ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
  Messages   Topics   Attachments  

  Topics - raponsan
หน้า: 1 ... 554 555 [556] 557
22201  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ความประมาท ของคนนั่งสมาธิ 11 ประการ เมื่อ: มีนาคม 18, 2010, 06:02:35 pm

ความประมาท ของคนนั่งสมาธิ 11 ประการ


หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสั่งสอนเวไนยสัตว์ตลอด 45 พรรษาแล้ว
ทรงเปล่งปัจฉิมวาจาก่อนดับขันธปรินิพพาน ณ เมืองกุสินารา ว่า "ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราจักเตือนเธอทั้งหลาย สังขารทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง
มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด"
(มหาปรินิพพานสูตร ฑี.ม. 10/143/180) ความหมาย "ความไม่ประมาท"
คือการที่สติกำกับตัวอยู่เสมอ ไม่ว่าจะคิด จะพูด จะทำสิ่งใดๆ จะไม่ยอมถลำ
สู่ทางเสื่อม และไม่ยอมพลาดโอกาสในการสร้างความดี.

การเจริญภาวนา เป็นเหตุให้เกิดการตรัสรู้ธรรมของพระพุทธเจ้า หากไม่ประกอบเหตุ
คือการเจริญภาวนา ผลคือการตรัสรู้ธรรม ย่อมไม่มี ดังนั้นการเจริญภาวนา หรือพูดสั้นๆ
ว่าการนั่งสมาธิ จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้หวังความสุขความหลุดพ้นเป็นอย่างยิ่ง
ผู้ไม่นั่งสมาธิ ได้ชื่อว่าประมาทที่สุด เพราะหากไม่เข้าถึงกายธรรมอรหันต์
เป็นพระอรหันต์ ก็ตกเป็นบ่าวเป็นทาสกิเลสตลอดไป ผู้ไม่นั่งสมาธิได้ชื่อว่าประมาท
ขอยกไว้แม้ผู้นั่งสมาธิแล้วก็ยังได้ชื่อว่าประมาทอยู่หากมีลักษณะ 11 ประการ ดังนี้


 

1. ไม่ทำกิจโดยเคารพ คือนั่งสมาธิไปอย่างนั้นๆ ไม่ศึกษาว่าทำถูกต้อง ถูกวิธีหรือไม่
ทำผิดก็คิดว่าทำถูก ทำน้อยก็คิดว่าทำมาก จึงได้รับผลไม่เต็มที

2. ไม่ทำติดต่อกัน คือนั่งสมาธิแบบเดี๋ยวจริงเดี๋ยวหย่อน เหมือนธารน้ำที่ไม่เชื่อมต่อกัน
ก็กลายเป็นร่องน้ำเป็นหย่อมๆ ไป

3. ทำๆ หยุดๆ คือนั่งสมาธิไปช่วง เลิกนั่งไปอีกช่วงเหมือนกระแตที่วิ่งๆ หยุดๆ
แม้ช่วงที่ได้นั่งสมาธิจะได้ผลอย่างดี แต่หากทำๆ หยุดๆ แล้วก็ ยากที่จะเอาดีได้
เหมือนนักกีฬาที่มีความสามารถเฉพาะตัวสูง หากซ้อมบ้างไม่ซ้อมบ้าง ก็ยากที่จะก้าว
ไปสู่ความเป็นเลิศได้

4. ทำอย่างท้อถอย คือนั่งสมาธิเหมือนคนซังกะตายเหมือนลูกจ้างที่ทำงานไม่เต็มแรง

5. ทอดฉันทะ คือทำแบบเลื่อนลอย ทำแบบหมดรัก
"ความรัก" จะก่อให้เกิดพลังอย่างน่าอัศจรรย์

6. ทอดธุระ อาการหนักกว่า ทอดฉันทะอีก คือไม่สนใจทำแล้ว

7. ไม่ติด คือทอดธุระแล้วก็ชะล่าใจ ชักนั่งสมาธิไม่ติดแล้ว ผุดลุกผุดนั่ง

8. ไม่คุ้น คือพอทิ้งไปมากเข้าบ่อยเข้า ครั้นมานั่งสมาธิอีก ก็เหมือนมาเริ่มต้นใหม่
เหมือนไม่เคยนั่งสมาธิมาก่อน รู้สึกอึดอัดขัดข้องไปหมดก็ต้อง อดทน...อดทน...
แล้วก็ อดทน ก็จะดีขึ้นไปเรื่อยๆ เอง ไม่ควรท้อถอย หรือหมดกำลังใจ

9. ไม่ทำจริงๆ จังๆ คือทำแบบเช้าชาม เย็นชาม ทำพอได้ชื่อว่าทำ

10. ไม่ตั้งใจทำ คือทำแบบถูกบังคับให้นั่ง ทำแบบให้คิดจะเอาดี อันที่จริง
จะตั้งใจนั่งสมาธิกับไม่ตั้งใจช่วงเวลานั้นก็ใช้เวลาเท่ากัน ไหนๆ จะต้องเสียเวลาแล้ว
ก็น่าจะทำให้ดีที่สุด

11. ไม่หมั่นประกอบ คือนานๆ ทำที ทำที่ก็ทำแต่น้อย เช่นนั่งสมาธิปีละ3 ครั้ง
ครั้งละ 10 นาทีเป็นต้น พระพุทธองค์ท่านทรงสอนให้เราสันโดษในปัจจัย 4
แต่ไม่ใช่สันโดษในการสร้างความดี ความดีเป็นสิ่งที่ต้องสร้างอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
เหมือนทะเลไม่อิ่มด้วยน้ำ บัณฑิตไม่อิ่มด้วยความดี โดยเฉพาะความดีที่เกิดจากการ
นั่งสมาธิเจริญภาวนา

ความประมาททั้ง 11 ประการนี้ จะค่อยๆ บั่นทอนความดี จากการนั่งสมาธิไปเรื่อยๆ
จนเราหมดกำลังใจที่จะทำต่อไป ดังนั้นจึงควรเร่งตรวจสอบตนเองและหมั่นฝึกใจ
ให้หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายเรื่อยไป จนกว่าจะเข้าถึงพระนิพพาน

ความไม่ประมาทแบบย่อ ความไม่ประมาทคำเดียวแต่ได้ย่อพระไตรปิฏกทั้งหมดลง
คำๆ นี้อุปมาเหมือนรอยเท้าสัตว์ทุกรอย สามารถบรรจุในรอยเท้าช้างได้
พระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ได้สรุปเรื่องความไม่ประมาทอย่างง่ายๆ ว่า
"ท่านทั้งหลายจงรีบฝึกฝนอบรมตนให้เข้าถึงธรรมกายให้ได้ อย่าประมาทในชีวิต
"ประมาท" หมายถึง เอาใจออกห่างศูนย์กลางกายใจออกจากศูนย์กลางกายได้ชื่อว่า
ประมาทแล้ว การเข้าถึงะรรมกายก็จะยืดออกไป ทำให้สิ่งที่เราจะเรียนรู้อะไรต่างๆ
อีกมากมายหมดสิ้นไป... ให้ตรึกระลึกถึงศูนย์กลางกายตั้งแต่ตื่นจนกระทั้งหลับ
วางใจให้ถูกส่วนให้ละเอียดอ่อน ให้จริงจังจริงใจ และสม่ำเสมอทุกวัน ความสม่ำเสมอ
เป็นหัวใจแห่งการปฎิบัติธรรม ไม่ว่าจะเซ็ง เครียด เบื่อ กลุ้ม เจ็บไข้ อย่างไรก็ตาม
ทันทีที่เราปิดตาจรดศูนย์กลางกายก็เป็นการกำชัยชนะล้านเปอร์เซนต์แล้ว"
ชีวิตปลา รักน้ำ ขวนขวายที่จะอยู่กับน้ำ และขาดน้ำไม่ได้ฉันใด ชีวิตเราก็ต้องรัก
ศูนย์กลางกาย ขวนขวายที่จะอยู่กับศูนย์กลางกายและขาดศูนย์กลางกายไม่ได้ฉันนั้น

Ref: วารสารกัลฯ ฉบับที่ 144 ธันวาคม 2540
จากยอดดอย โดยทันต์จิตต์
ที่มา  เว็บพลังจิต

22202  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / มงคลสูงสุด "มงคล ๓๘ ประการ" เมื่อ: มีนาคม 17, 2010, 01:22:29 pm
มงคลสูตรในขุททกปาฐะ


             [๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ครั้นปฐมยามล่วงไป
เทวดาตนหนึ่งมีรัศมีงามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น
แล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า

             [๖] เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก ผู้หวังความสวัสดี ได้พากัน
คิดมงคลทั้งหลาย ขอพระองค์จงตรัสอุดมมงคล


             พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถาตอบว่า
                          การไม่คบคนพาล ๑ การคบบัณฑิต ๑ การบูชาบุคคลที่ควร
                          บูชา ๑ นี้เป็นอุดมมงคล การอยู่ในประเทศอันสมควร ๑

                          ความเป็นผู้มีบุญอันกระทำแล้วในกาลก่อน ๑ การตั้งตนไว้
                          ชอบ ๑ นี้เป็นอุดมมงคล พาหุสัจจะ ๑ ศิลป ๑ วินัยที่
                          ศึกษาดีแล้ว ๑ วาจาสุภาสิต ๑ นี้เป็นอุดมมงคล การบำรุง
                          มารดาบิดา ๑ การสงเคราะห์บุตรภรรยา ๑ การงานอันไม่
                          อากูล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล ทาน ๑ การประพฤติธรรม ๑

                          การสงเคราะห์ญาติ ๑ กรรมอันไม่มีโทษ ๑ นี้เป็นอุดมมงคล
                          การงดการเว้นจากบาป ๑ ความสำรวมจากการดื่มน้ำเมา ๑
                          ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ๑ นี้เป็นอุดมมงคล
                          ความเคารพ ๑ ความประพฤติถ่อมตน ๑ ความสันโดษ ๑

                          ความกตัญญู ๑ การฟังธรรมโดยกาล ๑  นี้เป็นอุดมมงคล
                          ความอดทน ๑ ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑ การได้เห็นสมณะ
                          ทั้งหลาย ๑ การสนทนาธรรมโดยกาล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล
                          ความเพียร ๑ พรหมจรรย์ ๑ การเห็นอริยสัจ ๑

                          การกระทำนิพพานให้แจ้ง ๑ นี้เป็นอุดมมงคล จิตของผู้ใดอัน
                          โลกธรรมทั้งหลายถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว ๑ ไม่เศร้า-
                          โศก ๑ ปราศจากธุลี ๑ เป็นจิตเกษม ๑

           
                          นี้เป็นอุดมมงคล เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทำมงคลเช่นนี้แล้ว
                          เป็นผู้ไม่ปราชัยในข้าศึกทุกหมู่เหล่า ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทุกสถาน
                          นี้เป็นอุดมมงคลของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น ฯ
                          จบมงคลสูตร


อ้างอิง 
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  บรรทัดที่ ๔๑ - ๗๒.  หน้าที่  ๓ - ๔.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=41&Z=72&pagebreak=0

-------------------------------------------------------------- 

มงคลชีวิต 38 ประการ
โดย พระธรรมวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณฺโณ)
วัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพฯ


มงคลที่ 1.ไม่คบคนพาล
อย่าคบมิตร ที่พาล สันดานชั่ว
จะพาตัว เน่าดิบ จนฉิบหาย
แม้ความคิด ชั่วช้า อย่ากล้ำกราย
เป็นมิตรร้าย ภายใน ทุกข์ใจครัน

มงคลที่ 2.การคบบัณฑิต
ควรคบหา บัณฑิต เป็นมิตรไว้
จะช่วยให้ พ้นทุกข์ สบสุขสันต์
ความคิดดี เลิศล้ำ ยิ่งสำคัญ
ควรคบกัน อย่าเขว ทุกเวลา

มงคลที่ 3.การบูชาบุคคลที่ควรบูชา
ควรบูชา ไตรรัตน์ ขัตติเยศร์
ผู้วิเศษ ก่อเกื้อ เหนือเกศา
ครูอาจารย์ เจดีย์ ที่สักการ์
ด้วยบุปผา ปฏิบัติ สวัสดิ์การ

มงคลที่ 4.การอยู่ในถิ่นอันสมควร
เป็นเมืองกรุง ทุ่งนา หรือป่าใหญ่
ทางมา-ไป ครบครัน ธัญญาหาร
มีคนดี ที่ศึกษา พยาบาล
ปลอดภัยพาล ควรอยู่กิน ถิ่นนั้นแล

มงคลที่ 5.เคยทำบุญมาก่อน
กุศลบุญ คุณล้ำ เคยทำไว้
จะส่งให้ สวยเด่น เช่นดวงแข
ทั้งทรัพย์ยศ ไมตรี มีเย็นแด
เพราะกระแส บุญเลิศ ประเสริฐนัก

มงคลที่ 6 การตั้งตนชอบ
ต้องตั้งตน กายใจ ในทางถูก
เร่งฝังปลูก ตนไว้ ให้ถูกหลัก
เมื่อตัวตน ยังมี เป็นที่รัก
ควรพิทักษ์ ให้งาม ตามเวลา

มงคลที่ 7 ความเป็นพหูสูต

การสนใจ ใฝ่คว้า หาความรู้
ให้เป็นผู้ แก่เรียน เพียรศึกษา
มีศีลดี สติมั่น เกิดปัญญา
ย่อมนำพา ตัวรอด เป็นยอดดี

มงคลที่ 8 การรอบรู้ในศิลปะ
ศิลปะ ต่างอย่าง ทางอาชีพ
ควรเร่งรีบ เรียนรู้ ชูศักดิ์ศรี
มีบางคน จนอับ กลับมั่งมี
ฉลาดดี มีศิลป์ หากินพอ

มงคลที่ 9 มีวินัยที่ดี
อันวินัย นำระเบียบ สู่เรียบร้อย
คนใหญ่น้อย เปรมปรีดิ์ ดีนักหนา
วินัยสร้าง กระจ่างข้อ ก่อศรัทธา
เพราะรักษา กติกา พาร่วมมือ

ไม่พูดเท็จ พูดสอดเสียด และพูดมาก
ละความยาก สร้างวิบาก ฝากยึดถือ
คนหมู่มาก มักถางถาก ปากข่าวลือ
ต้องสัตย์ซื่อ ถือวินัย ใช้ร่วมกัน

มงคล ที่ 10 กล่าววาจาอันเป็นสุภาษิต

เปล่งวจี สัจจะ นวลละม่อม
กล่าวเลลี้ยกล่อม ไพเราะ กาลเหมาะสม
เจือประโยชน์ เมตตา ค่านิยม
รื่นอารมณ์ ผู้ฟัง ดังเสียงทอง

มงคลที่ 11 การบำรุงบิดามารดา

คนที่หา ได้ยาก มากไฉน
เพราะว่าใน โลกนี้ มีเพียงสอง
คือพ่อแม่ เกิดเกล้า เหล่าลูกต้อง
ตอบสนอง พระคุณ ได้บุญแรง

มงคลที่ 12 การสงเคราะห์บุตร

เป็นมารดา บิดา ทำหน้าที่
ให้บุตรมี พำนัก เป็นหลักแหล่ง
ส่งเสริมบุตร ธิดาตน กุศลแรง
ย่อมส่องแสง เพิ่มพูน ตระกูลวงศ์

มงคลที่ 13.การสงเคราะห์ภรรยา

มีคู่ครอง ต้องไม่ทำ ให้ช้ำจิต
จะพาผิด ไปข้าง ทงผุยผง
ต้องสงเคราะห์ แก่กัน ให้มั่นคง
รักยืนยง ด้วยกัน ถึงวันตาย

มงคลที่ 14.ทำงานไม่คั่งค้าง
จะทำงาน การใด ตั้งใจมั่น
อย่าผัดวัน ทำเล่น เช้า เย็น สาย
ไม่ทิ้งคา อากูล มากมูลมาย
เร่งคลี่คลาย ให้เสร็จ สำเร็จการ

มงคลที่ 15.การให้ทาน

ควร บำเพ็ญ ซึ่งทาน คือการให้
ท่านว่าไว้ สวยงาม สามสถาน
หนึ่งให้ของ สองธรรมะ ขนะมาร
อภัยทาน ที่สาม งามเหลือเกิน



มงคลที่ 16.การประพฤติธรรม
การ ประพฤติ ตามธรรม คำพระสอน
ไม่เดือดร้อน ถอนทุกข์ ยามฉุกเฉิน
คนรักธรรม ธรรมรักษ์คน ผลเจริญ
นั่ง,ยืน,เดิน นอน,สุข ทุกข์ไม่มี

มงคลที่ 17.การสงเคราะห์ญาติ
เมื่อ ยามญาติ อัตคัด เกินขัดข้อง
ควรหาช่อง สงเคราะห์ ไม่เลาะหนี
เขาซาบซึ้ง ถึงคุณ อบอุ่นดี
หากถึงที เราจน ญาติสนใจ

มงคลที่ 18 ทำงานไม่มีโทษ
งานรับจ้าง ล้างชาม ก็ตามเถิด
หากไม่เกิด โทษทัณฑ์ นั่นสดใส
เมื่อได้ช่อง ต้องจำ กระทำไป
ได้กำไร ทุกทาง ไม่ว่างงาน

มงคลที่ 19 ละเว้นจากบาป
กรรมชั่วช้า ลามก ต้องยกเว้น
หากขืนเล่น ด้วยกัน ถูกมันผลาญ
งดเว้นบาป กำราบให้ ไกลสันดาน
ในดวงมาลย์ ไม่ร้อน และอ่อนเพลีย

มงคลที่ 20 สำรวมจากการดื่มน้ำเมา

ของมึนเมา ทุกชนิด พิษคล้ายเหล้า
ใครเสพเข้า น่าตำหนิ สติเสีย
เกิดโรคร้าย แรงร้อน กายอ่อนเพลีย
ใครงดเสีย เป็นสุข ไปทุกวัน
 
มงคลที่ 21 ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย
ไม่ประมาท คือมี สติพร้อม
คอยหน่วงน้อม ธรรมคุณ ไม่ผลุนผลัน
ธรรมอันใด ไม่ดี หลีกหนีพลัน
ธรรมดีนั้น ยึดแน่น ไม่แคลนคลอน

มงคลที่ 22 มีความเคารพ
ความเคารพ นับถือ คือเสน่ห์
ไม่โลเล เหมือนลิง วิ่งหลอกหลอน
ทั้งต่อหน้า ลับหลัง พึงสังวร
ย่อมงามงอน สวยสง่า ราคาแพง

มงคลที่ 23 มีความถ่อมตน
ไม่พองลม ก้มหัว เจียมตัวด้วย
มรรยาทสวย นิ่มนวล สิ้นส่วนแข็ง
เหมือนงูพิษ ถอดเขี้ยว หมดเรี่ยวแรง
ยามแถลง นอบน้อม พร้อมใจกาย

มงคลที่ 24 มีความสันโดษ
ความสันโดษ พอใจ ในสิ่งของ
เช่นเงินทอง ของตน แม้ล้นหลาย
เมื่อมีน้อย จ่ายน้อย ค่อยสบาย
ความจนหาย เลยลับ กลับมั่งมี

มงคลที่ 25 มีความกตัญญู
กตัญญู รู้บุญ คุณพ่อแม่
คนเฒ่าแก่ แลอาจารย์ ท่านทรงศีล
จอมมุนินทร์ ปิ่นเกล้า เจ้าธานี
หาวิธี แทนคุณ สมดุลกัน

มงคลที่ 26 การฟังธรรมตามกาล

การฟังธรรม ตามกาล ผ่านมาถึง
ควรคำนึง นิ่งนั่ง ฟังขยัน
ย่อมจะเกิด ปัญญา สารพัน
ตั้งใจมั่น ฟังดี นี่สมควร
 
มงคลที่ 27 มี ความอดทน
ความ อดทน ตรากตรำ ยามลำบาก
เจ็บไข้มาก ทนได้ ไม่โหยหวน
ถูกเขาด่า ให้ฟัง นั่งหน้านวล
ยิ้มเสสรวล ด้วยขันติ งามวิไล

มงคลที่ 28 เป็นผู้ว่าง่าย
ควร เป็นคน สอนง่าย ไม่ตายด้าน
ก่อรำคาญ ค่ำเช้า ไม่เข้าไหน
ไม่ซัดโทษ ของตน ให้คนใด
เมื่อมีใคร สอนพร่ำ ให้นำมา

มงคลที่ 29 การได้เห็นสมณะ
การ พบเห็น สมณะ ผู้สงบ
แล้วนอบนบ ถามไถ่ ไตรสิกขา
หมั่นฝึกหัด ทุกวัน ด้วยปัญญา
ย่อมชักพา จิตตรง มงคลมี

มงคลที่ 30 การสนทนาธรรมตามกาล
ยามหดหู่ ฟุ้งซ่าน กาลสงสัย
เป็นสมัย ไต่ถาม ตามเหตุผล
เพื่อบรรเทา คลี่คลาย หายกังวล
ควรจะสน- ทนาธรรม ตามที่ควร



มงคลที่ 31 การบำเพ็ญตบะ
พึงบำเพ็ญ ตบะ ละกิเลส
อันเป็นเหตุ หักห้าม กามฉันท์
มุ่งทำลาย ถ่ายบาป สาบสูญพันธุ์
เข้าสู่ขั้น สุโข ฌาณโกลีย์

มงคลที่ 32 การประพฤติพรหมจรรย์
เร่งประพฤติ พรหมจรรย์ อันประเสริฐ์
เพื่อให้เกิด สุขล้วน โดยถ้วนถี่
ตั้งแต่ทาน ถึงสิกขา บรรดามี
สมบูรณ์ดี พรหมจรรย์ ย่อมมั่นคล

มงคลที่ 33 การเห็นอริยสัจ
การรู้เห็น ความจริง สิ่งเที่ยงแท้
ไม่ผันแปร สี่ชนิด ไม่ผิดหลง
ตัดตัณหา มูลราก พรากทุกข์ลง
เป็นการส่ง ข้ามฟาก จากสาคร

มงคลที่ 34 การทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน

ทำให้แจ้ง นิพพาน ผลาญสังโยชน์
ตรวจตราโทษ ธาตุ ขันธ์ หมั่นฝึกถอน
เอาอรหัต มรรคญาณ เผาราญรอน
ดับทุกข์ร้อน นิพพาน สำราญนัก

มงคลที่ 35 การมีจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม

ท่านผู้ใด ใจดำรง อยู่คงที่
ในเมื่อมี โลกธรรม ครอบงำหนัก
เช่น ลาภ ยศ สุข เศร้า เข้าง้างชัก
มิอาจยัก โยกท่าน ให้หวั่นใจ

มงคลที่ 36 การมีจิตไม่โศกเศร้า
คราวพลักพราก จากญาติ ขาดชีวิต
ถูกพิชิต จองจำ ทำโทษใหญ่
มีสติ คุมจิต เป็นนิตย์ไป
ไม่เสียใจ โศกเศร้า เฝ้าประคอง

มงคลที่ 37 มีจิตปราศจากกิเลส
หมด ราคะ โทสะ โมหะแล้ว
จิตผ่องแผ้ว เลิศดี ไม่มีสอง
ย่อมมีค่า สูงจริง ยิ่งเงินทอง
เหมือนสูริย์ส่อง ท้องฟ้า สง่างาม

มงคลที่ 38 มีจิต เกษม
จิตเกษม เปรมปรีดิ์ ดีตลอด
เป็นจิตปลอด จากโอฆ ในโลกสาม
เครื่องผูกมัด สลัดหมด แสนงดงาม
เข้าถึงความ สุขสันต์ นิรันดร

ที่มา  http://www.fungdham.com/mongkhol38/mongkhol38.html
22203  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / หนังสืออินทร์ตก พุทธทำนายภัยพิบัติ เมื่อ: มีนาคม 17, 2010, 12:03:23 pm

หนังสืออินทร์ตก พุทธทำนายภัยพิบัติ



เกี่ยวกับคำทำนายด้านภัยพิบัติโลก มีบันทึกอยู่ในตำราและหนังสือของหลายชาติ หลายภาษา ทางนะกุศล.คอม จะทยอยนำมารวบรวมให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษา ในบทความนี้จะเกี่ยวกับคำทำนายจากหนังสือประเทศลาว ซึ่งเป็นบ้านพี่เมืองน้องของไทยเรา

หนังสือใบลานสีได้เก็บรักษาสืบทอดมาจากวัดแห่งหนึ่ง ในแขวงอัตตะปือ(ประเทศลาว) ข้าพเจ้าได้รับรู้จากพระอาจารย์ผู้ทรงศีลองค์หนึ่งเผยแผ่ให้ เลยเกิดศรัทธาเสียสละทรัพย์ส่วนตัว พิมพ์แจกจ่ายมายังญาติพี่น้องชาวพุทธทั้งหลาย เพื่อเป็นการกุศลและเพื่อพิจารณญาณด้วยตนเอง ถึงเหตุการณ์มหันตภัยของโลกาภิวัฒน์ ซึ่งจะบังเกิดขึ้นตามพุทธทำนายไว้ว่าดังนี้

โส ชัง ชน โทโพโส อินโตกรุณา

พระอินทร์ พรหม ยมราช ได้สั่งไว้ว่า ถ้าบุคคลใดได้รู้แล้วจงรีบร้อนบอกเล่าสู่กันฟัง หรือพิมพ์แจกจ่ายตามกำลังศรัทธา จะเกิดมหากุศลช่วยท่านให้หลุดพ้นจากภัยพิบัติทั้งหลายทั้งปวง ถ้าบุคคลใดไม่เชื่อมั่นตามคำสอนของพระพุทธเจ้าจะเกิดเดือดร้อน ในปีจอ ขึ้น 4 ค่ำผู้มีบุญจะลงมาเกิด พร้อมหนังสือใบลานฉบับนี้ ถ้าไม่มีอยู่ในบ้าน เรือนบ้านช่องของผู้ใด จะมีพวกผีปีศาจร้ายเข้าทำลายอย่างแน่แท้ ในปีจอต่อปีกุลยามเดือนหงาย จะเกิดมีงูพิษอยู่บนหัวกัดฉกให้ตาย และฝูงชนทั้งหลายจะเกิดเดือดร้อนหลายประการเช่น

ทุกข์ยากร้อน เพราะศึกสงครามบ่แล้ว ทุกข์ยากร้อน เพราะมีคนตายตามทุ่งไร่ทุ่งนา
ทุกข์ยากร้อน เพราะน้ำและไฟ ทุกข์ยากร้อน เพราะไม่มีผู้เฒ่า
ทุกข์ยากร้อน เพราะไม่มีใครจะดูใคร ทุกข์ยากร้อน เพราะไปต่างประเทศไม่สะดวก
ทุกข์ยากร้อน เพราะอดข้าวปลาอาหาร ทุกข์ยากร้อน เพราะนอนไม่หลับ
ทุกข์ยากร้อน เพราะผัวเมียไม่เห็นหน้ากัน


ในปีจอนี้เมืองเวียงจันทน์ จะมีองค์ฤาษีทองคำสิกขาลาบวชออกมาเป็นพ่อค้า ในปีจอขึ้น 8 ค่ำ ห้ามไม่ให้ตักน้ำอาบน้ำกิน ตามห้วยหนองคลองบึงหลังพระอาทิตย์ตกดิน (ก่อนมืดค่ำ) พญายมราชจะนำเอายาพิษพ่นมาใส่โลกมนุษย์ ในปีจอเมืองกรุงเทพฯ จะ แตกพังทลายตอนเวลาไก่ขัน พระแก้วมรกตหัวเมืองเชียงใหม่เม็ดข้าวใหญ่ จะได้กลับคืนสู่เมืองเวียงจันทน์ นี้คือ พระคาถาขององค์อินทร์ พรหม ยมราช ได้เขียนลงในใบลาน จงรักษาเก็บไว้ให้ดีเพื่อช่วยให้รอดพ้นจากภัยพิบัติ ในยามเกิดเหตุการณ์ มหันตภัย พระคาถาได้เขียนไว้

ปะโต เมตัง ปะระชิวินัง สุขะโต จุติ จิตตะ เมตตะ นิพพานัง สุขะโต จุติ


พระคาถาข้อนี้จะเขียนลง ใส่ใบลาน แผ่นทอง หรือแผ่นผ้าก็ดีให้ติดไว้บนประตู ห้องเรือน หรือรถราพาหนะ หรือพันหัวไว้ในยามเกิดเหตุการณ์จะช่วยให้รอดพ้นภัยอันตราย ใน กาละเวลานี้เทพเจ้าเหล่าเทวดา ผู้คุ้มครองรักษาเหล่ามนุษย์โลก ได้ไปกราบทูลต่อพระอินทร์ว่า มนุษย์โลกทำกุศลผลบุญ (ความดี) เพียง 3 ส่วน และทำบาปกรรม (ความชั่วร้าย) ถึง 10 ส่วน เมื่อเป็นเช่นนี้พระองค์อินทร์จะได้ลงโทษกับมนุษย์โลก ถึง 9 ข้อนับตั้งแต่ปีจอถึงปีกุล คือ

จะให้เกิดพายุลมแรง แผ่นดินไหวหวั่น จะให้เกิดสารพิษต่างๆ (อากาศ - อาหาร เป็นพิษ)
จะให้เกิดไฟไหม้ (อัคคีภัย) จะให้เกิดกาฬโรคต่าง ๆ (พยาธิร้าย)
จะให้เกิดน้ำท่วม (อุทกภัย) จะให้เกิดอด ข้าว ปลา อาหาร
จะให้เกิดฟ้าฝ่า จะให้เกิดอาฆาตฆ่าฟันกันเอง สำหรับคนใจบาป
จะให้เกิดร้อนมาก หนาวมาก


มหันตภัยทั้ง 9 อย่างนี้ จะรอดพ้นเฉพาะคนใจบุญ คนที่ปฎิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้น รู้แล้วจงบอกต่อกันไป ให้รีบเร่งทำแต่ความดีมากกว่าทำบาปกรรมชั่วร้าย ถ้าผ่านปีจอ ปีกุล ไปแล้วทุกคนพร้อมทั้งลูก หลาน เหลน จะได้รับความสุขสบายกันทั่วหน้า (เวลาเหลือน้อย) ให้ทุกคนเคร่งครัดถือศีล 5 ข้อ ให้ขยันไหว้พระ ภาวนา ให้ทาน เพื่อการกุศล อย่างต่อเนื่อง ศีล 5 ข้อได้แก่

ห้ามเบียดเบียนสิ่งมีชีวิต (ทุกชีวิตใครก็รัก)
ห้ามลักเอาสิ่งของผู้อื่นมาเป็นของตน
ห้ามล่วงเกินเป็นชู้คนอื่น เมีย ผัว คนอื่น (ที่มีเจ้าของ)
ห้ามพูดปดหลอกลวงผู้อื่น ในทางที่ไม่ดีซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความแตกแยกสามัคคี หรือสูญเสียทรัพย์สินเงินทอง
ห้ามดื่มหรือเสพของมึนเมาทั้งหลายทั้งปวง


นอกจากหนังสืออินทร์ตกที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมีพระผู้ทรงศีลอีกองค์หนึ่ง ได้พบเห็นเนื้อในอักษรธรรมเขียนจารึกไว้ บนก้อนหินศิลาที่พึ่งพ้นจากพื้นดิน ในภูผาป่าดงแห่งหนึ่ง ที่พระรูปนี้ได้เดินธุดงค์ วิปัสสนากรรมฐานผ่านไป (ข้าพเจ้าไม่ขอบอกนามพระ และกำหนดสถานที่อย่างจะแจ้งได้) เพราะได้สอบหาข้อมูลละเอียดแล้วพระผู้ทรงศีล ได้กล่าวว่า

  โยมเอย ถ้าไม่เชื่อก็สุดแล้วแต่ดวงจิต เพราะถึงเวลาแล้วที่สวรรค์จะไม่มีความลับ ถ้าโยมเชื่อก็เป็นกุศล ถ้าไม่เชื่อก็เป็นอกุศลรู้เพียงเท่านี้ ข้าพเจ้าจึงขอบอกเล่าสู่ท่านฟังตามคำกล่าวของพระผู้ทรงศีลรูปนี้ว่า ในปีระกา - ปีจอ และปีกุล เดือน 7 – 8 จะเกิดเหตุร้ายตามถนนหนทาง เดือน 9 -10 คนใจบาปหยาบช้าจะถูกล้างผลาญให้หมดไป มีบ้านก็ไม่มีคนอยู่ มีข้าวก็ไม่มีคนกิน มีทางก็ไม่มีคนเดิน สุดท้ายพระผู้ทรงศีลยังได้กล่าวเน้นย้ำถึงความศักดิ์สิทธิ์ของหนังสือ “อินทร์ตก” “อินทร์ตื่น” ถ้าท่านผู้ใดเชื่อ ศรัทธา บูชา เคารพกราบไหว้ หรือบนบาน ว่าจะบอกเล่าต่อผู้อื่นหรือลงพิมพ์แจกให้สาธุชน คนทั้งหลายรับรู้ด้วยแล้ว ท่านจะปรารถนาสิ่งใดจะได้ดั่งใจนึก พยาธิร้ายที่เบียดเบียนกายก็จะหายขาด

ท่านไม่เชื่อขออย่าลบหลู่เป็นอันขาด พระอาจารย์ผู้ทรงศีลองค์หนึ่งเผยแพร่บอกกล่าวมา


ศิลาจารึกภัยพิบัติ มหาวิหานชรเจตมหาเชตะวัน
 
ศิลาจารึกในมหาวิหานชรเจตมหาเชตะวัน ณ สวนมฤคทายวัน ประเทศอินเดีย โดยคณะทูตไทยที่ไปอันเชิญพระบรมสารีริกธาตุ เมื่อปี พ.ศ.2485 ตามคำแปลเป็นภาษาไทย ว่าดังนี้

สาธุ อะระหังตา สัมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระเมตตากรุณาสรรพสัตว์ทั่วโลก ที่เกิดมาแล้วแต่ลำบากทั่วหน้า ทุกชาติ ทุกศาสนาตามธรรมชาติ
เมื่ออาตมาเข้านิพพานไปแล้วครบบห้าพันปีเป็นที่สุด โลกจะหมุนไปใกล้จะถึงจำนวนที่ตถาคตทำนายไว้สองพันห้าร้อยปี มนุษย์และสัตว์จะได้รับภัยพิบัติเสียครั้งหนึ่งในระยะเวลา 30 ปี สิ่งที่สาธุชนไม่เคยเจอะจะได้เห็น ไม่เคยพบจะได้พบ ยักษ์หินที่ถูกสาปให้หลับกลับตื่นขึ้นมาอาละวาดยิ่งนัก

ใกล้กับ พ.ศ. 2550 ยิ่งทวีกันใหญ่ขึ้นทุกทิว่าราตรี มนุษย์นอกพระศาสนาจะรบราฆ่าฟันกันจนถึงเลือดนองเต็มพื้นดิน พื้นน้ำ จะลุกลามเผามนุษย์ไม่ขาดระยะ ต่างฝ่ายต่าทำลายเหมือนยักษ์กระหายเลือด แผ่นดินจะเป็นเปลวไฟจะตายไปอย่างละครึ่งหนึ่งจึงจะเลิกล้ม ต่างฝ่ายต่างหมดกำลังด้วยกันตามวิสัยยักษ์ร้ายนอกศาสนาซึ่งถือกำเนิดจากป่า อำมหิต ส่วนพุทธศาสนิกชนผู้ทำแต่บุญเดินตามทางตถาคตสามารถระงับร้อนไม่รุนแรง


บ้านใดได้บูชาพระโพธิสัตว์ผ้ากาสาวพัตร์ ก็จะรับภัยพิบัติเบาบางแต่หนีภัยธรรมชาติไม่พ้น ไฟจะลุกลามมาทางทิศตะวันออก ไหว้วัดวาอารามสมณะชีพราหมณ์ จะอดอยากยากเข็น ลูกไฟจะตกจากฟ้า เหล็กกล้าจะผุดจากน้ำ สงครามจะเกิดทั่วทิศ พระยานาคจะพ่นพิษเป็นเพลิง ทหารจะเป็นเจ้า ข้าวสารจะขาดแคลน ทุกแคว้นจะอดอยาก พลูหมากจะหมดเปลือง สีเหลืองจะชนะ พระยังอยู่คู่เมืองอีกต่อไป สีขาวจะแพ้ภัยในที่สุด ครุฑจะบินกลับฐาน คนจะกลับบำรุงพระพุทธเจ้าว่าดังนี้
 
ชา ตะ มะ สะ ละ วา พระพุทธชินลิตนี้ท่านให้เขียนใส่กระดาษ หรือผ้าขาวติดไว้หน้าบ้าน หรือหัวนอน ดังนี้จะมีอายุยืนยาว จะทัน ผู้มีบุญชื่อ พระยาธรรมิกราชา เมื่อแรกสถิตอยู่เขตอยุธยา บัดนี้ท่านเสด็จอยู่ลานช้าง ( ภาคอีสานในปัจจุบัน ) พระยาธรรมิกราชา เข้ามาปีกุน เดือน 11 เป็นเที่ยงแท้หนักหนาท่านเสด็จมาในปีระกา แรม 5 ค่ำ มหากษัตริย์มาทางทิศตะวันตก สมณะชีพราหมณ์ตามมาพอประมาณได้ 76,400 รูป ทั่วอาณาจักรสมเด็จพระบรมนักปราชญ์ได้ประกาศคาถาว่า ดังนี้

นะสัจจัง ทะ คะยังมะสำคำปัง คอยดูในปีมะโรง คนจะเดินโก่งโค คลาน ผู้ใดอยากพบผู้มีบุญชื่อพระยาธรรมิกราชให้ภาวนา ให้หมั่นรักษาศีล สดับรับฟังพระธรรมเทศนา คอยดูปีมะเส็งตลิ่งจะพัง มหาสมุทรจะชอกช้ำ อย่าเที่ยวไปกลางแจ้ง ท่านเข้ามาปีกุน เดือน 8 เป็นเที่ยงแท้ ผู้ใดไม่เชื่อจะรับอันตราย คอยดูในปีจอ คนจะพ้นภัย

สะโรนะกา โททายะโม พุทธะตะยะ
ภาวนาทุกเช้าค่ำ ผู้นั้นจะมีอายุยืนนานจะได้เห็นพระธรรมมิกราช (พระโพธิสัตว์ศรีอริยเมตไนย) ในปีกุน ท่านจะเข้ามาอีก ถ้าไม่เห็น
หนังสือบ้านใดผู้นั้นจะได้รับอันตรายรู้แล้วให้บอกต่อกันด้วย

ที่มา 
http://www.nakusol.com/พลังจิต-หนังสืออินทร์ตก-พุทธทำนายภัยพิบัติ-144.html

22204  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / วิธีหนีกรรม “ผิวทราม” เมื่อ: มีนาคม 17, 2010, 10:36:28 am

วิธีหนีกรรม “ผิวทราม”


กรรมผิวทรามเป็นกฏแห่งกรรมสากล ที่เกิดได้กับคนทุกศาสนา ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ค้นพบและบัญญัติไว้ในพระไตรปิฎก ว่า

“คนที่มักโกรธ จะมีผิวพรรณทราม”   “กรรมผิวพรรณ เกิดจากกรรมโทสะ”

ท่านได้แนะวิธีหนีกรรมไว้ ๓ วิธี ดังนี้

๑.แบบลงทุน คือ บริจาคเสื้อผ้าอาภรณ์ ถวายผ้าไตรจีวรให้พระ ถวายไม้กวาด ไม้ถูพื้น วัตถุสิ่งของที่ใช้ทำความสอาดวัด

๒.แบบลงแรง คือ ไปทำความสอาดในเขตวัด เขตที่บริสุทธิ์ ปัดกวาดเช็ดถู ซักล้าง ยิ่งทำส่วนที่สกปรกมากยิ่งเห็นผลมาก

๓.แบบไม่ต้องลงทุนลงแรง มีอานิสงส์สูงสุด เร็วที่สุด คือ อภัยทาน ละวางความโกรธ ถ้าทำสมาธิร่วมด้วย ผลยิ่งเร็วขึ้น



ปัญหาที่สะสมอยู่ในเซลล์มาจากผลกรรม คือ การกระทำของแต่ละคน มาจาก ๓ ทาง คือ

๑. กายกรรม (การกระทำทางกาย)
- การฆ่าสัตว์ ฆ่ามนุษย์ กลั่นแกล้งรังแก ทำร้ายด้วยฝ่ามือ ก้อนดิน ท่อนไม้ ศาสตราวุธ
- การลักทรัพย์ ทำให้ผู้อืนเสียทรัพย์โดยที่เขาไม่เต็มใจ
- การประพฤติผิดในกาม คบชู้ มักมากในกาม ละเมิดบุตร คนรัก คู่ครองผู้อื่น

๒. วจีกรรม (คำพูด) พูดโกหก พูดคำหยาบ พูดส่อเสียด  พูดเพ้อเจ้อ (ชอบนินทา ยุแหย่ ใส่ร้าย่ ป้ายสี โกรธ โมโห)

๓. มโนกรรม (ความคิด) คิดประทุษร้ายผู้อื่น ประสงค์ต่อทรัพย์ผู้อื่น เห็นผิดทำนองคลองธรรม คิดลบลู่ ดูหมิ่น ล่วงเกิน ผู้ทรงศีลธรรม พยาบาทปองร้ายผู้อื่น ไม่เชื่อคำสอนของพระพุทธเจ้า ในเรื่อง บาป บุญ นรก สวรรค์ และกฏแห่งกรรม เป็นต้น



ที่มา   คู่มือหนีกรรมผิวพรรณ (ฉบับปฐมฤกษ์) เรียบเรียงโดย อ.อุบล ศุภาเดชาภรณ์
ผู้ดำเนินรายการ “คุยไปแจกไป” ทาง MVTV ช่องบางกอกทูเดย์


22205  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / การปฏิบัติพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา เมื่อ: มีนาคม 16, 2010, 07:37:52 pm

การปฏิบัติพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา


พุทธศาสนพิธี
ความสำคัญของศาสนพิธี : การกระทำบุญกุศลในทางพระพุทธศาสนาของเรานั้นมีมากมายหลายอย่างต่างกันไป ตามแต่ละวิธีการที่จะเกิดขึ้นนั้น ๆ และแต่ละอย่างล้วนเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญ แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของประเพณีและวัฒนธรรมประจำชาติ – ศาสนา – องค์พระมหากษัตริย์ และประจำจิตใจของพุทธศาสนิกชนคนไทยของเรามาเป็นเวลานับเป็นพัน ๆ ร้อย ๆ ปีผ่านมา และจะมีความเจริญรุ่งเรืองสืบต่อไปตลอดกาลนาน

เมื่อกล่าวโดย จำเพาะเจาะจงแล้ว มูลเหตุแห่งการทำบุญมี ๓ ประการด้วยกัน คือ
     ๑. บุญในวันสำคัญของชาติ ศาสนา องค์พระมหากษัตริย์

     ๒. บุญประจำประเพณีในเทศกาลต่าง  ๆ เช่น ตรุษสงกรานต์ สารท เข้าพรรษา ออกพรรษาเป็นต้น
     ๓. บุญที่มีความเกี่ยวข้องเฉพาะตัวบุคคล

 
บุญ ตามข้อ ๑ – ๒ นั้น เป็นหน้าที่ของคนไทยชาวพุทธทั้งหลายจะพึงกระทำบำเพ็ญเป็นสามัคคีธรรมร่วมกัน ตามแต่ละสถานที่ และท้องถิ่นนั้น ๆ
 
ส่วนบุญตามข้อ ๓  นั้น  เป็นหน้าที่ของผู้เป็นเจ้าภาพ  และญาติมิตรจะพึงกระทำกันเป็นการเฉพาะ และยังแบ่งบุญนี้ออกเป็น  ๒  ประเภทด้วยกัน  ดังนี้  คือ

     ๑. บุญในพิธีกรรมมงคลต่างๆ  เช่น  ทำบุญอายุ  บวชนาค  โกนจุก  แต่งงาน  ขึ้นบ้านใหม่  เป็นต้น  หรือที่เรียกว่าบุญที่ปรารภเหตุที่เป็นมงคล  นั่นเอง
     ๒. บุญอวมงคล  ในพิธีทักษิณานุปทาน  อุทิศส่วนกุศลให่ท่านผู้ล่วงลับดับขันธ์ไปแล้ว  นับตั้งแต่ทำบุญอุทิศหน้าศพ  ๗  วัน  ๕๐  วัน  ๑๐๐  วัน  และครบรอบปี  เป็นต้น  หรือที่เรียกว่า  บุญปรารภ -เหตุอวมงคล  นั่นเอง


งานบุญทั้ง หมดนี้  ล้วนมีศาสนพิธี  คือการกระทำตามหลักเกณฑ์ของศาสนาที่วางไว้นั้นเหมือนกันหมด ซึ่งนอกเหนือไปจากผู้เป็นเจ้าภาพ  จะดำเนินการกำหนดวัน – เวลา  ทำบุญนิมนต์พระ  เชิญญาติมิตร  หรือแขกเหรื่อ  จัดสถานที่  และการตระเตรียมสิ่งของ  และเครื่องใช้ต่างๆไว้ก่อนงานอย่างพร้อมเพรียงแล้ว  ศาสนพิธี  ได้แก่  การกล่าวคำบูชาพระและอาราธนาศีลเป็นต้น  จนกว่าพิธีการจะเสร็จเรียบร้อยนั้น  นับเป็นพิธีการระดับหัวใจของงานทีเดียวที่จะต้องทำให้ถูกต้อง  เพื่อให้สำเร็จประโยชน์ต่างๆ  ดังนี้  คือ
     ๑. ได้บุญกุศลอย่างถูกต้อง  และครบถ้วนตามพิธีการที่ต้องการเจ้าภาพ
     ๒. ชื่อว่ายกย่องเชิดชูพิธีการทำบุญนี้ให้มีความเจริญรุ่งเรืองในทางที่ถูกต้อง ตามประเพณี วัฒนธรรมต่อไป
     ๓. เป็นเกียรติคุณแก่ผู้เป็นเจ้าภาพ  และผู้ร่วมกุศลทั้งหลายให้เกิดเพิ่มพูนกุศล  จิตศรัทธามากยิ่งๆ  ขึ้นไป


ดังนั้นจึงใคร่เชิญผู้เป็นเจ้าภาพดำเนินการตามหลักศาสนพิธีอย่างถูกต้องตามลำดับดังต่อไปนี้


เหตุเกิดศาสนพิธี

ระเบียบวิธีการปฏิบัติของชาวพุทธเพื่อเข้าถึงพระรัตนตรัยเรียกว่า  ศาสนพิธี  ซึ่งหมายถึง  แบบอย่างหรือแบบแผนต่างๆ  เป็นสื่อในการทำความดีในพระพุทธศาสนา กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ  การทำกิจกรรมเพื่อเข้าถึง   พระรัตนตรัยนั่นเอง  ดังนั้น  ศาสนพิธีจึงมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าส่วนอื่นๆ  เลย

เหตุเกิดศาสนพิธี  จัดว่าเป็นสื่อกลางที่นำคนเข้าถึงสาระ  หรือแก่นพระศาสนาโดยการเข้าถึงสาระแก่นแท้ของพระพุทธศาสนานั้นสามารถเข้าถึง ทั้งด้วยการทำบุญให้ทาน  การรักษาศีล  และการเจริญ  ภาวนาตามลำดับ  และที่สำคัญคือ  การปฏิบัติตามหลักการของพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้อันเรียกว่า  “โอวาท ปาติโมกข์” พระโอวาทที่เป็นหลักของพระพุทธศาสนา

ในโอวาท ปาติโมกข์นั้นมีหลักการสำคัญที่ทรงวางไว้เป็นหลักทั่วๆไป  ๓  ประการ  คือ
     ๑. สอนไม่ให้ทำความชั่วทั้งปวง  (ละเว้นชั่ว)
     ๒. สอนให้อบรมกุศลให้ถึงพร้อม  (ประกอบควมดี)
     ๓. สอนให้ทำจิตใจของตนให้ผ่องใส  (ทำจิตผ่องใส
)

การพยายามทำตามคำสอนใน หลักการนี้เป็นการพยายามทำความดีที่เรียกว่า  ทำบุญ  และการทำบุญนี้  พระพุทธเจ้าทรงแสดงวัตถุคือที่ตั้งแห่งการทำบุญไว้โดยย่อ  เรียกว่า  “บุญกิริยาวัตถุ”  มี  ๓  ประการ  คือ
     ๑. ทาน      การบริจาคสิ่งของตนให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
     ๒. ศีล        การรักษากายวาจาให้สงบเรียบร้อย  ไม่ล่วงบัญญัติที่ทรงห้าม
     ๓. ภาวนา   การอบรมจิต ใจให้ผ่องใสในการกุศล


บุญกิริยาวัตถุนี้  เป็นแนวทางให้พุทธบริษัทประพฤติตามหลักการที่กล่าวข้างต้นและเป็นเหตุให้ เกิด   ศาสนพิธีต่างๆขึ้น  โดยนิยม

ประโยชน์ของศาสนพิธี
     ๑. เป็นวิธีการดึงคนเข้าสู่หลักธรรมทางพระศาสนา
     ๒. เป็นรูปแบบวิธีการที่มีแบบแผน  งดงาม  สอดคล้องกับวัฒนธรรมไทย
     ๓. เป็นกระบวนการที่ทำให้คนในสังคมมีความรักสามัคคีปราถนาดีต่อกัน
     ๔. ผู้ที่ศึกษาศาสนพิธีดีแล้ว  ย่อมเป็นผู้ฉลาดในพีธีกรรมที่ต้องปฏิบัติในการบำเพ็ญกุศล
     ๕. สามารถจรรโลงให้พระพุทธศาสนามีความเจริญยั่งยืนสืบไป



ที่มา  http://www.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1312:2009-09-28-16-34-12&catid=99:2009-09-28-16-15-01&Itemid=333

22206  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / สากลสัญลักษณ์แห่ง...พุทธ เมื่อ: มีนาคม 16, 2010, 07:15:16 pm
สากลสัญลักษณ์แห่ง...พุทธ


คมชัดลึก :สัญลักษณ์ แห่งพระพุทธศาสนา มีหลายอย่าง ได้แก่ พระพุทธรูป รอยพระพุทธบาท ใบโพธิ์ ต้นโพธิ์ ธงธรรมจักร ธงฉัพพรรณรังสี และ รูปธรรมจักร สัญลักษณ์ที่ได้รับการรับรองให้เป็นสัญลักษณ์แห่งพระพุทธศาสนาระหว่างชาติ คือ รูปธรรมจักร

วงล้อแห่งชีวิต หรือ ธรรมจักร (Dharmachakra; Wheel of Dhamma) เป็นสัญลักษณ์แทนวัฐจักร เวียนว่ายตายเกิด ซึ่งหมายถึง วงล้อ คือ พระธรรม ที่หมุนไปยังที่ต่างๆ แล้วยังความสันติสุขให้เกิดขึ้นในที่นั้นๆ ซึ่งมีความหมายดังนี้
 
ธรรมจักร หรือ วงล้อแห่งชีวิต เป็นสัญลักษณ์แทนวัฐจักรเวียนว่ายตายเกิด

  ๑.รูปทรงวงกลม (จักร) แทนความสมบูรณ์ แบบของพระธรรม ๒.แกนกลาง แทนคำสอน ซึ่งเป็นแก่นของการฝึกเพื่อนิพพาน และ ๓.ขอบที่เชื่อมซี่ของธรรมจักรไว้ จะหมายถึงความสมถะ มั่นคงยึดถือทุกสิ่งไว้ด้วยกัน
 สำหรับลักษณะของธรรมจักรดั้งเดิม มี ๒ รูปแบบ คือ มี  ๖ ซี่ หรือบางครั้ง ๕ ซี่ และรูปแบบที่กำเนิดในพุทธศาสนา คือ ๘ ซี่

 ในธรรมจักรนั้น ประกอบด้วยซี่ล้อ ๘ ซี่ หมายถึงอริยมรรคมีองค์ ๘ คือ
 ๑.สัมมา ทิฐิ ความเห็นชอบ ๒.สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ๓.สัมมาวาจา การเจรจาชอบ ๔.สัมมากัมมันตะ การกระทำชอบ ๕.สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพชอบ ๖.สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ ๗.สัมมาสติ ความระลึกชอบ และ ๘.สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ


ธงธรรมจักร
ในประเทศไทย ใช้ธงธรรมจักร ธงธรรมจักรของไทยที่มีพื้นธงเป็นสีเหลือง และมีสัญลักษณ์เป็นรูปกงจักรสีแดง อยู่ตรงกลาง มีซี่ล้อกงจักรอยู่ ๑๒ ซี่ด้วยกัน เป็นธงที่ใช้ประดับในพิธี หรือวันสำคัญเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ตราสัญลักษณ์พระธรรมจักรนี้ องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก หรือที่เรียกโดยย่อว่า พ.ส.ล. ซึ่งเป็นองค์การระหว่างประเทศทางพุทธศาสนา ได้รับไว้เป็นตราประจำขององค์การแล้ว

 ธงธรรมจักรนี้ คณะสงฆ์ไทยได้ประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๑ ภายหลังงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ ซึ่งในขณะนั้นมีซี่ล้อกงจักรอยู่เพียง ๘ ซี่เท่านั้น รูปพระธรรมจักร ก็ได้กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งพระพุทธศาสนาทั่วโลกในเวลาต่อมา และได้เพิ่มซี่ล้อกงจักรขึ้นอีก ๔ ซี่ ในปัจจุบันนี้ได้เพิ่มซี่ล้อกงจักรเข้าไปอีก ๔ ซี่

 อันหมายถึง ศาสนาที่สำคัญๆ ของโลกอีกสี่ศาสนา คือ ๑.ศาสนาพุทธ ๒.ศาสนาคริสต์ ๓.ศาสนาอิสลาม และ ๔.ศาสนาฮินดู

 ความหมายของธงธรรมจักรนี้ นอกจากจะใช้เป็นธงสำหรับประดับแล้ว ยังเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญอันคอยเตือนใจพุทธศาสนิกชน และศาสนาต่างๆ ที่รวมเข้าไว้ด้วยนี้ เพื่อให้ประพฤติ ปฏิบัติ ในสิ่งที่ชอบที่ดีงามอีกด้วย


ธงฉัพพรรณรังสี
 ส่วน ธงฉัพพรรณรังสี เป็นธงแห่งพระพุทธศาสนาระหว่างชาติ
 คำว่า "ฉัพพรรณรังสี" แปลว่า รัศมี ๖ สี (พระรัศมี ๖   สี) ซึ่งแผ่ออกจากพระวรกายของพระพุทธเจ้า คือ สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว สีแสด และสีเหลื่อมประภัสสร (คือ สีทั้ง ๕ รวมกัน เหลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก) แสดงถึงความที่พระพุทธศาสนิกชนยกย่อง

 ทั้งนี้ พ.ส.ล.ได้ประกาศใช้เป็นธงสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนา ในการประชุมเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๓ นั้น มี ๖ สี  เรียงตามแนวนอนดังนี้ คือ น้ำเงิน เหลือง แดง ขาว ส้ม   และสีซึ่งเรียกตามภาษาบาลีว่า "ประภัสสร"

 ธง ๖ สีนี้ เดิม พันเอกเฮนรี เอส ออลคอท พุทธศาสนิกชนชาวอเมริกัน เป็นผู้ออกแบบ และชาวพุทธศรีลังกาได้ใช้ต่อมา

 อย่างไรก็ตาม ธงนี้เริ่มมีผู้นิยมใช้มากขึ้น เมื่อได้ใช้เป็นธงทางการขององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ใน พ.ศ.๒๔๙๓

 การออกแบบธงนี้ ได้อาศัยความเชื่อว่า ไม่ว่าองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จ ณ แห่งใด พระองค์จะเปล่งพระรัศมี ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็น แสงแห่งปัญญา และ สันติสุข ไปสู่มวลมนุษย์ทั้ง ๖ ทิศ คือ ตะวันออก ตะวันตก เหนือ ใต้ เบื้องบน และเบื้องล่าง

 อย่างไรก็ตาม พุทธศาสนิกชนชาวไทยยังคงใช้ธงธรรมจักร ซึ่งมีรูปพระธรรมจักรบนพื้นสีเหลืองกันโดยทั่วไป  ซึ่งคณะสงฆ์ไทยเป็นผู้ประกาศใช้เป็นทางการตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๑ เป็นต้นมา

 อย่างไรก็ตาม สัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนาแรกเริ่มนั้น คือ ใบโพธิ์ ด้วยเหตุที่ว่า พระองค์ได้ตรัสรู้ที่ภายใต้ต้นไม้ชื่อว่า อัสสัตถะ ต่อมาก็เรียกว่า ต้นโพธิ์

 คำว่า โพธิ แปลว่า ตรัสรู้ เพราะพระพุทธเจ้าไปประทับนั่งใต้ไม้นั้นตรัสรู้ จึงได้เรียกว่า ต้นไม้ตรัสรู้ เรียกเป็นศัพท์ว่า โพธิพฤกษ์

 แต่ชื่อของต้นไม้ชนิดนี้ว่า อัสสัตถะ ที่ตรัสรู้นั้น อยู่ใกล้ฝั่ง แม่น้ำเนรัญชรา ในตำบลอุรุเวลา ในมคธรัฐ



รอยพระพุทธบาท

 ต่อมาก็มีการสร้าง รอยพระพุทธบาท สัญลักษณ์ที่แสดงถึงการเจริญรอยตามบาทของพระศาสดา สมัยโบราณ เป็นการสร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า สำหรับไว้ให้คนได้บูชากัน

 เพราะสมัยนั้น ยังไม่มีคติการสร้างพระพุทธรูปขึ้นมา  รอยพระพุทธบาท จะหมายถึงตอนที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบวช บางทีก็ทำเป็นรูปม้าผูกเครื่อง แต่ไม่มีผู้ขี่ ส่วนตอนตรัสรู้ก็ทำเป็นรูปแท่นที่ประทับ ตอนประทานปฐมเทศนาก็ทำเป็นธรรมจักร มีกวางหมอบอยู่ เพื่อสื่อถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน

 รอยพระพุทธบาท นั้น เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันที่จริง มีมาก่อนที่จะมีการสร้างพระพุทธรูปไว้แทนพระพุทธองค์มาตั้งแต่สมัยอินเดีย โบราณ และยังคงสืบเนื่องเรื่อยมาจนปัจจุบัน ถึงแม้ว่าจะมีการสร้างพระพุทธรูปแล้วก็ตาม ทว่าความหมายแห่งการบูชา ได้เปลี่ยนไปจากเดิม ที่เป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธองค์ ก่อนการสร้างพระพุทธรูป ในภายหลัง ที่ปรากฏพระพุทธรูปแล้วรอยพระพุทธบาทได้กลายเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญ เพื่อแสดงถึงว่า เป็นดินแดนที่พระพุทธองค์ได้ดำเนินไปถึง เป็นสิริมงคล

 ซึ่งตามตำนานอ้างไว้ว่า รอยพระพุทธบาท ซึ่งพระพุทธองค์ได้เสด็จประทับไว้ ๕ แห่ง ได้แก่ เขาสุวรรณมาลิก, เขาสุวรรณบรรพต, เขาสุมนกูฏ, เมืองโยนกบุรี และ หาดทราย ในลำน้ำนัมมทานที


พระพุทธรูป

ในขณะที่การสร้าง พระพุทธรูป หมายถึง รูปที่สร้างขึ้นแทนองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อกราบไหว้บูชา อาจใช้การแกะสลักจากวัสดุต่างๆ เช่น ศิลา งา ไม้ หรือวัสดุอื่นๆ นอกจากนี้ ยังอาจใช้การปั้น หรือหล่อด้วยโลหะก็ได้

 โดยทั่วไป คำว่า พระพุทธรูป มักจะหมายถึง รูปขนาดใหญ่พอที่จะวางบูชาได้ สำหรับรูปขนาดเล็กมักจะเรียกว่า พระเครื่อง

 อย่างไรก็ตาม ทั้งสองแบบสามารถเรียกว่า พระพุทธรูป ได้เช่นกัน
 พระ พุทธรูปรูปแรก จึงเกิดขึ้นในสมัยของ พระเจ้ามิลินท์ หรือ เมนันเดอร์ ที่ ๑ ชาวกรีกที่มาครอบครองแคว้นคันธารราษฎร์ เมื่อประมาณ พ.ศ.๕๐๐-๕๕๐ หรือ ๒,๐๐๐ ปีที่แล้ว นั่นเอง

 พระพุทธรูปที่เกิดขึ้นครั้งแรก จึงเรียกรูปแบบของพระพุทธรูปนี้ว่า แบบคันธารราษฎร์ โดยถ่ายแบบอย่างเทวรูปที่พวกชาวกรีกนับถือกันในยุโรปมาสร้าง

 พระพุทธรูปแบบคันธารราษฎร์ จึงมีใบหน้าเหมือนฝรั่งชาวกรีก จีวรก็เป็นริ้วเหมือนเครื่องนุ่งห่มของเทวรูปกรีก

 และต่อมาในภายหลัง ราวพุทธศตวรรษที่ ๔-๑๒ มีคตินิยมสร้างพระพุทธรูปเป็นขนาดเล็กๆ (พระเครื่อง) บรรจุไว้ในพุทธเจดีย์


ที่มาเรื่อง... "ไตรเทพ ไกรงู""ภาพ... "ประเสริฐ เทพศรี"
http://www.komchadluek.net/detail/20090520/13434/สากลสัญลักษณ์แห่ง...พุทธ.html

22207  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / คนค้นกรรม 1 เมื่อ: มีนาคม 15, 2010, 05:37:31 pm
คนค้นกรรม

เช้าวันนั้นตั้งนาฬิกาปลุกไว้ตีห้า ตื่นมายังรู้สึกง่วงอยู่เลยนอนต่อ หูได้ยินเสียงเพลงจากเครื่องขยาย เลยลุกขึ้นไปดูที่ถนนใหญ่ปากซอยหน้าบ้าน  เห็นรถจำนวนมากจอดอยู่หลายสิบคัน รถที่จอดเป็นของผู้ชุมนุมกลุ่มหนึ่งใจก็คิดว่า จะไปดีไหมหนอ รถจะติดรึเปล่าหนอ นั่งกินกาแฟ โต๋เต๋ไปมาสักพัก ได้เวลาอาบน้ำ ออกจากห้องน้ำรู้สึกสดชื่น ได้กำลังใจ เอาล่ะว่ะไปก็ไป  ระหว่างทางรถไม่ติดแฮะ  เพลงในรถก็เพราะถูกใจ บรรยากาศสองข้างทางก็สดชื่น ขับรถเรื่อยมา ผ่านป้ายบอกทางมาสองป้าย พอถึงป้ายที่สาม ก็เลี้ยวรถเข้าไปจอด ถึงแล้วครับ  “บ้านสวนพีระมิด”

   พอลงจากรถมา ก็มีเจ้าหน้าที่คนหนึ่งเข้ามาทัก ผมถามว่า“อาจารย์อยู่ไหมครับ” คนที่มาทักตอบว่า “อยู่ค่ะ” จากนั้นก็พาไปลงทะเบียน กรอกประวัติต่างๆ พอกรอกเสร็จก็ไปยื่นให้อาจารย์ ได้ยินอาจารย์พูดว่า “คนนี้ต้องรอบ่าย” ตัวผมเองไม่ใส่นาฬิกามาร่วมสิบปีแล้ว  เลยรู้ว่านี้คงจะใกล้เที่ยงแล้ว

   ระหว่างที่รอไม่รู้จะทำอะไร เลยเดินเตร็ดเตร่ไปเรื่อย ที่นี่อากาศบริสุทธิ์ดี แม้วันนั้นค่อนข้างร้อน แต่พอมีลมพัดมาทำให้รู้สึกสดชื่นขึ้น เจ้าหน้าที่คนเดิมมาเตือนว่า ให้อยู่ใกล้ๆอาจารย์เผื่ออาจารย์จะเรียก  ผมโชดดีครับ
วันนี้มีคนมาหาอาจารย์แค่ ๔ คน และผมก็เป็นคนที่ ๔ นับว่าวันนี้เป็นวันของผม “ฟ้าเปิดครับ” 

ผมรออยู่สักครู่อาจารย์ก็เรียกชื่อผม ผมเข้าไปไหว้  หลังจากได้เห็นอาจารย์มาหลายครั้งทางทีวี วันนี้เป็นครั้งแรกที่ได้เห็นอาจารย์ใกล้ๆ อาจารย์เป็นคนร่างค่อนข้างเล็ก ผิวขาว ไว้ผมม้า นัยน์ตาสีสนิมเหล็ก บุคคลิกดูเป็นคนคล่องแคล่ว  พูดจาชัดเจน ฉะฉาน ตรงไปตรงมา ดูเป็นคนมีวินัยสูง  ผู้หญิงอายุ ๕๐ ต้นๆคนนี้ ดูน่าจะอายุสัก ๔๐ ไม่รู้เธอทำบุญด้วยอะไร

ผมถามอาจารย์ว่า ระหว่างที่รอผมจะทำอะไรได้บ้าง อาจารย์แนะนำว่า ให้ไปช่วยเหลาไม้ไผ่ การเหลาไม้ไผ่นั้น ก็เพื่อนำไปทำพื้นสถานปฏิบัติธรรม  สถานที่นี้ถูกสร้างเป็นรูปพีระมิดมีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยม มุมหลังคาด้วยจาก พื้นขัดแตะด้วยไม้ไผ่ มีสองชั้น โครงสร้างเกือบทุกอย่างทำด้วยไม้ไผ่  ผมดูแล้วรู้สึกชอบ ดูเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมดี  บริเวณรอบๆบ้านสวนพีระมิดนั้น ไม่ค่อยมีบ้านคน โดยส่วนตัวเห็นว่า น่าจะเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมที่สัปปายะที่หนึ่ง


เวลาล่วงเลยมาบ่ายสองโมงกว่า จึงได้คุยกับอาจารย์อย่างเป็นทางการ  อาจารย์ถามว่า  ได้ข่าวจากที่ไหนและมาที่นี่ด้วยสาเหตุอะไร ผมเองได้ดูรายการ “คุยไปแจกไป”ทาง MVTV ช่องบางกอกทูเดย์ ได้ดูมาหลายครั้งแล้ว ตอนแรกที่ดูคิดว่า เป็นการขายเครื่องสำอางแบบขายตรง ดูๆไป เอ๊ะ....ผู้หญิงคนนี้พูดธรรมะได้ดี ตรงจริตผม สิ่งที่อาจารย์พูดออกมา เป็นเรื่องที่ผมเคยรับรู้ เคยอ่านมาบ้างแล้ว ต่อมาจึงรู้ว่าอาจารย์เป็นศิษย์ของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ  ผมเองก็มีหนังสือของหลวงพ่อฤาษีลิงดำอยู่มาก  หนังสือธรรมะเล่มแรกที่ผมอ่านอย่างจริงจังก็เป็นหนังสือของหลวงพ่อเหมือนกัน  การได้พบอาจารย์ครั้งนี้ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะเคยทำบุญร่วมกันมา

นอกจากเรื่องธรรมะแล้ว อาจารย์มักจะกล่าวถึง ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา  ศ.ดร.นพ.เทพพนม เมืองแมน อยู่บ่อยครั้ง บุคคลทั้งสองเป็นคนที่ผมชื่นชอบให้ความยอมรับ คงไม่ต้องบอกนะครับว่า ผมชอบอ่านเรื่องอวกาศ ยานอวกาศ จักรวาลอื่นๆ และมนุษย์ต่างดาว นอกจากจะกล่าวถึงแล้ว ยังไปสัมภาษณ์บุคคลทั้งสองหลายครั้ง ทุกครั้งที่สัมภาษณ์ บุคคลทั้งสองจะกล่าวถึงธรรมะของพระพุทธเจ้า อันหลังนี้เป็นสิ่งที่ผมชอบที่สุด
 
ยังครับยังมีอีก  ผมชอบอ่านเรื่องพีรามิดมาตั้งแต่เด็ก สนใจพลังพีระมิดเป็นอย่างมาก อาจารย์จะพูดถึงพลังของพีรามิดในรายการที่อาจารย์จัดอยู่เสมอๆ ทำให้ผมชอบ ติดตามรายการนี้อยู่บ่อยๆ

สิ่งที่ผมเล่ามานั้น เป็นเพียงเหตุผลสนับสนุนให้ผมมาพบอาจารย์ แต่ไม่ใช้จุดประสงค์ที่มาในครั้งนี้ รายการคุยไปแจกไปของอาจารย์ จะนำภาพและเสียงการสัมภาษณ์ของผู้เป็นโรคต่างๆมาออกอากาศเป็นประจำ  ผู้ป่วยหลายรายหายจากอาการป่วย บางรายก็อาการดีขึ้น สิ่งที่ทำให้หายป่วยหรือดีขึ้นไม่ได้เกิดจากการรักษา อาจารย์ไม่ใช่หมอ  แต่เกิดจากการทำบุญและปฏิบัติธรรม ตามที่เคยเล่ามาแล้วอาจารย์กำลังสร้างสถานปฏิบัติธรรม  อาจารย์จะให้ผู้ป่วยขนดินใส่รถเข็น ๙ เที่ยว เพื่อนำไปสร้างอาคารปฏิบัติธรรม และรับคำสัตย์ตามที่อาจารย์จะกำหนด เช่น ถือศีล ๕ อย่าทำหรือให้ทำบางเรื่อง ทุกเรื่องล้วนเป็นการปฏิบัติตามหลักคำสอนของพุทธศาสนาทั้งสิ้น หรือถ้าใครต้องการโชดลาภต่างๆให้ไปเหลาไม้ไผ่ ๙ ลำ  ที่เล่ามานี้เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น

การปฏิบัติธรรมแล้วหายจากโรคได้ เป็นสิ่งที่ผมสนใจ ตัวผมเองถือศีล เจริญกรรมฐานอยู่แล้ว ถึงแม้จะกระพร่องกระแพร่ง ลุ่มๆดอนๆไปบ้าง อย่างน้อยก็มีจิตฝักใฝ่ในธรรมอยู่ 

ผมเล่ามานานพอสมควร คราวนี้ถึงตอนสำคัญเสียที อาจารย์ดูประวัติของผมแล้ว พูดว่า โรคที่คุณเป็นอยู่นี้ เกิดเพราะมันมีเหตุ และถามว่า เชื่อในคำสอนของพระพุทธเจ้าไหม ที่ว่า “สิ่งใดล้วนเกิดแต่เหตุ ถ้าดับเหตุได้ ก็จะไม่เกิด” ผมตอบว่า เชื่อ อาจารย์พูดต่อว่า โรคที่คุณเป็นอยู่นี้ ที่มันเป็นเพราะมันมีเหตุ ถ้าเราดับเหตุได้แล้วโรคจะหายไป   ผมนิ่ง อึดอัด ลังเล ไม่รู้จะตอบอย่างไร อาจารย์เห็นผมไม่ตอบก็เลยพูดว่า “ งั้นคุณก็ไม่เชื่อคำสอนของพระพุทธเจ้าซิ” ผมเลยยืนยันไปอีกครั้ง  “เชื่อครับ” “ในหลักการผมเชื่อ แต่ยังสงสัยในรายละเอียด”

ความจริงแล้ว ก่อนที่จะมาหาอาจารย์ ผมมีความลังเลอยู่บ้าง เนื่องจากโรคที่ผมเป็นอยู่เป็นโรคที่รักษาไม่หาย เป็นมาหลายสิบปี จู่ๆจะหายไปเฉยๆได้อย่างไง  เลยทำให้ศรัทธาไม่เต็มร้อย  และอีกส่วนหนึ่งเป็นการอยากลองพิสูจน์  พื้นฐานนิสัยของผมชอบปรามาส สมณะ ชี พราหมณ์ ไม่เชื่อใครง่ายๆ เพราะอ่านหนังสือมาเยอะ มีทิฏฐิสูง และที่ผ่านมาแทบจะไม่เจอเรื่องอิทธิฤทธิ ปาฏิหารย์เลย  ด้วยเหตุนี้ทำให้ผมลังเลที่จะตอบ

อาจารย์กล่าวต่อไปว่า คุณพลาดน่ะ ถ้าคุณมีศรัทธาเต็มร้อย คุณจะหายเลย นี่คุณมาลอง

เอาล่ะครับ ตอนนี้จะเป็นการบอกถึงสาเหตุของการเป็นโรคต่างๆที่ผมได้แจ้งให้อาจารย์ทราบก่อนหน้านี้แล้ว โรคที่ผมเป็นอยู่  คือ ภูมิแพ้,หัวใจ,กระเพาะ,ริดสีดวง,ปวดเข่า,ไขมันสูง  ผมจะไล่ไปทีละโรคนะครับ

โรคภูมิแพ้
อาจารย์ถามว่า รู้ไหมว่าไปทำอะไรมาถึงเป็น  ผมไม่ทราบและนึกไม่ออกว่า กรรมอะไรที่ทำให้เป็นโรคภูมิแพ้ อาจารย์ถามว่าเคยฉีดยาฆ่าแมลงไหม  ผมนึกออกทันที ตอนเด็กๆเคยพ่นยาฆ่ายุง ฆ่ามด  ฆ่าแมลงตัวเล็กๆอีกหลายอย่าง  อาจารย์บอกว่าให้ผมบอกมาให้หมด เค้าจะได้อโหสิกรรมให้ อาจารย์เห็นเค้ามากับคุณหลายอย่าง    สุดท้ายก็สรุปว่า ยาที่คุณพ่นคุณฉีดใส่แมลงนั้น  ส่งผลให้คุณเป็นโรคภูมิแพ้

โรคที่สอง “หัวใจ”
อาจารย์ถามผมอีกด้วยคำถามเดิมว่า รู้ไหมว่าไปทำอะไรมาถึงเป็น  ผมก็ตอบเหมือนเดิมคือไม่ทราบ
“คุณไปทำร้ายผู้หญิงจนเค้าเกือบจะฆ่าตัวตาย” ผมยอมรับว่าผมหักอกผู้หญิงมาหลายคน ไม่ต่ำกว่า ๕ คน และอาจจะมีที่ไม่ได้ตั้งใจอีกจำนวนหนึ่ง  แต่เรื่องที่จะฆ่าตัวตายนั้น ผมไม่ทราบ   ความเจ้าชู้ของผมเป็นสิ่งที่ผมรู้ตัวมากที่สุด และจำได้ไม่ลืม  อาจารย์ยังบอกอีกว่า  “คนหลังๆเค้าเป็นฝ่ายทิ้งคุณเอง” ผมประหลาดใจมาก  อาจารย์รู้ได้อย่างไร มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ

   โรคที่สาม “กระเพาะ”
   อาจารย์พยายามให้ผมนึกหาสาเหตุเอาเอง แต่ผลก็นึกไม่ออก อาจารย์เลยถามว่า เคยวางยาพิษคนไหม
ผมตอบว่าไม่เคย  แล้วถ้าเป็นสัตว์ล่ะ  อ้อ...ผมนึกออกแล้ว  ผมเคยวางยาเบื่อหนู  คุณรู้ไหมว่า มันกินเข้าไป มันจะรู้สึกอย่างไร  มันจะทรมานมาก มันทรมานอย่างไร คุณจะต้องทรมานอย่างนั้น

   โรคที่สี่ “ริดสีดวง”
   ตอนแรกก็นึกไม่ออกว่าไปทำอะไรมา แต่ก็แว๊บขึ้นมาว่า ตอนเป็นเด็ก เคยเอาไม้ไปแยงก้นแมว
อาจารย์บอกว่าใช่  อาจารย์เห็นภาพไม้อยู่ที่ก้นผม   ท่านใดที่เคยเป็นริดสีดวงทวาร คงรับรู้อาการถ่ายเป็นเลือด
ว่าเจ็บแสบแค่ไหน

   โรคที่ห้า “ปวดเข่า”
   โรคนี้ผมรู้สาเหตุมานานแล้ว ตอนเด็กๆผมซนมาก รู้ว่าแมวมีเก้าชีวิต  เลยทดสอบดู ผมจับแมวโยนลงหน้าต่างหลายครั้ง จนแมวขากระเพรก อาจารย์พยักหน้ายอมรับคำพูดของผม และพูดเสริมว่า คุณยังเอาไม้ไปตีขาหมาอีก ผมยอมรับว่าเคยทำ  อาการปวดเข่าของผมมีมาประมาณ ๓๐ ปีแล้ว กรรมมันตามผมเร็วมาก
   เรื่องทำกรรมกับแมวยังมีอีกเรื่อง ที่ยังไม่ได้บอกอาจารย์  คือ ตอนเป็นเด็ก ผมชอบดึงลิ้นแมวออกมาเล่น  กรรมที่ดึงลิ้นแมวนี้  ทำให้ผมต้องถูกหมอดึงลิ้นออกมา เพื่อตรวจลำคอ เนื่องจากผมเป็นภูมิแพ้ ทำให้เจ็บคอบ่อย จนต้องตัดต่อมทอนซิลทิ้ง  ปัจจุบันถ้าผมไปหาหมอเฉพาะโรค  ก็จะถูกดึงลิ้นออกมาตรวจเป็นประจำ ดูซิครับกรรมมันรุมเล่นงานผมอย่างเป็นทีม

   โรคที่หก “ไขมันในเส้นเลือดสูง”
   โรคนี้อาจารย์เฉลยให้ว่า เกิดจากผมเคยเอาอาหารบูดเน่าไปให้คนกิน ผมตอบว่า ถ้าเป็นหมาแมวผมเคย แต่ถ้าเป็นคนผมไม่แน่ใจ จำไม่ได้ นึกไม่ออก


   โดยปรกติแล้ว ผมเป็นโรคต่างๆมากกว่าที่แจ้งไป เรียกได้ว่า เป็นตั้งแต่หัวจรดเท้า จนผมก็ไม่รู้ว่าผมเป็นอะไร  เรื่องนี้อาจารย์เอ่ยปากขึ้นมาก่อนที่ผมจะบอก  แปลกใจเหมือนกันอาจารย์รู้ได้อย่างไง
   อาจารย์แถมให้ผมอีกอย่าง อาการปวดหลังที่เป็นอยู่ เกิดจากผมไปตีหลังงู และไปตีหลังหมา ผมยอมรับว่าเคยไปตีทั้งหลังงูและหลังหมา
   ยังมีอีกอย่างครับ เนื่องจากผมมีทิฏฐิสูงมาก  ผมถามอาจารย์ว่า  ทำไมผมจึงลดทิฏฐิไม่ได้(ชอบปรามาสพระรัตนตรัย)  “คุณเคยลบลู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์เอาใว้” ใช่ครับผมทำแบบนั้นอยู่เสมอ  ผมเป็นกังวลกับเรื่องนี้มาก การชอบลบลู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ จะทำให้ผมไม่ประสบความสำเร็จในทางธรรม

   มาถึงไฮไลต์ครับ อาจารย์พูดสรุปว่า “คุณอยากหายภายในกี่วัน” ผมก็อ้ำอึ้ง ลังเล บอกไม่ถูก ตามฟอร์มเดิม ด้วยศรัทธาที่ไม่เต็มร้อย ทำให้ผมคิดในใจว่าจะหายจริงเหรอ  ความรู้สึกนี้ดูเหมือนว่าอาจารย์จะรับรู้ได้
สุดท้ายก็คิดถึงเลข ๑๕ เลยบอกอาจารย์ไปว่าอยากหายภายใน ๑๕ วัน “คุณได้สิทธิ์นั้น” อาจารย์กล่าวอย่างมั่นใจ
ผมได้ยินอาจารย์พูดอย่างนั้น ผมก็ งงๆ  คิดถึงรายการทีวีช่องหนึ่ง
   อาจารย์พูดต่อว่า สิ่งที่คุณต้องการคุณก็ได้ไปแล้ว ตอนนี้อาจารย์จะขออะไรจากคุณบ้าง รับปากได้ไหม

ข้อแรก    ถือศีลห้าอย่างเคร่งครัด อย่าส่งเสริมให้คนทำผิดศีล  ไม่ยินดีเมื่อเห็นคนทำผิดศีล
ข้อสอง   ทำทานให้มากขึ้น ไม่มีปัจจัยก็ให้อนุโมทนาเอา อนุโมทนาไม่ต้องออกเสียงก็ได้
“ที่ผ่านมา คุณทำทานก็จริง แต่ใจไม่มีศรัทธา ทำไปอย่างนั้นเอง ทำให้ได้บุญไม่มาก” อาจารย์พูดเปรยขึ้นมา
ผมก็ยอมรับว่าเป็นจริงตามที่พูด  ประหลาดใจครับ อาจารย์รู้ความในใจของผมได้อย่างไง อันนี้เป็นเรื่องลับของผมไม่มีใครรู้นอกจากผม
ข้อสาม   ทำสมาธิวิปัสสนาทุกวัน
ข้อสี่   ช่วยออกแรงสร้างสถานปฏิบัติธรรมที่นี่ แต่ต้องทำติดต่อกัน ๓ วัน อย่างน้อยเดือนละครั้ง
ข้อห้า   นำเรื่องที่คุยกันวันนี้โพสต์ขึ้นอินเตอร์เน็ต พร้อมแจ้งชื่อที่อยู่และเบอร์โทร


ผมพยักหน้าแทนการรับปาก  พยักหน้านี่ทำได้ใช่ไม๊  ทำได้ครับ ผมรับปากอย่างเต็มใจ  ในใจผมตอนนั้นคิดอย่างลำพองตนว่า ปฏิบัติธรรมง่ายๆอย่างงี้ ผมสบายอยู่แล้ว ปรกติก็ทำอยู่  อาการประมาทและชอบทนงตนของผมมันมีมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว  ไม่รู้จะละนิสัยแย่ๆอย่างนี้ได้เมื่อไหร่

วันที่ผมไปหาอาจารย์เป็นวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๓  อาจารย์รับปากผม ว่าภายใน ๑๕ วันผมต้องหายจากทุกโรคที่ผมเป็นอยู่ แต่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังนั้นวันที่ ๒๘ มีนาคมนี้ ผมต้องหายจากทุกโรค
หลังจากผ่านวันที่ ๒๘ มีนาคมไปแล้ว ผมต้องไปหาอาจารย์อีกครั้ง และผมจะมาเล่าให้ฟังอีกครั้ง

   มาถึงตรงนี้ หลายคนอาจสงสัยว่า อาจารย์มีอำนาจวิเศษอะไรถึงรู้เรื่องกรรมได้ ขอตอบว่า อาจารย์ขอบารมีพระพุทธเจ้า และบารมีของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ  รวมทั้งการรักษาโรคก็เช่นกัน อาจารย์ไม่ใช่หมอ อาจารย์ขอบารมีพระพุทธเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ท่านนับถือมาช่วยรักษา อยากรู้เรื่องอาจารย์มากกว่านี้ ต้องไปพบท่านที่ บ้านสวนพีระมิด ผมจะแนบแผนที่ไว้ในท้ายบทความนี้

   ผมจั่วหัวเรื่องไว้ว่า “คนค้นกรรม” มันมีที่มาครับ ลีลาและท่วงทำนอง ที่อาจารย์จะบอกถึงสาเหตุหรือที่มาของกรรมต่างๆนั้น  อาจารย์จะไม่บอกตรงๆ จะถามก่อนว่า เคยทำเรื่องนั้นเรื่องนี้ไม๊  หากไม่รู้ก็จะบอกใบ้ให้บางอย่าง จนคนนั้นถึงบางอ้อ  ความรู้สึกของผมมันเหมือน การสืบสวน สอบสวนของตำรวจ และอีกอย่างความอยากรู้อยากเห็นของผม มันเหมือนการค้นหาอะไรบางอย่าง   เมื่อคิดจนถึงที่สุดแล้ว มันเลยถูกสรุปออกมาเป็น
“คนค้นกรรม” แต่ขอออกตัวแทนอาจารย์ก่อนว่า  อาจารย์ไม่ใช่ตำรวจ  ปรกติอาจารย์จะเป็นคนน่ารัก เป็นกันเองกับทุกคน ถึงแม้บางครั้งอาจพูดดุไปบ้าง แต่ก็ดุเพราะประสงค์ดี ดุได้งามครับ


ข้อมูลของอาจารย์
อาจารย์อุบล  ศุภเดชาภรณ์  ปัจจุบันเป็นผู้ดำเนินรายการ “คุยไปแจกไป” ออกอากาศทาง MVTV ช่องบางกอกทูเดย์ ทุกวันอาทิตย์ เวลา ๑๕.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. ออกอากาศซ้ำวันจันทร์  เวลา ๐๐.๐๐ – ๐๒.๐๐ น.
สอบถามได้ที่  โทร. 081-820-8468, 081-919-6705, 084-346-2881, 089-962-3271

ข้อมูลผู้เขียน
นายณฐพลสรรค์  เผือกผาสุข
ปัจจุบันอยู่ บ้านเลขที่  69/2 หมู่ 10 ต.พญาเย็น อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา  30320
โทร. 089-823-6122
e-mail   nathaponson@gmail.com หรือ  nathaponson@yahoo.co.th


ข้อมูลในการเขียนครั้งนี้เป็นการกล่าวโดยสรุป มิได้ตรงกับที่คุยกันทีเดียว เนื่องจากระหว่างที่คุยกันผู้เขียนไม่ได้อัดเสียงเอาไว้ แต่ยังคงเนื้อหาที่ถูกต้องเอาใว้  หากผิดพลาดประการใด ผู้เขียนขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว


แผนที่ไปบ้่านพีระมิดคลิกที่ลิงค์นี้ครับ

www.somtumluang.com
Aeva Debug: 0.001 seconds.
22208  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / เจ้ากรรม นายเวร เมื่อ: มีนาคม 12, 2010, 03:57:56 pm


เจ้ากรรม นายเวร
โดย..หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง

"..เจ้า กรรมนายเวร หมายถึงบาปที่เป็นอกุศลที่เราได้ทำไว้กับคนและสัตว์ใน อดีตชาติก็ดี ในชาติปัจจุบันก็ดี อย่างบางคนที่เราฆ่าเขาบ้าง เราทำร้ายเขาบ้าง เขาอาจจะไปเกิดเป็นเทวดาหรือพรหมแล้ว ถ้าเป็นเทวดาเขาไม่สนใจแล้ว แต่ไอ้ตัวบาปที่เราทำไว้ อย่างคนที่ไปขโมยของเขา เจ้าของเขาไม่ติดใจแต่ตำรวจมีหน้าที่ตามไม่ใช่อยากตาม แต่กฎหมายให้ตาม

ฉะนั้น กรรมหรือเวรตัวนี้คือกฎหมาย ถ้าหากปฏิบัติในขั้นสุกขวิปัสสโก ก็จะบอกว่าไม่มีตัวตนเพราะไม่เคยเห็น แต่ว่าตั้งแต่ เตวิชโชขึ้นไปเขาเห็น ดังเรื่องที่อาตมาเล่าให้ฟังประกอบเรื่องนี้

เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗ คืนหนึ่งอาตมาเจริญพระกรรมฐานเสร็จ ก็อุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร ขณะที่อุทิศส่วนกุศลก็มายืนกันมากแต่ไม่ใช่เจ้ากรรมนายเวร เป็นคนมาโมทนาบุญ พอเขาโมทนากันเสร็จ ก็มีชายคนหนึ่งคลานเข้ามา ถือขวานเล่มใหญ่

พอ เข้ามาใกล้ก็บอกว่า "ผมกับท่านหมดเรื่องกัน"
อาตมา ก็ถามว่า "หมดเรื่องอะไร"
เขา ก็บอกว่า "หมดเรื่องที่จะต้องติดตามจองล้างจองผลาญกัน"
ก็ ถามอีกว่า "จองล้างจองผลาญฉันทำไม"
เขา ก็บอกว่า "เปล่าครับ ผมไม่ได้จองล้างจองผลาญ"
ก็ ถามว่า "แล้วเข้ามาทำไม"

เขา ก็เลยเล่าประวัติความเป็นมาให้ฟังว่า "ในอดีตนับเป็นสิบๆ ชาติ ท่านกับผมรบกันมาเรื่อย" เป็นคู่สงครามกัน ตัวเขาเก่งขวานทุกชาติ ส่วนอาตมาเก่งดาบสองมือทุกชาติ ถ้าเวลาให้รบตัวต่อตัว ต้องเอาคู่นี้มารบกัน ถ้าคนอื่นหัวขาด พอถึงเวลากินข้าวก็บอกว่า "พักรบก่อน กินข้าวเสร็จมารบกันใหม่" วันนั้นทั้งวันไม่มีใครเสียท่ากัน

อาตมา ถามว่า "มันมีเวรกรรมอะไรกันล่ะ"
เขา บอกว่า "กฎของกรรมเขาถือว่ามี แต่เวลานี้กฎของกรรมสลายตัวแล้ว"
ก็ เลยถามว่า "เวลานี้ไปเกิดที่ไหน"
เขา ก็บอกว่า "ผมเป็นพรหมครับ"
ถาม ว่า "พรหมยังจองกรรมหรือ"
เขา ตอบว่า "ผมไม่ได้จองแต่กฎของกรรมมันจอง เรื่องของกรรมหนักๆ ระหว่างสงครามหมดกันแค่นี้"



เราอุทิศส่วนกุศลให้แก่เจ้ากรรมนายเวร เขาจะได้รับหรือไม่ได้รับก็ตาม บุญที่เราทำเป็นผลให้เกิดความสุข ไอ้กรรมต่างๆ ที่เป็นอกุศลที่เราได้ทำไปแล้ว เราไปยับยั้งมันไม่ได้ แต่ทว่าถ้าเราทำกรรมดีให้มีกำลังเหนือบาป บาปต่างๆ ก็จะตามเราไม่ทันเหมือนกัน เรียกได้ว่า เป็นการทำบุญหนีบาป ไม่ใช่ทำบุญล้างบาปทุกคนที่เกิดมาในโลกนี้ที่ไม่ทำความชั่วเลยน่ะไม่มี ดังนั้นถ้าเราจะชดใช้บาปก็คงจะชดใช้กันไม่ไหวมีทางเดียวในกิจของพระพุทธ ศาสนาคือ หนีบาปด้วยการปฏิบัติดังนี้


๑) การคิดถึงคุณพระรัตนตรัยคือ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระอริยสงฆคุณ
๒) ทรงศีล ๕ ให้บริสุทธิ์
๓) มีพรหมวิหาร ๔ ให้ครบถ้วน
๔) มีอิทธิบาท ๔ ทรงตัว
๕) มีการภาวนาให้จิตทรงตัว
๖) พยายามรวบรวมบารมี ๑๐ ประการให้มีในจิตให้ครบถ้วน
๗) พยายามตัดสังโยชน์ ๑๐ ประการให้หมด
๘) จรณะ ๑๕ ปฏิบัติให้ครบถ้วน

เมื่อมีการทรงตัวดังกล่าวมาแล้วนี้ได้ทั้งหมด ก็เป็นอันว่าไม่ต้องเกิดกันอีกต่อไป นั่นคือตายเมื่อใดก็ไปพระนิพพานอันเป็นแดนที่มีความสุขที่สุด.."


ที่มา  http://www.pranippan.com/
22209  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / ทำบุญแล้วได้บาปเป็นอย่างไร เมื่อ: มีนาคม 12, 2010, 03:52:26 pm

ทำบุญแล้วได้บาปเป็นอย่างไร

โดย..หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง


"..ชาวบ้านเขาทำบุญกันแล้วมีการบวงสรวงอันเชิญเทวดา อันนี้ฉันไม่รู้เขาเชิญให้มาหรือไม่ให้มากันแน่ เราต้องดูส่วนประกอบหลายอย่าง จิตเขาสะอาดแค่ไหน ถ้าสะอาดไม่พอ ท่านได้ยินแต่ว่าท่านไม่มาซะอย่างก็หมดเรื่อง

อย่างทำบุญตามบ้าน ที่เขาทำพิธีอัญเชิญแล้วว่า “สัคเค กาเม จะรูเป ..." บางทีคนเชิญยังเมาแอ่น กลิ่นเหล้าฟุ้ง อย่างนี้เทวดาที่ไหนเขาจะมาล่ะ มีแต่ เปรตกับอสูรกาย มากันเป็นตับ มากันจริง ถ้าเมาแล้วไปว่า “สัคเค.." เข้าแบบนี้พัง

จะเล่าเรื่องให้ฟังสักเรื่องหนึ่ง คือเรื่องมันเกิดขึ้นโดยบังเอิญ ตอนนั้นฉันมาช่วยเขาที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า 2 ปี มันมีอยู่คืนหนึ่งคนใกล้วัดบ้านเขาห่างจากวัดไม่ถึงครึ่งกิโลเมตร เขาตาย ญาติพี่น้องเขาก็มานิมนต์พระเณรที่วัดนั้นไปสวดอภิธรรมกันทั้งหมด วันนั้นการเจริญกรรมฐานก็เลยต้องพัก พระเณรไปหมดนี่ เหลือฉันอยู่คนเดียว ฉันไม่ได้ไปกับเขา เรื่องกินผีนี่เลิกกินมานานแล้ว

คืนนั้นฉันอยู่คนเดียว ประมาณสัก 2 ทุ่มหรือ 3 ทุ่ม กำลังนอนอยู่ก็เลยนึกขึ้นมาว่า เอ..เราไปเที่ยวนรก สวรรค์ พรหม นิพพาน ไปเที่ยวมาหมดแล้ว แต่ว่าข้างวัดนี่มันมีอะไรบ้าง เราไม่ได้มองเลย ก็เลยคิดว่าออกไปเดินดูข้างวัดดีกว่า ตัวก็นอนอยู่แต่ใจมันก็เดินออกไปรอบๆ วัด

พอไปถึงหลังวัด ตรงนั้นเขามีกองฟืนสำหรับไว้เผาศพอยู่ ก็ไปเจอะวิมานอยู่หลังหนึ่งใกล้ๆ กับกองฟอน ศาลพระภูมินี่ตามบ้านห้ามตั้งทางด้าน ทิศตะวันตก ถ้าดันไปตั้งทางด้านทิศตะวันตกก็มีหวังฉิบหายและตายโหง

ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะว่า อากาศเทวดา เขามาอารักขาอยู่ เราไม่มีสิทธิที่จะใช้อากาศเทวดาเขาได้ เขาไม่ใช่ภุมิเทวดา

เมื่อไปเจอะวิมานหลังนั้นเห็นว่าใหญ่โตพอสมควร เขาก็ไปยืนดู เอ..วิมานของใครวะ บริษัทบริวารข้างล่างมีอยู่ประมาณ 40 เศษ พอเราไปถึงเขาก็ถามพวกนั้นว่า “เฮ้ย..พวกนี้บ้านข้างวัดเขาตาย..ใครไปบ้านหว่า ?”

ที่เขาถามอย่างนี้ เพราะเขาต้องการให้เรารู้ พวกบริษัทก็บอกว่า “ผมไม่ครับ ๆ ๆ” เสียงตอบมาประมาณ 20 เศษ แล้วเขาก็ถามว่า “เป็นอย่างไรบ้างวะ ใครมาบ้าง ไปแล้วได้อะไรมาบ้างล่ะ”
พวกนั้นก็บอกว่า “มันจะไปได้อะไรครับ มันเมากันทั้งบ้าน แม้แต่คนอาราธนาธรรมก็เมาอีเหละเขะขะ"
“ เฮ้ย..มันจะไม่ได้อะไรบ้างเลยหรือ”

“มันไม่ได้อะไรเลยครับ มันมีแต่บาป..บุญไม่มีให้โมทนาเลย”
เราได้ยินแล้วก็จำไว้ พอตอนเช้าพระท่านก็ต้องไปฉันใช่ไหม ฉันเสร็จก็เลยเรียกพระที่เขาปฏิบัติกรรมฐานและมีอารมณ์รู้ได้ให้เข้ามาหา ถามว่า


“นี่..เมื่อคืนนี้ไปสวดที่บ้านนั้น มันเมากันบ้างหรือเปล่า “ เขาบอกว่า
“แหม..หลวงอาครับ มันเมากันหมดทั้งบ้านเลย บารมีเลวครบถ้วนหมด” ก็เลยถามว่า “เวลาแกสวดน่ะ แกสวดให้ผีฟังใช่ไหม”

ที่ว่า "สวดให้ผีฟัง" ก็หมายความว่า สวดตามประเพณีมีฟังบ้าง ไม่ฟังบ้าง ก็เลยถามว่า “เวลาแกสวดน่ะแกเอาจิตดูใครเขาบ้างหรือเปล่า” เขาบอกว่า “ดูครับ” เพราะเคยสอนเขาไว้ว่า เวลาไปสวดอย่าไปเฉยๆ เวลาเขาทำบุญบ้านไหนอย่าไปเฉย ๆ ให้รู้เรื่องด้วย

ก็เลยถามว่า “มีใครมาบ้าง” “มีเปรตกับพวกอสุรกายเป็นตับหมด เปรตมันมาแย่งอาหารกินและพวกอสุรกายมันก็มาแย่งอาหารที่เขาทิ้งแล้วกิน” เลยถามว่า “เทวดาไม่มีเลยหรือ” “ ไม่มีเลยครับ หาไม่ได้เลย”


นี่ความจริงมันเป็นอย่างนี้ เทวดาองค์นั้นท่านต้องการให้เรารู้เรื่องนี้ จึงถามลูกน้อง ความจริงท่านต้องไปถามทำไม เพราะท่านต้องรู้อยู่แล้ว ที่ท่านทำแบบนี้ก็เพื่อต้องการให้เรารู้ เพื่อเป็นเครื่องยืนยัน
ฉะนั้นวันทำบุญอย่างให้มีบาปและวันทำบุญจริงๆ เวลาเริ่มอย่าให้มันมีบาปเข้ามาปะทะหน้า ถ้าหากมีบาปเข้ามาปะทะหน้าแล้ว บุญมันเข้าไม่ได้หรอก เพราะบาปกับบุญมันไม่ถูกกัน เริ่มต้นงานก็เชือดไก่ เชือดปลา เลี้ยงเหล้า ฯลฯ อารมณ์มันเป็นอกุศลแล้ว อารมณ์กุศลมันก็เข้าไม่ได้

ถ้าจะทำแบบโลกไม่ช้ำธรรมไม่เสีย วันต้นงานให้มันเรียบร้อยทุกอย่าง อย่าให้มันมีบาปเข้ามาปะทะ ถ้าทำบุญเสร็จกิจที่เป็นเรื่องของพระเสร็จแล้ว จะเลี้ยงเหล้ายาปลาปิ้งกันว่ากันไป ให้มันไปอยู่เสียคนละวัน

แหม..บางบ้านบอกทำบุญเยอะ ทำบุญหมดไปตั้งหลายหมื่น พระฉันไปสักกี่ช้อน และอีตอนพระฉันน่ะเป็นบุญหรือเปล่ายังไม่แน่เลย จิตของเจ้าภาพรับบุญหรือเปล่า บางทีรักษาประเพณีกันเกินพอดีไป พอพระจะให้ศีลเจ้าภาพบอกไม่ว่าง อย่างเขาจะถวายทานก็ไม่ว่าง พระจะเทศน์ไม่ว่างอีก บุญมันมีตรงนี้ ถ้าไม่ว่างตรงนี้ แล้วจะเอาอะไ


ฉะนั้นการทำงานใหญ่ ๆ สู้อานิสงส์ของการถวายสังฆทานไม่ได้แบบนี้ลงทุนเท่าไหร่ ถ้าหากว่ากำลังทรัพย์เรามีไม่มากนัก จะถวายของอย่างละนิดอย่างละหน่อยก็ได้ เขาไม่ได้จำกัดและความกังวลแบบนั้นไม่มี สิ่งที่เป็นบาปแบบนั้นไม่มี ผลที่ได้รับต่างกันกับทำแบบนั้นหลายร้อยเท่า ยิ่งทำงานมากเท่าไร ความกังวลก็มากเท่านั้น กังวลดีก็มี กังวลเลวก็มี บางทีก็โมโหโทโสใช่ไหม “แหม..หมดนี่เสือกมาเมาเกะกะซะอีกแล้ว” เรื่องจริง ๆ เป็นอย่างนี้

อย่างการ ถวายสังฆทาน แบบนี้จิตมันบริสุทธิ์ งานก็ไม่มีกังวลมากไม่ต้องไปเลี้ยงเหล้าใคร เวลาจะรับศีลก็ไม่มีใครมาสะกิดข้าง ๆ ว่าแขกมาเวลาจะถวายทานก็ไม่มีใครมากวนใจ ทำอย่างนี้ได้บุญเยอะ บางบ้านเราขึ้นไป โอโฮ้ลงทุนตั้งเยอะ สมัยก่อนตอนที่เทศน์อยู่ ถ้าลงทุนเป็นพันเป็นหมื่นก็แย่แล้วนะ ค่าของเงินมันสูง บางทีตั้งแต่เริ่มต้นงานจนกระทั่งถึงงานเลิก ทำบุญไม่ได้บุญเลยก็มี

แบบนี้บ่อยๆ ก็เลยเบื่อ ไม่ไปดีกว่า จะไปทำไมถ้าไปแล้วเขาไม่ได้บุญ ไม่ใช่ไม่ได้บุญอย่างเดียวนะ มันได้บาปด้วย บางครั้งเอาพระเป็นลูกจ้างเสียอีก ก็ว่าไปตามเรื่องของเขา จะว่าอะไรก็ว่าตามเรื่อง ต้องการอะไรก็พูดส่งเดช มันก็เป็นการปรามาสไปในตัวเสร็จ สบาย..แบบนี้ลงหลายชั้น ไม่ใช่ชั้นเดียวนะ แบบนี้เขาเรียกว่า "ทำบุญแล้วลงนรก..!
"

จาก - หนังสือ "พ่อรักลูก" โดย..พระราชพรหมยาน วัดท่าซุง
(โพสในเว็บ www.kusolsuksa.com)
(koonkru Jr. Member สมาชิก เป็นผู้โพส)
22210  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / กรรมพาให้เกิด เมื่อ: มีนาคม 12, 2010, 03:44:27 pm

กรรมพาให้เกิด

   คนเราที่มาเกิดก็เนื่องจากกรรมที่ตนเองได้เคยสร้างไว้ในอดีตชาติ บันดาลให้มาเกิด
ตามเหตุปัจจัยที่ได้สะสมไว้ อันเป็นพลังอำนาจของกรรมที่เรียกว่า”ชนกกรรม” หรือกรรมที่พา
ให้เกิด เมื่อกรรมบันดาลให้ไปเกิดในครรภ์ที่ออกลูกเป็นตัว ถ้ากรรมฝ่ายดีมีมากก็จะเกิดเป็น
คน ถ้ากรรมฝ่ายชั่วมากก็จะเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เช่น หมู หมา ช้าง ม้า วัว ควาย

   และถ้ากรรมบันดาลให้เกิดในไข่ คือออกไข่เป็นฟอง แล้วจึงฟักตัว ถ้าเป็นกรรมฝ่ายดี
ก็เกิดเป็นครุฑ ถ้ากรรมฝ่ายชั่ว ก็จะเกิดเป็น แร้ง กา นก เป็ด ไก่ เป็นต้น

   ในสมัยพุทธกาลมีเศรษฐีผู้หนึ่งมีชื่อว่า “อานันทเศรษฐี” ถึงแม้ว่าจะเป็นเศรษฐี แต่ก็
เป็นคนตระหนี่ ขี้เหนียวและชอบเอาเปรียบผู้อื่น ทานไม่ให้ ศีลไม่รักษา หาทรัพย์มาได้
เท่าใด ก็เก็บรักษาเอาไว้ โดยไม่ยอมจ่ายอะไรเกินจำเป็น


   แม้จะกินก็อดๆ อยากๆ จิตเต็มไปด้วยความโลภ อยากได้ และก็ยิ่งโลภจัดขึ้นทุกวัน
ที่เกิดเป็นเศรษฐีในชาตินี้ได้ ก็เพราะเคยใส่บาตรพระอรหันต์ ที่มาบิณฑบาตหน้าบ้านใน
อดีตชาติโน้น ต่อมาเมื่อเศรษฐีเฒ่าจะถึงแก่กรรม แต่จิตก็เต็มไปด้วย ความหวงและห่วง
ใยในทรัพย์สมบัติ หน้าดำคร่ำเครียด เพราะฉะนั้นกรรมก็พาให้เกิด จึงชักนำไปเกิดในครรภ์
หญิงจัณฑาลยากจนคนหนึ่ง จากนั้นพลังอำนาจของกรรมอุปถัมภ์ฝ่ายชั่วก็สนับสนุน โดย
ดลบันดาลให้คนจัณฑาลในหมู่บ้านนั้น ซึ่งอดอยากอยู่แล้ว อดอยากหนักเข้าไปอีก ในที่
สุดคนจัณฑาลทั้งหลายก็ได้ประชุมหารือ หาคนที่เป็นกาลกิณีโดยแบ่งเป็น 2 พวก ถ้าพวก
ไหนขัดสนลาภก็แสดงว่าคนกาลกิณีอยู่ในพวกนั้น

   ในที่สุดก็หาพบ หญิงจัณฑาลมีครรภ์ จึงถูกขับไล่ออกไปจากหมู่บ้าน ไปอยู่โดดเดี่ยว
 เที่ยวซัดเซพเนจรไปเรื่อยๆ ได้รับความลำบากเป็นหนักหนาต่อมาได้คลอดลูกหน้าตาน่า
เกลียด น่าชัง ยังกับผีเปรตแสนทุเรศไม่เหมือนคน ซึ่งทารกน้อยโตขึ้นจนรู้เดียงสา ก็ได้
กะลาเป็นสมบัติ แล้วอำลาแม่ เที่ยวขอทานเขาเลี้ยงชีวิต ไปทั่วทุกทิศ วันหนึ่งก็ได้เดินทาง
มาถึงปราสาทอันมโหฬาร ก็คลับคลาว่าคุ้นๆ จึงเดินดุ่มๆเข้าไป จึงถูกไล่ทุบตี

   แต่ด้วยความรู้สึกจิตใต้สำนึกว่า ปราสาทนี้ตนเป็นเจ้าของ จึงจะเข้าไปให้ได้ ในที่สุดก็
ถูกทุบตีจนบอบซ้ำหยุดนิ่ง พอดีขณะนั้น พระพุทธองค์ได้เสด็จผ่านมา ด้วยญาณรู้ พระองค์
จึงบอกแก่คนทั้งหลายให้ทราบว่า “ขอทานหน้าเปรตนี้ คือเศรษฐีเจ้าของปราสาทกลับชาติ
มาเกิด” เศรษฐีลูกชายไม่เชื่อ พระพุทธองค์จึงให้เศรษฐีในคราบของขอทานเล่าประวัติของ
ตนในชาติก่อนพร้อมทั้งให้ให้ชี้ขุมทรัพย์อีก 5 แห่ง ที่แอบฝังไว้ไม่ให้ผู้อื่นรู้ก็พิสูจน์ได้ ลูก
เศรษฐีจึงเชื่อเรื่องอำนาจกรรม


   ในเรื่องนี้ แม่ชีก็บรรยายเสมอในเรื่องของอำนาจกรรม ถ้าเกิดมาแล้ว เขาให้เราจำ
ทุกอย่างได้หมดคงวุ่นวายแน่ๆ แต่เมื่อตายแล้ว ธรรมชาติของชีวิตก็ต้องเวียนว่ายตามกรรมที่
ทำมา จึงลบความจำในอดีตหมด แต่ถ้าได้ปฏิบัติกรรมฐานก็อาจล่วงรู้อดีตที่กรรมพาให้เกิด
ก็ได้

ที่มา   http://www.thossaporn.com/article_detail.php?id_edit=9


22211  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / เปิดรหัสกรรมด้วยตนเอง เมื่อ: มีนาคม 12, 2010, 03:40:09 pm

เปิดรหัสกรรมด้วยตนเอง

        แม่ชีทศพร กล่าวว่า คนเราพอเกิดมาก็มีรหัสกรรมเป็นของตนเอง เช่นคนนี้มีรหัสเลข 5
   คนนี้มีรหัสเลข 3 คนนี้มีรหัสเลข 9  ซึ่งรหัสดังกล่าวมันมีตัวบอกว่าคนเราจะมีมรณะอย่างไร
   ที่ยกตัวอย่างเป็นการอธิบายเปรียบเปรยให้ฟังเข้าใจได้ง่าย รหัสกรรมไม่ใช่ตัวเลข แต่มัน
   คือตัวบอกว่าคนๆนี้จะเป็นอย่างไร จะเจอเจ้ากรรมนายเวรแบบไหน และจะต้องผ่าน
   บทเรียนอะไรบ้างในชีวิต เพื่อพัฒนาจิตวิญญาณให้สูงขึ้น
 
   รหัสกรรมจึงเป็นเครื่องชี้จุดดีจุดด้อยบางอย่างของคนเราที่คล้ายจะสั่งสอนไปในตัว
   ว่าเราเคยผิดพลาดกับสิ่งใดมา ในกรณีที่รหัสกรรมบางอย่างเป็นรหัสบอกข้อเสีย เช่นการ
   แพ้อาหารบางอย่าง การกลัวบางสิ่ง ความเกียจคร้านเป็นนิจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ควรได้รับการ
   แก้ไขโดยวิธีใด วิธีหนึ่ง เพื่อไม่ให้รหัสดังกล่าวติดตัวไปจนตัวตาย รหัสกรรมที่ไม่ดีเหมือน
   การตีตราบบาปลงไปในดวงใจของคนผู้นั้น ความกลัวบางอย่างที่ไม่มีเหตุผล และมีความ
   รุนแรงจนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน คือภาวะของกรรมเก่าที่ติดตัวมา ให้เราต้องชดใช้
   เราต้องรู้เท่าทันและหาทางแก้ไข ทั้งทางโลกและทางธรรม

   
        มีตัวอย่างมากมายของคนที่ป่วยด้วยรหัสกรรมประเภทนี้ที่สามารถหายด้วยการปฏิบัติ
   ธรรม เช่น บางคนปวดศีรษะแบบไมเกรนอย่างรุนแรง แม้จะตระเวนรักษาไปหลาย
   โรงพยาบาลก็ยังไม่หาย บางคนพอใช้การนั่งสมาธิเจริญอานาปานัสสติก็สามารถหายขาด
   ได้อย่างอัศจรรย์ สำหรับบางคนอาจจะใช้การรักษาโดยใช้ “อาโปกสิณ” คือการจินตนา
   การถึงความเย็นของน้ำในธรรมชาติมาช่วยดับอาการปวดศีรษะ

        แต่ในกรณีที่เป็นรหัสกรรมที่แสดงถึงข้อดี หรือจุดเด่นในชีวิตของคนๆนั้นก็เป็นการ
   เน้นย้ำว่าเราควรที่พัฒนาความสามารถดังกล่าวเพื่อเป็นการเสริมต่อความสามารถจาก
   อดีตชาติที่ผ่านมา เช่น ให้ลองสังเกตเด็กบางคนจะมีสัมผัสพิเศษชาติที่ผ่านมา เช่น ให้ลอง
   สังเกตเด็กบางคนจะมีสัมผัสพิเศษนั่นเป็นเพราะถ้าตายแบบมีสติ หรือภาวนาก่อนตาย เกิด
   มาก็จะมีสัมผัสที่หกติดมาด้วย สัมผัสที่หกจะมีญาณแรงกล้าแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับพลังฌาณ
   สมาบัติก่อนตายและที่สำคัญที่สุดคือการที่จะต่อยอดทางธรรมให้เกิดขึ้นในภพชาติปัจจุบัน
   แต่ส่วนใหญ่ความสามารถพิเศษดังกล่าวมักจะถูกมองว่าเป็นของแปลกและคนที่มีความ
   สามารถดังกล่าวก็จะเกิดความกลัวจนต้องถูกละทิ้งให้เสื่อมไป ยิ่งการละทิ้งความสามารถดัง
   กล่าวหายไปในที่สุด หรือเหลือเพียงความทรงจำลางๆ เท่านั้น

        รหัสกรรม ในส่วนที่เป็นข้อด้อยแก้ไขได้ยาก ลบเลือนได้ยากกว่ารหัสกรรมที่เป็นข้อดี
   ทั้งนี้เพราะรหัสกรรมที่เป็นข้อด้อยนั้นมักเกิดจากอารมณ์ที่รุนแรงในอดีต บางกรณีอย่าง
   การแพ้อาหารชนิดรุนแรงก็ยากที่จะกำจัดทิ้งได้ ทั้งนี้มีการสันนิษฐานว่า ในชาติที่แล้วผู้ที่
   แพ้อาหารชนิดรุนแรงนั้น อาจเคยทำยาเบื่อยาสั่งใส่คนที่เราไม่ชอบด้วยอาหารชนิดนั้นมา
   ก่อน ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงมาก แต่นี่ก็เป็นความเชื่อส่วนบุคคลเท่านั้น

        ส่วนผู้ที่กลัวของบางอย่าง หรือกลัวภาวะบางอย่างแน่นอนว่าในอดีตย่อมเคยถูกกดดัน
   จากสถานการณ์บางอย่างเช่นถูกขังในที่มืด ตกน้ำตายชาตินี้จึงไม่กล้าเข้าใกล้น้ำ บางกรณี
   รหัสกรรมอาจซ่อนตัวอยู่ภายในส่วนลึกของจิตใจจนไม่สามารถเห็นทางบุคลิกได้เด่นชัด
   จนกระทั่งมีการประทุออกมา จากความกลัวสุดขีด ความดีใจสุดขีด หรือ อารมณ์ที่ถูก
   ปลดปล่อยออกมาอย่างรุนแรงเมื่อได้รับการกระตุ้น


        รหัสกรรมทุกอย่าง หากถูกไขความลับด้วยปัญญาทางธรรมก็จะทำให้เราสามารถ
   เข้าใจถึงพื้นฐานของคนแต่ละคนได้อย่างลึกซึ้ง และขณะเดียวกันรหัสกรรมก็เป็นสิ่ง
   บ่งชี้ว่า มนุษย์เรานั้นมีการสั่งสมอุปนิสัยใจคอทับถมกันมาแต่อดีตชาติในแต่ละชาตินั้น
   จะมีการสร้างรหัสกรรมของชาตินั้นๆ ขึ้นโดยเฉพาะ ขณะเดียวกันก็พาเอารหัสจาก
   อดีตชาติติดตามมาด้วย เมื่อแต่ละชาติผ่านไป ก็จะมีการผสมผสานนิสัยเก่า และนิสัยใหม่
   ผันแปรเป็นรหัสที่ซับซ้อนขึ้นทุกที อย่างไรก็ตามทุกรหัสนั้นสามารถแก้ได้ เพื่อแปลออก
   มาเป็นคำตอบของชีวิตผู้นั้นว่าเราเคยทำกรรมอันใดมา และวันนี้ควรหลีกเลี่ยงกรรมอะไร
   ควรหลีกเลี่ยงวัตถุ อาหาร หรือใครหรือสถานที่ไหนบ้าง นอกจากนี้ยังเป็นตัวบอกถึงสิ่ง
   ที่เราควรแก้ไขตัวเองเพื่อไม่ให้แพ้สิ่งที่ติดตัวเรามาแต่อดีตชาติ รวมทั้งทำการเพิ่มพูน
   ศักยภาพบางอย่างที่เคยมีมาแต่อดีต

ที่มา  http://www.thossaporn.com/article_detail.php?id_edit=20

22212  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / กิจกรรมวันสงกรานต์ และเรื่องน่ารู้ เมื่อ: มีนาคม 09, 2010, 06:42:06 pm
กิจกรรม วันสงกรานต์


วันจ่ายสงกรานต์
ใน วันจ่ายสงกรานต์ นอกจากเตรียมเครื่องเสื้อผ้าใหม่ๆ ไว้แต่ง เขายังทำขนมกวน สำหรับทำบุญถวายพระ และแจกชาวบ้าน ขนมนั้นโดยมากเป็นขนมเปียกข้าวเหนียวแดง และขนมกะละแมเป็นพื้น การแจกนอกจากจะเป็นเครื่องแสดงไมตรียังเป็นเรื่องอวดฝีมือด้วยว่าใครกวนขนม ได้ดีกว่ากัน

การทำขนมในวันนี้นั้น ถ้าบ้านไหนเจ้าบ้านเป็นผู้มั่งคั่งก็ต้องกวน ขนมอย่างนั้นกันเป็นจำนวนมาก จึงจะพอแจกจ่ายให้สมกับฐานะที่เขากวนในวันสงกรานต์ เพื่อแจกแก่ชาวบ้านเพื่อนบ้าน ก็เพราะ สมัยนั้นหาซื้อได้ยาก จึงต้องทำช่วยตัวเองคนแต่ก่อนไม่มีขนมมาขาย อยากกินก็ต้องทำกินเอง เหตุนี้ในวันสงกรานต์หรือว่าในงานอะไร จึงต้องกวนขนมกันเป็นงานใหญ่ สำหรับเลี้ยงพระ และแจกแก่ผู้ที่นับถือและเพื่อนบ้าน จึงได้มีการกวนขนมกันในเทศกาลสงกรานต์และตรุษสารท มีประเพณีสืบกันมาที่ชาวตะวันตกทำเค้กปีใหม่ไปให้กันหรือกำนัลใคร ที่เรานำแบบอย่าง ชาวตะวันตกมาเพราะสะดวก

ทำบุญตักบาตร

 


สงกรานต์ วันต้นหรือวันมหาสงกรานต์ ชาวบ้านลุกขึ้นแต่ไก่ขัน เพื่อเตรียม ไปตักบาตรถวายพระ พอหุงหาอาหารเสร็จ ก็จัดเตรียมอาหารและสิ่งของถวายพระ บรรจุลงภาชนะมีถ้วยโถโอชามอย่างดี แล้วแต่จะมี แล้วเอาวางเรียงลงในถาด หรือภาชนะอย่างอื่นๆ ที่นิยมในท้องถิ่น เพื่อนำไปทำบุญตักบาตรและเลี้ยงพระประจำหมู่บ้านของตนเรื่องการแต่งตัว จะแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มใหม่ ซึ่งเตรียมหาไว้ ก่อนหน้าวันสงกรานต์หลายวัน โดยเฉพาะหญิงสาวจะได้แต่งตัวให้สวยพริ้ง เพื่อไปอวดตามวิสัยของคนหนุ่มคนสาวที่รักสวยรักงาม และหญิงสาวพวกนี้ และที่เป็นคนยกเครื่องไทยธรรมของทำบุญ หลังจากตักบาตรเสร็จแล้ว มีเลี้ยงพระฉันเช้าที่ศาลาการเปรียญ โดยมัคนายกเป็นผู้จัดการเรื่องปูเสื่อสาดอาสนะ พอพระฉันเสร็จ ยถาสัพพีอนุโมทนาแล้ว ชาวบ้านก็กลับบ้านกันไป

ก่อพระเจดีย์ทราย
 


ไม่มีกำหนดแน่นอนว่าจะต้องก่อในวันสงกรานต์ ถึงวันอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกับ สงกรานต์ ก็มีก่อกัน และไม่จำเป็นต้องก่อที่ในวัดบางแห่งที่อยู่ใกล้แม่น้ำ ตอนเหนือๆ ก่อพระเจดีย์ทรายที่หาดทรายในแม่น้ำก็มี เช่น จังหวัดกำแพงเพชร ในวันก่อ เขามีทำบุญเลี้ยงพระที่หาดทรายด้วย เรียกกันว่า ก่อพระทรายนำไหล เสร็จแล้วก็มีเลี้ยงพระและเลี้ยงดูกันส่วนทางภาคอีสาน บางแห่งเขาทำบุญสงกรานต์เป็นสองระยะ ระยะ แรกทำบุญตักบาตรกลางลานในวันตรุษ ระยะหลังทำบุญตักบาตรที่ลานบ้านในวันสงกรานต์

ทางอำเภอ ศรีราชา จังหวัดชลบุรี มีการทำบุญตักบาตรกลางบ้านเหมือนกัน คือเลี้ยงพระกันที่สองข้างถนน จึงเห็นได้ว่าการตักบาตรจะทำกันที่ไหนก็ได้ แล้วแต่สะดวกและนัดกัน ทางจังหวัดนครศรีธรรมราช มีการก่อพระเจดีย์ทราย เป็นสองตอน ตอนที่หนึ่งก่อที่ลานวัดในวันตรุษ และอีกตอนหนึ่งก่อที่ลานบ้านในวันมหาสงกรานต์ การก่อพระเจดีย์ทรายที่กลางลานบ้านเขาก่อแต่องค์เดียวเป็นส่วนรวม จะขนาดเล็กขนาดใหญ่ก็แล้วแต่กำลังที่จะไปหาบขนเอาทรายมาได้มากน้อยเท่าไหร่ สำหรับก่อ

ทรายที่จะนำมาก่อนั้นเอามาจากลำห้วยลำธารหรือตามหาดทราย ในแม่น้ำ แล้วแต่จะสะดวก การขนทรายก็ไม่ต้องจ้างใครที่ไหน พวกหนุ่มๆ สาวๆ และเด็กๆ นั่นแหละเป็นผู้โกยไปขนใส่กระบุงหาบคอนกันมาเวลาเย็น

ปล่อยนกปล่อยปลา

 


เรื่อง ปล่อยนกปล่อยปลานั้น ที่ทำกันมากคือปล่อยปลา เพราะในกรุงเทพฯ ถ้ามีเงินก็หาซื้อเอาไปปล่อยได้สะดวก ปลาที่ปล่อยโดยมากเป็นปลาชนิดที่เขาไม่กินกัน เพราะเป็นลูกปลาตัวเล็กๆ จับเอามามากๆ ได้สะดวกเพราะ มันตกคลักจับเอา มาได้ก็รวมเอามาขายส่ง โดยมากเป็นลูกปลาหมอ เพราะมันอดทน ไม่ตายง่ายเหมือนปลาชนิดอื่น

การแห่ปลา พวกผู้ชายจะไม่แห่ปลาในตำบลของตน แต่มีประเพณีว่า ชายตำบลนี้ต้องเข้าร่วมแห่ปลาตำบลโน้นเพื่อเชื่อมสามัคคีกัน

เรื่อง ปล่อยนกปล่อยปลา ที่มักทำกันในวันสงกรานต์ เพราะก่อนหน้าวันสงกรานต์เป็นหน้าแล้งอากาศร้อนจัดน้ำแห้งขอดขาดตอนเป็น ห้วงๆ คงเหลือแต่ที่มีแอ่งและหนองน้ำ ปลาก็ตกคลัก อีกไม่ช้าพอน้ำแห้งหมด ปลาเหล่านั้นก็จะต้องตาย ชาวบ้านจึงพากันไปจับปลาที่ตกคลัก ถ้าเป็นลูกปลาจะกินไม่ได้เนื้อได้หนังอะไรก็เลี้ยงไว้ในตุ่มเอาบุญ แล้วนำไปปล่อยในวันสงกรานต์ จึงเกิดเป็นประเพณีปล่อยปลา และลามมาถึงปล่อยนกด้วย

บังสุกุลอิฐ
นอกจากปล่อยนกปล่อยปลาในวันสงกรานต์แล้ว ยังมีประเพณีบังสุกุลอัฐญาติ ผู้ใหญ่ การบังสุกุลนั้นทำแต่ครั้งเดียวจะทำในวันสงกรานต์วันไหนแล้วแต่จะสมัครใจและ นัดหมายกัน โดยมากทำในวันสรงน้ำพระ หรือไม่ก็ทำกันใน วันท้ายวันสงกรานต์ ถ้าจะทำกันในวันแรกของสงกรานต์ เมื่อพระฉันเพลแล้ว ให้เสร็จธุระกันไปก็ได้ ตามประเพณีแต่ก่อนเขาไม่เอาอัฐิเข้าบ้าน ถ้าเป็นชาวบ้านมักฝังญาติผู้ใหญ่ไว้ใต้โคนต้นโพในวัด ฝังไส้ตรงเหลี่ยมไหนรากไหนของต้นโพเขาจำเอาไว้ และนิมนต์พระไปบังสุกุลที่ตรงนั้น

เรื่องบังสุกุลอัฐิในวันสงกรานต์ ถ้าว่าถึงประเพณีชาวฮินดูก็ไม่มี เพราะเมื่อเขาเผาศพแล้ว ตามปกติก็ทิ้งอัฐิ
และเถ้าถ่านลงในแม่น้ำ โดยเฉพะแม่น้ำคงคา เพราะฉะนั้นเรื่องบังสุกุลอัฐิก็คงเป็นประเพณีเดิมของเรา
ไม่ใช่ได้มาจากอินเดีย ในท้องถิ่นเราบางแห่ง เมื่อถึงวันสงกรานต์ เขามีพิธีบวงสรวงผีปู่ย่าตายาย ประจำหมู่บ้าน ซึ่งทางภาคอีสานเรียกว่า ผีปู่ตา และภาคพายัพเรียกว่า ผีปู่ย่า ภาคปักษ์ใต้เรียกว่า ผีตายาย และผีประจำเมืองคือผีหลักเมือง และ ผีเสื้อเมืองด้วย

ทางภาคกลางมีประเพณีอันเนื่องด้วยสงกรานต์อีกอย่างหนึ่งคือ ห้ามตักน้ำตำ ข้าวเก็บผักหักฟืน อันเป็นงานประจำวันครัวเรือนและเป็นงานอยู่ในหน้าที่ของผู้หญิง จะต้องเตรียมหาสำรองเอาไว้ให้พร้อม
ก่อนถึงวันสงกรานต์ จะได้ไม่กังวล

สรงน้ำ รดน้ำ และสาดน้ำ


การ สรงน้ำพระพุทธรูป มีดอกไม้ ธูปเทียน ไปบูชา แล้วเอาน้ำอบไปประพรมที่องค์พระ ทำเป็นสังเขปพอเป็นพิธีว่าได้แสดงความเคารพบูชาและสรงน้ำท่านในวันขึ้นปี ใหม่แล้ว เมื่ออัญเชิญพระพุทธรูปมา ก็มีการแห่แหนกันอย่างสนุกสนาน สรงน้ำพระพุทธรูปแล้วก็มีการสรงน้ำพระสงฆ์ โดยมากมักเป็นสมภารเจ้าวัดเป็นการสรงน้ำจริงๆ สรงเสร็จครองไตรจีวรใหม่ที่อุบาสกอุบาสิกานำมาถวาย ท่านก็ขึ้นธรรมาสน์เทศน์อำนวยพรปีใหม่ให้แก่ผู้ที่ไปสรงน้ำ นอกจากนี้ยังมีการ รดน้ำญาติผู้ใหญ่ หรือ ผู้ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือ เพื่อขอศีลขอพรตามประเพณี

สรงน้ำพระ เสร็จแล้ว ก็ชวนกันเล่นสนุก สาดน้ำ และเลี้ยงกันที่ลานวัด ของที่เลี้ยงมีขนมปลากริมไข่เต่า และลูกแมงลักน้ำกะทิ ซึ่งชาวบ้านเรี่ยไรออกเงิน และจัดทำเอามาเลี้ยงกันด้วยความสามัคคี

เหตุ ที่มีการสรงน้ำ รดน้ำ และสาดน้ำในวันสงกรานต์ เนื่องมาจากความเชื่อ ที่ว่าการสาดน้ำ จะช่วยให้ฝนฟ้าตกบริบูรณ์ประการหนึ่ง น้ำเป็นเครื่องหมายแห่งความอุดมสมบูรณ์ เมื่อมีน้ำการเพาะปลูก ทำไร่ไถนาก็ได้ผล ประการหนึ่ง และถือกันว่าน้ำเป็นเครื่องชำระมลทินให้สะอาดอีกประการหนึ่ง เหตุนี้น้ำจึงเป็นสิ่งที่ใช้ในพิธีต่างๆ อาบน้ำ ซัดน้ำ หรือรดน้ำ เมื่อทำพิธีสมรส อาบน้ำเมื่อตาย อาบน้ำเมื่อโกนจุก หรือบวชนาค ฯลฯ

รดน้ำดำหัว
 


เครื่อง ดำหัวของภาคพายัพ ที่เขานำไปรดน้ำผู้ใหญ่ในวันพญาวัน นอกจากดอกไม้ธูปเทียนและผ้าใหม่สำหรับผลัด เขายังมีหมากพลูไปด้วย เพราะหมากพลูเป็นเครื่องแสดงความเคารพนับถือและ เป็นเครื่องแสดงไมตรีจิตด้วยอีกโสดหนึ่งและยังมีน้ำส้มป่อยและน้ำอบ

น้ำ ส้มป่อยเป็นของใช้แทนสบู่ที่เมื่อก่อนยังไม่มีสิ่งนี้ สำหรับสระผมและชำระร่างกาย ผู้ใหญ่เมื่อรับเครื่องดำหัวแล้ว ก็เอาน้ำส้มป่อยและน้ำอบประพรมบนศีรษะพอเป็นกิริยา ว่าได้ดำน้ำสระหัวแล้ว ต่อจากนั้นก็ให้ศีลให้พร กันตามประเพณี

อนึ่งในวันนี้บางคนยังนำ เสื้อผ้าของเขาสำรับหนึ่ง ต่างคนเอาบรรจุลงขันของตน พร้อมด้วยเครื่องบริขาร มีกล้วย มีอ้อย มีใบขนุน มีใบแก้วเป็นต้น นำไปตั้งที่ลานวัดภายในมณฑลวงด้ายสายสิญจน์ แล้วพระสงฆ์ จะประพรมเสื้อผ้าเหล่านั้นด้วยน้ำมนต์ เพื่อความบริสุทธิ์ของเสื้อผ้าเพื่อใช้ในปีใหม่ เสร็จแล้วนำกลับมาเก็บไว้อย่างนั้นหลายๆ วัน

ที่มา   http://www.songkran.net/App_ASPX/SongkranMainAct.aspx
----------------------------------------------- 

งาน สำคัญบุญสงกรานต์

วันที่ 13 เมษายน วันสังขานต์ล่อง
เริ่มจากตอนเช้ามีการยิงปืนขับไล่ เสนียดจัญไร ให้ล่วงลับไปกับสังขานต์ และในแต่ละบ้านมีการทำความสะอาด ตลอดจนตามถนนและตรอกซอยเข้าบ้าน จากนั้นก็ทำความสะอาดชำระล้างร่างกาย สระเกล้าดำหัวให้สะอาดมีจิตใจผ่องใส หลังจากนั้นไปเที่ยวตามหมู่บ้านหรือในปัจจุบันนิยมไปเที่ยวตามสถานที่ท่อง เที่ยวต่างๆ เรียกว่า “ไปแอ่วปีใหม่” วันนี้มีการเล่นรดน้ำกันแล้ว
 


วันที่ 14 เมษายน วันเนา หรือวันเน่า
วัน “ขนทราย” หรือ วันเนา์ วันปู๋ติ วันนี้จะทำสิ่งต่างๆ ที่เป็นมงคล ไม่ด่่าทอหรือทะเลาะวิวาท ตอนเช้าไปจ่ายของและอาหาร เตรียมทำบุญถวายพระ ในวันรุ่งขึ้น วันเตรียมอาหารและเครื่องไทยทานเรียกว่า“วันดา” (คำวันสุกดิบทางภาคอื่น) และทุกบ้านจะทำกับข้าวที่สามารถเก็บไว้ได้หลายวัน เช่น แกงเส้นร้อน แกงอ่อม ฯลฯ หรือไม่ก็จำพวกห่อนึ่ง เช่น ห่อนึ่งไก่ ห่อนึ่งปลา ฯลฯ พร้อมทั้งตระเตรียมอาหารหวาน และเครื่องไทยทานไว้ให้พร้อม

ตอนบ่าย มีการขนทรายจากแม่น้ำ นำไปไว้ที่วัดใกล้บ้าน โดยก่อเจดีย์ทรายตามลานวัด เจดีย์ทรายจะถูกประดับตกแต่งด้วยตุง (ธง) ทำด้วยกระดาษสีตัดเป็นรูปสามเหลี่ยม และรูปอื่นๆ ชายธงมีการทานช่อ (ทำด้วยกระดาษสีต่างๆ) ตัดเป็นลวดลายติดปลายไม้สำหรับปักที่กองเจดีย์ทรายการทานธงและทานช่อนี้ ด้วยถือคติว่า ผู้บริจาคทานเมื่อตายไปแล้วจะได้อาศัยชายธง หอบหิ้วให้พ้นจากนรกได้ อานิสงส์การทานตุงหรือช่อนี้มีอยู่ในพระธรรมเทศนาใบลานตามวัดทั่วไป เจดีย์ทรายนี้จะทำพิธีถวายทานในวันรุ่งขึ้น มีการปล่อยนกปล่อยปลาอีกด้วย ในวันเดียวกันนี้มีการเล่นน้ำกันอย่างหนัก และเป็นที่สนุกสนานโดยเฉพาะคนหนุ่มคนสาว
 


ทุกๆ ปี เมื่อถึงเทศกาลตรุษสงกรานต์ ชาวเหนือมีประเพณีอย่างหนึ่งที่ยึดถือปฏิบัติ คือ “สุมาคารวะ” ลูกหลานจะมาขอขมาลาโทษในความผิดต่างๆ ที่เคยกระทำมาต่อญาติผู้ใหญ่ ถือว่าเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีของผู้น้อย อันมีต่อผู้ใหญ่ เรียกกันว่า “การไปดำหัว” หรือประเพณีดำหัว การไปดำหัวของคนไทยภาคเหนือ มักจะเริ่มกันใน “วันพญาวัน” (คือวันเถลิงศก)


วันที่ 15 เมษายน วันพญาวัน หรือวันเถลิงศก
ตอนเช้า จัดเตรียมอาหารคาวหวานใส่สำรับไปถวายพระที่วัด และทำบุญตักบาตรและนำไปให้ผู้เฒ่า ผู้แก่ ครูอาจารย์ หรือบุคคลที่ตนเคารพนับถือ เรียกว่าไปทานขันข้าว (ตานขันข้าว) การทานขันข้าวนี้ นอกจากจะทานให้พระ ผู้เฒ่าผู้แก่ที่เคารพนับถือดังกล่าวแล้วก็มีการถวายทานเพื่ออุทิศส่วนกุศล ถึงญาติพี่น้อง บิดามารดาที่ล่วงลับไปแล้ว โดยพระที่วัดจะแยกย้ายกันนั่งประจำที่บริเวณวัดเพื่อให้ศีลให้พร แก่ผู้ไปทานขันข้าว
เสร็จจากการทำบุญตักบาตร ก็มีการถวายทานเจดีย์ทราย ปล่อยนกปล่อยปลา มีการสรงน้ำพระพุทธเจดีย์ มีการค้ำต้นโพธิ์ภายในวัดและหมู่บ้าน มีการสรงน้ำพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมือง เช่น เชียงใหม่ก็จะมีการสรงน้ำพระพุทธรูป เสตังคมณี (พระแก้วขาว) วัดเชียงมั่น พระเจ้าทองทิพย์ และ พระพุทธสิหิงค์ วัดพระสิงห์ พระเจ้าเก้าตื้อ วัดสวนดอก เสาอินทขิล หรือเสาหลักเมือง ส่วนตามจังหวัดต่างๆ ก็จะมีการไปสักการะบูชาพระพุทธรูปสำคัญประจำบ้าน เมืองตนเช่นเดียวกัน เช่น ลำปาง ก็ไปสรงน้ำพระแก้วมรกตที่วัดพระธาตุลำปางหลวง เมืองน่านที่วัดพระธาตุแช่แห้ง และที่แพร่ก็ไปสรงน้ำ ที่พระธาตุช่อแฮเป็นต้น
 


ตอนบ่าย ก็จะเริ่มการดำหัว และจะทำเรื่อยไปจนถึงวันรุ่งขึ้น หรือวันปากปี
วันที่สี่ เป็นวันปากปี มีการดำหัวตามวัดต่างๆ ที่ใกล้เคียงและห่างไกล ซึ่งมีพระในวัดและในหมู่บ้านนั้นนำไป การไปดำหัวตามวัดนี้มักจะแบ่งแยกกันเป็นสายๆ เพราะบางวัดที่อยู่ห่างไกลก็ไม่ได้ไปกันอย่างทั่วถึงนอกจากวัดที่คนนิยมไป กันอย่างสม่ำเสมอ เรียกตามภาษาเมืองว่า “ไปเติงกั๋น” หรือไปวัดของเจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะจังหวัด หรือพระเถระผู้ใหญ่


ที่มา  http://www.songkran.net/App_ASPX/SongkranImportantAct.aspx
--------------------------------------------

น่ารู้ ก่อนลุย

1. สงกรานต์เป็นเทศกาลขึ้นปีใหม่ของไทย กิจกรรมของสงกรานต์ไม่ได้มีแต่การเล่นน้ำเท่านั้น แต่ยังมีกิจกรรมที่น่าจะทำอีกมาก เช่น การทำบุญ การทำความสะอาดบ้านเรือนและบริเวณบ้าน ซึ่งนับเป็นการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างหนึ่งด้วย

2. จุดประสงค์ของการรดน้ำ สาดน้ำในเทศกาลสงกรานต์นั้นคือ การอวยพรและขอพรกันด้วยน้ำ มิใช่ตั้งใจให้เป็นการเล่นหรือต่อสู้อย่างเอาเป็นเอาตาย

3. การประแป้งดินสอพอง แต่เดิมเป็นเพียงการแต่งตัวตามสมัยนิยมของแต่ละคน ดังนั้นใครอยากประแป้งก็ประเอง ไม่ต้องไปประให้เขา การถูกเนื้อต้องตัวผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ไม่ใช่มารยาทที่ดีของสุภาพชน อย่าทำเลย
 


4. การรดน้ำสงกรานต์ที่ถูกต้องมี 2 ประเภท คือ
- การ รดน้ำผู้ใหญ( ธรรมเนียมดั้งเดิมนิยมว่าควรมีอายุ 60 ปีขึ้นไป ) เป็นการรดน้ำเพื่อแสดง
ความเคารพและขอพรจากท่าน เมื่อไปรดน้ำที่มือท่าน ไม่ต้องไปอวยพรท่าน เพราะเราเป็นเด็ก รอรับพรจากท่านก็พอ ผู้ใหญ่จะเป็นผู้ให้พรเอง
- การรดน้ำผู้ใหญ่ที่อยู่ในวัยเดียวกันหรืออ่อนวัยกว่า เป็นการรดน้ำอวยพร ถ้าจะให้สุภาพควรขออนุญาตเสียก่อน แล้วจึงรดน้ำที่หัวไหล่ และสามารถกล่าวอวยพรได้ตามต้องการ ถ้าสนิทสนมกันอยู่แล้วก็สามารถรดน้ำและเล่นสนุกสนานได้ตามประสาเพื่อน แต่ทั้งนี้ก็ควรอยู่ในขอบเขตของมารยาท ศีลธรรม และความปลอดภัย

5. น้ำที่นำมารดและสาดกันถือเป็นสิ่งที่เป็นมงคล ดังนั้นจึงต้องเป็นน้ำสะอาด น้ำอบ น้ำหอมน้ำดอกไม้ ( ไม่จำเป็นต้องเป็นน้ำอบไทยเสมอไป น้ำอบฝรั่งก็ได้ ) แต่ไม่ควรใช้น้ำสกปรกหรือน้ำแข็งเด็ดขาด
 


6. ของรดที่นำไปมอบให้ผู้ใหญ่ ตามธรรมเนียมมักเป็นสิ่งของที่เกี่ยวกับการอาบน้ำและการแต่งตัวเป็นหลัก เช่น เสื้อผ้า ผ้าห่ม ผ้านุ่ง ผ้าเช็ดหน้า ผ้าขนหนู สบู่ น้ำหอม แป้ง ของเหล่านี้เป็นของหลักซึ่งจำเป็นต้องมี แต่ไม่จำเป็นต้องให้ทุกอย่างที่กล่าวมา เลือกจัดให้ตามความเหมาะสม ส่วนของอื่นๆ เช่น ดอกไม้ ขนม นั้นเป็นของประกอบ มีก็ได้ ไม่มีก็ได้

7. การกราบเป็นการแสดงความเคารพอย่างสูง โดยการยอบตัวลง พนมมือ และก้มลงจนมือที่พนมไว้ ท้องแขน และศีรษะจดพื้น ตรงหน้าคนหรือสิ่งที่เราตั้งใจจะกราบ การกราบปกติไม่ต้องแบมือ ไม่ว่าสิ่งของหรือบุคคลนั้นจะเป็นที่เคารพอย่างสูงเพียงใด จะแบมือก็เฉพาะกราบพระพุทธรูป หรือพระสงฆ์เท่านั้น

8. การสรง น้ำพระพุทธรูปหรือรูปเคารพ ไม่ควรรดน้ำลงตรงๆ ที่พระเศียรหรือส่วนศีรษะ ให้รดน้ำลงในส่วนอื่นๆ จะสุภาพเหมาะสมกว่า
 


9. การรดน้ำ ดำหัว เป็นประเพณีของไทยภาคเหนือกลุ่มล้านนา ซึ่งมีรายละเอียดบางอย่างแตกต่างเป็นพิเศษจากภาคอื่นๆ คำว่าดำหัว เป็นภาษาถิ่น ไม่ควรนำไปใช้เรียกการรดน้ำสงกรานต์ของภาคอื่นๆ เพราะจะทำให้ผิดความหมาย

10. สงกรานต์เป็นประเพณีของคนไทยทุกศาสนา ไม่เฉพาะชาวพุทธเท่านั้น การทำบุญก็เลือกถือปฏิบัติตามแนวของศาสนาที่ตนนับถือได้ ส่วนกิจกรรมอื่นๆเป็นของกลางๆใครๆก็ปฏิบัติได้

11. สงกรานต์ปีหนึ่งมีหนเดียว ขอเชิญชวนให้แต่งกายแบบไทยๆ เป็นการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมอันดีงามของเรา เท่ และ ไม่ร้อนดีด้วย

ขอขอบคุณ หนังสือ อ.ส.ท. Young Traveller ที่เอื้อเฟื้อข้อมูล
ที่มา   http://www.songkran.net/App_ASPX/SongkranMustknow.aspx




22213  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ประกาศสงกรานต์ และนางสงกรานต์ เมื่อ: มีนาคม 09, 2010, 06:27:22 pm
ประกาศ สงกรานต์
ปีนี้ สงกรานต์วันพุธ ที่ ๑๔ เมษายน เวลา ๗ นาฬิกา ๒๑ นาที ๐ วินาที



นางสงกรานต์
ทรงนามว่า มณฑาเทวี ทรงพาหุรัตน์ทัดดอกจำปา แก้วไพฑูรย์ เป็นอาภรณ์ ภักษาหารนมเนย พระหัตถ์ขวาทรงเหล็กแหลม พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมา บนหลังลา


เกณฑ์นาคให้น้ำ - ปีขาล นาคราชให้น้ำ 3 ตัว ฝนแรกปีงาม กลางปีน้อย ปลายปีมากแล

เกณฑ์ ธัญญาหาร - ชื่อ ปาปะ ข้าวกล้าในภูมินาจะได้ผล 1 ส่วน เสีย 10 ส่วน คนทั้งหลายจะได้ทุกข์ลำบาก ได้ยากเพราะกันดารอาหารบ้าง จะฉิบหายเป็นอันมากแล

เกณฑ์พิรุณศาสตร์ - ปีนี้ อังคาร เป็นอธิบดีฝน บันดาลในฝนตก 300 ห่า ตกในจักรวาล 120 ห่า ตกในหิมพานต์90 ห่า ตกในมหาสมุทร 60 ห่า ตกในโลกมนุษย์ 30 ห่า


คำทำนายเกี่ยวกับวันมหาสงกรานต์ วันเนา และวันเถลิงศก ก็มีว่า
๑. ถ้าวันอาทิตย์ เป็น วัน มหาสงกรานต์ ปีนั้นพืชพันธุ์ธัญญาหารไม่สู้จะงอกงามนัก ถ้าวันอาทิตย์เป็น วันเนา ข้าวจะตายฝอย คนต่างด้าวจะเข้าเมืองมาก ท้าวพระยาจะร้อนใจ ถ้าวันอาทิตย์เป็น วัน เถลิงศก พระมหากษัตริย์จะมีพระบรมเดชานุภาพ ปราบศัตรูได้ทั่วทุกทิศ

๒. ถ้าวัน จันทร์ เป็น วันมหาสงกรานต์ ข้าราชการ ชั้นผู้ใหญ่ ตลอดจนคุณหญิง คุณนายทั้งหลายจะเรืองอำนาจ ถ้าวันจันทร์เป็น วันเนา มักเกิดความไข้ต่างๆ และเกลือจะแพง นางพญาจะร้อนใจ ถ้าวันจันทร์เป็น วันเถลิงศก พระราชินีและท้าวนางฝ่ายในจะ มีความสุขสำราญ

๓. ถ้าวันอังคาร เป็น วันมหาสงกรานต์ โจรผู้ร้ายจะชุกชุม จะเกิดการเจ็บไข้ร้ายแรง แต่ถ้าวันอังคารเป็น วันเนา ผล หมากรากไม้จะแพง ถ้าวันอังคารเป็น วันเถลิงศก ข้าราชการ ทุกหมู่เหล่าจะมีความสุข มีชัยชนะแก่ศัตรูหมู่พาล

๔. ถ้าวันพุธ เป็นวัน มหา สงกรานต์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่จะได้รับการยกย่องจากต่างประเทศ ถ้าวันพุธเป็น วันเนา ข้าวปลาอาหารจะแพง แม่หม้ายจะพลัดที่อยู่ ถ้าวันพุธเป็น วันเถลิงศก บรรดานัก ปราชญ์ราชบัณฑิตจะมีความสุขสำราญ

๕. ถ้า วันพฤหัสบดี เป็น วันมหาสงกรานต์ ผู้น้อย จะแพ้ผู้เป็นใหญ่ และเจ้านาย ถ้าวันพฤหัสบดีเป็น วันเนา ผล ไม้จะแพง ราชตระกูลจะมีความร้อนใจ ถ้าวันพฤหัสบดีเป็น วันเถลิงศก สม ณชีพราหมณ์จะปฏิบัติกรณียกิจอันดีงาม

๖. ถ้า วันศุกร์ เป็น วันมหาสงกรานต์ พืชพันธุ์ ธัญญาหารจะอุดมสมบูรณ์ ฝนชุก พายุพัดแรง ผู้คนจะเป็นโรคตาและเจ็บไข้กันมาก ถ้าวันศุกร์เป็น วันเนา พริกจะแพง แร้งกาจะเป็นโรค สัตว์ป่าจะเป็นอันตราย แม่หม้ายจะมีลาภ ถ้าวันศุกร์เป็น วันเถลิงศก พ่อค้าคหบดีจะทำมาค้าขึ้น มีผลกำไรมาก

๗. ถ้าวันเสาร์ เป็น วันมหา สงกรานต์ โจรผู้ร้ายจะชุกชุม จะเกิดการเจ็บไข้ร้ายแรง ถ้าวันเสาร์เป็น วันเนา ข้าวปลาจะแพง ข้าวจะได้น้อย ผลไม้จะแพง น้ำน้อย จะเกิดเพลิงกลางเมือง ขุนนางจะต้องโทษ ถ้าวันเสาร์เป็น วันเถลิงศก บรรดาทหารทั้งปวงจะมีชัยชนะแก่ข้าศึกศัตรู


นอกจากนี้ยังมีคำพยากรณ์อันเป็นความ เชื่อทางล้านนาอีกตำราว่า

หากวัน มหาสงกรานต์ตรงกับวันอาทิตย์

นางสงกรานต์ชื่อ นางแพง ศรี
ปีนั้นข้าวจักแพงมากนัก คนทั้งหลายจักเป็นพยาธิ(เป็นโรค) ข้าศึกจักเกิดมีกับบ้านเมือง หนอนแมลงจักลงกินพืชไร่ข้าวนา ฝนตกบ่ทั่วเมือง คนมั่งมีเศรษฐีจักฉิบหาย ไม้ยางเป็นไม้ใหญ่แก่ไม้ทั้งหลาย ขวัญข้าวอยู่ไม้ไผ่

หากวันมหาสงกรานต์ตรงกับวัน จันทร์
นางสงกรานต์ชื่อ มโนรา
ปีนั้นงู จักเกิดมีมาก คนทั้งหลายจักเกิดเป็นพยาธิมากนัก ฝนหัวปีดี หางปีบ่พอดี ข้าวกล้าลางที่ดี ลางที่ก็บ่ดี ไม้กุ่มเป็นพญาแก่ไม้ทั้งหลาย ขวัญข้าวอยู่ไม้เดื่อเกลี้ยง

หากวันมหา สงกรานต์ตรงกับวันอังคาร
นางสงกรานต์ชื่อ รากษส เทวี
ปีนั้นฝนหัวปีดี กลางปีไม่ดี ปลายปีดีมาก ข้าวไร่ข้าวนาจักเสีย ลูกไม้บ่มีหน่วยหลาย(ได้ผลน้อย) บ้านเมืองจักเกิดกลียุค แมลงมีปีกจักทำร้ายพืชผักข้าวกล้ามากนัก ไม้พิมานเป็นพญาไม้ ขวัญข้าวอยู่ที่ไม้อ้อยช้าง

หากวันมหา สงกรานต์ตรงกับวันพุธ
นางสงกรานต์ชื่อ มัน ทะ
ปีนั้นฝนตกบ่ทั่วเมือง หัวปีมีมาก กลางปีน้อย ข้าวในนาจะได้ครึ่งเสียครึ่ง ของบริโภคจะแพง ขุนนางขุนเมืองจะตกต่ำ ไม้สะเดา เป็นพญาไม้ ขวัญข้าวอยู่ที่ไม้คราม

หากวันมหา สงกรานต์ตรงกับวันพฤหัสบดี
นางสงกรานต์ชื่อ นางกัญญา เทพ
ปีนั้นฝนตกเสมอต้นเสมอปลายชอบตามฤดูกาล ผู้เป็นเจ้าเป็นใหญ่จักมีอันตราย ช้างม้าวัวควายจักตายมากนัก ไพร่ราษฎรจักอยู่ดีมีสุข ขุนใหญ่ ปุโรหิต พระสงฆ์จักเป็นทุกข์ ไม้สักเป็นพญาไม้ ขวัญข้าวอยู่ไม้ทองกวาว

หากวันมหา สงกรานต์ตรงกับวันศุกร์
นางสงกรานต์ชื่อ ริ ญโท
ปีนั้น ฝนตกหัวปีดี กลางปีบ่มีหลาย เพลี้ย บุ้งจักกัดกินทำร้ายข้าวนาพืชไร่ อันตรายจักเกิดมีแก่สมณพราหมณ์ ไม้สะเดาเป็นพญาไม้ ขวัญข้าวอยู่ไม้พุทธา

หากวันมหา สงกรานต์ตรงกับวันเสาร์

นางสงกรานต์ชื่อ สา มาเทวี
ปีนั้นฝนแล้ง แมลงต่างๆจักทำร้ายพืชไร่มากนัก ไฟจักไหม้บ้านไหม้เมือง เกิดอัคคีภัยใหญ่ ข้าวยากหมากแพง


ขอขอบคุณ คุณอมรรัตน์ เทพกำปนาท
กลุ่มประชา สัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
เอื้อ เฟื้อข้อมูลคำทำนายสงกรานต์ ปี ๒๕๕๓

 ที่มา   http://www.songkran.net/App_ASPX/SongkranNotice.aspx


-------------------------------------------------- 

นาง สงกรานต์


นาง สงกรานต์


เป็นคติความเชื่ออยู่ในตำนานสงกรานต์ อันเป็นเรื่องเล่าถึงความเป็นมาของประเพณีดังกล่าว เป็นอุบายเพื่อให้คนโบราณได้รู้ว่าวันมหาสงกรานต์ คือ วันที่พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ ซึ่งสมัยนั้นถือเป็นการเถลิงศกใหม่ หรือวันขึ้นปีใหม่ตามสุริยคติตรงกับวันใด โดยสมมุติผ่านนางสงกรานต์ทั้งเจ็ดเทียบกับแต่ละวันในสัปดาห์ ปีไหนตรงกับวันใด นางสงกรานต์ที่มีชื่อสมมุติเข้ากับวันนั้นๆก็จะเป็นผู้อัญเชิญพระเศียร ท้าวกบิลพรหมออกแห่ไปสรงน้ำ ซึ่งนางสงกรานต์ทั้งเจ็ดนี้ เป็นเทพธิดาลูกสาวท้าวกบิลพรหม และเป็นบาทบริจาริกาของพระอินทร์

 จาก ตำนานเล่าถึงท้าวกบิลพรหมแพ้พนันธรรมบาลกุมาร ต้องตัดเศียรออกบูชาธรรมบาลกุมารตามสัญญาแต่เนื่องจากพระเศียรของพระองค์ตก ไปอยู่ที่ใด ก็จะเป็นอันตรายต่อที่นั้นไม่ว่าจะเป็นบนอากาศ บนดินหรือในน้ำ ดังนั้น ธิดาทั้งเจ็ดจึงต้องนำพานมารองรับ และนำไปประดิษฐานไว้ในถ้ำคันธชุลี ณ เขาไกรลาส ครั้นถึงกำหนด ๓๖๕ วัน ซึ่งโลกสมมุติว่าเป็นปีหนึ่งเวียนมาถึงวันมหาสงกรานต์ เทพธิดาทั้งเจ็ดก็จะทรงพาหนะต่างๆผลัดเวรกันมาเชิญพระเศียรของบิดาออกแห่ โดยที่เทพธิดาทั้งเจ็ดนี้ปรากฏในวันมหาสงกรานต์เป็นประจำ จึงได้ชื่อว่า “นางสงกรานต์” ส่วนท้าวกบิลพรหมนั้น โดยนัยก็คือ พระอาทิตย์ นั่นเอง เพราะกบิล หมายถึง สีแดง นอกจากตำนานข้างต้น

 ยังมีเรื่องราวที่ น่าสนใจเกี่ยวกับนางสงกรานต์ที่กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จะขอนำมาเล่าให้ฟังเพิ่มเติมดังนี้

นางสงกรานต์ของแต่ละวัน จะมีนาม อาหาร อาวุธ และสัตว์ที่เป็นพาหนะ ต่างๆ กันดังต่อไปนี้

วัน อาทิตย์ ชื่อ ทุงษ
ทัดดอกทับทิม เครื่องประดับปัทมราค ภักษาหารผลมะเดื่อ อาวุธขวาจักร ซ้ายสังข์ พาหนะครุฑ

วันจันทร์ ชื่อ โคราค
ทัด ดอกปีบ เครื่องประดับมุกดา ภักษาหารน้ำมัน อาวุธขวาพระขรรค์ ซ้ายไม้เท้า พาหนะเสือ

วันอังคาร ชื่อ รากษส
ทัด ดอกบัวหลวง เครื่องประดับโมรา ภักษาหารโลหิต อาวุธขวา ตรีศูล ซ้ายธนู พาหนะสุกร


วันพุธ ชื่อ มัณฑา
ทัดดอกจำปา เครื่องประดับไพฑูรย์ ภักษาหารนมเนย อาวุธขวาเข็ม ซ้ายไม้เท้า พาหนะลา

วันพฤหัสบดี ชื่อ กิริณี
ทัดดอกมณฑา เครื่องประดับมรกต ภักษาหารถั่วงา อาวุธขวาขอ ซ้ายปืน พาหนะช้าง

วัน ศุกร์ ชื่อ กิมิทา
ทัดดอกจงกลนี เครื่องประดับบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำว้า อาวุธขวาพระขรรค์ ซ้ายพิณ พาหนะกระบือ

วันเสาร์ ชื่อ มโหทร
ทัด ดอกสามหาว เครื่องประดับนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย อาวุธขวาจักร ซ้ายตรีศูล พาหนะนกยูง


ขอขอบคุณ บริษัทสยามแกลเลอรี่ จำกัด และสำนักพิมพ์ผ่านฟ้าพาณิชย์
เอื้อเฟื้อภาพประกอบ
ที่มา    http://www.songkran.net/App_ASPX/Lady.aspx




22214  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / ความเข้าใจที่ผิดพลาด เกี่ยวกับ "หลักกรรม" เมื่อ: มีนาคม 07, 2010, 08:57:55 am




เสฐียรพงษ์ วรรณปก : ความเข้าใจที่ผิดพลาด เกี่ยวกับ "หลักกรรม"

หลักกรรมเป็นหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา แต่น่าประหลาด ชาวพุทธไทยเข้าใจไม่ตรงกับที่ทรงสั่งสอน จะว่าผิดโดยสิ้นเชิงก็ไม่ใช่ แต่ไม่ถูกต้องสมบูรณ์ ความเข้าใจไม่ค่อยถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องนี้ ผมว่ามีอิทธิพลมาจากวรรณคดีไทยส่วนหนึ่ง มาจากการสอนของผู้รู้ (ที่ไม่รู้จริง) อีกส่วนหนึ่ง เข้าใจผิดกันอย่างไรหรือครับ ผมขอว่าเป็นข้อๆ ดังนี้

    1. คนไทยส่วนมากเข้าใจว่า กรรม คือผลของความชั่วร้ายที่เราได้กระทำไว้แต่ชาติปางก่อน
    2. เชื่อกันว่า กรรมเป็นกฎสำเร็จรูป ตายตัว ที่เราไม่มีโอกาสแก้ไข หรือทำอะไรไม่ได้ มีทางเดียวคือจำต้องยอมรับ
    3. เชื่อว่าทำอย่างใด ต้องได้อย่างนั้นร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่มีเปลี่ยนแปลง

ยกมาแค่ 3 ข้อก็พอ ขอแถลงเป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้

@@@@@@@

1. เรามักเข้าใจผิดว่า “กรรม” คือผลของความชั่วร้าย ที่ทำไว้แต่ชาติก่อน บันดาลให้เราได้มาเกิด มาเป็น อย่างที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน เรื่องร้ายๆ และเรื่องใหญ่ๆ เท่านั้น (เช่น ถูกถอดออกจากตำแหน่ง โดนฟ้องร้องติดคุก ไฟไหม้บ้าน…) จึงเรียกว่ากรรม เรื่องเล็กน้อย (เช่น เดินพลาดตกท่อเทศบาลขาแพลง…) ไม่เรียกว่ากรรม

ส่วนผลของความดีที่ทำไว้แต่ชาติก่อนมาบันดาลให้เป็นไป (เช่น อยู่ๆ ก็มีคนมาเชิญให้เป็นนายกฯ…) ไม่เรียกว่ากรรม กลับเรียก “บุญ” จึงมักมีคำพูดว่า “บุญทำ กรรมแต่ง” หรือ “แล้วแต่บุญแต่กรรม” นี่คือความเข้าใจผิดของคนไทยส่วนใหญ่

ผิดอย่างไร.? ผิดตรงที่คำว่า “กรรม” มิใช่ผล แต่เป็นเหตุ มิใช่เรื่องที่ล่วงไปแล้ว แต่เป็นเรื่องปัจจุบัน มิใช่เรื่องเลวร้ายอย่างเดียว เรื่องดีๆ ก็เป็น “กรรม” ด้วย และมิใช่เฉพาะเรื่องใหญ่ๆ อย่างเดียว เรื่องเล็กๆ ก็เป็น “กรรม” ด้วย

กรรมคือ การกระทำทางกาย วาจา และใจ ที่มีเจตนาเป็นตัวนำ เราตั้งใจทำ พูด คิดเรื่องใด สิ่งใด ทั้งในแง่ดีและไม่ดี เรียกว่า “กรรม” เช่น

     - ผมกำลังพิมพ์ต้นฉบับอยู่ ยุงตัวหนึ่งมากัดผม ผมรำคาญจึงตบให้มันตาย เรียกว่าผมทำกรรมทางกาย เป็นกรรมที่ไม่ดีเรียกว่า “อกุศลกรรม” หรือ “บาป”
     - กำลังทำงานง่วนอยู่ ก็มีคนมากดกริ่งอ้างว่ามาจากมูลนิธิการกุศลแห่งหนึ่ง มาขอบริจาค ผมโมโหด่าไปเจ็บๆ แสบๆ ไม่ให้แม้แต่บาทเดียว เพราะคนคนนี้เคยมาขอแล้วขออีก เคยสืบได้ว่าไม่มีมูลนิธิดังกล่าวจริง เรียกว่าผมได้ทำกรรมทางวาจา เป็นกรรมไม่ดีเรียก “อกุศลกรรม” หรือ “บาป”
     - อ่านข่าวพบคนที่เป็นศัตรูได้รับตำแหน่งใหญ่โต ผมทนไม่ได้คิดสาปแช่งให้มันพินาศฉิบหายในเร็ววัน อย่างนี้ผมกำลังทำกรรมทางใจ เป็นกรรมไม่ดีเรียก “อกุศลกรรม” หรือ “บาป”

ตกลงวันๆ ผมอาจทำกรรมไม่ดีหลายอย่าง หรืออาจทำกรรมดีอีกหลายอย่างก็ได้ ถ้าเป็นกรรมดี ก็เรียกว่า “กุศลกรรม” หรือ “บุญ” กรรมไม่ดี ก็เรียก “อกุศลกรรม” หรือ “บาป” เพราะฉะนั้น “บุญ” ก็คือกรรมชนิดหนึ่ง “บาป” ก็คือกรรมชนิดหนึ่ง ครอบคลุมตั้งแต่เรื่องเล็กๆ ไปจนถึงเรื่องใหญ่ๆ เป็นเหตุมิใช่ผล เป็นเรื่องปัจจุบัน มิใช่เรื่องที่ล่วงแล้ว


@@@@@@@

2. ความเข้าใจผิดอีกอย่างหนึ่งก็คือ มักจะเข้าใจว่า กรรมเป็นกฎตายตัว ที่เราแก้ไขไม่ได้ ทางเดียวที่ทำได้คือให้ยอมรับสภาพ “ปลงเสียเถอะ” หรือ “เป็นกรรมของสัตว์” เช่น เกิดมายากจนก็ยอมรับสภาพว่า เราทำกรรมไม่ดีไว้ มาชาตินี้จึงจน แล้วก็ยอมรับสภาพอยู่อย่างนั้น ไม่คิดแก้ไข พัฒนาให้มันดีขึ้น มีแต่ทอดอาลัย หรืองอมืองอเท้า

ความเชื่ออย่างนี้ยังไม่ถูกต้อง พุทธศาสนาสอนว่ากรรมเก่ามีจริง จริงอยู่เราเกิดมาจน อาจเป็นเพราะผลของกรรมเก่าที่เราทำไว้ ทำให้มีผลเกิดมายากจน แต่มิได้หมายความว่า กรรมจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขไม่ได้ เราเกิดมาจนเพราะกรรมเก่าส่งผล แต่เราก็สามารถสร้างกรรมใหม่ นั่นคือ พยายามขยันหมั่นเพียรทำงานสร้างเนื้อสร้างตัวอย่างสุดกำลังสามารถ ในที่สุดเราก็อาจเปลี่ยนฐานะจากคนยากจน กลายเป็นผู้มีอันจะกิน หรือร่ำรวยได้

พระพุทธเจ้าสอนให้ยอมรับความจริง แต่ไม่ให้ยอมรับสภาพ ผู้ที่เข้าใจหลักกรรมถูกต้อง เมื่อรู้ว่าความจริงเป็นเช่นนี้ๆ ย่อมจะไม่ยอมรับสภาพ หรือ “ชะงักงัน” อยู่กับที่ หากแต่พยายามแก้ไขปรับปรุง หรือพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นกว่าเดิม เช่น เกิดมาจน ก็รู้ว่าตนเกิดมาจน อาจเพราะทำกรรมบางอย่างมา ทำให้เราเกิดมาจน แต่ไม่งอมืองอเท้า หรือจำยอมต่อสภาพนั้น พยายามขวนขวายทำมาหาเลี้ยงชีพด้วยความวิริยะ อุตสาหะ ในที่สุดก็อาจตั้งเนื้อตั้งตัวได้ อย่างนี้จึงจะเป็นความเชื่อเรื่องกรรมที่ถูกต้อง



3. ประการสุดท้าย คนมักเข้าใจว่า ทำกรรมอย่างใด ย่อมต้องได้รับผลเช่นนั้น ทำกรรมดีต้องได้รับผลดีร้อยเปอร์เซ็นต์ ทำกรรมชั่วต้องได้รับผลชั่วร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่มีเปลี่ยนแปลง นี่ก็เข้าใจไม่ถูกต้องเช่นกัน

ไม่ถูกต้องอย่างไร.? ขอเรียนว่า การพูดอะไรตายตัวร้อยเปอร์เซ็นต์นั้น มิใช่แนวทางของพระพุทธศาสนาดังในกรณีเรื่องตายแล้วเกิด ถ้าพูดในแง่เดียวว่า ตายแล้วต้องเกิด หรือตายแล้วต้องดับสูญ อย่างนี้ก็ไม่ถูกเช่นกั เพราะตายแล้วเกิดก็มี คือปุถุชนคนมีกิเลส ตายแล้วย่อมเกิดอีก เพราะยังมี “เชื้อคือกิเลส” ทำให้เกิดอยู่ ตายแล้วไม่เกิดก็มี คือพระอรหันต์ เพราะหมด “เชื้อ” ดังกล่าวแล้ว จะพูดโดยแง่เดียวว่า ตายแล้วต้องเกิดหมดทุกคน หรือตายแล้วไม่เกิดทั้งหมดเลย อย่างนี้ไม่ได้ดอกครับ

ผู้ทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี ผู้ทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว นี่จริงแน่นอน แต่มิได้หมายความ “ทำอย่างใดต้องได้อย่างนั้น”

     นาย ก. ยิงเขาตาย ตายไปเกิดชาติหน้า นาย ก. ไม่จำเป็นจะต้องถูกเขายิงตาย
     นาง ข. เอาไข่เค็มใส่บาตรทุกวัน นาง ข. ตายไปเกิดใหม่ ก็ไม่จำเป็นจะต้องกินไข่เค็มทุกมื้อ เช่นเดียวกัน (ขืนเป็นอย่างนี้ก็เค็มตายสิครับ)

     แน่นอน นาย ก. ทำความชั่ว นาย ก. ย่อมได้รับผลสนองในทางชั่ว แต่ไม่จำต้องถูกยิงตาย อาจเป็นผลคล้ายๆ กันนั้น ผลที่หนักพอๆ กับกรรมนั้น
     นาง ข. ทำความดี นาง ข. ย่อมได้รับผลสนองในทางดี แต่ไม่จำต้องกินไข่เค็มทุกวัน อาจได้ผลดีอย่างอื่น ที่มีน้ำหนักพอๆ กันกับกรรมนั้น
     อย่างนี้พระท่านว่า “ได้รับผลสนองที่คล้ายกับกรรมที่ทำ” (กัมมะสะริกขัง วิปากัง = ผลกรรมที่คล้ายกับกรรมที่ทำ)

@@@@@@@

ผลกรรมคล้ายกับกรรมที่ทำอย่างไร.? ผมขอยกเรื่องจริงมาให้ดูสักสองเรื่อง

เรื่องที่หนึ่ง นางโรหิณีน้องสาวท่านอนุรุทธเถระ เป็นโรคผิวหนังอย่างแรง รักษาเท่าใดก็ไม่หาย ต่อมาพระอนุรุทธเถระผู้พี่ชาย แนะนำให้ทำบุญด้วยการกวาดลานวัด ปัดกวาดเช็ดกุฏิ แล้วโรคก็หาย มีพระกราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า นางทำกรรมอะไรไว้ในชาติก่อน

พระองค์ตรัสว่า ชาติก่อนเป็นมเหสีกษัตริย์องค์หนึ่ง หึงสาวนักฟ้อนที่พระเจ้าแผ่นดินโปรดปรานมาก โดยเอาผงหมามุ่ยไปโรยใส่เครื่องแต่งตัวหญิงนักฟ้อน จนนางถูกผงหมามุ่ยกัดคันทรมานมาก มเหสีจอมขี้หึงก็หัวเราะด้วยความสะใจ “สามีข้าใครอย่าแตะนะเว้ย” มาชาตินี้นางจึงเป็นโรคผิวหนังร้ายแรง

กรรมที่นางทำคือ เอาผงหมามุ่ยไปโรยหญิงนักฟ้อน ผลกรรมที่นางได้รับ มิใช่ต้องถูกคนอื่นเอาผงหมามุ่ยมาโรยตอบ แต่เป็นผลกรรมที่คล้ายกันคือ เกิดมามีผิวหนังตะปุ่มตะป่ำ และคัน ดุจถูกผงหมามุ่ย


@@@@@@@

เรื่องที่สอง เรื่องนี้เขาเล่ามา เลยเอามาเล่าต่อ นายคนหนึ่งมีสวนกล้วยอยู่ชายป่า พอกล้วยสุกคาต้น ฝูงลิงก็มากินเกือบหมดทุกครั้ง เจ็บใจมาก วันหนึ่งจึงดักจับได้ลิงตัวหนึ่ง เอาลวดมามัดมือมันแล้วปล่อยไป ลิงพยายามดึงมือเพื่อให้หลุด ยิ่งดึงลวดยิ่งบาดลึกลงไปทุกที เลือดไหลแดงฉานร้องโหยหวน วิ่งเข้าป่าหายไป

นายคนนี้สะใจที่ได้แก้แค้น กาลเวลาผ่านไปเขาได้ลูกชายมาคนหนึ่ง มือสองข้างแป นิ้วติดกันยังกับตีนเป็ด ลูกคนที่สองที่สามเกิดมาพิการ เช่นเดียวกันยังกับแกะออกมาจากพิมพ์เดียวกัน

กรรมที่เขาทำคือ เอาลวดมัดมือลิง ผลกรรมที่เขาได้รับ มิใช่ว่าเขาถูกคนมัดมือ แต่ผลกรรมที่คล้ายกันคือ เขาได้ลูกมาแต่ละคนมือพิการนิ้วติดกัน ดุจดังทำความพิการแก่มือลิง

สรุปก็คือ เราทำอย่างใด ไม่จำเป็นต้องได้อย่างนั้น แต่เราอาจได้ผล “คล้าย” อย่างนั้นครับ

@@@@@@@

อีกประเด็นหนึ่งก็คือ ทำดีไม่จำต้องได้ผลดีร้อยเปอร์เซ็นต์ ทำชั่วไม่จำต้องได้ผลชั่วร้อยเปอร์เซ็นต์ ทำดีได้ผลดีหรือทำชั่วได้ผลชั่วแน่ แต่ไม่ใช่ “ต้องได้เต็มที่” เป็นแต่เพียงแนวโน้มที่จะได้รับผลนั้นมากที่สุดเท่านั้น ไม่ถึงกับร้อยเปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขอย่างอื่นที่จะมาเบี่ยงเบน หรือผ่อนปรนด้วย

ขอยกตัวอย่างให้เข้าใจง่าย สมมติว่า ผมออกจากบ้านมุ่งหน้าจะไปนครปฐม ทันที่ที่ผมขับรถออกจากบ้าน แนวโน้มที่ผมจะถึงนครปฐม ย่อมมีมากเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ไม่ครบร้อยดอกครับ อาจมีเงื่อนไขอย่างอื่นที่ผมไปไม่ถึงนครปฐมก็ได้ เช่น รถตายกลางทาง หรือผมเกิดขี้เกียจเลี้ยวรถกลับเอาดื้อๆ ก็ได้

กรรมที่ทำก็เช่นเดียวกันนั่นแหละ แนวโน้มที่จะให้ผลมีมาก แต่ไม่จำเป็นต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ ถึงขนาดใช้คำว่า “ต้อง” มันขึ้นกับเงื่อนไขอย่างอื่นด้วย

คัมภีร์ท่านเปรียบกรรมเหมือนหมาไล่เนื้อ คนทำกรรมเหมือนเนื้อ หมาไล่เนื้อทันเมื่อใดมันก็กัดทันที โอกาสที่หมาจะไล่ทันเนื้อมีมากอยู่ แต่ไม่ถึงกับร้อยเปอร์เซ็นต์ บางครั้งบางที เนื้อก็อาจหลุดรอดไปได้ก็มี ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขอื่นที่มาแทรกด้วย






ขอขอบคุณ :-
ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 11 - 17 พฤษภาคม 2561
คอลัมน์ : เสฐียรพงษ์ วรรณปก
ผู้เขียน   : เสฐียรพงษ์ วรรณปก
เผยแพร่ : วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2561
wevbsite : https://www.matichonweekly.com/column/article_101374
22215  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / ขอเชิญอนุโมทนา การอบรมพระกรรมฐานมัชฌิมาฯ ที่วัดราชสิทธารามฯ เมื่อ: มีนาคม 05, 2010, 04:33:09 pm

ขอเชิญทุกท่านร่วมกันอนุโมทนากับ การอบรมพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ครั้งที่ ๑/๕๓
วันมาฆบูชา ณ วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร(วัดพลับ)ระหว่างวันที่ ๒๗ – ๒๘ กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ ๑  ๒๕๕๓





ที่มา http://board.palungjit.com/f107/เรียนเชิญอนุโมทนาการอบรมพระกรรมฐานมัชฌิมา-แบบลำดับ-ครั้งที่-๑-๕๓-วันมาฆบูชา-229700.html
ขอขอบคุณ คุณบุญญสิกขา สมาชิกเว็บพลังจิต
22216  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / บทสวดมนต์ตัดกรรม ของสมเด็จโต(วัดระฆัง) เมื่อ: มีนาคม 03, 2010, 08:30:56 pm

บทสวดมนต์ตัดกรรมของสมเด็จโต วัดระฆัง



บทสวดมนต์พระไตรญาณ ชินบัญชร
(บทสวดมนต์ตัดกรรม ของสมเด็จโต วัดระฆัง)


บทสวดมนต์พระไตรญาณนี้ เป็นบทสวดของสมเด็จโต สมเด็จโตได้กล่าวเป็นรจนา เป็นธณรรมทานแก่มนุษย์โลก บูชาพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้า พระอรหันตเจ้า พระสีวลี พระพรหม เทพเวดาทุกพระองค์ในสวรรค์ทั่วแสนโกฐจักรวาล

สมเด็จโตได่กว่าวไว้ว่า " ผู้ใดสวดบทสวดมนต์ตัดกรรมนี้ จะเป็นกุศลอันยิ่งใหญ่ สวดทุกเช้าค่ำสามารถขจัดวิบากกรรมให้เบาบางลงได้ แล้วผูนั้นจะไม่ตกอบายภูมิ แม้ได้บูชาชทสวดมนต์นีไว้ที่บ้านเรือน ก็จะป้องกันอันตรายต่างๆได้ ถ้าพกติดตัวเดินทางไปที่ต่างๆ จะทำให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากถัยจากอุบัติเหตุทั้งปวง"


โยโส ภะคะวา อรหังสัมมา สัมพุทโธ
อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภควันตัง อภิปูชะยามิ
โยโส ภะคะวา อรหังสัมมา ธัมโม
อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภควันตัง อภิปูชะยามิ
โยโส ภะคะวา อรหังสัมมา สาวะกะสังโฆ
อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภควันตัง อภิปูชะยามิ

อะระหังสัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธังภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ
สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆังนะมามิ


นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหัตโต สัมมา สัมพุทธัสสะ(3 รอบ)

พุทธธัง สะระนัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ พุทธธัง สะระนัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ พุทธธัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
สุราเวระยะมัชชปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

สัคเค กาเม จะรูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน
ทีเป รัฏเฐ จะคาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเต
ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละ วิสะเม ยักขะคันธัพพะนาคา
ติฏฐันตา สันติเกยัง มุนิวะระวะจะนัง สาธุโวเม สุณันตุ

ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา

อิติปิโส ภะคะวา อะระหังสัมมา สัมพุทโธ วิชชาจะระณะ สัมปันโน
สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสัทธัมมะสารัตถิ สัตถา เทวะมนุสสานัง
พุทโธ ภะคะวาติ

สะวากขาโตภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก
โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูฮีติ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะ ยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคลา
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย
อัญชะลี กะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

อุกาสะ อุกาสะ ข้าพเจ้าจะเจริญสวดมนต์ภาวนาธรรม บูชาคุณพระรัตนตรัย
เพื่อสร้างสมทศบารมีธรรมในจิต มีทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ
อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา เจริญอิทธิบาททั้ง 4 ด้วยความพอใจในความเพียร
ให้ความสนใจและความใคร่ครวญพิจารณา ให้งหารนิวรณ์ทั้ง 5 อันมี กามฉันทะความพยาบาท ความง่วงขณะปฏิบัติ ความคิดฟุ้งซ่าน ความลังเลสงสัย ให้มันมลายหายออกไปมีวิตก วิจาร ปีติ สิริร่วมสุข เอกัคคตา เข้ามาแทนที่ให้ถึงฌาณสมาบัติ จนเดินทางเข้าสู่ มรรคาพระอริยบุคคล ล้างธุลีกิเลสให้สูญ ตัดมูลอาสวะให้สิ้น ห่างไกลสังโยชน์ทั้งปวงล่วงถึงพระนิพพานที่ยิ่งใหญ่


ข้ายเจ้าขออาราธนาบารมีพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และพระอริยสงฆ์ทุกพระองค์ มีสมเด็จโตวัดระฆังเป็นที่สุด จงมาเป็นที่พึ่งแห่งข้าพเจ้า ทำลายทุกข์กายใจให้เหือดหาย ทำลายมารตัณหาให้พินาศ
ขอให้พ้นเคาะห์ปราศจากทุกข์โศกโรคภัยและอันตรายพิบัติทั้งปวง ขอให้ข้าพเจ้ามีอายุยืนยาวมีโชคลาภ มีความสุขสิริสวัสดิ์ เจริญต่อไปทั้งในปัจจุบัน กาลอนาคต ภพหน้า ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เทอญ

อุกาสะ อุกาสะ มือของข้าพเจ้าทั้งสิบนิ้ว ขอประนมขึนระหว่างคิ้ว ข้าพเจ้าขอถวายต่างดอกบัวปทุมชาติ จักขุของข้าพเจ้าทั้งสองอันรุ่งเรืองฉายแสงแวววาว ขอถวายต่างธูปเทียนทองนะโมนมัสการ ข้าพเจ้าขอบูชาคุณพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงพระญาณเห็นทั่วทุกทิศแดนไกล พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ให้ภาวนาว่า พุทธังสะระนังคัจฉามิ ธัมมังสะระนังคัจฉามิ สังฆังสะระนังคัจฉามิ ตั้งใจภาวนาไว้ให้ดี สัตรูมีมาแก้ไขได้ทุกประการ ด้วยพุทธานุภาพที่ทรงตั้งมั่น
ในอุเบกขา ทรงเมตตาโปรดสัตว์ทั่วทิศ ทรงฤทธิ์แกล้วกล้า เดชะพระจตุพรหมวิหาร ในน้ำพระหฤทัย มีพระเมตตาทรงพระกรุณาช่วยสัตว์ให้หายเข็ญ

พุทโธพุทธัสสะ กำจัดออกไป อย่าเข้ามาใกล้ขอบขัณฑ์เสมา
ธัมโมพุทธัสสะ กำจัดออกไป อย่าเข้ามาใกล้ขอบขัณฑ์เสมา
สังโฆพุทธัสสะ กำจัดออกไป อย่าเข้ามาใกล้ขอบขัณฑ์เสมา
พวกมารไพรีอย่าเข้ามาใกล้ คนร้ายอกุศลถอยไปให้พ้น สารพัดศัตรูวินาศสันติ

ข้าพเจ้าจะขออาราธนาพระธรรมเจ้า ทั้งแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ จนจบพระไตรปิฎกอย่างย่อว่า
อาปามาจุปะ คือ พระวินัย
ทีมะสังอังขุ คือ พระสูตร
สังวิธาปุกะยะปะ คือ พระปรมัตถ์
ด้วยเดชะพระธรรมเจ้าทั้งหลาย ขอให้โพยภัยอย่าได้มี จงกำจัด พลัดพรายออกไปให้พ้น

ข้าพเจ้าจะขอไหว้คุณพระสงฆ์อันบริสุทธิ์ พระสงฆ์ทรงเป็นมิตรผูกจิตพิสมัย สังฆัสสัง
มังคะลังโลเก อุมะอะปิ พระสังฆัง จงมารักษาตัวข้าพเจ้า ศัตรูภายนอกเร่งถอยออกไป
ศัตรูภายในบรรลัยสิ้นสุด

หนึ่งนมัสการพระพุทธมาอยู่ตรงหน้า พระธรรมมาอยู่ตรงหลัง พระสังฆังรักษาจิต
พระพรหมผู้เป็นเจ้าสวรรค์มาช่วยกันรักษาตัวข้าพเจ้า เหล่าเทวานพเคราะห์
เสด็จเข้ามาช่วยกันรักษาด้วยเดช
พระอาทิตย์ทั้งหก ทรงประทานมาให้
พระจันทร์สิบห้า ทรงศีลในใจ
พระอังคารแปดองค์ มารักษาภายใน
พระพุทธสิบเจ็ด เป็นที่ชุมนุมคุ้มเสนียดและจัญไร
พระพฤหัสสิบเก้า เข้ามาสิงสู่ให้พรทุกสิ่ง
พระราหูสิบสอง มาช่วยกันรักษาศัตรูมีมามอดม้วยบรรลัย
พระศุกร์ยี่สิบเอ็ด มาช่วยป้องกัน
พระกาฬตัวกล้าร้ายกาจหนักหนา ศัตรูที่ไหนให้บรรลัยที่นั่น

นะโมเมสัพพะเทวานัง สัพพะเคราะห์จะเทวะตา
สุริยัญจะ ปะมุญจะถะ สะสิภุมโมจะเทวานัง
พุทโธลาภัง ภะวิสสะติ ชีโวศุโกร์จะมหาลาภัง
สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย
สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วนาศสันติ
พระเคราะห์ภายใน พระเคราะห์ภายนอกจงหายไป
พระเคราะห์ปีขอให้เคลื่อน พระเคราะห์เดือนขอให้คลาย
พระเคราะห์วันขอให้หาย มลายสิ้นไป ชัยยะ ชัยยะ

ชิยาสะรากะตา พุทธา เชตะวา มารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจา สะภัง ระสัง เยปิ วิงสุ นะราสะภา
ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนิสสะรา
สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร
หะทะเย อะนุรุทโธ จะ สารีปุตโต จะ ทักขิเณ
โกณทัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก
ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทราหุลา
กัสสะโป จะ มหานาโม อุภาสุง วะมะโสตัตเก
เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว
กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร
ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ อุปาลี นันทะสีวะลี
เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเต ติละกา มะมะ
เสสาสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะวันตา สิละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา
ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง
ขันธะโมระปัริตตัญจะ อาฏานาฏิยะสุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา
ชินา นานาพะละสังยุตตา สัตตะปาการะลังกะตา
วาตะปิตตาทิสัญชาตา พาหิรัชณัตตุปัททะวา
อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะเตชะสา
วะทะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัณชะเร
ชินะปัณชะระมัชเณหิ วิหะรันตัง มะหิ ตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา
อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโค สังฆานุภาวะนะ ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะปัณชะเรติ

อิติปิโสภะคะวา นะชาลิติ ฉิมพาลี จะมหาเถโร สุวรรณมามา
โภชนะมามา วัตภุมามา พลาพลังมามา โภคะมามา
มหาลาโภมามา สัพเพชะนา พหูชะนา ภะวันตุเม

พุทโธ ชัยยะ เมตตาฉิมพะลีจะมหาเถโร ลาภะลาภัง ภะวันตุเม
ธัมโม ชัยยะ เมตตาฉิมพะลีจะมหาเถโร ลาภะลาภัง ภะวันตุเม
สังโฆ ชัยยะ เมตตาฉิมพะลีจะมหาเถโร ลาภะลาภัง ภะวันตุเม

ขอนมัสการพระสีวลีเถรเจ้า ผู้ทรงเป็นเลิศในทางลาภสักการะ
พระองค์ทรงมีศักดาฤทธานุภาพหาที่จะอุปมามิได้ พระมหาเถรสีวลี
พระองค์เสด็จไปอยู่ยังสถานที่แห่งใดๆ เทพยดาและมนุษย์
ย่อมมาบูชามิได้ขาดในสถานที่นั้นทุกแห่ง ขอให้เดชะบารมี พระสีวลีเถรเจ้า
จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าพเจ้าในกาลบัดเดี๋ยวนี้เทอญ

นะพระขันแก้ว แผ้วถางทางพระนิพพาน สินมัคญาณ
ทานบารมี ศีลบารมี ภาวนาบารมี ไมตรี เมตตา กรุณา
มุทิตา อุเบกขา พระคุณสัมปันโน อะระหัตตะผล

โมพระขันแก้ว แผ้วถางทางพระนิพพาน สินมัคญาณ
ทานบารมี ศีลบารมี ภาวนาบารมี ไมตรี เมตตา กรุณา
มุทิตา อุเบกขา พระคุณสัมปันโน อะระหัตตะผล

พุทพระขันแก้ว แผ้วถางทางพระนิพพาน สินมัคญาณ
ทานบารมี ศีลบารมี ภาวนาบารมี ไมตรี เมตตา กรุณา
มุทิตา อุเบกขา พระคุณสัมปันโน อะระหัตตะผล

ธาพระขันแก้ว แผ้วถางทางพระนิพพาน สินมัคญาณ
ทานบารมี ศีลบารมี ภาวนาบารมี ไมตรี เมตตา กรุณา
มุทิตา อุเบกขา พระคุณสัมปันโน อะระหัตตะผล

ยะพระขันแก้ว แผ้วถางทางพระนิพพาน สินมัคญาณ
ทานบารมี ศีลบารมี ภาวนาบารมี ไมตรี เมตตา กรุณา
มุทิตา อุเบกขา พระคุณสัมปันโน อะระหัตตะผล



บทแผ่เมตตาให้แก่ตนเอง
ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากทุกข์
ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากเวร ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความลำบาก
ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากอุปสรรค์ รักษาตนให้มีความสุขตลอดกาลนานเทอญ

บทแผ่เมตตาไม่มีขอบเขต
พรหมโลก 20 ชั้น ดทวโลก 6 ชั้น มนุษย์โลก มารโลก
ยมโลก อบายภูมิทั้ง 4 มีนรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน
ขอให้ทุกดวงจิตและวิญญาณ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด
อย่าได้มีเวรซึ่งกันและกันเลย อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย

การให้ทาน ด้วยการให้ธรรมมะ
เป็นการชนะการให้ทั้งปวง ได้กุศลมาก


ที่มา  http://www.dek-d.com/board/view.php?id=1170671


22217  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ที่มาของคำว่า "กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ" เมื่อ: มีนาคม 01, 2010, 04:40:12 pm

ที่มาของคำว่า "กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ"

เพื่อนๆหลายท่านอาจสงสัยมานานแล้วว่า ทำไมต้องเรียกว่า “กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ผมเองก็สงสัยมานานเช่นกัน พยายามที่จะหาคำตอบอยู่ ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั้น อาศัยสันดานเดิมๆที่เป็นคนชอบสะสมข้อมูล ข้อมูลต่างๆที่สะสมไว้ ตัวผมเองก็จำไม่ได้ว่ามีอะไรบ้าง อาศัยเปิดสุ่มไปเรื่อยๆ และแล้วก็เจอจนได้  เชิญทุกท่านหาความสำราญกันได้ ตามอัธยาศัยครับ


ขอคัดลอกตัดตอน เฉพาะบางส่วนที่เห็นว่าสำคัญและมีประโยชน์ มาปูพื้นเพื่อความเข้าใจ ดังนี้ครับ

ทุติยสังคายนา 
ปรารภเรื่องภิกษุวัชชีบุตร แสดงวัตถุ ๑๐ ประการนอกธรรมนอกวินัย พระยศกากัณฑกบุตร เป็นผู้ชักชวนให้พระอรหันต์ ๗๐๐ รูป ใน ๗๐๐ รูปนั้นมี พระมันลิกะเถรเจ้า รวมอยู่ด้วย พระเรวตะเป็นผู้ถาม พระสัพพกามี เป็นผู้วิสัชชนา ประชุมทำที่วาสิการาม เมืองเวสาลี เมื่อพุทธกาลล่วงแล้วได้ ๑๐๐ ปี โดยพระเจ้ากาลาโศกราช เป็นศาสนูปถัมภก ทำสิ้นเวลา ๘ เดือนจึงเสร็จ
พระมันลิกะเถรเจ้า  บอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ให้แก่สัทธิวิหาริกสืบต่อมา  คือ พระโสณกะเถรเจ้า
พระโสณกะเถรเจ้า  บอกพระกรรมฐานมัชฌิมา ให้กับ  พระสิคควะเถรเจ้า และพระจัณฑวัชชีเถรเจ้า
พระสิคควะเถรเจ้า  บอกพระกรรมฐานมัชฌิมาให้กับ  พระโมคลีบุตรติสสะเถรเจ้า  และพระโสนันตะเถรเจ้า 
พระจัณฑวัชชี บอกพุทธพจน์ให้กับ พระโมคคัลลีบุตติสสะเถรเจ้า และพระโสนันตะเถรเจ้า
  พระโมคลีบุตรติสสะเถรเจ้า  ขึ้นพระกรรมฐานมัชฌิมาให้กับ พระโสณเถรเจ้า  และพระอุตระเถรเจ้า และให้สอบอารมณ์กับ พระโสนัตตเถรเจ้า
ต่อมาพระโสณเถรเจ้า บอกพระกรรมฐานมัชฌิมาให้กับ พระชาลตะเถรเจ้า พระกิตตระเถรเจ้า พระภูริยะเถรเจ้า
พระอุตระเถรเจ้า บอกกรรมฐานให้กับ พระญาณเถรเจ้า  พระมหาเถรทั้ง ๔ พระองค์ได้เข้าร่วม ตติยสังคายนา คือ ๑.พระโมคคัลลีบุตติสสะ ๒.พระโสนันตะเถร ๓.พระโสณเถร ๔.พระอุตรเถร



พระพุทธศาสนา ยุคหลังพุทธกาล ครั้งตติยสังคายนา
พุทธกาลล่วงแล้วได้ประมาณ  ๒๑๖ ปี  ก่อนตติยสังคายนา จึงหมดพระกรรมฐานแบบสันโดดคือ การเจริญพระกรรมฐานแบบกองใด กองหนึ่ง อย่างใด อย่างหนึ่ง ของพระมหาสาวกทั้งหลาย เหลือแต่พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ เป็นพระกรรมฐานทางสายกลาง  ของพระราหุลเถรเจ้า
 
เหตุที่เรียกพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เพราะเป็นพระกรรมฐานที่ไม่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ในพระสมถกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง และเรียนเป็นลำดับไปจนครบ ๔๐ กอง เป็นการรวบรวมเอาพระสมถะกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง และวิปัสสนาทั้งมวลไว้ในที่เดียวกัน
เพื่อไม่ให้พระสมถะกรรมฐาน ๔๐กอง และพระวิปัสสนาทั้งมวล แตกกระจายสูญหายไปในทางปฏิบัติ (คือไม่เหลือ แต่ตำรา) อีกทั้งไม่ให้ความสำคัญกับพระกรรมฐานกองใด กองหนึ่ง
พระกรรมฐานแบบมัชฌิมา แบบลำดับ อันเป็นของ พระผู้เป็นเอตทัคคะ เป็นเลิศทาง เป็นผู้ใคร่ในการศึกษา ศีล สมาธิ ปัญญา คือ พระราหุลเถรเจ้า


ตติยสังคายนา ปรารภเดียรถีย์มากมาย ปลอมบวชในพระพุทธศาสนา เพราะมีลาภสักการะเกิดขึ้นมาก พระอรหันต์ ๑,๐๐๐ รูป   พระโมคคลีบุตรติสสะเถรเป็นประธาน ขณะนั้นพระชนมายุได้ ๑๑๘ พรรษา (ชนมายุ ๑๒๐ ปีจึงเข้านิพพาน)  ประชุมทำสังคายนากันที่อโศการาม เมืองปาฏลีบุตร ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๔ โดยพระเจ้าอโศกมหาราช หรือพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ทรงเป็นองค์ศาสนูปถัมภพ สิ้นเวลา ๙ เดือนจึงเสร็จ

พระโมคคลีบุตรติสสะเถรเจ้า  ประสูติในเรื่อนของ นางโมคคลีพราหมณ์  ได้นามว่า ติสสะมานพ ชนมายุได้ ๑๖ พรรษา พระสิคควะเถร นำติสสะมานพ ออกบวชในพระพุทธศาสนา เพื่อเรียน พุทธมนต์  ติสสะมานพ บรรพชาแล้ว ได้บอกพระกรรมฐานมัชฌิมา เบื้องต้น  มีปีติทั้งห้า พระยุคลทั้งหก สุขสมาธิสองให้สามเณรติสสะ  เธอทำบริกรรม พุทโธ  ในห้องพุทธานุสสติกรรมฐานนั้นอยู่ ละสักกายทิฎฐิ ละความสงสัยพระรัตนไตร ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว
พระอาจารย์ คิดว่า ถ้าบอกพระกรรมฐานเพิ่มให้แก่สามเณรติสสะ  เธอจะมีความขวนขวายน้อย ในการที่จะเรียนเอา พุทธพจน์ 
พระสิคควะเถร จึงส่งสามเณรติสสะ ไปเรียนพุทธพจน์ จาก พระจัณฑวัชชีเถรเจ้า     ติสสะสามเณร ได้เรียนเอาพุทธพจน์นั้นทั้งหมด ยกเว้นวินัยปิฎก  อุปสมบทแล้วยังไม่ได้พรรษา  ทรงพระไตรปิฎก   ครั้นพระอาจารย์ และอุปัชฌายะ นิพพานแล้ว ทรงเจริญกรรมฐานมัชฌิมาต่อจนจบตามลำดับ และบรรลุพระอรหันต์ และได้บอกพระกรรมฐานมัชฌิมา และพระพุทธพจน์ ธรรมวินัย แก่ภิกษุเป็นจำนวนมาก
พระโมคคลีบุตรติสสะ     เป็นพระอุปัชฌาย์ ของพระมหินท์เถรเจ้า  พระโสณเถรเจ้า  พระอุตรเถรเจ้า



ที่มา  ตำนานการสืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของพระราหุลเถรเจ้า
สืบต่อมาจนถึง สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน)
พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร  เรียบเรียง.

----------------------------------------------------------------

สัทธิงวิหาริก, สัทธิวิหาริก น. คําเรียกผู้ได้รับการอุปสมบทแล้ว, ถ้าอุปสมบทต่อพระอุปัชฌาย์องค์ใดก็เป็นสัทธิงวิหาริกของพระอุปัชฌาย์องค์ นั้น, (ใช้เข้าคู่กับ อุปัชฌาย์). (ป.).

ที่มา  พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
22218  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ความสำคัญของ "อธิษฐานบารมี" เมื่อ: มีนาคม 01, 2010, 04:23:40 pm


ความสำคัญของ "อธิษฐานบารมี"

ถาม : ท่านคะ ในบารมี ๑๐ อธิษฐานบารมีสำคัญที่สุดหรือเปล่าคะ

ตอบ
: จะว่าสำคัญที่สุด มันก็สำคัญที่สุดทุกข้อแหละ

ถาม : แล้วอธิษฐานบารมีนี่คืออะไร คือ การที่เราขออย่างนั้นขออย่างนี้

ตอบ : ตั้งใจว่าเราทำอะไร เพื่ออะไร อธิษฐานบารมีถ้าเปรียบแล้วก็เหมือนกับการยิงปืนแล้วเล็งเป้า จะได้ถูกเป้าแน่นอน ถ้าไม่มีการตั้งใจว่าจะทำเพื่อ อะไร บางทีมันก็ไม่ตรงกับเป้าหมายนั้นๆ


บางคนบอกว่าการอธิษฐานคือการโลภ ทำแล้วยังขอนั่นขอนี่ แต่จริงๆ แล้วอธิษฐานบารมีเป็นเรื่องของคนมีปัญญา คือ ไม่ว่าเราทำดีหรือชั่ว ผลของการกระทำนั้นเกิดขึ้นแน่นอน ไม่ว่าช้าหรือเร็ว คราวนี้ถ้าเราทำแล้วตั้งใจอธิษฐานให้เป็นอย่างนั้นอย่าง นี้ พอถึงวาระมันเป็นไปตามความต้องการของตนเอง

แต่คนที่ขาดอธิษฐานบารมี ถึงเวลาทำแล้วไม่ได้อธิษฐาน อาจจะเข้าใจผิดว่าเป็นการโลภหรืออะไรก็ตาม ถ้าถึงเวลาแล้ว สิ่งที่ต้องการอาจจะมาไม่ทัน อย่างเช่นว่า ต้องการจะกินข้าวแล้วอีกสามวันค่อยมากิน ก็อดจนปางตายเลยก็มี หรือไม่ก็เหมือนกับอาฬวีเศรษฐี

ถ้าหากตอนเป็นมหาเศรษฐีได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าจะได้เป็นพระอนาคามี พอทรัพย์สมบัติลดมาเป็นอนุเศรษฐีถ้าฟังธรรมจะได้เป็นพระโสดาบัน แต่คราวนี้อาฬวีเศรษฐีรักษาทรัพย์สมบัติไม่อยู่กลายเป็นขอทาน พระพุทธเจ้าบอกว่าอาฬวีเศรษฐีตอนนี้ฟังเทศน์ไปก็ไม่มีผล เพราะจิตใจมัวกังวลอยู่กับการทำมาหากิน

พระอานนท์ก็กล่าวว่า พระพุทธเจ้าเคยตรัสว่าบุคคลถ้ามีวิสัยที่จะได้มรรคผลแล้ว จะไม่เสื่อมจากวิสัยนั้น แล้วทำไมอาฬวีเศรษฐีจึงเสื่อม

พระพุทธเจ้าบอกว่า อาฬวีเศรษฐีขาดอธิษฐานบารมี ไม่ได้ตั้งใจไว้ว่าจะให้บรรลุมรรคผล ถึงเวลาวาระมันก็เลยไป กว่าจะบรรลุก็คงอีกหลายชาติ เพราะฉะนั้นเข้าใจใหม่ว่าอธิษฐาน บารมีเป็นสิ่งจำเป็นมาก เป็นเรื่องของคนฉลาดที่กำหนดเป้าหมายในการกระทำของตนเอง ว่าทำอะไรแล้วต้องการอะไร ถึงเวลาก็จะเป็นไปตามต้องการ แต่ถ้าไม่ได้กำหนดไว้ รอให้มาเองก็อาจจะลืมไปเลยก็ได้


ถาม : แล้วเราควรจะรู้ไหมว่า เราควรจะอยากได้อะไร
ตอบ : ถ้าเป็นอย่างสายของหลวงพ่อก็อธิษฐานขอให้ถึงพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ หรือไม่บางคนก็อธิษฐานขอให้คำว่าไม่มีอย่ามีในชีวิต นี้เลย บางรายก็อธิษฐานเสียยาว จำไม่ได้เพราะเยอะจัด เมื่อวานมีโยมอยู่คนหนึ่ง นั่งอธิษฐานอยู่ตรงนี้ เราหลับไปตื่นหนึ่งก็ยังอธิษฐานอยู่อย่างนั้น




ถาม-ตอบ ที่บ้านอนุสาวรีย์ช่วงเช้า
วันอาทิตย์ที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๒


ที่มา : http://www.watthakhanun.com/webboard...ead.php?t=1056
เครดิต  :  http://board.palungjit.com/f61/อธิษฐานบารมี-228958.html
          ขอขอบพระคุณ คุณ tamsak

22219  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / อีกบทพิสูจน์หนึ่งของ “บทสวดอิติปิโส” เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2010, 02:16:40 pm

อีกบทพิสูจน์หนึ่งของ “บทสวดอิติปิโส”
จากนิตยสาร ธรรมะใกล้ตัว ฉบับ Lite ฉบับวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓




แม้ วิทยาศาสตร์บอกอะไรเราไม่ได้ทั้งหมด
แต่ก็ช่วยให้เรามีคำ อธิบายที่ชัดเจน
ไม่ต้องเดาไปต่างๆนานา
ตามความเชื่ออันเป็น อัตโนมัติของแต่ละคน
ซึ่งถ้าเถียงกันแบบอาศัยความเชื่อท่า เดียว
เราจะไม่พบข้อยุติใดๆ
ต่อเมื่อมี หลักฐานที่จับต้องได้ตรงกัน
แม้จะยังไม่พบข้อยุติ
อย่างน้อยก็พบข้อสรุปเบื้อง ต้นได้บ้าง

ตัวอย่างเช่นสมัยก่อนเราไม่มีทางพบข้อยุติ
ว่าอะไรเช่นน้ำมนต์และพระเครื่อง
มีดีต่างจากน้ำ ธรรมดาดินธรรมดาจริงๆ
หรือว่าเป็นเพียงการสร้างอุปาทาน
ดีแต่มีผลแค่ทางจิตใจท่าเดียวกันแน่

กระทั่ง เริ่มมีการใช้เทคนิคถ่ายภาพแบบเกอร์เลี่ยน
นำไปถ่ายสิ่ง ต่างๆที่เชื่อกันว่าเป็นวัตถุมงคล
เราจึงได้ "ข้อสรุปเบื้องต้น" ว่าวัตถุมงคลเหล่านั้น
มี ความแตกต่างจากวัตถุธรรมดาทั่วไป
แม้จะยังไม่ได้ "ข้อยุติ" ที่แน่ชัดว่าแตกต่างนั้น
แตกต่างอย่างไร แค่ไหน เอาอะไรเป็นเครื่องบอก

ปัจจุบัน เราสามารถหาซื้อกล้องเกอร์เลี่ยนได้ง่าย
ถ้าสืบค้นดูในแหล่งขายอย่าง
Amazon.com และ eBay.com
คุณจะพบทั้งกล้องเกอร์เลี่ยนราคาแค่หมื่นเดียว
ตลอดจนอุปกรณ์เสริม
รวมทั้งหนังสือที่รวมเรื่องราว เกี่ยวกับการประยุกต์
เอามาอธิบายเรื่องพลังจิตและสิ่งลึก ลับต่างๆ
นี่เป็นเรื่องที่แพร่หลายมาเป็นสิบปี
แต่ยังมีคนพูดถึงกันน้อย
เพราะภาพถ่ายที่ได้จากเทคนิคเกอร์เลี่ยนนั้น
บอก อะไรได้แค่หยาบๆว่า "ดี" หรือ "ไม่ดี"
"สว่าง สวย" หรือ "หม่นหมอง"


พวก ขายพระเครื่องเดี๋ยวนี้เขาก็พิสูจน์องค์ที่ราคาแพง
ด้วย ภาพถ่ายออร่าซึ่งมาจากกล้องเกอร์เลี่ยน อย่างเช่นที่
http://www.ounamilit.com/b44_auracolor.htm
ซึ่งดูด้วยตาเปล่าได้ว่าต่างกันจริงๆ
แต่คนทั่วไปไม่รู้อยู่ดีว่าที่สีต่างกันนั้นหมายความว่าอย่างไร
เป็นไปตามนิยามของสีที่อธิบายกำกับแน่หรือเปล่า
ฉะนั้น ความเคลือบแคลงจึงยังไม่หมดไปโดยง่าย

คุณ สมเจตน์ ศฤงคารรัตนะ
เจ้าของเว็บ http://saringkan.com
ซึ่งเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญที่ร่วมกันสร้างนิตยสารธรรมะใกล้ ตัว
แกมีกล้องเกอร์เลี่ยน ผมจึงไหว้วานให้ช่วยถ่ายภาพวัตถุต่างๆ
ตามที่ผมคิดว่าน่า จะเห็นได้ชัดว่าต่างกันอย่างไร
อย่างไรเข้าทางมืด อย่างไรเข้าทางสว่าง
ต้องขอขอบ คุณคุณสมเจตน์ไว้ ณ ที่นี้
เนื่องจากแต่ละภาพต้องใช้ต้น ทุนสูงพอควร

มา เริ่มกันจากอะไรที่ใกล้ตัวก่อนครับ
ลองให้น้ำ "ฟังเสียง" ดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น
วิธีก็ง่ายๆ รินน้ำใส่แก้ว จับแก้วใส่ตู้
เอาลำโพง ขนาบซ้ายขวา






จาก นั้นก็นำแก้วน้ำมาวางหน้าฉากดำ
เพื่อถ่ายรูปตาม เทคนิคเกอร์เลี่ยน



 

รูป นี้เป็นน้ำกรองที่ได้จากก๊อกธรรมดา
ยังไม่ได้ฟังเสียง ยังไม่ได้ทำอะไรทั้งสิ้น
ถ่ายออกมาเราจะพบว่ามีความสว่างพอควร
เนื่องจากน้ำ ประปาที่สะอาดมีความชุ่มชื่น
และเต็มไปด้วยพลังหล่อเลี้ยง ชีวิตอยู่แล้ว
ถ่ายภาพน้ำที่ไหน เมื่อไร โดยใคร
ก็น่าจะได้ผลเป็นความสว่างไม่ต่างจากที่เห็นสักเท่าไร
เว้นแต่น้ำนั้นจะมีความสกปรกในทางใดทางหนึ่ง



 

ส่วน นี่เป็นรูปออร่าของน้ำที่ฟังเสียงพระเทศน์
คุณสมเจตน์ได้ เลือกเสียงของพระรูปหนึ่ง
ซึ่งประชาชนกำลังให้ความนับถือกันทั่วประเทศ
ค่า ที่ชักชวนให้คนจำนวนมากหันมาสนใจเจริญสติ
อันเป็นธรรมะ ขั้นสูงสุดของพุทธศาสนา
ก็ขอให้ดูไว้เป็นตัวอย่างว่าความ สว่างของเสียงท่าน
เมื่อประจุลงในน้ำผ่านลำโพงแล้ว
สว่างขึ้นจากเดิม ถึงอย่างนี้




 

ส่วน น้ำอีกแก้วหนึ่งให้ฟังเสียงปลุกระดมคนมาฆ่ากัน
รูป ออร่าหลังฟังเสียงแห่งความมืดดังกล่าว
ก็กลายเป็นอะไรแบบนี้ไปได้




 

จริงๆ รูปออร่าไม่ได้บอกอะไรมากไปกว่าที่เห็นกับตาครับ
เดิม น้ำมีความสว่างอยู่บ้าง
ขนาดที่ถ่ายแล้วแสงสว่างเฉิดฉายจนไม่เห็นตัวแก้ว
แต่ น้ำที่ประจุความสว่างของพระที่เทศน์ธรรมอันบริสุทธิ์
ยัง ผลให้ความสว่างที่มีอยู่เดิมกลับยิ่งจัดจ้าเป็นทวีคูณ
ขอบ สีเหลืองอ่อนสำหรับวงการออร่า
เชื่อกันว่าแทนความหมายของกระแสธรรมะชั้นสูง
หาก ต่อไปมีเทคนิคการถ่ายทำที่ละเอียดและกว้างขวางขึ้น
เราอาจ จะประจักษ์ตาทีเดียวว่าน้ำสว่างขึ้นกว่าเดิมเป็นล้านเท่า
และ สีสันที่แท้ของน้ำหลังประจุเสียงเทศน์
ก็ไม่ใช่แค่สวยสบายตาธรรมดาอย่างนี้หรอก
แต่ควรจะ สวยวิจิตรราวกับแสงทิพย์เลยทีเดียว

ส่วนน้ำที่ฟังเสียงมืดนั้น ลดความสว่างจากคุณสมบัติเดิม
ขนาดที่เห็นตัวแก้วได้เกือบชัด
รังสีทะมึนที่เห็น ก็ขอให้ใช้ใจของคุณเองตีความเอาก็แล้วกัน
ว่ามันชวนให้ขน หัวลุกหรือเปล่า

เมื่อ ประจักษ์กับตาว่าสีออร่าแยกแยะได้แค่คร่าวๆ หยาบๆ
ว่า วัตถุทั้งหลายมีความแตกต่างกันอย่างไร
เป็นของสว่างหรือของมืด
เราก็นำไปลองดูวัตถุมงคล ที่ปัจจุบันนิยมกันมาก

มันน่าตกตะลึงงง เมื่อวัตถุมงคลบางชิ้นนั้น
แม้ได้รับมาจากมือผู้ทรงศีล
ที่แท้อาจถูกส่งทอดมา จากคนอื่น ที่ไม่มีศีลธรรมก็ได้
ดังเช่นที่ทันตแพทย์หญิง นางหนึ่ง
เธอมีสร้อยประคำซึ่งได้รับจากมือบุคคลที่เธอ นับถือมาก
จึงคิดจะนำมาลองถ่ายภาพเพื่อดูออร่าว่าจะเป็นอย่างไร






ผล ปรากฏว่าเป็นสีเขียวคล้ำ
ซึ่งต่างกันมากกับสีของความสว่าง แห่งธรรมะ



 

เพื่อ ให้เกิดความแน่ใจว่าอย่างไรจึงดีกว่ากัน
เธอได้สวดมนต์ อิติปิโส ซึ่งเป็นบทสวดวิเศษสูงสุด
เนื่องจากเป็นพุทธพจน์
และเป็นการกล่าวสรรเสริญพระ รัตนตรัย
ไม่มีการเรียกร้องให้คุ้มครองหรือเอาของดีเข้า ตัวใดๆ
จิตใจจึงสะอาด ผู้สวดด้วยความนุ่มนวลทุกคน
ย่อมรู้สึกได้ถึงกระแสเมตตาธรรมอันเยือกเย็นไพศาล
 




หลัง จากสวดประจุความสว่างลงน้ำเสร็จ
ก็นำน้ำในแก้วมาถ่าย รูปดูออร่าก่อนเป็นหลักฐาน
จะเห็นความน่าอัศจรรย์ได้อย่างชัดเจน
ถ้าคุณมี กล้องเกอร์เลี่ยน ผมขอให้ลองดูเลยครับ
เอาบทสวดทุกบทในโลก มาสวดโดยคนๆเดียวกัน
ดูเลยว่ามีบทไหนให้ความสว่างได้เท่า อิติปิโสบ้าง
แล้วคุณจะตาสว่าง ไม่ไปเอาบทไหนมาสวดอีกเลย
ชาว พุทธจำนวนมากมีบทสวดศักดิ์สิทธิ์ติดตัวขึ้นใจอยู่แล้ว
แต่ อนิจจา หารู้ถึงความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งใหญ่นั้นไม่
มัวแต่ วิ่งหาเครื่องรางของขลัง
จนไปได้ของที่ขลังไม่จริงมาก็บ่อย

 




บุคคล ผู้เป็นพยานที่น่าเชื่อถือท่านหนึ่ง
เป็นตัวแทนนำน้ำซึ่ง บัดนี้
ได้ประจุความสว่างของอิติปิโสมาราดประคำ



 

จาก นั้นก็ได้มีการถ่ายรูปออร่าของประคำซ้ำอีกครั้ง
ผล ที่เกิดขึ้นต่างไปเป็นคนละเรื่อง
ดูแล้วใกล้เคียงกับน้ำมนต์อันเกิดขึ้น
จากบทสวดอิ ติปิโสมากทีเดียว
 




จาก รูปทั้งหมดที่แสดงมา
ก็เพื่อบอกว่าเดี๋ยวนี้สิ่งที่ตา เห็นไม่ได้
เราสามารถใช้เทคโนโลยีเห็นแทน
และนำมาแสดงกับตา เปล่าของเราได้แล้ว
เรื่องที่เคยต้องอาศัยความเชื่ออย่าง เดียว
จนใกล้เคียงกับหลุมดำของความงมงาย
จึง กลายเป็นอะไรที่สามารถจับต้อง
และกล่าวถึงได้เต็มปากเต็มคำมากขึ้น

สิ่งที่คนไม่รู้ หรือรู้แล้วลืมนึกถึง
ก็คือร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยน้ำถึง ๗๐%
เมื่อใช้ จิตไปประกอบกรรมขาวมากๆ
ถ่ายรูปออร่าจึงออกมาขาวสว่าง
แต่เมื่อใช้จิตไปประกอบกรรมดำมากๆ
ถ่ายรูปออร่าจึง ออกมาช้ำเลือดช้ำหนอง
น่ากลัวมากกว่าน่าดู
จิตคนอ่อนไหวได้ยิ่งกว่าน้ำ หลายร้อยเท่า
น้ำเป็นอย่างนี้ จิตจะไปเหลือหรือ?


แล้ว แปลกนะครับ
ยุคอินเตอร์เน็ตที่แสนล้ำสมัยอย่างปัจจุบัน
กลับมี หลายต่อหลายคนหวาดระแวง
หรือถึงขั้นตกประหวั่นขวัญผวา
ว่าตนจะโดนคุณไสยที่ใครเขาปล่อยมาเล่นงานบ้างหรือไม่

จริงๆ หลักการของคุณไสยมีสองฝั่ง
ฝั่งสว่างกับฝั่งมืด เรียกไสยขาวและไสยดำ
ไสยดำเอา ไว้ทำร้าย ไสยขาวเอาไว้ช่วยคน
ตลอดจนช่วยให้พ้นจากกระแส มาร
ซึ่งในคัมภีร์พระไตรปิฎกกล่าวถึงไว้หลายแห่ง
ทว่าเรามักคิดว่าเป็นเรื่องหลอกหรือแต่งเติมในภายหลัง

เอาเป็น ใครสงสัยว่าตัวเองอาจถูกของ
หรืออาจถูกมารครอบอยู่
ผมมีวิธีพิสูจน์ให้รู้ตัว ได้ง่ายๆนะครับ
ให้ถือศีล ๕ จนสะอาดอย่างน้อยหนึ่งวัน
ตกเย็นสำรวจความสว่างของศีล
คุณจะรู้สึกถึงพลัง อำนาจฝ่ายดีที่เกิดขึ้นในตัวเอง

จากนั้น ให้ปิดตาลง
ท่องอิติปิโสแบบเปล่งเสียงเต็มปากเต็มคำในอาการสบาย
สวด กี่จบก็ได้ จนกว่าจะรู้สึกถึงความสว่าง อบอุ่น สะอาด
และ เป็นอันเดียวกับความศักดิ์สิทธิ์ของพระรัตนตรัย

จากนั้นให้อธิษฐานในใจ
ถามเข้าไปที่ความสว่างซึ่งเกิดขึ้นกลางใจตนเอง
ว่า มีของมืดใดครอบคลุมเราอยู่หรือไม่ ขอให้รู้ได้ด้วยเถิด
แล้ว ลืมตาลุกขึ้นเดินอย่างมีสติ
ไปดูกระจกเงาที่อยู่ใกล้ที่ สุด
เอาแบบบานใหญ่ที่เห็นได้ครึ่งตัวจะดี
หากมีกระแส มืดๆคลุมอยู่
คุณจะรู้สึกสัมผัสได้ราวกับควันดำจากกองไฟ
อาจลอยวนอยู่รอบตัว หรือขมุกขมัวอยู่ทั่วหน้า

เห็นอย่างนั้นไม่ต้องตกใจ
เพราะเงาดำจะหยั่งลงถึงใจไม่ ได้ ถ้าคุณไม่รับ
อย่าง มากก็กระตุ้นให้คิดในทางบาป
ถ้าไม่คิดตามกระแสบาปไป
ก็ไม่เกิดกรรมติดตัวคุณได้

จาก นั้นให้เร่งหมั่นสร้างสมความสว่างให้หนักแน่นที่สุด
ทั้ง ในด้านของน้ำใจคิดเสียสละ
น้ำใจให้อภัย ตลอดจนมีใจเด็ดเดี่ยวรักษาศีล ๕
ถ้า ขนาดยอมตายดีกว่ายอมเสียศีลได้ยิ่งดี
เท่านี้แม้มีเมฆหมอก ดำคลุมตัวหนาทึบ
ที่สุดมันก็ต้องพ่าย สลายตัวไปไม่เหลือ
ตามหลักของอนิจจังขาขึ้น
ถ้าฉุดลงต่ำไม่ได้ ก็กลายเป็นผลักดันให้ยิ่งสูงส่งเป็นทวีคูณครับ

ดังตฤณ
กุมภาพันธ์ ๕๓

22220  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / กว่าพระโพธิสัตว์จะสำเร็จเป็น “พระพุทธเจ้า” เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2010, 02:15:34 pm

กว่าพระโพธิสัตว์จะสำเร็จเป็น “พระพุทธเจ้า”

   พระพุทธเจ้า ทุกพระองค์ กว่าจะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าให้เรากราบไหว้บูชานั้น ล้วนแต่ตั้งความปรารถนามาเนิ่นนาน เริ่มตั้งแต่ความปรารถนาในใจก่อนนับเวลาอย่างน้อย ๗ อสงไขย ปรารถนาด้วยวาจา ๙ อสงไขย ประกาศด้วยกายและวาจาอีก ๔ อสงไขยแสนกัป

   พระพุทธเจ้าเคยเสวยชาติเป็นโพธิสัตว์ประเภทปัญญาธิกะ เพราะมีกำลังบารมีแรงมาก จากที่ได้ตั้งความปรารถนาไว้กับพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ จนนับชาติไม่ถ้วนด้วยจิตคิดว่า เราตรัสรู้แล้วจะให้ผู้อื่นตรัสรู้ด้วย เราพ้นแล้ว จะให้ผู้อื่นพ้นด้วย เราข้ามได้แล้ว จะให้ผู้อื่นข้ามด้วย
 
   ดังนี้...ย้อนหลังไปเมื่อ ....สี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป มีพระนครหนึ่งนามว่า อมร เป็นเมืองสวยงามน่าดู น่ารื่นรมย์ สมบูรณ์ด้วยข้าว และน้ำ อึกทึกไปด้วยเสียง ๑๐ เสียง. คือ เสียงช้าง เสียงม้า เสียงรถ เสียงกลอง เสียงตะโพน เสียงพิณ เสียงขับร้อง เสียงสังข์ เสียงกังสดาล เสียงที่ ๑๐ ว่า เชิญกิน เชิญขบเคี้ยว เชิญดื่ม

   พระนครอันสมบูรณ์ด้วยคุณลักษณะทุกประการ ที่มีสิ่งต้องการทุกชนิด สมบูรณ์ด้วยแก้วเจ็ดประการ ขวักไขว่ไปด้วยเหล่าชนต่างๆ มั่งคั่งเป็นดุจเทพนารี เป็นที่อาศัยอยู่ของเหล่าผู้มีบุญ.

   พราหมณ์ชื่อสุเมธ มีสมบัติสะสมไว้นั้นได้หลายโกฏิ มีทรัพย์และข้าวเปลือกมากมาย เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงมนต์ได้มาก เรียนจบไตรเพท ถึงความสำเร็จบริบูรณ์ในลักขณศาสตร์ อิติหาสศาสตร์ และในสัทธรรม.

   ต่อมาวันหนึ่ง สุเมธบัณฑิต นั้นไปในที่เร้น ณ พื้นปราสาทชั้นบน นั่งขัดสมาธิคิดความประกอบด้วยเนกขัมมะนี้ ด้วยอุปมาต่างๆ แล้ว สละกองแห่งโภคสมบัตินับไม่ถ้วน ในเรือนของตน แก่เหล่าชนมีคนกำพร้า และคนเดินทางไกล เป็นต้น ตามนัยที่กล่าวมาแล้วแต่หนหลัง ถวายมหาทาน ละวัตถุกามและกิเลสกามแล้ว

   ออกจากอมรนครคนเดียวเท่านั้น อาศัยภูเขาชื่อธรรมิกะในป่าหิมพานต์ สร้างอาศรม เนรมิตบรรณศาลาและที่จงกรม เนรมิตขึ้นด้วยกำลังแห่งบุญของตน เพื่อจะละเว้นเสียจากโทษแห่งนิวรณ์ทั้งห้า นำมาซึ่งกำลัง กล่าวคืออภิญญาที่ประกอบด้วยเหตุ อันเป็นคุณ ๘ อย่าง ละทิ้งผ้าสาฎกที่ประกอบด้วยโทษ ๙ ประการสำหรับผู้ที่บวชเป็นดาบส .

   เมื่อบวชเป็น ฤาษีดำเนินไปหาโคนต้นไม้ซึ่งประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการ เลิกละข้าวต่างๆ หันมาบริโภคผลไม้ที่หล่นจากต้นเอง เริ่มตั้งความเพียรด้วยอำนาจการนั่ง การยืน และการจงกรม ในภายในเจ็ดวันนั่นเอง ก็ได้อภิญญา ๕ สมาบัติ ๘. ท่านได้บรรลุกำลังแห่งอภิญญาตามที่ปรารถนาไว้นั้น ด้วยประการฉะนี้.

   เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เราคิดอย่างนี้แล้วได้ให้ทรัพย์นั้นได้หลายร้อยโกฏิ แก่คนยากจนอนาถา แล้วเข้าไปสู่ป่าหิมพานต์ ในที่ไม่ไกลแห่งป่าหิมพานต์มีภูเขาชื่อธรรมิกะ เราสร้างอาศรมอย่างดีไว้ เนรมิตบรรณศาลาไว้อย่างดี ทั้งยังเนรมิตที่จงกรมเว้นจากโทษ ๕ ประการไว้ในอาศรมนั้น

   เราได้กำลังอภิญญาประกอบด้วยองค์แปดประการ.
   เราเลิกใช่ผ้าสาฎกอันประกอบด้วยโทษ ๙ ประการ หันมานุ่งผ้าเปลือกไม้อันประกอบด้วยคุณ ๑๒ ประการ.   
  เราเลิกละบรรณศาลาที่เกลื่อนกล่นไปด้วยโทษ ๘ ประการ เข้าไปสู่โคนไม้อันประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการ.

   พระมหาสัตว์กล่าวว่า เราห้ามที่มุงบัง เข้าหาโคนต้นไม้ที่ประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการ เราเลิกละข้าวที่หว่านที่ปลูก โดยไม่มีส่วนเหลือเลย หันมาบริโภคผลไม้หล่นเอง ที่สมบูรณ์ด้วยคุณเป็นอเนกประการ.
   เราเริ่มตั้งความเพียรในที่นั่ง ที่ยืน และที่จงกรมในอาศรมบทนั้น

   ภายในเจ็ดวันก็ได้บรรลุ กำลังแห่งอภิญญา เราเลิกละข้าวที่หว่านที่ปลูกโดยเด็ดขาด มาบริโภคผลไม้ที่หล่นเอง ที่สมบูรณ์ด้วยคุณเป็นอันมาก เราเริ่มตั้งความเพียรในการนั่ง การยืน และการเดินจงกรมที่โคนต้นไม้นั้น ในภายในสัปดาห์หนึ่ง ก็ได้บรรลุอภิญญาพละ ดังนี้.



  เมื่อสุเมธดาบสบรรลุอภิญญาพละอย่างนี้แล้ว สุข อันเกิดจากสมาบัติ. พระศาสดาทรงพระนามว่า ทีปังกร เสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้ว ในการถือปฏิสนธิ การอุบัติขึ้น การตรัสรู้และการประกาศพระธรรมจักร โลกธาตุหมื่นหนึ่งแม้ทั้งสิ้นหวั่นไหว สั่นสะเทือนร้องลั่นไปหมด บุรพนิมิต ๓๒ ประการ ปรากฏขึ้นแล้ว.

    สุเมธบัณฑิตให้เวลาล่วงเลยไป ด้วยสุขอันเกิดแต่สมาบัติ ไม่ได้ยินเสียงนั้นเลย ทั้งไม่ได้เห็นนิมิตแม้เหล่านั้นด้วย
 
    ในกาลนั้น พระทศพลทรงพระนามว่า ทีปังกร มีพระขีณาสพสี่แสนห้อมล้อมแล้ว เสด็จจาริกไปตามลำดับ เสด็จถึงนคร ชื่อรัมมกนคร เสด็จประทับ ณ สุทัสนมหาวิหาร. พวกชาวรัมมกนครได้กล่าวว่า ได้ยินว่า พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ทีปังกร ผู้เป็นใหญ่กว่าสมณะ ทรงบรรลุอภิสัมโพธิอย่างยิ่ง ทรงประกาศพระธรรมจักรอันบวร เสด็จจาริกไปโดยลำดับ

    เสด็จถึงรัมมกนคร แล้วเสด็จประทับอยู่ที่ สุทัสนมหาวิหาร. ต่างพากันถือเภสัช มีเนยใสและเนยข้นเป็นต้น และผ้าเครื่องนุ่งห่ม มีมือถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น. พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อยู่ ณ ที่ใด ก็หลั่งไหลพากันติดตามไป ณ ที่นั้นๆ เข้าไปเฝ้าพระศาสดา แล้วถวายบังคม บูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น แล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ฟังพระธรรมเทศนา แล้วทูลนิมนต์เพื่อเสวยในวันรุ่งขึ้น พากันลุกจากที่นั่ง แล้วหลีกไป.

    ในวันรุ่งขึ้น ต่างพากันตระเตรียมมหาทาน ประดับประดานคร ตกแต่งหนทางที่จะเสด็จมาของพระทศพล. ในที่มีน้ำเซาะก็เอาดินถมทำพื้นที่ดินให้ราบเสมอ โรยทรายอันมีสีดังแผ่นเงิน โปรยปรายข้าวตอกและดอกไม้ ปักธงชายและธงแผ่นผ้า พร้อมด้วยผ้าย้อมสีต่างๆ ตั้งต้นกล้วยและหม้อน้ำเต็มด้วยดอกไม้เรียงรายเป็นแถว.

    ในกาลนั้น สุเมธดาบสเหาะจากอาศรมบทของตน มาโดยทางอากาศ เบื้องบนของพวกมนุษย์เหล่านั้น เห็นพวกเขาร่าเริงยินดีกัน คิดว่า มีเหตุอะไรกันหนอ. จึงลงจากอากาศยืน ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ถามพวกเขาว่า ท่านผู่เจริญ พวกท่านพากันประดับประดาทางนี้ เพื่อใคร ดังนี้.

   พวกมนุษย์จึงเรียนว่า "ข้าแต่ท่านสุเมธผู้เจริญ ท่านไม่ทราบอะไร พระทศพลทีปังกร ทรงบรรลุสัมโพธิญาณแล้ว ประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐ เสด็จจาริกมาถึงนครของพวกเราแล้ว เสด็จพำนักที่สุทัสนมหาวิหาร. พวกเรานิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นมา จึงตกแต่งทางนี้ที่จะเป็น ที่เสด็จมาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าพระองค์นั้น.

 

    เมื่อได้ฟัง สุเมธดาบสก็คิดว่า " แม้เพียงคำประกาศว่า พุทฺโธ(พระพุทธเจ้า) ก็หาได้ยากในโลก จะป่วยกล่าวไปไย ถึงการอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า แม้เราก็ควรจะร่วมกับมนุษย์เหล่านั้น ตกแต่งทางเพื่อพระทศพลด้วย. "

    ท่านจึงกล่าวกะพวกมนุษย์เหล่านั้นว่า ท่านผู้เจริญ ถ้าพวกท่านตกแต่งทางนี้เพื่อพระพุทธเจ้า ขอจงให้โอกาสส่วนหนึ่งแก่เราบ้าง แม้เราก็จักตกแต่งทาง เพื่อพระทศพลพร้อมกับพวกท่าน. พวกเขาก็รับปากว่า ดีแล้ว. ต่างรู้ว่า สุเมธดาบสมีฤทธิ์ จึงกำหนดที่ว่างซึ่งมีน้ำเซาะให้กล่าวว่า " ท่านจงแต่งที่นี้เถิด แล้วมอบให้ไป.

    สุเมธดาบสยึดเอาปีติ ซึ่งมีพระพุทธเจ้า(พุทฺโธ)เป็นอารมณ์ คิดว่า เราสามารถจะตกแต่ง ที่ว่างนี้ด้วยฤทธิ์ได้. แต่เมื่อเราตกแต่งเช่นนี้ ใจก็จะไม่ยินดีนัก. วันนี้ เราควรจะกระทำการรับใช้ด้วยกาย ดังนี้แล้ว ขนดินมาเทลงในที่ว่างนั้น. เมื่อที่ว่างแห่งนั้น ยังตกแต่งไม่เสร็จเลย

   พระทศพลทีปังกร มีพระขีณาสพผู้ได้อภิญญา ๖ มีอานุภาพมาก สี่แสนรูปห้อมล้อม. เมื่อเหล่าเทวดาบูชาอยู่ ด้วยของหอมและดอกไม้ทิพย์ เมื่อสังคีตบรรเลงอยู่ เมื่อเหล่ามนุษย์บูชาอยู่ ด้วยของหอมและดอกไม้ เสด็จเยื้องกรายบนพื้นมโนสิลา ด้วยพระพุทธลีลาอันหาที่สุดมิได้ ประดุจราชสีห์ เสด็จดำเนินมาสู่ทาง ที่ตกแต่งประดับประดาแล้วนั้น.

   สุเมธดาบสลืมตาทั้งสองขึ้น มองดูพระวรกายของพระทศพล ผู้เสด็จดำเนินมาตามทางที่ตกแต่งแล้ว ซึ่งถึงความเลิศด้วยพระรูปโฉม ประดับด้วยพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ

     สวยงามด้วยพระอนุพยัญชนะ (ลักษณะส่วนประกอบ) ๘๐ ประการ แวดวงด้วยแสงสว่างมีประมาณวาหนึ่ง เปล่งพระพุทธรัศมีหนาทึบมีสี ๖ ประการออกมาดูประหนึ่งสายฟ้าหลายหลาก ในพื้นท้องฟ้ามีสีดุจแก้วมณี ฉายแสงแปลบปลาบอยู่ไปมาและเป็นคู่ๆกัน

    จึงคิดว่า "วันนี้เราควรกระทำ การบริจาคชีวิตแด่พระทศพล. เพราะฉะนั้น ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่าได้ทรงเหยียบเปือกตม แต่จงทรงย่ำหลังของเรา เสด็จพร้อมกับพระขีณาสพสี่แสน เหมือนทรงเหยียบสะพานแก้วมณีเถิด ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่เราตลอดกาลนาน "

    พระมหามุนีทีปังกรผู้เป็นพระชินเจ้า พร้อมกับพระขีณาสพสี่แสน ได้อภิญญา ๖ ผู้คงที่ ปราศจากมลทิน เสด็จดำเนินมาทางนั้น การต้อนรับต่างๆ ก็มีขึ้น กลองมากมายบรรเลงขึ้น เหล่าคนและเทวดาล้วนร่าเริง ต่างทำเสียงสาธุการลั่นไปทั่ว เหล่าเทวดาเห็นพวกมนุษย์ และแม้เหล่ามนุษย์ก็เห็นเทวดา.

    แม้ทั้งสองพวกนั้นต่างประคองอัญชลี เดินตามพระตถาคตไป. เหล่าเทวดาที่เหาะมาทางอากาศ ก็โรยปรายดอกมณฑารพ ดอกบัวหลวง ดอกปาริฉัตรอันเป็นทิพย์ไปทั่วทุกทิศ. เหล่าคนที่อยู่บนพื้นดินต่าง ก็ชูดอกจำปา ดอก (สัลลชะ) ดอกกระทุ่ม ดอกกากะทิง ดอกบุนนาค ดอกการะเกดไปทั่วทุกทิศ.



    สุเมธดาบส เปลื้องผ้าเปลือกไม้และหนังเสือในที่นั้น ลาดลงบนเปือกตม นอนคว่ำหน้าบนหลังเปือกตมเหมือนสะพานแผ่นแก้วมณี พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยศิษย์จงทรงเหยียบเรา เสด็จไป อย่าได้เหยียบบนเปือกตมเลย. ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่เรา ดังนี้.

     สุเมธดาบสนั้นนอนบนหลังเปือกตมนั้นแล ลืมตาทั้งสอง เห็นพระพุทธสิริของพระทศพลทีปังกร จึงคิดว่า ถ้าเราพึงต้องการ ก็พึงเผากิเลสทั้งปวงหมด แล้วเป็นพระสงฆ์นวกะเข้าไปสู่รัมมกนครได้ แต่เราไม่มีกิจด้วยการเผากิเลส ด้วยเพศที่ใครไม่รู้จัก แล้วบรรลุนิพพาน.

     ถ้ากระไร เราพึงเป็นดังพระทศพลทีปังกร บรรลุพระอภิสัมโพธิญาณอย่างสูงยิ่ง แล้วขึ้นสู่ธรรมนาวา ให้มหาชนข้ามสงสารสาครได้ แล้วปรินิพพานภายหลัง ข้อนี้สมควรแก่เรา...

    "เมื่อดำริว่าตนเองมีความพร้อมในการ ตั้งความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า เพราะมีความพร้อมด้วยธรรม 8 ประการ จึงกระทำความปรารถนาอันยิ่งใหญ่เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้าแล้วจึงนอนลงทอดกาย เป็นสะพานเพื่อพระพุทธเจ้าจะได้ก้าวพระบาทผ่านไปโดยเท้าไม่เปื้อนโคลนตม"

     องค์พระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกรเสด็จมาแล้วทรงยืนที่เบื้องศีรษะของสุเมธดาบส ทรงลืมพระเนตรทั้งสองอันสมบูรณ์ด้วยประสาทมีวรรณะ 5 ประการ ประหนึ่งว่าเปิดสีหบัญชรแก้วมณี ทรงเห็นสุเมธดาบสนอนอยู่เหนือหลังเปือกตม

     จึงทรงดำริว่า ดาบสนี้กระทำความปรารถนาอันยิ่งใหญ่เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า จึงได้นอนอยู่ ความปรารถนาของดาบสนี้จะสำเร็จหรือไม่หนอ จึงทรงส่งอนาคตังสญาณ ใคร่ครวญอยู่
     ทรงทราบว่าล่วงสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปแต่กัปนี้ไป ดาบสนี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม พระทีปังกรพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ในท่ามกลางบริษัทว่า


     “ท่านทั้งหลาย เห็นดาบสผู้มีตบะสูงผู้นี้ซึ่งนอนอยู่บนหลังเปือกตมหรือไม่ ดาบสนี้กระทำความปรารถนาอันยิ่งใหญ่เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า จึงได้นอนอยู่ ความปรารถนาของดาบสนี้จักสำเร็จ ด้วยว่าในที่สุดสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป
    แต่กัปนี้ไปดาบสนี้ จักได้เป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม,
    ก็ในอัตภาพนั้น พระนครนามว่ากบิลพัสดุ์จักเป็นที่อยู่อาศัยของเขา
    พระเทวีพระนามว่ามายาจักเป็นพระมารดา
    พระราชาพระนามว่าสุทโธทนะจักเป็นพระบิดา
    พระเถระนามว่าอุปติสสะจักเป็นพระอัครสาวก
    พระเถระนามว่าโกลิตะจักเป็นทุติยสาวก
    พระเถระนามว่าอานนท์จักเป็นพุทธอุปัฏฐาก
    พระเถรีนามว่าเขมาจักเป็นอัครสาวิกา
    พระเถรีนามว่าอุบลวรรณาจักเป็นทุติยสาวิกา
    ดาบสนี้มีญาณแก่กล้าแล้วจักออกมหาภิเนษกรมณ์ ตั้งความเพียรใหญ่
    รับข้าวปายาสที่ควงไม้นิโครธแล้ว บริโภคที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
    แล้วขึ้นสู่โพธิมัณฑ์ จักตรัสรู้พร้อมเฉพาะที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์”

 

     การจะได้เป็นพระพุทธเจ้าแสดงว่าได้รับการพยากรณ์ไว้ก่อนแล้ว ไม่ว่าจะเป็นประเทศ บิดามารดาได้ถูกกำหนดไว้แล้ว การพยากรณ์อย่างนี้มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นจึงจะทำได้ เพราะทุกอย่างเกิดขึ้นจากอนาคตังสญาณหรือญาณมองเห็นอนาคต

    ท่านแสดงไว้ในขุททกนิกาย อปทานว่า “ก้อนดินที่ขว้างไปในท้องฟ้า ย่อมตกลงในแผ่นดินแน่นอนฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมืนกัน ย่อมแน่นอนและเที่ยงตรง พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มีพระดำรัสอันไม่เป็นจริง”

     สุเมธดาบสโสมนัสยินดียิ่ง พระทศพลทีปังกร ได้ทรงสรรเสริญพระโพธิสัตว์ด้วยพระดำรัสประเสริฐสุด เที่ยงแท้แน่นอน ทรงประทานบูชาด้วยดอกไม้ ๘ กำมือแก่สุเมธดาบสทรงเมตตาทำประทักษิณแล้วหลีกไป

    แม้พระขีณาสพทั้ง 4 แสนก็บูชาด้วยของหอม ดอกไม้ ทั้งมนุษย์และเทวดาก็ได้บูชาด้วย ได้ไหว้ได้บูชาแล้วหลีกไป อย่างนั้นอรรถเหมือนกัน จากพระโพธิสัตว์ก็ บำเพ็ญพุทธการกธรรมคือ ธรรมเพื่อทำให้เป็นพระ พุทธเจ้า ในบารมี ๑๐ ประการ จนสมบูรณ์ทุกประการ แล้วจึงได้มาเกิดที่ลุมพินีแห่งนี้......


    พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ กว่าจะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าให้เรากราบไหว้บูชานั้น ล้วนแต่ตั้งความปรารถนามาเนิ่นนาน เริ่มตั้งแต่ความปรารถนาในใจก่อนนับเวลาอย่างน้อย ๗ อสงไขย ปรารถนาด้วยวาจา ๙ อสงไขย ประกาศด้วยกายและวาจาอีก ๔ อสงไขยแสนกัป......

ที่มา.........http://board.agalico.com/showthread.php?t=19258


    สุเมธดาบสครั้นได้รับพุทธพยากรณ์ ก็ได้ชื่อว่าเป็น โพธิสัตว์ นับแต่นั้มา ท่านแสดงว่า อภินิหาร ความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง จักสำเร็จเพราะผู้ตั้งความปราถนา ประกอบด้วย ธรรสโมธานแปดประการ ได้แก่
 
   1. เป็นมนุษย์
   2. เป็นบุรุษเพศสมบูรณ์
   3. มีเหตุสมบูรณ์ คือ มีนิสัยบารมี พร้อมทั้งการปฎิบัติประมวลกัน เป็นเหตุที่จะให้บรรลุพระอรหัตต์ในอัตภาพนั้นได้แล้ว แต่เพราะปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า จึงยังไม่สำเร็จก่อน
   4. ได้เห็นพระศาสดา คือ ได้เกิดทัน และได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง
   5. บรรพชา คือ ถือบวชเป็นนักบวช เช่น ฤษี ดาบส ไม่ใช่เป็นคฤหัสถ์
   6. ถึงพร้อมด้วยคุณ คือ ได้อภิญญา 5 สมาบัติ 8 หมายถึงการได้สมาธิจิตอย่างสูง จนจิตบังเกิด ความรู้ ความเห็น อย่างมีตา มีหู รับรู้เห็นเกินมนุษย์สามัญ ที่เรียกว่า ตาทิพย์ หูทิพย์
   7. ถึงพร้อมด้วยอธิการ คือ การกระทำอันยิ่งจนถึงอาจบริจาคชีวิตของตน เพื่อพระพุทธเจ้าได้
   8. มีฉันทะ คือ มีความพอใจ มีอุตสาหพยายามยิ่งใหญ่ จนเปรียบเหมือนว่า ยอมแบกโลกทั้งโลก เพื่อนำไปสู่แดนเกษมได้ หรือเปรียบเหมือนว่ายอมเหยียบย่ำโลกทั้งโลกที่เต็มไปด้วยขวากหนาม หอกดาบ และถ่านเพลิงไปได้ 


    ท่านผู้ประกอบด้วยธรรมสโมธานแปดนี้ ทำอภินิหาร ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าในสำนักของพระพุทธเจ้า พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง ความปรารถนาของท่านย่อมสำเร็จได้ สุเมธดาบส มีธรรมสโมธานแปดประการบริบูรณ์ จึงมีอภินิหารปราถนาพุทธภูมิได้

   ต่อจากนั้น พระโพธิสัตว์ก็ได้บำเพ็ญ พุทธการธรรมสิบประการ ได้แก่
 
   1. บำเพ็ญทาน สละบริจาคสิ่งทั้งปวงจนถึงร่างกาย และชีวิตให้ได้หมดสิ้น เหมือนอย่างเทภาชนะใส่น้ำคว่ำจนหมดน้ำ
   2. บำเพ็ญศีล รักษาศีลยิ่งกว่าชีวิต เหมือนอย่างเนื้อทรายรักษาขนยิ่งกว่าชีวิต
   3. บำเพ็ญเนกขัมม์ ออกจากกาม จากบ้านเรือน เหมือนอย่างมุ่งออกจากพันธนาคาร
   4. บำเพ็ญปัญญา เข้าหาศึกษา ไต่ถามบัณฑิต โดยไม่เว้นว่าจะเป็นบุคคลมีชาติชั้นวรรณะต่ำ ปานกลางหรือสูง เหมือนอย่างภิกษุเที่ยวบิณฑบาตรับไปตามลำดับ ไม่เว้นแม้นที่ตระกูลต่ำ
   5. บำเพ็ญวิริยะ มีความเพียร ไม่ย่อหย่อนทุกอิริยาบท เหมือนอย่างสีหราชมีความเพียรมั่นคงในอิริยาบททั้งปวง
   6. บำเพ็ญขันติ อดทนทั้งในคำยกย่อง ทั้งในการดูหมิ่นแคลน เหมือนอย่างแผ่นดินใครทิ้งของสะอาด หรือไม่สะอาดก็รองรับได้ทั้งนั้น
   7. บำเพ็ญสัจจะ รักษาความจริงไม่พูดเท็จทั้งที่รู้ แม้ฟ้าจะผ่าเพราะเหตุไม่พูดเท็จ ก็ไม่ยอมพูดเท็จ เหมือนอย่างดาวโอสธี ดำเนินไปในวิถีของตน เที่ยงตรงทุกฤดู
   8. บำเพ็ญอธิฐาน ตั้งใจมุ่งมั่นไม่หวั่นไหว คือเด็ดเดียวแน่นอนในสิ่งที่อธิษฐานใจไว้ เหมือนอย่างภูเขาหิน ไม่หวั่นไหวในเมื่อถูกลมกระทบทุกทิศ
   9. บำเพ็ญเมตตา แผ่มิตรภาพไมตรีจิต ไม่คิดโกรธอาฆาต มีจิตสม่ำเสมอเป็นอันเดียวทั้งในผู้ให้คุณ ทั้งในผู้ไม่ให้คุณหรือให้โทษ เหมือนน้ำแผ่ความเย็นไปให้อย่างเดียวกันแก่คนทั้งชั่วทั้งดี
   10. บำเพ็ญอุเบกขา วางจิตมัธยัสถ์เป็นกลาง ทั้งในคราวสุขในคราวทุกข์ เหมือนอย่างแผ่นดิน เมื่อใครทิ้งของสะอาดหรือไม่สะอาดลงไปก็มัธยัสถ์เป็นกลาง

    พุทธการธรรมสิบประการนี้เรียกว่า บารมี แปลว่าอย่างยิ่ง หมายถึงว่าเต็มบริบูรณ์ บำเพ็ญจนเต็มบริบูรณ์ เมื่อใดก็สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าเมื่อนั้น พระโพธิสัตว์ได้บำเพ็ญบารมี นับตั้งแต่ได้รับพยากรณ์ จากพระทีปังกรพุทธเจ้า

    ตลอดเวลาสี่อสงไขยแสนกัป ผ่านพระพุทธเจ้าที่ได้ตรัสรู้ในกัปนั้นๆ นับแต่พระทีปังกรพุทธเจ้าเป็นต้นมาถึง 24 พระองค์ พระองค์นั้น เป็นการนับแต่พระองค์แรกที่พระโคดมพุทธเจ้า(พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) ได้ทรงพบและทรงได้รับการพยากรณ์ว่าจะได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า มีดังนี้

   1.พระทีปังกร
   2.พระโกณฑัญญะ
   3.พระมังคละ
   4.พระสุมนะ
   5.พระเรตวะ
   6.พระโสภิตะ
   7.พระอโนมทัสสี
   8.พระปทุมะ
   9.พระนารทะ
   10.พระปทุมมุตตระ
   11.พระสุเมธะ
   12.พระสุชาตะ
   13.พระปิยทัสสี
   14.พระอัตถทัสสี
   15.พระธัมมทัสสี
   16.พระสิทธัตถะ
   17.พระติสสะ
   18.พระปุสสะ
   19.พระวิปัสสี
   20.พระสิขี
   21.พระเวสสภู
   22.พระกกุสันธะ
   23.พระโกนาคมน์
   24.พระกัสสปะ


   จึงได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า บารมีที่บำเพ็ญมาโดยลำดับ แบ่งเป็น 3 ขั้น ขั้นสามัญเรียกบารมีเฉย ๆ ขั้นกลางเรียกว่าอุปบารมี และขั้นสูงสุดเรียกว่าปรมัตถบารมี

   แต่นั้นมาก็ทรงบำเพ็ญบารมี 10 ประการ มีทานบารมีเป็นต้น อุเบกขาบารมีเป็นที่สุด ได้บำเพ็ญบารมีเป็นเวลานานนับด้วยกัลป์ สิ้นภพสิ้นชาตินับประมาณมิได้ ในภพชาติสุดท้ายได้บังเกิดเป็น พระเวสสันดร ทรงสร้างทานบารมีอย่างยอดเยี่ยม เมื่อสิ้นจากชาตินั้น ก็ได้ไปอุบัติในสวรรค์ชั้นดุสิต


ที่มา  พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ - พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก ชาดก ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก



   พระพุทธเจ้ามี 3 ประเภท ได้แก่
   1.ปัญญาพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้ปัญญาเป็นตัวนำ
   2.ศรัทธาพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้ศรัทธาเป็นตัวนำ
   3.วิริยะพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้าที่สร้างบารมีโดยใช้วิริยะเป็นตัวนำ


   โดยแบ่งการบำเพ็ญเพียรออกเป็น 3 ระยะ

ระยะแรก ตั้งพระปณิภาณในใจว่าจะเป็นพระพุทธเจ้า เพื่อนำสัตว์โลเข้าสู่นิพพาน ซึ่งยังไม่แน่ว่าจะได้เป็นหรือไม่ใช้เวลาบำเพ็ญธรรม ต่อเป็นเวลา
   ปัญญาพุทธเจ้า 7 อสงไขย
   ศรัทธาพุทธเจ้า 14 อสงไขย
   วิริยะพุทธเจ้า 28 อสงไขย


จึงเข้าสู่ระยะที่สอง แสดงความปรารถนาต่อหน้าพระพักตร์พระพุทธเจ้าองค์ก่อน จะกลายเป็น อนิยตะโพธิสัตว์ ซึ่งจะถึงนิพพานแน่นอน แต่อาจจะล้มเลิกการเป็นพระพุทธเจ้าแล้วเป็นพระอรหันต์ หรือ พระปัจเจกพุทธเจ้าใช้เวลาบำเพ็ญธรรมต่อเป็นเวลา
   ปัญญาพุทธเจ้า 9 อสงไขย
   ศรัทธาพุทธเจ้า 18 อสงไขย
   วิริยะพุทธเจ้า 36 อสงไขย


จึงเข้าสู่ระยะที่สาม รับพุทธพยากรณ์ต่อหน้าพระพุทธเจ้า จะกลายเป็น นิยตะโพธิสัตว์ ซึ่งพุทธพยากรณ์นั้นจะจริงแท้ไม่เคยเท็จ นั่นคือ นิยตะโพธิสัตว์ จะได้เป็นพระพุทธเจ้าในกาลต่อมาใช้เวลาบำเพ็ญธรรม ต่อเป็นเวลา
   ปัญญาพุทธเจ้า 4 อสงไขยกำไรแสนกัป (หมายถึงเศษแสนกัป)
   ศรัทธาพุทธเจ้า 16 อสงไขยกำไรแสนกัป (หมายถึงเศษแสนกัป)
   วิริยะพุทธเจ้า 32 อสงไขยกำไรแสนกัป (หมายถึงเศษแสนกัป)


จึงเป็นพระพุทธเจ้าโดยสมบูรณ์ รวมการบำเพ็ญบารมี
   ปัญญาพุทธเจ้า 20 อสงไขยกำไรแสนกัป (หมายถึงเศษแสนกัป)
   ศรัทธาพุทธเจ้า 40 อสงไขยกำไรแสนกัป (หมายถึงเศษแสนกัป)
   วิริยะพุทธเจ้า 80 อสงไขยกำไรแสนกัป (หมายถึงเศษแสนกัป)


   จึงเป็นพระพุทธเจ้า(โดยสมบูรณ์)

ที่มา.........http://board.agalico.com/showthread.php?t=19258
22221  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ใครลาพุทธภูมิ ต้องสวดคาถานี้ “คาถาอุณหิสสวิชัย” เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2010, 11:42:45 am

เสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อโปรดพระพุทธมารดา


ใครลาพุทธภูมิ ต้องสวดคาถานี้  “คาถาอุณหิสสวิชัย”

อานิสงส์คาถาอุณหิสสวิชัย
     ในสมัยหนึ่งพระบรมศาสดาเสด็จประทับอยู่เหนือพระแท่นศิลาอาสน์ภายใต้ต้นปาริกชาติ ณ ดาวดึงสพิภพ ตรัสพระสัทธรรม เทศนา อภิธรรม 7 คัมภีร์ โปรดพุทธมารดา

     ในกาลครั้งหนึ่งนั้นมีเทพบุตรองค์หนึ่ง นามว่าสุปติฏฐิตา ได้เสวยทิพย์สมบัติอยู่ชั้นดาวดึงส์มาช้านาน ก็อีก 7 วัน จะสิ้นบุญจุติจากดาวดึงส์ ลงไปอุบัติในนรกเสวยทุขเวทนาอยู่ตลอดแสนปี ครั้นสิ้นกรรมในนรกนั้นแล้วก็จะไปบังเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน 7 จำพวก เสวย วิบากกรรมอยู่ 500 ชาติ ทุกๆจำพวก

     ยังมีเทพบุตรองค์หนึ่งชื่อว่า อากาสจารินี ซึ่งเป็นผู้รู้ บุรพกรรมของสุปติฏฐิตาเทพบุตร อาศัยความคุ้นเคยสนิทสนมกลมเกลียวกันตั้งแต่ครั้งเป็นมนุษย์ เคยได้รักษาอุโบสถศีลด้วยกันในอดีตชาติล่วงมาแล้ว มองเห็นอกุศลกรรมตามทัน จะสนองผลแก่สหายของตนก็มีจิตปรานีใคร่จะอนุเคราะห์

     จึงเข้าไปสู่สำนักของสุปติฏฐิตาเทพบุตร แล้วก็บอกเหตุที่จะสิ้นอายุภายในอันเร็ว ๆ นี้ ตลอดทั้งที่จะไปเกิดในนรก ครั้งพ้นจากนรกแล้ว จะต้องไปกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานให้ทราบสิ้นทุกประการ
 
    ฝ่ายสุปติฏฐิตาเทพบุตร ได้ทราบเหตุดังนั้นแล้ว ก็มีความสะดุ้งตกใจกลัว คิดปริวิตก บุพพนิมิต 4 ประการ คือ
    - ดอกไม้ทิพย์ร่วงโรย ประการหนึ่ง
    - สรีระ ร่างกายมัวหมองไม่ผ่องใส ประการหนึ่ง
    - ผ้าทิพย์ภูษา เครื่องทรงเศร้าหมองไม่ผ่องใส ประการหนึ่ง
    - ครั้งทรงผ้าสไบเข้าก็ร้อนกระวนกระวายไปประการหนึ่ง


    บุพพนิมิตเหล่านี้ก็ปรากฏแก่สุปติฏฐิตาเทพบุตร บุพพนิมิต  4 ประการนี้ ปรากฏแก่เทพบุตรหรือเทพธิดาองค์ใดแล้ว เทพบุตรธิดาองค์นั้น จะต้องจุติจากเทวโลกอย่างแน่นอน

    เมื่อ สุปติฏฐิตาเทพบุตร ทราบชัดเจนเช่นนั้นแล้ว ก็ไม่นิ่งนอนใจใคร่จะหาเครื่องป้องกัน จึงเข้าไปสู่สำนักท้าวอเมรินทราธิราชเจ้า ถวายอภิวาทแล้วกราบทูลเหตุการณ์ให้ทรงทราบ แล้วทูลอ้อนวอนขอชีวิตในสำนักอมรินทร์โดยอเนกปริยาย

        ท้าวเธอตรัสตอบว่า ชื่อว่าความตายนี้เราเห็นผู้ใหญ่ในสรวงสวรรค์ ก็ไม่อาจห้ามบุพพกรรมอันมีกรรมแรงนี้ได้ เราเห็นอยู่แต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์โลกทั่ว 3 ภพ พระองค์เสด็จประทับอยู่ใต้ต้นปาริกชาติ มาเราจะพาเข้าเฝ้ากราบทูลอาราธนา ให้พระองค์ทรงช่วยเหลือ

    สุปติฏฐิตาเทพบุตร ถือเครื่องสักการบูชาตามเสด็จท้าวอมรินทราธิราช เข้าสำนักพระมหามุนีนาถพระศาสดาจารย์แล้ว กราบทูลเหตุการณ์เหล่านั้น ให้พระองค์ทรงทราบโดยสิ้นเชิง แล้วพระองค์ทรงแสดงบุพพกรรมของ สุปติฏฐิตาเทพบุตร องค์นี้เกิดเป็นมนุษย์มีความเห็นผิด เป็นผู้ประมาทตั้งอยู่ในมิจฉาทิฏฐิเป็นพรานฆ่าเนื้อเบื่อปลาเป็นผู้มีใจแข็งกระด้าง ตบตีบิดามารดาต่อสมณชีพราหมณ์ ไม่ลุกรับนิมนต์ให้อาสนะที่นั่งภิกษุสงฆ์ผู้เข้าไปสู่สำนัก แม้เห็นแล้วก็ทำเป็นไม่เห็นเสีย

        ด้วยวิบากผลอกุศลกรรมอันนี้ตามทันเข้า สุปติฏฐิตาเทพบุตรจึงได้ไปเกิดในนรกตลอดแสนปี ครั้นพ้นจากนรกขึ้นมาก็จะไปกำเนิดแห่งสัตว์ 7 จำพวก คือเป็นแร้ง เป็นรุ้ง เป็นกา เป็นเต่า เป็นหนู เป็นสุนัข และเป็นคนหูหนวกตาบอดอย่างละ 500 ชาติ ด้วยอำนาจอกุศลกรรมนั้นแหละ
ขอมหาบพิตรจงทราบด้วยประการฉะนี้

    เมื่อท้าวอมรินทร์ทรงทราบแล้ว ก็มีความเมตตาสงสารแก่สุปติฏฐิตาเทพบุตร ยิ่งนัก จึงกราบทูลให้พระองค์ทรงแสดงพระสัจธรรมเทศนาอันจะเป็นที่พึ่งแก่สัตว์โลก ช่วยชีวิตเทพบุตรองค์นี้ไว้ไม่ให้ตายลงภายใน 7 วันนี้ สมเด็จพระบรมศาสดาจึงตรัสเทศนาคาถาอุณหิสสวิชัย มีใจความดังต่อไปนี้

                          อุณหิสสะวิชะยะคาถา
        อัตถิ  อุณหิสสะ  วิชะโย           ธัมโม  โลเก  อะนุตตะโร
        สัพพะสัตตะหิตัตถายะ            ตัง  ตวัง  คัณหาหิ  เทวะเต
        ปะริวัชเช  ราชะทัณเฑ              อะมะนุสเสหิ  ปาวะเก
        พะยัคเฆ   นาเค  วิเส   ภูเต       อะกาละมะระเณนะ  วา
        สัพพัสมา  มะระณา  มุตโต       ฐะเปตวา  กาละมาริตัง
        ตัสเสวะ  อานุภาเวนะ                โหตุ  เทโว  สุขี   สะทา
        สุทธะสีลัง  สะมาทายะ               ธัมมัง สุจะริตัง  จะเร
        ตัสเสวะ  อานุภาเวนะ                 โหตุ  เทโว สุขี  สะทา
        ลิกขิตัง  จินติตัง ปูชัง                 ธาระณัง  วาจะนัง คะรุง
        ปะเรสัง  เทสะนัง  สุตวา             ตัสสะ  อายุ  ปะวัฑฒะตีติ


    เทวเต ดูกรเทวดาทั้งหลาย พระธรรมนี้ชื่อว่าอุณหิสสวิชัย เป็นยอดแห่งพระธรรมทั้งหลายเป็นประโยชน์แก่สัตว์ทั้งมวล ท่านจงเอาพระธรรมนี้เป็นที่พึ่ง อุตสาห์สวดบ่นสาธยายทุกเช้าค่ำ ย่อมห้ามเสียซึ่งภัยทั้งปวง อันจะเกิดขึ้นจากผีปิศาจหมู่พยัคฆะงูใหญ่น้อย และพญาเสนาอำมาตย์ทั้งหลายจะไม่ตาย ผู้ใดได้เขียนไว้ก็ดี ได้ฟังก็ดี ได้สวดมนต์ภาวนาอยู่ทุกวันก็ดี จะมีอายุยืน เทวเต ดูกรเทวดา ทั้งหลายท่านจงมีความสุขเถิด

      อนึ่งบุคคลผู้ใดบูชาแก้วทั้ง 3 คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นี้เป็นยาอันอุดม ย่อมคุ้มครองผู้นั้นให้พ้นจากทุกข์ภัยพยาธิทั้งปวง ด้วยอำนาจพระอุณหิสสวิชัยนี้ จะรักษาคุ้มครองให้ชีวิตของท่านเจริญสืบต่อไป ท่านจงรักษาไว้ให้มั่นอย่าให้ขาดเถิด เมื่อจบพระสัทธรรมเทศนาลง เทวดาทั้งหลายมีท้าวอมรินทร์เป็นประธานได้ดื่มรสแห่งพระสัทธรรมเป็นอันมาก
 
     ฝ่ายสุปติฏฐิตาเทพบุตร มีจิตน้อมไปตามกระแสแห่งพระธรรมเทศนานั้น ได้กลับอัตตภาพใหม่ คือ มีกายอันผ่องใส เป็นเทวบุตรหนุ่มคืนมาแล้วจะมีอายุยืนตลอดไปถึงพระพุทธพระนามว่า ศรีอริยเมตไตรยลงมาตรัสจึงจะจุติจากเทวโลกลงมาสู่มนุษย์โลก เป็นพระอรหันตขีณาสวะองค์หนึ่ง ดังนั้นขอพุทธบริษัททั้งหลาย จงสำเนียกไว้ในใจแล้วประพฤติปฏิบัติในพระคาถา อุณหิสสวิชัย ก็จะสมมโนมัยตามความปรารถนาทุกประการ

แนะนำ :-
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
จวมานสูตร


ที่มา  http://www.84000.org/anisong/01.html



     กล่าวกันว่า ใครผู้ใดที่ปรารถนาพุทธภูมิ ได้เกิดความเบื่อหน่ายย่อท้อ ที่จะบำเพ็ญปรมัตถ์บารมีอีกต่อไป
เมื่อได้กล่าวคำลาพุทธภูมิแล้ว  บุพกรรมที่ทำมาในอดีตชาติ จะตามสนองในทันที จะได้รับความลำบากยากเข็ญเป็นอันมาก อาจจะพบเหตุเพทภัยถึงขั้นเสียชีวิตได้ วิธีที่จะบรรเทาบุพกรรมนี้ได้ ก็คือ “สวดคาถาอุณหิสสวิชัย”

    
     คาถานี้มีอานิสงส์ในการต่ออายุเป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีผลในทางโชคลาภ ทำให้มีอำนาจ มีบริวารปราศจากภัยอันตราย ใครที่ปรารถนาพุทธภูมิ หรือปรารถนาสาวกภูมิอยู่แล้วก็สวดได้นะครับ

:welcome: :49: :25: :s_good: ;)
22222  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ความหายนะของการปรามาสพระรัตนตรัย เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2010, 11:37:21 am

ความหายนะของการปรามาสพระรัตนตรัย


ท่านกล่าวไว้ว่า บุคคลที่เป็นพระโสดาบันแล้ว ถ้าปรากฏว่า มีผู้อื่นผู้ใดประมาทพลาดพลั้ง หรือคะนองปาก กล่าวตำหนิติเตียน หรือนินทาว่าร้าย ด่าบริภาษ
แม้จะเป็นพระอริยะบุคคลที่เป็นคฤหัสถ์

ท่านกล่าวว่า ห้ามมรรค ผล นิพพาน แม้บุคคลผู้นั้นจะพากเพียรปฏิบัติธรรม อย่างไรก็มิอาจสามารถ บรรลุมรรคผลได้
การติเตียน ด่าบริภาษพระอริยเจ้า จึงมีโทษมาก

เกิดความหายนะอย่างร้ายแรงที่สุด10อย่างคือ

1.บุคคลผู้นั้นจะยังไม่บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
2.เสื่อมจากธรรมที่บรรลุแล้ว ฌาณ สมาธิ จะเสื่อมทันที

3.สัทธรรมของบุคคลผู้นั้นย่อมไม่ผ่องแผ้ว
4.เป็นผู้หลงคิดว่าตนเป็นผู้บรรลุสัทธรรม

5.ไม่ยินดีในการประพฤติพรหมจรรย์
6.ถ้าเป็นภิกษุต้องอาบัติเศร้าหมองอย่างใดอย่างนึง

7.ย่อมถูกโรคเบียดเบียนอย่างหนัก
8.ถึงความเป็นบ้ามีจิตฟุ้งซ่าน

9.หลงตามกาละ คือตายอย่างขาดสติ
10.เมื่อตายย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก


กรรมที่บริภาษ ด่าทอ พระอริยบุคคลนี้ เป็นกรรมตัดรอน มรรคผล นิพพาน
มิใช่กรรมเก่า แต่เป็นกรรมที่สร้างขึ้นใหม่ และมีผลรุนแรงมาก มีอำนาจตัดรอนกรรมดีอื่นๆในทันใด

วิธีแก้กรรมนี้ ต้องกล่าวขอขมาโทษ แก่พระอริยเจ้า เมื่อพระอริยเจ้าอดโทษไม่เอาโทษแล้ว ก็ไม่ห้าม มรรค ผล นิพพาน กลับมาเป็นปรกติดังเดิม


ขอขอบพระคุณ องค์สมเด็จพระสังฆราช สุกไก่เถื่อนครับ สำหรับธรรมะนี้

ดังนั้นให้เราหมั่นขอขมาพระรัตนตรัยทุกๆวัน
เพราะเราไม่รุ้ว่าบุคคลที่เราเดินผ่านไปผ่านมา หรือว่าพบเจอ แล้วเราไปแสดงอากัปกิริยานไม่เหมาะสม ใส่ท่าน บุคคลเหล่านั้น ท่านเป็นพระอริยเจ้าหรือไม่
เพื่อความปลอดภัยและเจริญก้าวหน้าของตัวเราเอง ให้เราอย่าประมาท ปรามาสพระรัตนตรัยเด็ดขาด

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเว็บพลังจิต ที่ค่อนข้างจะมีทั้งพระโพธิสัตว์ ทั้งพระอริยเจ้า แวะเวียนมาเสมอๆ ดังนั้นอย่าไปปรามาสท่านใดเป็นอันขาดครับ

ความหายนะที่ร้ายแรงก็คือ การหลงว่าเราบรรลุธรรมไปแล้ว เพราะถ้าเราหลงว่าตัวเองบรรลุโดยที่ยังไม่ได้บรรลุจริงๆแล้วล่ะก็

ส่วนมากจะกู่ไม่กลับและมีอบายภูมิเป็นที่ไปครับ
แล้วยิ่งเราไปสอนคนผิดๆ เพราะหลงว่าตัวเองบรรลุธรรมไปแล้ว
ยิ่งสอนคนด้วยธรรมะผิดๆไปเป็นจำนวนมากเท่าไหร่ เราเองก็จะยิ่งต้องชดใช้กรรมนานเท่านั้นครับ

ดังนั้นอย่าเผลอปรามาสพระเป็นอันขาดครับ

อ้างอิงจากหนังสือ "พระประวัติ สมเด็จพระสังฆราช สุกไก่เถื่อน"
เครดิต   เว็บพลังจิต (ขออภัยไม่ทราบชื่อคนโพสต์)

------------------------------------------------------------

            
  คำขอขมา พระรัตนตรัย (ก่อนอาราธนาพระกรรมฐาน)

          อุกาสะ วันทามิ ภันเต สัพพัง,
          อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต,
          มะยา กะตัง ปุญ  ญัง สามินา อนุโมทิตัพพัง,
          สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง,
          ทาตัพพัง   สาธุ สาธุ อนุโมทามิ,
          สัพพัง  อะปะราธัง ขะมะถะ เม  ภันเต (กราบ ๑ ครั้ง)

          (คำแปล) ข้าพเจ้าขอกราบไหว้ ขอท่านจงอดโทษแก่ข้าพเจ้า
          บุญที่ข้าพเจ้าทำแล้ว ขอท่านพึงอนุโมทนาเถิด 
          บุญที่ท่านทำ ท่านก็พึงให้แก่ข้าพเจ้าด้วย

          สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเมภันเต,
          อุกาสะ  ทวารัตตะเยนะ กะตัง,
          สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต, 
          อุกาสะ ขะมามิ ภันเต  (กราบ ๑ ครั้ง)


---------------------------------------------
ที่มา    คู่มือทำวัตรกรรมฐาน ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า(หลวงปู่สุก ไก่เถื่อน)
    คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร (พลับ)

22223  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / ความลี้ลับของกลไกกรรม และเกมส์กลกรรม เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2010, 10:50:22 pm

ความลี้ลับของกลไกกรรมและเกมส์กลกรรม


บุญอันเกิดจากเผยแผ่ธรรมะเป็นธรรมทานในครั้งนี้ หากเป็นสัญญากรรมที่นำข้าพเจ้ามาเกิดแล้วไซร์
ข้าพเจ้าขออาสาเป็นผู้สนับสนุน ทำนุบำรุง ยกยอพระพุทธศาสนา จนกว่าจะบรรลุถึงซึ่งพระนิพพานในที่สุด
หากเป็นจริงแล้วขออธิษฐานให้มีพละ กำลัง สติปัญญา อำนาจ บุญบารมี ให้เป็นที่อัศจรรย์ด้วยเทอญ จะได้ทำบุญต่อบุญให้ขยายใหญ่ขึ้นไปเรื่อยๆ

การบริหารกรรม และสัญญากรรม

หากเราเข้าถึงกฎแห่งกรรม เราก็มีสิทธิที่จะบริหารกรรมของเราเอง การปล่อยชีวิตของเราให้เป็นไปตาม
ยถากรรม ย่อมไม่เป็นผลดีกับชีวิตเราและครอบครัวของเราได้ ทั้งนี้เราต้องปฏิบัติเพื่อศึกษาให้รู้ถึง
กลไกกรรม ให้รู้สัญญาในวิบากกรรม หรือชนกกรรมที่ส่งเรามาเกิด แล้วดำเนินชีวิตในการในทิศทางตาม ชนกกรรม ย่อมมีส่วนแก้ไขปัญหาชีวิตโดยตรง เป็นการการเบี่ยงเบนกรรม ลดกรรม หรือจำกัดกรรมให้อยู่
ขอบเขตที่เราควบคุมได้ ถึงชาตินี้เราเป็นคนดี แต่เจ้ากรรมนายเวรเราก็คงไม่ยกโทษให้เราง่ายๆ
เกมส์กลกรรม นั้นจึงถือว่าเป็นการใช้กรรมทางเลือก เราคงต้องเรียนรู้กรรม เพื่อที่จะบริหารการใช้กรรม
ของเรา หรืออย่างน้อยเราก็ต้องรับรู้และยอมรับว่ากรรมนั้นเป็นสิ่งที่เราได้เคยทำมาเองในอดีตชาติทั้งสิ้น


เกมส์กลกรรม

เป็นการเล่นเกมส์กับกรรมที่มาถึงในแต่ละช่วงของกาลเวลา โดยที่ เราเล่นเกมส์กับกฎแห่งกรรมที่จะมาถึง
ในอนาคตอย่างรู้เท่าทัน แล้วนำไปบริหารใช้ในกลไกกรรม ซึ่งเราต้องยอมรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น
รวมทั้งผลกระทบ ผลข้างเคียง เช่นใช้ในกงเกวียนกำเกวียนกรรมเก่าเกี่ยวเก่า ,บุพกรรม, บุพเพสันนิวาส
ซึ่งเราต้องมีความเพียร ความอดทนในการเผชิญปัญหา มีตัวรู้ พร้อมสติจิตตั้งมั่นในการบริหารทิศทั้ง ๖
ด้วย อิทธิบาทธรรม ๔ เมื่อเรารู้ถึงกลไกกรรม ชนกกรรมหรือเหตุแต่กรรมที่ได้ทำมาครั้งอดีตชาติ
เราสามารถที่จะเลือกบริหารกรรมของเราได้พร้อมกันโดยรวมได้ หลายวิธีดังนี้

๑. กฎแห่งกรรม
ข้อนี้เป็นการการปล่อยชีวิตไปตาม กฏแห่งกรรม นั้นถือเป็นการยอมแพ้ชีวิตแล้วปล่อยชีวิตเผชิญกรรม
ไปตามยถากรรม โดยไม่สร้างตัวรู้ไว้ป้องกันตัวเลย หากกรรมแสดงตัวออกมาอาจจะนำชีวิตเราไปสู่
อาญากรรมก็ได้ การยอมรับกรรมโดยไม่มีตัวรู้บริหารจัดการ ซึ่งก็คงเป็นชะตาชีวิตของคนส่วนใหญ่
บนโลกใบนี้ หากจะเราต้องการแก้ไขกรรมหรือบริหารจัดการกรรมโดยใช้ข้อกฎแห่งกรรมมาใช้
ในพรหมลิขิต อย่างน้อยเราควรมีตัวรู้ระดับหนึ่งซึ่งสามารถคุมจิตคุมใจเตรียมรับสิ่งที่จะเข้ามากระทบ
ตามกฎแห่งกรรม ด้วยอุเบกขา และเมตตา นั่นคืออย่างน้อยต้องมีพรหมวิหาร ๔ เข้ามาใช้ เพื่อให้ปลงได้
จนชีวิตผ่านพ้นวิกฤตไป ซึ่งคงมีแต่อริยจิตเท่านั้นที่ทำใจได้ ยิ่งหากว่าคนๆนั้นมีครอบครัวมีลูก หรือคนที่
ต้องรับผิดชอบ ที่เรียกว่าบริวารซึ่งจะพลอยทำให้ครอบครัวต้องรับกรรมไปด้วย วิธีนี้จึงไม่สนับสนุนในวิถี
จริตปุถุชน

๒. เกณฑ์แห่งเวร

เป็นการเล่นเกมส์เกณฑ์แห่งเวรกับกฎแห่งกรรมที่มาถึงในกาลเวลา โดยที่เราสามารถอธิฐานต่อ
สิ่งศักดิ์สิทธิหรือพระพรหมประจำชีวิตเพื่อก้าวเข้าสู่เกมส์กลกรรม การใช้ข้อเกณฑ์แห่งเวร เป็นการบริหาร
จัดการกรรมด้วยเทวฤทธิ์ เราอาจต้องเผชิญกับกรรมของเราสักระยะ เพื่อแลกเปลี่ยนกับโอกาสทอง
บางโอกาสของชีวิต ทั้งนี้หากเรารู้เท่าทันเกณฑ์แห่งเวรข้อนี้ เราจึงต้องมีความอดทนในการเผชิญปัญหา
ซึ่งเราต้องมีความรู้เรื่องกรรมในระดับหนึ่ง รวมทั้งต้องมีความเพียร รู้จักเปิดรหัสกรรมที่ดีเพื่อเบียดเบียน
กรรมชั่วในอดีตชาติ ซึ่งกรรมดีที่ยิ่งใหญ่ที่จะสามารถต่อกรกับกรรมของเรา โดยเฉพาะกรรมหนัก นั้นต้อง
เป็นบุญที่ตรงกับหนี้กรรมเท่านั้น ซึ่งการทำกรรมดีที่ตรงกับชนกกรรม หรือ หนี้กรรมนั้นจะทำเราสามารถ
ต่อกรกับกรรมที่กำลังจะเข้ามากระทบเราได้ หากเราทราบว่าการทำบุญใดตรงกับหนี้กรรม หรือเป็นมหาบุญ
ที่สามารถเบียดเบียนกรรมหนักทุกกรรมได้ ดังนั้น เราควรระบุ หรืออธิฐานว่าที่ทำบุญนั้นเพื่อสิ่งใด เช่น
ประสงค์จะสร้างพระอุโบสถ ประสงค์จะเป็นเจ้าภาพองค์ผ้าป่า หรือองค์กฐิน หรือประสงค์จะทำบุญสนับสนุน
รายการธรรมะ ซึ่งถือเป็นมหาบุญ และ มหาทาน เนื่องจากการให้ธรรมะเป็นทานนั้นเป็นทานที่ชนะการให้
ทานใดๆทั้งปวงหากเราไม่อธิฐานว่าทำบุญอะไร สิ่งศักดิ์สิทธิ์ คงไม่ทราบว่าก็ทำบุญอะไรตรงกับหนี้กรรม
หรือไม่ บางหนี้กรรมเราต้องชดใช้กับคน หรือสัตว์ ที่มีกงเกวียน กรรมเกวียน กรรมเก่าเกี่ยวเก่ากับเรา
ดังนั้น หากเราไม่มีตัวรู้ว่าเรานั้นเกี่ยวข้องกับใครมาอย่างไรในอดีตภพอดีตชาติ เราจึงควรฝึกตนให้สามารถ
ปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นได้ทุกกิจกรรม โดยเฉพาะงานบุญงานกุศลสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น การสร้าง
พระอุโบสถ สร้างพระประธาน งานทอดกฐิน งานทอดผ้าป่า การบวชเนกขัมมะ ตลอดจนการเข้าร่วมในพิธี
กรรมต่างๆที่มีผู้มาร่วมในงานบุญ งานพิธีมากๆ หากผู้ที่ร่วมในงาน โดยเฉพาะประธานหรือเจ้าพิธีหากมี
กงเกวียนกรรมเกวียน กรรมเก่าเกี่ยวเก่ากับเรา จะยิ่งเป็นตัวช่วยให้แก้ปัญหาของกงเกวียนกำเกวียน
กรรมเก่าเกี่ยวเก่า และช่วยให้เราผ่านเกมส์กลกรรมไปได้ง่ายขึ้น เราจึงควรร่วมกิจกรรมหรือพิธีกรรมทุก
กิจกรรมด้วยความจริงใจ ลดจิตริษยา อาฆาตพยาบาทให้หมดสิ้น ให้มีแต่จิตที่มีเมตตา หรือที่เรียกว่า
พรหมจิต หรือจิตที่เป็นอัปมัญญาพรหม อันเป็นรักกลางๆ เท่าเทียมกันทุกคน หากคนใดมีเมตตาน้อย
ย่อมยากที่จะผ่านเกมส์กลกรรมไปได้

๓. กติกาแห่งเทพ
ในอดีตชาติเราอาจเคยมีเล่ห์เล่นกลหลอกลวงใครต่อใครไว้มากมาย ชาตินี้เราจึงต้องมาเล่นเกมส์
กับเทพ เป็นการอธิฐานรับเทพเพื่อมาช่วยเหลือปรับปรุงชะตาชีวิต ปรับเพิ่มการเรียนรู้ธรรมะจนชีวิตเป็น
อิสระ สามารถปฏิบัติตามกติกาของเทพให้ได้ เราจึงต้องศึกษาหาความจริงในสัจธรรม จนกว่าจะพ้น
พันธะและความสับสนวุ่นวายในชีวิต เราต้องทราบว่าคนเรานั้นเกิดมาตามกรรม เกิดมาเพื่อใช้กรรม
และเกิดมาสร้างกรรม ทุกวันนี้บางคนอาจมองชีวิตของตนช่างราบเรียบ ไม่เห็นจำเป็นต้องมาพึ่งเทพยดา
หรือสิ่งศักดิ์สิทธิแต่อย่างใด แต่แท้จริงแล้ว อาจสิ่งศักดิ์สิทธิที่มีกรรมสัมพันธ์กับเราอาจช่วยเรา
อยู่เบื้องหลังก็ได้ เราอาจได้ใช้กรรมกับใครต่อใครไปมากแล้วโดยเทวฤทธิ์ปาติหารย์แต่เราเองต่างหากที่
ไม่ทราบ โดยอาจจะมาแฝงอยู่ในเทวาปาติหาริย์ หรือเทวานุภาพที่แฝงอยู่ในจิตตรานุภาพ กติกาเทพนั้น
ละเอียดอ่อนนำกติกามาบริหารกรรม ไม่ใช่มาทดแทนกรรม เทพท่านก็ใช้กฎแห่งกรรมของเราเองให้เรา
เผชิญให้เราชดใช้ หากเราต้องเข้าถึงกติกาของเทพให้ได้ว่าคือสิ่งใด ไม่ทราบว่าเทพต้องการเงื่อนไขใด
ให้เราปฏิบัติ หรือมาตรฐานจิตระดับใดในการผ่านเกมส์ เราจึงต้องพิจารณาศึกษาให้ดี บางครั้งเราอาจจะ
กำลังเล่นเกมส์กลกรรมกับเทพอยู่ในชีวิตประจำวันกับเหตุการ์ณที่เกิดขึ้นมาทดสอบจิตของเราโดยไม่รู้ตัว
เลยก็ได้ บางทีเราอาจผ่านกติกาหรือสอบตกกติกาของเทพไปแล้วโดยที่เราไม่รู้ตัวก็ได้ หากใครไม่สามารถ
ผ่านเงื่อนไขกติกาของเทพได้อาจทำให้ชีวิตของเขาสะดุดหรือ ลำบากขึ้น รอโอกาสในชีวิตนานขึ้น หรือ
พลาดโอกาสสำคัญในชีวิตไปเลย ไปโดยที่เราไม่รู้ตัวก็ได้ โดยเราสามารถอธิฐานจิตเพ่งชื่อเทพขอมาคุ้มครอง
ดูแลเราในกติกาเทพก็ได้ หรือรับเทพจากการรับขันธ์ครูซึ่งเทพท่านจะมาในนิมิตร ๓ หากเรามีตัวรู้ พร้อมมีสติ
จิตตั้งมั่นในการบริหารทิศทั้ง ๖ ด้วย อิทธิบาทธรรม ๔ ที่สมบูรณ์ มีอุเบกขาพร้อมในการรับสถานการณ์ฉุกเฉิน
รู้จักอดทน อดออม อดกลั้นจิตใจ โดยต้องคุมจิตให้ได้ จิตไม่ฟู ไม่แฟบ ทั้งระดับกายประพฤติ จิตคิด
และสูงสุดในการฝึกให้จิตมีอุเบกขาในระดับองค์ฌาน และฝึกให้เกิดตัวรู้ในระดับองค์ญาณ ก็จะเป็นพื้นฐาน
และปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เราสามารถผ่านกติกาของเทพไปได้ในที่สุด

๔.ระเบียบวินัยทางวิญญาณ เป็นการฝึกจิตสู่สัมมาสมาธิ เช่นการนั่งกรรมฐานจนมีระดับจิตที่สูงขึ้นไป
ด้วยสติปัฏฐาน๔ ซึ่งวิธีนี้ต้องการตัวรู้และใช้เวลามาก ส่วนใหญ่หนีกรรมไม่พ้นก่อน เนื่องจากต้องได้ญาณ
ระดับอภิญญาญาณแล้วเท่านั้น จึงจะพ้นอำนาจแห่งเวรกรรมได้ ยกเว้นอนันตริยกรรม ถึงจะได้อรหันต์แล้ว
ก็ต้องชดใช้กรรมนั้น ซึ่งกรรมในอดีตภพของพระอรหันต์เองที่เคยทำมานั้นก็ไม่ได้สูญสิ้นไปไหน ก็ยังคงบันทึกอยู่
ในภวังคจิตของพระอรหันต์อยู่นั่นเอง เพียงแต่ไม่สามารถแสดงออกได้ เท่ากับเป็นอโหสิกรรม หรือกรรมเป็นกลาง
ไปนั่นเอง คนส่วนใหญ่บนโลกล้วนไม่มีอภิญญาญาณเหมือนพระอรหันต์จึงหนีกรรมกันไม่พ้นก่อน เราจึงต้อง
วนเวียนอยู่ในวัฏจักรสงสารเผชิญกับเวรกรรมเก่าอยู่ร่ำไป การแก้ปัญหากรรมเฉพาะหน้าโดยใช้รหัสกรรม๔
และรหัสเวร๔ จึงถือเป็นทางเลือกหนึ่งของการแก้ไขชะตาชีวิต ให้ผ่านพ้นเฉพาะหน้าไปในวิถีที่ง่ายที่สุดของปุถุชน

การที่เรามีความรู้ความเข้าใจในเกมส์กลกรรม รหัสกรรม๔ และรหัสเวร๔ ย่อมเป็นการเพิ่มโอกาส
ชนะเกมส์กลกรรมได้มากขึ้น แม้ว่าเราจะไม่ได้แต่งงานกับบุพเพสันนิวาสที่แท้จริงในชาตินี้ เราก็สามารถบริหาร
จัดการเกมส์กลกรรม เพื่อให้ได้มาซึ่งรางวัลชี้วิตได้ ทั้งนี้ ?การที่เรามีอุเบกขา ความกตัญญูระดับชาติ ศาสนา
พระมหากษัตริย์ และ มีความรักความเมตตาระดับอัปมัญญาพรหม? จะเป็นฐานกำลังสูงสุดในการเล่นเกมส์กับเทพ
ผนวกกับปัญญา และความสามารถในการเข้าถึงสัจธรรม ที่จะทำให้มนุษย์เราผ่านเกมส์กลของเทพไปได้ทันการ
ก่อนที่เวลาของกฎแห่งกรรมจะมาถึง

การแก้ไขปัญหากรรมเราต้องรู้จักตัวกรรมให้ดีพอ อย่างน้อยเราต้องมี ยถาภูตญาณทัศนะ หรือหมายถึง
มีญาณทัศนะที่หยั่งรู้ฐานะแห่งจิตวิญาณ ไม่ปล่อยชีวิตไปตามยถากรรมทีเดียว อย่างน้อยต้องรู้ว่าเราเกิดมาตามกรรม
เกิดมาใช้กรรม เกิดมาสร้างกรรม อย่างไรจึงจะถูกต้อง เราต้องรู้ว่ากรรมจะแสดงออกตามกาลเวลา เมื่อรู้จักกรรมแล้ว
ต้องรู้จักแก้ รู้จักใช้รหัสกรรม ๔ ร่วมกับรหัสเวร๔ หรือใช้ เกมส์กลกรรมเป็นทางเลือก ระวังอย่าให้เวลาหมดก่อน
เพราะเมื่อเวลาหมด ก็หมายถึงอาญากรรมมาถึง หรือหมดโอกาสได้รางวัลชีวิต ก็เรียกว่าสายเกินไป

การทำบุญที่ตรงกับหนี้กรรม
สิ่งที่หลายคนคุ้นเคยกับการทำดีคู่กับพระพุทธศาสนาคือการทำบุญที่วัด การทำทานด้วยสิ่งของช่วยเหลือผู้ด้อย
โอกาสหรือผู้ที่กำลังเดือดร้อน แต่แท้จริงแล้ว อีกหลายๆสิ่งที่พึงศึกษาเกี่ยวกับพระพุทธ ศาสนายังมีอีกมาก เช่น
บุญกริยาวัตถุ ๑๐ ซึ่งสำคัญที่สุดคือการทำทานด้วยธรรมะ และการทำบุญที่ตรงกับหนี้กรรมจะช่วยให้เราหลุดพ้น
จากเงื่อนปมต่างๆได้เร็วขึ้น การทำบุญในพระพุทธศาสนา ได้แก่ บุญกริยาวัตถุ มีถึง ๑๐ ประการแต่คนส่วนใหญ่ไม่รู้
ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้

๑. ทานมัย (ทำบุญด้วยการให้ทาน ปันสิ่งของ)
๒. สีลมัย (ทำบุญด้วยการรักษาศีลหรือประพฤติดี)
๓. ภาวนามัย (ทำบุญด้วยการเจริญภาวนาคือฝึกอบรมจิตใจ)
๔. อปจายนมัย (ทำบุญด้วยการประพฤติอ่อนน้อม)
๕. เวยยาวัจจมัย (ทำบุญด้วยการช่วยขวนขวายรับใช้)
๖. ปัตติทานมัย (ทำบุญด้วยการเฉลี่ยส่วนแห่งความดีให้แก่ผู้อื่น)
๗. ปัตตานุโมทนามัย (ทำบุญด้วยการยินดีในความดีของผู้อื่น )
๘. ธัมมัสสวนมัย (ทำบุญด้วยการฟังธรรมศึกษาหาความรู้)
๙. ธัมมเทสนามัย (ทำบุญด้วยการสั่งสอนธรรมให้เป็นทานถือเป็นทานที่เหนือกว่าการทำทานใดๆทั้งปวง
๑๐. ทิฎฐุชุกัมม์ (ทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ตรง )


คนบางคนทำบุญมาตลอดชีวิต แต่สุดท้ายชีวิตก็ไปไม่ถึงไหน หากการทำบุญนั้นไม่ตรงกับสัญญากรรม
หรือชนกกรรมหรือหนี้กรรมของคุณ นั่นคือรหัสกรรม และ รหัสเวรของท่านไม่เปิด หากเราไม่สามารถทราบว่า
สัญญากรรม หรือ หนี้กรรมของเราเราคืออะไร แล้วทำบุญไปโดยมีมีตัวรู้ไม่อธิฐานชี้แจงวัตถุประสงค์การทำบุญ
ที่ชัดเจน สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ลิขิต และกำกับชีวิตของเราจะทราบได้อย่างไรว่า ท่านได้ทำบุญตรงกับหนี้กรรม
เราคงได้แต่บุญเก็บไว้ใช้ชาติหน้า แต่โอกาสที่เราจะหลุดพ้นจากปมเงื่อนชีวิตของเราในชาตินี้นั้นคงเป็นไปได้ยาก
เราคงต้องมีชีวิตที่ต้องโต้คลื่นกับชะตากรรมไปโดยไม่มีทิศทาง การเข้าถึงสัญญากรรมเราสามารถรู้ได้หากเรามีสมาธิ
ระดับองค์ญาณชั้นสูง หากเรายังไม่สามารถมีตัวรู้ในระดับนั้น เราก็ยังมีวิธีในการเผชิญกรรมชะตาชีวิตอันที่เราจะได้
กล่าวต่อไป

สัญญากรรม ชนกกรรม
โดยปกติแล้วบุญบาปที่ทำมา ทั้งหมดจะถูกบันทึกไว้ทั้งหมดทุกเจตนา ทุกเหตุการณ์ เก็บไว้เป็นสัญญาไว้ในภวังคจิต
คำว่าสัญญาย่อมไม่มีตัวตน จับต้องไม่ได้ เป็นเพียงสัญญาว่าเคยมีเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้วต้องมาชดใช้กันกับทุกฝ่ายที่
เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ในสัญญานั้น ใครเคยทำอะไรกับใครไว้วันหนึ่งในภพชาติใดภพชาติหนึ่งก็ต้องมาเกี่ยวข้อง
สัมพันธ์กันเพื่อชดใช้ให้กัน วันหนึ่งๆเราอาจทำเหตุการได้ทั้งบุญและบาปและทั้งไม่บุญไม่บาปมามากมายหลาย
เหตุการณ์ สะสมมาหลายภพชาติ มาชาตินี้ก็ไม่ใช่ว่าเราจะต้องมาชดใช้ทุกเหตุการณ์ในอดีตทุกเหตุการณ์ไป ผลของ
กรรมในชาตินี้ถือเป็นบุญบาปสุทธิที่หักกลบลบหนี้กันแล้วระดับหนึ่ง มาชดใช้กันในลักษณะที่เป็นกรรมรวม มาพบกันใหม่
ในชาตินี้ เราจึงควรมีตัวรู้ว่าเราติดหนี้ใครไว้อย่างไร แล้วต้องชดใช้เขาด้วยอะไร อย่างไร ปริมาณมากน้อยแค่ไหน หาก
ชาตินี้เกิดมาแล้วยังมีโลภะ โทสะ โมหะ ไม่โกงหรือเบียดเบียนเขาอีกก็จะยีงไปเพิ่มหนี้กรรมให้มากและซับซ้อนมากขึ้นอีก
เราควรที่จะหันมาศึกษาปฏิบัติ ให้เข้าถึงปมเงื่อนกรรม หรือหนี้กรรมนี้ อันเป็นปมเงื่อนหรือหนี้ที่สำคัญในพรหมลิขิตเพื่อ
ชดใช้ให้เขา หากเราไม่ทราบพรหมลิขิต หรือสัญญากรรมของเราที่เราเคยทำกับใครไว้อย่างไร เราจึงไม่ควรประมาท
ไม่ควรเกลียดชังผู้ใดจนเป็นอาฆาต พยาบาต แม้แต่สัตว์ก็อาจมีปมเงื่อนไขกรรมกับเราอยู่ในอดีตภพได้ เราจึงควรพยายาม
ฝึกและปรับจิตของเราสู่พรหมวิหารเป็นพื้นฐาน ให้จิตของเราเต็มไปด้วยความรักความเมตตา การเป็นมิตร มีเมตตาในทิศ
ทั้ง ๖ อย่างน้อยถึงเราจะไม่ได้ชดใช้เขาถูกหนี้กรรม แต่เราก็จะได้ไม่ไปเพิ่มความซับซ้อนวุ่นวายในพรหมลิขิตให้ยุ่งยาก
มากขึ้นไปอีก

ชนกกรรม
เรื่องของชนกกรรมนั้นหากแปลโดยตรงในความหมายคือ ? กรรมพ่อ? หมายถึงกรรมที่ส่งให้เรามาเกิดด้วยซึ่งจะ
แตกต่างกันในแต่ละคน หรือเรียกได้ว่าเป็นกฎของการเกิด หากจะเปรียบเทียบกับองค์พรหมนั้นอุปมาเทียบได้กับองค์พรหม
ภาคนั่ง อันหมายถึงพรหมลิขิตที่กำหนดชีวิตเราให้ไปตามที่กำหนดของชีวิตคนแต่ละคน ซึ่งจะแตกต่างกันแต่ละคนขึ้นอยู่
กับสัญญากรรมของแต่ละคนที่ได้กระทำมาในอดีตชาติ เมื่อเรามาเกิดแล้วชีวิตเราก็จะถูกกำกับให้เป็นไปตามชนกกรรมตาม
ที่กำหนดอุปมาดั่งองค์พรหมภาคยืน ที่จะคอยกำกับชีวิตเราให้ไปตามทิศทางที่กำหนดไว้ตามพรหมลิขิตว่าไปแล้วชนกกรรม
ก็คือ สัญญากรรมที่ถูกเลือกกำหนดมาให้เรามาทำในชาตินี้ว่าเราเกิดมาแล้วต้องมาทำกิจนั้นตามสัญญาแห่งชนกกรรมที่ส่ง
มาเกิด จึงจะหลุดเงื่อนปมชีวิตโดยมีกาลเวลาในกฏแห่งกรรมเป็นตัวควบคุม หากใครหมดกาลเวลาแล้วยังไม่ทำตามชนกกรรม
ได้ครบถือว่าผู้นั้นผิดคำมั่นสัญญา ผู้นั้นก็จะมีโอกาสพบปัญหา สอบตก อกหัก หลักลอย คอยงาน สังขารโทรมได้ หากเรามีตัวรู้
หรือมีครูผู้ชี้แนะที่ดี สามารถเข้าถึงชนกกรรมได้ รู้ว่าชนกกรรมคืออะไร ต้องรู้ว่าคนเราเกิดมาตามกรรม เกิดมาใช้กรรม เกิดมา
สร้างกรรม เราต้องรู้ว่าต้องทำกรรมใดเงื่อนไขใด รู้จักวิธีใช้กรรม รู้วิธีบริหารกรรม เมื่อเราทราบชนกกรรมทั้งหมดแล้ว แล้วเราต้อง
พยายามปฏิบัติให้ได้ตามชนกกรรมให้ครบ เมื่อเราได้ทำตามคำมั่นสัญญาของเราแล้วเส้นทางชีวิตของผู้นั้นก็จะเดินทางไปสู่
เส้นทางแห่งความสำเร็จ หรือได้รางวัลชีวิตได้ในที่สุด แต่หากปฏิบัติได้ไม่ครบทุกข้อ ก็จะต้องแบ่งส่วนกันระหว่างรางวัลชีวิต
และอาญากรรมมากน้อยตามข้อกำหนดชนกกรรมที่ปฏิบัติได้
สัญญากรรม สัญญาณเวร เทพนิมิต ปรากฏการณ์ทางวิญญาณ
เมื่อชีวิตของคนเราถูกกำหนดและกำกับให้เป็นไปตามพรหมลิขิต ตามชนกกรรมหรือที่เรียกว่าเป็นกฎการเกิด ที่ส่งเรา
มาเกิดคนที่มีภพชาติที่ยิ่งซ้ำซ้อนเท่าไรย่อมมีปรากฏการณ์แปลกๆเกิดขึ้นในชีวิตของเขา ด้วยอำนาจของอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์
และเทวฤทธิ์ปาฏิหาริย์ อันจะทำให้เกิดเป็นนิมิตเทพให้เราได้แปลความหมาย ตามกฎของการเกิด คือคนเราเกิดมาตามกรรม
เกิดมาใช้กรรม เกิดมาสร้างกรรม เช่นสิ่งเอะใจ ลางสังหรณ์ ทั้งเหตุการณ์ภายนอก และภายใน ซึ่งการแปลความหมายนิมิตนั้น
จะแม่นยำเพียงใด ขึ้นอยู่กับว่าสัญญาณเวรที่ส่งมาต้องไม่ถูกปิดกัน แล้วตรวจสอบสัญญาณเวรนั้นด้วยตัวรู้ของเรา ทั้งนี้ปรากฏ
การทางวิญญาณที่ถูกต้องชัดเจนมีตัวรู้ในระดับองค์ฌานองค์ญาณสามารถเข้าถึงสัญญากรรมจนสูงสุดรู้แจ้งแทงตลอดที่เรียกว่า
มีวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ อันจะสามารถแปลได้ว่านิมิตเทพหรือสัณญาณเวรนั้นเป็นนิมิตจริงหรือปลอม มาในขั้นตอนใดของกลไกกรรม
หรือเกมส์กลกรรม โดยการส่งสัญญาณเวรสามารถส่งสัญญาณมาได้ในทุกขั้นตอนของกลไกกรรม รู้ถึงความเกี่ยวเนื่อง กับรหัสกรรม
หรือรหัสเวร สัญญาณมาเตือนเราด้วยเหตุการณ์ใด ด้วยสาเหตุใด ร้ายหรือดี แล้วนำมาแปลเพื่อใช้ประโยชน์สามารถใช้กรรมและ
สร้างกรรมได้ตรงกับสัญญากรรมเพื่อที่เราจะได้รีบแก้ไข ปรับปรุง อย่าประมาท ทั้งนี้เราอาจมีธาตุรู้อยู่ก่อนได้เพราะเรามีทุนเดิม
แต่เราก็ควรเสริมทุนใหม่ด้วยในชาตินี้ น้อยคนนักที่มีตัวรู้จากปรากฏการณ์ทางวิญญาณจนสามารถปรับเปลี่ยนแปลงนิมิตเทพไปได้
แล้วนำตัวรู้มาเปลี่ยนแปลงชะตาชีวิตเรา ด้วยรหัสกรรม รหัสเวร ด้วยเกมส์กลกรรมในกรรมตามกฎการเกิด เพื่อไม่ให้เกิดภาวะกรรม
เก็บกดสะสมมากขึ้น ก่อนกาละเวลาของเงื่อนตายจะมาถึง หรือก่อนเวลาจะหมดเพราะถ้าหากเวลาหมดแล้ว เราก็หมดสิทธิ์เล่นเกมส์
กลกรรม คงต้องปล่อยชีวิตไปตามกรรมอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง

22224  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / ทำอย่างไรจึงจะรู้ "กรรมเก่าในอดีตของเรา" เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2010, 10:37:54 pm

ทำอย่างไรจึงจะรู้ กรรมเก่าในอดีตของเรา ว่ามีอะไรบ้าง



หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา

ถาม : ทำอย่างไรจึงจะรู้กรรมเก่าในอดีตของเราว่ามีอะไรบ้าง เพื่อที่เราจะแก้กรรมนั้นให้หายไป ไม่ต้องมารับกรรมนั้น ๆ อีก จะได้ตั้งหน้า ตั้งตาทำแต่กรรมดีในชาตินี้ต่อไป โดยไม่ต้องพะวงถึงกรรมเก่าในอดีตชาติ

หลวงพ่อ : การที่จะรู้กรรมเก่าอะไรในอดีตนั้น ไม่เป็นปัญหาสำคัญ ในเมื่อเรารู้แล้วมันก็ไม่มีประโยชน์ กรรมที่เราทำลงไปแล้วไม่มีโอกาสที่จะแก้ได้ มีทางเดียวว่าเราเชื่อกรรม และเชื่อผลของกรรม เชื่อว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ส่วนกรรมชั่วในชาติอดีตนั้น เราอาจจะมี แต่ในชาตินี้เรามีความสำนึกรับผิดชอบ ชั่ว ดี แล้ว และเชื่อกฎแห่งกรรมแล้วว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เราก็พยายามละเว้นจากการทำชั่ว ทำแต่ดี ๆ เรื่อยไป ในเมื่อทำแต่ดี ๆ เรื่อยไป ถ้าหากเรามีการทำสมาธิภาวนา เราสามารถจะบรรลุ มรรค ผล นิพพานได้ ส่วนกรรมเก่าแม้ผู้บรรลุ มรรค ผล นิพพาน แล้วยังต้องรับกรรมอยู่ เช่น พระโมคคัลลาน์ เป็นต้น


เพราะฉะนั้น จึงไม่ใช่ปัญหาสำคัญที่เราต้องไปแก้กรรมเก่า ทำแต่ความดีใหม่ในปัจจุบันนี้ให้มาก ๆ ขึ้น ถ้าหากว่ากรรมเก่าในอดีตมันอาจจะมีเพียงเล็กน้อย แต่เราทำในปัจจุบันให้เพิ่มมากขึ้น ๆ กรรมใหม่นี้ในเมื่อสะสมไว้มาก ๆ เข้า มันก็มีพลังหนุนจิตให้มุ่งเร็วขึ้น ในเมื่อผลกรรมใหม่นี้บันดาลจิตของเราให้วิ่งเร็วขึ้น กรรมเก่ามีวิ่งตามมา มันก็วิ่งช้าลง มันทำให้ห่างจากของเก่าเรื่อยไป ถ้าหากเราได้บรรลุ มรรค ผล นิพพาน แล้ว ถึงแม้ว่ากรรมเก่าจะตามมาทันให้ผลในอัตตภาพนี้ แต่ก็ไม่สามารถประทุษร้ายจิตใจของเราให้เป็นอย่างอื่นได้

ที่มา http://www24.brinkster.com/thaniyo/answer13.html

22225  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / บาปกรรม !...ล้างไม่ได้ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2010, 10:24:39 pm

บาปกรรม !...ล้างไม่ได้
โดย พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวราราม วรมหาวิหาร
ต.ห้วยใหญ่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี


พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

ชีวิตสังคมในเมืองใหญ่ยังคงต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด บางคนต้องการอำนาจหน้าที่ในทางสังคม แต่สำหรับ พระจุลนายก หรือ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดญาณสังวราราม วรมหาวิหาร อายุ ๕๗ ปี พรรษา ๓๐ (เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๗) ได้ออกค้นหาสัจธรรมชีวิตในป่าดงพงไพร บนเขาชีโอน อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ด้วยการแสวงหาจากหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อนำมาสอนให้กับบุคคลที่ต้องการเรียนรู้ความเป็นไปของโลกในพระพุทธศาสนา

ใน วันนี้ พระอาจารย์สุชาติ เป็นผู้ดูแลพระสงฆ์ในวัดญาณสังวรารามฯ แทน สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ไม่ว่าใครจะมาบวชที่วัดแห่งนี้ ท่านจะเป็นผู้ดูแล พร้อมทั้งให้แนวทางการเรียนรู้หลักธรรมกับผู้ที่สนใจ เช่นเดียวกับ นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธนาคาร กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ก็ได้มาบวชเพื่อทบทวนชีวิต ณ วัดแห่งนี้ โดยท่านจะเน้นย้ำไม่ให้พระรูปใดไปยึดติดกับวัตถุสิ่งของนอกกาย

ธรรมะข้อหนึ่งที่พระอาจารย์สุชาติมักพูดกับญาติโยมเสมอๆ ว่า “ทำบุญเท่าไรก็ไม่สามารถลบล้างบาปได้ บุญอยู่ส่วนบุญ บาปอยู่ส่วนบาป” และต่อไปนี้คือบทสัมภาษณ์พระอาจารย์สุชาติ แบบ “คม ชัด ลึก”

๏ ทำไมพระอาจารย์จึงบอกว่าบาปล้างไม่ได้ครับ ?

อาตมา อยากบอกว่า การทำบุญทำทาน รักษาศีล ฟังเทศน์ฟังธรรม ไหว้พระสวดมนต์ ไม่ใช่เป็นการล้างบาป บาปเป็นสิ่งที่ล้างไม่ได้ บาปที่ได้ทำไปแล้วย่อมมีผลตามมาไม่ช้าก็เร็ว การทำบุญทำทาน การรักษาศีล ไม่ใช่เป็นการชำระบาป แต่เป็นการชำระจิตใจให้สะอาดหมดจด จิตใจที่สกปรกเต็มไปด้วยกิเลสตัณหาคือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ความอยากในกาม ความอยากมีอยากเป็น ความอยากไม่มีอยากไม่เป็น เป็นสิ่งที่สร้างความเศร้าหมองให้กับชีวิต

๏ การทำบาปไว้มากๆ ผลที่จะตามมาเป็นอย่างไรครับ ?


ผลที่จะตามมามีอยู่ ๓ ลักษณะ คือ

๑. ผลที่ปรากฏขึ้นในใจ เมื่อทำไปแล้วก็จะเกิดความไม่สบายอกไม่สบายใจ

๒. ผลที่เกิดจากภายนอก เกิดจากบุคคลอื่นที่จะตอบแทนสิ่งที่เราทำกับเขา เรา สร้างความทุกข์ สร้างความเดือดร้อนให้กับเขา ย่อมสร้างความอาฆาตพยาบาท สร้างเวรสร้างกรรมไว้ เมื่อเขามีโอกาส เขาย่อมตอบแทนบาปกรรมที่เราทำไว้กับเขา การตอบแทนนี้ อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว หรือช้า ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับเหตุและปัจจัย บางอย่างอาจจะไม่เกิดขึ้นในชาตินี้เลย แต่จะตามไปในภพหน้าชาติหน้า บาปที่เคยทำไว้แล้วในอดีต แต่ยังไม่ได้มีโอกาสแสดงผล ก็อาจจะตามมาปรากฏผลขึ้นในชาตินี้ก็เป็นได้ และ

๓. จะเป็นนิสัยไม่ดีติดตัวไป เวลาพูดโกหก ลักขโมย ฯลฯ ก็จะติดนิสัยไป ทำให้ง่ายต่อการกระทำบาปครั้งต่อไป จึงยากต่อการเลิกกระทำ เช่นเดียวกับการกระทำความดีหรือทำบุญ ก็มีผลแบบเดียวกับบาป เพียงแต่ว่าเป็นไปในทางตรงกันข้าม คือเป็นผลดี เวลาทำดีในใจเราก็มีความสุข เวลาทำดีต่อผู้อื่น ผู้อื่นย่อมมีความชื่นชมยินดีในตัวเรา เวลาเห็นเราเดือดร้อน มีความจำเป็นที่จะต้องช่วยเหลือ เขาก็ยินดีที่จะช่วยเหลือ มันก็จะติดตัวไป ทำให้ทำความชั่วได้ยาก

๏ จริงๆ แล้วชาติหน้าหรือนรกสวรรค์มีจริงไหมครับ ?

จาก ที่อาตมาได้ศึกษาแล้วรู้ว่าสิ่งเหล่านี้มันมีจริง แต่บางคนที่ไม่เชื่อว่ามีจริง ก็เพราะว่าไม่ได้ศึกษาหลักธรรมของพระพุทธเจ้า อาตมาจะยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเจน เมื่อคนเราทำบุญทำทานจิตใจก็เบิกบานผ่องใส มีความสุข นั่นก็เป็นสวรรค์ ส่วนคนที่ใจคิดร้ายไปฆ่าคนอื่นได้ พวกนี้ก็เหมือนกับตกนรกแล้ว แม้ตัวเราตายไปสิ่งที่เหลืออยู่คือจิตวิญญาณที่จะล่องลอยไป ถ้าทำบุญมาดีก็จะได้ไปเกิดเป็นคนหรือไม่ก็ไปเกิดเป็นเทพเทวดา ส่วนคนที่ฆ่าคน ทำบาปเป็นประจำ ก็จะต้องเกิดไปเป็นสัตว์เดียรัจฉาน หรือเป็นพวกเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์นรก

๏ เมื่อบาปล้างไม่ได้แล้วคนเราควรทำอย่างไรกับบาปที่มีอยู่ครับ ?

เรา ต้องเชื่อพระพุทธเจ้า ต้องเชื่อในพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่สอนให้ทำ แต่ความดี ละเว้นจากการกระทำชั่ว ละความอยากมีอยากเป็น จิตใจเราก็จะพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ถ้าอยากจะชำระก็ขอให้ชำระกิเลสตัณหาที่มีอยู่ในใจของเรา อย่าไปชำระบาป บาปนั้นชำระไม่ได้ ถ้าไม่อยากจะรับผลของบาป ก็อย่าไปทำเสียตั้งแต่วันนี้

ส่วน ผลของบาปในอดีตก็จะค่อยๆ แสดงออกมาแล้วจะค่อยๆ หมดไป เหมือนกับการใช้หนี้ เรามีหนี้ ถ้าเราไม่ไปสร้างหนี้ใหม่ หนี้เก่าเราก็ทยอยใช้คืนไปเรื่อยๆ ผ่อนไปทีละเดือน เดี๋ยวหนี้เก่ามันก็หมดไปเอง เช่นเดียวกับการทำบาปทำกรรมอยู่ หนี้สินใหม่ก็จะเพิ่มขึ้นมาอีก เวรใหม่ก็จะเกิดขึ้นมาอยู่เรื่อยๆ ก็ไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าไม่ต้องการรับผลบาปต่อไป ก็ต้องละเว้นจากการกระทำบาป


๏ ในส่วนของการทำบุญ ทำทานมีผลต่อชีวิตคนเราอย่างไรบ้างครับ ?

เวลา ที่เราทำบุญด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่ว่าจะทำกับใคร แล้วเขาจะเอาไปทำอะไรต่อ มันก็ยังเป็นบุญอยู่นั่นเอง เพราะบุญคือการชนะใจเรา ชนะสิ่งที่ต่ำ สิ่งที่คอยฉุดลากให้ไปสู่ความทุกข์ สู่ความไม่สบายใจ คือ ความตระหนี่ ความโลภ ความเห็นแก่ตัว เวลาที่ได้ให้ทาน แสดงว่าได้ชนะความโลภ ได้ชนะความตระหนี่ ได้ชนะความเห็นแก่ตัวแล้ว นี่แหละคือผลที่เราได้ เป็นบุญแล้ว บุญนั้นเกิดขึ้นในใจของเรา เราได้ชนะสิ่งที่ไม่ดี ได้ชำระขัดเกลาใจของเราให้สะอาดขึ้น เมื่อได้ชำระขัดเกลาสิ่งเหล่านี้ให้เบาบางลงไป ก็ทำให้ใจของเรามีความสุขมากขึ้น

๏ แล้วใจจะมีผลต่อการดำเนินชีวิตของคนเราอย่างไรครับ ?


ใจ ของเราบางครั้งก็เสียใจ บางครั้งก็ดีใจ บางครั้งจิตใจเราก็โมโหด้วยอารมณ์โกรธ นั่นแสดงว่าใจของเราไม่ยอมหยุด ใจเรามันก็เหมือนกับรถที่ไม่ยอมเบรก ดังนั้น ถ้าเรารู้จักการฝึกใจให้รู้จักหยุด ในทางพระพุทธศาสนา จึงถือใจเป็นเรื่องสำคัญที่สุด เป็นสิ่งที่จะต้องได้รับการดูแลอบรม เพราะว่าใจที่ได้รับการอบรมดีแล้ว จะนำความสุขมาให้ แต่ใจที่ไม่ได้รับการอบรม ก็จะนำมาแต่ความทุกข์ ความวุ่นวายใจ เพราะใจเปรียบเหมือนกับเด็กๆ เวลาเกิดมาใหม่ๆ ต้องให้พ่อแม่คอยอบรมสั่งสอน เพราะยังไม่รู้เรื่องผิดถูกดีชั่ว ไม่รู้ว่าอะไรควรไม่ควร เมื่อคนเราไม่ได้เข้าวัด ฟังเทศน์ ฟังธรรม ก็จะทำสิ่งต่างๆ ที่เป็นไปตามความอยากของตน

๏ นอกจากการทำบุญให้จิตใจสบายแล้วอย่างอื่นที่ชาวพุทธควรทำคืออะไรครับ ?


อาตมา คิดว่าการทำบุญไม่ควรทำเพียงแต่ให้ทานอย่างเดียว ควรทำอย่างอื่นด้วย เช่น ควรรักษาศีล มีความกตัญญูกตเวที ขยันหมั่นเพียร มีสัมมาคารวะ ฟังเทศน์ ฟังธรรม

ปฏิบัติธรรม ไหว้พระ สวดมนต์ นั่งทำสมาธิ เจริญปัญญา เจริญวิปัสสนา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ให้เห็นว่าสภาวธรรมต่างๆ สิ่งต่างๆ ที่มาเกี่ยวข้องกับชีวิตจิตใจของเรานั้น ล้วนเป็นของไม่เที่ยงทั้งสิ้น

มี การเกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วต้องดับไป มีการมาและมีการไปเป็นธรรมดา แม้กระทั่งร่างกายของเรา ก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน มีการเกิดขึ้น ก็ต้องมีการแก่ มีการเจ็บไข้ได้ป่วย มีการตายไปในที่สุด แต่ใจผู้รู้เรื่องเหล่านี้ ไม่ต้องไปตกใจ เพราะใจเป็นสิ่งที่ไม่ตาย ส่วนกายก็ประกอบขึ้นจากธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ที่มารวมตัวกัน ในที่สุดก็ต้องแยกสลายจากกัน

๏ ทำไมพระอาจารย์ถึงได้ตัดสินใจบวชไม่สึกครับ ?

อาตมา สนใจธรรมะมาตั้งแต่สมัยที่เรียนอยู่โรงเรียนแอดเวนติสต์ (Adventist Ekamai School) เอกมัย กรุงเทพฯ เมื่อเรียนจบเกรด ๑๒ (ม. ๖) ก็ได้ไปเรียนต่อด้านวิศวกรรมฯ ที่มหาวิทยาลัยในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เมื่อเรียนจบ กลับมายังเมืองไทย ได้ทำงานเป็นผู้จัดการร้านขายไอศกรีมอยู่ระยะหนึ่ง กระทั่งคิดว่าหนทางสงบที่แท้จริงก็คือการบวช ครั้งนั้นตัดสินใจบวชเมื่ออายุได้ ๒๗ ปี (พ.ศ. ๒๕๑๘) ณ วัดบวรนิเวศฯ โดยมีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นพระอุปัชฌาย์

โยม พ่อโยมแม่ก็ไม่ได้ว่าอะไร ท่านคงเข้าใจว่าเป็นการตัดสินใจของอาตมาเอง จากนั้นก็ได้ไปจำพรรษาอยู่กับหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี เป็นเวลา ๙ ปี หลังจากนั้นก็กลับมาจำพรรษาที่วัดโพธิสัมพันธ์ เมืองพัทยา จ.ชลบุรี อยู่อีก ๑ ปี ก่อนจะเดินทางมาจำพรรษาที่วัดญาณสังวรารามฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๗ จนถึงปัจจุบัน และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส ในการดูแลการปฏิบัติธรรมของพระสงฆ์ รวมทั้ง การรักษาพื้นที่ของวัดทั้งหมด

๏ ด้วยเหตุใดพระสงฆ์ที่วัดถึงเคร่งครัดในเรื่องของพระวินัยสงฆ์ครับ ?


ปัจจุบัน เราจะเห็นว่า คนที่มีทุกข์ก็จะเข้าหาวัดเป็นที่พึ่ง ที่วัดจะมีผู้หญิงมานุ่งขาวห่มขาว มาถือศีลเป็นระยะเวลา ๕ วัน ๗ วัน อาตมาคิดว่ามันก็เป็นเรื่องที่ดี เพราะอย่างน้อยวัดก็ยังเป็นที่พึ่งทางใจให้กับญาติโยม ส่วนที่ทางวัดมีกฎระเบียบเคร่งครัดต่อพระวินัยสงฆ์ ก็เพื่อเป็นการฝึกให้ลดละในเรื่องของรูป รส กลิ่น เสียง ต่างๆ แม้กระทั่งการฉันอาหารเมื่อบิณฑบาตมาแล้ว พอเวลาฉันก็ต้องให้เทอาหารทุกอย่างรวมกันในบาตร เพื่อเป็นการฝึกไม่ให้ยึดติดในเรื่องของรสชาติของอาหารทั้งปวง

พระ ที่มาบวชในวัดจะต้องตื่นทำวัตรด้วยการนั่งสมาธิตั้งแต่ตี ๔ จนถึงตี ๕ ก็จะเป็นเวลาร่วมกันไหว้พระสวดมนต์ แล้วก็ออกบิณฑบาต หลังจากฉันอาหารเสร็จก็จะอนุโมทนาให้พร บ่ายๆ ก็ให้ปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ เดินจงกรม เมื่อถึงตอนเย็นก็สรงน้ำเตรียมลงไปทำวัตรเย็น จนกระทั่งถึง ๑ ทุ่มครึ่ง ก็แยกย้ายกลับกุฏิปฏิบัติธรรมหรือพักผ่อนตามอัธยาศัย ประมาณตี ๔ ก็เริ่มปฏิบัติกิจต่อไป


๏ พระอาจารย์หากประชาชนอยากฝึกปฏิบัติธรรมด้วยตนเอง จะต้องเริ่มอย่างไรครับ ?

สิ่ง แรกที่ควรกระทำคือ การกำหนดบริกรรมคำว่า พุทโธๆๆ หรือกำหนดลมหายใจเข้าออกโดยมีสติควบคุมจิต ไม่ให้จิตลอยไปที่อื่น ให้รู้อยู่กับงานที่จิตกำลังทำอยู่ แล้วจิตก็จะค่อยๆ สงบตัวลงเข้าสู่ความสงบ เมื่อสงบแล้วจิตก็สบาย มีความสุข มีความอิ่ม มีความปีติ เป็นความสุขที่มหัศจรรย์ เป็นความสุขที่เลิศกว่าความสุขทั้งหลาย ที่เราเคยได้สัมผัสกัน ไม่ว่าจะเป็นความสุขจากการเที่ยวเตร่ จากการรับประทานอาหารอันเลิศหรู หรือมีความสุขกับเพื่อนๆ เมื่อเทียบกับความสุขที่เกิดจากความสงบสุขของจิตใจแล้ว ไม่สามารถที่จะเปรียบเทียบกันได้

พระ พุทธองค์ทรงยกย่องว่า ไม่มีความสุขอันใดในโลกนี้ จะเสมอเท่ากับความสุขอันเกิดจากความสงบของใจ คือความสุขที่เกิดจากการไหว้พระสวดมนต์ นั่งทำสมาธิ จนกระทั่งจิตนิ่ง ไม่คิด ไม่ปรุงอะไร จะนิ่งอยู่ได้นานสักแค่ไหนก็สุดแท้แต่เหตุปัจจัยคือ การปฏิบัติของจิตแต่ละดวง หลังจากที่จิตออกจากความสงบแล้ว ท่านทรงสอนให้เจริญวิปัสสนา เจริญปัญญาเป็นลำดับต่อไป คือ พิจารณาให้เห็นสภาพความเป็นจริงของ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราไปเกี่ยวข้องด้วย ไม่ว่าจะเป็นวัตถุ ข้าวของ เงินทอง ลาภ ยศ สรรเสริญ กามสุขทั้งหลาย รวมทั้งบุคคลรอบข้างที่เราเกี่ยวข้อง ที่มีการเจริญขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ต้องดับไปเป็นเรื่องธรรมดา

๏ มาถึงวันนี้สัจธรรมชีวิตที่แท้จริงของคนเราคืออะไรครับ ?

สัจธรรม ความจริงนั้น ได้แสดงไว้แล้วโดยพระพุทธเจ้าว่า ความสุขที่แท้จริงนั้น อยู่ที่ใจเกิดจากความพอต่างหาก เกิดจากใจที่ชนะความโลภ ความโกรธ ความหลง เกิดจากใจที่ชนะกิเลสตัณหาความอยากทั้งหลาย นี่แหละคือความสุขที่แท้จริง ใจของเราเวลาไม่อยาก ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลงแล้ว ใจเราสบาย อย่างในขณะนี้เรานั่งอยู่ที่นี่ เรามีความรู้สึกสบายใจ เพราะขณะนี้ความโลภ ความโกรธ ความหลง ไม่แสดงตัวขึ้นมา ความอยากไม่ได้แสดงตัวขึ้นมา เราจึงอยู่เป็นสุข

๏ พระอาจารย์มีหลักธรรมอะไรถึงผู้อ่านบ้างครับ ?

ไม่ ว่าจะทำอะไรต้องมี ทาน ศีล ภาวนา สมาธิ ปัญญา วิมุตติหลุดพ้น ธรรมเหล่านี้ล้วนต้องมีสติเป็นผู้นำ จึงไม่มีธรรมอันใดที่จะมีความสำคัญเท่ากับสติ ถ้าไม่มีสติแล้ว จะทำอะไรอย่างอื่นย่อมเป็นไปไม่ได้ อย่างคนที่เสียสติ ถ้าไม่รู้จักผิดถูกดีชั่ว ไม่รู้ว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่ คนที่ไม่มีสติที่เราเรียกว่า คนบ้า ก็ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของผู้อื่น ของคนที่มี

สติ ต้องคอยเลี้ยงเขา ต้องอาบน้ำให้เขา ต้องดูแลเขาเหมือนเป็นเด็กทารก เพราะเขาไม่มีสติ ไม่มีความสามารถที่จะทำอะไรด้วยตนเอง

ถ้า ปราศจากสติแล้ว ย่อมไม่สามารถเจริญคุณธรรมความดีทั้งหลายได้ จึงควรให้ความสำคัญกับสติ ควรเจริญสติอยู่ทุกเมื่อทุกกรณี ดังในพระบาลีที่ทรงแสดงไว้ว่า สติมีความสำคัญในทุกกรณี ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม จะคิดก็ดี จะพูดก็ดี จะทำอะไรก็ดี ล้วนต้องมีสติเป็นผู้กำกับ เป็นผู้ดูแล เป็นผู้นำ ถ้าไม่เช่นนั้นก็จะทำอะไรไปในทิศทางไม่ดี อย่างเวลาที่เสพสุรายาเมา ก็จะขาดสติ ไม่มีสติควบคุม ความคิด การพูด การกระทำ ดังนั้น ถ้าต้องการความสุข ความเจริญ ก็ต้องเจริญสติอย่างสม่ำเสมอ และควรฝึกอย่างต่อเนื่อง


ที่มา http://www.tgocity.com/topics/441?page=1#p4069
--------------------------------------------------------

เชื่อเรื่องกรรมกันหรือเปล่าเอ่ย

... กรรมคือเจตนา เจตนาคือกรรม ทำกรรมอันใด จิตย่อมปรุงแต่ง จิตย่อมยึดมั่น จิตย่อมมีกรรมนั้นติดตามไปประดุจเงาตามตัว กรรมย่อมก่อสภาวะ หรือภพแห่งความสอดคล้องกับกรรมนั้น ๆ ขึ้นในเวลาใดเวลาหนึ่ง ไม่ปัจจุบันก็อนาคต ไม่อนาคตใกล้ก็อนาคตไกล อย่างไรย่อมย้อนมาหาเจ้าของกรรมแน่นอน

ที่มา : วาทะดังตฤณ
22226  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / กรรมที่ปรากฏ เมื่อใกล้จะตาย เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2010, 10:12:34 pm
กรรมที่ปรากฏ เมื่อใกล้จะตาย

 

พระเทวฑัตถูกธรณีสูบ

คนเราทุกคนเกิดมาแล้วต้องตาย จะตายช้าตายเร็วก็ต้องตายแน่ แต่เมื่อใกล้จะตายนั้นจะมีกรรมมาปรากฏในช่วงนั้น ถ้าเราทำกรรมดี และกรรมชั่วไว้ กรรมดี และกรรมนั้น ๆ ก็จะมาปรากฏให้เห็นในช่วงสุดท้ายในชาตินี้ และจะสิ้นสุดเมื่อเข้าไปสู่ชาติใหม่ หรือภพใหม่ ลักษณะของจิตที่จักกรรมเอาในขณะนั้น ในคัมภีร์พระอภิธรรมท่านเรียกว่า “ มรณาสันนวิถี ” หมายถึง วิถี(ทาง) ที่จิตใกล้จะตายไปยึดถือ ในขณะนั้นจิตจะเข้าสู่วิถีของมันที่จะเคลื่อนเข้าไปสู่ภพใหม่ คือจุติ(การตาย) จิตจะปรากฏ …..เมื่อจุติจิตปรากฏแล้วปฏิสนธิจิต (การเกิด) ก็จะปรากฏต่อจากจุติจิต

ปกติแล้ว จิตในขณะนั้นจะอยู่ในภวังค์เหมือนอย่างคนนอนหลับ แต่เมื่อมันจะเคลื่อนไหวไปเป็นจุติจิตมันจะรับอารมณ์ของกรรมก่อน คือ นำกรรมที่สั่งสมเอาไว้เข้าไปสู่โลก(ภพ)หน้า การที่นำกรรมที่สั่งสมไว้เข้าไปสู่ภพหน้า จิตนั้นจะต้องรับอารมณ์

คำว่า “อารมณ์” ในที่นี้หมายถึง สิ่งที่จิตเข้าไปยึดไว้ ไม่ได้หมายถึง อารมณ์ดี,อารมณ์ร้ายอย่างที่ชาวโลกเขาใช้กันไม่ …อารมณ์ในที่นี้ คือ สิ่งที่จิตเข้าไปยึดถือไว้ ท่านเรียกว่า “อารมณ์”


อารมณ์จะมาปรากฏแก่จิตของผู้ใกล้จะตาย 3 อารมณ์ คือ

1. กรรม ถ้าเรียกให้ชัดตามคัมภีร์พระอภิธรรมก็เรียกว่า “กรรมอารมณ์ ๆ คือ กรรม”
2. กรรมนิมิต หรือ กรรมนิมิตอารมณ์ ๆ คือ กรรมนิมิต
3. คตินิมิต หรือ คตินิมิตอารมณ์ ๆ คือ คตินิมิต


โดยทั้ง 3 กรรมนี้ จะมาปรากฏทางใจเมื่อใกล้จะตาย

กรรม นั้นหมายถึง การกระทำของเราเองซึ่งเราอาจจะทำทั้งกรรมดี และกรรมาชั่ว กรรมดีเรียกว่า “กุศลกรรม” กรรมชั่ว เรียกว่า “อกุศลกรรม” และทั้งกรรมดี และกรรมชั่ว มันจะมาปรากฏให้เราเห็นเมื่อเราใกล้จะตาย

กรรมนิมิต นั้นหมายถึง เครื่องหมายของการทำกรรม เช่นถ้าเราใช้อุปกรณ์อะไร อย่างไรทำ เมื่อจวนจะตาย อุปกรณ์ในการทำกรรมนั้น ๆจะเข้ามาปรากฏเป็นเครื่องหมายให้เราทราบ (นิมิต หมายถึงเครื่องหมาย) ส่วนคำว่า “คตินิมิต” นั้นหมายถึง เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ให้เรารู้ว่าแดนที่เราจะไปเกิดที่ไหน /ภพไหน/ชาติไหน มันมีเครื่องหมายบ่งบอกให้เรารู้ว่า ผู้นั้นจะไปดี หรือไปชั่วให้ดูที่คตินิมิต

เมื่อใกล้จะตายกรรมมาปราฏอย่างไร คือถ้าคนเรามีกรรมดีมาปรากฏเช่น เคยทำบุญให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เป็นคนกตัญญูรู้คุณ เลี้ยงดูพ่อแม่อย่างใดอย่างหนึ่งในจำนวนบุญกิริยาวัตถุ10 ข้อ
ทำไว้มาก เมื่อใกล้จะตาย กรรมนั้นจะเข้ามาเป็นอาสันนกรรม คือ ทำให้คนนั้นรู้สึกแช่มชื่นเบิกบานใจ
ไม่กระวนกระวาย แม้เมื่อตอนป่วยหนักผู้นั้นจะกระวนกระวายเป็นบ้างก็ตาม…..แต่เมื่อใกล้จะขาดใจนั้นเขาไปอย่างสงบ เช่นบางคนจุดธูปเทียน บูชาพระ บางคนภาวนาว่าพุทโธ ๆ จากไป บางคนภาวนาว่า อรหังๆ จากไป คือไปด้วยจิตเบิกบาน และแม้จะเจ็บป่วยขนาดไหนก็ตาม…..แต่เมื่อใกล้จะตายวินาทีสุดท้ายของเขานั้น เขาไปอย่างดี ไปอย่างสงบ ไม่ทุรนทุราย แม้ทุรนทุรายทางร่างกาย แต่ทางจิตใจนั้นเขาสงบ……..ลักษณะเช่นนี้จะปรากฏกับผู้ที่ทำความดีไว้มาก และนี่คือลักษณะกรรมดีที่มาปรากฏเมื่อใกล้จวนเจียนจะตาย


แม้ในขณะนั้น บางคนมีกรรมนิมิตมาปรากฏ กรรมนิมิตที่ปรากฏนั้นคือ อย่างไร คือ ถ้าเขาผู้นั้นเคยทำดีเอาไว้ เมื่อเขาจวนจะตาย กรรมดีนั้นย่อมเข้ามาปรากฏในทางมโนทวาร เช่น คนที่เคยใส่บาตรเมื่อใกล้จะตายย่อมมีภาพทัพพี ขันข้าว หรือภาพพระสงฆ์ที่กำลังรับบาตรมาปรากฏเป็นมโนภาพ(เหมือนภาพในความฝัน) เมื่อเขาจะตาย เช่น เห็นภาพตัวเองกำลังถวายจีวร พระภิกษุสามเณร เห็นภาพตัวเองกำลังนั่งสมาธิ หรือทำความดีต่างๆ เห็นอุปกรณ์ที่ตนเองใช้ในการทำความดี เช่น เห็นหม้อข้าว ทัพพี เห็นเครื่องบวชนาค เป็นต้น มันเห็นชัดเจนเป็นภาพ ๆ ไปเลย ภาพเหล่านี้จะมาปรากฏแก่บุคคลที่ทำความดีเอาไว้ ท่านเรียกว่า “กรรมนิมิตฝ่ายดี”

ส่วนคนที่ทำกรรมชั่วไว้ เวลาใกล้จะตาย กรรมชั่วนั้นจะมาปราฏเป็นภาพในทางใจ (มโนภาพ)
ทำให้วุ่นวายใจหรือกระวนกระวาย กระสับกระส่ายเดือดร้อนไม่สงบ เช่น บางคนที่เคยชนไก่เป็นประจำ เมื่อเขาใกล้จะตายก็ร้องทำเสียงเหมือนกับไก่ชน กันเช่น ทำเสียงว่า “ปั๊บๆ ,เอาเข้าไปๆๆ และบางคนเอามือตัวเองชนกัน บางคนร้องเหมือนหมู เพราะเคยฆ่าหมู บางคนร้องเหมือนวัว หรือควาย เพราะเคยฆ่าไว้ ซึ่งพวกนี้เมื่อใกล้ตายจะกระสับกระส่ายดิ้นทุรนทุรายอย่างทรมาน ทำอะไรแปลกๆ เช่น มีเรื่องตัวอย่างชายคนหนึ่ง ตายด้วยการกรอกน้ำร้อนที่กำลังเดือดจัดเข้าในปากตัวเอง ซึ่งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) วัดเทพศิรินทราวาส กทม. ได้เล่าไว้ ว่า

"คนขโมยของที่ถูกไฟไหม้"

กล่าวกันว่า ได้เกิดไฟไหม้บ้านเรือนหลังหนึ่งขึ้น ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตกรุงเทพฯ นี้เอง เมื่อหลายปีแล้ว คนในบ้านใกล้เคียงตกใจขนของหนีไฟเป็นการใหญ่ ในขณะนั้นก็มีเรือลำหนึ่งเข้ามาเทียบเข้าไปแล้ว เจ้าของเรือก็ตะโกนบอกให้ขนของมาลงเรือ และใส่เต็มเรือแล้ว ชายเจ้าของเรือก็แจวเรือออกไปอย่างรวดเร็ว เป็นการโกงซึ่ง ๆ หน้า ในขณะที่คนอื่นเขาเดือดร้อนไปรู้จะไปเรียกร้องเอาอะไรจากใครเขาก็นำของที่โกง หรือขโมยมานั้นไปเป็นของตัวเองอย่างสบายใจโดยไม่คิดถึงความเดือดร้อนของคนอื่น

ต่อมาชายที่โกงเขาไปนั้นเกิดอาการเจ็บป่วยไม่สบายขึ้น อาการที่ปรากฏคือ ต้องการดื่มน้ำร้อนจัด ๆ ยิ่งร้อนเท่าไรก็ยิ่งชอบใจ ในที่สุดก็ไม่พอใจที่ลูก ๆ หาว่าเอาน้ำเย็นมาให้ดื่ม ทั้ง ๆ ที่เป็นน้ำร้อนเดือดจัดแท้ ๆ ….ในที่สุดแกเอาเตาถ่านและกาน้ำมาต้มที่ใกล้กับที่ที่แกนอนเจ็บอยู่ พอน้ำเดือดพล่าน มีควันพุ่งออกมาเต็มที่ แกก็จะลุกขึ้นยกกาน้ำร้อนเทใส่ปากดื่มทางพวยกา พอแกดื่มเสร็จก็ร้องเฮ้อ…คล้ายกับว่าชื่นใจเหลือเกิน แล้วก็ตายไป เรื่องนี้มีผู้เห็นมากมาย……นี้เป็นเพราะกรรมบันดาลหรือให้ผล แท้ ๆ

เรื่องนี้ย่อมแสดงให้เห็นถึงกรรมารมณ์ คือ อารมณ์ของกรรม ถือว่าเป็นภาพที่ชัดเจนมาก เช่นบอกว่า “อย่ามาฆ่าฉันๆ คือเขาเห็นเป็นคนถือหอก ถือดาบมาทำท่าจะฆ่าตน เขาจึงร้องออกมาว่าอย่าฆ่าฉัน ๆ อย่าเข้ามา ๆ ร้องทั้ง ๆ ที่ญาติ พี่น้อง ลูกหลานไม่ได้เห็นอะไรเลย แต่คนๆ นี้มองเห็นคนถือดาบ ถือหอก หรือสัตว์ที่ตัวเคยฆ่าจะเข้ามาทำร้าย หรือกัดตัวเองเข้า โดยร้องออกไปอย่างนั้น

-------------------------------------------------
• โดย พระเทพวิสุทธิกวี (พิจิตร ) วัดโสมนัสวิหาร
ที่มา http://www.agalico.com/main/index.php?id=66


22227  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / ว่าด้วยเรื่องของกรรม เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2010, 09:50:41 pm

ว่าด้วยเรื่องของกรรม

ลางแห่งกรรม

เมื่อเราได้ศึกษาถึงขบวนการแห่งกรรมในเบื้องต้นแล้วก็คงพอจะเข้าใจว่า อะไร ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตเราก็เป็นมาจาก วิบากแห่งกรรมนั่นเอง ดังนั้นชะตาชีวิตของคนเราจึงขึ้นอยู่กับ "กรรมลิขิต" แต่ชะตาชีวิตของคนเรานั้นสามารถแก้ไขให้ดีขึ้นได้ หาใช่สิ่งตายตัวแต่อย่างใดไม่ มันย่อมเป็นไปตามดุลยภาพแห่งการกระทำและแรงปฏิกิริยาของผู้กระทำหรือผู้ถูกกระทำที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง นั่นคือมันสามารถแก้ไขให้ดีขึ้นหรือเลวร้ายลงกว่าเดิมก็ได้ ชะตาชีวิตของคนเราจึงขึ้นอยู่กับ กรรมเก่าและกรรมใหม่

การที่เราจะแก้ไขปัญหาชะตาชีวิตของตนเองจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ ด้วยการพัฒนาและปรับปรุงค้นคว้าหาวิถีทางที่ถูกต้อง ไม่ใช่เพียงหาทาง สะเดาะเคราะห์ ต่อชะตา ตัดกรรม โดยไม่พึ่งพาตนเอง เพราะถึงเราจะมีเงินทองก็คงจะซื้อบุญหรือกรรมไม่ได้แน่นอน แต่ถ้ารู้จักพิจารณาถึงสาเหตุหรือองค์ประกอบดังกล่าวมาแล้วข้างต้นว่า ตนเองมีเวรกรรมใดผูกพันอยู่ ก็จะสามารถลดแรงกรรมเหล่านั้นได้โดยไม่ยาก


ความเชื่อในเรื่องกรรม

หลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนา ได้กล่าวถึงความศรัทธาของชาวพุทธไว้อย่างน่าสนใจยิ่ง 4 ประการด้วยกัน

ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า คือเชื่อว่าพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้จริง เป็นผู้ประกอบด้วยพระปัญญาธิคุณ พระวิสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ

กัมมสัทธา เชื่อเรื่องกรรม คือเชื่อว่ากรรมมีจริง

วิปากสัทธา เชื่อเรื่องผลของกรรม คือเชื่อว่ากรรมที่บุคคลทำไม่ว่าดีหรือชั่วย่อมให้ผลเสมอ

กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตนเอง คือเชื่อว่าผลที่เราได้รับ เป็นผลแห่งการกระทำของเราเอง ซึ่งอาจจะเป็นกรรมที่ทำในปัจจุบันชาติหรืออดีตชาติ

ความเชื่อหรือความศรัทธาในพระพุทธศาสนาทั้ง 4 ประการนั้น เป็นความเชื่อในเรื่องของกรรมเสีย 3 อย่าง ดังนั้นจะเห็นได้ว่า กฏแห่งกรรม จึงเป็นหลักคำสอนที่สำคัญยิ่งในทางพระพุทธศาสนา ที่ชาวพุทธทุกคนไม่ควรมองข้าม เพราะผู้ที่เชื่อกฏแห่งกรรมย่อมได้เปรียบกว่าคนที่ไม่เชื่อในเรื่องกฏแห่งกรรม ย่อมสามารถทำใจได้ในทุกเหตุการณ์ ไม่ว่าชีวิตจะทุกข์ยากลำบาก ผิดหวังขมขื่น โรคภัยไข้เจ็บจะมาเบียดเบียน ถือว่าเป็นเจ้ากรรมนายเวรในอดีตมาเบียดเบียน ไม่ตีโพยตีพายโวยวายเรียกร้องหาความยุติธรรม


กรรมให้ผลตามกาล

1. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม กรรมให้ผลในชาตินี้
2. อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมที่ให้ผลในชาติหน้า
3. อปราปรเวทนียกรรม กรรมให้ผลในชาติต่อ ๆ ไป
4. อโหสิกรรม กรรมที่เลิกให้ผล หรือยุติการให้ผลต่อไป


กรรมที่ให้ผลตามหน้าที่

1. ชนกกรรมกรรมที่แต่งมาดีหรือชั่ว
2. อุปถัมภกรรม กรรมที่สนับสนุน คือ ถ้ากรรมเดิมหรือ ชนกกรรมแต่งดี ก็ส่งให้ดียิ่งขั้นไป ถ้าชั่วก็ส่งให้ชั่วยิ่งขึ้น
3. อุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้นหรือขัดขวางกรรมเดิม คอยเบียดเบียนชนกกรรม เช่นเดิมแต่งมาดี เบี่ยงเบนให้ชั่ว เดิมแต่งมาชั่ว ก็เบี่ยงเบนให้ดี
4. อุปฆาตกกรรม กรรมตัดรอน เป็นกรรมที่พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ เช่นเดิมชนกกรรมแต่งไว้ดีเลิศ กลับที่เดียวเป็นขอทานหรือตายทันที หรือของเดิมแต่งไว้เลว ก็กลับทีเดียวเป็นมหาเศรษฐีไปเลย


กลไกแห่งกรรม

เมื่อเราได้ศึกษาในกลไกแห่งกรรมจนพอจะเข้าใจแล้วว่า อำนาจแห่งกรรมสามารถจะส่งผลต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ การก่อเกิดภพชาติของคนเราได้ ถ้ากรรมดีให้ผลก็แล้วไป แต่ถ้าวิบากกรรมให้ผลที่ไม่ดีต่อเราแล้ว เราจะมีหนทางใดในการเบี่ยงเบนวิบากกรรมที่ไม่ดีออกไปให้พ้นตนได้

นั่นก็คือเราต้องรู้เหตุเบื้องต้นเสียก่อนว่า เรากำลังตกอยู่ในเหตุการณ์ที่ผิดปกติ โดยอาศัยสิ่งที่เราเรียกว่า “ลางบอกเหตุ” หรือสัญญาณบอกเหตุล่วงหน้า เพื่อจะได้หาหนทางหรือกุศโลบายที่แยบยลในการที่จะเข้าไปแก้ไขสิ่งที่เลวร้ายให้กลับกลายเป็นดีได้ ดังนั้นสิ่งที่เป็นลางบอกเหตุดังกล่าวจึงพออนุมานให้เป็นหนทางในการสังเกตุและพิจารณาได้ดังต่อไปนี้

เจ็บป่วยผิดปกติ แม้จะหาแพทย์แผนปัจจุบันหรือแผนโบราณแล้วก็ตาม อาการดังกล่าวก็ยังไม่ดีขึ้น หรือแพทย์ไม่สามารถหาสาเหตุความผิดปกติได้ นอกจากจ่ายยาให้กินเท่านั้น เช่น เจ็บหลัง เจ็บเอว เจ็บไหล่ ปวดในช่องท้อง หรือแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง เนื้องอก เป็นต้น ถึงแม้กรรมจะส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย ธาตุขันธ์ความเป็นมนุษย์ จนเกิดเวทนาอย่างแรงกล้า เราก็ต้องทำความเข้าใจว่า ส่วนหนึ่งเป็นไปตามสภาวะธรรมชาติ แต่บางส่วนก็เป็นไปตามวิบากกรรม

จิตใจผิดปกติ แม้จะหาจิตแพทย์หรือบำบัดในโรงพยาบาลก็ยังไม่ดีขึ้น เช่น ปวดศรีษะรุนแรง เบลอ พูดจาเพ้อเจ้อ

ชีวิตวุ่นวายผิดปกติ มีปัญหาในเรื่องการทำมาหากิน ปัญหาครอบครัว ปัญหาการเงิน-การค้า เครียดผิดปกติ


พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า สิ่งที่เป็นอจินไตยมีอยู่ 4 ประการด้วยกันคือ

1. วิสัยของพระพุทธเจ้า
2. ความคิดเรื่องการสร้างโลก
3. วิสัยของผู้มีฤทธิ์
4. กฏแห่งกรรม



คำว่า “ อจินไตย ” แปลว่า ไม่ควรคิด แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่ให้คิด ซึ่งเท่ากับเป็นการปิดกั้นไม่ให้ใช้ปัญญา ความจริงแล้วพระพุทธเจ้าท่านไม่ให้คิดด้วยหลักของตรรกศาสตร์ เนื่องจากการคิดแบบนี้เป็นการคิดแบบอนุมาน คือ คาดคะเน ซึ่งอาจจะนำไปสู่ความผิดพลาดได้ง่าย เพราะอาศัยพื้นฐานความรู้ที่เกิดจากอายตนะภายนอกที่เป็นประสาทสัมผัส คือ ตาเห็น หูได้ยิน เป็นต้น

แต่ความเป็นจริงแล้ว เรื่องราวในโลกนี้เป็นความจริง ทั้งที่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยประสาทสัมผัส และที่อยู่นอกเหนือประสาทสัมผัส เช่น เรื่องราวในเรื่องอิทธิฤทธิ์ปาฎิหาริย์ และ กฎแห่งกรรม ที่เป็นความจริงที่ไม่อาจสามารถพิสูจน์ได้เพียงประสาทสัมผัสเท่านั้น แต่จะต้องมีความรู้ที่นอกเหนือพิเศษจากประสาทสัมผัสธรรมดา คือ อภิญญาด้วย จึงจะสามารถพิสูจน์ได้ คำว่า “อภิญญา” แปลว่า ความรู้ยิ่งยวด มี 6 อย่างด้วยกันคือ อิทธิวิธี ทิพยโสต เจโตปริยญาณ บุพเพนิวาสานุสติญาณ ทิพพจักขุ และอาสวักขยญาณ


ดังนั้นแม้ว่า “กรรม” จะส่งผลต่อสุขภาพร่างกายหรือธาตุขันธ์ในความเป็นมนุษย์ จนเกิดเวทนาอย่างแรงกล้า เราก็ต้องอดทนและต้องเข้าใจว่า”สัตย์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม” แต่ไม่ได้หมายความว่า เราจะงอมืองอเท้ารอรับ “ชะตากรรม” แต่เพียงอย่างเดียว จนกลายเป็นคนสิ้นคิดไม่หาหนทางแก้ไขชีวิตของตนให้ดีขึ้น ถ้าเป็นเช่นนั้นท่านก็คงเสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์ที่เป็นสัตว์อันประเสริฐเสียแล้ว ดังนั้นถึงแม้จะมองไม่เห็นทางก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะยอมจำนนต่อกรรมนั้นเอาง่าย ๆ เราจะต้องพยายามหาหนทางแก้ไขให้ดียิ่งขึ้นให้ได้ วิธีการเบื้องต้นง่าย ๆ ก็คือ การสร้างกรรมใหม่เพื่อเบี่ยงเบนกรรมเก่าที่กำลังให้ผลให้อ่อนตัวลงไป


ถ้าวันหนึ่งวันใดชีวิตของเราต้องผกผันตกต่ำ ด้อยโอกาสในวาสนาบารมี จะได้ไม่เกิดท้อใจ จนย่อหย่อนในการดำเนินชีวิต ปล่อยชีวิตให้ระหกระเหินตกต่ำโดยไม่คิดสู้ ยิ่งมีวิบากกรรมมากทุกข์ทรมานมาก ก็ยิ่งต้องดิ้นรนให้มาก หาทางสร้างคุณงามความดีชดเชยให้แก่เจ้ากรรมนายเวรเหล่านั้น เพราะถ้าเป็นกรรมที่เบาบางก็อาจหายไปได้ ถ้าเป็นกรรมหนักก็จะบรรเทาเบาบางลงไป


ความตาย

บทสุดท้ายสำหรับมนุษย์ก็คือ ความตาย ถือได้ว่าเป็นจุดสิ้นสุดแห่งกรรมที่สามารถเห็นได้ในปัจจุบัน และเป็นสิ่งที่มนุษย์ทั้งหลายกลัวว่าวันนั้นจะมาถึงตัว จึงพยายามทุกวิถีทางที่จะเอาชนะกฏแห่งธรรมชาติเพื่อจะอยู่เหนือความตาย แต่ดูเหมือนว่าความพยายามนั้นจะไร้ผล เพราะหลักของความตายนั้นเกิดจากเหตุ 2 ประการ คือ

1. ถึงเวลาที่จะต้องตาย
2. ยังไม่ถึงเวลาที่ต้องตาย

แต่ความจริงความตายที่เราเข้าใจก็คือการเกิดขึ้นใหม่ต่างหาก องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าได้กล่าวแสดงถึงความตายไว้ 4 ประเภทคือ

* อยุกขยะ หมายถึงตายโดยสิ้นอายุขัย

* กัมมักขยะ หมายถึงตายโดยสิ้นกรรม

* อุภยักขยะ หมายถึงตายโดยสิ้นอายุขัยและสิ้นกรรม

* อุปัจเฉทกมรณะ หมายถึงตายเพราะกรรมมาตัดรอน


โรคมิใช่เกิดจากกรรมเท่านั้น

ในอดีตความเชื่อของคนเรามีความแตกต่างกันไปตามลัทธิ ความเชื่อบางอย่างก็เป็นสิ่งที่มีเหตุผล แต่บางอย่างก็ยังไม่ถูกต้อง เช่น บางคนเชื่อว่ามนุษย์นั้นตายแล้วสูญ จึงทำอะไรก็ได้สุดแท้แต่จะพอใจ โดยไม่คำนึงถึงความถูกต้อง เพราะคิดว่าตายแล้วก็สูญไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง


แต่บางคนก็เชื่อว่าตายแล้วไม่สูญ ชีวิตหลังความตายยังมีสิ่งที่เร้นลับรอเราอยู่ จึงไม่กล้าทำสิ่งที่ผิดศีลผิดธรรม นอกจากนี้ก็ยังมีความเชื่อที่ผิด ๆ ปนแทรกเข้ามาในชีวิตอีกมากมาย จนกลายเป็นความเชื่อตามลัทธิที่ผิดไปจากหลักแห่งกรรมคือ

1. ปุพเพกตวาท เชื่อว่าเป็นเรื่องของกรรมเก่า ความจริงแล้วยังมีกรรมใหม่ที่มาเกี่ยวข้องอีกต่างหาก จึงถูกเพียงบางส่วน
2. อิศวรนิรมิตวาท เชื่อว่าเทพบันดาล บางคนเชื่อว่าทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตย่อมเป็นไปตามเทพบั นดาล
3. อเหตุวาท เชื่อว่าเป็นไปตามดวง บางคนเชื่อว่าทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตย่อมเป็นไปตามโชคชะตาหรือฟ้าลิขิต


องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้กล่าวว่า หากใครเห็นว่าโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้น เกิดมาจากกรรมทั้งสิ้น ย่อมเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เพราะโรคภัยไข้เจ็บนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ กรรมเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั้น ในทางพระพุทธศานาได้แบ่งกฎเกณฑ์การเจ็บป่วยไว้อย่างแยบคาย 5 ประการดังนี้

อุตุนิยาม เป็นกฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับสภาพดินฟ้าอากาศและสิ่งแวดล้อม เช่น ร้อนหรือหนาวเกินไป อุทกภัย วาตภัย

พีชนิยาม เป็นกฎธรรมชาติของพืชพันธ์ หรือ พันธุกรรม เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคเอดส์ ที่สามารถถ่ายทอดได้กรรมพันธ์

จิตตนิยาม เป็นกฎธรรมชาติเกี่ยวกับสภาพจิตใจ หรืออุปทานความนึกคิดที่อาจปรุงแต่งจนเกินไปได้ อาจมีผลกระทบต่อภาวะร่างกาย

กรรมนิยาม เป็นกฎธรรมชาติเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ ที่เกิดจากการกระทำหรือการแสดงเจตนา เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์โดยตรง

ธรรมนิยาม เป็นกฎที่ว่าด้วยเรื่องเหตุและผล เช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วดับไป


หลักของการเผชิญกรรม

ในเมื่อเรารู้จักความน่ากลัวของกรรมแล้ว ก็ควรใช้สติป้ญญาในการแก้ไขวิบากกรรมเหล่านั้นให้บรรเทาเบาบางลงไป เมื่อไม่รู้ก็หาผู้รู้ชี้แนะแนวทางให้ เพื่อจะได้ไม่เสียเวลาปล่อยให้กาลเวลาผ่านไปโดยไม่เกิดประโยชน์ ดังนั้นจึงขอชี้แนะหนทางหรือแนวทางการแก้ไขวิบากกรรมดังนี้

1. สติป้ญญา ในกรณีที่กรรมดีกำลังให้ผล ก็อย่าหลงระเริงจนตกอยู่ในความประมาท หมั่นทำบุญให้ทาน รักษาศึล ภาวนา อยู่เนืองนิตย์แต่ในขณะเดียวกันเมื่อตกอยู่ในวิบากกรรม ก็อย่าท้อแท้จนสิ้นหวัง คิดมากเกินไปจนเกิดความเครียดจนกลายเป็นโรคประสาท อาจทำให้ขาดสติและป้ญญา เพ้อคลั่งอารมณ์ฉุนเฉียวจนเกินเหตุ และแก้ไขโดยวิธีที่ผิด

2. เจริญภาวนา การเจริญพระกรรมฐานก็เป็นหนทางหนึ่งในการสร้างบุญบารมีให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เหมือนทำดีหนีชั่ว เพราะถ้าผู้ใดปฏิบัติจนได้ฌาณสมาบัติ ร่างกายจะหยุดทำงานชั่วคราว เป็นการแยกกายกับจิตออกจากกัน จนเป็นเหตุให้กายระงับพ้นจากวิบากกรรมไปชั่วขณะ จนผ่านพ้นช่วงวิบากกรรมไปตามวาระ อีกทั้งเป็นการสร้างกรรมใหม่ที่ดี ยังให้เกิดกุศลกรรมเพิ่มขึ้นอีกด้วย ทำให้วิบากกรรมไม่อาจให้ผลได้ในช่วงขณะนี้ ดังนั้นวัดและสำนักปฏิบัติธรรมทั้งหลายจึงเป็นแหล่งที่จะช่วยให้พ้นจากกรรมวิบัติที่เกิดขึ้นได้

3.การแทรกแซงกรรม คือการแก้ไขวิบากกรรมให้เบาบางลงไป โดยพิจารณาว่าอกุศลกรรมใดกำลังให้ผลเราอยู่ และควรแก้ไขโดยวิธีใดวิธีหนึ่งที่เหมาะสม เพื่อคลายกรรมนั้น เช่น การถวายสังฆทาน ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ บวชชีพราหมณ์ สร้างพระพุทธรูป อุทิศส่วนกุศลแก้แก่เจ้ากรรมนายเวรที่กำลังให้ผลเราอยู่ในขณะนั้น ดังนั้นการสร้างกุศลเป็นพิเศษในช่วงนี้ จึงเป็นการเข้าไปแทรกแซงผลของกรรม หรือขออโหสิกรรมซึ่งกันและกัน ถ้าหากเจ้ากรรมนายเวรยอมรับก็จะคลายกรรมให้เราเอง

เนื่องจากกรรมทั้งหลายมากันต่างกรรมต่างวาระ บางครั้งก็หนัก บางครั้งก็เบา และส่งผลไม่พร้อมเพรียงกัน ขึ้นอยู่กับเจตนาของผู้กระทำ และความบริสุทธิ์ของผู้ถูกกระทำ เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย

4. การคลายขันธ์ คือการปรับธาตุทั้ง 4 ในร่างกายให้เป็นปกติ ยามเมื่อเราเจริญสมาธิภาวนา เบญจขันธ์ อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จะได้รับการผ่อนคลายระงับอยู่ในช่วงขณะหนึ่ง กรรมเล็กกรรมน้อยที่มีอยู่จะถูกขับออกจากขันธ์โดยการผ่อนคลายบางส่วนให้ แต่ก็จะทำให้เรารู้สึกดีขึ้นบ้างแต่ไม่ใช่ทั้งหมด และจะเกิดปิติสุขติดตามมา


ขุททกาปิติ
คลายขันธ์ที่ระบบประสาททั้ง 5
มีอาการน้ำตาไหล ขนลุกชูชัน

ขณิกาปิติ
คลายขันธ์ในเส้นประสาทภายใน
รู้สึกแปลบ ๆ

โอกันตปิติ
คลายขันธ์ตามเซลล์
รู้สึกซู่ซ่าแผ่ซ่านไปทั้งตัว

อุเพ็งคาปิติ
คลายขันธ์ในโครงสร้าง
รู้สึกตัวลอยขึ้นจากพื้น

พรรณาปิติ
คลายขันธ์ตามอวัยวะต่าง ๆ
รู้สึกเย็นเอิบอาบไปทั่วทั้งตัว


5. ก้าวล่วงกรรม คนเราบางคนในอดีตเคยกระทำกรรมบางอย่างที่เป็นมโนกรรม โดยมีตนเองเป็นเจ้ากรรมนายเวร คิดถึงความผิดพลาดในอดีต แล้วเกิดทุกข์ใจ ทำให้จิตใจเศร้าหมอง ทุกข์อยู่คนเดียว หากเราสำนึกผิดและคิดว่าจะไม่กระทำอีก พระพุทธองค์ทรงแนะนำให้ใช้ การอธิษฐานจิตออกจากกรรมเอง โดยการให้สัจจะว่า จะไม่คิดทำกรรมชนิดนี้อีกต่อไป

6. การอโหสิกรรม หรือการให้อภัยทาน เป็นผลให้กรรมนั้นเป็นโมฆะกรรม หลุดพ้นจากบ่วงกรรมนั้นทันที ดังนั้นหากเจ้ากรรมนายเวรใดมาก่อนปรากฏตนต่อหน้าในขณะนั้น ก็พึงประกาศขออโหสิกรรม ให้อภัยซึ่งกันและกันถ้ายินยอมกรรมนั้นก็หลุดไป ถ้าไม่ยินยอมแม้เราซึ่งเป็นลูกกรรมจะขอแล้ว กรรมนั้นย่อมจะส่งผลต่อไป สุดแท้แต่ลักษณะกรรมที่กระทำกันมา



เรื่องของกรรมในอดีต

วิบากกรรมของพระพุทธเจ้า

ก่อนที่เราจะได้ศึกษาถึงเรื่องของกรรมกันต่อไป ก็อยากขอหยิบยกเรื่องราวเกี่ยวกับวิบากกรรมที่ปรากฏในครั้งพุทธกาล เพื่อเป็นอุทาหรณ์เตือนใจเราท่านทั้งหลาย ว่าเรื่องของกรรมเป็นเรื่องสำคัญเพียงไร

แม้องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้พระอนุตรสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว กรรมในปุเรนชาติก็ยังติดตามให้ผลจนถึงวาระสุดท้ายก่อนดับขันธปรินิพพาน ดังที่ตรัสเล่าไว้ใน พุทธปาทาน ว่า

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงฟังถึงกรรมที่เราได้กระทำไว้แล้ว"

เราเห็นภิกษุผู้อยู่ป่ารูปหนึ่ง จึงได้ถวายผ้าท่อนเก่า ในกาลนั้นเราปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าเป็นครั้งแรก ผลแห่งกรรมอันเนื่องด้วยผ้าท่อนเก่านั้น ได้สำเร็จแม้ในความเป็นพระพุทธเจ้า

เราเคยเป็นนักเลงสุราชื่อ ปุนาลิ ในชาติก่อน ๆ ได้กล่าวใส่ความพระปัจเจกพุทธเจ้าพระนามว่า สุรภี ผู้มิได้ทุษร้าย ผลแห่งกรรมนั้น เราจึงท่องเที่ยวไปในนรกสิ้นกาลนาน เสวยทุกขเวทนาสิ้นพันปีเป็นอันมาก ด้วยกรรมที่เหลือนั้น ในภพสุดท้ายนี้ก็ถูกใส่ความ เพราะเหตุนางสุนทริกา


ในกาลก่อนเราได้เคยฆ่าน้องชายต่างมารดา ด้วยเหตุแห่งทรัพย์ ผลักลงในซอกเขาเอาหินทุ่ม ด้วยผลแห่งกรรมนั้น เทวทัตจึงเอาหินทุ่มเราสะเก็ดหินมาถูกหัวแม่เท้าเรา

เราเคยเป็นเด็กในหมู่บ้านชาวประมง เห็นชาวประมงฆ่าปลา ก็มีความชื่นชอบ ด้วยผลแห่งกรรมนั้น เราจึงเกิดการเจ็บที่ศรีษะ

เราเป็นผู้มีชื่อว่า โชติปาละ ได้เคยกล่าวกับพระสุคตพระนามกัสสปะว่า การตรัสรู้เป็นได้โดยยาก ท่านจะได้จากต้นไม้ที่ไหนกัน ด้วยผลแห่งกรรมนั้น เราได้บำเพ็ญทุกรกิริยาเป็นอันมาก สิ้นเวลา 6 ปี ต่อจากนั้นจึงได้บรรลุการตรัสรู้ เรามิได้บรรลุการตรัสรู้โดยตรง ได้แสวงหาไปในทางที่ผิด เพราะถูกกรรมเก่าทวงเอา

เราสิ้นบุญสิ้นบาปแล้ว เว้นแล้วแต่จากความเดือดร้อนทั้งปวง ไม่มีความโศก ไม่มีความคับแค้น ปราศจากอาสวะ จักปรินิพพาน


เราจะเห็นได้ว่าแม้องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นบรมศาสดาของเรา ก็ยังมิอาจหลีกเลี่ยงผลของกรรมที่ตนได้กระทำไว้ แม้ยินดีในการฆ่าปลาของเขา ยังต้องรับผลมโนกรรมนั้นด้วยการปวดศรีษะ แม้ได้กล่าวร้ายต่อผู้อื่นไว้ก็จะต้องถูกใส่ร้ายในชาตินี้ กรรมสนองกรรมจึงเป็นกลไกที่สลับซับซ้อนเกินกว่าจะคิดถึง


อิทธิฤทธิ์ก็ยังแพ้กรรม แม้จะมีฤทธิ์อำนาจขนาดไหน ก็ไม่มีใครหนีกฏแห่งกรรมพ้นได้ เช่น พระโมคคัลลานะ อัครสาวกฝ่ายซ้าย อรหันต์ผู้เรืองฤทธิ์ ขนาดม้วนแผ่นดิน ยกภูเขาทั้งลูกได้ สามารถเหาะไปเที่ยวสวรรค์หรือนรกได้ ประสานกระดูกที่แตกหักให้ติดกันได้ ก็ยังถูกวิบากกรรมติดตามทวงเอาในปั้นปลายชีวิต


สมัยที่ท่านมีชาติกำเนิดเป็นชาวบ้าน พ่อแม่ตาบอดทั้งสองข้าง แต่ท่านยังตาบอดยิ่งกว่าทั้งที่ตาดี เพราะหลงเมียจนลืมพระคุณพ่อแม่ ด้วยเหตุที่เมียรังเกียจพ่อแม่ที่ตาบอด จึงแสร้งหาเหตุใส่ร้ายป้ายสีต่าง ๆ นา ๆ แล้วตีอกชกตัวเองร่ำไห้ฟ้องสามี และแนะนำให้พาพ่อแม่ที่ตาบอดไปฆ่าทิ้งในป่า ทิ้งร้างให้สัตว์ร้ายกิน เหมือนหนึ่งว่าสัตว์ทำร้ายถึงแก่ชีวิต ฝ่ายสามีก็หลงเชื่อ นำพ่อแม่ขึ้นเกวียนทำทีไปทำกิจที่อื่น พอถึงกลางป่าก็ทำเป็นเสียงโจรเข้าปล้น แล้วลงมือทุบตีพ่อแม่หมายให้ตายอแทนที่พ่อแม่จะร้องให้ลูกช่วย กลับบอกให้ลูกไปเสียไม่ต้องเป็นห่วง เพราะตนเองก็ตาบอด ส่วนลูกยังมีภาระครอบครัวที่จะต้องรับผิดชอบอยู่ จงหนีไปเสีย ทำให้ท่านฆ่าไม่ลง ทำทีเป็นขับไล่โจรให้หนีไป กลับนำพ่อแม่มาเลี้ยงดูตามเดิม

ผลจากกรรมนั้นทำให้ท่านถูกทุบตีตายมาถึงห้าร้อยชาติ ดีแต่ว่ายังไม่พลั้งมือทำร้ายพ่อแม่ถึงตาย ถือเป็นอนันตริยกรรม คือห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพาน เพราะยั้งมือไว้ทันไม่ได้ถึงขั้นฆ่า นำลับมาเลี้ยงดูตามเดิม จึงทำให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในชาติสุดท้าย เข้าสู่พระนิพพานได้ แต่ก็ถูกโจรป่ารุมทำร้ายกระดูกแหลกละเอียด และเข้าใจว่าท่านตายก็เลยทิ้งไว้ในป่า ท่านก็อาศัยอิทธิฤทธิ์ประสานกระดูกร่างกายขึ้นมาใหม่ ไป ๆ มา ๆ ก็พบโจรเหล่านี้อีก มันก็ทำร้ายท่านอีกเหมือนเดิม จนเกิดขึ้นในครั้งที่ 3 ท่านจึงอดแปลกใจไม่ได้ว่า บุพกรรมใดหนอท่านจึงต้องถูกโจรเหล่านี้ทุบตีทำร้ายท่าน จนได้รู้ความจริงในอดีต จึงประสานกายขึ้นมามาใหม่ แล้วเหาะไปทูลลาพระพุทธเจ้าเข้าสู่พระนิพพาน


ดังนั้นเมื่อกรรมจะเริ่มให้ผลก็จะมีการเตือนกันล่วงหน้า โดยแสดงอาการผิดปกติทางจิตใจหรือทางกายให้เริ่มปรากฏ และเมื่อมันปรากฏแล้วก็ต้องรีบศึกษาทำความเข้าใจ วิเคราะห์ให้ชัดเจน เพื่อที่จะได้แก้ไขได้ทันท่วงที ไม่ใช่ปล่อยตามยถากรรม จนถูกรุมเร้าดิ้นไม่ออก ส่วนวิธีการนั้นจะได้แนะนำกันในโอกาสต่อไป


หลักการแก้ไขวิบากกรรม

เหตุแห่งกรรมนั้นไม่ใช่จะยุติกันได้ง่าย เพราะเหมือนคนสองคนมีเรื่องทะเลาะวิวาทกันและทำร้ายห้ำหั่นกันโดย โลภะ โทสะ โมหะ ตั้งแต่ทำร้ายกันด้วยคำพูด ทำร้ายร่างกาย แม้ในที่สุดทำร้ายถึงแก่ชีวิต ดังนั้นผลของกรรมย่อมแตกต่างหนักเบาไม่เท่ากัน แม้ในทางโลกก็มีการตัดสินคดีและการลงโทษที่แตกต่างกันไปตามเจตนาและลักษณะการกระทำผิด

เหตุแห่งกรรมจะระงับลงได้นั้นย่อมมีสาเหตุที่สำคัญเพียง 2 ประการเท่านั้น

กรรมนั้นให้ผลเต็มที่แล้วจึงยุติ ซึ่งแน่นอนในประการนี้ไม่มีผู้ใดปรารถนาที่จะรอให้ผลถึงที่สุดแล้วจึงยุติ มีการให้อโหสิกรรม ก่อนที่กรรมจะให้ผลเต็มที่

ดังนั้นถ้าพิจารณากันจริง ๆ แล้วจะเห็นว่าวิธีการที่เหมาะสมที่สุด คือ การให้อโหสิกรรมต่อกัน ปัญหามีอยู่ว่า เราขออโหสิกรรมได้ แต่เจ้ากรรมนายเวรจะยอมรับหรือเปล่าเท่านั้น เพราะความอาฆาตรพยาบาทมันมีมาก ก็จะทำให้เกิดเป็นมิจฉาทิฏฐิได้ คือไม่ยอมรับและให้อโหสิกรรมแน่นอน

บางคนกล่าวว่าสามารถตัดกรรมได้ ท่านว่าจริงหรือไม่? หากเป็นกรรมเบา ๆ การทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร ก็อาจจะได้ผล คือบรรเทาลงไปหรือหมดไป พระพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์ท่านยังหนีกรรมไม่พ้นเลย แล้วพวกเราปุถุชนคนกิเลสยังหนาจะพ้นได้อย่างไร ประเด็นนี้จึงเป็นไปไม่ได้ที่ใครเก่งถึงขนาดตัดกรรมของคนอื่นได้ กรรมตัวเองตัดได้หรือยัง ? ในที่นี้จึงไม่บังอาจใช้คำว่า "ตัดกรรม" แต่จะขอใช้คำว่า "แก้ไขวิบากกรรม" หมายถึงแก้ไขให้ดีขึ้นหรือหมดไป โดยอาศัยหลักธรรมขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นหลักในการแก้ไข จึงมิใช่ไสยศาสตร์ดังเช่นที่บางคนคิด ส่วนจะเป็นอย่างไรนั้นขอให้ท่านติดตามศึกษาต่อไป
แนวทางสำหรับการแก้ไขวิบากกรรมให้เบาบางลงไป

คำแนะนำในการแก้กรรม

สำหรับท่านที่ผิดพลาดไปแล้ว ก็อยากขอแนะนำหนทางแก้ไข วิบากกรรม เหล่านั้นให้บรรเทาลงไปหรือหมดไปในที่สุด ใช้ได้กับ กรรม ทุกประเภท มีข้อแนะนำดังนี้

1.ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่เจ้ากรรมนายเวรที่กำลังติดตามให้ผลเราอยู่ทุกรูปแบบ เพื่อให้ดวงวิญญาณนั้นเห็นว่า เรามีความตั้งใจจริงและสำนึกในผลกรรมที่ได้กระทำลงไป เช่น การทำบุญใส่บาตร ถวายสังฆทาน ทอดผ้าป่า ทอดกฐิน ถวายพระพุทธรูป ถวายผ้าไตร ไถ่ชีวิตสัตว์ ฯล แล้วตั้งใจกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่เจ้ากรรมนายเวรที่อยู่ในตัวของเราเท่านั้น แต่ท่านต้องเข้าใจเสียก่อนว่านี่เป็นเพียงทานกุศล เป็นกุศลเบื้องต้นที่ยังหยาบอยู่ซึ่งอาจจะไม่พอเพียงสำหรับการไถ่โทษฑัณฑ์ที่ได้กระทำผิดไว้กับเจ้ากรรมนายเวรตนนั้นก็ได้


2. การบวชพราหมณ์หรือการบวชพระ การถือศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 ศีล 227 ตามเพสภาวะ ส่วนจะเป็นการบวชกี่วันย่อมขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละบุคคล เมื่อบวชแล้วควรสวดมนต์ไหว้พระ ทำวัตรเช้า-เย็น เจริญสมาธิภาวนาให้มาก เพราะเป็นกุศลที่ละเอียดสูงกว่าการให้ทานข้างต้น เพราะการบวชชีพราหมณ์หรือการถือศีล 8 เป็นระดับของบุญที่สูงกว่าการให้ทาน นอกจากจะมีโอกาสทำวัตรเช้าเย็น ก็ยังได้นั่งสมาธิแผ่ส่วนบุญส่วนกุศลที่เป็นทิพย์ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรอีกด้วย หรือ ถ้าเป็นกรรมหนักและเป็นผู้ชายก็อาจบวชพระ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวรก็ยิ่งดีมาก


3. เจริญสมาธิภาวนา แม้เราจะไม่มีเวลาไปบวชถือศีลที่วัดก็ตาม เราก็ควรจะทำบ้านให้เป็นวัด ด้วยการสวดมนต์และเจริญสมาธิภาวนาให้เป็นนิจ เพราะบุญจากการเจริญสมาธิภาวนา เป็นกุศลที่ละเอียดมากและสูงที่สุด ซึ่งเป็นที่ปรารถนาของทุกดวงจิดดวงวิญญาณ เพราะผู้มีกายทิพย์หรือกายละเอียดย่อมอยากได้บุญที่ละเอียดเช่นกัน

อีกประการหนึ่ง จะเป็นการคลายขันธ์หรือปรับปรุงธาตุขันธ์ให้ผ่อนคลายระงับ เบญจขันธ์อันประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ กรรมเล็ก กรรมน้อย จะถูกขับผ่อนคลายออกจากขันธ์ได้บางส่วน ทำให้ดีขึ้นและเกิดปิติสุขตามมา พยายามให้จิตแน่วแน่มั่นคง จนจิตดิ่งวูบจนเกิดความสงบและสุขในใจ แล้วแผ่เมตตาให้ดวงจิตดวงวิญญาณนั้นมาอนุโมทนา และให้เป็นอโหสิกรรมต่อกัน
เพราะองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้กล่าวว่า หากเราทำจิตให้นิ่งสงบได้เพียงช้างกระดิกหู งูแลบลิ้น ย่อมสามารถปิดอบายภูมิได้ คือ ทำความดีหนีความชั่ว ดังนั้นแม้ไม่อาจจะไปบวชชีพราหมณ์ได้ ก็อยู่ปฏิบัติเอาเองที่บ้านก็ได้ แต่ขอให้ทำจริงเท่านั้น



4. การขออโหสิกรรม หรือ การให้อภัยทาน ในบรรดาทานทั้งหลายอันประกอบด้วย วัตถุทาน ธรรมทานและอภัยทาน ถือว่าอภัยทานเป็นทานในระดับปรมัตถทานบารมี หากมีการให้อโหสิกรรมซึ่งกันและกัน กรรมนั้นย่อมเป็นโมฆะ หลุดพ้นจากบ่วงกรรมนั้นทันที ดังนั้นหากเจ้ากรรมนายเวรใดปรากฏตนต่อหน้าในขณะนั้น ก็พึงประกาศขออโหสิกรรมกันทันที หากแม้ว่าอีกฝ่ายไม่ยอม กรรมนั้นก็ย่อมดำเนินการส่งผลต่อไป สุดแท้แต่ลักษณะแห่งกรรมที่กระทำกันมา

ดังนั้น ทุกครั้งที่ทำบุญแล้วให้กรวดน้ำแผ่เมตตา ระบุถึงเจ้ากรรมนายเวรที่อยู่ในตัวข้าพเจ้า หรือ ที่ติดตามข้าพเจ้า ให้มาอนุโมทนาในส่วนบุญส่วนกุศลที่ข้าพเจ้าอุทิศให้นี้ และกรรมอันใดที่ได้กระทำไปโดย เจตนาก็ดี ไม่เจตนาก็ดี รู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี ขอให้เป็นอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้าตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เพื่อเป็นการแสดงความตั้งใจที่จะอุทิศให้แก่เขาจริง ๆ และด้วยความสำนึกผิด
5.ขอร้องไกล่เกลี่ยเมื่อทำทุกอย่างที่แนะนำแล้ว เหตุการณ์รอบ ๆ ตัว หรือ สุขภาพการเจ็บป่วยไม่ดีขึ้น ก็ต้องหาคนกลางช่วยไกล่เกลี่ยให้ ดังนั้น “พระสงฆ์”ผู้ทรงศีล จึงเป็นทางออกที่ดี เพราะท่านเป็นผู้ประพฤติปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และมีศีล 227 ย่อมมีวิธีการเจรจาไกล่เกลี่ยให้ เพราะเราเป็นจำเลย แต่วิญญาณที่อาฆาตเป็นโจทก์

ดังนั้นถึงแม้เราจะพยามสร้างบุญสร้างกุศลทุกรูปแบบแล้ว เจ้ากรรมนายเวรอาจจะยังไม่ยอมก็ได้ เพราะความโกรธยังมีอยู่จึงไม่ยอมฟังเสียงร้องขอของเรา จึงจำเป็นต้องอาศัยคนกลางที่เป็นที่เคารพนับถือหรือเกรงใจกันไกล่เกลี่ยให้ โดยอาศัยจิตสำนึกในบาปบุญที่ได้กระทำมา และสร้างกุศลอยู่เสมอเป็นสำคัญ ประกอบด้วยพระสงฆ์ที่มีบุญฤทธิ์และเมตตาจิตที่แผ่เมตตาโปรดสัตว์ผู้ทุกข์ยากทั้งหลาย ให้เกิดปัญญาดวงตาเห็นธรรม จนยอมละวางและให้อโหสิกรรมต่อกัน


ท่านทั้งหลายอ่านมาถึงตรงนี้ คงจะมีคำถามมากมายว่า แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า เจ้ากรรมนายเวรยอมอโหสิกรรมให้ ถ้าท่านอยากทราบคำตอบสุดท้ายตรงนี้ ก็ต้องติดตามเรื่องราวต่าง ๆ ทุกตัวอักษร แล้วท่านจะได้รับคำตอบที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมที่ท่านสามารถพิสูจน์ได้ด้วยตนเอง แล้วจะเข้าใจเรื่องราวของ “กรรม” ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น อาจทำให้ท่านเกิดความรู้สึกกลัว “กรรม” กว่าที่เคยกลัวมาว่า “เจ้ากรรมนายเวร” ไม่ใช่แค่คำพูดที่ไว้หลอกคนให้กลัว แต่เป็นเรื่องจริง ๆ ที่ยังไม่เคยได้รับคำอธิบายให้ชัดเจนจากที่ไหนมาก่อนเท่านั้น
เจ้ากรรมนายเวร ก็คือ ดวงจิตดวงวิญญาณที่มีความอาฆาตพยาบาทกันมาแต่อดีตถึงปัจจุบัน จะมากหรือน้อยก็ย่อมขึ้นอยู่กับ บุพกรรม ของแต่ละคน บางดวงจิตดวงวิญญาณหากมาจุติเป็นมนุษย์เหมือนกัน ก็จะคอยจองล้างจองพลาญ หาทางทำลายเราในทุกโอกาสทุกสถานที่ในรูปแบบต่าง ๆ กัน ต่างกรรมต่างวาระ จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้ชีวิตของเราแปรเปลี่ยนไป หมุนเวียนกันไป ดีบ้างแย่บ้าง สุดแท้แต่กรรมดีหรือกรรมชั่วจะส่งผล

ดังนั้น เพื่อความไม่ประมาท เราจึงควรสั่งสมบุญไว้ หมั่นให้ทาน รักษาศีล เจริญสมาธิภาวนา เอาบุญเป็นตัวนำ เพื่อถ่วงดุลความชั่วให้ส่งผลช้าหรือไม่สามารถให้ผลได้ทัน เพราะน้ำหนักบุญมากกว่าน้ำหนักบาปนั่นเอง


ประเภทแห่งกรรม สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท นั่นคือ

1. กรรมที่ว่าโดยหน้าที่
2. กรรมที่ว่าโดยลำดับการให้ผล
3. กรรมที่ว่าโดยเวลาให้ผล



22228  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ประวัติความเป็นมาของนางภิกษุณี เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2010, 03:49:16 pm

ประวัติความเป็นมาของนางภิกษุณี
             
(จากวินัยปิฎก เล่ม ๗ หน้า ๓๒๐ ถึง ๓๒๖)

              (๑) พระนางมหาปชาบดี โคตมี ทูลขอบรรพชาไม่สำเร็จ
              สมัยเมื่อพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในนิโครธาราม ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ พระนางมหาปชาบดี โคตมี๑ เข้าไปเฝ้า ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วประทับยืน ณ ส่วนข้างหนึ่ง กราบทูลขอบรรพชาเป็นอนาคาริยะ (ไม่ครองเรือน) ในพระธรรมวินัย ซึ่งพระตถาคตเจ้าประกาศแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสห้ามไว้ว่า อย่าเลย ท่านเป็นมาตุคาม๒ อย่าพอใจบรรพชาเป็นอนาคาริยะในพระธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วเลย แม้ครั้งที่สอง ครั้งที่สาม พระนางมหาปชาบดี โคตมี กราบทูลขอบรรพชา พระผู้มีพระภาคก็ตรัสห้ามอย่างนั้น.

              เมื่อพระนางมหาปชาบดี โคตมี เห็นว่า พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาตอนาคาริยบรรพชาในพระธรรมวินัย ซึ่งพระตถาคตเจ้าประกาศแล้วแก่มาตุคาม ก็ระทมทุกข์เสียพระทัย มีพระพักตร์นองด้วยน้ำพระเนตร ทรงกันแสง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณ (คือดำเนินเวียนขวา) แล้วเสด็จหลีกไป.
              เมื่อพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกรุงกบิลพัสดุ์ตามพระพุทธอัธยาศัยแล้ว ก็เสด็จจาริกไปโดยลำดับ ทางกรุงเวสาลี ทรงแวะ ณ กรุงเวสาลีนั้น ประทับ ณ กูฏาคารศาลา (ศาลาเรือนยอด) ป่ามหาวัน.


              (๒) ความพยายามอีกครั้งหนึ่งของพระนาง
              ลำดับนั้น พระนางมหาปชาบดี โคตมี ทรงปลงพระเกศา นุ่งห่มกาสาวพัสตร์ เสด็จพร้อมด้วยเจ้าหญิงศากยะเป็นอันมาก เดินทางไปยังกรุงเวสาลีโดยลำดับ เสด็จเข้าไปยังกูฏคารศาลา ป่ามหาวัน. ครั้งนั้นพระนางมหาปชาบดี โคตมี มีพระบาทเปล่า (ไม่สวมรองเท้า) มีพระกายอันมัวมอมด้วยฝุ่นละออง ระทมทุกข์ เสียพระทัย มีพระพักตร์นองด้วยน้ำพระเนตร ทรงกันแสง ประทับยืน ณ ภายนอกซุ้มประตู.

              (๓) พระอานนทเถระช่วยเหลือ
              พระอนนท์ผู้มีอายุ ได้เห็นพระนางมหาปชาบดี โคตมี ในลักษณาการดั่งกล่าว ถามทราบความว่า พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาตอนาคาริยบรรพชาในพระธรรมวินัย อันพระตถาคตเจ้าประกาศแล้วแก่มาตุคาม จึงทูลว่า ถ้าอย่างนั้น จงทรงคอยอยู่ที่นี่ก่อน จนกว่าจะทูลขอพระผู้มีพระภาคให้ประทานอนาคาริยบรรพชาแก่มาตุคาม.
 
              ลำดับนั้น พระอานนท์ผู้มีอายุ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคม นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่งแล้ว จึงกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า "พระเจ้าข้า พระนางมหาปชาบดี โคตมี ทรงมีพระบาทเปล่า มีพระกายอันมัวมอมด้วยฝุ่นละออง ทรงระทมทุกข์ เสียพระทัย มีพระพักตร์นองด้วยน้ำพระเนตร ทรงกันแสง ประทับยืน ณ ภายนอกซุ้มประตูนั้น ด้วยทรงคิดว่า พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาตอนาคาริยบรรพชาแก่มาตุคาม โปรดเถิด พระเจ้าข้า ขอให้มาตุคามได้อนาคาริยบรรพชาในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้วเถิด." พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "ดูก่อนพระอานนท์ อย่าเลย ท่านอย่าพอใจอนาคาริยบรรพชาของมาตุคามในพระธรรมวินัยอันตถาคตประกาศแล้วเลย ." แม้ครั้งที่สอง ครั้งที่สาม พระอานนท์ทูลขอ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสห้ามอย่างนั้น.
              ลำดับนั้น พระอานนท์ผู้มีอายุ จึงกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า "พระเจ้าข้า มาตุคามบวชเป็นอนาคาริยะในพระธรรมวินัยอันพระตถาคตเจ้าประกาศแล้ว จะควรหรือไม่ที่จะทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล" พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ควร พระอานนท์กราบทูลต่อไปว่า ถ้าควร พระนางมหาปชาบดี โคตมี พระน้านางของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้มีอุปการะมาก เป็นผู้ปกป้องเลี้ยงดูถวายพระขีระ เมื่อพระพุทธมารดาสวรรคตแล้ว ก็ได้ให้พระผู้มีพระภาคทรงดื่มพระขีระ โปรดเถิด พระเจ้าข้า ขอให้มาตุคามได้อนาคาริยบรรพชาในพระธรรมวินัยอันพระตถาคตเจ้าประกาศแล้ว เถิด."

 
              (๔)พระพุทธเจ้าประทานอนุญาตภิกษุณีบรรพชาโดยมีเงื่อนไข
              พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "ดูก่อนอานนท์ ถ้าพระนางมหาปชาบดี โคตมี จะทรงรับครุธรรม ๘ ประการได้ นั้นก็จงเป็นอุปสัมปทา (การบวช) ของพระนางเถิด คือ
              ๑. นางภิกษุณีแม้บวชแล้ว ๑๐๐ ปี ต้องทำอภิวาท การลุกขึ้นต้อนรับ อัญชลีธรรม และสามีจิกรรมแก่ภิกษุผู้บวชในวันนั้น นี้เป็นธรรมที่นางภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ก้าวล่วงจนตลอดชีวิต.
              ๒. นางภิกษุณีไม่พึงจำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ นี้เป็นธรรมที่นางภิกษุณีพึงสักการะ เคารพนับถือ บูชา ไม่ก้าวล่วงจนตลอดชีวิต.
              ๓. นางภิกษุณีพึงหวังธรรม ๒ อย่างจากภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน คือการถามวันอุโบสถ กับ การเข้าไปหา เพื่อรับโอวาท นี้เป็นธรรมที่นางภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ก้าวล่วงจนตลอดชีวิต.
              ๔. นางภิกษุณีจำพรรษาแล้ว พึงปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย (ภิกษุสงฆ์ และภิกษุณีสงฆ์) ด้วยฐานะ ๓ คือ ด้วยได้เห็น หรือ ด้วยได้ฟัง หรือ ด้วยนึกรังเกียจ นี้เป็นธรรมที่นางภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ก้าวล่วงจนตลอดชีวิต.
              ๕. นางภิกษุณีทีต้องครุธรรม (ต้องอาบัติสังฆาทิเสส) พึงประพฤติมานัตต์ตลอดปักษ์ในสงฆ์ ๒ ฝ่าย นี้เป็นธรรมที่นางภิกษุณีพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ก้าวล่วงจนตลอดชีวิต.
              ๖. นางสิกขมานา (สตรีผู้ก่อนเป็นนางภิกษุณี ต้องเป็นนางสิขมานา แปลว่า ผู้ศึกษา) ได้ศึกษาสิกขาในธรรม ๖ ประการตลอด ๒ ปีแล้ว จึงควรแสวงหาอุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย(คือก่อนจะบวชเป็นนางภิกษุณี จะต้องเป็นนางสิกขมานา ๒ ปี ระหว่าง ๒ ปี รักษาศีล ๖ ข้อ ขาดไม่ได้ ศีล ๖ ข้อ คือ ศีล ๕ กับเพิ่มข้อที่ ๖ อันได้แก่การเว้นบริโภคอาหารในเวลาวิกาล) นี้เป็นธรรมที่นางภิกษุณีพึงสักการะ เคารพนับถือ บูชา ไม่ก้าวล่วงจนตลอดชีวิต.
              ๗. นางภิกษุณี ไม่พึงด่า ไม่พึงบริภาษภิกษุด้วยปริยายใด ๆ นี้เป็นธรรมที่นางภิกษุณีพึงสักการะเคารพ บูชา ไม่ก้าวล่วงจนตลอดชีวิต.
              ๘. จำเดิมแต่วันนี้ไป ห้ามนางภิกษุณีว่ากล่าวสั่งสอนภิกษุ ไม่ห้ามภิกษุกล่าวสั่งสอนนางภิกษุณี นี้เป็นธรรมที่นางภิกษุณีพึงสักการะ นับถือ เคารพ บูชา ไม่ก้าวล่วงจนตลอดชีวิต.
              ดูก่อนอานนท์ ถ้าพระนางมหาปชาบดี โคตมี รับครุธรรม ๘ ประการเหล่านี้ได้ นั้นก็จงเป็นอุปสัมปทา (การบวช) ของพระนางเถิด."

              (๕) พระอานนท์จำครุธรรมไปบอก
              ลำดับนั้น พระอานนท์ผู้มีอายุ เรียนครุธรรม ๘ ประการในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ก็เข้าไปเฝ้าพระนางมหาปชาบดี โคตมี แล้วกล่าวว่า "พระนางโคตมี ถ้าพระนางจะพึงรับครุธรรม ๘ ประการได้ นั้นก็จักเป็นอุปสัมปทา(การบวช) ของพระนาง คือ (มีข้อความเหมือนข้างต้น)."

              (๖) พระนางมหาปชาบดี โคตมี ทรงรับ
              พระนางมหาปชาบดี โคตมี ทูลตอบว่า "ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ หญิง หรือชายรุ่นหนุ่มสาว รักการประดับ สนานศีรษะแล้ว ได้พวงมาลัยดอกอุบลก็ดี พวงมาลัยดอกมะลิก็ดี พวงมาลัยดอกลำดวนก็ดี พึงประดิษฐานไว้บนกระหม่อม บนศีรษะฉันใด ข้าพเจ้าก็ฉันนั้น จะรับครุธรรม ๘ ประการเหล่านี้ไว้ ไม่ก้าวล่วงจนตลอดชีวิต."



ที่มา พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน ของ อ.สุชีพ  ปุญญานุภาพ
-------------------------------------------------------------------

ภิกษุณี

(คัดลอกบางส่วน มาจาก  http://www.84000.org/one/2/00.html)

ในคราวนั้น พระพุทธเจ้าได้ตรัสแก่พระอานนท์ว่า การให้สตรีบวชและเป็นเหตุให้
พรหมจรรย์ คือ พระศาสนาหรือสัทธรรมตั้งอยู่ไม่ได้ยั่งยืนจะมีอายุสั้นเข้าเปรียบเหมือนตระกูลที่มีบุรุษน้อยมีสตรีมากถูกผู้ร้ายทำลายได้ง่าย หรือเหมือนนาข้าวที่มีหนอนขยอกลง หรือเหมือนไร่อ้อยที่มีเพลี้ยลง ย่อมอยู่ได้ไม่ยืนนาน

พระองค์ทรงบัญญัติครุธรรม ๘ ประการ กำกับไว้ก็เพื่อเป็น
หลักคุ้มกันพระศาสนาเหมือนสร้างคันกั้นสระใหญ่ไว้ก่อน เพื่อกันไม่ให้น้ำไหลล้นออกไป
(พระศาสนาจักอยู่ได้ยั่งยืนเช่นเดิม) และได้ทรงแสดงเหตุผลที่ไม่ให้ภิกษุไว้ภิกษุณี
ให้ภิกษุณีไว้ภิกษุได้ฝ่ายเดียว เพราะนักบวชในลัทธิศาสนาอื่นทั้งหลาย ไม่มีใครไหว้สตรีกันเลย

กล่าวโดยสรุปว่า หากถือเหตุผลทางด้านสภาพสังคมศาสนาแล้ว จะไม่ทรงอนุญาตให้สตรีบวชเลย แต่ด้วยเหตุผลในด้านความสามารถโดยธรรมชาติ จึงทรงอนุญาตให้สตรีบวชได้
เมื่อภิกษุณีสงฆ์ เกิดขึ้นแล้ว สตรีที่จะบวชต่อมาต้องเป็น สิกขมานา รักษาศีล ๖ ( คือ ๖
ข้อแรกในศีล ๑๐) ไม่ให้ขาดเลยตลอด ๒ ปีก่อน จึงขออุปสมบทได้ และต้องรับการอุปสมบทโดยสงฆ์สองฝ่าย คือ บวชโดยภิกษุณีสงฆ์แล้ว ต้องบวชโดยภิกษุสงฆ์ เจริญแพร่หลายในชมพูทวีปอยู่ช้านาน เป็นแห่งให้การศึกษาแหล่งใหญ่แก่สตรีทั้งหลาย

ภิกษุณีสงฆ์ประดิษฐานในลังกาทวีป ในรัชการของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ โดยพระ
สังฆมิตตาเถรี พระราชธิดาของพระเจ้าอโศกมหาราช เดินทางจากชมพูทวีปมาประกอบ
อุปสมบทกรรมแก่นางอนุฬาเทวี ชายาของพระเจ้ามหานาค อนุชาของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ พร้อมด้วยสตรีอื่นอีก ๑,๐๐๐ คน

ภิกษุณีสงฆ์เจริญรุ่งเรืองในลังกาทวีปยาวนานไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐ ปี แต่ในที่สุดได้สูญ
สิ้นไปด้วยเหตุใด สากลใดไม่ปรากฏชัด ส่วนในประเทศไทยไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้เคยมีการประดิษฐานภิกษุณีสงฆ์

22229  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / วันมาฆบูชา โอวาทปาฏิโมกข์ สำคัญอย่างไร แล้วควรปฏิบัติตนอย่างไร สวดมนต์บทไหน เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2010, 10:35:22 am

วันมาฆบูชา โอวาทปาฏิโมกข์ สำคัญอย่างไร แล้วควรปฏิบัติตนอย่างไร สวดมนต์บทไหน

พระพุทธบาทห้วยต้ม จ.ลำพูน


 วันมาฆบูชา เดิมเรียกว่า วันมาฆปุณณมี หมายถึง วันที่พระจันทร์เพ็ญเต็มดวงในเดือนมาฆะ ส่วนมาฆบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือนมาฆะ คือ วันเพ็ญ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ซึ่งวันมาฆบูชานี้ เราทราบกันว่า เป็นวันที่พระภิกษุ ๑๒๕๐ รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย และมีเหตุอัศจรรย์พร้อมกัน ๔ ประการ เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต การประชุมพร้อมกันด้วย องค์ ๔ และในวันนี้ พระพุทธเจ้าทรงกระทำวิสุทธิอุโบสถ ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ซึ่งเราถือกันว่า เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา     

ความสำคัญ

             วันมาฆบูชา ประกอบด้วยเหตุสำคัญ ๓ ประการ คือ
    ๑. เป็นวันที่พระสารีบุตร บรรลุอรหัตผล ที่ถ้ำสุกรขาตา หลังจากบวชได้ ๑๕ วัน
     ๒. เป็นวันประชุมสงฆ์ครั้งใหญ่ ถึง ๑,๒๕๐ รูป และพระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ประกาศหลักการ วิธีการ อุดมการณ์ของพระพุทธศาสนา
     ๓. พระพุทธเจ้าทรงตั้งพระอัครสาวก คือพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ

         ส่วนใหญ่เราจะทราบกันแต่เพียงว่า เป็นวันจาตุรงคสันนิบาต พระสงฆ์มาประชุมกัน ๑,๒๕๐ รูป และพระพุทธเจ้า ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ จึงควรทราบเพิ่มเติมดังนี้

          พระ พุทธองค์ ทรงเสด็จลงจากภูเขาคิชฌกูฏ เพื่อไปยังพระวิหารเวฬุวัน หลังจากที่ทรงแสดงธรรมโปรด ทีฆนขปริพาชก แล้ว ซึ่งพระสารีบุตร ก็ได้บรรลุพระอรหันต์ ด้วยพระธรรมเทศนานั้นเช่นกัน พระพุทธองค์เสด็จมายัง พระวิหาร ทรงประชุมพระสาวก ซึ่งมีมหาสันนิบาตประกอบด้วยองค์ ๔ คือ
       
    ๑. วันนั้น เป็นวันอุโบสถ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ประกอบด้วยมาฆนักษัตร (ดวงจันทร์เต็มดวงในเดือนมาฆะ)
    ๒. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมกันตามธรรมดาของตน โดยมิได้ นัดหมาย
    ๓ .พระสงฆ์เหล่านั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา ๖ ไม่มีแม้ สักรูปหนึ่งที่เป็นปุถุชน หรือพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ผู้สุกขวิปัสสกะ
    ๔. พระสงฆ์เหล่านั้น เป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา คือพระพุทธเจ้า ทรง อุปสมบทให้ทั้งสิ้น

 
พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร



โอวาทปาติโมกข์

ความหมายของคำว่า ปาติโมกข์

        คำว่า ปาตี ได้แก่ การตกไป เช่น การตกไปในสังสารวัฏ การตกไปในกิเลส การตกไปในห้วงความทุกข์ และอบายทั้งหลาย ดังนั้น ปาตี จึงเป็นชื่อของปุถุชน ทั้งหลายผู้ตกไปในสังสารวัฏ กิเลส ความทุกข์ และอบายทั้งหลาย
        คำว่า โมกฺข ได้แก่ การหลุดพ้น เครื่องหลุดพ้น ซึ่งหมายถึง นิพพาน

         เพราะฉะนั้น คำว่า ปาติโมกข์ จึงแปลว่า ความหลุดพ้นจากกิเลส และความทุกข์ทั้งหลาย รวมความว่า โอวาทปาติโมกข์ จึงได้แก่ คำสอน เพื่อความหลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์

ประเภทของปาติโมกข์

        ปาติโมกข์ แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
        ๑. อาณาปาติโมกข์ คือ สิกขาบททั้งหลายที่ทรงบัญญัติ เพื่อเป็นขอบเขตแก่ภิกษุ และภิกษุณีทั้งหลาย หลักธรรมที่ว่า สำรวมในพระปาติโมกข์ หมายถึง อาณาปาติโมกข์ นี้
        ๒. โอวาทปาติโมกข์ คือ โอวาททั้งหลายที่ทรงแสดงในวันเพ็ญเดือน ๓ มีโอวาทว่า สพฺพปาปสฺส อกรณํ เป็นต้น
        อาณาปาติโมกข์นั้น พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ และพระสาวกทั้งหลายย่อมสวดแสดงทุกกึ่งเดือน ส่วนโอวาท ปาติโมกข์นั้น พระพุทธเจ้าเท่านั้นทรงแสดง


โอวาทปาฏิโมกข์ หลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา หรือคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่
พระพุทธพจน์ ๓ คาถากึ่ง ที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป ผู้ไปประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ พระเวฬุ
วนาราม ในวันเพ็ญเดือน ๓ ที่เราเรียกกันว่าวันมาฆบูชา (ถรรถกถากล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์
นี้ แก่ที่ประชุมสงฆ์ตลอดมา เป็นเวลา ๒๐ พรรษา ก่อนที่จะโปรดให้สวดปาฏิโมกข์อย่างปัจจุบันนี้แทนต่อมา),


คาถา โอวาทปาฏิโมกข์ มีดังนี้ (โอวาทปาติโมกข์ ก็เขียน)
สพฺพปาปสฺส อกรณํกุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํเอตํ พุทธาน สาสนํฯ
ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตฯ
อนูปวาโท อนูปฆาโต ปาติโมกฺเข จ สํวโร
มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธาน สาสนํฯ


แปล : การไม่ทำความชั่วทั้งปวง ๑ การบำเพ็ญแต่ความดี ๑ การทำจิตของตนให้ผ่องใส ๑ นี้เป็นคำสอนของ
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ขันติ คือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง, พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่านิพพาน เป็นบรมธรรม, ผู้ทำร้ายคนอื่น
ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต,ผู้เบียดเบียนคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ

การไม่กล่าวร้าย ๑ การไม่ทำร้าย ๑ ความสำรวมในปาฏิโมกข์ ๑ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร ๑ ที่นั่ง
นอนอันสงัด ๑ ความเพียรในอธิจิต ๑ นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ที่เข้าใจกันโดยทั่วไป และจำกันได้มาก ก็คือ ความในคาถาแรกที่ว่า ไม่ทำชั่ว ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ผ่องใส


โอวาทวรรค ตอนที่ว่าด้วยเรื่องให้โอวาทแก่นางภิกษุณี เป็นต้น, เป็นชื่อวรรคที่ ๓ แห่งปาจิตติยกัณฑ์ ในมหาวิภังค์
พระวินัยปิฎก

โอวาทานุสาสนี คำกล่าวสอนและพร่ำสอน, คำตักเตือนและแนะนำพร่ำสอน

โอษฐ์ ปาก, ริมฝีปาก

โอสารณา การเรียกเข้าหมู่, เป็นชื่อสังฆกรรมจำพวกหนึ่ง มีทั้งที่เป็นอปโลกนกรรม (เช่น การรับสามเณรผู้กล่าวตู่
พระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งถูกนาสนะไปแล้วและเธอกลับตัวได้) เป็นญัตติกรรม (เช่น เรียกอุปสัมปทาเปกขะที่สอนซ้อม
อันตรายิกธรรมแล้วเข้าไปในสงฆ์) เป็นญัตติทุติยกรรม (เช่น หงายบาตรแก่คฤหัสถ์ที่กลับตัวประพฤติดี) เป็นญัตติ
จตุตถกรรม (เช่นระงับนิคหกรรมที่ได้ทำแก่ภิกษุ)


กิจกรรมของชาวพุทธ

กิจกรรมของชาวพุทธในวันมาฆบูชา
       ๑. เว้นอบายมุขทุกประเภท
       ๒. ตักบาตร ทำบุญ ให้ทาน
       ๓. สมาทานศีล รักษาศีล ๕ ศีลอุโบสถ
       ๔. ฟังพระธรรมเทศนาโอวาทปาติโมกข์
       ๕. ปฏิบัติกรรมฐาน
       ๖. เวียนเทียนกระทำประทักษิณรอบสัญญลักษณ์พระรัตนตรัย เพื่อน้อมระลึกถึงจาตุรงคสันนิบาต และการแสดง โอวาทปาติโมกข์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


 ที่มา  http://www.kammatan.com/board/index.php?topic=41.0

เครดิตโดย  คุณ golfreeze

22230  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ยืน เดิน นั่ง นอน ท่านชอบอิริยาบถไหน เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2010, 12:11:55 pm

การปฏิบัติธรรมและบรรลุธรรมในอิริยาบถต่างๆ
   ขอเชิญหมู่สมาชิกแสดงความคิดเห็นว่า ชอบ  ถนัด ที่จะปฏิบัติธรรมในอิริยาบถไหน ยืน เดิน นั่ง นอน หรือ อิริยาบถอื่นๆ
หากใครคิดวางแผนล่วงหน้า ว่าจะบรรลุธรรมเป็นอริยบุคคลในระดับต่างๆในอิริยาบถใด ก็เชิญบอกกล่าวตามอัชฌาสัย
 และกรุณาบอกเหตุผลต่างๆประกอบความเห็นด้วยนะครับ
   ขอความกรุณาคุณทินกรช่วยทำโพลล์เป็นกราฟแท่งให้หน่อย ให้สมาชิกเลือกคลิกได้ตามความชอบของแต่ละท่าน
   ขอให้แบ่งเป็น ๕ ตัวเลือก คือ ยืน เดิน นั่ง นอน และอื่นๆ ขอขอบพระคุณล่วงหน้า

   ผมขอยกตัวอย่างอริยบุคคลในสมัยพุทธกาลมาให้อ่านเป็นไอเดีย
อิริยาบถยืน - พระอุบลวรรณาเถรี อัครสาวิกาเบื้องซ้าย สำเร็จอรหันต์ขณะยืนดูโคมไฟ(เพ่งเปลวไฟ/เตโชกสิณ)
อิริยาบถเดิน - สุภัททปริพาชก ท่านเป็นสักขิสาวกองค์สุดท้ายของพระพุทธเจ้า สำเร็จอรหันต์ในขณะเดินจงกรม ดูเมฆที่เคลื่อนผ่านดวงจันทร์
อิริยาบถนั่ง - พระสารีบุตร อัครสาวกเบื้องขวา สำเร็จอรหันต์ขณะนั่งถวายงานพัด(โบกพัดไปมา) ณ เบื้องพระปฤษฎางค์(หลัง)ของพระพุทธเจ้า
ในขณะที่พระพุทธเจ้ากำลังแสดงธรรมแก่ ทีฆนขะปริพาชก หลานชายพระสารีบุตร
อิริยาบถนอน - อันนี้ไม่แน่ใจ ข้อมูลที่มีอยู่ไม่ชัดเจน แต่ผมได้เห็นภาพเขียนจากเว็บ ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์
"ในภาพพระพุทธเจ้ากำลังเทศน์โปรดพระเจ้าสุทโธทนะ ขณะกำลังประชวรหนัก พร้อมมีคำบรรยายว่า
หลังพระพุทธเจ้าแสดงธรรมเทศนาจบ พระพุทธบิดาก็สำเร็จอรหันต์ หลังจากนั้นอีก ๗ วัน ก็สวรรคต(ปรินิพพาน)"
ผมเลยสันนิสฐานเอาเองว่า พระเจ้าสุทโธทนะน่าจะสำเร็จอรหันต์ในอิริยาบถยืน
สมาชิกท่านใดมีข้อมูลเสริมหรือต่างออกไป ช่วยแสดงความคิดเห็นด้วยครับ

อิริยาบถแปลกๆ
ผมขอนำข้อความบางส่วนจากเว็บ ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์มาแสดง ดังนี้ครับ

บรรลุอรหันต์ขณะเอนตัวลงนอน
พระอานนท์เถระ เอตทัคคะในทางผู้เป็นพหูสูตร เป็นผู้มีสติ เป็นผู้มีคติ เป็นผู้มีความเพียร และเป็นพุทธอุปัฏฐาก
..........เมื่อพระบรมศาสดาปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสปเถระได้นัดประชุมพระอรหันต์
ขีณาสพ จำนวน ๕๐๐ องค์ เพื่อทำปฐมสังคายนา โดยมอบให้พระอานนท์รับหน้าที่วิสัชนาพระ
สูตรและพระอภิธรรม แต่เนื่องจากพระอานนท์ยังเป็นพระโสดาบันอยู่ ท่านจึงเร่งทำความเพียรอย่าง
หนักแต่ก็ยังไม่สำเร็จจนเกิดความอ่อนเพลีย ท่านจึงปรารภที่จะพักผ่อนอิริยาบถสักครู่ จึงเอน
กายลงบนเตียง ในขณะที่เท้าพ้นจากพื้น ศีรษะกำลังจะถึงหมอน ท่านก็สำเร็จเป็นพะอรหันต์
ในระหว่างอิริยาบถทั้ง ๔ คือ ไม่ได้อยู่ในอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่งทั้ง ๔ อย่าง คือ อิริยาบถยืน
เดิน นั่ง หรือนอน นับว่าท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์แปลกกว่าพระเถระรูปอื่น ๆ

บรรลุอรหันต์กลางอากาศ ขณะกำลังจะกระโดดหน้าผาตาย

พระวักกลิเถระ เอตทัคคะในทางศรัทธาวิมุตติ
.............พระดำรัสว่า:- “อเปหิ วกฺกลิ : ดูก่อนวักกลิ เธอจงออกไปจากสำนักของเรา”
พระวักกลิ เมื่อได้ฟังพระดำรัสนั้นแล้ว ไม่ทันจะตั้งสติได้ คิดอะไรไม่ออก จึงเกิดความ
น้อยใจและเสียใจเป็นอย่างมาก คิดว่าพระบรมศาสดาคงจะไม่เมตตาทักทายปราศรัยกับเราอีก
แล้ว เราก็คงจะไม่ได้เห็นพระวรกายรูปโฉมของพระพุทธองค์อีกแล้ว เราจะมีชีวิตอยู่ต่อไป
ทำไม จึงออกจากพระเวฬุวันมหาวิหาร หมายใจว่าจะไปกระโดดภูเขาคิชฌกุฏ เพื่อฆ่าตัวตาย
พระบรมศาสดา เมื่อตรัสขับไล่เธอไปแล้ว ก็ทรงติดตามดูวารจิตและการกระทำของเธอ
ก็จะตายแน่นอน จึงแสดงพระองค์ปรากฏให้เธอเห็นพร้อมทั้งตรัสเรียกชื่อว่า “วักกลิ” แล้ว
ตรัสปลอบใจด้วยธรรมกถา พระวักกลิ ก็เกิดปีติปราโมทย์รื่นเริงบันเทิงใจ จึงรีบมาเข้าเฝ้า
พระบรมศาสดาโดยทางอากาศพิจารณาพระโอวาทที่ตรัสสอน ข่มปีติลงได้แล้ว ก็ได้บรรลุ
พระอรหัตผลพร้อมทั้งปฏิสัมภิทาบนอากาศนั้น แล้วลงมากราบถวายบังคมพระบรมศาสดา
ด้วยความที่ท่านเป็นผู้มีศรัทธาอย่างแรงกล้า อาศัยศรัทธาเป็นสื่อนำ จนสามารถได้บรรลุ
เป็นพระอรหันต์ได้ พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุ
ทั้งหลาย ในทาง ศรัทธาวิมุตติ คือ ผู้หลุดพ้นจากกิเลสด้วยศรัทธา

บรรลุอรหันต์หลังโกนผมเสร็จ
พระทัพพมัลลบุตรเถระ เอตทัคคะในทางผู้จัดเสนาสนะ   
..............ขณะที่พระบรมศาสดา ประทับอยู่ ณ อนุปิยนิคม แคว้นมัลละแห่งนั้นพร้อมด้วยภิกษุ
พุทธสาวก ขณะนั้น ทัพพราชกุมาร มีพระชนมายุได้ ๗ พรรษาพระอัยยิกาได้พาไปเฝ้า
พระบรมศาสดาเพื่อฟังธรรม พร้อมกับชาวเมืองทั้งหลาย ทัพพราชกุมารได้ทอดพระเนตรเห็น
พระผู้มีพระภาค เกิดศรัทธาเลื่อมใสน้อมพระทัยไปในการออกบวช ได้กราบทูลลาพระอัยยิกา
เพื่อขอบวชในพระพุทธศาสนา ซึ่งพระอัยยิกาก็อนุโมทนาและรีบพามาสู่สำนักพระบรมศาสดา
ท่านได้ทราบถวายบังคมแล้วกราบทูลขอบรรพชา พระพุทธองค์ทรงมอบให้ภิกษุรูปหนึ่งเป็น
พระอุปัชฌาย์บวชให้
   พระภิกษุผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้สอนตจปัญจกกรรมฐานแก่ ทัพพราชกุมารแล้ว ในขณะ
ที่กำลังทำการโกนผมอยู่นั้น ทัพพราชกุมาร ได้พิจารณากรรมฐานที่เรียนมา คือ ผม ขน เล็บ
ฟัน และหนัง โดยลำดับ เมื่อจรดมีดโกนครั้งที่ ๑ ได้บรรลุโสดาปัตติผล จรดมีดโกนครั้งที่ ๒
ได้บรรลุสกทาคามิผล จรดมีดโกนครั้งที่ ๓ ได้บรรลุอนาคามิผล และเมื่อการโกนผมสิ้นสุดลง
ท่านได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ พร้อมด้วยปฏิสัมมภิทา ๔ และอภิญญา ๖
22231  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ว่าด้วยความตาย ตอนที่ ๔. "คัมภีร์มรณะ" เมื่อ: มกราคม 30, 2010, 04:23:30 pm

ว่าด้วยความตาย ตอนที่ ๔. "คัมภีร์มรณะ"



ว่าด้วยเรื่อง คัมภีร์มรณะ(Book of the Dead)


มีชื่อดั้งเดิมในภาษาฮีโรกลิฟฟิก แปลว่า The Cahptors of Coming-Forth-By-Day ในปีค.ศ. 1842 นายโทมัส จี อัลเลน (Thomas G. Allen) ผู้แปลภาษาอียิปต์โบราณที่เก่าแก่ที่สุดของโลก ได้ให้ความหมายของคัมภีร์มรณะว่า เป็นความปรารถนาที่จะเดินทางไปยังยมโลก

คัมภีร์มรณะทำด้วยกระดาษปาปิรุส (Papyrus) บรรจุถ้อยคำยาวเหยียด อักษรสีแดงใช้เป็นหัวเรื่อง หรือคำที่เน้นว่าสำคัญ นอกนั้นใช้สีดำ บางครั้งก็มีวาดรูปประกอบไว้ด้วชีวิตหลังความตายของชาวอียิปต์โบราณนั้นเชื่อว่า เมื่อตายไปแล้วอนูบิส (Anubis) จะมารับดวงวิญญาณไปสู่ยกโลก โดยพานั่งเรือเทพเจ้ารา (Ra) ซึ่งเป็นเทพแห่งพระอาทิตย์ ผ่านอาณาจักรของเทพเจ้ารา ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์มาก จากนั้นเรือก็จะผ่านเขตสุดท้ายคือมหาวิหารพิพากษาของเทพโอซิริส วิญญาณของผู้ตายก็จะถูกเกณฑ์ลงเรือเข้าไปยังห้องพิพากษาของวิญญาณ ตรงกลางมีตราคันชั่งใหญ่แบบตราชู เทพฮอรัสกับเทพอนูบิสจะทำการกำกับการชั่ง โดยนำเอาหัวใจของผู้ตายชั่งไว้ข้างหนึ่งของตาชั่ง ส่วนอีกข้างจะเป็นขนนกของเทพีมะอาท (Maat) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความยุติธรรม

ผู้ตายจะต้องประกาศความดีที่ตนเคยทำเอาไว้ครั้งที่ตนยังมีชีวิตอยู่ พร้อมทั้งประกาศว่าตนไม่เคยทำความผิดบาป 42 ประการ เช่น ไม่เคยชักชวนให้ผู้อื่นเสียคน ไม่เคยใส่ร้ายป้ายสีใคร ไม่เคยกล่าวคำเท็จ ไม่เคยเบียดเบียนผู้อื่น ไม่เคยฉ้อฉล ไม่เคยสั่งฆ่าผู้ใด ไม่เคยฆ่าใคร ไม่เคยลบหลู่ดูหมิ่นพระเจ้า และไม่เคยทำในสิ่งที่พระองค์รังเกียจ เป็นต้น ผู้ตายจะต้องประกาศสิ่งเหล่านี้ต่อหน้าเทพโอซิริส (Osiris)

หากสิ่งที่ผู้ตายพูดเป็นความจริง ขนนกของเทพีมะอาทจะหนักกว่าหัวใจของผู้ตาย นั่นก็ถือว่าผู้ตายได้ผ่านการทดสอบ และได้เข้าไปอยู่ในดินแดนของเทพเจ้ารา ที่เต็มไปด้วยแสงสว่าง ความสวยงาม และความอุดมสมบูรณ์ไม่รู้จักจบจักสิ้น

แต่ถ้าสิ่งที่ผู้ตายพูดเป็นเท็จ หัวใจของผู้ตายจะหนักกว่าขนนกของเทพีมะอาท นั่นก็ถือว่าผู้ตายไม่ได้ผ่านการทดสอบ และผู้นั้นจะไม่ได้ไปในที่ๆ เป็นดินแดนของเทพเจ้ารา ดินแดนแห่งนั้นจะเป็นที่ๆ ผู้ตายจะไม่ได้รับแสงสว่างจากเทพเจ้าราเลย และยังเป็นดินแดนที่เต็มไปด้วยความอดอยากหิวโหย

คัมภีร์มรณะเกิดขึ้นภายหลังจากการที่อียิปต์อยู่ในสมัยจักรวรรดิแล้ว ก่อนหน้านั้น อียิปต์ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของพวกฮิกซอสเป็นเวลานานถึง 200 ปี ศาสนาและหลักศีลธรรมของอียิปต์เรื่อมเสื่อมลง ความเชื่อเรื่องเครื่องลางของขลังได้เข้ามาแทนที่ ทำให้พวกพระเข้ามามีบทบาทในจิตใจของชาวอียิปต์อย่างมาก พวกพระเหล่านี้เป็นพระที่มีความละโมภในทรัพย์สิน ได้เป็นผู้ริเริ่มขายหนังสือเวทมนตร์ต่างๆ ซึ่งเป็นการล้มล้างความผิดให้กับผู้ตาย โดยการเขียนใส่กระดาษปาปิรุส (Papyrus) ใส่ไว้ในหว่างขาของมัมมี่ (Mummy) หรือตรงฐานโลงศพ


ข้อความในคัมภีร์มรณะเป็นคาถาอาคมป้องกันไม่ให้วิญญาณเสื่อมสลาย บทร่ายเวทมนตร์ช่วยให้วิญญาณพ้นจากการถูกขังในยมโลก บรรยากาศการตัดสินต่อหน้าเทพโอซิริสในยมโลก รวมถึงคำพูดที่ผู้ตายควรพูดเมื่ออยู่ต่อหน้าเทพเจ้าโอซิริส

เชื่อกันว่า การซื้อคัมภีร์มรณะถือว่าเป็นการซื้อใบเบิกทางให้ตนได้เข้าสู่อาณาจักรของ เทพเจ้ารา แม้ว่าจะเคยทำผิดหรือไม่ก็ตาม ทำให้ไม่จำเป็นต้องทำความดี ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้ศาสนาและหลักศีลธรรมของอียิปต์เริ่มเสื่อมลง



อ้างอิง
ให้เครดิต คุณLukhgai สมาชิกเว็บพลังจิต
ที่มา///www.amulet.in.th

22232  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ว่าด้วยความตาย ตอนที่ ๓. “มรณสติ” เมื่อ: มกราคม 30, 2010, 04:12:07 pm
ว่าด้วยความตาย ตอนที่ ๓. “มรณสติ”
โดยหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย



มรณสติ คือ ระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์เป็นกัมมัฏฐานชั้นสูงสุด เพราะว่าเมื่อระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์แล้ว จิตก็จะสลดสังเวชถอนจากอารมณ์อื่น ๆ ความตายเป็นการดำเนินถึงที่สุดของชีวิตคนเรา เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วยังจะมีอะไรเหลืออยู่อีก

นอกจากความตายแล้วไม่มีอะไรเหลืออยู่อีก
นอกจากความตายแล้วไม่มีอะไร

สิ่งทั้งปวงที่เกี่ยวข้องพัวพันอยู่นี้ล้วนแล้วแต่เป็นของทิ้งทั้งหมด ถึงไม่อยากทิ้งมันก็ต้องละไปโดยปริยาย เราตายแล้วมันก็ทอดทิ้งลงทันที จึงว่ามรณสติ นั้นเป็นยอดของกัมมัฏฐาน ใครจะพิจารณาอะไร ๆ ก็ตามเถิด ถ้าหากพิจารณามรณสติแล้ว จิตยังไม่รวมลงไปได้ ยังไม่เกิดสลดสังเวช ยังไม่ละ ยังไม่ถอน ก็หมดกัมมัฏฐาน ไม่มีอะไรเหลือแล้ว

มรณสตินี้ พระพุทธเจ้าทรงถามภิกษุทั้งหลายว่าภิกษุทั้งหลายเธอพิจารณามรณสติอย่างไร ภิกษุบางองค์กราบทูลว่า ข้าพระองค์พิจารณามรณสติแล้ว กลัวว่าชีวิตจะไม่ข้ามวันข้ามคืนไปได้ กลัวจะตายก่อนไม่ทันฉันบิณฑบาต บางองค์พิจารณาขณะฉันอยู่ ก็กลัวว่าจะตายก่อนฉันไม่ทันเสร็จ แม้ถึงอย่างนั้นพระองค์ยังตรัสว่าประมาทอยู่

เมื่อ ผู้ใดพิจารณาความตายอยู่ทุกลมหายใจเช้าออกนั้น จึงจะเป็นผู้ไม่ประมาท หายใจเข้าแล้วไม่หายใจออกก็ตาย หายใจออกแล้วไม่หายใจเข้าก็ตาย เป็นอยู่อย่างนี้เรียกว่าเป็นผู้ไม่ประมาท

วัน หนึ่ง ๆ เราคิดถึงความตายสักกี่ครั้ง วัน เดือน ปี ล่วงไป ๆ ไม่เคยนึกถึงความตายสักทีเลยก็มี จึงว่าเป็นผู้ประมาท ความประมาทคือความเลินเล่อเผลอสติ ไม่มีสติในตัว ความประมาทจะพาไปถึงไหน

ความประมาทคือหนทานแห่งความตาย คำว่า “ ทางแห่งความตาย ” นั้นยังไม่ทันตายหรอก แต่ผู้ประมาทได้ชื่อว่าตายแล้ว เพราะการไม่มีสติก็เหมือนกับคนตาย

ความ ไม่ประมาท คือมีสติอยู่ทุกเมื่อ ทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน นั่นทางแห่งความไม่ตายที่มีสติ สติรู้ตัวอยู่ทุกเมื่อทุกขณะนั่นแหละ เรียกว่าเป็นผู้ไม่ตาย

เรา ตายตั้งแต่เกิดมา มันเปลี่ยนสภาพไปเรื่อย ๆ เรียกว่าตายเป็นเด็กเป็นเล็ก เป็นหนุ่มเป็นสาว จนกระทั่งอายุ 40-50 ปี แก่เฒ่าชรา มันเปลี่ยนสภาพไปโดยลำดับ จนกระทั่งตาย ส่วนด้านจิตใจก็ห่าวงนั่นห่วงนี่พัวพันเกี่ยวข้องอะไรต่าง ๆ เอาไว้ มันไม่อยู่คงที่ ทิ้งอารมณ์นี้แล้วไปจับอารมณ์อื่นต่อไป

นั่นก็เรียกว่าตายเหมือนกัน ตายจากอารมณ์หนึ่งไปสู่อารมณ์อื่น
นั่นแหละ ความตายโดยยังไม่ทันตายแท้จริง
ให้ พิจารณาความตายโดยปริยายเสียก่อน เมื่อความตายจริง ๆ มาถึง มันมีอีกอย่างหนึ่ง การตายไม่ใช่ตายง่าย ๆ ทีเดียวอย่างเรานึกคิด บางทีเส้นโลหิตแตกแล้วตายก็มีหัวใจวายตายก็มี ตายเร็ว ๆ อันนั้นไม่ต้องทรมาน ทรกรรมอันที่ตายทรมานนั้นยังมีมากกว่านั้นอีก ความเจ็บป่วยมีอาการตั้งนาน ๆ ปี บางทีเป็นอัมพาตขยับไม่ได้ จนกระทั่งมือเท้าอะไรก็ยกไม่ได้ จะกินจะถ่ายก็มีคนป้อนคนพยุง อันนั้นเรียกว่ามัจจุราชมันให้ให้มาผจญเสียก่อน


ธรรมดา เข้าตีข้าศึก เขาต้องตีปีกซ้าย ปีกขวา ตัดทางลำเลียงอาวุธ และอาหารเสียก่อนทำลายทีละเล็กทีละน้อย ยังเหลือแต่กองทัพใหญ่จึงค่อยบุกเข้าตีทีเดียว อันนี้มัจจุราชมาผจญก็เหมือนกัน แขนหัก แข้งขาขาดไป ตายไปเป็นชิ้นส่วนเสียก่อน บางทีเจ็บหัว ปวดท้อง บางทีลำไส้อักเสบ โรคภัยไข้เจ็บสารพัดทุกอย่าง จะต้องทรมาน ทรกรรมนั่งนอนอยู่กับที่ไม่สามารถพลิกตัวได้ แต่ใจยังไม่ทันแตกดับ เป็นการทรมานอย่างแสนสาหัส เพราะว่าเราไม่ได้เปลี่ยนอิริยาบถ ถึงแม้จะเคยทำความพากเพียรภาวนามามากเท่าไรก็ตามเถิด พอถึงตรงนั้นแล้ว มันยากที่สุดที่จะดำรงสติให้อยู่ในตัวของเราได้ ที่ท่านว่า

มรณสติให้ระลึกถึงความตาย คือให้ตั้งสติไว้ตรงนั้นเอง

แท้ที่จริงความตายนั้นไม่เท่าไรหรอก ก่อนที่จะตายนั่นซีมันสำคัญ จะตั้งสติรักษาจิตด้วยอาการอย่างไรให้มันคงที่ จะไม่ให้หวั่นไหว ตรงนั้นมันสำคัญที่สุด

 

หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี สนทนากับกับในหลวง

การ เจ็บปวดเล็ก ๆ น้อยๆ ที่บังเกิดขึ้นในตัวของเรานั้น ต้องหัดพิจารณาความตายว่า มันจะต้องมีมาอย่างนี้ ๆ เดี๋ยวนี้มันยังไม่ทันเป็นจริง เมื่อมันเป็นจริงขึ้นมาแล้ว ทุกด้านทุกทางมันจะเสื่อมโทรมลงไปหมด ตาก็ไม่เห็นหนทางหูก็ไม่ได้ยินเสียง เนื้อกายนี้ไม่รู้สึกตัว แต่ยังมีใจอยู่ความวุ่นวาย ความเดือดร้อน กระสับกระส่ายจะต้องมีอยู่

คน เราเมื่อจะถึงที่สุดเวลาจะตายจริง ๆ มันต้องตัดหมดทุกสิ่งทุกอย่าง แม้แต่สติที่เรารักษาไว้ดีแล้วก็จะไม่ปรากฏ มันจะปรากฏแต่ กรรมนิมิต คตินิมิต จะไปเกิดใน “ สุคติ ” หรือ “ ทุคติ ” ต้องมีกรรมนิมิตปรากฏไปตามกรรม เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดมิจฉาจาร เป็นต้น นี้เรียกว่า “ กรรมชั่ว ”

กรรม นิมิต นั้นคือเห็นสัตว์ที่เราเคยฆ่า เห็นด้วยใจสัตว์นั้นมาไล่ชนหรือรุมล้อมทำร้ายเราให้เจ็บปวดร้องครวญครางจน ปรากฏเสียงออกมาให้คนทั้งหลายได้ยินก็มี เหมือนกับที่เราได้ทำเขาเมื่อยังมีชีวิตอยู่

คติ นิมิต ในทางที่ชั่วนั้น เช่น ปรากฏเห็นด้วยใจว่าผู้ที่ทำบาปเช่นเดียวกันกับเรานั้น ตายไปแล้วได้ทนทุกข์ทรมานด้วยอาการต่าง ๆ เช่น เห็นร่างกายของเขามีแต่โครงกระดูก หาเนื้อหนังมิได้ คนไหนมีเนื้อหนัง คนอื่นสัตว์อื่นก็มาเฉือนเนื้อหนังเอาไปบริโภคกินหมด ดังนี้เป็นต้น แต่ตัวยังไม่ตาย เมื่อคตินั้นมาปรากฏเห็นเฉพาะตนแล้ว ก็กลัวแสนกลัวหาที่สุดมิได้ กลัวตนจะไปเป็นอย่างผู้นั้น แล้วแน่ในใจที่สุดว่า ตนจะต้องไปเป็นอย่างนั้นโดยเหตุมีอันบันดาลให้เป็นไปอย่างนั้น

กรรม นิมิต คตินิมิต ของความดีนั้นตรงกันข้าม บุคคลผู้ทำความดีไว้ในเมื่อมีชีวิตอยู่เป็นต้นว่า เคยได้ไปทอดผ้าป่ามหากฐิน และสิ่งอื่น ๆ อะไรก็ตาม เมื่อจวนจะตายไม่มีสติแล้ว กรรมนิมิตและคตินิมิตจะมาปรากฏเช่นเดียวกับกรรมชั่ว แต่กรรมดีมันให้เพลิดเพลินเจริญใจ เป็นต้นว่า ไทยทานที่ตนทำไปแล้วเมื่อยังมีชีวิตอยู่ แม้มีปริมาณเล็กน้อย แต่มีกรรมนิมิต คตินิมิต ที่ปรากฏเห็นเป็นของมาก มากจนเหลือที่เราจะพรรณนาได้ครบถ้วนเมื่อเห็นนั้นแล้วก็อยากได้ แล้วก็มีหวังจะได้ในวันหนึ่งข้างหน้า โดยมีสิ่งบันดาลให้ได้จริง ๆ

บาง คนบอกว่า เมื่อเราจะตายต้องรักษาสติไว้ ไม่คิดถึงกรรมชั่ว ความข้อนั้นเป็นความประมาทของเขาเองเขาคิดเดาเอาเฉย ๆ มันจะรักษาได้อย่างไรในเมื่อมันไม่มีสติ มีกรรมนิมิต เป็นเครื่องชักจูงให้เป็นไปเอง ในการที่ปล่อยให้เป็นเอง ไม่สามารถจะกลับคืนมาแก้ตัวอีกได้ฉะนั้น ทำเสียเดี๋ยวนี้ตั้งแต่เป็นมนุษย์อยู่ และเมื่อถึงคราวจะตายนั้นแล้ว มันเป็นเองหรอก ทำดีมาก ทำชั่วมาก มันก็เป็นไปตามเรื่องที่ทำเอาไว้ มันเป็นเอง เกิดเองของมันต่างหาก

คนเราตายจริง ๆ เมื่อไม่มีลมแล้ว แต่ลมกับใจมันคนละอันกัน ที่แพทย์เรียกว่า “ โคม่า” นั้น มันถึงที่สุดของชีวิตในตอนนั้นแล้ว แต่ยังไม่สิ้นไปที่เกิดของลมในทางศาสนาท่านกล่าวไว้ว่า ลมเกิดจากสวาบ คือ กะบังลม กะบังลมมันวูบ ๆ วาบ ๆ อยู่อย่างนั้น มันเป็นเหตุให้เกิดลม มันทำให้เกิดความอบอุ่น เมื่อมันมีความอบอุ่นมันก็ไหวตัววูบ ๆ วาบ ๆ เมื่อลมยังมีอยู่ แต่จิตมันจากร่างไปแล้ว มันจะไปเกิดที่ไหนก็เป็นไปแล้ว ไปพร้อมด้วยกรรมนิมิต คตินิมิตนั้น ไม่มีหลงเหลืออยู่อีก มีแต่ร่าง

ถ้า ไม่มีกรรมนิมิต คตินิมิต บางทีมันฟื้นขึ้นมาอีกเพราะลมยังไม่หมด วิทยาศาสตร์สมัยใหม่เขาเอาออกซิเจนเข้าช่วย ออกซิเจนก็ช่วยได้แต่ลมเท่านั้น แต่จิตมันเคลื่อนแล้ว มันจะไปไหนมันก็ไปตามเรื่องของมัน

เรื่อ งมรณสติ เป็นของสำคัญที่สุด เพราะเราทุกคนยังไม่เคยตาย เป็นแต่อนุมานเอา เมื่อพิจารณาแล้วเกิดความสลดสังเวช จิตมันก็แน่วแน่อยู่ในที่เดียวนั่นแหละจึงให้พิจารณามรณสติจะได้ประโยชน์ เห็นชัดตามความเป็นจริง หัดให้มันชำนิชำนาญ แต่ถึงขนาดนั้นแล้ว เวลาจะตายจริงๆ ไม่ทราบว่าจะตั้งสติให้มั่นคงได้หรือเปล่า



อ้างอิง
จากหนังสือ ธรรมลีลา ปีที่ 4 ฉบับ 43
ที่มา http://www.agalico.com/board/showthread.php?t=21323



22233  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ว่าด้วยความตาย ตอนที่ ๒. "ภาวนาหัดตาย" เมื่อ: มกราคม 30, 2010, 03:55:24 pm

ว่าด้วยความตาย ตอนที่ ๒. "ภาวนาหัดตาย"
โดย พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

เทศนาอบรมนักเรียน โรงเรียนสุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา
และโรงเรียนวรคุณอุปภัมภ์ อ.อุทุมพรพิสัย จ.นครราชสีมา
ณ วัดวะภูแก้ว อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา
วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๓๕


ขอให้ตั้งใจฟัง การฟังให้มีสติกำหนดรู้จิตของตัวเอง ความรู้สึกอยู่ที่ไหนจิตอยู่ที่นั่น เพียงแต่เรากำหนดรู้จิตของเรา เพียงอย่างเดียว เมื่อกายกับจิตยังมีความสัมพันธ์กันอยู่ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น จิตเขาย่อมทำหน้าที่รับรู้โดยธรรมชาติของเขา โดยลำพังของกายนั้น เป็นแต่เพียงสื่อหรือเป็นเครื่องมือของจิตเท่านั้น

ดังนั้น ในขณะที่เราฟัง เรามีสติกำหนดรู้จิตของเราเพียงอย่างเดียว ไม่ว่าอะไรจะผ่านเข้ามา ทางตา หู จมูก สิ้น กาย และใจ จิตเขาจะทำหน้าที่รู้ของเขาเองโดยอัตโนมัติ โดยที่เราไม่ได้ตั้งใจจะรู้

อันนี้คือธรรมชาติของจิต ถ้าหากไม่มีอะไรเกิดขึ้น สิ่งภายนอกมิได้ผ่านเข้ามา เขาก็จะรู้อยู่ที่ตัวของเขาเอง คือตัวจิต ถ้าเขาออกนอกมาหน่อย ก็จะรู้ลมหายใจ รู้ความสุข ความทุกข์ที่เกิดขึ้นที่กาย อันนี้เป็นธรรมชาติของจิต ตราบใดที่กายกับจิต ยังมีความสัมพันธ์ไม่แยกจากกัน สิ่งที่มีร่างกายและมีจิตวิญญาณจะต้องดำรงชีพอยู่ตลอดไป ถ้าหากว่ากายกับจิตแยกจากกันเมื่อไร เช่นอย่างเวลาคนเราตายแล้ว วิญญาณจิตแยกไปจากกาย ส่วนกายก็กลายเป็นซากศพ ส่วนจิตวิญญาณก็เป็นความรู้สึกอีกประเภทหนึ่ง

คนเราตายนี่มีอยู่ ๒ ลักษณะ ถ้าคนตายอย่างธรรมดา ก่อนที่จะตาย จิตมันจะรวมพลัง ลงสู่จุดหนึ่ง ซึ่งมันรวมลงไปแล้ว มันได้ได้ยึดในร่ายกายันนี้ แต่ความรู้สึกมันยังรู้สึกว่ามีกายอยู่ เมื่อจิตวิญญาณออกจากร่างไป จะรู้สึกว่ามีกายเดินออกไป บางทีก็ย้อนกลับมา มองดูกายเดิมนิดหน่อยแล้วก็หันหลังเดินต่อไป ในช่วงนี้เขาอาจจะเดินชมนกชมไม้ชมป่าชมเขา สารพัดจิปาถะที่เขาจะไปตามคติของเขา


แม้แต่ในขณะที่เรานั่งสมาธิภาวนาอยู่ก็เหมือนกัน ถ้าในช่วงใดทำสมาธิจิตสว่างขึ้นมาแล้ว ถ้ากระแสจิตส่งออกไปข้างนอก จะมองเห็นนิมิตภาพต่าง ๆ เกิดขึ้น ถ้าหากว่าจิตวิญญาณดวงนี้ ไปติดในนิมิตภายนอก ก็จะมีรูปร่างเดินออกไปบางทีก็ไปเที่ยวชมนก ชมไม้ ชมภูเขา หรือบางที อาจจะเตลิดเลยไปถึงนรกสวรรค์ เช่น เขานั่งสมาธิภาวนา ดูนรก สวรรค์ หรือมโนมยิทธิ เป็นต้น ในเมื่อไปสุดช่วงแล้ว ก็ย้อนกลับมาสู่กายเดิมไม่ได้ไปเลย เหมือนคนที่จะตายหรือคนที่ตายแล้ว ที่ต้องย้อนกลับมาสู่กายเดิม ก็เพราะว่ากรรมที่ผูกพันกับร่างกายยังมีอยู่ จิตวิญญาณนี้จึงไม่ไปเลย เหมือนคนที่หมดอายุขัยแล้ว อันนี้เป็นลักษณะอย่างหนึ่ง

แต่ถ้าหากว่านักสมาธิภาวนา ถ้าหากลมหายใจหายขาดไป คือตายในขณะที่จิตอยู่ในสมาธิ ขั้นอัปปนาสมาธิ ซึ่งจะรู้สึกว่ามีแต่จิตดวงเดียวใสสว่าง ถ้าตายในขณะนั้นก็จะมีแต่ดวงใส ๆ ลอยออกไปเท่านั้น ร่างกายตัวตนไม่ปรากฏ

เช่นเดียวกันกับเวลาเรานั่งสมาธิ เมื่อจิตเข้าไปสู่อัปปนาสมาธิ เราจะรู้สึกว่า ร่างกาย ตัวตนของเรา หายไปหมด ยังเหลือแต่จิตวิญญาณดวงเดียวซึ่งลอยเด่นสว่างไสวอยู่ ซึ่งในขณะนั้นเราจะเรียกว่าตายแล้วก็ได้ ถ้าหากว่าจิตวิญญาณดวงนี้ ไม่ยอมกลับคืนมาสู่ร่าง ก็ต้องตาย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพราะอาศัยกรรมซึ่งมีส่วนสัมพันธ์กับร่างกาย อายุขัยยังไม่สิ้น แม้จิตวิญญาณจะทอดทิ้งร่างกายไป ก็ต้องย้อนมาสู่ความมีกายอีกตามเดิม ถ้าหากว่าผู้มีอายุขัยสิ้นแล้ว ก็ไปเลยไม่ย้อนกลับมาอีก
 
ในหลวงสนทนาธรรมกับหลวงพ่อพุธ ฐานิโย

อันนี้คือลักษณะของความเป็นไปตามธรรมชาติของผู้ถึงแก่ความตาย ดังนั้น ที่เรามาหัดนั่งสมาธิภาวนากันนี่ จะได้ชื่อว่าเรามาหัดตาย หัดตายเล่น ๆ ก่อนที่เราจะตายจริง เพราะความตายมีลักษณะเหมือนจิตเข้าสมาธิ เพียงแต่จิตวูบลงไป นิ่ง สว่าง มีปีติ มีความสุข ถ้าหากพลังของสมาธิยังไม่เข้มแข็งพอที่จะดำรงอยู่ในปฐมฌาน จิตท่องเที่ยวอยู่ในกามาวจรกุศล ช่วงนั้นจิตวิญญาณของเราอยู่บนสวรรค์ ๖ ชั้น ชั้นใดชั้นหนึ่ง แต่ถ้าหากว่าจิตของเรา มีสมาธิ มีวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ทรงอยู่ในฌานเป็นเวลานาน ๆ ในขณะนั้นจิตวิญญาณของเราก็อยู่ในพรหมโลก อยู่พรหมโลกขั้นปฐมฌาน ซึ่งก็หมายความว่าเราได้ตายแล้วเหมือนกัน
[/color]
ขอให้สังเกตดูว่า เราทำสมาธิ ถ้าจิตของเราเปลี่ยนไปจากสภาวะปกติที่เรารู้ ๆ กันอยู่นี่ แล้วไปสู่อีกสภาวะหนึ่งซึ่งไม่ใช่อย่างนี้ ก็แสดงว่าจิตวิญญาณเราจุติ หรือเคลื่อนจากความเป็นอยู่เดิม คือความเป็นมนุษย์ ไปสู่สภาวะเป็นเทพหรือเป็นพระพรหม แล้วแต่ภูมิจิตจะดำเนินไปถึงขั้นไหน อย่างไร

เพราะฉะนั้นที่เรามาฝึกสมาธิภาวนานี่จะได้ชื่อว่าเรามาหัดตาย หัดตายเพื่อให้มันรู้ว่าความตายคืออะไรก่อนที่เราจะตาย ทีนี้เรื่องของการบำเพ็ญสมาธิภาวนาตามกิจวัตรของผู้ปฏิบัติ เมื่อเราจะปฏิบัติตามหลักและวิธีการที่มีบัญญัติไว้ในคัมภีร์ต่าง ๆ หลักและวิธีการนั้นเราจำเป็นจะต้องรักษาไว้ ถ้าจะว่าไป การทำสมาธิย่อมไม่มีพิธีรีตองอะไรมากมายนักหนา เพียงแต่พยายามฝึกสติให้รู้อยู่กับการยืน เดิน นั่ง นอน รับประทาน ดื่ม ทำ พูด คิด เพียงอย่างเดียว ก็ได้ชื่อว่าเป็นการฝึกสมาธิ แต่ถ้าหากว่าเราไม่มีหลักและวิธีการบ้าง มันก็คล้าย ๆ กับว่าเราทำอะไรไม่มีระเบียบ

ดังนั้น ตามจารีตประเพณีหลังพุทธกาลคือหลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ไม่ว่าเราจะทำพิธีกรรมอันใด เช่น การจะบำเพ็ญทาน การจะภาวนา ต้องขึ้นต้นด้วยการปฏิญาณตนถึงพระไตรสรณคมน์ คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ คือ พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สรณัง คัจจามิ นั่นเอง แล้วก็สมาทานเบญจศีล คือ ศีล ๕ ข้อ ดังที่นักเรียนทั้งหลายก็ได้สมาทานมาแล้ว อันนี้เป็นกฎหรือระเบียบในเบื้องต้น เป็นจาริตประเพณีของชาวพุทธที่จะต้องปฏิบัติอย่างนั้น

คุณธรรมที่มีอยู่ภายในจิต ถ้าหากว่าภูมิไม่ถึงกัน หรือภูมิไม่รู้ถึงกัน ก็ย่อมไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่า ใครมีภูมิจิต ภูมิธรรม เพียงใด แค่ไหน ดังนั้นจารีตประเพณีที่แสดงออกนั้น บ่งบอกถึงความมีอยู่แห่งพระสัจธรรมที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของศีลเป็นกฎหรือระเบียบ เป็นวิธีการที่เราจะต้องยึดมั่นเป็นหลักปฏิบัติ เพื่อฝึกหัดตนให้เป็นอุบาสก อุบาสิกา ผู้เข้าไปนั่งอยู่ใกล้พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ และศีลตามขั้นตอน ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ ของพระสงฆ์ ก็เป็นกฎหรือระเบียบ จารีตประเพณีของความประพฤติเป็นเช่นนั้น ๆ ตามชั้นตามภูมิของตนเอง ผู้บวชเป็นแม่ขาว นางชี ดาบส ยึดศีล ๘ เป็นหลักปฏิบัติ บวชเป็นสามเณรยึดศีล ๑๐ เป็นหลักปฏิบัติ พระภิกษุยึดศีล ๒๒๗ ข้อเป็นหลักปฏิบัติ คือ ๔ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ ล้วนแต่เป็นระเบียบประเพณีหรือจารีต เป็นคลองเป็นแนวทางที่เราจะยึดไว้เป็นหลักปฏิบัติเพื่อความเป็นอุบาสก อุบาสิกา เพื่อความเป็นแม่ขาว นางชี หรือตาเถร เพื่อความเป็นสามเณร เพื่อความเป็นพระภิกษุ

ที่ท่านบัญญัติไว้อย่างนั้นก็เพื่อให้มีความประพฤติแตกต่างกัน ซึ่งมีความละเอียดและสูงขึ้นไปตามลำดับขั้นตอน ที่นี้ศาสนธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ จะปรากฏเด่นชั้นอยู่ที่จารีตประเพณี หรือวิธีการ ศาสนพิธี
 
หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

ศีล ๕ เป็นพิธีการทำตนให้เป็นอุบาสก อุบาสิกา ศีล ๘ เป็นพิธีการทำตนให้อุบาสก อุบาสิกาประเภทนักบวชในขั้นต้น ศีล ๑๐ เป็นพิธีการทำผู้บวชให้เป็นสามเณร ศีล ๒๒๗ เป็นพิธีการทำบุคคลผู้อุสมบทเป็นพระให้เป็นพระตามพระวินัย ล้วนแต่เป็นศาสนพิธีทั้งนั้น

ศีลนี่เป็นเรื่องสำคัญในการปฏิบัติ เพราะกายวาจาของคนเราเปรียบเหมือนเปลือกสำหรับหุ้มไข่ ส่วนจิตหรือใจเปรียบเหมือนไข่แดงซึ่งซ่อนอยู่ภายในเปลือกไข่ เราจะนำไข่ของเราไปฟักให้มันเกิดเป็นตัว เราต้องทะนุถนอมเปลือกไข่ให้อยู่ในสภาพปกติ ไม่มีรอยแตก รอยร้าว รอยบุบมันจึงจะฟักให้เป็นตัวได้ ไม่เช่นนั้น มันก็มีแต่เน่าท่าเดียว
ดังนั้น นักปฏิบัติที่จะทำจิตทำใจของตนเองให้ก้าวขึ้นไปสู่ภูมิจิต ภูมิธรรมขั้นสูง เราจำเป็นต้องรักษากาย วาจา อันเปรียบเหมือนเปลือกหุ้มไข่ ให้บริสุทธิ์สะอาดด้วยกฎหรือระเบียบ ข้อปฏิบัติตามขั้นภูมินั้น ๆ ซึ่งเรียกว่าศีลนั่นเอง

เมื่อเรามารักษากาย วาจา ให้บริสุทธิ์ปราศจากโทษทางสิกขาบทวินัย เมื่อเราจะมาบำเพ็ญสมาธิภาวนา สมาธิของเราก็เจริญงอกงาม สมาธิที่เกิดขึ้นก็เป็นสัมมาสมาธิ สัมมาสมาธิย่อมทำให้เกิดปัญญา ปัญญาที่เกิดจากสมาธิย่อมเป็นสัมมาทิฎฐิ คือความเห็นที่ถูกต้อง


ดังนั้น การปฏิบัติศีลจึงเป็นคุณภาพ ประกันความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติ เมื่อเรารักษาศีลสิกขาบทวินัยให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ดี กายวาจาของเราก็เป็นปกติ ก็เป็นศีล ทีนี้เมื่อกายวาจาเป็นศีลโดยสมบูรณ์ ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยหนุนส่งให้จิตของเรากลายเป็นสภาวะปกติ เป็นศีลอีกเช่นเดียวกัน ดังนั้น ศีลนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักปฏิบัติ

แม้ว่าพระเจ้าพระสงฆ์จะเดินธุดงค์ไปตามท้องถิ่นต่าง ๆ เมื่อเวลาไม่มีไวยาวัจกร ไปจับต้องปัจจัย จตุปัจจัย เงินทอง หรือเอาเงินเอาทองใส่ลงไปในย่ามแล้วก็สะพายไปเอง ก็เป็นการละเมิดสิกขาบทวินัย ข้อว่าด้วยห้ามจับต้องเงินและทอง ทีนี้เมื่อมีปัจจัยอยู่ในย่ามก็ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ เมื่อควักออกจากย่ามมาจับจ่ายใช้สอยก็เป็นอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์อีกตัวหนึ่ง เมื่อของที่ได้มาจากเงินซึ่งเป็นนิสสัคคีย์ พระสงฆ์เอามาบริโภคใช้สอย ก็เป็นอาบัตินิสสัคคิย์อีกตัวหนึ่ง ตกลงว่าเงินบาทเดียวเป็นอาบัติถึง ๓ ตัว ในเมื่อพระคุณเจ้าท่านละเมิดสิกขาบทวินัยเพียงตัวเดียวและ ๓ จังหวะ เป็นการต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓ ตัว แม้จะเดินธุดงค์ไปในท้องถิ่นต่าง ๆ เพราะอาศัยสิกขาบทวินัยไม่บริสุทธิ์สะอาดนั่นเอง การเดินธุดงค์กรรมฐานของท่าน จึงเปรียบเหมือนกรรมฐานไข่เน่า แม้จะเที่ยวเตร่ไปประกาศตนว่าเป็นพระธุดงค์กรรมฐาน ก็เป็นแค่หลอกลวงชาวโลกให้หลงเชื่อ
 

เพราะฉะนั้น นักเรียนทั้งหลายซึ่งเรามาปฏิบัติสมาธิภาวนา มาอบรมธรรมะตามหลักคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าหากมีศรัทธาที่จะเอาเงินเอาทองไปถวายพระ อย่าไปประเคนกับไม้แบมือท่าน ปวารณาว่าหนูมีศรัทธาถวาย จตุปัจจัยแด่พระคุณเจ้า จำนวนเท่านั้นเท่านี้จบแล้ว ก็เอาวางไว้ต่อหน้าท่าน อย่าไปยื่นใส่มือท่าน เพราะพระท่านจับสตางค์ไม่ได้ ถ้าขืนจับก็ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ทีนี้นักเรียนทั้งหลายได้มาฝึกฝนอบรมสมาธิภาวนา ในเมื่อสรุปหลักของการปฏิบัติสมาธิภาวนา การปฏิบัติตามแบบและวิธีการนั้น ๆ นักเรียนได้รับการอบรมมาพอสมควร แต่อยากจะขอย้ำหลัก และวิธีการทำสมาธิในห้องเรียน เราสามารถที่จะปฏิบัติสมาธิในห้องเรียน หรือปฏิบัติสมาธิในเรื่องชีวิตประจำวันได้ หลักของการปฏิบัติสมาธิในเรื่องชีวิตประจำวัน เราพยายามฝึกสิตให้รู้อยู่กับการยืน เดิน นั่ง นอน รับประทาน ดื่ม ทำ พูด คิด ทุกขณะจิต ทุกลมหายใจ เมื่อเวลาเรานอนลงไป จิตเราคิดอะไรปล่อยให้คิดไป เราจะท้าทายว่าเธอจะคิดไปไหน ฉันจะนอนดูเธออยู่อย่างนี้ แล้วก็กำหนดดูไปจนกว่าจะนอนหลับ ถ้าหากว่าเรายังไม่ได้สมาธิ เมื่อเรามีสติกำหนดรู้ ยืน เดิน นั่ง นอน รับประทาน ดื่ม ทำ พูด คิด อยู่เป็นปกติ เราจะได้พลังงานทางสติ ทำให้สติของเราดีขึ้น

แต่เมื่อปฏิบัติต่อเนื่องกันไป สมาธิจะเกิดขึ้นในขณะที่นอนหลับ เมื่อเรานอนหลับ เมื่อจิตหยุดคิด เรานอนหลับแล้วแทนที่จะมืดไปอย่างธรรมดา พอหลับแล้วจิตของเราจะรู้สึกตัวแจ่ม ๆ อยู่ภายใจจิต บางทีก็รู้สึกว่ามีความสว่างไสว ซึ่งในขณะนั้นถ้าจิตสงบนิ่ง รู้ตัว สว่างไสวอยู่ตลอดคืน ก็ได้ชื่อว่าจิตอยู่ในสมาธิ เป็นสมาธิขั้นสมถะเพราะจิตหยุดนิ่ง ทีนี้ถ้าหากว่านอนหลับปุ๊บลงไป จิตเป็นสมาธิสว่างขึ้นมา มีอารมณ์อันใดที่ตกค้างอยู่ ปัญหาใดที่เราแก้ยังไม่ตก ก็จะวิ่งเข้าไปเป็นอารมณ์จิต จิตจะทำหน้าที่แก้ปัญหานั้น ๆ ซึ่งลักษณะเหมือนนอนหลับแล้วฝันไป แต่ว่าแก้ปัญหาตก

อันนี้ก็คือลักษณะของสมาธิที่เกิดขึ้น อันนี้เป็นหลักการปฏิบัติสมาธิซึ่งเป็นหลักสาธารณะทั่วไป ถึงแม้ว่าจะมอง ๆ ดูแล้วเป็นสิ่งที่ตื้นเขินหรือเผิน ๆ จนเกินไป แต่โดยความเป็นจริงแล้ว แม้ว่าใครจะปฏิบัติสมาธิจิตมีความละเอียดถึงไหนก็ตาม เมื่อปฏิบัติไปจนคล่องตัวชำนิชำนาญแล้ว จิตจะมาป้วนเปี้ยนอยู่กับการยืน เดิน นั่ง นอน รับประทาน ดื่ม ทำ พูด คิด จะไม่ยอมเข้าไปสู่ที่สงบละเอียด หรือลึกซึ้งเหมือนอย่างก่อน เพียงแต่กำหนดจิตลงไป จิตจะวูบลงไปนิดหน่อย แล้วก็จะมีความรู้ ความคิดผุดขึ้นเป็นระยะ ๆ เมื่อเวลาเราขยับยืน เดิน นั่ง นอน สติสัมปชัญญะสมาธิของเราจะกับอยู่กับอิริยาบถตลอดไป ซึ่งจิตจะไม่ยอมเข้าไปสู่ความสงบแน่นิ่งเหมือนอย่างแต่ก่อนบ่อยนัก ถึงแม้ว่าเข้าไปสู่ความสงบนิ่งก็จะไม่ยั้งอยู่นานเหมือนเมื่อก่อน ทั้งนี้ทั้งนั้นเพราะจิตมีพลังงาน เมื่อมีพลังงานแล้ว เขาก็จะต้องการทำงาน เขาจะต้องมีความคิด งานของจิตก็คือความคิด ความคิดนอกจากเป็นงานของจิตแล้ว ยังเป็นอาหารของจิต เป็นการบริหารจิตให้เกิดมีพลังงาน เป็นการผ่อนคลายความตึงเครียด เป็นสิ่งที่เป็นเครื่องหมาย ให้เราสามารถกำหนดรู้ว่า อะไรเกิดขึ้นดับไป ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

แล้วถ้าเรามีสติปัญญาเข้มข้น เราก็จะสามารถมองเห็นว่าความคิดนี่แหละเป็นสิ่งมายั่วยุให้เราเกิดความยินดียินร้าย ถ้าหากสมาธิของผู้มีปัญญาก็จะกำหนดหมายว่า ความยินดีคือกามตัณหา ความยินร้ายคือวิภวตัณหา เข้าไปยึดติดอยู่กับสิ่งนั้นก็คือภวตัณหา ในเมื่อจิตมีกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาอยู่พร้อม ความสุขและความทุกข์ ย่อมเกิดขึ้นสลับกันไป เมื่อจิตดวงนี้มีสติปัญญาเข้มแข็ง เขาสามารถจะกำหนดหมายรู้ว่านี่คือทุกขอริยสัจที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ แล้วก็จะได้รู้ความเกิด ความดับของทุกข์เรื่อยไป ในที่สุดจิตก็จะเกิดความรู้ขึ้นมาว่า นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นดับไป ก็จะได้ดวงตาเห็นธรรมว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดา เช่นเดียวกับท่านอัญญาโกณฑัญญะ ฟังธัมมจักกัปปวัตตนสูตรจบลง ซึ่งพระพุทธเจ้าแสดงอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เมื่อจิตของท่านอัญญาโกณฑัญญะ ได้สมาธิก้าววูบลงไป นิ่ง สว่าง

 
พระธาตุหลวงปู่พุธ ฐานิโย

จักขุง อุทะปาทิ จักษุบังเกิดขึ้นแล้ว จิตจะรู้พร้อมอยู่ที่จิต หยั่งรู้อยู่ภายในจิตเป็นลักษณะของญาณ

ญาณัง อุทะปาทิ ญาณได้บังเกิดขึ้นแล้ว ในเมื่อญาณ การหยั่งรู้แก่กล้า มีพลังขึ้นกลายเป็นปัญญา จิตไหวตัวกลายเป็นความรู้ เกิดความคิดขึ้นมา

ปัญญา อุทะปาทิ ปัญญาบังเกิดขึ้นแล้ว จิตมีสิ่งรู้ สติมีสิ่งระลึก ซึ่งจะเป็นไปเองโดยอัตโนมัติทุกขณะจิต และมีสติรู้พร้อมอยู่กับความคิดที่เกิดดับ รู้แจ้งเห็นจริงว่าความคิดมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นดับไป เพราะอาศัยที่มีสติรู้เท่าทันเหตุการณ์ จิตกำหนดรู้อยู่ที่จิต สติพร้อมอยู่ที่จิต สิ่งที่รู้มาปรากฎขึ้นกับสติมาพร้อมกัน ไม่มีความพลั้งเผลอ คือไม่เผลอยินดี

วิชชา อุทะปาทิ วิชชาบังเกิดขึ้นแล้วในเมื่อมีวิชชาความรู้แจ้งเห็นจริงตามสภาพแห่งความเป็นจริง จิตก็ปล่อยวาง ในขณะนั้นวูบลงไปอีก มีความสว่างไสวโพลงขึ้นมา

อาโลโก อุทะปาทิ ความสว่างไสวได้บังเกิดขึ้นแล้ว นี่คือวิถีทางที่จิตจะเป็นไปซึ่งเป็นจิตที่ดำเนินสมาธิในทางที่ถูกต้อง


อ้างอิง http://www.luangpee.org/forum/index.php?topic=3847.0

22234  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ว่าด้วยความตาย ตอนที่ ๑. “เมื่อพระพุทธเจ้าปลุกคนตายให้ตื่น” เมื่อ: มกราคม 30, 2010, 03:45:00 pm

ว่าด้วยความตาย ตอนที่ ๑. “เมื่อพระพุทธเจ้าปลุกคนตายให้ตื่น”



พระพุทธเจ้าปลุกคนตายให้ลุกขึ้นตอบปัญหา

เรื่องมีอยู่ว่า สมัยหนึ่ง เมื่อพระพุทธเจ้าประทับ อยู่ที่นิคมของมัลลกษัตริย์ชื่ออนุปิยนิคม ซึ่งตั้งอยู่ในแคว้นมัลละ ได้มีเจ้าชายลิจฉวีพระองค์หนึ่งนามว่า "สุนักขัตตะ" เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาด้วยจุดมุ่งหมาย ที่ไม่เหมือนใครนั่นคือ เพื่อต้องการเห็นพระพุทธเจ้าแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ครั้นบวชแล้วเวลาล่วงเลยไปนานพอสมควร พระสุนักขัตตะไม่เห็น พระพุทธเจ้าแสดงอิทธิปาฏิหาริย์อะไรสักอย่างหนึ่ง อย่างที่ตนประสงค์จึงเกิดความเบื่อหน่าย คลายความเลื่อมใส ในพระพุทธเจ้า ที่มีมาแต่แรกเสียหมดสิ้น พร้อมทั้งได้ประกาศความรู้สึกของท่าน ในที่เฉพาะพระพักตร์พระพุทธเจ้า ด้วยว่าท่านจะไม่บวช อยู่ในศาสนาของพระพุทธเจ้าต่อไป

พระพุทธเจ้าเมื่อครั้นทรงทราบความต้องการ ของพระสุนักขัตตะอย่างนั้นแล้ว ต่อมาเมื่อย้ายมาประทับอยู่ที่นิคมของชาวขละ ชื่ออุตตรกาในแคว้นขละ วันหนึ่งจึงได้พาพระสุนักขัตตะ เสด็จออกเที่ยวบิณฑบาต ในหมู่บ้านอุตตรกา และในขณะที่เสด็จไปตามหมู่บ้านนั้น ก็ได้พบนักบวชเปลือยรูปหนึ่งชื่อ "โกรักขัตติยะ"

โกรักขัตติยะ เป็นนักบวชเปลือยที่มีวัตรปฏิบัติแปลกประหลาด กล่าวคือประพฤติกุกกุรวัตร ทำตัวเยี่ยงสุนัขคลานสี่ขา ไปไหนต่อไหนมาด้วยอิริยาบถนั้นท่าเดียว มิหนำซ้ำยังชอบนอนตามสถานที่สกปรก เช่น ตามหลุมถ่านหรือไม่ก็ตามเตาไฟ ของชาวบ้าน ยิ่งไปกว่านั้นถึงคราวกินอาหาร ก็หาได้ใช้มือหยิบกินไม่ตรงกันข้ามกลับใช้ปากงับอาหาร และใช้ลิ้นเลียอาหารที่ตกเกลื่อนกลาดอยู่ตามพื้นดิน


พระสุนักขัตตะ ซึ่งในขณะนั้นกำลังเดินบิณฑบาต ตามเสด็จพระพุทธเจ้ามา พอได้เห็นนักบวชเปลือยโกรักขัตติยะ แสดงวัตรปฏิบัติเยี่ยงสุนัขเช่นนั้น ก็เกิดศรัทธาในตัวนักบวชเปลือยขึ้นมาทันที พลางคิดอยู่ในใจว่า ท่านผู้นี้ถ้าจะเป็นพระอรหันต์แท้ทีเดียว พระพุทธเจ้าทรงทราบความในใจของพระสุนักขัตตะนั้น และทรงดำริว่าสุนักขัตตะเริ่มเข้าใจผิดแล้ว ทั้งทรงเห็นต่อไปว่าความเข้าใจผิดนั้นถึงขั้นเป็นมิจฉาทิฐิ ซึ่งมีแต่จะทำให้พระสุนักขัตตะ ตกต่ำยิ่งขึ้นไปอีก เพื่อเป็นการช่วยเปลื้องพระสุนักขัตตะให้พ้น ไปจากความเข้าใจผิด และโดยการที่ทรงเห็นว่าไม่มีทางอื่น ที่จะช่วยได้นอกจากการพยากรณ์ความจริง เกี่ยวกับนักบวชเปลือยรูปนั้น พระพุทธเจ้าจึงหันมาทางพระสุนักขัตตะ แล้วตรัสทำนายว่า


"ในวันที่ ๗ นับจากวันนี้ไปนักบวชเปลือยคนนี้ จะตายด้วยโรคท้องขึ้น ครั้นตายแล้วก็จะไปเกิดในหมู่อสูรชื่อกาลัญชิกา นั้นนักบวชเปลือยจะไปเกิดในขั้นต่ำสุด ส่วนศพของเขาจะถูกนำไปทิ้งไว้ ในป่าช้าชื่อวีรณถัมภกะ"
 

พอได้ฟังพุทธพยากรณ์นั้นแล้ว พระสุนักขัตตะหาเชื่อไม่พร้อมทั้งคิด อยู่ในใจว่าตนได้โอกาสจับผิด พระพุทธเจ้าแล้ว ในคัมภีร์เล่าว่าความคิด ที่จะจับผิดพระพุทธเจ้าในเรื่องนี้ ของพระสุนักขัตตะนั้นรุนแรงมาก ถึงขนาดท่านแอบไปหา นักบวชรูปนั้น ในเวลาต่อมา แล้วเล่าเรื่องราวที่พระพุทธเจ้าพยากรณ์ให้เขาทราบ พร้อมทั้งเตือนเขาให้กินอาหาร แต่พอประมาณเพื่อจะได้ไม่ต้องตาย อย่างที่พระพุทธเจ้าตรัส

แต่พอถึงวันที่ ๗ นักบวชเปลือยโกรักขัตติยะนั้น ก็เผลอลืมคำเตือนของพระสุนักขัตตะจึงกินอาหาร และน้ำเกินพอดี และปรากฏว่าในวันนั้นเอง อาหารที่กินเข้าไปมาก ก็เกิดเป็นพิษไฟธาตุในร่างกาย ไม่สามารถจะย่อยได้ทันที จึงทำให้โกรักขัตติยะ นั้นเกิดอาการท้องขึ้น และเสียชีวิตในที่สุด ศพของนักบวชเปลือยได้ถูกนำไปทิ้ง ไว้ที่ป่าช้าชื่อวีรณถัมภกะ เหตุการณ์ทุกอย่าง เป็นไปตามที่พระพุทธเจ้าทำนายไว้ทุกประการ


พระอรรถกถาจารย์เล่าว่า ผู้ที่นำศพของโกรักขัตติยะ ไปทิ้งไว้ในป่าช้าแห่งดังกล่าวนั้น ก็คือพวกเดียรถีย์ พวกเดียรถีย์นี้นับได้ว่าเป็นคู่แข่งพวกหนึ่ง ของพระพุทธเจ้าในสมัยนั้น พวกเดียรถีย์ได้คอยจับตาดูพระพุทธเจ้าอยู่ตลอดเวลา และในขณะเดียวกันก็คอยจ้องทำลาย พระพุทธเจ้าไปด้วย เพื่อว่าประชาชนจะได้คลายความเชื่อความเลื่อมใส แล้วหันมานับถือพวกตนมากขึ้น
[/color]
การที่พระพุทธเจ้าพยากรณ์โกรักขัตติยะเช่นนี้ พวกเดียรถีย์ที่คอยติดตามความเป็นไปของโกรักขัตติยะอยู่ทุกขณะ ด้วยหวังใจอยู่ว่าถ้าโกรักขัตติยะไม่ตายขึ้นมาจริงๆ และเพื่อเป็นการกลบเกลื่อนเรื่องนี้เสีย ไม่ให้คนส่วนมาก ได้รู้จึงได้ช่วยกันเอาเถาวัลย์ มัดร่างที่ไร้วิญญาณ ของโกรักขัตติยะแล้วลากไปตั้งใจว่าจะทิ้งในป่าลึก แต่ครั้นผ่านมาถึงป่าช้าวีรณถัมภกะนั้นเถาวัลย์เกิดขาดพวกเขาจึงตัดสินใจทิ้งไว้ที่นั่นด้วยเห็นว่าไกลพอสมควรแล้ว

พระสุนักขัตตะเองก็ได้ทราบ ถึงการตายของโกรักขัตติยะ ว่าเป็นไปตามที่พระพุทธเจ้าพยากรณ์ไว้ทุกประการแต่ด้วยเห็นว่า ยังมีช่องทางที่จะจับผิดพระพุทธเจ้าได้อีก จึงไม่ยอมรับในความสามารถ ของพระพุทธเจ้า ช่องทางที่ว่านั้นก็คือ ยังไม่สามารถจะพิสูจน์ได้ว่า โกรักขัตติยะตายแล้วไปเกิดในที่ไหน?

พระพุทธเจ้าได้ทรงบอกท่าน ให้ไปถามนักบวชเปลือยด้วยตนเอง โดยทรงแนะนำว่าพอไปถึงศพของนักบวชเปลือยนั้นแล้ว ก็ให้เอาฝ่ามือเคาะที่ศพ ๓ ครั้งก่อนแล้วจึงค่อยถามว่า ท่านรู้หรือเปล่าว่าท่านไปเกิดที่ไหน?

พระสุนักขัตตะได้ทำตามที่พระพุทธเจ้าตรัสแนะนำ ทันใดนั้นเองก็ปรากฏว่า ศพของนักบวชเปลือยได้ลุกขึ้น เอามือปัดหลังพร้อมทั้งตอบว่ารู้ซิท่านข้าพเจ้าไปเกิด ในหมู่อสูรชื่อกาลัญชิกา และในหมู่อสูรชื่อกาลัญชิกา นั้นข้าพเจ้าก็ได้ไปเกิดอยู่ในชั้นต่ำสุด ครั้นตอบแล้วศพนั้นก็กลับล้มลงไปนอนหงายอยู่ตามเดิม

 

เมื่อได้รับคำตอบอย่างนั้นแล้วพระสุนักขัตตะ ก็กลับมาหาพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงตรัสถามเป็นการสำทับว่า เห็นแล้วใช่ไหมสุนักขัตตะ สิ่งใดที่เราพยากรณ์แล้วจะมิเป็นอย่างอื่นเลยแม้แต่น้อย พระสุนักขัตตะก็ทูลรับว่า เห็นแล้วพระเจ้าข้า แล้วพระพุทธเจ้าจึงตรัสต่อไปว่า เมื่อเห็นอย่างนี้แล้ว เธอพอจะบอกได้ไหมว่าอิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นปาฏิหาริย์เหลือวิสัยที่คนธรรมดาจะทำได้เราได้ทำแล้วหรือยังไม่ได้ทำ พระสุนักขัตตะก็กราบทูลว่า ทำแล้วพระเจ้าข้า

ท้ายที่สุดพระพุทธเจ้าได้ตำหนิพระสุนักขัตตะอย่างรุนแรงว่า "โมฆบุรุษ แล้วอย่างนี้เธอยังจะมากล่าวว่าเรา มิได้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์เหลือวิสัย ที่คนธรรมดาจะทำได้แก่เธอ เธอผิดถนัดเห็นไหมโมฆบุรุษ"

ในการแสดงปาฏิหาริย์ครั้งนี้พระอรรถกถาจารย์เล่าว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงถึง ๕ ขั้นตอนด้วยกันคือ


ขั้นตอนที่ ๑ ได้แก่ที่ตรัสว่า นักบวชเปลือยโกรักขัตติยะจะตายในวันที่ ๗ ปรากฏว่าตายจริง
ขั้นตอนที่ ๒ ได้แก่ที่ตรัสว่า เขาจะตายด้วยโรคท้องขึ้น ปรากฏว่าตายด้วยโรคนั้นจริง
ขั้นตอนที่ ๓ ได้แก่ที่ตรัสว่า เขาตายแล้วจะไปเกิดในหมู่อสูรชื่อกาลัญชิกา ปรากฏว่าไปเกิดในที่นั้นจริง
ขั้นตอนที่ ๔ ได้แก่ที่ตรัสว่า ศพของเขาจักถูกนำไปทิ้งไว้ที่ป่าช้าวีรณถัมภกะ ปรากฏว่าถูกทิ้งในที่นั้นจริง
ขั้นตอนที่ ๕ ได้แก่ที่ตรัสว่า ศพนั้นสามารถตอบปัญหาได้ ปรากฏว่าตอบได้จริง



อนึ่ง ในการที่ศพของโกรักขัตติยะลุกขึ้นตอบปัญหาได้นั้น พระอรรถกถาจารย์วินิจฉัยว่าเป็นไปได้ ๒ ทางคือ

๑. พระพุทธเจ้าทรงนำเอานักบวชเปลือยนั้นมาจากสถานที่ที่เขาเกิดอยู่แล้วให้มาเข้าสิงในศพของตนเองแล้วตอบ
ปัญหา

๒. หรือไม่ พระพุทธเจ้าเองนั่นแหละทรงใช้อำนาจบังคับให้ศพลุกขึ้นตอบตามที่ตนเองไปเกิด




อ้างอิง
- เรื่องนี้คัดลอกมาจากหนังสือ "รวมเรื่องจริง อิงพุทธประวัติ - พระไตรปิฎก ปาฏิหาริย์พระพุทธเจ้า" โดย นพ นันทวัน
- พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๓ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ปาฏิกสูตร
- ให้เครดิตกับคุณธนานุวัตร สมาชิกเว็บพลังจิต
- http://poonporn.com/story/story000070.html

22235  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ เมื่อ: มกราคม 30, 2010, 03:36:41 pm
ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ

ปริยัติ  พุทธพจน์อันจะพึงเล่าเรียน, สิ่งที่ควรเล่าเรียน (โดยเฉพาะหมายเอาพระบาลีคือพระไตรปิฎก พุทธพจน์หรือพระธรรมวินัย); การเล่าเรียนพระธรรมวินัย

ปฏิบัติ  ประพฤติ, กระทำ; บำรุง, เลี้ยงดู

ปฏิเวธ เข้าใจตลอด, แทงตลอด, ตรัสรู้, รูทะลุปรุโปร่ง, ลุล่วงผลปฏิบัติ

สัทธรรม  ธรรมที่ดี, ธรรมที่แท้, ธรรมของคนดี, ธรรมของสัตบุรุษมี ๓ อย่าง คือ
 
๑.ปริยัติสัทธรรม สัทธรรมคือสิ่งที่พึงเล่าเรียน ได้แก่ พุทธพจน์
๒.ปฏิบัติสัทธรรม สัทธรรมคือสิ่งพึงปฏิบัติได้แก่ไตรสิกขา
๓.ปฏิเวธสัทธรรม สัทธรรมคือผลที่พึงบรรลุ ได้แก่ มรรคผล และนิพพาน;

อย่างไรก็ตามในหนังสือ "พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน ย่อความจากประไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี ๔๕ เล่ม"
โดยคุณสุชีพ ปุญญานุภาพ ได้ให้ความหมายของทั้งสามคำ เอาไว้ง่ายๆ ดังนี้


การศึกษาให้รู้และเข้าใจในพระไตรปิฎก  เรียกว่า ปริยัติ
การลงมือกระทำตามโดยควรแก่จริตอัธยาศัยเรียกว่า ปฏิบัติ
การได้รับผลแห่งการปฏิบัตินั้น ๆ เรียกว่า ปฎิเวธ


อ้างอิง   พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ และฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ.ปยุตโต
22236  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / บาลี อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา เมื่อ: มกราคม 30, 2010, 03:28:46 pm

บาลี อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา

ลำดับชั้นคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา
          แม้ว่าพระไตรปิฎกจะนับว่าเป็นคัมภีร์สำคัญ และเป็นหลักฐานทางพระพุทธศาสนา แต่ก็มีคัมภีร์อื่นอีกที่เกี่ยวข้องด้วย จึงควรทราบลำดับชั้นคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาไว้ดังต่อไปนี้

          ๑. พระไตรปิฎก เป็นหลักฐานขั้น ๑ เรียกว่าบาลี
          ๒. คำอธิบายพระไตรปิฎก เป็นหลักฐานขั้น ๒ เรียกว่าอรรถกถา หรือวัณณนา
          ๓. คำอธิบายอรรกถา เป็นหลักชั้น ๓ เรียกว่าฎีกา
          ๔. คำอธิบายฎีกา เป็นหลักฐานชั้น ๔ เรียกว่าอนุฎีกา

          นอกจากนี้ยังมีคัมภีร์ที่แต่งขึ้น ว่าด้วยไวยกรณ์ภาษาบาลีฉบับต่าง ๆ และอธิบายศัพย์ต่าง ๆ เรียกรวมกันว่า สัททาวิเสส เป็นสำนวนที่เรียกกันในวงการนักศึกษาฝ่ายไทย ปรากฏในพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่า เมื่อทำการสังคายนา ในรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๓๓๑ เพื่อชำระพระไตรปิฎกนั้น ได้มีการชำระคัมภีร์สัททวิเสสต่าง ๆ ด้วย โดยมีพระพุฒาจารย์เป็นแม่กอง

          การจัดชั้นของบาลีอรรถกถา ก็เนื่องด้วยกาลเวลานั้นเอง พระไตรปิฎกเป็นของมีมาก่อน ก็จัดเป็นหลักฐานชั้น ๑ คำอธิบายพระไตรปิฎกแต่งขึ้นประมาณ ๙๕๖ ปีภายหลังพุทธปรินิพพาน จึงจัดเป็นชั้น ๒ ส่วนฎีกานั้น แต่งขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๕๘๗ จึงนับเป็นหลักฐานชั้น ๓ อนึ่ง คัมภีร์อนุฎีกานั้น แต่งขึ้นภายหลังฎีกาในยุคต่อ ๆ มา เป็นคำอธิบายฎีกาอีกต่อหนึ่ง จึงนับเป็นหลักฐานชั้น ๔

อ้างอิง
จาก หนังสือ "พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน ย่อความจากประไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี ๔๕ เล่ม" โดยคุณสุชีพ ปุญญานุภาพ
ที่มา  www.larnbuddhism.com


22237  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / พระพุทธรูปปางห้ามแก่นจันทร์ เมื่อ: มกราคม 30, 2010, 09:58:49 am

พระพุทธรูปปางห้ามแก่นจันทร์
 

พระพุทธรูปปางห้ามแก่นจันทร์ วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร

ปางพระห้ามแก่นจันทร์(หรือพระแก่นจันทร์) เป็นพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน ห้อยพระหัตถ์ขวาลงข้างพระวรกาย ฝ่าพระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นเสมอพระอุระ (อก) และยื่นออกไปข้างหน้าเป็นกิริยาทรงห้าม


ความเป็นมาของปางห้ามแก่นจันทร์

ตามคัมภีร์อรรถกถา (คัมภีร์ชั้นหลังพระไตรปิฎก) กล่าวว่าเมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าทรงเสด็จจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น มีตำนานกล่าวว่าพระเจ้าปเสนทิโกศล กษัตริย์แห่งนครสาวัตถีทรงลำลึกถึงพระพุทธองค์มาก ด้วยความเคารพรักและศรัทธาจึงสั่งให้ช่างหลวงทำพระพุทธรูปลักษณะคล้ายองค์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยไม้แก่นจันทร์หอมอย่างดี ประดิษฐานไว้ในพระราชนิเวศน์เพื่อสักการะบูชา พระไม้แก่นจันทร์องค์นี้ถือว่าเป็นพระพุทธรูปองค์แรกในพระพุทธศาสนา เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จกลับมา และได้มาทรงเยี่ยมพระเจ้าปเสนทิโกศล พระพุทธรูปไม้แก่นจันทร์ องค์ดังกล่าวก็ได้แสดงปาฏิหาร ลอยจากพระแท่น เพื่อให้องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ทรงห้ามรูปเปรียบพระองค์ ไม่ให้ลอยไปที่อื่น และยังได้ทรงบอกถึงอานิสงค์ในการสร้างรูปเปรียบของพระองค์ให้พระเจ้าปเสนทิโกศลรับฟังอีกด้วย

อ้างอิง
     * จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    * สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ตำนานพุทธเจดีย์. ธนบุรี  : ศิลปาบรรณาคาร โรงพิมพ์รุ่งวัฒนา, 2513.
    * เรื่องพระพุทธรูปปางต่างๆ หลวงบริบาลบุรีรัตน์ และนายเกษมบุญศรี (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ขึ้นเพื่อพระราชทานในงานพระราชกุศลราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักจิตรลดา รโหฐาน เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2500)
    * สกุลศิลปพระพุทธรูปในประเทศไทย อาจารย์จิตร บัวบุศย์
    * ศิลปในประเทศไทย ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิสกุล
    * http://www.dhammathai.org/pang/pang.php
    * http://www.lekpluto.com/index02/special06.html
    * http://www.banfun.com/

-----------------------------------------------------------------------------------

ประวัติการสร้างพระพุทธรูป   


      ในระยะแรกหลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว พุทธศาสนิกชนก็ได้นำเอา ดิน น้ำ และใบโพธิ์จากสังเวชนียสถาน ๔ แห่ง คือ สถานที่ประสูติ (ลุมพินีวัน) ตรัสรู้ (พุทธคยา) ปฐมเทศนา (พาราณสี) และ ปรินิพพาน (กุสินารา) เก็บมาไว้เพื่อบูชาคุณพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อมามีการสร้างรูปอื่นที่เป็นสัญลักษณ์เพื่อระลึกถึงพระพุทธคุณ เช่น ทำดวงตราสัญลักษณ์ประจำสถานที่ต่างๆ ขึ้น ด้วยดินเผาหรือแผ่นเงิน เช่นที่เมืองกบิลพัสดุ์สร้างตราดอกบัว หมายถึงมีสิ่งบริสุทธิ์เกิดขึ้น และตราม้า หมายถึงม้ากัณฐกะ ที่เมืองพาราณสีสร้างตราธรรมจักร มีรูปกวางหมอบอันหมายถึงการแสดงธรรมจักร และพระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงสร้างเสาหินอโศกไว้ในสถานที่ประสูติ เป็นต้น

       ส่วนการสร้างพระพุทธรูปมีประวัติความเป็นมาดังนี้ คือ ตามตำนานพุทธประวิติกล่าวว่า ในสมัยพุทธกาล พระเจ้าปเสนธิโกศลแห่งแคว้นโกศล ได้โปรดให้ช่างจำหลักพระรูปเหมือนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นจากไม้แก่น จันทร์ เพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงพระพุทธองค์ที่เสด็จไปจำพรรษาที่สวรรค์ชั้น ดาวดึงส์เพื่อโปรดพุทธมารดา นับเป็นการสร้างพระพุทธรูปเป็นครั้งแรก แต่ตำนานพระแก่นจันทร์นี้ บางท่านกล่าวว่าเป็นเพียงตำนานที่ยังไม่สามารถหาหลักฐานมายืนยันได้อย่าง ชัดเจน ถ้าไม่นับพระแก่นจันทร์ก็สันนิษฐานกันว่า พระพุทธรูปนั้น เริ่มสร้างในราวพุทธศตวรรษที่ ๗ ตั้งแต่สมัยคันธารราฐ ซึ่งเป็นแคว้นที่อยทางตอนู่เหนือ ของอินเดียโบราณ (ปัจจุบันอยู่ในแถบตะวันตกเฉียงเหนือของปากีสถานและตะวันออกของอัฟกานอสถาน) ผู่ริเริ่มสร้างไม่ใช่ชาวอินเดียแต่เป็นพวกโยนก (กรีก) สันนิษฐานว่าเริ่มสร้างในสมัยพระเจ้าเมนันเดอร์หรือพระเจ้ามิลินท์ กษัตริย์เชื้อสายกรีกแห่งแคว้นคันธาระ หรือคันธาราฐ

   เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชนำพระพุทธศาสนาเข้าไปเผยแผ่ในคันธาราฐ พวกโยนกยอมรับนับถือพระพุทธศาสนา พระเจ้ามิลินท์มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก แสดงองค์เป็นพุทธศาสนูปถัมภก ทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจิริญรุ่งเรือง แต่เดิมนั้นพระพุทธศาสนาไม่มีรูปเคารพแต่อย่างใด เพราะในสมัยอินเดียในสมัยนั้นมีข้อห้ามในการทำรูปเคารพ แต่เคยนับถือศาสนเทวนิยมและจำหลักรูปเคารพของเทพเจ้ากลุ่มโอลิมปัสมาก่อน เช่น รูปอพอลโลและซีอุส เมื่อเปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนา ก็เลยจำหลักศิลารูปพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นเคารพบูชาเป็นครั้งแรก



พระพุทธรูปปางต่างๆ

๑.ปางประสูติ    ๒.ปางมหาภิเนษกรมณ์    ๓.ปางตัดพระเมาลี
๔.ปางอธิฐานเพศบรรพชิต            ๕.ปางปัจเจกขณะ            ๖.ปางบำเพ็ญทุกรกิริยา
๗.ปางทรงพระสุบิน                    ๘.ปางรับมธุปายาส            ๙.ปางเสวยมธุปายาส
๑๐.ปางเสี่ยงบารมีลอยถาด     ๑๑.ปางรับหญ้าคา            ๑๒.ปางสมาธิเพชร
๑๓.ปางมารวิชัย                    ๑๔.ปางสมาธิหรือปางตรัสรู้ ๑๕.ปางถวายเนตร
๑๖.ปางจงกรมแก้ว                    ๑๗.ปางเรือนแก้ว            ๑๘.ปางห้ามมาร
๑๙.ปางนาคปรก                    ๒๐.ปางฉันผลสมอ            ๒๑.ปางประสานบาตร
๒๒.ปางรับสัตตุก้อนสัตตุผง    ๒๓.ปางพระเกศธาตุ    ๒๔.ปางรำพึง
๒๕.ปางปฐมเทศนา             ๒๖.ปางประทานเอหิภิกขุ    ๒๗.ปางภัตกิจ
๒๘.ปางห้ามสมุทร                    ๒๙.ปางห้ามญาติ            ๓๐.ปางปลงกัมมัฏฐาน
๓๑.ปางชี้อัครสาวก              ๓๒.ปางแสดงโอวาทปาฏิโมกข์    ๓๓.ปางประทับเรือ
๓๔.ปางห้ามพยาธิ                    ๓๕.ปางแสดงอิทธิปาฏิหาริย์    ๓๖.ปางอุ้มบาตร
๓๗.ปางโปรดพุทธบิดา            ๓๘.ปางรับผลมะม่วง    ๓๙.ปางแสดงยมกปาฏิหาริย์
๔๐.ปางโปรดพุทธมารดา            ๔๑.ปางเปิดโลก            ๔๒.ปางเสด็จลงจากดาวดึงส์
๔๓.ปางลีลา                            ๔๔.ปางห้ามแก่นจันทร์    ๔๕.ปางพระอิริยาบถยืน
๔๖.ปางประดิษฐานรอยพระพุทธบาท    ๔๗.ปางสรงน้ำฝน    ๔๘.ปางขอฝน (นั่ง)
๔๙.ปางขอฝน (ยืน)            ๕๐.ปางชี้อสุภะ            ๕๑.ปางชี้มาร
๕๒.ปางปฐมบัญญัติ            ๕๓.ปางขับพระวักกลิ    ๕๔.ปางสนเข็ม
๕๕.ปางประทานพร (นั่ง)            ๕๖.ปางประทานพร (ยืน)    ๕๗.ปางประทานธรรม
๕๘.ประทานอภัย (นั่ง)            ๕๙.ปางโปรดพญาช้างนาฬาคิรี    ๖๐.ปางโปรดพญาชมพูบดี
๖๑.ปางปาลิไลก์                    ๖๒.ปางแสดงโอฬาริกนิมิตร    ๖๓.ปางโปรดอสุรินทราหู
๖๔.ปางโปรดอาฬวกยักษ์            ๖๕.ปางโปรดองคุลีมารโจร            ๖๖.ปางโปรดพกาพรหรม
๖๗.ปางพิจารณาชราธรรม    ๖๘.ปางปลงอายุสังขาร    ๖๙.ปางนาคาวโลก
๗๐.ปางทรงรับอุทกัง    ๗๑.ปางทรงพยากรณ์    ๗๒.ปางโปรดสุภัททปริพาชก
๗๓.ปางปรินิพพาน       


ที่มา  http://www.dhammathai.org/pang/pang.php
22238  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว เมื่อ: มกราคม 30, 2010, 09:43:12 am

เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว

 

ทำไม “เด็ดดอกไม้” จึง “สะเทือนถึงดวงดาว” ใครรู้ยกมือขึ้น…


ผมได้ความคิดในการเขียนเรื่องนี้จากบล็อกของคุณ Nabhasan2007 แห่ง mBlog  โดยเธอได้เขียนเรื่อง “ทำไมเด็ดดอกไม้แล้วสะเทือนถึงดวงดาว” ตั้งคำถามในเรื่องนี้ แล้วมีผู้เข้าไปร่วมแสดงความคิดเห็นหลายคน รวมทั้งผมด้วย

ผมได้ยินประโยคนี้เมื่อประมาณ 10 กว่าปีก่อน เพราะเป็นชื่ออัลบั้มเพลงของกลุ่มดนตรีเฉลียง (ถ้าจำไม่ผิด)  ต่อมาจึงได้รู้ว่า เป็นคำอธิบายที่มีผู้ใช้อธิบายถึงทฤษฎีแห่งความไร้ระเบียบ หรือทฤษฎีความอลวน หรือ ทฤษฎีความโกลาหล ซึ่ง แปลมาจากภาษาอังกฤษคำเดียวกัน คือ Chaos Theory  ซึ่งทฤษฎีดังกล่าวนี้ ในภาคภาษาไทยมีผู้อธิบายไว้หลายแห่งโดยคนหลายคน  ที่น่าสนใจและทำความเข้าใจได้เป็นเบื้องต้น ก็คือ คำอธิบายเรื่องทฤษฎีความโกลาหล ของ ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิช แห่งสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)

ในทางวิชาการนั้น คำอธิบายของประโยคที่ว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” ที่อิงแอบอยู่กับทฤษฎีความไร้ระเบียบ  ได้ก่อให้เกิดความสับสนงุนงงแก่ผู้อ่านที่ไม่มีพื้นฐานทางด้านวิชาการ  หรือไม่มีพื้นความรู้เรื่องทฤษฎีดังกล่าว  ตัวผมเองแม้มีอยู่ช่วงเวลาหนึ่งที่สนใจเรื่องทฤษฎีความไร้ระเบียบ (ผมชอบคำแปลคำนี้ ซึ่งแปลโดย อาจารย์ชัยวัฒน์ ถิระพันธ์ ในหนังสือชื่อ “ทฤษฎีความไร้ระเบียบกับทางแพร่งของสังคมสยาม”) จนถึงขั้นลงมือศึกษาค้นคว้าด้วยความอยากรู้ แต่ในที่สุดก็ยอมแพ้ไป เพราะไม่สามารถที่จะทำความเข้าใจในเชิงวิชาการได้

ดังนั้น ผมจึงหันมาพิจารณาทำความเข้าใจในเชิง “วิชากู” หรืออาจจะเรียกว่า “วิชาเกิน” ก็ได้ นั่นคือ คิดค้นทำความเข้าใจโดยใช้รสนิยมของตัวเองล้วนๆ  จนตกผลึกเป็นความคิดชุดหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ ดังที่ผมได้แสดงความคิดเห็นไว้ในบล็อกของคุณ Nabhasan2007 ซึ่งผมจะขอยกมานำเสนอไว้ในที่นี้โดยพิสดาร(คือยาวขึ้นมาหน่อยนั่นแหละครับ)


โดยอาศัยหลักวิชากูที่ได้นั่งคิดนอนคิดมาจนผมร่วงไป ครึ่งหัว (ร่วงเป็นสไตล์ชะโดตีแปลงซะด้วย) ผมก็ได้คำอธิบายว่าเรื่อง “เก็บดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” ซึ่งคำกล่าวนี้ ไม่ใช่เป็นเพียงแค่คำพูดโก้ๆของนักปรัชญาจอมปลอม หากแต่เป็น “สัจธรรม” (Truth) หาใช่ “ความจริงพื้นๆ” (Real) ไม่ (เอ๊ะ! ใช้ภาษาอังกฤษถูกหรือเปล่าหว่าเนี่ย)

ผมคิด (และเชื่อด้วย) ว่า ประโยคเด็ดที่ว่า “เก็บดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” เป็นคำอธิบายในเชิงเปรียบให้เราเห็นถึงกระบวนการต่อเนื่องของสรรพสิ่ง ที่ส่งผลต่อกันไปเป็นลูกโซ่ ซึ่งเมื่อเราเข้าใจแล้ว จะทำให้เรามีความรอบคอบในการทำสิ่งต่างๆ เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบอันไม่พึ่งประสงค์ที่จะตามมาในภายหลัง

ที่เป็นดังนี้เพราะว่า การกระทำของเรา ณ กาลเวลาและสถานที่หนึ่งในปัจจุบัน ย่อมส่งผลต่อเนื่องไปถึงอนาคต  หรือในทางกลับกัน การกระทำของเรา ณ กาลเวลาและสถานที่หนึ่งในอดีต ส่งผลมาถึงเราในกาลเวลาและสถานที่ปัจจุบันนี้ นั่นเอง


อธิบายอย่างง่ายให้เห็นภาพต่อเนื่องชัดเจนขึ้นดังนี้

ณ กาลเวลาปัจจุบัน เราอยู่ ณ สถานที่หนึ่งคือ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เราเดินไปพบดอกไม้ป่าที่สวยแปลกอยู่ดอกหนึ่ง ด้วยความเห็นแก่ตัว ไร้ความรับผิดชอบ  ปราศจากจิตใจแห่งสาธารณะ  เราจึงเด็ดดอกไม้ดอกนั้น  และดอกไม้ดอกนั้นเป็นดอกสุดท้ายของฤดูกาลที่มีน้ำหวานให้ผีเสื้อ ผีเสื้อตัวหนึ่งต้องการดื่มน้ำหวานครั้งสุดท้ายก่อนที่จะบินไปวางไข่  เมื่อผีเสื้อไม่ได้กินน้ำหวานก็อดตาย ไม่ได้วางไข่  เมื่อผีเสื้อไม่ได้วางไข่ก็ไม่มีหนอนผีเสื้อออกมาหากินใบไม้  นกที่ต้องอาศัยหนอน

ผีเสื้อที่ออกมาจากแม่ผีเสื้อตัวนั้นเป็นอาหารก็ไม่มี อาหารให้กิน  เมื่อนกไม่ได้กินอาหารก็อดตาย  เมื่อนกอดตายลูกนกที่จะต้องเกิดจากแม่นกตัวนั้นก็ไม่ได้เกิด เมื่อลูกนกไม่ได้เกิด  เมื่อลูกนกไม่ได้เกิดจำนวนนกก็ลดลง ทำให้เหยี่ยวที่อาศัยจับนกเล็กกินเป็นอาหารก็ไม่มีอาหารพอเพียงทำให้ไม่ สามารถออกไข่ที่สมบูรณ์ได้  ส่งผลให้ไม่มีลูกเหยี่ยวเกิดขึ้น  จำนวนเหยี่ยวก็ลดลง  แล้วมีผลทำให้จำนวนเหยี่ยวลดลงด้วย  เมื่อจำนวนเหยี่ยวลดลง จำนวนสัตว์เล็กๆที่เป็นอาหารเหยี่ยว เช่น นกเล็กๆ หนูป่าหนูนาก็เพิ่มขึ้น  หนูเพิ่มขึ้นก็ทำความเสียหายแก่พืชไร่พืชนา ส่งผลให้ผลผลิตของชาวไร่ชาวนาลดลงเพราะถูกทำลาย….แล้วก็ส่งผลต่อเนื่องไป เรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด

นี่เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นเป็นเส้นตรง หรือผลกระทบที่เกิดขึ้นเพียงชั้นเดียว แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผลกระทบจะแผ่กว้างออกไปทุกทิศทุกทาง เหมือนเราโยนก้อนหินลงน้ำ จนทำให้เกิดคลื่นน้ำแผ่ขยายออกไปรอบทิศ จากคลื่นเล็กๆแล้วขยายใหญ่ออกไปเรื่อยๆ นั่นแหละครับ

จะเห็นว่า การกระทำใดๆของเรา ณ กาลเวลาใดเวลาหนึ่ง สถานที่ใดที่หนึ่ง ย่อมส่งผลไปถึงเหตุการณ์ในอนาคตอย่างแน่นอน  เมื่อเราทำในสิ่งที่ดี แนวโน้มผลที่เกิดขึ้นก็ย่อมเป็นไปในทางที่ดี  เมื่อเราทำสิ่งไม่ดี แนวโน้มของผลกระทบย่อมจะเกิดขึ้นทางที่ไม่ดี  นั่นคือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ตามหลักธรรมคำสอนแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง

เมื่อเราเข้าใจเช่นนี้ ทำให้เราเกิดความระมัดระวัง รอบคอบมากยิ่งขึ้น ในการกระทำสิ่งใดๆก็ตาม เพราะไม่ว่าจะทำสิ่งใด มันย่อมนำไปสู่สิ่งอื่นๆในกาลข้างหน้าทั้งสิ้น จะเป็นสิ่งดี สิ่งไม่ดี ก็ขึ้นอยู่กับการกระทำของเรา ณ กาลเวลาและสถานที่ปัจจุบัน

นี่แหละเป็นคำตอบ หรือคำอธิบาย หรือ ความเข้าใจของผมเกี่ยวกับประโยคโลกแตกที่ว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว”  มันจะเป็นคำตอบที่ถูกต้องหรือไม่ก็ตาม ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ เพราะประเด็นสำคัญอยู่ที่มันทำให้ผมได้คิดพิจารณา หาเหตุผล หาข้อมูล เพื่อนำมาประกอบการหาคำตอบเรื่องนี้  ซึ่งก็คือการพัฒนาตัวเองวิธีหนึ่ง เมื่อเราได้พัฒนาตัวเอง ย่อมเป็นที่เชื่อได้ว่า ผลที่ดีๆจะต้องเกิดขึ้นตามมาอย่างใดอย่างหนึ่ง ณ กาลเวลาและสถานที่หนึ่งในอนาคต

ท่านใดจะคิดเห็นเป็นอย่างอื่น ก็ขอเชิญอภิปรายกันได้  หรือใครมีคำตอบที่แน่ชัดก็ยกมือขึ้น แล้วพิมพ์คำตอบนั้นลงไว้ในที่นี้ด้วย ถ้าไม่หวง  เพื่อทุกๆคนจะได้แบ่งปันคำตอบนั้นไปใช้ประโยชน์ด้วยโดยทั่วกัน.


ที่มา  http://kosoltalk.com/chaos-theory
22239  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / กระเบื้องจะเฟื่องฟูลอย น้ำเต้าน้อยจะถอยจม ผู้ดีจะเดินตรอก ขี้ครอกจะเดินถนน เมื่อ: มกราคม 29, 2010, 09:28:59 pm



กระเบื้องจะเฟื่องฟูลอย น้ำเต้าน้อยจะถอยจม
ผู้ดีจะเดินตรอก ขี้ครอกจะเดินถนน
เทศนาธรรมของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

     ไม่ว่าจะประมาทในการคิด หรือประมาทในการพูด หรือประมาทในการฟัง มีโทษอย่างยิ่งทั้งนั้น ความประมาทในทั้งสามประการเป็นสิ่งเกี่ยวเนื่องถึงกัน ประมาทอย่างหนึ่งอย่างใดก็เป็นเหตุให้ประมาทพร้อม เกิดโทษพร้อมได้จริง

     ดังเช่นแม้มีความคิดเชื่อถือในเรื่องหนึ่งเรื่องใด ความคิดเชื่อนั้นก็ย่อมไม่หยุดอยู่เพียงที่ความคิดเท่านั้น ย่อมจะสืบต่อไปเป็นคำพูดด้วยเป็นธรรมดา ถ้าประมาททำให้เกิดความเชื่อที่ไม่ถูกไม่จริง แต่เป็นความเชื่อที่ผิดที่ไม่จริง เมื่อสืบต่อเป็นคำพูด ก็ต้องเป็นคำพูดที่ผิดจากความจริงด้วย ผู้พูดจะมีเจตนาร้ายหรือไม่มีเจตนาร้าย ผลร้ายก็ย่อมเกิดแน่นอนเป็นธรรมดา

     อย่าลืมคำพูดของคนนั้นมีอิทธิพลแรง มีอิทธิพลสูง ทั้งในทางทำลายและทั้งในทางสร้างสรรค์ นั่นก็เพราะเกิดจากการฟังเป็นสำคัญ เสียงพูดที่ไม่มีการได้ยินได้ฟัง เสียงก็ไม่มีความหมาย แต่แน่นอนเสียงพูดต้องมีผู้ได้ยินได้ฟังเป็นธรรมดา จึงต้องมีความหมายเสียงนี้แหละ ที่ทำให้เกิดความเชื่อนี่แหละ ที่ทำได้ ให้คนดีถูกกดให้ต่ำต้อย คนชั่วเลิศลอยด้วยถูกยก อะไรที่เกิดตามมาจะเป็นผลดีได้หรือ ถึงยุคเช่นนี้เมื่อไร เมื่อนั้นก็ใช่ยุคมืด


    :96: :96: :96:

    “กระเบื้องจะเฟื่องฟูลอย น้ำเต้าน้อยจะถอยจม ผู้ดีจะเดินตรอก ขี้ครอกจะเดินถนน”
    คำพยากรณ์แต่โบราณนานมานี้ น่าจะบอกว่ายุคมืดจะมาถึง คือ ยุคที่คนดีจะถูกเหยียบย่ำ คนชั่วจะได้รับยกย่อง ซึ่งต้องเป็นผลของกรรมที่ได้ทำกันมา ทั้งกรรมชั่วและทั้งกรรมดี กรรมที่เอื้อมมือมาถึงแล้ว

    อย่างไรก็ตามเราทุกคนพึงหลีกให้พ้นการเป็นมือแห่งกรรมชั่ว ที่จะเหยียบย่ำคนดี และหลีกให้พ้นจากการเป็นมือแห่งกรรมดี ที่จะยกย่องคนชั่ว เพราะจะเป็นการร่วมสร้างบ้านเมืองของตนให้สิ้นความงดงาม ที่จะเกิดจากกำลังใจของคนดี ที่จะเกิดจากกำลังความสามารถของคนดี
    บ้านเมืองจะเต็มไปด้วยความเลวร้ายที่เกิดจากกำลังใจของคนชั่ว ที่จะเกิดจากกำลังความสามารถของคนชั่ว พึงรอบคอบในการดูให้รู้จริง ว่าใครดีใครชั่ว รอบคอบในการฟังเสียงบอกเล่า จึงจะช่วยประเทศชาติให้สวัสดีได้ และช่วยตนให้พ้นบาปได้



    การพูดกับการฟังสองอย่างนี้ยากจะชี้ลงไปได้ ว่าอย่างไหนสำคัญกว่ากัน พูดแล้วต้องมีการฟัง เช่นนี้ก็เห็นได้ชัดว่า ต้องเกี่ยวเนื่องกันมีความสำคัญเสมอกัน แต่โดยมีความเชื่อเข้าเป็นเรื่องใหญ่ พูดแล้ว ฟังแล้ว เชื่อแล้ว เป็นเรื่องหนึ่ง ที่ความเชื่อมีความสำคัญที่สุด สำคัญกว่าการพูดและการฟัง พูดได้ ฟังได้ เชื่อก็ได้ ไม่เชื่อก็ได้ความเชื่อมีความสำคัญตรงนี้ ตรงที่ฟังแล้ว เชื่อเลย ไม่พิจารณาให้เห็นความถูกผิด ความจริงความเท็จ ที่ได้ยินได้ฟัง เชื่อเพียงเพราะได้ยินได้ฟัง เชื่อก็คือเชื่อว่าเป็นความจริงตามที่ได้ยินได้ฟัง จากเสียงบอกเสียงเล่า

     ความจริงเป็นอย่างไรเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ที่ผู้พูดอาจรู้ แต่ผู้ฟังไม่น้อยนักที่เชื่อว่าเรื่องที่ได้ยินได้ฟังคนนั้นบอกคนนี้เล่า เป็นเรื่องจริงน้อยนักที่ฟังแล้วไม่เชื่อ ไม่สนใจ ฟังแล้วก็แล้วกันไป ผู้ฟังประเภทหลังนี้โชคดี ที่ไม่ก่อความเสียหายให้แก่ผู้ตกเป็นเหยื่อของเสียงบอกเล่า นับว่าไม่ทำบาปแก่บางชีวิตของบางผู้บางคน ที่อาจไม่ควรต้องรับบาปเป็นความสกปรกจากปากคนใจสกปรก ที่ในโลกมีมากมายนัก เพราะกิเลสยังไม่เบาบาง


     st12 st12 st12

    ความเชื่อเป็นหนึ่งในเรื่องใหญ่ เรื่องสำคัญ พึงมีสติให้เสมอเมื่อจะเชื่อข่าว หรือเชื่อคำบอกเล่าของผู้ใดผู้หนึ่ง ตราบใดที่กิเลสยังครอบงำใจคนอยู่เกือบทุกถ้วนหน้า เสียงบอกเล่าก็หาอาจเชื่อได้เสมอไปไม่ เป็นผู้ฟังต้องรอบคอบให้อย่างยิ่ง มีสติ ใช้ปัญญา ให้เต็มที่ ให้สมกับที่มีบุญนักแล้ว ได้เกิดเป็นมนุษย์ และได้พบพระพุทธศาสนา อัญเชิญพระธรรมคำทรงสอนไว้ในหัวใจ ในชีวิต ให้เป็นผู้มีกายวาจาใจ ไม่ก่อให้เกิดทุกข์โทษภัย ทั้งแก่ตนเอง และทั้งแก่ใครๆ ทั้งนั้น

    ซึ่งเป็นไปได้ที่แม้เริ่มต้นแล้ว ย่อมแผ่ขยายยิ่งใหญ่ไปเป็นธรรมดา ให้เป็นความทุกข์ความร้อนของประเทศชาติ และของพระพุทธศาสนา ก็เป็นไปได้ เริ่มที่ความเชื่อที่เกิดแต่ความชั่วร้ายนานาประการ จากบุคคลนานาชนิด ที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง ทั้งใกล้ตัวเราทั้งไกลตัวเรา


    :25: :25: :25:

    สติในความเชื่อจึงจำเป็นอย่างยิ่งแก้ไขความเชื่อ ที่อาจผิดไปแล้ว ให้ถูกได้ด้วยกันทุกคน แม้มีความจริงใจที่จะช่วยบรรเทาทุกข์ อันเกิดจากคนมากมีกิเลส ทุกข์ที่ครองบ้านครองเมืองที่รักของเราอยู่ อย่างน่าสะพรึงกลัวนัก


อ้างอิง
เรื่อง : แสงส่องใจ วันมหาจักรี-วันเถลิงศก ๖ เมษายน-๑๓ เมษายน ๒๕๔๙
โดย : สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เทศน์ : ณ วัดญาณสังวรารามฯ
คัดลอกจาก...คุณ I am(ธรรมจักรดอทเน็ต)
ภาพจาก : http://www.oknation.net/ , http://www.jaowka.com/
22240  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / พระอุบลวรรณาเถรี อัครสาวิกาเบื้องซ้าย ในอดีตชาติเป็นพระขนิษฐาของพระราหุล เมื่อ: มกราคม 24, 2010, 03:03:15 pm
พระอุบลวรรณาเถรี เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีฤทธิ์ 
ในอดีตชาติคือ กัณหาชินาราชกุมารี พระธิดาของพระเวสสันดร

 

ขอนำข้อความบางส่วนในท้ายของอรรถกถา มหาเวสสันตรชาดก
ที่อยู่ในลิงค์http://84000.org/tipitaka/atita10/jataka10.php?i=10&p=10  มาแสดง

“พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนามหาเวสสันดรชาดก ซึ่งประดับด้วยคาถาประมาณ ๑,๐๐๐ คาถานี้มาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในกาลก่อน มหาเมฆก็ยังฝนโบกขรพรรษให้ตก ในที่ประชุมแห่งพระประยูรญาติของเรา อย่างนี้เหมือนกัน."

 ตรัสดังนี้แล้ว ทรงประชุมชาดกว่า

พราหมณ์ชูชกในกาลนั้น คือ ภิกษุเทวทัต.
 นางอมิตตตาปนา คือ นางจิญจมาณวิกา.
 พรานเจตบุตร คือ ภิกษุฉันนะ.
 อัจจุตดาบส คือ ภิกษุสารีบุตร.
 ท้าวสักกเทวราช คือ ภิกษุอนุรุทธะ.
 พระเจ้าสญชัยนรินทรราช คือ พระเจ้าสุทโธทนมหาราช.
 พระนางผุสดีเทวี คือ พระนางสิริมหามายา.
 พระนางมัทรีเทวี คือ ยโสธราพิมพา มารดาราหุล.
 ชาลีราชกุมาร คือ ราหุล.
 กัณหาชินาราชกุมารี คือ ภิกษุณีอุบลวรรณา.

 ราชบริษัทนอกนี้ คือ พุทธบริษัท.
 ก็พระเวสสันดรราช คือ เราเองผู้สัมมาสัมพุทธเจ้า แล.
 จบ นครกัณฑ์

-----------------------------------------------

จะเห็นว่า อดีตชาติของพระราหุล ต้นกำเนิดของกรรมฐานมัชฌิมา  คือ ชาลีราชกุมาร โอรสของพระเวสสันดร ซึ่งเป็นพี่ชาย กัณหาชินาราชกุมารี ในชาตินั้น นั่นเอง
ในสมัยพุทธกาล กัณหาชินาราชกุมารี ได้มาเป็น พระอุบลวรรณาเถรี  ที่พระพุทธเจ้ายกย่องให้เป็นอัครสาวิกาเบื้องซ้าย เป็นเอตทัคคะในฝ่ายผู้มีฤทธิ์ เทียบเท่าพระโมคคัลลานะ
เพื่อให้เพื่อนสมาชิกรู้จัก พระอุบลวรรณาเถรีมากยิ่งขึ้น จึงขอนำประวัติของท่านมาเสนอ
เชิญหาความสำราญได้ ณ บัดนี้

-----------------------------------------------   

หมายเหตุ  :  ข้อความต่อไปนี้ดัดแปลงและเรียบเรียงมาจากเว็บ

http://www.dhammathai.org/buddha/g35.phpโดยคุณ Lukhgai สมาชิกเว็บพลังจิต 
และ http://www.84000.org/one/2/index.shtml   ส่วนภาพประกอบนำมาจากหลายเว็บ

------------------------------------------------


ประวัติพระอุบลวรรณาเถรี

พระอุบลวรรณาเถรี เกิดในตระกูลเศรษฐี ในกรุงสาวัตถี บิดามารดาได้ตั้งชื่อให้นางว่า
“อุบลวรรณา” ตามนิมิตลักษณะที่นางมีผิวพรรณเหมือนกลับดอกอุบลเขียว
 

เพราะสวยบาดใจจึงต้องให้บวช

วัน หนึ่งท่านเศรษฐีจึงให้คนรับใช้ไปตามนางอุบลวรรณาลูกสาวมาพบ และเล่าเรื่องที่มีพระราชาและ เศรษฐีตามแคว้นต่าง ๆ ส่งคนมาสู่ขอเธอให้นางอุบลวรรณาทราบเรื่องโดยตลอด และยังได้กล่าวถึงความทุกข์ใจ ของตนที่ไม่สามารถตัดสินใจอะไรเลย เพราะเกรงจะเป็นที่ขัดใจแก่ผู้ที่ไม่ได้ ท่านเศรษฐีจึงแนะนำลูกสาวว่า " อุบลวรรณาลูกเรา อยากบวชไหมลูกเพื่อตัดสินปัญหาต่าง ๆ พ่อคิดมาหลายวันแล้ว การบวชของลูกเป็นทางเดียวที่เหมาะที่สุด อย่างไรก็ตามก็ขึ้นอยู่กับลูกเท่านั้น ว่าลูกอยากบวชหรือไม่ เพราะการบวชเป็นเรื่องของผู้จะบวชโดยเฉพาะ ผู้บวชจะต้องพอใจบวชเองไม่ใช้บังคับ หรือข่มขู่ "
 

เนื่องจากนางได้สั่งสมบารมีธรรมมาอย่างเต็มเปี่ยมตั้งแต่อดีตชาติ จนกระทั่งชาตินี้ซึ่งเป็นปัจฉิมชาติหรือชาติสุดท้ายที่จะอยู่ในวัฏฏะ (การเวียนว่ายตายเกิด)ดังนั้นภพนี้จึงเป็นภพสุดท้าย เมื่อนางอุบลวรรณาได้ฟังท่าน
เศรษฐีผู้เป็นบิดาแนะนำ นางจึงรับปากท่านเศรษฐีด้วยความยินดี ๒-๓ วันต่อมา

ท่านเศรษฐีจัดงานบวชลูกสาวนางอุบลวรรณาขึ้นที่บ้านเป็นงานเอิกเกริก เพราะได้แจ้งต่อญาติมิตรทั้งใกล้และไกลให้มาร่วมงานบวชครั้งนี้ เพื่อเป็นเกียรติแก่ลูกสาวของตนและเพื่อล้มล้างความคิดของผู้ชายทั้งหลายที่ ส่งคนมาสู่ขอโดยสิ้นเชิง จากนั้นขบวนแห่ได้นำนางอุบลวรรณาและญาติมิตรไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าที่พระ เชตวันวิหาร กราบทูลขอประทานการบรรพชาให้แก่นางอุบลวรรณา ผู้เลื่อมใสในการออกแสวงหาโมกขธรรมด้วยสมณเพศ

 


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบด้วยพระญาณเป็นอย่างดีว่า นางอุบลวรรณาคนนี้แหละจะมาเป็นอัครสาวิกาของพระองค์ ตามปณิธานที่ได้ตั้งไว้แต่อดีตชาติ จึงรับสั่งกับท่านเศรษฐีว่า " ดูก่อนท่านเศรษฐี การมาสู่ธรรมวินัยของธิดาของท่าน จะไม่ไร้ผลที่มุ่งหมายอย่างแน่นอน " จากนั้นทรงรับนางอุบลวรรณาไว้ให้บรรพชาในสำนักภิกษุณีตามประสงค์ สำเร็จเป็นพระอรหันต์ เมื่อนางอุบลวรรณาบวชแล้ว ไม่นานนักนางก็เข้าช่วยทำความสะอาดอุโบสถ โดยผลัดเปลี่ยนกับเพื่อนพรหมจรรย์เป็นวัน ๆ ต้องปัดกวาดปูอาสนะและตามประทีปในเวลากลางคืน

 

ค่ำวันหนึ่งขณะที่นางอุบลวรรณา ตามประทีปแล้ว ก็ปัดกวาดอุโบสถอยู่ มองเห็นเปลวประทีปต้องลมพัด มีลักษณะอาการต่าง ๆ ปรากฏแก่สายตาของนาง คือลุกโพลงขึ้น ริบหรี่ลงบ้าง บางดวงดับต้องจุดใหม่ บางดวงอยู่ในตำแหน่งที่ไม่โดนลม ไฟก็ลุกโพลงอยู่สม่ำเสมอดี นางอุบลวรรณาได้กำหนดเอาเปลวไฟนั้นมาเพ่งพินิจ ทำให้เห็นชีวิตของสัตว์ทั้ง หลายคล้ายดวงประทีปที่ลุกโพลงอยู่ด้วยอำนาจของไส้และน้ำมันชีวิตของสัตว์ก็ เช่นกัน อาศัยธาตุทั้ง ๔ และข้าวน้ำหล่อเลี้ยงชีวิตให้ดำรงอยู่

นอกจากนั้นยังถูกกรรมนำให้ประสบเหตุการณ์ต่าง ๆ ทำให้เป็นสุขบ้าง ทำให้ เป็นทุกข์บ้าง ทำให้เจริญขึ้นบ้าง ทำให้เสื่อมลงบ้าง เหมือนดวงประทีปต้องลมฉันใดก็ฉันนั้น บางครั้งแม้ไส้น้ำมันยังบริบูรณ์อยู่แต่เมื่อต้องลมกระโชกแรงก็พลันดับวูบลง เหมือนชีวิตสัตว์ แม้จะมีร่างกายสมบูรณ์ด้วยอาหารบางครั้งก็ต้องพลันแตกดับโดยอุปัทวเหตุอย่าง น่าสลดใจก็ดี ปรากฏให้เห็นอยู่บ่อย ๆ ทั้งไม่สามารถจะกำหนดรู้ได้ว่า ต่อไปภายหน้าจะสุขจะทุกข์จะเจริญหรือจะเสื่อมถอยมากน้อยอย่างไรและชีวิตจะ ดับลงเมื่อไหร่ ด้วยอาการอย่างไร เมื่อไรรู้ไม่ได้ทั้งนั้น เหมือนดวงประทีปที่ปรากฏแก่สายตาเบื้องหน้าเช่นนั้น สัตว์ทั้งหลายเป็นทุกข์เดือดร้อนด้วยการป้องกันรักษาชีวิตด้วยวิธีต่าง ๆ แต่ในที่สุดก็ไม่อยู่ในวิสัยที่จะรักษาไว้ได้

ถึงกระนั้นมนุษย์เราก็ยังประมาท หลงลืมชีวิตราวกับว่าชีวิตจะดำรงคงอยู่ในโลกเป็นพันปีหมื่นปี เสมือนหนึ่งชีวิตจะไม่ต้องประสบทุกข์ร้อนด้วยโรคด้วยภัยอันตรายต่าง ๆ ไม่แสวงหาที่พึ่งของตนไว้เลย เป็นที่น่าสังเวชใจยิ่งนัก นางอุบลวรรณา ซึ่งบัดนี้เธอดำรงสถานะเป็นพระภิกษุณีแล้ว ได้ยืนพิจารณาดวงประทีปเจริญฌานทำเตโชกสิณ (เป็นชื่อของกัมมัฏฐานที่ใช้วัตถุสำหรับเพ่งเพื่อจูงจิตให้เป็นสมาธิ ในที่นี้ใช้ เตโช ซึ่งหมายถึง ไฟ สำหรับการเพ่งเพื่อจูงจิตให้เป็นสมาธิ) ให้เป็นอารมณ์บรรลุฌานโดยลำดับ ทำฌานที่ได้รับบรรลุนั้นให้เป็นบาท ก้าวขึ้นสู่อริยมรรคเบื้องบน ในที่สุดก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์พร้อมด้วย ปฏิสัมภิทาและอภิญญาทุกประการ ซึ่งปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาแตกฉาน ความรู้แตกฉานมี ๔ ลักษณะ คือ


๑. อัตถปฏิสัมภิทา คือ ปัญญาแตกฉานใน อรรถรู้แจ้งในความหมาย เป็นข้อธรรมหรือความย่อก็ สามารถแยกแยะอธิบายขยายออกไปได้โดยพิสดาร เห็นเหตุอย่างหนึ่งก็สามารถคิดจำแนกกระจายเชื่อมโยงต่อ ออกไปได้
๒. ธัมมปฏิสัมภิทา คือปัญญาแตกฉานใน ธรรมรู้แจ้งในหลักการ เห็นอรรถาธิบายพิสดารก็สามารถ จับใจความมาตั้งเป็นกระทู้หรือหัวข้อได้ เห็นผลอย่างหนึ่งก็สามารถสืบสาวกลับไปหาเหตุได้
๓. นุรุตติปฏิสัมภิทา คือ ปัญญาแตกฉานในนิรุตติ รู้แจ้งในภาษา รู้ศัพท์และคำต่าง ๆ ตลอดจนภาษาต่าง ๆ เข้าใจใช้คำพูดชี้แจงให้ผู้อื่นเข้าใจและเห็นตามได้
๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา คือ ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ รู้แจ้งในความคิดทันการ มีไหวพริบ ซึมซาบในความรู้ที่มีอยู่ สามารถเอามาเชื่อมโยงเข้า
สร้างความคิดและเหตุผลขึ้นใหม่ได้ ใช้ประโยชน์ได้เหมาะสมเข้ากับกรณีหรือเหตุการณ์ ส่วนการบรรลุ อภิญญา นั้น หมายถึง การบรรลุความรู้ขั้นสุดยอด ซึ่งเรียกกันว่า " อภิญญา ๖ " มีดังนี้


๑. อิทธิวิชา หรือ อิทธิวิธี หมายถึง ความรู้ที่ทำให้แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้
๒. ทิพโสต หมายถึง ญาณหรือความรู้ที่ทำให้มีหูทิพย์
๓. เจโตปริยญาณ หมายถึง ญาณ หรือความรู้ที่ทำให้รู้ใจผู้อื่นได้
๔. ปุพเพนิวาสานุสติ หมายถึง ญาณ หรือความรู้ที่ทำให้ระลึกชาติได้
๕. ทิพยจักขุ หมายถึง ญาณหรือความรู้ที่ทำให้มีตาทิพย์
๖. อาสวักขยญาณ หมายถึง ญาณหรือความรู้ที่ทำให้อาสวะสิ้นไป
สำหรับ ๑-๕ นับเป็นโลกียะ (โลกีย อภิญญา) สำหรับข้อ ๖ เป็นโลกุตตระ



หน้า: 1 ... 554 555 [556] 557