ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - arlogo
หน้า: 1 ... 19 20 [21] 22 23 ... 26
801  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / Re: 2 มังสชาดก วาทะธรรมของพรานป่า เมื่อ: พฤษภาคม 18, 2011, 09:08:50 am
สณฺหํ คิรํ อตฺถวตึ ปมุญฺเจ

ควรเปล่งวาจาไพเราะที่มีประโยชน์
802  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / 2 มังสชาดก วาทะธรรมของพรานป่า เมื่อ: พฤษภาคม 18, 2011, 09:05:39 am


[๕๕๘]    วาจาของท่านหยาบคายจริงหนอ   ท่าน
         เป็นผู้ขอเนื้อ       วาจาของท่านเช่นกับพังผืด
         ดูก่อนสหาย  เราจะให้พังผืดแก่ท่าน.
      [๕๕๙]   คำว่า   พี่ชายน้องชายหรือพี่สาวน้องสาว
         นี้   เป็นอวัยวะของมนุษย์ทั้งหลาย    อันเขา
         กล่าวกันอยู่ในโลก      วาจาของท่านเช่นกับ
         อวัยวะ   ดูก่อนสหาย เราจะให้ชิ้นเนื้อแก่ท่าน.
      [๕๖๐]   บุตรเรียกบิดาว่า   พ่อ   ย่อมทำให้หัวใจ
         ของพ่อหวั่นไหว   วาจาของท่านเช่นกับหัวใจ
         ดูก่อนสหาย  เราจะให้เนื้อหัวใจแก่ท่าน.
      [๕๖๑]   ในบ้านของผู้ใดไม่มีเพื่อน    บ้านของผู้
         นั้นก็เป็นเหมือนกับป่า  วาจาของท่านเช่นกับ
         สมบัติทั้งมวล    ดูก่อนสหาย   เราจะให้เนื้อ
         ทั้งหมดแก่ท่าน.
                                        จบ  มังสชาดกที่  ๕


อรรถกถามังสชาดกที่ ๕
 
   พระศาสดาเมื่อประทับอยู่  ณ พระวิหารเชตวัน    ทรงปรารภ
บิณฑบาตอันมีรสที่พระสารีบุตรเถระ   ให้แก่ภิกษุทั้งหลายที่ดื่มยาถ่าย
จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้    มีคำเริ่มต้นว่า  ผรุสา  วต  เต  วาจา  ดังนี้.
   ได้ยินว่า  ในกาลนั้น   ภิกษุบางพวกในพระวิหารเชตวันพากัน
ดื่มยาถ่ายอันปรุงด้วยยางเหนียว    ภิกษุเหล่านั้นจึงมีความต้องการด้วย
บิณฑบาตอันมีรส.   ภิกษุผู้เป็นคิลานุปัฏฐากทั้งหลายคิดว่า  จักนำภัต-
ตาหารอันมีรสมา    จึงเข้าไปในนครสาวัตถี    แม้จะเที่ยวบิณฑบาตไป
ในถนนที่มีบ้านเรือนสมบูรณ์ด้วยข้าวสุก      ก็ไม่ได้ภัตตาหารอันมีรส
จึงพากันกลับ.  พระเถระเข้าไปบิณฑบาตในตอนสายเห็นภิกษุเหล่านั้น
จึงถามว่า   ผู้มีอายุทั้งหลาย   ทำไมจึงกลับสายนัก.      ภิกษุเหล่านั้นจึง
บอกเนื้อความนั้น.   พระเถระกล่าวว่า   ถ้าอย่างนั้น    ท่านทั้งหลายจง
มา     แล้วพาภิกษุเหล่านั้นไปยังถนนนั้นนั่นแหละ.     คนทั้งหลายได้
ถวายภัตตาหารอันมีรสจนเต็มบาตร.    พวกภิกษุผู้เป็นคิลานุปัฏฐากนำ
มายังพระวิหารแล้วได้ถวายแก่พวกภิกษุไข้.   ภิกษุไข้เหล่านั้นไข้บริโภค
รสเป็นที่ยินดี.    อยู่มาวันหนึ่ง    ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันในโรง-
ธรรมสภาว่า   ท่านผู้อาวุโสทั้งหลาย   ได้ยินว่า   พระอุปัฏฐากของพวก
ภิกษุผู้ดื่มยาถ่ายไม่ได้ภัตตาหารอันมีรสจึงกลับออกมา   พระเถระจึงพา
เที่ยวไปในถนนที่มีบ้านเรือนซึ่งมีข้าวสุก  ส่งบิณฑบาตอันมีรสเป็นอัน
มากไปให้.   พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า   ภิกษุทั้งหลาย   บัดนี้



http://palungjit.com/tripitaka/default.php?cat=5800147


803  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / Re: หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ เมื่อ: พฤษภาคม 18, 2011, 06:51:22 am






804  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / Re: ธรรมสัญจร วันวิสาขบูชา 2554 เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2011, 08:30:21 pm
สวนหลวง ร 9 ไปดูต้นไม้กันบ้างนะ จะได้คลายร้อน ( nokia x2 )

















805  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / Re: ธรรมสัญจร วันวิสาขบูชา 2554 เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2011, 08:26:10 pm
หลวงพ่อผัน วันราษฏร์เจริญ ( วัดแปดอาร์ )









806  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / Re: ธรรมสัญจร วันวิสาขบูชา 2554 เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2011, 08:24:53 pm

หลวงพ่อสำเร็จศักดิ์สิทธิ์









807  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / Re: ธรรมสัญจร วันวิสาขบูชา 2554 เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2011, 08:22:09 pm
วัดศรีเอี่ยม






ภาพปริศนา ที่ถ่ายพระบรมสาีรีริกธาตุ ที่วัดศรีเอี่ยม โดยคุณนาฏนพิทย์

808  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / Re: ธรรมสัญจร วันวิสาขบูชา 2554 เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2011, 08:14:26 pm
วัดอโศการาม



















809  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / Re: ธรรมสัญจร วันวิสาขบูชา 2554 เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2011, 08:01:15 pm
ภาพถ่ายโดยคุณนาฏนพิทย์ กล้องมือถือ nokia n72


พระพุทธเมตตา องค์จำลองที่แสดงที่ ห้างพาราไดซ์





810  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / ธรรมสัญจร วันวิสาขบูชา 2554 เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2011, 07:38:56 pm
06.00 น. เดินทางเข้า กทม. ไปวัดธรรมมงคล นั่งกรรมฐาน 30 นาที บนเจดีย์
ที่ประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุ ( อุรังคตัง )


ถ่ายตอนที่กำลังจะเดินทางออกจากวัด




เมื่อมองจาก บนยอดเจดีย์ ชั้นที่ 14 ลงมาที่อุโบสถ ซึ่งกำลังมีการแสดงธรรมอยู่


กับภาพปริศนาที่ถ่ายภาพ พระบรมสารีริกธาตุ ( อุรังคตัง ) บนเจดีย์
หลังนั่งกรรมฐานก่อนกลับ



ภาพปริศนาธรรมการภาวนากรรมฐาน บนเจดีย์


ภาพปริศนาธรรมการภาวนากรรมฐาน บนเจดีย์
811  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / Re: เตมิยชาดก เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2011, 07:12:17 pm
[๔๔๑]    มหาบพิตรจะให้อาตมภาพเสื่อมไปเพราะทรัพย์ทำไม บุคคลจักตายเพราะ
                          ภรรยาทำไม ประโยชน์อะไรด้วยความเป็นหนุ่มสาวซึ่งต้องแก่ ทำไมจะ
                          ต้องให้ชราครอบงำในโลกพิศวาสอันมีชราและมรณะเป็นธรรมดานั้น จัก
                          เพลิดเพลินไปทำไม จะเล่นหัวไปทำไม จะยินดีไปทำไม จะมีประโยชน์
                          อะไรด้วยการแสวงหาทรัพย์  จะมีประโยชน์อะไรด้วยลูกและเมียแก่
                          อาตมภาพ อาตมภาพหลุดพ้นแล้วจากเครื่องผูก ขอถวายพระพร มัจจุราช
                          ย่อมไม่ย่ำยีอาตมภาพซึ่งรู้ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อบุคคลถูกมัจจุราชครอบงำแล้ว
                          จะยินดีไปทำไม  จะประโยชน์อะไรด้วยการแสวงหาทรัพย์ ผลไม้ที่สุก
                          แล้ว  ย่อมเกิดภัยแก่การหล่นเป็นนิตย์ ฉันใด สัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้ว
                          ย่อมมีภัยแต่ความตายเป็นนิตย์  ฉันนั้น คนเป็นอันมากได้พบกันในเวลา
                          เช้าพอเวลาเย็นก็ไม่เห็นกัน คนเป็นอันมากได้พบกันในเวลาเย็น พอ
                          ถึงเวลาเช้าก็ไม่ได้เห็นกัน  ควรรีบทำความเพียรเสียแต่ในวันนี้ทีเดียว
                          ใครเล่าจะพึงรู้ความตายว่าจะมีในวันพรุ่งนี้  เพราะความผลัดเพี้ยนกับ
                          มัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้นไม่มีเลย  โจรทั้งหลายย่อมปรารถนาทรัพย์
                          อาตมภาพเป็นผู้พ้นจากเครื่องผูก ขอถวายพระพร เชิญมหาบพิตรเสด็จ
                          กลับเถิด อาตมภาพไม่มีความต้องการด้วยราชสมบัติ.
จบ เตมิยชาดกที่ ๑


             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๘ บรรทัดที่ ๒๖๐๗ - ๒๘๗๐. หน้าที่ ๑๐๒ - ๑๑๒. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=28&A=2607&Z=2870&pagebreak=0             
 ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=28&i=394             
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ http://www.84000.org/tipitaka/read/?
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๒๘ http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_28
812  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / 1.เตมิยชาดก พระเตมีย์ใบ้ ( พระชาติใหญ่ 1 ในบารมี 10 ) เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2011, 07:10:47 pm
มหานิบาตชาดก
๑. เตมิยชาดก
พระเจ้าเตมีย์ทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี
             [๓๙๔]    ท่านจงอย่าแสดงตนเป็นคนฉลาด  จงให้คนทั้งปวงรู้ว่าตนเป็นคนโง่
                          คนทั้งหมดนั้นจะได้ดูหมิ่นท่านว่า เป็นคนกาฬกัณณี ความประสงค์ของ
                          ท่านจะสำเร็จด้วยอาการอย่างนี้.
             [๓๙๕]    ดูกรแม่เทพธิดา ข้าพเจ้าจะทำตามคำที่ท่านกล่าว  ท่านเป็นผู้ปรารถนา
                          ประโยชน์ ปรารถนาจะเกื้อกูลแก่ข้าพเจ้า.
             [๓๙๖]    ดูกรนายสารถี ท่านจะรีบขุดหลุมไปทำไม เราถามแล้ว ขอท่านจงบอก
                          ท่านจักทำประโยชน์อะไรด้วยหลุม.
             [๓๙๗]    พระราชโอรสของพระราชาเป็นใบ้ เป็นง่อยเปลี้ย ไม่มีจิตใจ พระราชา
                          ตรัสสั่งข้าพเจ้าว่า พึงฝังลูกเราเสียในป่า.
             [๓๙๘]    ดูกรนายสารถี เรามิได้เป็นคนหนวก มิได้เป็นคนใบ้ มิได้เป็นง่อยเปลี้ย
                          มิได้มีอินทรีย์วิกลการ ถ้าท่านพึงฝังเราในป่า ท่านก็ชื่อว่าพึงกระทำสิ่งที่
                          ไม่เป็นธรรม เชิญท่านดูขาและแขนของเรา และเชิญฟังคำภาษิตของเรา
                          ถ้าท่านพึงฝังเราเสียในป่า ท่านก็ชื่อว่าพึงกระทำสิ่งที่ไม่เป็นธรรม.
             [๓๙๙]    ท่านเป็นเทวดา เป็นคนธรรพ์ หรือเป็นท้าวสักกปุรินททะ ท่านเป็นใคร
                          หรือว่าเป็นบุตรของใคร เราทั้งหลายจะรู้จักท่านอย่างไร.
             [๔๐๐]    เราไม่ใช่เป็นเทวดา ไม่ใช่เป็นคนธรรพ์ ไม่ใช่เป็นท้าวสักกปุรินททะ
                          เราเป็นโอรสของพระเจ้ากาสีผู้ที่ท่านอาศัยบารมีเลี้ยงชีพอยู่ ดูกรนายสารถี
                          ถ้าท่านพึงฝังเราเสียในป่า ท่านก็ชื่อว่าพึงกระทำสิ่งที่ไม่เป็นธรรม บุคคล
                          พึงนั่งหรือนอนที่ร่มเงาต้นไม้ใด ไม่พึงหักรานกิ่งต้นไม้นั้น  เพราะว่า
                          ผู้ประทุษร้ายมิตร เป็นคนเลวทราม พระราชาเป็นเหมือนต้นไม้ เราเป็น
                          เหมือนกิ่งไม้  ท่านสารถีเป็นเหมือนคนอาศัยร่มเงา ดูกรนายสารถี
                          ถ้าท่านพึงฝังเราเสียในป่า ท่านก็ชื่อว่าพึงกระทำซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นธรรม.
             [๔๐๑]    ผู้ใดไม่ประทุษร้ายมิตร  ออกจากเรือนของตน ไปในที่ไหนๆ ย่อมมี
                          อาหารมากมาย คนเป็นอันมากย่อมอาศัยผู้นั้นเป็นอยู่ ผู้ใดไม่ประทุษร้าย
                          มิตร ผู้นั้นไปยังชนบท นิคม ราชธานีใดๆ ย่อมเป็นผู้อันชนทั้งหลาย
                          ในชนบท นิคม ราชธานีนั้นๆ บูชา ผู้ใดไม่ประทุษร้ายมิตร ผู้นั้นโจร
                          ทั้งหลายไม่ข่มเหง พระมหากษัตริย์ ก็ไม่ทรงดูหมิ่น  และผู้นั้นย่อมข้าม
                          พ้นศัตรูทั้งปวงได้ ผู้ใดไม่ประทุษร้ายมิตร ผู้นั้นไม่ได้โกรธเคืองใครๆ
                          มายังเรือนของตน  ย่อมเป็นผู้อันมหาชนยินดีต้อนรับในสภา  ทั้งเป็น
                          ผู้สูงสุดในหมู่ญาติ ผู้ใดไม่ประทุษร้ายมิตร ผู้นั้นสักการะคนอื่นแล้ว
                          ย่อมเป็นผู้อันคนอื่นสักการะตอบ เคารพคนอื่นแล้ว ย่อมเป็นผู้อันคนอื่น
                          เคารพตอบ ทั้งเป็นผู้อันบุคคลกล่าวสรรเสริญเกียรติคุณ ผู้ใดไม่ประทุษ
                          ร้ายมิตร บูชาผู้อื่น  ย่อมได้บูชาตอบ  ไหว้ผู้อื่น ย่อมได้ไหว้ตอบ
                          ทั้งย่อมถึงอิสริยยศและเกียรติยศ  ผู้ใดไม่ประทุษร้ายมิตร ผู้นั้นย่อม
                          รุ่งเรืองเหมือนกองไฟ ย่อมไพโรจน์เหมือนเทวดา เป็นผู้อันสิริไม่ละแล้ว
                          ผู้ใดไม่ประทุษร้ายมิตร  โคของผู้นั้นย่อมเกิดมากมูล พืชในนาย่อม
                          งอกงาม ผู้นั้นย่อมได้บริโภคผลที่หว่านลงแล้ว นรชนใดไม่ประทุษร้าย
                          มิตร นรชนนั้น พลาดจากภูเขา หรือพลาดตกจากต้นไม้ ย่อมได้ที่พึ่ง
                          ผู้ใดไม่ประทุษร้ายมิตร  ศัตรูทั้งหลายย่อมไม่ข่มขี่ผู้นั้น เหมือนต้นไทร
                          ที่มีรากหยั่งลงมั่นแล้ว ลมประทุษร้ายไม่ได้ฉะนั้น.
             [๔๐๒]    ข้าแต่พระราชโอรส เชิญเสด็จเถิด เกล้ากระหม่อม จักนำพระองค์
                          เสด็จกลับยังพระราชมณเฑียร เชิญพระองค์เสวยราชสมบัติ พระองค์
                          จงทรงพระเจริญ  จะทรงหาประโยชน์อะไรอยู่ในป่าเล่า.
             [๔๐๓]    ดูกรนายสารถี เราไม่ต้องการด้วยราชสมบัติ พระประยูรญาติ หรือทรัพย์
                          สมบัติ ที่เราจะพึงได้ด้วยการประพฤติธรรม.
             [๔๐๔]    ข้าแต่พระราชโอรส  พระองค์เสด็จกลับจากที่นี้แล้ว  จะทำให้เกล้า-
                          กระหม่อมได้รางวัลที่น่ายินดี เมื่อพระองค์เสด็จกลับแล้ว พระชนกและ
                          พระชนนีพึงพระราชทานรางวัลแก่เกล้ากระหม่อม ข้าแต่พระราชโอรส
                          เมื่อพระองค์เสด็จกลับแล้ว นางสนม พวกกุมาร พ่อค้า และพวก
                          พราหมณ์ จะพึงดีใจ ให้รางวัลแก่เกล้ากระหม่อม ข้าแต่พระราชโอรส
                          เมื่อพระองค์เสด็จกลับแล้ว  กองพลช้าง กองพลม้า กองพลรถ และ
                          กองพลราบ จะพึงดีใจให้รางวัล แก่เกล้ากระหม่อม ข้าแต่พระราชโอรส
                          เมื่อพระองค์เสด็จกลับแล้ว ชาวชนบท และชาวนิคม  ผู้มีธัญญาหาร
                          มากมาย จะมาประชุมกันให้เครื่องบรรณาการแก่เกล้ากระหม่อม.
             [๔๐๕]    เราเป็นผู้อันพระชนกและพระชนนี  ชาวแว่นแคว้น ชาวนิคม และ
                          กุมารทั้งปวงสละแล้ว เราไม่มีเรือนของตน เราอันพระชนนีทรงอนุญาต
                          แล้ว และพระชนกก็ทรงยินดี สละอยู่ในป่าแต่ผู้เดียว ไม่พึงปรารถนา
                          กามทั้งหลาย เราจะบวช.
             [๔๐๖]    ความปรารถนาผลของบุคคลผู้ไม่รีบร้อน ย่อมสำเร็จแน่นอน เราเป็น
                          ผู้มีพรหมจรรย์อันสำเร็จแล้ว ดูกรนายสารถี ท่านจงรู้อย่างนี้ ประโยชน์
                          โดยชอบของบุคคลผู้ไม่รีบร้อน ย่อมสำเร็จโดยแท้ เราเป็นผู้มีพรหมจรรย์
                          อันสำเร็จแล้ว เราออกบวชแล้ว เป็นผู้ไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ.
             [๔๐๗]    พระองค์เป็นผู้มีพระวาจาอันไพเราะ สละสลวยอย่างนี้ เพราะเหตุไร
                          พระองค์จึงไม่ตรัสในสำนักพระชนกและพระชนนีในกาลนั้น.
             [๔๐๘]    เราเป็นคนง่อยเปลี้ยเพราะไม่มีเครื่องต่อก็หาไม่  เป็นคนหนวกเพราะ
                          ไม่มีช่องหูก็หาไม่  เป็นคนใบ้เพราะไม่มีลิ้นก็หาไม่ ท่านอย่าเข้าใจว่า
                          เราเป็นใบ้  เราระลึกชาติก่อนที่เราเสวยราชสมบัติได้ เราได้เสวย
                          ราชสมบัติในกาลนั้นแล้ว ต้องไปตกนรกอันกล้าแข็ง  เราได้เสวย
                          ราชสมบัติในกาลนั้นยี่สิบปีแล้วต้องหมกไหม้อยู่ในนรก ๘๐,๐๐๐ ปี เรา
                          กลัวจะต้องเสวยราชสมบัตินั้น  จึงตั้งจิตอธิษฐานว่า ขอชนทั้งหลาย
                          อย่าได้อภิเษกเราในราชสมบัติเลย เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่พูดในสำนัก
                          ของพระชนก และพระชนนีในกาลนั้น พระชนกทรงอุ้มเรา  ให้นั่ง
                          บนพระเพลา แล้วตรัสสั่งข้อความว่า  จงฆ่าโจรคนหนึ่ง จงขังโจร
                          คนหนึ่งไว้ในเรือนจำ จงเอาหอกแทงโจรคนหนึ่ง  แล้วราดด้วยน้ำแสบ
                          ที่แผล จงเสียบโจรคนหนึ่งบนหลาว พระชนกตรัสสั่งข้อความแก่มหาชน
                          ด้วยประการดังนี้ เราได้ฟังพระวาจาอันหยาบคาย ที่พระชนกตรัสนั้น จึง
                          กลัวต่อการเสวยราชสมบัติ เรามิได้เป็นใบ้ ก็ทำเหมือนเป็นใบ้ มิได้เป็น
                          คนง่อยเปลี้ย ก็ทำเหมือนเป็นคนง่อยเปลี้ย  เราแกล้งนอนเกลือกกลิ้งอยู่
                          ในอุจจาระปัสสาวะของตน  ชีวิตเป็นของฝืดเคือง เป็นของน้อย
                          ทั้งประกอบไปด้วยทุกข์ ใครเล่าอาศัยชีวิตนี้แล้ว พึงก่อเวรกับใครๆ ใคร
                          เล่าได้อาศัยชีวิตนี้แล้ว พึงก่อเวรกับใครๆ เพราะไม่ได้ปัญญา และเพราะ
                          ไม่เห็นธรรม ความหวังผลของบุคคลผู้ไม่รีบร้อน ย่อมสำเร็จแน่นอน
                          เราเป็นผู้มีพรหมจรรย์อันสำเร็จแล้ว  ดูกรนายสารถี  ท่านจงรู้อย่างนี้
                          ประโยชน์โดยชอบของบุคคลผู้ไม่รีบร้อน ย่อมสำเร็จโดยแท้ เราเป็นผู้
                          มีพรหมจรรย์อันสำเร็จแล้ว  เราออกบวชแล้วเป็นผู้ไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ.
             [๔๐๙]    ข้าแต่พระราชโอรส แม้เกล้ากระหม่อม ก็จักบวชในสำนักของพระองค์
                          ขอพระองค์ได้โปรดตรัสอนุญาตให้เกล้ากระหม่อมบวชด้วยเถิด ขอพระ
                          องค์จงทรงพระเจริญ เกล้ากระหม่อมก็ชอบบวช.
             [๔๑๐]    ดูกรนายสารถี เรามอบรถให้ท่านไว้ ท่านจงเป็นผู้ไม่มีหนี้มา จริงอยู่
                          การบรรพชา ของบุคคลผู้ไม่มีหนี้ ท่านผู้แสวงหาทั้งหลายสรรเสริญ.
             [๔๑๑]    ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ เมื่อใด เกล้ากระหม่อมได้ทำตามพระดำรัส
                          ของพระองค์แล้ว เมื่อนั้น เกล้ากระหม่อมทูลวิงวอนแล้ว ขอพระองค์
                          ได้ทรงโปรดกระทำตามคำของเกล้ากระหม่อม  ขอพระองค์จงประทับรอ
                          อยู่ ณ ที่นี้จนกว่าเกล้ากระหม่อมจะเชิญเสด็จพระราชามา เมื่อพระชนก
                          ของพระองค์ ทอดพระเนตรเห็นแล้ว จะพึงทรงมีพระปีติโสมนัสเป็นแน่.
             [๔๑๒]    ดูกรนายสารถี เราจะทำตามคำที่ท่านกล่าวกะเรา แม้เราก็ปรารถนาจะได้
                          เห็นพระชนกของเราเสด็จมา ณ ที่นี้ เชิญท่านกลับไปเถิด ท่านได้ทูล
                          พระประยูรญาติด้วยก็เป็นความดี ท่านเป็นผู้อันเราสั่งแล้ว พึงกราบทูล
                          ถวายบังคมพระชนนีและพระชนกของเรา.
             [๔๑๓]    นายสารถีจับพระบาทของพระโพธิสัตว์ และกระทำประทักษิณแล้ว ขึ้น
                          รถบ่ายหน้าเข้าไป ยังพระทวารพระราชวัง.
             [๔๑๔]    พระราชชนนีทอดพระเนตรเห็นรถเปล่า  นายสารถีกลับมาแต่ผู้เดียว
                          ทรงกรรแสง มีพระเนตรชุ่มด้วยน้ำอัสสุชล ทอดพระเนตรดูนายสารถี
                          นั้นอยู่ ทรงเข้าพระทัยว่านายสารถีฝังลูกของเราเสร็จแล้วกลับมา ลูก
                          ของเราอันนายสารถีฝังในแผ่นดิน ถมแผ่นดินแล้วเป็นแน่ ศัตรูทั้งหลาย
                          ย่อมพากันยินดี  คนมีเวรทั้งหลายย่อมพากันอิ่มใจแน่แท้ เพราะเห็นนาย
                          สารถีกลับมา เพราะนายสารถีฝังลูกของเรา พระราชชนนีทอดพระเนตร
                          เห็นรถเปล่า  และนายสารถีกลับมาแต่ผู้เดียว จึงทรงกรรแสง มีพระเนตร
                          ชุ่มด้วยน้ำอัสสุชล  ตรัสถามนายสารถีระร่ำระรักว่า ลูกของเราเป็นใบ้
                          หรือ เป็นง่อยเปลี้ยจริงหรือ ลูกของเราขณะเมื่อท่านจะฝังในแผ่นดิน พูด
                          อะไรบ้างหรือเปล่า  ดูกรนายสารถี ขอได้บอกเนื้อความนั้นแก่เราเถิด ลูก
                          ของเราเป็นใบ้ ง่อยเปลี้ย  เมื่อท่านจะฝังลงแผ่นดิน กระดิกมือและเท้า
                          อย่างไร เราถามแล้ว ขอท่านจงบอกเนื้อความนั้นแก่เรา.
             [๔๑๕]    ขอเดชะพระแม่เจ้า ขอได้โปรดพระราชทานอภัยแก่ข้าพระพุทธเจ้า ข้า-
                          พระพุทธเจ้าขอกราบทูลตามที่ได้ยินและได้เห็นมา ในสำนักพระราชโอรส.
             [๔๑๖]    ดูกรนายสารถีผู้สหาย เราให้อภัยแก่ท่าน อย่ากลัวเลย  จงพูดไปเถิด
                          ตามที่ท่านได้ฟัง หรือได้เห็นมาในสำนักพระราชโอรส.
             [๔๑๗]    พระราชโอรสนั้น มิได้ทรงเป็นใบ้ มิได้เป็นง่อยเปลี้ย มีพระวาจาสละ-
                          สลวย ทราบว่า พระองค์ทรงกลัวต่อการครองราชสมบัติ จึงได้ทรง
                          กระทำการลวงเป็นอันมาก พระองค์ทรงระลึกถึงชาติก่อนที่พระองค์ได้
                          เสวยราชสมบัติได้ พระองค์ได้เสวยราชสมบัติในกาลนั้นแล้ว  ต้องไป
                          ตกนรกอันกล้าแข็ง  พระองค์ได้เสวยราชสมบัติในกาลนั้น ๒๐ ปี   แล้ว
                          ต้องหมกไหม้อยู่ในนรก ๘๐๐๐๐  ปี พระองค์ทรงกลัวจะต้องเสวยราช-
                          สมบัตินั้น จึงทรงตั้งจิตอธิษฐานว่า ขอชนทั้งหลายอย่าอภิเษกเราใน
                          ราชสมบัติเลย เพราะฉะนั้น พระองค์จึงไม่ตรัสในราชสำนัก ของ
                          พระชนกและพระชนนีในกาลนั้น พระราชโอรสทรงสมบูรณ์ด้วยอังคา-
                          พยพ มีพระรูปสมบัติงดงามสมส่วน มีพระวาจาสละสลวย  มีพระ
                          ปัญญาเฉียบแหลม ทรงสถิตอยู่ในทางสวรรค์ ถ้าพระแม่เจ้าทรงปรารถนา
                          พระราชโอรสของพระองค์ ข้าพระพุทธเจ้าขอทูลเชิญเสด็จพระแม่เจ้า
                          เสด็จไปให้ถึงสถานที่ ซึ่งพระเตมีย์ราชโอรสประทับอยู่เถิด พระพุทธ-
                          เจ้าข้า.
             [๔๑๘]    เจ้าหน้าที่ทั้งหลายจงเทียมรถ จงเทียมม้า จงผูกเครื่องประดับช้าง จง
                          กระทั่งสังข์และบัณเฑาะว์ จงตีกลองหน้าเดียว  จงตีกลองสองหน้า
                          และรำมะนาอันไพเราะ  ขอชาวนิคม จงตามเรามา เราจักไปให้โอวาท
                          พระราชโอรส นางสนม พวกกุมาร  พวกพ่อค้า และพวกพราหมณ์
                          จงรีบตระเตรียมยาน เราจักไปให้โอวาทพระราชโอรส พวกกองพลช้าง
                          กองพลม้า กองพลรถและกองพลราบ จงรีบเทียมยาน เราจักไปให้
                          โอวาทพระราชโอรส ชาวชนบท และชาวนิคม จงมาพร้อมกัน จงรีบ
                          ตระเตรียมยาน เราจักไปให้โอวาทพระราชโอรส.
             [๔๑๙]    พวกสารถี จูงม้าที่เทียมรถและม้าสินธพ ซึ่งเป็นพาหนะว่องไว  มายัง
                          ประตูพระราชวัง  แล้วกราบทูลว่า ม้าทั้งสองนี้เทียมไว้เสร็จแล้วพระเจ้าข้า.
             [๔๒๐]    ม้าอ้วนไม่มีความว่องไว ม้าผอมไม่มีเรี่ยวแรง จงเว้นม้าผอมและม้า
                          อ้วนเสีย เลือกเทียมแต่ม้าที่สมบูรณ์.
             [๔๒๑]    ลำดับนั้น พระราชารีบเสด็จขึ้นประทับสินธพ อันเทียมแล้ว ได้ตรัส
                          กับนางชาววังว่า จงตามเรามาทุกคน พระราชาตรัสสั่งว่า จงตระเตรียม
                          เครื่องปัญจราชกกุธภัณฑ์ คือ พัดวาลวีชนี อุณหิส พระขรรค์ เศวต-
                          ฉัตร และฉลองพระบาททอง ให้ขนขึ้นรถไปด้วย ลำดับนั้นแล พระ
                          ราชาตรัสสั่งให้นายสารถีนำทางเสด็จเคลื่อนขบวนเข้าไปถึงสถานที่ ที่
                          พระเตมีย์ ราชฤาษีประทับอยู่โดยพลัน.
             [๔๒๒]    ส่วนพระเตมีย์ราชฤาษี  ทอดพระเนตรเห็นพระชนกนาถกำลังเสด็จมา
                          ทรงรุ่งเรืองด้วยพระเดชานุภาพ ทรงแวดล้อมด้วยหมู่อำมาตย์  จึงถวาย
                          พระพรว่า ขอถวายพระพรมหาบพิตร ทรงปราศจากพระโรคาพาธหรือ ทรง
                          พระสำราญดีหรือ ราชกัญญาทั้งปวง และโยมพระมารดาของอาตมภาพ
                          ไม่มีพระโรคพาธหรือ.
             [๔๒๓]    ดูกรพระลูกรัก ดิฉันไม่มีโรคาพาธ สุขสำราญดี พระราชกัญญาทั้งปวง
                          และโยมพระมารดาของพระลูกรักไม่มีโรคาพาธ.
             [๔๒๔]    ขอถวายพระพร มหาบพิตรไม่เสวยน้ำจัณฑ์ หรือ ไม่ทรงโปรดปราน
                          น้ำจัณฑ์หรือ พระหฤทัยของมหาบพิตรทรงยินดีในสัจจะ ในธรรม
                          และในทานหรือ.
             [๔๒๕]    ดูกรพระลูกรัก ดิฉันไม่ดื่มน้ำจัณฑ์ ไม่โปรดปรานน้ำจัณฑ์ ใจของดิฉัน
                          ยินดีในสัจจะ ในธรรมและในทาน.
             [๔๒๖]    ขอถวายพระพร พาหนะมีม้าเป็นต้นของมหาบพิตรที่เขาเทียมแล้วไม่มี
                          โรคหรือ นำอะไรๆ ไปได้หรือ มหาบพิตรไม่มีพยาธิที่เข้าไปแผดเผาพระ
                          สรีระแลหรือ.
             [๔๒๗]    ดูกรพระลูกรัก พาหนะมีม้าเป็นต้นของดิฉันที่เทียมแล้ว ไม่มีโรค นำ
                          อะไรๆ ไปได้ ดิฉันไม่มีพยาธิเข้าไปแผดเผาสรีระ.
             [๔๒๘]    ขอถวายพระพร ปัจจันตชนบทของมหาบพิตรยังเจริญดีอยู่หรือ คาม-
                          นิคมในท่ามกลางรัฐสีมาของมหาบพิตรยังแน่นหนาดีหรือ ฉางหลวง
                          และท้องพระคลังของมหาบพิตรยังบริบูรณ์ดีอยู่หรือ.
             [๔๒๙]    ดูกรพระลูกรัก  ปัจจันตชนบทของดิฉันยังเจริญดีอยู่ คามนิคมในท่าม
                          กลางรัฐสีมาของดิฉันยังแน่นหนาดี  ฉางหลวงและท้องพระคลังของ
                          ดิฉันทั้งหมดยังบริบูรณ์ดี.
             [๔๓๐]    ขอถวายพระพร มหาบพิตรเสด็จมาดีแล้ว  มหาบพิตรเสด็จไม่ร้าย ขอ
                          ราชบุรุษทั้งหลายจงจัดตั้งบัลลังก์ถวายให้พระราชาประทับเถิด.
             [๔๓๑]    ขอเชิญประทับนั่ง ณ เครื่องลาดใบไม้ที่เขาปูลาดไว้ถวายมหาบพิตร ณ
                          ที่นี้ จงทรงตักน้ำจากภาชนะนี้ล้างพระบาทของมหาบพิตรเถิด.
             [๔๓๒]    ขอถวายพระพร ใบหมากเม่าของอาตมภาพนี้เป็นของสุก (นึ่งแล้ว) ไม่
                          มีรสเค็ม  มหาบพิตรผู้เป็นแขกของอาตมภาพเสด็จมาถึงแล้วเชิญเสวย
                          เถิด ขอถวายพระพร.
             [๔๓๓]    ดิฉันไม่บริโภคใบหมากเม่า ใบหมากเม่านี้ไม่ใช่อาหารสำหรับดิฉัน ดิฉัน
                          บริโภคข้าวสุกแห่งข้าวสาลี ซึ่งปรุงด้วยมังสะอันสะอาด.
             [๔๓๔]    ความอัศจรรย์ย่อมแจ่มแจ้งกะดิฉัน เพราะได้เห็นพระลูกรักอยู่ในที่ลับแต่
                          ผู้เดียว บริโภคอาหารเช่นนี้ เหตุไรผิวพรรณ (ของผู้บริโภคอาหารเช่นนี้)
                          จึงผ่องใส.
             [๔๓๕]    ขอถวายพระพร อาตมภาพนอนผู้เดียวบนเครื่องลาดใบไม้ที่ปูลาดไว้แล้ว
                          เพราะการนอนผู้เดียวนั้น ผิวพรรณของอาตมภาพจึงผ่องใส ใครๆ มิได้
                          ตั้งการรักษาทางราชการที่ต้องผูกเหน็บดาบสำหรับอาตมภาพ  เพราะการ
                          นอนผู้เดียวนั้นผิวพรรณของอาตมภาพจึงผ่องใส ขอถวายพระพร อาตม-
                          ภาพไม่ได้เศร้าโศกถึงอารมณ์ที่ล่วงไปแล้ว ไม่ปรารถนาอารมณ์ที่ยังไม่มา
                          ถึง  ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า เพราะเหตุนั้น ผิว
                          พรรณของอาตมภาพจึงผ่องใส  คนพาลทั้งหลายย่อมเหือดแห้ง เพราะ
                          ปรารถนาอารมณ์ที่ยังไม่มาถึง  เพราะเศร้าโศกถึงอารมณ์ที่ล่วงไปแล้ว
                          เปรียบเหมือนไม้อ้ออันเขียวสด ถูกถอนขึ้นทิ้งไว้ที่แดด ฉะนั้น.
             [๔๓๖]    ดูกรพระลูกรัก ดิฉันขอมอบกองพลช้าง กองพลม้า กองพลรถ กอง
                          พลราบ กองโล่ห์และพระราชนิเวศน์อันเป็นสถานที่รื่นรมย์แก่พระลูกรัก
                          ดิฉันขอมอบนางสนมกำนัลผู้ประดับด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง  ขอ
                          พระลูกรักจงปกครองนางสนมกำนัลเหล่านั้น  จงเป็นพระราชาของดิฉัน
                          ทั้งหลาย  หญิง ๔ คน เป็นผู้ฉลาดในการฟ้อนรำและการขับร้อง ศึกษา
                          ดีแล้วในหน้าที่ของหญิง จักยังพระลูกรักให้รื่นรมย์ในกาม พระลูกรัก
                          จักทำประโยชน์อะไรในป่า  ดิฉันจักนำราชกัญญาจากพระราชาเหล่าอื่นผู้
                          ประดับประดาดีแล้ว  พระลูกรักให้พระโอรสเกิดในหญิงเหล่านั้นหลาย
                          คนแล้วภายหลังจึงบวชเถิด พระลูกเจ้ายังทรงพระเยาว์หนุ่มแน่น ตั้งอยู่
                          ในปฐมวัย พระเกศายังดำสนิท จงเสวยราชสมบัติก่อนเถิด พระลูก
                          เจ้าจงทรงพระเจริญ จักกระทำประโยชน์อะไรในป่า.
             [๔๓๗]    ขอถวายพระพร คนหนุ่มควรประพฤติพรหมจรรย์ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์
                          ควรจะเป็นคนหนุ่ม เพราะว่าการบวชของคนหนุ่ม ท่านผู้แสวงหาคุณ-
                          ธรรมมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นสรรเสริญคนหนุ่มควรประพฤติพรหมจรรย์ ผู้
                          ประพฤติพรหมจรรย์ควรจะเป็นคนหนุ่ม อาตมภาพจักประพฤติพรหม-
                          จรรย์ อาตมภาพไม่ต้องการด้วยราชสมบัติ อาตมภาพเห็นเด็กชายของ
                          ท่านทั้งหลาย ผู้เรียกมารดาบิดา ซึ่งเป็นบุตรที่รักอันได้มาด้วยยากยิ่งนัก
                          ยังไม่ทันถึงแก่ก็ตายเสียแล้ว  อาตมภาพเห็นเด็กหญิงของท่านทั้งหลาย
                          ซึ่งสวยสดงดงามน่าดูน่าชม มีอันสิ้นไปแห่งชีวิตเหมือนหน่อไม้ไผ่ที่ถูก
                          ถอน ฉะนั้น จริงอยู่ จะเป็นชายหรือหญิงก็ตามแม้จะยังหนุ่มสาวก็ตาย
                          เพราะเหตุนั้น ใครเล่าจะพึงวางใจในชีวิตนั้นว่า  เรายังเป็นหนุ่มสาว
                          อายุของคนเป็นของน้อยนัก เพราะวันคืนล่วงไปๆ เปรียบเหมือนอายุ
                          ของฝูงปลาในน้ำน้อย  ความเป็นหนุ่มสาวในวัยนั้นจักทำอะไรได้
                          สัตว์โลกถูกครอบงำและถูกห้อมล้อมอยู่เป็นนิตย์  เมื่อสิ่งที่ไม่เป็น
                          ประโยชน์เป็นไปอยู่ มหาบพิตรจะอภิเษกอาตมภาพในราชสมบัติทำไม.
             [๔๓๘]    สัตว์โลกอันอะไรครอบงำไว้ และอันอะไรห้อมล้อมไว้ อะไรชื่อว่าสิ่ง
                          ไม่เป็นประโยชน์เป็นไปอยู่ ดิฉันถามแล้ว  ขอพระลูกเจ้าจงบอกข้อนั้น
                          แก่ดิฉัน.
             [๔๓๙]    สัตว์โลกอันความตายครอบงำไว้ อันความแก่ห้อมล้อมไว้ วันคืนชื่อว่าสิ่ง
                          ไม่เป็นประโยชน์เป็นไป มหาบพิตรจงทรงทราบอย่างนี้ ขอถวายพระพร
                          เมื่อด้ายที่เขากำลังทอ ช่างหูกทอไปได้เท่าใด ส่วนที่จะต้องทอก็ยัง
                          เหลืออยู่น้อยเท่านั้น แม้ฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้น แม้น้ำ
                          ที่เต็มฝั่งย่อมไม่ไหลไปสู่ที่สูง ฉันใด อายุของมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมไม่
                          กลับมาสู่ความเป็นเด็กอีก ฉันนั้น แม่น้ำที่เต็มฝั่ง ย่อมพัดพาเอาต้นไม้
                          ที่เกิดอยู่ริมฝั่งให้หักโค่นไป ฉันใด สัตว์ทั้งปวงย่อมถูกชราและมรณะพัด
                          พาไป ฉันนั้น.
             [๔๔๐]    ดูกรพระลูกรัก ดิฉันขอมอบกองพลช้าง กองพลม้า กองพลรถ กอง
                          พลราบ กองพลโล่ห์ และพระราชนิเวศน์อันเป็นสถานที่รื่นรมย์แก่พระ
                          ลูกรัก ดิฉันขอมอบนางสนมกำนัลผู้ประดับด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง
                          ขอพระลูกจงปกครองนางสนมกำนัลเหล่านั้น  จงเป็นพระราชาของดิฉัน
                          ทั้งหลาย  หญิง ๔ คน เป็นผู้ฉลาดในการฟ้อนรำและการขับร้อง ศึกษา
                          ดีแล้วในหน้าที่ของหญิง จักยังพระลูกรักให้รื่นรมย์ในกาม พระลูกรัก
                          จักทำประโยชน์อะไรในป่า  ดิฉันจักนำราชกัญญาจากพระราชาเหล่าอื่น ผู้
                          ประดับประดาดีแล้ว  มาให้แก่พระลูก  พระลูกรักให้พระโอรสเกิดใน
                          หญิงเหล่านั้นหลายคนแล้ว ภายหลังจึงบวชเถิด พระลูกเจ้ายังทรงพระ-
                          เยาว์หนุ่มแน่น ตั้งอยู่ในปฐมวัยพระเกศายังดำสนิท จงเสวยราชสมบัติ
                          ก่อนเถิด พระลูกเจ้าจงทรงพระเจริญ จักกระทำประโยชน์อะไรในป่า ดูกร
                          พระลูกรัก ดิฉันขอมอบฉางหลวง พระคลัง  พาหนะ พลนิกายและนิเวศน์
                          อันน่ารื่นรมย์ แก่พระลูกรัก พระลูกรักจงแวดล้อมด้วยราชกัญญาอันงด
                          งามเป็นมณฑล จงห้อมล้อมด้วยหมู่นางทาสี เสวยราชสมบัติก่อนเถิด
                          พระลูกรักจงทรงพระเจริญ จักกระทำประโยชน์อะไรในป่า.

           
813  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: งานสัปดาห์พระพุทธศาสนา เนื่องด้วยวันวิสาขบูชา จัดที่ไหนบ้าง ดังนี้... เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2011, 08:11:35 am


วัดเชิงท่า

วัดเชิงท่า   เป็นวัดโบราณสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา  ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเกาะเมืองริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำลพบุรี  ใกล้กับคูไม้ร้องซึ่งเป็นอู่เก็บเรือพระที่นั่ง  ที่ตั้งวัดนี้อยู่ฝั่งตรงข้ามกับป้อมท้ายสนมและปากคลองท่อ  ซึ่งเป็นท่าข้ามเรือของฝั่งเกาะเมืองมาขึ้นฝั่งที่วัดเชิงท่า  ด้วยเหตุนี้จึงเรียกชื่อว่า วัดตีนท่าอีกด้วย

                                ประวัติของวัดเชิงท่า  ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างขึ้นเมื่อใด  ใครเป็นผู้สร้าง  คงปรากฏเพียงตำนานเล่าสืบๆ กันมาว่า  เศรษฐีผู้หนึ่งสร้างเรือนหอให้แก่บุตรสาวซึ่งหนีตามชายคนรักไปแล้วไม่ย้อนกลับ  เศรษฐีผู้บิดาคอยบุตรสาวอยู่นานไม่เห็นกลับมาจึงได้ถวายเรือนหอนั้นให้แก่วัดที่ตนสร้างขึ้น  จึงได้ชื่อว่า  วัดคอยท่า  เรื่องที่เล่าสืบกันมานี้  หลวงจักรปาณี  ได้นำมาประพันธ์ไว้ใน นิราศทวารวดี  มีความตอนหนึ่งว่า

                                                                พิหารมีสี่มุขทั้งสี่ด้าน

                                                ดูโอฬารลดหลั่นน่าหรรษา

                                                เหมือนปราสาทราชวังอลังการ์

                                                มุขเด็จหน้าดั่งหนึ่งท้องพระโรงทรง

                                                ที่ท่ามกลางมีพระปรางค์เป็นองค์ปลอด

                                                ดูใหญ่ยอดสูงเฉิดระเหิดระหง

                                                ที่เชิงปรางค์ข้างต่ำมีถ้ำลง

                                                เขาว่าตรงออกช่องคลองสระปทุม

                                                ผู้ใหญ่เขาเล่ามาก็น่าเชื่อ

                                                ว่าครั้งเมื่อเมืองสนุกยังสุขสม

                                                มีเศรษฐีมีมั่งตั้งรวบรุม

                                                เงินตวงตุ่มเหลือล้นพ้นประมาณ

                                                มีบุตรสาวเล่าก็ไม่ให้ใครเห็น

                                                จึงสร้างเป็นปรางค์มาศราชฐาน

                                                อันนี้ไว้ให้ธิดาอยู่มานาน

                                                แต่หญิงพาลตามชายสูญหายไป

                                                เศรษฐีแสนแค้นคะนึงถึงลูกสาว

                                                ไม่ได้ข่าวคอยท่าน้ำตาไหล

                                                จึงอุทิศปรางค์มาศปราสาทชัย

                                                อันนี้ให้เป็นวิหารทำทานทุน

                                                ให้เรียกวัดคอยท่ามาชัดชัด

                                                กลับเป็นวัดเชิงท่านึกน่าหุน๑

http://www.watchoengthar.com/index.php?mo=10&art=224753
814  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: งานสัปดาห์พระพุทธศาสนา เนื่องด้วยวันวิสาขบูชา จัดที่ไหนบ้าง ดังนี้... เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2011, 08:08:48 am


http://www.mcu.ac.th/site/news_in.php?group_id=1&NEWSID=6661
815  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: งานสัปดาห์พระพุทธศาสนา เนื่องด้วยวันวิสาขบูชา จัดที่ไหนบ้าง ดังนี้... เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2011, 08:07:37 am
816  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: งานสัปดาห์พระพุทธศาสนา เนื่องด้วยวันวิสาขบูชา จัดที่ไหนบ้าง ดังนี้... เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2011, 08:05:59 am


ขอเชิญร่วมปฏิบัติธรรมในเทศกาลวันวิสาขบูชารำลึก ครั้งที่ 35
ระหว่างวันที่ 9 – 17 พฤษภาคม 2554
ฟังธรรมเทศนา จากพระเถรานุเถระ ศิษย์เก่าในพระคุณอาจารย์ใหญ่ธมฺมธโร ภิกฺขุ
ทอดผ้าป่าสร้างมณฑปทรงไทย เพื่อเก็บสรีระศพพระครูภาวนานุศาสก์ (แป้น ธมฺมธโร)
*** ฟังธรรม ปฏิบัติธรรม ช่วงเช้า บ่าย ค่ำ ตลอด 9 วัน 9 คืน ***
*** 06.00 น. ร่วมถวายสังฆทานทุกเช้า ***
สอบถามรายละเอียดโทร. 035-522005, 035-451476
www.watsai.net, watsaingam_dhamma@hotmail.com
817  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: งานสัปดาห์พระพุทธศาสนา เนื่องด้วยวันวิสาขบูชา จัดที่ไหนบ้าง ดังนี้... เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2011, 08:03:07 am


818  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / งดขาย งดดื่ม วันพระใหญ่ สุขใจได้บุญ ไร้แอลกอฮอล์ เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2011, 08:01:36 am
งดขาย งดดื่ม วันพระใหญ่ สุขใจได้บุญ ไร้แอลกอฮอล์




วันที่ 17 พฤษภาคม 2554 วันวิสาขบูชา

ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
เรื่อง กำหนดวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๒

"ห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในวันมาฆะบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา ยกเว้นการขายในโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม" ...คลิกอ่านเพิ่มเติม

 

วันวิสาขบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า 3 ประการ คือ เป็นวันประสูติ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า และปรินิพพาน

ความหมาย คำว่า "วิสาขบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 วิสาขบูชา ย่อมาจาก " วิสา - ขบุรณมีบูชา " แปลว่า " การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ " ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน 7

 

 

ความสำคัญ วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือเกิด ได้ตรัสรู้ คือสำเร็จ ได้ปรินิพพาน คือ ดับ เกิดขึ้นตรงกันทั้ง 3 คราวคือ

1.ประสูติ
เป็น วันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ณ ลุมพินีสถาน เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ตรงกับวันศุกร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีจอ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี   เมื่อพระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงพระครรภ์แก่จวนจะประสูติ พระนางได้รับพระบรมราชานุญาต จากพระสวามี ให้แปรพระราชฐานไปประทับ ณ กรุงเทวทหะ ซึ่งเป็นพระนครเดิมของพระนาง เพื่อประสูติในตระกูลของพระนางตามประเพณีนิยมในสมัยนั้น ขณะเสด็จแวะพักผ่อนพระอิริยาบถใต้ต้นสาละ  ณ สวนลุมพินีวัน พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น ครั้นพระกุมารประสูติได้ ๕ วัน ก็ได้รับการถวายพระนามว่า "สิทธัตถะ" ซึ่งต่อมาพระองค์ได้ออกบวช จนบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ (ญาณอันประเสริฐสูงสุด) สำเร็จเป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า จึงถือว่าวันนี้เป็นวันประสูติของพระพุทธเจ้า

2.ตรัสรู้
๒. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ อนุตตรสัมโพธิญาณ ณ ร่มพระศรีมหาโพธิบัลลังก์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี

การตรัสอริยสัจสี่ คือของจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ของพระพุทธเจ้า เป็นการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม ไม่มีผู้เสมอเหมือน  วันตรัสของพระพุทธเจ้า จึงจัดเป็นวันสำคัญ เพราะเป็นวันที่ให้เกิดมีพระพุทธเจ้าขึ้นในโลกชาวพุทธทั่วไป จึงเรียกวันวิสาขบูชาว่า วันพระพุทธ(เจ้า) อันมีประวัติว่า พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญเพียรต่อไป ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้น ทรงเริ่มบำเพ็ญสมาธิให้เกิดในพระทัย เรียกว่าการเข้า "ฌาน" เพื่อให้บรรลุ "ญาณ" จนเวลาผ่านไปจนถึง ...


ยามต้น : ทรงบรรลุ "ปุพเพนิวาสานุติญาณ" คือทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่น
ยามสอง : ทรงบรรลุ "จุตูปปาตญาณ" คือการรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย
ยามสาม : ทรงบรรลุ "อาสวักขญาณ" คือรู้วิธีกำจัดกิเลสด้วย อริยสัจสี่ ( ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ) ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือน ๖  ซึ่งขณะนั้น พระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา


   

ธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ อริยสัจ ๔ หรือ ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ ได้แก่

๑. ทุกข์ คือ ความลำบาก ความไม่สบายกายไม่สบายใจ
๒. สมุทัย คือ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
๓. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ และ
๔. มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์
ทั้ง ๔ ข้อนี้ถือเป็นสัจธรรม เรียกว่า อริยสัจ เพราะเป็นสิ่งที่พระอริยเจ้าทรงค้นพบ เป็นสัจธรรมชั้นสูง ประเสริฐกว่าสัจธรรมสามัญทั่วไป

3.ปรินิพพาน

๓. เป็นวันปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ร่มไม้รัง (ต้นสาละ) คู่ ในสาลวโนทยานของมัลลกษัตริย์ ใกล้เมืองกุสินารา เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศักราช ๑ ปี  วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน (ดับสังขารไม่กลับมาเกิดสร้างชาติ สร้างภพอีกต่อไป) การปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ก็ถือเป็นวันสำคัญของชาวพุทธทั่วโลกเพราะชาวพุทธทั่วโลกได้สูญเสียดวงประทีป ของโลก  เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่และครั้งสำคัญชาวพุทธทั่วไปมีความเศร้าสลด เสียใจและอาลัยสุดจะพรรณนา อันมีประวัติว่าเมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้และแสดงธรรมมาเป็นเวลานานถึง ๔๕ ปี ซึ่งมีพระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ในระหว่างนั้นทรงประชวรอย่างหนัก ครั้นเมื่อถึงวันเพ็ญเดือน ๖ พระพุทธองค์กับพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ก็ไปรับภัตตาหารบิณฑบาตที่บ้านนายจุนทะ ตามคำกราบทูลนิมนต์ พระองค์เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะตั้งใจทำถวาย ก็เกิดอาพาธลง แต่ทรงอดกลั้นมุ่งเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ในราตรีนั้น ได้มีปริพาชกผู้หนึ่ง ชื่อสุภัททะขอเข้าเฝ้า และได้อุปสมบทเป็นพระพุทธสาวกองค์สุดท้าย เมื่อถึงยามสุดท้ายของคืนนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงประทานปัจฉิมโอวาทว่า "ดู ก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้ บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด" หลังจากนั้นก็เสด็จเข้าดับขันธ์ปรินิพพาน ในราตรีเพ็ญเดือน ๖ นั้น 


วัน วิสาขบูชา จึงนับว่าเป็นวันที่มีความสำคัญสำหรับพุทธศาสนิกชนทุกคน เป็นวันที่มีการทำพิธีพุทธบูชา เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระคุณของพระองค์ ที่มีต่อปวงมนุษย์และสรรพสัตว์อันหาที่สุดมิได้

การประกอบ พิธีในวันวิสาขบูชา จุดมุ่งหมายในการประกอบพิธีในวันวิสาขบูชา เพื่อรำลึกถึงพระวิสุทธิคุณพระปัญญาคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีต่อมวลมนุษย์และสรรพสัตว์ อีกทั้งเพื่อ เป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์อันน่าอัศจรรย์ทั้ง ๓ ประการ ที่มาบังเกิดในวันเดียวกัน และนำหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์มาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติ

 

ที่มา : http://variety.teenee.com/foodforbrain/26742.html
819  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: พระพุทธเจ้า มีกี่ประเภท เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2011, 07:08:14 am
นิยตโพธิสัตว์ คือ ผู้ที่ได้รับพุทธทำนายแล้ว
อนิยตโพธิสัตว์ คือ ผู้ที่ยังไม่ได้รับพุทธทำนายแล้ว

พระนิยตโพธิสัตว์นั้น ทุกครั้งที่ได้พบกับพระพุทธเจ้าองค์ต่อๆ มา
ก็จะได้รับพุทธพยากรณ์ซ้ำ ว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล
แต่เฉพาะขณะที่ได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรกที่เรียกว่าลัทยาเทศนั้น
พระโพธิสัตว์ผู้นั้นต้องสมบูรณ์พร้อมด้วยธรรมสโมธาน ๘ ประการ
จึงจะได้รับพุทธพยากรณ์เป็น พระนิยตโพธิสัตว์


"..ดังนั้น พระโพธิสัตว์ผู้ได้พยากรณ์ในสำนักพระพุทธเจ้า ๒๔ พระองค์
ก็ทรงบำเพ็ญพุทธการกธรรมมีทานบารมีเป็นต้น
ที่พระโพธิสัตว์ผู้รวบรวมธรรม ๘ ประการเหล่านี้ว่าอภินีหารย่อมสำเร็จได้
เพราะรวบรวมธรรม ๘ ประการ คือ
              ๑. มนุสสัตตะ เป็นมนุษย์
              ๒. ลิงคสัมปัตติ เป็นเพศบุรุษ
              ๓. เหตุ มีอุปนิสสยสมบัติบรรลุมรรคผลได้
              ๔. สัตถารทัสสนะ พบพระพุทธเจ้าขณะที่ยังทรงพระชนม์อยู่
              ๕. ปัพพัชชา บวชเป็นดาบสหรือภิกษุอยู่
              ๖. คุณสมบัติ ได้สมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕
              ๗. อธิการ อาจสละชีวิตแก่พระพุทธเจ้าได้
              ๘. ฉันทตา มีฉันทะ อุตสาหะ บำเพ็ญพุทธการกธรรม.  .."

ที่มา
อรรถกถา ขุททกนิกาย พุทธวงศ์
๒๕. โคตมพุทธวงศ์
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33.2&i=26



และเมื่อได้รับพุทธพยากรณ์แล้ว
พระนิยตโพธิสัตว์จะไม่บังเกิดในอภัพฐานะ ๑๘ ประการอีกเลย คือ


"..พระโพธิสัตว์ผู้มีอภินิหารสำเร็จแล้วอย่างนี้แล ย่อมไม่ถึงอภัพฐานะ ๑๘ ประการ.

จริงอยู่ พระโพธิสัตว์นั้น จำเดิมแต่นั้นย่อม
ไม่เป็นคนบอดแต่กำเนิด ๑
ไม่เป็นคนหนวกแต่กำเนิด ๑
ไม่เป็นคนบ้า ๑
ไม่เป็นคนใบ้ ๑
ไม่เป็นคนแคระ ๑
ไม่เกิดในชนชาติมิลักขะ ๑

ไม่เกิดในท้องของนางทาสี ๑
ไม่เป็นคนนิยตมิจฉาทิฏฐิ ๑
ไม่เป็นคนกลับเพศ ๑
ไม่ทำอนันตริยกรรมห้าอย่าง ๑
ไม่เป็นคนโรคเรื้อน ๑
อัตภาพสุดท้ายไม่เวียนมาในกำเนิดดิรัจฉาน ๑

ไม่มีอัตภาพใหญ่กว่าช้าง ๑
ไม่เกิดในขุปปิปาสิกเปรตและนิชฌามตัณหิกเปรต ๑
ไม่เกิดในจำพวกกาลกัญชิกาสูรทั้งหลาย ๑
ไม่เกิดในอเวจีนรก ๑
ไม่เกิดในโลกันตริกนรก ๑
ไม่เป็นมารในสวรรค์ชั้นกามาวจร ไม่เกิดในอสัญญีภพในรูปาวจรภูมิ
ไม่เกิดในภพสุทธาวาส ไม่เกิดในอันติมภพ ไม่ก้าวไปสู่จักรวาลอื่น ๑. ..."

ที่มา
อรรถกถา ขุททกนิกาย สุตตนิบาต อุรควรรค
ขัคควิสาณสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=296&p=1
จากคุณ    : He-Who-Must-Not-Be-Named
820  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: จงภาวนา เสมอ ด้วย ธาตุ เถิดทุกท่าน เมื่อ: พฤษภาคม 02, 2011, 09:23:47 am
เธอจงเจริญภาวนา (อบรมจิต)

เสมอด้วยแผ่นดินเถิด

เสมอด้วยน้ำเถิด

เสมอด้วยไฟเถิด

เสมอด้วยลมเถิด

เสมอด้วยอากาศเถิด

ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จัก ไม่ครอบงำจิตได้.


821  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: เวลานั่ั่งภาวนาไปแล้ว เห็นแสงสว่างที่กลางกระหม่อม เป็นแสงสีขาว ติด ๆ ดับ ๆ เมื่อ: มีนาคม 31, 2011, 07:40:49 am
เป็นได้หลายประการ ต้องพิจารณากันเฉพาะหน้า

 ประการที่ 1 โอภาส แสงสว่างเมื่อจิตเริ่มเข้าอัปปนาจิต เป็นธรรมดา ไม่พึงสนใจ หรือ ไปข้องเกี่ยว

สิ่งที่ต้องทำคือภาวนาต่อไป

 ประการที่ 2 รัศมี ของแต่ละฐานจิต

 ประการที่ 3 นิมิต


  อันนี้คงตอบรายละเอียดไม่ได้ ขอให้ถามมาใหม่ในข้อความส่วนตัวนะจ๊ะ

  ;)
822  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ในขณะที่ภาวนา มีใครรู้สึกร้อน ๆ บ้าง เมื่อ: มีนาคม 31, 2011, 07:37:22 am
เป็นอาการภาวนาปกติ เป็นส่วนของ ธาตุปีติ ซึ่งแต่ท่าน แต่ละคน มีแตกต่างกันไป

อาการนี้เมื่อเกิด ก็ึพึงวางอุเบกขาไว้ ภาวนาต่อไปโดยไม่ต้องไปสนใจกับสภาวะที่เกิดขณะนั้น

 ;)
823  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: การบรรลุธรรมต้องบำเพ็ญสมาธิภาวนา อย่างเดียวใช่หรือไม่ เมื่อ: มีนาคม 31, 2011, 07:33:51 am
อริยบุคคล7ประเภท(ตามการบรรลุ)

พระไตรปิฎก : พระอภิธรรมปิฎก เล่ม 3 ธาตุกถา - ปุคคลปัญญัติปกรณ์
เอกกนิทเทส

(การแบ่งอริยบุคคลออกเป็น 7 ประเภทในที่นี้ เป็นการแบ่งตามประเภทของการบรรลุธรรม ซึ่งต่างจากเรื่องอริยบุคคล 8 ประเภท ในหมวดวิปัสสนา (ปัญญา) ที่เป็นการแบ่งตามลำดับขั้นของกิเลสที่ละได้ - ธัมมโชติ)

[๔๐] บุคคลชื่อว่าอุภโตภาควิมุต เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องซึ่งวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย (วิโมกข์ ๘ คือสมาบัติ ๘ ได้แก่สมาธิขั้นฌาน ๘ ขั้น คือ รูปฌาน ๔ + อรูปฌาน ๔ ดูเรื่องลำดับขั้นของจิต ในหมวดบทวิเคราะห์ ประกอบ - ธัมมโชติ) แล้วสำเร็จอิริยาบถอยู่ ทั้งอาสวะ(กิเลสที่นอนเนื่องในสันดาน - ธัมมโชติ) ของผู้นั้นก็สิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า อุภโตภาควิมุต

(อุภโตภาควิมุต = การหลุดพ้นโดยส่วนสอง คือ หลุดพ้นจากความยินดีในรูปด้วยอรูปสมาบัติก่อน (ดูเรื่องสัญโยชน์ 10 ในหมวดวิปัสสนา (ปัญญา) โดยเฉพาะในหัวข้ออรูปราคะ ประกอบ) แล้วเจริญวิปัสสนาจนหลุดพ้นจากความยินดีในนามด้วยวิปัสสนาปัญญา ซึ่งทำให้เป็นพระอรหันต์ด้วยวิปัสสนาปัญญานี้ - ธัมมโชติ)

[๔๑] บุคคลชื่อว่าปัญญาวิมุต เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ มิได้ถูกต้องซึ่งวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย สำเร็จอิริยาบถอยู่ แต่อาสวะของผู้นั้นสิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้ เรียกว่า ปัญญาวิมุต

(คือผู้ที่ไม่ได้ทำสมาธิจนถึงขั้นอรูปฌาน เจริญวิปัสสนาจนกระทั่งบรรลุเป็นพระอรหันต์ จึงหลุดพ้นจากความยินดีทั้งในรูปและนามด้วยวิปัสสนาปัญญา - ธัมมโชติ)

[๔๒] บุคคลชื่อว่ากายสักขี เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องซึ่งวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย แล้วสำเร็จอิริยาบถอยู่ ทั้งอาสวะบางอย่างของผู้นั้นก็สิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า กายสักขี

(คล้ายกับอุภโตภาควิมุต ต่างกันที่อุภโตภาควิมุตนั้นเจริญวิปัสสนาจนบรรลุเป็นพระอรหันต์ แต่กายสักขีเจริญวิปัสสนาจนบรรลุเป็นอริยบุคคลขั้นต่ำกว่าพระอรหันต์ - ธัมมโชติ)

[๔๓] บุคคลชื่อว่าทิฏฐิปัตตะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เหตุให้เกิดทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ความดับทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ อนึ่ง ธรรมทั้งหลายที่พระตถาคตประกาศแล้ว ผู้นั้นเห็นชัดแล้ว ดำเนินไปดีแล้วด้วยปัญญา อนึ่ง อาสวะบางอย่างของผู้นั้นก็สิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ทิฏฐิปัตตะ

(คล้ายกับปัญญาวิมุต ต่างกันที่ปัญญาวิมุตนั้นเจริญวิปัสสนาจนบรรลุเป็นพระอรหันต์ แต่ทิฏฐิปัตตะเจริญวิปัสสนาจนบรรลุเป็นอริยบุคคลขั้นต่ำกว่าพระอรหันต์ โดยนับตั้งแต่โสดาปัตติผลบุคคลขึ้นไป ดูเรื่องอริยบุคคล 8 ประเภท ในหมวดวิปัสสนา (ปัญญา) ประกอบ - ธัมมโชติ)

[๔๔] บุคคลชื่อว่าสัทธาวิมุต เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เหตุให้เกิดทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ความดับทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ อนึ่ง ธรรมทั้งหลายที่พระตถาคตประกาศแล้ว ผู้นั้นเห็นชัดแล้ว ดำเนินไปดีแล้ว ด้วยปัญญา อนึ่ง อาสวะบางอย่างของผู้นั้นก็สิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา แต่มิใช่เหมือนบุคคลผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ บุคคลนี้เรียกว่าสัทธาวิมุต

(ต่างจากทิฏฐิปัตตะตรงที่ทิฏฐิปัตตะอาศัยปัญญาเป็นหลัก แต่สัทธาวิมุตอาศัยศรัทธาเป็นใหญ่นำปัญญาให้เกิดขึ้น - ธัมมโชติ)

[๔๕] บุคคลชื่อว่าธัมมานุสารี เป็นไฉน
ปัญญินทรีย์ของบุคคลใด ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผลมีประมาณยิ่ง (ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล = โสดาปัตติมรรคบุคคล - ธัมมโชติ) บุคคลนั้นย่อมอบรมซึ่งอริยมรรคอันมีปัญญาเป็นเครื่องนำมา มีปัญญาเป็นประธานให้เกิดขึ้น บุคคลนี้เรียกว่า ธัมมานุสารี บุคคลผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ชื่อว่าธัมมานุสารี บุคคลผู้ตั้งอยู่แล้วในผล ชื่อว่า ทิฏฐิปัตตะ

(คือขณะแห่งโสดาปัตติมรรค เป็นธัมมานุสารี ขณะแห่งโสดาปัตติผลเป็นต้นไปจนถึงก่อนจะบรรลุเป็นพระอรหันต์ เป็นทิฏฐิปัตตะ - ธัมมโชติ)

[๔๖] บุคคลชื่อว่าสัทธานุสารี เป็นไฉน
สัทธินทรีย์ของบุคคลใดผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล มีประมาณยิ่ง อบรมอริยมรรคมีสัทธาเป็นเครื่องนำมา มีสัทธาเป็นประธานให้เกิดขึ้น บุคคลนี้เรียกว่า สัทธานุสารีบุคคล ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ชื่อว่าสัทธานุสารี ผู้ตั้งอยู่แล้วในผล ชื่อว่าสัทธาวิมุต

(คือขณะแห่งโสดาปัตติมรรค เป็นสัทธานุสารี ขณะแห่งโสดาปัตติผลเป็นต้นไปจนถึงก่อนจะบรรลุเป็นพระอรหันต์ เป็นสัทธาวิมุต - ธัมมโชติ)
824  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ขอคำแนะนำ วิธีทำสมาธิ ขั้นกลางด้วยครับ เมื่อ: มีนาคม 27, 2011, 05:10:07 pm
ความหมายของ ปีติ ในองค์กรรมฐาน และ พระลักษณะ

http://www.madchima.org/madchima/index2.php?name=knowledge&file=readknowledge&id=135

หลักปฏิบัติเบื้องต้นในห้องที่ 1 พระธรรมปีติ

http://www.madchima.org/madchima/index2.php?name=knowledge&file=readknowledge&id=134

ลักษณะพระยุคลธรรม ๖ ประการ

http://www.madchima.org/madchima/index2.php?name=knowledge&file=readknowledge&id=138

สุขสมาธิธรรมเจ้า

http://www.madchima.org/madchima/index2.php?name=knowledge&file=readknowledge&id=139
825  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / Re: บันทึกการภาวนา พุทโธ เมื่อ: มีนาคม 23, 2011, 01:51:11 pm
สำหรับเรื่อง กระทู้นี้ เจ้าของกระทู้ยังไม่ได้หยุดเขียน เพียงแต่ว่าได้ย้ายไปทำงานที่ต่างประเทศ คือ เกาหลี
แจ้งกลับมาว่า อินเตอร์เน็ต ต่างประเทศนั้นมาที่เว็บ ช้ามาก ( อันนี้ไม่ค่อยเข้าใจ ) คงต้องรอเจ้าของเรื่องกลับมา
ในกลางปีหน้า นะจ๊ะ

ดังนั้นอ่านตั้งแต่ต้นมา ก็ถือว่า เนื้อเรื่องก็มีความน่าสนใจดี

 ;)
826  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: ทำอย่างไร ถึงจะอ่านพระไตรปิฏก ให้ได้ดี คะ เมื่อ: มีนาคม 21, 2011, 07:00:40 pm
1.อธิษฐาน ขอบารมีจากพระพุทธเจ้า ก่อนการอ่าน ทำด้วยความศรัทธาจริง ๆ

จะได้คำตอบ เร็ว และ อ่านได้เข้าใจง่าย ๆ

2.ภาวนาสมาธิ พุทธานุสสติ ออกจากสมาธิ แล้วลองกลับไปอ่านดู

3.ถามผู้รู้ ในส่วนที่ไม่เข้าใจ

สำหรับ พระไตรปิฏก พูดตรง ๆ สำหรับพระอาจารย์เมื่อก่อนก็ไม่ค่อยชอบอ่่านแต่ตั้งแต่ปี 2547 มานี่อ่านแล้วก็อ่าน และอ่านเพลินเลยอ่านกันจบเป็นเล่ม ๆ แต่มีอยู่เล่มเดียวที่พระอาจารย์ใช้เวลาอ่านมา 2 ปีแล้วอ่านไม่จบ
สักที ก็คือ เล่ม ปฏิสัมภิทามรรค นี่แหละอ่านไม่จบ พกไปอ่าน เพราะเล่มนี้พระอาจารย์อ่านหลายยี่ห้อ

  คือ อ่านทั้งสยามรัฐ บาลี ฉบับมกุฏ ฉบับจุฬา ฉบับประชาชน ฉบัน ส ธรรมภักดี ฉบับใบลาน ฉบับคอมพิวเตอร์
อ่านแล้วก็ยังไม่จบ เพราะเล่มนี้เป็นแนวภาวนา เป็นหลัก เป็นพื้นฐาน จริง ๆ ยังศรัทธา ในความจำของ พระอริยะเจ้าพระอานนท์มหาเถระ และ พระอรหันต์ ที่เป็นศิษย์ พระอาจารย์สารีบุตร ได้รวบรวมข้อธรรม เล่มนี้ไว้

เจริญธรรม

 ;)
827  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: เพื่อนคนหนึ่งเล่าว่า "นั่งสมาธิแล้วปวดเข่า" เมื่อ: มีนาคม 20, 2011, 07:01:31 pm
เรียนรู้ พระธรรมปีติ พระยุคลธรรม และ พระสุขสมาธิ ให้มากไว้ ผู้หวังในวิปัสสนา

เพราะสุขสมาธิ เป็นเพียงอุปจาระสมาธิ ไม่ดำดิ่งแบบพวกฌาน อัปปนา

   สุขสมาธิ คือ กายพุทธะ ประกอบด้วยวิปัสสนา มาตั้งแต่ พระธรรมปีติแล้ว

   สุขในอัปปนา นั้นน่ากลัวกว่า เพราะเข้าถึงละได้ยาก เรียกว่า สุข อันเป็นกามทิพย์

  กามทิพย์ ถ้าต้องแล้วยากที่จะเข้าใจธรรม กามทิพย์ จะเป็น สุขของพวกเทวดา ทั้งหลาย

ดังนั้น อย่าไปกล้ว เรื่อง สุขสมาธิ ในอุปจาระสมาธิ ว่าจะทำให้ติดสุข

  คนที่พูดอย่างนี้ ส่วนใหญ่่ที่พระอาจารย์พบ คือผู้ที่ฝึกไม่ได้ทั้งสติ และ สมาธิ

   สุข สมาธิ ก็คือ ปัสสัทธิ ในโพชฌงค์

  เจริญธรรม

   ;)
828  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: “สมเด็จพระมหาธีราจารย์”มรณภาพแล้ว เมื่อ: มีนาคม 14, 2011, 09:06:54 am


พระราชทานโกศ "สมเด็จวัดชนะฯ" มรณภาพอายุ 88 นับพันร่วมอาลัย




เคลื่อน ศพ - คณะสงฆ์เคลื่อนศพสมเด็จพระมหาธีราจารย์ เจ้าอาวาสวัดชนะสงครามฯ ซึ่งมรณภาพอย่างสงบเมื่อกลางดึกวันที่ 11 มี.ค. ตั้งบำเพ็ญกุศล ณ ศาลาอุไร คนึงสุขเกษม

 
คณะสงฆ์-พุทธศาสนิกชน-ญาติธรรม แห่อาลัย "สมเด็จพระมหาธีราจารย์" เจ้าอาวาส วัดชนะสงคราม เจ้าคณะใหญ่ หนกลางด้วยอายุ 88 พรรษา 67 ล้มป่วยด้วยโรคชรา มาตั้งแต่ปลายปี 2553 ละสังขารสงบกลางดึกที่กุฏิในวัด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระราชินี พระราชทานน้ำหลวงสรงศพ พระราชทานโกศประกอบศพ พร้อมรับไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ 7 วัน วัดจะเก็บศพไว้ 100 วัน ศิษย์ใกล้ชิดเผยเหมือนท่านรู้ เขียนปีเกิดและวันสิ้นบนกระดาษใส่ไว้ใต้หมอน เผยเป็นพระที่เคร่งพระธรรมวินัยมาก และส่งเสริมการศึกษาทั้งนักธรรม-บาลี จนพระวัดชนะสงครามจบเปรียญธรรม 9 ประโยคถึง 73 รูป มากที่สุดในประเทศไทย

เมื่อ เวลา 01.05 น. วันที่ 11 มี.ค.ผู้สื่อข่าวรายงานจากกุฏิคณะ 1 วัดชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ว่า สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสสโร) เจ้าอาวาสวัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่หนกลาง มรณภาพอย่างสงบ ด้วยโรคชรา โดยทันทีที่คณะสงฆ์และคณะศิษยานุศิษย์ของสมเด็จพระมหาธีราจารย์ทราบข่าว ต่างมารอกราบศพ ที่ด้านหน้ากุฏิคณะ 1

ทั้งนี้ บรรยากาศเป็นไปด้วยความเศร้าสลด คณะศิษยานุศิษย์บางคนถึงกับกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่ แสดงความอาลัยต่อการจากไปอย่างไม่มีวันกลับของสมเด็จพระมหาธีราจารย์ ซึ่งก่อนหน้านี้สุขภาพของท่านเจ้าประคุณสมเด็จไม่แข็งแรงนัก ประกอบกับวัยชราภาพของท่าน ทำให้ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราชเป็นประจำ แต่ท่านยังคงทุ่มเทอุทิศงานสนองพระพุทธศาสนาและคณะสงฆ์ไทยอย่างมิรู้เหน็ด เหนื่อย ยังคงทำงานหนัก เพื่อตรวจตรางานทุกชิ้นอย่างละเอียดรอบคอบ กระทั่งช่วงเดือน พ.ย.2553 คณะสงฆ์วัดชนะสงคราม นำเจ้าประคุณสมเด็จเข้าพักฟื้นอาการอาพาธที่กุฏิคณะ 1 วัดชนะสงคราม โดยจัดให้มีเจ้าหน้าที่พยาบาลและพระอุปัฏฐากคอยดูแลอย่างใกล้ชิด กระทั่งเวลาประมาณ 01.05 น. วันที่ 11 มี.ค. สมเด็จพระมหาธีราจารย์ได้มรณภาพอย่างสงบ

ต่อมาเวลา 09.00 น. คณะสงฆ์พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักพระราชวัง เข้าประชุมร่วมกันในพระอุโบสถวัดชนะสงคราม เพื่อหารือพิธีพระราชทานน้ำหลวงสรงศพเจ้าประคุณสมเด็จ ต่อมามีคำสั่งเจ้าคณะกรุงเทพ มหานคร 1/2554 เรื่องแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดชนะสงคราม โดยแต่งตั้งพระราชวิมล อายุ 81 พรรษา 60 ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดชนะสงคราม เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดชนะสงคราม ขณะเดียวกันวัดชนะสงครามได้จัดเตรียมศาลาอุไร คนึงสุขเกษม คณะ 2 วัดชนะสงคราม พร้อมทั้งให้พระภิกษุและสามเณรลูกวัดช่วยกันทำความสะอาดบริเวณวัดโดยรอบ

จาก นั้นเวลา 12.11 น. คณะสงฆ์วัดชนะสงครามเคลื่อนศพสมเด็จพระมหาธีราจารย์ จากกุฏิเจ้าอาวาสไปตั้งศพบำเพ็ญกุศล ณ ศาลาอุไร คนึงสุขเกษม และประกอบ พิธีบรรจุศพลงในหีบศพ ก่อนเปิดให้ญาติโยมเข้ากราบสังขารเป็นครั้งสุดท้าย

ต่อ มาเวลา 13.00 น. พระสงฆ์ในเขตปกครองคณะสงฆ์หนกลาง 350 รูป รวมตัวกันที่วัดสามพระยา จากนั้นเดินมายังวัดชนะสงครามเข้าสักการะศพสมเด็จพระมหาธีราจารย์ และในช่วงบ่ายมีพุทธศาสนิกชน มาสักการะศพจำนวนมาก ทำให้ศาลาอุไร คนึงสุขเกษมเนืองแน่น เจ้าหน้าที่จึงต้องขอความร่วมมือจำกัดไว้ให้สำหรับพระสงฆ์

เวลา 15.00 น. พระเทพสารเวที เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช เป็นผู้แทนสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เชิญน้ำสรงศพมา สรงศพสมเด็จพระมหาธีราจารย์

ต่อมาเวลา 17.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระ บรมราชินีนาถ โปรดเกล้าฯ ให้พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ ถวายน้ำหลวงสรงศพสมเด็จพระมหาธีราจารย์ พร้อมทั้งเชิญพวงมาลาพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ประดับหน้าโกศ

นอก จากนี้ทรงโปรดเกล้าฯ รับศพไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ 7 วัน พร้อมด้วยเครื่องประดับสมณศักดิ์ ชั้นสมเด็จพระราชาคณะ และพระราชทานโกศไม้สิบสองประ กอบศพ จากนั้นพระเถรานุเถระชั้นผู้ใหญ่ในคณะกรรมการมหาเถรสมาคม คณะองคมนตรี ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ อาทิ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธ์ศรี ผบ.ตร. เข้าร่วมพิธีสรงน้ำศพเป็นจำนวนมาก

พระราชวิมล รักษาการเจ้าอาวาสวัดชนะสงคราม กล่าวว่า สำหรับกำหนดการพิธีศพสมเด็จพระมหาธีราจารย์ โดยสมณศักดิ์ ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานพระพิธีธรรมสวดอภิธรรม 7 คืน และพระราชทานพิธีสวดบำเพ็ญกุศลครบ 7 วัน และในเบื้องต้นทางวัดจะเก็บศพสมเด็จพระมหาธีราจารย์ไว้บำเพ็ญกุศลเป็นเวลา 100 วัน หลังจากนี้ไปจะมีพิธีสวดอภิธรรมเวลา 19.00 น. เป็นเวลา 7 วัน และจะเปิดให้พุทธศาสนิกชนสักการะศพตั้งแต่เวลา 08.00 น.ทุกวัน

สำหรับ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ นามเดิมว่า นิยม จันทนินทร เกิดเมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2466 ณ บ้านท่าหิน ต.ธนู อ.อุทัย จ.พระนคร ศรีอยุธยา อายุ 22 ปี อุปสมบทเมื่อวันที่ 10 มี.ค.2487 ณ วัดพระญาติการาม ต.ไผ่ลิง อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมีพระเทพวงศาจารย์ วัดพนัญเชิง เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายา ฐานิสสโร มีความหมายว่า ผู้มีฐานะอันยิ่งใหญ่

ท่าน ได้มุ่งมั่นศึกษาพระปริยัติธรรมตลอดมา กระทั่งพ.ศ.2486 สอบได้นักธรรมชั้นเอก ณ สำนักเรียนวัดราชบูรณะ พ.ศ.2498 จบเปรียญธรรม 9 ประโยค จากสำนักเรียนวัดสระเกศ ถือเป็นศิษย์รุ่นพี่รุ่นน้องกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) วัดสระเกศ และสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

พ.ศ.2508 เป็นเจ้าอาวาสวัดชนะสงคราม และพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2529 เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม พ.ศ.2539 เป็นเจ้าคณะใหญ่หนกลาง พ.ศ.2535 ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏ ที่สมเด็จพระมหาธีราจารย์ อันมีความหมายเป็นมงคลนามว่า ครูผู้เป็นมหาปราชญ์

สมเด็จพระมหา ธีราจารย์ได้สร้างผลงานให้กับคณะสงฆ์มากมาย โดยเฉพาะด้านการปกครองของคณะสงฆ์หนกลาง ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ด้านการศึกษาพระปริยัติธรรม ล้วนมีความโดดเด่น ด้วยมีการจัดตั้งศาลาธรรม เป็นห้องเรียนศึกษานักธรรม-บาลีอย่างเป็นระบบ ทำให้สำนักเรียนวัดชนะสงครามมีชื่อเสียงโด่งดัง ในแต่ละปีมีพระภิกษุ-สามเณรสอบได้จำนวนมาก

ด้านการเผยแผ่หลักธรรมคำ สอน พระ พุทธศาสนา สมเด็จพระมหาธีราจารย์แสดงพระธรรมเทศนาในพระอุโบสถทุกวันพระ เวลา 09.30 น. เป็นประจำไม่เคยขาด โดยในวันพระจะไม่รับกิจนิมนต์ภายนอก เว้นงานพระราชพิธีเพียงอย่างเดียว อีกทั้งสมเด็จพระมหาธีราจารย์ยังได้เขียนหนังสือตำนานพระปริตร ซึ่งเป็นหนังสือที่มีสาระเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาโดยตรง อรรถาธิบายแก่นธรรมแห่งพุทธองค์ สู่พุทธศาสนิกชน รวมทั้งพระภิกษุ-สามเณรทั่วไปด้วย

นางบุญเรือง จันทนินทร อายุ 59 ปี น้องสาวสมเด็จพระมหาธีราจารย์ กล่าวว่า ก่อนที่ท่านจะมรณภาพไม่ได้มีอาการบ่งบอกมาก่อน แต่มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนท่านจะรู้ตัวเองว่าจะมรณภาพในวันที่ 11 มี.ค. โดยท่านได้แจ้งไปยังญาติทุกคนให้มาร่วมพิธีทำบุญถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ใน วันที่ 10 มี.ค. เหมือนเป็นการสั่งลาก่อนจะมรณภาพ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ถือเป็นตัวอย่างของพระผู้มีความกตัญญูสูงสุด ถึงแม้ว่าท่านเป็นพระแต่ก็ยังดูแลพ่อแม่ไม่ได้ขาด แม้ทั้งสองคนจะเสียชีวิตไปแล้ว ก็จะทำบุญอุทิศให้เสมอ ซึ่งก่อนมรณภาพ 1 วันท่านก็ยังทำบุญให้

ด้านนายอิสระ พจนี อายุ 55 ปี ทนาย ความ หลานสมเด็จพระมหาธีราจารย์ กล่าวว่า ในส่วนของทรัพย์สินของสมเด็จพระมหาธีราจารย์ ยังไม่ได้ตรวจสอบว่าเขียนพินัย กรรมไว้ หากพบว่าไม่ได้เขียนก็จะตกเป็นของวัด ซึ่งทางญาติก็ไม่ได้ติดใจ อย่างไรก็ตามช่วงก่อนที่ท่านจะมีอาการป่วยมีเรื่องแปลกประหลาดว่า ตนได้เห็นท่านเขียนข้อ ความไว้ในกระดาษด้วยลายมือท่านเองว่า "เกิดพ.ศ.2466 และเว้นวรรคไว้ ตามด้วยพ.ศ.2554 ขึ้น 7 ค่ำ วันที่ 11" พร้อมลงลายเซ็นไว้ ซึ่งตรงกับวันที่ 11 มี.ค. ซึ่งเป็นวันที่ท่านมรณภาพ โดยกระดาษนี้ท่านเก็บไว้ใต้หมอน แต่ขณะนี้ไม่ทราบว่ากระดาษดังกล่าวหายไปไหนแล้ว

ด้านพระพรหมโมลี เจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการาม กล่าวว่า เมื่อวันที่ 10 มี.ค.ที่ผ่านมา ก่อนที่สมเด็จพระมหาธีราจารย์จะมรณภาพ 1 วัน ตนได้มากราบนมัสการและเฝ้าติดตามอาการอย่างใกล้ชิด กระทั่งเวลาประมาณ 21.00 น.จึงกลับ ต่อมาเวลาประมาณ 02.00 น. ได้รับโทรศัพท์แจ้งว่าท่านมรณภาพแล้ว ซึ่งสมเด็จพระมหาธีราจารย์ถือเป็นพระมหาเถระที่สำคัญรูปหนึ่งของคณะสงฆ์ไทย เป็นผู้บุกเบิกการเรียนด้านบาลีศึกษา และให้ความรู้สามเณรที่มาเรียนบาลี โดยวัดชนะ สงครามมีพระเปรียญธรรม 9 ประโยค ถึง 73 รูป นับว่ามากที่สุดในประเทศไทย

ส่วนการบริหารการปกครองของคณะสงฆ์ ถือเป็นต้นแบบของพระสงฆ์ เวลาตนมาฝึกอบรมพระสังฆาธิการก็จะยกตัวอย่างให้ฝึกปฏิบัติเช่นสมเด็จพระมหา ธีราจารย์ เพราะท่านเป็นพระสงฆ์ที่เคร่งครัดในวินัยสงฆ์มาก นอกจากนี้ยังมีมรดกธรรมสิ่งหนึ่งที่ท่านมีดำริสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ เมื่อปี 2548 ซึ่งจำลองมาจากพระพุทธรูปในอัฟกานิสถาน เทือกเขาบามิยัน ที่ถูกทำลาย โดยพระพุทธรูปที่กำลังสร้างอยู่นี้จะมีขนาดสูง 32 เมตร เป็นพระพุทธรูปยืน ไม่มีอะไรค้ำ มีเพียงแต่พระบาทเป็นฐานเท่านั้น ซึ่งในช่วงแรกท่านเป็นห่วงว่าหากท่านเป็นอะไรไปโครงการจะไม่สำเร็จ เมื่อความทราบถึงสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระองค์ทรงรับการจัดสร้างพระพุทธรูปไว้ในบรมราชินูปถัมภ์ ส่วนความคืบหน้าการก่อสร้างนั้นขณะนี้ร่างแบบเสร็จหมดแล้ว อยู่ระหว่างการสร้างฐานและสร้างรูปหล่อขนาดองค์จริง คาดว่าพระ พุทธรูปนี้จะเสร็จในปี 2556  ข้อมูลจาก http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd01ERXdOakV5TURNMU5BPT0=&sectionid=TURNd01RPT0=&day=TWpBeE1TMHdNeTB4TWc9PQ==
829  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: อานาปานสติ สโตริกาญาณที่ 5 ปีติกับลมหายใจเข้า และ ออก เมื่อ: มีนาคม 14, 2011, 08:58:33 am

พิจารณาให้ดี จะเห็นธรรม
830  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: อานาปานสติ สโตริกาญาณที่ 5 ปีติกับลมหายใจเข้า และ ออก เมื่อ: มีนาคม 14, 2011, 08:45:38 am
แ่บ่งหัวข้อเป็นดังนี้ ผู้ศึกษาพึงทำความเข้าใจ

  1.ปีติ คืออะไร

  2.ปีติ ปรากฏได้อย่างไร

  3.ปีติ เกี่ยวกับอานาปานสติอย่างไร

  4.ปีติ มีความสำคัญอย่างไร


  ถ้าเข้าใจปีติ นี้ก็เข้าใจในขั้นตอน  สำหรับศิษย์กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำััดับ น่าจะไม่มีปัญหาในส่วนนี้เพราะ
ส่วนนี้ปรากฏในธรรมปีติ แล้ว ทั้งส่วนพระลักษณะ และ พระรัศมี

 ;)
831  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: พื้นที่ชีวิต - เด็กวัดชื่อ สิงห์ 10Mar11 เมื่อ: มีนาคม 11, 2011, 12:13:41 pm
อนุโมทนา กับรายการที่นำเสนออีกด้านของ วิถีัธรรมที่หลายคนอาจจะไม่ทราบ

 :25:
832  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: อานาปานสติ สโตริกาญาณที่ 4 จักระงับกายสังขาร หายใจเข้า หายใจออก เมื่อ: มีนาคม 09, 2011, 04:46:26 pm
เมื่อบุคคลเจริญ ลมที่หายใจเข้าสั้น ลมที่หายใจออกสั้น ย่อมเป็นลมที่หยาบ สามารถกำหนดได้

 เปรียบเสมือน กังสดาลที่ตีขณะนั้นเสียงย่อมดัง... เมื่อได้ยินย่อมกำหนด จิตได้ง่าย

เมื่อบุคคลเจริญ ลมที่หายใจเข้ายาว ลมหายใจที่ออกยาว ย่อมเป็นลมหายที่เริ่มละเอียด สามารถกำหนดได้ยากขึ้น

 เปรียบเสมือน กังสดาลที่ตีแล้วเสียงยังกังวานอยู่ชั่วขณะ...เมื่อได้ยินย่อมกำหนด จิตได้อยู่

เมื่อบุคคลเจริญ ลมที่หายใจเข้ายาว เข้าสั้น ลมหายใจออกยาว ออกสั้น ด้วยการปรับลมหายใจให้ละเอียดเพิ่มขึ้น ย่อมสามารถกำหนดลมได้ยากยิ่งขึ้นเพราะลมไม่เสมอกัน

 เปรียบเสมือน กังสดาลที่ดังเพราะแรงเบา หนักต่างกัน การกำหนดจิตจึงมีความละเอียดยิ่งขึ้น

เมื่อบุคคลเจริญ ลมหายใจเข้า และออก ด้วยอาการสงบระงับ กายสังขาร ทั้งปวงลง จิตย่อมกำหนดยากยิ่งขึ้น

 เปรียบเสมือน กังสดาล ที่เสียงดับแล้ว ไม่มีเสียง หรือมีเสียงแผ่ว ก่อนจะหาย

 ดังนั้น อะไรเป็นเครื่องกำหนดจิตที่ละเอียด ก็คือ ความจำในเสียง ที่ยังปรากฏในจิตว่่าเสียงนี้เป็นอย่างนี้

 ดังนั้น พระโยคาวจร พึงกำหนดนิมิตคือลม ลักษณะอันปรากฏเป็นอุคคหนิมิต เป็นอารมณ์
 พึงกำหนด ปฏิภาคนิิมิตเป็นอารมณ์ เพราะจิตย่อมจำนิมิตในลมหายใจเข้า และลมหายใจออก ย่อมรู้ตัวทั่วพร้อม
 ขณะนั้นว่า กายสังขาร คือ รูปกาย และ นามกาย ได้สงบระงับลง หายใจเข้า และ หายใจออก

 เจริญธรรม

  ;)
833  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: อานาปานสติ สโตริกาญาณที่ 4 จักระงับกายสังขาร หายใจเข้า หายใจออก เมื่อ: มีนาคม 08, 2011, 12:43:02 pm
ลมหายใจใด เป็นเพื่อการการตกแต่ง ประคองกาย จะยาวก็ดี จะสั้นก็ตาม จะปรากฏขึ้น ก็เป็นเพียงส่วนกาย

เรียกว่า กายสังขาร คือปรุงแต่งส่วนกาย

 เมื่อปรุงแต่งส่วนกาย ก็ย่อมให้ทำให้เกิด

  ความอ่อนไป

     ความน้อมไป
   
     ความเอนไป

     ความโอนไป

     ความหวั่นไหว

     ความดิ้นรน

     ความโยก

     ความโคลงแห่งกาย


  ทั้งหมดเรียกว่า มีผลจาก กายสังขาร เพราะปรุงแต่ง ลมหายใจเข้า หายใจออก เพื่อกาย

  หายใจเข้ากำหนดรู้ว่า กายสังขารเกิดขึ้น

  หายใจออกกำหนดรู้ว่า กายสังขารเกิดขึ้น

  เมื่อกายสังขารเกิดขึ้น จึงรู้ด้วยสติว่า กายสังขาร ที่ไม่สามารถสงบระงับ เป็นทุกข์ เพราะให้ผล คือ

    ความอ่อนไป

     ความน้อมไป
   
     ความเอนไป

     ความโอนไป

     ความหวั่นไหว

     ความดิ้นรน

     ความโยก

     ความโคลงแห่งกาย


  พระโยคาวจร พึงมีสติรู้ดังนี้ จึงทำ กายสังขาร ให้สงบระงับก่อน เพราะหาก กายสังขาร ไม่สงบระงับได้

 ก็จักยุ่งอยู่แต่ กาย เท่านั้น ไม่สามารถภาวนาทะลุไปยัง นามกายที่แท้จริง ได้ดังนั้น ความได้ลม ก็คือ ได้

  นิมิต เป็นสิ่งที่ต้องกำหนดเพื่อสงลระงับ กายสังขาร

   การกำหนด นิมิต มี 4 ประการ

     1. คณนา นับ นิดหน่อย จน ถึง นับยาว

     2. อนุพันธนา ติดตามลมหายใจเข้า หายใจออก

     3. ผุสนา กำหนดจุดกระทบ ของลมหายใจเข้า และ หายใจออก

     4. ฐปนา ตั้งฐานจิตไว้ในส่วนที่จุดกระทบ ส่วนเดียว หรือ ทุกส่วน


   ในส่วนนี้ มีบรรยายในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เรียกว่า การกำหนดที่ตั้งฐานจิต อานาปานสติ 9 จุด

เป็นการกำหนดนิมิต ทั้ง 4 ตามสภาวะธรรมของ ผู้ภาวนา


   เจริญธรรม

    ;)






834  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / อานาปานสติ สโตริกาญาณที่ 2 หายใจเข้ายาว หายใจออกยาว เมื่อ: มีนาคม 07, 2011, 09:10:37 am
[๓๙๐] ภิกษุเมื่อหายใจออกยาวก็รู้ว่า หายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ว่า หายใจเข้ายาว อย่างไร ฯ

     ๑. ภิกษุเมื่อหายใจออกยาว ย่อมหายใจออกในขณะที่นับยาว      ( คณนา การนับลมหายใจ )

     ๒.เมื่อหายใจเข้ายาว ย่อม หายใจเข้าในขณะที่นับยาว

     ๓.เมื่อหายใจออก หายใจเข้ายาว ย่อมหายใจออกบ้าง หายใจเข้าบ้างในขณะที่นับยาว ฉันทะย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้เมื่อหายใจออกหายใจเข้ายาว หายใจออกบ้าง หายใจเข้าบ้างใขณะที่นับยาว

     ๔.เมื่อหายใจออก  ยาวละเอียดกว่านั้น   ด้วยสามารถฉันทะ          ( ความพอใจในผลสมาธิ )

     ๕.ย่อมหายใจออกในขณะที่นับยาว นั้นด้วยสามารถฉันทะ

     ๖.เมื่อหายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้น     ด้วยสามารถฉันทะ ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับยาว  เมื่อหายใจออกหายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถฉันทะ

     ๗.ย่อมหายใจออกบ้าง    หายใจเข้าบ้างในขณะที่นับยาว   ความปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ   เมื่อหายใจออกหายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถฉันทะ  หายใจออกบ้าง    หายใจเข้าบ้างในขณะ ที่นับยาว   เมื่อหายใจออกยาวละเอียดกว่า    นั้นด้วยสามารถ ความปราโมทย์ ย่อมหายใจออกในขณะที่นับยาว เมื่อหายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถความปราโมทย์ ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับยาว

     ๘.เมื่อหายใจออกหายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถความปราโมทย์

     ๙.ย่อมหายใจออกบ้างหายใจเข้าบ้างในขณะที่นับยาว จิตของภิกษุผู้เมื่อหายใจออกหายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถความปราโมทย์ หายใจออกบ้าง หายใจเข้าบ้างในขณะที่นับยาว ย่อมหลีกออกจากการหายใจออกหายใจเข้ายาว อุเบกขาย่อมตั้งอยู่
 
    กายคือ ลมหายใจออกลมหายใจเข้ายาว

     ด้วยอาการ ๙ อย่างนี้ ย่อมปรากฏ สติเป็นอนุปัสนาญาณ กายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่าสติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาเห็นกายในกาย ฯ

        [๓๙๑] คำว่า อนุปสฺสติ ความว่า ภิกษุพิจารณากายนั้นอย่างไร ฯ
 
        พิจารณาโดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาโดยความเที่ยง

        พิจารณาโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาโดยความเป็นสุข

        พิจารณาโดยความเป็นอนัตตาไม่พิจารณาโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัดไม่กำหนัด ย่อมให้ราคะดับไป ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ
 
        เมื่อพิจารณาโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้

        เมื่อพิจารณาโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้
 
        เมื่อพิจารณาโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้
 
        เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละราคะได้ เมื่อให้ราคะดับ  ย่อมละสมุทัยได้
 
        เมื่อสละคืนย่อมละความยึดถือได้ ภิกษุพิจารณากายนั้นอย่างนี้
835  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: อานาปานสติ สโตริกาญาณที่ 1 หายใจเข้าสั้น หายใจออกสั้น เมื่อ: มีนาคม 06, 2011, 07:58:04 am
อ้างถึง
กายเหล่านั้นย่อมปรากฏ กายคือ ความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจออกหายใจเข้าปรากฏ สติเป็นอนุปัสสนาญาณ กายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วยเป็นตัวสติด้วย บุคคลย่อมพิจารณากายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น

กายที่จะปรากฏได้ ในลมหายใจเข้าสั้น ลมหายใจออกสั้น ด้วยอาการ 18 ประการ ตามที่แสดงไว้แล้ว

   ส่วนเมื่อกายปรากฏ ย่อม รู้ว่า

   ความปรากฏของกาย คือ ความรู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจออก หายใจเข้า ปรากฏ สติิเป็นอนุปัสสนาญาณ

        กายปรากฏ มิใช่ สติปรากฏ

        สติปรากฏด้วย เป็นตัว สติด้วย

        บุคคลย่อมพิจารณากาย ด้วยสติ ด้วยญาณนั้น

        การกำหนดเช่นนี้เป็น กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

      จึงกล่าวว่า แม้อานาปานสติ สโตริกาญาณที่ 1 และ 2 ก็คือ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

     เจริญธรรม


     ;)
   Aeva Debug: 0.0004 seconds.Aeva Debug: 0.0004 seconds.Aeva Debug: 0.0004 seconds.
836  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: อานาปานสติ สโตริกาญาณที่ 1 หายใจเข้าสั้น หายใจออกสั้น เมื่อ: มีนาคม 06, 2011, 07:51:44 am
รู้จัก กาย ก็คือ รู้จัก รูป นาม ทั้งสองอย่างสองประการ

   รูป ก็เป็นกาย เรียกว่า รูปกาย

   นาม ก็เป็นกาย เรียกว่า นามกาย

   รู้ทั้ง 2 ประการ เรียกว่า รู้ กาย ดังนั้น รู้ รูปนาม ก็คือ รู้ กาย รู้ กาย ก็คือ รู้ รูปกาย และ นามกาย



837  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: อานาปานสติ สโตริกาญาณที่ 1 หายใจเข้าสั้น หายใจออกสั้น เมื่อ: มีนาคม 06, 2011, 07:44:59 am
ลำดับ เป็นดังนี้

  1. หายใจเข้าสั้น ออกสั้น ด้วยการนับนิดหน่อย คือ นับไม่เกิน 10

      เป็น การกำหนดส่วนของนามรูป จัดเป็นฝ่ายสมถะ

  2. เมื่อนับได้นิดหน่อย ฉันทะ ( ความพอใจ ) ย่อมเกิดขึ้น
 
      เกิดขึ้น เพราะเกิดจากการนับ

  3. เมื่อฉันทะ เกิดขึ้น ย่อมพอใจในการนับนิดหน่อย

      การนับนิดหน่อย มีได้ เพราะมีฉันทะ  สลับเหตุ และ สลับผล ผล เป็น เหตุ เหตุ เป็น ผล

      ขั้นนี้ เป็น ญาณที่ 2 จัดเป็นฝ่ายสมถะ บางครั้ง นาม เป็น เหตุ รูป เป็น ผล บางครั้ง รูป เป็น เหตุ นาม  เป็น ผล  เพราะมีลม จึงมีกาย  จึงมีรูป ใจรู้ใน ลม ในกาย คือรู้รูป เป็นเหตุ ใจที่รู้ พอใจ เป็น นาม


   4. เพราะการนับนิดหน่อย ด้วย ฉันทะ สมาธิ จึงทำให้เกิด ความปราโมทย์ ( ความยินดี ) ในการกำหนด นับนิดหน่อย ในการหายใจเข้าสั้น ออกสั้น

   5. เพราะ มีความปราโมทย์ ในสมาธิ จึงทำให้เกิด ฉันทะ ในสมาธิ และ การนับนิดหน่อย ในลมหายใจเข้าสั้น หายใจออกสั้น

   6. เมื่อการนับนิดหน่อย ในลมหายใจเข้าสั้น ออกสั้น ด้วยสามารถ ของปราโมทย์ และฉันทะ ละเอียดยิ่งกว่านั้น ในขณะนับอย่างนิดหน่อย จิตของผู้ภาวนาย่อมหลีกหนีจาก ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก วางจิตเฉยในลมหายใจเข้า และ ลมหายใจออก ด้วยสติปรากฏรู้ในลมหายใจเข้าสั้น ลมหายใจออกสั้น เป็นเพียงกำหนดรู้ ด้วย อนุวิปัสนาทั้ง 3 เห็นเป็นความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และ ดับไปของลมหายใจเข้าสั้น หายใจออกสั้น เพราะลมหายใจเข้าสั้น ลมหายใจออกสั้น ปรากฏชัดเจนแจ่มใจ เรียกว่า กายปรากฏ ชัดเจน แจ่มใส รู้ว่าการปรากฏเป็นรูป จิตที่รู้ ทราบว่า ที่ปรากฏเป็นกาย มิใช่ สติปรากฏ เป็นแต่กายปรากฏ ชัดเจน แจ่มใส ใจทีกำหนดรู้ได้ขณะนั้นว่าเป็นนาม ใจที่รู้นั้นเรียกว่า สติ ปรากฏด้วย ปรากฏทั้ง 2 ประการ คือ กาน ก็ปรากฏ สติ ก็ปรากฏ เมื่อปรากฏพร้อมทั้ง 2 ประการอย่างนี้ เรียกว่า กายานุปัสนาสติปัฏฐาน

   กายา คือ รู้กาย

   อนุปัสสนา คือ รู้ อนิจจา รู้ทุกขัง รู้อนัตตา ( รู้อย่างไร รู้ว่า เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และ ดับไป )

   สติ  คือ รู้นาม ตามรู้ ในกาย ด้วย อำนาจ อนุปัสสนา 3

   ปัฏฐาน ในที่นี้ คือ ที่ตั้งแห่ง ลมหายใจเข้าสั้น ลมหายใจออกสั้น

     กายา + อนุปัสสนา + สติ + ปัฏฐาน

     กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน


    เจริญธรรม


     ;)



       
838  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: จงพอใจในความระงับอารมณ์ ในกรรมฐาน เมื่อ: มีนาคม 04, 2011, 05:55:13 pm
อ้างถึง
ดิฉันแก้ปัญหาด้วยวิธี ในเวลากลางคืนจะไม่เปิดไฟไว้ เพื่อจำกัดแหล่งอาหารของตุ๊กแก.....ค่ะ..

;)
839  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: จงพอใจในความระงับอารมณ์ ในกรรมฐาน เมื่อ: มีนาคม 03, 2011, 03:47:52 pm

การรวมศูนย์จิต

 ผนวก พุทโธ ลงในฐาน จิต จนเป็นหนึ่งเดียว ( มีเท่านี้นะจ๊ะ )

 ;)

840  ธรรมะสาระ / ห้อง_ด า ว น์ โ ห ล ด / อานาปานสติ เมื่อ: มีนาคม 03, 2011, 03:13:49 pm
ดาวน์โหลดเสียงอ่านพระสูตรได้ที่นี่

http://board.palungjit.com/attachment.php?attachmentid=741622&d=1257061073


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

๘. อานาปานสติสูตร (๑๑๘)

-------------------------------

[๒๘๒]ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัย หนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขามิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี พร้อมด้วยพระสาวกผู้เถระมีชื่อเสียงเด่นมากรูปด้วยกัน เช่น ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระมหากัสสป ท่านพระมหากัจจายนะ ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ท่านพระมหากปิณะ ท่านพระมหาจุนทะ ท่านพระเรวตะ ท่านพระอานนท์ และพระสาวกผู้เถระมีชื่อเสียงเด่นอื่นๆ ก็สมัยนั้นแล พระเถระทั้งหลายพากันโอวาทพร่ำสอนพวกภิกษุอยู่ คือ พระเถระบางพวกโอวาทพร่ำสอนภิกษุ ๑๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๒๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๓๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๔๐ รูปบ้าง ฝ่ายภิกษุนวกะเหล่านั้น อันภิกษุผู้เถระโอวาทพร่ำสอนอยู่ ย่อมรู้ชัดธรรมวิเศษอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าที่ตนรู้มาก่อน ฯ


[๒๘๓]ก็ สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมประทับนั่งกลางแจ้ง ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ วันนั้นเป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ทั้งเป็นวันปวารณาด้วย ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์ ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดยลำดับ จึงตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราปรารภในปฏิปทานี้เรามีจิตยินดีในปฏิปทานี้ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอจงปรารภความเพียร เพื่อถึงคุณที่ตนยังไม่ถึง เพื่อบรรลุคุณที่ตนยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งคุณที่ตนยังไม่ทำให้แจ้ง โดยยิ่งกว่าประมาณเถิด เราจักรออยู่ในเมืองสาวัตถีนี้แล จนถึงวันครบ ๔ เดือนแห่งฤดูฝน เป็นที่บานแห่งดอกโกมุท๑-พวกภิกษุชาวชนบททราบ ข่าวว่า พระผู้มีพระภาคจักรออยู่ในเมืองสาวัตถีนั้น จนถึงวันครบ ๔ เดือนแห่งฤดูฝน เป็นที่บานแห่งดอกโกมุท จึงพากันหลั่งไหลมายังพระนครสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค ฝ่ายภิกษุผู้เถระเหล่านั้นก็พากันโอวาทพร่ำสอนภิกษุนวกะ เพิ่มประมาณขึ้น คือ ภิกษุผู้เถระบางพวกโอวาทพร่ำสอนภิกษุ ๑๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๒๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๓๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๔๐ รูปบ้าง และภิกษุนวกะเหล่านั้น อันภิกษุผู้เถระโอวาทพร่ำสอนอยู่ ย่อมรู้ชัดธรรมวิเศษอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าที่ตนรู้มาก่อน ฯ


[๒๘๔]ก็ สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมประทับนั่งกลางแจ้ง ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ เป็นวันครบ ๔ เดือนแห่งฤดูฝน เป็นที่บานแห่งดอกโกมุท วันนั้นเป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์ ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดยลำดับ จึงตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้ไม่คุยกัน บริษัทนี้เงียบเสียงคุย ดำรงอยู่ในสารธรรมอันบริสุทธิ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทที่ควรแก่การคำนับ ควรแก่การต้อนรับ ควรแก่ทักษิณาทาน ควรแก่การกระทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลกอย่างหาที่อื่นยิ่งกว่ามิได้ ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทที่เขาถวายของน้อย มีผลมาก และถวายของมาก มีผลมากยิ่งขึ้น ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัท อันชาวโลกยากที่จะได้พบเห็น ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทอันสมควรที่แม้คนผู้เอาเสบียงคล้องบ่า เดินทางไปชมนับเป็นโยชน์ๆ ฯ


[๒๘๕]ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นอุปปาติกะ เพราะสิ้นสัญโญชน์ส่วนเบื้องต่ำทั้ง ๕ จะได้ปรินิพพานในโลกนั้นๆ มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นอีกเป็นธรรมดา แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นพระสกคาทามีเพราะสิ้นสัญโญชน์ ๓ อย่าง และเพราะทำราคะ โทสะ โมหะให้เบาบางมายังโลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุสงฆ์นี้ ก็มีอยู่ ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นพระโสดาบัน เพราะสิ้นสัญโญชน์ ๓ อย่าง มีอันไม่ตกอบายเป็นธรรมดา แน่นอนที่จะได้ตรัสรู้ในเบื้องหน้า แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญสติปัฏฐาน ๔ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ


[๒๘๖]ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญสัมมัปปธาน ๔ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญอิทธิบาท ๔ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญอินทรีย์ ๕ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญพละ ๕ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญโพชฌงค์ ๗ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญมรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ก็มีอยู่ ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญเมตตาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญกรุณาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญมุทิตาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญอุเบกขาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญอสุภสัญญาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญอนิจจสัญญาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ


[๒๘๗]ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญอานาปานสติอยู่ ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้วย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ

[๒๘๘]ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไรทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้าสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้าสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้าสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้าสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัดหายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออกว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ


[๒๘๙]ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด เมื่อภิกษุหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้นหรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายมีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวลมหายใจออก ลมหายใจเข้านี้ ว่าเป็นกายชนิดหนึ่งในพวกกาย เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายมีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออกว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการใส่ใจลมหายใจออกลมหายใจเข้าเป็นอย่างดีนี้ ว่าเป็นเวทนาชนิดหนึ่ง ในพวกเวทนา เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัวมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ


ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวอานาปานสติแก่ภิกษุผู้เผลอสติ ไม่รู้สึกตัวอยู่ เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้นภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ


ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้าสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลายในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสด้วยปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้วางเฉยได้ดี เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ


[๒๙๐]ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วอย่างไรทำให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผอเรอ ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสตสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นได้ด้วยปัญญา ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้าไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอเมื่อค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมด้วยปัญญาอยู่ ย่อมเป็นอันปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ในสมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ปีติ ปราศจากอามิสย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ย่อมมีทั้งกายทั้งจิตระงับได้ ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ระงับได้ในสมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมมีจิตตั้งมั่น ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุขย่อมตั้งมั่น ในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้เป็นอย่างดี ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้เป็นอย่างดี ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้นสติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ...

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ...

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียรรู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้ว ไม่เผอเรอ ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์สมัยนั้น ธรรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ เมื่อเธอค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญาอยู่ ย่อมเป็นอันปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ในสมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้นวิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ปีติปราศจากอามิสย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ย่อมมีทั้งกายทั้งจิตระงับได้ ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ระงับได้ในสมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมมีจิตตั้งมั่น ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุขย่อมตั้งมั่น ในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้เป็นอย่างดี ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้เป็นอย่างดี ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ


[๒๙๑]ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย ย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ

จบ อานาปานสติสูตร ที่ ๘


-----------------------------------------------------


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔บรรทัดที่ ๓๙๒๔ - ๔๑๘๑.หน้าที่๑๖๗ - ๑๗๗.


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=3924&Z=4181
หน้า: 1 ... 19 20 [21] 22 23 ... 26