ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พระเจ้า แต่ ละศาสนา คือองค์เดียวกันหรือป่าว  (อ่าน 4110 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

kittisak

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +42/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 653
  • พุทธัง อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
0
อันนี้เป็นคำถาม จาก หลาน ผมเองครับ

ถามว่า

" พระเจ้า แต่ละศาสนา คือองค์เดียวกันหรือป่าว ของไทย มีพระอินทร์ ของจีนมี เง็กเซียน ของฝรั่ง มี ?

พระเจ้า ทุกองค์นั้น คือองค์เดียวกันหรือป่าว หรือ พระเจ้า มีประจำเป็นประเทศ เพราะเห็นแต่งชุดไม่เหมือนกัน "

ผมฟังแล้ว ก็อดนึกหัวร่อไม่ได้ กับคำถามเด็ก ๆ แต่ก็มาคิดเหมือนกัน อายุ จะ หลัก 8 แล้ว เรื่องของพระเจ้า

เทวดา ทั้งหลาย นี้ ทำไมไม่ตรงกัน สวรรค์ 16 ชั้น ของไทย ก็อย่าง ของจีน ก็อย่าง ของอินเดีย ก็อย่าง

ของฝรั่ง ก็อีกแบบ เลย แท้ที่จริง พระเจ้ามีประจำประเทศ หรือ ควรจะเป็นสากลกันแน่  ?


ช่วยกันวิจารณ์กันหน่อย ดีไหมครับ

 :25: :25:
บันทึกการเข้า
ความสุขอันเกิดจากการแบ่งปัน ดีกว่าความทุกข์ที่มีแต่จะเอา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
เชื่อหรือไม่ พระพุทธเจ้า, พระเยซู, พระนบีมูฮัมหมัด เป็นหนึ่งเดียวกัน?

ขอชี้แจงวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเข้าใจผิด
ที่เขียนบทความนี้ขึ้น เพื่อสร้างความกระจ่างชัด
ของความเป็นหนึ่งเดียวกันอย่างแท้จริงของทุก
ศาสนา เพื่อให้ไม่แบ่งแยก ไม่แตกแยก และยอม
รับกัน ที่สำคัญ ได้ผ่านการค้นคว้าวิจัยมาอย่างดี
มิใช่กุศโลบาย หรืออุบายหลอกให้เชื่อแต่อย่างใด

ดังจะอรรถาธิบายสืบไปนี้...

ความสุขที่แท้คือการบำเพ็ญเพียรไม่สิ้นสุด นั่นคือเกียรติ์อันยิ่งใหญ่ที่ได้รับจากจักรวาล นิพพานหาใช่ที่สุดไม่...

แท้แล้วศาสนาไม่มีในโลก คำว่าศาสนาเป็นเพียงบัญญัติ ไม่ใช่ปรมัตถธรรม
คือ เป็นสิ่งที่มนุษย์ตั้งบัญญัติสมมติชื่อขึ้นมาเรียกเฉยๆ แล้วแบ่งแยกกันภาย
หลังว่าแบบไหนเรียกว่าศาสนาอะไร

ดังนี้ พระพุทธเจ้าไม่เคยใช้คำว่าพระพุทธศาสนา กับสิ่งที่พระองค์กระทำเลย
สามารถค้นหาได้จากพระพุทธพจน์ ไม่มีคำว่าพระพุทธศาสนา มีแต่ธรรมะคือ
ธรรมชาติ คือ สากล ไม่จำเพาะเชื้อชาติศาสนา

คำว่าพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นภายหลัง มีคนตั้งมาเรียก แล้วบันทึกลงบัตร
ประชาชนเพื่อใช้จำแนกประชาชนในอำนาจการปกครองของพวกเขาเท่านั้นเอง

ทั้งนี้ พระนบีมูฮัมหมัดก็ไม่ใช้คำว่าศาสนากับสิ่งที่พระองค์สร้างขึ้น พระองค์
ทรงมีอุดมการณ์ ที่จะสร้างสังคมให้สันติสุข แล้วได้ใช้คำว่า "อิสสลาม" อัน
หมายถึงหัวใจสำคัญในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุขนั่นเอง ดังนี้ท่าน
มิได้ประกาศศาสนา แต่ท่านประกาศ "หลักธรรม" ส่วนคำว่าศาสนาและชื่อ
ศาสนานั้น ถูกคนอื่นตั้งขึ้นมาเรียกในภายหลัง

ไม่เท่านั้น พระเยซู ก็มิได้ประกาศศาสนาหรือตั้งศาสนาเลย ท่านทรงประกาศ
หลักธรรม ท่านทรงเล่าเรื่องราวของพระเจ้าโดยวิธีพูดเฉพาะแบบของตนเอง
(ทำให้ดูต่างจากแนวอิสลาม ทั้งๆ ที่แท้แล้วเป็นอย่างเดียวกัน) เพื่อปรับให้
เหมาะกับผู้ฟัง ในสถานการณ์และบริบทนั้นๆ เพียงเท่านั้นเอง

คำว่าศาสนา เป็นเพียงบัญญัติ ที่สมมุติมาเรียกภายหลัง แต่ไม่ใช่ปรมัตถ์ธรรม

พระพุทธองค์ค้นพบอะไรที่เป็นสากลเช่นเดียวกับพระศาสดาองค์อื่น?

สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของพระพุทธเจ้า คือ ท่านมีพระสัพพัญญูญาณ รู้ทุกสิ่ง
ซึ่งพระศาสดาท่านอื่นไม่ตรัสแสดงไว้ แต่พระศาสดาทุกพระองค์ก็รู้สิ่งที่
มนุษย์บนโลกควรรู้อย่างเดียวกัน (ดังนั้น พระศาสดาองค์อื่นก็ไม่ต้องเป็น
ผู้รู้ทุกสิ่ง ดุจเดียวกับพระอรหันตสาวก ไม่ได้รู้ทุกสิ่ง แต่พ้นทุกข์ได้ ช่วยคน
อื่นให้พ้นทุกข์ได้)

พระพุทธองค์ทรงค้นพบรากฐานที่มา และถึงที่สุดของสรรพสิ่ง คือ "จิต"
ที่มีความไม่ใช่ตัวตนของตน (อนัตตา) ไม่อาจแบ่งแยกเป็นตัวใครตัวมันได้
มีหลักการกระทบถึงกันทั้งหมด (Butterfly effect) ดังนี้ คือ "หนึ่งเดียวกัน"
ดังที่มหายานเรียกว่า จิต นั้นกำเนิดจากพระอาทิพุทธ เป็นที่มาของทุกสรรพจิต

พระเยซูตรัสแสดงไว้เป็นหลักตรีเอกานุภาพ ว่า พระบิดา (พระอาทิพุทธ) คือ
ผู้ให้กำเนิดชีวิตที่แท้ (จิต) หรือให้กำเนิดเรา (พระบุตร) ดังนี้ หากเราไม่ยึด
ว่าเราเป็นตัวกูของกูเห็นแก่ตัว แบ่งแยก ทำร้ายใคร เราคือหนึ่งเดียวกัน เพราะ
มาจากพระบิดาคือพระอาทิพุทธเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ ถามว่าเราคือใคร เป็นหนึ่ง
เดียวกับพระเจ้าหรือพระอาทิพุทธได้อย่างไร?

ก็ตอบว่า โดยอาศัยพระจิต
(จิต) แม้นคนเราจะมี จิต, วิญญาณ, ร่างกาย ประกอบยกันขึ้นมา แต่พระเยซู
ก็ทรงตรัสแสดงว่า ร่างกายไม่ใช่เรา (ไม่ใช่จะยึดเป็นตัวกู) วิญญาณไม่ใช่
เรา (ไม่ใช่จะยึดว่าวิญญาณเป็นอาตมัน) แต่จิตต่างหากที่เป็นเรา เป็นสิ่งที่
นิรันดร์ เรียกว่า "ชีวิตนิรันดร์" จิตไม่สูญ เป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้า คือพระอาทิ
พุทธ นั่นก็หมายความว่า "จิตคือพุทธะ" ตรงกับหลักศาสนาพุทธนั่นเอง

ทว่า พระเยซูคือพระโพธิสัตว์ที่กำเนิดจากพระวิญญาณอันบริสุทธิ์ เพราะทรง
เคยเกิดแล้วขจัดกิเลสสิ้นไปหมด จากนั้นก็ไปจุติที่ดุสิต (ที่มหายานเรียกว่า
สุขาวดีพุทธเกษตร และเพื่อนๆ ของเราชาวคริสตร์เรียกว่าอาณาจักรพระเจ้า)
แล้วก็ลงมาช่วยมนุษย์โลก

ดังนั้น จึงไม่แปลกว่าทำไมท่านสอนให้เราพุ่งจิต
ตรงต่อพระเจ้า (พระอาทิพุทธ) เพื่ให้เราบำเพ็ญเพียรช่วยคนแบบพระโพธิสัตว์
(ซึ่งท่านเป็นอยู่) เพราะพระโพธิสัตว์ ถูกตามอุดมคติแนวมหายานว่าอย่าเอา
ตัวรอดคนเดียว ต้องช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ก่อนตน

ดังนี้ การสอนให้จิตพุ่งต่อพระเจ้า จึงไม่ผิดหลักพระพุทธศาสนา แต่เป็นการ
ปรารถนาพุทธภูมิในอีกรูปแบบหนึ่งนั่นเอง ดุจดั่งเช่น พระสังขจักรถวายชีวิต
ให้พระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ หลังได้ฟังธรรม จนไม่อยากใดๆ ในโลกอีก
(กิเลสนิพพาน) บรรลุอรหันต์แบบฉับพลันเป็นปัญญาวิมุติ

แล้วตัดเศียรถวายพระพุทธเจ้าทันที จิตที่พุ่งตรงต่อพระพุทธเจ้านั้น
จึงเกิดเป็นพระโพธิสัตว์แล้วได้จุติลงมาบำเพ็ญเพียรอีกหลายชาติ เช่น เป็นพระเยซู จึงสอนให้คนพุ่งจิตตรงต่อพระพุทธเจ้า แต่เนื่องจากพระเยซูเกิดในดินแดนที่มีคนเชื่อเรื่อง
พระเจ้ามากมาย ท่านจึงใช้คำว่าพระเจ้าในอีกความหมายหนึ่ง

ให้ตรงกับพระพุทธศาสนา (หลักตรีเอกานุภาพ) ดังกล่าว คำว่าพระพุทธเจ้าในสมัย
นั้นไม่มี ท่านก็ใช้ "สมมุติบัญญัติ" ว่าพระเจ้า แทนพระรัตนตรัย แล้วขยาย
ความเพิ่มเติมเป็นหลักตรีเอกานุภาพ และในรูปแบบอื่นๆ (ทรงมีอภิญญาเก่า
คือ ย่อขยายความธรรมได้โดยพิสดาร)

พระนบีมูฮัมหมัดคือพระเยซู ซึ่งก็คือ พระศรีอาริยเมตไตรย์มหาโพธิสัตว์

พระศรีอาริยเมตไตรย์มหาโพธิสัตว์ได้จุติเพื่อบำเพ็ญเพียรหลายชาติ นอก
จากนี้แล้วยังทรงมีกิจที่ได้รับจากพระอมิตภพุทธเจ้าบนดุสิต (สุขาวดีหรือ
อาณาจักรพระเจ้า - อาณาจักร ก็คือ แปลงเกษตร, พระเจ้าคือพุทธะ คือ
แปลงเกษตรผลิตพระพุทธเจ้า คือ ดุสิต คือ สุขาวดีพุทธเกษตรนั่นเอง)

ท่านทรงมีอุดมคติที่จะปกครองโลกมนุษย์ให้ร่มเย็นเป็นสุข จึงได้จุติเป็น
พระนบีมูฮัมหมัด และได้รับโองการจากพระเจ้า (รับกิจจากพระอมิตภพุทธเจ้า)
เพื่อช่วยให้สังคมอิสลามรักสันติสุข ด้วยทรงรู้ด้วยญาณก่อนจุติแล้วว่าชนชาติ
นี้จะมีสงครามมากมายและตลอดไม่เว้นเลย ด้วยมหากรุณาธิคุณ จึงได้จุติ
อีกครั้ง และสอนมนุษย์ให้เป็นพุทธะ ดังนี้

1. มีศีล ทำความดีละเว้นความชั่ว เช่นเดียวกับพุทธศาสนา (แม้นดูต่างบ้าง)
ศีลนี้ นอกจากจะมีในคนทั่วไป, พระอรหันต์ แล้วพระโพธิสัตว์ยังต้องบำเพ็ญ
เป็นบารมีอีกตัวหนึ่งด้วย ดังนั้น พี่น้องชาวอิสลามจึงได้บำเพ็ญพุทธภูมิไปใน
ตัว (พระเจ้าคือนาย เราคือบ่าว เราเกิดมาทำกิจเพื่อพระเจ้า คือ ทาสแห่งพุทธ
เป็นคำสอนที่พระมหาโพธิสัตว์จะสอนมนุษย์)

2. ละหมาดห้าครั้งต่อวัน คือ การทำสมาธิ แบบ "ภาวนามยปัญญา" สื่อจิต
ถึงพระเจ้า (ตามแนววิชชาพลังจักรวาล หรือ พุทธตันตระยาน) เพื่อละทิ้ง
ความเป็ฯตัวตน จิตพุ่งตรงต่อพระเจ้าที่ทรงเปี่ยมด้วยพระเมตตาและทรงคุณ
ด้วยอิทธิฤทธิ์บันดานให้สัตว์โลกเป็นไปตามกรรม (ชาวอิสลามจึงเกรงพระ
อำนาจแห่งพระเจ้านี้ และจะไม่ทำความชั่ว)

การละหมาดนี้ ต้องสงบมากและเพื่อนๆ ชาวอิสลามจะมีสมาธิถึง
"ฌานสี่" และคลายความทุกข์ที่ได้รับมาทั้งวัน พระนบีมูฮัมหมัดสอนวิธีนี้ไว้
เพื่อให้ชาวอิสลามรับมือกับภัยสงครามที่จะบั่นทอนจิตใจนั่นเอง
เช่นนี้ หากเพื่อนชาวอิสลามละหมาดวันละห้าครั้ง
จะสามารถละวางคลายจากทุกข์และการก่อกรรมได้มาก

3. การถือศีลอด เป็นการบำเพ็ญ "หลักธรรมยุติ" โดยไม่ต้องธุดงค์เพราะไม่
เหมาะกับวิถีชีวิตอิสลาม การถือศีลอดไม่ใช่ห้ามกิน แต่กินหลังหกโมงเย็นเท่า
นั้น ดังนั้น จึงฉันอาหารมื้อเดียวเหมือนพระธุดงค์

4. การบริจาคซะกาต คือ ทาน หรือ หนึ่งในสิบของทศบารมี ตัวแรกที่ต้อง
บำเพ็ญให้ได้ก่อน ก่อนไปสู่บารมีตัวอื่นๆ เช่น ขันติบารมี (เวลาถือศีลอด)

5. การไปนครเมกกะ เพื่อให้ชาวอิสลามได้เห็นว่า "คำว่าอิสลาม" ไม่ใช่
ศาสนา ไม่ใช่ประเทศ เพราะคือ "หนึ่งเดียวกัน" ทุกคนมารวมกันเป็นหนึ่งเดียว
ใจเดียวกันที่ตรงกลางนั้นคือ "พระเจ้า" หรือ "พุทธะ" คือ ความสันติสุข คือ
เมตตา คือ ความดีงาม และคือความยุติธรรมตามหลัก "กฏแห่งกรรม" นั่นเอง
ชาวอิสลามไม่จำกัดและแบ่งแยกประเทศ เพราะเราคือหนึ่งเดียวกัน คือ สังคม
เดียวกันทั้งโลก คือ สังคมสันติสุข คืออิสลาม คือความเป็น "พุทธจิต" นั่นเอง

เหตุใดพระศาสดาองค์อื่นไม่สอนเรื่องนิพพาน?

เพราะพระศาสดาองค์อื่นบำเพ็ญแบบพระโพธิสัตว์ เป็นอุดมคติของมหายาน
จึงสั่งสอนเวไนยสัตว์ให้บำเพ็ญเพียรตามตน จึงไม่ได้สอนทางหลุดพ้นจาก
วัฏสงสาร คือ ไม่ต้องนิพพาน ไม่ต้องกลัวเกิด แต่ให้เกิดช่วยเหลือคนเรื่อยไป

พระพุทธเจ้าทรงเป็นพระศาสดาเอกของโลก ทรงเป็นพระสัพพัญญูรู้ทุกสิ่งอัน
หาพระศาดาอื่นใดรู้เท่าเทียมอีกไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม พระศาสดาองค์อื่นๆ
ก็ทรงรู้ทางพ้นทุกข์ และหาวิธีการสอนมนุษย์ให้พ้นทุกข์ อยู่ร่วมกันอย่างสันติ
เฉกเช่นเดียวกัน

ในเมื่อเวปนี้เป็นเวปเกี่ยวกับพุทธศาสนา ซึ่งต้องการเผยแผ่พระสัทธรรมให้เกิดขึ้นในจิตของปัจเจกชน ดังนั้น สิ่งที่เป็นอุดมการณ์ หรือ แนวคิด หรือ คติเตือนใจของเฉพาะตนที่ว่า "ความสุขที่แท้คือการบำเพ็ญเพียรไมสิ้นสุด ฯ อะไร ของคุณ น่ะ ไม่ควรจะนำมาเผยแพร่ ดอกนะ เพราะดูเหมือนจะขัดแย้งกับ

พระดำรัสของพระองค์ที่ทรงตรัสไว้ว่า "นิพพานัง ปรมัง สุขัง" ผมว่า คุณอนาคาริก คงเข้าใจอะไรผิดหรือเปล่า คุณ น่ะ น่าจะแยกให้ออกนะว่าอะไร คือ ทุกข์ อะไรคือ ต้นเหตุแห่งทุกข์ อะไรคือวิธีการ หรือหนทางแห่งความพ้นทุกข์ ผมว่า สิ่งที่คุณกล่าวไว้น่ะ มันน่าจะเป็นหนทาง หรือวิธีการอะไรสักอย่าง ไม่น่าใช่ผลของการปฏิบัติ คือความสุขยิ่ง แล้ว เรื่องพระพุทธเจ้า คือ ศาสดาของศาสนาต่าง ๆ น่ะ

ผมว่าคุณน่ะเข้าใจผิดตั้งแต่ต้นแล้ว เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าท่านเสด็จเข้าสู่นิพพานไปแล้ว ส่วนผลการปฏิบัติทางจิตของแต่ละศาสดาที่เหลือ ไม่ได้เข้าสู่กระแสพระนิพพาน จะเป็นองค์เดียวกันได้อย่างไร ขอความกรุณาอย่าได้นำความสับสนมาสู่หมู่ชนผู้เป็นสัมมาปฏิบัติอีกเลยครับ ขอร้อง

ความเป็นหนึ่งเดียวกันคือ "อนัตตา"

การที่เรายึดมั่นว่าสิ่งต่างๆ เป็น "อัตตา" คือ ตัวมันของมัน ทำให้เราไม่เห็น
ความจริง สิ่งต่างๆ ไม่มีความเป็นตัวเองที่เด็ดขาดแยกจากกันได้ เนื่องจาก
สรรพสิ่งเป็น "ระบบเปิด" ร่างกายของเรา กินอุจาระที่แปรสภาพเป็นผลไม้
และถ่ายอุจาระให้คนอื่นกิน ลมหายใจเข้าของเรามาจากลมหายใจออกของ
ผู้อื่น และลมหายใจออกของเราก็ไปสู่ลมหายใจเข้าของผู้อื่น

สสาร และพลังงาน ไม่ใช่ระบบปิด ไม่ใช่แยกเป็นตัวเป็นตน ไม่เป็นตัวกูของกู
แต่ไหลเวียนเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกันได้ทั้งหมด ดุจ สิ่งเดียวกัน แต่อายตนะ
ของเรามันหยาบ จึงมองไม่เห็นความเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกันนี้

ดังนั้น เราจึงไม่เคยคิดว่า "เราคือหนึ่งเดียวกัน" เราต้อง "รักคนอื่นเหมือนรักตัว
เอง" เพราะคนอื่นก็เป็นหนึ่งเดียวกันเรา ไม่ใช่แบ่งแยก แล้วเห็นแก่ตัวเองเพราะ
ยึด "อัตตา"

ดังนี้ ทุกสรรพสิ่งจึงเป็นหนึ่งเดียวกัน โปรดพิจารณา... (อ่านละเอียดๆ)

การพ้นทุกข์ที่แท้จริง

ทุกศาสนาสอนคนให้เป็นคนดี และสามารถทำให้คนพ้นทุกข์ได้ เพียงแต่ว่า
เมื่อตายลงจะเข้าสู่นิพพานหรือไม่เท่านั้น (หากไม่เข้าก็บำเพ็ญเพียรต่อ)
ดังนั้น ไม่แปลกหาท่านได้พบชาวคริสตร์ที่ไม่ทุกข์ (สุขนิรันดร์)

"ธรรมใดเกิดแต่เหตุ ย่อมดับลงที่เหตุนั้น" พระพุทธองค์ทรงมีปกติตรัสเช่นนี้

ทุกข์นั้นไม่ได้แก้ด้วยการเพิ่มสุข หรือแสวงหาสุขใหม่มาเติม เนื่องเพราะสุขไม่
เที่ยงหนึ่ง และเป็นคนละเหตุปัจจัยแห่งทุกข์ หากจะดับทุกข์ ต้องดับที่เหตุแห่ง
ทุกข์ และเหตุแห่งทุกข์ที่ว่านี้คือ "กิเลส"

การสอนให้พ้นทุกข์หรือเอาชนะกิเลสมีหลายวิธี

1. หลอมรวมจิตเป็นพุทธะ ซึ่งเป็นพุทธตันตระยาน เป็น "พุทธานุสติ"
เป็นกรรมฐานอย่างหนึ่ง ดังนี้ หากจิตระลึกถึงพระเจ้าอยู่ตลอดเวลา
ตามหลักศาสนาคริสตร์และอิสลามแล้ว จะสามารถเอาชนะกิเลสได้
ทุกครั้งที่กิเลสจะมา เรามีสติระลึกถึงพระเจ้าคือความดีงามได้ทันเรา
ก็จะคลายกิเลสลง แล้วเลือกพระเจ้าไว้ในใจแทน นี่คือ "พุทธานุสติ"

2. ไปเข้าป่าเสี่ยงตาย เพื่อบำเพ็ญกรรมฐาน ๔๐ วิธี ซึ่งนอกจากจะ
เสี่ยงตาย ลำบากลำบน และเป็นทุกขกริยาแล้ว ยังไม่ได้ช่วยเหลือคน
อีกด้วย หากเข้าป่าไปตายก็จบกัน --- สามารถบรรลุธรรมได้ตามหลัก
ธรรมยุตินิกาย แต่มหายานมีวิธีที่ฉลาดกว่านั้น จึงไม่สนับสนุนให้ทำ

โปรดพิจารณา...

ทุกขัง, ทุกขเวทนา, โทมนัสเวทนา ต่างกันอย่างไร?

หากจะพิจารณาแนวปริยัติ ตามหลักการเรีนรู้แบบมหานิกาย (เถรวาท)
ถามว่าทุกข์ที่แท้จริงอยู่ที่ใด ย่อมต้องตอบว่าอยู่ที่จิต แล้วต้องถามต่อ
ว่าจิตไหน ก็ต้องดูต่อว่าจิตแบบใดที่เป็นทุกข์

ซึ่งเมื่อจะพิจารณาว่าจิตใดที่มี "ทุกข์" ก็ต้องดู "เจตสิก" ที่ประกอบขึ้นมา
เป็นจิตดวงนั้น ซึ่งหากได้ศึกษาพระไตรปิฎกอย่างลึกซึ้งและแยบคายแล้ว
จะพบว่า จิตที่มีทุกข์มีเพียงสองลักษณะเท่านั้น คือ

1. อเหตุกจิตที่เป็นวิบากจากอกุศล จึงต้องรับวิบากกรรมอันเป็นอกุศลนั้น
ดังนั้น ทุกข์แบบนี้ จึงเป็นทุกข์จากปัจจัยภายนอก ได้แก่ "ผลกรรม" นั่นเอง
ดังนั้น หากบุคคลไม่หลงโลก เข้าใจกฏแห่งกรรม ก็ไม่ต้องรับวิบากกรรม
อันเป็นอกุศลให้เกิดทุกข์ ทั้งทางกาย (ทุกขเวทนา) และใจ (โทมนัสเวทนา)
เหลือเพียงเศษกรรมจากอดีตชาติที่รับไปอย่างเข้าใจเท่านั้น เฉกเช่น พระ
โมคคัลลานะที่ถูกทุบตายก็ไม่เศร้าหมองเพราะเข้าใจว่าเป็นผลกรรมในอดีต

2. อกุศลจิต ที่มีเจตสิกอันเป็นเหตุแห่งทุกข์ประกอบขึ้นมา ได้แก่ โทสมูลจิต
เพียง ๒ ดวง เท่านั้น ที่มี "โทมนัสเจตสิก" เป็นองค์ประกอบ ซึ่งเป็นเหตุแห่ง
ทุกข์ ส่วน "อกุศลจิต" ชนิดอื่นๆ อีก ๑๐ ดวงที่เหลือ มีเจตสิกที่ประกอบด้วย
"อุเบกขาเวทนา" และ "โสมนัสเวทนา" ทั้งสิ้น ดังนั้น การก่อกรรมด้วยอกุศล
จิต แบบนี้ ไม่ใช่ว่าจะได้รับทุกขเวทนาทุกดวงจิต เพราะดวงจิตนั้นๆ มีสุขใจ
(ที่ไม่เที่ยง) ด้วยเช่นกัน แต่จะรับผลกรรมจากอกุศลจิตนั้นภายหลัง ซึ่งนำมา
ซึ่งทุกข์อีกทีหนึ่ง

แท้แล้วคนเราทุกข์เพราะ

๑ โทสมูลจิตทั้ง ๒ ดวง และ
๒ วิบากกรรมจากอกุศลจิตทุกดวง

เท่านั้นเอง แล้วทำไมเราถึงได้ทุกข์มากกันขนาดนั้น?
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
นิพพานไม่ใช่ของยากเพียงกำหนดจิตว่างก็นิพพานได้?

หากบุคคลไม่ก่อกรรมมาก ไม่มีอาลัยอาวรมากนัก เมื่อตายลง
มี "สติ" ปลงตก และวางจิตว่างอุเบกขา จิตจะไม่จุติ เพราะจิต
ดวงสุดท้ายในภพนั้นๆ ไม่เป็น "จุติจิต"แต่จะเป็น "ภวังคจิต"
คนที่ตายลงด้วย "ภวังคจิต" นี้เองที่ได้นิพพาน

ส่วนคนที่ตายในฌานนั้นจะจุติใหม่เช่นกัน ในภพ "พรหมโลก"
ดังนี้ เมื่อพระพุทธเจ้ากำลังเสด็จดับขันธปรินิพพานนั้น พระองค์
ได้เข้าฌานแบบอนุโลมและปฏิโลมอย่างชำนาญยิ่ง โดยมีพระ
อนุรุธใช้ตาที่สามอ่านจิตทุกวาระจิต และบันทึกไว้ถึงปัจจุบันนี้
ว่าทรงไม่ได้ละสังขารในฌานที่เข้านั้น

แต่จิตดวงสุดท้ายก่อนจากภพนี้ไปเป็น "ภวังคจิต" ที่เกิดขณะ
ปฏิโลมฌาน จากฌานสี่มาฌานสาม อยู่ระหว่างองค์ฌาน มิ
ได้ละสังขารในองค์ฌาน และไม่มีจิตส่งเป็นจุติจิต จึงไม่เกิดอีก

ดังนี้ การที่คนเราตายลงจะนิพพาน ไม่ใช่ของยาก แต่กำหนดจิต
ว่างวางอุเบกขาเท่านั้นเอง จิตก็เป็น "ภวังคจิต" คือ นิพพาน
ไม่เป็นจุติจิตเป็นดวงสุดท้ายของภพอีกต่อไป คือ นิพพาน

เพียงมีสติเห็นอนิจจังของชีวิตขณะตายก็ไม่เกิดอีกแล้วคือ "นิพพาน"?

กรณีศึกษาที่หนึ่ง

จากพระไตรปิฎก (จำหน้าและเล่มไม่ได้เพราะอ่านเยอะไม่ได้จำตัวเลข) สรุป
ให้ฟังกันมีครั้งหนึ่ง ภิกษุแก่และอาพาธมาก เพียรพยายามเพื่อนิพพาน แต่ไม่
สำเร็จเพราะอาการอาพาธนั้นรุมเร้าหนัก เมื่อได้ถึงอภิญญา 5 แล้วก็เสื่อมลง

อีกเพราะอาการอาพาธนั้น ดังนี้ ท่านจึงคิดได้ว่า หากเราตายลงขณะอภิญญา
เสื่อมนี้ คงไปเกิดที่ใดไม่รู้ แต่หากตายลงขณะได้อภิญญา 5 นี้ยังได้อานิสงค์
อย่างน้อยก็จุติที่พรหมโลก คิดดังนี้แล้ว ท่านจึงตัดสินใจฆ่าตัวตายเสียแต่ยัง
อภิญญาไม่เสื่อม ขณะกำลังจะตายนั้นเอง ก็ปลงตกเห็นอนิจจัง วางจิตนิ่งเฉย
จิตไม่เป็นจุติจิต จึงไม่มีปฏิสนธิจิตเกิดอีก เป็นเพียง "ภวังคจิต" ไม่มีนิมิต

จึงได้บรรลุอรหันตผล คือ กิเลสนิพพานขณะนั้นและดับขันธปรินิพพานต่อทันที

เพียงมีสติเห็นอนิจจังของชีวิตขณะตายก็ไม่เกิดอีกแล้วคือ "นิพพาน"?

กรณีศึกษาที่สอง "ตำนานที่มาของศีลห้ามภิกษุฆ่าตัวตาย"

จากพระไตรปิฎกจำเล่มและหน้าไม่ได้อีกเช่นกัน สรุปความโดยย่อว่า ครั้งหนึ่ง
ภิกษุอยากจะได้นิพพานบ้าง แต่ไม่มีความเพียรและไม่อาจบรรลุ ทว่าเห็นภัย
แห่งกรรมและวัฏฏสงสาร จึงได้นัดแนะให้เพื่อนฆ่าตน แล้วตนจะกำหนดจิตว่าง
ไว้ เพื่อนทำดั่งนั้น ภิกษุจึงถึงแก่ความตายขณะจิตว่าง

พระสาวกได้เข้าเฝ้าพระพุทธอง๕เพื่อทูลถามผลว่าทำเช่นนั้นแล้วจะเป็นเช่นไร
พระพุทธองค์ทรงตรัสตอบสั้นๆ ว่า "นิพพาน" คือ ตายขณะจิตว่างเป็นภวังคจิต
จึงได้นิพพาน ไม่เกิด "จุติจิต" เป็นดวงสุดท้ายของภพจึงไม่มี "ปฏิสนธิจิต"
ส่งต่อไปในชาติภพหน้า

และนี่เองเป็นสาเหตุให้พระพุทธองค์ทรงบรรจุศีลเพิ่มเข้ามาอีก
ว่า "ห้ามภิกษุฆ่าตัวตาย" เป็นตำนานที่มาของศีลข้อนี้

เพียงมีสติเห็นอนิจจังของชีวิตขณะตายก็ไม่เกิดอีกแล้วคือ "นิพพาน"?

กรณีศึกษาที่สาม "ว่าด้วยภิกษุบรรลุอรหันต์ในปากเสือโคร่ง"

จากพระไตรปิฎกจำเล่มไม่ได้อีกเช่นเคย (คิดว่าน่าจะสุตตันตปิฎก) สรุปความ
ว่า ภิกษุกลุ่มหนึ่งปฏิบัติสติปัฏฐานไม่อาจบรรลุธรรม เมื่อครั้งเกิดเหตุร้ายมีเสือ
โคร่งคาบพระภิกษุไปกินที่ละรูป ภิกษุเหล่านั้นได้ปฏิบัติสติปัฏฐานมาดีแล้วจน
ชำนาญ ควรแก่งาน

เมื่อภิกษุรูปสุดท้ายได้สงสัยว่าเพื่อนภิกษุหายไปไหนทีละ
รูป จนได้รู้ก็เมื่อถูกเสือคาบไปกินเช่นกัน จึงกำหนดจิตตั้งสติ เห็นอนิจจังของ
ชีวิต จิตนิ่งอุเบกขาเฉยว่างอย่างนั้น ไม่เป็นจุติจิตดวงสุดท้ายขณะตายจากภพ
นี้ จิตดวงสุดท้ายเป็นภวังคจิต จึงไม่เกิด "ปฏิสนธิจิต" ตามมา จึงได้นิพพาน

ตายแล้วนิพพานเป็นเพียงการตั้งสติกำหนดจิตตอนตายเท่านั้นเอง!

ดังนี้ การ "ดับขันธปรินิพพาน" คือ การกำหนดจิตว่างตอนตายเท่านั้นเอง
ซึ่งจะทำแบบนี้ได้ต้องฝึกสติในระดับหนึ่ง ทั้งยังต้องระวังไม่ก่อกรรมสะสม
ไว้มาก เพื่อไม่ให้เกิดนิมิต นรก-สวรรค์ ตอนจะตายลงเท่านั้นเอง

ดังนั้นไม่แปลก ที่พระพุทธองค์จะโปรโมทคำว่า "นิพาน" เพื่อให้คนปรารถนา
เพราะเมื่อตายลงจิตมีสติถึงนิพพานว่าเป็นของไม่มีอะไรให้ยึด ว่าง ก็นิพพาน
ได้ (หากไม่ก่อกรรมสะสมไว้มากนัก) บางท่านถึงขนาดใช้คำว่า "นิพพานคือ
ความว่าง" ซึ่งไม่ใช่ความหมายที่ถูกต้องก็จริง แต่ให้ผลดีในแง่กุศโลบายจูง
ใจคนก่อนตายได้อย่างดี บางท่านก็โปรโมท "สุญญตา" คือ "ความว่าง" เพื่อ
ให้คนที่ปรารถนากำหนดจิตว่างไว้ตอนตายก็ได้ "นิพพาน" นั่นเอง

ส่วนการบรรลุอรหันต์ก่อนตายนั้นยากกว่า ยิ่งกว่านั้นเมื่อบรรลุแล้วบำเพ็ญเพียร
ต่อยิ่งยากเสียกว่า ดังนี้ อุดมคติของมหายานจึงไม่ประสงค์นิพพานเป็นที่สุด
ของการฝึกตน แต่มุ่งช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์มากกว่าเป็นสำคัญ

ดังนี้ เราจึงมีคำสอนเป็นวลีที่คุ้นหู อีกคำหนึ่งว่าให้ "ตายก่อนตาย" คือ บรรลุ
อรหันต์ก่อนตายนั้นประเสริฐกว่าได้นิพพานเพราะกำหนดจิตว่างตอนจะตาย

เหตุใดเราจึงคิดว่าบรรลุอรหันต์นั้นเป็นของยาก?

1) เพราะเราไปทำตามแบบอย่างดั้งเดิมที่ผิดโดยการอ่านประวัติพระพุทธเจ้า
ตามพุทธประวัตินั้น ท่านต้องบำเพ็ญทุกขกริยาถึง 6 ปี เพราะผลกรรมที่ได้เคย
ปรามาสพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ไว้ว่าการตรัสรู้เป็นของยาก

แท้แล้วการบรรลุนั้นง่ายไม่ยากเลย พระพุทธเจ้าบางพระองค์ใช้วลาเพียง 7 วันเท่านั้นก็
บรรลุ เพราะว่าการบรรลุ คือ การเห็นท้ายที่สุดสรรพสิ่งคือ อนิจจัง เท่านั้นเอง
ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีตลอดทุกขณะจิต ทุกวินาที มันปรากฏชัดเจนอยู่แล้ว เพียงแต่
กิเลสที่มาบดบังเท่านั้นหลอกไม่ให้เราเห็น

2) ไปดูตัวอย่างมาจากพระอรหันต์ในประเทศไทยที่บรรลุธรรมอย่างยาก จึง
คิดว่าทุกคนต้องทำแบบนั้น หรือบรรลุธรรมได้ยากแบบนั้นดุจเช่นเดียวกัน จึง
ละทิ้งและท้อถอยไม่บำเพ็ญเพียรเพราะคิดว่าเราเองคงไม่อาจสำเร็จได้ในชาตินี้

พระอรหันต์ในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็น "เจโตวิมุติ" เน้นกรรมฐานหลายปี
บ้างเข้าป่าธุดงค์เสี่ยงตาย ตัวอย่างเหล่านี้ ทำให้เราหลงผิดคิดว่าต้องทำแบบ
นั้นด้วยจึงจะบรรลุ ทั้งๆ ที่พระอรหันตืแบบ "ปัญญาวิมุติ" นั้น สำเร็จได้ง่ายมาก
และมักสำเร็จแบบ "ฉับพลัน" คือ "วิถีทางแห่งเซน" นั่นเอง

3) พระพุทธองค์เคยทรงตรัสแก่พระสารีบุตร ถึงพระอรหันต์สาวก ท่านทรง
จำแนกให้พระสารีบุตรดู พบว่าส่วนใหญ่เกิน ๘๐% เป็นพระอรหันต์แบบ

"ปัญญาวิมุติ" ส่วนน้อยเท่านั้นที่เป็น "เจโตวิมุติ" แนประวัติพระอรหันตสาวก
ก็มักจะบันทึกแต่ประวัติพระอรหันตืแบบ "เจโตวิมุติ" เราจึงไม่รู้ว่าแท้แล้วการ
บรรลุแบบ "ปัญญาวิมุติ" นั้นง่ายดายมากมาย และไม่ต้องไปนั่งทำกรรมฐาน
อีกด้วย เหมาะกับคนปัจจุบันอย่างยิ่ง

4) การบรรลุธรรมได้ต้องใช้ปัญญา ดังนั้น พระอรหันต์ทั้งหมด บรรลุแบบ
ปัญญาวิมุติทั้งสิ้น แต่เราจะไม่จำแนกประเภทไว้ในหมวดเดียวกัน เพื่อให้
เกิดความกระจ่างชัดในธรรม จึงได้แบ่งหมวดหมู่ของพระอรหันต์ประเภท
ต่างๆ เป็นแบบที่บรรลุโดยสมถกรรมฐานเป็นทางหลักว่าเป็น "เจโตวิมุติ"

และแบบที่บรรลุโดยวิปัสสนากรรมฐานเป็นสำคัญเป็น "ปัญญาวิมุติ" แต่
แท้แล้ว จะบรรลุ "เจโตวิมุติ" ได้เพียง "อนาคามีผล" เท่านั้น (จากพระ
ไตรปิฎกฉบับท่าน ป. ปยุตโต) เพราะขาดตัวปัญญา ตัวปัญญาเท่านั้น
จึงรู้แจ้งเห็นจริงได้ (โดยมีสมาธิเป็นฐานรองรับจิต) ซึ่งก่อนจะได้ปัญญา
ก็ต้องมีสติมาเป็นตัวจุดประกายไฟแห่งปัญญา

บรรลุแบบ "ปัญญาวิมุติ" คือ เห็นไตรลักษณ์แบบภาวนามยปัญญา ไม่ต้องไป
คลายอุปทานให้กิเลสทีละตัว และดับตัณหาไล่กิเลสทีละตัว ทีละขั้นตอน จาก
โสดาบันไปเลยก็หาไม่ ดังนั้น จึงเป็นการดับที่ต้นตอคือความหลงโลกฉับพลัน

บรรลุฉับพลันแบบ "ปัญญาวิมุติ" อยู่ได้มีสุข ไม่หลงโลก ไม่ใช่ของยาก...

อุปมาการบรรลุธรรมแต่ละแบบและผลของการบรรลุธรรมที่ต่างกัน

หากเราไม่หวังเอาอภิญญาหกมากมาย เราสามารถฝึกจิตแบบ "ปัญญาวิมุติ"
บรรลุอรหันต์ฉับพลันได้ไม่ยาก แต่หากเน้นกรรมฐานหนักและนานหลายปี
อาจได้อภิญญา แต่ก็เสียเวลาและเสี่ยงที่จะตายไปก่อนได้บรรลุ ได้ทุกขณะ

หากต้นไม้มีผลเป็นพิษ อุปมาเป็นคนเรา, ผลที่เป็นพิษอุปมาเหมือน "กิเลส"
ก้าน อุปมาเป็น "ตัณหา" กิ่ง อุปมาเป็น "อุปทาน" และต้นอุปมาเป็น "อวิชชา"
แล้ว บุคคลที่เลือกกำจัดเหตุแห่งทุกข์ โดยการดับที่อวิชชา ก็เหมือนคนตัด
ต้นไม้ ย่อมระงับไม่มีผลพิษได้อีก

แต่ต้องมีสติเฝ้าระวัง ไม่ให้มีกิ่งก้านงอกออกมาเป็นผลพิษได้ แบบนี้
ยังมี "อกุศลเจตสิก" เหลือไว้ไม่หมดไป แต่มีสติเหนือกว่าไม่หลง รู้เท่าทัน
รู้ทางไม่ก่อกรรม ไม่หาทุกข์ จึงไม่เกิดอกุศลจิต
ต่อจาก "อกุศลเจตสิก" (มีเจตสิกไม่ดี แต่สติยั้งทัน จึงไม่ทันก่อเป็นกิเลส)
และรอเวลาเข้านิพพานด้วยการตั้งสติเห็นอนิจจังตอนตาย เพียงเท่านี้

ส่วนคนที่ไปตัดผล, รอนกิ่ง, ฟันก้าน, และผลาญต้น ก็เหมือน "เจโตวิมุติ"
คือ กำจัดให้หมดเกลี้ยงไม่เหลือหรอ ไม่มี "อกุศลเจตสิก" เหลืออยู่ ก็จะไม่
มีเหลืออกุศลเจตสิกใดๆ อีก และไม่มีอกุศลจิตอีกด้วย

การบรรลุอรหันต์แบบ "ปัญญาวิมุติ" ใช้ "สติ" ที่ไวเป็นสำคัญ ตัดได้ทันตลอด
แม้นมี "อกุศลเจตสิก" แต่ก็ไม่งอกเป็น "อกุศลจิต" จึงไม่มี "กิเลส" ด้วยเหตุ
นี้ จึงใช้เวลาน้อยกว่า และไม่ต้องไปลำบากนั่งสมาธิกรรมฐานนานเกินไป

อย่างไรก็ตามพระพุทธองค์ทรงตรัสรับรองพระอรหันต์ทั้งสองแบบว่าบรรลุอรหันต์ทั้งคู่

ตัวอย่างการบรรลุฉับพลันแบบ "ปัญญาวิมุติ" ของภิกษุณีโกกิลา

พระภิกษุณีโกกิลาเดิมเป็นนางทาสี (ทาส) แต่เมื่อได้พบพระอานนท์และ
ได้เห็นควาเมตตาจึงมีจิตคิดรักใคร่ผูกพันธ์ถึงขนาดบวชเข้าเป็นภิกษุในสำนัก
ของพระพุทธองค์ แต่ด้วยความที่ตนเป็นนางทาส จึงไม่มีปัญญาสูงส่ง เรียน
กรรมฐานอะไรก็ไม่ก้าวหน้า ทั้งยังมีจิตราคะถึงแต่พระอานนท์

พระอานนท์ เป็นเหตุทำให้ภิกษุณีโกกิลาต้องร้อนรนและเป็นทุกข์มากมาย
เธอไม่เป็นอันกินอันนอน และปวดใจกับความทุกข์เพราะเหตุใดหรือ? เพราะ
นางเกิดมาเป็นทาสไม่มีภาระทางโลกใดๆ ไม่มีความหวังและวันพรุ่งนี้ แต่
ได้ทิ้งทุกอย่างมาบวชเพื่อพระอานนท์เพียงผู้เดียว แต่นางก็ไม่ได้ความรักนั้น

จิตที่ทิ้งทุกอย่างหมดสิ้นเพียงเพื่อความรักนั้นเอง บวกกับความครุ่นคิดอยู่
ตลอดเวลาว่าพระอานนท์จะรักตอบนางหรือไม่ กลายเป็นต้นกำเนิด "โคอัน"
คือ "ปริศนาธรรม" ที่ผู้เรียนเซนจะทิ้งทุกอย่างเพื่อรับไปขบคิดตลอดทั้งชีวิต

พระภิกษุณีโกกิลา ได้บรรลุธรรมในที่สุดขณะฟังธรรมจากพระพุทธองค์
แบบ "ปัญญาวิมุติ" ฉับพลันนั้นเอง โดยไม่ผ่านโสดาบันก่อน (ก่อนหน้า
นี้จิตมุ่งผูกพันรักแต่พระอานนท์จึงไม่ได้บรรลุแม้นกระทั่งโสดาบันมาก่อน
คือ จิตไม่พุ่งตรงต่อพระนิพพาน ไปพุ่งตรงต่อพระอานนท์แทน)

พระเยซูได้ใช้วิธีเดียวกันนี้ในการให้ "โคอัน" แก่ชาวคริสตร์ว่า "พระเจ้าคือ
อะไร" ท่านไม่บอกให้ชัดเจน แต่ให้ผู้คนไขว่คว้าหาเอง ทั้งยังสอนให้รักมากๆ
เพื่อทิ้งทุกอย่าง (แต่ได้บอกนัยๆ ว่าพระเจ้าคือพระจิต อยู่ในจิตเรานี้เอง)

ดังนั้น คริสตร์ก็คือพุทธแนวผสมผสานระหว่าง "เซน" และ "ตันตระ" นั่นเอง
(เป็น ตันตระ เพราะประกอบพฤติกรรมทุกอิริยาบทเป็นพุทธะ คือ พระบุตร
ที่กำเนิดจาก "พระเจ้า" --- แสดงว่ามีเชื้อสายพระเจ้า คือพุทธะ คือโพธิสัตว์
ก่อนที่จะบารมีเต็ม หรือ บุตรโตจนเต็มวัย ก็คือ พุทธะพระองค์หนึ่ง -- ตันตระ)

นิพพานไม่ยากอย่างที่คิด แต่หากต้องการเป็นพระสัพพัญญูรู้หมด อาจเสียเวลาและไม่ได้รู้อะไรเลย


ที่มา
http://board.palungjit.com/f181/เชื่อหรือไม่-พระพุทธเจ้า-พระเยซู-พระนบีมูฮัมหมัด-เป็นหนึ่งเดียวกัน-82059.html
โดยคุณ anakarik




ขอให้สนุกกับการอ่าน อย่าซีเรียส นี่เป็นเพียงความเห็นส่วนบุคคล

โปรดใช้วิจารณญาน อย่างมีสติ
 :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ