ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ศาสนากับนิกาย และเหตุให้เกิดนิกาย  (อ่าน 1849 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28452
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ศาสนากับนิกาย และเหตุให้เกิดนิกาย
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2011, 07:40:41 am »
0
ศาสนากับนิกาย และเหตุให้เกิดนิกาย

ศาสนากับนิกาย
ศาสนา สำคัญ ๆทุก ๆ ศาสนา เช่น คริสตศาสนา อิสลาม ศาสน (หรือจะเรียกเป็นลัทธิก็ตามใจชอบ) พราหมณ์ หรือฮินดู รวมทั้งพระพุทธศาสนาด้วย ต่างก็มีอยู่หลายนิกายด้วยกัน คริสตศาสนามีนิกายสำคัญคือ นิกายคาธอร์ลิก โปรเตสแตนท์ ซึ่งแต่ละนิกายก็แยกเป็นเป็นสาขาออกไปอีกนับเป็นหลาย ๆ สิบสาขา

ศาสนาอิสลามมีนิกายสำคัญคือ นิกายสุหนี่ นิกายซิเอต์ คือ เจ้าเซน ซึ่งต่างก็มีนิกายย่อยลงไปอีก
ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูมีลัทธิพิธีแตกต่างกันเป็นอันมาก และมีการเปลี่ยนแปลงบ้าง คงเดิมบ้าง นับถือเฉพาะแม่เจ้ากาลีบ้าง เฉพาะพระศิวะบ้าง ฯลฯ


พระพุทธศาสนา ผู้นับถือพระพุทธศาสนา ก็มีคติเหมือนกับผู้นับถือศาสนาอื่น คือมีความคิดเห็นแตกแยกกัน เห็นไม่ตรงกันศาสนาสำคัญของโลกทุกศาสนาเกิดนิกายขึ้น เพราะความเห็นเกี่ยวกับวินัย หรือหลักธรรมในศาสนาของตน เห็นไม่ตรงกันแยกไปตั้งหมู่คณะของตนที่มีความคิดเห็นตรงกัน เช่น ท่านมาตินลูเธอร์ ผู้ให้กำเนิดนิกายโปรเตสแตนท์ในคริสตศาสนาเป็นต้น

พระพุทธศาสนาก็เช่นเดียวกัน เดิมทีเดียวไม่มีนิกาย เช่น พระพุทธศาสนา ก่อนทำสังคายนาครั้งที่ ๒ ยังไม่มีนิกาย แต่เมื่อพูดถึงความเห็นแตกแยกกัน ก็เริ่มเกิดตั้งแต่ภายหลังที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานได้ ๗วัน ซึ่งเป็นเหตุให้พระมหากัสสปะชุมนุมสงฆ์ทำสังคายนาครั้งที่๑ ครั้นถึงสังคายนาครั้งที่ ๒ สงฆ์ได้แยกออกเป็นสองคณะอย่างชัดเจนคือ ฝ่ายเถรวาท และฝ่ายอาจาริยวาท ซึ่งเป็นนิกายขึ้นแล้ว

แต่ยังไม่มีชื่อเรียกเป็นทางราชการทางประวัติศาสตร์ เช่น ทำการสังคายนาของพระเจ้าอโศกมหาราช และของพระเจ้ากนิษกะ เกิดเป็นนิกายฝ่ายใต้ นิกายฝ่ายเหนือ หรือเรียกหีนยานมหายานจนบัดนี้ ซึ่งแต่ละนิกายก็มีนิกายย่อยออกไปอีก

เหตุให้เกิดนิกาย

ได้กล่าวมาแล้วว่านิกายเกิดขึ้น เพราะความเห็นเกี่ยวกับวินัยหรือหลักธรรมในศาสนาของตนไม่ตรงกัน นี่เป็นเพียงสาเหตุหนึ่งเท่านั้น สาเหตุที่สำคัญอีกสองประการ คือ สภาพแวดล้อมของสังคมเกี่ยวกับดิน ฟ้า อากาศ และความนึกคิดเกี่ยวกับจารีตประเพณีที่แตกต่างกันออกไป

ความเข้าใจพระพุทธพจน์ต่างกัน การหันเข้าหาความสะดวกล้วนเป็นบ่อเกิดแห่งการแตกแยกจนเกิดเป็นนิกายขึ้น สำหรับพระพุทธศาสนานอกจากสาเหตุดังกล่าวแล้ว ยังมีหลักฐานในพระไตรปิฏกซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดความคิดเห็นไม่ตรงกัน จนเกิดเป็นนิกาย คือ

๑.  ในมหาปรินิพพานสูตร พระพุทธพจน์ที่ว่า “อานนท์เมื่อหมดเราแล้ว ธรรมวินัยที่เราทรงสอนไว้
      เป็นศาสดาแทนเรา และว่าสงฆ์ปรารถนา ก็เพิกถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้” ภิกษุที่เคร่งครัดในธรรมวินัย
      ที่เรียกว่าอนุรักษ์นิยมเห็นว่าไม่สมควรเพิกถอนสิกขาบทใด ๆ ทั้งสิ้น คำสอนมีอย่างไรก็ปฏิบัติอย่างนั้น
      แต่ภิกษุบางรูปเห็นว่า สมควรจะมีการเพิกถอนสิกขาบทที่ไม่สำคัญได้บ้าง เพื่อความแผ่ไพศาลแห่งศาสนา
      (เช่น คดีฝ่ายมหายาน) และเหมาะสมกับสังคมทันสมัย


๒.   ในมหาปรินิพพานสูตร เช่นเดียวกันกับในข้อ ๑ หลักตัดสินพระธรรมวินัยที่เรียกว่า มหาประเทศ ๔ คือ
      ๑.   สิ่งใดไม่ได้บัญญัติไว้ว่าควร แต่เข้ากันได้กับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควร
      ๒.   สิ่งใดไม่ได้บัญญัติไว้ว่าควร แต่เข้ากันได้กับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควร
      ๓.   สิ่งใดไม่ได้ทรงบัญญัติไว้ว่าควร แต่เข้ากันได้กับสิ่งที่ไม่ควรขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควร
      ๔.   สิ่งใดไม่ได้ทรงบัญญัติไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ควร ขัดต่อสิ่งไม่ควร สิ่งนั้นควร

นี่เองที่ทำให้ตีความในหลักธรรมแตกต่างกันออกไป เพราะพระพุทธพจน์ คือพระบาลีนั้นเป็นคำสั้น ๆ  ซึ่งพระบาลีนั้นมีปัญหาว่า คำนั้น ๆ หมายความโดยละเอียดอย่างไร เช่น คำว่ากาลโภชน์ การฉันอาหารในกาลไม่มีปัญหาว่า ตั้งแต่เวลาไหนถึงไหน แต่มาภายหลังพุทธกาล ฝ่ายเถรวาทอธิบายว่า กาลโภชน์- กาล หมายถึง ตั้งแต่รุ่งอรุณจนถึงเที่ยงวัน แต่ฝ่ายอาจาริยวาทตีความว่าตั้งแต่อาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตก เป็นกาลโภชน์ฉันอาหารได้พ้นจากนั้นเป็นเวลาวิกาล ฉันมิได้เป็นตัวอย่าง วินัยก็ดี ธรรมะก็ดี


บางข้อในสมัยพุทธกาลไม่เป็นปัญหา แต่ตกมาหลังพุทธกาล ถ้าคำอธิบายของพระอรรถกถาจารย์ก็ดี พระฏีกาจารย์ก็ดีหรือพระเกจิอาจารย์ก็ดี ไม่ปรากฏในคัมภีร์ ธรรมหรือวินัยข้อนั้นก็มีการตีความกัน เช่น เรื่อง กาล วิกาล เกี่ยวกับพระวินัยดังกล่าวแล้ว ยิ่งเกี่ยวกับธรรมะยิ่งเกิดเป็นปัญหามาก เช่น คำว่าสติ กับสัมปชัญญะ สติมาในธรรมหลายหมวด การตีความหมายหมวด มี ๒ ทาง คือ ตีตามที่มาในหมวดธรรมนั้น ๆ  อย่างหนึ่ง ตีตามที่ตนเข้าใจอย่างหนึ่ง  สัมปชัญญะมาในที่ต่าง ๆ น้อยแห่งกว่า สติ ความหมายก็สั้น เมื่อเกิดปัญหา สัมปชัญญะ คือความรู้ตัว คือรู้อย่างไร ก็จำเป็นต้องอธิบายตามความเข้าใจของผู้อธิบาย

ซึ่งนักธรรมด้วยกันก็อธิบายใกล้เคียงกันบ้างเหมือนกันบ้าง ต่างกันไปบ้าง จนบางทีผู้มีความสงสัยหัวข้อธรรมนั้น ๆ ไม่อาจปลงใจว่าของใครถูก เมื่อเกิดปัญหาวินัยหรือธรรมะในคัมภีร์ขึ้นผู้เป็นคณาจารย์หรือหัวหน้า อธิบายอย่างไร ลูกศิษย์ก็เชื่อตามถ้าผู้เป็นอาจารย์อีกคณะหนึ่งอธิบายไปอีกอย่างหนึ่ง ลูกศิษย์ก็เชื่อตามอาจารย์ ความเห็นไม่ตรงกัน ปฏิบัติไม่ตรงกันก็เกิดขึ้น ยิ่งถ้าผู้มีอำนาจ เช่นพระมหากษัตริย์ เป็นผู้ทรงสนับสนุนทำสังคายนา เหมือนพระเจ้าอโศกมหาราช และพระเจ้ากนิษกะเป็นตัวอย่าง นิกายหรือสาขาของนิกาย เหมือนกับพรรคการเมืองของชาวบ้าน

ครั้งหนึ่ง เมื่อพระพุทธเจ้าประทับที่ป่าประดู่ลาย เมืองโกสัมพีพระพุทธเจ้าทรงประทับเป็นประธานท่ามกลางสงฆ์ ทรงกำใบประดู่ลายจำนวนหนึ่งแล้วรับสั่งถามภิกษุว่า ใบประดู่ที่พระองค์กำอยู่กับใบประดู่ลายที่อยู่บนต้นไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุทราบทูลว่าประดู่บนต้นมีมากกว่า พระพุทธเจ้ารับสั่งว่าคำสอนของพระองค์ก็เช่นเดียวกัน ที่สอนมีน้อยกว่าที่ไม่สอน เพราะอะไร เพราะคำสอนที่ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ คือความประพฤติอย่างพรหม เป็นต้นว่าความเบื่อหน่าย ความสิ้นกำหนัด ความดับ ความสงบ ฯลฯ พระองค์ไม่ทรงสอน

ทั้ง ๓ ประเด็นที่ยกมานี้แสดงให้เห็นว่า การอธิบายวินัยบางสิกขาบทหัวข้อธรรมให้เข้ากัน กับชีวิตประจำวันได้นั้นยาก ที่จะให้ตรงกันได้ เพราะตัวอย่างตามคัมภีร์นั้นเป็นเรื่องราวในอดีต ซึ่งมีสภาพแวดล้อมไม่เหมือนกับปัจจุบัน เรื่องราวในคัมภีร์เป็นเพียงส่วนประกอบในการอธิบาย ที่จะให้เข้าใจจริง ๆ ต้องเข้าใจวินัยหรือธรรมข้อนั้น ๆ โดยตลอด นี่พูดถึงผู้อธิบาย ผู้รับก็ต้องมีพื้นสภาพแวดล้อมพอที่จะรับฟังใฟ้เข้าใจได้ด้วย จึงจะสำเร็จประโยชน์การถกเถียงกัน มีความเห็นไม่ตรงกันในการตีความหมายหัวข้อธรรมะบางข้อ ย่อมมีขึ้นได้เสมอ ซึ่งเรียกอย่างภาษาวัดว่าทิฏฐิไม่เสมอกัน ตามภาวะของปุถุชน ก็เกิดเรื่องทำนองคนตาบอดคลำช้างขึ้น

สำหรับการอธิบายธรรม การสอนธรรมยกหัวข้อธรรมจากคัมภีร์มาสอนคนปัจจุบัน หากผู้รับฟังมีพื้น ศรัทธาจริตเป็นทุนเดิม ก็ไม่เป็นการลำบาก แต่คนที่เป็นพุทธิจริต  ความลำบากย่อมตามมา คือเชื่อยากเท่าที่เป็นอยู่ในบัดนี้ มีนักธรรม- นักสอนธรรมอยู่ ๓ จำพวกคือ พวกสอนตามคัมภีร์ พวกสอนนอกคัมภีร์และพวกสอนทั้งในคัมภีร์และนอกคัมภีร์

พวกที่หนึ่ง  สอนธรรมตามตำรา นำหัวข้อธรรมขึ้นตั้งเป็นกระทู้ แล้วนำเรื่องราวที่ปรากฏในคัมภีร์มาประกอบ
               การตีความหมายหัวข้อธรรมตามที่พระอรรถกถาจารย์ ฯลฯ แก้ไว้แล้วก็สรุปจบลงง่าย


พวกที่สอง   สอนธรรมนอกคัมภีร์ (ตำรา) ยกหัวข้อธรรมขึ้นแล้วอธิบาย นำเรื่องมาประกอบ ซึ่งคำอธิบาย
               กับเรื่องไม่ตรงกับหัวข้อธรรม


พวกที่สาม   เป็นนักสอนธรรมที่หายาก ยกธรรมมาอธิบายกับชีวิตปัจจุบันอย่างกลมกลืนสนิท
               แตกฉานทั้งหลักธรรมและเข้าใจปัญหาชีวิตเป็นอย่างดี ผู้ฟังเข้าใจได้ความรู้
               คนพวกที่สามมีน้อยกว่าสองข้างต้น หาได้ยาก


ข้อแตกต่างที่นับว่าสำคัญของนิกายใหญ่ทั้งสองก็คือ

๑.  ทิฎฐิ หรือแนวความคิดต่างกัน รากฐานอันสำคัญในการบรรลุเป้าหมายของมหายาน คือ ศรัทธา
     ถ้าถามว่า ศรัทธาอย่างไร ตอบว่ามหายานถือว่า ศรัทธาเป็นหลักสำคัญ ที่จะให้ผู้นับถือพระพุทธศาสนา
     บรรลุธรรม คือ ศรัทธาในพระพุทธะ หรือในพระพุทธเจ้า ด้วยแรงของศรัทธาจะทำให้เชื่อและปฏิบัติตาม
     คำสอนอย่างมีชิวิตจิตใจแล้วจะได้บรรลุธรรม ความเชื่อนี้จะทำให้ผู้ปฏิบัติไม่ลังเล ปฏิบัติอย่างถวายชีวิต

     
     แต่ฝ่ายหีนยานไม่ปฏิเสธศรัทธาว่ามีค่าน้อย แต่ว่าหมวดธรรมใดมีศรัทธาอยู่ด้วย หมวดธรรมนั้นก็จะมี
     ปัญญากำกับอยู่ เชื่อในกรรมว่าสัตว์โลกมีกรรมเป็นของตน กรรมจำแนกให้สัตว์ต่างกัน เชื่อว่าทำดีได้ดี
     ทำชั่วได้ชั่ว และเชื่อในความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า แม้กระนั้นคัมภีร์ ในนิกายฝ่ายใต้ก็เห็นว่าปัญญา
     สูงกว่าศรัทธา การเลือกเฟ้นหลักธรรมว่าถูกต้องเพียงไรก็ดี หลักสัปปุริธรรมต่างมีปัญญาเป็นพื้นฐาน
     
     รวมความก็คือ รากฐานในนิกายมหายานยึดหลักว่า สทฺธาย ตรติ โอฆํ คนข้าม โอฆะ ได้เพราะศรัทธา
     หีนยานยึดหลักว่า ปญฺญาย ปริสุชฺฌติ คนจะบริสุทธิ์ได้เพราะปัญญา

๒.  สังคมหรือสภาพแวดล้อมที่รักษาคัมภีร์ ของแต่ละฝ่ายแตกต่างกันทางนิกายฝ่ายใต้นับตั้งแต่สังคายนา
     ครั้งที่ ๓ ที่พระเจ้าอโศกมหาราชเผยแผ่ศาสนาไปยังประเทศต่าง ๆ นั้น นิกายฝ่ายใต้คือ ลังกา พม่า ไทย
     ลาว เขมร ซึ่งเป็นประเทศนับถือนิกายนี้ ต่อมานิกายมหายานก็ได้แผ่เข้ามาอีกในประเทศไทย เขมา พม่า
     และลาว แต่ลังกานั้นมหายานไม่เข้าไปลังกาสมัยศาสนาเสื่อมก็มี เจริญก็มี มาถึงสมัยหลังสุดนิกายนั้น

     
     พุทธศาสนา ในลังกากำลังเจริญได้แผ่มายัง พม่า ไทย เขมร และลาว อันเป็นคัมภีร์พระไตรปิฎกฉบับ
     ปัจจุบันของชาติต่าง ๆ เหล่านี้ มาจากแหล่างเดียวกัน เป็นคัมภีร์ที่รักษามาตั้งแต่เดิมฉบับเดียวกัน
     ส่วนที่แผ่ไปยังภาคอื่นนั้น ตั้งอยู่ไม่มั่นคง ก็ถูกศาสนาอื่นเช่น พราหมณ์บ้าง ฮินดูบ้าง และมหายานเองบ้าง
     ทำให้สิ้นลมปราณไปเหลืออยู่เฉพาะประเทศที่กล่าวนามข้างต้น

ทางนิกายฝ่ายเหนือ
นับ ตั้งแต่สังคายนาของพระเจ้ากนิษกะ ซึ่งทำอยู่ในภาคเหนือของอินเดีย ได้เผยแผ่ไปยังที่ข้างเคียง คือ ธิเบต จีน เกาหลี เนปาล มองโกเลีย ญี่ปุ่น ญวน ภาคเหนือของอินเดีย ศาสนาพราหมณ์ยุคพัฒนาซึ่งเป็นฮินดูนั้น พระพุทธศาสนาต้องต่อสู้ และสภาพแวดล้อมของคนในที่นั้น เป็นเหตุให้นักปราชญ์อธิบายหลักธรรมและพิธีของศาสนาให้เหมาะกับคนและท้อง ถิ่นนั้น ๆ คณาจารย์แต่ละท่านได้ค้นหาวิธี และแต่งคัมภีร์ประกาศศาสนา จนเกิดสูตรมากหลาย ซึ่งพ้องกับของหีนยานโดยชื่อเหมือนกันบ้าง แตกต่างกันบ้าง แต่มีพระสูตรอีกมากหลายที่ไม่มีในคัมภีร์นิกายฝ่ายใต้ เช่น สัทธรรมบุฑณริกสูตร เป็นต้น

สัทธรรมบุณฑริกสูตร
ในประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น นิกายใหญ่ต่างนับถือสัทธรรมบุณฑริกสูตรเป็นสูตรสำคัญกว่าพระสูตรอื่น เป็นพระสูตรแท้สูงสุดแลเป็นมหายานแท้ พระสูตรนี้แบ่งเป็น ๒๘ บท มี ๒ ภาค มีบทเท่ากัน

  ๐  ภาคต้น   กล่าวถึงธรรมะต่าง ๆ ซึ่งเป็นความรู้ที่จะทำคนให้เป็นพุทธะ
  ๐  ภาคปลาย  กล่าวถึงความจริงอันลึกซึ้ง เกี่ยวกับความเป็นพุทธะเป็นญาตุที่มีอยู่ในทุกตัวตน
                    ความเป็นพุทธะหรือพุทธภาวะนี้เป็นดั้งเดิม จักรวาลสากลจักรวาล ก็เป็นสภาพดั้งเดิม
                    ชีวิตมีอยู่ตลอดกาล ชีวิตหนึ่ง ๆ ก็คือกระจิดริดหนึ่งของชีวิตดั้งเดิม พุทธะก็ดีชีวิตก็ดี
                    มีอยู่ตลอดกาล


คำสอนของพระพุทธเจ้าตลอด ๔๕ พรรษา แบ่งเป็นคำสอนชั้นเตรียมเป็นเวลา ๓๗ ปี ซึ่งเป็นคำสอนตอนต้นคำสอนตอนปลาย ๘ ปี หลังเป็นคำสอนสูงสุดรวม ๔๕ ปี แต่มหายานแบ่งเป็นทรงประกาศศาสนา ๕๐ ปี ดังนี้

๑.  เริ่มตั้งแต่สอนภิกษุปัญจวัคคีย์ คือ คำสอนที่ปรากฏในพระไตรปิฎก (ของหีนยาน) เป็นเวลา ๑๒ ปี
๒.  เป็นคำสอนศึกษาได้จากพระสูตร (หมายถึงของมหายาน) เช่นไวปุลยะสูตร ทรงสอนวิธีนี้ ๑๖ ปี
๓.  ทรงสอนวิธีเหมาะแก่การใช้ความคิด ตรึกตรองลึกซึ้งกว้างขวางทรงสอนวิธีนี้อยู่ ๑๔ ปี
๔.  คำสอนแท้และสูงสุดของพระพุทธศาสนา เป็นแก่นแห่งพระพุทธศาสนา ทรงสอนวิธีนี้อยู่ ๘
ปี

คัมภีร์มหายานได้แยกระยะกาลแห่งการประกาศพระศาสนาของพระพุทธเจ้าเป็นระยะ ตั้งแต่ ๑-๓ เป็นคำสอนขั้นต้น เตรียมพื้นฐาน เพื่อรับคำสอนเบื้องปลาย คือ สัทธรรมบุณฑริกสูตรสูงสุด ที่กล่าวมานี้เป็นของนิกายใหญ่ในจีน และญี่ปุ่น เท่านั้น

ตำนานทางฝ่ายใต้
พระเทวทัต ได้พยายามแยกคณะจากพระพุทธเจ้า เมื่อครั้งพระพุทธองค์ทรงพระชนม์อยู่ ภายหลังพระเทวทัตสำนึกผิดและสงฆ์ก็มิได้แตกกันคือ เมื่อพระพุทธองค์รับสั่งให้อัครสาวกไปชี้แจง สามารถนำพระที่เข้ากับพระเทวทัตกลับมา

เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานได้ ๗ วัน หลวงตาบวชเมื่อแก่ชื่ออสุภัททะ ได้กล่าวกับภิกษุบางรูป ไม่ให้เสียใจที่พระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานว่า “พระสมณโคดม ตายเสียแล้วก็ดี เมื่ออยู่บัญญัติวินัยจู้จี้กวนใจ ต่อไปจะทำอะไรไม่ต้องกลัวใครว่ากล่าวทักท้วงอีก” พระมหากัสสปะได้นำทำสังคายนาครั้งแรก เพราะเหตุนี้ การร้อยกรองพระธรรมวินัยเป็นหมวดหมู่ด้วยปากเปล่า มิได้เป็นลายลักษณ์อักษร

เมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๐๐ ปีเศษ เกิดปัญหาวัตถุ ๑๐ อย่าง และการขอเงินชาวบ้านของภิกษุวัชชีบุตรชาวเมืองไพสาลีมีสาระสำคัญคือ การฉันอาหารหลังเที่ยงและการรับทรัพย์สินเงินทองเป็นต้น พระที่เห็นว่าสมควรก็มี พระที่คัดค้านว่าไม่ควรก็มี พระสงฆ์ฝ่ายที่เห็นว่าไม่สมควร มีพระยศเถระเป็นหัวหน้า ว่าไม่ควรแก้ไขพระวินัยผิดไปจากที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ แม้จะมีข้อแก้ไว้ก็ดี เพราะไม่สามารถรู้ได้ว่าควรไม่ควรเพียงไร รักษาตามบัญญัติไ
ว้

เดิมดีกว่า สงฆ์คณะนี้เรียกชื่อว่า “เถรวาท” เพราะปฏิบัติตามที่พุทธสาวกได้ทำสังคายนามาตั้งแต่ครั้งที่ ๑ ส่วนพระสงฆ์อีกฝ่ายหนึ่ง คือ พระภิกษุชาววัชชี เป็นต้น ถือว่าการทำเช่นนั้นสมควร ไม่ผิดบัญญัติ สงฆ์คณะนี้เรียกว่า “อาจาริยวาท” เพราะถือตามมติอาจารย์แก้ไขไว้ พระยศเถระจึงนิมนต์พระคณาจารย์มีพระสัพพกามีและพระเรวัติ เป็นต้น กับคณะสงฆ์เป็นจำนวนมาก รวมประมาณ ๗๐๐ องค์ พร้อมกับยกสังคายนาเป็นครั้งที่ ๒ พระเจ้ากาลาโศกราชทรงเป็นอุปถัมภ์ ทำอยู่ ๘ เดือนจึงสำเร็จ

ครั้งที่สำคัญคือ ครั้งที่ ๓ พระพุทธศาสนาล่วงไปได้ ๒๐๐ ปีเศษ พระเจ้าอโศกมหาราชทรงเป็นผู้อุปถัมภ์ ทำสังคายนาเสร็จประมาณ พ.ศ. ๒๓๕ พระโมคคัลลีบุตรเป็นประธาน เป็นครั้งแรกที่พระพุทธศาสนาแผ่ไปยังนานาประเทศอย่างกว้างขวางเหตุแห่งการ สังคายนาครั้งนี้คือ มีพวกปลอมบวชในพระพุทธศาสนาเพื่อเห็นแก่ลาภ ไม่ปฏิบัติธรรมวินัย

การทำสังคายนาครั้งที่ ๔-๕ ในประเทศศรีลังกา รายละเอียด ไม่นำมากล่าวในที่นี้ สำหรับประเทศอื่น  ๆ เช่น พม่า ไทย ฯลฯ ก็เคยชำระสะสางพระไตรปิฎก โดยถือเป็นการสังคายนากันเหมือนกัน ข้อสำคัญคือประเทศลังกา พม่า ไทย เขมร และลาว เป็นนิกายหีนยานมีพระไตรปิฎกมาจากแหล่งเดียวกัน คือธรรมวินัยที่สังคายนามาตั้งแต่ครั้งที่ ๓-๔ และ ๕ ซึ่งเป็นฉบับมาจากลังกา

นิกายฝ่ายเหนือเริ่มต้นตั้งแต่การสังคายนาครั้งที่ ๔ (หมายถึงที่ทำในประเทศอินเดียต่อจากครั้งที่ ๓ ซึ่งพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นองค์อุปถัมภ์ พระเจ้ากนิษกะ (พ.ศ. ๖๒๑-๖๔๒) เป็นองค์อุปถัมภ์ในการสังคายนาครั้งที่ ๔ จารึกธรรมวินัยเป็นภาษาสันสกฤต ทำที่ภาคเหนือของประเทศอินเดีย คือแคว้นกาษมีระ ใน

รัชสมัยของพระองค์พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานได้แผ่ไปทั่วทุกสารทิศมีคัมภีร์ เกิดขึ้นเป็นอันมาก ความจริงคัมภีร์ต่าง ๆ ก็คือสูตรต่าง ๆ มีคณาจารย์ได้แต่งขึ้นเอง พระอาจารย์ผู้แต่งผู้แปลแต่ละคัมภีร์ก็เป็นพระโพธิสัตว์นิกายมีเป็นอันมาก ก็เพราะมีพระสูตรมากนั่นเอง มีการนับถือพระสูตรตรงกันบ้าง ต่างกันบ้าง ต่างกันโดยสิ้นเชิง นิกายนี้ตั้งมั่นอยู่ในประเทศจีน เกาหลี ญี่ปุ่น ญวน ธิเบต เป็นต้น

 
ที่มา http://www.phuttha.com/คลังความรู้/ศานากับนิกาย-และเหตุให้เกิดนิกาย
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ