ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การขอขมา-กิจของผุ้มีบุญบารมีจะพ้นทุกข์ (ตอนที่๑/๓)  (อ่าน 2728 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การขอขมา-กิจของผุ้มีบุญบารมีจะพ้นทุกข์ (ตอนที่๑/๓)

สมเด็จพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ในติณกัฏฐสูตรว่า “เหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น และมีตัณหาเป็นเครื่องประกอบ ย่อมเที่ยวไปมาหาที่เบื้องต้นและที่สุดไม่ได้”

ดังนั้นการเวียนว่ายตายเกิดจึงมีผลทำให้ก่อกำเนิดสายสัมพันธ์กับบุคคลและสัตว์ต่างๆ ไม่เป็นที่สิ้นสุด หาก เพียงจะคะเนว่าสังสารนี้มีความยาวนาน กำหนดได้อย่างไร ให้ลองจินตนาการถึงการนำทุกยอดหญ้า กิ่งไม้ทุกกิ่ง และใบไม้ทุกใบ ทั่วทั้งชมพูทวีป นำมาทำให้เป็นมัด มัดละ ๔ นิ้ว สมมุติว่านี่เป็นมารดา นี่เป็นมารดาของมารดา ฯลฯ ย่อมไม่ปรากฏว่าจะหมด หรือ สิ้นสุดได้แต่อย่างไร…สังสารนี้ก็เช่นนั้นย่อมกำหนดเบื้องต้นและปลายไม่ได้

ความ สัมพันธ์อันยาวนานตลอดจนการเกี่ยวเนื่องกับบุคคลและสัตว์ทั้งหลาย ย่อมก่อกำเนิดวัฏจักรของกรรม อันเป็นอำนาจอันยิ่งใหญ่ และสานต่อวัฏจักรออกไปให้ไม่มีที่สิ้นสุด

ดังนั้นการพบเจอกันของบุคคลต่างๆในภพชาติใดๆก็ตาม จึงคล้ายมีสายใยแห่งกรรมทอประสานบุคคลและสัตว์ต่างๆไว้ด้วยกัน ซึ่งปุถุชนมองไม่เห็น แต่ผู้รู้ท่านเห็นได้


คำว่า"กรรม"ใน ทางพระพุทธศาสนา ท่านหมายเอาถึงการกระทำ ซึ่ง เป็นคำกลางๆ ที่ไม่เฉพาะเจาะจงว่าเป็นการกระทำที่ดีหรือไม่ดี แต่คนไทยโดยมาก มักหมายความถึง “ความไม่ดี” อันได้แก่ อกุศลธรรม หรือบาปกรรม

คำสอน ในพระพุทธศาสนาชี้ว่า ผลของกรรมเป็นไปตามเหตุของเหตุอันได้กระทำ คือ ผลดีก็เกิดแต่เหตุดี และ ผลชั่วก็เกิดแต่เหตุชั่ว บุคคลทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน..


หนังสือ “อำนาจอันยิ่งใหญ่แห่งกรรม” บทพระนิพนธ์ของสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า “อำนาจของกรรมยิ่งใหญ่ในโลก ไม่มีอำนาจใดทำลายล้างได้ แม้อำนาจของกรรมดีก็ไม่อาจทำลายอำนาจของกรรมชั่ว และอำนาจของกรรมชั่วก็ไม่อาจทำลายอำนาจของกรรมดี"

สายใยกรรมซึ่งมอง ไม่เห็น จึงเป็นพันธการแน่นหนาที่ยากจะถอดถอน ดั่งเช่นบางคนมีเจตนาทางกาย วาจา ใจ อันประกอบไปด้วยความเบียดเบียนกับผู้อื่น จึงเข้าถึงโลกที่ได้รับการเบียดเบียน ได้เสวยเวทนาที่มีการเบียดเบียน อันเป็นทุกข์โดยส่วนเดียว, บางคนไม่มีความเบียดเบียน จึงได้รับสัมผัสที่ไม่มีการเบียดเบียน ได้เสวยเวทนาอันเป็นสุข ส่วนเดียว, ผู้ใดมีวิบากกรรมทั้งดีทั้งไม่ดี ก็จะเสวยทุกข์บ้าง สุขบ้าง ส่วนผู้ใดมีเจตนาละกรรมดีและกรรมไม่ดี ย่อมเป็นไปเพื่อสิ้นกรรม

โดย เฉพาะเมื่อประกอบกรรมดำ ย่อมส่งผลให้ต้องมาเสวย เวทนา อันเป็นทุกข์ เดือดร้อน เมื่อกรรมดึงดูดบุคคล และสัตว์ให้ต้องมาชดใช้วิบากกรรมต่อกัน ซึ่งไม่มีทางทราบได้ตั้งแต่แรก ว่าความสัมพันธ์ต่อกัน จะออกมาในลักษณะใด

ดังนั้นมีวิธีใดบ้างที่พอจะถอดถอน และตัดรอนวิบากกกรรมดำที่มีต่อกันได้?

วิธี การหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาวิบากกรรมทางพระพุทธศาสนาได้ ก็คือการเพิ่มพูนบารมีความดีให้มากและสม่ำเสมอในภพภูมินี้ ก็อาจทำให้อำนาจกกรรมชั่วที่ได้ทำมาแล้วตามถึงได้ยาก ดั่งมีเครื่องขวางไว้

ดังเช่นที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงตรัสไว้ว่า การเอาเมล็ดเกลือ ใส่จอกน้ำเล็กๆ น้ำในจอกนั้นก็เค็มได้ แต่ถ้าเอาใส่ลงไปในแม่น้ำคงคาก็ไม่เค็ม เปรียบเหมือนพื้นฐานภายในของคนในการอบรมกาย อบรมศีล อบรมจิต อบรมปัญญา เป็นต้น (ถ้าอบรมมากก็เป็นดังห้วงน้ำใหญ่ ที่ใส่เกลือลงไปแล้วไม่เค็ม)


***โปรดติดตามตอนต่อไป***

ที่มาเนื้อหา
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=tilltomorrow&month=06-01-2011&group=2&gblog=25
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การขอขมา-กิจของผุ้มีบุญบารมีจะพ้นทุกข์ (ตอนที่๒/๓)

การขอขมา เป็นสิ่งที่สำคัญและไม่ควรละเลย เพราะ เป็นพุทธกิจ อริยกิจ เป็นกิจของผู้มีบุญบารมีที่จะพ้นทุกข์ แม้แต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันตเจ้าทั้งหลาย ถึงแม้นจะเข้าสู่พระนิพพานสันติบทไปแล้ว ท่านเหล่านั้นก็ยังไม่ละเลยต่อขมาปนกิจ

ถ้าหากการขอขมา ไม่มีความจำเป็นและไม่มีอานิสงส์เสียแล้ว ก็คงจะไม่ได้เห็น พิธีการขอขมาในรูปแบบต่างๆ มากมาย เช่น การขอขมาโทษต่อพระรัตนตรัยก่อนนั่งภาวนา, การขอขมาบิดามารดาและญาติ สำหรับผู้ที่จะบวชเป็นต้น

ตามปกติ เราไม่สามารถที่จะติดตามดูกรรม และผลของกรรมที่เกิดขึ้นได้ เราไม่อาจทราบได้ว่าในอดีตเราเคยได้เบียดเบียนและทำความเดือดร้อนให้กับ บุคคลและสัตว์ใดๆไว้หรือไม่ อย่างไร...

แต่เราต้องเคยได้ประกอบกรรม ไม่ดี อย่างน้อยอย่าหนึ่งไว้อย่างแน่นอน เพราะความเป็นปุถุชน จึงไม่มีใครเลย ในโลกนี้ที่จะไม่เคยทำความผิดพลาด

ท่านผู้รู้จึงให้ ขอขมาซึ่งกันมื่อมีโอกาส เพราะเป็นการแสดงความอ่อนน้อมถ่อมตน ปลดระวางทิฏฐิมานะ และเบื้องต้นเพื่อให้ใจของผู้ขอขมาเป็นอิสระจากบาปในใจตน,

การขอขมา มีมหาอานิสงส์สูง เป็นพุทธกิจ เป็นกิจของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ เป็นกิจของพระอรหันตเจ้าทั้งหลาย เป็นอริยกิจ เป็นกิจของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เป็นกิจของผู้มีบุญญาบารมีที่จะพ้นทุกข์ทั้งปวงในจักรวาล เป็นกิจเพื่อพระนิพพานอย่างแท้จริงเป็น ๑



อานิสงส์การขอขมา

การ ขอขมามีอานิสงส์ปลดเปลื้องทุกข์ในใจ เป็นการแสดงความตั้งใจจริงในการยอมรับความผิดพลาด ผู้ที่มองเห็นความผิดพลาดและสำนึกในบาปที่กระทำ ย่อมเป็นการยากที่จะหันกลับไปทำความชั่วอีก

ทั้งผู้รับการขอขมาหากเห็นความตั้งใจของผู้ขอขมา ก็ย่อมมีจิตใจน้อมไปทางตัดรอนความพยาบาทอาฆาตที่เคยมีต่อกัน การ ขอขมาจึงมีอานิสงส์สูงทั้งต่อผู้ขอขมาและผู้รับการขอขมา เพราะเป็นการบำเพ็ญคุณธรรมขึ้นภายในดวงใจ ได้แก่ ความอ่อนน้อม หิริโอตัปปะ และการให้อภัย

การขอขมาจึงเป็นกิจของผุ้มีบุญบารมีที่จะพ้น ทุกข์ทั้งปวงในจักรวาล แม้นสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นศาสดาของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ทรงเป็นพระจอมไตรโลก มียศยิ่งใหญ่กว่าผู้ใดในโลกสาม แลพระอรหันตเจ้าทั้งหลายท่านยังเอื้อนพระโอษฐ์ขอขมา

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อครั้งเมื่อพระนางพิมพาผู้เป็นพระชายาของเจ้าชายสิทธัตถะคู่รักคู่บารมี ของพระโพธิสัตว์ ได้ร่วมสุข ร่วมทุกข์ยาวนานกว่าสตรีอื่น เมื่อครั้งพระนางเป็นภิกษุณีกราบทูลลานิพพานต่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนางก็ได้เอื้อนพระโอษฐ์ กล่าวขอขมาพระมุนีเจ้าดั่งนี้

“ข้าแต่พระ มหาวีรเจ้า เมื่อหม่อมฉันท่องเที่ยวไปในวัฏสงสาร หากมีความพลั้งพลาดใดในพระองค์ ขอพระองค์ทรงโปรดประทานโทษแก่หม่อมฉันด้วยเถิด”

ครั้งนั้นสมเด็จพระผู้มีพระภาคตรัสอดโทษแก่พระนาง และตรัสให้พระนางอดโทษานุโทษต่อพระองค์ ดังนี้

“…โทษ ผิดอันใดที่เจ้าเคยมีต่อเราตถาคตแต่ปางก่อน วันนี้เป็นวันที่เราตถาคตอดโทษให้แก่เจ้าจนหมดสิ้น อนึ่ง โทษานุโทษอันใด ที่เราตถาคตได้เคยประมาทล่วงเกินเจ้า ด้วยความพลาดพลั้งทั้งลับหลังและต่อหน้าตลอดเวลาที่ยังต้องท่องเที่ยวเวียน ว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร ขอเจ้าจงอดโทษานุโทษนั้น ให้แก่เราตถาคตเสียให้สิ้น แล้วจงดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพานอันเป็นเอกันตบรมสุขไปก่อนเถิดนะ เจ้าพิมพา"

ภาพ ที่บุคคลขอขมาซึ่งกันและกันจึงเป็นภาพอัศจรรย์ประการหนึ่งในโลก เพราะแม้นแต่สมเด็จพระจอมไตรยังทรงตรัสขอขมา การขอขมาจึงเป็นประหนึ่งการปลดหนี้วิบากกรรมที่มีต่อกัน เป็นการลาทุกข์ ปลูกมรคผล ได้เลิศล้นพ้นมารภัย

บุคลควรตั้งจิตน้อมไปเพื่อขอขมาต่อ สรรพสัตว์ทุกชีวิต สูงสุดคือพระรัตนตรัย บิดา มารดา ครูบาอาจารย์ แม้แต่ต่อบุคคลผู้อยู่ในทิศเบื้องล่าง ก็ควรที่จะกล่าวขอขมาได้

การ ขอขมาไม่ใช่เป็นการทำตนให้ต่ำต้อยด้อยค่าแต่อย่างใด ตรงกันข้ามผู้ขอขมาเป็นผู้ที่กำลังจะได้รับการเลื่อนขั้นทางจิตวิญญาณ เพราะการขอขมาเป็นการลดละตัวตนและเพิ่มพูนบารมีในดวงใจ เป็นสิ่งที่ทวนกระแสกิเลส และกระทำได้ยากสำหรับบุคคลโดยทั่วไป ดังนั้นจึงเป็นประเพณีของบุคคลผู้จะพ้นทุกข์ทั้งหลาย

*** โปรดติตตามตอนต่อไป ***
ที่มา
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=tilltomorrow&date=08-01-2011&group=2&gblog=26
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การขอขมา-กิจของผุ้มีบุญบารมีจะพ้นทุกข์ (ตอนที่๑/๓)

สมเด็จพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ในติณกัฏฐสูตรว่า “เหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น และมีตัณหาเป็นเครื่องประกอบ ย่อมเที่ยวไปมาหาที่เบื้องต้นและที่สุดไม่ได้”

ดังนั้นการเวียนว่ายตายเกิดจึงมีผลทำให้ก่อกำเนิดสายสัมพันธ์กับบุคคลและสัตว์ต่างๆ ไม่เป็นที่สิ้นสุด หาก เพียงจะคะเนว่าสังสารนี้มีความยาวนาน กำหนดได้อย่างไร ให้ลองจินตนาการถึงการนำทุกยอดหญ้า กิ่งไม้ทุกกิ่ง และใบไม้ทุกใบ ทั่วทั้งชมพูทวีป นำมาทำให้เป็นมัด มัดละ ๔ นิ้ว สมมุติว่านี่เป็นมารดา นี่เป็นมารดาของมารดา ฯลฯ ย่อมไม่ปรากฏว่าจะหมด หรือ สิ้นสุดได้แต่อย่างไร…สังสารนี้ก็เช่นนั้นย่อมกำหนดเบื้องต้นและปลายไม่ได้

ความ สัมพันธ์อันยาวนานตลอดจนการเกี่ยวเนื่องกับบุคคลและสัตว์ทั้งหลาย ย่อมก่อกำเนิดวัฏจักรของกรรม อันเป็นอำนาจอันยิ่งใหญ่ และสานต่อวัฏจักรออกไปให้ไม่มีที่สิ้นสุด

ดังนั้นการพบเจอกันของบุคคลต่างๆในภพชาติใดๆก็ตาม จึงคล้ายมีสายใยแห่งกรรมทอประสานบุคคลและสัตว์ต่างๆไว้ด้วยกัน ซึ่งปุถุชนมองไม่เห็น แต่ผู้รู้ท่านเห็นได้


คำว่า"กรรม"ใน ทางพระพุทธศาสนา ท่านหมายเอาถึงการกระทำ ซึ่ง เป็นคำกลางๆ ที่ไม่เฉพาะเจาะจงว่าเป็นการกระทำที่ดีหรือไม่ดี แต่คนไทยโดยมาก มักหมายความถึง “ความไม่ดี” อันได้แก่ อกุศลธรรม หรือบาปกรรม

คำสอน ในพระพุทธศาสนาชี้ว่า ผลของกรรมเป็นไปตามเหตุของเหตุอันได้กระทำ คือ ผลดีก็เกิดแต่เหตุดี และ ผลชั่วก็เกิดแต่เหตุชั่ว บุคคลทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน..


หนังสือ “อำนาจอันยิ่งใหญ่แห่งกรรม” บทพระนิพนธ์ของสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า “อำนาจของกรรมยิ่งใหญ่ในโลก ไม่มีอำนาจใดทำลายล้างได้ แม้อำนาจของกรรมดีก็ไม่อาจทำลายอำนาจของกรรมชั่ว และอำนาจของกรรมชั่วก็ไม่อาจทำลายอำนาจของกรรมดี"

สายใยกรรมซึ่งมอง ไม่เห็น จึงเป็นพันธการแน่นหนาที่ยากจะถอดถอน ดั่งเช่นบางคนมีเจตนาทางกาย วาจา ใจ อันประกอบไปด้วยความเบียดเบียนกับผู้อื่น จึงเข้าถึงโลกที่ได้รับการเบียดเบียน ได้เสวยเวทนาที่มีการเบียดเบียน อันเป็นทุกข์โดยส่วนเดียว, บางคนไม่มีความเบียดเบียน จึงได้รับสัมผัสที่ไม่มีการเบียดเบียน ได้เสวยเวทนาอันเป็นสุข ส่วนเดียว, ผู้ใดมีวิบากกรรมทั้งดีทั้งไม่ดี ก็จะเสวยทุกข์บ้าง สุขบ้าง ส่วนผู้ใดมีเจตนาละกรรมดีและกรรมไม่ดี ย่อมเป็นไปเพื่อสิ้นกรรม

โดย เฉพาะเมื่อประกอบกรรมดำ ย่อมส่งผลให้ต้องมาเสวย เวทนา อันเป็นทุกข์ เดือดร้อน เมื่อกรรมดึงดูดบุคคล และสัตว์ให้ต้องมาชดใช้วิบากกรรมต่อกัน ซึ่งไม่มีทางทราบได้ตั้งแต่แรก ว่าความสัมพันธ์ต่อกัน จะออกมาในลักษณะใด

ดังนั้นมีวิธีใดบ้างที่พอจะถอดถอน และตัดรอนวิบากกกรรมดำที่มีต่อกันได้?

วิธี การหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาวิบากกรรมทางพระพุทธศาสนาได้ ก็คือการเพิ่มพูนบารมีความดีให้มากและสม่ำเสมอในภพภูมินี้ ก็อาจทำให้อำนาจกกรรมชั่วที่ได้ทำมาแล้วตามถึงได้ยาก ดั่งมีเครื่องขวางไว้

ดังเช่นที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงตรัสไว้ว่า การเอาเมล็ดเกลือ ใส่จอกน้ำเล็กๆ น้ำในจอกนั้นก็เค็มได้ แต่ถ้าเอาใส่ลงไปในแม่น้ำคงคาก็ไม่เค็ม เปรียบเหมือนพื้นฐานภายในของคนในการอบรมกาย อบรมศีล อบรมจิต อบรมปัญญา เป็นต้น (ถ้าอบรมมากก็เป็นดังห้วงน้ำใหญ่ ที่ใส่เกลือลงไปแล้วไม่เค็ม)


***โปรดติดตามตอนต่อไป***
ที่มา
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=tilltomorrow&date=06-01-2011&group=2&gblog=25
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง