ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
หน้า: [1] 2 3 ... 10
 1 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 10:22:31 pm 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
รับทำชำนาญการ รับทำชำนาญการพิเศษ

รับทำผู้ช่วยศาสตราจารย์ (ผศ.), รองศาสตราจารย์ (รศ.), รับทำเชี่ยวชาญ รับทำชำนาญการพิเศษ, ชำนาญการพิเศษ, เชี่ยวชาญ, เชี่ยวชาญพิเศษ โดยจัดทำเอกสารทางวิชาการที่แสดงถึงคุณภาพของผลงานดีเด่นมีความสมบูรณ์ของเนื้อหาสาระที่มีการเรียบเรียงความสำคัญได้ครบถ้วนเป็นระบบ มีคำอธิบายที่ถูกต้อง ชัดเจน ด้วยการนำความรู้หลักการ วิธีการ หรือข้อกฎหมายมาใช้ได้อย่างถูกต้อง มีการนำผลงานวิจัยหรือผลงานวิชาการอื่น ๆ มาสนับสนุนแนวทางที่สามารถนำไปใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของการทำงานได้จริง อันเป็นต้นแบบในการปฏิบัติงาน นำไปใช้ในการพัฒนาต่อยอด ปรับปรุงแนวทางการดำเนินงานในวงกว้างขึ้นจากเดิมให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดในการสนองนโยบายของส่วนราชการ ช่วยประหยัดงบประมาณ ที่เกิดจากผลการปฏิบัติงานหรือผลสำเร็จของงานในหน้าที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งเป็นการนำเสนอในรูปแบบการสรุปวิเคราะห์ปรับปรุงในระดับที่สูงเป็นพิเศษหรือสูงมากหรือแก้ไขใหม่เป็นครั้งแรกหรือคนแรกของส่วนราชการหรือของประเทศสะท้อนว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ ทักษะ สมรรถนะ ความชำนาญ ความคิดริเริ่ม คิดค้นสร้างประดิษฐ์ขึ้นใหม่และประสบการณ์ในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมาก กำหนดข้อเสนอแนะหรือวางแผนรองรับเหมาะสมกับตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง รวมทั้งสามารถระบุผลสำเร็จหรือประโยชน์ที่เกิดกับหน่วยงานหรือส่วนราชการ ประชาชนและประเทศชาติ



รับทำเชี่ยวชาญ รับทำเชี่ยวชาญพิเศษของข้าราชการทุกกระทรวง ทุกกรม
รับทำคู่มือการปฏิบัติงาน รับทำผลงานเชิงวิเคราะห์หรือสังเคราะห์
รับทำงานวิจัยทุกชนิดรับเขียนบทความทุกประเภท
รับทำตำราและหนังสือ ผลงานนวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่
ที่มีความสมบูรณ์ของเนื้อหาครบถ้วนเป็นระบบ ถูกต้องชัดเจน
ตามหลักการหรือข้อกฎหมาย ที่สามารถนำไปพัฒนางานได้ในระดับที่สูงเป็นพิเศษ
หรือนำมาประยุกต์ใช้เป็นเทคนิคนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลล้ำสมัย
ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างดีเยี่ยมต่อทางราชการ หน่วยงาน ส่วนราชการ ประชาชนหรือต่อประเทศชาติ


รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำปริญญาเอก สอนทำดุษฎีนิพนธ์ สอนทำปริญญาเอก งานทุกชิ้นทำใหม่ทั้งหมดโดยการสังเคราะห์เพื่อต่อยอดความรู้ใหม่ที่เป็นการออกแบบและสร้างแบบจำลอง (MODEL) ต้นแบบ ให้คำปรึกษาที่เหมาะสม
รับทำผู้ช่วยศาสตราจารย์


     รับทำผู้ช่วยศาสตราจารย์ (ผศ.), รองศาสตราจารย์ (รศ.), ชำนาญการ, ชำนาญการพิเศษ, เชี่ยวชาญ, เชี่ยวชาญพิเศษ โดยจัดทำเอกสารทางวิชาการที่แสดงถึงคุณภาพของผลงานดีเด่นมีความสมบูรณ์ของเนื้อหาสาระที่มีการเรียบเรียงความสำคัญได้ครบถ้วนเป็นระบบ มีคำอธิบายที่ถูกต้อง ชัดเจน ด้วยการนำความรู้หลักการ วิธีการ หรือข้อกฎหมายมาใช้ได้อย่างถูกต้อง มีการนำผลงานวิจัยหรือผลงานวิชาการอื่น ๆ มาสนับสนุนแนวทางที่สามารถนำไปใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของการทำงานได้จริง อันเป็นต้นแบบในการปฏิบัติงาน นำไปใช้ในการพัฒนาต่อยอด ปรับปรุงแนวทางการดำเนินงานในวงกว้างขึ้นจากเดิมให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดในการสนองนโยบายของส่วนราชการ ช่วยประหยัดงบประมาณ ที่เกิดจากผลการปฏิบัติงานหรือผลสำเร็จของงานในหน้าที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งเป็นการนำเสนอในรูปแบบการสรุปวิเคราะห์ปรับปรุงในระดับที่สูงเป็นพิเศษหรือสูงมากหรือแก้ไขใหม่เป็นครั้งแรกหรือคนแรกของส่วนราชการหรือของประเทศสะท้อนว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ ทักษะ สมรรถนะ ความชำนาญ ความคิดริเริ่ม คิดค้นสร้างประดิษฐ์ขึ้นใหม่และประสบการณ์ในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมาก กำหนดข้อเสนอแนะหรือวางแผนรองรับเหมาะสมกับตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง รวมทั้งสามารถระบุผลสำเร็จหรือประโยชน์ที่เกิดกับหน่วยงานหรือส่วนราชการ ประชาชนและประเทศชาติ



เป็นเจ้าเก่าและเจ้าแรกในประเทศไทย  ทำมานานกว่า 15 ปี

ให้คำปรึกษาจนเสร็จได้ตำแหน่ง รับประกันคุณภาพทุกชนิดงาน

บริการด้วยความรวดเร็ว ส่งงานตรงเวลา
(ค่าบริการเริ่มต้น 5,000 – 30,000 บาท เท่านั้น)



โทร 096-2489571, 096-2485934

ID LINE : bottrade999

แอดไลน์ สอบถาม ????
https://line.me/ti/p/~bottrade999

E-mail: bottradecenter@gmail.com


คำสำคัญ : รับทำชำนาญการ, รับทำชำนาญการพิเศษ;
รับทำเชี่ยวชาญ; รับทำเชี่ยวชาญพิเศษ; รับทำคู่มือการปฏิบัติงาน;
รับทำผลงานเชิงวิเคราะห์หรือสังเคราะห์; รับทำงานวิจัยเพื่อขอตำแหน่ง;
รับเขียนบทความวิชาการ; รับทำตำราและหนังสือ


[size=12pt]รับทำชำนาญการ, รับทำชำนาญการพิเศษ
รับทำเชี่ยวชาญ; รับทำเชี่ยวชาญพิเศษ; รับทำคู่มือการปฏิบัติงาน;
รับทำผลงานเชิงวิเคราะห์หรือสังเคราะห์; รับทำงานวิจัยเพื่อขอตำแหน่ง;
รับเขียนบทความวิชาการ; รับทำตำราและหนังสือ


https://สถาบันวิจัยและพัฒนาผลงานทางวิชาการ.com

เบอร์โทรศัพท์ 096-2489571, 096-2485934

ID: bottrade999

แอดไลน์ สอบถาม ????
https://line.me/ti/p/~bottrade999

E-mail: bottradecenter@gmail.com




 2 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 06:27:20 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 3 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 03:11:52 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 4 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 01:04:37 pm 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

 5 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 12:28:15 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 6 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 09:41:51 am 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

 7 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 07:23:51 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



พระเจ้าพิมพิสาร | ผลแห่งบุญ : วิธีอุทิศทานแด่เปรตที่เคยเป็นพระญาติ

ปริยัติธรรม : หนังสือนิทานบำเพ็ญบุญ 100 เรื่อง



 :25: :25: :25:

พระเจ้าพิมพิสารเคยเป็นเสมียนบำเพ็ญบุญในพระพุทธเจ้าปุสสะ... ชาวบ้านที่ใกล้ชิดกับนายเสมียน ขโมยไทยธรรมกิน...เกิดในนรก

ในสมัยของพระพุทธเจ้าปุสสะ (หรือผุสสะ) ครั้งนั้นพระราชกุมาร ๓ พระองค์ ได้กราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าเสด็จประทับจำพรรษาในชนบท จากนั้น เหล่าพระราชกุมารตรัสสั่งให้ข้าราชบริพารที่ใกล้ชิดช่วยกันอุปัฏฐากบำรุงพระศาสดาและภิกษุสงฆ์ เช่น ให้ดำเนินการจัดการสร้างพระวิหารด้วยกำลังแรงงานของบุรุษจำนวน ๑,๐๐๐ คน

ตลอดกาล ๓ เดือนนั้น พระราชกุมารทั้งสาม ทรงนุ่งห่มผ้ากาสายะ ถวายทาน ฟังธรรม ปฏิบัติธรรมโดยเคารพ, ส่วนนายภัณฑาคาริก (ผู้จัดการทรัพย์สินของเจ้าชายทั้ง ๓)และภรรยาเป็นผู้มีศรัทธา ก็ร่วมกันถวายทาน และอุปัฏฐากภิกษุสงฆ์ นายเสมียนผู้จัดเก็บรายได้ในชนบทส่งเข้าคลังหลวง ได้เชิญชวนให้ชาวชนบทประมาณ ๑๑,๐๐๐ คน ร่วมกันทำบุญฟังธรรมตลอด ๓ เดือน ซึ่งคนเหล่านั้นก็ขวนขวายบุญโดยเคารพ

ชาวชนบทคนอื่น ๆ ได้เห็นการจัดทำมหาทานใหญ่เพื่อถวายพระพุทธเจ้าและหมู่สงฆ์ทุก ๆ วัน ก็เกิดความริษยา จึงขโมยไทยธรรมต่าง ๆ ไปกินบ้าง เมื่อถูกจับขับไล่ออกไปก็แอบกลับมาเผาโรงครัวบ้าง...

พระราชกุมาร ๓ พระองค์สิ้นพระชนม์แล้วอุบัติในสวรรค์, นายภัณฑาคาริกกับภรรยา, นายเสมียนและชาวชนบทผู้ถวายทานโดยเคารพ ก็บังเกิดในสวรรค์ ส่วนชาวชนบทอื่น ๆ ที่ประทุษร้ายทานก็บังเกิดในนรก

เวลาผ่านไปนานถึง ๙๒ กัป...


@@@@@@@

พ้นจากขุมนรกแล้ว เกิดเป็นเปรตเข้าเฝ้าทูลถามพระพุทธเจ้ากัสสปะถึงกาลที่จะพ้นจากความหิวกระหาย...ตรัสบอกว่ารออีก ๙๒ กัป

ครั้นถึงพุทธสมัยของพระพุทธเจ้า "กัสสปะ" (พระพุทธเจ้าก่อนหน้าพระพุทธเจ้าโคตมะของพวกเรา) พวกเขาพ้นจากนรก เศษบาปทำให้มาเกิดเป็นเปรต

เปรตเหล่านี้ได้เห็นมนุษย์ถวายทานแล้วอุทิศว่า "ขอทานที่ถวายครั้งนี้ จงสำเร็จแก่พวกญาติที่ล่วงลับด้วยเถิด" ได้เห็นเปรตที่เคยเป็นญาติของมนุษย์เหล่านั้นอนุโมทนาแล้วได้รับทิพยสมบัติทิพยสุข เช่น มีข้าว น้ำ ผ้า...พวกเปรตกลุ่มนี้จึงอยากได้ทิพยสมบัติทิพยสุขอย่างเปรตพวกนั้นบ้างจึงเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้ากัสสปะ ทูลถามว่า "พวกข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายมีโอกาสจะได้รับทิพยสุขทิพยสมบัติ อย่างเปรตที่มีญาติอุทิศทานให้บ้างหรือไม่?"

พระพุทธเจ้ากัสสปะ ตรัสตอบว่า "ตอนนี้พวกท่านยังไม่สามารถจะรับได้ แต่จะได้รับในอนาคต ในพุทธสมัยที่พระพุทธเจ้ามีพระนามว่า โคตมะ, กาลนั้นจะมีพระราชาพระนามว่าพิมพิสาร ซึ่งเคยเป็นญาติกับพวกท่าน พระองค์จะถวายทานแล้วอุทิศทานให้แก่พวกท่านพวกท่านต้องรออีก ๙๒ กัป" (=๑ พุทธันดร)

เปรตเหล่านั้นฟังแล้วดีใจอย่างยิ่ง ดุจคิดว่ากาลนั้นจะถึงในวันพรุ่งนี้...

@@@@@@@

อดีตเสมียนมาเกิดเป็นพระเจ้าพิมพิสาร... ทรงบรรลุธรรมเป็นพุทธมามกะ ถวายอาหารและพระอุทยาน แต่ทรงลืมอุทิศ พวกเปรตผิดหวังส่งเสียงน่ากลัวให้พระราชาได้ยิน

ครั้นถึงพุทธสมัยแห่งพระพุทธเจ้าโคตมะของพวกเรา

อดีตพระราชกุมารในสมัยนั้น มาเกิดเป็นชฎิล ๓ พี่น้อง (อุรุเวลากัสสปะ นทีกัสสปะและคยากัสสปะ) มีบริวาร ๑,๐๐๐ คน, อดีตคหบดีและภรรยามาเกิดเป็นวิสาขะ (และนางธัมมทินนา) ส่วนนายเสมียนมาเกิดเป็นพระเจ้าพิมพิสาร

หลังพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วประมาณ ๙ เดือน พระองค์ได้เสด็จเข้าเขตกรุงราชคฤห์โปรดชฎิล ๓ พี่น้อง และบริวาร พวกเขาออกบวชแล้ว ได้เสด็จโปรดพระเจ้าพิมพิสารและหมู่ประชาชนราว ๑๑,๐๐๐ คน พระราชาบรรลุโสดาปัตติผล เป็นพระอริยโสดาบันแล้วได้กราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ให้เสด็จไปทรงรับมหาทานที่พระราชนิเวศน์ในวันรุ่งขึ้น

หมู่เปรตเหล่านั้นรู้เห็นแล้วพากันดีใจว่า "ใกล้เวลาที่พระราชาจะทรงอุทิศทานให้พวกเราแล้ว พวกเราจะได้พ้นความทุกข์ยากกันแล้ว"

วันรุ่งขึ้น พระเจ้าพิมพิสารทรงถวายมหาทานแล้ว ทรงสดับธรรมกถาแล้ว ทรงดำริถึงสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้า... แล้วทูลถวายสวนไผ่ "เวฬุวันกลันทกนิวาปะ"(สวนไผ่อันเป็นสถานที่ให้เหยื่อแก่พวกกระรอกกระแต) แต่พระราชาทรงลืมอุทิศทาน มิได้ทรงอุทิศทานให้แก่ใคร ๆ เลย

พวกเปรตเหล่านั้นต่างดีใจ เฝ้ารอคอยการอุทิศทานอยู่ ๑ พุทธันดร เมื่อเห็นพระราชามิได้อุทิศให้ตน ต่างคร่ำครวญว่า "พวกเราเปรตทั้งหลาย อุตส่าห์ตั้งหน้าตั้งตารอคอยรอรับการอุทิศจากท่าน ท่านลืม ท่านพลาดไปได้อย่างไร ความสิ้นหวัง ความผิดหวังความเหือดแห้งใจ ความเศร้าใจ บังเกิดกับพวกเราเป็นหมื่นแสนทวีคูณ ความทุกข์ระทมเกิดกระหน่ำทับถมหัวใจของพวกเรา พระราชาจะทรงรู้ไหมหนอ, หากแม้นเปรตอย่างเรามีหัวใจสักร้อยสักพันดวง.. โอหนอ...ทุกดวงได้ถึงกาลดับแดดิ้นสิ้นไปแล้วในวันนี้ พวกเราจักต้องรอคอยไปอีกนานแสนนานเท่าใดหนอ"

ครั้นตกกลางคืนยังมิทันสงัด ในราตรีนั้น เหล่าเปรตจึงพากันเข้าไปในพระราชนิเวศน์ส่งเสียงโหยหวนกรีดร้องคร่ำครวญด้วยเสียงอันน่าสะพรึงกลัวแบบต่าง ๆ พระเจ้าพิมพิสารทรงได้สดับแล้ว ทรงหวาดกลัว บรรทมหลับไม่สนิท


@@@@@@@

พระพุทธเจ้าตรัสเล่าบุพกรรมของพวกเปรตพระราชาทรงถวายมหาทานแล้วอุทิศพวกเปรตอนุโมทนาแล้วพ้นความหิวกระหาย

เช้าตรู่แล้ว พระเจ้าพิมพิสารเสด็จเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า กราบทูลเรื่องเสียงที่น่าสะพรึงกลัวนั้นว่า จะเป็นนิมิตร้ายแก่ตัวข้าพระองค์หรือไม่? พระพุทธเจ้าจึงตรัสเล่าความเป็นมาของเปรตเหล่านั้นให้ทรงสดับ, ทูลถามว่า "ถ้าหม่อมฉันจะถวายทานในเช้านี้ เพื่ออุทิศทานให้พวกเขาได้หรือไม่?" ตรัสตอบว่า "ได้สิ มหาบพิตร" พระราชาจึงกราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าให้เสด็จเสวยภัตที่พระราชนิเวศน์ เพื่อจะอุทิศทานนั้นให้แก่หมู่เปรต

พระพุทธเจ้าเสด็จดำเนินประทับยังที่เขาจัดไว้ในพระราชนิเวศน์ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เหล่าเปรตรู้เห็นแล้วดีใจว่า "วันนี้พระราชาจะทรงอุทิศทานให้แก่พวกเรา ๆ จะได้ทิพยสมบัติ"จึงพากันมายืนอยู่ตามที่ต่าง ๆ บริเวณพระราชนิเวศน์, พระพุทธเจ้าทรงแสดงพุทธานุภาพทำให้พระราชาทอดพระเนตรเห็นเปรตเหล่านั้นท่ามกลางเบื้องหน้าของพระองค์

เมื่อพระราชาประทับนั่งแล้ว ทรงถวายน้ำทักษิโณทกตรัสอุทิศ (เจาะจง) ว่า "ขอทานนี้จงมีแก่หมู่ญาติของเรา" (อิทํ โน ญาตีนํ โหนตุ) "ขอญาติทั้งหลายจงมีสุขเถิด"(สุขิตา โหนตุ ญาตโย) พวกเปรตได้รับการอุทิศทานแล้วอนุโมทนา ทันใดนั้น ก็ปรากฎสระโบกขรณีเต็มไปด้วยดอกบัว เปรตทั้งหลายเห็นก็ดีใจลงอาบและดื่มน้ำระงับความกระหายและขจัดความเศร้าหมองทางกายได้จากสระงามนั้น

พระราชาทรงถวายข้าวยาคู ของเคี้ยวของกิน แล้วตรัสอุทิศอีก เปรตอนุโมทนาแล้วข้าวยาคู ของเคี้ยว ของกิน อันเป็นทิพย์ ก็ปรากฎแก่พวกเปรต พวกเขาพากันบริโภคอาหารทิพย์นั้นจนมีร่างกายอิ่มเอิบ

พระราชาทรงถวายผ้าและเสนาสนะ (ตั่งและเตียงเป็นต้น) เปรตอนุโมทนาแล้วบังเกิดผ้าทิพย์ ยานทิพย์ ปราสาททิพย์ และที่นอนทิพย์ เป็นต้น... พระราชาทอดพระเนตรแล้วทรงพอพระทัยอย่างยิ่ง

@@@@@@@

องค์ประกอบ ๓ ประการ ที่ทำให้เปรตได้รับความสุขและพระธรรมเทศนา "ติโรกุฑฑสูตร"

ท่านว่า ทักษิณา (การให้, การอุทิศ) จะสำเร็จได้ด้วยองค์ประกอบ ๓ คือ

    1. การอุทิศของทายก (=ผู้ให้ทาน)
    2. เปรตทั้งหลายอนุโมทนาด้วยตนเอง
    3. ผู้รับทานเป็นทักขิไณยบุคคล (เป็นเนื้อนาบุญที่ดี เช่น พระอริยเจ้าทั้งหลาย)

ครั้นพระศาสดาทรงเสวยเสร็จแล้ว ทรงอนุโมทนาด้วยพระธรรมเทศนา "ติโรกุฑฑสูตร" (พระธรรมว่าด้วยหมู่เปรตมายืนอยู่นอกเรือน) สรุปความได้ดังนี้

"หมู่เปรตมายังเรือนญาติ คิดว่าเป็นเรือนของตน ยืนอยู่นอกเรือนบ้าง บานประตูเรือนบ้าง ทาง ๔ แพร่ง และ ๓ แพร่งบ้าง, ญาติทั้งหลายถวายข้าวน้ำแล้ว ลืมอุทิศ ระลึกไม่ได้ เพราะอกุศลกรรมของสัตว์เหล่านั้นเป็นปัจจัย (การไม่ได้รับการอุทิศ เป็นเพราะอกุศลกรรมที่เปรตทำไว้)

แต่ชนเหล่าใด เป็นผู้เอ็นดูญาติผู้ล่วงลับ ให้ข้าวและน้ำแล้ว อุทิศให้หมู่ญาติว่าขอทานนี้แล จงมีแก่ญาติทั้งหลาย ขอญาติทั้งหลายจงมีสุขเถิด

หมู่เปรตที่เป็นญาติมาชุมนุมกันในบริเวณที่ให้ทานนั้น ย่อมอนุโมทนาโดยเคารพดีใจว่า พวกเราได้ทิพยสมบัติ เพราะญาติเป็นเหตุ ขอญาติเหล่านั้นของเราจงมีอายุยืน..."

ในเปตวิสัย (โลกของเปรต) ไม่มีการทำกสิกรรม หรือการค้าขายก็ไม่มี ผู้ได้อัตภาพเป็นเปรต ย่อมดำรงอัตภาพอยู่ได้ด้วยทานที่ญาติให้แล้วจากมนุษย์โลกนี้

น้ำจากที่สูงย่อมไหลไปสู่ที่ลุ่ม ฉันใด ทาน (กุศลทาน) ที่ทายก (ผู้อุทิศ) ให้ไปจากมนุษย์โลกนี้ ย่อมสำเร็จผลแก่หมู่เปรต ฉันนั้นเหมือนกัน

ห้วงน้ำที่เต็มแล้วในแหล่งน้ำต่าง ๆ ย่อมยังสมุทรสาครให้เต็ม ฉันใด ทานที่ทายกในมนุษย์โลกนี้ให้ไป ก็ย่อมสำเร็จผลแก่หมู่เปรต ฉันนั้นเหมือนกัน..."

(ดู ขุ.ขุ.ข้อ ๘, ขุทุกก.อ.๒๑๗-๒๙๒, ขุ.เปต.ข้อ ๙๐, เปต.อ.๓๐-๔๖)


@@@@@@@

คติธรรมสำคัญของเรื่อง : ถ้ารู้ชัดวันเวลาพ้นทุกข์ที่แน่นอน ก็ย่อมอยู่กับทุกข์ได้ดีขึ้น






ขอบคุณ : https://www.nirvanattain.com/สิ่งที่ควรรู้/กรรม/พระเจ้าพิมพิสาร-ผลแห่งบุญ-วิธีอุทิศทานแด่เปรตที่เคยเป็นพระญาติ.html
ปริยัติธรรม : หนังสือนิทานบำเพ็ญบุญ 100 เรื่อง โดย นิรนาม - กรรม | 18 เมษายน 2563

 8 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 07:08:21 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.

ที่มาของภาพ, Getty Images


เอลนีโญ-ลานีญา คืออะไร และส่งผลต่อสภาพอากาศอย่างไร.?

สำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลียรายงานว่า ปรากฏการณ์เอลนีโญที่เริ่มขึ้นในช่วงฤดูร้อนปี 2023 ได้สิ้นสุดลงแล้ว

ทว่า ปรากฏการณ์นี้ยังส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ซ้ำเติมภาวะโลกร้อนระยะยาวที่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์

เอลนีโญคืออะไร.?

เอลนีโญเป็นส่วนหนึ่งของปรากฏการณ์สภาพภูมิอากาศตามธรรมชาติที่เรียกรวมกันว่า "ความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้เอลนีโญ" (El Niño Southern Oscillation : ENSO) โดยปรากฏการณ์นี้มีสองสถานะตรงกันข้าม ประกอบด้วย เอลนีโญและลานีญา ทั้งสองสถานะส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศทั่วโลกอย่างมีนัยสำคัญ

การเกิดเอลนีโญ่สามารถระบุได้จากการวัดค่าต่าง ๆ ดังนี้ :-

    - อุณหภูมิผิวน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกในเขตร้อนสูงกว่าปกติ
    - ความดันบรรยากาศสูงกว่าระดับปกติที่เมืองดาร์วิน ประเทศออสเตรเลีย (แปซิฟิกตะวันตก)
    - ความดันบรรยากาศต่ำกว่าปกติที่ตาฮิติ หมู่เกาะเฟรนช์โปลินีเซีย ดินแดนโพ้นทะเลของฝรั่งเศส (แปซิฟิกตอนกลาง)



ในสภาวะ "ปกติ" น้ำที่ผิวทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกจะเย็นกว่าทางตะวันออกและอุ่นกว่าทางตะวันตก





Thank to : https://www.bbc.com/thai/articles/cp9gj9xvkrzo
Author : มาร์ก พอยน์ทิง และ เอสมี สตอลลาร์ด, บีบีซีนิวส์ แผนกข่าวภูมิอากาศและวิทยาศาสตร์ , 25 เมษายน 2024

 9 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 07:00:57 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.

ที่มาของภาพ, Getty Images


เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ 5 ข้อ ที่ทำให้คนเห็นผี

คนส่วนมากชอบฟังเรื่องผี และหลายคนก็บอกว่ามีประสบการณ์ได้เห็นภูตผีปีศาจในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งมาแล้ว แต่นักวิทยาศาสตร์ที่ค้นคว้าในเรื่องลึกลับเหนือธรรมชาติ กลับบอกว่ายังไม่พบหลักฐานที่ชี้ชัดว่าผีมีจริง แต่มีคำอธิบายสำหรับปรากฏการณ์สยองขวัญที่มีผู้พบเห็นกันมานักต่อนักว่า แท้ที่จริงอาจเกิดขึ้นเพราะสาเหตุทางวิทยาศาสตร์ดังต่อไปนี้

1. ความผิดปกติในการนอน

ประสบการณ์เผชิญหน้ากับวิญญาณที่บอกเล่ากันมาบ่อยครั้งก็คือการถูก "ผีอำ" มองเห็นร่างคนหรือถูกเงาดำกดทับจนขยับไม่ได้ รวมทั้งหูก็ได้ยินเสียงประหลาดต่าง ๆ นักวิทยาศาสตร์เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า "ความฝันขณะตื่น" (Waking dream ) ซึ่งเป็นภาวะเคลิ้มที่สมองตื่นอยู่แต่ร่างกายยังหลับไม่ตอบสนอง มีความเกี่ยวข้องกับอาการตัวแข็งเป็นอัมพาตขณะหลับอีกด้วย

ดร.โจ นิกเคล นักวิจัยอาวุโสของ "คณะกรรมการซีเอสไอ" (Committee for Skeptical Inquiry - CSI ) ซึ่งเป็นหน่วยงานเอกชนที่ส่งเสริมการตรวจสอบปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ บอกว่าภาวะความฝันขณะตื่นทำให้คนมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกับความกลัวในจิตใจได้ ไม่ว่าจะเป็นคนที่ตายไปแล้วหรือมนุษย์ต่างดาว ส่วนมากจะเห็นว่ามีภูตผีมายืนข้างเตียง บ้างอาจรู้สึกว่าถูกกดทับหรือถูกบีบคอจนร้องไม่ออก

"นั่นคือการที่จิตใจเล่นกลกับตัวคุณเอง โดยทำให้เห็นภาพหลอนที่เหมือนจริง ในชีวิตการทำงาน 50 ปีของผม ไม่เคยพบหลักฐานแม้แต่ชิ้นเดียวที่ยืนยันว่าผีมีจริง แต่ตรงกันข้าม ผมกลับพบคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์สำหรับเรื่องผีมากมาย ทั้งสาเหตุที่มาจากการได้ยินเสียงในย่านคลื่นความถี่ต่ำ (อินฟราซาวด์) ความผิดปกติทางอารมณ์หรือสมอง รวมทั้งการอดนอนก็มีส่วนสร้างภาพหลอนได้อย่างมาก" ดร.นิกเคลกล่าว

"เวลาที่คุณอดนอนและเหนื่อยล้า ทั้งยังอยู่ในสถานที่ที่บรรยากาศวังเวงน่ากลัว นั่นคือสูตรสำเร็จของการเห็นผีส่วนใหญ่เท่าที่ผมได้เคยตรวจสอบมาเลยทีเดียว"



ที่มาของภาพ, Getty Images , คำบรรยายภาพ, ความกลัวที่ฝังลึกในจิตใจและส่งผลให้เกิดปฏิกิริยารุนแรงทางกาย ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มองเห็นภูตผีได้

2. ภาวะกลัวผีและสิ่งลึกลับอย่างรุนแรง (Phasmophobia)

ความกลัวที่ฝังลึกในจิตใจและส่งผลให้เกิดปฏิกิริยารุนแรงทางกาย ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มองเห็นภูตผีได้ โดยนายแบรนดอน อัลวิส ผู้ก่อตั้งสมาคมวิจัยปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติอเมริกัน (APRA) บอกว่าภาวะดังกล่าวสามารถทำให้เกิดอาการแพนิก (Panic Attack) หรือการตื่นตระหนกหวาดกลัวอย่างรุนแรงควบคุมไม่ได้ จนมองเห็นภาพหลอนขึ้นมา

"คนที่มีภาวะนี้จะมีอาการหายใจขัด หรือหายใจหอบถี่เร็ว จังหวะการเต้นของหัวใจไม่แน่นอน เหงื่อตก คลื่นไส้อาเจียน อันเนื่องมาจากความกลัวที่ฝังลึกในจิตใจ คนที่เชื่อเรื่องผีอยู่แล้ว เมื่อไปอยู่ในสถานที่หรือสถานการณ์ที่น่าหวาดกลัว ก็มักจะมองเห็นสิ่งเคลื่อนไหวแปลก ๆ แวบไปมาที่หางตาอยู่เสมอ" นายอัลวิสกล่าว

3. การขาดออกซิเจน

การขาดออกซิเจนในสมอง (Cerebral anoxia) สามารถทำให้ประสาทสัมผัสและการรับรู้บิดเบี้ยวผิดจากความเป็นจริงออกไปได้ รวมทั้งยังทำให้มองเห็นภาพหลอนได้ง่ายอีกด้วย โดยนายอัลวิสบอกว่าการขาดออกซิเจนในสมองทำให้ผู้ป่วยหนักรู้สึกถึงประสบการณ์แปลก ๆ ขณะใกล้ตาย และมีความรู้สึกว่าวิญญาณล่องลอยออกจากร่างในหลายกรณีด้วย

"คนที่เข้าไปในอาคารเก่า ๆ หรือสถานที่ถูกทิ้งร้าง ซึ่งมีเชื้อราและสารพิษอื่น ๆ อยู่มาก อาจเกิดการขาดออกซิเจนในสมองขึ้นชั่วขณะได้ แต่ละคนอาจมีอาการมากน้อยต่างกันไป แต่ก็สามารถทำให้คนเหล่านั้นเชื่อได้ว่าตนเองมองเห็นภูตผีปีศาจเข้าจริง ๆ"



ที่มาของภาพ, Getty Images

4. ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เป็นพิษ

ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์มีความเกี่ยวข้องกับกรณีบ้านผีสิงหลายแห่งมาตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1920 แล้ว โดยมีหลักฐานการวิจัยที่ชี้ว่า เมื่อสมองได้รับก๊าซดังกล่าวเข้าไปมากจะทำให้ร่างกายเกิดอาการวิงเวียนคลื่นเหียน หายใจขัด รู้สึกเหนื่อยล้าสับสน รวมทั้งเห็นภาพหลอนหรือหูแว่วได้ยินเสียงหลอนประสาทได้

คาร์บอนมอนอกไซด์ไม่มีสีและกลิ่น ทำให้ยากที่จะตรวจพบได้ หากสูดดมในปริมาณมากอาจทำให้ถึงแก่ชีวิต โดยในแต่ละปีมีชาวอเมริกันกว่า 500 คนต้องเสียชีวิตด้วยเหตุนี้

ผู้ที่รอดชีวิตจากเหตุคาร์บอนมอนอกไซด์เป็นพิษ ยังอาจมีอาการป่วยต่อไปหลังจากนั้นนานหลายปีได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมอง ทั้งด้านความจำ ความคิด และพฤติกรรม บ่อยครั้งที่มีรายงานว่าผู้ป่วยเห็นภาพหลอน ได้ยินเสียงแว่วต่าง ๆ ทั้งเสียงกระดิ่งและเสียงคนวิ่งไล่กัน รวมทั้งรู้สึกถึงสัมผัสประหลาดคล้ายผีมาแตะต้องตัวอีกด้วย

5. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

ผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมวิจัยปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติอเมริกัน (APRA) ยังบอกว่า การที่เกิดจุดอากาศเย็นผิดปกติ หรือมีผู้สัมผัสถึงพลังงานเคลื่อนไหวประหลาดในบางสถานที่นั้น ความรู้สึกดังกล่าวเกิดขึ้นได้จากการเกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าชั่วคราว ซึ่งหลายครั้งก็เป็นผลมาจากฝีมือมนุษย์นั่นเอง

"ภาพหลอนหรือความรู้สึกประหลาดเหมือนหลุดเข้าไปอยู่ในอีกมิติหนึ่งหรืออีกยุคหนึ่ง เกิดขึ้นได้จากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าพลังสูง ที่อาจบังเอิญเกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือเกิดจากการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมองชั่วขณะ" นายอัลวิสกล่าว





Thank to : https://www.bbc.com/thai/international-41819139
31 ตุลาคม 2017

 10 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 06:35:09 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



ทำไม การได้รับคำชม ถึงเป็นเรื่องยาก สำหรับบางคน

คุณทราบหรือไม่ว่า สำหรับบางคน การได้รับคำชมนั้นอาจกลายเป็นเรื่องที่รบกวนจิตใจได้ จนถึงขั้นนำไปสู่สภาวะความกังวลเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของตัวเอง และความเหนื่อยล้าทางความคิด

วลีที่ถูกพิมพ์บนแผ่นป้ายทางการศึกษาเป็นภาษาดัตช์ที่ว่า "101 manieren om een kind te prijzen" ที่แปลว่า "101 วิธีชมเชยเด็ก" ในคำชมที่แนะนำ ได้แก่ "หนูทำได้ดีมาก..." และ "เก่งมาก"

รองศาสตราจารย์ เอ็ดดี้ บรัมเมลแมน อาจารย์ประจำคณะจิตวิทยาพัฒนาการ มหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัม ในเนเธอร์แลนด์ บอกว่า วลีดังกล่าวดูเหมือนจะเปี่ยมไปด้วยแรงบันดาลใจ แต่เขากลับมองว่า แนวความคิดนี้ไม่ส่งผลด้านบวกต่อเด็กเลย

แนวคิดเหล่านั้นที่ปรากฎอยู่บนป้ายโปสเตอร์อาจจะดูเป็นเรื่องราวไร้พิษภัยใด ๆ และดูเป็นประโยชน์ด้วยซ้ำ แต่สำหรับบรัมเมลแมน เขาคิดว่าคำพูดนี้เป็นการชมเชยเกินจริง และงานวิจัยของเขาชี้ให้เห็นว่า การชมเชยแบบนี้ทำให้เด็ก ๆ ดำดิ่งเข้าสู่วัฏจักรที่ทำให้เด็กประเมินคุณค่าในตัวเองต่ำ (low self-esteem) แม้การชมเหล่านี้จะถูกคิดค้นมาเพื่อแก้ปัญหานี้ก็ตาม

นี่ ไม่ใช่เพียงแค่การชมเชยที่เกินจริงเท่านั้นที่อาจทำให้ผู้คนรู้สึกอึดอัด ตัวอย่างเช่น ผู้หญิงชาวเยอรมันคนหนึ่งที่ปฏิเสธคำชมจากเพื่อนร่วมงานเกี่ยวกับรูปลักษณ์ของเธอ หรือเด็กชายญี่ปุ่นที่ตอบว่า "ไม่ ไม่" เมื่อญาติเรียกเขาว่า เป็นคนที่มีความสามารถ ซึ่งอาจจะถูกมองว่า เขาเป็นคนไม่สำนึกบุญคุณในบางสถานการณ์

จริงอยู่ที่อินเทอร์เน็ตเต็มไปด้วยคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีตอบรับคำชมอย่างเหมาะสม แต่จากงานวิจัยทางจิตวิทยา ชี้ให้เห็นว่า การไม่สนใจคำชม ไม่ได้เป็นข้อเสียเสมอไป

และนี่เป็นข่าวดีสำหรับหลาย ๆ คนที่รู้สึกเหมือนน้ำท่วมปากเมื่อได้รับคำชม และตำหนิตัวเองที่ดูเหมือนจะตอบกลับไปแบบไม่ดีพอ

@@@@@@@

คำชมแบบเหมารวม

อีกเหตุผลหนึ่งที่ไม่จำเป็นต้องฝึกเป็นผู้รับคำชมเสมอไปก็คือ บางคำชมนั้นเป็นการดูถูกโดยไม่รู้ตัว ตัวอย่างเช่น การชมคนผิวดำชาวอเมริกันว่า "พูดจาคล่องแคล่ว" หรือการชมชาวเอเชียที่เกิดในสหรัฐ ฯ ว่า "เก่งภาษาอังกฤษ" คำชมเหล่านี้เผยให้เห็นอคติของผู้พูด นั่นคือ ความประหลาดใจที่คนกลุ่มน้อยสามารถพูดได้อย่างคล่องแคล่ว การชมเชยโดยแฝงไปด้วยความรู้สึกว่า ตัวเองเหนือกว่า (patronizing compliment) ที่อิงกับกลุ่มชาติพันธุ์ (เช่น "คุณเป็นผู้นำที่ดีนะ สำหรับผู้หญิงคนนึง") อาจนำไปสู่ความโกรธและความต้องการเผชิญหน้าได้

เมื่อคำชมยึดตามบรรทัดฐานทางเพศ ซึ่งมักจะเป็นเช่นนั้น บ่อยครั้งที่คำชมที่ไม่เหมาะสมก็สามารถฝังรากลึกให้กับภาพลักษณ์เดิม ๆ การล่วงละเมิดทางเพศอาจถูกแฝงเร้นในคราบการเยินยอ สิ่งนี้มักถูกโยนให้กลายเป็นภาระของผู้หญิงที่ต้องหาทางรับมืออย่างสุภาพ แทนที่จะเป็นหน้าที่ของผู้ชายที่จะไม่ล่วงละเมิดและมองผู้หญิงเป็นเพียงวัตถุทางเพศ

โดยทั่วไป ผู้หญิงได้รับคำชมมากกว่าผู้ชาย เมื่อผู้ชายได้รับคำชม มักจะเน้นที่ความสามารถของพวกเขา ในขณะที่ผู้หญิงมักได้รับคำชมเกี่ยวกับรูปลักษณ์ คำชมเหล่านี้มีผลกระทบที่แตกต่างกัน "คำชมด้านรูปลักษณ์นำไปสู่การโฟกัสที่รูปลักษณ์และการหมกมุ่นกับรูปร่างกาย" โรเทม คาฮาลอน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาสังคม มหาวิทยาลัยบาร์ อิลาน ในเมืองรามัต-กัน ประเทศอิสราเอล กล่าว งานวิจัยด้านประสาทวิทยาศาสตร์ชี้ให้เห็นว่า คำที่สื่อถึงร่างกาย รวมถึงคำชมที่เน้นรูปร่าง จะถูกประมวลผลในสมองได้เร็วและแม่นยำกว่าคำที่ไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับร่างกาย เช่น "ความเป็นมิตร"

ผลที่อาจตามมาอย่างหนึ่งคือ การชะลอความคิดของผู้รับคำชม จริง ๆ ผศ.คาฮาลอน ร่วมเขียนบทความวิจัยนักศึกษามหาวิทยาลัยในอิสราเอล พบว่า ทั้งชายและหญิงที่ได้รับคำชมด้านรูปลักษณ์ ล้วนมีผลการทดสอบคณิตศาสตร์แย่ลงในภายหลัง ถึงแม้ว่าคำชมเหล่านี้อาจฟังดูดี แต่ ผศ.คาฮาลอน ตีความว่า คำชมเหล่านี้อาจสร้างความกังวลเกี่ยวกับตัวเองที่รบกวนสมาธิ ส่งผลต่อประสิทธิภาพทางปัญญา "การหมกมุ่นอยู่กับร่างกายเป็นสภาวะทางจิตที่ส่งผลต่อความสามารถในการคิด" ผศ.คาฮาลอน กล่าว



ที่มาของภาพ, Getty Images , คำบรรยายภาพ, ในงานศึกษาหนึ่งพบว่า การชมเชยอย่างไม่เหมาะสมเพิ่มความกังวลให้กับผู้หญิงแต่ไม่เพิ่มความกังวลสำหรับผู้ชาย

หลักฐานทางจิตวิทยาอื่น ๆ ชี้ให้เห็นว่า คำชมต่อรูปลักษณ์อาจส่งผลกระทบต่อผู้หญิงเป็นพิเศษ ในงานวิจัยที่ให้นักศึกษามหาวิทยาลัยชาวอิตาลีจำลองการสัมภาษณ์งาน คำชมที่ไม่เหมาะสมส่งผลต่อระดับความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าในผู้หญิงเพิ่มขึ้น แต่ไม่ส่งผลต่อผู้ชาย ขณะเดียวกัน ผู้หญิงในหลายวัฒนธรรมถูกคาดหวังให้เป็นคนสุภาพเรียบร้อยควบคู่ไปกับการมีรูปลักษณ์ที่ดึงดูด สิ่งนี้สร้างความตึงเครียดเกี่ยวกับวิธีตอบสนองต่อคำชม

โดยรวมแล้ว "คำชมต่อรูปลักษณ์นั้นตอกย้ำบทบาทดั้งเดิมของผู้หญิงอย่างแยบยลในฐานะวัตถุทางเพศที่ต้องมีการดูแลภาพลักษณ์ตลอดเวลา" ผศ.คาฮาลอน กล่าว

ถึงแม้ว่าการชมรูปลักษณ์ภายนอกของผู้หญิงอาจดูเหมือนเจตนาบริสุทธิ์และยังดูเป็นเรื่องที่ดี "แต่มันก็ยังเป็นรักษาสถานภาพทางเพศเอาไว้ ว่าผู้หญิงต้องถูกประเมินโดยอิงจากรูปลักษณ์" เธอกล่าว

@@@@@@@

การตอบรับกับคำชม

ขณะที่งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองต่อคำชมมักศึกษากลุ่มประชากรที่เรียกว่า "Weird" ซึ่งเป็นคำย่อมาจาก กลุ่มชาวตะวันตกที่มีการศึกษาสูงอยู่ในสังคมอุตสาหกรรม มีความร่ำรวย และเป็นประชาธิปไตย เป็นหลัก และยังมักศึกษากลุ่มนักเรียนนักศึกษามากกว่ากลุ่มอื่น ๆ แต่งานวิจัยในวัฒนธรรมอื่น ๆ แสดงให้เห็นเช่นกันว่าไม่มีวิธีสากลสำหรับการรับมือกับคำชม

ประการแรก ในบางสังคม คำชมไม่ได้ถูกมองในแง่บวก ตัวอย่างเช่น คำชมอาจถูกมองว่าเป็นการข่มขู่ ในชุมชนที่มีความเชื่ออย่างรุ่นแรงทั้งในเรื่องของการอิจฉาและเวทมนตร์

แม้กระทั่งในสังคม ที่คำชมส่วนใหญ่มักถูกมองในแง่บวก นักวิจัยได้บันทึกระดับการยอมรับคำชมที่แตกต่างกัน (ซึ่งมักแสดงออกโดยการพูดแค่ว่า "ขอบคุณ") ตัวอย่างการศึกษาหนึ่งกับผู้พูดภาษาอังกฤษในไนจีเรีย พบว่า 94% ของคำชมที่เก็บรวบรวมนั้นได้รับการยอมรับ เทียบกับตัวเลข 88% ในการศึกษาของชาวแอฟริกาใต้ และ 66% ในการศึกษาของชาวอเมริกัน และเพียง 61% ในการศึกษาของชาวนิวซีแลนด์

อย่างไรก็ตาม มีวิธีตอบสนองต่อคำชมที่หลากหลายนอกเหนือจากการยอมรับหรือปฏิเสธอย่างง่าย ๆ การวิเคราะห์บทสนทนาภาษาเยอรมันพบว่า ในขณะที่ผู้เข้าร่วมการศึกษายอมรับคำชมอย่างท่วมท้น แต่พวกเขามักจะไม่ตอบว่า "ขอบคุณ" ตรงกันข้าม บางครั้งพวกเขาอาจแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำชมนั้นเอง เช่น ตอบว่า "ดีจัง" เมื่อได้รับคำชมว่า "อยู่บ้านคุณในเย็นวันนี้เป็นเรื่องที่ดีจัง" (สิ่งนี้อาจเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมความสุภาพของชาวเยอรมัน ที่คำชมมีน้อยกว่าแต่จริงใจกว่า เมื่อเทียบกับในสหรัฐฯ)

นักวิจัยหลายคนได้บันทึกความขัดแย้งภายในจิตใจที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลหนึ่งได้รับคำชม พวกเขาต้องเลือกระหว่างความต้องการให้บทสนทนาราบรื่นโดยการเห็นด้วย แต่ก็รู้สึกว่าจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการเยินยอตัวเอง ความขัดแย้งนี้อาจรุนแรงเป็นพิเศษในบางสถานการณ์ ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมักจะมีแรงกดดันให้ปฏิเสธคำชม 45% ของคำชมที่ระบุไว้ในการศึกษาครั้งหนึ่ง นำไปสู่การตอบสนองเชิงลบ แต่ผู้พูดภาษาญี่ปุ่นมีกลยุทธ์หลากหลายในการตอบรับคำชมโดยไม่ยอมรับหรือปฏิเสธโดยตรง เช่น การพยักหน้าหลายครั้ง หรือพูดติดตลกแซวว่า พฤติกรรมที่ได้รับคำชมนั้นจริง ๆ แล้วไม่ใช่เรื่องที่ดี

สำหรับคนที่เติบโตในวัฒนธรรมที่คำติชมมักเน้นไปที่วิธีปรับปรุง แทนที่จะเป็นสิ่งที่พวกเขาทำได้ดี อาจรู้สึกไม่สบายใจเมื่อได้รับคำชม อย่างเช่น เด็กชาวจีน "ได้รับการสอนให้มุ่งเน้นไปที่ข้อบกพร่องของตัวเอง และไม่โอ้อวดความสำเร็จ"

ฟลอร์รี่ เฟย-หยิน อึง ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาจิตวิทยาการศึกษา ที่มหาวิทยาลัยจีนแห่งฮ่องกง กล่าว "จากมุมมองนี้ ไม่น่าแปลกใจที่เด็กจีนอาจรู้สึกไม่สบายใจเมื่อได้รับคำชม"



ที่มาของภาพ, Getty Images , คำบรรยายภาพ, การชื่นชมที่มากเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อการเห็นคุณค่าของตัวเองของแต่ละบุคคลได้

ในขณะที่วัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาผสมผสานกับวัฒนธรรมจีน ส่งผลให้การยอมรับคำชมในจีน (และในประเทศอื่น ๆ รวมถึงอิหร่าน) เพิ่มมากขึ้นในประเทศจีน

ศ.อึง กล่าวว่า เด็กชาวจีนยังคงสังเกตวิธีที่ผู้ใหญ่ตอบสนองต่อคำชม และปรับใช้พฤติกรรมของเขาตามแบบอย่างนั้น ตัวอย่างเช่น เธออาจสังเกตว่า เมื่อญาติชมพวกเขาต่อหน้าพ่อแม่ พ่อแม่ของพวกเขาเปลี่ยนประเด็นไปเรื่องอื่น ๆ จากคำชมดังกล่าว

แน่นอนว่า การเลี้ยงดูแบบใดแบบหนึ่งไม่ได้ดีกว่าอีกแบบหนึ่งทั้งหมด การชมเชยเด็กอย่างต่อเนื่องโดยไม่คำนึงถึงผลงานที่พวกเขาทำไปจริง ๆ อาจกลายเป็นเรื่องเปล่าประโยชน์และไร้ประสิทธิภาพ แต่การไม่ชมเลยก็อาจส่งผลเสียต่อการปรับตัวทางอารมณ์ "พฤติกรรมแบบใดที่น่าจะส่งผลต่อผลลัพธ์เชิงบวกของเด็ก ขึ้นอยู่กับขอบเขตที่พฤติกรรมนั้นเป็นที่ยอมรับทางสังคมในโลกสังคมของเด็ก" ศ.อึง กล่าว

สำหรับผู้ใหญ่บางคน คำวิจารณ์อาจเป็นแรงผลักดันมากกว่าคำชม ตัวอย่างเช่น ผู้เชี่ยวชาญมักได้รับแรงกระตุ้นจากคำวิจารณ์เชิงลบมากกว่ามือใหม่

@@@@@@@

เมื่อใดที่คำชมไม่เป็นประโยชน์

แน่นอนว่า ยังมีปัจจัยด้านบุคลิกภาพที่ส่งผลต่อวิธีที่ใครสักคนตอบสนองต่อคำชม คำชมสามารถกระตุ้นความวิตกกังวลในผู้ที่มีความนับถือตนเองต่ำ เนื่องจากคำชมท้าทายมุมมองที่พวกเขามีต่อตัวเอง และทำให้พวกเขารู้สึกว่าถูกเข้าใจผิด นอกจากนี้ ความกลัวการถูกประเมินในแง่ลบยังเพิ่มขึ้นในผู้ที่มีอาการวิตกกังวลทางสังคม

แต่แม้สำหรับคนอื่น ๆ คำชมที่ไม่คาดคิดก็อาจทำให้สับสนได้ "โดยพื้นฐานแล้ว คำชมคือการประเมิน" รศ.บรัมเมลแมนกล่าว แม้จะเป็นการประเมินในแง่บวก "ผู้คนไม่ชอบถูกประเมินเสมอไป ... มันดึงคุณออกจากโฟกัสในปัจจุบัน มันทำให้คุณกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับสิ่งที่คนอื่นคิดเกี่ยวกับคุณ"

นอกเหนือจากการกระตุ้นความรู้สึกไม่พึงประสงค์อย่างกะทันหันว่าคุณกำลังถูกตัดสิน คำชมยังสามารถทำให้คุณรับรู้ถึงความแตกต่างของอำนาจได้อย่างฉับพลัน ท้ายที่สุด รศ.บรัมเมลแมนกล่าวว่า "มันเป็นเรื่องปกติที่ครูจะชมนักเรียน แต่ในทางกลับกัน ก็ใช่เป็นเรื่องที่ทั่วไปที่นักเรียนกล่าวคำชมครู ผมคิดว่า คุณก็เห็นสิ่งนี้ในที่ทำงานเช่นกัน"

งานวิจัยเกี่ยวกับเด็กของ รศ.บรัมเมลแมนยังชี้ให้เห็นว่า เด็ก ๆ อาจจะอ่อนไหวต่อวิธีการได้รับคำชมมาก ตัวอย่างเช่น คำชมที่เกินจริงจากครูอาจส่งสัญญาณว่า พวกเขาคาดหวังไม่สูงมากต่อนักเรียนบางคน เช่น เด็กที่มาจากฐานะทางเศรษฐกิจสังคมที่ไม่ดีนัก และได้รับการยกยออย่างมากเกินไปเพื่อชดเชยกับความขาดแคลนดังกล่าว

"จากนั้น นักเรียนจึงตีความคำชมที่เกินจริงว่า เป็นหลักฐานว่าพวกเขาไม่ฉลาดเท่าไหร่" รศ. บรัมเมลแมนกล่าว

ในการศึกษากับกลุ่มเด็กที่ร้องเพลงในเนเธอร์แลนด์ รศ.บรัมเมลแมนและเพื่อนร่วมงานยังพบว่า การยกยอที่ไม่สมเหตุสมผลทำให้เด็กที่มีภาวะวิตกกังวลทางสังคมเกิดความเขินอายได้

"การเขินอายเป็นสัญญาณจริง ๆ ว่า คนอื่นอาจประเมินคุณในแง่ลบ" รศ.บรัมเมลแมนกล่าวและว่า

"มันมักเกิดขึ้นเมื่อเราเป็นจุดสนใจ" ในกรณีนี้ แม้ว่าความวิตกกังวลทางสังคมเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เด็ก ๆ รู้สึกไม่สบายใจ แต่ปัจจัยอีกประการหนึ่งคือ ระดับของคำชม การบอกให้เด็กยอมรับคำชมที่มากเกินไปโดยไม่หน้าแดงนั้นไม่เป็นประโยชน์อะไร



ที่มาของภาพ, Getty Images

เด็ก ๆ แสดงให้เห็นถึงการรับรู้ถึงความแตกต่างของคำชมตั้งแต่วัยเยาว์มาก "เด็กก่อนวัยเรียน เมื่อพวกเขาเห็นว่าครูชมอย่างฟุ่มเฟือย... โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพของงาน พวกเขาเริ่มไว้ใจคำชมของครูเหลือน้อยลง" รศ.บรัมเมลแมนกล่าว ซึ่งอีกนัยหนึ่ง คุณค่าของคำชมจะลดลงหากชมแบบขอไปที

อันที่จริง การให้คำชมที่มากเกินไปอาจก่อให้เกิดโทษมากกว่าผลดี

รศ.บรัมเมลแมนสังเกตว่า "พ่อแม่มักจะให้คำชมกับเด็กที่มีความนับถือตนเองต่ำ เนื่องจากพวกเขาคิดว่าเด็กเหล่านี้ต้องการคำชมเพื่อรู้สึกดีขึ้นเกี่ยวกับตัวเอง แต่นั่นไม่เป็นความจริง" งานวิจัยของเขากับเพื่อนร่วมงานแสดงให้เห็นว่า เมื่อเด็กที่มีความนับถือตนเองต่ำได้รับคำชมที่เกินจริงมากขึ้น ความนับถือตนเองของพวกเขาจะเลวร้ายลงตามกาลเวลา คำชมที่เกินจริงสร้างความคาดหวังที่เป็นไปไม่ได้ที่ทำให้ดีพอ ในขณะเดียวกันก็ส่งสัญญาณไปยังเด็ก ๆ ว่า คุณค่าของตัวเองควรเชื่อมโยงกับคำชมจากภายนอก

รศ.บรัมเมลแมนสนับสนุนให้ทำลายวงจรที่ชั่วร้ายนี้ด้วยการใช้คำชมอย่างรอบคอบและเหมาะสมยิ่งขึ้น ในขณะที่พ่อแม่บางครั้งมักให้คำชมเพื่อแสดงความสนใจ แต่ก็มีวิธีอื่นที่จะทำได้ เช่น แทนที่จะชมภาพวาดของลูกโดยอัตโนมัติและพรั่งพรูออกมา พ่อแม่สามารถนั่งลงและพูดคุยเกี่ยวกับภาพวาด แสดงความกระตือรือร้น

"เด็ก ๆ ใฝ่ฝันถึงความอบอุ่นและความรักมากกว่าที่พวกเขาใฝ่ฝันถึงการประเมินในแง่บวกของคุณ" รศ.บรัมเมลแมนเชื่ออย่างนั้น

โดยรวมแล้ว "ผมคิดว่าพวกเราประเมินว่าผู้คนชื่นชอบการได้รับคำชมสูงเกินไป" เขากล่าว

@@@@@@@

บรรเทาความกดดันลง

ดังนั้น แม้ว่ามันจะเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรกล่าวโทษผู้กล่าวคำชม ซึ่งโดยปกติแล้วจะชมบุคคลอื่นด้วยความตั้งใจให้รู้สึกดี คำชมเหล่านั้นก็ควรได้รับการจัดการอย่างดี

ในขณะเดียวกัน ผู้รับคำชมสามารถปล่อยวางตัวเองจากสถานการณ์ที่ทำให้รู้สึกอึดอัด หากพวกเขาไม่มีกำลังเพียงพอที่จะยอมรับคำชมอย่างสุภาพ สิ่งนี้อาจเกี่ยวข้องกับลักษณะนิสัยหรือปัจจัยทางวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงได้ยาก (หรือที่จำเป็น) หรือคำชมบางอย่างอาจเผยให้เห็นถึงเป้าหมายของผู้ให้คำชมมากกว่าความต้องการของผู้ถูกชม

"มีเหตุผลมากมายที่ทำให้คำชมคุณรู้สึกแย่" บรัมเมลแมนสรุป "ผมเชื่ออย่างแน่วแน่ว่า นี่ไม่ใช่ความรับผิดชอบของใคร ๆ ที่จะเรียนรู้วิธีรับคำชม แต่สิ่งที่อาจเป็นประโยชน์คือ เพียงแค่ฝึกฝนการตอบสนองขั้นมาตรฐานที่คุณจะตอบกลับ และไม่ต้องกังวลมากนัก หากมันทำให้คุณรู้สึกไม่สบายใจ" เขากล่าว






Thank to : https://www.bbc.com/thai/articles/c9707g250g0o
ที่มาของภาพ, Getty Images | คริสติน โร, ผู้สื่อข่าวสารคดีพิเศษ , 9 เมษายน 2024

หน้า: [1] 2 3 ... 10