ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: จุดมุ่งหมาย แห่ง นิกายมหายานและหินยาน  (อ่าน 2040 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
จุดมุ่งหมาย แห่ง นิกายมหายานและหินยาน
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2011, 07:50:48 am »
0
จุดมุ่งหมาย แห่ง นิกายมหายานและหินยาน


หินยาน หรือ นิกายใต้ 
เป็น ฝ่ายรักษาของดั้งเดิม ตามที่มีมาในพระไตรปิฎก ธรรมวินัยแบ่งเป็นขั้นตอนกล่าวคือ วินัยศีล กำหนดให้รักษาตามเพศ ตามฐานะ ตามความสามารถเช่น ศีล ๕-๘-๑๐-๒๒๗ เป็นต้น สำหรับธรรมนั้น มีมากตามจริตอัธยาศัยของตน ซึ่งบางส่วนก็คล้ายศีล คือ ปฏิบัติตามเพศฐานหรือวัย เช่นฆราวาสธรรม สารณียธรรม เป็นตัวอย่าง ซึ่งแบ่งอย่างกว้าง ๆ คือ โลกียะและโลกุตระ อย่างที่เรามีอยู่ ซึ่ง จุดหมาย คือ ความสุขในโลกนี้ และความหลุดพ้นจากโลกนี้


นิกายใต้ ปฏิบัติพระไตรปิฏกเป็นหลัก มีข้อแตกต่างกันไปตามข้อปลีกย่อย การแตกแยกเป็นนิกายออกไป ก็เนื่องด้วยความเห็นไม่ลงรอยกันในข้อปลีกย่อย เช่นสังคายนาครั้งที่ ๑ ครั้งที่ ๒ เป็นตัวอย่าง แต่จุดหมายปลายทางเหมือนกัน คือการปฏิบัติธรรมเนียมเพื่อชำระตนให้หลุดพ้นจากกิเลส เพื่อความเป็นอรหันต์แห่งตนเอง ทำตัวให้เป็นคนดี เป็นผู้หลุดพ้นให้เป็นตัวอย่าง ให้คนอื่นเลื่อมใสและเชื่อฟัง จะได้ทำตัวให้เป็นอรหันต์ หมดทุกข์ต่อไปด้วย นิกายใต้  ทำตัวให้หลุดพ้น ช่วยสอนคนอื่นให้รู้วิธีหลุดพ้น ให้คนอื่นปฏิบัติให้หลุดพ้นเหมือนกับตนด้วยเขาเอง


มหายาน หรือ นิกายเหนือ
แม้ จะมีศีลเหมือนกันแต่บางสาขาของนิกายไม่มีศีลเลย คงมีแต่ธรรมเท่านั้น ซึ่งมุ่งเป็นพระโพธิสัตว์ผู้มีหน้าที่ปลดทุกข์ให้แก่สัตว์ โลก นิกายฝ่ายเหนือตำหนินิกายฝ่ายใต้ว่าเห็นแก่ตัว ใจแคบ เพราะสอนว่าตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ความบริสุทธิ์เป็นของใครของมัน คนอื่นเป็นที่พึ่งไม่ได้ พูดง่าย ๆ คือ สอนให้เอาตัวรอดอย่างที่เรียกว่า ตัวใครตัวมัน สอนปัญญาว่าเลิศเป็นเครื่องมือระงับทุกข์แก่ตนเอง เมื่อปัญญานั้นปราศจากกรุณาแล้ว ปัญญาก็เป็นเครื่องมือที่ไร้ประโยชน์สำหรับคนอื่น คงเป็นประโยชน์แก่ตัวเองเท่านั้น นอกจากนี้ท่านอาจารย์ใหญ่ฝ่ายนิกายเหนือชื่อ ศานติเทวะ เกิด พ.ศ. ๑๒๓๔ ได้บรรยายถึงจิตใจของผู้เป็นพระโพธิสัตว์

 “ข้าพเจ้าจะเป็นยารักษาคนไข้ จนกว่าความเจ็บไข้จะหมดไป ข้าพเจ้าจะเป็นผู้ดับความหิวกระหายด้วยอาหาร และเครื่องมือ ขอให้ข้าพเจ้าเป็นคลังพัสดุสำหรับคนยากจน อย่างไม่รู้หมด และแจกจ่ายพัสดุต่าง ๆ แก่คนยากจนตามความจำเป็นชีวิต ความอิ่มใจ ความดีที่ได้สร้างสมมาในชาติอดีต ปัจจุบันและอนาคตของข้าพเจ้า ขออุทิศให้ด้วยความเต็มใจเพื่อสรรพสัตว์จะได้บรรลุจุดหมายแห่งชีวิตของตน”

จุดหมาย ของมหายาน คือปฏิบัติเพื่อเป็นพระโพธิสัตว์ด้วยการปฏิบัติตามปณิธาน
หรือปฏิญาณของพระโพธิสัตว์ ๔ อย่าง ดังที่ได้กล่าวในตอนว่าด้วยพระโพธิสัตว์

เมื่อปฏิบัติถึงขั้นเป็นพระโพธิสัตว์แล้ว จะต้องท่องเที่ยวในสังสารวัฏ เพื่อปลดเปลื้องทุกข์ หรือกวาดล้างอธรรมไปจากโลก เมื่อทุกคนเข้าถึงความเป็นพุทธแล้ว ผู้เป็นพระโพธิสัตว์มีบารมีเต็ม และไม่มีสัตว์อื่นให้ขนต่อไป ตนเองจึงจะเข้าสู่ความเป็นพุทธะ


      นิกายเหนือเบื้องต้นก็เหมือนนิกายใต้ ทำตัวให้หลุดพ้นช่วยคนอื่นให้หลุดพ้นไปด้วย คือทำไปพร้อมกัน แต่เมื่อตัวหลุดพ้นแล้วยังปฏิบัติหน้าที่ต่อไปโดยช่วยคนอื่นให้หลุดพ้น พิจารณาตามสภาพสังคมปัจจุบันแล้ว การช่วยตนเองขณะเดียวกัน ก็ช่วยคนอื่นไปพร้อมกันเป็นหลักการที่ถูกต้อง การช่วยตัวเองโดยไม่คำนึงถึงคนอื่น เป็นความเห็นแก่ตัว เป็นการทำลายมากกว่าการสร้างสรรค์ คนที่ไม่ช่วยตัวเอง คอยแต่ให้คนอื่นช่วย คนนั้นก็เสื่อมสังคมที่คนคอยแบมือขอโดยไม่ช่วยตัวเอง ปล่อยให้คนอื่นช่วยฝ่ายเดียว สังคมเช่นนั้นก็จะเสื่อมถอยมากกว่าเจริญมิใช่หรือ

โลกปัจจุบันกำลังหลงใหลฟุ้งเฟ้อด้วยวัตถุ ย่อมเป็นการยากที่คนจะเห็นแก่คนอื่น ถ้าไม่มีจิตใจที่ได้บ่มอบรมถึงขนาดพอควร สังคมที่เอารัดเอาเปรียบย่อมเห็นแก่ตัวพวกของตัวเป็นที่ตั้ง สังคมได้ใช้ไม้แข็งแก้ คือกฎหมายเข้าเสริมแต่ก็ไม่ได้ผลเท่าที่ควร เพราะผู้ตรากฎหมายก็ดี ผู้รักษากฎหมายก็ดี ผู้จะปฏิบัติตามกฎหมายก็ดี มีเบื้องหลังคือเพื่อตัวเอง ยิ่งกว่าเพื่อผู้อื่นตามตัวหนังสือ สังคมเช่นนี้จึงยังไม่บรรลุเป้าหมายนิกายใต้ก็ดี เหนือก็ดี หลัก
ธรรมนั้นดีด้วยกันทั้งนั้น

แต่ทางปฏิบัติเท่าที่ปรากฏอยู่ตรงตามหลักธรรมน้อยมาก ความทุกข์เข็ญจึงมีกระจายอยู่ทั่วไป การที่แต่ละนิกายตำหนินิกายอื่นยก นิกายตนนั้นเป็นลักษณะถามเองตอบเอง ยกตนเองทับถมคนอื่นหรือปิดปมด้วยของตนเอง การอวดกันในหลักการวิธีการว่าวิเศษกว่ากัน แต่ผลไม่ได้เท่าที่ควร นั่นเป็นความเพ้อเจ้อมากกว่า เป็นความจริง ลักษณะเช่นนี้ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมรับว่าอีกฝ่ายหนึ่งเหนือกว่า

ความจริงนั้นหินยานใต้ และมหายานเหนือ ต่างก็มีหลักการเหมือนกัน แต่วิธีการต่างกันเท่านั้น ส่วนผลนั้นยากที่จะตัดสินว่า ใครเหนือกว่าใคร และไม่ควรจะแข่งขันกัน เพราะไม่ใช่กีฬา และไม่มีกรรมการตัดสิน ในหนังสือเปรียบเทียบลัทธิของโลก ของดอกบัวขาวและพิภพ ตังคณะสิงห์ได้เปรียบเทียบนิกายหินยานและมหายานตอนหนึ่งดังนี้ ฝ่ายมหายานมีแนวความคิดกว้างขวางและเป็นเสรี มากกว่าหีนยานซึ่งเกิดมาก่อน มิใช่แต่ในด้านการ

ดำเนินชีวิตอย่างเดียว แต่ในด้านปรัชญาและทัศนคติ เรื่องโลกโดยทั่วไปอีกด้วย จริงอยู่ฝ่ายมหายานบางทีก็เตลิดไปไกลเกินไป เพราะปล่อยเสรีภาพเกินไป ในการแปลความหมายคำสอนของพระพุทธเจ้า ฉะนั้นการปล่อยให้คิดได้กว้างขวางโดยเสรีนี้ บางคราวก็เลยพาให้ออกนอกขอบเขตที่ควรไป ความตึงเครียด และความอิสรเสรี หีนยานและมหายาน จึงควรจะนำมาดึงถ่วงกันไว้เพื่อให้เกิดผลดีที่สุด จากแต่ละฝ่ายแก่พระศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในภาคปฏิบัติของการดำเนินชีวิต


ที่มา http://www.phuttha.com/คลังความรู้/จุดมุ่งหมายแห่งนิกายมหายานและหีนยาน
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ