ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การนอน การฝัน การตื่น ในพระไตรปิฎกกล่าวไว้ดังนี้  (อ่าน 4514 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

อรรถกถา ขุททกนิกาย มหานิทเทส อัฏฐกวัคคิกะ
๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

ผู้ฝันย่อมฝันด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ
ธาตุโขภะ ธาตุกำเริบ ๑
อนุภูตปุพพะ เคยเสพมาก่อน ๑
เทวโตปสังหาระ เทวดาดลใจ ๑
ปุพพนิมิต ลางบอกเหตุ ๑.


               ในความฝัน ๔ ประการนั้น
ผู้มีธาตุกำเริบ เพราะดีเป็นต้นกำเริบ ชื่อว่าฝันโดยธาตุกำเริบ.
ผู้ฝันโดยเคยเสพมาก่อนแล้ว ย่อมเห็นอารมณ์ที่เคยเสพมาแล้วในกาลก่อน.
ฝันโดยเทวดาดลใจ ย่อมเห็นอารมณ์ทั้งหลายด้วยอานุภาพของเทวดาทั้งหลาย.
ฝันโดยบอกเหตุล่วงหน้า ย่อมฝันเห็นลางบอกเหตุล่วงหน้าแห่งสิ่งที่เป็นประโยชน์ หรือสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
อันประสงค์จะให้เกิดด้วยอำนาจบุญและบาป.


ในความฝันเหล่านั้น ฝันโดยธาตุกำเริบและโดยที่เคยเสพมาก่อนแล้ว ไม่เป็นจริง.
ฝันโดยเทวดาดลใจ จริงบ้างไม่จริงบ้าง. เพราะเทวดาโกรธ ประสงค์จะให้ถึงความพินาศโดยอุบาย ก็แสดงทำให้วิปริต.
ฝันโดยบอกเหตุล่วงหน้า จริงโดยส่วนเดียว.



พระอเสขะไม่ฝัน
               ประเภทแห่งความฝัน ย่อมมีโดยประเภทแห่งความเกี่ยวข้องกันของมูลเหตุ ๔ อย่างเหล่านี้
               ปุถุชน ผู้เป็นเสกขะย่อมฝัน ๔ อย่างนี้ เพราะยังละความวิปลาสไม่ได้.
พระอเสกขะไม่ฝัน เพราะละวิปลาสได้แล้ว.


            เมื่อฝันหลับฝันหรือตื่นฝัน หรือไม่หลับไม่ตื่น.
               ในข้อนี้ผิว่าหลับฝัน ผิดทางอภิธรรมโดยแท้ เพราะว่าฝันด้วยจิตเข้าสู่ภวังค์ (ไม่รู้สึกตัว) ความฝันนั้นไม่มีอารมณ์มีรูปนิมิตเป็นต้น หรือไม่สัมปยุตด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้น.

ลิงหลับแล้วฝันอย่างไร
               อนึ่ง เมื่อฝันจิตเช่นนี้ย่อมเกิดขึ้น เมื่อเป็นเช่นนั้น ตื่นฝันจึงผิดทางวินัย เพราะว่าตื่นฝัน ย่อมฝันด้วยจิตเป็นอัพโพหาริก (มีเหมือนไม่มี) ชื่อว่าไม่เป็นอาบัติในเพราะทำการละเมิดด้วยจิตเป็นอัพโพหาริกไม่มี เมื่อผู้ฝันทำการละเมิด ไม่เป็นอาบัติโดยส่วนเดียวเท่านั้น ดังนั้นไม่หลับไม่ตื่นฝัน ใครๆ ก็ไม่ฝัน เมื่อเป็นอย่างนี้ ความฝันก็ไม่มี ไม่ฝันก็ไม่มี. เพราะเหตุไร. เพราะฝันเช่นเดียวกับลิงหลับ.

               ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า มหาบพิตร ฝันย่อมเห็นเช่นกับลิงหลับแล.
               บทว่า กปิมิทฺธปเรโต คือ ประกอบแล้วด้วยการนอนหลับของลิง. การหลับใดเปลี่ยนไปเร็ว เพราะเจือด้วยจิตเป็นกุศลเป็นต้นบ่อยๆ การออกจากภวังคจิตบ่อยๆ ย่อมมีในความเป็นไปของการหลับใด ย่อมฝันประกอบด้วยการหลับนั้น เหมือนการหลับของลิงเปลี่ยนแปลงไปได้เร็วฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้น ความฝันนี้จึงเป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง อัพยากฤตบ้าง.

               ในความฝันนั้นพึงทราบว่า ความฝันของบุคคลผู้กระทำการไหว้พระเจดีย์ การฟังธรรมและแสดงธรรมเป็นต้นเป็นกุศล ความฝันของบุคคลผู้กระทำปาณาติบาตเป็นต้นเป็นอกุศล ความฝันนอกเหนือจากสองอย่างนั้นเป็นอัพยากฤต ในขณะที่อารมณ์นั้นเป็นอาวัชชนะ. ความฝันนั้นไม่สามารถฉุดรั้งปฏิสนธิได้ เพราะมีกำลังน้อย แต่กุศลอกุศลอื่นค้ำจุน ย่อมให้วิบากได้ในเพราะยังเป็นไปอยู่.



อ้างอิง
ที่มา  http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29.0&i=699&p=3
อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก ตุวฏกสุตตนิทเทสที่ ๑๔
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ ,พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑ , ขุททกนิกาย มหานิทเทส 
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=29&A=7639&Z=9093
ขอขอบคุณภาพจากเว็บ rmutphysics,2.bp.blogspot,thaimtb
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 24, 2011, 02:59:08 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
การนอน ๔ อย่าง และ การกำหนดเวลาตื่น ในพระไตรปิฎก
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 24, 2011, 02:57:29 pm »
0

อรรถกถา ขุททกนิกาย มหานิทเทส อัฏฐกวัคคิกะ
๑๔. ตุวฏกสุตตนิทเทส

      การนอนมี ๔ อย่าง คือ
                                 กามโภคีเสยฺยา ๑
                                 เปตเสยฺยา ๑
                                 สีหเสยฺยา ๑
                                 ตถาคตเสยฺยา ๑.


               ในการนอน ๔ อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
               ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนบริโภคกามโดยมากนอนโดยข้างซ้าย นี้ชื่อว่ากามโภคีไสยา.
               จริงอยู่ คนบริโภคกามเหล่านั้นย่อมไม่นอนโดยข้างขวา.


               ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรตโดยมากนอนหงาย นี้ชื่อว่าเปตไสยา.
               จริงอยู่ เพราะเปรตมีเนื้อและเลือดน้อย เปรตห่อหุ้มด้วยโครงกระดูก จึงไม่อาจจะนอนโดยข้างหนึ่งได้ จึงต้องนอนหงาย.


               ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สีหมฤคราชสำเร็จการนอนโดยข้างขวา ฯลฯ จึงพอใจ นี้ชื่อว่าสีหไสยา.
               จริงอยู่ สีหมฤคราชเพราะมีอำนาจสูง วางเท้าทั้งสองไว้ที่เท้าหลังข้างหนึ่งในที่เดียวกัน สอดหางไว้หว่างขา กำหนดโอกาสที่เท้าหน้าเท้าหลังและหางตั้งอยู่ แล้ววางศีรษะลงบนที่สุดเท้าหน้าทั้งสองนอน แม้นอนหลับตลอดวัน เมื่อตื่นก็ตื่นอย่างไม่หวาดสะดุ้ง เงยศีรษะสังเกตโอกาสที่เท้าหน้าเป็นต้นตั้งอยู่.

               หากที่ไรๆ ละไปตั้งอยู่ไม่เรียบร้อย สีหมฤคราชก็เสียใจว่านี้ไม่สมควรแก่เจ้าผู้มีความกล้าหาญโดยกำเนิด จึงนอนต่อไปในที่นั้น ไม่ไปแสวงหาอาหาร แต่ครั้นเมื่อไม่ละ ตั้งอยู่เรียบร้อย สีหะก็ดีใจว่านี้สมควรแก่เจ้าผู้มีความกล้าหาญโดยกำเนิด จึงลุกบิดกายอย่างสีหะ สลัดขนที่คอ บันลือสีหนาท ๓ ครั้ง แล้วจึงไปหาอาหาร.

               ส่วนการนอนด้วยจตุตถฌานเรียกว่า ตถาคตไสยา (พระตถาคตนอน).

               ในไสยา ๔ อย่างเหล่านั้น ในที่นี้หมายเอาสีหไสยา. เพราะไสยานี้ ชื่อว่าเป็นไสยาอย่างสูงที่สุด เพราะเป็นอิริยาบถที่มีอำนาจสูง.

               บทว่า ปาเท ปาทํ ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า คือ เท้าซ้ายทับเท้าขวา.
               บทว่า อจฺจาธาย คือ ตั้งเท้าเหลื่อมเท้าเลยไปนิดหน่อย.
               เพราะเมื่อข้อเท้าเสียดสีกับข้อเท้า เข่าเสียดสีกับเข่า นอนไม่สบาย.
               เมื่อตั้งเท้าเลยไปโดยที่ไม่เสียดสีกันเวทนาย่อมไม่เกิด จิตก็มีอารมณ์เป็นหนึ่ง นอนสบาย.
               ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า.


               บทว่า สโต สมฺปชาโน คือ เป็นผู้ประกอบด้วยสติและสัมปชัญญะ.
               ด้วยบทนี้ กล่าวถึงสติสัมปชัญญะที่กำหนดไว้ดีแล้ว.

การกำหนดเวลาตื่น
               บทว่า อุฏฺฐานสญฺญํ มนสิกริตฺวา ทำสัญญาในการตื่นขึ้นไว้ในใจ คือ
               ตั้งอุฏฐานสัญญากำหนดเวลาตื่นขึ้นไว้ในใจอย่างนี้ว่า เราจักตื่นขึ้นในเวลาโน้นดังนี้.
               เพราะทำอย่างนี้แล้วนอนจะตื่นขึ้นในเวลาที่กำหนดไว้เป็นแน่.



ที่มา  http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29.0&i=699&p=3
เนื้อหาในพระไตรปิฎก http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=29&A=7639&Z=9093
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส ตุวฏกสุตตนิทเทสที่ ๑๔
ขอบคุณภาพจาก http://www.dhammajak.net/,http://blog.mcot.net/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 09, 2012, 07:20:35 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

magicmo

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 122
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 :s_hi: :s_hi:  ขอบคุณนะคับ
บันทึกการเข้า
ขายส่งชุดชั้นในราคาไม่แพงเครื่องกรองน้ำ ดื่มสะอาดสนามกีฬา ฟุตบอลหญ้าเทียม เช่าราคาถูก