สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

ธรรมะสาระ => สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน => ข้อความที่เริ่มโดย: aom-jai ที่ กรกฎาคม 10, 2011, 09:31:54 pm



หัวข้อ: ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นเรา
เริ่มหัวข้อโดย: aom-jai ที่ กรกฎาคม 10, 2011, 09:31:54 pm
..อย่าเลย วักกลิ ร่างกายอันเปื่อยเน่าที่เธอเห็นนี้ จะมีประโยชน์อะไร?
ดูกรวักกลิ ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นเรา ผู้ใดเห็นเราผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นธรรม.
วักกลิ เป็นความจริง บุคคลเห็นธรรมก็ย่อมเห็นเรา บุคคลเห็นเราก็ย่อมเห็นธรรม.
ขนฺธ.สํ. ๑๗/๑๑๗/๒๑๖


(http://www.madchima.net/images/482_Y10795474_5.jpg)


หัวข้อ: Re: ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นเรา
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กรกฎาคม 11, 2011, 08:48:37 am
(http://nkgen.com/Enlightentment.jpg)
ขอบคุณภาพประกอบจาก http://nkgen.com/ (http://nkgen.com/)

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
๘. มหาหัตถิปโทปมสูตร
อุปมาอริยสัจกับรอยเท้าช้าง


พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ไว้ว่า

ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  บรรทัดที่ ๖๐๔๒ - ๖๓๐๘.  หน้าที่  ๒๔๕ - ๒๕๕.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=6042&Z=6308&pagebreak=0 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=6042&Z=6308&pagebreak=0)
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=340




พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
มงคลสูตรในขุททกปาฐะ


มงคล ๓๘ (สิ่งที่ทำให้มีโชคดี, ธรรมอันนำมาซึ่งความสุขความเจริญ เรียกเต็มว่า อุดมมงคล คือมงคลอันสูงสุด)

มงคลที่ ๓๓. อริยสจฺจาน ทสฺสนํ (เห็นอริยสัจ, เข้าใจความจริงของชีวิต)

นี้เป็นมงคลอันอุดม "เทวะมนุษย์ทั้งหลายกระทำมงคลเช่นนี้แล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ปราชัยในที่ทุกสถาน

ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทั้งปวง นี้คืออุดมมงคลของเทวะมนุษย์เหล่านั้น."

 
อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  บรรทัดที่ ๔๑ - ๗๒.  หน้าที่  ๓ - ๔.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=41&Z=72&pagebreak=0 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=41&Z=72&pagebreak=0)
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=5