ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เปิดผลวิจัย "สุขภาพพระสงฆ์ไทย"...'อ้วน-เบาหวาน-ความดัน' สารพัดโรครุมเร้า  (อ่าน 3523 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28448
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
    


เปิดผลวิจัย "สุขภาพพระสงฆ์ไทย"...'อ้วน-เบาหวาน-ความดัน' สารพัดโรครุมเร้า

นายพินิจ ลาภธนานนท์ นักวิจัยสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เจ้าของผลงานวิจัยโครงการศึกษาแนวทางการสร้างเสริมสุขภาวะที่ดีของพระภิกษุสงฆ์ เพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา เปิดเผยว่า จากการสัมภาษณ์พระสงฆ์จำนวน 246 รูป ใน 11 จังหวัดทั่วประเทศ ครอบคลุมทั้งวัดในเขตเมืองใหญ่ ในเขตเมืองขนาดกลาง และในชนบท

    ได้ข้อสรุป พระสงฆ์ไทยมีปัญหาสุขภาวะทางกาย โดยเฉพาะปัญหาความอ้วน
    เนื่องจากพบว่ามีเส้นรอบเอวเกิน 90 เซนติเมตร จำนวนมาก คิดเป็นร้อยละ 43 จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด
    ในจำนวนนี้ร้อยละ 59.8 ไม่มีโรคประจำตัว
    ขณะที่ร้อยละ 40.2 มีโรคประจำตัว
    โดยโรคที่พบว่าเป็นกันมากและมีภาวะเสี่ยง ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และมะเร็ง



    เมื่อสำรวจไปถึงพฤติกรรมการจำวัด (นอน) พบว่า พระสงฆ์ได้พักผ่อนเฉลี่ย 8-8.4 ชั่วโมงต่อวัน แต่ในกลุ่มพระสังฆาธิการและพระบัณฑิต พบปัญหาพักผ่อนไม่เพียงพอ

     ส่วนพฤติกรรมการออกกำลังกาย ร้อยละ 14.6 ไม่ได้ออกกำลังกายเลย
     ร้อยละ 43.9 ออกกำลังกายประจำหรือทุก 3 วัน
     โดยส่วนใหญ่เลือกวิธีออกกำลังกายด้วยการเดินรอบบริเวณวัด ร้อยละ 47.6
     กวาดลานวัด ร้อยละ 38.2 และเดินจงกรม ร้อยละ 12.6
     นอกจากนี้ ในการวิจัยยังพบพระสงฆ์ที่อายุมากยังนิยมสูบบุหรี่ ส่งผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพ


     ด้าน ภญ.จงจิตร อังคทะวานิช ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวหน้างานวิจัยโครงการสงฆ์ต้นแบบโภชนาดี ชีวียั่งยืน กล่าวว่า
     ปัญหาด้านสุขภาวะความเป็นอยู่ของพระสงฆ์ไทย ผ่านการสำรวจชีวิตประจำวันของพระสงฆ์ในวัดที่มีชื่อเสียงในเขตกรุงเทพฯ แบ่งเป็น วัดนิกายธรรมยุตและมหานิกาย รวม 4 วัด



     พบว่า รูปแบบการฉันอาหารของพระสงฆ์ โดยส่วนใหญ่จะเลือกฉันตามความชอบ
     ในกรณีที่สามารถเลือกได้ ซึ่งในความเป็นจริงอาหารที่ได้รับบิณฑบาตมาจะซ้ำๆกัน
     เป็นอาหารจำพวกแกงกะทิ ผัดผัก ของทอด
     ในส่วนของหวานก็เป็นขนมไทย เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ฯลฯ


     แต่ที่น่ากังวลที่สุด คือ การสำรวจพบความถี่ในการฉันเครื่องดื่มประเภทต่างๆ เช่น น้ำชาเขียว น้ำผลไม้บรรจุกล่อง น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง และกาแฟสำเร็จรูป
     ทั้งหมดนี้พระสงฆ์นิยมฉันในปริมาณที่มากเกินกว่าร่างกายต้องการในแต่ละวัน
     โดยเฉลี่ยแล้วพระสงฆ์ดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้อย่างน้อยวันละ 2 กล่อง/ขวด



     'ผลงานวิจัยชี้ให้เห็นว่า สาเหตุหลักของปัญหาพระสงฆ์อ้วนหรือมีรอบเอวเกินมาตรฐานนั้น เป็นเพราะอาหารที่ฉันเข้าไป ส่วนใหญ่เป็นอาหารรสจัด ขณะเดียวกันพระสงฆ์ยังได้รับน้ำตาลมากเกินความต้องการของร่างกายทุกวัน จากการฉันเครื่องดื่มต่างๆ

     ดังนั้น วิธีการแก้ไข คือ การลดอาหารที่เป็นปัจจัยเสี่ยง ซึ่งตรงนี้คงต้องขอความร่วมมือจากญาติโยมในการถวายอาหารที่มีประโยชน์ เริ่มแรกเลยควรเป็นอาหารที่ปรุงสุกใหม่ แทนการซื้ออาหารถุง เพราะอาหารจากร้านค้าแม้จะทำให้โยมสะดวก แต่พระอาจไม่สบายได้ เนื่องจากเป็นกับข้าวซ้ำ เน้นปรุงรสจัดเพื่อความอร่อยมากกว่าคำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับ

     นอกจากนั้น ควรตักบาตรข้าวกล้องแทนข้าวขาว และเพิ่มผัก ปลา อาหารโปรตีน ให้มากขึ้นด้วย ทั้งหมดนี้เป็นเพียงวิธีเบื้องต้นง่ายๆ ในการดูแลตัวเองสำหรับสงฆ์ไทยเพื่อให้ห่างไกลจากโรค'ภญ.จงจิตรกล่าว



ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXdNVEkzTURnMU5RPT0=&sectionid=TURNd053PT0=&day=TWpBeE1pMHdPQzB5Tnc9PQ==
ขอบคุณภาพจาก http://www.gotoknow.org/,http://nn5dka.bay.livefilestore.com/,http://www.watthumpra.com/,http://www.trekkingthai.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 27, 2012, 12:53:16 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

saichol

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 247
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ่านหัวข้อนี้ แล้ว อยากทำบุญกับพระอาจารย์ขึ้นมา ถ้าจะถวายอาหารควรเป็นแบบไหนดีคะ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

Skydragon

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 92
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
น่าเป็นห่วงพระสงฆ์ในปัจจุบัน นะครับ ในเรื่องสุขภาพ ที่ สาธารณสุข จะรณรงค์กับพระสงฆ์โดยตรงเลยนะครับ แต่พระสงฆ์เป็นอยู่ด้วยชาวบ้านจึงไม่รู้ว่า จะเลือกฉันได้มากน้อยขนาดไหน ถ้าเป็นในเมืองอาจจะเลือกได้ แต่ถ้าเป็นนอกเมืองอาจจะเลือกไม่ได้นะครับ เพราะผู้ที่ทำบุญต่างกันนะครับ งานนี้ ก็อยู่ที่อุบาสก อุบาสิกา ชาวธรรมช่วยกันทำบุญ แต่เวลาทำบุญ เราก็หวังได้บุญที่ เป็นเสบียงในอนาคต ดังนั้นเมื่อทำบุญเราก็จะหวังทำแต่ของที่ดี ๆ สิครับเพราะคิดว่า ถ้าตายไปเกิดใหม่ จะได้แต่ของดี ๆ สิครับ นี่แหละเป็นปัจจัย ที่ทำให้การทำบุญ จึงไม่ได้ตามใจพระสงฆ์ แต่ตามใจผู้ที่จะถวาย นะครับ

  :67: :13: :13: :49:
บันทึกการเข้า