ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ทำอย่างไรจึงได้ชื่อว่า "มีธรรมะเป็นเครื่องอยู่"  (อ่าน 1715 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

๓. ธรรมวิหาริกสูตรที่ ๑

ภิกษุรูปหนึ่งกราบทูลถามว่า ด้วยเหตุเพียงเท่าไร ภิกษุชื่อว่ามีธรรมะเป็นเครื่องอยู่ ตรัสตอบว่า

๑. ผู้เรียนธรรม แต่เว้นว่างการหลีกเร้น ไม่ประกอบความสงบแห่งจิตภายในเนือง ๆ เรียกว่า ผู้มากด้วยปริยัติ ( การเรียน ) แต่ไม่เรียกว่าผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่.


๒. ผู้แสดงธรรมตามที่ฟังแล้วเรียนแล้วแก่ผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติ ( เหมือนข้อ ๑ ) เรียกว่า ผู้มากด้วยบัญญัติ แต่ไม่เรียกว่ามีธรรมเป็นเครื่องอยู่


๓. รู้สาธยาย ( ท่องบ่น ) ธรรมตามที่ฟังแล้ว เรียน แล้ว แต่ไม่ปฏิบัติ เรียกว่า ผู้มากไปด้วยการสาธยาย แต่ไม่เรียกว่าผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่

๔. ผู้ตรึก, ตรอง, เพ่งด้วยใจ ซึ่งธรรม ตามที่ฟังแล้ว เรียนแล้ว แต่ไม่ปฏิบัติ เรียกว่า ผู้มากไปด้วยการตรึก แต่ไม่เรียกว่าผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่


๕. ผู้เรียนธรรม ไม่ทำวัน ทั้งวันให้ล่วงไปด้วยการเรียน ไม่เว้นว่างการหลีกเร้น ประกอบด้วยความสงบแห่งจิตภายในเนือง ๆ ( คือเรียนแล้วปฏิบัติ ) เรียกว่า ผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่.

อีกนัยหนึ่งทรงแสดงว่า ผู้รู้อรรถ ( เนื้อความ ) แห่งธรรมนั้นยิ่งขึ้นไป ด้วยปัญญาชื่อว่าผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่.


อ้างอิง
พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน (อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ)
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/14.2.html
ขอบคุณภาพประกอบจาก http://img198.imageshack.us,http://gotoknow.org



อ่านรายละอียด ธรรมวิหาริกสูตรที่ ๑ ได้ที่
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒  บรรทัดที่ ๒๐๒๔ - ๒๐๕๗.  หน้าที่  ๘๘ - ๙๐.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=2024&Z=2057&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=73
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 16, 2011, 12:13:26 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ