ธรรมะสาระ > สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน

อาศัยตัณหาเพื่อละตัณหา (ฉันทะ)

(1/2) > >>

Admax:
                            พราหมณสูตร
                    ว่าด้วยปฏิปทาเพื่อละฉันทะ

[๑๑๖๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมืองโกสัมพี
ครั้งนั้น อุณณาภพราหมณ์เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอานนท์ว่า

[๑๑๖๓] ดูกรท่านอานนท์ ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดม เพื่อประโยชน์
อะไร?
ท่านพระอานนท์ตอบว่า ดูกรพราหมณ์ เราประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเพื่อละ
ฉันทะ.
[๑๑๖๔] อุณ. ดูกรท่านอานนท์ ก็มรรคา ปฏิปทา เพื่อละฉันทะนั้น มีอยู่หรือ?
อา. มีอยู่ พราหมณ์.
[๑๑๖๕] อุณ. ดูกรท่านอานนท์ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน?
อา. ดูกรพราหมณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยฉันท-
*สมาธิและปธานสังขาร ย่อมเจริญอิทธิบาทประกอบด้วยวิริยสมาธิ ... จิตตสมาธิ ... วิมังสาสมาธิ
และปธานสังขาร นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อละฉันทะนั้น.
[๑๑๖๖] อุณ. ดูกรท่านอานนท์ เมื่อเป็นเช่นนั้น ฉันทะนั้นยังมีอยู่ ไม่ใช่ไม่มี
บุคคลจักละฉันทะด้วยฉันทะนั่นเอง ข้อนี้มิใช่ฐานะที่มีได้.
อา. ดูกรพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น เราจะย้อนถามท่านในเรื่องนี้ ท่านเห็นควรอย่างไร
พึงแก้อย่างนั้นเถิด.
[๑๑๖๗] ดูกรพราหมณ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน? ในเบื้องต้นท่านได้มี
ความพอใจว่า จักไปอาราม เมื่อท่านไปถึงอารามแล้ว ความพอใจที่เกิดขึ้นนั้นก็ระงับไปมิใช่
หรือ?
อุณ. อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ.
อา. ในเบื้องต้น ท่านได้มีความเพียรว่า จักไปอาราม เมื่อท่านไปถึงอารามแล้ว
ความเพียรที่เกิดขึ้นนั้นก็ระงับไปมิใช่หรือ?
อุณ. อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ.
อา. ในเบื้องต้น ท่านได้มีความคิดว่า จักไปอาราม เมื่อท่านไปถึงอารามแล้ว ความ
คิดที่เกิดขึ้นนั้นก็ระงับไปมิใช่หรือ?
อุณ. อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ.
อา. ในเบื้องต้น ท่านได้ตริตรองพิจารณาว่า จักไปอาราม เมื่อท่านไปถึงอารามแล้ว
ความตริตรองพิจารณาที่เกิดขึ้นนั้นก็ระงับไปมิใช่หรือ?
อุณ. อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ.
[๑๑๖๘] อา. ดูกรพราหมณ์ อย่างนั้นเหมือนกัน ภิกษุใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนถึงแล้วโดย
ลำดับ สิ้นสังโยชน์ที่จะนำไปสู่ภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้น ในเบื้องต้นก็มี
ความพอใจเพื่อบรรลุอรหัต เมื่อบรรลุแล้ว ความพอใจที่เกิดขึ้นนั้นก็ระงับไป ในเบื้องต้นก็มี
ความเพียรเพื่อบรรลุอรหัต เมื่อบรรลุแล้ว ความเพียรที่เกิดขึ้นนั้นก็ระงับไป ในเบื้องต้นก็มี
ความคิดเพื่อบรรลุอรหัต เมื่อบรรลุแล้ว ความคิดที่เกิดขึ้นนั้นก็ระงับไป ในเบื้องต้นก็มีความ
ตริตรองพิจารณาเพื่อบรรลุอรหัต เมื่อบรรลุแล้ว ความตริตรองพิจารณาที่เกิดขึ้นนั้นก็ระงับไป.
[๑๑๖๙] ดูกรพราหมณ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน? เมื่อเป็นเช่นนั้น ความ
พอใจนั้นยังมีอยู่หรือว่าไม่มี?
อุณ. ข้าแต่ท่านอานนท์ เมื่อเป็นเช่นนั้น ความพอใจก็มีอยู่โดยแท้ ไม่มีหามิได้
ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้ง
นัก ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ท่านประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ
เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่าผู้มีจักษุจักเห็นรูป ฉะนั้น
ข้าพเจ้านี้ขอถึงท่านพระโคดมกับทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระอานนท์จงจำ
ข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะจนตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.


                            จบ สูตรที่ ๕


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๖๗๙๖ - ๖๘๔๓. หน้าที่ ๒๘๓ - ๒๘๔.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=6796&Z=6843&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1162
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙
http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑๙
http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_19

raponsan:


รวมคำสอนของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ
  6) ถ้าถามว่า ถ้าคนเขาอยากไปพระนิพพานเป็นตัณหาไหม ก็เห็นจะ 99 เปอร์เซ็นต์ที่ตอบว่า
   คำว่าอยาก แปลว่า ตัณหา ในเมื่ออยากไปพระนิพพาน ก็แสดงว่าเป็นตัณหาเหมือนกัน
   ก็เลยบอกว่านี่แกเทศน์แล้วแกก็เดินลงนรกเลยสบาย ไปเสียคนเดียวก่อน ดีกว่ามาชวนชาวบ้านเขาไปอีก
   ถ้าต้องการไปนิพพาน เขาเรียกว่า ธรรมะฉันทะ มีความพอใจในธรรม
   เป็นอาการซึ่งทรงความดี พวกเราฟังแล้วจำไว้ด้วยนะ ถ้าใครเขาถามจะได้ตอบถูก

ที่มา http://www.palungjit.com/smati/books/index.php?cat=205
ขอบคุณภาพจาก http://www.dhammajak.net/f
 
  คำว่า ตัณหานี่ แปลว่า ความทะยานอยากลงเบื้องต่ำ เกาะโลก
   มีอุปาทานเป็นเชื้อนำหรือเป็นผู้บังคับบัญชาการ และมีอวิชชาความโง่เป็นผู้สนับสนุน

   นี่ถ้าถามว่า ถ้าคนเราอยากไปนิพพานเป็นตัณหาไหม ก็เห็นจะ ๙๙ % ที่ตอบว่า คำว่าอยากแปลว่าตัณหา ในเมื่ออยากไปนิพพานก็แสดงว่าเป็นตัณหาเหมือนกัน ต้องการไปนิพพานเขาเรียกว่าธรรมฉันทะ ไม่ใช่กามฉันทะ เรียกว่ามีความพอใจในธรรม เป็นอาการซึ่งทรงไว้ซึ่งความดี

จาก:ธรรมะปกิณกะ 2 (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

ที่มา board.palungjit.com/f4/พวกนั่งสมาธิไปท่องเที่ยวพระนิพพานจะบรรลุพระนิพพานเร็ว-227259-2.html
โพสต์โดย คุณบัวหลวง

sakda:
จะถือว่าเอกฉันท์ในการตอบอย่างนั้นยังไม่ได้นะครับ เรื่องแรกที่จะชี้แจงนะครับ

  1.พระอานนท์ขณะนั้น เป็นพระโสดาบัน การตอบได้ตามความเห็นของพระโสดาบัน
  2.พราหมณ์มีเจตนามาขอเป็น อุบาสก อยู่แล้ว
  3. เรื่องนี้พระอาจารย์เคยให้วินิจฉัย กับพระสูตรนี้ครั้งหนึ่ง ผมจำไม่ได้ในเมล

        องค์ธรรมที่เป็นกุศล ไม่ใช่ตัณหา

     ตัณหามี  3 อย่าง
    1.กามตัณหา ความใคร่ใน กามคุณ 5
    2.ภวตัณหา ความอยากมี อยากเป็น
    3.วิภาวตัณหา ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น
   
     ดังนั้นจะเรียกฉันทะ ว่า ตัณหานั้นไม่ได้ เพราะไม่เป็นกามตัณหา และ วิภวตัณหา ที่นี้หลายท่านอาจจะบอกจัดว่าความอยากเป็นอยากมี ถ้าอย่างนี้ผิดเลยครับ ผิดตั้งแต่ สัมมาทิฏฐิ เลยผิดตั้งแต่ มรรค ข้อต้น ๆ เลยนะครับ

     นิพพาน ไม่มี ธาตุ 4 ไม่มี อุปาทายรูป นามรูปดับ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผ่านกระทู้นี้มาหมาด ๆ จะเห็นว่าจะอธิบายเรื่องนี้ได้มากเลยครับ

     คงเท่านี้นะครับ เพราะจำมาจากเมลพระอาจารย์บางส่วนครับ
    :s_hi:
 

ส้ม:
อันนี้เกี่ยวกับการวางอารมณ์ ในกรรมฐาน ด้วยนะคะ

   ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ มีการวางอารมณ์ คือ อยากมีก็คือไม่ได้ ไม่อยากมีก็คือไม่ได้ ต้องวางอารมณ์เป็นกลาง ๆ ในกรรมฐาน คำนี้จะได้ยินบ่อย ๆ จากหลวงพ่อพระครูคะ

 :93:

intro:
คิดเอา ง่าย ก็ได้นะครับว่า

   กินข้าว ด้วยตัณหา
   กินข้าว เพราะหิว

   มันต่างกันหรือไม่ ?

   ปีิติ เกิด ขึ้น เพราะอะไร ?
   ฉันทะ มีได้เพราะอะไร ?

   อย่างน้อย นิวรณ์ 5 ต้องดับแล้วไปหลายส่วน

    :s_hi:


นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป