ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พุทธพจน์ : โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีล ๕ ประการ  (อ่าน 1375 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


พุทธพจน์ : โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีล ๕ ประการ

พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงปาฏลิคามแล้ว พวกอุบาสกชาวปาฏลิคามได้สดับข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จถึงปาฏลิคามแล้ว จึงพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ...
       
     ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพวกอุบาสกชาวปาฏลิคามว่า     
     “ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีล ๕ ประการเหล่านี้ ๕ ประการ เป็นไฉนฯ

        ans1 ans1 ans1

     ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย คนทุศีลมีศีลวิบัติแล้วในโลกนี้ ย่อมเข้าถึงความเสื่อมแห่งโภคะอย่างใหญ่ อันมีความประมาทเป็นเหตุ อันนี้เป็นโทษข้อที่หนึ่งแห่งศีลวิบัติของคนทุศีลฯ     
     อีกข้อหนึ่ง เกียรติศัพท์อันชั่วของคนทุศีล มีศีลวิบัติแล้ว ย่อมกระฉ่อนไป อันนี้เป็นโทษข้อที่สองแห่งศีลวิบัติของคนทุศีลฯ     
     อีกข้อหนึ่ง คนทุศีลมีศีลวิบัติแล้ว จะเข้าไปสู่บริษัทใดๆ คือ ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท หรือสมณบริษัท ย่อมครั่นคร้าม เก้อเขิน อันนี้เป็นโทษข้อที่สามแห่งศีลวิบัติของคนทุศีลฯ     
     อีกข้อหนึ่ง คนทุศีลมีศีลวิบัติแล้ว ย่อมหลงกระทำกาละ อันนี้เป็นโทษข้อที่สี่แห่งศีลวิบัติของคนทุศีลฯ
     อีกข้อหนึ่ง คนทุศีลมีศีลวิบัติแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก อันนี้เป็นโทษข้อที่ห้าแห่งศีลวิบัติของคนทุศีลฯ


        st12 st12 st12

     ดูกรคฤหบดีทั้งหลาย โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีล ๕ ประการเหล่านี้แลฯ”

       
จากพระไตรปิฎกแปลไทยฉบับหลวง พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร ภาณวารที่หนึ่ง
จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 198 มิถุนายน 2560 โดย กองบรรณาธิการ
http://www.manager.co.th/Dhamma/viewnews.aspx?NewsID=9600000055700
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 07, 2017, 09:00:55 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ