ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: จงรักษาความดี ดุจเกลือรักษาความเค็ม  (อ่าน 1813 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
จงรักษาความดี ดุจเกลือรักษาความเค็ม
« เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2017, 09:11:58 am »
0


จงรักษาความดี ดุจเกลือรักษาความเค็ม
ผู้ปฏิบัตธรรม แม้จะทุกข์เจียนตาย ก็ต้องไม่ทิ้งธรรม

ชีวิตคนเรา มันไม่ได้ราบเรียบไปกันตลอด ทั้งชีวิต มันมีขึ้น มันมีลง บางครั้งก็โชคดี บางครั้งก็โชคร้าย ทั้งหมดเกิดจากกรรมที่ได้สร้างไว้ก่อน ดังนั้นไม่ว่า จะโชคดี หรือว่า จะโชคร้าย ผู้ปฏิบัติธรรม ต้องมีสติ รู้เห็นธรรมในเบื้องต้น ( ย้ำว่าเบื้องต้น ) ต้องมีทิฏฐิ ถูกต้องดีงาม ว่า จะแย่อย่างไร เราก็ต้องรักษา สภาวะจิตใจให้เห็นถูกต้องตามความเป็นจริง ว่า ทุกข์ เป็นธรรมดา เกิด แก่ เจ็บ ตายเป็นธรรมดา อย่างนี้ถึงเรียกว่า ผู้เรียนธรรมเป็น ไม่ตกม้าตายตอนเริ่มขี้นขี้หลังม้า

ส่วนผู้ภาวนาธรรม เพื่อพระนิพพาน แล้ว สิ่งเหล่านี้ ครูอาจารย์ จะไม่เตือน ซ้ำซาก เพราะว่า สุขที่ไปถึง จาก ทิฏฐิ นั้น มันงามกว่า ไม่ต้องมาพูดเรื่องพื้นฐาน อุปนิสัยเบื้องต้น มันต้องมาย้ำเรื่อง สติ สัมปชัญญะ แต่ไปพัฒนาสอน การเจริญ วิปัสสนา การเจริญ ปฏิจจสมุปบาท

( เรื่องสุข 9 ประการ ให้ดูในหนังสือ วิโมกข์ วิภังค์ ภาคที่ 1 หน้า 142 )

ถ้ามัวแต่ทุกข์ ด้วยเรื่องทำกิน โชคดี โชคร้าย อย่างนี้ ไม่ต้องไปพูดเรื่องพระนิพพาน ไปไม่ได้ เพราะพระนิพพาน คุณสมบัติผู้ที่จะไป ต้องมีญาณ รู้เห็นตามความเป็นจริง ก่อน ถ้ายังมัวแต่ทุกข์เพราะเรื่องโลกธรรม 8 ทั้งฝ่ายสุข และ ฝ่ายทุกข์ แสดงให้เห็นว่า จิต ยังมุ่งไป โลกิยะ ไม่ไป โลกุตตระ

ดังนั้น นิพพาน เป็น โลกุตตระ เป็น ปรมัตถ์ธรรม ด้วย จิตจะต้องบริสทธิ์ พ้นจากวิสัยโลก เท่านั้น เส้นทางนี้ไม่ใช่ใคร ๆในโลกนี้จะไปได้ พระอริยะจึงมีน้อย มาก ในเส้นทางนี้

ขอดวงตาเห็นธรรม จงมีแก่ท่าน
ขอความสำเร็จในธรรม จงมีแก่ท่าน
ขอความสวัสดี จงมีแก่ท่าน

เจริญพร

( รำลึก 45 พรรษา ในการเผยแผ่ พระธรรม ของพระพุทธเจ้า ที่ทำให้พระธรรม ส่วนหนึ่ง มาถึง เราในปัจจุบัน 2560 ปี )
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ