ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ทำไม ประเทศอินเดีย ไม่มีพระพุทธศาสนา เลย  (อ่าน 5077 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 ask1

ทำไม ประเทศอินเดีย ไม่มีพระพุทธศาสนา เลย พึ่งจะมีคนนับถือใน ยุคนี้ ไม่กี่ปี

  thk56
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ทำไม ประเทศอินเดีย ไม่มีพระพุทธศาสนา เลย
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2013, 11:39:20 am »
0


อิทธิพลของพระพุทธศาสนาในครั้งพุทธกาล

หลังจากที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ภารกิจอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธองค์คือ การชี้นำแนวทางดำเนินชีวิตที่ถูกต้องแก่มวลประชากร เพื่อความสุขสงบแก่ชีวิตและสังคม แม้ว่าจะยากลำบากเพียงใดก็ตาม พระองค์ใช้เวลาที่มีอยู่ตลอดพระชนม์ชีพ ๔๕ พรรษา เผยแผ่หลักธรรมคำสั่งสอนจนพุทธศาสนาแพร่หลายในแคว้นต่าง ๆ มีประชาชนศรัทธาเลื่อมใสและอุทิศตนเป็นพุทธสาวก นับถือพระพุทธศาสนาจำนวนมากมาย

พระพุทธองค์มิได้จำกัดบุคคลในการเทศน์สอน ว่าเป็นชนชั้นวรรณะใด เพศใด อาชีพใด หรืออายุวัยใด ทรงแสดงธรรมแก่บุคคลทุกระดับ ไม่จำกัดขอบเขต หากเขามีความสามารถที่จะรับรู้ธรรมได้ ก็ทรงให้โอกาสเสมอ จนมีพุทธศาสนิกชนทุกระดับ ตั้งแต่พระราชามหากษัตริย์ จนถึงคนอนาถา ทั้งวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร และจัณฑาล

พุทธธรรมได้แทรกซึมอยู่ในบุคคลทุกกลุ่ม ทุกวัย ทุกสาขาอาชีพ สิทธิเสรีภาพของบุคคลได้ถูกเปิดออกโดยหลักการของพุทธศาสนา เพราะเมื่อก่อนได้ถูกครอบงำ ปิดกั้นสิทธิเสรีภาพโดยความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ ประชาชนส่วนมากได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาในการดำเนินชีวิต เช่นการมีความเชื่อเรื่องกรรม แทนความเชื่อเรื่องพระพรหมลิขิต การถวายทาน การปฏิบัติตามศีล ๕ ศีล ๘ เป็นต้น

แม้พระราชาผู้ปกครองแว่นแคว้นก็ทรงปกครองโดยทศพิธราชธรรม ดังปรากฏว่ามีพระราชาหลายพระองค์ที่ทรงเป็นพุทธสาวก เช่นพระเจ้าพิมพิสาร แห่งแคว้นมคธ พระเจ้าปเสนทิโกศล พระราชาแห่งแคว้นโกศล เป็นต้น ทรงเป็นพุทธมามกะ และได้ปกครองบ้านเมืองด้วยหลักธรรมทางพุทธศาสนา ทรงอุปถัมภ์พุทธศาสนา ด้วยการทนุบำรุงพระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน และได้สร้างวัดวาอารามต่าง ๆ ถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ด้วย




อิทธิพลของพระพุทธศาสนายุคหลังพุทธปรินิพพาน

เมื่อภายหลังพุทธปรินิพพาน พระพุทธศาสนาได้มีความเจริญรุ่งเรืองไปในแคว้นต่าง ๆ ได้มีนิกายต่าง ๆ เกิดขึ้นทั้งนิกายดั้งเดิมและนิกายใหม่ ทำให้พุทธศาสนาแพร่หลายไปพร้อมกับความเสื่อมที่ตามมากับความแพร่หลายนั่นเอง ด้วยเหตุผลหลายประการที่ทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมจากอินเดีย จะได้กล่าวไว้ตอนหลัง ซึ่งนับว่าพระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล

จนถึงประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ตั้งแต่บัดนั้นมาพระพุทธศาสนาก็ได้เสื่อมจากอินเดีย
โดยถูกครอบงำจากอิทธิพลของศาสนาฮินดู ระยะกาลอันยาวนานของพุทธศาสนาที่มีต่อวิถีชีวิตคนอินเดียกว่า ๑ พันปี จะเห็นว่าพุทธศาสนามีบทบาทต่อสังคมอินเดียในสมัยต่าง ๆ ดังนี้


เมื่อพุทธศตวรรษที่ ๒ ในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงศรัทธาเลื่อมใสในพุทธศาสนาเถรวาทมาก ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและปกครองบ้านเมืองให้สงบร่มเย็น ประชาชนอยู่กันอย่างสงบสุข บทบาทสำคัญของพระเจ้าอโศกมหาราชที่มีต่อพระพุทธศาสนาคือทรงอุปถัมภ์การสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ ๓ ขจัดภัยร้ายของพระพุทธศาสนาด้วยการขจัดพวกเดียรถีย์ปลอมบวช และส่งพระสมณทูตไปเผยแผ่พุทธศาสนา ในดินแดนประเทศต่าง ๆ รวมถึง ๙ สายด้วยกัน

เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๙ - ๑๑ ราชวงศ์คุปตะทางอินเดียตอนเหนือเจริญรุ่งเรือง
ในสมัยราชวงศ์นี้ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองทางศาสนา วรรณคดี ศิลปกรรม และปรัชญา แม้ว่าพระเจ้าแผ่นดินในราชวงศ์นี้จะเป็นฮินดูส่วนมาก แต่ก็ทรงอุปถัมภ์คุ้มครองพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี โดยเฉพาะฝ่ายมหายาน จนเจริญรุ่งเรืองไปสู่ประเทศใกล้เคียง กษัตริย์ที่มีบทบาทสำคัญได้แก่ พระเจ้าจันทรคุปต์ พระเจ้าสมุทรคุปต์ พระเจ้าวิษณุคุปต์ และพระเจ้าสกันธคุปต์


ในยุคนี้ พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานได้รจนาคัมภีร์ขึ้นมากมาย ด้านศิลปกรรมทางพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก เช่นศาสนสถาน และศาสนวัตถุ ได้สร้างขึ้นอย่างงดงาม พระพุทธรูปศิลปะสมัยคุปตะมีหลายขนาด หลายปาง แม้พระพุทธรูปสมัยทวาราวดีก็ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะสมัยคุปตะ ส่วนด้านปรัชญา ได้มีนักปรัชญาทางพุทธศาสนาหลายท่าน เช่นท่านนาคารชุน ท่านอสังคะ และท่านวสุพันธ์ ท่านเหล่านี้ประกาศพุทธปรัชญาให้เป็นที่สนในแก่ประชาชน โดยเฉพาะนักคิดนักปรัชญาทั้งหลาย แม้ว่าจะเป็นปรัชญาฝ่ายมหายาน แต่ก็ได้มีอิทธิพลต่อความคิด ความเชื่อของชาวอินเดียไม่น้อย





ในด้านการศึกษาพระพุทธศาสนา ราว พ.ศ. ๑๐๐๐ การศึกษาทางพุทธศาสนาได้ก้าวหน้าไปมาก ถึงกับขยายการจัดการศึกษาไปเป็นรูปแบบมหาวิทยาลัย จึงได้เกิดมหาวิทยาลัยแห่งแรกในโลกขึ้น คือมหาวิทยาลัยนาลันทา และมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ขยายตามมาอีก คือ มหาวิทยาลัยวัลภี มหาวิทยาลัยวิกรมศิลา มหาวิทยาลัยโสมบุรี และมหาวิทยาลัยชคัททละ มหาวิทยาลัยเหล่านี้ได้กระจายอยู่ในอินเดียตอนเหนือ

มหาวิทยาลัยนาลันทาได้มีคณาจารย์สั่งสอนธรรมมีถึง ๑๕๐๐ ท่าน นักศึกษาจำนวนนับหมื่น มีทั้งชาวอินเดีย และชาวต่างชาติ เช่น จีน ธิเบต อินโดนีเซีย เตอรกี ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ ทั้งฝ่ายมหายานและเถรวาท และศาสนาอื่น ๆ การศึกษาพระพุทธศาสนาจึงเป็นไปอย่างกว้างขวาง

พ.ศ. ๑๑๐๐ พระเจ้าหรรษวรรธนะ (พระเจ้าศีลาทิตย์) ราชวงศ์วรรธนะ แห่งวรรณะแพศย์ ได้กำจัดอำนาจราชวงศ์คุปตะแห่งวรรณะพราหมณ์ลงได้ และขึ้นครองราชเป็นมหาราชที่ยิ่งใหญ่ ทรงเลื่อมใสในพุทธศาสนามหายาน ได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และอุปถัมภ์บำรุงมหาวิทยาลัยนาลันทาด้วย จนทำให้ชาวฮินดูขัดเคืองว่าบำรุงพุทธศาสนามากกว่าฮินดู จึงวางแผนปลงพระชนม์พระเจ้าหรรษะจนสำเร็จ

ในยุคนี้ได้มีพระภิกษุชาวจีนท่านหนึ่งชื่อหลวงจีนเหี้ยนจังหรือยวนฉาง (พระถังซัมจั๋ง) ได้จาริกสู่ชมพูทวีป นอกจากท่านมาศึกษาพระพุทธศาสนาและแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาจีนเพื่อนำไปยังประเทศจีนแล้ว ท่านยังได้เขียนจดหมายเหตุไว้เพื่อบันทึกเรื่องราวและสภาพของสังคมด้านพุทธศาสนาไว้มากมาย ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาพระพุทธศาสนาในภายหลัง





หลังจากพระเจ้าศีลาทิตย์สวรรคตแล้ว อินเดียได้เข้าสู่ความระส่ำระสายเป็นเวลาประมาณ ๑ ศตวรรษ พระพุทธศาสนาได้เสื่อมถอยจากอินเดียตามลำดับ นับตั้งแต่หลังราชวงศ์วรรธนะ (พระเจ้าศีลาทิตย์ ) ด้วยสาเหตุมาจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอก คือ

    ๑) ปัจจัยภายใน ได้แก่ความอ่อนแอ ความแตกแยก ขาดความเป็นปึกแผ่นของคณะสงฆ์ ประกอบกับการรับเอาลัทธิตันตระของพราหมณ์มาปฏิบัติ เกิดเป็นนิกายใหม่เรียกว่านิกายพุทธตันตระ ซึ่งขัดกับหลักการเดิมของพุทธศาสนาอย่างรุนแรง

    ๒) ปัจจัยภายนอก ได้แก่ความระส่ำระสายของบ้านเมือง อันเนื่องมาจากการคุกคามจากชนชาติอื่น จนแตกแยกเป็นรัฐน้อยใหญ่ และการคุกคามจากศาสนาอื่น เช่น ศาสนาฮินดูและศาสนาอิสลาม

    ๓) ขาดผู้อุปถัมภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือกษัตริย์ผู้ปกครองบ้านเมือง เมื่อกษัตริย์ที่นับถือศาสนาอื่นแล้วไม่ทรงอุปถัมภ์พุทธศาสนาแล้ว ก็จะทำให้พุทธศาสนาไม่อาจมั่นคงถาวรได้


    เมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๗๐๐ สังคมอินเดียกำลังอยู่ในความอ่อนแอ กองทัพเตอร์กมุสลิมได้เข้ามารุกรานอินเดีย ทำลายล้างพุทธศาสนาที่มีอยู่ในอินเดียอย่างราบคาบ ได้ฆ่าพระสงฆ์ เผาคัมภีร์ ทำลายศาสนสถานเช่นวัดวาอาราม มหาวิทยาลัยนาลันทา เผาตำราทิ้งจนไม่มีเหลือ พระสงฆ์บางส่วนที่หนีทัน ได้ลี้ภัยไปอยู่ที่เนปาล และธิเบต พระพุทธศาสนาได้สูญสิ้นไปจากอินเดียตั้งแต่บัดนั้นมา





    ระยะกาลยาวนานกว่า ๑ พันปี ที่พุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองในอินเดีย และได้สูญสิ้นไปจากอินเดียโดยสิ้นเชิง ที่ยังเหลืออยู่ก็มีเพียงประชากรเพียงน้อยนิด ไม่ถึง ๑% ของประชากรทั้งหมดของอินเดีย และคนที่ยังนับถือพุทธศาสนาอยู่ในปัจจุบันนี้ ส่วนมากก็จะอยู่ในวรรณะต่ำ

    เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙ รัฐบาลอินเดียได้จัดงานฉลองพุทธยันตี ๒๕๐๐ ปีพระพุทธศาสนา รัฐบาลอินเดียได้ฟื้นฟูส่งเสริมพระพุทธศาสนาขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดยได้จัดตั้งสถาบันการศึกษาขึ้นที่นาลันทา ได้จัดให้มีการศึกษาพระพุทธศาสนาในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และปรับปรุงบำรุงสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา แต่ก็ยังจำกัดอยู่ในขอบเขต เพราะประชากรส่วนใหญ่ของอินเดียยังคงเป็นฮินดูอยู่

    ในปีเดียวกันนั้น ได้มีประชาชนวรรณะศูทรจำนวนนับล้านปฏิญาณตนนับถือพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ ที่เมืองนาคปุระ แคว้นบอมเบย์ โดยการนำของ ดร. เอมเบดการ์ อดีตกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมคนแรกของอินเดีย ซึ่งเป็นคนวรรณะศูทร ดร. เอมเบดการ์ ได้มีบทบาทต่อสังคมอินเดียอย่างมาก พยายามปฏิรูปสังคมอินเดียให้มีความเสมอภาพ เสรีภาพ ภราดรภาพ และสันติภาพ เพราะมองว่าความเชื่อทางศาสนาฮินดูเป็นความเชื่อที่ทำให้สังคมอินเดียขาดความเป็นปึกแผ่น เพราะการถือเรื่องชาติวรรณะของฮินดู

    ท่านได้รับอิทธิพลทางความคิดจากพุทธศาสนา ในการดำเนินการต่าง ๆ ทางสังคมได้ตั้งวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาพระพุทธศาสนาเพื่อสอนวิชาการต่าง ๆ มากมายหลายแห่ง เช่นสิทธารถวิทยาลัยทางนิติศาสตร์ เป็นต้น นับว่าเป็นความพยายามที่จะปฏิรูปสังคมอินเดียของ ดร. เอมเบดการ์ โดยใช้หลักธรรมทางพุทธศาสนา แต่ความพยายามในการเป็นผู้นำของท่านก็ไปได้ไม่เท่าไร ก็ต้องหยุดชะงักลง เพราะท่านได้ถึงแก่กรรมหลังจากการประกาศตนเป็นชาวพุทธได้ไม่นาน



ข้อมูลจากบทความ "ประวัติพุระพุทธศาสนาในอินเดีย"
ที่มา http://www.dhammathai.org/thailand/missionary/india.php
ขอบคุณภาพจาก http://dou.us/ , http://www.weekendhobby.com/ , http://statics.atcloud.com/ , http://static.cdn.thairath.co.th/ , http://www.oknation.net/
เอกสารอ้างอิง :-
๑. กรุณา เรืองอุไร กุศลาศัย. อินเดีย อนุทวีปที่น่าทึ่ง. กรุงเทพฯ: ศยาม. พิมพ์ครั้งที่ ๒, ๒๕๓๘
๒. ปิ่น มุทุกันต์, พ.อ. บทเรียนจากอินเดีย. กรุงเทพฯ: ป. พิศนาคะการพิมพ์. ๒๕๑๐.
๓. พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). พุทธศาสนากับสังคมไทย. กรุงเทพฯ มูลนิธิโกมลคีมทอง. พิมพ์ครั้งที่ ๒, ๒๕๓๒.
๔. พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) พระพุทธศาสนาในอาเซีย. กรุงเทพฯ. ธรรมสภา, ๒๕๔๐
๕. พระราชธรรมนิเทศ,(ระแบบ ฐิตญาโณ). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ. มหามกุฎราชวิทยาลัย, ๒๕๓๖.
๖. พระอุดรคณาธิการ (ชวินทร์ สระคำ). ประวัติศาสตร์พุทธศาสนาในอินเดีย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พิมพ์ครั้งที่ ๒, ๒๕๓๔. ๗. พอล, จันดาร์ ซาดีส. ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม ไทย- อินเดีย. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย. ๒๕๓๗.
๘. เสถียร โพธินันทะ. ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ฉบับมุขปาฐะ เล่ม ๑ กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย. ๒๕๓๕.
ที่มา : http://www.geocities.com/sakyaputto/mbuddhism1.htm
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 02, 2013, 11:51:37 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ทำไม ประเทศอินเดีย ไม่มีพระพุทธศาสนา เลย
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2013, 11:46:51 am »
0
ask1

ทำไม ประเทศอินเดีย ไม่มีพระพุทธศาสนา เลย พึ่งจะมีคนนับถือใน ยุคนี้ ไม่กี่ปี

  thk56


 ans1 ans1 ans1


หลังจากพระเจ้าศีลาทิตย์สวรรคตแล้ว อินเดียได้เข้าสู่ความระส่ำระสายเป็นเวลาประมาณ ๑ ศตวรรษ พระพุทธศาสนาได้เสื่อมถอยจากอินเดียตามลำดับ นับตั้งแต่หลังราชวงศ์วรรธนะ (พระเจ้าศีลาทิตย์ ) ด้วยสาเหตุมาจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอก คือ

    ๑) ปัจจัยภายใน ได้แก่ความอ่อนแอ ความแตกแยก ขาดความเป็นปึกแผ่นของคณะสงฆ์ ประกอบกับการรับเอาลัทธิตันตระของพราหมณ์มาปฏิบัติ เกิดเป็นนิกายใหม่เรียกว่านิกายพุทธตันตระ ซึ่งขัดกับหลักการเดิมของพุทธศาสนาอย่างรุนแรง

    ๒) ปัจจัยภายนอก ได้แก่ความระส่ำระสายของบ้านเมือง อันเนื่องมาจากการคุกคามจากชนชาติอื่น จนแตกแยกเป็นรัฐน้อยใหญ่ และการคุกคามจากศาสนาอื่น เช่น ศาสนาฮินดูและศาสนาอิสลาม

    ๓) ขาดผู้อุปถัมภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือกษัตริย์ผู้ปกครองบ้านเมือง เมื่อกษัตริย์ที่นับถือศาสนาอื่นแล้วไม่ทรงอุปถัมภ์พุทธศาสนาแล้ว ก็จะทำให้พุทธศาสนาไม่อาจมั่นคงถาวรได้


    เมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๗๐๐ สังคมอินเดียกำลังอยู่ในความอ่อนแอ กองทัพเตอร์กมุสลิมได้เข้ามารุกรานอินเดีย ทำลายล้างพุทธศาสนาที่มีอยู่ในอินเดียอย่างราบคาบ ได้ฆ่าพระสงฆ์ เผาคัมภีร์ ทำลายศาสนสถานเช่นวัดวาอาราม มหาวิทยาลัยนาลันทา เผาตำราทิ้งจนไม่มีเหลือ พระสงฆ์บางส่วนที่หนีทัน ได้ลี้ภัยไปอยู่ที่เนปาล และธิเบต พระพุทธศาสนาได้สูญสิ้นไปจากอินเดียตั้งแต่บัดนั้นมา


    :25: :25: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 02, 2013, 11:50:52 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

DANAPOL

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-1
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 332
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ทำไม ประเทศอินเดีย ไม่มีพระพุทธศาสนา เลย
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2013, 12:12:53 pm »
0
ชาวพุทธเราทั่วโลก พยายามไป อินเดีย ก็เพื่อที่ฟื้นฟู แต่ ที่อินเดียว ไม่มีทางฟื้นฟูได้ หาก พุทธเราไม่ให้ผลประโยชน์ กลับไป
 :49:
บันทึกการเข้า
รหัสธรรม ต้องใช้ปัญญาคือความรู้ ผู้ถือกุญแจคือใครหนอ...

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ทำไม ประเทศอินเดีย ไม่มีพระพุทธศาสนา เลย
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 05, 2013, 07:06:08 am »
0
ก็เพราะว่า พุทธศาสนา นั้นสอนให้ละ และ ฉลาด อยู่อย่างพอเพียง สวนทางศาสนาอื่น ๆ และ ไม่มีวรรณะ ซึ่งประเทศอินเดีย นั้น เรื่องที่ยังแก้ไม่ได้ ก็คือเรื่อง วรรณะ ปัจจุบัน ก็ยังมีการแบ่งวรรณะ เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง อิทธิพล มาจากศาสนา ฮินดู( พราหมณ์ ) ซึ่งพยายามรักษา อย่างเหนียวแน่น

  พุทธคยา ได้ทราบว่า ไม่ได้เป็นกรรมสิทธิ์ของ ชาวพุทธ แต่เป็นของพราหมณ์ นะคะ ปัจจุบัน อาศัยเช่าอยู่ ไหนเลยจะเป็นสถานที่ของชาวพุทธได้

 :welcome:
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ