ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พม่าเขย่าเท่าปรมาณู6ลูก  (อ่าน 5216 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
พม่าเขย่าเท่าปรมาณู6ลูก
« เมื่อ: มีนาคม 26, 2011, 07:26:56 am »
0

เกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมาอีกเกือบ 100 ครั้ง หลังเหตุแผ่นดินไหวขนาด 6.7 ริคเตอร์ในพม่า ซึ่งส่งผลกระทบต่อไทยรุนแรงที่สุดเท่าที่เคยมีมา แถมเป็นครั้งแรกที่ทำให้มีคนตาย  ระบุเกิดจาก “รอยเลื่อนน้ำมา” ไม่เกี่ยวธรณีพิโรธที่ญี่ปุ่น ความแรงเท่าปรมาณู 6 ลูก ส่งผลกระทบ 4 จังหวัดภาคเหนือ โดยเฉพาะเชียงรายหนักสุด โบราณสถานหลายแห่งเสียหาย กฟผ.ยันทุกเขื่อนในไทยไม่กระทบ-มั่นคงแข็งแรงดี ด้านนายกฯสั่งตรวจสอบ 13 รอยเลื่อนที่มีพลังในไทย มีสิทธิ์ทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.8 ริคเตอร์ กฟผ.ยันทุกเขื่อนในไทยยังมั่นคงแข็งแรงดี ขณะที่ชาวพม่าเปิดใจแผ่นดินไหวรุนแรงสุดในรอบ 40 ปี บ้านเมืองพังราบเป็นหน้ากลอง เดชะบุญคนไทยปลอดภัย ส่วนกรุงเทพฯก็สั่น โชคดีไม่มีอาคารเสียหาย แต่น่าห่วง 12 ตึกเสี่ยง เหตุอยู่ใกล้ชุมชน-ที่สาธารณะ

กรมอุตุฯแถลงแผ่นดินไหว
   
เมื่อวันที่ 25 มี.ค. ที่สำนักเฝ้าระวังแผนดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา นายต่อศักดิ์ วานิชขจร อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา แถลงข่าวกรณีเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศพม่า เมื่อเวลา 20.55 น.วันที่ 24 มี.ค.ที่ผ่านมาว่า มีศูนย์กลางอยู่บริเวณประเทศพม่า ที่ละติจูด 20.59 องศาเหนือ ลองจิจูด 99.84 องศาตะวันออก ความลึก 10 กิโลเมตร ขนาด 6.7 ริคเตอร์ ห่างจาก จ.เชียงราย ประมาณ 56 กิโลเมตร ห่างจาก อ.แม่จันทร์และ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ประมาณ 30 กิโลเมตร เบื้องต้นมีความเสียหายในหลายจังหวัดทางภาคเหนือ และบริเวณใกล้กับการเกิดแผ่นดินไหว นอกจากนี้ยังรู้สึกสั่นไหวในหลายจังหวัดทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และอาคารสูงหลายแห่งใน กทม.

อาฟเตอร์ช็อกเกือบ100ครั้ง
   
จากนั้นเมื่อเวลา 02.15 ของวันที่ 25 มี.ค. มีเหตุการณ์แผ่นดินไหวตามมา หรืออาฟเตอร์ช็อก (after-shock ) อีกอย่างต่อเนื่องกว่า 40 ครั้ง ขนาดตั้งแต่ 3.0-6.2 ริคเตอร์ และช่วงเวลา 07.00-10.00 น.จากการตรวจสอบพบว่ามีรอยเลื่อนขนาด 3.8 ริคเตอร์ ซึ่งมีความใกล้เคียงกับช่วงเวลาประมาณ 02.00 น.ที่ผ่านมา จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจึงมีการวิเคราะห์และประสานไปตามจังหวัดต่าง ๆ มีการแจ้งเตือนอพยพผู้คน และประกาศข่าวเพื่อให้ประชาชนอย่าได้ตกใจ โดยขอให้มั่นใจว่ากรมอุตุนิยมวิทยามีอุปกรณ์ เครื่องมือ และเครื่องวัดแผ่นดินไหวทั่วประเทศ ซึ่งเป็นเครื่องที่ทันสมัย มีการประสานงานกันตลอดเวลาทุกครั้งที่เกิดแผ่นดินไหว ไม่ว่าเล็กหรือขนาดใหญ่เครื่องวัดก็จะเตือนให้เจ้าหน้าที่ทราบ เพื่อจะวิเคราะห์สถานการณ์พร้อมประกาศเตือนต่อไป ทั้งนี้ ล่าสุด เมื่อเวลา 16.00 น. เกิดอาฟเตอร์ช็อกแล้วเกือบ 100 ครั้ง

ไหวบนบกไม่เกิดสึนามิ
   
นายต่อศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับการเกิดแผ่นดินไหวครั้งนี้ เป็นการเกิดแผ่นดินไหวบนบกจึงไม่เกิดสึนามิ ถ้าสึนามิจะเกิดขึ้นต้องมีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่เกิดขึ้นในทะเล โดยเฉพาะทางด้านอันดามันซึ่งอยู่ทางตะวันตก ถ้าเกิดสินามิขึ้นในฝั่งสุมาตราก็จะใช้เวลาการเตือนภัยประมาณ 1 ชั่วโมง ซึ่งประเทศไทยนั้นจะใช้เวลาเตือนภัยนานกว่าประเทศญี่ปุ่น การเกิดแผ่นดินไหวนั้นเป็นสิ่งที่คาดการณ์ไม่ได้ แต่หากเกิดแผ่นดินไหวขึ้นเราก็ควรมีการรับมือและหนีภัยที่ดีโดยเฉพาะผู้ที่ อาศัยอยู่ในอาคารสูงไม่ควรใช่ลิฟท์ และควรจะรีบออกจากอาคาร แต่ส่วนที่อยู่บนอาคารที่หนีไม่ทันควรหาที่ปลอดภัยกำบังตนเองจากสิ่งที่จะ ตกลงมาใส่ เช่นหลบใต้โต๊ะที่มีความแข็งแรง ทั้งนี้ หากเกิดแผ่นดินไหวขอให้ตั้งสติให้ดี อย่าตกใจเกินไป

อาฟเตอร์ช็อกอีก3สัปดาห์
   
ด่านนายบุรินทร์ เวชบันเทิง ผู้อำนวยการส่วนเฝ้าระวังและติดตามแผ่นดินไหวและสึนามิ สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา ให้สัมภาษณ์กับ “เดลินิวส์” ว่า หลังจากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศพม่า มี อาฟเตอร์ช็อกตามมาหลายครั้ง ขนาดตั้งแต่ 3.0–6.2 ริกเตอร์ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ที่ประมาณ 3 ริกเตอร์ ซึ่งความรู้สึกของมนุษย์จะไม่รับรู้ โดยความรู้สึกของมนุษย์จะรับรู้ว่าเกิดแผ่นดินไหวประมาณ 5 ริกเตอร์ ซึ่งขณะนี้เกิดขึ้นไปแล้วประมาณ 6 ครั้ง สำหรับอาฟเตอร์ช็อกคงต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง โดยยกตัวอย่างกรณีแผ่นดินไหวปี 2547 ขนาด 9.3 ริกเตอร์ ส่งผลให้เกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมาต่อเนื่องถึง 2-3 ปี ซึ่งถือว่าเป็นแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ แต่แผ่นดินไหวขนาด 6.7 ริกเตอร์ ถือเป็นแผ่นดินไหวขนาดกลางอาจทำให้เกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมาต่อเนื่อง 2-3 สัปดาห์

เหตุเกิดจากรอยเลื่อน“น้ำมา”
     
นางพรทิพย์ ปั่นเจริญ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี กล่าวถึงสาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวครั้งนี้ว่า เป็นผลมาจากการเลื่อนตัวของแนวรอยเลื่อนน้ำมา วางตัวในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ ระนาบเหลื่อมซ้าย มีความยาว 150 กม. อยู่ในสหภาพพม่ายาวต่อเนื่องเข้าไปในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) โดยวางตัวขนานกับกลุ่มรอยเลื่อนแม่จันในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ และ จ.เชียงรายของประเทศไทย การเกิดแผ่นดินไหวในครั้งนี้เกิดจากการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนน้ำมา ซึ่งเป็นแนวรอยเลื่อนอีกแนวหนึ่งของกลุ่มรอยเลื่อนน้ำมาที่เกิดแผ่นดินไหว ขนาด 6.3 ริกเตอร์ ใน สปป.ลาว เมื่อวันที่ 16 พ.ค.2550 และสร้างความเสียหายใน จ.เชียงรายหลายแห่ง

ไม่เกี่ยวเหตุธรณีพิโรธญี่ปุ่น
             
ส่วนนายอดิชาติ สุรินทร์คำ โฆษกกรมทรัพยากรธรณี กล่าวถึงผลกระทบและความเสียหายว่า แผ่น ดินไหวขนาด 6.7 ริกเตอร์ที่รอยเลื่อนน้ำมาครั้งนี้ นับว่าเป็นแผ่นดินไหวขนาดปานกลาง ซึ่งในพื้นที่นี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต โดยรอยเลื่อนน้ำมาเป็นรอยเลื่อนที่พาดผ่านทั้งพม่า และลาว และขนานกับรอยเลื่อนแม่จันในประเทศไทย ที่มีระยะห่างราว 70 กม.  ดังนั้นจึงจะไม่ส่งผลกระทบกับรอยเลื่อนในไทย เพราะเป็นรอยเลื่อนที่ขนานกัน ไม่สามารถวิ่งมาปะทะกันได้ ส่วนที่เป็นห่วงว่ารอยเลื่อนสะกายของพม่าที่วิ่งจากทางเหนือ และมาทางด้านตะวันตกคือรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี และลงทะเลอันดามันจะเกิดการสั่นไหวตามมาหรือไม่นั้น เนื่องจากรอยเลื่อนสะกายเป็นรอยเลื่อนที่อยู่บนรอยต่อของเปลือกโลก จึงไม่เกี่ยวข้องกัน นอกจากนี้ยังไม่มีความเชื่อมโยงกับการเกิดแผ่นดินไหวที่ประเทศญี่ปุ่นขนาด 9 ริกเตอร์ เมื่อวันที่ 11 มี.ค.ที่ผ่านมา เพราะเป็นคนละกลุ่ม ซึ่งที่ญี่ปุ่นมาจากแผ่นเปลือกโลกแปซิฟิกกับยูเรเชีย

ไทยมี13รอยเลื่อนที่มีพลัง
               
ขณะที่นายเลิศสิน รักษาสกุลวงศ์ ผอ.สำนักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรฯ กล่าวว่า สำหรับการสำรวจรอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทยมีทั้งหมด 13 รอยเลื่อน แต่ได้มีการศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มรอยเลื่อนแม่จันอย่างละเอียด พบว่ากลุ่มรอยเลื่อนแม่จันมีความยาว 150 กม. จำนวน 17 รอยเลื่อน สามารถก่อให้เกิดแผ่นดินไหวมาแล้วในอดีต ขนาดตั้งแต่ 5.8-6.8 ริคเตอร์ จากการขุดร่องสำรวจพบว่าในพื้นที่ จ.เชียงราย เคยเกิดแผ่นดินไหวมาแล้วในอดีต จำนวน 5 ครั้งๆ สุดท้ายเมื่อประมาณ 1,500 ปีที่ผ่านมา รอบของการเกิดประมาณ 1,000 ปี โดยเฉพาะบริเวณที่เรียกว่าเวียงหนองหล่ม ใน อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ทั้งนี้ ถึงแม้จะประเมินว่าคาบการเกิดไหวระดับนี้จะมีโอกาสเกิด 1 ครั้งในรอบ 1,000 ปี แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีโอกาสก่อน ซึ่งกรมทรัพยากรฯ ได้ติดตั้งเครื่องตรวจจับแผ่นดินไหวขนาดเล็ก เพื่อดูว่าจะมีการเคลื่อนตัวแบบเป็นระบบหรือไม่ เพราะถ้าเคลื่อนแบบเป็นระบบจะมีโอกาสไหวขนาดกลาง 5 ริคเตอร์ แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่พบข้อบ่งชี้ว่าจะเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กที่เป็นระบบ

ความแรงเท่าปรมาณู6ลูก
   
นายเลิศสิน กล่าวอีกว่า การเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทยมี 3 ลักษณะคือ แผ่นดินแบบมุดเข้าหากัน แยกจากกัน ละ ขนานกัน ล่าสุดที่เกิดขึ้นที่ประเทศพม่าและส่งผลกระทบต่อประเทศไทย คือแผ่นดินไหวที่เกิดแบบขนานกัน และถือว่าเป็นการเกิดแผ่นดินที่รุนแรงที่สุดที่รับรู้ได้ในช่วงชีวิตของเรา ที่ผ่านมาประเทศไทยเคยเกิดแผ่นดินไหว 303 ครั้ง ใน 303 ครั้งมีจุดศูนย์กลางที่ประเทศไทย 117 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 1 ครั้งที่ อ. พาน จ.เชียงราย  ซึ่งไม่ได้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวโดยตรง แต่เกิดจากความตกใจและวิ่งหกล้มจนหัวฟาดพื้น แต่ครั้งนี้มีผู้เสียชีวิตโดยตรงจากแผ่นดินไหวที่ทำให้กำแพงบ้านล้มทับที่ อ.แม่สาย จ .เชียงราย  1 ราย อย่างไรก็ตามแผ่นดินไหวครั้งนี้สามารถเทียบกับการระเบิดของระเบิดปรมาณู 6 ลูก หากเกิดแผ่นไหวถึง 7.5 ริกเตอร์ จะสามารถเทียบได้กับระเบิดปรมาณู 30 ลูก

ยอดพระธาตุเจดีย์หลวงหัก
   
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากเหตุแผ่นดินไหวในประเทศพม่าครั้งนี้ ได้ส่งผลกระทบมาถึงประเทศไทย โดยเฉพาะหลายจังหวัดในภาคเหนือ โดยเมื่อเวลา 09.00 น.วันเดียวกัน ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปตรวจสอบในพื้นที่ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ที่มีโบราณสถานหลายแห่งได้รับความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหว โดยที่วัดพระธาตุเจดีย์หลวง ตั้งอยู่ในเขตเทศบาล ต.เวียงเชียงแสน พบว่าส่วนปลายของยอดเจดีย์ที่เรียกว่า "ลูกหมาก" หรือ "บัวหมาก" ซึ่งเป็นส่วนที่ตั้งอยู่เหนือฐานระฆังคว่ำไปจนถึงส่วนยอดสุด ซึ่งเรียกว่า "ยอดปลี" ความยาวประมาณ 7 เมตร ได้หักโค่นลงมา และกระทบกับเจดีย์เล็กที่ตั้งอยู่ใกล้ฐานของพระธาตุเจดีย์หลวง ซึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งทิศตะวันออก จนทำได้แตกหักทั้งยอดเจดีย์และพระธาตุองค์เล็ก ขณะที่ตรงส่วนยอดที่เหลือของพระธาตุเจดีย์หลวงได้บิดงอไปทางทิศตะวันตก รวมทั้งมีร่องรอยแตกร้าวหลายแห่ง

รพ.ร้าว-แต่ไม่น่าวิตก
   
ทางด้าน นายแพทย์สุทัศน์ ศรีวิไล ผอ.โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ พร้อมด้วยนายประพนธ์ เอี่ยมสุนทร โยธาธิการและผังเมือง จ.เชียงราย ได้นำเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบอาคารสมเด็จย่า และอาคารเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นอาคารสำหรับเด็กทารก ได้มีการแตกร้าวหลายแห่งจนต้องอพยพผู้ป่วยลงไปนอนด้านล่าง จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่ารอยแตกร้าวเกิดจากจุดเชื่อมต่อของอาคาร 2 หลังที่แยกส่วนกัน และมีการนำปูนมาฉาบปิด เมื่อมีแรงสั่นสะเทือนจึงทำให้ปูนฉาบเกิดการหลุดร่อนโดยไม่เกี่ยวกับโครง สร้าง จึงไม่น่าวิตกแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามจะได้ให้เจ้าหน้าที่ทำการประเมินความเสียหายและดำเนินการซ่อม แซมต่อไป

3รร.ฝ้าถล่ม-อาคารร้าว

นายวิศิฎฐ์  ดุลยพัชร์ ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต1 กล่าวว่า มีสถานศึกษาได้รับความเสียหาย 3 แห่งคือ โรงเรียนเวียงเชียงรุ้งวิทยา บ้านห้วยเคียน อ.เวียงเชียงรุ้ง ฝ้าเพดานห้องเรียน 1 ห้อง ร่วงหล่นลงมาเสียหาย โรงเรียนบ้านผาลั้ง ต.ห้วยชมภู อ.เมือง ผนังอาคารเรียนแบบ สปช.105 และอาคารห้องสมุดมีรอยร้าวยาวประมาณ 3 เมตร และโรงเรียนบ้านน้ำตกพัฒนา อ.เมือง อาคารเรียนก็มีรอยร้าว ซึ่งขณะนี้กำลังประสานงานวิศวกรสำรวจความเสียหายว่า จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงแข็งแรงของอาคารหรือไม่ โดยขณะนี้ได้เร่งให้ผู้บริหารโรงเรียนทั้ง 3 แห่ง รายงานความเสียหาย เพื่อขออนุมัติงบประมาณซ่อมบำรุงต่อไป ซึ่งก็โชคดีที่ช่วงนี้เป็นช่วงปิดภาคเรียนจึงไม่มีเด็กมาโรงเรียน

แม่สาย-เขตไม่ปลอดภัย
   
นายสมชัย หทยะตันติ ผวจ.เชียงราย เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ประกาศพื้นที่ อ.แม่สายเป็นเขตไม่ปลอดภัย พร้อมกันนี้ ได้ให้ฝ่ายปกครองของ อ.แม่สาย จัดโรงทานเพื่อทำอาหารออกแจกจ่ายให้กับผู้ประสบภัยจากเหตุแผ่นดินไหว โดยเฉพาะชาวพม่าที่ได้รับความเดือดร้อนในครั้งนี้ และได้รับตู้รับเงินบริจาคไว้หน้าที่ทำการอำเภอด้วย มีกระแสข่าวว่าที่เมืองท่าเดื่อ มีผู้เสียชีวิตแล้ว 20 ศพ และที่เมืองเลน ประเทศพม่า พบศพอีก 30 รวม จำนวนกว่า 50 ศพแล้ว ขณะนี้ ได้ให้ความช่วยเหลือรับผู้ได้รับบาดเจ็บชาวพม่าเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลแม่ สายจำนวนหลายรายแล้ว และผู้ที่จะเดินทางจาก จ.ท่าขี้เหล็ก ไปเมืองเชียงตุง ตามถนนสาย R 3 B นั้น ไม่สามารถจะสัญจรไปมาได้ เนื่องจากมีสะพานหลายแห่งพังเสียหาย

มท.1รุดช่วยชาวแม่สาย
   
วันเดียวกัน นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.กระทรวงมหาดไทย พร้อมคณะ ได้เดินทางมายังที่ว่าการ อ.แม่สาย เพื่อตรวจเยี่ยมราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแผ่นดินไหวในครั้งนี้ พร้อมมอบเครื่องยังชีพช่วยเหลือราษฎร รวม 3 ตำบล ประกอบด้วย ต.แม่สาย ต.เวียงพางคำ และ ต.โป่งงาม รวม 150 ครัวเรือน ต่อมาคณะของนายชวรัตน์ได้เดินทางไปบนสะพานเขตพรมแดนระหว่างไทย-พม่า พร้อมมอบสิ่งของบรรเทาทุกข์ให้กับนายทหารพม่า เพื่อนำไปช่วยเหลือชาวพม่าที่ประสบภัยด้วยมนุษยธรรม พร้อมกำชับให้การรักษาชาวพม่าที่ได้รับบาดเจ็บ และข้ามพรมแดนมารักษาตัวที่โรงพยาบาลแม่สาย ซึ่งจ่อรอข้ามแดนมานับจำนวนกว่าร้อยคน

พม่าระบุรุนแรงสุดใน40ปี
   
นางนวล อายุ 40 ปี ชาวพม่าใน จ.ท่าขี้เหล็ก ประเทศพม่า แม่ของสามเณรเจ็ดเรียง อายุ 10 ปี สามเณรจากวัดเมืองเลน ที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุแผ่นดินไหวในพม่า และญาติได้นำตัวข้ามมารักษาที่โรงพยาบาลแม่สาย เล่าว่า แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นถือว่ารุนแรงและหนักที่สุดในรอบ 40 ปี ตั้งแต่เคยเจอมา แรงสั่นสะเทือนรุนแรงเหมือนถูกจับเขย่า ชาวบ้านต่างแตกตื่นวิ่งหนีเอาตัวรอดกัน สำหรับสภาพอาคารบ้านเรือนในเมืองเลน หลังเกิดแผ่นดินไหวพังถล่มลงมาทั้งหมด แทบไม่เหลือสภาพของเมือง ส่วนโรงพยาบาลในประเทศพม่าก็อยู่ไกลถึงเมืองเชียงตุงชาวบ้านที่พอมีเงินจึง เดินทางมารักษาที่โรงพยาบาลใน อ.แม่สาย แทน โดยขณะนี้ยังไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาช่วยเหลือ หรือค้นหาศพจากแผ่นดินไหว

แม่ฮ่องสอนไม่มีเสียหาย
             
ส่วนที่ จ.แม่ฮ่องสอน นายกำธร ถาวรสถิตย์ ผวจ. เปิดเผยว่า สำหรับในพื้นที่ จ.แม่ฮ่องสอน เกิดแรงสั่นสะเทือนนานประมาณ 40 วินาที จากนั้นในช่วงเวลา 21.45 นาที ซึ่งทิ้งระยะห่างกันประมาณ 50 นาที เกิดอัพเตอร์ช็อกตามมาอีก 1 ครั้ง แรงสั่นสะเทือนประมาณ 5.4 ริกเตอร์ ซึ่งภายหลังเกิดเหตุได้สั่งการให้นายอำเภอทุกอำเภอ ตรวจสอบและสำรวจความเสียหาย แล้วรายงานให้ทราบแล้ว เบื้องต้นไม่พบความเสียหายหรือมีผู้เสียชีวิตแต่อย่างใด แต่ได้สั่งการให้ทุกอำเภอเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

เผยเชื่อมโยงกับที่ญี่ปุ่น
   
นายอดิศร ฟุ้งขจร ผู้อำนวยการสถานีอุตุนิยมวิทยา จ.เชียงใหม่ ในฐานะรองโฆษกสาขาภาคเหนือ กรมอุตุนิยมวิทยา เปิดเผยว่า การเกิดแผ่นดินไหวในพม่าครั้งนี้เกิดขึ้นที่รอยเลื่อนฉาน ในเขตรัฐฉานของพม่า ซึ่งขนานกับรอยเลื่อนเชียงแสนประมาณ 50 กิโลเมตรไปทางเหนือ และเกี่ยวข้องกับการเกิดเหตุแผ่นดินไหวที่นิวซีแลนด์ เมืองเซนไดญี่ปุ่น เนื่องจากเป็นการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกใบเดียวกัน และมีความเชื่อมโยงเป็นพลวัตซึ่งกันและกัน อย่างกรณีที่เซนไดประเทศญี่ปุ่นนั้นแผ่นเปลือกโลกของแปซิฟิกมุดลงไปใต้ เปลือกโลกของญี่ปุ่น เหมือนวัวกระทิงที่พยายามขวิด ดันกันไปดันกันมาแล้วเปลือกแปซิฟิกก็ชนะญี่ปุ่น ส่งผลให้เปลือกโลกญี่ปุ่นขยับไป 2.4 เมตร จึงทำให้กระทบไปยังรอยเลื่อนอื่นๆ เพราะเป็นโลกใบเดียวกัน

จับตาแผ่นดินไหวเปลี่ยนทิศ
   
ส่วนการเกิดแผ่นดินไหวในพม่าในครั้งนี้  สิ่งที่น่าห่วงคือรอยเลื่อนจากพม่าได้วิ่งขนานมากับลอยเลื่อนไทย แล้วมาหักศอกตรงบริเวณด้านทิศเหนือที่ จ.แม่ฮ่องสอน ไปประมาณ 30 กิโลเมตร ซึ่งจะเกิดรอยตัดของเปลือกโลกบริเวณดังกล่าวซึ่งจะทำให้แผ่นดินไหวมีการ เปลี่ยนทิศ ตอนนี้บรรดานักวิชาการและอีกหลายหน่วยงาน กำลังจับตาว่าโอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหว หรือการสะสมพลังในรอยเลื่อนที่ไม่เคยเกิดอาจเกิดขึ้น คืออาจเกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่ใหม่ๆ ที่ไม่เคยเกิดแผ่นดินไหวมาก่อน เพราะผลจากการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศพม่าครั้งนี้

น่าน-อุโบสถ700ปีแตกร้าว
   
ที่ จ.น่าน รับความรู้สึกสั่นสะเทือนได้อย่างชัดเจน โดยผู้ที่พักในแฟลตที่พักของแพทย์ พยาบาล โรงพยาบาลน่าน ต่างวิ่งหนีออกจากแฟลตพักกันโกลาหล นอกจากนี้ประชาชนและนักท่องเที่ยวพากันแตกตื่น วิ่งออกมาจากอาคารสูง ขณะที่ นายทวีศักดิ์ สิงหราช รองนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองน่าน พร้อมด้วยนายธีระ คฤหนนท์ ผอ.กองช่างเทศบาลเมืองน่าน ได้ออกสำรวจโบราณสถานสำคัญ โดยพบว่าที่วัดภูมินทร์ อ.เมือง พระอุโบสถที่มีอายุกว่า 700 ปี ผนังตัวพระวิหารโดยรอบมีรอยแตกร้าวหลายจุด ส่งผลให้ภาพวาดจิตรกรรมบนผนังได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะส่วนสำคัญคือ ภาพปู่ม่าน ย่าม่าน ภาพกระซิบรักบันลือโลก ซึ่งอยู่ใกล้กับบริเวณกรอบประตูวิหาร ซึ่งขณะนี้กรมศิลปากรที่ 7 เร่งสำรวจโบราณสถานหลายแห่ง และเฝ้าระวังสถานการณ์แผ่นดินไหวอย่างใกล้ชิด

พระคู่เมืองล้านนาเสียหาย
       
ในส่วนของ จ.พะเยา ที่วัดศรีโคมคำ พระอารามหลวง (หรือวัดพระเจ้าตนหลวง) ต.เวียง อ.เมือง พระสุนทรกิตติคุณ รองเจ้าอาวาสวัดศรีโคมคำ ได้เดินสำรวจพระเจ้าตนหลวง พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองล้านนา อายุกว่า 500 ปี ที่ประดิษฐานในวิหารหลวง ปรากฏว่าพบรอยแตกร้าวบริเวณต้นแขนขวาขององค์พระเจ้าตนหลวง ความยาว 30 ซม. และที่บริเวณข้อศอก ยาว 80 ซม. กับที่ต้นขาขวา ยาว 20 ซม. นอกจากนี้พระพุทธรูปและรูปหล่อเกจิอาจารย์ มีร่องรอยขยับเขยื้อนอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งจะได้รายงานให้กรมศิลปากรมาดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซมต่อไป นอกจากนี้พระธาตุหลวง บ้านจำไก่ หมู่ 11 ต.สันโค้ง อ.ดอกคำใต้ และพระพุทธลีลา สูง 28 เมตร บนวัดอนลโยทิพยาราม ที่ประดิษฐานอยู่บอดยอดดอยบุษราคัม ก็ได้รับความเสียหายเช่นกัน

เผย5รอยเลื่อนที่มีพลัง
   
นายสมบูรณ์ โฆษิตานนท์ ผอ.สำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 1 ลำปาง เปิดเผยว่า หลังจากเกิดแผ่นดินไหว 6.7 ริคเตอร์ รวมถึงการเกิดอาฟเตอร์เชอร์อีกหลายครั้ง ทางสำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 1 ลำปาง ได้จัดเจ้าหน้าที่ออกสำรวจรอยเลื่อนที่มีพลังที่มีอยู่ในภาคเหนือ 5 กลุ่ม ว่ามีการเปลี่ยนแปลงและเคลื่อนหรือไม่อย่างไร สำหรับรอยเลื่อนที่มีพลังที่พาดผ่านภาคเหนือ ได้แก่ รอยเลื่อนแม่จัน คลอบคลุม จ.เชียงราย และเชียงใหม่ รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน คลอบคลุม จ.แม่ฮ่องสอน และตาก รอยเลื่อนแม่ทา คลอบคลุม จ.เชียงราย เชียงใหม่ และลำพูน รอยเลื่อนเถิน คลอบคลุม จ.ลำปาง และแพร่ รอยเลื่อนปัว ครอบคลุม จ.น่าน

หวั่นดินถล่มภาคเหนือ
   
สำหรับการเกิดแผ่นดินไหวล่าสุด คาดว่าจะทำให้รอยเลื่อนแม่จัน ซึ่งอยู่ใกล้ศูนย์กลางของการเกิดแผ่นดินไหวมากที่สุด เกิดการเปลี่ยนแปลงไป ทางสำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 1 ลำปาง ต้องมีการตรวจสอบ และต้องใช้ระยะเวลานาน เพราะเป็นรอยเลื่อนที่มีทางยาว ซึ่งการเกิดแผ่นดินไหวถือว่าอยู่ใกล้ประเทศไทยมาก และยังมีขนาดที่แรง สิ่งที่ตนเกิดความเป็นห่วงคือการเกิดดินถล่ม จึงกำชับไปยังแต่ละจังหวัดในเขตพื้นที่รับผิดชอบ 17 จังหวัดภาคเหนือ ให้ระมัดระวังพื้นที่เสี่ยงดินถล่ม เพราะการเกิดแผ่นดินไหวอาจจะทำให้พื้นผิวดินเกิดการขยับและไม่แน่น จึงเกิดดินถล่มตามมาในช่วงที่ฝนตกหนัก

แพร่ผวากลัวบ้านถล่ม
           
ผู้สื่อข่าวประจำ จ.แพร่ รายงานว่า หลังจากเกิดแผ่นดินไหวทางจังหวัดได้ออกตรวจสอบยังไม่พบความเสียหาย  ยกเว้นบ้านของนางคำผิน มั่งคั่ง อายุ 59 ปี เลขที่ 100 หมู่ 5 บ้านพระหลวง ต.พระหลวง อ.สูงเม่น ที่บริเวณดังกล่าวมีแผ่นดินยุบตัวอยู่ก่อนแล้วจนทำให้บ้านทั้งหลังแตกร้าว โดยนางผินกล่าวว่า รู้สึกเป็นห่วงบ้านเพราะอยู่ตรงรอยยุบตัวของแผ่นดินพอดี พอแผ่นดินไหวก็มาดูรอยที่เจ้าหน้าที่ธรณีวิทยาขีดเป็นเส้นตรงไว้ พบว่ามีดินยุบตัวลงเล็กน้อย บ้านนี้สร้างตั้งแต่ปี 42 ต้องจ้างช่างมายกบ้านถึง 2 ครั้ง เพราะแผ่นดิบยุบตัวจนบ้านเกือบพังมาแล้ว

ไม่กระทบทุกเขื่อนในไทย
             
นายวีรชัย ไชยสระแก้ว ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบำรุงรักษาโยธา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งมีหน้าที่ดูแลเรื่องความมั่นคงแข็งแรงของเขื่อนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทยทั่วประเทศ กล่าวว่า จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศพม่า ขนาด 6.7 ริกเตอร์ เมื่อวันที่ 24 มี.ค.ที่ผ่านมา ทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ทำการตรวจสอบข้อมูลจากเครื่องตรวจวัดแผ่นดินไหวที่ติดตั้งทุกเขื่อนแล้ว พบว่าไม่มีแรงกระทำมาถึงตัวเขื่อน เนื่องจากอยู่ไกลจากศูนย์กลางแผ่นดินไหว โดยศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ห่างจากเขื่อนศรีนครินทร์ประมาณ 725 กิโลเมตร ห่างจากเขื่อนภูมิพลประมาณ 428 กิโลเมตร และห่างจากเขื่อนสิริกิตติ์ประมาณ 352 กิโลเมตร จึงขอให้วางใจว่าทุกเขื่อนของ กฟผ.มีความมั่นคงปลอดภัย

กทม.ไม่มีอาคารเสียหาย
   
ขณะเดียวกัน นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ลงพื้นที่ห้างสรรพสินค้ามาบุญครอง ปทุมวัน และอาคารออลซีซั่น เพลส ถนนวิทยุ เพื่อตรวจสอบผลกระทบที่เกิดจากแผ่นดินไหวในประเทศพม่า หลังจากนั้นกล่าวว่า จากรายงานเบื้องต้น ยังไม่พบว่าอาคารในกทม.ได้รับความเสียหายจากเหตุดังกล่าว แต่ก็ต้องมีการเฝ้าระวังเพราะในกทม.มีอาคารที่สูงกว่า 15 เมตรขึ้นไปจำนวน 2,718 อาคารโดยอยู่ในฝั่งพระนคร 2,448 อาคาร ฝั่งธนบุรี 270 อาคาร และในจำนวนนี้มี 12 อาคาร ที่กทม.ต้องตรวจสอบเป็นพิเศษ

12อาคารต้องตรวจพิเศษ
   
ประกอบด้วย อาคารเสริมมิตรทาวเวอร์ตึก 30 ชั้น อาาคารชุดเฟิรสทาวเวอร์ตึก 22 ชั้น, ศูนย์การค้ามาบุญครอง ตึก 29 ชั้น,ตึกออลซีซั่นส์ พร็อพเพอร์ตี้ตึก 53 ชั้นจำนวน 1 หลัง,อาคารเอ็มไพร์ ทาวเวอร์ 58 ชั้น,อาคารชัยทาวเวอร์ตึก 30 ชั้น,อาคารเบญจจินดา 36 ชั้น,ตึกชินวัฒน์ 3 ตึก 32 ชั้น,อาคารไอทาวเวอร์ตึก 32 ชั้น,อาคารธนาคารทหารไทยตึก 34 ชั้น,อาคารซันทาวเวอร์ตึก 40 ชั้น 1 หลัง และ 34 ชั้น 1 หลัง เนื่องจากอาคารดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ใกล้ชุมชน ย่านธุรกิจ และที่สาธารณะ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าอาคารทั้ง 12 อาคารจะไม่มีความปลอดภัย

ตึกเก่าสร้างหลังปี50เสี่ยง
   
นอกจากนี้ทางกทม.ได้ทำหนังสือไปยังเจ้าของอาคารดังกล่าว เพื่อให้ดำเนินการตรวจสอบในด้านของความมั่นคงแข็งแรงของตัวอาคาร และวัสดุที่ใช้ว่าเป็นอันตรายต่อประชาชนหรือไม่ถ้าเกิดเหตุ โดยอาคารส่วนใหญ่ได้ทำการจดทะเบียนการก่อสร้างอาคารก่อนปี 2550 ซึ่งไม่ได้รองรับในเรื่องของเหตุแผ่นดินไหวเอาไว้ ส่วนที่อาคารที่มีการจดทะเบียนภายหลังปี 2550 ก็อยู่ในข่ายพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ปี 2550 ซึ่งระบุไว้ว่าจะต้องเป็นอาคารที่รองรับแรงสั่นสะเทือนได้ไม่ต่ำกว่า 5 ริคเตอร์ อย่างไรก็ตาม จะเร่งให้มีการแก้ไขพ.ร.บ.ดังกล่าวให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น สำหรับตึกร้างหรืออาคารร้างในพื้นที่กทม.นั้น บางพื้นที่ทางกทม.ก็ยังไม่สามารถเข้าไปดำเนินการปรับปรุงแก้ไขได้ ต้องประสานความร่วมมือไปยังสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ เพื่อช่วยประสานไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้มีการปรับปรุงแก้ไขต่อไป ทั้งนี้ ประชาชนที่อยากได้ข้อมูลเพิ่มเติม หรืออยากให้กทม.เข้าไปตรวจสอบอาคาร สามารถแจ้งผ่านสายด่วนกทม.1555

โบราณสถานเสียหายหนัก
   
นางโสมสุดา ลียะวนิช อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า จากการรายงานของสำนักศิลปากรที่ 8 จ.เชียงใหม่ ซึ่งเดินทางลงตรวจสอบความเสียหายในพื้นที่ จ.เชียงราย หลังได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว พบว่ามีโบราณสถานหลายแห่งใน อ.เชียงแสน ได้รับความเสียหาย ได้แก่ ที่วัดพระธาตุจอมกิตติ ฉัตรชำรุดและเอนออกจากองค์ ขณะนี้ทางสำนักศิลปากรที่ 8 สั่งดำเนินการซ่อมแซมทันที ขณะที่วัดพระธาตุเจดีย์หลวง พบปล้องไฉนขนาด 2 ใน 3 หักลงมาถูกเจดีย์บริวารแตก 1 องค์ ที่วัดพระธาตุภูเข้า พบมณฑปร้าวและผนังแยกออก และที่วัดป่าสัก พบยอดขนาดประมาณ 1 ศอกหักตกลงมา  ขณะเดียวกันยังได้รับรายงานผนังในวิหารวัดภูมินทร์ อ.เมือง จ.น่าน มีรอยร้าว และที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน พบผนังและเพดานมีแนวแตกแยก โดยเบื้องต้นได้สั่งการให้ให้ปิดโบราณสถาน จนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ

ทอท.ยันไม่กระทบสนามบิน
   
รายงานข่าวจากบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศพม่านั้น ไม่กระทบกับการให้บริการอากาศยานและผู้โดยสาร โดยท่าอากาศยานชียงใหม่ และท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ยังคงเปิดให้บริการได้ตามปกติ ซึ่งทอท. ได้มอบหมายให้ฝ่ายวิศวกรรมตรวจสอบโครงสร้างอาคารผู้โดยสาร ลานจอดอากาศยาน และทางขับ-ทางวิ่งทั้งหมดอย่างละเอียดอีกครั้ง เพื่อยืนยันในความปลอดภัยและสร้างความมั่นใจให้กับทุกฝ่าย

สพฉ.เผยตาย1เจ็บ16
   
นพ.ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) เปิดเผยว่า สำหรับจำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหวที่มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศ พม่า และส่งผลกระทบถึงประเทศไทย ได้รับรายงาน ณ เวลา 11.00 น. มีผู้เสียชีวิต 1 ราย คือ นางหงส์ คำปิง อายุ 55 ปี ชาว อ.แม่สาย และมีผู้บาดเจ็บ 16 ราย อยู่ที่ รพ.แม่สาย 10 ราย เป็นชาวไทย 3 ราย พม่า 7 ราย โดยมีการส่งต่อชาวพม่า 4 ราย ไปรักษาที่ รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ ส่วนที่ รพ.เชียงแสน มีผู้บาดเจ็บเข้ารักษาตัว 6 ราย เป็นคนไทย 1 ราย และชาวจีนที่มาจากฝั่งลาว 5 ราย โดยในจำนวนนี้ 3 รายถูกส่งต่อไปรักษาที่ รพ.ศรีบุรินทร์ ซึ่งเป็น รพ.เอกชน ทั้งนี้ ผู้ที่ส่งต่อส่วนใหญ่มีอาการบาดเจ็บที่กระดูก มี 1 รายบาดเจ็บที่ศีรษะ ส่วนผู้ป่วยที่ไม่ได้มีการส่งต่อนั้นมีอาการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยและได้กลับ บ้านแล้ว

นายกสั่งตรวจสอบรอยเลื่อน
               
ที่รัฐสภา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีแผ่นดินไหวในประเทศพม่า ขนาด 7 ริคเตอร์ ที่ส่งแรงสะเทือนมาภาคเหนือของไทยรวมถึงตึกสูงใน กทม.ว่า เรื่องนี้จะต้องนำไปสู่การปรับเปลี่ยนการเตือนภัยและให้ความรู้กับประชาชน รวมทั้งต้องประเมินความเปลี่ยนแปลงของภัยพิบัติ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปตรวจสอบรอยเลื่อนต่างๆ ในประเทศไทย นอกจากนั้นในอนาคตการก่อสร้างตึกสูงต่างๆ จะต้องคำนึงถึงเหตุแผ่นดินไหว ทั้งการป้องกันภัยและลดผลกระทบ แต่เบื้องต้นการปรับเปลี่ยนวิธีการก่อสร้างอาคารและข้อบังคับต่างๆ คงไม่จำเป็นต้องออกเป็นกฎหมาย แต่สามารถใช้การปรับกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องแทน

คนไทยในพม่าปลอดภัย
   
ที่กระทรวงการต่างประเทศ นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า ในพื้นที่ที่เกิดเหตุแผ่นดินไหวในฝั่งพม่านั้นไม่มีคนไทยอาศัยอยู่ เพราะส่วนใหญ่อยู่ที่เมืองย่างกุ้งและมัณฑะเลย์ ส่วนการส่งสารแสดงความเสียใจหรือการให้ความช่วยเหลือนั้น ทางกระทรวงฯกำลังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดว่ าในพม่ามีความเสียหายมากน้อยอย่างไร ทั้งนี้ สถานเอกอัคราชทูตไทย ณ เมืองย่างกุ้ง จะได้รายงานสถานการณ์เข้ามาเป็นระยะๆเพื่อดูความต้องการของพม่าในการส่งความ ช่วยเหลือต่อไป

เขย่าพม่าสังเวยกว่า74ศพ
     
ขณะที่สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากกรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่าว่า เจ้าหน้าที่รัฐบาลทหารพม่าคนหนึ่งเปิดเผยว่า แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวรุนแรงในประเทศพม่า ซึ่งรับรู้แรงสั่นสะเทือนได้ไปไกลถึงกรุงเทพฯแม้อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลาง เกือบ 800 กม.ก็ตาม รวมถึงในกรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม และ บางส่วนของประเทศจีน ระหว่างที่เกิดแผ่นดินไหวเมื่อค่ำวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ซึ่งสำนักงานสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐแจ้งว่าวัดระดับแรงสั่นสะเทือนได้ 6.8 ริคเตอร์นั้น มีรายงานผู้เสียชีวิต 74 ศพ ซึ่งอยู่ใกล้จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวและบ้านเรือนราษฎรพังเสียหาย 400 หลังคาเรือนใน 4 หมู่บ้าน นอกนั้นยังมีบาดเจ็บอีก 111 คน แต่ตัวเลขอาจจะสูงกว่านี้ เพราะยังมีบางพื้นที่ที่เข้าไปสำรวจไม่ถึง อาคารสถานที่ราชการได้รับความเสียหายอีก 9 แห่ง ในพื้นที่ของเมืองทาร์เลย์ นอกจากนั้นก็ยังมีวัดหลายแห่งที่ปรากฏให้เห็นรอยร้าว กำลังทหารและตำรวจของพม่า พยายามติดตามหาผู้ได้รับบาดเจ็บ แต่เข้าไปในพื้นที่ไม่ได้เนื่องจากถนนปิด

เผยทาร์เลย์-หม่องลินโดนหนัก
   
ที่กรุงย่างกุ้ง เมืองหลวงเก่าของพม่า นายคริส เฮนริก ผู้อำนวยการสำนักงานองค์กรการกุศล “เวิลด์ วิชั่น” กล่าวว่า ทีมงานของเวิลด์ วิชั่น ในพื้นที่ประสบภัยแจ้งว่า เมืองที่ได้รับความเสียหายมากที่สุด คือเมืองทาร์เลย์ กับ หม่อง ลิน  ทางการพยายามแจ้งตัวเลขรายงานความเสียหายและผู้เสียชีวิตบาดเจ็บอย่างต่อ เนื่อง  ทางเวิลด์วิชั่น ซึ่งรับอุปการะเลี้ยงดูเด็ก 7,000 คน โดยเงินบริจาคช่วยเหลือจากต่างชาติ มีความเป็นห่วงสภาพของเด็กๆแ
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
แผ่นดินไหวที่พม่า ยอดตายกว่า 50
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 26, 2011, 10:51:41 am »
0
    เจ้าหน้าที่ทางการพม่า เปิดเผยว่า มีผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวในพม่า ใกล้กับชายแดนไทยแล้วอย่างน้อย 50 คน โดยแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว สามารถรับความรู้สึกได้ไกลถึงกรุงเทพฯ ที่อยู่ห่างจากศูนย์กลางการเกิดเกือบ 800 กิโลเมตร เช่นเดียวกับกรุงฮานอยของเวียดนามและหลายพื้นที่ของจีน ก็รับความรู้สึกได้เช่นกัน ขณะที่สำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐ หรือ USGS วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 6.8 ริคเตอร์ ทั้งนี้ยอดผู้เสียชีวิต ได้เพิ่มเป็นกว่า 50 คน ในเมืองทาร์เลย์ และไมน์ ลิน อาคารกว่า 130 แห่ง พังถล่ม เนื่องจากแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว และอาจมีผู้บาดเจ็บล้มตาย และความเสียหายมากกว่านี้ แต่การเข้าถึงเต็มไปด้วยความยากลำบาก เพราะถนนทุกสายในพื้นที่ ปิดการจราจรเพราะได้รับความเสียหาย ทั้งนี้แผ่นดินไหวครั้งนี้ เกิดขึ้นเมื่อเวลา 13.55 น. ตามเวลามาตรฐาน หรือราว 20.55 น. ตามเวลาในไทย และมีศูนย์กลางการเกิดอยู่ห่างจากจังหวัดเชียงรายของไทยประมาณ 110 กิโลเมตรและลึกลงไปใต้พื้นดิน 10 กิโลเมตร
    ประชาชนที่ตื่นตระหนก พากันวิ่งหนีออกจากบ้านเตือน และตึกสูง มีการอพยพตามโรงพยาบาลและโรงเรียน นายคริส เฮอริงค์ ผู้อำนวยการขององค์กรการกุศล เวิร์ลด์ วิชั่น เพื่อพม่า ในย่างกุ้ง
    เปิด เผยว่า มีความเสียหายร้ายแรงต่อระบบสาธารณูปโภคในเชียงตุงและท่าขี้เหล็ก แต่มีร่องรอยการแตกร้าวของอาคาร น้ำประปาไม่ไหลในบางพื้นที่ แต่ที่น่าวิตก คือ พื้นที่ชนบทที่ห่างไกล ซึ่งเป็น
    พรมแดนภูเขาที่กั้นระหว่างไทยกับลาว ที่เรียกว่า สามเหลี่ยมทองคำ แต่การค้าขายบริเวณดังกล่าวยังคงดำเนินอยู่
    กรมอุตุนิยมของไทย รายงานว่า เกิดอาฟเตอร์ช็อคที่รุนแรงตามมา 6 ครั้ง ชาวจังหวัดเชียงรายพากันวิ่งหนีออกจากบ้าน พระธาตุสมัยเชียงแสน 4 องค์ ได้รับความเสียหาย รวมทั้ง เจดีย์หลวงที่ยอดพระธาตุหักลงมา ส่วนที่มณฑลยูนนาน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ก็รับความรู้สึกได้ถึงแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว แต่ไม่มีความเสียหายอื่น
    จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้ชาวเวียดนามในกรุงฮานอย ต้องหนีออกจากบ้านเรือน ตอนที่เกิดแผ่นดินไหว แต่ไม่มีรายงานความเสียหายหรือผู้ได้รับบาดเจ็บ

http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=501530&lang=T&cat=
บันทึกการเข้า

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
แผ่นดินไหว วัดเจดีย์หลวงยอดฉัตรหักโค่้น
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มีนาคม 26, 2011, 10:54:12 am »
0
เหตุแผ่นดินไหวในพม่าสร้างความเสียหายโบราณสถานและสถานที่ราชการหลายแห่ง

เหตุการณ์แผ่นดินไหวในพม่าใกล้ชายแดนไทยเมื่อคืนที่ผ่านมา มีรายงานเรื่องความเสียหายต่อโบราณสถานในจังหวัดภาคเหนือเสียหายหลายแห่ง เช่น วัดพระธาตุเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงราย ยอดฉัตรของ เจดีย์ได้หักลงมาหักโค่นตั้งแต่ส่วนปลายเหนือระฆังคว่ำลงมา โดยยอดของเจดีย์ตกลงมากระทบกับเจดีย์บริวารด้านหลังพระวิหาร จนทำให้เจดีย์เล็กเสียหายและยอดเจดีย์ที่ตกลงมาแตกละเอียด นอกจากนี้ส่วนระฆังคว่ำด้านบนยังบิดงออย่างเห็นได้ชัด และตรงส่วนระฆังโดยเฉพาะส่วนกลางแตกร้าวและมีการแตกของอิฐจนเป็นโพลงใหญ่

นอกจากนี้ยังมีที่ำได้รับความเสียคือ พระธาตุจอมกิตติ บริเวณยอดฉัตร หักงอ ประมาณ 30-40 องศาฯ แต่ยังไม่โค่นลงมา วัดพระธาตุภูเข้า ตัววิหารได้รับความเสียหาย และ พระโมฬี มีความเสียหายที่ยอดหักงอลงมา

รวมถึงวิหารโดยรอบพระอุโบสถวัดภูมินทร์ อายุเก่าแก่กว่า 700 ปี ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดน่าน พบผนังแตกร้าวหลายจุด เชิงชายหลุดร่วง ผงปูนที่ฉาบตัวอาคารกระจายเป็นฝุ่นฟุ้ง ภาพจิตรกรรมได้รับความเสียหายหลายจุด

อนึ่ง วัดพระธาตุเจดีย์หลวงตั้งอยู่ในเขตเทศบาล ต.เวียงเชียงแสน อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ซึ่งเป็นโบราณสถานที่พระเจ้าแสนภูพระราชนัดดาของพ่อขุนเม็งมหาราชทรงสร้าง เมื่อปี พ.ศ.1887 หรือประมาณ 667 ปีก่อน และเป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ฐานกว้าง 24 เมตร และสูงถึง 88 เมตร





http://news.sanook.com/1011116-%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A7-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%89%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B9%89%E0%B8%99.html?theme_id=2&owner_smi_id=0&host_site_id=81&page=0
บันทึกการเข้า

มะเดื่อ

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 181
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
แผ่นดินไหว...ภัยใกล้ตัว จับตา "13 รอยเลื่อน"อันตราย
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มีนาคม 26, 2011, 12:18:08 pm »
0
เหตุ "ธรณีพิโรธ" ใน "เฮติ" ที่กลืนชีวิตผู้คนไปนับหมื่น นับแสนรายเป็นสิ่งยืนยันได้อย่างดีว่า แม้สัตว์โลกที่ได้ชื่อว่า "มนุษย์" จะชาญฉลาดเพียงใด แต่ก็ไม่มีแม้สักครั้งเลยที่จะต่อ กรกับพลังของธรรมชาติได้
 
เหตุแผ่นดินไหวในประเทศเฮติ สร้างความตื่นตัวให้หลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ให้ต้องลุกขึ้นมาเตรียมรับมือกับภัยธรรมชาติรูปแบบนี้ และคงน่าสนในไม่น้อยหาก "สกู๊ปแนวหน้า" จะนำท่านผู้อ่านไปเรียนรู้ถึงสาเหตุ ตลอดจนวิธีรับมือกับ "แผ่นดินไหว"ที่อาจเกิดขึ้นได้ในทุกที่และทุกเวลา
 
"แผ่นดินไหว" ภัยใกล้ตัว
 
ข้อมูลจาก "กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)" ระบุว่า "แผ่นดินไหว" (Earth quake) นับเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ซึ่งไม่สามารถคาดการณ์ หรือพยากรณ์ระยะเวลาการเกิดสถานที่เกิด และระดับความแรงได้อย่างแม่นยำและแน่นอน
 
ต้นเหตุของแผ่นดินไหว เกิดจากการเคลื่อนตัวอย่างฉับพลันของเปลือกโลก โดยมักเกิดตรงบริเวณ "ขอบ" ของแผ่นเปลือกโลก การเคลื่อนตัวในลักษณะดังกล่าว เกิดขึ้นเนื่องจาก "ชั้นหินหลอมละลาย" ที่อยู่ภายใต้เปลือกโลก ได้รับพลังงานความร้อนจากแกนโลก และลอยตัวผลักดันเปลือกโลกตอนบนตลอดเวลา ส่งผลให้เปลือกโลกแต่ละชิ้น มีการเคลื่อนที่ในทิศทางต่างๆ กัน พร้อมกับสะสมพลังงานไว้ภายใน บริเวณ "ขอบ"แผ่นเปลือกโลกจึงเป็นส่วนที่ชนกัน เสียดสีกัน หรือแยกจากกัน
 
หากบริเวณ "ขอบ" ของชิ้นเปลือกโลกใดๆ ผ่าน หรืออยู่ใกล้กับประเทศใด ประเทศนั้นจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภัยแผ่นดินไหวสูง เช่น ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย นิวซีแลนด์
 
นอกจากนี้ พลังงานที่สะสมในเปลือกโลก ยังถูกส่งผ่านไปยัง บริเวณรอยร้าวของหินใต้พื้นโลก หรือที่เรียกว่า "รอยเลื่อน" เมื่อระนาบรอยร้าว ที่ประกบกันอยู่ได้รับแรงอัดมากๆ จะทำให้รอยเลื่อน มีการเคลื่อนตัวอย่างฉับพลัน เกิดเป็นแผ่นดินไหวได้เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม กิจกรรมบาง อย่างของมนุษย์ ก็ทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้เช่นกัน เช่น การทำเหมือง สร้างเขื่อน และขุดเจาะบ่อน้ำมัน
 
จากการบันทึกทางประวัติศาสตร์ พบว่า บนผืนแผ่นดินของเมืองไทย เคยเกิดแผ่นดินไหว
 
ครั้งใหญ่ ปานกลาง และ เล็ก หลายครั้ง มีบันทึกประวัติศาสตร์จารึกว่า ในปี พ.ศ.1558 เกิดแผ่น ดินไหวขนาดใหญ่เกิดขึ้นทำให้บริเวณ "โยนกนคร" ยุบจมลงเกิดเป็นหนองน้ำใหญ่ หรือในปี พ.ศ.2088 เกิดแผ่นดินไหวปานกลางที่นครเชียงใหม่ ส่งผลให้ยอดเจดีย์หลวง สูง 86 เมตร หักพังลงมาเหลือ 60 เมตร
 
ในปี พ.ศ. 2478 ที่ จ.น่าน เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.5 ริกเตอร์ ปี พ.ศ. 2518 เกิดแผ่นดิน ไหวขนาด 5.9 ริกเตอร์ ที่ อ. ท่าสองยาง จ.ตาก และในปี พ.ศ. 2537 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.1 ริกเตอร์ ที่ อ.พาน จ.เชียงราย ครั้งนั้นก่อให้เกิดความเสียหายมาก กับโรงพยาบาลอำเภอพาน รวมทั้งวัด และโรงเรียนต่าง ๆ
 
จับตา13รอยเลื่อนอันตราย
 
ข้อมูลจาก"กรมทรัพยากรธรณี"ระบุว่า "ประเทศไทยมีรอยเลื่อน 13 จุด" ที่ส่งผลให้เกิดแผ่นดินไหวได้ และยังมีรอยเลื่อนสะแกง ที่เป็นรอยเลื่อนขนาดใหญ่อยู่ทางฝั่งประเทศพม่า พาดผ่านทะเลอันดามัน ที่ห่างจากกรุงเทพฯ เพียง 400 กม. ที่ต้องจับตามอง แต่ไม่สามารถระบุได้ว่า แผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นเมื่อใดและที่ใด
 
สำหรับ 13 รอยเลื่อน ในประเทศไทยประกอบด้วย
 
1. "รอยเลื่อนแม่จันและแม่อิง" ครอบคลุม พื้นที่ จ.เชียงราย และเชียงใหม่
 
2. "รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน" ครอบคลุม จ.แม่ฮ่องสอน และตาก
 
3. "รอยเลื่อนเมย" ครอบคลุม จ.ตาก และกำแพงเพชร
 
4. "รอยเลื่อนแม่ทา" ครอบคลุม จ.เชียงใหม่ ลำพูน และเชียงราย
 
5. "รอยเลื่อนเถิน" ครอบคลุม จ.ลำปาง และแพร่
 
6. "รอยเลื่อนพะเยา" ครอบคลุม จ. ลำปาง เชียงราย และพะเยา
 
7. "รอยเลื่อนปัว" ครอบคลุม จ.น่าน
 
8. "รอยเลื่อนอุตรดิตถ์" ครอบคลุม จ.อุตรดิตถ์
 
9. "รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์" ครอบคลุม จ.กาญจนบุรี และราชบุรี
 
10. "รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์" ครอบคลุม จ.กาญจนบุรี และอุทัยธานี
 
11. "รอยเลื่อนท่าแขก" ครอบคลุม จ.หนองคาย และนครพนม
 
12. "รอยเลื่อนระนอง" ครอบคลุม จ.ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง และพังงา และ
 
13. "รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย" ครอบคลุม จ.สุราษฎร์ธานี กระบี่ และพังงา
 
สำรวจพื้นที่เสี่ยงธรณีพิโรธ
 
สำหรับประเทศไทย แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวส่วนใหญ่ จะตั้งอยู่ใกล้ๆ กับแนวในมหา สมุทรอินเดีย เกาะสุมาตรา และประเทศพม่า ส่วนแนวรอยเลื่อนต่างๆ ในประเทศ ส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคเหนือ และ ภาคตะวันตก และ จากการสำรวจพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวของไทย พบว่า มี 4 จังหวัดที่เสี่ยงภัยแผ่นดิน ไหวมากที่สุด ได้แก่...กาญจนบุรี ตาก แม่ฮ่องสอน และเชียงราย โดยมี ความเสี่ยงประมาณ 7 - 8 เมอร์คัลลี (Mercalli Intensity Scale คือ มาตราความรุนแรง ( Intensity) เพื่ออธิบายผลกระทบที่แตกต่างกันของแผ่นดินไหว) ซึ่งมีผลทำให้อาคารสูงเสียหายได้
 
ส่วนจังหวัดที่เสี่ยง รองลงมา ส่วนใหญ่ ตั้งอยู่ทางภาคเหนือ และภาคใต้ เช่น สุราษฎร์ธานี พังงา กระบี่ เชียงใหม่ ลำพูน พะเยา น่าน ลำปาง รวมทั้งกรุงเทพฯ ซึ่งมีความเสี่ยง ประมาณ 5 - 7 เมอร์คัลลี ซึ่งทำให้อาคารเสียหายเล็กน้อย ส่วนพื้นที่ซึ่งปลอดภัยมากที่สุด คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
 
สังเกตลางร้ายธรณีพิบัติ
 
ที่ผ่านมา หลายประเทศ มีความพยายามศึกษา ค้นคว้า ทำความเข้าใจถึงกลไกการเกิดแผ่น ดินไหว เพื่อการพยากรณ์ล่วงหน้า แต่ยังไม่ ประสบ ความสำเร็จ ทำให้ในปัจจุบัน ยังไม่สามารถพยากรณ์การเกิดแผ่นดินไหวได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ 100 เปอร์เซ็นต์ ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่ง ขนาด และช่วงเวลาการเกิด แต่ก็มักมีการสันนิษฐานกันว่า หากสัตว์มีพฤติกรรมที่ผิดปกติ ถือเป็นสัญญาณเตือนภัยแผ่นดินไหวล่วงหน้าได้ เช่น...แมลงสาบ สุนัข เป็ด ไก่ หมู หมี ตื่นตระหนกตกใจ หนู งู หนีตายออกมาจากรู หรือปลากระโดดขึ้นจากผิวน้ำ
 
นอกจากนี้ การเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กๆ ในบริเวณเดียวกันหลายสิบครั้ง หรือหลายร้อยครั้งในระยะเวลาอันสั้น อาจเป็นสิ่งบอกเหตุได้ว่าจะเกิดเหตุธรณีพิบัติตามมาได้ในไม่ช้า หรือในบางพื้นที่ ที่เคยเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในอดีต สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าว่าอาจเกิดแผ่นดิน ไหวขนาดเท่าเทียมกันในอนาคตได้ หากบริเวณนั้นว่างเว้นช่วงเวลาการเกิดแผ่นดินไหวเป็นระยะ เวลายาวนานหลายสิบปี หรือ หลายร้อยปี ยิ่งมีการสะสมพลังงานที่เปลือกโลกในระยะ เวลายาว นานเท่าใด การเคลื่อนตัวโดยฉับพลันเป็นแผ่นดินไหว ก็จะยิ่งรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น
 
เปิดตำรา"รับมือแผ่นดินไหว"
 
ทั้งนี้ในคู่มือ "รับมือแผ่นดินไหว" ที่จัดทำโดย กรุงเทพมหานคร ได้แนะนำวิธีเตรียมรับมือแผ่นดินไหว เช่น ต้องเตรียมไฟฉาย นกหวีด กระเป๋ายาประจำบ้าน น้ำดื่ม อาหารสำเร็จรูป เครื่องนอนสนาม พร้อมเสื้อผ้า 2-3 ชุด ไว้ในบ้านในจุดที่หยิบฉวยได้ง่าย เพื่อเตรียมพร้อมยามฉุกเฉิน อย่าวางสิ่ง ของที่แตกหักง่าย เช่น เครื่องแก้ว สิ่งของหนัก ๆ บนหิ้งหรือชั้นสูง ๆ ควรวางไว้ชั้นต่ำสุด ตรึงเฟอร์นิเจอร์ขนาดใหญ่ติดโครงสร้างอาคาร ติดเครื่องดับเพลิงไว้ประจำจุดเสี่ยง ซักซ้อมสมาชิกในครอบครัวเพื่อกำหนดวิธีปฏิบัติเมื่อเกิดแผ่นดินไหว และจุดนัดพบที่ปลอดภัยนอกบ้าน
 
อยู่ห่างจากบริเวณที่อาจมีวัสดุหล่นใส่ หลบลงใต้โต๊ะหรือมุมห้อง ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้งให้อยู่ห่างจากป้ายโฆษณา เสาไฟ อาคาร และต้นไม้ใหญ่ ระวังเศษอิฐ กระจกแตก และชิ้นส่วนอาคารหล่นใส่
 
สำหรับผู้อยู่ตึกสูง ถ้าอาคารมั่นคงแข็งแรงให้หลบในอาคารนั้น ถ้าอาคารเก่าไม่มั่นคงแข็งแรงให้หลบออกจากอาคารเร็วที่สุด หลังการสั่นสะเทือนให้รีบออกจากอาคาร ถ้าไม่อยู่ใกล้ทางออกให้หมอบลงกับพื้น หาทางหลบใต้โต๊ะหรือมุมห้อง ป้องกันตนเองโดยใช้แขนปกป้องศีรษะและคอ ยึดเกาะโต๊ะให้แน่นและเคลื่อนตัวไปพร้อมโต๊ะ รอจนความสั่นไหวหยุดลง หรือปลอดภัยแล้วจึงไปหาที่ปลอดภัย ห้ามใช้ ลิฟต์เด็ดขาด หลังเกิดแผ่นดินไหว รีบออกจากอาคารที่เสียหาย ตรวจสายไฟ ท่อน้ำ ท่อแก๊ส ถ้าแก๊สรั่ว ให้ปิดวาล์วถังแก๊ส เปิดประตูทุกบานระบาย ยกสะพานไฟ อย่าจุดไม้ขีดไฟหรือก่อไฟออกจากที่สาย ไฟขาด หรือสายไฟพาดถึง อย่าเป็นไทยมุงเข้าไปในเขตที่เสียหาย หรือปรักหักพัง ฯ
 
ภัยธรรมชาติ เป็นสิ่งที่มนุษย์ตัวเล็กๆ มิอาจเอาชนะ...สิ่งที่พึ่งกระทำคือการเฝ้าระวังและเตรียมตัวให้พร้อมที่สุด ก่อนที่พิบัติภัยจะมาถึงตัว

http://www.kingdomplaza.com/scoop/newsforprint.php?nid=4023
บันทึกการเข้า

pamai

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 139
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0



กรุงเทพฯ 25 มี.ค. – กทม.เผยมีอาคารสูงในพื้นที่อาจได้รับผลกระทบหากเกิดแผ่นดินไหวกว่า 2,700 แห่ง และมีตึกที่ต้องเฝ้าระวังพิเศษ 12 แห่ง เร่งให้เจ้าของตรวจสอบความแข็งแรงของอาคาร หากยังไม่แน่ใจสามารถแจ้งให้ กทม.ส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจเพิ่มเติมได้
แผ่นดินไหว
นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่จากสำนักการโยธา ลงพื้นที่ตรวจอาคารสูงเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับเหตุแผ่นดินไหวที่ อาคารออล ซีซั่น ถนนวิทยุ พร้อมกล่าวว่า ปัจจุบันในพื้นที่ กทม.มีตึกอาคารทั้งขนาดเล็กใหญ่รวมกันกว่า 2 ล้านตึก แต่หลังจากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศพม่าและแรงสั่นสะเทือนมาถึง พื้นที่ กทม.โดยเฉพาะตึกสูงขนาดใหญ่ จะได้รับผลกระทบ ซึ่งตึกใหญ่ที่มีพื้นที่เกิน 10,000 ตารางเมตร ใน กทม.ที่อาจได้รับผลกระทบมีกว่า 2,700 แห่ง แต่อาคารขนาดใหญ่ที่ กทม.ต้องเฝ้าดูแลเป็นพิเศษมีอยู่ด้วยกัน 12 แห่ง เนื่องจากเป็นอาคารที่ใกล้กับชุมชน และมีคนอาศัย และทำงานเป็นจำนวนมาก ได้แก่ 1 อาคารเสริมมิตรทาวเวอร์ 30 ชั้น สุขุมวิท 21 ,2.อาคารเฟิรสทาวเวอร์ 22 ชั้น ซอยสุขุมวิท 1 ,3.ศูนย์การค้ามาบุญครอง 29 ชั้น เขตปทุมวัน ,4.อาคารออลซีซั่น 53 ชั้น เขตปทุมวัน

5.อาคารเอ็มไพร์ ทาวเวอร์ อาคารโครงเหล็ก 58 ชั้น เขตสาทร ,6. อาคารชัยทาวเวอร์ 30 ชั้น เขตจตุจักร ,7.อาคารเบญจินดา 36 ชั้น เขตจตุจักร, 8.อาคารชินวัตร 3 สูง 32 ชั้น เขตจตุจักร, 9.อาคารไอทาวเวอร์ 32 ชั้น เขตจตุจักร, 10.อาคารธนาคารทหารไทย 34 ชั้น เขตจตุจักร, 11.อาคารซันทาวเวอร์ เอ 40 ชั้น เขตจตุจักร, และ12.อาคารซันทาวเวอร์ บี 34 ชั้น เขตจตุจักร

นายพรเทพ กล่าวว่า ได้แจ้งไปยังเจ้าของอาคารใหญ่ทั้งหมดกว่า 2,700 แห่ง ให้มีการตรวจสอบความแข็งแรงของอาคาร รวมถึงมาตรการดูแลความปลอดภัยขณะเกิดเหตุ แต่หากไม่แน่ใจสามารถโทรแจ้งมายังสายด่วน กทม. 1555 เพื่อที่ กทม.จะส่งเจ้าหน้าที่จากกองควบคุมอาคารเข้าไปตรวจสอบเพิ่มเติมให้ รวมทั้งจะได้ขอความร่วมมือไปยังสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) เพื่อให้ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาปรับปรุง แก้ไขอาคารต่อไป พร้อมกันนี้เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชนที่ใช้อาคารขนาดใหญ่ ขอให้เจ้าของอาคารติดป้ายบริเวณอาคารว่าอาคารของตนเองได้ผ่านการตรวจสอบ และมีความมั่นคงแข็งแรงสามารถรองรับหากเกิดแรงสั่นสะเทือนได้.
ที่มา-สำนักข่าวไทย

รูปภาพประกอบจาก board.postjung.com

http://www.xn--12c1bij4d1a0fza6gi5c.com/%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1-%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2-2700-%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87.html
บันทึกการเข้า

ลูกคิด

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 117
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พม่าเขย่าเท่าปรมาณู6ลูก
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มีนาคม 29, 2011, 10:28:12 am »
0
ตอนนี้ยังแผ่นดินไหวอยู่เลยครับที่ ลำปาง เชียงราย เชียงใหม่

น่ากลัวครับเดินตัวโคลงเลยครับ เหมือนคนฉุดแขนเลยครับ
 :41:

บันทึกการเข้า

ปอง

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 119
  • จิตที่ฝึกดีแ้ล้ว ย่อมนำสุขมาให้
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พม่าเขย่าเท่าปรมาณู6ลูก
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: มีนาคม 29, 2011, 10:31:29 am »
0
อย่าวิตกกังวลเรื่องบางเรื่อง ก็ไม่ควรวิตกกังวล ผู้ภาวนาย่อมทรงอารมณ์เฉพาะหน้าไว้นะจ๊ะ

 :88:
บันทึกการเข้า