ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: แปลกแต่จริง “แห่นาคโหด” หนึ่งเดียวในโลก พิสูจน์กาย วัดใจ งานบุญใหญ่แห่งชัยภูมิ  (อ่าน 1251 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ภาพโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ประเพณีแห่นาคโหดของปีนี้(ภาพ ททท.)

แปลกแต่จริง!!! “แห่นาคโหด” หนึ่งเดียวในโลก...พิสูจน์กาย วัดใจ งานบุญใหญ่แห่ง“ชัยภูมิ”

จังหวัดชัยภูมิ ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานนครราชสีมา เชิญชวนร่วมงานบุญที่ยิ่งใหญ่กับงานประเพณีบุญเดือนหก “แห่นาคโหด” แห่งเดียวในโลก ที่มีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 1 พฤษภาคม 2558 เวลา 14.00 น. เป็นต้นไป ณ บ้าน โนนเสลา - โนนทัน ตำบลหนองตูม อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ
       
       สำหรับ ประเพณีแห่นาคโหด ที่บ้านโนนเสลานี้ ถือเป็นประเพณีโบราณที่ปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาหลายร้อยปี โดยชาวบ้านจะร่วมกันจัดงานอุปสมบทหมู่ให้กับคนหนุ่มหรือบุตรหลานในหมู่บ้านที่มีอายุครบ 20 ปี เพื่อให้ลูกหลานได้บวชแทนคุณบิดามารดา ด้วยความตั้งใจที่จะบวชเอง ซึ่งจะมีการเตรียมตัวมาตั้งแต่เดือนสี่
       
       โดยผู้เป็นบิดาจะพาบุตรชายไปฝากไว้กับเจ้าอาวาส ใน 2 วัดของหมู่บ้านโนนเสลา คือวัดบุญถนอมพัฒนาราม (วัดนอก) และวัดตาแขก (วัดใน) เพื่อถือขัน 5 ประกอบด้วย เทียน 5 คู่ ดอกไม้ 5 คู่ ไปฝากตัวเป็นนาคปฏิบัติธรรมถือศีล 8 อยู่ที่วัด เรียนรู้บทสวดที่จะบวช และเรียนรู้ พระธรรมวินัยเบื้องต้น ก่อนถึงกำหนดวันบวชของประเพณี งานบุญเดือนหกเริ่มต้นด้วย พิธีการตัดและโกนผมนาคกันก่อนตามพิธีบวชปกติ
       
       แต่ก่อนจะเข้าพิธีสู่ขวัญ นาคทุกคนจะต้องพากันออกจากวัดไปกราบศาลปู่ตาซึ่งเป็นศาลประจำหมูบ้านกันก่อน เมื่อเสร็จแล้วนาคทุกคนค่อยกลับวัดเพื่อทำพิธีสู่ขวัญนาคต่อไป


        :25: :25: :25: :25:

       จากนี้ไปเป็นความเชื่อที่นับถือกันต่อมาด้วยการแห่นาคจากบ้านตนเองรอบหมู่บ้าน โดยจะใช้คนหนุ่มที่ยังไม่ได้บวชของแต่ละหมู่บ้าน มาช่วยกันหามแคร่ไม้ไผ่ แห่นาคไปรอบหมู่บ้าน และเขย่าโยนนาคอย่างรุนแรง ถือเป็นการทดสอบความตั้งใจว่า ผู้บวชจะมีความมุ่งมั่นอดทนที่จะบวชแทนคุณบิดามารดาหรือไม่
       
       โดยผู้บวชจะต้องประคองตัวเองไม่ให้ตกลงมาจากแคร่ หากใครตกลงมาถูกพื้นดินจะถือว่าขาดคุณสมบัติไม่ให้บวช โดยจะเป็นเช่นนี้ตลอดระยะทางที่แห่รอบหมู่บ้านกว่า 3 กิโลเมตร ซึ่งตั้งแต่มีการปฏิบัติสืบทอดกันมาใน พ.ศ. 2514 จนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีผู้ใดตกลงมาถูกดินเลยสักราย ถึงแม้จะได้รับบาดเจ็บรุนแรงที่สุด คือ ศีรษะแตกและแขนหลุดก็ตาม ศรัทธามหามงคลยังดำเนินต่อไปตามความเชื่อและความรู้สึกในเส้นทางศาสนา
       
       สำหรับผู้สนใจสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ อำเภอภูเขียว โทรศัพท์ 0-4486-1000 องค์การบริหารส่วนตำบลหนองตูม โทรศัพท์ 0-4482-3637 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) สำนักงานนครราชสีมา โทร. 0-4421-3666


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9580000048682
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ