สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน => ข้อความที่เริ่มโดย: vijitchai ที่ พฤศจิกายน 02, 2012, 12:59:14 pm



หัวข้อ: รู้สึกเงียบเหงา หดหู่ ครับ ผ่านมา 4 ปีแล้ว ควรทำอย่างไรดีครับ
เริ่มหัวข้อโดย: vijitchai ที่ พฤศจิกายน 02, 2012, 12:59:14 pm
รู้สึกเงียบเหงา หดหู่ ครับ ผ่านมา 4 ปีแล้ว ควรทำอย่างไรดีครับ
  ตั้งแต่ผมได้หย่าร้างกับ ภรรยา กันมา 4 ปีนี้แล้ว

  เวลาทำอะไร ในการประคับประคองชีวิต มันรู้สึกเหงา ๆ ครับ อารมณ์อย่างนี้เป็นกิเลส อันนี้พอทราบอยู่ครับ แต่คงจะไม่รู้ลึก เพราะเวลาเช่นนี้มักจะทำให้อารมณ์หดหู่ ถ้าเป็นเมื่อก่อน ก็ต้องอาศัย น้ำเมาเป็นเครื่องปลอบใจและหลับไป แต่วันนี้ไม่ได้ทำอย่างนั้น ก็เลยต้องนั่งเฝ้ามอง มันด้วยความรู้สึก ว้าเหว่า เดียวดาย เงียบเหงา และก็เจ็บ กลวงที่กลางหน้าอก อยู่อย่างนี้ ตลอด บางครั้ง พาลให้กินไม่ได้ นอนไม่หลับ ต้องพยายาม พุทโธ ๆๆ อยู่ สู้กันอย่างนี้

  ใครมีวิธีการที่ดี ๆ ช่วยแนะนำกันบ้างนะครับ

   :c017:


หัวข้อ: Re: รู้สึกเงียบเหงา หดหู่ ครับ ผ่านมา 4 ปีแล้ว ควรทำอย่างไรดีครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ธรรมะ ปุจฉา ที่ พฤศจิกายน 02, 2012, 02:30:09 pm
แนะนำให้ติดตามฟัง  เรื่องปาฏิหาริย์แห่งลมหายใจ ทาง RDN มัชฌิมา RADIO ONLINE  เวลาประมาณ  ตั้งแต่  09.00 น.  เป็นต้นไป  ก็เป็นกำลังใจให้นะ  สู้ๆ


หัวข้อ: Re: รู้สึกเงียบเหงา หดหู่ ครับ ผ่านมา 4 ปีแล้ว ควรทำอย่างไรดีครับ
เริ่มหัวข้อโดย: tasawang ที่ พฤศจิกายน 02, 2012, 03:04:07 pm
แนะนำให้ติดตามฟัง  เรื่องปาฏิหาริย์แห่งลมหายใจ ทาง RDN มัชฌิมา RADIO ONLINE  เวลาประมาณ  ตั้งแต่  09.00 น.  เป็นต้นไป  ก็เป็นกำลังใจให้นะ  สู้ๆ

ชอบเสียงบรรยาย เรื่อง ปาฏิหาริย์แห่งลมหายใจ โดยพระอาจารย์
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=8961.0 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=8961.0)

ฟังดีนะครับ ผมได้ฟังอยู่วันหนึ่ง ที่พระอาจารย์ท่านได้แสดงธรรม ปฏิบัติภาวนาง่าย ๆ เบื้องต้นแต่ผมว่าใช้ได้ดีเลยนะครับ

  :s_hi: :49:


หัวข้อ: Re: รู้สึกเงียบเหงา หดหู่ ครับ ผ่านมา 4 ปีแล้ว ควรทำอย่างไรดีครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Admax ที่ พฤศจิกายน 02, 2012, 06:55:14 pm
๑. ทุกข์
ทุกข์นั้น ฟังๆดูแล้วก็คงไม่มีใครอยากประสบพบเจอ เพราะคนธรรมดาอย่างเราๆทุกคนนั้นย่อมอยากจะได้รับผลคือความสุขกาย สบายใจ สมหวัง ทั้งหลายทั้งปวง
ทุกนั้นว่าโดยความเข้าใจที่สามารถเห็นและรู้สึกได้ของเราทั้งหลายนั้นมีดังนี้
๑.๑ ความโศรกเศร้า ร่ำไร รำพัน ความอึดอัด อัดอั้น คับแค้น กาย-ใจ ความไม่สบายกาย-ใจทั้งหลายนี้เป็นทุกข์
๑.๒ ทุกข์เพราะไม่สมดังความปารถนาตั้งใจ ใคร่ได้ ต้องการ
๑.๓ ทุกข์เพราะความพรัดพรากจากสิ่งอันเป็นรักที่พอใจยินดี สิ่งอันเป็นที่จำเริญใจทั้งหลาย
๑.๓ ทุกข์เพราะความประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจทั้งหลาย
๑.๔ แม้สมหวังดังปารถนายินดี ใคร่ได้นั้นแล้ว มีความพอใจในสุข-สมหวังที่ได้รับ เมื่อความสุข-สมหวังนั้นๆตั้งอยู่ แต่ใจเราก็จะเป็นทุกข์กังวลใจเพราะ “กลัว” ที่จะเกิดความพรัดพราก ความประสบกับสิ่งที่ไม่รัก ไม่พอใจ ไม่ต้องการ ไม่อยากให้เป็น ให้ถึงวันนั้น ด้วยความกลัวจนเกิดทุกข์ใจอย่างหนัก

๒. สาเหตุ และ ตัวแปรหรือความแปรผันให้ความดำเนินไปของทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง (สมุทัย และ ปัจจัย)
สาเหตุและปัจจัยของทุกข์นั้นลำดับปัจจัยด้วยความเป็นเหตุเป็นผลที่พอจะอธิบายให้เข้าใจได้ดังนี้
๒.๑ เหตุทั้งหลายทั้งปวงเกิดมาจากความพอใจยินดีในสิ่งนั้นๆ เช่น พอใจยินดีในรูป รส กลิ่น เสียง การกระทบสัมผัส พอใจยินดีในการกระทำนั้นๆ รูปนั้นๆ เสียงนั้นๆ รสนั้นๆ กลิ่นนั้นๆ การได้รับความรู้สึกจากการกระทบสัมผัสนั้นๆ จากบุคคล หรือ สิ่งของต่างๆ เป็นต้น ความพอใจยินดีทั้งหลายเหล่านี้เรียกกันว่าตัณหา มีอยู่ 3 อย่างหลักๆที่เป็นข้อสำคัญคือ
   ๒.๑.๑ ภวตัณหา ความอยากมี อยากเป็น อยากพบ อยากเจอ อยากเห็น อยากได้ ดิ้นรนต้องการ พอใจ ยินดี ใคร่ได้ รวมไปถึงอยากได้ อยากเป็น อยากมี อย่างคนโน้น-คนนี้(ความอิจฉา) เช่น อยากให้คนรัก อยากให้คนชื่นชม อยากรวย เป็นต้น
   ๒.๑.๒ วิภวะตัณหา ความอยากที่จะไม่ให้ตนเองได้พานพบเจอกับสิ่งที่ตนไม่ชอบ ไม่ต้องการ ไม่ใคร่ได้ ไม่ยินดี ดิ้นรนอยากจะผลักหนีให้ไกลตน เช่น ไม่อยากพรัดพราก ไมอยากผิดหวัง ไม่อยากให้คนด่า ความไม่อยากมี ไม่อยากได้  เป็นต้น
   ๒.๑.๓ กามตัณหา ความพอใจยินดี ดิ้นรนอยากได้อารมณ์ที่น่าใคร่ปารถนา ความกำหนัดใคร่ได้ ทะยานอยากในกาม
๒.๒ เมื่อเรามีความพอใจยินดีทั้งหลายเกิดขึ้นแก่ใจเรานั้น เราก็ย่อมเกิดความสำคัญมั่นหมายเอาไว้ในใจ ว่าสิ่งนี้แหละที่เราชอบ ที่อยากได้ ที่ต้องการปารถนา
๒.๓ เมื่อมีความสำคัญมั่นหมายไว้ในใจก็ก่อเกิดเป็นความตรึกถึง นึกถึง ตรองถึง คำนึงถึง ก่อเกิดประกอบกับความปารถนาพอใจ ยินดีใคร่ได้ กำหนัด ทะยานอยาก ต้องการ ความหลง ฟุ้ง ไม่รู้จักหยุด ไม่รู้จักพอ ไม่รู้ประมาณตน ความไม่ชอบ ไม่พอใจยินดี  ความไม่อยากได้ ต้องการอยากจะผลักหนีให้ไกลตน ตามความสำคัญมั่นหมายนั้นๆของใจเรา ยิ่งพอใจมาก ก็ยิ่งสำคัญมั่นหมายในใจมาก ก็ยิ่งตรึกนึกถึงมาก ต้องการมาก ก็คือ รัก โลภ โกรธ หลง นั่นเอง
๒.๔ เมื่อเราไม่ได้ตามที่หวังปารถนา ใคร่ได้ ตามที่พอใจยินดี ไม่ประสบพบเจอดั่งที่หวังตั้งใจ พอใจ ยินดี ก้อเกิดตัวแปรที่เป็นปัจจัยให้ก่อเกิดไปเป็นผลแห่งทุกข์ดังนี้คือ
   ๒.๔.๑ ความไม่สมดังปารถนาตั้งใจ ใคร่ได้ ต้องการ
   ๒.๔.๒ ความพรัดพรากจากสิ่งอันเป็นรักที่พอใจยินดี สิ่งอันเป็นที่จำเริญใจทั้งหลาย
   ๒.๔.๓ ความประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจทั้งหลาย
สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความทุกข์ คือ ความโศรกเศร้า ร่ำไร รำพัน ความอึดอัด อัดอั้น คับแค้น กาย-ใจ ความไม่สบายกาย-ใจทั้งหลายนี้เป็นทุกข์ เช่น
-  เราพอใจยินดีที่จะให้คนอื่นพูดเพราะๆกับเรา แต่เมื่อเจอเขาพูดคำหยาบ พูดไม่เพราะดั่งใจ ก็ก่อเกิดเป็นความโกรธ ไม่พอใจยินดี เป็นการประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจแก่เรา ผล คือ ทุกข์
- เราพอใจยินดีกับคนที่เป็นคู่รักของเรา ไม่ว่าจะเป็นหน้าตารูปร่าง ท่าทาง นิสัยใจคอ กลิ่น เสียง การสัมผัส เมื่อเขาทิ้งเราไป ไม่ว่าด้วยความตาย หรือจากลาไปหาคนอื่น ก็ก่อเกิดเป็นความพรัดพรากแก่เรา ผล คือ ทุกข์
- เราพอใจยินดีหวังปารถนาอยากจะได้บ้าน รถ เงิน ทอง เพื่อน อยากให้คนยอมรับเรา อยากอยู่จุดสูงสุด อยากอยู่สุขสบาย แต่เมื่อไม่เป็นไปตามที่หวังปารถนาไว้ ก็ก่อเกิดเป็นการประสบกับความไม่เป็นไป-ไม่สมดั่งหวังปารถนาพอใจ ยินดีใคร่ได้แก่เรา ผล คือ ทุกข์
 ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า คนเราจะเกิดความทุกข์ ความเสียใจ ทรมานกาย-ใจ อึดอัด คับแค้นกาย-ใจ ฯ ได้นั้นสาเหตุก็เพราะใจเรามีความพอใจยินดีตั้งมั่นไว้ในใจ จนสำคัญมั่นหมายสิ่งต่างๆนั้นไว้ในใจ ไม่ว่าจะโกรธตะโกนโวยวาย ด่า ที่ทำก็เพราะพอใจอยากจะโกรธ จะด่าโวยวาย / รักก็เพราะพอใจอยากจะรัก / กำหนัดในกามก็เพราะติดพอใจในกาม

วิธีพิจารณาหาเหตุและปัจจัยของทุกข์เบื้องต้น ดูได้ตาม Link นี้ครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7457.0 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7457.0)

- หากคุณเข้าใจในสัจธรรมนี้ได้ความขุ่นมัวใจ ความละเหี่ยใจจะลดลงหรือหายไป

- ผมมีวงจรให้คุณพิจารณาเล็กๆน้อยๆลองดูนะครับ

ความพอใจยินดี & ความไม่พอใจยินดี --> ความสำคัญมั่นหมายของใจ(สัญญา) --> ตรึกถึง นึกถึง ตรองถึง คำนึงถึง --> รัก โลภ โกรธ หลง --> ตัณหา --> อุปาทาน

- เรื่องของคุณนี้มันติดที่ว่า คุณพอใจยินดีที่จะอยู่กับคนที่รัก ซึ่งมันเป็นธรรมดาของคนอย่างเราๆ ยินดีที่จะมีคนเคียงข้าง พูดคุยด้วย กินข้าวด้วยกัน นอนข้างๆกัน ให้ความรัก ให้ความเอาใจใส่ คอยอยู่ข้างๆกัน
- เมื่อคุณมีความพอใจยินดีเช่นนี้แล้ว ก็เกิดความสำคัญมั่นหมายเอาไว้ในใจ
- เมื่อให้ความสำคัญมั่นหมายเราก็จะตรึกถึง นึกถึง ตรองถึง คำนึงถึง ประกอบกับความ ปารถนาใคร่ได้ ทะยานอยากต้องการที่จะได้ตามความพอใจยินดีใคร่ได้นั้นๆอยู่เนืองๆ
- ผลที่ตามมาก็คือเมื่อคุณไม่อาจจะเป็น หรือ ได้อย่างที่ตนปารถนาใคร่ได้ยินดีนั้นๆ ก็เกิดเป็นความขุ่นมัวใจ อึดอัดใจ อัดอั้นใจ คับแค้นกายใจ กรีดใจ หวิวใจ ไม่สบายกายไม่สบายใจ ร่ำไรรำพัน เศร้าหมองกายใจ เพ้อเจ้อ พร่ำเพ้อ ไปต่างๆนาๆตามแต่จะเกิดจิตสังขารใดๆปรุงแต่งตรึกนึกสร้างเรื่องราวต่างๆขึ้น
- ทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับคุณนี้ เรียกว่าคุณถูกความทุกข์หยั่งเอาแล้ว

ทางแก้ไขคือ อุเบกขาจิต พูดเหมือนง่ายแต่ทำยากนะครับการที่จะเข้าถึงอุเบกขาจิตจริงๆ

- เพราะต้องละที่ ความพอใจยินดี-ไม่พอใจยินดี ให้ได้ จนเกิดรู้ด้วยสติที่มีสภาพระลึกรู้ นึกย้อนพิจารณา เห็นว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนี้สักแต่เป็นจิตสังขาร สิ่งทั้งหลายนี้สักแค่เป็นเวทนา ไม่ยึดถือ ยึดจับเอามาตั้งเป็นอารมณ์
- การละความพอใจยินดีใดๆนั้นเริ่มจากไม่ให้ใจเราตั้งความสำคัญมั่นหมายไว้กับสิ่งนั้น
- ละความสำคัญมั่นหมายได้เท่าไหร่ก็จะตรึกนึกคิดถึงเรื่องนั้นน้อยลงมากขึ้นเท่านั้น
- ไม่ตั้งความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดี เมื่อเกิดเสพย์เสวยเวทนาใดๆ ให้กำหนดสติรู้ว่ากับลังสุข ทุกข์ หรือ เฉยๆอยู่
- เมื่อรู้ว่าเสพย์เวทนาใดๆอยู่ให้พึงระลึกพิจารณาในใจว่า พอใจยินดี ไม่พอใจยินดี ก็มีแต่ความทุกข์ทั้งนั้น ดังนั้นเราไม่ควรไปพิศมันยินดีกับมัน ละวางใจไว้กลางๆไม่ยึดถือ ไม่จับเอา ไม่ตั้งเอาความสำคัญของใจไว้กับสิ่งที่ทำให้เราเกิดเวทนานั้นๆ
- เมื่อละความพอใจยินดี และ ไม่พอใจยินดีได้ ความสำคัญนั้นๆก้หายไป ความตรึกนึกคิดถึงเรื่องนั้นก็จะหายไป


ลองอ่านเพิ่มเติมตาม Link นี้ดูครับ หวังว่าจะเป้นประโยชน์แก่คุณบ้างนะครับ

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7455.0 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7455.0)

หากผิดพลาดประการใด หรือทำให้เกิดความขิดเขือนคำสอนใดๆก็ขออภัยต่อ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครูบาอาจารย์และผู้รู้ทั้งหลายด้วยครับ


หัวข้อ: Re: รู้สึกเงียบเหงา หดหู่ ครับ ผ่านมา 4 ปีแล้ว ควรทำอย่างไรดีครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ธุลีธวัช (chai173) ที่ พฤศจิกายน 02, 2012, 10:24:22 pm
รู้สึกเงียบเหงา หดหู่ ครับ ผ่านมา 4 ปีแล้ว ควรทำอย่างไรดีครับ
  ตั้งแต่ผมได้หย่าร้างกับ ภรรยา กันมา 4 ปีนี้แล้ว

  เวลาทำอะไร ในการประคับประคองชีวิต มันรู้สึกเหงา ๆ ครับ อารมณ์อย่างนี้เป็นกิเลส อันนี้พอทราบอยู่ครับ แต่คงจะไม่รู้ลึก เพราะเวลาเช่นนี้มักจะทำให้อารมณ์หดหู่ ถ้าเป็นเมื่อก่อน ก็ต้องอาศัย น้ำเมาเป็นเครื่องปลอบใจและหลับไป แต่วันนี้ไม่ได้ทำอย่างนั้น ก็เลยต้องนั่งเฝ้ามอง มันด้วยความรู้สึก ว้าเหว่า เดียวดาย เงียบเหงา และก็เจ็บ กลวงที่กลางหน้าอก อยู่อย่างนี้ ตลอด บางครั้ง พาลให้กินไม่ได้ นอนไม่หลับ ต้องพยายาม พุทโธ ๆๆ อยู่ สู้กันอย่างนี้

  ใครมีวิธีการที่ดี ๆ ช่วยแนะนำกันบ้างนะครับ

อ่านแล้วผมเห็นภาพเลยครับ ผมนั้นโชคอาจจะดีกว่าที่ไม่มีครอบครัวความรู้สึกเช่นนี้จึงไม่โหมกระหนำซัดนัก เราเป็น

กัลยาณชนมีศีลหญิงไม่มอง เพื่อนไม่คบ ถึงเหงาเศร้าจะเอาอะไรกับโลกธรรมบ้าๆบอบอ ผมโสดจึงอยู่สงบ(ไม่ใช่

เหงา)ได้ "จงแคร์ตัว อย่าแคร์ใคร" ครับ!



หัวข้อ: Re: รู้สึกเงียบเหงา หดหู่ ครับ ผ่านมา 4 ปีแล้ว ควรทำอย่างไรดีครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ratree ที่ พฤศจิกายน 03, 2012, 12:22:57 am
ช่างมันเถอะ คะ เรื่องความเงียบเหงา ถ้าเราเจริญ มรณานุสสติ เข้าไว้ให้มาก ก็จะรู้เองว่า แท้ที่จริง เราก็มาและไปคนเดียวนะคะ ดังนั้นอย่ามัวแต่เหงา อยู่เลยคะ หาเป้าหมายแก่นสารของการเกิดมาดีกว่านะคะ

  :13: :s_hi: