้งนี้สำหรับพระไตรปิฎกนั้นชัดเจนอยู่แล้ว ในฐานะเป็นตำราแม่บท อยู่ข้างผู้สอน จึงจะต้องรักษาให้คงอยู่อย่างเดิมโดยแม่นยำที่สุดตามพระดำรัสของพระผู้สอนนั้น

ส่วนอรรถกถาเป็นคำอธิบายสำหรับผู้เรียน จึงจะต้องช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจได้ดีที่สุด เมื่ออรรถกถาสืบมาในลังกา ก็จึงถ่ายทอดกันเป็นภาษาสิงหล จนกระทั่งถึงช่วง พ.ศ. ๙๕๐ - ๑,๐๐๐ จึงมีพระอาจารย์ผู้ใหญ่ เช่น พระพุทธโฆสาจารย์ และพระธรรมบาล เดินทางจากชมพูทวีป มายังลังกา และแปลเรียบเรียงอรรถกถา กลับเป็นภาษาบาลีมคธ อย่างที่มีอยู่และใช้ศึกษากันในปัจจุบัน

ลักษณะสำคัญของอรรถกถา คือ เป็นคัมภีร์ที่อธิบายความในพระไตรปิฎกโดยตรง หมายความว่า พระไตรปิฎกแต่ละสูตรแต่ละส่วนแต่ละตอนแต่ละเรื่อง ก็มีอรรถกถาที่อธิบายจำเพาะสูตรจำเพาะส่วนตอนหรือเรื่องนั้นๆ และอธิบายตามลำดับไป โดยอธิบายทั้งคำศัพท์หรือถ้อยคำอธิบายข้อความ ชี้แจงความหมาย ขยายความหลักธรรมหลักวินัย เล่าเรื่องประกอบ ตลอดจนแสดงเหตุปัจจัยแวดล้อมหรือความเป็นมาของการที่พระพุทธเจ้าจะตรัสพุทธพจน์นั้นๆ หรือเกิดเรื่องราวนั้นๆ ขึ้น พร้อมทั้งเชื่อมโยงประมวลความเป็นมาเป็นไปต่างๆ ที่จะช่วยให้เข้าใจพุทธพจน์หรือเรื่องราวในพระไตรปิฎกชัดเจนขึ้น

พระไตรปิฎกมีอรรถกถาที่อธิบายตามลำดับคัมภีร์ ดังนี้

@@@@@@@

พระไตรปิฎก - อรรถกถา - พระอาจารย์ผู้เรียบเรียง

ก. พระวินัยปิฎก
    ๑. พระวินัยปิฎก(ทั้งหมด) - สมันตปาสาทิกา - พระพุทธโฆส

ข. พระสุตตันตปิฎก
    ๒. ทีฆนิกาย - สุมังคลวิลาสินี  - พระพุทธโฆส
    ๓. มัชฌิมนิกาย - ปปัญจสูทนี - พระพุทธโฆส
    ๔. สังยุตตนิกาย - สารัตถปกาสินี - พระพุทธโฆส
    ๕. อังคุตตรนิกาย - มโนรถปูรณี - พระพุทธโฆส
    ๖. ขุททกปาฐะ(ขุททกนิกาย) - ปรมัตถโชติกา - พระพุทธโฆส
    ๗. ธรรมบท(ขุททกนิกาย) - ธัมมปทัฏฐกถา(6-) - พระพุทธโฆส

    ๘. อุทาน(ขุททกนิกาย) - ปรมัตถทีปนี - พระธรรมปาละ
    ๙. อิติวุตตกะ(ขุททกนิกาย) - ปรมัตถทีปนี - พระธรรมปาละ
  ๑๐. สุตตนิบาต(ขุททกนิกาย) - ปรมัตถโชติกา - พระพุทธโฆส
  ๑๑. วิมานวัตถุ(ขุททกนิกาย) - ปรมัตถทีปนี - พระธรรมปาละ
  ๑๒. เปตวัตถุ(ขุททกนิกาย) - ปรมัตถทีปนี - พระธรรมปาละ
  ๑๓. เถรคาถา(ขุททกนิกาย) - ปรมัตถทีปนี - พระธรรมปาละ
  ๑๔. เถรีคาถา(ขุททกนิกาย) - ปรมัตถทีปนี - พระธรรมปาละ
  ๑๕. ชาตก(ขุททกนิกาย) - ชาตกัฏฐกถา* - พระพุทธโฆส
  ๑๖. นิทเทส(ขุททกนิกาย) - สัทธัมมปัชโชติกา - พระอุปเสนะ
  ๑๗. ปฏิสัมภิทามัคค์(ขุททกนิกาย) - สัทธัมมปกาสินี - พระมหานาม
  ๑๘. อปทาน(ขุททกนิกาย) - วิสุทธชนวิลาสินี - (นามไม่แจ้ง)(7-)
  ๑๙. พุทธวงส์(ขุททกนิกาย) - มธุรัตถวิลาสินี - พระพุทธทัตตะ
  ๒๐. จริยาปิฏก(ขุททกนิกาย) - ปรมัตถทีปนี - พระธรรมปาละ

ค. พระอภิธรรมปิฎก
  ๒๑. ธัมมสังคณี - อัฏฐสาลินี - พระพุทธโฆส
  ๒๒. วิภังค์ - สัมโมหวิโนทนี - พระพุทธโฆส
  ๒๓. ทั้ง ๕ คัมภีร์ที่เหลือ - ปัญจปกรณัฏฐกถา - พระพุทธโฆส


@@@@@@@

นอกจากอรรถกถาซึ่งเป็นที่ปรึกษาหลักในการเล่าเรียนศึกษาพระไตรปิฎกแล้ว คัมภีร์พระพุทธศาสนาภาษาบาลีที่ เกิดขึ้นในยุคต่างๆ หลังพุทธกาล ยังมีอีกมากมาย ทั้งก่อนยุคอรรถกถา หลังยุคอรรถกถา และแม้ในยุคอรรถกถาเอง แต่ไม่ได้เรียบเรียงในรูปลักษณะที่จะเป็นอรรถกถา

คัมภีร์สำคัญบางคัมภีร์ เป็นผลงานอิสระของพระเถระ ผู้แตกฉานในพระธรรมวินัย ท่านเรียบเรียงขึ้นตามโครงเรื่องที่ท่านจัดวางเอง หรือเกิดจากเหตุการณ์พิเศษ เช่น การตอบ คำถามชี้แจงข้อสงสัยของผู้อื่นเป็นต้น ปกรณ์หรือคัมภีร์พิเศษเช่นนี้ บางคัมภีร์ได้รับความเคารพนับถือและอ้างอิงมาก โดยเฉพาะคัมภีร์เนตติ เปฏโกปเทส และมิลินทปัญหา ซึ่งเกิดขึ้นก่อนยุคอรรถกถา ในพม่าจัดเข้าเป็นคัมภีร์ในพระไตรปิฎกด้วย (อยู่ในหมวดขุททกนิกาย)

ในยุคอรรถกถา คัมภีร์วิสุทธิมัคค์ของพระพุทธโฆส ผู้เป็นพระอรรถกถาจารย์องค์สำคัญ แม้จะถือกันว่าเป็นปกรณ์พิเศษ ไม่ใช่เป็นอรรถกถา เพราะท่านเรียบเรียงขึ้นตามโครงเรื่องที่ท่านตั้งเอง ไม่ใช่อธิบายพระไตรปิฎกตอนใดตอนหนึ่งโดยเฉพาะ แต่ก็ได้รับความนับถือมากเหมือนเป็นอรรถกถา เรียกได้ว่าเป็นคัมภีร์ระดับอรรถกถา ประเทศพุทธศาสนาเถรวาทต่างให้ความสำคัญ ถือเป็นแบบแผนในการศึกษาหลักพระพุทธศาสนา

คัมภีร์ที่เกิดหลังยุคอรรถกถา ก็มีทั้งคัมภีร์ที่อยู่ในสายเดียวกับอรรถกถา คือเป็นคัมภีร์ที่อธิบายพระไตรปิฎก และอธิบายอรรถกถา และอธิบายกันเอง เป็นชั้นๆ ต่อกันไป กับทั้งคัมภีร์นอกสายพระไตรปิฎก เช่น ตำนานหรือประวัติ และไวยากรณ์ เป็นต้น คัมภีร์เหล่านี้ มีชื่อเรียกแยกประเภทต่างกันออกไปหลายอย่าง จะกล่าวเฉพาะในสายของอรรถกถา คือที่อธิบายต่อออกไปจากอรรถกถา และเฉพาะที่ควรรู้ในที่นี้ ก็คือ ฎีกา และอนุฎีกา

@@@@@@@

เมื่อเรียงลำดับคัมภีร์ในสายพระไตรปิฎกและอรรถกถา ก็จะเป็นดังนี้
    - บาลี คือ พระไตรปิฎก
    - อรรถกถา คือ คัมภีร์ที่อธิบายบาลีหรืออธิบายความในพระไตรปิฎก
    - ฎีกา คือ คัมภีร์ที่อธิบายอรรถกถา หรือขยายความต่อจากอรรถกถา
    - อนุฎีกา คือ คัมภีร์ที่อธิบายขยายความของฎีกาอีกทอดหนึ่ง

ส่วนคัมภีร์ชื่ออย่างอื่นต่อจากนี้ไปที่มีอีกหลายประเภทนั้น บางทีท่านใช้คำเรียกรวมๆ กันไปว่า ตัพพินิมุต (แปลว่า คัมภีร์ที่พ้นหรือนอกเหนือจากนั้น)(8-)

คัมภีร์พระพุทธศาสนาที่มีอยู่มากมาย ทั้งในสายและนอกสายพระไตรปิฎกนี้ ในประเทศไทยเท่าที่ผ่านมา ได้ตีพิมพ์ เป็นเล่มหนังสือออกมาแล้วเพียงจำนวนน้อย ส่วนมากยังคง ค้างอยู่ในใบลาน เพิ่งจะมีการตื่นตัวที่จะตรวจชำระและตีพิมพ์กันมากขึ้นในช่วงเวลาใกล้ๆ นี้ จึงจะต้องรออีกสักระยะหนึ่ง ซึ่งคงไม่นานนัก ที่ชาวพุทธและผู้สนใจจะได้มีคัมภีร์พุทธศาสนาไว้ศึกษาค้นคว้า อย่างค่อนข้างบริบูรณ์

สำหรับคัมภีร์พระไตรปิฎกและอรรถกถานั้น ได้มีการตีพิมพ์เป็นเล่มพรั่งพร้อมแล้วในช่วงปีปัจจุบัน คือ พ.ศ. ๒๕๓๕ นี้เอง ส่วนคัมภีร์อื่นๆ รุ่นหลังต่อๆ มา ที่มีค่อนข้างบริบูรณ์ พอจะหาได้ไม่ยากก็คือคัมภีร์ที่ใช้เรียนในหลักสูตรเปรียญธรรม

เนื่องจากคัมภีร์เหล่านี้ มีความสัมพันธ์อธิบายความต่อกัน กล่าวคือ อรรถกถาอธิบายพระไตรปิฎก และฎีกาขยายความต่อจากอรรถกถา หรือต่อจากคัมภีร์ระดับอรรถกถา จึงจะได้ทำบัญชีลำดับเล่ม จับคู่คัมภีร์ที่อธิบายกันไว้ เพื่อเป็นพื้นฐานความเข้าใจในการที่จะศึกษาค้นคว้าต่อไป และเพื่ออำนวยความสะดวกในการโยงข้อมูลระหว่างคัมภีร์

(ยังมีต่อ..)



(6-)ที่จริงมีชื่อเฉพาะว่า ปรมัตถโชติกา ด้วยเหมือนกัน และที่ว่าพระพุทธโฆสเป็นผู้เรียบเรียงคัมภีร์ทั้งสองนี้นั้น คงจะเป็นหัวหน้าคณะ โดยมีผู้อื่นร่วมงานด้วย

(7-)คัมภีร์จูฬคันถวงส์ (แต่งในพม่า) ว่าเป็นผลงานของพระพุทธโฆส

(8-)ท่านถือกันมาให้แยกเพียงแค่ บาลี อรรถกถา และฏีกา ต่อจากนั้นรวมอยู่ในคำว่า ตัพพินิมุต ทั้งหมด

 6 
 เมื่อ: เมษายน 29, 2024, 08:11:42 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
 :25: :25: :25:

โครงสร้างและสาระสำคัญของพระไตรปิฏก (4-)



 st12 st12 st12

-๑- ทบทวนความหมายและความสำคัญของพระไตรปิฎก

พระพุทธศาสนานั้น ว่าตามความหมายทั่วไป ได้แก่ศาสนาที่พระพุทธเจ้าทรงตั้งขึ้นและทรงประทานคำสั่งสอนไว้เป็นหลัก แต่ถ้าว่าโดยสาระและตามตัวอักษรแท้ๆ พระพุทธศาสนา ก็คือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

ถ้าเรียกตามภาษาบาลี คำสอนก็คือพระธรรม คำสั่งก็คือพระวินัย รวมกันเรียกว่า พระธรรมวินัย พระธรรมวินัยนี้แหละคือเนื้อแท้หรือสาระของพระพุทธศาสนา

ในวาระที่จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า เมื่อพระองค์ล่วงลับไปแล้ว ธรรมและวินัยที่พระองค์ได้ทรงแสดงและบัญญัติไว้ จะเป็นศาสดาของชาวพุทธทั้งปวง

เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระอรหันตเถระที่เป็นสาวกผู้ใหญ่ได้ประชุมกันทำสังคายนา คือดำเนินการรวบรวม พุทธพจน์หรือพระดำรัสของพระพุทธเจ้าที่แสดงธรรมวินัยนั้น จัดเป็นหมวดหมู่ แล้วทรงจำและต่อมาก็จารึกไว้เป็นคัมภีร์ นำสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

คัมภีร์ที่รวบรวมพุทธพจน์บรรจุพระธรรมวินัย (รวมทั้งข้อความและเรื่องราวร่วมสมัยที่เกี่ยวข้อง) นั้นไว้ เรียกว่า พระไตรปิฎก

พระไตรปิฎกจึงเป็นที่ประมวลไว้ซึ่งพระธรรมวินัย ที่เป็นสาระหรือหลักการใหญ่ของพระพุทธศาสนา และจึงเป็นคัมภีร์สูงสุดของพระพุทธศาสนา กล่าวโดยย่อ พระไตรปิฎกมีความสำคัญ ดังนี้

     ๑. พระไตรปิฎกเป็นที่รวบรวมไว้ซึ่งพุทธพจน์คือพระดำรัสของพระพุทธเจ้า คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ ได้ตรัสไว้เอง เท่าที่ตกทอดมาถึงเรา มีมาในพระไตรปิฎก เรารู้จักคำสอนของพระพุทธเจ้าจากพระไตรปิฎก

     ๒. พระไตรปิฎกเป็นที่สถิตของพระศาสดาของพุทธศาสนิกชน เพราะเป็นที่บรรจุพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ให้เป็นศาสดาแทนพระองค์ เราจะเฝ้าหรือรู้จักพระพุทธเจ้าได้จากพระดำรัสของพระองค์ที่ท่านรักษากันไว้ในพระไตรปิฎก

     ๓. พระไตรปิฎกเป็นแหล่งต้นเดิมของคำสอนในพระพุทธศาสนา คำสอน คำอธิบาย คัมภีร์ หนังสือ ตำรา ที่อาจารย์และ นักปราชญ์ทั้งหลายพูด กล่าวหรือเรียบเรียงไว้ ที่จัดว่าเป็นของในพระพุทธศาสนา จะต้องสืบขยายออกมา และเป็นไปตามคำสอนแม่บทในพระไตรปิฎก ที่เป็นฐานหรือเป็นแหล่งต้นเดิม

     ๔. พระไตรปิฎกเป็นหลักฐานอ้างอิงในการแสดงหรือยืนยันหลักการ ที่กล่าวว่าเป็นพระพุทธศาสนา การอธิบายหรือกล่าวอ้างเกี่ยวกับหลักการของพระพุทธศาสนา จะเป็นที่น่าเชื่อถือหรือยอมรับได้ด้วยดี เมื่ออ้างอิงหลักฐานในพระไตรปิฎก ซึ่งถือว่า เป็นหลักฐานอ้างอิงขั้นสุดท้ายสูงสุด

     ๕. พระไตรปิฎกเป็นมาตรฐานตรวจสอบคำสอนในพระพุทธศาสนา คำสอนหรือคำกล่าวใดๆ ที่จะถือว่าเป็นคำสอนในพระพุทธศาสนาได้ จะต้องสอดคล้องกับพระธรรมวินัย ซึ่งมีมาในพระไตรปิฎก (แม้แต่คำหรือข้อความในพระไตรปิฎกเอง ถ้าส่วนใดถูกสงสัยว่าจะแปลกปลอม ก็ตรวจสอบด้วยคำสอนทั่วไปในพระไตรปิฎก)

     ๖. พระไตรปิฎกเป็นมาตรฐานตรวจสอบความเชื่อถือและข้อปฏิบัติในพระพุทธศาสนา ความเชื่อถือหรือข้อปฏิบัติ ตลอดจนพฤติกรรมใดๆ จะวินิจฉัยว่าถูกต้องหรือผิดพลาด เป็นพระพุทธศาสนาหรือไม่ ก็โดยอาศัยพระธรรมวินัยที่มีมาในพระไตรปิฎกเป็นเครื่องตัดสิน

ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ การศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกจึงเป็นกิจสำคัญยิ่งของชาวพุทธ ถือว่าเป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา หรือเป็นความดำรงอยู่ของพระพุทธศาสนา กล่าวคือ ถ้ายังมีการศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกเพื่อนำไปใช้ปฏิบัติ พระพุทธศาสนาก็ยังดำรงอยู่ แต่ถ้าไม่มีการศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก แม้จะมีการปฏิบัติ ก็จะไม่เป็นไปตามหลักการของพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาก็จะไม่ดำรงอยู่ คือจะเสื่อมสูญไป

นอกจากความสำคัญในทางพระศาสนาโดยตรงแล้ว พระไตรปิฎกยังมีคุณค่าที่สำคัญในด้านอื่นๆ อีกมาก โดยเฉพาะ

     ๑) เป็นที่บันทึกหลักฐานเกี่ยวกับลัทธิ ความเชื่อถือ ศาสนา ปรัชญา ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม เรื่องราว เหตุการณ์ และถิ่นฐาน เช่น แว่นแคว้นต่างๆ ในยุคอดีตไว้เป็นอันมาก

     ๒) เป็นแหล่งที่จะสืบค้นแนวความคิดที่สัมพันธ์กับวิชาการต่างๆ เนื่องจากคำสอนในพระธรรมวินัยมีเนื้อหาสาระเกี่ยวโยง หรือครอบคลุมถึงวิชาการหลายอย่าง เช่น จิตวิทยา กฎหมาย การปกครอง เศรษฐกิจ เป็นต้น

     ๓) เป็นแหล่งเดิมของคำศัพท์บาลีที่นำมาใช้ในภาษาไทย เนื่องจากภาษาบาลีเป็นรากฐานสำคัญส่วนหนึ่งของภาษาไทย การศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกจึงมีอุปการะพิเศษแก่การศึกษาภาษาไทย

รวมความว่า การศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกมีคุณค่าสำคัญ ไม่เฉพาะแต่ในการศึกษาพระพุทธศาสนาเท่านั้น แต่อำนวยประโยชน์ทางวิชาการในด้านต่างๆ มากมาย เช่น ภาษาไทย ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา โบราณคดี รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ศาสนา ปรัชญา และจิตวิทยา เป็นต้นด้วย


@@@@@@@

- ๒ -การจัดหมวดหมู่คัมภีร์ในพระไตรปิฎก


พระธรรมวินัย หรือธรรมและวินัยที่บรรจุอยู่ในพระไตรปิฎกนั่นแหละ เป็นหลักในการจัดหมวดหมู่ของพระไตรปิฎก

“ไตรปิฎก” มาจาก ไตร (๓) + ปิฎก (ตำรา คัมภีร์ หรือ กระจาด คือภาชนะที่เก็บรวมสิ่งของ) จึงแปลว่า ตำราหรือคัมภีร์ทั้งสาม หรือคัมภีร์ที่เป็นเหมือนกระจาดรวมคำสอนไว้เป็นพวกๆ ๓ คัมภีร์

ธรรมและวินัย ๒ อย่าง ท่านนำมาเก็บรวมจัดใหม่แยกเป็น ๓ ปิฎก คือ

  • วินัย ได้แก่ ระเบียบข้อบังคับสำหรับชีวิตและชุมชนของภิกษุและภิกษุณี จัดไว้เป็นคัมภีร์หนึ่ง เรียกว่า (๑) วินัยปิฎก

  • ธรรม จัดแยกเป็น ๒ คัมภีร์ คือ
     ๑) ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงยักเยื้องไปต่างๆ ให้เหมาะกับบุคคลสถานที่เหตุการณ์มีเรื่องราวประกอบ จัดรวมไว้ เรียกว่า (๒) สุตตันตปิฎก
     ๒) ธรรมที่แสดงเป็นเนื้อหาหรือหลักวิชาล้วนๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ ไม่มีเรื่องราวประกอบ จัดไว้พวกหนึ่ง เรียกว่า (๓) อภิธรรมปิฎก

 


พระไตรปิฎก หรือปิฎก ๓ นี้ เป็นคัมภีร์ที่มีขนาดใหญ่โตมาก มีเนื้อหามากมาย ดังที่ท่านระบุไว้ว่ามี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ฉบับพิมพ์อักษรไทยจัดแยกเป็น ๔๕ เล่ม นับรวมได้ถึง ๒๒,๓๗๙ หน้า หรือเป็นตัวอักษรประมาณ ๒๔,๓๐๐,๐๐๐ ตัว

แต่ละปิฎกมีการจัดแบ่งหมวดหมู่บทตอน ซอยออกไปมากมายซับซ้อน (ดูการจัดแบ่งเฉพาะหมวดใหญ่ๆ ในแผนภูมิหน้า ๗๓)

ในประเทศไทย พระไตรปิฎกได้รับการตีพิมพ์เป็นเล่มหนังสือด้วยอักษรไทยเป็นครั้งแรก ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๑ การตีพิมพ์เสร็จเรียบร้อยและมีการฉลองใน พ.ศ. ๒๔๓๖ พร้อมกับงานรัชดาภิเษก พระไตรปิฎกที่ตีพิมพ์ครั้งนั้นจัดเป็นจบละ ๓๙ เล่ม

ต่อมา พ.ศ. ๒๔๖๘ ในสมัยรัชกาลที่ ๗ ได้โปรดเกล้าฯ ให้ตีพิมพ์ใหม่เป็นพระไตรปิฎกฉบับที่สมบูรณ์ เพื่ออุทิศถวายพระราชกุศลแด่รัชกาลที่ ๖ เรียกว่า พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ มีจำนวนจบละ ๔๕ เล่ม ซึ่งได้ถือเป็นหลักในการจัดแบ่งเล่มพระไตรปิฎกในประเทศไทยสืบมาจนปัจจุบัน

@@@@@@@@

- ๓ - สาระสำคัญของพระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม (เรียงตามลำดับเล่ม)

ก. พระวินัยปิฎก

ประมวลพุทธพจน์หมวดพระวินัย คือพุทธบัญญัติเกี่ยวกับ ความประพฤติ ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมและการดำเนินกิจการต่างๆ ของภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ แบ่งเป็น ๕ คัมภีร์ (เรียกย่อหรือหัวใจว่า อา ปา ม จุ ป)(5-) ๘ เล่ม

เล่ม ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ ฝ่ายภิกษุสงฆ์ (กฎหรือข้อบังคับที่เป็นหลักใหญ่สำหรับพระภิกษุ) ๑๙ ข้อแรก ซึ่งอยู่ในระดับอาบัติหนักหรือความผิดสถานหนัก คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส และอนิยต

เล่ม ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ ฝ่ายภิกษุสงฆ์ ข้อที่เหลือ ซึ่งอยู่ในระดับอาบัติเบาหรือความผิดสถานเบา คือ ตั้งแต่นิสสัคคิยปาจิตตีย์ จนครบสิกขาบท ๒๒๗ หรือ ศีล ๒๒๗

เล่ม ๓ ภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบท ๓๑๑ ของภิกษุณี

เล่ม ๔ มหาวรรค ภาค ๑ ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาติโมกข์ (ระเบียบข้อบังคับทั่วไปเกี่ยวกับความเป็นอยู่และการดำเนินกิจการของภิกษุสงฆ์) ตอนต้น มี ๔ ขันธกะ (หมวด) คือ เรื่องกำเนิดภิกษุสงฆ์และการอุปสมบท อุโบสถ จำพรรษา และปวารณา

เล่ม ๕ มหาวรรค ภาค ๒ ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาติโมกข์ ตอนต้น (ต่อ) มี ๖ ขันธกะ (หมวด) คือ เรื่องเครื่องหนัง เภสัช กฐิน จีวร นิคคหกรรม และการทะเลาะวิวาทและสามัคคี

เล่ม ๖ จุลลวรรค ภาค ๑ ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาติโมกข์ ตอนปลาย มี ๔ ขันธกะ คือ เรื่องนิคคหกรรม วุฏฐานวิธี และการระงับอธิกรณ์

เล่ม ๗ จุลลวรรค ภาค ๒ ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาติโมกข์ ตอนปลาย (ต่อ) มี ๘ ขันธกะ คือ เรื่องข้อบัญญัติปลีกย่อย เรื่องเสนาสนะ สังฆเภท วัตรต่างๆ การงดสวดปาติโมกข์ เรื่องภิกษุณี เรื่องสังคายนา ครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒

เล่ม ๘ ปริวาร คู่มือถามตอบซ้อมความรู้พระวินัย


@@@@@@@

ข. พระสุตตันตปิฎก

ประมวลพุทธพจน์หมวดพระสูตร คือ พระธรรมเทศนา คำบรรยายหรืออธิบายธรรมต่างๆ ที่ตรัสยักเยื้องให้เหมาะกับบุคคลและโอกาส ตลอดจนบทประพันธ์ เรื่องเล่า และเรื่องราวทั้งหลายที่เป็นชั้นเดิมในพระพุทธศาสนา แบ่งเป็น ๕ นิกาย (เรียกย่อหรือหัวใจว่า ที ม สํ อํ ขุ) ๒๕ เล่ม

๑. ทีฆนิกาย ๓ เล่ม (ชุมนุมพระสูตรขนาดยาว)

เล่ม ๙ สีลขันธวรรค มีพระสูตรขนาดยาว ๑๓ สูตร เริ่มด้วย พรหมชาลสูตร (หลายสูตรกล่าวถึงความถึงพร้อมด้วยสีลขันธ์ ซึ่งบางทีก็จำแนกเป็นจุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล จึงเรียกว่า สีลขันธวรรค)

เล่ม ๑๐ มหาวรรค มีพระสูตรขนาดยาว ๑๐ สูตร ส่วนมากชื่อเริ่มด้วย “มหา” เช่น มหาปรินิพพานสูตร มหาสมยสูตร มหาสติปัฏฐานสูตร เป็นต้น

เล่ม ๑๑ ปาฏิกวรรค มีพระสูตรขนาดยาว ๑๑ สูตร เริ่มด้วยปาฏิกสูตร หลายสูตรมีชื่อเสียง เช่น จักกวัตติสูตร อัคคัญญสูตร สิงคาลกสูตร และสังคีติสูตร

๒. มัชฌิมนิกาย ๓ เล่ม (ชุมนุมพระสูตรขนาดกลาง)

เล่ม ๑๒ มูลปัณณาสก์ (บั้นต้น) มีพระสูตรขนาดกลาง ๕๐ สูตร บางสูตรอาจจะคุ้นชื่อ เช่น ธรรมทายาทสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร สติปัฏฐานสูตร รถวินีตสูตร วีมังสกสูตร

เล่ม ๑๓ มัชฌิมปัณณาสก์ (บั้นกลาง) มีพระสูตรขนาดกลาง ๕๐ สูตร ที่อาจจะคุ้นชื่อ เช่น เสขปฏิปทาสูตร ชีวกสูตร อุปาลิวาทสูตร อภยราชกุมารสูตร มาคัณฑิยสูตร รัฏฐปาลสูตร โพธิราชกุมารสูตร องคุลิมาลสูตร ธรรมเจดียสูตร วาเสฏฐสูตร

เล่ม ๑๔ อุปริปัณณาสก์ (บั้นปลาย) มีพระสูตรขนาดกลาง ๕๒ สูตร มีเนื้อหาแตกต่างกันหลากหลาย เช่น เทวทหสูตร โคปกโมคคัลลานสูตร สัปปุริสสูตร มหาจัตตารีสกสูตร อานาปานสติสูตร กายคตาสติสูตร ภัทเทกรัตตสูตร จูฬกรรมวิภังคสูตร สัจจวิภังคสูตร ปุณโณวาทสูตร สฬายตนวิภังคสูตร อินทรียภาวนาสูตร

๓. สังยุตตนิกาย ๕ เล่ม (ชุมนุมพระสูตรที่เกี่ยวกับหัวเรื่องเดียวกันๆ คือ ชุมนุมพระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็นกลุ่มๆ เรียกว่าสังยุตต์หนึ่งๆ ตามเรื่องที่เนื่องกัน หรือตามหัวข้อหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง รวม ๕๖ สังยุตต์ มี ๗,๗๖๒ สูตร)

เล่ม ๑๕ สคาถวรรค รวมคาถาภาษิตที่ตรัสและกล่าวตอบบุคคลต่างๆ เช่น เทวดา มาร ภิกษุณี พราหมณ์ พระเจ้าโกศล เป็นต้น จัดเป็นกลุ่มเรื่องตามบุคคลและสถานที่ มี ๑๑ สังยุตต์

เล่ม ๑๖ นิทานวรรค ครึ่งเล่มว่าด้วยเหตุและปัจจัย คือหลักปฏิจจสมุปบาท นอกนั้น มีเรื่องธาตุ การบรรลุธรรม สังสารวัฏ ลาภสักการะ เป็นต้น จัดเป็น ๑๐ สังยุตต์

เล่ม ๑๗ ขันธวารวรรค ว่าด้วยเรื่องขันธ์ ๕ ในแง่มุมต่างๆ มีเรื่องเบ็ดเตล็ดรวมทั้งเรื่อง สมาธิ และทิฏฐิต่างๆ ปะปนอยู่บ้าง จัดเป็น ๑๓ สังยุตต์

เล่ม ๑๘ สฬายตนวรรค เกือบครึ่งเล่มว่าด้วยอายตนะ ๖ ตามแนวไตรลักษณ์ เรื่องอื่นมีเบญจศีล ข้อปฏิบัติให้ถึง อสังขตะ อันตคาหิกทิฏฐิ เป็นต้น จัดเป็น ๑๐ สังยุตต์

เล่ม ๑๙ มหาวารวรรค ว่าด้วยโพธิปักขิยธรรม ๓๗ แต่เรียงลำดับเป็นมรรค (พร้อมทั้งองค์ธรรมก่อนมรรค) โพชฌงค์ สติปัฏฐาน อินทรีย์ สัมมัปปธาน พละ อิทธิบาท รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น นิวรณ์ สังโยชน์ อริยสัจจ์ ฌาน ตลอดถึงองค์คุณของพระโสดาบันและอานิสงส์ของการบรรลุโสดาปัตติผล จัดเป็น ๑๒ สังยุตต์

๔. อังคุตตรนิกาย ๕ เล่ม (ชุมนุมพระสูตรที่เพิ่มจำนวนขึ้นทีละหน่วย คือชุมนุมพระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็นหมวดๆ เรียกว่า นิบาตหนึ่งๆ ตามลำดับจำนวนหัวข้อธรรม รวม ๑๑ นิบาต หรือ ๑๑ หมวดธรรมมี ๙,๕๕๗ สูตร)

เล่ม ๒๐ เอก-ทุก-ติกนิบาต ว่าด้วยธรรม หมวด ๑ (เช่น ธรรมเอกที่ฝึกอบรมแล้ว เหมาะแก่การใช้งาน ได้แก่ จิต, องค์คุณภายในอันเอกที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่ ได้แก่ความไม่ประมาท ฯลฯ รวมทั้งเรื่องเอตทัคคะ) หมวด ๒ (เช่น สุข ๒ สิบสามชุด, คนพาล ๒, บัณฑิต ๒, ปฏิสันถาร ๒, ฤทธิ์ ๒ ฯลฯ) หมวด ๓ (เช่น มารดาบิดามีฐานะต่อบุตร ๓ อย่าง, ความเมา ๓, อธิปไตย ๓, สิกขา ๓, ฯลฯ)

เล่ม ๒๑ จตุกกนิบาต ว่าด้วยธรรม หมวด ๔ (เช่น อริยธัมม์ หรืออารยธรรม ๔, พุทธบริษัท ๔, ปธาน ๔, อคติ ๔, จักร ๔, สังคหวัตถุ ๔, ฯลฯ)

เล่ม ๒๒ ปัญจก-ฉักกนิบาต ว่าด้วยธรรม หมวด ๕ (เช่น พละ ๕, นิวรณ์ ๕, อภิณหปัจจเวกขณ์ ๕, นักรบ ๕ ฯลฯ) และ หมวด ๖ (เช่น สาราณียธรรม ๖, อนุตตริยะ ๖, คารวตา ๖, อภัพพฐาน ๖, ฯลฯ)

เล่ม ๒๓ สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต ว่าด้วยธรรม หมวด ๗ (เช่น อริยทรัพย์ ๗, อนุสัย ๗, อปริหานิยธรรม ๗, สัปปุริสธรรม ๗, กัลยาณมิตรธรรม ๗, ภรรยา ๗, ฯลฯ) หมวด ๘ (เช่น โลกธรรม ๘, คุณสมบัติของภิกษุที่จะไปเป็นทูต ๘, ทาน ๘, ทานวัตถุ ๘, การบำเพ็ญบุญกิริยาวัตถุ ๓ ในระดับต่างๆ ๘, สัปปุริสทาน ๘, ทิฏฐธัมมิก-สัมปรายิกัตถิกธรรม ๘, ฯลฯ) และ หมวด ๙ (เช่น อาฆาตวัตถุ ๙, อนุปุพพนิโรธ ๙, อนุปุพพวิหาร ๙, นิพพานทันตา ๙, ฯลฯ)

เล่ม ๒๔ ทสก-เอกาทสกนิบาต ว่าด้วยธรรม หมวด ๑๐ (เช่น สังโยชน์ ๑๐, สัญญา ๑๐, นาถกรณธรรม ๑๐, วัฑฒิธรรม ๑๐, ฯลฯ) และ หมวด ๑๑ (เช่น ธรรมที่เกิดต่อจากกันตามธรรมดา ไม่ต้องเจตนา ๑๑, อานิสงส์เมตตา ๑๑, ฯลฯ)

ในอังคุตตรนิกายมีข้อธรรมหลากหลายลักษณะ ตั้งแต่ทิฏฐธัมมิกัตถะถึงปรมัตถะ ทั้งสำหรับบรรพชิตและสำหรับคฤหัสถ์ กระจายกันอยู่โดยเรียงตามจำนวน

๕. ขุททกนิกาย ๙ เล่ม (ชุมนุมพระสูตร คาถาภาษิต คำอธิบาย และเรื่องราวเบ็ดเตล็ดที่จัดเข้าในสี่นิกายแรกไม่ได้ ๑๕ คัมภีร์)

เล่ม ๒๕ รวมคัมภีร์ย่อย ๕ คือ ขุททกปาฐะ รวมบทสวดย่อยๆ เช่น
- มงคลสูตร รตนสูตร กรณียเมตตสูตร ธรรมบท บทแห่งธรรม หรือบทร้อยกรองเอ่ยเอื้อนธรรม มี ๔๒๓ คาถา
- อุทาน พระสูตรแสดงคาถาพุทธอุทาน มีความนำเป็นร้อยแก้ว ๘๐ เรื่อง
- อิติวุตตกะ พระสูตรที่ไม่ขึ้นต้นด้วย “เอวมฺเม สุตํ” แต่เชื่อมความเข้าสู่คาถาด้วยคำว่า “อิติ วุจฺจติ” รวม ๑๑๒ สูตร
- สุตตนิบาต ชุมนุมพระสูตรชุดพิเศษ ซึ่งเป็นคาถาล้วนหรือมีร้อยแก้วเฉพาะส่วนที่เป็นความนำ รวม ๗๑ สูตร

เล่ม ๒๖ มีคัมภีร์ย่อย ๔ ซึ่งเป็นบทประพันธ์ร้อยกรองคือคาถาล้วน ได้แก่
- วิมานวัตถุ เรื่องผู้เกิดในสวรรค์อยู่วิมาน เล่าการทำความดีของตนในอดีต ที่ทำให้ได้ไปเกิดเช่นนั้น ๘๕ เรื่อง
- เปตวัตถุ เรื่องเปรตเล่ากรรมชั่วในอดีตของตน ๕๑ เรื่อง
- เถรคาถา คาถาของพระอรหันตเถระ ๒๖๔ รูป ที่กล่าวแสดงความรู้สึกสงบประณีตในการบรรลุธรรม เป็นต้น
- เถรีคาถา คาถาของพระอรหันตเถรี ๗๓ รูปที่กล่าวแสดง ความรู้สึกเช่นนั้น

เล่ม ๒๗ ชาดก ภาค ๑ รวมบทร้อยกรองคือคาถาแสดงคติธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสเมื่อครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ในอดีตชาติ และมีคาถาภาษิตของผู้อื่นปนอยู่บ้าง ภาคแรก ตั้งแต่เรื่องที่มีคาถาเดียว (เอกนิบาต) ถึงเรื่องมี ๔๐ คาถา (จัตตาฬีสนิบาต) รวม ๕๒๕ เรื่อง

เล่ม ๒๘ ชาดก ภาค ๒ รวมคาถาอย่างในภาค ๑ นั้น เพิ่มอีก แต่เป็นเรื่องอย่างยาว ตั้งแต่เรื่องมี ๕๐ คาถา (ปัญญาสนิบาต) ถึงเรื่องมีคาถามากมาย (มหานิบาต) จบลงด้วยมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งมี ๑,๐๐๐ คาถา ภาคนี้มี ๒๒ เรื่อง บรรจบทั้งสองภาค เป็น ๕๔๗ ชาดก

เล่ม ๒๙ มหานิทเทส ภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายขยายความพระสูตร ๑๖ สูตร ในอัฏฐกวรรคแห่งสุตตนิบาต

เล่ม ๓๐ จูฬนิทเทส ภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายขยายความพระสูตร ๑๖ สูตรในปารายนวรรคและขัคควิสาณสูตรในอุรควรรคแห่งสุตตนิบาต

เล่ม ๓๑ ปฏิสัมภิทามรรค ภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายข้อธรรมที่ลึกซึ้งต่างๆ เช่น เรื่องญาณ ทิฏฐิ อานาปาน อินทรีย์ วิโมกข์ เป็นต้น อย่างพิสดาร เป็นทางแห่งปัญญาแตกฉาน

เล่ม ๓๒ อปทาน ภาค ๑ บทประพันธ์ร้อยกรอง (คาถา) แสดงประวัติพระอรหันต์ โดยเฉพาะในอดีตชาติ เริ่มด้วยพุทธอปทาน (ประวัติของพระพุทธเจ้า) ปัจเจกพุทธอปทาน (เรื่องราวของพระปัจเจกพุทธเจ้า) ต่อด้วยเถรอปทาน (อัตตประวัติแห่งพระอรหันตเถระ) เริ่มแต่พระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ พระอนุรุทธ ฯลฯ พระอานนท์ ต่อเรื่อยไปจนจบภาค ๑ รวม ๔๑๐ รูป

เล่ม ๓๓ อปทาน ภาค ๒ คาถาประพันธ์แสดงอัตตประวัติพระอรหันตเถระต่ออีกจนถึงรูปที่ ๕๕๐ ต่อนั้นเป็นเถรีอปทานแสดงเรื่องราวของพระอรหันตเถรี ๔๐ เรื่อง เริ่มด้วยพระเถรีที่ไม่คุ้นนาม ๑๖ รูป ต่อด้วยพระเถรีที่สำคัญ คือ พระมหาปชาบดีโคตมี พระเขมา พระอุบลวรรณา พระปฏาจารา ฯลฯ พระยโสธรา และท่านอื่นๆ ต่อไปจนจบ

ครั้นจบอปทานแล้ว ท้ายเล่ม ๓๓ นี้ มีคัมภีร์ พุทธวงส์ เป็นคาถาประพันธ์แสดงเรื่องของพระพุทธเจ้าในอดีต ๒๔ พระองค์ที่พระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันเคยได้ทรงเฝ้าและได้รับพยากรณ์ จนถึงประวัติของพระองค์เอง รวมเป็นพระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์

จบแล้วมีคัมภีร์สั้นๆ ชื่อ จริยาปิฎก เป็นท้ายสุด แสดงพุทธจริยาในอดีตชาติ ๓๕ เรื่องที่มีแล้วในชาดก แต่เล่าด้วยคาถาประพันธ์ใหม่ ชี้ตัวอย่างการบำเพ็ญบารมีบางข้อ

ขุททกนิกาย นี้ เมื่อมองโดยภาพรวม ก็จะเห็นลักษณะที่กล่าวว่าเป็นที่ชุมนุมของคัมภีร์ปลีกย่อยเบ็ดเตล็ด คือ แม้จะมีถึง ๑๕ คัมภีร์ รวมได้ถึง ๙ เล่ม แต่

  • มีเพียงเล่มแรกเล่มเดียว ( ๒๕ ) ที่หนักในด้านเนื้อหา หลักธรรม แต่ก็เป็นคัมภีร์เล็กๆ ในเล่มเดียวมีถึง ๕ คัมภีร์ ทุกคัมภีร์มีความสำคัญและลึกซึ้งมาก

  • อีก ๓ เล่ม (๒๘-๒๙-๓๐) คือ นิทเทส และ ปฏิสัมภิทามรรค แม้จะแสดงเนื้อหาธรรมโดยตรง แต่ก็เป็นคำอธิบายของพระสาวก (พระสารีบุตร) ที่ไขความพุทธพจน์ ที่มีอยู่แล้วในคัมภีร์ข้างต้น (ถือได้ว่าเป็นต้นแบบของอรรถกถา)

  • ที่เหลือจากนั้นอีก ๘ คัมภีร์ ล้วนเป็นบทประพันธ์ร้อยกรอง ที่มุ่งความไพเราะงดงามให้เร้าความรู้สึก เช่น เสริมศรัทธาเป็นต้น คือ
     - เล่ม ๒๖ วิมานวัตถุ เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา เล่าประสบการณ์ ความรู้สึก และคติของคนดี คนชั่ว ตลอดจนพระอรหันตสาวกที่จะเป็นตัวอย่าง/แบบอย่าง สำหรับเร้าให้เกิดความรู้สึกสังเวช เตือนใจ และเร้ากำลังใจ ให้ละความชั่ว ทำความดี และเพียรบำเพ็ญอริยมรรค
     - เล่ม ๒๗-๒๘ ชาดก แสดงคติธรรมที่สั่งสอนและเร้าเตือนให้กำลังใจจากการบำเพ็ญบารมีของพระพุทธเจ้าเอง
     - เล่ม ๓๒-๓๓ อปทาน พุทธวงส์ จริยาปิฎก เป็นบทร้อยกรอง บรรยายประวัติ ปฏิปทา และจริยา ของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันตสาวก ในแนวของวรรณศิลป์ที่จะเสริมปสาทะและจรรโลงศรัทธา

(ยังมีต่อ..)



(4-)พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) ครั้งเป็นพระเทพเวที ที่ปรึกษาโครงการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาพระไตรปิฎกและอรรถกถาตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวิทยาลัยมหิดล เขียนขึ้นไว้ และนำลงพิมพ์ในหนังสือ พระไตรปิฎกและอรรถกถาฉบับคอมพิวเตอร์ พร้อมด้วยโปรแกรมเรียกค้นข้อมูลจากคัมภีร์ (BUDSIR) ซึ่งสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พิมพ์เผยแพร่เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ (ตัดตอนมาเฉพาะ ตอน ๑ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับพระไตรปิฎกและอรรถกถา และแก้ไขปรับปรุงเล็กน้อย)

(5-) ที่ย่อเป็น อา กับ ปา นั้น เนื่องมาจากวิธีจัดแบ่งอีกแบบหนึ่ง คือ เรียก เล่ม ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ ว่า อาทิกัมมิกะ (ว่าด้วยสิกขาบทที่เกี่ยวกับอาบัติหนักของภิกษุ) และเรียก เล่ม ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ กับ เล่ม ๓ ภิกขุนีวิภังค์ ว่า ปาจิตตีย์ (ว่าด้วย สิกขาบทเกี่ยวกับอาบัติเบาของภิกษุเป็นต้นไปจนจบสิกขาบทในปาฏิโมกข์ของภิกษุณี)

อนึ่ง วินัยปิฎกทั้ง ๘ เล่ม หรือ ๕ คัมภีร์นี้ บางทีเรียกรวมกันให้สั้นกว่านี้อีกเป็น ๓ คัมภีร์ คือ วิภังค์ หรือ สุตตวิภังค์ (=มหาวิภังค์ และ ภิกขุนีวิภังค์ ได้แก่ เล่ม ๑-๓) ขันธกะ (=มหาวรรค และจุลลวรรค ได้แก่ เล่ม ๔-๗) และปริวาร (เล่ม ๘)

 7 
 เมื่อ: เมษายน 29, 2024, 07:32:31 am 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

 8 
 เมื่อ: เมษายน 29, 2024, 06:38:45 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.

ขอบคุณภาพจาก : https://buatwatpa.com/ธุดงควัตร๑๓/


คาถาโลกุตตระธรรม

คาถาโลกุตตระธรรมบทนี้ เมื่อภิกษุ สามเณร ชี พราหมณ์ ผู้ปฏิบัติ เดินทางเข้าสู่ป่าทางไกลจากบ้านทายก ทายิกา ขัดสนอาหารจะหาทางบิณฑบาตก็ไม่มี ขอให้ท่านทั้งหลายจงใช้พระคาถาโลกุตตระธรรมนี้ เสกใบไม้ซึ่งคนรับประทานได้ 3 จบ รับประทานแทนอาหาร ตามที่เกจิอาจารย์กล่าวไว้ว่า คุ้มได้ 7 วัน
 
    โลกุตตรัง ฌานัง
    โลกุตตรัง มัคคัง ฌานัง
    โลกุตตรัง สติปัฎฐานัง ฌานัง

    โลกุตตรัง สัมมัปปทานัง ฌานัง     
    โลกุตตรัง อิทธิปาทัง ฌานัง      
    โลกุตตรัง อินทรียัง ฌานัง

    โลกุตตรัง พลัง ฌานัง       
    โลกุตตรัง โพชฌงคัง ฌานัง      
    โลกุตตรัง สัจจัง ฌานัง

    โลกุตตรัง สมัตถัง ฌานัง      
    โลกุตตรัง ธัมมัง ฌานัง
    โลกุตตรัง ขันธัง ฌานัง

    โลกุตตรัง อายะตะนัง ฌานัง     
    โลกุตตรัง ธาตุง ฌานัง
    โลกุตตรัง อาหารัง ฌานัง

    โลกุตตรัง ผัสสัง ฌานัง     
    โลกุตตรัง เวทนัง ฌานัง
    โลกุตตรัง สัญญัง ฌานัง

    โลกุตตรัง เจตตะนัง ฌานัง    
    โลกุตตรัง จิตตัง ฌานัง


    @@@@@@@

ภิกษุ สามเณร ชี พราหมณ์ ผู้ปฏิบัติทั้งหลาย เมื่อข้าไปสู่ป่ามีความสะดุ้งหวาดเสียว หรือกลัวตัวสั่นเป็นไข้ ให้ท่านระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระอริยสงฆ์เจ้า โดยสัจจะของตน ให้ภาวนาด้วยพระคาถา “สฬากริวิชชาสูตร” ซึ่งเป็นของพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ให้แก่พระอานนท์ มีดังต่อไปนี้

     สฬากริวิชชาสูตร

     อุคคัณหิตวานะ สหิตัง อิมัง สฬากริวิชชาสุตตัง ธาเรนะสหิเต
     อิมัง สฬกริวิชชาสุตตัง วา เจตัง เจสะหิเต อิมัง สฬากริวิชชาสุตตัง
     ยัง ภวิสสติ ภยังวา ฉัมภิตตัตตังวา โลมหัง โสวา โสปหิยิสสติ
     (ให้ภาวนาทุกค่ำเช้า ดีนักแล) 

     ถ้าความกลัวสะดุ้งหวาดเสียวยังไม่หายให้ว่าอีก ดังนี้

     พุทธังองค์ไกล ลูกขอปัจจุไว้ในหัวข้าพเจ้า ภะยัง พุทธัง สรณัง คัจฉามิ
     ธัมมังองค์ไกล ลูกขอปัจจุไว้ในตัวข้าพเจ้า ภะยัง ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ
     สังฆังองค์ไกล ลูกขอปัจจุไว้ในอาการ 32 แห่งข้าพเจ้า  ภะยัง สังฆัง สรณัง คัจฉามิ

     ถ้ายังไม่หายให้ว่าอีก ดังนี้

     นะโมยะหะ ธายะโหติ
     พุทธังกำจัด ธัมมังกำจาย สังฆังละลาย
     ลิสิ้นสุด ละสิ้นสุด
     พุทธังสูญ ธัมมังสูญ สังฆังสูญ.
     (ใช้ภาวนาหรือทำน้ำมนต์กินก็ได้)

     @@@@@@@

     ต่อไปเป็น คาถาสำหรับกันภัย

     ท่อรันตันติ สิริสมาธิ ท่อรันตันโต กัมมัฏฐานัง ท่อรันตันตัง นะมามิหัง
     (ขณะถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ห้ามไม่ให้พูด ให้ภาวนาด้วยพระคาถานี้เสมอไปอย่าได้ขาด กันภัยได้ดี)






ขอขอบคุณ
ที่มา : http://www.luangpochom.com/pochom240.htm
Created on : Sat, Jul 13, 2002
ปรับปรุงแก้ไขข้อมูลครั้งหลังสุด  : 23/10/2562 , 10:24:15

 9 
 เมื่อ: เมษายน 29, 2024, 06:08:07 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.


 
8 ความเชื่อ อาถรรพ์เกี่ยวกับลางสังหรณ์

คนไทยเรามีความเชื่อแปลกๆ อยู่มากมาย มีทั้งเรื่องดีที่ช่วยเสริมดวงเสริมโชคลาภ และเรื่องไม่ดีที่คนเฒ่าคนแก่มักจะคอยย้ำคอยเตือนเราอยู่เสมอว่าไม่ควรทำ วันนี้ขอยกมา 8 ความเชื่อแปลกๆ (บางคนอ่านแล้วอาจจะบอกไม่แปลกก็ได้ เพราะ “ฉันก็ยังเชื่ออยู่นะ”) ของคนไทยโบราณ ใครอยากรู้ว่ามีอะไรบ้าง ไปดูกัน

@@@@@@@

1. จิ้งจก/ตุ๊กแกร้องทัก

คนที่พอได้ยินความเชื่อนี้ มักกังวลกันว่าห้ามออกจากบ้านเด็ดขาดหากได้ยินเสียงจิ้งจกร้องทัก ไม่ว่าจะกี่ครั้งก็ตาม โดยเฉพาะหากอยู่ด้านหลังหรือตรงกับศีรษะของคุณ จริงๆ แล้วมีรายละเอียดยิ่งกว่านั้น

    - ตุ๊กแกร้อง 9 ครั้ง จะพบความสำเร็จทุกอย่าง
    - ตุ๊กแกร้อง 10 ครั้ง ถือกันว่าเป็นลาง สังหรณ์ที่ดีมาก ทั้งตัวเองและครอบครัวจะมีความสุขความเจริญ ทั้งลาภผลและร่ำรวยเงินทองมากมาย
    - จิ้งจงร้องทัก หากเสียงดังอยู่ เบื้องหน้า ให้รีบเดินทางจะพบโชคลาภความสำเร็จ
    - เสียงดังเบื้องหลังอย่าด่วนรีบไป ควรเปลี่ยนเวลาออกจากบ้าน มิฉะนั้นจะประสบโชคร้ายหรือผิดหวัง
    - เสียงดังจากเบื้องซ้าย การออกเดินทางนอกบ้านจะได้ผลดีประสบความสำเร็จ
    - เสียงดังเบื้องขวา การเดินทางจะไม่ได้ผลดีนักและอาจประสบเคราะห์
    - เสียงดังเบื้องบนศีรษะ อย่าเดินทางไปไกลๆเป็นอันขาด จะประสบความเดือดร้อน
    **ตรงนี้อย่าสับสน ฟังดีๆ อยู่หน้าหรืออยู่บนศีรษะ ฟังผิดชีวิตเปลี่ยนเลยนะคะ**

2. นกแสก

หากอยู่ๆ นกแสกบินมาเกาะที่หลังคาบ้านของคุณถือเป็นลางร้ายหรือจะมีเรื่องร้ายๆ ตามมา หรือหลายคนเชื่อว่าบ้านนั้นจะมีคนเสียชีวิต

เนื่องจากนกแสกเป็นสัตว์ที่มักจะไม่มาปะปนหรือมาให้ผู้คนพบเห็นได้ง่ายนัก คล้ายนกฮูก (จริง ๆ หน้านางก็น่าเอ็นดูอยู่นะคะ แอดว่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า) นางตื่นในเวลากลางคืน จึงถือเป็นสัตว์ที่ให้ความอัปมงคลแก่ผู้ที่พบเห็นเป็นอย่างมาก นอกจากนี้นะ หากได้ยินเสียงนกแสกร้อง ห้ามเอ่ยทักเด็ดขาด จนกว่ามันจะบินไป

อย่างไรก็ตาม วิธีแก้เคล็ด คือ ให้จุดธูปเทียน พร้อมดอกไม้บูชา และสุรา อาหาร อาจเพิ่มด้วยข้าวสาร ข้าวตอก ผ้าขาวและเงินทอง กล่าวอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวร ก็จะช่วยให้คนในครอบครัวปลอดภัยได้

3. การได้ยินเสียงคนร้องทักตอนกลางคืน

การได้ยินแบบนี้ ห้ามขานรับเด็ดขาดเพราะเชื่อกันว่าเป็นเสียงของดวงวิญญาณที่อาจจะมาหลอกหลอนหรือมาขอส่วนบุญส่วนกุศล หรือหากมองให้ลึกลงไปอีก หากเราขานรับ จะเปรียบเสมือนเป็นการเชื้อเชิญหรือยอมรับให้ดวงวิญญาณนั้นๆ เข้ามาในบ้าน และอาจจะเกิดเรื่องไม่ดีได้ (ถึงบ้านเมืองจะเจริญเป็นตึกสูงเต็มไปหมด ยังมีคนได้ยินเสียงกันอยู่นะคะ บางที่เป็นคอนโดยังได้ยินเสียงกันนอกระเบียงเลย)

4. เงาหัวไม่มี/ชะตาขาด

ตามความเชื่อของคนโบราณที่บอกต่อๆกันมา โดยหนึ่งในความเชื่อ ก็คือ “เงาหัวขาด” หากเห็นใครไม่มีหัว นั่นแสดงว่าเขากำลังจะหมดบุญ คือถึงอายุขัยแล้ว หรือบางกรณีก็อาจจะเสียชีวิตกะทันหันเพราะมีเคราะห์หนัก (เสียก่อนถึงอายุขัย)

เห็นคนอื่นคอขาด ไม่มีเงาหัว โบราณว่าเอาไว้ อย่าเพิ่งไปทักคนๆ นั้นให้รู้ตัว แต่ให้รีบนำหมวก หวดนึ่งข้าว ผ้าถุงของแม่ หรืออุปกรณ์อะไรก็ตาม ไปครอบหัวทันทีในตอนนั้น และบอกว่า “ต่อหัวให้แล้วนะ” เป็นเคล็ดต่ออายุให้ยืนยาวออกไป

ส่องกระจก ไม่เห็นหัวตัวเอง แต่ถ้ามองในกระจกหรือมองในน้ำ แล้วไม่เห็นเงาหัวของตนเองก็เช่นกัน ให้เจ้าตัวรีบบอกผู้อื่น นำสิ่งของต่างๆที่กล่าวมาข้างต้น มาครอบหัวทันที แล้วให้คนๆนั้นพูดว่า “ต่อหัวให้แล้วนะ”

ให้เร่งปล่อยสัตว์ที่กำลังจะถูกฆ่า, สวดบทอิติปิโสให้มากกว่าอายุ 1 จบ, สวดมนต์สะเดาะเคราะห์ต่ออายุขัย บท “อุณหิสสะวิชะยะคาถา” ให้สวดทุกๆวันก่อนนอน หรือถ้ามีเวลาควรสวด เช้า – เย็น เพื่อเป็นการต่ออายุขัย และ ถือศีลปฏิบัติธรรมที่วัดเป็นเวลาอย่างน้อย 7 วัน (อันนี้แอดไม่เล่นนะคะ เหตุการณ์ไม่ได้พบกันบ่อยครั้ง เร่งทำ เชื่อแอด)

5. ห้ามใช้หวีที่หักไปแล้ว

ไม่ว่าจะหวีไม้หรือพลาสติกก็ตาม มีความเชื่อว่าหากหวีผมอยู่แล้วหวีหัก ให้คิดไว้เลยว่าจะมีเรื่องร้ายเรื่องไม่ดีตามมา วิธีแก้เคล็ดคือ ให้ทิ้งไปเสีย อย่าเสียดายและอย่าเก็บกลับมาซ่อมหรือใช้ต่อ (ฉะนั้น ใช้ทรีทเม้นท์หมักผมกันบ่อนๆนะเธอ)

6. ห้ามเคาะจานข้าวเวลาทานข้าว

“เวลาทานข้าวอยู่ ห้ามเคาะจานข้าว” ตั้งแต่ยังเล็ก ผู้ใหญ่มักจะคอยบอกคอยสอนเรามาแบบนี้ เนื่องจากมีความเชื่อว่าจะเป็นการเรียกเชิญวิญญาณเร่ร่อนหรือวิญญาณพเนจรให้มากินกับเราด้วย บางความเชื่อก็ว่าจะทำให้รู้สึกว่าทานเท่าไหร่ก็ไม่อิ่ม

7. ได้กลิ่นธูป

ตามความเชื่อหากได้กลิ่นธูปลอยมาโดยในบริเวณนั้นไม่มีใครจุดธูป เป็นเหตุบอกถึงว่าอาจมีวิญญาณของคนสนิท หรือญาติมาหา ให้จุดธูป 1 ดอก แล้วบอกเล่ากับดวงวิญญาณให้ไปสู่ที่สงบ

8. ห้ามตัดผมวันพุธ

เคยสังเกตกันไหมคะว่าทำไมร้านทำผมร้านตัดผมมักจะปิดวันพุธ เพราะเนื่องจากมีความเชื่อกันมาตั้งแต่โบราณแล้วว่าการตัดผมในวันพุธถือเป็นเรื่องไม่ดี ไม่ควรทำ หากตัดผมในวันนี้ “วันพุธห้ามตัด (โบราณว่าหัวกุดท้ายเน่า) วันศุกร์ห้ามเผา วันเสาร์ห้ามแต่ง”

@@@@@@@

การมีความเชื่อเป็นสิ่งที่ดีนะคะ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องตั้งอยู่บนหลักการของเหตุและผล ความเชื่อบางอย่างคนปัจจุบันก็ยังคงยึดถือและนำมาปฏิบัติกันจนถึงทุกวันนี้ ทำแล้วดีก็ทำกันต่อไป แต่บางความเชื่อก็แปลกจนยากที่จะเชื่อได้ แต่เชื่อเถอะ แอดก็ว่ามันเรื่องจริงนะ แต่หาข้อพิสูจน์ไม่ได้ ทำไมโบราณเขาว่ามาแบบนี้อะเนอะ เพราะฉะนั้นหากใครไม่เชื่อ ไม่ลบหลู่จะดีที่สุดนะจ๊ะ (เชื่อแอด ไม่เชื่อแอด ก็เชื่อโบราณเถอะเนาะ)





Thank to : https://www.sanook.com/horoscope/277891/
28 เม.ย. 67 (10:26 น.)

 10 
 เมื่อ: เมษายน 29, 2024, 05:59:48 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



ส่งคืน 35 โบราณวัตถุอายุพันปี จิ๊กซอว์เทพประจำทิศ ปราสาทหินพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์

ส่งคืน 35 โบราณวัตถุอายุพันปี คืนปราสาทหินพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์ นักประวัติศาสตร์ชี้ จิ๊กซอว์สำคัญ ที่เทพประจำทิศทั้ง 8 มีลักษณะโดดเด่น มีสัตว์พาหนะข้างกาย เป็นปราสาทหินเดียวที่มี เพราะไม่เคยพบลักษณะดังกล่าวในไทยและเขมร



ผศ.ดร.กังวล คัชชิมา อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร กล่าวว่า หน่วยงานรัฐที่ดูแลพื้นที่ประวัติศาสตร์ปราสาทหินพิมาย จ.นครราชสีมา ส่งคืนโบราณวัตถุ 35 ชิ้น ให้กับปราสาทหินพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์ เพื่อให้หน่วยงานรัฐไปดูแล จัดแสดงให้อยู่กับปราสาทดั้งเดิม หลังชิ้นส่วนโบราณวัตถุทั้งหมดมีอายุกว่าพันปี ถูกนำไปเก็บไว้ที่โคราชมานาน ก่อนจะมีการจัดส่งคืนให้กับปราสาทหินพนมรุ้ง และเป็นการเชื่อมต่อข้อมูลประวัติศาสตร์ใหม่



ชิ้นส่วนโบราณวัตถุที่ส่งคืน ส่วนใหญ่เป็นทวารบาล เทพประจำทิศ มีความพิเศษกว่าปราสาทหินที่อื่น เพราะยังไม่เคยพบโบราณวัตถุที่เป็นเทพประจำทิศในลักษณะนี้ ทั้งในไทยและกัมพูชา ถ้าเป็นปราสาทหินปกติ เทพประจำทิศจะอยู่กับทับหลังและหน้าบัน แต่โบราณวัตถุที่ส่งคืน เป็นเทพประจำทิศ ที่มีลักษณะเป็นหินสลักแบบลอยตัวเป็นสัดส่วน



โบราณวัตถุที่ส่งคืนจะมีทั้งแบบเป็นแท่งสี่เหลี่ยม สลักรูปเทพพร้อมพาหนะ เช่น แรด ควาย หงส์ มีความพิเศษจากที่อื่น บ่งบอกถึงการให้ความสำคัญกับเทพประจำทิศทั้ง 8 เพราะปราสาทหินปกติ จะให้ความสำคัญกับเทพที่เป็นศูนย์กลางเพียงอย่างเดียว


ผศ.ดร.กังวล คัชชิมา อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร

โบราณวัตถุที่ส่งคืนมายังปราสาทพนมรุ้ง เป็นการแสดงให้เห็นประวัติศาสตร์ใหม่ของปราสาทหิน ที่ให้ความสำคัญกับเทพประจำทิศ แสดงให้เห็นว่าตัวปราสาทหลังกลางต้องมีความพิเศษมากกว่าที่อื่น

ลักษณะการตั้งจะวางโดยรอบปราสาทหลังกลาง ที่สำคัญคือแท่งสี่เหลี่ยม ด้านบนมีลักษณะคล้ายกับดอกบัว เหมือนกับโบราณสถานในอินเดีย ที่ทางก่อนเข้าปราสาทชั้นในจะมีแท่น ไว้สำหรับวางสิ่งของที่นำมาบูชาเพียง 1 ทิศ แต่ของปราสาทหินพนมรุ้ง มีแท่นบูชาทั้งหมด 8 ทิศ




“ลักษณะเทพประจำทิศดังกล่าว ไม่เคยเจอในปราสาทหินทั้งที่ไทยและเขมร นี่จึงเป็นครั้งแรกที่เทพประจำทิศที่ถูกส่งคืนมา จะได้ไขความลับของปราสาทหินพนมรุ้งที่ถูกเก็บงำไว้”

อีกประเด็นทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจคือ ใบหน้าของทวารบาลปราสาทพนมรุ้ง มีใบหน้าที่ไม่ดุดัน ต่างจากทวารบาลที่เขมร จะมีการถือกระบอง แต่ทวารบาลที่นี่ มือหนึ่งถือสิ่งของลักษณะกลม สันนิษฐานว่าเป็นตราประจำแผ่นดิน ส่วนมืออีกข้างเป็นเหมือนกำอะไรบางอย่าง ซึ่งของที่ถือได้สูญหายไปแล้ว




“โบราณวัตถุทั้ง 35 ชิ้น ตอนนี้ได้ส่งคืนไปยังศูนย์ข้อมูลของปราสาทหินพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์ จากเดิมที่ถูกเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์พิมาย จ.นครราชสีมา ซึ่งถูกเก็บไว้ในคลังหลายสิบปี แต่พอส่งคืนมายังปราสาทหินพนมรุ้ง ทำให้คนที่อยากศึกษาประวัติศาสตร์ปราสาทหินเห็นภาพมากขึ้น และเห็นความพิเศษของปราสาทหลังนี้ ที่มีที่เดียวในโลก”

การส่งคืนเทพประจำทิศ ทำให้เห็นภาพทางประวัติศาสตร์ของปราสาทพนมรุ้งชัดเจนมากขึ้น และเป็นข้อมูลสำคัญที่นักประวัติศาสตร์ทั้งของไทยและต่างประเทศ จะได้เห็นโบราณวัตถุชัดเจนมากขึ้น แต่พิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงของปราสาทพนมรุ้งยังค่อนข้างคับแคบ ที่ผ่านมามีความพยายามจะให้ทาง จ.บุรีรัมย์ สร้างพิพิธภัณฑ์จัดแสดงโบราณวัตถุของพนมรุ้งแบบครบวงจร เพราะตอนนี้มีโบราณวัตถุอีกหลายชิ้นที่จะถูกส่งคืนมาจากต่างประเทศ และสามารถทำให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่คนทั่วโลกจะสามารถมาศึกษาได้




ปราสาทพนมรุ้ง เป็นแหล่งประวัติศาสตร์ที่เจอหลักศิลาจารึกมากที่สุด เฉลี่ยมีอยู่ 12 หลัก ซึ่งโบราณวัตถุที่ส่งคืนมายังศูนย์จัดแสดงข้อมูลของปราสาทพนมรุ้ง ยังมีข้อมูลไม่มากพอ จึงต้องใช้เวลาศึกษาอีกสักพัก เพราะโบราณวัตถุกลุ่มดังกล่าวเพิ่งถูกส่งคืนมาไม่นาน หลังถูกเก็บไว้ในโกดังโบราณวัตถุที่โคราช นานหลายสิบปี.




https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2781582
บทความโดย ทีมข่าวเจาะประเด็น ไทยรัฐออนไลน์

หน้า: [1] 2 3 ... 10