ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลก ?  (อ่าน 2185 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0




ปัญหา
อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลก ?


พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ ไม่พึงมีในโลก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่พึงบังเกิดในโลก ธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้แล้ว ไม่พึงรุ่งเรืองในโลก ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ ชาติ ๑ ชรา๑ มรณะ ๑


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แลไม่พึงมีในโลก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่พึงบังเกิดในโลก...ฯ”

อภัพพสูตร ท. อํ. (๗๖)
ตบ. ๒๔ : ๑๕๔ ตท. ๒๔ : ๑๔๖
ตอ. G.S. V : ๙๙
ที่มา  http://www.84000.org/true/268.html




พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
อภัพพสูตร


[๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ ไม่พึงมีในโลก พระตถาคตอรหันตสัมมา
สัมพุทธเจ้าไม่พึงบังเกิดในโลก ธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้แล้ว ไม่พึงรุ่งเรืองในโลก

๓ ประการเป็นไฉน คือ ชาติ ๑ ชรา ๑ มรณะ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้ง ๓ ประการนี้แล ไม่พึงมีในโลกพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ไม่พึงบังเกิดในโลก ธรรมวินัยอันพระตถาคตทรงประกาศไว้แล้วไม่พึงรุ่งเรืองในโลก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะธรรม ๓ ประการนี้ มีอยู่ในโลก ฉะนั้น พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
จึงบังเกิดในโลก ธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้จึงรุ่งเรืองในโลก


ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการแล้ว ก็ไม่อาจละชาติ ชรา มรณะได้
๓ ประการเป็นไฉน คือ ราคะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว ก็ไม่อาจละชาติ ชรา มรณะได้

ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการแล้ว ก็ไม่อาจละราคะ โทสะ โมหะได้
๓ ประการเป็นไฉน คือสักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว ก็ไม่อาจละราคะ โทสะ โมหะได้


ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการแล้วก็ไม่อาจละสักกายทิฏฐิวิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้
๓ ประการเป็นไฉน คือ การกระทำไว้ในใจโดยอุบายไม่แยบคาย ๑ การเสพทางผิด ๑ ความหดหู่แห่งจิต ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการนี้แล ก็ไม่อาจละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้



ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการแล้ว ก็ไม่อาจละการกระทำไว้ในใจโดยอุบายไม่
แยบคาย การเสพทางผิด ความหดหู่แห่งจิตได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้มีสติหลงลืม ๑
ความไม่มีสัมปชัญญะ ๑ ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว ก็ไม่อาจละการกระทำไว้ในใจโดยอุบายไม่แยบคาย
การเสพทางผิด ความหดหู่แห่งจิตได้


ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการแล้ว ก็ไม่อาจละความเป็นผู้มีสติหลงลืม ความ
ไม่มีสัมปชัญญะความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ไม่ใคร่เห็นพระ
อริยะ ๑ ความเป็นผู้ไม่ใคร่ฟังธรรมของพระอริยะ ๑ ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดี ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว ก็ไม่อาจละความเป็นผู้มีสติหลงลืม ความไม่มี
สัมปชัญญะ ความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม๓ ประการแล้วก็ไม่อาจละความเป็นผู้ไม่ใคร่เห็นพระอริยะ ความเป็นผู้ไม่ใคร่ฟังธรรมของพระอริยะ ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือความฟุ้งซ่าน ๑ ความไม่สำรวม ๑ ความทุศีล ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว ก็ไม่อาจละความเป็นผู้ไม่ใคร่เห็นพระอริยะ
ความเป็นผู้ไม่ใคร่ฟังธรรมของพระอริยะ ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีได้


ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการแล้ว ก็ไม่อาจละความฟุ้งซ่าน ความไม่สำรวมความทุศีลได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ความเป็นผู้ไม่รู้ความประสงค์ ๑ ความเกียจคร้าน ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม๓ ประการนี้แล้ว ก็ไม่อาจละความฟุ้งซ่าน ความไม่สำรวม
ความทุศีลได้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการแล้ว ก็ไม่อาจละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ความเป็นผู้ไม่รู้ความประสงค์ ความเกียจคร้าน ๓ ประการเป็นไฉนคือ ความไม่เอื้อเฟื้อ ๑ ความเป็นผู้ว่ายาก ๑ ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว ก็ไม่อาจละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ความเป็นผู้ไม่รู้ความประสงค์ ความเกียจคร้านได้


ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการแล้ว ก็ไม่อาจละความไม่เอื้อเฟื้อความเป็นผู้ว่ายาก  ความเป็นผู้มีมิตรชั่วได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือความไม่มีหิริ ๑ ความไม่มีโอตตัปปะ ๑ ความประมาท ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว ก็ไม่อาจละความไม่เอื้อเฟื้อ ความเป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้มีมิตรชั่วได้ ฯลฯ

ที่มา  http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=24&A=3381&w=%CD%C0%D1%BE%BE%CA%D9%B5%C3



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
อภัพพสูตร


๑. ตรัสว่า ถ้าไม่มีธรรม ๓ อย่างในโลก คือความเกิด ความแก่ ความตาย ก็จะไม่เกิดพระตถาตคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในโลก และพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศดีแล้ว ก็จะไม่รุ่งเรืองใน โลก.

   ๒. ตรัสว่า ละธรรม ๓ อย่างไม่ได้ คือราคะ, โทสะ, โมหะ ก็ไม่ควรที่จะละความเกิด, ความแก่, ความตายได้.

   ๓. ตรัสว่า ละธรรม ๓ อย่างไม่ได้ คือสักกายทิฏฐิ, วิจิกิจฉา, สีลัพพตปรามาส๓ ก็ไม่ควรที่จะละ ราคะ, โทสะ, โมหะได้.


   ๔. ตรัสว่า ละธรรม ๓ อย่างไปไม่ได้ คือการไม่ใส่ใจโดย แยบคาย, การเสพทางผิด, การที่จิตหดหู่ ก็ไม่ควรจะละสักกายทิฏฐิ, วิจิกิจฉา, สีลัพพตปรามาสได้.

   ๕. ตรัสว่า ละธรรม ๓ อย่างไม่ได้ คือความเป็นผู้หลงลืม สติ, ความไม่มีสัมปชัญญะ, ความฟุ้งสร้านแห่งจิต ก็ไม่ควรจะละการไม่ใส่ใจโดยแยบคาย, การเสพทางผิด, การที่จิตหดหู่ได้.


   ๖. ตรัสว่า ละธรรม ๓ อย่างไม่ได้ คือ ความเป็นผู้ไม่ใคร่ จะเห็นพระอริยะ, ความเป็นผู้ไม่ใคร่ฟังธรรมของพระอริยะ, ความเป็นผู้มีจิตคิดจับผิด ก็ไม่ควรจะละความเป็นผู้หลงลืมสติ, ความไม่มีสติสัมปชัญญะ, ความฟุ้งสร้านแห่งจิตได้.

   ๗. ตรัสว่า ละธรรม ๓ อย่างไม่ได้ คือ ความฟุ้งสร้าน, ความไม่สำรวม, ความทุศีล ก็ไม่ควรละความเป็นผู้ไม่ใคร่จะเห็นพระอริยะ, ความเป็นผู้ไม่ใคร่จะฟังธรรมะของพระอริยะ, ความเป็นผู้มีจิต คิดจับผิดได้.

   ๘. ตรัสว่า ละธรรม ๓ อย่างไม่ได้ คือความไม่ศรัทธา, ความไม่รู้คำที่คนอื่นพูด, ความเกียจคร้าน ก็ไม่ควรจะละความฟุ้งสร้าน, ความไม่สำรวม, ความทุศีลได้.

   ๙. ตรัสว่า ละธรรม ๓ อย่างไม่ได้ คือความไม่เอื้อเฟื้อ, ความว่ายาก, การคบคนชั่วเป็นมิตร ก็ไม่ควรจะละความไม่มีศรัทธา, ความไม่รู้คำที่คนอื่นพูด, ความเกียจคร้านได้.


   ๑๐. ตรัสว่า ละธรรม ๓ อย่างไม่ได้ คือความไม่ละอาย, ความไม่เกรงกลัวต่อบาป, ความประมาท ก็ไม่ควรจะละความไม่เอื้อเฟื้อ, ความว่ายาก, การคบคนชั่วเป็นมิตรได้.

ที่มา  พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน (อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 31, 2022, 06:44:41 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ