ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: คันธัพพะเทวดา คือ เทวดาประเภทไหน คะ  (อ่าน 4645 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
คันธัพพะเทวดา คือ เทวดาประเภทไหน คะ
« เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2013, 07:20:42 am »
0
 ask1

 คันธัพพะเทวดา คือ เทวดาประเภทไหน คะ

  :c017:
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: คันธัพพะเทวดา คือ เทวดาประเภทไหน คะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 02, 2013, 10:27:31 am »
0

จาตุมหาราชิกาภูมิ (สวรรค์ชั้นที่ ๑.)

จาตุมหาราชิกาภูมิ เป็นภูมิที่อยู่ต่อจากมนุษยภูมิขึ้นไป มีเทวดาผู้เป็นใหญ่ เป็นมหาราชอยู่ ๔ องค์ คือ
     ๑. ท้าวธตรัฏฐะ  อยู่ทางทิศตะวันออกของเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครอง คันธัพพเทวดา
     ๒. ท้าววิรุฬหกะ  อยู่ทางทิศใต้ของเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครอง กุมภัณฑ์เทวดา
     ๓. ท้าววิรูปักขะ  อยู่ทางทิศตะวันตกของเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครอง นาคเทวดา
     ๔. ท้าวกุเวร หรือ  ท้าวเวสสุวรรณ อยู่ทางทิศเหนือของเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครอง ยักขเทวดา

         
     มหาราชทั้ง ๕ นี้ เป็นผู้รักษามนุษยโลก หรือเรียกว่า ท้าวจตุโลกบาล ซึ่งมีสถานที่ปกครองตั้งแต่ตอนกลางของเขาสิเนรุ ลงมาจนถึงมนุษยโลก มีอาณาเขตแผ่ออกไปจดขอบจักรวาล เทวดาทั้งหลายที่อยู่ในชั้นจาตุมหาราชิกาภูมินี้ทั้งหมด เป็นบริวารภายใต้อำนาจของมหาราชทั้ง ๔
           
    เมื่อเทียบเวลาระหว่างมนุษย์กับสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาภูมิแล้ว ๕๐ ปี ในมนุษย์ เท่ากับ ๑ วัน ของเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาภูมิ

           

 
     ๑. ปัพพตัฏฐเทวดา เทวดาที่อาศัยอยู่ที่ภูเขา
     ๒. อากาสัฏฐเทวดา เทวดาที่อาศัยอยู่ในอากาศ
     ๓. ขิฑฑาปโทสิกเทวดา เทวดาที่มีความเพลิดเพลินในการเล่นกีฬา จนลืมกินอาหารแล้วตาย
     ๔. มโนปโทสิกเทวดา  เทวดาที่ตายเพราะความโกรธ
     ๕. สีตวลาหกเทวดา เทวดาที่ทำให้อากาศเย็นเกิดขึ้น
     ๖. อุณหวลาหกเทวดา เทวดาที่ทำให้อากาศร้อนเกิดขึ้น
     ๗. จันทิมเทวปุตตเทวดา  เทวดาที่อยู่ในพระจันทร์
     ๘. สุริยเทวปุตตเทวดา เทวดาที่อยู่ในพระอาทิตย์

           


  เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกานี้ มีอยู่ตั้งแต่กลางเขาสิเนรุจนกระทั่งถึงพื้นดินที่มนุษย์อยู่ มีชื่อเรียกตามที่อยู่ที่อาศัย ดังนี้
     ๑. อยู่บนพื้นดิน  เรียกว่า  ภุมมัฏฐะเทวดา
     ๒. อยู่บนต้นไม้  เรียกว่า  รุกขะเทวดา
     ๓. อยู่ในอากาศ (มีวิมานอยู่)  เรียกว่า  อากาสัฏฐะเทวดา

           
    ๑. ภุมมัฏฐเทวดา
     ได้แก่ เทวดาที่อาศัยอยู่ตามสถานที่ต่างๆ เช่น ภูเขา แม่น้ำ มหาสมุทร ใต้พื้นดิน ตามบ้านเรือน ซุ้มประตู เจดีย์ ศาลา เป็นต้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔ จะอยู่ตอนกลางรอบเขาสิเนรุ มีปราสาทเป็นวิมานของตนเอง สำหรับ เทวดาอื่นที่ไม่มีวิมาน ก็ต้องไปอาศัยอยู่ตามสถานที่ดังกล่าวข้างต้น โดยถือเอาสถานที่นั้นเป็นวิมานของตน


     ๒. รุกขเทวดา
     ได้แก่ เทวดาที่อาศัยอยู่ตามต้นไม้ มีอยู่ ๒ จำพวก คือ พวกที่มีวิมานอยู่บนต้นไม้ กับพวกที่ไม่มีวิมาน รุกขเทวดาที่มีวิมานนั้น จะเอา วิมานตั้งอยู่บนยอดไม้ ส่วนเทวดาที่ไม่มีวิมานของตนเอง ก็จะอาศัยอยู่บนคบไม้ หรือ กิ่งก้านของต้นไม้


      ๓. อากาสัฏฐเทวดา
      ได้แก่ เทวดาที่มีวิมานของตนเองในอากาศ ตั้งอยู่ในอากาศ ภายใน และภายนอกของวิมาน จะประกอบด้วยรัตนะ ๗ อย่าง ซึ่งเกิดขึ้นด้วยอำนาจ ของกุศลกรรม คือ แก้วมรกต แก้วมุกดา แก้วประพาฬ แก้วมณี แก้ว เชียร เงิน และทอง บางวิมานก็มี ๒ รัตนะ บางวิมานก็มี ๓, ๔, ๕, ๖ รัตนะ ขึ้นอยู่กับบุญกุศลที่ตนได้สร้างไว้ วิมานเหล่านี้ จะลอยหมุนเวียนไปในอากาศรอบ ๆ เขาสิเนรุ 

           


    เทวดาในชั้นจาตุมหาราชิกา บางพวกก็ขาดเมตตาธรรม จัดเป็นพวกเทวดาใจร้าย มี ๔ จำพวก คือ
           
    ๑. คันธัพพี คันธัพโพ
        ได้แก่ เทวดาคันธัพพะ ที่ถือกำเนิดภายในต้นไม้ที่มีกลิ่นหอม เรา เรียกกันว่านางไม้ หรือแม่ย่านาง ชอบรบกวนให้เกิดอุปสรรคต่าง ๆ เช่น ให้ เกิดเจ็บป่วย หรือทำอันตรายแก่ทรัพย์สมบัติที่นำไม้นั้นมาใช้สอย หรือนำมาปลูกบ้านเรือน เทวดาจำพวกนี้อยู่ในความปกครองของ ท้าวธตรัฏฐะ คันธัพพเทวดานี้ สิงอยู่ในต้นไม้นั้นตลอดไป แม้ว่าใครจะตัดฟันไป ทำเรือ แพ บ้าน เรือน หรือเครื่องใช้สอยอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็คงสิงอยู่ในไม้นั้น ซึ่งผิดกับรุกขเทวดาที่อาศัยอยู่ตามต้นไม้ ถ้าต้นไม้นั้นตายหรือถูกตัดฟัน ก็ย้ายจากต้นไม้นั้นไปต้นไม้อื่น


     ๒. กุมภัณโฑ กุมภัณฑี
          ได้แก่ เทวดากุมภัณฑ์ ที่เราเรียกว่า รากษส เป็นเทวดาที่รักษา สมบัติต่าง ๆ มี แก้วมณี เป็นต้น และรักษาป่า ภูเขา แม่น้ำ ถ้ามีผู้ล่วงล้ำ ก้ำเกินก็ให้โทษต่าง ๆ เทวดาจำพวกนี้ อยู่ในความปกครองของท้าววิรุฬหก

     ๓. นาโค นาคี
          ได้แก่ พวก เทวดานาค จะมีวิชาเกี่ยวกับเวทมนต์คาถาต่าง ๆ ขณะท่องเที่ยวไปในมนุษยโลก บางทีก็เนรมิตเป็นคน หรือเป็นสัตว์ เช่น เสือ ราชสีห์ เป็นต้น โดยเฉพาะชอบลงโทษพวกสัตว์นรก เทวดาจำพวกนี้ อยู่ในความปกครองของท้าววิรูปักขะ 


     ๔. ยักโข ยักขี
         ได้แก่ พวก เทวดายักษ์ จะพอใจในการเบียดเบียนสัตว์นรก เทวดา จำพวกนี้ อยู่ในความปกครองของท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสสุวรรณ เทวดาทั้ง ๔ จำพวกนี้ จะเป็นเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาภูมิ เพราะอยู่ใกล้ชิดกับมนุษยภูมิ


ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://buddhism-online.org/Section06B_04.htm
http://xn--m3cif1apm3a5c5h6ab0d.dmc.tv/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: คันธัพพะเทวดา คือ เทวดาประเภทไหน คะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มิถุนายน 02, 2013, 11:05:22 am »
0

บทเรียนพระอภิธรรม ชุดที่ ๖.๒ เรื่องภพภูมิ
อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
โดยความอุปถัมภ์ของมูลนิธิเผยแผ่พระสัทธรรม

หลักสูตรอินเตอร์เนต
คันธัพพี คันธัพโพ ได้แก่ เทวดาคันธัพพะ ที่ถือกำเนิดภายในต้นไม้ที่มีกลิ่นหอม เรา เรียกกันว่านางไม้ หรือแม่ย่านาง ชอบรบกวนให้เกิดอุปสรรคต่าง ๆ เช่น ให้ เกิดเจ็บป่วย หรือทำอันตรายแก่ทรัพย์สมบัติที่นำไม้นั้นมาใช้สอย หรือนำมาปลูกบ้านเรือน เทวดาจำพวกนี้อยู่ในความปกครองของ ท้าวธตรัฏฐะ คันธัพพเทวดานี้ สิงอยู่ในต้นไม้นั้นตลอดไป แม้ว่าใครจะตัดฟันไป ทำเรือ แพ บ้าน เรือน หรือเครื่องใช้สอยอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็คงสิงอยู่ในไม้นั้น ซึ่งผิดกับรุกขเทวดาที่อาศัยอยู่ตามต้นไม้ ถ้าต้นไม้นั้นตายหรือถูกตัดฟัน ก็ย้ายจากต้นไม้นั้นไปต้นไม้อื่น


หลักสูตรทางไปรษณีย์
คันธัพโพ คันธัพพี คือ เทวดาชาย หญิง ที่ถือกำเนิดภายในต้นไม้ที่มีกลิ่นหอม เรียกว่านางไม้ หรือแม่ย่านางชอบรบกวนให้เกิดอุปสรรคต่างๆ เช่น เจ็บป่วย หรือทำอันตรายแก่ทรัพย์สมบัติที่นำไม้นั้นมาใช้สอย เทวดาจำพวกนี้อยู่ในความปกครองของ ท้าวธตรัฏฐะ คันธัพพเทวดานี้ สิงอยู่ในต้นไม้นั้นตลอดไป แม้ว่าใครจะตัดฟันไป ทำเรือ แพ บ้าน เรือน เครื่องใช้สอย ก็คงสิงอยู่ในไม้นั้น ซึ่งผิดกับรุกขเทวดาที่อาศัยอยู่ตามต้นไม้ ถ้าต้นไม้นั้นตายหรือถูกตัด ก็ย้ายจากต้นไม้นั้นไปต้นไม้อื่น


หนังสืออ้างอิง
๑. ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก
๒. ภูมิจตุกกะและปฏิสนธิจตุกกะ ปริจเฉทที่ ๕ เล่มที่ ๑ ; ปรมัตถโชติกะ มหาอภิธัมมมัตถสังคหฎีกา ;
พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย





คันธัพพเทวดา
ได้แก่ เทวดาที่ถือกำเนิดอยู่ภายในต้นไม้ที่มีกลิ่นหอมและอาศัยอยู่ตลอดไป ถึงแม้ต้นไม้นั้นจะผุพังหรือถูกพายุพัดล้มลง หรือถูกคนตัดเอาไปสร้างบ้าน สร้างกุฎี สร้างเรือเหล่านี้แล้วก็ตาม คันธัพพเทวดาเหล่านี้ก็ไม่ยอมละทิ้งที่อยู่ของตน คงอาศัยติดอยู่กับไม้นั้นเรื่อยๆไป ฉะนั้นบ้านเรือนใด กุฎิใดหรือเรือลำใดที่มีคันธัพพเทวดาอาศัยสิงอยู่้นั้น บางคราวคันธัพพเทวดานี้จะแสดงตนให้ปรากฎแก่ผู้ที่อาศัยในสถานที่นั้นๆหรือถ้าไม่แสดงตนให้ปรากฎก็มักจะทำการรบกวนให้อุปสรรคต่างๆเกิดแก่ผู้ที่อาศัยอยู่นั้น เช่น ให้เกิดการเจ็บป่วยขึ้น หรือทำอันตรายแก่ทรัพย์ สมบัติ ของบุคคลนั้นๆให้พินาศไปเป็นต้น เทวดาพวกนี้เเหละที่เราเรียกกันว่า นางไม้หรือแม่ย่านาง นั่นเอง


คันธรุกขคันธัพพเทวดา เทวดาคันธัพพะที่เกิดในต้นไม้ที่มีกลิ่นหอม มี ๑๐ จำพวก คือ
    ๑. มูลคันธัพพะ เกิดอยู่ในรากไม้
    ๒. สารคันธัพพะ เกิดอยู่ในแก่นไม้
    ๓. เผคคุคันธัพพะ เกิดอยู่ในเนื้อไม้
    ๔. ตจคันธัพพะ เกิดอยู่ในเปลือกไม้
    ๕. ปปฏิิกคันธัพพะ เกิดอยู่ในตะคละไม้
    ๖. รสคันธัพพะ เกิดอยู่ในน้ำหอม
    ๗. ปัณณคันธัพพะ เกิดอยู่ในใบไม้
    ๘. ปุปผคันธัพพะ เกิดอยู่ในดอกไม้
    ๙. ผลคันธัพพะ เกิดอยู่ในผลไม้
  ๑๐. กันทคันธัพพะ เกิดอยู่ในเหง้าใต้ดิน


    เทวดาคันธัพพะทั้ง ๑๐ จำพวกนี้ เรียกว่า กัฏฐยักขะ
    คันธัพพเทวดาเหล่านี้อยู่ใต้อำนาจการปกครองของท้าวธตรัฏฐะ


ที่มา board.palungjit.com/groups/เทวดาที่มีใจโหดร้าย-คันธัพโพ-คันธัพพี-4002.html
ขอบคุณภาพจาก http://board.postjung.com/ , http://www.sawasdeenakhonphanom.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 02, 2013, 11:10:36 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ