ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - raponsan
หน้า: 1 ... 705 706 [707] 708 709
28241  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / พระพุทธเจ้าทรงทำนาย พระสุบินของพระเจ้าปัสเสนทิโกศล เมื่อ: ธันวาคม 28, 2009, 09:53:41 am
พระพุทธเจ้าทรงทำนายพระสุบินของพระเจ้าปัสเสนทิโกศล

พระเจ้าปัสเสนทิโกศล ทรงสุบิน ๑๖ ข้อ แล้วไปทูลขอให้พระพุทธองค์ ทรงวินิจฉัยว่าเกิดอะไรขึ้น
พระพุทธองค์ทรงแสดงชาดกเรื่อง พระโพธิสัตว์เป็นฤษี แล้วทรงพยากรณ์วินิจฉัยสุบินของพระเจ้าพาราณสี ซึ่งพระสุบิน ๑๖ ข้อและพุทธพยากรณ์ มีดังต่อไปนี้


ข้อ ๑ ทรงสุบินว่า ทรงเห็นโคอุสุภราชดำสี่ตัวมาจาก สี่ทิศ ทำท่าว่าจะชนกันที่พระลานหลวง แต่พอมีคนมาดูมากกลับถอยหายไปหมดมิได้ชนกันเลย

พระพุทธองค์ทรงวินิจฉัยว่า ในอนาคตกาลเมื่อผู้บริหารบ้านเมือง ไม่ประพฤติธรรมมีแต่ทุจริต กรรมจะเกิดภาวะทุพภิกขภัย เมฆฝนตั้งท่าขึ้นแล้วไม่ยอมตก เกิดข้าวยากหมากแพง ลำบากกันไปทั่ว

ข้อ ๒ ทรงพระสุบินว่า ทรงเห็นต้นไม้เล็กๆ ผลิดอกออกผลผิดปกติ
 
พระพุทธองค์ทรงวินิจฉัยว่า ในอนาคต คนจะราคะจัด มีเพศสัมพันธ์กันตั้งแต่อายุยังน้อย หมกมุ่นหลงไหลพัวพันกันอยู่ในเรื่องกามตัณหา

ข้อ ๓ ทรงพระสุบินว่า ทรงเห็นแม่โคดูดน้ำนมลูกโคซึ่งเกิดในวันนั้น

ข้อนี้พระพุทธองค์ทรงวินิจฉัยว่า ในอนาคตกาลผู้น้อยจะขาดความเคารพในผู้ใหญ่ ในบิดามารดา ผู้ใหญ่หรือพ่อแม่จะถูกลูกหลานทอดทิ้ง ให้ได้รับความลำบากต้องถึงกับขอเขากิน

ข้อ ๔ ทรงพระสุบินว่า ทรงเห็นคนปล่อยโค ที่ชำนาญการในการลากไถลากเกวียนทิ้งหมด แล้วเอาโคหนุ่มที่ยังไม่เคยหัดมาเทียมเกวียนแทน
 
พระพุทธองค์ทรงวินิจฉัยข้อนี้ว่า ในอนาคตกาล ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้เป็นปราชญ์ จะถูกทอดทิ้งเหยียดหยาม ส่วนคนหนุ่มด้อยประสบการณ์ ยังเป็นพาลชน จะได้รับยกย่องเชิดชู ในตำแหน่งยศฐาบรรดาศักดิ์จนเสียหาย


ข้อ ๕ ทรงพระสุบินว่า ทรงเห็นม้าตัวเดียวสองปากกินข้าวกล้าอ่อนๆที่เขาป้อนไม่หยุด

พระพุทธองค์ทรงวินิจฉัยว่า ในอนาคตกาลเมื่อผู้บริหารบ้านเมืองไม่มีธรรม มีแต่อธรรม
เขาจะแต่งตั้งคนโลเลกลับกลอกให้เป็นใหญ่ แล้วประพฤติอธรรมจนชาวบ้านเดือดร้อนต้องป้อนเขาไม่หยุด



ข้อ ๖ ทรงพระสุบินว่า ทรงเห็นคนขัดถาดทองคำราคานับแสนให้สุนัขจิ้งจอกแก่ถ่ายปัสสาวะรด

พระพุทธองค์ทรงวินิจฉัยว่า ในอนาคตกาลเมื่อผู้บริหารบ้านเมืองไม่ประพฤติธรรม จะมีอคติยกย่องคนพาลล้างผลาญคนดีมีชาติตระกูล คนพาลจะได้เป็นใหญ่ แต่คนดีมีชาติตระกูลจะตกต่ำลำบากต้องยกลูกสาวให้คนพาลผู้เป็นใหญ่


ข้อ ๗ ทรงพระสุบินว่า ทรงเห็น บุรุษนายหนึ่งนั่งฟั่นเชือกหนังปลายเชือกห้อยลง มีนางสุนัขจิ้งจอกแก่ๆนอนกัดกินปลายเชือกนั้นไปไม่หยุด
 
พระพุทธองค์ทรงวินิจฉัยว่า ในอนาคตตกาลข้างหน้าสตรีจะไล่คว้าหาบุรุษ คลุกเคล้าชายชู้ไม่ดูแลกิจการงานเรือน ผลาญโลเลลุ่มหลงมัวเมาในบุรุษชอบเสพสุรายาเมา ทรัพย์อับปัญญาหุงข้าวปลาไม่สุก


ข้อ ๘ ทรงสุบินว่า ทรงเห็น กะละออมใหญ่ใบหนึ่งมีน้ำเต็ม มีโอ่งเปล่าจำนวนมากตั้งล้อมอยู่ แต่มีคนมากมายตักน้ำใส่กะละออมใบนั้น หาได้ใส่โอ่งเปล่าไม่

พระพุทธองค์ทรงวินิจฉัยว่า ในอนาคตโลกจะทรามลง ผู้บริหารบ่ารนเมืองจะมีวาสนาน้อยตกอับ จนต้องบังคับให้ ชาวบ้านชาวเมืองส่งส่วย ชาวบ้านเดือดร้อนระทมทุกข์กันทั่วหน้า


ข้อ ๙ ทรงพระสุบินว่า ทรงเห็นสระโบกขรณีมีน้ำลึก มีบัวเบญจพรรณ มีท่าขึ้นลงรอบสระสัตว์ทุกชนิดลงไปดื่มน้ำในสระนั้น แต่มีน้ำขุ่นอยู่กลางสระ ส่วนรอบๆ สระที่สัตว์ลงไปดื่มน้ำเหยียบย่ำไปมาหาได้ขุ่นไม่

พระพุทธองค์ทรงวินิจฉัยว่า ในอนาคตกาล เมื่อผู้บริหารบ้านเมืองไม่ดำรงมั่นอยู่ในธรรม จะมีอคติมีประพฤติทุจริต โลภจัด โกรธจัด หยาบช้า หาเมตตาขันติไม่ได้ บีบคั้นประชาชนให้ทุกข์ทรมานเดือดร้อน ต้องหนีออกไปอยู่ชนบทปลายแดน ทำให้สังคมเมืองว่างจากผู้ดีมีศีลมีธรรม


ข้อ ๑๐ ทรงพระสุบินว่า ทรงเห็นข้าวที่เขาหุงในหม้อใบหนึ่งที่บางส่วนดิบ บางส่วนเปียกแฉะ บางส่วนทั้งดิบทั้งแฉะ

พระพุทธองค์ทรงวินิจฉัยว่า ในอนาคตกาล เมื่อผู้บริหารบ้านเมืองไม่ตั้งอยู่ในธรรม พราหมณ์ สมณะ คฤหบดี ก็จะพากันประพฤติอธรรม เป็นเหตุให้ฝนตกไม่ถูกต้องตามฤดูกาล วิปริตผิดเพี้ยนไปทั่ว พืชพรรณธัญญาหารเสียหาย มีความพอเหมาะพอดีเลยสักทีเดียว
(คิดดูแล้วเหมือนลมฟ้าอากาศในปัจจุบัน)



ข้อ ๑๑ ทรงพระสุบินว่า ทรงเห็นคนจำนวนมากเอาแก่นจันทร์หอมราคานับแสน ไปแลกกับนมบูด(เปรี้ยวเน่า)

ข้อนี้พระพุทธองค์ทรงวินิจฉัยว่า ในอนาคตกาลภิกษุอลัชชีจะมีมาก โลภจัดในปัจจัยสี่ ไม่มีความคิดแสวงนิพพาน มีแต่พาลหาลาภยศสรรเสริญ กามสุข


ข้อ ๑๒ ทรงพระสุบินว่า ทรงเห็นน้ำเต้าเปล่าที่ควรจะลอยน้ำกลับจมน้ำ

พระพุทธองค์ทรงวินิจฉัยว่า ในอนาคตกาลภายภาคหน้าโลกจะแปรปรวน (บริหารบ้านเมืองจะห่างธรรมะ บัณฑิตจะถูกหยาม คนพาลจะได้ดีมีคนยกย่อง คำพูดคนพาลเหมือนน้ำเต้าเปล่า สมณะผู้ทุศีล เหมือนน้ำเต้าเปล่า แต่มีคนเชื่อฟัง ส่วนคำพูดของบัณฑิตกลับไม่ได้รับความใส่ใจ จากผู้น้อยผู้ใหญ่ในบ้านเมือง


ข้อ ๑๓ ทรงพระสุบินว่า ทรงเห็นศิลาแท่งใหญ่ๆลอยอยู่ในน้ำ
 
พระพุทธองค์ทรงวินิจฉัยว่า ในอนาคตยุคที่ผู้บริหารราชการบ้านเมืองขาดธรรมประจำใจ จะแต่งตั้งคนด้อยตระกูลผู้ไกล้ชิดตนให้เป็นใหญ่ เขาพูดจาสามหาวไม่เคารพผู้ใหญ่ แม้พระภิกษุผู้มีศีลก็จะไม่ได้รับการแสดงความเคารพ คนชั่วที่เป็นจึงไม่ต่างอะไรกับแผ่นศิลาลอยน้ำ


ข้อ ๑๔ ทรงพระสุบินว่า ทรงเห็นเขียดตัวน้อย ไล่กัดกินเนื้องูเห่า

ข้อนี้พระพุทธองค์ทรงวินิจฉัยว่า ในอนาคตข้างหน้า คนจะมีราคะกล้า ลุ่มหลงอยู่ในอำนาจกิเลส ประพฤติตัวต่ำทราม บุรุษทั้งหลายจะหลงไหลเมียสาว แม้โดนเมียสาวด่าก็รู้สึกว่าไพเราะ เพราะหลงรสกามจนทำลายตนเองทรัพย์สินและครอบครัวจนประสบความหายนะ


ข้อ ๑๕ ทรงพระสุบินว่า ทรงเห็นพระยาหงส์ทองแวดล้อมอีกาเที่ยวไปอยู่

ข้อนี้พระพุทธองค์ทรงวินิจฉัยว่า ในกาลข้างหน้าเมื่อผู้บริหารบ้านเมืองไม่ฉลาดในศีลปศาสตร์ต่างๆ จะทำความพินาศให้แก่บ้านเมือง จะยกย่องคนที่ไม่ควรได้รับยกย่อง และในที่สุดผุ้ดีมีตระกูลจะทำตัวต่ำต้อยไปสวามิภักดิ์อุปถัมภ์บำรุงยกย่องคน ชาติต่ำขึ้นเป็นใหญ่ในบ้านเมือง


ข้อ ๑๖ ทรงพระสุบินว่า ทรงเห็นแพะไล่ติดตามเสือเหลือง จับเสือกินเสียมันปาก จนเสืออื่นๆวิ่งหนีเอาตัวรอดกันสุดชีวิต

พระพุทธองค์ทรงวินิจฉัยว่า ในกาลข้างหน้าคนด้อยการศึกษา หรือศิษย์ไร้ครูจะอยู่ในที่เรืองอำนาจ ส่วนผู้มีการศึกษามีครูบาอาจารย์จะหมดโอกาสเป็นใหญ่ พูดอะไรก็ไม่มีใครรับฟัง แม้พระภิกษุอลัชชีมีบาปหยาบช้า ก็จะได้รับความยกย่องให้เป็นพระผู้ใหญ่ ส่วนภิกษุผู้มีศีลพูดอะไรก็ไม่มีใครเขารับฟัง จนคนดีต้องหมดอาลัยไปหาที่อยู่ตามยถากรรมของตนเอง


มหาสุบิน ๑๖ ข้อนี้ปรากฏแก่พระเจ้าปัสเสนทิโกศล ทีแรกทรงถามพวกพราหมณ์ว่าเป็นเช่นไร ได้ทรงรับคำวินิจฉัยว่าจะมีอันตราย ๓ อย่าง

อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อันตรายแก่ชีวิต อันตรายแก่ราชสมบัติ อันตรายแก่พระมเหสี หรืออาจจะทั้ง ๓ อย่าง ทรงตกพระทัยมาก

ให้ทำพิธีบูชายัญเพื่อพ้นภัยด้วยการเอาของอย่างละสี่ มีมนุษย์สี่คนเป็นต้นเครื่องบูชา แต่นางมัลลิกาทรงแนะนำไปเฝ้า ทูลถามพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์จึงทรงมีพุทธทำนาย

ดังที่ย่อกล่าวมาให้ผู้อ่านได้ศึกษาใคร่ครวญด้วยประการฉะนี้ เราจะเห็นได้ว่าพระพุทธองค์ทรง มีพระเมตตาในทุกเรื่อง ทั้งทางโลกทางธรรม


******************************
ที่มา   http://www.bcoms.net/buddhism/detail.asp?id=222

พระเจ้าปเสนทิโกศล จะไปตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตข้างหน้า
เป็นองค์ที่ ๓ ในพระอนาคตวงศ์  ๑๐ พระองค์

๑.พระศรีอาริยเมตไตร(พระอชิตเถระ)
๒.พระรามเจ้า
๓.พระธรรมราช(พระเจ้าปเสนทิโกศล)
๔.พระธรรมสามี(พระยามาธิราช)
๕.พระนารทะ(พระยาอสุรินทราหู)
๖.พระรังสีมุนีนาท(โสณพราหณ์)
๗. พระเทวเทพ(สุภพราหมณ์)
๘.พระนรสีหะ(โตไทยพราหมณ์)
๙. พระติสสะ (ช้างนาฬาคีรี)
๑๐.พระสุมงคล(ช้างปาลิไลยกะ)

ดูรายละเอียดได้ที่ลิงค์ข้างล่างนี้เลยครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=160.0


28242  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ฝากกลอนดี ๆ ให้เพื่อน ๆ ( ชอบเมา ) เมื่อ: ธันวาคม 28, 2009, 08:39:50 am

ขออนุโมทนากับคุณวิโรจน์

ขอแนะนำให้ดู องค์ของศีล(ข้อ ๕) ในกระทู้ของคุณสาคร ตามลิงค์ข้างล่าง

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=177.0


28243  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / Re: ฝากประวัติ หลวงพ่อคล้าย วาจาสิทธิ์ด้วยนะครับ เมื่อ: ธันวาคม 28, 2009, 08:31:47 am
ขออนุโมทนากับคุณสาธุครับ

หากมีเวลา รบกวน นำเอาประวัติย่อ มาลงให้ด้วย นะครับ
28244  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ลำดับขั้น.......เข้าสู่อริยมรรค เมื่อ: ธันวาคม 27, 2009, 02:49:28 pm

13. โคตรภูญาณ
 
คำสอนที่เผยแพร่ หากบารมีแก่กล้าก็วืบเดียวอนุโลมญาณ แล้วโคตรภูญาณมัคคญาณ ผลญาณ ปัจจเวกขณญาณ เกิดสืบต่อกัน
 
ปริยัติธรรม
ญาณครอบโคตรคือความหยั่งรู้ที่เป็นหัวต่อแห่งการข้ามพ้นจากภาวะปุถุชนเข้าสู้ภาวะอริยบุคคคล

ความรู้จากการปฏิบัติ
ถึงขั้นนี้ทั้งคำสอนที่เผยแพร่กัน และคำสอนทางปริยัติธรรมเข้าไม่ถึงเสียแล้ว
จึงไม่สามารถจำแนกอธิบายลักษณาการของโคตรภูญาณได้ แล้วเอาคำว่าวืบมาใช้ ความจริงไม่มีคำว่าวืบ หรือวูบ เพราะขณะนั้นสติสัมปชัญญะจะแจ่มใสตลอด โคตรภูญาณเป็นญาณหยั่งรู้ว่า ขณะนั้นกระแสจิตที่ส่งออกนอกไประลึกรู้อารมณ์จะปล่อยวางอารมณ์แล้วถอยย้อนคืนเข้าหาตัวจิตผู้รู้ มันไม่ได้เกาะเกี่ยวกับอารมณ์จึงไม่อาจจัดเป็นโลกียญาณ และไม่ได้เข้าถึงธาตุรู้อันบริสุทธิ์แท้จริง จึงไม่ใช่โลกุตรญาณแต่เป็นรอยต่อตรงกลางนั่นเอง ในช่วงที่จิตถอยออกจากอารมณ์นั้น เป็นการรวมของจิตคล้ายกับอัปปนาสมาธินั่นเอง

แต่อาจเป็นการผ่านฌานที่ 1 แล้วเข้าถึงจิตผู้รู้เลย หรือผ่านฌานที่ 2 - 8 แล้วจึงเข้าถึงจิตผู้รู้ก็ได้
แล้วแต่กำลังฌานของแต่ละบุคคล (จุดที่ต่างจากอัปปนาสมาธิคือ มันไม่ได้ถอยมาหยุดเฉยอยู่กับจิตผู้รู้อย่างกับอารมณ์ฌาน หากแต่เป็นการถอยเข้ามารวมกำลังของกุศลธรรมฝ่ายการตรัสรู้เข้าไว้ด้วยกันที่จิตผู้รู้ เพื่อแหวกมโนวิญญาณที่ปกคลุมธาตุรู้อันบริสุทธิ์ให้แตกกระจายออกไปในขั้นของมัคคญาณ)

14. มัคคญาณ


คำสอนที่เผยแพร่ อธิบายไม่ได้แล้ว

ปริยัติธรรม
ญาณหยั่งรู้ในอริยมัคค์ คือความหยั่งรู้ที่ให้สำเร็จภาวะอริยบุคคลแต่ละขั้น

ความรู้จากการปฏิบัติ
เมื่อสติซึ่งเคยระลึกรู้อารมณ์ย้อนตามโคตรภูญาณเข้ามาระลึกรู้จิตผู้รู้ ซึ่งตัวจิตผู้รู้เองก็มีสัมปชัญญะอยู่ก่อนแล้ว ทั้งสติ ทั้งสัมปชัญญะ ทั้งกุศลธรรมฝ่ายการตรัสรู้ทั้งปวงที่รวมเรียกว่าโพธิปักขิยธรรม ประชุมรวมลงที่จิตผู้รู้ดวงเดียว ในขณะนั้นมโนวิญญาณที่ห่อหุ้มธาตุรู้ถูกกำลังของมรรคหรือมัคคสมังคีแหวกออก ธาตุรู้ซึ่งถูกห่อหุ้มมานับกัปป์กัลป์ไม่ถ้วนก็ปรากฏตัวขึ้นมา สภาพที่มัคคสมังคีแหวกมโนวิญญาณอันนั้นเกิดในขณะจิตเดียว บางคนตามรู้ได้ บางคนตามรู้ไม่ทันเพราะปัญญาอบรมมาได้ไม่เท่ากัน

15. ผลญาณ

คำสอนที่เผยแพร่ อธิบายไม่ได้แล้ว

ปริยัติธรรม
ญาณในอริยผล คือความหยั่งรู้ที่เป็นผลสำเร็จของพระอริยบุคคลขั้นนั้นๆ

ความรู้จากการปฏิบัติ
เมื่อมโนวิญญาณถูกแหวกออกแล้ว ธาตุรู้อันบริสุทธิ์หรือจิตอันบริสุทธิ์แท้จริงก็ปรากฏขึ้น มันไม่มีรูปร่างตัวตนใดๆทั้งสิ้น ปรากฏเป็นแสงสว่าง ว่างบริสุทธิ์ เป็นตัวของตัวเอง มีอาการเบิกบานร่าเริงโดยปราศจากอารมณ์ปรุงแต่ง

16. ปัจจเวกขณญาณ


คำสอนที่เผยแพร่ บางคนอ่อนก็พูดไม่เป็น บางคนญาณแก่ก็พูดได้ประกาศร้อง ตะโกนว่าเรารู้แล้ว มรรคนี้ถูกต้องแล้ว พิจารณากิเลสที่ละได้ และกิเลสที่ยังเหลืออยู่

ปริยัติธรรม ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน คือสำรวจรู้มรรคผลและกิเลสที่ ละแล้ว กิเลสที่เหลืออยู่ และนิพพาน


ความรู้จากการปฏิบัติ
ในขณะที่บังเกิดมรรคผลนั้น ปราศจากความคิดมีแต่ความรู้ เมื่อมัคคญาณยังไม่ถึงขั้นอรหัตมัคค์ ย่อมมีกำลังไม่มากพอที่จะส่งผลให้จิตจริงแท้หลุดพ้นได้ถาวร แต่จะปรากฏเพียงเล็กน้อยก็จะถูกมโนวิญญาณกลับเข้ามาห่อหุ้มปกคลุมอีก เมื่อสัญญาเกิดขึ้นแล้ว ผู้ปฏิบัติจะคิดนึกได้และรู้ชัดว่า อ้อพระพุทธเจ้ามีจริง ทรงสอนธรรมเป็นของจริง ปฏิบัติแล้วหลุดพ้นได้จริง

ผู้ปฏิบัติสามารถหลุดพ้นเป็นอริยสาวกตามพระองค์ได้จริง จะรู้ชัดว่าความเป็นตัวตนไม่มีอยู่จริง โดยเฉพาะจะเห็นชัดว่าจิตไม่ใช่ตัวเรา ความเป็นตัวเราหรือสักกายทิฏฐิเกิดจากสังขารหรือความคิดเข้ามาปรุงแต่งหลอกลวงจิตเท่านั้น จะหมดความลังเลสงสัยในพระศาสนาสิ้นเชิง ไม่มีทางปฏิบัตินอกลู่นอกทางใดๆ ได้อีก
กล่าวโดยย่อ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส เป็นอันหมดไปเด็ดขาด กิเลสในจิตใจเหลือมากน้อยเพียงใดก็รู้ชัดในใจตนเอง


ความเข้าใจผิดที่ต่อเนื่องจากเรื่องโสฬสญาณ
 
ในสำนักที่เผยแพร่คำสอนเกี่ยวกับญาณ 16 ที่ว่าผิดเพี้ยนนั้น
มีความสำคัญผิดอย่างร้ายแรงว่านิพพานเป็นสภาพที่หมดความรู้สึก
ผู้ปฏิบัติจะนั่งตัวแข็งไปชั่วขณะแม้หลังบรรลุมรรคผลแล้ว
ต่อมาเมื่อเข้าผลสมาบัติ ซึ่งเป็นการระลึกรู้อารมณ์นิพพานก็จะมีอาการดังนี้

"เมื่อเข้าสมาบัติ ตัวแข็งแจ้งชัด
ประสาทหยุดงานหมดความรู้สึก คิดนึกทุกสถาน
อารมณ์นิพพาน บรมสุขสันต์"



แท้จริงสภาวะที่ปราศจากความรู้สึกนึกคิดนั้น
เป็นสภาวะของอสัญญีพรหม หรือพรหมลูกฟัก
คือมีแต่รูปกายนั่งตัวแข็งเป็นก้อนหินอยู่
ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวข้องกับการสำเร็จมรรคผลนิพพานแต่ประการใดเลย



ที่มา  เว็บพลังจิ
28245  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ลำดับขั้น.......เข้าสู่อริยมรรค เมื่อ: ธันวาคม 27, 2009, 02:44:08 pm
ลำดับขั้น...เข้าสู่อริยมรรค

หนทางสายตรง...ที่จะนำท่านไปสู่อริยมรรค มุ่งตรงเข้าสู่นิพพานนั้น ...
ลำดับขั้นในการฝึกฝนเรียกว่า “โสฬสญาณ”
มีผู้อธิบายเปรียบเทียบในหลากมุม ไว้เป็นขั้นตอน อย่างน่าสนใจ ...
ซึ่งมีเนื้อหาที่แตกต่างจากที่เคยได้อ่าน และเห็นว่า...
น่าจะเป็นเข็มทิศนำทางผู้ปฏิบัติหลายๆท่านไม่ให้เดินหลงทาง
จึงขออนุญาตนำมาเผยแพร่ต่อในที่นี้
(คาดว่าเจ้าของบทความคงจะยินดีแบ่งปันความรู้นี้ต่อผู้ปฏิบัติท่านอื่นๆด้วยค่ะ)


อ้างอิงแหล่งที่มา : http://www.bangkokmap.com/pm/content/view/87/40/<O </
 

พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นศาสดาเอกของโลก
ทรงแสดงกาลามสูตรว่า อย่าเชื่อเพราะฟังตามกันมา
อย่าเชื่อเพราะถือสืบๆ กันมา อย่าเชื่อเพราะคำเล่าลือ
อย่าเชื่อเพราะอ้างคัมภีร์และตำรา
อย่าเชื่อเพราะการใช้ตรรก อย่าเชื่อเพราะการอนุมาน
อย่าเชื่อเพราะการคิดตามแนวเหตุผล
อย่าเชื่อเพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีเดิม
อย่าเชื่อเพราะเห็นรูปลักษณะว่าน่าจะเป็นไปได้
และอย่าเชื่อเพราะเห็นว่าผู้สอนเป็นครูของเรา
ต่อเมื่อใดรู้และเข้าใจด้วยตนเองจึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น

 
ปัจจุบันมีสำนักสอนปฏิบัติเป็นจำนวนมาก ยากที่ผู้เริ่มปฏิบัติจะจำแนกแยกแยะได้ว่า
คำสอนใดเป็นคำสอนที่แท้จริงทางพระพุทธศาสนา
และคำสอนใดเป็นความคิดเห็นโดยอัตโนมัติของผู้เป็นอาจารย์
หนทางที่ดีที่สุดก็คือ ผู้ปฏิบัติควรทำใจให้เป็นกลางต่อคำสอนทั้งปวง
เปิดใจให้กว้าง พยายามศึกษาเปรียบเทียบว่า
คำสอนนั้นตรงตามหลักตัดสินธรรมวินัยที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้หรือไม่
เช่น ธรรมนั้นเป็นไปเพื่อความหน่ายและความคลายกำหนัดหรือไม่
เป็นไปเพื่อพ้นจากความอยากหรือไม่ และเป็นไปเพื่อความสงบวิเวกหรือไม่ เป็นต้น


นอกจากนี้อาจศึกษาเปรียบเทียบกับหลักปริยัติธรรม
แล้วทดสอบด้วยการปฏิบัติจนเข้าใจความจริง นั่นแหละจึงควรเชื่อถือว่าธรรมนั้นเป็นของจริง 
มีหลักธรรมเรื่องหนึ่งคือเรื่องโสฬสญาณหรือวิปัสสนาญาณ 16 ขั้น ที่มีการนำมาสั่งสอนอย่างผิดพลาดในปัจจุบัน
 
ความจริงเรื่องญาณ 16 นี้ ไม่ใช่คำสอนโดยตรงของพระพุทธเจ้า ไม่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ชั้นพระไตรปิฎก
แต่เป็นเรื่องที่พระอรรถกถาจารย์รุ่นหลังแต่งขึ้น ปรากฏในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ และวิสุทธิมัคค์


อย่างไรก็ตาม การลำดับญาณมีความถูกต้อง สอดคล้อง ลงกันได้กับการปฏิบัติธรรม จึงไม่ใช่เรื่องเสียหายที่เราจะศึกษากัน
แต่จะไม่ศึกษาก็ได้ เพราะหากปฏิบัติธรรมถูกต้องจิตจะดำเนินไปตามลำดับญาณโดยอัตโนมัติ

 การที่จิตดำเนินไปตามลำดับญาณนั้น อย่าไปสำคัญผิดว่าจิตจะดำเนินเป็นขั้นๆเหมือนการเรียนหนังสือที่เลื่อนไปปีละชั้น

ในความเป็นจริงของการปฏิบัตินั้น เมื่อเราเจริญสติสัมปชัญญะอย่างถูกต้อง คือ
มีสติ ระลึกรู้ปัจจุบันอารมณ์ที่กำลังปรากฏด้วยความรู้ตัว ไม่หลงส่งจิตไปตามอารมณ์นั้น
เมื่อจิตสะสมความรู้เพียงพอแล้ว จิตจะรวมลงเป็นสมาธิ อาจจะรวมเพียงขณะจิตเดียว
หรือรวมเป็นอัปปนาสมาธิก็ได้ พอจิตถอนออกจากสมาธิแล้ว วิปัสสนาญาณจะเกิดขึ้น
อาจเกิดรวดเดียวตลอดสายบรรลุมรรคผลเลยก็ได้ หรือเกิดแล้วไปหยุดอยู่ในลำดับญาณใดก็ได้
มากน้อยแล้วแต่กำลังปัญญาอันเกิดจากการเจริญสติสัมปชัญญะ

แต่ถ้าในระหว่างเจริญสติสัมปชัญญะอยู่นั้น จิตเกิดความอ่อนแอเฉื่อยชาลง
มีโมหะเข้าแทรก แทนที่จิตจะรวมลงเป็นสมาธิ จิตจะกลับพลิกไปสู่ฌานโดยไม่รู้ตัว
เป็นการตกภวังค์วูบวาบบ้าง โงกง่วงบ้าง ลืมตัวไปบ้าง
แล้วเกิดความรู้ความเห็นต่างๆ ไปตามอำนาจของกิเลส
เมื่อกลับรู้ตัวในภายหลัง ก็สำคัญผิดว่าความรู้ความเห็นนั้นเป็นวิปัสสนาญาณ
ทั้งที่เป็นความรู้ของกิเลสทั้งสิ้น ผู้ที่ติดอยู่ตรงนี้จะเชื่อตัวเองอย่างงมงาย อันเป็นอาการของวิปัสสนูปกิเลสสนั่นเอง

ขอยกตัวอย่างคำสอนเรื่องโสฬสญาณ ซึ่งมีผู้นำหลักปฏิบัติเข้ามาจากพม่า
และอาศัยการตีความพระอภิธรรมด้วยการตรึกตรองเทียบเคียงอาการของจิตที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติ

แล้วบัญญัติเทียบเคียงเข้ากับลำดับญาณตามตำรานำออกสั่งสอนแพร่หลาย เป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติที่มุ่งตรงต่อมรรคผลนิพพาน

การชี้ประเด็นความผิดพลาดนี้ ไม่ได้มุ่งติเตียนตัวบุคคล แต่เป็นการวิจารณ์เพื่อความสะกิดใจของผู้สนใจปฏิบัติ

โดยจะเทียบเคียงคำสอนที่ผิดพลาดนั้นกับหลักปริยัติธรรมและลำดับญาณที่พบเห็นมาจากการปฏิบัติจริง

ผู้อ่านไม่ควรเชื่อว่าการเทียบเคียงนี้ถูกหรือผิด จนกว่าจะได้ปฏิบัติรู้เห็นด้วยตนเอง
จึงจะรู้ว่าคำสอนเรื่องโสฬสญาณที่แพร่หลายนั้นผิด หรือคำวิจารณ์นี้ผิด
หากปักใจเชื่ออย่างใดอย่างหนึ่งเสียก่อนแล้ว ย่อมไม่ใช่ชาวพุทธที่ดีจริง


การเปรียบเทียบลำดับญาณ

1. นามรูปปริจเฉทญาณ
 
คำสอนที่เผยแพร่ เห็นว่าพองกับยุบเป็นคนละอัน บางคนมีนิมิตเห็นตัวเองอยู่ข้างหน้า หรือข้างหลัง เป็นการเห็นด้วยอำนาจของญาณเครื่องรู้อันวิเศษที่เราซักล้างด้วย อินทรีย์สังวรศีล ด้วยน้ำใจอันบริสุทธิ์สะอาดของเรา ตัวที่เห็นอยู่ข้างหน้าข้างหลังนั้นคือรูปใจที่รู้ว่า นั่นคือเรา คือ นาม
 
ปริยัติธรรม (ขอใช้พจนานุกรมพุทธศาสตร์ของพระเทพเวที ประยุทธ์ ปยุตโต เป็นหลัก เนื่องจากท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตเอกทางปริยัติธรรมในยุคปัจจุบัน ซึ่งวงการศึกษายกย่องว่าเป็นเอกในยุครัตนโกสินทร์)

ระบุว่านามรูปปริจเฉทญาณคือญาณกำหนดจำแนกรู้นามและรูป คือรู้ว่าสิ่งทั้งหลายมีแต่รูปธรรมและนามธรรม และกำหนดแยกได้ว่า อะไรเป็นรูปธรรม และอะไรเป็นนามธรรม

ความรู้จากการปฏิบัติ ผู้แรกปฏิบัติจะต้องมีเครื่องระลึกของสติ ซึ่งจะเป็นรูปหรือนามก็ได้ เช่นกำหนดยุบพอง(รูป) กำหนดลมหายใจ (รูป) กำหนดอิริยาบถยืน-เดิน-นั่ง-นอน (รูป) กำหนดบริกรรมพุทโธ-สัมมาอรหัง (นาม) หรือกำหนดควบรูปนามก็ได้ เช่นกำหนดยุบพองพร้อมทั้งบริกรรมหนอ เป็นต้น
 
ผู้ปฏิบัติจะต้องจำแนกให้ได้ว่า รูปก็ดี นามก็ดีที่กำลังกำหนดรู้ในปัจจุบันนั้น เป็นเพียงอารมณ์ที่ถูกจิตรู้ ตัวจิตผู้รู้อยู่ต่างหาก หากยังแยกจิตกับอารมณ์ หรือผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้ไม่ได้ ยังไม่จัดเป็นวิปัสสนาญาณ แต่เป็นเพียงการทำสมถะเท่านั้น
 
ผลอันเกิดจากการทำสมถะคือนิมิต เช่นเห็นตัวเองนั่งอยู่ข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง มันเป็นนิมิตทั้งสิ้น ซึ่งสามารถรู้เห็นได้เพราะกำลังสมถะ ไม่ใช่เพราะอำนาจของญาณเครื่องรู้อันวิเศษที่เราซักล้างด้วยอินทรีย์สังวรศีล หรือด้วยน้ำใจอันบริสุทธิ์สะอาดของเราแต่อย่างใด เพียงจิตสงบเล็กน้อยก็เห็นได้แล้ว แต่บางคนแม้จะสงบเท่าใดก็ไม่เห็น ซึ่งไม่ใช่สาระสำคัญแต่อย่างใด

2. ปัจจยปริคคหญาณ

คำสอนที่เผยแพร่ รู้ปัจจัยของรูปนาม พอมันสุดพองมันก็ต้องยุบ พอมันสุดยุบมันก็ต้องพอง รู้เหตุปัจจัยของรูปนามว่า หน้าที่ของเขาทำงานตามหน้าที่ ตาก็เห็นหนอ หูก็ได้ยินหนอ ใจที่รู้รูปรู้เสียงเป็นนาม รู้ปัจจัยว่าเกิดดับ รู้ว่าสังขารปรุงแต่งจิต ต่อมาจิตสงบมากขึ้น เริ่มเป็นอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ
พองยุบจึงหายไปก็ให้กำหนดหายหนอ

ปริยัติธรรม ญาณกำหนดรู้ปัจจัยของรูปนาม คือ รู้ว่ารูปนามทั้งหลายเกิดจากเหตุปัจจัยและเป็นปัจจัยแก่กัน อาศัยกัน โดยรู้ตามแนวปฏิจจสมุปบาทก็ดี ตามแนวกฎแห่งกรรมก็ดี ตามแนววัฏฏะ 3 ก็ดี
 
ความรู้จากการปฏิบัติ การรู้ว่าสุดยุบแล้วพอง สุดพองแล้วยุบ ไม่ใช่การรู้ของปัจจยปริคคหญาณ แต่เป็นการรู้ว่ายุบก็ไม่เที่ยง พองก็ไม่เที่ยง ส่วนที่ว่าต่อมาจิตเป็นสมาธิพองยุบก็หายไปให้มากำหนดว่าหายหนอนั้น จิตจะเป็นสมาธิจริงหรือไม่ ยังไม่แน่ เพราะพองยุบอาจหายไปเพราะขาดสติก็ได้ ไม่ใช่หายเพราะสมาธิ
 
นอกจากนี้เรื่องของสมาธิกับเรื่องของวิปัสสนาญาณก็เป็นคนละส่วนไม่ควรนำมาอธิบายปะปนกัน
ปัจจยปริคคหญาณจริงๆ นั้น คือความหยั่งรู้ของจิตที่เห็นว่า เหตุปัจจัยของรูปนามคือวิญญาณ (ความรับรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ)
 
สมดังที่พระพุทธเจ้าทรงสอนอย่างแจ้งชัดว่า"วิญญาณ ปัจจยา นามรูปัง" คือ วิญญาณเป็นปัจจัยของนามรูป กล่าวคือเมื่อเราเจริญสติสัมปชัญญะ โดยมีสติระลึกรู้ปัจจุบันอารมณ์ที่เป็นรูปหรือนามก็ตาม เราจะค่อยๆ เรียนรู้ว่า แท้จริงแล้วรูปนามปรากฏขึ้นได้เป็นคราวๆ ก็เพราะจิตส่งออกไปรู้มันเข้า โดยวิญญาณหยั่งเข้าที่รูป รูปก็ปรากฏ วิญญาณหยั่งเข้าที่นาม นามก็ปรากฏ หากวิญญาณไม่หยั่งลง สิ่งนั้นก็ไม่ปรากฏมาสู่ภูมิความรับรู้ของจิต เช่นในขณะที่อ่านหนังสืออยู่นั้น เราเห็นตัวหนังสือ สลับกับการรู้ความหมายของมัน เพราะเรามีวิญญาณทางตาและวิญญาณทางใจ แต่ในขณะนั้นเราไม่ได้ยินเสียงเพลงจากวิทยุ เพราะเราไม่มีวิญญาณทางหู เสียงจึงไม่ปรากฏทั้งๆ ที่มีเสียงอยู่ เราจะรู้ความจริงว่า รูปนามเป็นของแยกต่างหากจากจิตชัดเจนยิ่งขึ้น เพราะเห็นชัดว่า รูปนามปรากฏได้เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย

 
3. สัมมสนญาณ


คำสอนที่เผยแพร่ สำนึกรู้บาปบุญคุณโทษ จิตใจเยือกเย็น เสียงนิ่ม เสียงอ่อนโยนกว่าเดิม และนึกถึงบุญคุณของพ่อแม่ปู่ย่าตายาย แล้วต่อด้วยปิติทั้ง 5 เช่นขนลุก ตัวโยก ตัวเบา ฯลฯ
 

ปริยัติธรรม ญาณกำหนดรู้ด้วยพิจารณาเห็นนามและรูปโดยไตรลักษณ์ คือยกรูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายขึ้นพิจารณาโดยเห็นตามลักษณะที่เป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน
 

ความรู้จากการปฏิบัติ การรู้สำนึกบาปบุญคุณโทษเป็นสิ่งที่ดี แต่ไม่ใช่เรื่องของวิปัสสนาญาณซึ่งเป็นเรื่องที่มุ่งเรียนรู้ธรรมชาติทั้งปวงตามความเป็นจริง ว่ามันเป็นไตรลักษณ์ ตามธรรมดาคนที่จิตสงบลง

บรรดาจิตใต้สำนึกหรือวิบากกรรมที่เก็บไว้ในภวังคจิตมักจะโผล่ขึ้นมา เช่น เคยจับลิงกดน้ำก็จะระลึกได้ถึงบาปที่ทำ เคยเลวร้ายต่อพ่อแม่ก็จะระลึกได้ ที่ว่าจิตใจเยือกเย็น เสียงนิ่ม เสียงอ่อนโยนนั้น เป็นอาการของจิตที่ติดอารมณ์สงบทั้งสิ้น

บรรดาท่านไม่ได้ติดในอารมณ์สมถะ ท่านเคยพูดอย่างไรท่านก็พูดอย่างนั้น เพียงแต่จิตของท่าน ประกอบด้วยเมตตา ไม่มีอาการเสียงอ่อนเสียงนิ่มเป็นคราวๆ แต่อย่างใด และยิ่งสอนว่าเกิดปิตินั้น ยิ่งเป็นการฟ้องให้เห็นว่าสิ่งที่เข้าใจว่าทำญาณนั้น จริงๆ คือการทำสมถะเท่านั้นเอง

สัมมสนญาณ เป็นสภาวะต่อเนื่องจากปัจจยปริคคหญาณ คือเมื่อเราเห็นว่านามรูปมีวิญญาณ (ความรับรู้) เป็นปัจจัยให้มันปรากฏ เมื่อเจริญสติสัมปชัญญะมากขึ้น จิตจะเห็นความจริงชัดเจนยิ่งขึ้นด้วย สัมมสนญาณว่า ทั้งรูปและนามล้วนแต่ปรากฏเป็นคราวๆ ถ้าจิตไม่ไปรู้มันเข้า มันก็ไม่ปรากฏ และสิ่งที่ปรากฏนั้นมันตกอยู่ใต้กฎของไตรลักษณ์ คือ มันไม่เที่ยง (อนิจจัง) และเป็นของที่ทนอยู่ได้ชั่วขณะแล้วก็ดับหรือเปลี่ยนสภาพไป (ทุกขัง) ทั้งนี้เป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน และสิ่งที่ปรากฏให้จิตรู้นั้น เป็นของภายนอกที่ถูกรู้ ไม่ใช่ตัวเราหรือของเรา(อนัตตา) ความรู้เหล่านี้เป็นเรื่องของปัญญาล้วนๆ ไม่มีอาการของสมถะเข้ามาปะปนเลย

4. อุทยัพพยญาณ


คำสอนที่เผยแพร่ เห็นการเกิดดับของรูปนาม เช่นกำหนดยุบหนอพองหนออยู่ จิตสงบเงียบ งีบผงะไปข้างหลัง ใช่แล้วได้ญาณที่ 4 หรือเดินจงกรมอยู่มีอาการเหมือนตกวูบ อันนี้ชื่อว่าเห็นการเกิดดับของรูปนามแล้ว


ปริยัติธรรม  ญาณอันตามเห็นความเกิดและความดับ คือพิจารณาความเกิดขึ้นและดับไปแห่งขันธ์ จนเห็นชัดว่า สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นครั้นแล้วก็ต้องดับไป ล้วนเกิดขึ้นแล้วดับไปทั้งหมด ในตำราอื่นๆ กล่าวถึงอุทยัพพยญาณว่ามี 2 ระดับคือ

 (1) ตรุณอุทยัพพยญาณ เป็นญาณอย่างอ่อน และหากดำเนินผิดพลาดจะเกิดวิปัสสนูปกิเลส และ
 
(2) พลวอุทยัพพยญาณ เป็นญาณเห็นความเกิดดับที่มีความเข้มแข็ง พ้นจากวิปัสสนูปกิเลส


ความรู้จากการปฏิบัติ อาการผงะ หรือตกวูบ เป็นอาการของจิตที่ขาดสติอย่างหนึ่ง หรือเป็นอาการที่จิตรวมเพราะอำนาจสมถะแต่ขาดความชำนาญอีกอย่างหนึ่ง ไม่ใช่มีปัญญา แต่มันเกิดจากการที่สติอ่อนเกินไป ในทางปฏิบัติจะสอดคล้องกับปริยัติธรรม คือ ญาณนี้จำแนกเป็น 2 ช่วงตอน ได้แก่

 
•   ตรุณอุทยัพพยญาณ ญาณช่วงนี้เป็นอุทยัพพยญาณขั้นเริ่มต้น ได้แก่การมีสัมปชัญญะคือความรู้ตัว และมีสติระลึกรู้อารมณ์คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกายและธรรมารมณ์(ความคิดนึกปรุงแต่งต่างๆ) เช่นรู้รูปนั่ง รูปเดิน รูปยุบ รูปพอง รู้ความคิด รู้บริกรรมพุทโธ รู้บริกรรมสัมมาอรหัง รู้บริกรรมหนอ และรู้ความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ตามสัญญาอารมณ์ เช่น รู้ว่ากำลังคิดถึงบ้าน และคิดถึงลูก เป็นต้น ผู้ปฏิบัติจะเห็นว่าอารมณ์ที่ถูกรู้ทั้งปวงนั้นเกิดดับสืบต่อกันไปเรื่อยๆ

ในขั้นนี้หากสัมปชัญญะคือความรู้ตัวอ่อนลง จิตจะไหลตามสติไปเกาะอยู่กับอารมณ์ที่จิตรู้ เช่นกำลังเดินจงกรม จิตก็ไปอยู่ที่เท้า กำลังเคลื่อนไหวมือ จิตก็ไปอยู่ที่มือ กำลังบริกรรมพุทโธหรือบริกรรมหนอ จิตก็ไปอยู่กับพุทโธหรือหนอ สภาพนี้คือจิตพลิกจากการทำวิปัสสนาซึ่งต้องประกอบด้วยความรู้ตัวไม่หลงตามอารมณ์ ไปเป็นสมถะคือการที่จิตหลงตามสติไปเกาะอยู่กับอารมณ์อันเดียว ในขั้นนี้หากสิ่งใดปรากฏขึ้น เช่นเกิดแสงสว่าง เกิดปัญญาแตกฉาน เกิดญาณพิเศษต่างๆ เกิดการตั้งสติแข็งกล้าจนอึดอัด ฯลฯ ผู้ปฏิบัติจะเกิดสำคัญมั่นหมายว่า สิ่งที่เกิดนั้นเป็นของดีของวิเศษ เกิดมานะอัตตารุนแรง นั่นคือ วิปัสสนูปกิเลส
 
•   พลวอุทยัพพยญาณ เป็นอุทยัพพยญาณที่มีกำลังเข้มแข็ง คือแทนที่ผู้ปฏิบัติจะหลงดูแต่อารมณ์หยาบๆ เช่นรูปนั่ง รูปเดิน หรือคำบริกรรม หรือความคิดนึกปรุงแต่งต่างๆ ผู้ปฏิบัติที่มีกำลังของสัมปชัญญะและสติปัญญามากขึ้น สามารถดูเข้าไปถึงปฏิกิริยาของจิตที่เกิดขึ้นเมื่อจิตไปรู้อารมณ์ต่างๆ เช่นในขณะที่เดินจงกรมเกิดความรู้สึกตัวเบา แทนที่สติจะรู้แค่ว่าเดินและตัวเบา
สติกลับเห็นลึกซึ้งต่อไปว่า ในขณะนั้นจิตมีความเบิกบาน เพลิดเพลินยินดีมีราคะที่ตัวเบาสบาย และมีตัณหาอยากให้ตัวเบาอยู่อย่างนั้นนานๆ หรือบริกรรมหนออยู่ จิตเกิดอึดอัด สติก็รู้ว่าจิตไม่ชอบใจหรือมีโทสะต่อความอึดอัด และจิตมีตัณหาคืออยากให้หายจากความอึดอัด หรือในขณะนั้นความจำ (สัญญา) เกี่ยวกับลูกเกิดขึ้น แล้วจิตคิดกลุ้มใจไปต่างๆ นานาๆ สติปัญญาก็กล้าแข็งพอที่จะเห็นว่า จิตส่งออกไปเกาะเกี่ยวพัวพันเรื่องลูก จิตเป็นทุกข์ไม่สบาย เห็นโทสะที่เกิดขึ้น

และเห็นความอยากจะให้ความทุกข์ดับไป หรือขณะนั้นนั่งดูจิตเห็นว่างๆ ระเดี๋ยวความคิดผุดขึ้นไม่ว่างเสียแล้ว เดี๋ยวคิดดี เดี๋ยวคิดร้าย เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ และเห็นปฏิกิริยาของจิตต่ออารมณ์ที่จิตไปรู้เข้า เป็นราคะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง เป็นบุญบ้าง เป็นกลางๆบ้าง สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปไม่ขาดสาย นี่เป็นอุทยัพพยญาณที่ละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้น อีกชั้นหนึ่ง คือเปลี่ยนจากการเห็นสิ่งที่มากระทบ เป็นการเห็นปฏิกิริยาของจิตต่อสิ่งที่มากระทบนั้น และเป็นขั้นที่วิปัสสนูปกิเลสแผ้วพานไม่ได้ เพราะจิตฉลาดรู้เท่าทันกลมายาของกิเลส เนื่องจากอ่านจิตใจของตนเองได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
 
5. ภังคญาณ

คำสอนที่เผยแพร่ เห็นความเกิดดับถี่เข้า บางทีก็วืบบ่อย บางทีได้ยินยังไม่ทันจะหนอก็วืบที่หู บางทียก(มือ) ยังไม่ทันจะหนอก็แวบที่มือ คือการขาดความรู้สึกขณะหนึ่ง บางทีร่างกายหายไปเป็นท่อนๆ เดี๋ยวมือหาย เดี๋ยวแขนหาย เดี๋ยวก็หายหมดทั้งตัว
 

ปริยัติธรรม ญาณอันตามเห็นความสลาย คือเมื่อเห็นความเกิดดับแล้ว คำนึงเด่นชัดในส่วนความดับอันเป็นจุดจบสิ้น ก็เห็นว่าสังขารทั้งปวงล้วนจะต้องสลายไปทั้งหมด


ความรู้จากการปฏิบัติ อาการวืบก็ดี กายหายไปทั้งหมดหรือบางส่วนก็ดี เป็นอาการของสมถะ ยิ่งยอมรับว่าเป็นการขาดความรู้สึกชั่วขณะ ยิ่งเป็นเรื่องที่ตรงข้ามกับการเจริญสติและสัมปชัญญะซึ่งหมายถึงความรู้ตัวไม่เผลอ เมื่อเห็นอารมณ์เกิดดับบ่อยเข้า และเห็นปฏิกิริยาของจิตต่ออารมณ์บ่อยเข้า ผู้ปฏิบัติที่มีสติสัมปชัญญะเข้มแข็งจะพบว่า เมื่อจิตเกิดปฏิกิริยาใดๆ ต่ออารมณ์เพียงแวบเดียว พอรู้ทัน ปฏิกิริยานั้นก็จะดับไปทันที เช่นกำลังรู้ตัวอยู่ ได้ยินเสียงลูกร้องไห้เสียงดัง จิตมีปฏิกิริยาต่อเสียงคือเกิดความโกรธผ่านแวบเข้ามา สติรู้ทันความโกรธที่กำลังปรากฏ จิตไม่เผลอไปตามความโกรธ ความโกรธจะดับวับไปต่อหน้าต่อตาทันที แม้อารมณ์อื่นเกิดแล้วพอรู้ก็ดับเช่นกัน จิต จะกลับเข้าสู่สภาวะดั้งเดิมคือเป็นกลางและรู้ตัว จะขาดความรู้ตัวไม่ได้เลย

สภาวะที่เห็นปฏิกิริยาของจิตต่ออารมณ์ขาดหายไปต่อหน้าต่อตานั้นคือภังคญาณ ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า อารมณ์ภายนอกที่มากระทบนั้น มันเกิดดับไปตามเหตุปัจจัยภายนอก เช่นลูกร้องไห้ เราก็ได้ยินเสียงร้องไห้ จะห้ามไม่ให้ได้ยินไม่ได้ สิ่งที่เราแก้ไขได้ก็คือ เมื่อเราได้ยินเสียงนั้นแล้ว หากจิตไม่เป็นกลาง เช่นเกิดโกรธหรือเกิดห่วงใย สติจะรู้ทันอย่างว่องไว แล้วปฏิกิริยาของจิตเช่นความโกรธหรือความห่วงใยจะดับไป จิตกลับเข้าสู่ความเป็นกลางดังเดิม

6. ภยญาณ

คำสอนที่เผยแพร่ แปลว่ากลัวภัยในวัฏสงสาร โยคีจะเกิดความหวาดกลัว กลัวอะไรบอกไม่ถูก บางทีเหมือนคนมานั่งแอบข้าง จะลืมตาก็ไม่กล้าลืม อยากลืมก็อยากลืม หวาดๆ ว่าผีหลอก บางทีคนมาเดินตามหลังเหลียวไปก็ไม่มี บางทีกลัวผี มันปรุงแต่งจิตให้กลัวเองโดยอำนาจของญาณ บางทีนิมิตเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย เห็นเด็ก บางทีเอ๊กซเรย์ตัวเองเห็นโครงกระดูก น่ากลัวเหลือเกิน บางทีนิมิตให้เกิดปัญญา เช่นนิมิตอสุภะตัวขึ้นอืด ตัวบวม นิ้วมือเน่า ลืมตาขึ้นดูไม่มีอะไร

ปริยัติธรรม ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว คือเมื่อพิจารณาเห็นความแตกสลายอันมีทั่วไปแก่ทุกสิ่งนั้นแล้ว สังขารทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นไปในภพใดคติใด ก็ปรากฏเป็นของน่ากลัว เพราะล้วนแต่จะต้องสลายไปไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น

ความรู้จากการปฏิบัติ ที่เกิดความกลัวต่างๆ นั้นเพราะจิตไปหลงตามอารมณ์ปรุงแต่งของจิตที่รักตัวกลัวตายด้วยความยึดมั่นถือมั่น แล้วไม่มีปัญญารู้เท่าทันจิตตนเอง อย่าว่าแต่ผู้ปฏิบัติจะกลัวเป็นเลย แม้แต่มดหรือยุงมันก็กลัวเป็น ทั้งที่ไม่มีญาณทัศนะใดๆ ส่วนการเห็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ล้วนแต่เป็นนิมิต อันเป็นเครื่องแสดงว่าที่ปฏิบัติอยู่นั้นคือสมถะทั้งสิ้น ในความเป็นจริงแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพบว่า ไม่ว่าอารมณ์ชนิดใดเกิดขึ้น จะเป็นอารมณ์ภายนอกเช่นรูปและเสียง หรืออารมณ์ภายในเช่นความสุขและความทุกข์ ความดีและความชั่ว ความฟุ้งซ่านและความสงบ อันเป็นปฏิกิริยาของจิตต่อสิ่งที่มากระทบก็ตาม ก็ล้วนแต่จะต้องดับไปทั้งสิ้น

แม้กระทั่งอารมณ์ที่ละเอียดประณีต เช่นฌานสมาบัติ แม้กระทั่งความว่างของจิต ก็ยังเป็นของไม่เที่ยง อันแสดงว่าภพชาติทั้งปวงเป็นของไม่เที่ยง พึ่งพาอาศัยถาวรไม่ได้ (ภพก็คือจิตที่เกาะเกี่ยวอารมณ์อันใดอันหนึ่ง ถ้าเกาะอารมณ์ละเอียดก็เป็นภพละเอียดเช่นเทวดาและพรหม ถ้าเกาะภพหยาบก็เป็นสัตว์ในอบายภูมิ มีความทุกข์ความเร่าร้อนมาก) ผู้ปฏิบัติไม่ได้เกิดความกลัวตายเพราะความรักตัวกลัวตาย แต่กลัวเกิดเพราะเห็นว่าไม่ว่าเกิดเป็นอะไรก็ต้องทนทุกข์เวียนว่ายไม่รู้จบสิ้น
 
7. อาทีนวญาณ

คำสอนที่เผยแพร่ เห็นทุกข์เห็นโทษของรูปนาม ญาณที่ 6, 7, 8 และ 9 เหมือนกัน เป็นอันเดียวกันโดยจะมีอาการหวาดๆกลัวๆ ญาณที่ 7 ไม่เคยเจ็บก็เจ็บ ไม่เคยปวดก็ปวด ทุกข์ทรมานมาก เพราะโรคภัยไข้เจ็บเริ่มถูกทำลายจึงออกอาการ เป็นการใช้หนี้ตามกฏแห่งกรรม
 
ปริยัติธรรม ญาณอันคำนึงเห็นโทษ คือเมื่อพิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงซึ่งล้วนต้องแตกสลายไป เป็นของน่ากลัวไม่ปลอดภัยทั้งสิ้นแล้ว ย่อมคำนึงเห็นสังขารทั้งปวงนั้นว่าเป็นโทษ เป็นสิ่งที่มีความบกพร่องจะต้องระคนอยู่ด้วยทุกข์
 

ความรู้จากการปฏิบัติ ญาณเหล่านี้ไม่ใช่ญาณขี้กลัว และไม่ใช่ญาณใช้หนี้กรรม เพราะกรรมนั้นแม้ไม่มีญาณก็ต้องใช้หนี้อยู่แล้วตามธรรมดา แต่เป็นปัญญาของจิตที่เห็นว่าภพทั้งปวงเป็นที่พึ่งอาศัยไม่ได้ ภพทั้งปวงล้วนแล้วแต่มีความทุกข์ระคนอยู่เสมอ ไม่ว่าภพหยาบหรือละเอียด สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือทุกข์ สิ่งที่ดับไปก็คือทุกข์ นอกจากทุกข์แล้วไม่มีอะไรเกิด ไม่มีอะไรดับ มันเป็นปัญญาเห็นความจริงของภพทั้งปวง หรืออารมณ์ทั้งปวงนั่นเอง
 
8. นิพพิทาญาณ
 
คำสอนที่เผยแพร่ ญาณนี้จะเกิดอาการเบื่อเอามากๆ อยากกลับบ้านไม่อยากภาวนาต่อไป

ปริยัติธรรม ญาณอันคำนึงเห็นด้วยความหน่ายคือเมื่อพิจารณาเห็นสังขาร(ความปรุงแต่งต่างๆ) ว่าเป็นโทษแล้ว ย่อมเกิดความหน่ายไม่เพลิดเพลินติดใจ

ความรู้จากการปฏิบัติ ความเบื่อหรืออยากกลับบ้านเป็นอารมณ์ธรรมดาไม่ใช่ญาณใดๆ ทั้งสิ้นเพราะจิตติดอยู่ในกามสุข เมื่อจากบ้านมาปฏิบัติ และต้องปฏิบัติอย่างเหน็ดเหนื่อยก็อยากกลับบ้านเป็นธรรมดา

แม้แต่นกกาหากินเหนื่อยอ่อนแล้ว ก็ยังอยากกลับรัง ทั้งที่มันไม่เคยมีญาณทัศนะใดๆเลย นิพพิทาญาณไม่ใช่อารมณ์เบื่อแบบโลกๆ แต่มันเป็นสภาพที่จิตหมดความเพลิดเพลินมัวเมาในภพหรืออารมณ์ต่างๆ

เพราะเห็นจริงแล้วว่าภพทั้งปวงเจือระคนด้วยทุกข์โทษ ในขณะที่คนทั่วไปเพลิดเพลินมัวเมาในภพ
คือจิตมีเยื่อใยยึดเกาะรุนแรงในอารมณ์ทั้งปวงที่จรมา

9. มุญจิตุกัมยตาญาณ

คำสอนที่เผยแพร่ เป็นญาณอยากหนี อยากหลุด อยากพ้น จะมีความรู้สึกอึดอัดหรือแน่น บางทีก็มีแมลงหรือมดตัวโตๆมาไต่มาเกาะ ญาณที่ 2 - 3 จะเป็นแมลงตัวเล็ก พอถึงญาณที่ 9 ตัวโตแล้ว เช่นรู้สึกว่ามดง่ามหรือผึ้งเข้าไปในผ้าซิ่น กำลังนอนมืดๆ รู้สึกว่าแมลงสาปวิ่งเข้ามาไต่


ปริยัติธรรม ญาณอันคำนึงด้วยความใคร่จะพ้นไปเสียคือเมื่อหน่ายสังขารทั้งหลาย แล้วย่อมปรารถนาที่จะพ้นไปจากสังขารเหล่านั้น


ความรู้จากการปฏิบัติ ความอึดอัดแน่นเกิดจากการที่ไปพยายามบังคับจิต ส่วนความรู้สึกว่าสัตว์มาไต่ตอมเป็นอาการของนิมิตเช่นกัน รวมความแล้วจนถึงญาณที่ 9 ก็ยังเป็นเรื่องของนิมิตอยู่นั่นเอง เพราะสิ่งที่ปฏิบัติบังคับจิตใจตนเองนั้น คือการทำสมถะเบื้องต้นทั้งนั้น ที่จริงญาณนี้เป็นปัญญาที่เมื่อหมดความเพลิดเพลินในอารมณ์ต่างๆแล้ว จิตจะมีปฏิกิริยาอยากจะข้ามพ้นภพชาติทั้งปวง คืออยากพ้นจากอารมณ์อย่างสิ้นเชิง จิตจะมีความเพียรพยายามค้นคว้าพิจารณา เพื่อพ้นเด็ดขาดจากอารมณ์ แต่ก็สามารถพ้นได้ชั่วคราว พออารมณ์หนึ่งแก้ไขได้ ก็มีอารมณ์ใหม่มาให้พิจารณาแก้ไขอีก เป็นช่วงที่จิตหมุนตัวติ้วๆ เพื่อหาทางออกจากภพ


10. ปฏิสังขาญาณ

คำสอนที่เผยแพร่
ญาณนี้มีความเข้มแข็ง ขยัน อดทน ตายเป็นตาย สู้ยิบตาเลยตั้งใจนั่งสมาธิ เดินจงกรม ความปิติต่างๆก็แก่กล้าขึ้น เดินเป็นชั่วโมงๆ ตัวก็เบา ญาณนี้จะรู้สึกเสียดายเวลาว่า น่าจะพบทางปฏิบัติตั้งนานแล้ว มีความเข้มแข็งสุขกายสุขใจ กายไม่เจ็บปวด จิตไม่เศร้าหมอง
 
ปริยัติธรรม ญาณอันคำนึงพิจารณาหาทางคือเมื่อต้องการพ้นไปเสีย จึงกลับมายกเอาสังขารทั้งหลายทั้งปวงขึ้นมาพิจารณากำหนดด้วยไตรลักษณ์ เพื่อมองหาอุบายที่จะปลดเปลื้องออกไป
 
ความรู้จากการปฏิบัติ การที่จิตเข้มแข็งเดินจงกรมได้นานตัวเบา ก็เพราะปิติ อันเป็นผลของสมถะอีกเช่นกัน ในความเป็นจริง เมื่อจิตค้นคว้าพิจารณาที่จะออกจากภพหรือพ้นจากอารมณ์ปรุงแต่งด้วยอุบายต่างๆ มากมาย แต่ไม่สามารถพ้นไปได้ จิตจะค่อยๆ สังเกตเห็นว่า เราไม่สามารถดับอารมณ์ทั้งปวงได้ ตราบใดที่มันมีเหตุ มันก็ต้องเกิด เมื่อหมดเหตุมันก็ดับ อารมณ์ทั้งปวงหมุนเวียนเกิดดับไปตามเหตุปัจจัย

ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของเรา นั่นคือการเริ่มเห็นว่า อารมณ์ต่างๆ ไม่เที่ยง เป็นของทนอยู่ไม่ได้ ไม่ใช่ตัวเราของเรา ไม่อยู่ในบังคับบัญชา ซึ่งก็คือเห็นไตรลักษณ์นั่นเอง

11. สังขารุเบกขาญาณ

คำสอนที่เผยแพร่ ญาณนี้มีอะไรมากระทบพอเห็นหนอก็ดับ กระทบแล้วดับทันทีเป็นกิริยาของพระอรหันต์ วางเฉยต่อรูปนาม คนหนึ่งตาเหล่และหูหนวก ก็หาย ปัญญาอ่อนก็หายสามารถแต่งกลอนสดุดีแม่อย่างไพเราะ

ปริยัติธรรม
ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือเมื่อพิจารณาสังขารต่อไป ย่อมเกิดความรู้เห็นสภาวะของสังขารตามความเป็นจริง ว่ามีความเป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา จึงวางใจเป็นกลางได้ ไม่ยินดียินร้ายในสังขารทั้งหลาย แต่นั้นมองเห็นนิพพานเป็นสันติบท ญาณจึงแล่นมุ่งไปยังนิพพาน เลิกละความเกาะเกี่ยวกับสังขารเสียได้

ความรู้จากการปฏิบัติ
เรื่องหายหูหนวก ตาเหล่ หรือปัญญาอ่อนนั้น ก็พอเป็นได้ด้วยอำนาจของบุญที่อุตส่าห์ทำสมถภาวนา แต่ไม่ใช่เรื่องของสังขารุเบกขาญาณแต่อย่างใด เมื่อจิตพิจารณาเห็นว่าอารมณ์เป็นไตรลักษณ์ จิตจะรู้ความเกิดดับของอารมณ์ด้วยความเป็นกลางไม่ยินดียินร้าย สติ สมาธิ ปัญญา

ก็จะเข้มแข็งขึ้นตามลำดับ แต่ในขั้นนี้คงเห็นว่าอารมณ์เป็นไตรลักษณ์เท่านั้น แต่ตัวจิตเองยังรู้สึกเป็นตัวตนของตน ไม่เห็นเป็นไตรลักษณ์ไปด้วย ญาณนี้เป็นญาณที่สำคัญมาก หากจิตของผู้ปฏิบัติมีสัมปชัญญะคือรู้ตัว เป็นกลางและไม่เผลอเลื่อนไหลไปตามอารมณ์ มีสติระลึกรู้ปัจจุบันอารมณ์ที่กำลัง

ปรากฏ ตามที่มันเป็นจริง จิตจะเห็นอารมณ์ทั้งปวงผ่านมาแล้วผ่านไป เหมือนนั่งอยู่บนฝั่งน้ำเห็นสิ่งของลอยตามน้ำมา เป็นของดีของสวยเช่นดอกไม้บ้าง ของสกปรกเช่นสุนัขเน่าบ้าง แต่จิตก็เป็นกลางระหว่างทั้ง 2 สิ่งนั้น ไม่ยินดีกับดอกไม้ ไม่ยินร้ายกับสุนัขเน่า จิตรู้ว่าดอกไม้ลอยมาแล้วก็ต้องลอยไป สุนัขเน่าลอยมาแล้วก็ต้องลอยไป ไม่มีความอยากเจือปนว่า อยากให้ดอกไม้ลอยมาอีก หรือไม่อยากให้ดอกไม้ลอยตามน้ำไป แม้ความไม่อยากให้สุนัขลอยมาอีก หรือลอยมาแล้วอยากให้รีบลอยพ้นๆ ไป ก็ไม่มีเช่นกัน นี่คือสภาวะของการเจริญมหาสติปัฏฐานที่แท้จริง มันเกิดขึ้นโดยไม่ต้องข่มบังคับจิตให้เป็นกลาง ญาณนี้เป็นทางแยก ผู้ที่ปรารถนาพุทธภูมิจะก้าวล่วงเข้าสู่ความเป็นพระโพธิสัตว์ส่วนผู้ที่ปรารถนาสาวกภูมิ จิตจะดำเนินพัฒนาต่อไป

 
12. อนุโลมญาณ

คำสอนที่เผยแพร่ อนุโลมญาณมีมาแล้วตั้งแต่ญาณที่ 3 อย่างแก่ เป็นญาณพี่เลี้ยงมาเรื่อย คอยปลอบใจสอนใจให้อดทนต่อสู้กับความยากลำบากในการปฏิบัติ จะตั้งอกตั้งใจเรียกรวมพลคือโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ เรียกว่ามรรคสมังคีอยู่ตรงนี้

ปริยัติธรรม ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์ คือการวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลาย ไม่พะวง และญาณแล่นตรงไปสู่นิพพานแล้ว ญาณอันคล้อยต่อการรู้อริยสัจจ์ ย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไปเป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ

ความรู้จากการปฏิบัติ
การปลุกปลอบใจหรือสอนใจตนเองเป็นความคิดหรือสังขารฝ่ายดีเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องอะไรเลยกับอนุโลมญาณ และมรรคสมังคีก็ไม่ได้เกิดที่ตรงนี้ อนุโลมญาณนั้นเป็นสภาวะสืบต่อจากสังขารุเบกขาญาณ คือเมื่อจิตเป็นกลางรู้สังขารหรืออารมณ์ที่เกิดดับต่อเนื่องเฉพาะหน้าตามความเป็นจริงแล้ว จิตจะมาถึงอนุโลมญาณ คือหมดความดิ้นรนที่จะบรรลุมรรคผลนิพพานเพื่อให้พ้นจากอารมณ์ทั้งปวง สิ่งใดจะเกิดมันก็เกิด สิ่งใดจะดับมันก็ดับ ความอยากพ้นจากความเกิดดับไม่มีเลย มีแต่การอนุโลมยอมรับสภาพว่า สิ่งทั้งหลายเมื่อมีเหตุมันก็เกิด เมื่อหมดเหตุมันก็ดับ
28246  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / วิปัสสนาญาณ vs โสฬสญาณ เมื่อ: ธันวาคม 27, 2009, 02:14:34 pm
ญาณ ๑๖ หรือ โสฬสญาณ (ความหยั่งรู้ ในที่นี้หมายถึงญาณที่เกิดขึ้นแก่ผู้เจริญวิปัสสนาตามลำดับ ตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุด — insight; knowledge)

๑. นามรูปปริจเฉทญาณ (ญาณกำหนดจำแนกรู้นามและรูป คือ รู้ว่าสิ่งทั้งหลายมีแต่รูปเป็นธรรมและนามธรรม และกำหนดแยกได้ว่า อะไรเป็นรูปธรรม อะไรเป็นนามธรรม — knowledge of the delimitation of mentality-materiality)

๒. ปัจจยปริคคหญาณ (ญาณกำหนดรู้ปัจจัยของนามและรูป คือรู้ว่า รูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุปัจจัยและเป็นปัจจัยแก่กัน อาศัยกัน โดยรู้ตามแนวปฏิจจสมุปบาท ก็ดี ตามแนวกฏแห่งกรรม ก็ดี ตามแนววัฏฏะ ๓ ก็ดี เป็นต้น — knowledge of discerning the conditions of mentality-materiality)
 
๓. สัมมสนญาณ (ญาณกำหนดรู้ด้วยพิจารณาเห็นนามและรูปโดยไตรลักษณ์ คือ ยกรูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายขึ้นพิจารณาโดยเห็นตามลักษณะที่เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตน — knowledge of comprehending mentality-materiality as impermanent, unsatisfactory and not-self)

๔-๑๒. ได้แก่ วิปัสสนาญาณ ๙

๑๓. โคตรภูญาณ (ญาณครอบโคตร คือ ความหยั่งรู้ที่เป็นหัวต่อแห่งการข้ามพ้นจากภาวะปุถุชนเข้าสู่ภาวะอริยบุคคล — knowledge at the moment of the Change-of-lineage’)

๑๔. มัคคญาณ (ญาณในอริยมรรค คือ ความหยั่งรู้ที่ให้สำเร็จภาวะอริยบุคคลแต่ละขั้น —knowledge of the Path)

๑๕. ผลญาณ (ญาณในอริยผล คือ ความหยั่งรู้ที่เป็นผลสำเร็จของพระอริยบุคคลชั้นนั้นๆ — knowledge of Fruition)

๑๖. ปัจจเวกขณญาณ (ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน คือ สำรวจรู้มรรค ผล กิเลสที่ละแล้ว กิเลสที่เหลืออยู่ และนิพพาน เว้นแต่ว่าพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่ — knowledge of reviewing)

ในญาณ ๑๖ นี้ ๑๔ อย่าง (ข้อ ๑-๑๓ และ ๑๖) เป็น โลกียญาณ, ๒ อย่าง (ข้อ ๑๔ และ ๑๕) เป็น โลกุตตรญาณ
 
ญาณ ๑๖ (บางทีเรียกว่า โสฬสญาณ ซึ่งก็แปลว่าญาณ ๑๖ นั่นเอง) ที่จัดลำดับเป็นชุดและเรียกชื่อเฉพาะอย่างนี้ มิใช่มาในพระบาลีเดิมโดยตรง พระอาจารย์ในสายวงการวิปัสสนาธุระได้สอนสืบกันมา โดยประมวลจากคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค และวิสุทธิมรรค ในกาลต่อมา
(พึงดู ขุ.ปฏิ.๓๑/มาติกา/๑-๒ = Ps.1  และ วิสุทธิ.๓/๒๐๖-๓๒๘ = Vism. 587-678)
________________________________________



วิปัสสนาญาณ ๙ (ญาณในวิปัสสนา, ญาณที่นับเข้าในวิปัสสนาหรือที่จัดเป็นวิปัสสนา คือ เป็นความรู้ที่ทำให้เกิดความเห็นแจ้ง เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง — insight-knowledge)
 
๑. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ (ญาณอันตามเห็นความเกิดและความดับ คือ พิจารณาความเกิดขึ้นและความดับไปแห่งเบญจขันธ์ จนเห็นชัดว่า สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นครั้นแล้วก็ต้องดับไป ล้วนเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทั้งหมด — knowledge of contemplation on rise and fall)

๒. ภังคานุปัสสนาญาณ (ญาณอันตามเห็นความสลาย คือ เมื่อเห็นความเกิดดับเช่นนั้นแล้ว คำนึงเด่นชัดในส่วนความดับอันเป็นจุดจบสิ้น ก็เห็นว่าสังขารทั้งปวงล้วนจะต้องสลายไปทั้งหมด — knowledge of contemplation on dissolution)

๓. ภยตูปัฏฐานญาณ (ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว เพราะล้วนแต่จะต้องสลายไป ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น — knowledge of the appearance as terror)

๔. อาทีนวานุปัสสนาญาณ (ญาณอันคำนึงเห็นโทษ คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงซึ่งล้วนต้องแตกสลายไป เป็นของน่ากลัวไม่ปลอดภัยทั้งสิ้นแล้ว ย่อมคำนึงเห็นสังขารทั้งปวงนั้นว่าเป็นโทษ เป็นสิ่งที่มีความบกพร่อง จะต้องระคนอยู่ด้วยทุกข์ — knowledge of contemplation on disadvantages)

๕. นิพพทานุปัสสนาญาณ (ญาณอันคำนึงเห็นด้วยความหน่าย คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารว่าเป็นโทษเช่นนั้นแล้ว ย่อมเกิดความหน่าย ไม่เพลิดเพลินติดใจ — knowledge of contemplation on dispassion)

๖. มุญฺจิตุกัมยตาญาณ (ญาณอันคำนึงด้วยใคร่จะพ้นไปเสีย คือ เมื่อหน่ายสังขารทั้งหลายแล้ว ย่อมปรารถนาที่จะพ้นไปจากสังขารเหล่านั้น — knowledge of the desire for deliverance)

๗. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ (ญาณอันคำนึงพิจารณาหาทาง คือ เมื่อต้องการจะพ้นไปเสีย จึงกลับหันไปยกเอาสังขารทั้งหลายขึ้นมาพิจารณากำหนดด้วยไตรลักษณ์ เพื่อมองหาอุบายที่จะปลดเปลื้องออกไป — knowledge of reflective contemplation)

๘. สังขารุเปกขาญาณ (ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร, คือ เมื่อพิจารณาสังขารต่อไป ย่อมเกิดความรู้เห็นสภาวะของสังขารตามความเป็นจริง ว่า มีความเป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา จึงวางใจเป็นกลางได้ ไม่ยินดียินร้ายในสังขารทั้งหลาย แต่นั้นมองเห็นนิพพานเป็นสันติบท ญาณจึงแล่นมุ่งไปยังนิพพาน เลิกละความเกี่ยวเกาะกับสังขารเสียได้ — knowledge of equanimity regarding all formations)

๙. สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ (ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจ คือ เมื่อวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลาย ไม่พะวง และญาณแล่นมุ่งตรงไปสู่นิพพานแล้ว ญาณอันคล้อยต่อการตรัสรู้อริยสัจ ย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไป เป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ ต่อจากนั้นก็จะเกิดโคตรภูญาณมาคั่นกลาง แล้วเกิดมรรคญาณให้สำเร็จความเป็นอริยบุคคลต่อไป — conformity-knowledge; adaptation-knowledge)

ธรรมหมวดนี้ ท่านปรุงศัพท์ขึ้น โดยถือตามนัยแห่งคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค นำมาอธิบายพิสดารในวิสุทธิมรรค แต่ในอภิธัมมัตถสังคหะ ท่านเติม สัมมสนญาณ (ญาณที่กำหนดพิจารณานามรูป คือ ขันธ์ ๕ ตามแนวไตรลักษณ์ — Comprehension-knowledge) เข้ามาเป็นข้อที่ ๑ จึงรวมเป็น วิปัสสนาญาณ ๑๐ และเรียกชื่อญาณข้ออื่นๆ สั้นกว่านี้ คือ เรียก อุทยัพพยญาณ ภังคญาณ ภยญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ สังขารุเปกขาญาณ อนุโลมญาณ


ที่มา  พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม ของ ท่าน ป.อ.ปยุตโต
28247  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ญาณใจน้อย กับ ญาณม้วนเสื่อ เป็นอย่างไงหนอ ??? เมื่อ: ธันวาคม 27, 2009, 01:57:50 pm
ญาณใจน้อย กับ ญาณม้วนเสื่อ เป็นอย่างไงหนอ ???

   ขออนุญาตช่วยคุณฟ้าใสสักเล็กน้อย
   ขอนำคำเทศนาเรื่อง “ลำดับโสฬสญาณ” ของพระธรรมธีรราชมหามุนี(โชดก  ญาณสิทธิ)
มาให้อ่าน  น้อยท่านนัก ที่จะทราบว่า  ท่านเป็นพระอาจารย์สอนกรรมฐาน ให้กับสมเด็จย่า  ขอบอกก่อนว่าสำนวนโวหารที่ใช้ เป็นภาษาพูดพื้นๆ และได้ถอดเทปมาพิมพ์ 
   ตัวผมเองได้ทำการคัดลอกมาจากหนังสือ “ลำดับโสฬสญาณ”มาอีกทีหนึ่ง
   ท่านเทศน์สนุก  ขอเชิญทุกท่านหาความสำราญได้ ณ บัดนี้


ทีนี้ญาณที่ ๘ นิพพิทาญาณ ญาณนี้ไม่อยากเอาแล้วเบื่อ อาหารก็น้อย  นอนก็นอนหลับๆตื่นๆ เมื่อก่อนโน้นแต่งเนื่อแต่งตัว พอมาถึงญาณนี้เฉยๆ ปล่อยตามบุญตามกรรมเถอะ ก็แล้วแต่จิตใจ รู้สึกบอกบุญไม่รับแล้ว เคยเห็นคนที่รักก็ไม่ค่อยอยากพูดอยากจา อยากจะอยู่คนเดียวซึมๆ หน้าตาเหี่ยวแห้งบอกบุญไม่รับ

   สมเด็จพระราชชนนี  แม่ในหลวง เคยปฏิบัติกับอาตมา พอถึงญาณนี้ท่านคล้ายๆไม่อยากแต่งเนื้อแต่งตัว ใตรเห็นก็แปลกใจว่า ทำไมสมเด็จเป็นอย่างนี้ ที่จริงเป็นญาณนี้ เบื่อจริงๆ ข้าวปลาอาหารก็ทานน้อยอิ่มตื้อๆ เห็นคนที่เคยพูดเคยจาดี ก็ไม่อยากพูด อยากจะนั่งคนเดียว ใครขัดคอก็ไม่ค่อยได้  โกรธง่าย  เขาโขลกน้ำพริก แต่ก่อนอยู่ได้ พอวันนี้หนวกหู ไม่อยากฟังแล้ว พูดไม่ดี   บางทีแฟนไปเข้ากรรมฐาน  ผัวส่งข้าวเลยเวลาก็โกรธ หาว่าไม่ค่อยเอาใจใส่อะไรต่างๆ

   ญาณนี้ต้องรู้ใจกัน เขาเรียกว่า ญาณใจน้อย พอถึงญาณนี้ อาหารน้อย นอนน้อย พูดน้อย โกรธง่าย หงุดหงิด ใจคอไม่ดี เบื่อๆ  เขาเรียกนิพพิทาญาณ โกรธก็ง่าย นอนก็ไม่ค่อยหลับ แต่ก็ยังปฏิบัติอยู่นะ ทำก็ไม่ค่อยดีแต่ก็ทำ  อันนี้ไม่นาน จากญาณสี่จะมาชัดตรงนี้  อันเดิมนี่แหละ แต่ว่าแก่หรืออ่อนกว่ากันเท่านั้น อยู่ในเกณฑ์เดียวกัน ถึงได้พวกเดียวกัน แต่แก่กว่ากันนิดหน่อย  เมื่อเบื่อแล้วก็เห็นว่า  แล้วมันจะได้อะไรหนอ ประโยชน์อะไรหนอ

   ญาณที่ ๙  มุญจิตุกัมยตาญาณ  อยากออก อยากหนี อยากพ้น คัน กระวนกระวาย เกาแล้วเกาอีก อะไรก็ไม่รู้ บางทีเหมือนเอาบุ้ง ตัวหนอนตัวใหญ่ๆ เข้าไปในเสื้อเรา บางทีก็ไม่มี บางทีก็คันเหมือนหมามุ่ย เหมือนตำแย เอ้...ใครเอาหมามุ่ยเอาตำแย มาคัน เณรน้อยมักบ่นอาจารย์ว่ามีอะไร  เอามุ้งไปตากก็ยังคันอยู่ เอาสบงจีวรไปฟอกก็ยังคันอยู่ อาจารย์นั่งหัวเราะ  เณรน้อยมาถึงญาณนี้ ญาณที่ ๙ กระวนกระวายใจ

   ถึงญาณนี้แหละ ใจไม่เอาแล้ว บางคนจะม้วนเสื่อม้วนหมอนจะกลับ มีโยมคนหนึ่ง(พูดว่า) “ท่านเจ้าคุณฉันจะกลับบ้าน”    เป็นไงโยมนั่งไม่ค่อยดี มันกระวนกระวายใจ เลยนึกว่าดิฉันหมดบุญวาสนาบารมีแล้ว คงทำไม่ได้หรอก กลับไปอยู่กับลูกหลาน  โยมอันนี้ต้องบอก  นี่ถึงญาณม้วนเสื่อแล้ว จวนแล้ว  ดีแล้วนะ  นี่แหละญาณม้วนเสื่อ ญาณที่ ๙ จวนแล้ว อย่ากลับ เอาเสื่อกลับไปคลี่ปฏิบัติต่อไปอีก

   มีฝรั่งคนหนึ่งมาปฏิบัติ อาตมาไปชลบุรีคืนหนึ่งกลับมา หอบเสื่อหอบหมอนไปนอนโรงแรมเอราวัณ ระหว่างนั่งคุยกันบอกว่า คุณวันดีถึงญาณม้วนเสื่อแล้ว  ให้รับกลับมาปฏิบัติต่อ  เวลาฟังเทศน์บันทึกไว้หมด  เลยหัวเราะชอบใจ เพราะตรงกันกับของแก่

   ไปอยู่อังกฤษก็มีผู้หญิงผู้ชายคนหนึ่งปฏิบัติถึงญาณนี้ อาตมาไปอบรมที่ประเทศลอนดอน แกเปิดหนีกลับบ้าน ต้องให้เจ้าคุณโสภณตามไปสอน ได้เอาบ้านเป็นที่ปฏิบัติกรรมฐานด้วย   คนนี้ดี

   บางทีก็เกิดสงสัย เอ้จะดีหรือเปล่า  ถูกหรือไม่ถูกหนอ  จิตมันก็คิดไปเรื่อย  นี่เขาเรียกว่าอวิชชา เป็นเหตุให้สร้างสังขารนี่แหละ ปฏิจจสมุปบาทเกิดชัด  มันเกิดอย่างนี้ แต่ผู้นั้นจะไม่รู้นะ

   พอถึงญาณนี้อาจารย์บอก   ไม่เปิดหนีแล้ว  ญาณนี้ดีแล้วต้องเพียรแล้ว   พอบอกกำลังใจมันก็เกิดขึ้น  กำลังใจเกิดขึ้นมันก็นึกว่าดี   แต่ก่อนนึก  ว่าไม่ดี   อาจารย์ชอบใจถ้าเป็นอย่างนี้   แต่ลูกศิยษ์ไม่ค่อยพอใจเพราะคิดว่าไม่ดี




ขอคอมเม้นต์เป็นพิธี

   ท่านหญิงที่ต้องการลดความอ้วน   ขอให้เร่งปฏิบัติให้ถึง นิพพิทาญาณ เร็วๆนะครับ
   
        ใครที่ชอบเที่ยว  อย่าได้อ้างญาณที่ ๙ เพื่อหนีเที่ยวนะครับ

         ผมไตร่ตรองอย่างรอบครอบ แล้วสรุปเอาเอง(อีกแล้ว) ว่า

        “นักโทษที่อยู่ในคุก มีญาณม้วนเสื่อ ด้วยกันทุกคน”

28248  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ได้เวลาตอบคำถามของ คุณสาธุครับ และคุณปกรณ์ เมื่อ: ธันวาคม 26, 2009, 05:48:33 pm
ขออนุญาตตีกรอบแค่ ศีล ๕ นะครับ

ตอบคุณสาธุครับ

          ขอให้อ่านหัวข้อ องค์ของศีล ให้ดีนะครับ
เอาไว้เป็นเครื่องมือ ตัดสินว่าผิดศีลหรือไม่


ตอบคุณปกรณ์

      ขอตอบดังนี้ครับ

      เมื่อเราอาราธนาศีลแล้ว พลาดพลั้งทำอะไรที่คิดว่าผิดศีลลงไป
ให้นำองค์ของศีล(ตามข้อความด้านบน)มาวินิจฉัยว่า ศีลขาดหรือไม่
 
กรณีที่วินิจฉัยแล้วว่า ศีลขาด

      โดยความเห็นส่วนตัวผม  จะหาโอกาสอาราธนาใหม่ให้เร็วที่สุด
ในกรณีที่จิตตก ขาดกำลังใจ หดหู่ ผมจะพยายามวางเฉย หากิจกรรมอื่นๆทำ
เพื่อให้ลืมเรื่องนั้น แล้วอาราธนาใหม่อีกครั้ง

ในส่วนคำถามของคุณปกรณ์ที่ถามว่า

“.......ผิดศีล แล้วศีลขาด ขาดนานไหม”

    ผมขอแนะนำว่า “อย่าให้ความสำคัญมั่นหมายกับเวลาเลย
จะนานหรือไม่นาน ไม่ควรให้ค่ากับมัน จะทำให้คุณเครียดเปล่าๆ”

ครูบาอาจารย์หลายท่านแนะนำว่า ให้แบ่งเวลาแต่ละวันเป็นช่วงๆ

เช่น เราอาราธนาศีลตอนเช้า ตอนกลางวันเผลอไปพูดเท็จด้วยเหตุอะไรก็ตาม

สมมติว่า เราใช้เวลาพูดเท็จประมาณ ๓ นาที หลังจากนั้นก็ไม่ได้ทำอะไรที่ผิดศีลอีก
จนถึงเช้าของอีกวันหนึ่ง

     เราสามารถที่จะภูมิใจได้เลยว่า วันหนึ่งตั้ง ๒๔ ชั่งโมง เราทำผิดศีลแค่ ๓ นาทีเอง
นี่เป็นวิธีคิดบวก เพื่อเป็นกำลังใจให้ตัวเองครับ


ฝากข้อคิดเอาไว้นิดหนึ่งว่า

“การอาราธนาศีล ไม่ว่าจะมีพยานรู้เห็นหรือไม่ เป็นการตั้งสัจจะอธิษฐานต่อตนเอง

 การละเมิดศีล เป็นการไม่ทำตามสัจจะอธิษฐาน

โทษอย่างหนึ่งของมันก็คือ กำลังใจจะถดถอยลงไป”


ท้ายนี้ขออนุโมทนากับทุกท่านครับ
28249  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / การถือศีล ได้บารมีหลายอย่าง เมื่อ: ธันวาคม 26, 2009, 05:28:58 pm
          ศีลบารมี

          ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย  วันนี้ก็มาปรารภกันถึงบารมีที่ ๒ คือ ศีลบารมี วันก่อนได้พูดถึง ทานบารมี  มาแล้ว

          แต่ทว่าขอบรรดาท่านพุทธบริษัทจงอย่าลืม  คำว่าบารมี  บารมี  นี่แปลว่า กำลังใจ  ที่องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า  “ท่านที่มีบารมีเต็มแล้วย่อมเป็นพระอรหันต์ได้ และเข้าถึงพระนิพพาน”  ก็จงเข้าใจว่า  คำนี้พระพุทธเจ้าหมายถึงว่า ท่านทั้งหลายมีกำลังใจเต็มที่จะทรงศีลบารมีให้ครบถ้วน

          คำว่า  ศีล  แปลว่า  ปกติ, บารมี  แปลว่า  เต็ม  ฉะนั้นขอบรรดาท่านพุทธบริษัทจงรักษาความปกติให้เต็มครบถ้วนบริบูรณ์  อาตมาจะไม่พูดถึงลักษณะของศีลทั้งหมดจะพูดเฉพาะศีล ๕ ประการ

          แต่ว่าทั้งนี้ขอบรรดาท่านพระโยคาวจรทั้งหลายที่ปฏิบัติพระกรรมฐาน  หรือหวังดีตามคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าก็จงเข้าใจว่า คำว่า ศีล นี่แปลว่า ปกติ  แล้วก็ปกติท่านปฏิบัติอยู่ในศีลประเภทไหน เป็นศีล ๕ ก็ตาม ศีล ๑๐ ก็ตาม ศีล ๘ ก็ตาม ศีล ๒๒๗ ก็ตาม  จงรักษาความปกติของศีลประเภทนั้นไว้ให้ครบถ้วน อย่าให้ขาดตกบกพร่อง

          และอีกประการหนึ่ง  คำว่าศีลแปลว่าปกตินี้  เพราะปกติคนก็ดี สัตว์ก็ดี มีความพอใจตามนั้น  นี่ขอให้สร้างความเข้าใจตามนี้เข้าไว้  จะขอพูดเรื่องคำว่าปกติของศีลให้ฟังจะได้ง่ายต่อการปฏิบัติ  เอาเฉพาะ  ศีล ๕  จัดว่าเป็นศีล  ที่มีอันดับต่ำที่สุด  ศีล ๕ นี้  ปกติของบุคคลที่เป็นปุถุชนคนธรรมดามีความต้องการกัน แม้แต่สัตว์เดียรัจฉานก็ต้องการศีล ท่านอาจจะแปลกใจว่าทำไมอาตมาจึงพูดอย่างนั้น  อาจจะบอกว่าพระพุทธเจ้าไม่เคยเทศน์อย่างนี้

          ปกติของคนก็ดี  สัตว์ก็ดี ไม่ต้องการให้ใครมาทำร้ายร่างกาย  และก็ไม่ต้องการให้ใครมาทำลายร่างกายถึงกับสิ้นชีวิต  นี่ขอให้ท่านทั้งหลายถือความรู้สึกของท่านเป็นสำคัญว่า  ตัวท่านเองน่ะมีความรู้สึกอย่างนี้บ้างหรือเปล่า…?  ถ้าหากว่าท่านต้องการให้ใครเขามาฆ่าให้ท่านตายละก็โปรดแจ้งให้ทราบด้วย  จะได้ช่วยสงเคราะห์ให้เร็วเข้า  และถ้าท่านต้องการให้ใครเขาทรมานบีบคั้นร่างกายท่านให้เจ็บปวด  มีทุกขเวทนาอย่างหนักก็โปรดแจ้งให้ทราบด้วย

          ประการที่สอง  ท่านมีทรัพย์สมบัติอยู่แล้ว  ท่านต้องการให้ใครมายื้อแย่งทรัพย์สมบัติท่านหรือเปล่า….?  เอาตัวของท่าน เอาใจของท่านเป็นประกัน เป็นเครื่องยอมรับ หมายความว่าเอาตัวของท่านนี่แหละเป็นตัวยืน  เอาจิตใจของท่านเป็นจิตใจยืน  ท่านมีทรัพย์สมบัติทั้งหลาย  ท่านต้องการให้ใครเขามาลักเขามาขโมย มายื้อมาแย่ง มีบ้างไหม …?  เคยคิดบ้างหรือเปล่า…? ไม่มี  ถ้าคนไม่ไร้สติเขาตอบว่าไม่มี  ฉันหามาลำบาก

          และคนที่เรารัก เราต้องการให้ใครเขามายื้อแย่งความรักของเราไหม…?

          นี่ยามปกติถ้าเราจะพูดกันอย่างเป็นการเป็นงาน เราต้องการให้ใครเขามาโกหกมดเท็จเราบ้างหรือเปล่า…?

          ยามปกติเราต้องการให้ชาวบ้านเขาเห็นว่าเราเป็นคนบ้าไหม….?

          ไม่มี อาตมาพูดเองตอบเอง  ตอบได้  ตอบแทนท่าน  นี่ส่วนใหญ่กำลังใจของเรา   นอกจากว่าเราจะมีประสาทหรือว่าจิตวิปริตจึงจะคิดฝืนอารมณ์ทั้ง ๕ ประการนี้ 
   
          อารมณ์ทั้ง ๕ ประการนี้ทั้งคนและสัตว์มีความปรารถนาเสมอกัน  ที่คนเรามีความรู้สึกว่าสัตว์เกิดมาเพื่อเป็นอาหารของตนนี่คิดด้วยความโง่เท่านั้น  ไม่ใช่ความฉลาด  อาตมาขอพูดตรงไปตรงมา  ถ้าสัตว์มันเกิดมาเพื่อเป็นอาหารของเรา  เวลาที่เราเดินเข้าไปหามัน  มันก็ต้องรับเดินเข้ามาหาเรา เต็มใจให้เรากินมันเป็นอาหาร หรือฆ่ามันมาเพื่อเป็นอาหารของเรา  แต่ทว่าสัตว์ทั้งหลายไม่ได้มีความคิดอย่างนั้น  ในเมื่อเราจะไปจับมันก็วิ่งหนี ปลาก็ว่ายน้ำหนี  นกก็บินหนี สัตว์เดินดินก็เดินหนี สัตว์เลื้อยคลานก็เลื้อยหนี  อาการที่หนีนี่แสดงว่าเขารักชีวิตของเขา  เขาไม่ต้องการให้เราไปทำลายชีวิตของเขา  ความรู้สึกของคนและสัตว์มีความรู้สึกเสมอกัน มีความต้องการแบบนี้เท่ากัน

          รวมความว่า  ปกติคนและสัตว์มีความประสงค์ในกฎ ๕ ประการเท่านั้น  พระพุทธเจ้าจึงเรียกกฎ ๕ ประการ  ว่า  ศีล  แปลว่า  ปกติ  คือว่าเป็นปกติที่คนและสัตว์ทั้งหมดต้องการ  คือไม่ต้องการให้ใครมาทำอันตรายกับเราแบบนั้น

          ไม่ต้องการให้ใครเขามาฆ่า   ไม่ต้องการให้ใครเขามาทำร้าย
          ไม่ต้องการให้ใครเขามาลักของขโมยของ  ยื้อแย่งของและทรัพย์สิน
          ไม่ต้องการให้ใครมายื้อแย่งความรัก
          ไม่ต้องการให้ใครโกหก
          ไม่ต้องการให้ใครเขาเห็นว่าเราเป็นคนบ้า

คำว่า  คนบ้า  ในที่นี้ก็ได้แก่ การดื่มสุราเมรัย  ของมึนเมา  อาการที่มึนเมาเข้าไปแล้ว  บรรดาท่านทั้งหลายมันก็ไม่ต่างอะไรกับคนบ้า ดีไม่ดีคล้ายสัตว์สี่เท้าเสียอีก  นอนเหมือนสัตว์ที่เท้า มีอาการเหมือนสัตว์สี่เท้าก็ยังทำได้

          นี่สิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันไม่ใช่ปกติ  ปกติของมนุษย์แปลว่าใจสูง  ไม่ต้องการอย่างนั้น  นี่พูดถึง  ศีลบารมี  ถ้าเป็นพระ เป็นเณร หรือผู้รักษาอุโบสถ ก็ทรงอาการอย่างนั้นให้ครบถ้วนบริบูรณ์ให้มันเป็นปกติ

          ทีนี้การรักษาศีลให้เป็นปกติทำยังไง…?  ใน อุทิมพริกสูตร องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาทรงตรัสกับนิโครธะปริพาชกว่า

          “สาวกของเราจะไม่ทำลายศีลด้วยตนเอง  ไม่แนะนำให้บุคคลอื่นทำลายศีล  และก็ไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว” อาการอย่างนี้บรรดาท่านพุทธบริษัท  ใจของท่านทรงได้แล้วหรือยัง…?

          ถ้าจะถามว่าปฏิบัติศีลแบบไหนเป็น ปรมัตถศีล  จึงจะ เข้าถึงพระนิพพานได้  ถ้าเราตอบกันไปแบบเล่นสำนวนก็ตอบกันได้แบบสบาย ๆ เมื่อไรมันก็ไม่จบ

          ถ้าเรามาสรุปตามแบบฉบับขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ที่ตรัสกับนิโครธะปริพาชกว่า

          “เราแนะนำบรรดาลูกศิษย์ลูกหาของเรา (ในนั้นท่านเรียกกันว่า  ยามสี่ คือ ไม่มีสุรา และเวลานี้เรามาเทียบกันได้กับศีล ๕)  เราแนะนำแบบนี้ว่า

1.  เธอจงอย่าเป็นผู้ทำลายศีลด้วยตนเอง
2.  เธออย่ายุยงส่งเสริมให้บุคคลอื่นทำลายศีล และก็
3.  ไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว


          เราสอนแบบนี้  สาวกของเรารับฟังแล้วปฏิบัติตามเรา จึงประกาศผล และสาวกของเราจึงยอมรับผลว่าได้มรรคได้ผลสมความปรารถนา”

          นี่ว่ากันโดยใจความเป็นภาษาไทย ถ้าหากว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายถามว่า  จะรักษาศีลอย่างไหนจึงจะเข้าถึงพระนิพพานได้…?  ก็ขอให้บรรดาท่านพุทธบริษัทยึดศีลข้อนี้เข้าไว้  แบบนี้นี่แหละ ๓ ประการ

          ถ้าจะถามว่า ถ้าเราปฏิบัติอยู่ในศีลบารมี ถ้ามีกำลังใจครบถ้วน เรามีทานบารมีควบด้วยหรือเปล่า…? อาตมาก็ต้องตอบว่ามี ที่มีก็คือ อภัยทาน เพราะคนที่จะมีศีลได้ต้องมี เมตตา  และมี  กรุณา  ทั้ง ๒ ประการ เราก็มีทาน การให้คืออภัยทาน ให้อภัยแก่บุคคลผู้ผิด เขารู้เท่าไม่ถึงการณ์

          เว้นไว้แต่ว่าบุคคลผู้มีเจตนาปฏิบัติผิดพระวินัย  หรือ ระเบียบกฎข้อบังคับ อย่างที่เป็นกฎข้อบังคับที่องค์สมเด็จพระสัมมาสุมพุทธเจ้าทรงวางไว้  พระองค์ก็ยังทรงลงโทษ ถ้าผิดแบบนี้เราไม่ให้อภัย เพราะเรามีความรักในเขา เรามีความสงสารในท่านผู้นั้น ถ้าไม่ลงโทษตามระเบียบวินัยก็จะปล่อยให้เขาเลวเกินไป เป็นอันว่าเราไม่รัก

          ตามคติโบราณท่านบอกว่า รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี  ท่านว่าอย่างนั้น ถ้าวัวควายของเราถ้าไม่ผูกไว้มันก็จะอดหญ้าตาย ดีไม่ดีผู้ร้ายก็ขโมยเอาไปฆ่าหรือเอาไปทรมาน ก็จัดว่าเป็นการไม่รักวัวรักควาย  ถ้ามีลูกหญิงลูกชายเราปล่อยให้เหลิงกันไปตั้งแต่เด็ก  พอโตแล้วเอาไม่ไหว  ก็แสดงว่าเราไม่รักลูก ลูกเลวเราจะมาร้อนใจอะไร

          นี่ถ้าหากว่า รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี  ท่านว่าอย่างนั้น  ถ้าเขาผิดระเบียบวินัย เราก็ต้องลงโทษ ถ้าหากว่าถ้าเป็นความผิดอย่างอื่นที่ไม่เสียหาย เราก็ให้อภัย  จัดเป็นอภัยทาน นี่รักษาศีลเราก็มีทานด้วย

          ในด้าน เนกขัมมะ เนกขัมมะ  นี่เขาเรียกว่า  ไม่มีการพยาบาท  ไม่โกรธไม่พยาบาท  ในเมื่อเรามีเมตตาเสียแล้ว  ไอ้ตัวโกรธตัวพยาบาทที่มันเนื่องไปด้วยกิเลสมันจะมีขึ้นมาได้ยังไง  นี่เรารักษาศีลเราก็มีเนกขัมมะ  บารมีมันรวมตัวกัน

          ถ้าจะถามว่ารักษาศีลมี ปัญญาบารมี  ควบด้วยไหม…? ก็ตอบได้ง่าย ๆ ว่า  คนโง่น่ะไม่มีใครเขารักษาศีล คนที่ทำลายศีลน่ะไม่ใช่คนฉลาด  เพราะสร้างความเดือดร้อนให้แก่ตน นี่คนที่รักษาศีลได้ครบถ้วนบริบูรณ์ก็เป็นคนมีปัญญาบารมีอยู่แล้ว ไม่ยาก  ไม่เห็นอะไรจะยาก

          ถ้าจะถามว่ารักษาศีลแล้ว  วิริยบารมี  ตามมาด้วยหรือ เปล่า…? ก็ต้องตอบว่ามี เพราะนิสัยเดิมของเราเป็นคนใจโหดร้าย ชอบฆ่าสัตว์ตัดชีวิต  คิดว่าสัตว์เป็นอาหารของเรา แต่เรางดเว้นเสีย ต้องหักห้ามอารมณ์แบบนี้เป็นต้น เราเคยยิงเนื้อยิงสัตว์ ทำลายชีวิตสัตว์ ทำลายร่างกายบุคคลอื่น เรางดไม่ทำ แทนที่จะใช้ความโหดร้ายเข้ามาประจำใจ เรากลับมีเมตตา กรุณา คือความรัก ความสงสารเข้ามาประจำ ฝืนอารมณ์เดิม หักห้ามอารมณ์เดิมเข้าไว้ กว่าจะทำได้มันต้องใช้เวลา นี่ต้องใช้ วิริยะ ความเพียร

          ถามว่า ขันติบารมี ล่ะมีไหม…?  อ๋อ… ก็การอดกลั้นยังไวล่ะ… สมมุติว่าท่านทั้งหลายที่อยากจะกินเหล้าเมาสุราเคยกินเหล้าเมาสุรามาแล้ว รักษาศีลอยากจะให้ศีลบริสุทธิ์มันมีความอยากเข้ามาก็ต้องอดเข้าไว้ กลั้นเข้าไว้คิดว่าเราจะเอาดี  หรือว่าคนที่ชอบเจ้าชู้ ลูกเขาเมียใคร ผัวเขาผัวใครไม่เลือก ชอบใจสัมผัสดะ เราก็ต้องใช้ขันติบารมีว่าเวลานี้เรารักษาศีล เราไม่ทำ ใช้ขันติเข้าควบ ใช้วิริยะ  ใช้ปัญญา

          ทีนี้ถามว่า ถ้าเราปฏิบัติแต่ศีลบารมีอย่างเดียว สัจจบารมี จะมีด้วยหรือเปล่า…? สัจจะนี่แปลว่า ความจริง ตั้งใจไว้โดยเฉพาะ เราเป็นคนจริง เราไม่ใช่คนหลอก เราจะรักษาศีลจริง ๆ เราไม่ได้รักษาศีลหลอก ๆ เราก็ต้องมีความจริงว่าเราจะไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่พูดมุสาวาท ไม่ดื่มสุราเมรัย เราต้องมีความจริงใจว่า เราจะไม่ทำเองด้วย เราจะไม่ยุให้คนอื่นเขาทำ และจะไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นเขาทำแล้ว ตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัส สัจจะคือความจริงตัวนี้  ต้องทรงอยู่เป็นปกติ ถ้าขาดสัจจะเมื่อไรศีลพังเมื่อนั้น เห็นหรือยังว่า สัจจบารมีก็มี

          ทีนี้ถ้าจะถามว่าถ้าเจริญศีลบารมีแล้ว  อธิษฐานบารมี มีไหม…?  อธิษฐานนี่มันตัวตั้งใจไว้แต่เดิมนี่บรรดาท่านพุทธบริษัท ถ้าความตั้งใจไม่ทรงอยู่ เปลี่ยนแปลงเมื่อไร ศีลพังเมื่อนั้น  ถ้าคิดว่าไม่เป็นไร จะกินเหล้าสักประเดี๋ยว ลาศีลนิดหนึ่ง เห็นไหม เวลานี้เราต้องการประโยชน์ ขอโกหกสักนิดเถอะ ลาศีลก่อน นี่ถ้าไร้อธิษฐานบารมีมันเป็นอย่างนั้น อธิษฐานบารมีตัวตั้งใจเดิม ต้องทรงไว้ว่าเราจะเป็นคนที่มีศีลบริสุทธิ์ มันต้องมี อธิษฐาน

          สำหรับ  เมตตาบารมี  ไม่ต้องพูดกัน เพราะการทรงศีลต้องมีเมตตาอยู่แล้ว  ถ้าไม่มีเมตตาศีลไม่มี

          เวลาที่เราจะรักษาศีล  อุเบกขาบารมี  ต้องมีไหมล่ะ…?  ก็ขอตอบได้ว่า อุเบกขาบารมีมันต้องมีซิ…อย่างชนิดที่เรียกว่าเราไม่ทำร้ายเขา แต่เขากลั่นแกล้งเรา เราก็อดไว้ ใจมัยอยากจะสู้  ใจมันอยากจะสู้เขา ใจมันอยากจะทำร้ายเขาต้องใช้ ขันติ ความอดทน วิริยะ คุมเข้าไว้  ปัญญา คอยห้ามปราม สัจจะ ทรงตัวเข้าไว้ บอกไม่ได้ เราตั้งใจไว้แล้ว  อธิษฐาน  ทรงจิตเข้าไว้ว่าปักหลักนิ่งเข้าไว้แล้วจะทำเขาไม่ได้ อุเบกขา เลยต้องพยายามทรงตัว  ยืนเฉยเข้าไว้ อะไรมันจะมาที่มันจะเป็นอันตรายเป็นเครื่องทำลายศีล เรายืนเฉยเข้าไว้

          เฉยทำไม…?  เพราะเราต้องการ พระนิพพาน  เราไม่ต้องการความเกิดอีก  เราจะปิดกั้นความเกิด เราต้องมีอุเบกขา อุเบกขาตัวนี้ความจริงในด้านบารมีนี่เป็นตัวสูงมาก แต่เราจะเอาไว้พูดกันในคราวหลัง บารมีนี่จะพูดกันมากก็คงไม่มีกี่บารมีนัก

          นี่เราจะเห็นได้ว่าการบำเพ็ญบารมีอย่างใดอย่างหนึ่งก็ต้องมีบารมีอีก ๙ อย่าง มาประกอบเข้าเป็นเครื่องประดับหรือเป็นเครื่องประคับประคองหมดทั้ง ๙ อย่าง รวมเป็น ๑๐ อย่างด้วยกัน
          นี่เป็นอันว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายที่มีความเข้าใจว่า  บารมีของเรายังไม่ครบถ้วน ยังบกพร่อง  หรือว่า เราเป็นคนไม่มีบารมีเลย  ก็จงทราบว่า  บารมีน่ะมีอยู่ องค์สมเด็จพระบรมครูไม่ได้กีดไม่ได้กันเรื่องบารมี  ทุกคนมีบารมีได้ พระพุทธเจ้าก็ทรงแจกบารมีให้แก่บรรดาท่านพุทธบริษัท คำว่า แจก ก็หมายถึงว่า การแนะนำ  ไม่ใช่ยกบารมีส่วนตัวมาแจกแก่บรรดาท่านพุทธบริษัท นี่มันแจกกันไม่ได้ เพราะอะไร  เพราะมันเป็นกำลังใจของแต่ละคน

          มีหลายท่านด้วยกันเคยมาหาอาตมา บอกว่าอยากจะขอบารมีให้ช่วยสงเคราะห์ให้ตัวของท่านดีขึ้น แต่เพื่อความสุขของท่านผู้นั้น  อาตมาก็บอกว่า “สาธุ ดีแล้วอาตมาจะสงเคราะห์ในการแบ่งปันบารมีให้”  ที่พูดอย่างนี้ไม่ใช่ว่าทำได้หรอกบรรดาท่านพุทธบริษัท เพื่อเป็นการรักษากำลังใจของท่านผู้พูด  ความจริงบารมีมันอยู่ที่ตัวท่านแล้ว  แต่ทว่าถ้าเราขาดกำลังใจเสียอย่างเดียว ทุกอย่างมันก็ทำไม่ได้ ถ้าท่านทั้งหลายพวกนั้นยังมีความรู้สึกอยู่ว่า ตัวท่านเองเป็นผู้ไม่มีบารมี ท่านก็จะขาดกำลังใจ

          ในเมื่อท่านมาขอบารมีก็บอกว่า เอ้า! ให้ สงเคราะห์ให้ เต็มใจให้ รับก็แล้วกัน อาตมาพร้อมที่จะมอบให้เสมอ เมื่อเวลามอบให้ท่านก็คือมอบกำลังใจ เพราะว่าถ้าเราไม่ให้กำลังใจท่านผู้นั้น ท่านผู้นั้นก็จะไม่ทรงความรู้สึกว่าท่านมีกำลัง

          ทีนี้เมื่อรับฟังอย่างนี้แล้วท่านอาจจะคิดว่าอาตมาน่ะช่วยได้ สามารถจะสงเคราะห์ให้ท่านเป็นผู้มีบารมีสูงสุดได้ ก็จะเกิดกำลังใจขึ้นมาว่าเราได้พระช่วยแล้ว นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท ท่านทั้งหลายถ้าเคยฟังมาก็อาจจะคิดว่าอาตมานี่เป็นผู้แจกบารมีได้เก่ง แต่คงจะไม่เป็นเช่นนั้น

          มีหลายท่านด้วยกันมากัน  บางทีหลาย ๆ ท่านมักจะมา  พอถามว่า “มาทำไม”  บอกว่า
“มาชมบารมี”  คำนี้บรรดาท่านพุทธบริษัท  ฟังแล้วก็ไม่สะดุดใจอะไร  แต่ทว่าท่านทั้งหลายเราคิดกันใหม่ดีกว่า  บารมีของใครไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่บารมีของเรา  เราตั้งใจจะเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่นิพพาน  แล้วก็สร้างบารมีของเราให้ครบถ้วน  คือกำลังใจ  ตั้งใจไว้

          โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลานี้พูดเฉพาะ ศีลบารมี  เราพยายามทรงศีลของเราให้บริสุทธิ์  ระมัดระวังทุกสิกขาบท อย่าลืมว่า ท่านเป็นปุถุชนคนธรรมดา มีศีล ๕ ต้องบริสุทธิ์ ถ้าท่านยังบอกว่าจำเป็นจะต้องละเมิดอย่างโน้นข้ามอย่างนี้  ก็ถือว่าท่านไม่พร้อมที่จะแสวงหาความดี

          ท่านที่รักษาอุโบสถ  เป็นสามเณร  เป็นภิกษุ  จงถือสิกขาบททุกสิกขาบทยิ่งกว่าชีวิต  จงคิดว่าถ้าเราบกพร่องในสิกขาบทหนึ่ง นั้นคือศีลของเราพังไปเสียแล้ว เราเองก็ถือว่าไม่เป็นสาวกขององค์สมเด็จพระประทีปแก้วบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า  จะเป็นยังไงล่ะบรรดาท่านพุทธบริษัทก็เราฝ่าฝืนพระพุทธบัญญัติที่องค์สมเด็จพระทรงสวัสดิโสภาคย์ ให้ปฏิบัติ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งศีลนี่เป็นกฎข้อบังคับว่าเราจะต้องทำ ถ้าไม่ทำแล้วเราจะทรงตัวเป็นพุทธสาวกไม่ได้

          ถ้าสรุปรวมความแล้ว  หากว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายทรงกำลังใจ 3 ประการครบถ้วน คือ

๑.  เราจะไม่ทำลายศีลด้วยตนเอง
๒.  เราจะไม่ยุยงส่งเสริมให้บุคคลใดทำลายศีล
๓.  เราจะไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว


          เท่านี้เป็นที่พอใจขององค์สมเด็จพระประทีปแก้วบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า  ชื่อว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายเป็นผู้มีศีลบารมีครบถ้วนเต็มจำนวนที่พระพุทธเจ้าต้องการ

          ถ้าท่านมีศีลครบถ้วน บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่านก็ชื่อว่าท่านเป็นผู้เข้าถึง สรณคมน์ ตามนิยมของพระพุทธศาสนา  คนประเภทนี้จะลงอบายภูมิไม่ได้ อย่างเลวก็เกิดเป็นมนุษย์ แต่ว่าเป็นมนุษย์ชั้นดี  มีรูปร่างหน้าตาสวย มีความเฉลียวฉลาด มีทรัพย์สมบัติเยือกเย็น มีคนใต้บังคับบัญชาก็ตั้งอยู่ในโอวาท บริวารตั้งอยู่ในโอวาท มีวาจาเป็นสัจจะ มีวาจาเป็นทิพย์ พูดอะไรใครก็ชอบ ไม่ขาดสติสัมปชัญญะ

          เอาละบรรดาท่านพุทธบริษัท  ว่ากันมาถึงเรื่องศีล และการประกอบของบารมีอื่นกับศีล  ก็พอสมควรแก่เวลา  สำหรับวันนี้ก็ขอยุติเรื่องศีลไว้แต่เพียงเท่านี้  ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล  จงมีแต่บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน สวัสดี

ที่มา   www.praratanatrai.com
(เป็นการเทศน์ของ ลพ.ฤาษีลิงดำ)
28250  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ศีลจะขาดหรือไม่ ให้นำองค์ของศีลมาวินิจฉัย เมื่อ: ธันวาคม 26, 2009, 05:17:23 pm
คำสมาทานศีล 5 (เพื่อการถือเอาศีลมาถือปฏิบัติ)
 
          1. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิฯ
           (ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนาเครื่องงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และใช้ผู้อื่นให้ฆ่า)
 
          2. อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิฯ
           (ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้นจากการลักทรัพย์ด้วยตนเอง และใช้ให้ผู้อื่นลัก)
 
          3. กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิฯ
          (ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม)
 
          4. มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิฯ
          (ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้นจากการพูดปด พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ และพูดคำหยาบ)
 
          5. สุรา เมระยะ มัชชะ ปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิฯ
          (ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้นจากการดื่มสุราเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท)

7.4 ธรรมที่เกื้อกูลต่อการรักษาศีล


          การรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ได้นั้น สำหรับปุถุชนคนธรรมดา ซึ่งต้องอยู่ท่ามกลางสิ่งล่อลวงใจ หรือบางคนตกอยู่ในภาวะที่ขัดสน หรือแม้แต่อยู่ในที่ลับปราศจากการรู้เห็นของผู้คน นับเป็นเรื่องที่ยากต่อการจะหักห้ามใจไม่ให้ล่วงละเมิดศีลได้ แต่ไม่ว่าจะอย่างไร การรักษาศีลก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากจนเหลือวิสัยที่จะ ทำได้นัก ขอเพียงแค่เรามีความตั้งใจจะทำจริง ก็ย่อมจะรักษาศีลให้บริสุทธิ์ได้อย่างแน่นอน

          7.4.1 หิริ โอตตัปปะ เหตุแห่งการรักษาศีล
 
          การที่จะสามารถรักษาศีลให้ได้นั้น จะต้องมีคุณธรรมประจำใจที่สำคัญคือ หิริ และโอตตัปปะ
 
          เพราะ หิริ คือ ความละอายใจต่อการทำชั่ว สิ่งใดก็ตาม หากเป็นความชั่วเลวทราม จะไม่กล้าคิด ไม่กล้าพูด ไม่กล้าทำ ด้วยความที่รังเกียจ และขยะแขยง เห็นเป็นสิ่งสกปรก
 
          ส่วน โอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัวต่อผลของความชั่ว เมื่อรู้ว่าการทำความชั่วจะมีผลร้ายตามมา จึงเกรงกลัวอันตรายของความชั่ว ราวกับคนกลัวงูพิษ
 
          เมื่อ หิริ และ โอตตัปปะ เป็นคุณธรรมที่ทำให้เกลียดกลัวความชั่วเช่นนี้ ผู้มีหิริ โอตตัปปะ เป็น ธรรมประจำใจ ย่อมมีศีลบริสุทธิ์เสมอ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน อย่างไร จะต่อหน้าหรือลับหลังใคร ก็จะไม่ยอมให้ ความชั่วใดๆ มาแปดเปื้อนเลย ดังเรื่องที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเล่าแก่ภิกษุทั้งหลายในสีลวีมังสชาดก ว่า

                                                            สีลวีมังสชาดก

           ครั้งหนึ่ง พระภิกษุ 500 รูป ณ วัดเชตวัน ได้เกิดกามวิตกขึ้นในยามค่ำคืน ต่างคิดถึงความสุขที่เกิดจาก รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ที่เคยพบมา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใช้ทิพยจักขุญาณตรวจดูวาระจิตของภิกษุเหล่านั้นด้วย ความห่วงใย ดุจบิดามารดาห่วงใยบุตร ทรงเล็งเห็นทุกข์ภัยที่จะเกิดขึ้นแก่ภิกษุเหล่า นั้น จึงโปรดให้พระอานนท์ จัดการให้พระภิกษุเหล่านั้นมาประชุมพร้อมกัน แล้วพระพุทธองค์จึงตรัสว่า
   
                    " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่ลับย่อมไม่มีในโลก บัณฑิตในกาลก่อน  เห็นอย่างนี้แล้ว จึงไม่ทำบาปกรรม"

          จากนั้นพระพุทธองค์จึงทรงนำเรื่องในอดีตมาแสดงแก่ภิกษุเหล่านั้น
 
          เมื่อครั้งที่พระเจ้า พรหมทัต ครองราชสมบัติในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เกิดในตระกูลพราหมณ์ ครั้นเจริญวัยก็ไปศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยา ในสำนักอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงแห่งกรุงพาราณสี และได้เป็นหัวหน้าของมานพ 500 คน ซึ่งเล่าเรียนอยู่ในสำนักเดียวกัน 
          ท่านอาจารย์มีธิดาผู้กำลังเจริญวัย ซึ่งท่านคิดจะยกให้กับมานพผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ท่านจึงคิดจะทดสอบการรักษาศีลของมานพเหล่านั้นดู
          อาจารย์จึงเรียกมานพทั้งหลายมา แล้วกล่าวว่า
   
          "ธิดาของเราเจริญวัยแล้ว เราจะจัดงานวิวาห์ให้แก่นาง จึงจำเป็นต้องใช้ผ้า และเครื่องประดับต่างๆ พวกเธอจงไปขโมยผ้าและเครื่องประดับจากหมู่ญาติของเธอมา โดยอย่าให้ใครเห็น เราจะรับเฉพาะผ้าและเครื่องประดับที่ขโมยมาโดยไม่มีใครเห็นเท่านั้น ของที่มีคนเห็นเราจะไม่รับ"
 
          มานพทั้งหลายรับคำ แล้วก็ไปขโมยของจากหมู่ญาติของตนโดยไม่ให้ใครเห็น จากนั้นก็นำมามอบ ให้กับอาจารย์ คงมีเพียงพระโพธิสัตว์เท่านั้น ที่ไม่นำสิ่งใดมาเลย อาจารย์จึงถามพระโพธิสัตว์ว่า
 
          "เธอไม่นำสิ่งใดมาเลยหรือ"
 
          พระโพธิสัตว์จึงตอบว่า

          "ครับ อาจารย์"
 
          เมื่ออาจารย์ถามถึง เหตุผล พระโพธิสัตว์จึงตอบว่า "เพราะว่าอาจารย์จะรับเฉพาะของที่เอามา โดยไม่มีใครเห็น ผมคิดว่าไม่มีการทำบาปใดๆ จะเป็นความลับไปได้เลย"
 
          แล้วพระโพธิสัตว์จึงกล่าวพระคาถาว่า
       
                    "ในโลกนี้ ย่อมไม่มีที่ลับแก่ผู้กระทำบาปกรรม ต้นไม้ที่เกิดในป่า
            ยังมีคนเห็น คนพาล ย่อมสำคัญผิด คิดว่าบาปกรรมนั้นเป็นความลับ
            ข้าพเจ้าย่อมไม่เห็นที่ลับ แม้ที่ว่างเปล่าก็ไม่มี ในที่ใดว่างเปล่า ถึงแม้
            ข้าพเจ้าจะไม่เห็นใคร ที่นั้น ย่อมไม่ว่างเปล่าจากตัวข้าพเจ้า"

          เมื่ออาจารย์ได้ฟังดังนั้นก็เกิดความรู้สึกเลื่อมใสในตัวพระโพธิสัตว์ยิ่งนัก จึงกล่าวกับพระโพธิสัตว์ว่า
   
          "ดูก่อนพ่อ ในเรือนของเราไม่มีทรัพย์สินอะไร แต่เรามีความประสงค์จะมอบธิดาของเราให้แก่ผู้ที่สมบูรณ์ด้วยศีล เราต้องการทดสอบมานพทั้งหลาย จึงได้ทำอย่างนี้ และธิดาของเราเหมาะสมกับท่าน เท่านั้น แล้วจึงประดับตกแต่งธิดามอบให้แก่พระโพธิสัตว์ พร้อมทั้งกล่าวกับมานพทั้งหลายว่า
   
          "สิ่งของที่พวกเธอได้นำมา จงนำกลับไปคืนยังเรือนของพวกเธอเถิด"
 
          ครั้นพระสัมมาสัมพุทธ เจ้าแสดงพระธรรมเทศนานี้จบลง  ภิกษุเหล่านั้นจึงเกิดความละอายและเกรงกลัวบาปอกุศล ต่างรักษาสติอยู่ในธรรมจนกระทั่งจิตเป็นสมาธิ เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงทราบว่าจิตของภิกษุเหล่านั้นเป็นสมาธิดีแล้วจึงทรงประกาศอริยสัจ ในเวลาจบอริยสัจนั้นเอง ภิกษุทั้ง 500 รูปได้ตั้งอยู่ในพระอรหัต
 
          พระโพธิสัตว์สามารถรักษา ศีลได้อย่างหมดจดงดงามทั้งที่ท่านเป็นเพียงคนธรรมดาสามัญ เป็นมานพผู้อ่อนเยาว์อยู่ในวัยเล่าเรียน ทั้งยังต้องตกอยู่ในภาวะบีบคั้น อันเนื่องมาจากคำสั่งของผู้เป็นอาจารย์ แต่ท่านกลับเลือกที่จะทำในสิ่งที่สวนทางกับสังคมคนรอบข้างอย่างไม่หวั่นไหว ทั้งนี้เพราะท่านมีหิริ โอตตัปปะ อยู่ในใจ จึงไม่ยอมให้สิ่งใดมาเป็นข้ออ้าง หรือเงื่อนไขให้กระทำผิดศีลได้เลย
 
          ผู้รักษาศีลด้วย หิริ โอตตัปปะ จึงรักษาได้อย่างมั่นคง และรักษาด้วยความจริงใจโดยไม่ต้อง ให้ใครมาดูแลกำกับ
 
          ตรงข้ามกับผู้ที่ปราศจาก หิริ โอตตัปปะ นอกจากจะเป็นผู้ไม่ขวนขวายในการสมาทานศีลแล้ว ยัง เป็นผู้ที่ล่วงละเมิดศีลได้ง่าย ไม่ว่าเวลาใด หรือในที่แห่งใด ไม่ล่วงในที่แจ้ง ก็ล่วงในที่ลับ เพราะไม่มี หิริ   โอตตัปปะ คอยดูแลกำกับนั่นเอง
 
          ดังคำกล่าวที่ว่า
 
          "เมื่อมีหิริ และโอตตัปปะอยู่            ศีลก็เกิดขึ้น และตั้งอยู่ได้
           เมื่อไม่มีหิริ และโอตตัปปะ            ศีลก็ไม่เกิดขึ้น และตั้งอยู่ไม่ได้
 
          หิริ โอตตัปปะ จึงเป็นธรรมะที่สร้างสรรค์สังคมให้ร่มเย็นเป็นสุข ให้ทุกชีวิตปลอดภัย ได้พบ แต่สิ่งที่ดีงาม มีความก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป ทั้งในชาติปัจจุบัน และสัมปรายภพ

          การเกิดหิริ
 
          แม้ว่า หิริ โอตตัปปะ จะเป็นธรรมะที่สูงส่งถึงเพียงนี้ แต่กลับเป็นธรรมะที่สร้างสมขึ้นได้ ด้วยวิธีง่ายๆ กล่าวคือ
 
          หิริ ความละอายต่อบาป เกิดขึ้นด้วยการพิจารณาถึงฐานะของตนเอง 4 ประการ คือ
 
          1. พิจารณาถึงชาติกำเนิดของตนเองว่า ตัวเราเกิดในตระกูลที่ประกอบอาชีพสุจริต เราจึง ไม่ควรผิดศีล เลี้ยงชีพในทางที่ผิด ให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่วงศ์ตระกูล
 
          2. พิจารณาถึงอายุของตน เองว่า คนมีอายุเช่นเรา ได้รับการสั่งสอนอบรมมาแล้ว ทั้งยังได้เรียน รู้จากประสบการณ์ชีวิตว่า อะไรดี อะไรชั่ว ถ้าเรายังผิดศีล ก็เสียทีที่มีอายุมากเสียเปล่า แต่ไม่มีสติปัญญา ตักเตือนตนเองเสียเลย

          3. พิจารณาถึงความกล้าหาญของ ตนเองว่า ตัวเราต้องมีความกล้าหาญ ตั้งใจมั่นอยู่ในคุณความดี บำเพ็ญประโยชน์เพื่อตนเอง และผู้อื่น ต่างจากผู้ที่ทำผิดศีล เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่นให้เดือดร้อน เพราะมีจิตใจอ่อนแอ ตกอยู่ในอำนาจของกิเลส
 
          4. พิจารณาถึงความเป็นพหูสูตของ ตนเองว่า ตัวเรานั้นเป็นผู้ศึกษาธรรมะมามาก มีหลัก ธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ เราจึงควรเป็นผู้มีศีล มีการกระทำอันงาม ต่างจากคนพาลซึ่งทำบาปอกุศล เพราะไม่มีหลักธรรมใดๆ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ

          การเกิดโอตตัปปะ
 
          โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อบาป เกิดขึ้นได้เพราะกลัวว่าตนเองจะเดือดร้อนในภายหลัง จากภัย 4 ประการ คือ
 
          1. ภัยเพราะติเตียนตนเอง เมื่อทำผิดศีล เราย่อมรู้สึกเดือดร้อน กระวนกระวายใจในภายหลัง เพราะนึกติเตียนตนเองที่ทำในสิ่งไม่สมควร
 
          2. ภัยจากการที่ผู้อื่นติเตียน เมื่อบัณฑิต ได้รู้ถึงการกระทำที่ผิดศีลของเรา เขาย่อมติเตียนว่า เราเป็นคนพาล เป็นผู้กระทำบาปกรรม เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่นให้เดือดร้อน
 
          3. ภัยจากอาชญา เมื่อเราผิดศีลจนเป็นผลให้ผู้อื่นเดือดร้อน ย่อมต้องถูกลงโทษจากกฎหมาย บ้านเมือง ได้รับความเดือดร้อนตอบแทนกลับมา
 
          4. ภัยในทุคติ การผิดศีล ย่อมจะนำเราไปสู่อบายภูมิ มีนรก สัตว์เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย ทำให้ต้องประสบทุกข์ภัยเป็นอันมากในภพชาติเบื้องหน้า เมื่อละจากโลกไปแล้ว
 
          ด้วยวิธีการหมั่นฝึกคิด พิจารณาเช่นนี้ ในที่สุด หิริ โอตตัปปะ จะเกิดขึ้นในใจของเราอย่างแน่นอน และเมื่อนั้นการรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ย่อมไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป


บทสรุปอานิสงส์ของศีล


          อานิสงส์ของศีล สามารถกล่าวโดยสรุปได้เป็น 3 ข้อใหญ่ ได้ดังนี้
 
                    "สีเลนะ  สุคะติง  ยันติ
                     สีเลนะ  โภคะสัมปะทา
                     สีเลนะ  นิพพุติง  ยันติ
                     ตัสมา  สีลัง  วิโสธะเย" 


          มีความหมายดังต่อไปนี้
 
          1. สีเลนะ สุคะติง ยันติ แปลว่า ศีลทำให้ไปสู่สุคติ 
 
          2. สีเลนะ โภคะสัมปะทา  แปลว่า ศีลทำให้มีโภคทรัพย์
 
          3. สีเลนะ นิพพุติง ยันติ  แปลว่า ศีลทำให้ไปพระนิพพาน 


          โดยเฉพาะในข้อ 3 นี้ หมายความว่า ศีลมีส่วนทำให้ไปถึงพระนิพพานได้ ถ้าไม่มีศีลก็ไปพระ-นิพพานไม่ได้ และพระนิพพานมีความหมายเป็น 2 นัย ด้วยกัน คือ
 
          1. พระนิพพานขั้นต้น หมายถึง คนที่มีศีลย่อมเกิดความสบายใจ จะอยู่ที่ใดก็สงบร่มเย็นเป็นสุข
 
          2. พระนิพพานขั้นสูง หมายถึง ศีลทำให้ผู้รักษาหมดกิเลส ผู้ที่หมดกิเลสย่อมได้ไปพระนิพพานทั้งสิ้น


ที่มา   http://main.dou.us/view_content.php?s_id=383
28251  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ศีลจะขาดหรือไม่ ให้นำองค์ของศีลมาวินิจฉัย เมื่อ: ธันวาคม 26, 2009, 05:13:51 pm
          องค์แห่งการประพฤติผิดในกาม
 
          การประพฤติผิดในกามต้องประกอบด้วยองค์ 41 คือ
 
          1. หญิงหรือชายที่ไม่ควรละเมิด
 
          2. มีจิตคิดจะเสพเมถุน
 
          3. ประกอบกิจในการเสพเมถุน
 
          4. ยังอวัยวะเพศให้ถึงกัน

          หญิงที่ต้องห้าม มี 3 จำพวก
 
          1. หญิงมีสามี
 
          2. หญิงที่อยู่ในความปกครองดูแลของบิดามารดาหรือญาติ
 
          3. หญิงที่ประเพณีหวงห้าม เช่น หญิงที่กฎหมายหวงห้าม หญิงนักบวช

          ชายที่ต้องห้าม มี 2 จำพวก
 
          1. ชายที่ไม่ใช่สามีของตน
 
          2. ชายที่ประเพณีหวงห้าม เช่น นักบวช
         
          การประพฤติผิดในกาม มีโทษมากหรือโทษน้อย ขึ้นอยู่กับ   
          1. คุณความดีของผู้ที่ถูกละเมิด
 
          2. ความแรงของกิเลส
 
          3. ความเพียรพยายามในการประพฤติผิดในกามนั้น

          7.2.4 การพูดเท็จ

          องค์แห่งการพูดเท็จ
          การพูดเท็จต้องประกอบด้วยองค์ 4 คือ
 
          1. เรื่องไม่จริง
 
          2. มีจิตคิดจะพูดให้ผิดไปจากความจริง
 
          3. พยายามที่จะพูดให้ผิดไปจากความจริง
 
          4. คนฟังเข้าใจความที่พูดนั้น

          ลักษณะของการพูดเท็จ การพูดเท็จ มี 7 ประการ คือ
 
          - การพูดปด ได้แก่ การโกหก
 
          - การสาบาน ได้แก่ การทำให้ผู้อื่นหลงเชื่อด้วยการสาบาน
 
          - การทำเล่ห์กระเท่ห์ ได้แก่ การอวดอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันไม่เป็นจริง
 
          - มารยา ได้แก่ การแสดงอาการให้เขาเห็นผิดจากที่เป็นจริง
 
          - ทำเลศ ได้แก่ การพูดเล่นสำนวน คลุมเครือ ให้คนฟังเข้าใจผิด
 
          - พูดเสริมความ ได้แก่ การเสริมให้มากกว่าความเป็นจริง
 
-   พูดอำความ ได้แก่ การตัดข้อความที่ไม่ประสงค์จะให้รู้ออกเสีย เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน


          การพูดอนุโลมการพูดเท็จ มี 2 ประการ คือ
 
          1. อนุโลมพูดเท็จ คือ เรื่องที่ไม่จริง แต่พูดโดยมีเจตนาให้คนอื่นเชื่อถือ ได้แก่
 
          - เสียดแทง เป็นการว่าผู้อื่นให้เจ็บใจ เช่น การประชด การด่า
 
          - สับปลับ เป็นการพูดปดด้วยความคะนองปาก
 
          2. ปฏิสสวะ คือ การรับคำของผู้อื่นด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์ แต่ภายหลังเกิดกลับใจไม่ทำตามที่รับนั้น ได้แก่
 
          - ผิดสัญญา คือ การที่สองฝ่ายทำสัญญาต่อกัน แต่ภายหลังฝ่ายหนึ่งได้บิดพลิ้ว ไม่ทำตาม ที่สัญญาไว้
 
          - เสียสัตย์ คือ การที่ฝ่ายหนึ่งได้ให้คำสัตย์ไว้ แต่ภายหลังได้บิดพลิ้วไม่ทำตามนั้น
 
-   คืนคำ คือการรับคำว่าจะทำสิ่งนั้นๆ โดยไม่มีข้อแม้ แต่ภายหลังหาได้ทำตามนั้นไม่



                    ยถาสัญญา คือ การพูดตามโวหารที่ตนเองจำได้ ถือว่าไม่ผิดศีล มี 4 ประการ
 
          1. พูดโวหาร ได้แก่ การพูดหรือเขียนตามธรรมเนียม เช่น ขอแสดงความเคารพอย่างสูง ซึ่งใจจริงอาจไม่เคารพ เลยก็ได้ เช่นนี้ถือว่าไม่ผิดศีล
 
          2. การเล่านิทานหรือนิยายให้ผู้อื่นฟัง หรือแต่งเรื่องขึ้นเพื่อใช้เป็นบทละคร หรือภาพยนตร์
 
          3. การพูดด้วยความเข้าใจผิด
 
          4. การพูดเพราะความพลั้งเผลอ

                    การพูดเท็จ มีโทษมากหรือโทษน้อย ขึ้นอยู่กับ
 
          1. ความเสียหายที่เกิดขึ้นว่ามากน้อยเพียงใด
 
          2. คุณความดีของผู้ที่ถูกละเมิด
 
          3. ผู้พูดนั้นเป็นใคร เช่น
 
          - คฤหัสถ์ที่โกหกว่า "ไม่มี" เพราะไม่อยากให้ของของตน อย่างนี้มีโทษน้อย แต่การเป็นพยาน เท็จมีโทษมาก
 
          - บรรพชิตพูดเล่นมีโทษน้อย แต่การพูดว่าตน "รู้เห็น" ในคุณวิเศษที่ตนไม่รู้ไม่เห็นมีโทษมาก

          7.2.5 การดื่มน้ำเมา

          องค์แห่งการดื่มน้ำเมา
 
          การดื่มน้ำเมาต้องประกอบด้วยองค์ 4 คือ
 
          1. น้ำที่ดื่มเป็นน้ำเมา
 
          2. มีจิตคิดจะดื่ม
 
          3. พยายามดื่ม
 
          4. น้ำเมานั้นล่วงพ้นลำคอลงไป

          การดื่มน้ำเมา มีโทษมากหรือโทษน้อย ขึ้นอยู่กับ 
          1. อกุศลจิตหรือกิเลสในการดื่ม
 
          2. ปริมาณที่ดื่ม
 
          3. ผลที่เกิดจากการกระทำผิดพลาด ชั่วร้าย ที่ตามมาจากการดื่มน้ำเมา
 
          - สุรา ได้แก่ น้ำเมาที่ถูกกลั่นให้มีรสชาติเข้มข้น เช่น เหล้าต่างๆ
 
          - เมรัย ได้แก่ น้ำเมาที่ไม่ได้กลั่น เช่น เหล้าดิบ กระแช่ น้ำตาลเมา ฯลฯ
 
          นอกจากนี้ การงดเว้นจากการเสพสิ่งเสพติดต่างๆ เช่น ฝิ่น กัญชา ยาบ้า เฮโรอีน รวมถึงวัตถุทุก ชนิดที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาท ก่อให้เกิดความมึนเมา ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนได้ ก็รวมอยู่ในศีลข้อนี้เช่นกัน
 
          จากความรู้ในเรื่อง องค์วินิจฉัยศีล เราจะสามารถตอบข้อสงสัยได้ว่า การกระทำใดเป็นการกระทำที่ผิดศีล ทำให้ศีลขาด ทะลุ ด่าง หรือพร้อย ตัวอย่างเช่น การที่เราไล่ยุง แล้วบังเอิญทำให้ยุงตาย โดยที่เรามิได้มีจิตคิดจะฆ่ายุงเลย อย่างนี้เรียกว่ายังไม่ผิดศีล ศีลยังไม่ขาด เพราะเป็นการกระทำที่ไม่ครบ องค์ 5 ของการฆ่าสัตว์
 
          อย่างไรก็ตาม การละเมิดศีลในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็น ศีลขาด ศีลทะลุ ศีลด่าง หรือศีลพร้อย หากเกิดขึ้นด้วยเจตนาที่จะล่วงละเมิด แม้ว่าบางกรณีศีลจะยังไม่ขาดก็ตาม แต่บาปได้เกิดขึ้นมาในใจ เป็นเหตุให้ใจต้องเศร้าหมอง และหากละเมิดศีลในกรณีที่เกิดโทษมาก เป็นบาปมาก คุณภาพใจจะยิ่งถูกทำลายให้เศร้าหมองมากยิ่งขึ้น เราจึงควรศึกษาในเรื่องเหล่านี้ เพื่อให้การรักษาศีลของเรา เป็นไปด้วยความรู้ความเข้าใจ อันจะนำมาซึ่งการรักษาใจได้อย่างบริสุทธิ์ สะอาด ไม่เดือดเนื้อร้อนใจในภายหลัง

7.3 วิธีการรักษาศีล

          การรักษาศีลสามารถกระทำ ได้อย่างง่ายๆ  โดยมีเจตนาหรือมีความตั้งใจจะรักษาศีล  ละเว้นความชั่วทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ โดยระลึกนึกถึงศีลไปทีละข้อ ด้วยความรู้สึกว่า จะพยายามรักษาศีลแต่ละข้อนั้นให้ดี เพียงเท่านี้เราก็พร้อมแล้วที่จะรักษาศีล และหากว่าต้องประสบกับเหตุการณ์ หรือโอกาสที่อาจล่วงละเมิดศีล ก็พยายามหลีกเลี่ยงเสีย ด้วยคิดว่าเราได้ตั้งใจสมาทานศีลมาแล้ว เช่นนี้ชื่อว่าเราได้รักษาศีลแล้ว
 
          จากนั้นในแต่ละวัน ก็หมั่นนึกถึงศีลเราว่า เราได้รักษาศีลได้ดีมากน้อยเพียงใด หากพลาดพลั้งกระทำผิดศีลเข้า จะด้วยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม เราก็เริ่มต้นรักษาใหม่ ด้วยความตั้งใจว่า เราจะไม่ล่วงละเมิดอีก ส่วนศีลข้อใดที่เรารักษาไว้ดีแล้ว ก็ให้ตั้งใจรักษาต่อให้ยิ่งๆ ขึ้นไปอีก ทำให้เป็นความเคยชิน จนกระทั่งกลายเป็นนิสัยติดตัวไป ด้วยวิธีการอย่างนี้ การรักษาของเราก็สามารถกระทำได้โดยง่าย โดยไม่รู้สึกว่า เป็นเรื่องที่หนักหนาสาหัสแต่อย่างใด
 
          นอกจากนี้ยังมีวิธีการ ที่จะช่วยให้เราสามารถรักษาศีลได้อย่างมั่นคง นั่นคือ การกล่าวคำสมาทานศีล เพราะการสมาทานศีล เป็นการแสดงออกซึ่งความสมัครใจอย่างเต็มที่ที่จะรักษาศีล โดยขอให้พระภิกษุสงฆ์เป็นสักขีพยานในการทำความดีอันยิ่งใหญ่นี้ แล้วเราจึงอาราธนาและสมาทานศีล ด้วยการเปล่งวาจาอย่างอาจหาญให้พระภิกษุสงฆ์ได้ยินอย่างชัดเจน
 
          เมื่อ กาย วาจา ใจ ของเราได้แสดงความมุ่งมั่น ยืนยันที่จะรักษาศีลต่อหน้าพระภิกษุสงฆ์ผู้เป็นสักขีพยานแล้ว  เราย่อมมีความรัก  และความเคารพในศีลของเราอย่างเต็มเปี่ยม เมื่อเรารักษาศีลด้วย ความรู้สึกอันงดงามเช่นนี้ ศีลของเราก็ย่อมจะบริสุทธิ์งดงามโดยไม่ต้องสงสัยใดๆ
 
คำอาราธนาศีล 5
 
          มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะฯ
          (ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขออาราธนาศีล 5 พร้อมด้วยไตรสรณะ เพื่อประโยชน์แก่ การรักษาศีล)
 
          ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะฯ
          (ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขออาราธนาศีล 5 พร้อมด้วยไตรสรณะ เพื่อประโยชน์แก่ การรักษาศีล แม้ครั้งที่สอง)
 
          ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะฯ
          (ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขออาราธนาศีล 5 พร้อมด้วยไตรสรณะ เพื่อประโยชน์แก่ การรักษาศีล แม้ครั้งที่สาม)
 
          (ถ้าอาราธนาศีลเพื่อตนเองตามลำพัง ให้เปลี่ยน มะยัง เป็น อะหัง และ ยาจามะ เป็น ยาจามิ)

           นมการคาถา (กล่าวคำนอบน้อม)
          นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะฯ (กล่าว 3 หน)
          (ขอนอบน้อมถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ห่างไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง)
 
          คำขอสรณคมน์
 
          พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
          (ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ)
 
          ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
          (ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมว่าเป็นสรณะ)
 
          สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
          (ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ)
 
          ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
          (ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ แม้ครั้งที่สอง)
 
          ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
          (ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมว่าเป็นสรณะ แม้ครั้งที่สอง)
 
          ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
          (ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ แม้ครั้งที่สอง)
 
          ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
          (ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ แม้ครั้งที่สาม)
 
          ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
          (ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมว่าเป็นสรณะ แม้ครั้งที่สาม)
 
          ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
          (ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ แม้ครั้งที่สาม)

          คำสมาทานศีล 5 (เพื่อการถือเอาศีลมาถือปฏิบัติ)
 
28252  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ศีลจะขาดหรือไม่ ให้นำองค์ของศีลมาวินิจฉัย เมื่อ: ธันวาคม 26, 2009, 05:11:29 pm
                                              การรักษาศีล
7.1 วิรัติ หรือ เวรมณี

          แม้ว่า ศีล จะเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วโดยธรรมชาติของมนุษย์ก็ตาม แต่การจะได้ชื่อว่าเป็นผู้รักษาศีลนั้น ย่อมมิใช่เพียงแค่การไม่ทำความชั่วแต่เพียงอย่างเดียว เพราะบางคนที่ยังไม่ทำความชั่ว อาจเป็นเพราะยังไม่มีโอกาสที่จะทำ เช่น นักโทษที่ถูกกักขังไว้ ไม่มีโอกาสไปเบียดเบียนใคร ย่อมไม่อาจบอกได้ว่า เขาเป็นผู้  รักษาศีล หรือเด็กทารกที่นอนอยู่ในแปล แม้จะไม่ได้ทำความชั่วอะไร แต่ก็เป็นไปเพราะความที่ไม่รู้เดียงสา จึงไม่อาจกล่าวว่าเด็กนั้นรักษาศีลได้
 
          เพราะศีลนั้น สำคัญที่เจตนา การจะได้ชื่อว่าเป็นผู้รักษาศีล จึงต้องเริ่มต้นที่ความตั้งใจ และ ความตั้งใจงดเว้นจากความชั่ว นี่เอง คือความหมายของคำว่า วิรัติ หรือ เวรมณี
 .
          "วิรัติ" จึงเป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงการมีศีล บุคคลใดก็ตาม จะได้ชื่อว่าเป็นผู้มีศีล รักษาศีล ก็ต่อเมื่อมีวิรัติ     
อย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้
 
          1. สมาทานวิรัติ
 
          2. สัมปัตตวิรัติ

          3. สมุจเฉทวิรัติ

          7.1.1 สมาทานวิรัติ
          สมาทานวิรัติ คือ ความตั้งใจงดเว้นจากบาป เพราะได้สมาทานศีลไว้แล้ว หมายความว่าเราได้  ตั้งใจไว้ก่อนว่าจะรักษาศีล ครั้นไปพบเหตุการณ์ที่ชวนให้ล่วงละเมิดศีล ก็ไม่ยอมให้ศีลขาด ดังมีเรื่องเล่าถึง การสมาทานวิรัติของอุบาสกท่านหนึ่ง

                                                  อุบาสกผู้หนึ่ง
          ณ ประเทศศรีลังกา  อุบาสกผู้หนึ่งได้รับศีลจากพระปิงคลพุทธรักขิตเถระแห่งอัมพริยวิหาร วันหนึ่ง อุบาสกผู้นี้ได้ออกไปไถนา พอถึงเวลาพัก ก็ปลดโคออกจากไถปล่อยให้กินหญ้าไปตามสบาย ปรากฏว่า โคได้หายไป เขาจึงออกตามหา จนไปถึงภูเขาชื่อทันตรวัฑฒมานะ ณ ที่นั้นเอง เขาได้ถูกงูเหลือมตัวหนึ่งรัด เข้า จึงชักมีดอันคมกริบออกมา เงื้อขึ้นหมายจะฆ่างูนั้น แต่แล้วเขากลับฉุกคิดได้ว่า
 
          "ตัวเรานี้ได้รับศีลจากพระเถระผู้เป็นที่เคารพศรัทธา การจะมาล่วงละเมิดศีลเช่นนี้ช่างไม่สมควรเลย�
 เขาได้เงื้อมีดขึ้นถึง 3 ครั้ง แต่ในที่สุดก็ตกลงใจว่า เราจะยอมสละชีวิต แต่จะไม่ยอมสละศีล"
 
          คิดได้ดังนี้จึงโยนมีดทิ้งไป ด้วยเดชแห่งศีลที่ตั้งใจรักษา จึงทำให้งูเหลือมใหญ่นั้นคลายตัวออก แล้วเลื้อยหนีเข้าป่าไป

           7.1.2 สัมปัตตวิรัติ
           สัมปัตตวิรัติ คือ ความตั้งใจงดเว้นจากบาปเมื่อเกิดเรื่องขึ้นเฉพาะหน้า แม้ว่าเดิมทีนั้น ไม่ได้สมาทานศีลไว้ แต่เมื่อไปพบเหตุการณ์ที่ชวนให้ล่วงละเมิดศีล ก็คำนึงถึง ชาติ ตระกูล การศึกษา หรือความดีต่างๆ เป็นต้น จึงทำให้เกิดความตั้งใจที่จะงดเว้นจากบาปเวรขึ้นในขณะนั้นนั่นเอง ดัง เช่นเรื่องราวของจักกนอุบาสก

                                                  จักกนอุบาสก
 
          เมื่อครั้งที่จักกนะ อุบาสกยังเล็กอยู่นั้น มารดาของเขาได้ล้มป่วยลง หมอบอกว่าต้องใช้เนื้อกระต่าย เป็นๆ มาทำยารักษาจึงจะหาย พี่ชายของจักกนะจึงบอกให้เขาไปหากระต่ายมา จักกนะจึงออกไปที่ทุ่งนา และได้พบกระต่ายน้อยตัวหนึ่งกำลังกินข้าวกล้าอยู่ เมื่อกระต่ายน้อยเห็นจักกนะ มันจึงรีบวิ่งหนี แต่ก็หนีไม่พ้น เพราะบังเอิญไปถูกเถาวัลย์พันตัวไว้ ได้แต่ร้องอยู่ จักกนะจึงจับตัวมาได้ แต่เมื่อเห็นอาการลนลานด้วยความ กลัวของกระต่ายน้อย เขาเกิดความสงสาร คิดขึ้นมาว่า

          "ควรหรือที่เราจะเอาชีวิตของผู้อื่นมาเพื่อช่วยชีวิตมารดาของเรา"

          จักกนะจึงปล่อยกระต่ายน้อยตัวนั้น พร้อมกับกล่าวว่า

          "เจ้าจงไปกินหญ้ากินน้ำของเจ้าตามสบายเถิด"
 
          เมื่อกลับมาถึงบ้าน จักกนะถูกพี่ชายซักถาม จึงเล่าความจริงให้ฟัง และถูกพี่ชายต่อว่าอย่างมากมาย แต่เขาก็มิได้โต้ตอบ ได้แต่ขยับเข้าไปใกล้ๆ มารดา แล้วกล่าวสัจวาจาว่า
 
          ตั้งแต่ข้าพเจ้าเกิดมา ยังไม่เคยจงใจฆ่าสัตว์ใดเลย ด้วยคำสัตย์นี้ ขอให้มารดาจงหายจากโรคเถิด
 ทันใดนั้นเอง มารดาของเขาก็หายป่วยเป็นอัศจรรย์

           7.1.3 สมุจเฉทวิรัติ
          สมุจเฉทวิรัติ หรือ เสตุฆาตวิรัติ คือ การงดเว้นจากบาปได้อย่างเด็ดขาด เป็นวิรัติของพระอริยเจ้า ซึ่งละกิเลส คือ ความโลภ โกรธ หลง ได้แล้ว เมื่อใจท่านปราศจากกิเลสที่เป็นเหตุให้ทำความชั่ว จึงไม่มีการผิดศีลอย่างแน่นอน
 
          จะเห็นว่า วิรัติ นั้นเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เพราะการกระทำใดๆ ก็ตาม หากปราศจากความตั้งใจมุ่งมั่น แล้ว การกระทำนั้นๆ ย่อมไม่หนักแน่นมั่นคง พร้อมจะแปรเปลี่ยนอยู่เรื่อยไป ดังนั้น แม้จะยังไม่ได้ทำความ ชั่วขึ้นก็ตาม แต่ถ้าหากไม่มีวิรัติ ก็ไม่จัดว่าเป็นการรักษาศีล

7.2 องค์แห่งศีล
 
          แม้ว่าเราจะตั้งใจรักษา ศีลอย่างดี แต่ก็มีบางครั้งบางคราวที่เราอาจพลาดพลั้งเบียดเบียนชีวิตผู้อื่น โดยที่เราเองก็มิได้ตั้งใจ  ซึ่งก็อาจเป็นไปเพราะความจำเป็นบางอย่าง  หรืออาจเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แต่ละเหตุผลนั้นล้วนเป็นเหตุให้เราเกิดความไม่สบายใจ หรือเกิดความสงสัยขึ้นว่า การกระทำของเรา ผิดศีล หรือ ศีลขาดหรือไม่ และบางคนถึงกับเกิดความทุกข์ใจในการรักษาศีล ว่าเป็นเรื่องที่ยากเกินกว่าวิสัยของเรา หรือไม่ ซึ่งความจริงมิได้เป็นเช่นนั้นเลย
 
          เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และสามารถรักษาศีลอย่างถูกต้อง  จึงมีความจำเป็นที่เราต้องศึกษา ข้อวินิจฉัยของศีลแต่ละข้อ ว่าการกระทำอย่างใดจึงถือว่าศีลขาด อย่างไรถือว่า ศีลทะลุ ศีลด่าง ศีลพร้อยซึ่งข้อวินิจฉัย มีดังต่อไปนี้

           7.2.1 การฆ่าสัตว์
 
          องค์แห่งการฆ่าสัตว์ 
          การฆ่าสัตว์ต้องประกอบด้วยองค์ 5 คือ
 
          1. สัตว์นั้นมีชีวิต
 
          2. รู้อยู่ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต
 
          3. มีจิตคิดจะฆ่าสัตว์นั้น
 
          4. มีความพยายามฆ่าสัตว์นั้น
 
          5. สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น
 
          การฆ่าอันประกอบด้วยองค์ 5 นี้ ไม่ว่าจะฆ่าเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นฆ่า หรือแม้แต่การยุยงให้สัตว์ ฆ่ากันเองจนกระทั่งตายไปข้างหนึ่งก็ตาม เช่น การจับไก่มาตีกัน จนกระทั่งไก่ตายไป หรือที่เรียกว่า ชนไก่ ทั้งหมดเรียกว่าศีลขาดทั้งสิ้น แต่หากไม่ครบองค์ เช่น พยายามฆ่า แต่สัตว์นั้นไม่ตาย ก็เรียกว่า ศีลทะลุ และถ้าลดหลั่นลงมาอีก ก็เรียกว่า ศีลด่าง ศีลพร้อย

          อนุโลมการฆ่า 
          นอกจากการฆ่าสัตว์โดยตรง ดังที่กล่าวมาแล้ว การทำร้ายร่างกาย การทรมานให้ได้รับ ความลำบาก เรียกว่า อนุโลมการฆ่า ก็เป็นสิ่งที่ควรเว้น
 
          อนุโลมการฆ่า มีลักษณะดังต่อไปนี้
 
          - การทำร้ายร่างกาย ในที่นี้หมายถึงการกระทำต่อมนุษย์ด้วยกัน อันได้แก่
 
          - ทำให้พิการ
 
          - ทำให้เสียโฉม
 
          - ทำให้บาดเจ็บ
 
          - การทารุณกรรม ในที่นี้หมายถึงการทำต่อสัตว์เดรัจฉาน อันได้แก่
 
          - การใช้ เช่น การใช้งานเกินกำลังของสัตว์ ไม่ให้สัตว์ได้พักผ่อน หรือไม่บำรุงเลี้ยงดูตามสมควร
 
          - กักขัง เช่น การผูกมัด หรือขังไว้ โดยที่สัตว์นั้นไม่สามารถเปลี่ยนอิริยาบถได้ หรือไม่มีความสุข เช่น ขังนก ขัง
           ปลาไว้ในที่แคบ
 
          - นำไป เช่น การผูกมัดสัตว์แล้วนำไป โดยผิดอิริยาบถของสัตว์ ทำให้สัตว์ได้รับความทุกข์ทรมาน
 
          - เล่นสนุก ได้แก่ การรังแกสัตว์ต่างๆ เพื่อความสนุกสนาน
 
          - ผจญสัตว์ ได้แก่ การนำสัตว์มาต่อสู้กัน เช่น ชนโค
 
          การฆ่าโดยตรงถือว่าศีลขาด ส่วนอนุโลมการฆ่า ไม่นับว่าศีลขาด แต่ถือว่า ศีลทะลุ ศีลด่าง ศีลพร้อย ซึ่งจะให้ผลมากน้อยแตกต่างกันไป

          การฆ่าสัตว์ มีโทษมากหรือโทษน้อย ขึ้นอยู่กับ 
          1. คุณของสัตว์นั้น การฆ่าสัตว์ที่มีคุณมาก จะมีโทษมากกว่าการฆ่าสัตว์มีคุณน้อยหรือไม่มีคุณ เช่น ฆ่าพระอรหันต์ มีโทษมากกว่าฆ่าปุถุชน ฆ่าสัตว์ช่วยงานมีโทษมากกว่าฆ่าสัตว์ดุร้าย เป็นต้น
 
          2. ขนาดกาย สำหรับสัตว์เดรัจฉาน เมื่อเทียบกับพวกที่ไม่มีคุณเหมือนกัน การฆ่าสัตว์ใหญ่ มีโทษมากกว่าการฆ่าสัตว์เล็ก
 
          3. ความพยายาม มีความพยายามในการฆ่ามาก มีโทษมาก มีความพยายามน้อย มีโทษน้อย
 
          4. กิเลสหรือเจตนา กิเลส หรือเจตนาแรง มีโทษมาก กิเลสหรือเจตนาอ่อน มีโทษน้อย เช่นการฆ่าด้วยโทสะ หรือความเกลียดชัง มีโทษมากกว่าการฆ่าเพื่อป้องกันตัว

          7.2.2 การลักทรัพย์
          องค์แห่งการลักทรัพย์ 
          การลักทรัพย์ต้องประกอบด้วยองค์ 51 คือ
 
          1. ทรัพย์หรือสิ่งของนั้นมีเจ้าของหวงแหน
 
          2. รู้อยู่ว่าทรัพย์นั้นมีเจ้าของหวงแหน
 
          3. มีจิตคิดจะลักทรัพย์นั้น
 
          4. มีความพยายามลักทรัพย์นั้น
 
          5. ลักทรัพย์ได้ด้วยความพยายามนั้น

          ลักษณะของการลักทรัพย์ 
          การลักทรัพย์แยกออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
 
          1. โจรกรรม มี 14 ประเภท ได้แก่
 
          - ลักขโมย ได้แก่ การขโมยทรัพย์ผู้อื่น เมื่อเขาไม่รู้ไม่เห็น
 
          - ฉกชิง ได้แก่ การแย่งเอาทรัพย์ผู้อื่นซึ่งๆ หน้า
 
          - ขู่กรรโชก ได้แก่ การทำให้เจ้าของทรัพย์เกิดความกลัว แล้วยอมให้ทรัพย์
 
          - ปล้น ได้แก่ การยกพวก ถือเอาอาวุธเข้าปล้นทรัพย์ผู้อื่น
 
          - ตู่ ได้แก่ การกล่าวตู่เอาทรัพย์ผู้อื่นมาเป็นของตน
 
          - ฉ้อโกง ได้แก่ การโกงเอาทรัพย์ผู้อื่นมาเป็นของตน
 
          - หลอก ได้แก่ การพูดปด เพื่อหลอกเอาทรัพย์ผู้อื่นมาเป็นของตน
 
          - ลวง ได้แก่ การใช้เล่ห์เหลี่ยม ลวงเอาทรัพย์ผู้อื่นด้วยวิธีการต่างๆ เช่น โกงตาชั่ง
 
          - ปลอม ได้แก่ การทำของไม่แท้ ให้เห็นว่าเป็นของแท้
 
          - ตระบัด ได้แก่ การยืมของผู้อื่น แล้วยึดเป็นของตน
 
          - เบียดบัง ได้แก่ การกินเศษกินเลย เบียดบังผลประโยชน์ของส่วนรวมมาเป็นของตน
 
          - สับเปลี่ยน ได้แก่ การแอบเอาของๆ ตน ไปเปลี่ยนกับของผู้อื่นซึ่งดีกว่า
 
          - ลักลอบ ได้แก่ การหลบภาษีการค้าขายสิ่งของผิดกฎหมาย
 
          - ยักยอก ได้แก่ การที่ทรัพย์ของตนจะถูกยึด จึงยักยอกเอาไปไว้ที่อื่นเสีย เพื่อหลบเลี่ยง การถูกยึด
 
          2. อนุโลมโจรกรรม มี 3 ประเภท ได้แก่
 
          - การสมโจร เป็นการสนับสนุนให้เกิดการโจรกรรม เช่น การรับซื้อของโจร การให้ที่พักอาศัย ให้ข้าวให้น้ำแก่โจร
 
          - ปอกลอก เป็นการคบหาผู้อื่นด้วยหวังทรัพย์ พอเขาสิ้นทรัพย์ก็เลิกคบ เป็นการ ทำให้คนสิ้นเนื้อประดาตัว
 
          - รับสินบน เช่น การที่ข้าราชการยอมทำผิดหน้าที่ เพื่อรับสินบน
 
          3. ฉายาโจรกรรม (การกระทำที่เข้าข่ายการลักขโมย) มี 2 ประการ ได้แก่
 
          - ผลาญ คือ สร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สินของผู้อื่น โดยมิได้มุ่งหวังจะเอาทรัพย์ของ  ผู้อื่นมาเป็นของตน เช่น การวางเพลิง
           
 
          - หยิบฉวย คือ การถือทรัพย์ผู้อื่นมาด้วยความมักง่าย ถือวิสาสะ

          การลักทรัพย์ มีโทษมากหรือโทษน้อย ขึ้นอยู่กับ 
          1. คุณค่าของทรัพย์สินสิ่งของนั้น
 
          2. คุณความดีของผู้เป็นเจ้าของทรัพย์นั้น
 
          3. ความพยายามในการลักทรัพย์นั้น

          7.2.3 การประพฤติผิดในกาม
28253  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / สมัยพุทธกาล มีการอุทิศบุญกุศล และการกรวดน้ำ แต่........... เมื่อ: ธันวาคม 25, 2009, 07:46:50 pm
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 276

ติโรกุฑฑสูตร

ว่าด้วยการให้ส่วนบุญแก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่พระเจ้าพิมพิสาร เป็นคาถาว่า

[๘] ฝูงเปรตพากันมายังเรือนของตน ยืนอยู่ที่

นอกฝาเรือนบ้าง ยืนอยู่ที่ทาง ๔ แพร่ง ๓ แพร่งบ้าง

ยืนอยู่ใกล้บานประตูบ้าง.

เมื่อข้าวน้ำ ของเคี้ยว ของกินเขาวางไว้เป็นอัน

มาก ญาติไร ๆ ของเปรตเหล่านั้น ก็ระลึกไม่ได้ เพราะ

กรรมของสัตว์ทั้งหลายเป็นปัจจัย.

ชนเหล่าใด เป็นผู้เอ็นดู ชนเหล่านั้นย่อมให้น้ำ

ข้าว อันสะอาด ประณีต อันสมควร ตามกาล อุทิศ

เพื่อญาติทั้งหลาย อย่างนี้ว่า ขอทานนี้แล จงมีแก่

ญาติทั้งหลาย ขอญาติทั้งหลาย จงมีสุขเถิด.

ส่วนฝูงเปรตที่เป็นญาติเหล่านั้น มาแล้ว พร้อม

แล้ว ก็ชุมนุมกันในที่ให้ทานนั้น ย่อมอนุโมทนาโดย

เคารพ ในข้าวน้ำเป็นอันมากว่า เราได้สมบัติเพราะ

เหตุแห่งญาติเหล่าใด ขอญาติเหล่านั้น ของเรา จงมี

ชีวิตยั่งยืน ทั้งการบูชา ญาติผู้เป็นทายกก็ได้กระทำแก่

พวกเราแล้ว อนึ่ง ทายกทั้งหลาย ย่อมไม่ไร้ผล.

ในปิตติวิสัยนั้น ไม่มีกสิกรรมการทำไร่การทำ

นาไม่มีโครักขกรรม การเลี้ยงโค. ในปิตติวิสัยนั้น การ

ค้าเช่นนั้น การซื้อขายด้วยเงิน ก็ไม่มี.



พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 277

ผู้ทำกาลกิริยาละไปแล้ว ย่อมยังอัตภาพให้เป็น

ไปในปิตติวิสัยนั้น ด้วยทานที่ญาติให้แล้วจากมนุษย์

โลกนี้.

น้ำตกลงบนที่ดอน ย่อมไหลไปสู่ที่ลุ่ม ฉันใด

ทานที่ทายกให้ไปจากมนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จผลแก่ฝูง

เปรตฉันนั้นเหมือนกัน.

ห้วงน้ำเต็มแล้ว ย่อมยังสาครให้เต็มฉันใด ทาน

ที่ทายกให้ไปนากมนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จผลแก่ฝูง

เปรตฉันนั้น เหมือนกัน.

บุคคลเมื่อระลึกถึงกิจที่ท่านทำมาแต่ก่อนว่าท่าน

ได้ทำกิจแก่เรา ได้ให้แก่เรา ได้เป็นญาติมิตรเป็นเพื่อน

ของเรา ดังนี้ จึงควรให้ทักษิณาแก่ฝูงเปรต.

การร้องไห้ การเศร้าโศก หรือการพิไรรำพัน

อย่างอื่น ๆ ก็ไม่ควรทำ เพราะการร้องไห้เป็นต้นนั้น

ไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ญาติทั้งหลาย ก็

คงอยู่อย่างนั้น.

ทักษิณานี้แล อันทายกให้แล้ว ตั้งไว้ดีแล้วใน

พระสงฆ์ ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่ทายกนั้น โดยฐานะ

ตลอดกาลนาน.

ญาติธรรมนี้นั้น ก็ทรงแสดงแล้ว การบูชาผู้ล่วง

ลับไปแล้ว ก็ทรงทำโอฬารแล้ว ทั้งกำลังของภิกษุ

ทั้งหลาย ก็ทรงเพิ่มให้แล้ว บุญพระองค์ก็ทรงขวน

ขวายไว้มิใช่น้อย.

จบติโรกุฑฑสูตร

อ่านและตีความให้ดีนะว่า คำว่าพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 276

ติโรกุฑฑสูตร

ว่าด้วยการให้ส่วนบุญแก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่พระเจ้าพิมพิสาร เป็นคาถาว่า

[๘] ฝูงเปรตพากันมายังเรือนของตน ยืนอยู่ที่

นอกฝาเรือนบ้าง ยืนอยู่ที่ทาง ๔ แพร่ง ๓ แพร่งบ้าง

ยืนอยู่ใกล้บานประตูบ้าง.

เมื่อข้าวน้ำ ของเคี้ยว ของกินเขาวางไว้เป็นอัน

มาก ญาติไร ๆ ของเปรตเหล่านั้น ก็ระลึกไม่ได้ เพราะ

กรรมของสัตว์ทั้งหลายเป็นปัจจัย.

ชนเหล่าใด เป็นผู้เอ็นดู ชนเหล่านั้นย่อมให้น้ำ

ข้าว อันสะอาด ประณีต อันสมควร ตามกาล อุทิศ

เพื่อญาติทั้งหลาย อย่างนี้ว่า ขอทานนี้แล จงมีแก่

ญาติทั้งหลาย ขอญาติทั้งหลาย จงมีสุขเถิด.

ส่วนฝูงเปรตที่เป็นญาติเหล่านั้น มาแล้ว พร้อม

แล้ว ก็ชุมนุมกันในที่ให้ทานนั้น ย่อมอนุโมทนาโดย

เคารพ ในข้าวน้ำเป็นอันมากว่า เราได้สมบัติเพราะ

เหตุแห่งญาติเหล่าใด ขอญาติเหล่านั้น ของเรา จงมี

ชีวิตยั่งยืน ทั้งการบูชา ญาติผู้เป็นทายกก็ได้กระทำแก่

พวกเราแล้ว อนึ่ง ทายกทั้งหลาย ย่อมไม่ไร้ผล.

ในปิตติวิสัยนั้น ไม่มีกสิกรรมการทำไร่การทำ

นาไม่มีโครักขกรรม การเลี้ยงโค. ในปิตติวิสัยนั้น การ

ค้าเช่นนั้น การซื้อขายด้วยเงิน ก็ไม่มี.



พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 277

ผู้ทำกาลกิริยาละไปแล้ว ย่อมยังอัตภาพให้เป็น

ไปในปิตติวิสัยนั้น ด้วยทานที่ญาติให้แล้วจากมนุษย์

โลกนี้.

น้ำตกลงบนที่ดอน ย่อมไหลไปสู่ที่ลุ่ม ฉันใด

ทานที่ทายกให้ไปจากมนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จผลแก่ฝูง

เปรตฉันนั้นเหมือนกัน.

ห้วงน้ำเต็มแล้ว ย่อมยังสาครให้เต็มฉันใด ทาน

ที่ทายกให้ไปนากมนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จผลแก่ฝูง

เปรตฉันนั้น เหมือนกัน.

บุคคลเมื่อระลึกถึงกิจที่ท่านทำมาแต่ก่อนว่าท่าน

ได้ทำกิจแก่เรา ได้ให้แก่เรา ได้เป็นญาติมิตรเป็นเพื่อน

ของเรา ดังนี้ จึงควรให้ทักษิณาแก่ฝูงเปรต.

การร้องไห้ การเศร้าโศก หรือการพิไรรำพัน

อย่างอื่น ๆ ก็ไม่ควรทำ เพราะการร้องไห้เป็นต้นนั้น

ไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ญาติทั้งหลาย ก็

คงอยู่อย่างนั้น.

ทักษิณานี้แล อันทายกให้แล้ว ตั้งไว้ดีแล้วใน

พระสงฆ์ ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่ทายกนั้น โดยฐานะ

ตลอดกาลนาน.

ญาติธรรมนี้นั้น ก็ทรงแสดงแล้ว การบูชาผู้ล่วง

ลับไปแล้ว ก็ทรงทำโอฬารแล้ว ทั้งกำลังของภิกษุ

ทั้งหลาย ก็ทรงเพิ่มให้แล้ว บุญพระองค์ก็ทรงขวน

ขวายไว้มิใช่น้อย.

จบติโรกุฑฑสูตร


คำ แปล....ยถา วาริวหา ปูรา ปริปูเรนฺติ สาครํ....เอวเมว อิโต ทินฺนํ เปตานํ อุปกปฺติ....ห้วงน้ำที่เต็ม ย่อมยังสมุทรสาคร ให้บริบูรณ์ได้ฉันใด....ทานที่ท่านอุทิศให้แล้วแต่โลกนี้ ย่อมสำเร็จประโยชน์ แก่ผู้ที่ละโลกนี้ไปแล้ว ฉันนั้น

อิจฺฉิตํ ปตฺถิตํ ตุมฺหํ...ขิปฺปเมว สมิชฺฌตุ ขออิฏฐผล ที่ท่านปรารถนาแล้ว ตั้งใจแล้ว.... จงสำเร็จโดย ฉับพลัน

สพฺ เพ ปูเรนฺตุ สงฺกปฺปา....จนฺโท ปณฺณรโส ยถา.... มณิ โชติรโส ยถา ขอความดำริทั้งปวง จงเต็มที่....เหมือนพระจันทร์วันเพ็ญ....เหมือนแก้วมณี อันสว่างไสว ควรยินดี


คำว่าถวายน้ำทักษิโณทก แปลว่ากรวดน้ำหรือ ? ไม่ใช้มั๊ง! พระเจ้าพิมพิสารถวายน้ำให้พระพุทธองค์แล้วคิดอุทิศบุญให้ชาวทิพย์ที่เป็น ญาติทันทีต่างหากนะ และคำที่พระท่องยถาก็มีคำแปลอยู่แล้วไม่เห็นบอกว่าให้หยาดน้ำลงอะไรให้เลอะเทอะ

    คุณลองไปทำดูนะตามนี้แหละ ให้ทานวางของปั๊บอุทิศให้ญาติทิพย์ทันที ใครเข้ามาอ่านก็ลองทำดู ให้ทานวางของปั๊บอุทิศบุญทันที แล้วชีวิตจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงอีกเยอะ เพราะการอุทิศบุญด้วยการเทน้ำนั้น ไม่มีสอนในศาสนาพุทธ แน่นอน ไม่มีกล่าวไว้ในพระสูตรใด ๆ เลย


ถ้าใครอ่านพระไตรปิฎกพบว่า การทำบุญอุทิศโดยการเทน้ำลงพื้นหรือภาชนะรองรับน้ำนั้นมีกล่าวไว้ในพระสูตร ใด เล่มไหน หน้าที่เท่าไหร่ ช่วยบอกด้วยนะ ถ้ามีปรากฎในพระสูตรอะไรจะยอมแพ้ทันที

    เพราะเวลานี้ชาวพุทธทั่วโลกทำบุญ ทำทานกันคิดว่าจะอุทิศไปให้ญาติในโลกทิพย์ แต่ทำไมเดือดร้อนกันไปทั่วโลก ไปอ่านพระไตรปิฎกกัน เถิดชาวพุทธอย่าหลงเชื่อที่ใครเขากล่าว อ่านแล้วพิสูจน์ สมกับที่เป็นศาสนาที่นักวิทยาศาสตร์อย่างไอสไตล์ยอมแพ้ ....อย่างเงียบ ๆ ...เพราะเขากลัวว่านักวิทยาศาสตร์รุ่นหลังจะอาย...

 

ที่มา   http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=20380&start=0&st=0&sk=t&sd=a


28254  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / สมัยพุทธกาล มีการอุทิศบุญกุศล และการกรวดน้ำ แต่........... เมื่อ: ธันวาคม 25, 2009, 07:37:41 pm
 ความคิดเห็นที่ 7 : (tchurit)

    ผมว่าตอนนี้บุญน่าจะไปถึงแล้วละครับ
    ถ้าคุณหายสงสัยว่า  ทำไมตอนกรวดน้ำเสร็จแล้วพระท่านให้เทใส่กระบอกแทนที่จะให้ไปเทที่ต้นไม้
    "เลยงงๆค่ะ แล้วอย่างงี้ผลบุญจะส่งถึงเจ้ากรรมนายเวรรึเปล่า ???"
    ผมว่าหายงง หายสงสัยเมื่อไหร่จิตคุณก็ส่งถึงเจ้ากรรมนายเวรเมื่อนั้นละครับ
    เออ! หรือว่าจะค้างอยู่กระบอก หรือ ถูกต้นไม้ดูดเอาไปกินอย่างที่คุณศิษย์โง่เรียนเซ็นว่านะ ???
    ขอบคุณสำหรับความรู้ว่าการกรวดน้ำมาได้อย่างไรครับ

 จากคุณ : tchurit [ 30 ก.ย. 2543 / 16:51:21 น. ]
     

 ความคิดเห็นที่ 8 : (คัดลอกมาให้อ่านครับ)

    ผู้ ถาม : กราบเรียนหลวงพ่อที่เคารพอย่างสูง สามีของลูกเลิกกันไปแล้ว ก็ตายไปแล้ว ประมาณสัก 10 วัน กว่า ก็ได้มีโอกาสถวายสังฆทานที่วัดแห่งหนึ่ง แล้วท่านก็นำน้ำมาให้กรวด แต่เวลากรวดน้ำจริงๆ ปรากฏว่าในเหยือกน้ำนั้นมีตะไคร่ดำปิ๊ดปี๋ไหลออกมา ลูกตกใจเป็นอย่างมาก ไม่ทราบว่าสามีแกจะได้รับอานิสงส์เป็นประการใดเจ้าคะ?
    หลวงพ่อ :  คิดว่าสามีแกจะกินน้ำเรอะ...มันไม่ใช่ การใช้น้ำเป็นวิธีการของพราหมณ์ ไม่ใช่พุทธ ตามพิธีกรรมของพราหมณ์ เขาจะยกอะไรให้ ยกลูกสาวให้ ยกควายให้ ยกวัวให้ ยกสมบัติให้ เขาให้คนที่รับแบมือมาแล้วเอาน้ำราดมือ เป็นการแสดงของการให้ ทีนี้การอุทิศส่วนกุศลครั้งแรกที่ พระเจ้าพิมพิสาร ทำน่ะนะ อย่าลืมว่าพระเจ้าพิมพิสารทำเป็นคนแรก และท่านเป็นพราหมณ์มาก่อน ชื่อว่า กุเวรพราหมณ์ ไงล่ะ
    ในเมื่อท่านเป็นพราหมณ์มาก่อน เวลาอุทิศส่วนกุศลตามที่พระพุทธเจ้าแนะนำ ท่านก็ใช้น้ำตามพิธีกรรมของพราหมณ์ แต่วาจาที่กล่าวเป็นลีลาของพระว่า "อิทัง โน ญาตินัง โหตุ..." แปลว่า "ขอผลบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติของข้าพเจ้า" เท่านี้เอง

    เท่านั้นบรรดา เปรตทั้งหลายก็ได้โมทนา แต่เนื้อแท้จริงๆ การอุทิศส่วนกุศลในพระพุทธศาสนาไม่จำเป็นต้องใช้น้ำ เพราะผีไม่กินน้ำนั้น เขากินอานิสงส์ มันไม่เกี่ยวกันนะ

 จากคุณ : คัดลอกมาให้อ่านครับ [ 1 ต.ค. 2543 / 15:48:54 น. ]

ที่มา   www.larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/001686.htm
____________________________________________________________________






การกรวดน้ำ

ที่มาของธรรมเนียมการกรวดน้ำ


ในสมัยพุทธกาลที่พระพุทธเจ้า
ทรงออกเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนชมพูทวีปช่วงแรกๆนั้น
ยังไม่มีธรรมเนียมการกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลแก่ผู้ตาย
หรือบรรพบุรุษของผู้กระทำกุศลแต่อย่างใด

จนกระทั่งพระเจ้าพิมพิสาร มหาราชแห่งแคว้นมคธ
ทรงเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา
และทรงถวายสวนไผ่ให้เป็นวิหารที่ประทับของพระพุทธเจ้า

ซึ่งสวนไผ่แห่งนั้นได้กลายเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา
ที่มีชื่อว่า “วัดพระเวฬุวัน”

แต่การบำเพ็ญกุศลอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้าพิมพิสารครั้งนี้
ก็ยังไม่ได้มีการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่ผู้ตาย
เนื่องจากยังไม่มีธรรมเนียมปฏิบัติ

เมื่อพระเจ้าพิมพิสารบรรทมในคืนนั้น
ก็ทรงพระสุบินเห็นเปรตหลายตนมาขอส่วนบุญ
รุ่งเช้าพระเจ้าพิมพิสารจึงนำความไปกราบทูลพระพุทธเจ้า

พระพุทธองค์จึงตรัสให้พระเจ้าพิมพิสาร
ทรงถวายทานแก่พระสงฆ์อีกครั้ง
พร้อมกับให้ตั้งจิตอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลแก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว
พระเจ้าพิมพิสารทรงกระทำตามที่พระพุทธองค์ทรงแนะนำ

พอตกดึก เหล่าเปรตทั้งหลายก็ได้มาปรากฏตัว
ในพระสุบินของพระเจ้าพิมพิสารอีกครั้งหนึ่ง
แต่มาด้วยสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส นุ่งห่มผ้าเรียบร้อย
และขออนุโมทนาในส่วนบุญที่พระเจ้าพิมพิสารทรงอุทิศไปให้

เมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงกราบทูลให้พระพุทธเจ้าทรงทราบ
พระพุทธองค์ตรัสว่าพวกเปรตเหล่านั้นในอดีตชาติ
เคยเป็นพระญาติของพระองค์

โดยครั้งนั้นพระเจ้าพิมพิสารพร้อมทั้งหมู่ญาติ
ได้ตระเตรียมจะถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสงฆ์
อันมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นประมุข

แต่เมื่อพระภิกษุสงฆ์ยังมิได้ฉันภัตตาหารนั้น
พวกญาติบางคนเกิดหิว จึงหยิบอาหารที่เตรียมไว้มารับประทาน
ด้วยผลกรรมนั้นพวกเขาจึงเกิดเป็นเปรต
เรียกว่า “ปรทัตตูปชีวิต”
(เปรตผู้อาศัยส่วนบุญที่คนเขาอุทิศให้ยังชีพ)


[พระเจ้าพิมพิสารทรงบำเพ็ญกุศลให้พระญาติที่เกิดเป็นเปรต
เปรตทั้งหลายต่างโมทนารับส่วนบุญ]


แต่เมื่อไม่มีญาติพี่น้องอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลไปให้
จึงผอมโซไปตลอดกาล
แต่เมื่อพระองค์ทรงอุทิศส่วนบุญไปให้
พวกเขาก็ได้รับดังกล่าวแล้ว

เหล่านี้คือที่มาของการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลในสมัยพุทธกาล

แต่การเอาน้ำมารินที่เรียกว่ากรวดน้ำนั้น มีมาเพิ่มในภายหลัง
โดยบางท่านสันนิษฐานว่าในสมัยก่อนนิยมใช้น้ำรินลงที่มือคนรับ

ดังเช่นพระเวสสันดรตอนพระราชทานสองกุมารแก่พราหมณ์ชูชก
ทรงยกคนโทน้ำรินน้ำลงที่มือของพราหมณ์
เป็นสัญลักษณ์ว่าให้เป็นการเด็ดขาด

แต่ในปัจจุบันนี้การใช้น้ำริน
อันเรียกกันตามภาษาเขมรว่า “กรวด”
จึงเรียกธรรมเนียมนี้ว่า “กรวดน้ำ”

มีระเบียบปฏิบัติที่ว่า

ให้เริ่มรินน้ำตอนที่พระรูปแรกสวด

“ยถา วาริวาหา...”

เมื่อพระสงฆ์รับพร้อมกัน
ก็ให้รินน้ำที่ยังเหลือให้หมด
แล้วประนมมือรับพรจากพระสงฆ์
โดยไม่ต้องเอานิ้วจับชายเสื้อของคนรินน้ำ

แต่ถ้าจะกรวดน้ำโดยไม่มีพิธีการทำบุญอย่างอื่น
เช่น การกรวดน้ำหลังจากการใส่บาตร
ก็นำพุทธวจนะสั้นๆ มาสวดว่า

“อิทํ โน ญาตินัง โหตุ สุขิตาโหนฺตุ ญาตโย”....ก็ได้


[พระเจ้าพิมพิสารเลื่อมใส ทรงหลั่งน้ำถวายวัดเวฬุวันเป็นปฐมสังฆาราม]

หมายเหตุ
“อุททิโสทก” แปลว่ากรวดน้ำมอบถวาย
ใช้กรณีเมื่อถวายของใหญ่โต
ไม่สามารถยกประเคนใส่มือได้ เช่น ที่ดินและวัด
(พระเจ้าพิมพิสารหลั่งน้ำจากน้ำพระเต้าลงพระหัตถ์ของพระพุทธองค์)

“ทักษิโณทก” กรวดน้ำแผ่ส่วนกุศลแก่คนตาย

   
ความเห็นของคุณกุหลาบสีชา



เมื่อกรวดน้ำเพื่ออุทิศส่วนบุญ

๑. ควรเตรียมน้ำสะอาดใส่ภาชนะที่ง่ายแก่การหลั่งริน

๒. มือขวาใช้จับ มือซ้ายประคองหลั่งน้ำ

๓. เมื่อพระสงฆ์เริ่มอนุโมทนาบท “ยะถา วาริวหา ปูรา” ให้เริ่มกรวดน้ำ

๔. น้ำที่กรวดควรให้ไหลติดต่อกันไม่ขาดสาย
ไม่หลั่งน้ำลงบนฝ่ามือหรือใช้นิ้วรองน้ำ

๕. ตั้งใจอุทิศส่วนบุญในใจไปจนจบหรือกล่าวคำอุทิศส่วนบุญว่า

“อิทัง เม ญาตินัง โหตุ”
ขอบุญกุศลนี้ จงสำเร็จประโยชน์แก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าด้วยเถิด

๖. เมื่อพระสวดถึงตอนที่ว่า “มะณิ โชติระโส ยะถา”
ควรหลั่งน้ำที่มีอยู่ให้หมดแล้วประนมมือรับพรจากพระ




อนึ่งหากหลั่งบนพื้นดินควรเลือกที่สะอาดหมดจด
ถ้าอยู่ในอาคารสถานที่ควรมีภาชนิรองรับอันสมควร

ไม่ใช้กระโถนหรือภาชนะสกปรกรองรับ
ควรหลั่งน้ำกรวดให้หมด
เมื่อเสร็จพิธีแล้ว จึงนำน้ำที่กรวดนั้นไปเทลงในดินที่สะอาด

การกรวดน้ำเป็นหน้าที่ของเจ้าของงานโดยตรง
เพราะถือเป็นเจ้าของบุญกุศล
เมื่อจะให้แก่ใคร เจ้าของต้องให้เอง




รวบรวมและเรียงเรียงมาจาก :
สิ่งแรกในพระพุทธศาสนา โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก
http://www.kalyanamitra.org/

ที่มา   http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=20380&start=0&st=0&sk=t&sd=a

__________________________________________________________   

ความเห็นของคุณ nene

   
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 284
พระเจ้าข้า ข้าพระองค์จักอุทิศทานแก่เปรตพวกนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

รับ. พระราชาเสด็จเข้าพระราชนิเวศน์ จัดแจงมหาทาน แล้วให้กราบทูลเวลา

ภัตตาหารแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าภายในพระราช-

นิเวศน์ ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์ที่เขาจัดไว้ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์.

เปรตพวกนั้น พากันไปยืนที่นอกฝาเรือนเป็นต้น ด้วยหวังว่า วันนี้

พวกเราคงได้อะไรกันบ้าง. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำโดยอาการที่เปรตพวก

นั้น จะปรากฏแก่พระราชาหมดทุกตน.

พระราชาถวายน้ำทักษิโณทก

ทรงอุทิศว่า ขอทานนี้จงมีแก่พวก

ญาติของเรา. ทันใดนั้นเอง สระโบกขรณีดารดาษด้วยปทุม ก็บังเกิดแก่เปรต

พวกนั้น. เปรตพวกนั้นก็อาบและดื่มในสระโบกขรณีนั้น ระงับความกระวน

กระวายความลำบากและหิวกระหายได้แล้ว มีผิวพรรณดุจทอง.

ลำดับนั้น พระราชาถวายข้าวยาคู ของเคี้ยว ของกินเป็นต้น

แล้วทรงอุทิศ. ในทันใดนั้นเอง ข้าวยาคูของเคี้ยวและของกินอันเป็นทิพย์ ก็

บังเกิดแก่เปรตพวกนั้น. เปรตพวกนั้น ก็พากินบริโภคของทิพย์เหล่านั้น มี

อินทรีย์เอิบอิ่ม.

ลำดับนั้น พระราชาถวายผ้าและเสนาสนะเป็นต้น ทรงอุทิศให้

เครื่องอลังการต่าง ๆ มีผ้าทิพย์ ยานทิพย์ ปราสาททิพย์ เครื่องปูลาดและที่นอน

เป็นต้น ก็บังเกิดแก่เปรตพวกนั้น. สมบัติแม้นั้นของเปรตพวกนั้น ปรากฏ

ทุกอย่างโดยประการใด พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรงอธิษฐาน (ให้พระราชา

ทรงเห็น) โดยประการนั้น. พระราชาทรงดีพระทัยยิ่ง. แต่นั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า เสวยเสร็จแล้ว ทรงห้ามภัตตาหารแล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า

ติโรกุฑฺเฑสุ ติฏฺนฺติ เป็นต้น เพื่อทรงอนุโมทนาแก่พระเจ้ามคธรัฐ.

ผู้ตั้งกระทู้ควรไปอ่านพระไตรปิฎกและสอบทานให้ดี เดี๋ยวชาวพุทธที่ไม่ค่อยจะอ่านพระไตรปิฎกกันจะเข้าใจเลอะเทอะไปกันใหญ่
28255  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / สมัยพุทธกาล มีการอุทิศบุญกุศล และการกรวดน้ำ แต่........... เมื่อ: ธันวาคม 25, 2009, 07:18:49 pm
พระเจ้าพิมพิสาร

                    พระเจ้าพิมพิสารเป็นกษัตริย์ครองเมืองราชคฤห์แคว้นมคธ สืบต่อจากพระราชบิดา เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะออกผนวชแล้วได้เสด็จไปประทับอยู่ที่ปัณฑวบรรพต แคว้นมคธ เมื่อพระเจ้าพิมพิสารได้ข่าวจึงเสด็จไปนมัสการ และชักชวนให้สละเพศบรรพชิตมาครองราชย์ด้วยกัน เมื่อได้รับคำปฏิเสธจึงขอคำปฏิญญาว่า หากทรงค้นพบสิ่งที่แสวงหาเมื่อใด ขอให้มาสอนพระองค์เป็นคนแรก

                    ด้วยเหตุนี้ พระพุทธเจ้าเมื่อโปรดปัญจวัคคีย์ โปรดพระยสะและสหาย มีพระอรหันต์ จำนวน  60  องค์  ทรงส่งไปประกาศพระศาสนายังแคว้นต่างๆแล้ว พระองค์จึงเสด็จมุ่งตรงไปยังเมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ   เพื่อเปลื้องคำปฏิญญาที่ประทานให้กับพระเจ้าพิมพิสารนั้นเอง
                   
     พระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า พระเจ้าพิมพิสารเป็นผู้นำแคว้นใหญ่   ถ้าพระเจ้าพิมพิสารทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาแล้ว ประชาชนคนอื่นๆ ก็จะดำเนินรอยตาม ทรงดำริเช่นนี้จึงเสด็จไปยังเมืองราชคฤห์

                    สมัยนั้นพระเจ้าพิมพิสารและชาวเมืองทรงเคารพนับถือชฏิลสามพี่น้องอยู่   พระพุทธองค์จึงต้องไปโปรดสามพี่น้องก่อน  เมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรดชฏิลสามพี่น้องสละลัทธิความเชื่อดั้งเดิมมาเป็นสาวกของพระองค์แล้ว ก็พาสาวกใหม่จำนวนพันรูปไปพักยังสวนตาลหนุ่มใกล้เมืองราชคฤห์
 
                    เมื่อพระเจ้าพิมพิสารได้สดับข่าวนี้ จึงเสด็จพร้อมประชาชนจำนวนมากไปยังสวนตาลหนุ่ม ได้เห็นอาจารย์ของตนนั่งคุกเข่าประคองอัญชลีต่อพระพุทธเจ้า ประกาศเหตุผลที่สละลัทธิความเชื่อถือเดิมหันมานับถือพระพุทธศาสนา ก็หายสงสัย ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าแล้วนับถือพระรัตนตรัย และถวายภัตตาหารแด่พระพุทธเจ้า พร้อมภิกษุสงฆ์ที่พระราชวังในวันรุ่งขึ้น

                    หลังจากนั้นไม่กี่วันก็ถวายสวนไผ่นอกเมืองให้เป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา  เรียกว่า  วัดเวฬุวัน   เวฬุวันนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กัลบทนิวาปสถาน คือ สถานที่ให้เหยื่อแก่กระแต

                    พระเจ้าพิมพิสารเป็นคนแรกที่ทำพิธีกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย เรื่องมีอยู่ว่า หลังจากถวายวัดเวฬุวันแล้วคืนนั้น พระเจ้าพิมพิสารทรงฝันร้าย เห็นพวกเปรตมาร่ำร้องอยู่ต่อหน้า น่าเกลียดน่ากลัวมาก รุ่งเช้าขึ้นมาพระองค์เสด็จไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เมื่อทรงทราบว่าเปรตเหล่านั้นเคยเป็นพระญาติของพระองค์มาของส่วนบุญ และได้รับคำแนะนำให้กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้พวกเขา วันต่อมาพระเจ้าพิมพิสารจึงได้นิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมภิกษุสงฆ์ไปเสวย ภัตตาหารในพระราชวังแล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลแก่พวกเปรตเหล่านั้น ตกดึกคืนนั้นพวกเปรตมาปรากฏโฉมอีก แต่คราวนี้หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส ขอบคุณที่แบ่งส่วนบุญให้แล้วก็อันตรธานหายวับไป

                    เมื่อหันมานับถือพระพุทธศาสนาแล้ว พระเจ้าพิมพิสารทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างเข้มแข็ง จนแว่นแคว้นของพระองค์มีชื่อเสียงขจรขจายไปทั่วว่าเป็นดินแดนแห่งพระธรรม   พระเจ้าพิมพิสารเป็นพระโสดาบัน มีพระอัครมเหสีพระนามว่าโกศลเทวี หรือ เวเทหิ  เป็นพระกนิษฐาของพระเจ้าปเสนทิโกศล   พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ได้พระกนิษฐาของพระเจ้าพิมพิสารเป็นพระมเหสีเช่นกัน

                    มีพระโอรสนามว่า อชาตศัตรู (ผู้เกิดมาไม่เป็นศัตรู) ในช่วงตั้งครรภ์พระนางเวเทหิทรงแพ้พระครรภ์ใคร่เสวยพระโลหิตของพระสวามี โหราจารย์ทำนายว่าพระโอรสองค์นี้จะทำปิตุฆาต แต่พระเจ้าพิมพิสารก็มิทรงแยแสต่อคำทำนาย

                    เมื่อพระโอรสประสูติแล้ว ทรงให้การศึกษาอบรมเป็นอย่างดี เจ้าชายน้อยก็อยู่ในพระโอวาทเป็นอย่างดี แต่พอเจ้าชายน้อยได้รู้จักพระเทวทัต ถูกพระเทวทัตล้างสมองให้เห็นผิดเป็นชอบ จนจับพระเจ้าพิมพิสารขังคุกให้อดพระกระยาหารจนสิ้นพระชนม์   พระเจ้าพิมพิสารได้เสด็จเดินจงกรมยังชีพอยู่ในคุกได้ด้วยพระพุทธานุสสติ คือ มองลอดช่องหน้าต่างทอดพระเนตรดูพระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นลงเขาคิชฌกูฏพร้อมภิกษุสงฆ์ทุกวัน   เมื่อรู้ว่าเสด็จพ่อยังเดินอยู่ได้ กษัตริย์อกตัญญูก็สั่งให้เอามีดโกนเฉือนพระบาทเอาเกลือทา ย่างด้วยถ่านไฟร้อน พระเจ้าพิมพิสารทนทุกขเวทนาไม่ไหวก็สิ้นพระชนม์ ณ ที่คุกขังนั้นแล

                    พระเจ้าพิมพิสารเป็นกษัตริย์ผู้ทรงธรรมทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี ทำให้พระพุทธศาสนาหยั่งรากลงในแคว้นมคธและเจริญแพร่หลายชั่วระยะเวลาอันรวดเร็ว ชาวพุทธจึงควรระลึกถึงพระคุณของพระองค์ในข้อนี้

ที่มา  http://www.bp-smakom.org/BP_School/Social/budda/pim-pi-sarn.htm
_____________________________________________________________


ตอบปัญหาเรื่องการกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลครับ

คำถาม

ครับผม ผมเรียนถามหลวงพี่เรื่องนึงครับ เรื่องการกรวดน้ำ
การที่ผมตักบาตรให้กับพ่อผม บางครั้งผมก็กรวดน้ำ บางครั้งผมก็ไม่ได้กรวด
พ่อผมจะได้สิ่งที่ผมทำบุญไปให้หรือเปล่าครับ

คำตอบ

     ตอบช้าหน่อยครับ พอดีไปงานศพมา โยมแม่ของพระที่วัดเสียชีวิตครับ ก็พอดีกันกับที่โยมถามเรื่องการกรวดน้ำครับ ก็จะไขข้อข้องใจดังนี้ครับ

การกรวดน้ำ หรือตรวจน้ำ เริ่มมาจาก พระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แห่งกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ เลื่อมใสในพระศาสดา ได้ทำบุญเป็นอันมาก ตกตอนกลางคืนพระองค์เห็นฝูงเปรต มาร้องโหยหวน น่ากลัวมาก จึงทูลถามพระตถาคต ได้ความว่า เปรต นั้นเป็นอดีตญาติ ๆ ของพระเจ้าพิมพิสาร ต้องเกิดเป็นเปรตเพราะกรรมที่เคยกิน หรือให้กินอาหารที่เตรียมไว้ถวายพระ มาขอแบ่งส่วนบุญที่พระเจ้าพิมพิสารทรงประกอบในชาตินี้ เพราะพระเจ้าพิมพิสารไม่ได้กรวดน้ำให้ พระเจ้าพิมพิสารจึงทรงกรวดน้ำพร้อมกับตรัสพระคาถาที่พระพุทธองค์ทรงสอนว่า "อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ, สุขิตา โหนตุ ญาตโย" เปรตเหล่านั้นได้อนุโมทนาและได้กลายเป็นเทวดามีอาหาร อาภรณ์ ปราสาท ทิพย์ เสวยสุขกันถ้วนหน้า ( นี่เล่าอย่าง ย่อ ๆ นะครับ คลิ๊กดูหัวข้อในพระไตรปิฏก )

     สำหรับการอุทิศส่วนกุศลจะสำเร็จต้องประกอบด้วยคุณสมบัติต่าง ๆ ดังนี้ครับ

     ๑. มีบุญกุศลให้อุทิศ-ต้องทำความดีก่อนครับ

     ๒. มีผู้รับผลบุญ-ผู้ที่จะรับผลบุญได้ ต้องเป็นเปรตชนิด ปรตูปชีวีเปรต เท่านั้นครับ อ้าวแล้วถ้าญาติเราไม่เป็นเปรตละ? ต้องมีครับ ตลอดวัฏฏะอันแสนนาน เราต้องมีญาติอย่างน้อยสักคนที่เป็นเปรตละครับ

     ๓. มีการอุทิศให้-ก็กรวดน้ำ จะกรวดแห้งก็ได้ครับ-ตั้งจิตอธิษฐานเอา-ระบุชื่อผู้รับก็ได้-โดยส่วนตัวแล้ว ไม่ชอบระบุชื่อครับ มักจะว่า ให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหมด เผื่อญาติที่เราไม่รู้ชื่อด้วยไงครับ
     ๔. เปรตนั้นรู้ และยินดีด้วยกับบุญที่เราทำและอุทิศให้ด้วยครับ จึงจะได้ผล

     แล้วถ้าบังเอิญขาดข้อใดข้อหนึ่งหล่ะ ? บุญตีกลับ เหมือนจดหมายตีกลับเพราะไม่มีผู้รับ หรือจ่าหน้าซองไม่ชัดเจนครับ รับรองว่าบุญไม่หายไปไหน อย่างไรก็อยู่ที่คนทำอยู่แล้ว

     ถ้าอุทิศให้เขาหมดเราจะเหลืออะไรเล่า ? ไม่เหมือนให้ของ ให้แล้วหมด แต่การอุทิศส่วนกุศลเหมือนการต่อเทียน ต่อ ๆ กัน ๑ เล่ม เป็น ๒ เป็น๔..๘..๑๖..๓๒.. เป็น mega เป็น giga ครับ ยิ่งให้ยิ่งสว่างครับ

     ถ้าลืมละ ? กรวดย้อนหลังครับ พยายามนึกถึงบุญที่เราได้กระทำ แล้วเลื่อนเมาส์ขึ้นไปคลิ๊ก play ที่เครื่องเล่นด้านบน ๆ ได้เลยครับ ใส่บทสวดอนุโมทนาและให้พรไว้แล้ว หรือถ้าไม่สะดวกก็ระลึก อธิษฐานเป็นภาษาไทยก็ได้ครับ คำบาลีไว้ให้พวกมหาเขาว่ากันเถอะครับ เราเอาใจความพอแล้ว ว่าอย่างนี้ครับ "ขอบุญนี้จงเกิดแก่ญาติ ๆ ของข้าพเจ้า ขอให้ญาติ ๆ ของข้าพเจ้ามีความสุข" นี่แปลมาจากบทที่พระตถาคตทรงสอนพรเจ้าพิมพิสารครับ

อย่างไรก็ตามการกรวดน้ำย้อนหลังอาจไม่ได้ผลแรงเท่าสด ๆ ร้อน ๆ นะครับ ขึ้นอยู่กับสภาวะจิตที่ผ่องใสครับ ทำบุญใหม่ ๆ สด ๆ จิตจะใสมากครับ

     เอาละครับ  ถามนิดเดียว ตอบซะยาวยืดเลยเรา ( น้ำลายแตกฟอง ) ถ้าสงสัยอะไรก็ถามกันมานะครับ สาธุ
 
เพิ่มเติมครับ

มีความเห็นจากพระแทน กิตฺติทตฺโต ว่า
tan พูดว่า:
หลวงพี่เข้าไปอ่านเรื่องกรวดน้ำแล้ว ขอโอกาสแสดงความเห็นด้วยครับ

สำคัญที่สุด คือ จิต

แผ่กุศล กรวดน้ำ กรวดแห้ง ได้เช่นกัน เอ่ยยังไงก็ได้ แต่ตั้งจิตให้มั่น ให้แผ่ออกไป
แล้วจะรู้สึกได้ถึงกระแสบุญที่ไหลออกไป

คำภาวนา และ การเทน้ำ เป็นเพียงอุบายเหนี่ยวนำจิต

หลวงปู่หล้าว่าธรรมทั้งหลายทั้งปวงทั้ง 84000 ย่อเหลือจิตเพียงอย่างเดียว

หลวงปู่ดุลย์ ว่า จิตคือพุทธะ

พระครูเกษม ว่า เจอจิต จึงจะแจ้งธรรม
 
สาธุ สาธุ

ที่มา    http://maha-oath.spaces.live.com/blog/cns!6D66525A182F717E!374.entry
___________________________________________

    กรวดน้ำ

 เนื้อความ :

    ไปทำบุญวันเกิดมาค่ะ  สงสัยว่า ทำไมตอนกรวดน้ำเสร็จแล้ว
    พระท่านถึงไม่ให้ไปเทที่ต้นไม้ แต่ท่านเทใส่กระบอก อีกอันนึงข้างตัวท่าน เลยงงๆค่ะ  แล้วอย่างงี้ผลบุญจะส่งถึงเจ้ากรรมนายเวรรึเปล่า

 จากคุณ : บุษ [ 28 ก.ย. 2543 / 13:27:29 น. ]
     
 ความคิดเห็นที่ 1 : (4)

    การกรวดน้ำจริงๆแล้วเป็นพิธีของพราหมณ์ ตามพุทธพิธีเพียงแค่เรากล่าว
    และนึกอุทิศก็พอแล้ว ใช้ได้

 จากคุณ : 4 [ 28 ก.ย. 2543 / 14:46:00 น. ]
     

 ความคิดเห็นที่ 2 : (ศิษย์โง่เรียนเซ็น)

    ไม่ถึงหรอกครับ
    บุญถูกขังไว้ในกระบอกแล้วล่ะ
    แต่ถ้าไปเทที่ต้นไม้ ก็ถูกต้นไม้ดูดเอาไปกินอยู่ดีแหละครับ

 จากคุณ : ศิษย์โง่เรียนเซ็น [ 28 ก.ย. 2543 / 19:20:15 น. ]
     

 ความคิดเห็นที่ 3 : (สาธิต)

    พุทธ กับพราห์มนั้นแทบจะแยกไม่ออกเลยจริงๆ ครับ  คุณลอง search ในพระไตรปิฎกดูนะครับ ไม่เคยมีกล่าวถึงคำว่ากรวดน้ำเลย การทำบุญอุทิศส่วนกุศลด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์จึงไม่จำเป็นต้องกรวดน้ำครับ ขอแนะนำธรรมะเพื่อชีวิตใน web site http://easy.to/alternative ครับ คุณจะได้ทราบอีกหลายๆ เรื่องที่ชาวพุทธไม่เคยทราบมาก่อน

 จากคุณ : สาธิต [ 29 ก.ย. 2543 / 06:23:23 น. ]


 ความคิดเห็นที่ 4 : (ดังตฤณ)

    น้ำเป็นสื่อครับสำหรับคนทั่วไป
    ถ้าจิตตั้งมั่นเป็นหนึ่งได้ ก็มีกำลังเป็นกระแสแรงพอจะถึงตัวได้
    แต่ให้คนทั่วไปซึ่งยังมีจิตไม่ตั้งมั่นคิดอุทิศนั้น
    มโนภาพของเป้าหมายไม่ชัดพอ เลยต้องอาศัยสื่อ
    ซึ่งก็ไม่มีอะไรดีกว่าธาตุน้ำ อันเป็นธาตุเย็น
    และจูงใจให้เย็น มีอาการไหลลงสู่เป้าหมายเช่นพื้นที่ถูกน้ำกระทบ

    พูดกันตรงไปตรงมา เป็นไปได้ยากครับ
    ที่อุทิศบุญกุศลให้คนตายแล้วจะถึงเจ้าตัว
    แต่บุญอันเกิดจากการอุทิศอย่างหนักแน่น อันนั้นแหละ
    เกิดกับเราจริง จัดเป็นทานชนิดหนึ่ง
    เป็นส่วนหนึ่งของการเปิดใจให้กว้างออก
    ไม่คับแคบ ไม่อึดอัดตระหนี่
    ความรู้จักให้นั้นแหละเป็นความสุขชนิดหนึ่ง
    เป็นการระงับเหตุแห่งทุกข์ขั้นพื้นฐานได้อย่างหนึ่ง

 จากคุณ : ดังตฤณ [ 29 ก.ย. 2543 / 16:41:18 น. ]
     

 ความคิดเห็นที่ 5 : (เณรน้อย)

    สมัย ก่อน......ก่อนพระผู้มีพระภาคจะตรัสรู้นั้น  ลัทธิต่างๆกำลังเกิดขึ้นมากโดยเฉพาะ ลัทธิพราหมณ์  ที่ไม่สามารถแยกออกจากพระพุทธศาสนาได้ และการให้ของหรือให้ทานในลัทธิพราหมณ์นั้น  เขาถือว่าต้องเทน้ำลงพื้นดินจึงถือว่าของที่ให้นั้นได้ขาดจากเจ้าของโดย สมบูรณ์  และเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้แล้ว  ประเพณีการเทน้ำยังมีอยู่  และพระผู้มีพระภาคก็ไม่ได้ทรงตำหนิแต่อย่างใด ทรงอณุโลมให้เป็นตามที่เคยปฏิบัติมา  แต่ท่านทรงตรัสว่าการอุทิศส่วนกุศล  ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำแต่อย่างไร  เมื่อทำบุญแล้วเพียงแต่นึกถึงผู้ที่จะอุทิศให้  ก็น่าจะถึงแล้ว  หากผู้ที่เราอุทิศให้อยู่ในฐานะที่จะรับได้ครับ  ขอให้สบายใจได้หากไม่สบายใจก็ทำใหม่แล้วอุทิศใหม่ก็ไม่เป็นไร 

 จากคุณ : เณรน้อย [ 29 ก.ย. 2543 / 17:22:22 น. ]


 ความคิดเห็นที่ 6 : (ดังตฤณ)

    ถ้าทำบุญอุทิศแล้ว เทวดา พรหมที่มีญาณหยั่งรู้
    ประกอบกับการอุทิศมีแรงสะเทือนพอ ก็อาจสะกิดให้ส่งใจอนุโมทนา
    และเอาเท่าที่หามาให้ได้แบบเร็วๆนะครับ
    เปรตบางประเภทสามารถอนุโมทนาบุญได้เช่นกัน
    ถ้ามีแต่การอุทิศ แต่ปราศจากการยินดีอนุโมทนา
    ผลก็ไม่บังเกิด (ความจริงมีเรื่องเปรตที่เป็นญาติพระเจ้าพิมพิสารรอรับส่วนบุญ
    แต่หาไม่เจอในตอนนี้ครับ)

    ------------------------------------------------------------------------
    ๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ
    ว่าด้วยบุพกรรมของเปรตญาติพระเจ้าพิมพิสาร

          พระผู้มีพระภาคตรัสกะพระเจ้าพิมพิสารว่า
          [๙๐] เปรตทั้งหลายพากันมาสู่เรือนของตนแล้ว ยืนอยู่ภายนอกฝาที่ตรอก
                กำแพง และทาง ๓ แพร่ง และยืนอยู่ที่ใกล้บานประตู เมื่อข้าว น้ำ
                ของกิน ของบริโภคเป็นอันมากเขาเข้าไปตั้งไว้แล้ว แต่ญาติไรๆ ของ
                สัตว์เหล่านั้นระลึกไม่ได้ เพราะกรรมเป็นปัจจัย เหล่าชนผู้อนุเคราะห์
                ย่อมให้น้ำและโภชนะอันสะอาด ประณีตสมควรแก่ญาติทั้งหลายตามกาล
                ดุจทานที่มหาบพิตรทรงถวายแล้วฉะนั้น ด้วยเจตนาอุทิศว่า ขอทานนี้แล
                จงสำเร็จผลแก่ญาติทั้งหลายของเรา ขอญาติทั้งหลายของเราจงเป็นสุข
                เถิด ส่วนเปรตผู้เป็นญาติเหล่านั้น พากันมาชุมในที่นั้น เมื่อข้าว
                และน้ำมีอยู่บริบูรณ์ ย่อมอนุโมทนาโดยเคารพว่า เราได้สมบัติเพราะ
                เหตุแห่งญาติเหล่าใด ขอญาติของเราเหล่านั้น จงมีชีวิตอยู่ยืนนาน
               
                การบูชาเป็นอันพวกญาติได้ทำแล้วแก่เราทั้งหลาย และญาติทั้งหลายผู้ให้
                ก็ไม่ไร้ผล เพราะในเปรตวิสัยนั้น ไม่มีกสิกรรม ไม่มีโครักขกรรม ไม่
                มีการค้าขายเช่นนั้น ไม่มีการซื้อการขายด้วยเงิน เปรตทั้งหลายผู้ไปใน
                ปิตติวิสัย ย่อมเยียวยาอัตภาพด้วยทานที่ญาติหรือมิตรให้แล้วแต่มนุษย-
                โลกนี้ น้ำฝนอันตกลงในที่ดอน ย่อมไหลไปสู่ที่ลุ่ม ฉันใด ทานอัน
                ญาติหรือมิตรให้แล้วในมนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จผลแก่เปรตทั้งหลาย
                ฉันนั้นเหมือนกัน ห้วงน้ำใหญ่เต็มแล้ว ย่อมยังสาครให้เต็มเปี่ยม
                ฉันใด ทานอันญาติหรือมิตรให้แล้ว แต่มนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จผล
                แก่เปรตทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน กุลบุตรเมื่อระลึกถึงอุปการะที่ท่าน
                ทำแล้วในกาลก่อนว่า ญาติมิตรและสหายได้ให้สิ่งของแก่เรา ได้ช่วย
                ทำกิจของเรา ดังนี้ พึงให้ทักษิณาแก่เปรตทั้งหลาย ความเศร้าโศก

                หรือความร่ำไรอย่างอื่น ไม่ควรทำเลย เพราะความร้องไห้เป็นต้นนั้น
                ไม่เป็นประโยชน์แก่เปรตทั้งหลาย ญาติทั้งหลายย่อมดำรงอยู่โดยปกติ
                ธรรมดา อันทักษิณานี้แลที่ท่านเข้าไปตั้งไว้ดีแล้วในสงฆ์ ให้แล้ว ย่อม
                สำเร็จประโยชน์แก่เปรตนั้นโดยพลัน สิ้นกาลนาน ญาติธรรมมหาพิตร
                ได้แสดงให้ปรากฏแล้ว การบูชาอันยิ่งเพื่อเปรตทั้งหลาย มหาพิตรทรง
                ทำแล้ว และกำลังกายมหาบพิตรได้เพิ่มให้แก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว บุญมี
                ประมาณไม่น้อยมหาบพิตรได้ทรงขวนขวายแล้ว.

    จบ ติโรกุฑฑเปตวัตถุที่ ๕.

 จากคุณ : ดังตฤณ [ 29 ก.ย. 2543 / 21:19:12 น. ]
28256  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ผู้สักมีภูมิธรรมขั้นสูงในระดับอย่างน้อยทุติยฌาน และกระทำในอุปจารสมาธิ เมื่อ: ธันวาคม 25, 2009, 04:16:16 pm
การสักยันต์

การสักยันต์เป็น กรรมวิธีกำกับสติของคนไทยมาแต่โบราณ แต่ร่วงโรยเสื่อมความนิยมและใกล้จะดับสูญไปตามสมัยนิยม   คนไทยแต่โบราณนั้นนับถือพระพุทธศาสนา แต่ส่วนใหญ่กลับไม่รู้หนังสือ บางคนก็ความจำไม่ดี และเชื่อว่าพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ จะคุ้มครองป้องกันตนให้พ้นจากอันตรายทั้งปวงได้
 
             
  ดังนั้นจึงแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการสักยันต์ไว้ กับตัว วัตถุประสงค์ที่แท้จริงก็คือเพื่อให้มีสติรู้ว่ามีพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ อยู่กับตัว หากจะเป็นตายร้ายดีประการใดก็ยังอุ่นใจว่ายังอยู่กับพระ แม้หากจะถึงตายก็ย่อมตายดี
 

                 ดังนั้นบรรดาทหารที่จะออกไปทำศึกสงครามจึงรักที่จะสักยันต์ไว้ กับตัว เพราะในยามสู้รบกระทำศึกต่อกันนั้นความมุ่งมั่นก็จะอยู่ที่การสู้รบ ไม่อาจรำลึกถึงพระคุณของพระรัตนตรัยได้ จะได้ทำการสู้รบโดยไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลัง  และการสักยันต์ใน สมัยโบราณก็ต้องกระทำโดยผู้ที่รู้หนังสือเป็นอย่างดี ซึ่งยุคนั้นภาษาไทยยังใช้ภาษาเขียนแบบภาษาขอม และผู้ที่รู้หนังสือเช่นนี้ก็คือพระสงฆ์ โดยเฉพาะสมภารเจ้าวัดต่าง ๆ
 
                และเป็นธรรมดาของพระที่มีความเมตตาอาทรต่อพุทธศาสนิกชน ดังนั้นแม้วัตถุประสงค์แท้คือความต้องการให้มีพระรัตนตรัยติดอยู่กับตัว แต่พอสักยันต์เข้า จริงก็มักจะมีการตั้งจิตให้มั่นคง เพ่งเอาความปลอดภัยให้บังเกิด   เพราะเหตุที่พระสงฆ์ในยุคนั้นมีความบริสุทธิ์ในศีล มีกำลังของสมาธิที่แก่กล้า มีจิตที่มั่นคง จึงมีพลังที่สามารถแผ่ไปปกป้องคุ้มครองผู้อื่นด้วยอำนาจแห่งพระรัตนตรัยได้ ดังนั้นจำนวนมากของการสักยันต์จึงไม่เพียงแต่เป็นแค่ให้รำลึกถึงคุณพระรัตนตรับ หากได้แฝงฝังความขลังของกำลังจิตไว้ในการสักยันต์นั้น ด้วย  จึงมีอานิสงส์เป็นอย่างเดียวกันกับอานิสงส์ของพระปริตร คือ ปกป้องคุ้มครองป้องกันและกำจัดสรรพอุบาทว์และสรรพภัยทั้งหลายได้มากบ้างน้อย บ้างตามควรแก่กรณี
 

                ผู้ที่เห็นและได้รับอานิสงส์เช่นนั้นก็จะกล่าวเล่าขานกันออกไป จนในที่สุดก็เลื่องชื่อลือชาว่าการสักยันต์นั้นมีความศักดิ์สิทธิ์ มีผลทางเมตตามหานิยมหรืออยู่ยงคงกระพันหรือแคล้วคลาด  จึงทำให้การสักยันต์ยิ่ง แพร่หลายขยายตัวออกไป ทั้งผู้คนที่อยู่ในฝ่ายราชการและชาวบ้านทั่ว ๆ ไป  เมื่อความนิยมมีมากขึ้นการขวนขวายหาพระหรืออาจารย์เก่ง ๆ ก็ยิ่งกว้างขวางออกไป เรื่องการสักยันต์ก็ยิ่งโด่งดังเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นไปอีก 
                การสักยันต์ในสมัยก่อนนั้นจะมีส่วนประกอบ 4 ส่วน คือ พระหรืออาจารย์ที่ทรงวิทยาคม ส่วนหนึ่ง หมึกซึ่งใช้ในการสักยันต์ อย่างหนึ่ง ซึ่งส่วนนี้ไม่ใช้หมึกดังที่ใช้กันในปัจจุบัน  แต่จะใช้ดีปลาช่อนแล้วฝนด้วยว่านนาคราชหรือว่านสบู่เลือด และหินอาถรรพ์หรือข้าวเม่าอาถรรพ์จำพวกหนึ่ง ซึ่งจำพวกนี้จะมีผลในทางอยู่ยงคงกระพันหรือแคล้วคลาด  หรืออีกจำพวกหนึ่งจะใช้น้ำมันมนต์แทนหมึกสักอย่างเดียว หรือใช้น้ำมันอาถรรพ์ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันปลาพะยูน น้ำมันเสือ น้ำมันช้าง หรือน้ำมันจันทน์ซึ่งจะมีผลในทางเมตตามหานิยม เป็นเสน่ห์อีกจำพวกหนึ่ง  นั่นเป็นสองส่วนสำคัญแล้ว ส่วนที่สามคือ อักขระวิธี ซึ่งเป็นอักษรขอมโบราณสักเป็นบทพระคาถาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบทสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ หรือบทอิติปิโสแปดทิศ หรือหัวใจศีล หรือบทคาถาเต่าเลือน เป็นต้น และส่วนที่สี่ก็คือส่วนประกอบจะเป็นรูปภาพ เสือบ้าง พญานาคบ้าง นกคุ่มบ้าง ในส่วนนี้ยังมีส่วนรูปยันต์ไม่ว่าจะเป็นรูปยันต์มหาอุตม์ ยันต์ตรีนิสิงเห ยันต์มะอะอุ ยันต์ธาตุทั้งสี่ เป็นต้น และยังรวมถึงรูปพระภัควัมบดี รูปอุนนาโลม รูปหัวกระดาน รูปท้ายกระดาน เป็นต้น
 
                นั่นเป็นสี่ส่วนสำคัญของการสักยันต์ นอกจากนี้ก็ยังมีบทพระคาถาในการสักตัวอักขระ ในการสักรูปยันต์ หรือในการสักรูปพระ รวมทั้งบทตรึงพระคาถาอาคมทั้งหลาย  แต่ทั้งหมดนั้นจะมีอิทธิฤทธิ์ขึ้นมาได้ก็ด้วยพลังจิต ที่ผู้สักมีภูมิธรรมขั้นสูงในระดับอย่างน้อยทุติยฌาน หรือถ้าจะเลิศก็ต้องอยู่ในระดับจตุตถฌาน และกระทำในอุปจารสมาธิ
 

                ในยุคสมัยสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สอง เรื่องราวของการสักยันต์โดย กรรมวิธีที่ว่านี้ได้แพร่ขยายไปในทุกภาคของประเทศไทย และในหมู่ชายชาติอาชาไนยทั้งปวง แต่หลังเสร็จสงครามแล้วความนิยมก็ออกจะเสื่อมถอยลงไป ยิ่งเมื่อได้รับวัฒนธรรมตะวันตกก็ยิ่งเห็นว่าการสักยันต์เป็น เรื่องของพวกนักเลงหัวไม้ ประกอบทั้งบรรดาผู้มีฝีไม้ลายมือทั้งหลายเมื่อว่างศึกแล้วจำนวนหนึ่งก็ ประพฤติตัวเป็นโจรผู้ร้าย  ทำให้อาชญากรจำนวนมากมีภาพลักษณ์ที่ปรากฏต่อสาธารณะว่ามีรอยสัก
 
ดังนั้นพอนานวันเข้าใครเห็นใครมีรอยสักกับ ตัวก็จะเกิดความรู้สึกว่าเป็นคนที่ไม่น่าเชื่อถือ ไม่น่าไว้วางใจ หนักเข้าก็มองว่าเป็นพวกอาชญากรไปเลย จะไปสมัครทำงานที่ไหนก็ถูกเขารังเกียจ   ยิ่งทำให้การสักยันต์ค่อย ๆ เสื่อมสลายสูญหายไป กรรมวิธีและกระบวนการในการสักยันต์ก็ ค่อย ๆ สูญหายไป    แต่ต่อมาเมื่อเกิดสงครามเวียดนามพวกทหารฝรั่งเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น แล้วเกิดติดอกติดใจในรอยสักและแสวงหาอาจารย์สักยันต์ เมื่อสักแล้วกลับไปบ้านเกิดเมืองนอนของตนก็เกิดการแตกตื่นฮือฮาเป็นเรื่อง แปลกเป็นเรื่องประหลาด  แล้วระบาดหนักเข้าไปอีกเพราะบรรดาดาราหรือนักร้องฝรั่งที่มีชื่อเสียงโด่ง ดังกระทั่งพวกฮิปปี้ก็พออกพอใจในรอยสักนั้น พากันเข้ามาแสวงหาในประเทศไทย   
   

                จึงเกิดธุรกิจใหม่ขึ้นในประเทศไทยคือ การสักยันต์ แต่เพราะเหตุที่กรรมวิธีและกระบวนการสักเลือนหายไปมากแล้ว และเพราะการสักมีความเจ็บ มีความปวดแสบปวดร้อนเป็นอันมาก บางคนก็ทนไม่ได้ จึงทำให้เกิดกรรมวิธีใหม่คือการวาดรูปแทนการสักยันต์
 
                ดังนั้นการสักยันต์ใน ยุคใหม่จึงมีอยู่สองแบบ คือ แบบที่สักกับตัวแต่ใช้หมึกเป็นพื้น แบบนี้สักกันทั้งเป็นรูปยันต์บ้าง เป็นรูปภาพต่างๆ ตามแต่จะนิยม หรือตามแต่ใจชอบบ้าง ส่วนอีกแบบหนึ่งก็คือการเขียนด้วยหมึกแทนการสัก (หรือเรียกว่า เฮนน่า) แต่เป็นหมึกที่ติดทนนาน อยู่ได้ถึง 15 วัน แบบนี้จะเป็นนักเขียนอาสาสมัครซึ่งบ้างก็เป็นชาวบ้านธรรมดา บ้างก็จบช่างเขียน
 

                การสักยันต์ทั้งสองแบบเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น โดยเฉพาะหลังจากที่ ดาราฮอลลีวูดคนหนึ่งเกิดติดอกติดใจในรอยสักและเดินทางมาสักยันต์ในประเทศไทย โดยพาพรรคพวกเข้ามาสักยันต์อีกหลายคน
 
                ถ้าหากสักยันต์แล้ว มีความรู้สึกสำนึกในบาปบุญคุณโทษ มีความเกรงกลัวและละอายต่อบาปเพราะมียันต์อันประกอบด้วยคุณของพระรัตนตรัย อยู่กับตัวแล้ว คอยกำกับสติตัวเองไม่ให้เผอเรอ ไม่ให้หลงก่อกรรมทำชั่ว ไม่ให้กินสินบาทคาดสินบนเช่นนั้นแล้ว การสักยันต์นั้นก็จะเป็นมงคลแก่ตัว และจะมีความสวัสดีในที่ทั้งปวง
               
                ใครจะตั้งตัวเป็นอาจารย์สักยันต์ก็เหมือนกัน จะเป็นบาปอย่างมหันต์ถ้าหากว่าทำให้คนหลงเชื่อว่าการสักยันต์นั้น จะเป็นเครื่องป้องกันความผิด หรือฮึกเหิมกล้าที่จะทำความผิดโดยไม่เกรงกลัวบาปและกฎหมาย แต่จะได้รับผลบุญอนันต์ถ้าหากทำให้คนเชื่อได้ว่าเมื่อได้สักยันต์แล้วจะต้องมีสติมั่นคง มีความละอายเกรงกลัวต่อบาป และมุ่งบำเพ็ญแต่ความดี เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขของคนอื่น

ที่มา http://www.tlcthai.com/webboard/

คุณวิโรจน์ คงเข้าใจนะครับ คนสักต้องได้ฌาน(อัปนาสมาธิ) อย่างน้อยต้องได้ฌานที่ ๒
แต่ขณะสักต้องใช้อุปจารสมาธิ(สมาธิเฉียดฌาน)

การฝึกให้ได้ฌาน ต้องมาหาอาจารย์สนธยาที่วัดนะครับ
28257  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / คุณฟ้าใสอยู่ไหนครับ....มาตอบเรื่องนิพพิทาญาณ ให้หน่อย เมื่อ: ธันวาคม 25, 2009, 03:12:53 pm
คุณฟ้าใสอยู่ไหนครับ....มาตอบเรื่องนิพพิทาญาณ ให้หน่อย

ผมขอรบกวนคุณฟ้าใส(fasai) มาอธิบายความหมายของ นิพพิทาญาณ ให้หน่อย
ขัดข้องประการ ช่วยแจ้งสักนิดนะครับ

28258  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / คุณลองสังเกตตัวเองว่า คุณมีนิวรณ์ข้อใด ก่อนที่คุณจะทำสมาธิ เมื่อ: ธันวาคม 25, 2009, 03:01:55 pm
คุณสาครกล่าวถึง ศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งเป็น ไตรสิกขา หรือ สิกขา ๓ ขอเรียนว่า ที่ถูกต้องจริงๆ คือ

สิกขา ๓ หรือ ไตรสิกขา (ข้อที่จะต้องศึกษา, ข้อปฏิบัติที่เป็นหลักสำหรับศึกษา คือ ฝึกหัดอบรมกาย วาจา จิตใจ และปัญญา ให้ยิ่งขึ้นไปจนบรรลุจุดหมายสูงสุดคือพระนิพพาน — the Threefold Training)

๑. อธิสีลสิกขา(สิกขาคือศีลอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมในทางความประพฤติอย่างสูง — training in higher morality)
๒. อธิจิตตสิกขา (สิกขาคือจิตอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกหัดอบรมจิตเพื่อให้เกิดคุณธรรมเช่นสมาธิอย่างสูง — training in higher mentality)
๓. อธิปัญญาสิกขา (สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมปัญญา เพื่อให้เกิดความรู้แจ้งอย่างสูง — training in higher wisdom)
    ในข้อ ๒ นั้น เหตุที่คนทั่วไปเรียกว่า สมาธินั้น เป็นเพราะว่า ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ที่แต่งโดย พระพุทธโฆษาจารย์ ได้นำเอาคำว่า สมาธิ  มาแทนคำว่า จิต


    เพื่อใช้ประกอบการอธิบายความ จึงขอนำ มรรคมีองค์ ๘ จัดเข้าไปในสิกขา ๓ ดังนี้

มรรคมีองค์ ๘  หรือ อัฏฐังคิกมรรค
(เรียกเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่า ทางมีองค์ ๘ ประการ อันประเสริฐ — the noble Eightfold Path);
องค์ ๘ ของมรรค (มัคคังคะ — factors or constituents of the Path)  มีดังนี้

อธิปัญญาสิกขา ประกอบด้วย
๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ ได้แก่ ความรู้อริยสัจ ๔ หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท — Right View; Right Understanding)
๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ ได้แก่ เนกขัมมสังกัป อพยาบาทสังกัป อวิหิงสาสังกัป — Right Thought)

อธิสีลสิกขา  ประกอบด้วย
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ ได้แก่ วจีสุจริต ๔ — Right Speech)
๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ ได้แก่ กายสุจริต ๓ — Right Action)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ — Right Livelihood)

อธิจิตตสิกขา (หรือสมาธิ) ประกอบด้วย
๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ ได้แก่ ปธาน หรือ สัมมัปปธาน ๔ — Right Effort)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ — Right Mindfulness)
๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ ได้แก่ ฌาน ๔ — Right Concentration)

    ผมขอเริ่มตอบคำถามของคุณสาครก่อน

 การได้มีโอกาสปฏิบัติธรรม ไม่ว่าจะเป็นการถือศีล ทำสมาธิ  และการเจริญปัญญา นั้น
ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ เป็นเรื่องที่ได้ก่อกุศลกรรมเอาไว้ ในชาติก่อน หรือ ปัจจุบันชาติ


เพราะฉะนั้น กรรม จึงเป็นปัจจัยแรกที่กำหนดว่า คุณจะปฏิบัติธรรมได้หรือเปล่า
ลองสังเกตุคนรอบๆตัวคุณ บางคนถือศีลไม่ได้เลย บางคนถือศีลได้แต่ทำสมาธิไม่เป็น บางคนทำสมาธิเป็นแต่เจริญปัญญาไม่ได้
นั่นเป็นเพราะ ต่างคนต่างประกอบกรรมมาไม่เสมอกัน


   คุณสาครถามว่า  ทำผิดศีลแล้วมารับศีล หลังจากนั้นมีความต้องการที่จะทำสมาธิ   แล้วจะทำได้หรือไม่ และต้องใช้เวลานานเท่าไหร่

ตามตำราที่ศึกษามา ศัตรูของสมาธิคือ นิวรณ์ ๕  ซึ่งมีหัวข้อดังนี้

นิวรณ์ ๕ (สิ่งที่กั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม, ธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุคุณความดี,อกุศลธรรมที่ทำจิตให้เศร้าหมองและทำปัญญาให้อ่อนกำลัง — hindrances.)

๑. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม, ความต้องการกามคุณ — sensual desire)

๒. พยาบาท (ความคิดร้าย, ความขัดเคืองแค้นใจ — illwill)

๓. ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม — sloth and torpor)

๔. อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ, ความกระวนกระวายกลุ้มกังวล — distraction and remorse; flurry and worry; anxiety)

๕. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย — doubt; uncertainty)

ขอขยายความสักเล็กน้อย
อุทธัจจะ คือ ความฟุ้งซ่าน, จิตส่าย, ใจวอกแวก (พจนานุกรมเขียน อุทธัจ)
กุกกุจจะ คือ ความรำราญใจ, ความเดือดร้อนใจ เช่นว่า สิ่งดีงามที่ควรทำ ตนมิได้ทำ สิ่งผิดพลาดเสียหายไม่ดีไม่งามที่ไม่ควรทำ ตนได้ทำแล้ว, ความยุ่งใจ กลุ้มใจ กังวลใจ ความรังเกียจหรือกินแหนงในตนเอง, ความระแวงสงสัย เช่นว่า ตนได้ทำความผิดอย่างนั้น ๆ แล้วหรือมิใช่ สิ่งที่ตนได้ทำไปแล้วอย่าง นั้น ๆ เป็นความผิดข้อนี้ ๆ เสียแล้วกระมัง

    คุณลองสังเกตตัวเองว่า คุณมีนิวรณ์ข้อใด ก่อนที่คุณจะทำสมาธิ และขณะที่คุณทำสมาธิ

   การละเมิดศีล เป็นเหตุให้เกิดนิวรณ์ ใช่หรือไม่ อย่างไร พิจารณาเอาเองนะครับ

   ในกรณีที่คุณข่มนิวรณ์ได้ คุณก็จะได้สมาธิ ซึ่งไม่สามารถกำหนดได้จะใช้เวลานานเท่าไหร่
   ขึ้นอยู่กับคุณเองว่า จะหากุศโลบายใดมาจัดการกับนิวรณ์

   ส่วนกรณีที่ไม่สามารถรับมือกับนิวรณ์ได้ (คือ ส่งจิตออกนอกแล้ว ดึงกลับมาไม่ได้นั่นเอง)
   ก็ไม่ต้องร้อนใจ ไปทำสิ่งที่ตัวเองชอบ ทำแล้วมีความสุข เช่น ฟังเพลง ช็อบปิ้ง ฯลฯ แต่อย่าละเมิดศีลนะครับ


   มีเคล็ดลับอยู่ข้อหนึ่ง คือ ความสุขทำให้เกิดสมาธิ  หากไม่สบายใจอะไร ห้ามทำสมาธินะครับ เดี๋ยวบ้า

   ผมขอตอบเท่านี้ก่อนนะครับ ครั้งต่อไปจะเสนอ รายละเอียดของ สีลสิกขา
รับประกันความผิดหวัง  ห้ามพลาดด้วยประการทั้งปวง
“โปรดติดตามตอนต่อไป”
28259  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / รอยพระพุทธบาท ๕ แห่ง ที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับ เมื่อ: ธันวาคม 23, 2009, 10:00:54 pm


รอยพระพุทธบาท ๕ แห่ง

แต่ก่อนที่ถึงเรื่องราวทั้งหลายต่อไป จะขอ ย้อนกล่าวถึงรอยพระพุทธบาททั้ง ๕ แห่งเสีย ก่อน ความจริงรอยพระพุทธบาทในประเทศไทย ยังมีอีกมาก แต่เท่าที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกจนเป็น ที่ยอมรับของท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลายนั้น มีปรากฏอยู่ในพระบาลีดังนี้ คือ :-

    ๑. สุวรรณมาลิก (ลังกา) หาภาพไม่ได้

    ๒. สุวรรณบรรพต (อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี


    ๓. สุมนกูฏ (ลังกา) หาภาพไม่ได้

    ๔. โยนกปุระ (อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่)


    ๕. นัมทานที (เกาะแก้วพิสดาร จ.ภูเก็ต)



ข้อความในวงเล็บนั้น ผู้เขียนลงเอาไว้เพื่อความเข้าใจตามที่ได้ค้นคว้ามา ซึ่งจะหาอ่านรายละเอียดได้จากหนังสือ “ธัมมวิโมกข์” ฉบับ ที่ ๑๕๖, ๑๖๓, ๑๖๔ (ปี ๒๕๓๗) ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะรอยพระพุทธบาทที่ ๕ “นัมทานที” ซึ่งได้ยืนยันไว้เป็นหลักฐานจากหนังสือ “พุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ์”อ่านคำจารึกโดย พระราชกวี (อ่ำ ธมฺมทตฺโต) วัดโสมนัสราชวรวิหาร กรุงเทพฯ มีใจความตามสำนวนสมัยเมื่อสอง พันห้าร้อยกว่าปีมานี้เองว่า...
“บุญมุนี อยู่ถ้ำฤษี ผู้นำพุทธ สู่เกาะ คนชาวน้ำ หมู่คนน้ำ เกาะแก้ว เข้ากราบไหว้ ห้อมล้อม พุทธสอนมาก หมู่คนขอรอยตีนไว้ ชายทเล พุทธเหยียบดิน ทำให้ใหญ่กว่า ๓ เท่า เมื่อวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือนอ้าย พุทธพัสสา ๒๒...”
ถ้าใช้สำนวนในปัจจุบันอ่านได้ดังนี้


“พระปุณณะ อยู่ถ้ำฤษี (เขางู จ.ราชบุรี) ผู้นำพระพุทธเจ้า สู่เกาะคนชาวน้ำ (ชาวเล) หมู่คนน้ำ เกาะแก้ว เข้ากราบไหว้ ห้อมล้อม พระพุทธเจ้าสอนมาก หมู่คนขอรอยพระบาท ไว้ที่ชายทะเล...”
ท่านเจ้าคุณพระราชกวี ได้วินิจฉัยเรื่องนี้ ไว้อีกว่า

“เท่าที่ปรากฏรอยตีนพุทธนี้ ย่อมทรงแสดงให้เห็นหลักฐาน พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระองค์ว่า ได้เสด็จตั้งแต่ใต้สุดถึงเหนือสุดของ ดินแดน “สุวัณณภูมิ” จึงเสด็จเพื่อทรงเหยียบ แสดงรอยพระบาทเป็นประจักษ์พยานไว้ สัจจพันธ์คีรี (จังหวัดสระบุรี) และที่ เกาะแก้ว(เกาะแก้วพิสดาร?) หรือ “นิมมทานที” (ไทยว่า..นัมมะทา) ซึ่งเป็นที่เลื่องลือมานาน กระทั่งถึงต่างประเทศคือลังกาและชมพูทวีป เพราะคำใน “อรรถกถา” ยืนยันอยู่

________________________________________

อรรถกถาปุณโณวาทสูตร

นตอนนี้ตามความใน อรรถกถาปุณโณวาทสูตร คัมภีร์มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ได้กล่าวไว้ว่า เมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในกรุงสาวัตถีได้ตรัสเรียกพระอานนท์มาสั่งว่า
“อานันทะ..ดูก่อนอานนท์ พรุ่งนี้พวกเราจะเที่ยวบิณฑบาตที่หมู่บ้านพ่อค้าในแคว้นสุนาปรันตะ เธอจงให้สลากแก่ภิกษุ ๔๙๙ รูป..”

เมื่อพระอานนท์รับพระพุทธบัญชาแล้วจึงได้ประกาศแก่ภิกษุทั้งหลาย และในวันนั้นพระกุณฑธานเถระ จับได้สลากเป็นองค์แรกในตอนเช้าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับนั่งเข้าผลสมาบัติ บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ของท้าวสักกะเกิดร้อนขึ้นมา

พระองค์ทรงพิจารณาแล้วทราบว่า องค์สมเด็จพระบรมศาสดาจะเสด็จไป แคว้นสุนาปรันตะ ซึ่งเป็นระยะทางไกลมาก จึงรับสั่งให้ วิษณุกรรมเทพบุตร เนรมิต เรือนยอด ๕๐๐ หลัง สำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้ามี ๔ มุข (จตุรมุข) ของพระอัครสาวกทั้งสองมี ๒ มุข ที่เหลือมี มุขเดียว พระศาสดาทรงเข้าสู่เรือนยอด และ พระสาวก ๔๙๙ รูป ต่างเข้าสู่เรือนยอด ๔๙๙ หลังตามลำดับ โดยมีเรือนยอดว่างอยู่หลังหนึ่ง เรือนยอดทั้ง ๕๐๐ หลังนั้นลอยไปในอากาศ

ครั้นถึงภูเขาชื่อ“สัจจพันธ์” แล้วทรงหยุดเรือนยอดไว้ในอากาศ ทรงเทศน์โปรดท่าน สัจจพันธ์ฤาษีจนสำเร็จพระอรหันต์แล้ว จึงได้เข้าสู่เรือนยอดที่ว่างหลังนั้น ตามเสด็จไปพร้อมกับพระภิกษุทั้งหลายมายังหมู่บ้านพ่อค้า (เพชรบุรี) ที่เป็นน้องชายพระปุณณะ ต่างก็ได้ถวายทานเป็นอันมากแด่พระภิกษุทั้งหลาย อันมีองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมา สัมพุทธเจ้าทรงเป็นประธาน
เมื่อพระศาสดาประทับในที่นั้น ๒-๓วัน จึงได้เสด็จไปโปรด “นัมทานาคราช” ซึ่งตาม ในจารึกกเบื้องจารได้บอกว่า พระศาสดาได้ เสด็จโปรด “คนน้ำ” ที่เกาะแก้ว โดยประทับ ไว้ทำให้ใหญ่กว่า ๓ เท่า

ท่านเจ้าคุณพระราชกวี วินิจฉัยคำว่า “นาค” กับ “น้ำ” นั้นออกเสียงใกล้เคียงกัน และใน “อุทานวรรค” ตรัสว่าเป็น “คนทะเล” ซึ่งในเวลานี้ปรากฏว่า “คนน้ำ” หรือว่า “ชาวเล” ยังมีอยู่ ๕ กลุ่ม เช่นที่ “หาดราไวย์” เป็นต้น ใครจะลองไปถามประวัติแกดูบ้างก็ได้ เผื่อแก อาจจะจำได้บ้าง แต่ต้องพูดภาษาเขาได้นะ

แต่ตามที่ทราบว่า สมัยก่อนพวกนี้จะรับจ้างพายเรือรับส่งคนไปกราบรอยพระพุทธบาทต่อมาชาวบ้านแถวหาดราไวย์ สามารถใช้เรือหางยาวแทน แกจึงเลยตกงานไปโดยปริยาย เพราะไม่สามารถไปหาเงินมาซื้อเรือหางยาวแข่ง กับชาวบ้านได้ จึงต้องไปดำน้ำหากุ้งหาปลามา ขายแทน แต่บางคนก็มีกับเขาเหมือนกันนะ

ตามความในพระไตรปิฎกกล่าวต่อไปว่าเมื่อพระศาสดาทรงออกจากที่นั้นแลัวก็เสด็จถึงภูเขาสัจจพันธ์ คือที่ สระบุรีนี่เอง ทรงแสดงรอยพระบาทไว้บนหลังแผ่นหินทึบ เหมือนประทับตราไว้บนก้อนดินเหนียวสดๆ ฉะนั้น ต่อจากนั้นก็เสด็จไปถึงพระเชตวันทีเดียว

เรื่องนี้ตามที่วินิจฉัยไว้แล้วว่า รอยพระพุทธบาททั้ง ๒ แห่งนี้ มิได้อยู่ที่อินเดียแน่นอน แต่ถ้าจะคิดว่ารอยพระบาท ณ นัมทานที อยู่ที่ลังกา ก็ไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะเสด็จมาถึง “สุนาปรันตะ” สิ้น ระยะทาง ๓๐๐ โยชน์ หรือ ๔,๘๐๐ ก.ม. ก็จะต้องย้อนกลับไปกลับมาหลาย ครั้ง ทั้งที่ลังกาก็ไม่ปรากฎว่าพบรอยพระบาท ที่อยู่ริมทะเลอย่างนี้มาก่อน มีแต่รอยที่ปรากฎอยู่ ตามภูเขาเท่านั้น เช่น รอยพระพุทธบาทบนยอด เขา“สุมนกูฏ” เป็นต้น

เพราะฉะนั้น รอยพระบาททั้งสองแห่งนี้จะต้องอยู่ในภูมิภาคเดียวกัน ถ้าเชื่อว่ารอยพระพุทธบาทที่สระบุรีเป็นของจริง รอยพระพุทธบาทที่ภูเก็ตก็ต้องเป็นของจริงเช่นกัน โดยเฉพาะความพิสดารเล่ากันไม่หวาดไม่ไหว เล่าลือกันจนไม่มีใครกล้าไป แต่ที่ไปกันได้เพราะอาศัย ความตั้งใจจริง หรือที่เรียกกันว่า “เอาชีวิตเป็น เดิมพันกันทีเดียว” เพราะถ้ายังรักตัวกลัวตาย หรือชอบความสนุกสนาน ก็คงจะไม่ได้ไปยืน อยู่ ณ ที่นี้เป็นแน่แท้


________________________________________


สำหรับเรื่องรอยพระพุทธบาททั้ง ๕ แห่งนี้ ผู้เขียนใคร่ขอ “รณรงค์วัฒนธรรมไทย” อีก เรื่องหนึ่ง ซึ่งกำลังจะสูญหายไปจากความนิยม ไทยสมัยใหม่ ถ้าหากผู้ที่ได้ศึกษาเรื่อง “มงคล ๑๐๘ ประการ” ในฝ่าพระบาท หรือที่เรียกว่า “ลายลักษณ์พระบาท” ซึ่งเป็นศิลปกรรมยุคโบราณ คนสมัยก่อนได้นำมาผูกเป็นบทกลอน
ในปัจจุบันนี้บางวัดยังท่องกันอยู่ แต่ส่วนใหญ่กำลังจะสาบสูญไปแล้ว คณะอาจารย์สันต์ ภู่กร (เริ่มท่องเป็นประจำ) ผู้เขียนจึงได้นำต้นฉบับเก่าๆ ทั้งของภาคกลางและภาคใต้ ที่นิยมท่องกันสมัยนั้นมาเทียบเคียง พร้อมกับตรวจทานกับคัมภีร์ “พุทธปาทะลักขณะ” ซึ่งจารึกไว้เป็นภาษาบาลี จึงได้แก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้อง โดยมีใจความคล้าย “ทำนองเสนาะ”


คำนมัสการ ลายลักษณ์พระพุทธบาท
(ตั้ง นะโม ๓ จบ)

ข้าพเจ้าขอบังคม พระพุทธบาทบรม ทั้งคู่เรืองรอง, สิบนิ้วของลูก ต่างธูปเทียนทอง นัยเนตรทั้งสอง ต่างประทีปทูลถวาย, ผมเผ้าเกล้าเกศ ต่างดอกปทุมเมศ บัวทองพรรณราย, วาจาเพราะพร้อง ต่างฆ้องกลองถวาย ดวงฤทัย มั่นหมาย ต่างรสสุคนธา,

พระบาททศพล ทั้งคู่เลิศล้น ปรากฏรจนา มีกงจักรแก้ว เพริศแพร้วทอตา กงกำโสภาดวงดุมเพลาทอง, มงคลงามสรรพ ร้อยแปดประดับ บาทบงสุ์ทั้งสอง, ทั่วทั้งไตรภพ มีครบทุกช่อง ลายลักษณ์เรืองรอง ทุกห้องเฉิดฉันท์,

มีทั้งฉัตรแก้ว พระขรรค์เลิศแล้ว หอกทองไพพรรณ, มีนางชูแว่น อ้อนแอ้นเอววัลย์ มือถือบุษบัน สอดสร้อยสังวาลย์, มีปราสาทราชวัง แท่นทิพย์เตียงตั่ง เกยแก้วสุริยกาญจน์, เฉิดฉายพรายแพรว เขนยเกยแก้ว พัดใบตาลโบกแล้ว พัดหางยูงทอง, มีมงกุฏรัตน์ พัชนีโบกปัด บาตรแก้วแววว่อง, ดวงแก้วมณี รัศมีขาวผ่อง กระออมเงิน กระออมทอง กระออมแก้วแววไว, ยังมีถาดทอง ถาดเงินเรืองรอง ถาดแก้วประไพ, มีวิมานพระอิศวร พระนารายณ์เลิศไกร เทวาไสวเข้าเฝ้าวันทา,


มีป่าหิมพานต์ ต้นพฤกษาสาร ตระการรจนา, มีผลแก่อ่อน แซมซ้อนบุปผา ครุฑธิราชปักษา อยู่ป่าฉิมพลี, มีพญาไก่แก้ว นกกระเรียนเลิศแล้ว กินรากินรี, คาบพวงมาลา ร่ายรำงามดีการะเวกโนรี แขกเต้าเขาขัน, หงษ์เหินสกุณาภุมรีภุมรา งามตาสารพัน, มีพญานกกระหิตวิจิตรแดงฉันท์ ยูงทองลาวัลย์ สีสันเฉิดฉาย,มีพญาไกรสร ช้างแก้วกุญชร ม้าแก้วเพริศพราย, ราชสีห์ย่างเยื้อง เสือเหลืองเรียงรายนาคราชผันผาย นางโคคลาไคล, ให้ลูกกินนมเคล้าเคลียน่าชม ละเมียดละไม,

มีจักรพรรตรา เสนาเกรียงไกร ถือธงทิวไสว ดูงามยรรยง, มีฉ้อฉกามา สิบหกชั้นฟ้า พระอินทร์จำนง, แสนสาวชาวสวรรค์ เทวัญล้อมองค์ เข้าเฝ้าเป็นวง ยังแท่นทิพย์วิมาน, มีพรหมโสฬส สิบหกชั้นปรากฏ ล้วนแก้วแกมกาญจน์,ประดับมุขทุกชั้น โบกบันสิงห์หาญ พระพรหมชมฌาน ทุกชั้นพรหมา,

มีทั้งพระอาทิตย์ พระจันทร์เรืองฤทธิ์ชักรถไคลคลา, เวียนรอบราศี รัศมีรุ่งฟ้า ดวงดาวดารา ประดับเมืองสวรรค์, ทวีปใหญ่ทั้งสี่ทวีปน้อยนั้นมี นับได้สองพัน, มีจักรวาลเวียน พิศเพียนอนันต์ เขาพระสุเมรุเรืองฉันท์ หลักโลกโลกา, มีเขาสัตตภัณฑ ์ ล้อมรอบเจ็ดชั้นเขาแก้วนา, มีสีทันดร อยู่หว่างบรรพตา มีเจ็ด คงคา สายสินธุ์แสงใส,

มีเขาไกรลาศ เงินยวงเดียรดาษ ขาวผ่องประไพ, มีเจ็ดสระศรี ชลธีหลั่งไหล บัวบานไสวดูงามเบญจพรรณ, มีมหาสมุทรทัย ลึกล้ำ กว้างใหญ่ มัจฉาอนันต์, ปลาเงินปลาทอง ลอยล่องตามกัน มังกรผายผัน จระเข้เหรา, มีทั้งเต่าทอง ดำผุดลอยล่อง ในท้องคงคา, มีสำเภาแก้ว พรายแพรวทอตา สำเภาเงินโสภา สำเภาทองบรรจง

มีสิ้นไตรภพ พรรณนามาจบ ลายลักษณ์พระองค์, มีสิ้นทุกสิ่ง งามยิ่งยรรยง ในพื้นบาทบงสุ์ พุทธบาทบาทา, พระศรีสรรเพชญ์พระพุทธเจ้าเสด็จ โปรดโลกโลกา, มีดอกบัวทอง ทั้งสองโสภา ผุดจากพสุธา รองรับบาท บงสุ์, ทุกย่างพระบาท ปวงดอกปทุมมาศ มิได้ คลาดทุกสถาน, ที่ใดไม่สบาย พระพายพัดพาน หอบเอาสุคนธาน นมัสการพระองค์,

หอบเอาทรายแก้ว นวลละอองผ่องแผ้วมาโปรยปรายลง, ให้ทางราบรื่น ในพื้นบาทบงสุ์พระพุทธเจ้าเสด็จลง โปรดโลกหญิงชาย, ยามเยื้องยุรยาตร ปวงดอกปทุมมาศ อันตรธานหาย, จึงได้ประจักษ์ ลายลักษณ์ทั้งหลาย เหยียบย่ำ ทำลาย จะเป็นโทษนักหนา,


พระศาสดาเจ้า เสด็จเข้านิพพาน สิ้นแล้วตัณหา, ยังแต่รอยบาทบงสุ์ อันทรงพระกรุณาบรรจบครบห้า ประดิษฐานโดยมี, พระบาทหนึ่งปรากฏ อยู่เหนือบรรพต สุวรรณมาลี, พระบาทสองนั้น อยู่ สุวรรณคีรี ใกล้สระบุรีศรีพระนคร, พระบาทสามนั้นโสต อยู่เขา สุมนกูฏ ลังกาบวร, พระบาทสี่ทศพล อยู่บน สิงขร ฝ่ายเบื้องอุดร โยนกบุรี, พระบาทห้า ประดิษฐานอยู่ริมชลธาร นัมทานที, เป็นที่วันทา นาคาธิบดี มัจฉาภุมภีร์ เข้าไหว้แน่นอนันต์,

พระบาทห้าแห่ง พระพุทธเจ้าสำแดง ย่างเหยียบไว้นั้น, เป็นที่วันทา เทวาทุกชั้น มนุษย์คนธรรพ์ ครุฑธิราชอสุรา, ลายลักษณ์เลิศไตร บูชาเข้าไว้ หญิงชายถ้วนหน้า, เช้าค่ำ ไก่ขัน ทุกวันเวลา อุตส่าห์ภาวนา เป็นนิจนิรันดร์, ใครว่าลายลักษณ์ ได้บุญมากนัก แปดหมื่นสี่พัน, เหมือนได้พบองค์ พระผู้ทรงธรรม์ พรรณนามานั้น หวังเข้านิพพาน.

อะหัง วันทามิ ทูระโต, อะหัง วันทามิ ธาตุโย, อะหัง วันทามิ สัพพะโส, สาธุ..สาธุ.. อนุโมทามิ, นิพพานะ ปัจจะโย โหตุฯ


________________________________________

จากหนังสือตามรอยพระพุทธบาท เรียบเรียงโดย พระชัยวัฒน์ อชิโต
อัตเดต เมื่อ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๔๘ ระบุว่ามีรอยพระพุทธบาท ในแต่ละภาคของไทยดังนี้
- ภาคใต้ 49 แห่ง 
- ภาคเหนือ 148 แห่ง
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 206 แห่ง
- ภาคตะวันตก 34 แห่ง
- ภาคตะวันออก 15 แห่ง
- ภาคกลาง 39 แห่ง  รวมในประเทศ ๔๙๑ แห่ง

และมีรอยพระพุทธบาท ที่ต่างประเทศ 64 แห่ง  เมื่อรวมจำนวนรอยพระพุทธบาททั้งในประเทศและต่างประเทศแล้ว จะมีทั้งสิ้น ๕๕๕ แห่ง



ที่มา   http://tamroiphrabuddhabat.com/xmb/viewthread.php?tid=35
28260  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: การใส่บาตรตอนพระสวดพาหุง กับไม่สวดพาหุง เมื่อ: ธันวาคม 23, 2009, 04:15:27 pm
1.การใส่บาตรตอนพระสวดพาหุง กับไม่สวดพาหุง ต่างกันอย่างไร ได้บุญเท่ากันหรือไม่
2.บทพาหุง แต่ละบทนั้น ช่วยบรรยายให้ด้วยจ้า


ขอบคุณค่า
5 5 5 5 ;D


คำถามข้อแรกของคุณสายทอง ขอตอบว่า

   - ใส่บาตร เป็นการทำทาน ได้อานิสงฆ์ของทานครับ
   - การฟังพระสวดมนต์เป็นการฟังธรรม ก็จะได้อานิสงฆ์ของการฟังธรรม

การทำสองอย่างพร้อมกัน โดยหลักคิดทั่วไป ควรจะได้อานิสงฆ์ทั้งสองอย่าง

    ถึงตรงนี้คงพอตอบคำถาม ในประเด็น สวดหรื่อไม่สวดพาหุงได้ นะครับ

มาถึงคำถามที่สอง ผมหามาให้อ่านแล้ว(ข้างบน) อย่างจุใจมิตรรักแฟนเพลง

ติชมกันได้นะครับ

ขออนุโมทนากับคุณสายทอง

28261  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ใครเก่งพาหุง......เชิญทางนี้เลย เมื่อ: ธันวาคม 23, 2009, 03:51:46 pm
ข้อความบางส่วน จากตำนานพุทธชัยมงคลคาถา

“............นักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่า  ผู้ประพันธ์คาถานี้คือ พระมหาพุทธสิริเถระ ซึ่งรจนาคัมภีร์ฎีกาพาพุง
ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และประพันธ์ในราว พ.ศ. ๒๐๐๖ คาถานี้ยังมีชื่อว่า บทถวายพรพระ
เพราะแต่งถวายพรพระเจ้าแผ่นดินเพื่อให้ทรงชนะศึก(วิวัฒนาการวรรณคดีบาลีสายพระสุตตันตปิฎก
ที่แต่งในประเทศไทย หน้า ๓๐๑-๓๐๒)

อนึ่ง คาถาที่นิยมสวดอยู่ในปัจจุบันมี ๙ คาถา  ผู้แปลเห็นว่าคาถาบทสุดท้ายได้รับการแต่งเพิ่มเติมในภายหลัง
เพราะไม่ปรากฏในคัมภีร์ฎีกาพาหุง ทั้งในบทสวดฉบับพม่าก็ไม่มีเช่นกัน..................”

ที่มา   หนังสือพระปริตรธรรม  เรียบเรียงโดย พระคันธสาราภิวงศ์ วัดท่ามะโอ จ.ลำปาง

หมายเหตุ  คาถาบทที่ ๙ (แต่งเพิ่มเติมภายหลัง) คือ

เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา
โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
โมกขัง สุขัง อะธิคะมยยะ นะโร สะปัญโญ ฯ

บุคคลใดมีปัญญา ไม่เกียจคร้าน สวดและระลึกถึงพระพุทธชัยมงคล ๘ คาถาเหล่านี้ทุกๆ วัน บุคคลนั้นจะพึงละความจัญไรอันตรายทั้งหลายทุกอย่างเสียได้ และเข้าถึงความหลุดพ้น คือ พระนิพพานอันบรมสุข นั้นแลฯ

______________________________________________________________

ผลบุญที่ลูก-หลานได้รับจากการสวดมนต์ “พาหุง มหากา” เป็นประจำทุกวัน
โดย   พระเทพสิงหบุราจารย์ (จรัญ ฐิตธมฺโม)

ขอให้ท่านชวนลูกชวนหลานทุก ๆ คน สวดมนต์ก่อนนอน ถ้าท่านทั้งหลายตั้งใจ-ศรัทธา เชื่อมั่น ลูกหลานได้สวดมนต์ตามหนังสือนี้แล้ว ผลที่ไ้ดรับจากการสวดมนต์นั้น

๑. ลูกหลานจะมีระเีบียบวินัยดี
๒. ลูกหลานจะไม่เถียง จะเคารพเชื่อฟังพ่อ-แม่ เขาจะรู้ว่าเขาเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่-จะวางตัวได้เหมาะสม
๓. เมื่อเจริญวัยเป็นหนุ่มสาว ก็จะเป็นลูกหลานที่ดีของพ่อ-แม่ เป็นพลเมืองดีของสังคมและประเทศชาติ
๔. ผู้ที่สวดและปฏิบัติเป็นประจำสม่ำเสมอ จะเจริญรุ่งเรืองพัฒนาสถาพร จะรวย จะสวย จะดีมีปัญญา จะสมประสงค์ในสิ่งที่ดีงาม
ตลอดไปทุกประการ

ขออำนวยพร

พระเทพสิงหบุราจารย์
หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม
เจ้าอาวาสวัดอัมพวัน และเจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี

ที่มา : http://www.geocities.com/upasano/mantana.htm


_____________________________________________________________

อานิสงค์ของการสวดมนต์

สำหรับใครที่คิดว่าเราสวดมนต์ไปวันๆเพื่อประโยชน์อะไร ท่องๆไปบางครั้งสวดไปเราเองก็ไม่ไดรู้หรือทราบถึงคำแปลเลยแม้แต่อย่างใด
ดังนั้นมีหลายคนที่ตั้งคำถามที่ว่าเราสวดมนต์ หรือแม้แต่ อ่านหนังสือธรรมะไปเพื่ออะไรมาดูกันด้านล่างนี้เลย ... .. .

1. ไล่ความขี้เกียจ :ขณะสวดมนต์ อารมณ์เบื่อ เซื่องซึม ง่วงนอน เกียจคร้าน จะหมดไป เกิดความแช่มชื่น
กระฉับกระเฉงขึ้น

2. ตัดความเห็นแก่ตัว :เพราะขณะนั้นอารมณ์ของเราหน่วงอยู่ที่การสวด ไม่ได้คิดถึงตัวเอง ความโลภ โกรธ หลงจึง
มิได้กล้ำกลายเข้าสู่วาระจิต

3. ได้ปัญญา : การสวดมนต์โดยรู้คำแปลรู้ความหมาย ย่อมทำให้ผู้สวดได้ปัญญา ความรู้ แทนที่จะสวดแจ้วแจ้ว
เหมือนนกแก้วนกขุนทอง โดยไม่รู้อะไรเลย เป็นเหตุให้ถูกค่อนว่า ทำอะไรโง่ๆ

4. จิตเป็นสมาธิ : เพราะขณะนั้นผู้สวดต้องสำรวมใจแน่วแน่ มิฉะนั้นจะสวดผิดได้หน้าลืมหลัง เมื่อจิตเป็นสมาธิ
ความสงบเยือกเย็นในจิตจะเกิดขึ้น

5. ได้เฝ้าพระพุทธเจ้า : เพราะขณะนั้น ผู้สวดมีกาย วาจาปกติ มีศีล มีใจแน่วแน่ มีสมาธิมีความรู้ระลึกถึงคุณความดี
ของพระพุทธเจ้ามีปัญญาเท่ากับเฝ้าพระองค์ด้วยการปฏิบัติบูชา ครบไตรสิกขาอย่างแท้จริง ... .. .

ที่มาhttp://dharma.thaiware.com/dharma_article.php?id=129




28262  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ใครเก่งพาหุง......เชิญทางนี้เลย เมื่อ: ธันวาคม 23, 2009, 03:48:14 pm
คำแปล "พาหุงมหากา" หรือ "พุทธชัยมงคลคาถา"

มีอยู่ ๘ บท และมีความมุ่งหมายแตกต่างกันทั้งแปดบท กล่าวคือ

บทที่ ๑ สำหรับเอาชนะศัตรูหมู่มาก เช่น ในการสู้รบ
บทที่ ๒ สำหรับเอาชนะใจคนที่กระด้างกระเดื่องเป็นปฏิปักษ์
บทที่ ๓ สำหรับเอาชนะสัตว์ร้ายหรือคู่ต่อสู้
บทที่ ๔ สำหรับเอาชนะโจร
บทที่ ๕ สำหรับเอาชนะการแกล้ง ใส่ร้ายกล่าวโทษหรือคดีความ
บทที่ ๖ สำหรับเอาชนะการโต้ตอบ
บทที่ ๗ สำหรับเอาชนะเล่ห์เหลี่ยมกุศโลบาย
บทที่ ๘ สำหรับเอาชนะทิฏฐิมานะของคน

เราจะเห็นได้ว่า ของดีวิเศษอยู่ในนี้ และถ้าพูดถึงการที่จะเอาชนะหรือการแสวงหาความมีชัย ก็ดูเหมือนจะไม่มีอะไร

นอกเหนือไปจาก ๘ ประการที่กล่าวข้างต้น
ก่อนที่จะนำเอาตัวคาถาบทสวดมนต์และคำแปลมาไว้ให้จำจะต้องทำความเข้าใจคำอธิบายบทต่างๆ

ไว้พอสมควรก่อน เพราะความในคาถาเองเข้าใจยาก ถึงจะแปลออกมาก็ยังเข้าใจยากอยู่นั่นเอง เมื่อเราไม่เข้าใจ

เราอาจจะไม่เกิดความเลื่อมใส จึงควรจะหาทางทำความเข้าใจกันให้แจ่มแจ้งไว้ก่อน
ในบทที่ ๑. เป็นเรื่องผจญมาร ซึ่งมีเรื่องว่าพระยามารยกพลใหญ่หลวงมา พระพุทธเจ้าก็ทรงสามารถเอาชนะได้

จึงถือเป็นบทสำหรับเอาชนะศัตรูหมู่มาก เช่น ในการสู้รบ

คำแปล- พระยามารผู้นิรมิตแขนได้ตั้งพัน ถืออาวุธครบมือ ขี่ช้างชื่อ ครีเมขละ พร้อมด้วยเสนามารโห่ร้องมา

องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะมารได้ ด้วยทานบารมีด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา
ในบทที่ ๒. เรื่องเล่าว่า มียักษ์ตนหนึ่ง ชื่ออาฬะวกะ เป็นผู้มีจิตกระด้างและมีกำลังยิ่งกว่าพระยามาร

พยายามมาใช้กำลังทำร้ายพระองค์อยู่จนตลอดรุ่ง ก็ทรงทรมานยักษ์ตนนี้ให้พ่ายแพ้ไปได้
จึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะปฏิปักษ์หรือคู่ต่อสู้
 
คำแปล- อาฬะวกะยักษ์ผู้มีจิตกระด้าง ปราศจากความยับยั้ง มีฤทธิ์ใหญ่ยิ่งกว่าพระยามาร
เข้ามาประทุษร้ายอยู่ตลอดรุ่ง องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยขันติบารมี ด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

ในบทที่ ๓. มีเรื่องว่าเมื่อพระเทวทัตทรยศต่อพระพุทธเจ้า ได้จัดการให้คนปล่อยช้างสาร ที่กำลังตกมันชื่อนาฬาคีรี

เพื่อมาทำร้ายพระพุทธเจ้า แต่เมื่อช้างมาถึงก็ไม่ทำร้าย จึงถือเป็นบทที่เอาชนะสัตว์ร้าย
คำแปล- ช้างตัวประเสริฐ ชื่อนาฬาคีรี เป็นช้างเมามัน โหดร้ายเหมือนไฟไหม้ป่า มีกำลังเหมือนจักราวุธ และสายฟ้า

องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยพระเมตตาบารมีด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

ในบทที่ ๔. เป็นเรื่องขององคุลีมาล ซึ่งเรารู้กันแพร่หลาย คือ องคุลีมาลนั้นอาจารย์บอกไว้ว่า
ถ้าฆ่าคนและตัดนิ้วมือมาร้อยเป็นสร้อยคอ ให้ได้ครบพัน ก็จะมีฤทธิ์เดชยิ่งใหญ่

องคุลีมาลฆ่าคนและตัดนิ้วมือได้ ๙๙๙ เหลืออีกนิ้วเดียวจะครบพัน ก็มาพบพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าทรงสามารถเอาชนะถึงกับองคุลีมาลเลิกเป็นโจรและยอมเข้ามาบวช กลายเป็นสาวกองค์สำคัญองค์หนึ่ง

จึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะโจรผู้ร้าย

คำแปล- โจร ชื่อ องคุลีมาล มีฝีมือเก่งกล้า ถือดาบเงื้อวิ่งไล่พระองค์ไปตลอดทาง ๓ โยชน์
องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยการกระทำปาฏิหาริย์ ด้วยเดชะอันนี้ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา
 
ในบทที่ ๕. หญิงคนหนึ่งมีนามว่า จิญจมาณวิกา ใส่ร้ายพระพุทธเจ้า โดยเอาไม้กลมๆ
ใส่เข้าที่ท้องแล้วก็ไปเที่ยวป่าวข่าวให้เล่าลือว่าตั้งครรภ์กับพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงเอาชนะ ให้ความจริงปรากฏแก่คนทั้งหลายว่าเป็นเรื่องกล่าวร้ายใส่โทษพระองค์โดยแท้
จึงถือเป็นบทที่เอาชนะคดีความหรือการกล่าวร้ายใส่โทษ

คำแปล- นางจิญจมาณวิกาใช้ไม้มีสัณฐานกลมใส่ที่ท้อง ทำอาการประหนึ่งว่ามีครรภ์ เพื่อกล่าวร้ายพระพุทธเจ้า

องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยวิธีสงบ ระงับพระทัยในท่ามกลางหมู่คน ด้วยเดชะอันนี้ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

ในบทที่ ๖. เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงเอาชนะสัจจะกะนิครนถ์ ซึ่งเป็นคนเจ้าโวหาร เข้ามาโต้ตอบกับพระพุทธเจ้า

จึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะในการโต้ตอบ

คำแปล- สัจจะกะนิครนถ์ ผู้มีนิสัยละทิ้งความสัตย์ใฝ่ใจจะยกย่องถ้อยคำของตนให้สูงประหนึ่งว่ายกธง เป็นผู้มืดมัวเมา

องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยรู้นิสัยแล้วตรัสเทศนาด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา
 
ในบทที่ ๗. เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้า ให้พระโมคคัลลาน์ อัครมหาสาวกไปต่อสู้เอาชนะพระยานาคชื่อ นันโทปนันทะ

ผู้มีเล่ห์เหลี่ยมในการต่อสู้มากหลาย จึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะเล่ห์เหลี่ยมกุศโลบาย
คำแปล- องค์พระจอมมุนี ได้โปรดให้พระโมคคัลลาน์เถระ นิรมิตกายเป็นนาคราช ไปทรมานพระยานาคชื่อ
นันโทปนันทะ ผู้มีฤทธิ์มากให้พ่ายแพ้ด้วยวิธีอันเป็นอุปเท่ห์แห่งฤทธิ์ ด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

ในบทที่ ๘. เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงเอาชนะ ผกาพรหม ผู้มีทิฏฐิแรงกล้าสำคัญว่าตนเป็นผู้ที่มีความสำคัญที่สุด แต่พระพุทธเจ้าก็ทรงสามารถทำให้ผกาพรหมยอมละทิ้งทิฏฐิมานะ และยอมว่าพระพุทธเจ้าสูงกว่า

จึงถือเป็นบทที่ใช้เอาชนะทิฏฐิมานะของตน

คำแปล- พรหม ผู้มีนามว่า ท้าวผกา มีฤทธิ์และสำคัญตน ว่าเป็นผู้รุ่งเรืองด้วยคุณอันบริสุทธิ์
มีทิฏฐิที่ถือผิดรัดรึงอยู่อย่างแน่นแฟ้น องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ด้วยวิธีเทศนาญาณ ด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา


คำแปล มหาการุณิโก

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์ทรงประกอบด้วยพระมหากรุณา ทรงบำเพ็ญพระบารมีทั้งปวง เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุด ด้วยการกล่าวสัจจวาจานี้ ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า

ขอข้าพเจ้าจงมีชัยชนะในชัยมงคลพิธี ดุจพระจอมมุนีผู้ยังความปีติยินดีให้เพิ่มพูนแก่ชาวศากยะ ทรงมีชัยชนะมาร ณ โคนต้นมหาโพธิ์ทรงถึงความเป็นเลิศยอดเยี่ยม ทรงปีติปราโมทย์อยู่เหนืออชิตบัลลังก์อันไม่รู้พ่าย ณ โปกขรปฐพี อันเป็นที่อภิเษกของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ฉะนั้นเถิด เวลาที่กำหนดไว้ดี งานมงคลดี รุ่งแจ้งดี ความพยายามดี ชั่วขณะหนึ่งดี ชั่วครู่หนึ่งดี การบูชาดี แด่พระสงฆ์ผู้บริสุทธิ์ กายกรรมอันเป็นกุศล วจีกรรมอันเป็นกุศล มโนกรรมอันเป็นกุศล ความปรารถนาดีอันเป็นกุศล ผู้ได้ประพฤติกรรมอันเป็นกุศล ย่อมประสบความสุขโชคดี เทอญ

ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ

ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ

ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ
------------------------------------------------------------------------------

ที่มาและอานิสงส์ของบทสวดมนต์ ชัยมงคลคาถา หรือพาหุงมหาการุณิโก
 
ที่มาของบทสวดมนต์ชัยมงคลคาถา อาตมาได้ตำราเก่าแก่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นใบลานทองคำจารึกของสมเด็จพระพนรัตน์

วัดป่าแก้ว ปัจจุบันเรียกว่า วัดใหญ่ชัยมงคล อยุธยา ได้รจนาถวายพระพรชัยมงคลคาถาแก่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระพนรัตน์เป็นอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
อานิสงส์ของบทสวดมนต์ชัยมงคลคาถา หรือพาหุงมหากา สมเด็จพระนเรศวรมหาราชไม่เคยแพ้ทัพ

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ไม่เคยแพ้ทัพ พระชัยหลังช้างของ ร.๑ นั้นมาจากบทพาหุง มหากา


ผู้ใดสวดมนต์ชัยมงคลคาถา หรือพาหุงมหากา เป็นประจำทุกๆ วันแล้ว มีแต่ชัยชนะทุกประการ
เรียนหนังสือก็เกิดปัญญา มีแต่ความเก่งกล้าสามารถ ผู้ใดสวดทุกเช้า ค่ำ คิดสิ่งใดที่ดีเป็นมงคล
จะสมความปรารถนาทุกประการ


เมื่ออาตมา(หลวงพ่อจรัญ)ได้พบกับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว


คืนวันหนึ่งอาตมานอนหลับแล้ว ฝันไปว่า อาตมาได้เดินไปในสถานที่แห่งหนึ่งได้พบกับพระสงฆ์รูปหนึ่งครองจีวรคร่ำ

สมณสารูปเรียบร้อยน่าเลื่อมใส อาตมาเห็นว่าเป็นพระอาวุโสผู้รัตตัญญูจึงน้อมนมัสการท่าน
ท่านหยุดยืนตรงหน้าอาตมาแล้วกล่าวกับอาตมาว่า

"ฉันคือสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้วแห่งกรุงศรีอยุธยา ฉันต้องการให้เธอได้ไปที่วัดใหญ่ชัยมงคล เพื่อดูจารึกที่ฉันได้จารึกถวายพระเกียรติแก่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชผู้เป็น เจ้า เนื่องในวาระที่สร้างพระเจดีย์ฉลองชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชาแห่งพม่าและ ประกาศความเป็นอิสระของประเทศไทย

จากหงสาวดีเป็นครั้งแรก เธอไปดูไว้แล้วจดจำมาเผยแพร่ออกไป ถึงเวลาที่เธอจะได้รับรู้แล้ว"
ในฝันอาตมารับปากท่าน ท่านก็บอกตำแหน่งให้แล้วก็ตกใจตื่นนอนใกล้รุ่ง อาตมาก็ทบทวนความฝันก็นึกอยู่ในใจว่าเราเองนั้นกำหนดจิตด้วยพระกรรมฐานมีสติ อยู่เสมอเรื่องฝันฟุ้งซ่านก็เป็นไม่ม
ี อาตมาก็ได้ข่าวในวันนั้นแหละว่า ทางกรมศิลปากรทำการบูรณะปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ใหญ่ในวัดใหญ่ชัยมงคล

และจะทำการบรรจุบัวยอดพระเจดีย์ อันเป็นนิมิตหมายการสิ้นสุดการบูรณะ และจะรื้อนั่งร้านทั้งหมดออกเสร็จสิ้น

อาตมาจึงได้ขอร้อง ดร.กิ่งแก้ว อัตถากร ให้เลื่อนการปิดยอดบัวไปอีกวันหนึ่งเพื่อที่อาตมาจะได้นำพระซุ้มเสมาชัย

ซุ้มเสมาขอ ที่อาตมาได้สร้างขึ้นตามแบบดั้งเดิมที่พบในเจดีย์ใหญ่ใกล้กับวัดอัมพวัน ซึ่งพังลงน้ำ
ที่ก๋งเหล็งเป็นคนรวบรวมเอาให้อาตมาตั้งแต่เมื่อเริ่มมาพัฒนาวัดใหม่ๆ แต่แตกหักผุพังทั้งนั้น หลายสิบปี๊บ

อาตมาได้ป่นเอามาผสมสร้างเป็นองค์พระใหม่ ไปร่วมบรรจุไว้ที่ยอดพระเจดีย์บ้าง
วันนั้นอาตมาเดินทางไปถึงก็ได้เดินขึ้นไปบนเจดีย์ตอนที่สุดบันไดแล้ว มองเห็นโพรงที่ทางเขาทำไว้สำหรับลงไปด้านล่าง

มีร้านไม้พอไต่ลงไปภายใน ตั้งใจเด็ดเดี่ยวว่าลงไปคราวนี้ ถ้าพลาดตกลงไปจากนั่งร้านม้าก็ยอมตาย

คนที่ร่วมเดินทางมาเขามัวแต่ไปบนลานชั้นบน อาตมาก็ดิ่งลงไปชั้นล่าง มีไฟฉายดวงหนึ่ง เวลานั้นประมาณ ๐๙.๐๐ น.

อาตมาลงไปภายในแล้วก็พบนิมิตดังที่สมเด็จพระพนรัตน์ได้บอกไว้จริงๆ
อาตมาจึงได้พบว่าแท้ที่จริงแล้ว สิ่งที่สมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้วท่านได้จารึกถวายพระพร
ก็คือบทสวดที่เรียกว่า "พาหุงมหาการุณิโก" ท้ายของนิมิตนั้นระบุว่า "เราสมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้วศรีอโยธเยศ

คือผู้จารึกนิมิตรจนาเอาไว้ถวายพระพรแด่มหาบพิตรเจ้าสมเด็จพระนเรศวรมหาราช"
พาหุงมหากาก็คือบทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ แล้วก็พรพาหุงอันเริ่มด้วย

"พาหุงสหัสไปจนถึงทุคคาหทิฏฐิ แล้วเรื่อยไปจนถึงมหาการุณิโกนาโถหิตายะ
และจบลงด้ว

อาตมา เรียกรวมกันว่าพาหุงมหากา
อาตมาจึงเข้าใจในบัดนั้นเองว่า บทพาหุงนี้คือบทสวดมนต์ที่สมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้วได้ถวายให้พระบาท สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ไว้สวดเป็นประจำเวลาอยู่กับพระมหาราชวังและในระหว่างศึกสงคราม

จึงปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเจ้าทรงรบ ณ ที่ใด ทรงมีชัยชนะอยู่ตลอดมามิได้ทรงเพลี่ยงพล้ำเลยแม้จะเพียงลำพังสองพระองค์กับสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้า

ท่ามกลางกองทัพพม่าจำนวนนับแสนคนก็ทรงมีชัยชนะเหนือกองทัพพม่าด้วยการกระทำยุทธหัตถี
มีชัยเหนือพระมหาอุปราชาที่ดอนเจดีย์ปูชนียสถานแม้ข้าศึกจะยิงปืนไฟเข้าใส่พระองค์ในตอนที่เข้ากัน

พระศพของพระมหาอุปราชาออกไปราวกับห่าฝนก็มิปานแต่ก็มิได้ต้องพระองค์ ด้วยเดชะพาหุงมหากาที่ทรงเจริญอยู่เป็นประจำนั่นเอง

อาตมาพบนิมิตแล้วก็ไต่ขึ้นมา ด้วยความสบายใจถึงปากปล่องที่ลงไปเกือบสามชั่วโมง เนื้อตัวมีแต่หยากไย่ เดินลงมาแม่ชีเห็นเข้ายังร้องว่า หลวงพ่อเข้าไปในโพรงนั่นมาหรือ แต่อาตมาไม่ตอบ
ตั้งแต่นั้นมา อาตมาจึงสอนการสวดพาหุงมหากาให้แก่ญาติโยมเป็นต้นมา เพราะอะไร เพราะพาหุงมหากานั้นเป็นบทสวดมนต์ที่มีค่าที่สุด มีผลดีที่สุด เพราะเป็นชัยชนะอย่างสูงสุดของพระบรมศาสดา

จากพญาวัสวดีมาร จากอาฬาวกะยักษ์ จากช้างนาฬาคิรี จากองคุลีมาล จากนางจิญมาณวิกา จากสัจจะกะนิครนถ์ จากพญานันโทปนันทนาคราช และท่านท้าวผกาพรหม เป็นชัยชนะที่พระพุทธองค์ทรงได้มาด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ และด้วยอำนาจแห่งบารมีธรรมโดยแท้ ผู้ใดได้สวดไว้ประจำทุกวันจะมีชัยชนะมีความเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน

มีสติระลึกได้ จะตายก็ไปสู่สุคติภูมิ ขอให้ญาติโยมสวดพาหุงมหากากันให้ทั่วหน้า นอกจากจะคุ้มตัวแล้ว

ยังคุ้มครอบครัวได้ สวดมากๆ เข้า สวดกันทั้งประเทศก็ทำให้ประเทศมีแต่ความรุ่งเรือง พวกคนพาลสันดานหยาบก็แพ้ภัยไปอย่างถ้วนหน้า
ไม่ใช่แต่พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเท่านั้น
ที่พบความมหัศจรรย์ของบทพาหุงมหากา แม้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ทรงพบเช่นกัน
โดยมีบันทึกโบราณบอกไว้ว่าดังนี้

"เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชตีเมืองจันทบุรีได้แล้วก็ทรงเห็นว่าสงครามกู้ชาติต่อจากนี้ไปจะต้องหนักหนา

และยืดยาวจึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระยอดธงแบบศรีอยุธยาขึ้นแล้วนิมนต์พระเถระทั้งหลายมาสวดบทพาหุง มหากาบรรจุไว้ในองค์พระและพระองค์ก็ทรงเจริญรอยตามพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ด้วยการเจริญพาหุงมหากาจึงบันดาลให้ทรงกู้ชาติสำเร็จ"
สวดพาหุงมหากากันให้ได้ทุกบ้าน สวดให้ได้มากๆ จะมีแต่ความรุ่งเรือง สวดพาหุงมหากาก่อนแล้วจึงสวดชินบัญชร

เพราะชินบัญชรนั้นเจ้าประคุณสมเด็จท่านได้สวดบูชาพระอรหันต์ของท่าน ต้องสวดพาหุงมหากาก่อนแล้วจึงมาถึงชินบัญชรให้จดจำกันเอาไว้ นั่นแหละมงคลในชีวิต

อันที่จริงถ้าเราทำบุญ เราจะได้ยินพระสวดคาถา "พาหุงมหากา" หรือ "พุทธชัยมงคลคาถา" ให้เราฟังทุกครั้ง

บางทีเราจะเคยได้ยินพระสวดเจนหูเกินไปจนไม่นึกว่ามีความสำคัญ แท้จริงแล้วคาถาดังกล่าวนี้ มีของดีอยู่ในตัวให้เราใช้มากทุกบททุกตอน เป็นเรื่องของพระพุทธเจ้า อ้างอานุภาพของพระพุทธเจ้าเพื่อนำชัยมงคลมาให้แก่เรา ทุกตอนลงท้ายว่า "ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ"
เวลาพระสวดให้เรา ท่านต้องใช้คำว่า "เต" ซึ่งแปลว่า "แก่ท่าน" แต่ถ้าเราจะเอามาสวดหรือภาวนาของเราเอง

เพื่อให้ชัยชนะเกิดแก่ตัวเราเอง เราก็จะต้องใช้ว่า "เม" ซึ่งแปลว่า "แก่ข้า" คือสวดว่า "ตันเตชะสา ภะวะตุเม
ชะยะมังคะลานิ"

ที่มา     http://www.84000.org/pray/puttakun.shtml
______________________________________________________________________________
28263  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ใครเก่งพาหุง......เชิญทางนี้เลย เมื่อ: ธันวาคม 23, 2009, 03:41:17 pm
พุทธคุณ พาหุง มหากา

จากคำสอนหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน

หลวงพ่อจรัญ " พระพุทธคุณ อาตมาสังเกตมาว่า บางคนเขาไปหาหมอดูเคราะห์ร้ายก็ต้องสะเดาะเคราะห์

อาตมาก็มาดูเหตุการณ์โชคลางไม่ดีก็เป็นความจริงของหมอดู อาตมาก็ตั้งตำราขึ้นมาด้วยสติ
บอกว่าโยมไปสวดพุทธคุณเท่าอายุให้เกินกว่า ๑ ให้ได้ เพื่อให้สติดี แล้วสวด "พาหุงมหากา" หายเลย

สติก็ดีขึ้นเท่าที่ใช้ได้ผลสวดตั้งแต่ นะโม พุทธัง ธัมมัง สังฆัง พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ พาหุงมหากา

จบแล้วย้อนกลับมาข้างต้น เอาพุทธคุณห้องเดียว ห้องละ ๑ จบ ต่อ ๑ อายุ อายุ ๔๐ สวด ๔๑ ก็ได้ผล "
________________________________________

<<เริ่มสวด>>
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

๑. พุทธคุณ
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวมนุสสานัง พุทโธภะคะวาติ

๒. ธรรมคุณ
สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิติ

๓. สังฆคุณ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทังจัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

๔. พุทธชัยมงคลคาถา (ถวายพรพระ)

๑. พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

๒. มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

๓. นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

๔. อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติโย ชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

๕. กัตตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

๖. สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
 
๗. นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ

๘. ทุคคาหะ ทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต* ชะยะมังคะลานิ
เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถาโย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ


* ถ้าสวดให้คนอื่นใช้คำว่า เต สวดให้ตัวเองใช้คำว่า เม (เต แปลว่าท่าน - เม แปลว่าข้าพเจ้า)

๕. มหาการุณิโก
มหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา
ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ
ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง
นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตะวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล
อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะ
พุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ สุนักขัตตัง สุมังคะลัง
สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะ
จารีสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง
มโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัดเถ ปะทักขิเณฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะพุทธา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะธัมมา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะสังฆา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*
* ถ้าสวดให้คนอื่นใช้คำว่า เต สวดให้ตัวเองใช้คำว่า เม (เต แปลว่าท่าน - เม แปลว่าข้าพเจ้า)
กราบ ๓ ครั้ง เสร็จแล้วสวดเฉพาะพุทธคุณ ดังต่อไปนี้
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชา จาระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อะนุตตะโร ปุริสะทัม มะสาระถิ สัตถาเทวะ มะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

ให้สวดพุทธคุณเกินอายุ ๑ จบ เช่น อายุ ๒๘ ปี ให้สวด ๒๙ จบ
เมื่อสวดพุทธคุณครบตามจำนวนจบที่ต้องการแล้ว จึงตั้งจิตแผ่เมตตาและอุทิศส่วนกุศลดังนี้


คาถาแผ่เมตตาตนเอง
อะหัง สุขิโต โหมิ ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข
อะหัง นิททุกโข โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความทุกข์
อะหัง อะเวโร โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากเวร
อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ

ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุขกายสุขใจ รักษากายวาจาใจให้พันจากความทุกข์ภัยทั้งปวงเถิด
แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์
สัพเพสัตตา สัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อะเวรา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
อัพยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้พยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อนีฆา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิดฯ

บทกรวดน้ำ (อุทิศส่วนกุศล)

อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร
- ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่มารดาบิดาของข้าพเจ้า ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้า จงมีความสุข
อิทัง เม ญาตินัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
- ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า จงมีความสุข
อิทัง เม คุรูปัชฌายาจริยานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจริยา
- ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แด่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ จงมีความสุข
อิทัง สัพพะ เทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เทวา
- ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลาย ขอให้เทวดาทั้งหลายจงมีความสุข
อิทัง สัพพะเปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา
- ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่เปรตทั้งหลาย ขอให้เปรตทั้งหลาย จงมีความสุข
อิทัง สัพพะ เวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเวรี
- ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จงมีความสุข
อิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพสัตตา
- ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข
<<จบบทสวด>>
________________________________________
28264  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ใครเก่งพาหุง......เชิญทางนี้เลย เมื่อ: ธันวาคม 23, 2009, 03:28:00 pm
บทที่ ๗
นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุทธัง มะหิทธิง ปตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวามุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ

อันนี้ก็แปลกันมาว่า "พระพุทธเจ้าชนะคนที่ติดในเรื่องที่ตัวเองได้แล้ว เป็นเจโตที่มา ที่รู้นึกว่าตัวเองถูก อันนี้เป็นนักบวชเหมือนกัน ปราบนักบวชขั้นสูงต่อมา ปราบนักบวชขั้นใหญ่ ที่คิดว่าตัวเอง เป็นผู้ที่ ได้แล้ว ซึ่งความสูง ด้วยฤทธิ์อันนั้นถือว่าตัวเองเป็น "เถระภุชะเคนะทะมาปะยันโต" นึกว่าตัวเอง เป็นเถระที่ใหญ่ ที่มีฤทธิ์เดช ดังหนึ่งพญานาคราชใหญ่โตแล้ว

เพราะฉะนั้น ถ้านักบวชผู้ใดถือว่าตัวเองเหมือนพญานาคราช อันนี้ก็ไม่เน้น "ปัญญา" แต่อันนี้เน้น "เจโต" คือได้ความสงบมาก ได้"วูปสโม สุโข" มาก สงบมากที่สุด เป็นพญานาค สงบจนกระทั่งนิ่งเงียบ ชั้นพญานาค เหมือนคนนอนหลับ พญานาคนอนหลับทีหนึ่ง พระพุทธเจ้าเกิดหนหนึ่ง ถึงตื่นทีหนึ่ง หรือ รู้สึกตัวทีหนึ่งน่ะ

"พญานาค"นี้ หมายความว่าสงบถึงขั้นนั้น สงบดิ่งเก่ง เป็น"เจโตสมถะ" ไม่รับรู้ไม่รับทราบอะไรทั้งนั้น นี้หมายความว่า เป็นผู้ที่มาปฏิบัติธรรมมาแล้ว ได้รับความสงบ พระพุทธเจ้าปราบคนที่มิจฉาทิฏฐิ พวกนี้เหมือนกัน โดยเกจิอาจารย์ (ผู้แต่งบทพาหุงฯ) ก็จับความผูกเรื่องมาว่า พระโมคคัลลาเถระ ซึ่งเป็นพระสาวก นิรมิตรกายเป็นนาคราช ไปทรมานพญานาคชื่อนันโทปะนันทะ ถ้าเราปราบคน เดี๋ยวนี้ อย่างนี้ ก็คือเราปราบนักบวชที่มีคุณลักษณะเป็นดั่งพญานาค และนักบวชผู้นั้นมีความสงบ รำงับได้อย่างลึก แล้วก็ปราบด้วยวิธี "อิทธูปะเทสะวิธินา" ก็คือ เทศนาให้มีผลเก่ง แสดงความจริง ให้ปรากฎเก่ง "อิทธูปะเทสะวิธินา" ด้วยอุปเทศมีฤทธิ์ ท่านแปลว่า อุปเทศมีฤทธิ์เป็นอิทธิอีกประเภท ต้องเทศนานั่นแหละ ให้มีความเก่งหรือมีฤทธิ์ (อิทธิ) ยิ่งๆขึ้น ให้มีรายละเอียด มีแง่ มีมุมต่างๆยิ่งๆขึ้น (อุปเทศ) ให้มีเทศนาที่ดี มีอิทธิปาฏิหาริย์ อาเทศนาปาฏิหาริย์ มีความเก่งกล้า ถูกต้องอริยธรรม (คือ ไมใช่ปาฏิหาริย์ที่เป็นเดรัจฉานวิชชา) ด้วยวิธีอันเยี่ยมยอด เพื่อจะทำวิธีให้เขาเห็นได้ เข้าใจได้ ว่ากลาย ไปหลงความสงบ เป็นนันโทปนันทะ พญานาคตัวใหญ่ มันก็ยังไม่เป็นที่สุดหรอก ไปหลงความสงบนี้ ก็ยังไม่เข้าท่า อันนี้เป็นเรื่องของนักบวชแล้ว หรือคนปฏิบัติธรรมชั้นสูง นักบวชด้วยการพึงรู้ นักบวช คนไหนติดทิฏฐิของตัวเอง ว่าตัวเองเก่ง (หลงในความหยุด ความนิ่ง ความสงบของตน) อย่างนี้แล้ว ซึ่งเหมือนกับนักบวชเก่งในความลึกซึ้ง อย่างนั้นอย่างนี้ สามารถเรียนไอ้โน่น เรียนไอ้นี่ ทำเก่ง มีคำพูดเก่งสามารถที่จะแสดงไอ้นี่ได้เก่ง แล้วก็หลงในความรู้ หลงในความเก่ง ความสามารถของตน อย่างนั้นก็จัดว่าเป็นประเภทที่ยังหลงตัวอยู่เหมือนกัน การแสดงธรรม เอาชนะด้วยการใช้วิธี ใช้ปัญญา อธิบาย ใช้พลังของความจริงที่มี ยืนยันด้วยวิธีต่างๆนานามากหน่อย เพราะว่าคนที่หลง ความสงบนี้ มันเป็น "มานะ" ขั้นสูง เป็นความยากแสนยาก และนักบวชชนิดนี้ ปัญญาจะไม่ค่อยแล่น หรือ ส่วนมากไม่ชอบคิด ปัญญาน้อย
เพราะฉะนั้น ต้องมี "อิทธูปะเทสะ" มีวิธีที่จะแสดงอุปเทศต่างๆ เหลี่ยมนั้น เหลี่ยมนี้ แสดงถึงกายธรรม วจีธรรม มโนธรรมออกมาให้เขารู้ได้ เขาหมดทิฏฐิได้ จนเป็นผู้มี "สัมมาทิฏฐิ" รอบถ้วน และพร้อมกับ แก้ไขความติด ความผิดนั้นๆ ได้ ถ้าใครได้สามารถช่วยคนอย่างนี้ได้ คนนั้นก็เป็น "ชิตะวามุนินโท" เป็นพระมุนี ที่เราชนะได้ ซึ่งเป็นมารชั้นสูงมาก

ก่อนอื่นจริงๆ ก็ตรวจตัวเราเองนั้นแหละก่อนว่า เราหลงความสงบหรือไม่? เรามีความสงบนั้น ต้องมี ให้ได้จริง! แต่เราติดสงบ ติดหยุด ติดคุดคู้หรือไม่ ถ้าไม่ติด เป็นผู้รู้แจ้งจริง ก็เป็น ชิตะวามุนินโท เอาทีเดียว จากนั้นจึงช่วยผู้อื่น ที่มีมิจฉาทิฏฐิ มีมิจฉาสมาธิ ให้นักบวชผู้มี "มิจฉา" เหล่านั้น เข้าใจถูก เป็น "สัมมาทิฏฐิ" และถอดถอนส่วนที่ไปหลงผิด จนเป็น "มิจฉาสมาธิ" นั้นๆเสีย
"สัมมาสมาธิ"ของพระอริยะ อันมีมรรคองค์ ๘ นั้นไม่ใช่สภาพที่จะเข้าใจได้ง่ายๆ หรือเป็นได้ง่ายๆ ดั่งสมาธิหลับตา ต้องมีความเข้าใจอย่างถูกต้องจริงๆ (ผู้สนใจโปรดอ่าน "มหาจัตตารีสกสูตร" มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์) และเป็นของศาสนาพุทธเท่านั้น มันมีประโยชน์สูงสุด และมีสภาพ ประหยัดสุด มีระดับอนุโลม-ปฏิโลมอยู่ครบพร้อม เกื้อกูลเกี่ยวพันกับผูอื่น เป็นความสมบูรณ์ของ ศาสนา หรือเป็นความประเสริฐสมบูรณ์ของความเป็นมนุษย์ ผู้เข้าถึง ผู้เป็นได้จริง คนผู้ได้ความสงบ แล้วก็หลงความสงบ ติดสงบ ก็จะขี้เกียจเฉื่อยชา เนือย ปัญญาก็จะเสื่อมลงๆ เมื่อความเกียจคร้าน เข้าจับ นั่นไม่ใช่ความเป็นมนุษย์ประเสริฐของศาสนาพุทธเลย ศาสนาเดียรถีย์ที่ปฏิบัติธรรมแล้ว ก็ไปจบที่"หยุด"เลิกโลกแบบพาซื่อ ทิ้งโลกแบบเถนตรง ไม่รับรู้กับโลก ไม่เกื้อกูลโลก ไม่เกื้อกูล มวลมนุษยชาติ ไม่เข้าใจความสุขของมวลมนุษยชาติ ไม่ช่วยมวลมนุษยชาติใหมีอริยญายธรรม ได้ชื่อว่าศาสนาหนีเอาตัวรอด หรือลัทธิเห็นแก่ตัว ศาสนานั้นลัทธิอย่างนั้น หรือทิฏฐิอย่างนั้น เป็นเดียรถีย์

แต่ศาสนาพุทธนั้น พระพุทธองค์ทรงยืนยันว่า ธรรมวินัยนี้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลมวลมนุษยชาติ
ปฏิบัติเพื่อความสุขแห่งมวลมนุษยชาติ เพื่อยังหมู่มวลมนุษยชาติทั้งหลายทั้งปวงให้มากที่สุด อันจะตั้งอยู่ในอริยญายธรรม (คือ เป็นอารยชน เป็นมนุษย์ที่เจริญ ไม่ด้อยพัฒนานั่นเอง)
(จากสุตตันต. อังคุต จตุกก.ข้อ ๓๕ ตามพระบาลีที่ว่า อิธ พราหมณะ พะหุชะนะหิตายะ ปฏิปันโน โหติ พะหุชะนะสุขายะ พหุสสะ ชะนะตา อริเยญาเย ปติฏฐาปิตา)

ศาสนาพุทธสอนคนให้เป็นปราชญ์ ให้เป็นมหาบุรุษ ยิ่งบรรลุธรรมก็ยิ่งเป็นประโยชน์ต่อโลก โลกุตตรธรรม ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เป็นคุณธรรมของมหาปราชญ์ ของมหาบุรุษ ที่จะค้ำจุนโลก ช่วยมนุษยชาติ ไม่ใช่ธรรมที่ปฏิบัติแล้วกลับกลายเป็นผู้ได้แต่ประโยชน์ตน เห็นแก่ตัว ไปชิบ ! อย่างนั้นก็ไม่เลย อย่าเข้าใจผิด หลงผิด (มิจฉาทิฏฐิ) กันว่าการปฏิบัติตามโลกุตตรธรรมนั้น ก็เพื่อ"ตัวเอง" เท่านั้น หรือบวชเป็นภิกษุเสีย จะได้ไม่ต้องมาอยู่ในโลก ปฏิบัติไปในทางโลกุตตรธรรม แล้ว ก็หมายความว่าเรารอดพ้นแต่ตัว เราไม่อยู่ในฐานะที่จะทำอะไรให้เกิดแก่คนอื่นได้ โลกุตตรธรม นั้น หมายถึงการแยกตนจากหมู่คณะ หรือแยกตนออกจากสังคม ถ้าขืนใครเข้าใจ "โลกุตตรธรรม" ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอย่างนี้ ผู้นั้นก็ซวยมาก ก็น่าสงสาร ที่ไปเห็นศาสนาพุทธเป็นอย่างนั้น เสียนี่ เพราะมันเท่ากับหมายความว่า ศาสนาพุทธเนื้อๆ แท้ๆ กลับไม่มีค่าอะไรเลยกับมนุษยชาติ หรือ ขัดกับพระพุทธพจน์ ที่ยกขึ้นมายืนยันให้ฟังเมื่อกี้นี้แน่ๆ

ศาสนาฤาษีที่สอนให้มีทิฏฐิแบบทิ้งโลก ทิ้งมนุษย์ "หยุด" ไปอย่างพาซื่อดื้อๆ เป็นเถนตรง ไม่มีสติปัฏฐาน ไม่มีวิปัสสนา แล้วก็ "เบื่อหน่ายแบบเกลียดชัง" ความเป็นจริงของทุกๆ สิ่งในสังคม เกลียดชังวัตถุ เกลียดชังในพฤติกรรมของมนุษย์นั้น มันมีมาก่อนศาสนาพุทธจะเกิด และมีมาก ลัทธิด้วย และมันก็ไม่ใช่ความประเสริฐของความเป็นมนุษย์อะไร? มันเป็นเพียง "ความเห็นแก่ตัว" ของมนุษย์เชิงหนึ่งเท่านั้น มันเป็นลัทธิที่สอนให้คนกลัว ! ไม่ใช่ลัทธิที่สอนให้คนแกล้วกล้า องอาจ แข็งแรงต่อโลก เป็น"ที่พึ่ง" ของมนุษยชาติ มันตรงกันข้ามกับลัทธิพุทธน่า ! มันเป็นเรื่องตื้นเขิน และ ไม่ใช่ความลึกซึ้งอะไรที่จะเรียนรู้ หรือทำความเข้าใจ มันจึงไม่เข้าใจง่าย และใครๆก็เข้าใจได้ ไม่ยากจริงๆ

คนเป็นจำนวนมาก จึงเข้าใจกันอย่างนี้ และแล้วจึงคิดว่าศาสนาพุทธ ก็มี"ทิฏฐิสัมบูรณ์" แบบนี้บ้าง ซึ่งมันไม่ใช่!

แต่ศาสนาพุทธก็ไม่เป็นทาสสังคม ไม่หลงใหลติดใจในพฤติกรรมของมนุษย์ ไม่เป็นทาสวัตถุ ไม่เป็นทาส อารมณ์จิต และมี"กรรมวิธี" (มรรควิธี) ในการปฏิบัติเพื่อเรียนรู้ เพื่อลดละ เพื่อขัดเกลา อารมณ์จิตที่เคยหลง เคยติด เคยเป็นทาสสิ่งเหล่านั้นออกให้เกลี้ยว สนิทจนอยู่กับโลก อยู่กับสังคม อยู่กับวัตถุ อยู่กับพฤติกรรมของมนุษย์ทั้งหลายได้ โดยจะได้ชี้ช่วยลด ช่วยเพิ่มให้แก่สังคม เป็นครู ของมนุษยฺ์ของสังคม เกื้อกูลเขา ช่วยให้เขาอยู่เป็นสุขขึ้น และฉลาดขึ้นอย่างแท้จริง ตรงตาม พระพุทธพจน์ แน่ๆ ผู้เป็นครูนั้นๆ ก็เป็นผู้"ประหยัดสุด" เพื่อ "ประโยชน์สูง"จริงๆ

ดังนั้นแม้จะปฏิบัติกันจนบรรลุได้ในช่วงหนึ่ง ได้รับผลเห็นแจ้งว่าการหยุด การพัก การไม่ต้องยุ่งกับ อะไรๆ นั้นมันสบาย มันว่าง มันง่าย มันสงบจริงๆ นักปฏิบัติธรรมที่ไม่มีครูอาจารย์สอนถูกทิศถูกทาง จริงๆ ก็จะติดสงบ หลงความสงบ หลงความหยุด หลงความพัก ความไม่ต้องยุ่งกับงานการ กับเรื่อง อะไรทั้งหมดเลย จะอยู่มันเฉยๆ นิ่งๆ เนือยๆ ไม่มีความขวนขวาย ไม่มีความขยัน เป็นใบ้ เป็นเศษมนุษย์ เป็นกากคนที่เหมือนของสูญเปล่า ไร้ค่า ไร้แรงงาน ทั้งทางกาย ทางปัญญา แต่ก็ยังกิน อาหารในโลกอยู่กับเขา ยังใช้สอยวัตถุต่างๆ บางรายที่ยังไม่ใช่รายเก่ง ก็จะเป็นเศษมนุษย์ที่เปลือง พอได้ แต่บางรายก็เก่งเหมือนกัน เป็นเศษมนุษย์จริง และไม่เปลืองวัตถุโลก ไม่มีพฤติกรรมเยี่ยง มนุษย์ ปุถุชนโลกๆ นั่นก็นับว่าเป็นความเก่งอย่างหนึ่งเหมือนกัน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าหมดกิเลส เพียงแต่ห่างวัตถุ ห่างสิ่งที่เป็น"เหตุ" แห่งกิเลสภายนอกไปเท่านั้น ถ้าจิตที่หมดกิเลสจริงแล้ว อยู่กับ เหตุปัจจัยภายนอกอะไรก็ได้ จึงจะเรียกว่าเหนือโลก เหนือวัตถุในโลก จึงจะชื่อว่า"โลกุตระ" แท้

แต่นี่ยังสัมผัส สัมพันธ์กับวัตถุบางอย่าง พฤติกรรมของมนุษย์บางอย่างไม่ได้ ก็ยังไม่เปล่า ไม่ว่าง ในจิตจริง ยังหวั่นไหวต่อการกระทบอยู่ จึงต้องหลบลี้ หรือเลี่ยงอยู่ป่าอยู่เขา อยู่ถ้ำที่ห่างไกลโลกีย์ จนตายไปก็เยอะ ซึ่งที่จริงก็ไม่ใช่ของง่ายเลย ที่คนจะปฏิบัติตนจนปละปล่อยจิต หยุดจิตละมาได้ ถึงขั้น ทิ้งพฤติกรรมที่ปุถุชนเขาติด ทิ้งโลกียะทางกามราคะ ขั้นละเว้นกันได้นานๆ จนดูประหนึ่งเป็น "อนาคามี" หรือเป็นผู้ไม่ใยดีบ้านช่องเรือนชาน ทรัพย์สินสมบัติอะไร บางคนทิ้งละไปได้ จนตราบตาย จากไปเลย ก็มีไม่น้อย แต่มันก็ยังไม่ใช่จุดสูงสุดของศาสนาพุทธ

การลด ละ สงบ รำงับมาได้ออกปานนี้ก็เป็น "ผู้ประเสริฐ"(นาค) ขั้นหนึ่งแง่หนึ่งเหมือนกัน แต่ยังไม่ สูงสุด จริงๆนั้นอาจจะละจะเว้นสมบัติโลก ละเว้นพฤติกรรมอย่างมนุษย์โลกออกมาได้ เพียงเพราะ ติดสงบ ซึ่งเป็นการเสพย์ติดชนิดหนึ่ง เพราะอุปาทานสุดโต่งชนิดหนึ่ง หรือเพียงเพราะห่างเหตุ ห่างปัจจัยแห่งกิเลส อันเป็นเพียงวัตถุหยาบ เป็นเพียงรูปธรรม มิใช่เหตุที่เป็นนามธรรม เป็นที่สุดพร้อม เป็นเพียงภายนออก มิใช่ในภายในอย่างถูกจุดแท้ด้วยปัญญาจริงเท่านั้นเอง จึงทนได้ แต่ถ้ายัง สัมพันธ์ สัมผัสโลกอยู่จะทนไม่ได้ จึงจะต้องเอาชนะความติดสงบ ติดหยุดนี้ให้ได้ และจะต้องเรียนรู้ พิสูจน์แท้ว่า "ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ น กมปติ" คือสัมผัสโลกธรรมใดๆ สัมพันธ์อยู่กับโลก ทั้งหลายอย่างไร จิตใจของเราก็ไม่มีหวั่นไหวจริงๆ ได้แท้ จึงจะเป็น "ชิตะวามุนินโท" เป็นมุนีผู้ชนะ สูงขึ้นไปให้ได้อีก

นี่ก็เป็นสภาพธรรม และความรู้อันได้มาจาก "พาหุง บทที่ ๗" ก็สูงขึ้นๆ มาตามลำดับ ขั้นนี้ มันขั้น "ปฏินิสสัคคะ" คือ ขั้น "ย้อนคืน" หรือ "สละคืน" มันเป็นขั้นสูง ถึงขนาดเข้าใจสภาพจริงที่แท้ว่า ได้แล้ว ก็เป็นอันได้ และไม่ต้อง "ติด"นี่ ! ไม่ต้องเอาก็ได้ ซึ่งเราก็รู้ว่าเราก็ยังได้อยู่นั่นเอง
________________________________________

บทที่ ๘

ทุคคาหะทิฏฐิ ภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรหมังวิสุทธิ ชุติมิทธิพะกาภิธานัง ญาณาคะเทนะวิธินา ฯลฯ

ซึ่งก็แปลกันมาว่า "พระพุทธองค์ชนะพรหม ผู้มีนามว่าท้าวพะกา ผู้มีฤทธิ์อันสำคัญว่าเป็นผู้รุ่งเรือง ด้วยคุณ อันบริสุทธิ์ มีมืออันท้าวภุชค์ คือทิฏฐิ ที่ตนถือผิดรัดรึงไว้แน่นแฟ้นแล้ว ด้วยวิธีวางยาอันพิเศษ คือเทศนาญาณ ฯลฯ"

ขั้นนี้มันขั้นสุดท้ายแห่งมุนีจริง คือขั้นปราบพระพรหม เป็นอภิญญาขั้นสุดท้าย หรือเป็น "อิทธิวิธี" ลำดับ ปลายขั้น "ใช้อำนาจนทางกายไปตลอดพรหมโลก" มันเป็นขั้นสูงกว่า "เหาะไปในอากาศเหมือนนก" ขั้นสูงกว่า "ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์ มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือ" กันเสียอีก

คือ ขั้นต้องชนะสภาพที่เรียกว่า"พรหม" ทั้งหลาย เกจิอาจารย์ท่านก็จับเรื่องขึ้นมาว่า พระพุทธองค์ชนะ พระพรหมผู้มีนามว่าท้าวพะกาผู้มีฤทธิ์ ซึ่งสำคัญว่าตนเป็นเป็นคนเก่ง ยิ่งใหญ่ ถ้าผู้ใดยัง"มิจฉาทิฏฐิ" อยู่ ยังไม่มีปัญญารู้ว่า "พรหม" นั้นก็คือ "จิตวิญญาณ" และไม่ใช่อยู่ฟากฟ้าฟากดินไหนหรอก ! มันก็คือ จิตวิญญาณของเรานี่เอง อยู่ในตัวเรานี่เอง

นี่แหละ! ต้องตรวจต้องอ่าน ต้องรู้แจ้งให้ได้ จะปราบพระพรหมฯ ก็ไม่อยู่ไหนหรอก พระพรหมก็อยู่ ในจิตของเราเอง พระพรหมอยู่ในจิตของคุณทุกคน ทุกคนมีจิตพระพรหม อันนี้ภาษาพระท่านเรียกว่า "มมังการ" หรือ "อหังการ" อยู่ในตัวคนเป็นๆนี่เอง ไม่ใช่ล่องลอยอยู่ในอากาศ อยู่บนยอดไม้ ยอดเขา ยอดดินอะไร หรือไม่ใช่ไปสิงสู่อยู่กับรูปปั้น รูปหล่ออะไร ถ้าใครยังงมงาย "มิจฉาทิฏฐิ" อยู่ รู้ไม่ออก จับในตนไม่ได้ ก็ไม่มีหวังได้เป็น "ชิตวามุนินโท" พระพุทธเจ้าท่านก็ปราบพระพรหม นี้ตั้งชื่อเป็น ปุคคลาธิษฐาน ท้าวพะกาพรหม มีฤทธิ์ คือสำคัญตนว่าเป็นผู้รุ่งเรือง เป็นผู้ยิ่งใหญ่ สูงส่งว่างั้นเถอะ สูงด้วยคุณอันบริสุทธิ์ มีทิฏฐิถือตนถือตัว มีมืออันท้าวภุชงค์ คือทิฏฐิที่ตนถือผิดนั้นหนะ มันหมายความว่า เจ้าของจิตวิญญาณเองนั่นแหละ ยังหลงยึดเอาจิต เอาวิญญาณที่ตนเป็นอยู่ มีอยู่ว่าเป็น "ตน" เป็นประหนึ่ง"ของของตน" เลยไม่หมดสิ้น "อัตตา" ไม่จบกิจเป็นผู้บรรลุอรหันต์ ไปได้สักที "พรหมโลก" หรือลักษณะพรหม มันมีอีกหลายแบบ หลายขนาด หลายชั้น ต้อง "รู้ชัด" และ มีอำนาจเอาชนะพรหมได้จริงๆ ซึ่งล้วนแต่คือ"จิตวิญญาณ" ในตัวเรานี่เองจริงๆ
แม้"จิตวิญญาณ" ของใครจะเก่ง จะดีบริสุทธิ์จากกิเลสหยาบต่ำ จากกิเลสอย่างกลาง แม้จะกิเลส อย่างสูงละเอียดมาได้จริงแท้ สูงจริง เก่งจริง ดีจริง บริสุทธิ์จริงออกปานใดก็ดี มันก็เป็นความดีจริง สูงจริง เก่งจริง บริสุทธิ์จริงของจิตวิญญาณนั้นๆ ตามขนาดที่ตนละ ตนเลิก ตนหลุดพ้นมาได้จริง แต่อย่าเผลอไป "หลงตน" ว่าตนมีดี ตนมีตัวเก่ง ตนบริสุทธิ์ แล้วก็หวงแหน ห่วงหวงความบริสุทธิ์ ถือ"เจ้าตัวสูง" ยึดเจ้าตัวเก่ง ตัวดีนี้เหนียวแน่น จนมันเป็นกลายเป็นเหตุให้"ตนทุกข์ ตนลำบาก" หรือตนทำงการงานอะไรก็ไม่บังเกิดผลสูงส่ง ดียิ่งขึ้นไปๆ ได้กว่านั้นอีกเป็นอันขาด ได้รู้มานิด ได้ดี มาหน่อย ก็จะไปหลงตัวหลงตนเข้า ก็นั่นแหละระวังๆ เถอะ!

มุนีขั้นนี้ จะต้องมี "ปัญญา" ขั้นชาญเชิง ขั้นฉลาด เหนือชั้นจริงๆ เป็น "ญาณาคะเทนะ วิธินา" ตัวจริงตัวแท้ ที่จะต้องรู้"ความจริง" ที่ตัวเอง (มีอัตตัญญู) และจะต้องรู้ "ความดีความเก่ง" หรือ "ความยังไม่ดี ยังไม่เก่งจริงๆ" ของผู้อื่น (ปุคคลปโรปรัญญู) ทั้งของหมู่กลุ่มต่างๆ (ปริสัญญู) เพื่อดำเนินการจรรโลง ก่อการรังสรรค์ที่ดีให้เกิดแก่สังคม แก่มวลมนุษยชาติ จึงจะต้องมี"มัตตัญญู" คือจะต้องรู้ขนาด รู้ประมาณจริงๆ อย่าว่าแต่วัตถุเลย ถึงสภาพของ"อรูป" หรือ "นามธรรม"แท้ๆ ว่าจะปั้นขนาดใด ประมาณกันขั้นไหน จะต้องปั้นออกมาให้ได้ตามประมาณจริงๆ และจะต้องมี "กาลัญญู" คือกาละอย่างไรควร กาละอย่างคอย กาละอย่างไรเคร่ง ก็จะต้องรู้จริงให้ถูกต้อง "อัตถะ" ลงตัวเป็น"กุศลธรรม" และหรือ "อกุศลธรรม" กันให้ดีที่สุด ที่สามารถตลอด ไม่ใช่เอาแต่"ตน" เป็นใหญ่ ไม่คำนวณของคนอื่น ไม่อนุโลมผู้อื่นเลย เห็นแต่ตน มองออกแต่ตน ตามใจแต่ตน เชื่อแต่ตนตะพึด ฝ่ายเดียว อย่างนี้แหละพระพรหม (อัตตาธิปไตย)

โดยเฉพาะ ต้องปราบความถือดี ยึดตัวยึดตน ที่ตนเองนั่นแหละก่อน นั่นแหละคือ "การปราบ พระพรหม" หรือคือ "มานะสังโยชน์" ตัวสำคัญนั่นเอง

ถ้าเรา"หลงความใหญ่" ท่านเรียกว่าเป็นพระพรหม หลงตัวเองว่ามีฤทธิ์ มีความสามารถ มีความดี มีความเก่ง (แม้จะมีจริง) มีอำนาจ หลงตัวหลงตน ว่าตัวเองใหญ่ ตัวเองโตอะไรอย่างนี้ จิตตัวเอง นั่นแหละ คือพระพรหมหลงตนเอง มี"วิมานะ" หรือมี "วิมาน" ที่ไม่ยอมปล่อย มีจิต "มานะทิฏฐิ" ถือตัว ถือตน ถือสิ่งที่ตนมีตนเป็นมากๆขึ้น หรือไม่ยอมปล่อยยอมวางเลย มันก็จะนึกว่าตัวเองเก่ง นึกว่า ตัวเองเหนือเขาทั้งโลก อย่างไม่มีโอกาสว่าง ไม่หมด"ชาติ" สภาพจิตจะยึดจัด จนเห็นชัดว่าเป็น พระพรหม (พระเจ้า) ทีเดียว เป็นผู้บงการ เป็นผู้บันดาล เป็นผู้สร้าง เป็นผู้ยิ่งใหญ่ เป็นผู้เผด็จการ อย่างนี้เป็นต้นถ้าใครรู้เท่าทันในตน จะต้องพยายามประมาณตน กำราบตัวเอง ถ้ามัน"มากไป" ก็ดี หรือ "ดูไม่ดีไม่งาม" ก็ดี ด้วยวิธีต่างๆ ที่จะสามารถปราบตนลงไป "ใช้ปัญญาประกอบให้มาก"

อนึ่งถ้าตนดีจริง ใหญ่จริง เก่งจริง ก็ไม่ใช่จะ "หลงผิด" เสียอีก ไม่ยอมแสดงตัวตามจริง ให้มันวนซ้ำ กลับกลายไปเป็นว่า ตนเล็ก ตนน้อย ตนด้อย ตนไม่ดี ตนไม่เก่งอยู่ตะพึด มันก็วน ไม่รู้จบ ไม่องอาจ ไม่ยืนหยัดความจริง ไม่มีที่พึ่งสุดท้าย คนผู้ยังไม่ละเอียดแท้ ยังไม่แน่จริงก็จะ"วน"ดังนี้ แล้วก็มัก จะแก้ตัว ด้วยคำว่า "นั่นเป็นการถ่อมตัว" ลักษณะเช่นนั้นคือ"อุทธัจจะสังโยชน์" แท้ๆของ"พระพรหม" ตัวร้ายจะต้องปราบให้ "หยุด" ให้มั่นคง ให้เลิกวน ให้ได้ละเอียดไปอีก ดั่งนี้เป็นต้น
ที่จริงตนดี ตนกลาง ตนเล็กขนาดไหนๆ ก็ขอให้รู้ "ความจริง" และใช้ความจริงให้ถูกกาละ ถูกเทศะ ถูกฐานะ อย่างองอาจแกล้วกล้า มั่นใจ และสุภาพที่สุด ตามปัญญาที่ได้ไตร่ตรองอย่างสูงสุดเถิด ซึ่งบางที บางกาละ จะต้องจำ"ถ่อมตน" ในบางเหลี่ยม แต่ก็ต้องแสดงความดีจริง ความใหญ่จริง ที่ตนมีจริงนั้นออกมาได้จริงๆ จึงจะต้องใช้ปัญญา ใช้ญาณเป็น "ญาณาคะเทนะวิธินา" อันยิ่งกว่า "ปัญญาปะทีปะชะลิโต" กันจริงๆ
จะเห็นได้ว่ามันสุดยอดสุดยากที่สุด แต่แค่ขั้นจะปราบความเป็น "พระพรหม" ของตนลงไปได้นั้น ก็สุดแสนจะยากยิ่งนักแล้ว ยิ่งจะไปราบความเป็น"พระพรหม" ของผู้อื่นอีกละก็ เอ๋ย! มันไม่ใช่ ของง่ายเลย มันต้องใช้ "ญาณาคะเทนะวิธินา" คือ ต้องใช้ "ญาณปัญญา" ใช้การแสดงด้วยกรรมวิธี แสนฉลาด ซ้อนเชิงกันจริงๆ ลึกซึ้ง มีอิทธิฤทธิ์จริงๆ

และการ"หมดตัว-หมดตน" หรือ "ไม่ถือตัวไม่ยึดตน" ที่ว่ากันเป็นภาษาสำนวนกันนั้น ก็มิใช่ว่าจะเป็น คนต่ำ ปล่อยให้ใครๆ ก็เหยียบก็ย่ำไป จนคนเขาเข้าใจผิดไปหมด ไม่มีการแสดง"ความจริง" ว่าเรามี ความดี มีความสูง ชั้นนั้นชั้นนี้จริง ก็ไม่ใช่จะเถรตรง พาซื่อเสียอย่างนั้นไปหมด จนกลายเป็น "หมดตัว-หมดตน" ก็คือให้ใครดูถูกได้หมด ทำตนต่ำไปตะพึด ว่า"ไม่ถือตัวไม่ยึดตน" ก็ไม่ยึดไม่ถืออะไรไปตะพึด ความดีก็ไม่ยึด อนุโลมตามชั่วตะพึด ความถูกก็ไม่ยึด ถูกก็ได้ ผิดก็ได้ตะพึดไปหมด เป็นพระก็ไม่ยึดศีล ไม่ยึดวินัย หรือทั้งๆที่เห็นใน"สัจจะ" แต่ก็ไม่ช่วยกันยึดใน "สัจจะ"นั้น ไม่พยายามต่อสู้ยืนหยัด เพื่อยืนยง "สัจจะ" นั้น อะไรอย่างนั้น มันก็สุดโต่งเลยเถิดไป เป็นคนไร้ปัญญา และไม่เป็นหลัก เป็นผู้นำ เป็นที่พึ่ง อะไรในโลกกันได้เลย "สรณัง" ก็เลยไม่มี "โลกนาถ" ก็ไม่มีเท่านั้นเอง จงระวังเถิด ! ในคำว่า "ไม่ยึด ไม่ถือ" ก็มิใช่ว่าจะเป็นคนหลักลอย เลอะๆเทอะๆ
แท้จริงที่สุดนั้น ผู้บรรลุหรือผู้รู้ยิ่ง ผู้หมดตัวหมดตนอย่างแน่แท้ มีปัญญารู้ดี รู้ชั่วชัดเจน รู้ถูก รู้ผิด จริงจังนั่นแหละ คือ ตัวผู้ต้อง"ยึด" ต้อง"ถือ" หลักความจริง ยึดความถูก ถือ "สัจธรรม" แท้ๆ เป็น "ที่พึ่ง" ให้แก่มวลมนุษยชาติ ให้แก่โลก จึงจะเรียกว่า "สรณัง"(ที่พึ่ง) ของผู้ยาก หรือถ้าเป็นผู้สูงยิ่งเยี่ยมมาก ก็เป็น "โลกนาถ" อันคือที่พึ่งของชาวโลกได้จริง

ดังนั้น ผู้เป็นมหาบุรุษ หรือเป็นอริยบุคคล จึงจะต้องเป็นผู้รู้แจ้งในความจริงแท้ของความจริง ตนเป็น อย่างไร? มีอย่างไร? แค่ไหน? ก็จะต้องแสดงตามจริง นอกจากบางคราว ท่านอนุโลม "ถ่อมตน" ให้เท่านั้น ก็จะไม่ชัดตามจริงเท่าไหร่! ส่วนจะ"เบ่งตน" ใหญ่เกินจริง นั้นไม่ควร และอริยบุคคลจะไม่ทำ ฉะนั้นคราใดท่านต้องแสดงตัว "ตามจริง" ว่าท่านใหญ่จริง สูงกว่าจริง ดีเหนือเขาจริง คนก็มักจะมอง ไปว่า เป็นการ "ยกตน" เป็นการ "ข่มขี่ผู้อื่น"อยู่บ่อยๆเสมอๆ ก็เป็นความจริง !
และท่านก็"รู้"แจ้งในความจริงอย่างนี้ แล้วท่านก็ "ไม่ยึดไม่ถือ" ในคนผู้ไม่รู้ความจริงนั้นๆ อีก ท่านเห็นใน "สัจธรรม" และเห็นใน"ความจริงใจ" เป็นความจริงจังเป็นที่สุดเอง แล้วท่านก็รู้จักจบ รู้จักที่สุดเอง เป็น "สัจจะ" ลงตัวตรงกับพระพุทธพจน์ที่ว่า "อลัญจ ปน โว ภิกขเว ตุฏฐียา อลัง อัตตมนตายะฯ"

จะเป็น "ชิตวามุนินโท" หรือมุนีผู้ชนะกันขั้นสูงสุดยอดนั้น จึงต้องมีญาณวิเศษ มีญาณทัสสนะ หรือ มีอธิปัญญากันขั้นปลายสุด (อันต) รู้ความเหมาะสม เป็นที่สุดจริงๆ แม้จะรู้ตนเองว่าเราไม่มีกิเลสแล้ว (อรห) ก็ดี จึงจะเกื้อกูลมวลมนุษยชาติ จะเพื่อความสุขของมวลมนุษยชาติ ยังมวลมนุษยชาติ เป็นอันมาก ให้เข้าถึงความเป็นอารยชน (อริยญายธรรม) ได้จริงๆเป็นที่สุด
บุคคลเช่นนั้นแล คือ "อรหันต์" (อรห+อันต)

ผู้ชนะพระพรหม ผู้เหนือพระเจ้าได้จริงอย่างนี้ จึงคือ "ชิตวามุนินโท" ที่มีผล เพราะได้เรียนรู้พาหุง ๘ เป็นคาถา พาให้ศึกษา ค้นคว้า จนหยั่งแจ้งแทงทะลุได้จริง มิใช่ว่าเรียน "พาหุง ๘" แล้วก็ได้แค่ท่อง แค่สวด แลกข้าว แลกของกินๆใช้ๆ จนตายไปเท่านั้น หรือมิหนำซ้ำเอาไป"หลอก" ผู้คนให้งมงาย หลงใหล เลอะเทอะว่าคาถานี้เป็นของขลัง เป็นคำที่ท่องแล้ว กล่าวขึ้นมาแล้ว จะเกิดฤทธิ์พิลึกๆ สวดเดินหน้า ถอยหลัง เท่านั้นเที่ยว เท่านี้เที่ยว แล้วจะบันดลบันดาลอะไรตลกๆ แฝงซ้อน ซ่อนเงื่อน มีแต่ความมืดมัว งงงวย งมงาย ไม่รู้เหตุ ไม่แจ้งปัจจัย ไม่เข้าใจเหตุ ไม่แทงทะลุผล อย่างนั้น ไม่ควรเลย ผู้หลอมนั้น ก็ได้อเวจีไปแท้ๆ ระวังๆกันเถิด !

ผู้ใดศึกษาเข้าใจถ่องแท้ใน "มาร" ที่มีพันมือ คืออะไร?

"ยักษ์" ที่แข็งกระด้าง ไม่อดไม่ทน คืออะไร?

"เดรัจฉาน" ที่เมามัน โง่เง่าคืออะไร?

"คนใจหยาบ" ที่อำมหิตคืออะไร?

"คนลวงโลก" ที่แสนใส่ร้าย ต่อต้านคืออะไร?

"นักบวชผู้ลวงโลก" ที่ยกตนถือดี ดื้อด้าน แต่มืดมนคืออะไร?

"นักบวชที่ติดหยุด ติดสงบ" ดั่งพญานาค คืออะไร?

"พระพรหม" ผู้แสนใหญ่ แสนสูง แสนดีจริง คืออะไร?

แล้วมี "อิทธิวิธี" ต่างๆแก้ไข ปราบปราม จนปราบมาร ปราบยักษ์ ปราบเดรัจฉาน ปราบคนใจหยาบ ปราบคนลวงโลก ปราบนักบวชจอมลวง ปราบนาค ปราบพระพรหมได้เป็นผู้ชนะครบ ๘ อย่าง แปดระดับนี้ ถูกตัว ถูกตนจริง หมดเชื้อ หมดวิญญาณร้ายอย่างนี้ ผู้นั้นก็สุด

"เอตาปิ พุทธะชะยะมังคละอัฏฐะคาถาโย วาจะโน ทินะทิเนสะระเต มะตันที หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวะนิ โมกขัง สุขัง อธิคะเมยยะ นะโรสะปัญโญ"

ซึ่งเป็นบทสรุปสุดท้าย ของเกจิอาจารย์ ผู้ประพันธ์คาถาพาหุง ๘ นี้ว่าไว้ มีความหมายไทยๆ ก็ว่า "นรชนใด มีปัญญา ไม่เกียจคร้านสวดก็ดี ระลึกก็ดี ซึ่งพระพุทธชัยมงคล ๘ คาถา แม้เหล่านี้ทุกๆวัน นรชนนั้น พึงละเสียได้ซึ่งอุปัทวันตรายทั้งหลาย มีประการต่างๆ เป็นอเนก ถึงซึ่งวิโมกขศิวาลัย อันเป็นบรมสุขแลฯ"

ก็จริง ถ้าใครมีปัญญาแท้ ไม่เกียจคร้าน สวดขึ้น รำลึกขึ้นแล้วก็ร่วม "ประพฤติปฏิบัติไปด้วย" จนละ เสียได้จริง เลิกเสียได้จริง เข้าถึงซึ่งวิโมกขศิวาลัย ก็จะเป็นบรมสุขแท้

แต่ถ้าเอาแต่ท่อง เอาแต่สวดร้องกันรุ่นแล้วรุ่นเล่า คนแล้วคนเล่า ไม่ได้รู้อะไรยิ่งกว่านั้น มันก็ไม่มีทาง ช่วยให้ละเสียได้ซึ่งอุปัทวอันตรายอันใดแน่ๆ

ข้อสำคัญคือ เรื่อง"ขอ" ซึ่งสวด "ขอ" "อ้อนวอนขอ" เดินเวียนรอบ "ขอ" ใดๆก็ตาม พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ของเราติงเตือนไว้ชัดเจนว่า "ไม่ใช่สิ่งที่เป็นไปได้" พูดอย่างนั้นๆขึ้นแล้ว ก็"ขอ" ให้เป็นตามที่พูด มันจะเป็นไปได้ง่ายๆเหรอๆ? พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราเน้น "การกระทำ"
(กรรม) ที่ครบครัน จริงจัง ทั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่ต้องรู้แจ้ง แล้วทำให้เป็นจริง ถูกจริง ตรงจริง โดยไม่ต้อง "ขอ" มันก็เป็นจริง มีจริง ได้จริง เอาแต่ปากพูดท่อง มันจะได้จริง เป็นจริงแท้กันแค่ไหนกัน

ก็ลองคิดเห็นกันดีๆ ขอให้"ทำ" เถิด รู้ให้ถูกให้ตรง แล้วทำให้เกิดให้เป็นเถิด ถ้ายังไม่เกิด ยังไม่เป็น ก็อย่าพูดอวดพูดอ้าง ว่าเราเป็น ถ้ายังไม่รู้จริงๆ ก็อย่าพูดอวด พูดอ้างว่าเรารู้

ที่ได้เล่า ได้ขยายความมาทั้งหมดนี้ ก็คิดว่าคงจะพอรู้กันได้ ตั้งแต่บทที่ ๑ ถึงบทที่ ๘ ไม่มากก็น้อย ผู้รู้ได้ และทำได้จริง ก็เป็น "ชิตวา มุนินโท" จริงๆ โดยไม่ต้อง "ขอให้ชัยมงคลทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น" ขอเอาไม่ได้ !

มันเรื่องของการปราบกิเลส ตัณหาของตนเอง จะไปขอให้กิเลสออกไป มันบอกง่ายปานนั้นหรือ เจ้ากิเลสหนะ ! ถ้าจะใช้เพียงว่า ขอให้คุณเอาไปประพฤติ ให้บรรลุประสบผลเทอญ อย่างนี้ล่ะก็ พอพูดได้ แต่คุณจะเอาไปประพฤติหรือไม่ ก็คุณล่ะทีนี้ จะทำหรือไม่ทำ ก็จบล่ะ ไม่ "ขอ" อะไรกันอีก

ที่มา http://www.asoke.info/09Communication/DharmaPublicize/Book/bhahung.html
28265  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ใครเก่งพาหุง......เชิญทางนี้เลย เมื่อ: ธันวาคม 23, 2009, 03:22:27 pm
หรือผู้ใดที่เป็นเพื่อน ติดอบายมุข ก็จะมาทำลายเรา หมายความว่าจะมาชวนเราไปเล่นอบายมุขด้วย เพื่อนคนใดเมายศ เมาสรรเสริญ เมาอำนาจ จะมาชวนเราไปเมาลาภ ยศ สรรเสริญ เมากับสิ่งทั้งหลาย หรือเพื่อนคนใด เมากามคุณ จะมาชวนเราไปเสพกาม เมากาม เมาอัตตา จะมาชวนเราไปเมาอัตตา เราพึงรู้เถิด เราจะช่วยเพื่อนประดุจสัตว์เดรัจฉานผู้นี้ให้ได้ เพราะเขากำลังเมาโลก กำลังหลงไอ้สิ่งที่ ไม่ควรจะไปเมา คนไหนไปเมาอยู่ คนนั้นก็ดำดิ่งอยู่ เป็นสุขเป็นทุกข์อยู่กับไอ้สิ่งที่เขาหลงมัน คนนั้น เรียกว่าโง่เง่าเหมือนเดรัจฉาน เดรัจฉาน นี้เรียกสัตว์(คน) โง่เง่า ถ้าโง่เง่าหนักใหญ่ ก็เรียกว่าเท่ากับช้าง ยังมืดมัวเมามันมาก ถ้าโง่เง่า "ไม่มากไม่ใหญ่" ก็เป็นเดรัจฉานน้อยลงไป ตามขนาดตามจริง แต่ก็คือ ยังไปติดมันอยู่กับสิ่งเหล่านั้น

ถ้าเป็นเรา ก็จงสงสารตัวเอง คือเราจะต้องเอาชนะให้ได้ เราจะต้องปล่อยเสียเราต้องทำให้สร่าง ต้องจางคลาย ถ้าเป็นเพื่อน ก็จงสงสารเขา ถ้าสอนเขาได้ ช่วยเขา จงใช้ "อำนาจเมตตา" อย่าไป ตามใจเขา

ฟังดีๆนะ ! "เมตตา"หมายความว่า "อย่าไปตามใจเขา" อย่าไปกับเขา เหมือนเราชนะมาร อย่าไป ยอมแพ้เขา อดทน เหมือนเราชนะยักษ์ อย่าไปเห็นตามเขาแท้ๆ เชียว ถ้าเราไปเห็นตามเขา ไปเห็นว่า แหม! อบายมขก็ดี ไปหลงลาภ หลงยศ ไปหลงสรรเสริญ ไปหลงเสพกาม ไปหลงเสพอัตตา ถ้าหลง ตามเขา เราไม่อดทน เราไม่พยายามทำใจให้มันดี ให้มีปัญญา แล้วมันก็ไปหลงตามเขาไป ไม่ได้ !

เราก็ถูกมาร หรือถูกกามกลืนกินอีก ถูกอบายมุข ถูกลาภ ยศ สรรเสริญ สุข และถกอัตตากลืนกินอีก เราจะชนะมาร ชนะยักษ์ ต้องอดทนให้ได้ เราจะชนะความเป็นเดรัจฉาน ต้องมี"เมตตา" ให้ถูกให้ดี แท้จริง

แม้แต่ใจเราไปอยากติดอบายมุข บางทีเราอยากจะไปเสพกาม บางทีอยากจะไปหลงลาภ บางทีไป ตะกละตะกลาม ไปโลภลาภ โลภยศ หลงสรรเสริญอยู่ ใจเราเป็นอย่างนั้นอยู่ เราก็จะต้องอดทน ฝืนกลั้น ให้ชนะยักษ์ให้ได้ อย่าไปปล่อยให้ยักษ์มันมาข่มขู่เรา เราจะชนะยักษ์ด้วย"ขันติบารมี" เสร็จแล้ว เมื่อไหร่ รู้ทันอย่างนั้นแล้ว ทีนี้เราจึงใช้ "จิตเมตตา" ในความเป็นมิตรที่ดี

"เมตตา" ตัวนี้ รากศัพท์ ภาษาเดิม เรียกว่า"มิตตะ" หรือ"มตะ" หมายความว่า ที่รู้ รู้แล้ว เราก็เป็นมิตร กล่าวคือ ให้ช่วยผู้อื่นให้ได้ดี เมตตา หมายความว่า สงสารผู้อื่น หรือตนก็ตาม ตนเมา ตนโง่เง่า ตนมืดมัว ก็ต้องเมตตาตนเอง ช่วยตนเองนั่นแหละ ให้ได้ดี ให้รู้ตัว ให้ตัวเองหยุดเมา หยุดมืดก่อน แล้วก็ช่วยเขา บอกเขาบ้าง เมื่อเราเองไม่ไปเลว อดทนได้แล้ว เราไม่ไป ไม่เมามันเหมือนเขา แล้วเราก็ ช่วยเขา สงสารเขา ให้เขาหยุดเสพอบายมุข หยุดหลงลาภ เมาลาภ เมาสรรเสริญ หยุดหลงกาม เมากาม หยุดเสพกามเสีย เขายังมีเศษ "อัตตา" เมาอัตตา ก็ให้เขาหยุด เขารู้เท่าทันใน"อัตตา" ให้ได้ เราก็จะเป็นผู้เมตตา อย่างดีอย่างถูก ช่วยเขาได้อย่างนี้

พระพุทธเจ้าท่านมีจิตเมตตา อันนี้แรง ทำไม? ต้องใช้คำว่า"เมตตา" เมื่อจะช่วย"เดรัจฉานที่เมามัน" ก็เพราะผู้โง่ ผู้เมาโลกียะนั้น ไม่รู้ตัวหรอก ! เขาติด เขาหลง ว่ามันน่าได้ น่ามี น่าเป็น เขาอร่อย เขาหลงจริงๆ เขายังไม่รู้ชัด เขายังเห็นว่ามันดี ถ้าเราจะไปว่า"ไม่ดี" มันก็ขัดใจเขา เขาจะโกรธ จะแค้น เราจะไปห้ามสิ่งที่เขาอร่อย ที่เขาได้เขามีเขาเป็นกันนั้น เขาจะไม่ชอบใจ เขาจะโต้ตอบ ย้อนแย้ง บางทีถึงขั้นร้าย ขั้นแรงออกมาเลย ซึ่งเดรัจฉานเขาก็มีฤทธิ์ มีกำลัง มีอำนาจของเขาเหมือนกัน เราก็จะต้องมี"เมตตา" ให้มาก ต้องใจเย็น ยังไงๆ ก็อย่าทิ้งเขาเลย แม้เขาจะโต้ตอบ เล่นงานเราเท่าใดๆ ก็จงช่วยเขา สงสารเขา และต้อง"สงสาร" ให้ถูก ! อย่าไปสงสารโดยส่งเสริมเขา ให้เมาหนักเข้าไปอีก เป็นอันขาด

"สงสาร!" นี้ คือจะต้อง "ขัดเกลา" เขา ย้อนแย้งเขาให้เก่ง ถ้าย้อนแย้งไม่เก่ง ก็จะขาดกัน จะไม่ได้ ช่วยกัน ถือว่าหมดมิตร จึงต้องฉลาดขัด ฉลาดทำลายความม ความเป็นของเขาไม่ได้ ต้องพยายาม ควักของอร่อยออกจากปากเขาให้ได้! แม้จะถูกเขาย้อนแย้ง ทุบตี โต้ตอบรุนแรง (เพราะเขายังไม่รู้ จริงๆ ว่าเราช่วย เขาจะนึกว่าเราเบียดเบียนเขาเอาเสียด้วย) ก็ต้องอดทน ให้คง"
สงสาร" เขาอยู่ อย่าเสื่อมถอยท้อแท้ อย่าหยุดสงสาร เช่น พระพุทธองค์ยังคง"สงสาร" (เมตตา) พระเทวทัตอยู่ดุจเดิม นั่นทีเดียว แม้พระเทวทัตจะออกฤทธิ์ แผลงเดช ย้อนแย้ง แข่งขัน อวดดี ตีข่ม ดุร้าย แกล้งทำร้าย ทำลายพระพุทธองค์เสียๆหายๆอย่างไรๆ พระพุทธองค์ก็ยังทรงใช้"เมตตา" เป็นฐาน เป็นการทรงจิต คงที่อยู่ตลอดไป ไม่โกรธตอบ ไม่ทิ้งขว้าง (จะเห็นได้ว่าพระพุทธองค์ ไม่ได้จับสึก) แม้จะลงพรหมทัณฑ์ ขนาดหนักปานใด แต่ไม่ปฏิฆะ ไม่เสียใจ ไม่น้อยใจ ไม่ท้อแท้ใจ ไม่ลด"สงสาร" ลงเลยจริงๆ

ต้องสงสารช้างร้ายที่เมามันกันจริงๆ "ช้างร้าย" หมายถึง ความเป็นส่วนใหญ่ หรือคนส่วนใหญ่ "เมามัน" ก็หมายถึง เขายังพากันหลง "มันส์" อยู่กับโลกีย์อยู่จริงๆเขายัง"เมา" เขายังไม่สร่าง ยังไม่ซากันอยู่จริงๆ เขายังโง่ ให้โลกีย์หลอก เขายังเป็นทาส ที่ยอมให้โลกีย์ มีอำนาจเหนือ "ตน"(อัตตา) นี้เป็นสัจธรรม มิใช่แกล้งใส่ความ หรือยกตนข่มท่าน ถ้า"พระ" ใดไม่มี"เมตตา" อย่างนี้ "พระ" นั้นก็จะไม่ได้ช่วยโลกเลย เพราะคนในโลก ที่ยังไม่ใช่"พระ" จะยังหลงโลกียารมณ์อยู่ทั้งนั้นจริงๆ

"เมตตา" จึงเป็นธรรมค้ำจุนโลก ช่วยโลก ช่วยสัตว์โลกแท้ๆ "พระ" แท้ๆ "พระ" อริยะของพระพุทธศาสนา จึงต้องมีในโลก คือ "พระ" ผู้รู้แจ้ง ช่วยตนได้แล้ว ก็ขวนขวายช่วยผู้อื่นอยู่อย่างขมีขมัน ถ้าไม่ช่วยกัน ก็เป็น "พระ" เดียรถีย์ เห็นแต่แก่ตัว ไม่พ้นขี้เกียจ ไม่ขวนขวาย ไม่มีปัญญา รู้ความควร ก็เป็น"พระ" ของลัทธิอื่น ศาสนาอื่น ไม่ใช่พุทธ

เพราะฉะนั้น ถึงใครจะดุร้าย ถึงขนาดไม่รู้เรื่องแล้ว โถ เราจะช่วยเขาแท้ๆเขาก็ไม่รู้ ก็โกรธ ก็จะแว้ง กลับมาเล่นงานเรา จะพยายามบังเบียดเรา ถึงขนาดจะฆ่า จะแกงเราเอาด้วย ดั่งพระเทวทัต ที่โกรธ จะฆ่าพระพุทธองค์อย่างแรง ร้ายขนาดเท่าช้างนาฬาคิริงตกมันตัวนี้ พระพุทธเจ้า ท่านก็เอาชนะได้ คือเอาชนะ "แรงร้าย" อันนั้นให้ดีที่สุด แล้วก็ยัง"สงสาร" คนร้ายที่ใช้ "แรงร้าย" นั้นอยู่ต่อไปคงเดิม

นี้คือ "เมตตัมพุเส กะวิธินา"

ดังนั้น เราเองไม่มีโอกาสเจอช้างนาฬาคิรี ตัวแรงตัวร้ายดั่งเช่นบริวารพระเทวทัต เราจะเจอช้างตัว ย่อยๆ สัตว์ย่อยๆ ที่อยู่ในโลกกั้บเรานั้นแหละ ซึ่งจะแรง จะร้ายขนาดเท่ากรรม เท่าวิบากของเรา แล้วเราจะต้องเอาชนะอันนี้ให้ได้ คือ ถึงอย่างไรๆ ก็อย่าหมด"เมตตา" เข้าใจได้เลยว่า บท นาฬาคิริง คะชะวะรังฯ พาหุง บทที่ ๓ มันหมายความว่า เราจะต้องเอาชนะเดรัจฉานที่โง่เง่า เดรัจฉาน ก็คือสัตว์ ที่โง่เง่า หรือแท้ๆก็คือ "จิต" คือ"ใจ" เราเองนั่นแหละ ตรวจให้ดีๆ เถอะ

สำคัญที่มีใจโง่เง่า มันจะเอาแต่หลงโลกีย์ ต้องอย่าตามใจมัน ต้องขัด ต้องพยายามฆ่าความหลงนั้นๆ หรือคนอื่นที่มีใจโง่เง่าเหมือนกัน เหมือนกันทีเดียว เขายังโง่เง่า เขาหลงโลกีย์ ต้องอย่าตามใจเขา ต้องขัด ต้องพยายามฆ่าความหลงนั้นๆให้เขา ไอ้นี่เป็นเดรัจฉานอยู่ ต้องเอาชนะให้ได้ ต้องสงสาร คนอื่นเขาอย่างนี้ เช่น เพราะเขาโง่เง่าอยู่ เขามาชวน หรือมาต่อต้าน เขาโง่เง่า เขาก็เป็นเดรัจฉาน เขาก็จะชวน จะจูง หรือจะต่อต้านเราตามประสาของเขา หรือไม่ก็จะยุแหย่ แกล้งประชดประชัน แดกดันเอาเสียด้วย เราก็สงสาร เห็นเขาให้ออก แล้วเราต้องยืนหยัด เป็นมนุษย์ที่ดี อย่าไปใจอ่อน ตามใจเขา ต้องขืนไว้ ต้องขัดเขาไว้ และ"การขัด" ต้องขัดให้เก่ง ขัดให้สำคัญ อย่า"ขัดจนแตก" หรือ จนวิวาท บาดหมาง แค่"ขัแย่ง" หรือ"ขัดเกลา" อยู่เสมอ

นี่คือ "เมตตัมพุเส กะวิธินา" เราไม่มีศัตรู เราไม่มีโกรธตอบ แค้นตอบ แม้เขาจะย้อนมาอย่าง "ดุ" อย่าง "ร้าย" ขนาดไหนก็ตาม เราก็ยังจะขัด ยังจะหาทางเกลา ช่วยเขาอย่างดี อย่างเก่งอยู่เสมอ สงสารเขาเสมอ

นี่คือ "เมตตัมพุเสกะวิธินา" ถ้าช่วยไม่ได้ ก็หาทางอื่น หรือเพลาๆก่อน ถ้าช่วยได้ช่วยไป แต่ตัวเราเอง ต้องเป็นผู้ชนะด้วยนะ ชนะไอ้สิ่งที่เขามาชวน ชวนไปเป็นคนเลวอย่างนี้ ชวนไปเสพโลกีย์ เราต้อง ชวนกลับ ย้อนทางให้ได้ อย่างนี้จะเป็นผู้ชนะ นาฬาคิริงฯ นี้เป็นบทที่ ๓ ของพาหุง จะมีประโยชน์ กับมนุษย์แท้ๆ อย่างนี้

อย่าไปหมายใจว่าพอสวด "นาฬาคิริง คะชะวงะรังฯ แล้วละก็ ตัวเราเอง จะเป็นผู้ได้อะไรก็ไม่รู้ อยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ หลงคาถาอยู่อย่างนั้น นึกว่าแค่ได้ท่อง แล้วได้ฟัง ก็สำเร็จแล้ว มี"วิมาน" แล้ว ได้บุญแล้ว ได้ศิริมงคลแล้ว สร้างอุปาทานอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ ปั้นเป็นรูปรอยอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ ไอ้สิ่งที่ปั้นนั้นไปเป็น"วิมาน" อยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ จนกระทั่งไม่รู้"วิมาน" นั้นคือ ถ้าใครยังหลงวิมาน ยังหลงใจ ตัวเอง(อัตตา) ไปสร้างไปก่อ อยู่ในใจ ไปปั้นรูปปั้นรอย ปั้นภพ ก่อชาติอยู่ในใจ เอาใจตัวเองไปวาดรูป วาดร่าง วาดลมๆ แล้งๆ นั้นว่าเป็นความสุข วาดความสำราญอะไรอยู่เป็น "วิมานะ" หรือเป็น "วิมาน" ไปสร้างไปก่ออยู่ ผู้นั้น ก็ยังหลงอยู่ ยังมืดอยู่ ยังมัวเมาอยู่

ถ้าผู้ใดยังมัวเมาโลกียะอยู่ เป็นเดรัจฉานอยู่ทั้งนั้น เป็นผู้ที่ยังมัวเมา มืดมน แล้วเราเอง ก็ไม่รู้จัก เอาชนะด้วยการสงสารตัวเอง โดยอย่าไปติดต่อ เชื่อมโยงอยู่ในสังสารวัฏฏ์

อันนั้น เลิกมาเสีย อย่างนี้ ที่จะชนะกันแท้จริง ถ้าผู้ใดเลิกมาได้ ไม่ไปหลงมัวเมาในสิ่งใดๆ หลงอารมณ์ สุขไปต่างๆหลงตั้งแต่ หลงสุขในอบายมุข หลงสุขในลาภ ยศ

สรรเสริญ หลงสุขที่มันเสพกามต่างๆ อะไรพวกนี้ แม้ที่สุดไม่หลงสุขใน"อัตตา" (วิมาน) ต่างๆ อย่าไปหลง อย่าไปยึดถือ อย่าไปวุ่นวายกับมัน ถ้ามีชีวิตอยู่อย่างทำการทำงาน ของดิบของดี ก็ทำแต่งานดีๆ นั้น มีทาน มีขันติ มีเมตตา ผู้นั้นก็เป็นธรรมะทุกอย่าง ไม่หลงที่เป็นวิมานต่างๆ

อันนี้เป็นพาหุง หมวดที่ ๓ ถ้าผู้ใดเข้าใจ จะเอามาใช้ประโยชน์ได้ ไม่มัวไปนั่งท่อง นั่งหลงอยู่ได้ ไอ้นี่เป็นคาถาท่องแล้ว จะได้ไอ้โน่น มีไอ้นี่ มีไอ้นั่น อย่างนั้น อย่างมงายกันเป็นอันขาด ชาวพุทธเอ๋ย !
________________________________________

บทที่ ๔
อุกขิตตะขัคคะ มะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติโย ชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ

ความบทนี้ แปลว่า "พระจอมมุนี มีพระหฤทัยไปในทางที่กระทำอิทธิปาฏิหาริย์ ได้ชนะใจโจร ชื่อ องคุลีมาลย์ แสนร้ายกาจมีฝีมือ ถือดาบเงื้อง่า วิ่งไล่พระองค์ไปสิ้นทาง ๓ โยชน์" อย่างนี้ พระพุทธเจ้า ท่านก็ชนะองคุลีมาลย์ ที่เป็นคนใจหยาบใจร้าย ดื้อดึงรุนแรง แสนอำมหิต ขนาดจะฆ่าแม่ของตนก็ได้ ออกปานนี้ พระองค์ก็สามารถชนะได้ เพราะท่านเป็นถึงพระพุทธเจ้า พระองค์ก็ต้องชนะ ถึงขั้น องคุลีมาลย์ ซึ่งเป็นบุคคลที่ใจหยาบ ฆ่าคนเป็นพัน และจะฆ่าแม้แต่แม่ของตัว แต่คนที่มีใจหยาบ อำมหิต ขนาดรุ่นของเรานั้น ใครก็ได้ ที่มีใจหยาบอำมหิต ไม่ต้องร้ายเท่าองคุลีมาลย์ เราก็ต้องเอาชน ะเขาให้หมด อย่าให้เขามีอำนาจเหนือเรา

ถ้าเผื่อว่าเราจะไปตีความหมายเอาว่า เราจะต้องเจอองคุลีมาลย์ คงจะเจอยาก เพราะองคุลีมาลย์ บอกแล้วเป็นคนที่ใจหยาบ อำมหิตอย่างร้ายกาจที่สุด เพราะถูกหลอก ถูกอาจารย์หลอกมา ให้ไป ฆ่าคนมาตั้งพันหนึ่ง แล้วจะสอนวิชาให้ ถ้าฆ่ามาได้ถึงจะสอนให้ แล้วองคุลีมาลย์ไม่รู้หรอกว่า

อาจารย์หลอกเอา ที่จริงอาจารย์หลอกให้ไปตาย เพราะอาจารย์คิดแล้ว ถ้าไปฆ่าคนตั้งพันหนึ่ง คงไม่รอดมาแล้วละ ก็คงถูกเขาฆ่าตายก่อนจะถึงพันแน่ๆ แต่องคุลีมาลย์ก็เก่งเกินอาจารย์คาด และ ฆ่ามาได้ตั้ง ๙๙๙ คนอีกคนเดียวก็ไม่เห็นจะแปลกอะไร แต่ก็แปลกจนได้คือ จะต้องหยุดฆ่า! เสียก่อน ที่จะถึงคนที่พัน แค่เพียงมาพบพระพุทธเจ้าบอกว่า"หยุดเสีย !"เท่านั้น พระพุทธเจ้าทำสำเร็จ โดยไม่น่า จะสำเร็จ ดูมันง่าย มันได้เร็ว จนไม่น่าเชื่อ มันไม่น่าเป็นไปได้ แต่มันก็เป็นไปได้ ดูช่าง ไม่เห็นว่า จะมีฤทธิ์ มีเดชอะไร แต่ก็เป็นฤทธิ์ที่ประหลาดยิ่ง นี่แหละ คือ "มหาปาฏิหาริย์" ไม่ใช่ "ปาฏิหาริย์" ที่เล่าสู่กันฟังอย่างพิลึกพิลือ เกินเชื่ออะไรนั่นหรอก!

เช่นเดียวกัน ถ้าเราเองเหมือนองคุลีมาลย์ สำนึกผิด เลิกเสีย หยุดเสีย ด้วยจิตอันเก่งกล้าสามารถ คือ ทำปาฏิหาริย์พลิกล็อก "ปาฏิหาริย์" หมายความว่า "พลิกล็อก" มันพลิกล็อก คือ มันไม่น่าเชื่อ มันเก่ง เกินคาด มันเหนือใครคิด มันมีความสามารถเหนือชั้นจริงๆมันไม่น่าจะได้ เอ๊ะ! มันได้ง่ายๆ กะว่า มันจะชนะ หนอยไอ้คนนี้ กลับชนะได้เหมือนปาฏิหาริย์ มันพลิกล็อกเลย มันพลิกกระเป๋าเลย มันเป็น ของเก่ง ชนิดที่ไม่เห็นว่าจะเป็นของเก่งอะไรแท้ๆมันช่างเป็นไปได้ ชนิดที่ไม่น่าเป็นไปได้ เช่น อย่างที่ พระพุทธเจ้าท่านปราบองคุลีมาลย์ มนุษย์ผู้ใจหยาบ โหดร้าย อำมหิต ให้เปลี่ยนจิตเสียได้ โดยไม่น่า จะเป็นไปได้ เพราะพระพุทธเจ้าไม่ได้ทำอะไรพิลึกพิลั่น แปลกๆ อย่างที่เล่าผิดๆ กันมานั่น เสียด้วยซ้ำ มันจึงยิ่งแปลกใหญ่ ! ยิ่งเป็นปาฏิหาริย์ใหญ่! เพียงพระพุทธองค์ ใช้ความสามารถ ทำจิตของ องคุลีมาลย์ให้ "รู้ดี - รู้ชั่ว" ทำใจขององคุลีมาลย์ให้ "เข้าใจ" ได้อย่างซาบซึ้ง จนเปลี่ยนจิตจากคน โหดร้าย คนชั่วร้าย มาเป็นคนดีได้ภายในเวลาไม่นาน และโดยไม่เห็นมีอะไรน่าทึ่งเลย นั่นสิยิ่ง "น่าทึ่ง"! นี่แหละคือ "ปาฏิหาริย์ซ้อนปาฏิหาริย์"

พระพุทธองค์เพียงแต่เข้ามาห้าม ให้"หยุด"เสีย เมื่อองคุลีมาลย์จะไปฆ่าคน เป็นคนสุดท้าย คือคนที่พัน คนที่จะครบจำนวนเป็นผลสำเร็จแล้ว ซึ่งมันไม่น่าจะหยุดเลย แต่ก็หยุดได้ มันไม่น่าจะง่าย แต่มันก็ง่าย อย่างแปลกประหลาด ! มันไม่มีอะไรมากเลย !

นี่ต่างหาก คือ"มหาปาฏิหาริย์" คือ เป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่งจริงๆ ยิ่งกว่า เพราะถ้าอย่างที่เกจิอาจารย์ รุ่นเก่าๆ บางคน เล่ามาเป็นว่า พระพุทธเจ้าแสดงปาฏิหาริย์พิลึกๆ มากมาย เช่นเล่าว่า องคุลีมาลย์ วิ่งตามพระพุทธเจ้ใหญ่เลย ท่านก็แสดงอภินิหาร ไม่ให้วิ่งทัน เงื้อดาบจะฟัน ก็เงื้อค้างฟันไม่ลง เหมือน มีอะไรมาค้ำให้ค้างไว้ หรือเรื่องแปลกประหลาดที่พิลึกๆ อะไรยิ่งกว่านี้อีกก็ตาม จะเป็น ยิงไม่ออก ฟันไม่เข้า อะไรต่างๆตามความเห็นของ"คนหลง" ที่เขาชื่นชูกันว่าเป็น "ความเก่ง" ก็ตาม มันก็จะน่า อัศจรรย์อะไร?!

ถ้าองคุลีมาลย์ เจอเข้าแบบนั้นแล้วจะต้องหยุด จะไม่ฆ่าพระพุทธองค์ ก็เพราะองคุลีมาลย์ ทำไม่ได้ เขาก็ต้องยอม เขาก็ต้องไม่ทำ หรือเพราะเขา"ทึ่ง"ความเก่งแปลกๆ นั้น แล้วเขาก็หยุด แต่นี่เจอคำสอน พระพุทธองค์เป็น "อนุศาสนีปาฏิหาริย์" นี่สิ! เพียงแต่สอน เพียงแต่ห้าม เพียงแต่บอกธรรมดา ก็หยุดแล้ว นี่สิ มันยิ่งมหัศจรรย์ใหญ่ ! ซึ่งถ้าองคุลีมาลย์จะฟันก็เข้า และพระพุทธเจ้าก็ไม่ได้วิ่งหนี เดินหนีอะไรด้วย พระพุทธเจ้าไม่ได้แสดงอะไร เพียงแต่บอกดีๆ ห้ามง่ายๆ

อธิบายชัดๆ เท่านั้น เป็นแต่แสดง "ความเก่ง" (อิทธิ) ในเรื่อง "ปรับปรุงจิตใจ" (สังขตมโน) ของ องคุลีมาลย์ ให้ "เข้าใจ" ให้รู้ดี รู้ชั่ว ชัดยิ่งแท้ (อภิ) เท่านั้นต่างหาก จึงเรียกว่า"อิทธีภิสังขตมโน" มันยอดเก่ง (มีอิทธิ) มันยิ่งยอดในการกระทำเป็น "การปรับเปลี่ยนจิต" (อภิสังขตมดน)ได้ ทั้งๆ ที่ไม่มี "อิทธิฤทธิ์" อย่างเดรัจฉานวิชชา ไม่ต้องมี"อาเทสนาปาฏิหาริย์" อย่างเดรัจฉานวิชชา แต่พระพุทธองค์ ก็มี "อิทธิฤทธิ์" (เก่งจนสามารถเปลี่ยนร้ายให้เป็นดี) อย่างพุทธวิชชา และมี "อาเทสสนาปาฏิหาริย์" อย่างพุทธวิชชา (เก่งเพราะหยั่งรู้กิเลส รู้จริตในจิตขององคุลีมาลย์ ได้ถูกแท้ จึงสามารถปรับเปลี่ยน ได้) จนดูช่างง่ายเสียจริง ที่เสือร้ายแสนอำมหิต ขนาดองคุลีมาลย์ ยอมวางดาบ ก้มลงกราบ ยอมมอบตน โดยเฉพาะเปลี่ยนจิตมาเป็น "พระ" ได้ทันทีอย่างจริงๆ ยิ่งพระพุทธองค์พูดยิ่งสั้น สอนยิ่งน้อย ทำอะไรยิ่งไม่มากเลย แต่มีผลให้องคุลีมาลย์กลับหยุดได้ นั่นแหละยิ่งหมายถึง "อิทธีภิสังขตมโน" คือยิ่งเป็นปาฏิหาริย์ ที่แปลกประหลาดใหญ่!! เพราะมันยิ่งไม่มี "ความมาก" แต่มันกลับไปหยุด "ความมาก" ขององคุลีมาลย์ได้ นี่ล่ะ ! "ยอดปาฏิหาริย์" ที่สุด
ทำความเข้าใจให้ดีๆ เราทำให้ได้อย่างนี้ เราก็ชนะด้วยอิทธีภิสังขะตะมะโน คือ ชนะแบบเก่ง สามารถ สร้างจิตของเราเป็นอิทธิภิสังขะตะมะโน หมายความว่า จิตจะสามารถรวบรวม กระทำการขึ้นมาได้ เหมือนมันเล็ก มันบาง เบา มันง่าย มันดูไม่มีน้ำหนัก แต่มันยิ่งใหญ่ มันเก่งกาจ เป็นอิทธิฤทธิ์ อิทธิปาฏิหาริย์ มันอิทธิวิธีอย่างเดียวกัน (กับพระพุทธเจ้ามี) เก่งกล้า สามารถอย่างนี้ เอาชนะใจ ตนเอง ที่เป็นอย่างองคุลีมาลย์ นั้นแหละสำคัญก่อนอื่น อย่างนี้ก็ได้ประโยชน์สูงที่สุด หรือได้เอาชนะ ใจคนอื่น ที่ได้เป็นองคุลีมาลย์ อำมหิตแล้ว ก็แก้อำมหิต เปลี่ยนใจหยาบ ลงมาได้ง่ายๆ มีอิทธิวิธี ที่จะปรับเปลี่ยนเขาได้อย่างเก่ง(มีอิทธิ) ตามขั้นตอนสำหรับผู้มีปัญญา พอจะปรับจิตของเขาอื่นได้

ส่วนผู้กระด้างที่สุด ร้ายที่สุด ปรับเขาไม่ได้ ก็เมตตาเขาถึงที่สุดโดยเฉยๆ ไม่ต้องไปยุ่ง ไปเกี่ยวกับเขา เราเมตตาเขาเสีย อย่าโกระ อย่าเคือง อย่าชัง อย่าเบียดเบียนใดๆ แก่เขาเลย ดังนี้ เป็น เมตตัมพุเสกะวิธินา ซึ่งเราก็ทำได้โดยใช้วิธีต่างๆ นี่ เป็นบทที่ ๔

เป็นผู้ที่ชนะใจอันหยาบ ใจอำมหิต ถ้าใครสามารถทำตนจนสำเร็จ ทำผู้อื่นจนสำเร็จ ผู้นั้นก็จะมีจิต พุทธะ หรือเป็นองค์มุนี เป็นผู้ที่มี "มุนินโท" ชิตะวามุนินโท ผู้ใดสามารถเป็นผู้ประเสริฐ คือ "มุนินโท" มุนินโท แปลว่านักพรต นักปฏิบัติธรรมหรือพระ ถ้าเราทำตัวเป็น"พระ" ได้ด้วยการชนะแบบนี้ ได้ประโยชน์จากที่พระพุทธเจ้าท่านพาทำ ตามบทพาหุง ที่สวดกันอยู่นี้ ก็คือ คาถาพาหุงมีผล ทำความเข้าใจให้ดีๆ และทำให้ตรง ทำให้ถูกตามแบบพระพุทธเจ้านี้เถิด
________________________________________

บทที่ ๕
กัตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวามุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ

อันนี้แปลว่า "ตอนนี้ชนะการกล่าวร้ายของนางจิญจมาณวิกา ทำอาการประดุจว่ามีครรภ์ เพราะทำไม้ มีสัณฐานอันกลม ให้เป็นประดุจมีท้อง ด้วยวิธีอันงาม เอาไปใส่เอาไว้ที่ใต้ร่มผ้า พระพุทธเจ้าท่าน เอาชนะด้วยสมาธิอันงาม คือระงับพระหฤทัย ในท่ามกลางหมู่ชน ท่านทำเฉยเสีย "สันเตนะ" "สันตะ" แปลว่าเฉย สงบ สันเตนะ โสมะวิธินา ท่านชนะด้วยอาการทำความสงบเฉยนิ่ง ไม่ตอบโต้อะไรเลย ท่านเอง ท่านทำความเฉยแบบนี้ แม้ใครจะมากล่าวร้ายป้ายสีว่าร้าย

ถ้าลงขนาดพระพุทธเจ้านี่นะ เป็นนักบวชขั้นศาสดา แต่แล้วก็มีคนไปกล่าวร้าย ว่าไปทำให้เขาท้อง แหม ! มันร้ายกาจขนาดหนัก เป็นปาราชิก เป็นร้ายกาจแล้ว ไปทำให้เขาท้อง แล้วเราไม่รับว่าเราไปทำ อันนี้ความเลวขั้นสุดของพระ

พระรูปใดที่ละเมิดด้วยเมถุนธรรม ไปทำให้ผู้คนท้องได้ จะต้องเกี่ยวยุ่งเป็นกงเป็นการ ในเรื่องผู้หญิง ผู้ชาย ชู้ๆสาวๆ คนนั้นเลวที่สุด ในวงการพระนี้เลวที่สุด เหมือนกับพวกเราคงรู้ พระรูปไหน ไปเกี่ยวข้อง ผู้หญิง ผู้ชายไปมีเมีย หรือไปละเมิดอย่างนี้ขึ้นมา คนนั้นเลวมาก เลวที่สุด

พระพุทธเจ้าท่านจึงถูกใส่ความในจุดนี้เหมือนกัน นางจิญจมาณวิกา ได้ทำเสแสร้งเอาไม้กลมๆ ใส่เอาไว้ ในผ้านุ่ง เหมือนกับคนมีท้อง มาตู่พระพุทธเจ้าว่าเป็นสามี พระพุทธเจ้าท่านก็เฉย แล้วท่าน ก็กล่าวขึ้นว่า มีน้องหญิงกับเราเท่านั้นแหละนะที่จะรู้กัน จริงหรือไม่จริง จริงไหมล่ะ? ท่านไม่ได้ยุ่งเกี่ยว นางจิญจมาณวิกา แต่นางจิญจมาณวิกาซิ เข้ามาเกี่ยวตัวท่านเอง ท่านก็เลยพูดขึ้นอย่างนั้น ท่านเกี่ยวเขา หรือไม่เกี่ยว เขาก็รู้ดี ท่านก็รู้ดี

เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ พระพุทธเจ้าท่านรู้ว่าท่านถูก ท่านไม่ใช่เป็นคนผิด ท่านจึงเฉย เฉยจริงๆ เพราะฉะนั้น การหยุด การเฉย สันเตนะ โสมะวิธินา เฉยสงบ เมื่อถึงที่สุดนั้น เป็นคุณสมบัติของอริยะ ที่แท้จริง ความสงบ นี่แหละ ชนะอะไรทั้งปวงในโลก ท่านไม่เดือดร้อน เพราะท่านรู้ ท่านเฉยอยู่ สุดท้าย นางนั้น เต้นไปเต้นมา ไอ้ไม้ที่ซุกอยู่ในท้อง มันหล่นตกลงไปเอง โธ่ มาหลอก ! อย่างนี้ นางจิญจมาณวิกา ก็ถูกคนเขาด่าไป ถูกคนเขาว่าให้เสียไปเลย ท่านเอาชนะมารอย่างนี้

เพราะฉะนั้น เราก็เหมือนกัน ต้องจำยุทธวิธีบทนี้ให้ดีๆ อย่างพระพุทธเจ้าท่านทำ ใครจะมาด่า กล่าวว่าร้ายอย่างไรก็ช่าง ถ้าเราตรวจดูตัวเราว่าเราไม่ได้เลว เราไม่ได้ร้าย ก็ไม่ต้องหวั่นไหว เราไม่ได้ เสียหาย เราไม่ได้ทำผิด ก็เก่งนั่งยิ้มแป้นอยู่เฉยๆ เถอะ ไม่เดือดร้อนใจเลย ไม่มีเคือง ไม่มีระคาย ไม่หวั่นไหว เฉย สงบ พูดได้ดี มีสติสัมปชัญญะ มีความจริง มีความสัตย์บริสุทธิ์อยู่ อย่างนี้ก็เป็น ผู้ที่ได้ผล ในการฟังพาหุง บทที่ ๕ คือ ชนะคนจอมลวงโลก หรือคนกล่าวร้าย เสียดสี หรือคนพาล หาเรื่อง เราจะชนะคนเหล่านั้นได้ อย่างเก่งเป็นธรรมะที่จะต้องรู้ ต้องเข้าใจเรื่อง เข้าใจเหตุผล ไม่ใช่ธรรมะสวดเสร็จแล้วก็ขลัง ! มีอะไรมาบันดลบันดาลอย่างนั้นไม่ อย่าไปขออ้อนวอนเอา อ้อนวอนยังไงก็ไม่สำเร็จ หรือไม่ใช่พุทธวิธี วิธีการที่พระพุทธเจ้าทำเป็นตัวอย่าง นี้เป็นการเรียนรู้ แล้วลงมือกระทำให้ถูกตรงตาม นี่ พาหุง บทที่ ๕
________________________________________

บทที่ ๖
สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะ กะวาทะเกตุ วาทาภิโร ปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง ปัญญา ปะทีปะชะลิโต ชิตะวามุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ
บทนี้ ท่านแปลกันไว้ว่า

พระพุทธเจ้าท่านชนะนักบวช ผู้มีอัชฌาสัย ที่จะละเสียซึ่งความสัตย์ มีใจที่จะยกถ้อยคำของตนให้สูง ดุจยกธง เป็นผู้มืดมนยิ่งนัก ด้วยเทศนาญาณวิธี คือ รู้อัชฌาสัยแล้วตรัสเทศนา
ฟังคำแปลแค่นี้ ก็แสนจะเข้าใจยากแล้ว ก็จะขอแปลซ้อนลงไปให้ง่ายขึ้นอีกหน่อย คือ
"พระพุทธเจ้าท่านชนะนักบวชอื่นๆ ที่"เบี้ยว" แล้ว "ไม่จริง" แล้ว "ไม่ตรง ไม่ถูกตามสัจธรรม" แล้วและ ยังเจตนาที่ยกตนอยู่ ว่าตนสูง ตนดีเสียอีก มืดมนอยู่ หรือโง่อยู่ ยังบกพร่องอยู่ พระพุทธเจ้าจึง พยายาม เอาชนะ ได้ด้วยการใช้พระปัญญา แสดงธรรมสอน ไปเผยแพร่ออกไป กระจายสัจธรรม ออกไป ตามอัธยสัยของบุคคล ตามอัธยาสัยของตนเอง และกาละเวลาอันควร ความกระจ่าง สว่างไสว แห่งสัจธรรมแท้ ก็จะเป็นประทีป ไปจุดให้ผู้ "ไม่รู้" ผู้ยังยึดดี ถือตนนั้นๆ เห็นได้ตามเป็นที่สุด

พระพุทธเจ้าชนะเขาด้วยการสอน สอนด้วยอะไร สอนด้วย "ปัญญา ปะทีปะชะลิโต" สอนด้วยปัญญา ที่เป็นประทีปที่ท่านมี เช่น มีความสว่าง หรือมีความรู้แจ้งชัดอยู่เท่าใดๆ ท่านก็ใช้ปัญญานี้สอนนักบวช ดื้อด้านยึดถือดี อวดดี หลงตนทั้งหลาย นักบวชที่ยึดดี หลงตนที่ร้ายกาจนั้นๆ ในสมัยพระพุทธเจ้า ท่านก็มีคู่แข่ง มีนักบวชทั้งที่เขาก็ยืนยันว่าเขาประพฤติถูกต้องแล้ว พระโคดมสิ มาประพฤติมาสอน ผิดๆ เขาก็พากันต่อต้าน โต้แย้ง และมีทั้งประกาศศาสนากันคนละศาสนา พระพุทธเจ้าก็สอนนักบวช ที่ยังผิดๆ เพี้ยนๆ อวดดีทั้งหลายแหล่นี้แหละ หรือนักบวชอื่นๆ อีกก็ตาม สอนเขาจนเห็นดี เห็นชอบด้วย สอนเขาด้วย "ปัญญาปะทีปะชะลิโต" พวกนักบวชที่ยึดดี ถือตน อวดดีทั้งหลายแหล่เหล่านี้ พระพุทธเจ้าทำอย่างนี้

นักบวชในสมัยพระพุทธเจ้ามีหลายลัทธิ แยกออกมาจากพราหมณ์ด้วยกันนั่นเอง ก็เยอะแยะ แต่งตัว เหมือนกันก็มี แต่งตัวอย่างโน้นแต่งตัวอย่างนี้ นับถือจารีตอย่างโน้น นับถือประเพณีอย่างนี้ มีแบบนี้ แบบนั้นหลายๆ อย่าง หลายๆแขนง ต่างกันมากมาย แต่ก็มาจากพราหมณ์เหมือนๆกันนั่นแหละ ส่วนใหญ่ ต่างก็ล้วนจะประพฤติพรหมจรรย์

เหมือนกันกับสมัยนี้ เรียกว่าพุทธศาสนาเท่านั้น แต่ก็มีการปฏิบัติกันไม่รู้กี่จารีต กี่ประเพณี กี่แบบ อย่าง โดยเฉพาะทาง"ความเข้าใจ" หรือ"เป้าหมาย"ทางนามธรรมนั้น แตกแง่ แยกทางมากมาย หลายอย่าง เหลือเกิน เพราะฉะนั้นได้หลายอย่างๆ นี้แหละก็เหมือนกันกับสมัยโน้น ใน "พระพุทธศาสนา" ก็มีแบบอย่างกันหลายอย่าง มี"ทิฏฐิ" กันคนละ"ทิฏฐิ" ในสมัยนี้ผู้รู้จริง ก็จะต้องใช้ "ปัญญาปะทีปะชะลิโต" ซึ่งจะสามารถเทศนา แสดงคำสอนด้วยญาณวิธี หมายความว่า ทำด้วย ความเก่งแห่งปัญญา มีเชิง มีกลวิธีต่างๆ คนอื่นที่เขาเป็นนักบวชต่างๆ นั้นก็จะรู้ได้ จะได้ประโยชน์ เช่นเดียวกัน

สมัยพระพุทธเจ้ามี "ปัญญาปะทีปะ" มีญาณ มีปัญญาอันเป็นประทีปถ่ายทอดกันอยู่ สมัยนี้ก็ต้องใช้ "ปัญญาประทีป" อย่างเดิมอยู่นั่นแล เพราะสมัยไหนๆ ก็พยายามใช้ปัญญาประทีป

นี่แหละแสดงเทศนาเพื่อที่จะให้พระ หรือนักบวชผู้ที่มืดมนหลงตน ยึดดีถือดี อวดดีอยู่ต่างๆนั้น คลายทิฏฐิ ยอมแพ้ หรือพระท่านมีญาณประทีปนั้น ท่านก็จะพยายามแสดงธรรมเทศนา สั่งสอน กล่าว หรือว่าแสดงวิธีให้พระที่กำลังมืดมน หลงตน ยึดดี ถือดีว่าตัวดี อวดดีเหล่านั้น ยอมเห็นตามได้ เข้าใจในสัจธรรมได้ ไม่ว่าจะเป็นสมัยไหน ถ้าใครมีปัญญาแก่ตนแล้ว "ปัญญาปะทีปะชะลิโต" เป็นปัญญา เป็นดวงประทีปสูง ก็สามารถที่จะเป็นผู้สาดส่องกระจายรังสีแห่งสัจธรรม ออกไปข่มรัศมี ที่ยังไม่จริงไได้ จะปราบความอวดดี ปราบความหลงตน เย่อหยิ่งของนักบวช แม้รุ่นเก่าเกิดก่อน หรือรุ่นที่ยังไม่ดีแท้ ยังไม่เป็นสัจธรรมจริงได้ ซึ่งก็ยากยิ่งแท้ แต่ถ้าคุณเป็นนักบวชผู้มีปัญญาทีปนั้นจริง คุณก็ทำได้จริง ถ้าคุณไม่ได้เป็นนักบวชที่มีปัญญาปทีปจริงนั่นสิ !คุณก็ทำอันนี้ไม่ได้ ก็ให้ฟังไว้เท่านั้น

แต่ผู้ที่จะได้ประโยชน์สูงขึ้นมาแล้ว เมื่อกี้นี้ชนะคนชั้นหลอกลวงในโลกขนาดนั้น ฉะนั้นขั้นต่อไป ตั้งแต่ บทที่ ๖ นี่ก็ขั้นสูงขึ้นๆ ผ่านขั้นชนะ "คนลวง" ต่อมาก็ชนะ"พระลวง" หรือ "นักบวชลวง" ก็ต้องเตือนกัน บอกกัน แม้จะเป็น"นักบวช"ผู้ที่ยังไม่บริสุทธิ์สูงสุด ก็ยังหลง"โลกียสุข"อยู่อีกต่างๆ ที่มันทำให้ต้องถือดี ต้องอวดดี ยึดตัวยึดตน ต้องยุ่งยากลำบากกัน เพราะเป็นเรื่องของความสุขขั้นสูง ที่ "นักบวชก็ยังหลง" เป็นเรื่องของจิตชั้นสูง ขั้นสอนเขาปราบมาร เรียกว่า "มารในนักบวช" ที่ปราบครั้งนี้เรียกว่า "ปราบมาร ชั้นนักบวช" ไม่ใช่ปราบมารชั้นคนธรรมดา มารชั้นคนธรรมดามีมือตั้งพัน บอกไปแล้วแต่ต้น ตั้งแต่บทที่ ๑ มีมือที่มีมีด แต่นี่เป็นมารที่อวดกล้าว่าตัวเองนี่เก่ง มีสัจจะ มีตบะบ้าง มีแบบ มีวิธีบ้าง อะไรบ้าง ก็ตามแต่ แต่ตัวเองยังมีความหลอกอยู่ ไม่มีสัมมาทิฏฐิ อย่างนี้พระพุทธเจ้าท่านปราบมาแล้ว และ เราเอง พุทธศาสนิกชนเอง นักบวชของพุทธศาสนาในสมัยนี้แหละ ถ้าใครเป็นนักบวชที่มี "ปัญญาประทีป" อันรุ่งเรือง "ปัญญาปะทีปะชะลิโต" ปัญญาที่เป็นประทีปรุ่งเรืองนี้ ก็ช่วยปราบ นักบวชเหล่านี้ด้วย อันนี้เป็นพาหุง บทที่ ๖
________________________________________
28266  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ใครเก่งพาหุง......เชิญทางนี้เลย เมื่อ: ธันวาคม 23, 2009, 03:13:09 pm
ยุทธวิธี ๘ ขั้นแห่งการเป็นผู้พิชิต (พาหุงฯ ๘ ที่พิสูจน์ได้)
พิมพ์ครั้งที่ ๑ จำนวน ๑๐,๐๐๐ เล่ม เดือน กรกฎาคม ๒๕๒๐

คำนำ
ทุกชีวิตที่เกิดมาในโลกนี้ ล้วนต้องเผชิญกับการต่อสู้ ในรูปแบบและจุดมุ่งหมายที่ผิดแผกแตกต่างกัน ออกไป ตามเงื่อนไขของสภาพแวดล้อม สัญชาตญาณ และความเจริญแห่งภูมิจิต ภูมิปัญญา ที่พัฒนา แปรเปลี่ยนไปในแต่ละยุค แต่ละสมัย

นับตั้งแต่การต่อสู้กับภัยพิบัติทางธรรมชาติ ต่อสู้กับความทุกข์ทรมานของโรคภัยไข้เจ็บ ต่อสู้เพื่อ ครอบครองกรรมสิทธิในที่อยู่อาศัย ต่อสู้เพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ ฯลฯ ของมนุษย์ในยุคสมัยต้นๆ
มาจนกระทั่งถึงการต่อสู้ เพื่อครอบครองอาณาเขตดินแดนต่างๆ ต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพ ต่อสู้เพื่อความอดอยากหิวโหย ต่อสู้เพื่ออุดมการณ์ ต่อสู้กับสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษฯลฯ ของมนุษย์ ในยุคปัจจุบัน

จากการต่อสู้ในระดับบุคคล เงื่อนไขของการต่อสูได้บีบรัด ให้มนุษย์ผนึกรวมกันเข้า เพื่อร่วมกันต่อสู้ กับภัยพิบัติ ทั้งทางธรรมชาติ และสังคม จนคลี่คลายขยายตัว เป็นขบวนการต่อสู้อันยิ่งใหญ่ของ มวลมนุษยชาติ

แต่แทนที่การผนึกรวมกันเข้าของมนุษย์ จะช่วยให้มนุษย์ได้พบกับชัยชนะในการต่อสู้ และอยู่ร่วมกัน อย่างมีสันติสุข มันกลับก่อให้เกิดปัญหาอันยุ่งยาก และสลับซับซ้อนยิ่งขึ้นทุกทีๆ จนกลายเป็นกลไก อันยุ่งเหยิงของสังคมในระบบต่างๆ ซึ่งมีอิทธิพลผลักดันให้วิถีชีวิตมนุษย์ ให้ต้องดำเนินไปตามวงจร และค่านิยมที่สังคมนั้นๆ กำหนดขึ้น โดยปราศจากจิตสำนึกที่แท้จริง ในการอยู่ร่วมกัน และความรู้ซึ้ง ถึงคุณค่า และความหมายของการมีชีวิตอยู่

อันนับว่าเป็นความปราชัยอย่างยับเยินที่สุดของมนุษยชาติ!

สาเหตุสำคัญที่ทำให้มนุษย์ ต้องประสบกับความล้มเหลว ในการต่อสู้กับศัตรู ทั้งทางธรรมชาติ และ สังคมนั้น เพราะมนุษย์มัวแต่ไปวุ่นวายอยู่กับสิ่งเร่งเร้าภายนอกมากเกินไป จนละเลย และมองข้าม ศัตรูสำคัญที่สุดของมนุษยชาติ อันคือ"สัญชาตญาณสัตว์ป่า" ซึ่งครอบงำฝังลึก อยู่ในกมลสันดาน ของมนุษย์นั่นเอง ที่ทำให้สังคมของมนุษย์ ซึ่งเป็นสัตว์เมือง มีสภาพไม่แตกต่างไปจากฝูงสัตว์ป่า ในด้านของความสำนึกทางมโนธรรม

จึงกล่าวได้ว่าศัตรูสำคัญ ซึ่งเป็นตัวการที่บ่อนทำลายมนุษยชาติให้ย่อยยับนั้น ก็คือ"สันดานดิบ" ที่ฝังลึกอยู่ในจิตใจของมนุษย์ปุถุชนทั้งหลายนี้เอง
เมื่อเห็นได้แล้ว พึงช่วยกันกำจัดเถิด สาธุชนทั้งหลายเอ๋ย!

"ยุทธวิธี" ๘ ขั้นแห่งการเป็นผู้พิชิตนี้ มีเนื้อหาสาระในการที่จะชำระขัดเกลา หรืออบรมบ่มสันดาน ของมนุษย์ ให้มีจิตวิญญาณอันบริสุทธิ์ หมดจด และเจริญงามสูงส่ง เปี่ยมด้วยมโนธรรมสำนึก อันไพบูลย์ จนอยู่เหนืออิทธิพลของสัญชาตญาณสัตว์ป่า เป็นผู้พิชิตซึ่งได้รับชัยชนะเหนือตนเอง และ เหนือโลก (โลกุตระ) อย่างแท้จริง

โดยเรียบเรียง ถ่ายทอดจากคำบรรยายเรื่อง"พาหุง ๘ " (บทถวายพรพระ) ซึ่งบันทึกเสียงไว้ ตั้งแต่ปี พุทธศักราช ๒๕๑๖ และได้แก้ไขปรับปรุง และเพิ่มเติมส่วนที่ยังขาดตกบกพร่องอยู่ ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น พร้อมกันนี้ ก็ได้ตั้งชื่อเรื่องเสียใหม่ เพื่อความเหมาะสมตามกาลสมัย

ซึ่งบทถวายพรพระ หรือพาหุง ๘ นี้ โดยทั่วไป ก็ใช้เป็นบทสวดอ้อนวอน ขอความเป็นศิริมงคล อันเป็น ลัทธิพิธีตามความเชื่อของศาสนาแบบ"เทวนิยม" ซึ่งเป็นแบบอย่างของลัทธิยอมจำนน ที่สอนให้คน งอมือ งอเท้า ไม่ต่อสู้กับชีวิต โดยยกอ้างอำนาจลี้ลับ ของผีสางเทวดา มาพะเน้าพะนอ ความอ่อนแอ ของตนเอง อันไม่ใช่วิสัยของชาวพุทธที่แท้จริงเลย

รายละเอียดต่างๆ ก็จะไม่ขอกล่าวในที่นี้ เพราะภายในเนื้องเรื่อง ก็ได้บรรยายไว้อย่างแจ้งกระจ่าง อยู่แล้ว จนคิดว่าบางที ความแจ้งกระจ่างของเนื้อหาสาระ อันเป็นแก่นแท้ อาจทำให้เกิดความกระทบ กระเทือน แก่ผู้ที่ยังติดอยู่ในสภาวะนั้นๆ ก็ขอความกรุณา โปรดอย่าได้ขัดเคือง หรือขุ่นข้อง หมองใจ เลย เพราะผู้บรรยาย มีแต่ความจริงใจ และบริสุทธิ์ใจ ที่จะแสดงสารัตถะแห่งสัจธรรม ให้ปรากฏ อย่างชัดเจน ด้วยกุศลเจตนาแท้ๆ มิได้มีอคติแต่ประการใดเลย

พระพุทธพจน์ว่า "ผู้ชี้โทษ นั่นแหละคือ ผู้ชี้ขุมทรัพย์"

ในที่สุดนี้ ก็จะเว้นกล่าวเสียมิได้ก็คือ การที่หนังสือเล่มนี้ สำเร็จเป็นรูปเล่มขึ้นมาได้ ก็ด้วยความเอื้อเฟื้อ ของคุณ "พยนต์ เทียนประเสริฐ" และมิตรสหาย ซึ่งเป็นผู้รับภาระในการจัดพิมพ์ จนสำเร็จลุล่วง มาได้ด้วยดี จึงขออนุโมทนา สาธุการไว้ ณ ที่นี้ด้วย และขออานิงส์ในสารัตถะแห่งหนังสือนี้ พึงได้แก่ สาธุชนทุกๆท่านผู้อ่าน ด้วยวิจารณญาณอันยิ่ง เทอญ

อัตตา หเว ชิตัง เสยโย ชนะตนนั่นแหละเป็นดี
จาก ชาวอโศก เพื่อมวลมนุษยชาติ
________________________________________

ยุทธวิธี ๘ ขั้นแห่งการเป็นผู้พิชิต
(พาหุง ๘ ที่พิสูจน์ได้)


ลำดับต่อไปนี้ จะบรรยายเกี่ยวกับคำที่ได้สวดกัน ฟังกันมามากมาย คือ บทสวดมนต์ชื่อ "พาหุง สะหัส สะมะภินิม มิตะสาวุธันตัง ฯลฯ" ที่เคยได้ฟังกันมา เป็นพาหุง สั้นๆ หรือเป็นพาหุง ทั้ง ๘ บท ยาวเต็ม ก็ตาม ณ ที่นั้จะบรรยายให้ฟังครบกันอย่างจะจะ ทั้ง ๘ บท ๘ ขั้นทีเดียว

ที่ได้ฟังกันมาแล้ว ก็ได้ยึดหลงกันคิดว่า บทสวดพาหุงฯ นั้นเป็น"คาถา" กันโน่น กันนี่ กันผี กันสาง ทำให้สมจิต สมใจในสิ่งโน้น สิ่งนี้ เที่ยวให้สำเร็จผลอย่างโน้น อย่างนี้ มีฤทธิ์ มีเดชอย่างโน้น อย่างนี้ นั่นเป็นความเชื่อถือ ยึดถือที่งมงาย เพราะอะไร มีเหตุ มีผลอย่างไร? ผู้เชื่อนั้นก็ไม่รู้ เราได้ยินติดหู ภาษาบาลี

"พาหุง สะหัส สะมะภินิม มิตสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตะโฆ...ฯ เราก็นึกว่าเป็น "ถาคา" แหม! ดีจริงๆ ขลังจริงๆ ทั้งๆที่เราไม่รู้เลยทั้งหมดว่า หมายความว่าอะไร? นอกจากได้รับมาโดยเป็นการ สวดร้องหมู่ "พาหุง สะหัสสะมะภินิม มิตสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตโฆระสะเสนะมารัง ทานังทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ

บท ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ นี่ เขาแปลว่า "ขอชัยมงคลทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน ด้วยเดช แห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น"อันนี้เป็นบทจบของทั้ง ๗ บท ๘ บท ที่สวดเป็นพาหุงยาวๆ เป็นบท "ขอ" หนะ !

ที่จริงพระพุทธเจ้า ท่านไม่เคยสอนเรื่อง"ขอ"และ ไม่มีบทสวด "ขอ" ไม่มีการสวดอ้อนวอน เพราะศาสนา พุทธ ไม่ใช่"เทวนิยม" ไม่ใช่ศาสนาที่มี"พระเจ้า" (GOD) บันดาลเหมือนศาสนาอื่นๆ เช่น ศาสนาฮินดู ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ฯลฯ เป็นต้น

ศาสนาพุทธ ไม่ได้มีพระจิต พระวิญญาณคอยแผลงฤทธิ์ แผลงเดช ประทานนั่น บันดาลนี่ ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่เห็นยิ่งไปกว่า"ศาสนา" ซึ่งมีความเชื่อใน"เทวนิยม" ในเรื่อง"จิต" เรื่อง"วิญญาณ" แบบเก่าๆ เดิมๆ หรือจะเรียก"พระจิต" เรียก "พระวิญญาณ" ตามภาษาศาสนาทางตะวันตกก็ตาม

พระพุทธเจ้า เป็นพราหมณ์ เป็นฮินดูมาเก่า เคยถูกสอนให้เชื่อ ให้"ขอ" ต่อเทวะ ต่ออาตมันมาก่อน แต่แล้วพระองค์ ก็มาตรัสรู้ แจ้งในอาตมัน ตรัสรู้แจ้งในเทวะทั้งหลาย อย่างแจ่มชัดแท้ แล้วก็สอนผู้คนให้รู้แจ้งตาม ศาสนาพุทธเน้น "กรรม" อันคือ"การงาน หรือการกระทำ"ของใครก็ของใครนั่น
แหละ คือมี"การกระทำ" เป็นของๆตน ใครทำดี ก็ได้ดีนั้น ใครทำชั่ว ก็ได้ชั่วนั้น หรือยิ่งไปหลงพึ่ง" ขอ" เอากับวิญญาณภูต วิญญาณผี วิญญาณเทวดากะเฬวราก ที่ต่ำ ที่ต้อยยิ่งกว่าวิญญาณ "พระเจ้า" ก็ยิ่งเป็นศาสนาต่ำต้อย ยิ่งกว่าศาสนาที่มี "พระเจ้า" ไปใหญ่ ก็ยิ่งไมได้เรื่องเลย ยิ่งเหลว ยิ่งแย่!

นี่คนสมัยต่อมา เป็นอาจารย์รุ่นหลังแต่งบทนี้ขึ้น แต่งบทสวดพวกนี้ขึ้น แล้วก็ใช้เป็น บทขอ อ้อนวอนขอ กราบกรานขอ อ่อนน้อมขอ เดินเวียนรอบขอ ไปเอาอย่างศาสนาอื่น ที่เขามี"พระเจ้า" (GOD) ประทาน หรือ บันดาลซะนี่! ซึ่งการสวดขอเอานั้น ไม่ได้! มันไม่ได้ มันเป็นการขอที่ไม่ได้ เราต้องเป็นคนช่วยตัวเอง ทำเอาเอง และจะได้เอง มันถึงจะดี

แต่เอาเถอะ จะขอ หรือไม่ขอ ก็ตามแต่ ถ้าเราน้อมใจของเรา ตั้งอธิษฐานว่า อยากได้สิ่งนั้น สิ่งนี้ไปเป็น มงคล ! มงคล หรือความดี หรือเป็นชัยมงคล มันก็ดีละ "ชะยะมังคะลานิ" ชัยมงคล มันดี ที่มีชัย มีมงคล ตามว่า แต่มงคล หรือความดี ตามว่านี่ เราควรจะได้อย่างไร? เป็นยังไง?

บทพาหุง ทั้ง ๘ อาจารย์ เกจิอาจารย์รุ่นหลัง (คือ ไม่ใช่คาถาของพระพุทธเจ้าตรัสไว้) ได้ไปเรียบเรียง เอาประวัติของพระพุทธเจ้า ที่พระพุทธเจ้าท่านได้แสดงปาฏิหาริย์ก็ดี หรือว่าแสดงความเก่งกล้า สามารถ โดยการปราบมาร ปราบยักษ์ ปราบเดรัจฉานที่โง่เง่า มืดมัว เพราะว่าเมามัน เมาสิ่งที่คนหลง แล้วก็ปราบคนใจหยาบอำมหิต ปราบคนที่มันจอมลวงโลก หรือว่าปราบไปจนกระทั่งถึงนักบวช ที่อวดดี หลงตน ปราบนาค เรียกว่าพญานาค ก็ได้ เดี๋ยวจะอธิบายให้ฟัง

พญานาค หมายถึงอะไร ? คนต่างๆ หมายถึงอะไร? เดี๋ยวจะเข้าใจ

ปราบพญานาค ไปจนกระทั่งถึงพระพรหม ปราบหมด เป็นความสามารถที่พระพุทธเจ้าของเรา ท่านได้แสดง หรือได้กระทำมาแล้วในประวัติของท่าน ที่เราได้ฟัง ได้ยินมา แล้วพระเกจิอาจารย์ รุ่นหลังๆ ก็ไปเอามาแต่ง เรียบเรียงเข้า ร้อยกรองเข้า พระพุทธเจ้าของเรา ที่เรียกว่าพระจอมมุนี หรือ เรียกว่าพระบรมศาสดา เรียกพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ได้แล้วแต่ เป็นผู้ที่ได้ผ่านการชนะ หมายความว่า ชนะมาหมดทุกอย่าง ตั้งแต่แสนร้ายกาจที่สุด ไปจนกระทั่งเก่งที่สุดขนาดไหนๆ พระพุทธเจ้าชนะ มาหมด นี่เป็นความดี เป็นความที่น่าสรรเสริญ เป็นสิ่งที่เราควรจะเอาแบบอย่าง

เพราฉะนั้นถ้าเราฟังพาหุง ๘ บทแล้ว เราทำความเข้าใจให้ได้ทั้ง ๘ บทว่า หมายความว่าอย่างไร? แล้วเราก็มีการประพฤติ เจริญรอยตามพระพุทธเจ้า เจริญรอยไปตั้งแต่บทที่ ๑ ที่กล่าวมาแล้ว เมื่อกี้นี้ ภาษาบาลีซึ่งแปลความเป็นไทย บทที่ ๑ ตั้งแต่ พาหุง สะหัส สะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง... (จนถึง) ชะยะ มังคลานิ ที่กล่าวไว้แล้ว แปลเป็นไทย แล้วเขาแปลกันไว้ว่าอย่างนี้
"พระจอมมุนี ท่านได้ชำนะพญามาร ผู้นิรมิตแขนมากตั้งพัน ถืออาวุธครบมือ ขี่คชสารครีเมข พร้อมด้วย กองทัพมาร โห่ร้องก้องกึก ท่านชนะด้วยธรรม วิธีทาน คือ ทานบารมี เป็นต้น

นี่ คำแปลมันว่าอย่างนี้ ถ้าฟังดูเผินๆ การเล่าถึงว่า พระพุทธเจ้าชนะพญามาร ที่มีแขนยุบยับไปหมด ตั้งพัน และแขนตั้งพันนี้ ถืออาวุธหมด ถือทุกๆ มือเลยครบมือ ขี่พญาช้างสาร ลอยมาบนเมฆ มีเสียง โห่ร้องของเสนาพลพรรค พวกมารทั้งหลาย มาพร้อมเลย อย่างนี้ เราวาดรูป หรือเราปั้นรูป แสดงเป็น พญามาร ที่มีแขนตั้งพัน ถ้าเราไปเข้าใจถึงว่า รูปร่างคอยคิดเอา ดำริเอา หรือปั้นเอาว่ารูปร่างของ พญามาร นั้นแหละ ปั้นแขน เข้าไปตั้งพันแขน ถืออาวุธครบมือ ตั้งพัน แล้วก็ขี้ช้างสารมา ลอยมา บนเมฆ มีเสนามาร ถือมีด ถือง้าว ถือหอก โห่ร้องกึกก้องมา อย่างนั้นเราก็เห็นเป็นรูปร่าง คงจะมี อำนาจมากทีเดียวล่ะ! ถ้าเราเห็นเราคงจะวิ่งหนี ก็คนตั้งพัน หอกดาบอะไร เต็มไม้เต็มมือ อย่างนี้ ต้องวิ่งหนีแน่

พระพุทธเจ้าเอง ท่านสามารถเอาชนะสิ่งที่เรียกว่า ถ้าคนมีรูปอย่างนี้ หรือว่าสัตว์โลกชนิดไหน ที่มี รูปร่างอย่างนี้ ถือมีด ถือหอก ถือดาบมาอย่างนี้ น่ากลัว มีเสียงโห่ร้องส่งมากึกก้องเสียด้วย

ซึ่งถ้าใครพาซื่อ หลงบัญญัตินั้น เป็นรูปธรรมโท่โล่ๆ อย่างนั้นแล้วละก็ ชีวิตของคุณทุกคนนี่นะ ไม่มีทาง ที่จะเจอพญามารแบบนี้เลย เกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิด กี่ร้อยชาติ พันชาติก็ไม่เจอ มารที่มีมือ ตั้งพัน ถือมีด ถือหอกดาบมาตั้งพันมือ มีเสนามารร้องโห่ กึกก้องมาอย่างนี้ ไม่มีหรอก ! คุณ ไม่เจอหรอก ! แต่คุณจะเจอพญามาร ที่มันร้ายกาจ เหมือนกับมันมีมีด เป็นพันมือ ถืออาวุธครบมา ทั้งพันมือ จะเจอ"ตัวแท้" ตัวจริงด้วย ถ้าคุณเข้าใจใสสว่างเป็น "สัมมาทิฏฐิ" ได้

เมื่อไรคุณจะพบมารพวกนี้ ฟังดีๆ ! มันโห่ร้องยั่วยวนกวนใจ มากำหราบให้คุณกลัว ให้คุณยอมสิโรราบ ถ้ามันจะสั่งให้คุณทำเลวขนาดไหน คุณก็จะทำ คุณกลัวมาร มารมันยิ่งยวน มันบังคับขู่เข็ญ ใช้มีด ใช้อำนาจต่างๆ ใช้หอก ใช้ดาบทิ่มแทง พยายามที่จะบังคับให้คุณทำชั่ว ทำเลวยังไงคุณก็ทำ เพราะ คุณกลัวมัน กลัวมารนี้ คิดให้ดี ถ้ามารอย่างนี้แล้วละ ก็ไม่เห็นตัว ไม่มีมือ ไม่มีแขนให้เห็นโท่โล่ๆหรอก ! แต่มันเหมือนมีแขน มีมือให้เห็น มันขู่คุณทุกเวลา บางทีคุณกำลังไม่อยากทำในสิ่งนี้ เป็นสิ่งเลว แต่มัน ก็บังคับคุณเหลือเกิน บังคับคุณให้ทำ คุณรู้ว่าสิ่งนี้ชั่ว คุณก็รู้ แต่ก็ถูกบังคับไป เหมือนมีมาร มันถือมีด ถือหอก ถือดาบทิ่มแทงให้คุณทำ

การกระทำชั่ว การกระทำเลวอย่างนี้ โดยที่คุณรู้ คุณเห็นอยู่ คุณเข้าใจ อยู่ว่าเป็นของไม่ดี แต่ก็เหมือนพญามารบังคับอยู่ นั่นแหละ มารที่เจ้าของเอง จะเห็นจะรู้ คนเราทุกคนจะเห็นจะรู้ในชาตินี้ ไม่ต้องชาติไหน อย่างนี้แล้วล่ะก็ ได้ผล ถ้าใครเข้าใจธรรมะ ซึ่งเป็น ธรรมาธิษฐาน ที่แปลออกมาแล้ว ไม่ต้องไปปั้นรูป จะเป็นพญามาร ขี่คอช้าง มีมือตั้งพันมือ ไม่ต้อง แปลงรูปเป็นปุคลาธิษฐานอย่างนั้น แต่เป็นความเลว บังคับใจคุณ ให้คุณทำส่งนั้นนั่นแหละ"ตัวมาร" มันจะเจอมาจากไหนก็ช่าง มันอาจจะเป็นเจ้านาย ห้าร้อยคน ก็มาแล้วพันมือ นายมีห้าร้อยคน คนละ ๒ มือ ก็มีแล้วพันมือ และบีบบังคับให้คุณทำความชั่วนั้น คุณไม่ยอมโกง แต่เจ้านายอีกห้าร้อย ของคุณโกง แล้วบีบบังคับให้คุณโกงด้วย นี่แหละเจ้านาย หรือว่ามารพันมือละ ซึ่งบังคับคุณถือหอก ถือดาบบังคับให้คุณโกงตาม คุณรู้อยู่อย่างนี้แล้ว คุณก็แพ้มัน คุณสร้างทำความชั่วนี้ ก็เหมือนกับ ถูกมาร ที่ยื่นหอก ยื่นดาบ เอามีดทิ่มแทง บังคับขู่เข็ญให้คุณทำ เสร็จแล้วคุณชนะไม่ได้ ชนะความชั่ว ไม่ได้ พ้นความชั่วไม่ได้ คุณทำความชั่วนั้น เรียกว่าคุณแพ้มาร

ถ้าคุณเองหาทางปลีกออก ไม่ยอมเป็นทาสพญามาร แม้จะมีพันมือ เอาหอก เอาดาบ ทิ่มแทง คุณก็ไม่ยอม ปลีกตัวหนีเสีย ไม่ยอมร่วมมือ นี่คุณรู้ชัดว่า นี่เป็นความชั่ว คุณไม่ทำเลย ใครผู้ใดก็ตาม ถ้าทำได้อย่างนี้ แน่นอน ชนะมาร ที่มีมือตั้งพัน หรือถืออาวุธครบจริงๆด้วย อย่างนี้คุณจะพบ อย่างนี้ คุณจะต้องทำ

เพราะฉะนั้น แม้มารจะมีมือเพียงสองมือ สามมือ ถือมีดมาทิ่มแทงคุณ ก็อย่าทำ อย่าว่าแต่มาร มีอาวุธ ครบพันมือเลย มารเล็กๆน้อยๆ แม้จะมีหอก มีดาบมาทิ่มแทง ให้คุณทำชั่ว คุณก็อย่าไปทำ อาจจะเป็น พ่อ เป็นแม่คุณนี่แหละ บังคับให้คุณทำชั่ว ทั้งๆที่คุณรู้ว่าความชั่ว เหมือนพ่อแม่บังคับ เหมือนกับถือมีด ถือหอก ถือดาบนี่แหละบังคับ แล้วคุณก็จะต้องทำชั่วอย่างนี้ เพราะพ่อแม่บังคับ หรือเพราะพี่น้อง บังคับ เพราะญาติโกโยติกาบังคับ เพราะเมียคุณ เพราะผัวบังคับ เพราะลูกบังคับ เพราะแฟนบังคับ เพราะเจ้านายบังคับ ก็อย่าได้ล่วงละเมิดกระทำเป็นอันขาด คุณต้องชนะทุกประเภท แม้แต่มีมือ ตั้งพันมือ คุณจะต้องชนะให้ได้ บังคับคุณถือหอก ถือดาบ ก็ต้องบังคับตัวเอง ชนะมารอย่างนี้ให้ได้

เพราะฉะนั้น ยิ่งมารมีมือเดียว ถือหอก ถือดาบ ยิ่งอย่าไปยอมแพ้เป็นอันขาด ถ้าเรารู้ได้ว่าความชั่ว อย่างนี้เรียกว่า

บทที่ ๑
ของพาหุง บทถวายพรพระ ผู้ที่เป็นพระได้ ต้องเป็นคนอย่างนี้
เป็น"พระ" คือ "ผู้ประเสริฐ" คือ"คนดี" อย่าเพิ่งไปหลงเข้าใจว่า"พระ" คือ คนโกนหัว ห่มจีวรอยู่เพียง เท่านั้น เป็นอันขาด

ผู้ที่เป็น"พระ" ได้ ต้องเอาชนะมารที่อยู่เหนือหัว(ใจ) ของเราได้ มีด หอก ดาบ คมแหลมหลาวอะไร ก็ตามแต่ รู้ว่าไม่มีใครบังคับเราได้ เอาหอกทิ่ม แทงตำลงไป คมหอก คมดาบ คมมีด คมปืน อย่าไปให้ ตัวเองชั่วลงไป เพราะคมหอก คมดาบ คมมืด คมปืน อย่างนี้เรียกว่าเป็นผู้ชนะ
พระพุทธเจ้าเอาชนะแม้แต่มารมือตั้งพัน ทนได้สู้ได้ เอาชนะได้ ไม่ล่วงละเมิดความชั่วเลย อย่างนี้เป็นต้น

ท่านบอกไว้ในนี้ว่า ท่านเอาชนะมารเหล่านั้นได้ ด้วยวิธีอะไร? ด้วยวิธียอมเสียสละ ยอมให้ไป ไม่เอาด้วย ภาษาบาลีแปลว่า ทานาธิธัมมะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ชนะลงแล้ว ด้วยทานบารมี สละไป ไม่ยอมเอาด้วย อย่างนี้ เรียกว่าชนะด้วยการไม่เอาด้วย

เมื่อกี้นี้ ยกตัวอย่าง นายของคุณ ๑๐ คน ๒๐ คน มีมือ ๒๐ มือ ๔๐ มือ หรือว่านายร้อยคน เหนือคุณ มีมือสองร้อยมือ มาบังคับ ขู่เข็ญคุณ ให้คุณทำชั่วตาม โกงตาม คอรัปชั่นตาม เพราะนายเขาคอรัปชั่น หมดแล้ว บีบบังคับให้คุณคอรัปชั่น คุณก็อย่าเป็นอันขาด อย่าไปเอาด้วย ให้เขาไป เขาจะโกง เขาจะกิน อย่างไร ให้เขาไป เรายกเลิก ถ้าเราอยู่ด้วยไม่ได้ ลาออก ให้มันตายไปเลย ไม่ทำชั่ว เมื่อรู้ชั่วแล้ว ต้องเลิกกอย่างนี้ นี่เรียกว่า เราชนะมารด้วยการรู้ดีรู้ชั่ว มารจะมีฤทธิ์ มีเดชแข็งข้น เก่งกล้า ใหญ่อย่างไร เราก็ชนะด้วยการยกเลิก เสียสละไม่เอาด้วย ยอมให้ไปเลย ไม่พยายามที่จะไป แย่งมา หรือไม่พยายามไปสุมหัวร่วมกับเขาทำชั่ว

อย่างนี้เรียกว่าเป็น "การกระทำ"(กรรม) ถ้าใครเข้าใจพาหุง บทที่ ๑ นี้ ผู้นั้นก็จะเอาไปทำประโยชน์ได้ เอาไปก่อประพฤติ ปฏิบัติตน ให้มันเป็นธรรม ไม่ให้ละเมิดความชั่ว

เพราะฉะนั้น ถ้าใครทำ ผู้นั้นก็ได้ทันที ไม่ต้องมาสวด ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ ไม่ต้อง มาขอด้วยเดชแห่งพระพุทธเจ้า พระชัยมงคล ไม่ต้อง!

คุณทำเอง ไม่ต้องไปฟังพระสวดก็ได้ ได้จริงๆด้วย ถ้าคุณเข้าใจจริงๆแล้ว หรือฟังสวดก็ได้ประโยชน์ ถ้าคุณรู้เรื่อง แปลออก และหรือพอฟังแล้ว มันก็มีฤทธิ์เตือนคุณ เร่งให้คุณละชั่วนั้นๆได้
แต่ถ้าได้ฟังพระสวดเฉยๆ สิ คุณไม่ได้อะไร ฟังพระสวด เสร็จแล้วคุณก็ไปนั่งทำชั่ว มันจะได้อะไร คุณไม่ประเสริฐ คุณไม่ได้เป็นพระ คุณจะเป็นพระได้ คุณต้องชนะความชั่วอย่างนี้ นี่ พาหุง บทที่ ๑ นะ
________________________________________
 
บทที่ ๒
มาราติเร กะมะภิยุช ฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนา ฬะวะกะมักขะ มะถัทธะยักขัง ขันตีสุทันตะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ

คำสุดท้าย ลงท้ายเอา ชิตะวามุนินโท หมายความว่า พระพุทธเจ้า เอาชนะได้ มุนินโท หมายถึง พระพุทธองค์ ชิตะวา หมายความว่าเอาชนะได้ แปลเป็นไทย บทนี้ก็มีว่า

"พระจอมมุนี ได้ชนะอาฬวกะยักษ์ ผู้มีจิตกระด้าง ปราศจากความอดทน มีฤทธิ์ยิ่งกว่าพญามาร เข้ามาต่อสู้ยิ่งนัก ด้วยวิธีทรมานเป็นอันดี คือขันติฯ"

ข้อนี้หมายความว่า พระจอมมุนี ได้เอาชนะยักษ์ ตอนนี้ชนะยักษ์ เมื่อกี้นี้ ชนะมาร ชนะอาฬวกะยักษ์ ผู้มีจิตกระด้าง แข็งกระด้าง แต่ไม่อดทนเสียด้วยสิ! ปราศจากความอดทน ยักษ์นี่ขี้ขลาด ! ไม่อดทน หรอก ฉะนั้น ใจที่ยังแข็งกระด้าง นั่นแหละไม่ดี แต่เขามีฤทธิ์นะ มีฤทธิ์ยิ่งกว่าพญามารเข้ามาต่อสู้ ยักษ์เข้ามาต่อสู้ พระพุทธเจ้าท่านเอาชนะได้ด้วยวิธทรมาน คือพระองค์มีขันติ ใช้ขันตี สุทันตะวิธินา ใช้ขันติบารมี ใช้ขันติ เป็นสิ่งที่เอาชนะได้ ชนะพญายักษ์ได้

เอาละ คราวนี้แหละ ถ้าคุณฟังแล้ว คุณก็ไปนึกถึงสิ หน้าตาแบะๆ ตาโปนๆ เขี้ยวออกมาสองเขี้ยว สีเขียว สีขาวอะไรก็ตาม ถือไม้กระบอง เพ่นพ่าน ขาโตๆ มือโตๆ ตัวใหญ่ๆ อย่างนี้เขาเรียกว่า เราปั้นรูป เอามาดู หรือมาว่ามาขู่กัน ให้เห็นว่ามันน่ากลัว ว่ายักษ์นี้ เป็นแล้วน่ากลัว น่าเกลียด น่าชัง แต่ถ้าเรารู้ ถึงหัวใจของยักษ์แล้ว ยักษ์นี้เป็นผู้มีจิตกระด้าง ปราศจากความอดทน ไอ้การที่จิตกระด้างนี้ มีจิต ไม่อ่อนโยน ไม่สุภาพ มีจิตแข็งกระด้าง กับการที่ปราศจากความอดทน อย่างนี้เราเรียกว่ายักษ์ ถ้าไปนึกถึงยักษ์ ที่ถือไม้กระบอง เที่ยวแยกเขี้ยว เที่ยวตาโปนๆ ปากแบะๆ แล้วละก็ คุณเกิดอีก ร้อยชาติ คุณก็ไม่เจอยักษ์ ที่คุณจะต้องปราบ ต้องเอาชนะ

หรือยิ่งไปหลงใน"ภวตัณหา" อยู่ดีไม่ว่าดี ไปหลงว่า"ยักษ์" คือตัวลึกลับชนิดหนึ่งที่หลอกกัน มอมเมากัน ต้องหลับตาบำเพ็ญถึงจะเห็นได้บ้าง หรือไม่หลับตาล่ะ ลืมตากันโพลงๆ ก็เห็นรูป สัมผัสร่างกันได้แล้ว ก็ไม่เข้าใจแท้ใน"ยักษ์" ได้กันสักที ก็ซวยกันไปกี่ชาติ ก็งมงายกันอยู่เท่านั้นๆ

"ยักษ์" อย่างนี้ก็มีจริง มีกับเฉพาะผู้ยัง"ไม่หมดอัตตา" ปัญญาขั้น"อนัตตาธรรม" ยังไม่ขึ้นสู่จิต จิตยังมี ความหลงผิดใน"อสรีระ"ว่าเป็น"สรีระ" ก็จะยังได้ถือว่า จิตของผู้นั้นยังอ่อนกว่ายักษ์เสียด้วยซ้ำ จึงยังถูกหลอกอยู่ได้

แต่ถ้าคุณนึกถึง "ยักษ์" ที่หมายถึง จิตปราศจากความอดทน ที่หมายถึงจิตแข็งกระด้าง คุณจะเจอ "ยักษ์" ทุกวัน

โดยเฉพาะที่จิตของคุณเอง คุณดูจิตของคุณเถอะ ถ้าจิตใด ของคุณมันไม่สุภาพ มันหยาบคาย จิตของคุณมันไม่อดทนเอาเสียเลย จะโน้มน้อมไปในทางที่ถูกกว่า ดีกว่า สูงกว่า มันก็ไม่ยอมสักที ยังพะว้าพะวัง ติดที่ผิด ติดที่ต่ำ หลงที่ไม่สูงจริงอยู่นั่นแล้ว ! นี่คือยักษ์ จะทำการทำงาน จะคิดโน่นคิดนี่ ทำคุณงามความดี จะทำให้ใจตัวเองมันสุภาพ เรียบร้อย อ่อนโยนก็ทำไม่ได้ เพราะใจมันแข็งกระด้าง ใจมันมีฤทธิ์ ใจมันอยากทำตามใจ อยากจะอ่อนโยน มันก็ไม่อ่อนโยน จะแข็งกระด้างอยู่อย่างนั้น แหละ ดูเหมือนมันแข็ง มันแรง ดูเหมือนมันมีฤทธิ์ มีคุณ แต่แท้จริงแข็งกระด้าง ไม่ได้แข็งดี แรงร้าย ไม่ใช่แรงดี มีฤทธิ์เลว ไม่ใช่ฤทธิ์ดี มีคุณหลอกๆ ซึ่งที่แท้ๆ นั้นเป็นโทษ จะอดทนไอ้โน่นนิด ไอ้นี่หน่อย ก็ไม่อดทน ที่จะทำอะไรดีขึ้นมาหน่อย ก็ไม่กล้า ไม่อดทน เขาถึงเรียกว่ายักษ์ เรียกอีกภาษาหนึ่งว่า "อสุรกาย"

คำว่า"อสูร-อสุรา" ถ้าใครเรียนหนังสือมา จะเคยได้ยิน อสุรา แปลว่ายักษ์ เคยได้ยินไหมล่ะ? อสุรา แปลว่า ยักษ์ ใครเคยได้ยิน ถ้าเรียนมา ทุกคนไม่มีพลาดแหละ

เพราะว่า อะแปลว่าไม่ สุระ แปลว่ากล้า อสุร ก็แปลว่าไม่กล้า ใจที่มันไม่มีความกล้า ใจที่มันปราศจาก ความอดทน ใจที่มันแข็งกระด้าง อย่างนี้คือ"ยักษ์"

อย่าไปนึกถึงรูปถึงร่าง ที่เขาปั้นรูปไว้เลยเป็นอันขาด เราต้องนึกถึงยักษ์ที่อยู่ในคน ยักษ์คือหัวใจ คือ วิญญาณ การที่มั้นเป็นรูปร่างอย่างนี้ จิตใจมันเป็นอย่างนี้ อย่างที่กล่าวแล้ว ถ้าเราเข้าใจเป็น ธรรมาธิษฐาน เข้าใจถึงจิตในจิต ถึงธรรมในธรรม คือ เป็นแบบอธิบายเนื้อหา สาระของพระธรรมแท้ๆ แล้ว คุณจะเข้าใจเลย มันหมายถึงจิตใจ หรือหมายถึงวิญญาณของเราที่"ดี" (กุศลธรรม) หรือที่ "ชั่ว" (อกุศลธรรม)

ถ้าเราไม่มีใจสุภาพ เป็นความใจไม่กล้านั้นแหละ เรากำลังเป็นยักษ์ รูปร่างหน้าตาเรา อาจจะไม่เป็น ยักษ์หรอก แต่หัวใจเราเป็นยักษ์ พระพุทธเจ้าก็เหมือนกัน ท่านชนะโดยธรรมาธิษฐาน คือ ชนะสิ่งที่ ถือว่าเป็นยักษ์แบบนี้ แต่ท่านไม่ได้ชนะ โดยไปตีรันฟันแทง เอาปืนไปสู้กับไม้กระบองยักษ์นะ ในนี้ ก็บอกอยู่แล้วว่า ท่านเอาชนะยักษ์ด้วย "ขันตี สุทันตะวิธินา" คือ ใช้ขันติ ความอดทนอย่างยิ่งยวด แทนที่จะเป็นคนไม่รู้จักอด ไม่รู้จักทน ท่านกลับเป็นผู้อดทนอันยิ่งยอด เอาชนะยักษ์ได้ คิดให้ดี นี้เป็น คำสอนที่ดี แล้วเราฟัง ถ้าเราฟังรู้เรื่อง ถ้าเราฟังคำสอนอันนี้ แล้วเอามาประพฤติตามซิ เอาไปอ่าน (ตรวจสอบในจิตของตน) เห็นว่าเป็นยักษ์ใช่ไหมเอ่ย ? ยักษ์มันอยู่ในตัวเราใช่ไหม? ถ้ายักษ์มันอยู่ ในตัวเราแล้ว ก็ชนะมันด้วยความอดทน ขันติบารมี อดกลั้น ฝืน ให้กล้าทีเดียว แล้วเราจะชนะยักษ์ อย่างนี้แล้ว คุณจะเห็นยักษ์ ฟังแล้วมีประโยชน์ ไม่ใช่ไปนั่งสวดอ้อนวอนกัน "ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคลานิ"

ขอชัยมงคลทั้งหลาย ด้วยเดชะแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น "ขอ"ให้ตาย มันก็ไม่มี ยี่สิบตาย ห้าสิบตาย ร้อยตาย พันตาย ร้อยชาติ ห้าหมื่นชาติ มันก็ไม่ได้ "ขอ" อย่างไรก็ไม่ได้ ต้องทำเอา และต้องรู้ในปัญญา รู้ด้วยปัญญา ว่ายักษ์คืออะไร? ยักษ์ที่พระพุทธเจ้าท่านสู้ ก็ต้องเก่งกว่ายักษ์ ที่เราสู้ จะขู่จะกดข่ม หรือว่ามันจะดื้อรั้น หรือมันรจะแข็งแรงกว่าเรา เราเองจะเอาชนะมัน ตามภาษา เรารู้ได้ที่ใจว่า ใจของเราเอง มันจะแข็งกระด้างเท่าไหนๆ เราก็ฆ่ามันเท่านั้นๆ มันไม่รู้จักอด จักทน หัดทนเข้า แล้วเราจะเป็นผู้ชนะยักษ์

นี่ พาหุง บทที่ ๒ "มาราติเรกะ มะภิยุชฌิตะ สัพพะรัตติงฯ"
นี่แหละ พาหุง ข้อที่ ๒ จำไว้ อย่าไปเที่ยวได้ฟังพาหุง สวดเสร็จ เสร็จ ยิ่งเป็นภาษาบาลี ยิ่งยอดกันโน่น กันนี่ กันยักษ็์ กันมารอันลอยลม เพ้อพกเป็นอันขาด หรือไม่งั้นก็ เกิดผล ลาภ ยศ อะไรอย่างนั้น อย่างนี้ หวังเพ้อลมๆ แล้งๆ มันไม่ใช่หรอก ! มันจะต้องทำความเข้าใจแล้วก็ทำ เอาไปประพฤติเอง ไม่ใช่เรื่องลึกลับ ! ไม่ใช่เรื่องขลัง ! เป็นเรื่องความรู้ ความประเสริฐ ความจริง จงเอาไปปฏิบัติให้ได้ ถ้าปฏิบัติได้ เราก็จะเป็นผู้เจริญ เจริญยิ่งๆ ไม่ใช่เจริญด้วยพุทธชัยมงคล อ่านเป็นภาษา อย่าฟัง แต่เพียงเสียง แต่เจริญด้วยพุทธชัยมงคล แบบเราชนะ ด้วยคุณงามความดี ชนะด้วย"กรรม" อันคือ "การกระทำ แท้ๆ ให้มี"พุทธ" ให้มี"มงคล" ปรากฏขึ้นที่ตนจริงๆ เราชนะด้วยการกระทำความดีให้เกิด ที่ตัวของเรา เรียกว่าพุทธชัยมงคลแท้ ไม่ใช่ว่าเราไปนั่งสวดเอา หรือไปฟังสวดเด๋อๆ แล้วได้พระชัยมงคล ไม่ใช่นะ! นี่เป็นบทที่ ๒
________________________________________

บทที่ ๓

นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจัก กะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง เมตตัม พุเสกะวิธินา ชิตะวามุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ

บทนี้ ชนะอะไร เอาแปลก่อน แปลให้ตรงตัว "ชนะช้างตัวประเสริฐ" ที่ชื่อว่า "นาฬาคิริง" เป็นช้างเมามัน ยิ่งนัก แสนที่จะทารุณ ประดุจเพลิงป่า และจักราวุธ และสายฟ้า ด้วยวิธีรดลงด้วยน้ำ คือพระเมตตา "เมตตัมพุเส กะวิธินา" นี่สิสำคัญ ชนะด้วยอะไร ท่านเอาชนะด้วย "เมตตัมพุเสกะวิธินา" ชนะด้วย เมตตาธรรม

ทีนี้ช้างตัวนี้ มันแสนจะทารุณ มีจักราวุธ มีสายฟ้า มันร้ายกาจมากนะ ช้างตัวนี้ ช้างตัวนี้ ถ้าใครเคย ได้ฟังประวัติของพระพุทธเจ้ ก็คงรู้ชื่อว่านาฬาคีรีตัวนี้ เป็นช้างเมามัน ที่เทวทัตปล่อยออกมา เพื่อจะให้ มันมาขย้ำ หรือมาเหยียบ มาแทงพระพุทธองค์ ในขณะบิณฑบาต หรือในขณะ"โปรดสัตว์"พระอานนท์ ก็วิ่งออกมากันให้พระพุทธเจ้า ท่านก็ห้ามพระอานนท์ไว้ พระอานนท์ก็ปล่อยเข้าไปถึงพระพุทธองค์ๆ ก็ทรงพูดกับมัน ด้วยเมตตา ท่านใช้จิตเมตตานั้น ห้ามให้ช้างตัวนี้หยดเมามันได้ ฟังอย่างนี้แล้ว เราก็นึกว่า เออ! เก่งนะพระพุทธเจ้านี่ สู้ช้างที่เมามันได้ สามารถหยุดช้าง ที่ขณะเมามันอย่างหนักได้ ที่มันเมาถึงขนาดไฟไหม้ป่า ขนาดจักราวุธ สายฟ้าแลบ อย่างนั้นพระพุทธเจ้ายังเอาชนะได้ ก็จริง! เพราะท่านมีจิตที่เก่ง

ท่านชนะด้วยอะไร? จิตที่เก่งคืออะไร? เมื่อกี้บอกแล้วว่า ด้วยเมตตัมพุเสกะ วิธินา ท่านเอาชนะด้วย เมตตาธรรม ท่านมีเมตตามากพอสูงพอ จึงชนะช้างเมามัน ชนะความมืดมัวของเดรัจฉานทั้งหลายได้ เดรัจฉานสัตว์ ตัวช้างนี้เป็นเดรัจฉาน

ทีนี้ในทางธรรม ก็ต้องมีธรรมปัญญา เพราะว่าถ้าเราจะคอยดช้างชื่อนาฬาคีรี หรือช้างที่เมามัน แล้วไป ทำตัวเองให้เก่ง โดยไปปั้นจิตเล่นฤทธิ์พิลึกพิลั่น เล่นอำนาจทางพลังจิตว่างั้นเถอะ พอเห็นช้างเมามัน วิ่งออกมา ก็ใช้จิตบังคับ หรือหักห้าม หรือแผ่เมตตา หรือกล่อมอะไรก็ตามแต่จะเรียก จนช้างเมามัน หยุดเมา รู้สึกนึก ยอมแพ้ว่างั้นเถอะ ขอให้มันเป็นตรงๆ ว่ามี"พลังจิต" ขลังๆ ! เด็ดๆ ! จะไปปราบช้าง ที่เมามัน แม้คุณเอง คุณมีฤทธิ์ได้ขนาดนั้น คุณก็ไม่เข้าท่าหรอก คุณจะไปหาช้างที่เมามันได้ปราบมัน ก็หายาก ถึงหาได้ มันก็เป็นความเก่ง แค่ปราบช้างตกมัน แล้วคุณก็จะไปเป็นลูกจ้าง เจ้าของช้าง ที่เขามีช้างเยอะๆ ก็เห็นจะเท่านั้น ! ไม่ได้ประโยชน์อะไร เสียเวลาไปเรียนวิชชา วิชชาที่จะไปชนะ ช้างเมามันแบบนี้ แล้วก็เอาปราบช้างเมามัน เสียเวลาเปล่า ไม่เห็นจะคุ้ม ยิ่งเป็นคนขนาด "เจ้าชายสิทธัตถะ" ยิ่งไม่คุ้มใหญ่

ตามจริง หรือตามขั้นของธรรมในธรรม ชนะเดรัจฉานที่เมามัน นั้นหนะ มันไม่ได้หมายเอาเป็น ตัวสัตว์ โต้งๆ อย่างนั้นหรอก ไม่ว่าช้าง ไม่ว่าอะไรก็ตามแต่ แล้วก็โดยเฉพาะคำว่า"เดรัจฉาน" นั้น ท่านหมายเอา ที่มันอยู่ในร่างของคนนี้แหละ ใครก็ตาม หรือเรานี่แหละ ถ้าเผื่อว่าใจต่ำ มีจิตโง่เง่า เมามืดมัว มีโมหะ เต็ม โมหะ หมายความว่า ความมืดมัว ความหลง ความเมา เมาลาภ เมายศ เมาสรรเสริญ เมาอำนาจ เมาอบายมุข เมากามคุณก็ตาม ผู้ใดจิตถูกมอมเมาด้วยอบายมุข ถูกมอมเมาด้วยลาภ ยศ สรรเสริญ ถูกมอมเมาด้วยอำนาจ ด้วยฤทธิ์ ถูกมอมเมาด้วยกาม ด้วยอัตตาต่างๆ ผู้นั้นแหละเป็นเดรัจฉาน เป็นช้างเมามัน เมามืด โง่เง่า ไม่รู้เรื่องเลย ไม่รู้ตัวเลย มันทำร้ายคนเป็น ทำร้ายคนที่ชื่อว่า "เมามืดมัว" นั้นเอง
28267  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ไปวัดวันหยุด แต่ก็ไม่ได้เบิกบานจิต เมื่อ: ธันวาคม 23, 2009, 01:14:09 pm
ส่งจิตออกนอกตามชื่อกระดานนี้จริงๆ
แต่ฉันเชื่อว่าคุณนิมิต แกล้งบ่นเท่านั้นแหละเพราะฉันตามอ่านกระทู้ของคุณนิมิต แล้วก็รู้ว่าต้องเป็นผู้ศึกษาหลักธรรมมาก โดยเฉพาะการตั้งปณิธานเป็นพระสาวกภูมิ นี้ นับถือจริงๆ เพราะผู้ที่จะตัดสินใจอย่างนี้ต้องผ่านวิปัสสนาญาณถึงขัี้นนิพพิทาญาณแล้ว :P :angel: :angel: :angel:

คุณฟ้าใสครับ(สะกดผิดขออภัย)คุณกล่าวถึงนิพพิทาญาณ
หากเป็นไปได้ ช่วยตั้งกระทู้เรื่องวิปัสสนาญาณให้หน่อย
จะได้คุยกันให้กว้างกว่านี้

ขออนุโมทนากับทุกท่านที่เข้ามาแสดงความเห็นครับ
28268  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / อานิสงฆ์ของการถวาย ดอกไม้ เมื่อ: ธันวาคม 19, 2009, 11:53:47 am
ชาดกในพระไตรปิฎก มี ๕๐๐ กว่าเรื่อง ที่คุณ utapati กล่าวถึงนั้น

ผมก็ได้ฟังมาจาก อาจารย์สนธยา แต่ยังหาไม่เจอ

ส่วนคำถามของคุณนิมิต นั้น ขอตอบว่า

การถวายวัตถุทานทุกอย่าง(อามิสบูชา) มีอานิสงฆ์ทั้งนั้น

ส่วนการถวายโดยจินตนาการไว้ในใจ โดยไม่มีของสิ่งนั้นอยู่เลย

อันนี้ตอบยาก แต่ผมมีสมมุติฐานมาให้คิด คือ

หากขณะนั้น จิตเป็นกุศล มันอาจจะได้อานิสงฆ์ ก็ได้นะครับ


แต่ขอแนะนำคุณนิมิตว่า หากไม่ค่อยชอบที่จะถวาย ดอกไม้ ธูป เทียน (เหมือนผมเลย)

อนุโมทนา กับ ดอกไม้ ธูป เทียน ของคนอื่นก็ได้นะครับ ไ้ด้บุญแน่นอน

ทุกคน มีจริต นิสัย ความชอบ ไม่ชอบ ที่ต่างกันไป

มันเป็นเรื่องปรกติ แต่ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ

เป็นเรื่องที่สั่งสมมาในอดีตชาติ

แต่ปัจจุบันชาติ ลองเอาศรัทธานำดูบ้าง จะดีไหม




จากนี้เป็น ชาดก ว่าด้วยอานิสงฆ์ของการถวายดอกไม้

เชิญหาความสำราญกันได้เลยครับ

นิทานชาดก...พระสุมนปัจเจกพุทธเจ้า

 




สมัยที่องค์สมเด็จพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนมชีพอยู่นั้น มีชายยากจนเข็ญใจคนหนึ่ง มีอาชีพขายดอกไม้ให้แก่สำนักพระราชวังแห่งกรุงราชคฤห์มหานคร โดยมีสัญญาผูกพันว่า เขาจะต้องส่งดอกมะลิ ๘ ทะนาน ให้แก่สำนักพระราชวังแต่เช้าตรู่โดยคิดเป็นมูลค่าทะนานละ ๑ กหาปณะ เป็นประจำทุกวัน จักขาดเสียมิได้ ไม่ว่าจะกรณีใดๆ ทั้งสิ้น เขาได้อาศัยอาชีพขายดอกไม้นี้เลี้ยงดูบุตรและภรรยา ให้ได้รับความสุขตามอัตภาพนี้เรื่อยมา เช้าวันหนึ่งขณะที่เดินทางออกจากบ้านเพื่อนำเอาดอกมะลิไปส่งสำนักพระราชวัง ตามปกตินั้น พอย่างเท้าเข้าเขตพระบรมมหาราชวังก็พลันได้พบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งแวดล้อมไปด้วยหมู่พระอริยสงฆ์สาวกเป็นจำนวนมาก กำลังเสด็จโคจรบิณฑบาตอยู่ด้วยพุทธลีลาอันงามเลิศเพริศแพร้วด้วยฉัพพัณ ณรังสีเข้าพอดี ตามธรรมดานั้นองค์พระชินสีห์สัมมาสัมพุทธเจ้าท่านย่อมทรงปกปิดพระฉัพพัณณรัง สีอันสร้านออกจากพระวรกาย ไม่มีพุทธประสงค์จักให้ใครเห็น ทรงแสดงองค์เหมือนพระภิกษุธรรมดารูปหนึ่ง ซึ่งมีปกติบิณฑบาตเป็นวัตร แต่ในบางคราว พระองค์ผู้ทรงไว้ซึ่งพระรัศมีย่อมทรงเปล่งฉัพพลัณณรังสีให้ซ่านออกจากพระ วรกายงามเพริศพริ้งพรรณรายสุดพรรณนา ดุจในคราที่เสด็จไปสู่กรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อโปรดพระญาติทั้งหลาย และในเช้าวันนี้ก็เช่นกัน พระองค์ทรงเปล่งฉัพณณรังสีแผ่ซ่านอยู่ท่ามกลางเหล่าอริยสงฆ์หมู่ใหญ่เพื่อ เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในพระนครราชคฤห์ ด้วยพุทธานุภาพอันยิ่งใหญ่



เมื่อชายขายดอกไม้ได้ยลโฉมแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันงามบริสุทธิ์แพรวพราวด้วยรัศมีประกอบด้วยลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ และด้วยพระอสีตยานุพยัญชนะ ๘๐ ประการเช่นนั้น ก็พลันงงแลตะลึงครุ่นคิดคำนึงอยู่ว่า



"เราจักทำการบูชาพระพุทธองค์ด้วยอะไรดีหนอ จึงจักสมกับความเลื่อมใสอันเกิดขึ้นมากมายแก่เราในบัดนี้" เมื่อไม่เห็นสิ่งใดที่จะพึงหยิบฉวยเอาในขณะนั้นได้ทันเวลา จึงตัดสินใจว่า


"เราจักทำการบูชาพระพุทธองค์ด้วยดอกมะลิที่เราถืออยู่ในมือนี้ ถูกแล้ว! ดอกไม้เหล่านี้ เป็นดอกไม้ที่เรามีสัญญาผูกพันต้องส่งให้สำนักพระราชวัง เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าถวายสมเด็จพระราชาธิบดีเป็นประจำทุกวัน จะขาดเสียไม่ได้ และหากทรงไม่ได้ดอกไม้เหล่านี้ จักทรงพระพิโรธโกรธเคือง แล้วจักมีพระราชดำรัสสั่งให้ขังเราไว้ในคุก หรืออาจสั่งให้ประหารชีวิตเราเสียหรืออาจจักให้เนรเทศเราเสียก็เป็นได้ สุดแล้วก็ตามแต่เวรกรรมของเราเถิด เราเกิดความเลื่อมใสขึ้นในดวงใจแล้ว จักต้องถวายดอกไม้เหล่านี้เพื่อเป็นพุทธบูชาให้ได้ คงจักมีอานิสงส์แก่เรามากมายเพราะแม้เราเอาดอกไม้ที่เรามีอยู่เพียงเท่านี้ ไปให้แก่สำนักพระราชวัง อย่างดีก็คงได้ทรัพย์เพียงเล็กน้อยสำหรับเลี้ยงชีวิตในชาตินี้เท่านั้น แต่การที่เราจักถวายดอกไม้เป็นพุทธบูชาในครานี้ย่อมจะเกิดประโยชน์โสตถิผล อำนวยความสุขความเจริญแก่เราเป็นเวลานาน ประมาณหลายแสนโกฏิกัปนัก เป็นไรเป็นกัน เราจักถวายบุปผทาน แด่องค์อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในกาลบัดนี้!"



เมื่อคิดสละชีวิตเพื่อจักถวายบุปผทานแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเช่น นี้เล้ว ก็มีจิตผ่องแผ้วโสมนัส เกิดปีติซึมซาบเอิบอาบใจขึ้นเป็นทับทวี แล้วก็เริ่มถวายบุปผทานเพื่อเป็นการบูชาพระพุทธองค์



ชายเข็ญใจน้อมกายถวายนมัสการเฉพาะพระพักตร์แล้ว จึงซัดดอกมะลิ ๒ ทะนาน ขึ้นไปในอากาศเบื้องบนแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว บัดนั้น เกิดอัศจรรย์ขึ้นทันใด บรรดาดอกมะลิทั้งหลายเหล่านั้น ได้พากันคลี่คลายขยายกลีบบานสะพรั่งแล้วเรียงรายขยายแถวเสมอกัน เป็นเพดานกั้นอยู่บนอากาศเบื้องพระเศียรแห่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยมิได้ล่วงหล่นลงมายังพื้นพสุธาเหมือนดั่งดอกไม้ธรรมดาที่บุคคลขว้างปา ทั่วไปไม่ เมื่อเขาได้เห็นความอัศจรรย์ดังนั้น ก็ซัดดอกมะลิเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาไปอีก ๒ ทะนาน ดอกไม้เหล่านั้นลอยขึ้นไปในอากาศตามกำลังโยนซัดแล้ว ก็ค่อยๆ ขยายกลีบบานและลอยลงมา เรียงแถวประดิษฐานอยู่ ณ ข้างพระหัตถ์เบื้องขวาแห่งสมเด็จพระพุทธองค์อีกเช่นกัน เขาจึงซัดดอกไม้เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาอีก ๒ ทะนาน ดอกไม้เหล่านั้นก็พลันลอยขึ้นไปในอากาศ แล้วค่อยๆ ขยายกลีบบานสะพรั่งและลอยลงมาเรียงแถวประดิษฐานอยู่ข้างหลังพระพุทธองค์ และเมื่อเขาซัดดอกมะลิไปเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาเป็นครั้งสุดท้ายอีก ๒ ทะนาน ดอกมะลิเหล่านั้นก็ขยายกลีบคลี่บานสะพรั่ง ลอยขึ้นไปในอากาศตามกำลังซัดและลอยต่ำลงมาเรียงแถวประดิษฐาน ณ ข้างพระหัตถ์เบื้องซ้ายแห่งองค์พระชินสีห์ และลอยอยู่อย่างนั้นเป็นระเบียบด้วยดี หาได้หล่นลงสู่พื้นปฐพีไม่ และเมื่อพระองค์เสด็จพุทธดำเนินไปที่ใดดอกมะลิเหล่านั้นก็ห้อมล้อมลอยตามไป ด้วย เมื่อพระองค์หยุดดอกไม้ก็หยุดตาม ความงามแห่งพุทธลีลาเมื่อโคจรบิณฑบาตในเช้านี้ เป็นทัศนียภาพอันนำมาซึ่งความเลื่อมใสศรัทธาแห่งประชาชนผู้ได้พบเห็น ทั้งยังทรงเปล่งพระฉัพพัณณรังสีออกซ่านทั่วพระวรกายยังความอัศจรรย์ใจแก่ ประชาชนทั้งหลายเป็นยิ่งนัก



ฝ่ายนายมาลาการผู้เข็ญใจ ผู้ถวายดอกไม้เป็นพุทธบูชาสำเร็จเป็นทิฏฐธัมมเวทนียกรรมฝ่ายกุศลแล้ว ก็มีจิตผ่องแผ้วปีติยิ่งกว่าผู้อื่น เดินน้ำตาไหลด้วยความปลาบปลื้มใจตามสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าไปอย่างไม่รู้ ตัว พอได้สตินึกขึ้นได้ว่าตนลืมกระเช้าดอกไม้ไว้ก็รีบวิ่งกลับมาถือเอากระเช้า เปล่ากลับไปบ้านตน เมื่อถูกภรรยาถามว่า



"ข้าแต่สามี! เหตุไฉนวันนี้ท่านจึงกลับมาเร็วเหลือเกินไม่เหมือนวันก่อนๆ ท่านเอาดอกไม้ไปส่งสำนักพระราชวังเรียบร้อยแล้วหรือประการใด?" จึงตอบขึ้นด้วยความภาคภูมิใจว่า



"ดูกรภรรยาที่รัก! วันนี้เราไม่ได้ไปส่งดอกไม้ยังพระราชวังดังเคย เพราะเราเกิดความเลื่อมใสจึงได้ถวายดอกมะลิเป็นพุทธบูชาแด่องค์สมเด็จพระ สัมมาสัมพุทธเจ้าจนหมดสิ้นจนไม่มีเหลือแม้แต่ดอกเดียว"



"อ้าว! แล้วกัน ทำไมทำเช่นนั้นเล่า เจ้าก็รู้อยู่ว่าจักต้องมีความผิด เพราะเรามีสัญญาว่าจะต้องมีดอกไม้ส่งถวายพระราชาทุกวันเป็นประจำ หากเป็นเช่นนี้จักต้องได้รับโทษประหารชีวิตอาจต้องถึงคอขาด ๗ ชั่วโคตร ก็เป็นได้"



"ผิดก็ผิดๆ ไป! จะทำอย่างไรได้เล่า เพราะเราเกิดความศรัทธาเลื่อมใสในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหลือเกิน จึงได้ถวายดอกไม้เป็นพุทธบูชา เมื่อในหลวงไม่ได้รับดอกไม้จากเราแล้ว จักทรงพิโรธรับสั่งให้เรารับโทษอย่างรุนแรงถึงขั้นประหารชีวิตเราก็ยอม! นี่แน่ะ! ดอกไม้ที่เราถวายแด่องค์พระชินสีห์ผู้เป็นองค์อรหันต์ มีอาการประหลาดน่าอัศจรรย์ ผู้คนได้พบเห็นต่างก็แซ่ซ้องก้องเป็นที่โกลาหลด้วยความปีติยินดีเจ้าไม่ได้ ยินบ้างหรือ? ขอเจ้าจงยังจิตให้ปสันนาการเลื่อมใสในทานร่วมกันกับเราด้วยเถิด"



ภรรยาของนายมาลาการผู้มีสันดานอันธพาลหาได้ยินดีด้วยไม่ กลับออกเสียงด่าลั่นตวาดว่า



"ร่วมยินดีกับเจ้าให้ข้าคอขาดด้วยนะซี่ ใครจะไปยอมร่วมด้วย เจ้าโง่! เจ้าจงรอความตายอยู่คนเดียวเถิดเจ้างั่ง! xxxคนไม่มีเงาหัวเอ๋ย เรายังไม่อยากตายและจะไม่ยอมตายกับเจ้าในครั้งนี้เป็นอันขาด"



ว่าแล้วก็รีบเก็บข้าวของเสื้อผ้าอันเป็นสมบัติแห่งตนจนหมดสิ้น ด้วยความประสงค์ว่าจะไปแจ้งความแก่พระราชาให้ทรงทราบไว้ก่อนว่า ตนหย่าขาดมิได้เกี่ยวข้องเป็นภรรยาแห่งสามีผู้หน้าโง่ผู้จักต้องเป็นนักโทษ ประหารในอนาคตแล้ว ครั้นไปถึงราชสำนักและเมื่อถูกพระเจ้าพิมพิสารผู้เป็นพระราชาซักถามก็กราบ บังคมทูลว่า

 

"ข้าแต่องค์ราชา! สามีของหม่อมฉันซึ่งมีหน้าที่ต้องเอาดอกไม้มาส่งยังพระราชสำนักเป็นประจำทุก วัน เช้าตรู่วันนี้ เขามีจิตโมหันธ์บ้าศรัทธาเอาดอกไม้สำหรับทูลเกล้าถวาย ไปทำการบูชาพระศาสดาสมณโคดมเสียจนหมดสิ้น ไม่สามารถที่จะหาดอกไม้ที่ไหนมาทูลเกล้าถวายพระองค์ได้อีก หม่อมฉันมีความเสียใจและเกรงต่อราชภัยจึงได้ด่าว่าเขาอย่างหนัก แต่เขากับตอบว่า ขอยอมตายแม้จักต้องราชภัยก็ตามเพียงขอให้เขาได้ถวายดอกไม้เพื่อเป็นพุทธบูชา แด่องค์สมเด็จพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นก็พอใจแล้ว ฉะนั้น ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป การกระทำของเขาไม่ว่าจะเป็นการกระทำดีหรือชั่วก็ตาม ก็ขอจงเป็นของเขาแต่เพียงผู้เดียวเถิด หม่อมฉันไม่ยอมรับผิดชอบด้วย ขอพระองค์จงรับทราบด้วยเถิด หม่อมฉันกับสามีได้หย่าขาดจากกันแล้ว"



อันสมเด็จพระเจ้าพิมพิสารราชาธิบดี ซึ่งเป็นพระบรมมหากษัตริย์แห่งกรุงราชคฤห์มหานครนี้ พระองค์ทรงได้บรรลุพระโสดาปัตติผล สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลขั้นพระโสดาบันในพระบวรพุทธศาสนาตั้งแต่ครั้งที่ พระองค์ได้พบเห็นและสดับฟังพระธรรมเทศนาของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็น ครั้งแรก ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงมีจิตเลื่อมใสคงมั่นในพระรัตนตรัยอย่างไม่หวั่นไหว สั่นคลอน ยิ่งกว่าปุถุชนคนธรรมดาสามัญ เมื่อสดับฟังคำกราบบังคมทูลของหญิงผู้เข็ญใจไร้ปัญญาเช่นนั้น ก็พลันเกิดความสังเวชสลดพระทัยเป็นยิ่งนักด้วยว่า นายมาลาการผู้ยากเข็ญอุตส่าห์ประกอบกรรมดีอันเป็นมหากุศล โดยได้ถวายบุปผทานแด่องค์สมเด็จพระทศพลเป็นอัศจรรย์ปานนี้ แทนที่จะยินดีอนุโมทนากลับเห็นว่าเป็นโทษเป็นผิด เพราะคิดเห็นแต่ประโยชน์ส่วนตัวมากไป อีกนานสักเท่าใดหนอ สันดานของหญิงนี้จึงจักดีขึ้น ทรงสังเวชพระทัยแล้วแกล้งทำเป็นอากัปกิริยาดั่งว่าโกรธเคือง แล้วตรัสถามด้วยสุรเสียงอันดังว่า



"ไฉน! สามีเจ้าจึงทำเช่นนั้น ดีแล้วเจ้าทอดทิ้งไม่เกี่ยวข้องกับคนเช่นนี้เป็นการดีแล้ว ทีนี้ก็เป็นหน้าที่ของเราเอง ที่จะได้พิจารณาว่าจักทำประการใด แก่เจ้าคนซึ่งมีน้ำใจขบังอาจเอาดอกไม้ของข้าไปทำการบูชาแด่องค์สมเด็จพระ สัมมาสัมพุทธเจ้า เอาล่ะเจ้าไปได้แล้ว"



เมื่อรับสั่งแล้วพระเจ้าพิมพิสารก็รีบเสด็จไปยังถนนที่สมเด็จพระชินสีห์ กำลังเสด็จบิณฑบาตอยู่พร้อมกับหมู่อริยสงฆ์ทั้งหลาย เมื่อได้ทรงทอดพระเนตรเห็นพระพุทธองค์ซึ่งทรงดำเนินไปด้วยพุทธานุภาพอันมี เหล่าดอกมะลิลอยตามรายล้อม ดังนั้นก็ให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธายิ่งนัก ครั้นสมเด็จพระพิชิตมารเสด็จไปยังประตูพระบรมมหาราชวังจึงเสด็จเข้าไปรับ บาตรจากพระหัตถ์แล้วทรงอาราธนาให้เสด็จเข้าไปในปราสาท แต่สมเด็จพระพุทธองค์หาได้เสด็จเข้าไปตามที่ทูลไม่ หากแต่ทรงแสดงอาการว่าจะประทับที่พระลานหลวงด้วยว่าองค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้าทรงดำริว่า ถ้าจักเสด็จเข้าไปในปราสาทแล้วไซร้ ประชาชนทั้งหลายผู้ติดใจใคร่จะดูซึ่งพระพุทธานุภาพ จักไม่ได้เห็นพระองค์ และอีกประการหนึ่งดอกไม้ที่ลอยเด่นอยู่รอบพระวรกายเป็นอัศจรรย์ ที่นายมาลาการผู้เข็ญใจถวายเป็นพุทธบูชานั้น บัดนี้ก็ยังปรากฎอยู่ หากพระองค์เสด็จเข้าไปในปราสาทที่รโหฐานแล้วประชาชนจะไม่ได้เห็นความ อัศจรรย์ เพราะพระพุทธองค์ต้องการให้ชื่อเสียงแห่งนายมาลาการผู้ถวายดอกไม้ปรากฎขจร ขจายไป ประชาชนจักได้ร่วมอนุโมทนาในมหากุศลครั้งนี้ของเขา ครั้นสมเด็จพระเจ้าพิมพิสารถวายภัตตาหารเสร็จเรียบร้อยแล้วก็มีรับสั่งให้นำ นายมาลาการมาเข้าเฝ้า



"เจ้าผิดสัญญา และนำดอกไม้ของเราไปบูชาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพราะเหตุใด?"



เจ้าคนผู้เข็ญใจผู้เกรงความผิดตอบด้วยอาการตัวสั่นงันงกว่า "เพราะข้าพระองค์เกิดความเลื่อมใสศรัทธาจนอดใจไว้ไม่ได้ จึงได้ถวายดอกไม้เป็นพุทธบูชาไป พระเจ้าข้า" เมื่อได้สดับฟังพระเจ้าพิมพิสารจึงตรัสขึ้นว่า



"ตอนที่เจ้าถวายเจ้าไม่เกรงกลัวต่อราชภัยเลยหรือไรเล่า?"



"ข้าพระองค์คิดว่า พระเจ้าข้า! หากแม้นองค์ราชาไม่ได้รับดอกไม้แล้ว มาตรว่าพระองค์จักประหารชีวิตของข้าพระองค์หรือจักลงอาญาแก่ข้าพระองค์โดย ประการใดก็ตาม ข้าพระองค์ก็ยินดีที่จักรับโทษทัณฑ์นั้น ด้วยความเต็มใจ ข้าพระองค์ได้ตั้งจิตอธิษฐานว่าจักขอถวายชีวิตบูชาองค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้า ด้วยการถวายดอกไม้เป็นพุทธบูชาให้ได้ในครั้งนี้ พระเจ้าข้า"



"เจ้าเป็นมหาบุรุษ เจ้าควรได้รับการยกย่องเพราะเป็นผู้มีจิตศรัทธา องอาจกล้าหาญในการบริจาคทานยิ่งนัก สมควรที่จักได้รับรางวัลจากเราผู้เป็นพระราชาในกาลบัดนี้" พระเจ้าพิมพิสารบรมกษัตริย์อริยบุคคลโสดาบันตรัสขึ้นด้วยความพอพระทัย แล้วทรงมีพระบรมราชโองการให้เจ้าพนักงานจัดหาสิ่งของให้ โดยมี ช้าง ๘ เชือก ม้า ๘ ตัว เครื่องประดับอันมีค่าและเสื้อผ้า ๘ ชุด ทาส ๘ คน ทาสี ๘ คน นารีซึ่งประดับด้วยสรรพอลังการ ๘ นาง พร้อมพระราชทานบ้านส่วย ๘ ตำบล ให้เขาดูแลจัดหาผลประโยชน์เอาเองและพระราชทานทรัพย์อีก ๘,๐๐๐ กหาปณะ



เมื่อข่าวของนายมาลาการผู้เข็ญใจรู้ไปถึงหมู่พระภิกษุสงฆ์แล้ว พระอานนทเถรเจ้าจึงกราบทูลถามสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า



"ข้าแต่พระพุทธองค์ผู้มีพระภาค! ชายเข็ญใจผู้ถวายดอกไม้เป็นพุทธบูชาในวันนี้ได้รับพระราชทานลาภยศจากพระ ราชาธิบดีเป็นอันมากในปัจจุบันชาตินี้เท่านั้นหรือพระเจ้าข้า!" สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีพุทธฎีกาตรัสว่า



"ดูกรอานนท์! เธออย่าได้กำหนดว่า กุศลกรรมที่นายมาลาการกระทำในวันนี้ เป็นกรรมกุศลเพียงน้อยนิด หากแต่เขาได้ถวายบุปผทานเป็นพุทธบูชา ด้วยการเอาชีวิตเข้าเป็นเดิมพัน เหตุนี้ทานของเขาจึงมีอานิสงส์มากคือ นอกจากเขาจะได้รับลาภยศมากมายในปัจจุบันชาติทันตาเห็นแล้ว เมื่อเขาดับขันธ์สิ้นชีวิตจากมนุษยโลกนี้ไป เขาจักไม่ไปเกิดในทุคติภูมิเป็นเวลานานถึง ๑๐๐,๐๐๐ มหากัป ในชาติสุดท้ายจักได้บรรลุปัจเจกโพธิญาณสำเร็จเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า มีนามว่า พระสุมนปัจเจกพุทธเจ้า อย่างแท้จริง"



หากแม้นสาธุชนผู้มีจิตเลื่อมใสศรัทธามั่นในพระรัตนตรัย มีความตั้งใจในการถวายดอกไม้หอมนานาชนิดเป็นพุทธบูชาดั่งนายมาลาการผู้เข็ญ ใจ แม้นดอกหญ้าเพียงดอกเดียว ก็ส่งผลให้เกิดความสุขทั้งใจกายให้แก่ตนเองและยังความปลื้มปีติใจแก่ผู้ที่ ได้พบเห็น ซึ่งนับว่าเป็นการประกอบกุศลกรรมดี ผู้เขียนขออนุโมทนาบุญกับสาธุชนผู้นำดอกบัว ดอกไม้หอมนานาชนิด ถวายแด่องค์สมเด็จพระบรมพุทธเจ้า และพระเจดีย์ อันจักเป็นการนำมาซึ่งวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของผู้ที่ได้ชื่อว่า พุทธศาสนิกชน ทั้งยังเป็นตัวอย่างการปฏิบัติตนอันทรงคุณค่าแห่งความเป็นพุทธศาสนิกชนไว้ ให้แก่ลูกหลานและเยาวชนของชาติสืบต่อไป



________________________________________
เอื้อเฟื้อข้อมูลโดย
ชมรมพัฒนาจริยธรรมและคุณธรรม พระจอมเกล้าลาดกระบัง
http://patji.net/patji-club/index.php?option=com_wrapper&Itemid=40
www.dhammajak.net/forums
28269  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ดอกบัวหิมะ VS บัวสี่เหล่า เมื่อ: ธันวาคม 18, 2009, 09:05:28 pm
คุณหวานใจ ส่งจิตมาพร้อมกับดอกไม้งามๆ ให้กับห้องส่งจิตออกนอก

ผมขอถือวิสาสะ รับเอาไว้ด้วยใจ

และขอมอบ ดอกไม้อันงามยิ่ง เป็นการตอบแทน นี่เลยครับ



บัวสี่เหล่า




บัวสี่เหล่า คือ สิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถของคนที่เรียนรู้เรื่องต่างๆ เป็น 4 ระดับ คือ...

1.พวกมีสติปัญญา ฉลาดเฉลียว เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมก็สามารถรู้และเข้าใจในเวลาอันรวดเร็ว เปรียบเสมือน ดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ เมื่อต้องแสงพระอาทิตย์ก็จะเบ่งบานทันที (อุคฆฏิตัญญู)

2.พวกที่มีสติปัญญาปานกลาง เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจราณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติม ก็จะสามารถรู้และเข้าใจได้ในเวลาไม่ช้า เปรียบเสมือน ดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำ ซึ่งจะบานในวันถัดไป (วิปัจจิตัญญู)

3.พวกที่มีสติปัญญาน้อย แต่ เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มอยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ มีสติมั่นประกอบด้วยศรัทธาปสาทะ ในที่สุดก็สามารถรู้และเข้าใจได้ในวันหนึ่งข้างหน้า เปรียบเสมือน ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะค่อยๆโผล่ขึ้นเบ่งบานได้ในวันหนึ่ง (เนยยะ)

4.พวกที่ไร้สติปัญญาและยังเป็น มิจฉาทิฏฐิ แม้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจความหมายหรือรู้ตามได้ทั้งยังขาดศรัทธาปสาทะ ไร้ซึ่งความเพียรเปรียบเสมือน ดอกบัวที่จมอยู่โคลนตม ยังแต่จะตกเป็นอาหารของเต่าปลาอีกด้วย ไม่มีโอกาสโผล่ขึ้นพ้นน้ำเพื่อเบ่งบานได้อีก (ปทปรมะ)


บุคคลสี่จำพวก
มืด............ หมกมุ่นหม่นไหม้.....อวิชชา
มา............ อุปกิเลส มา.....ปิดไว้
มืด............ จิตอัปภัสรา.....ขันธา ทุกโข
ไป............ สู่ทุกข์คติไซร้.....เร่าร้อน รานตน...

มืด............แบกทุกข์ท่วมท้น.....อาตมัน
มา............ผ่านกี่กัปกัลป์.....ล่วงแล้ว
สว่าง.......ณ ปัจจุปปัน.....สัมปชัญโญ
ไป............สู่ที่ เพริศแพร้ว.....แจ่มแจ้ง ปัญญา....

สว่าง.......จวนดีเลิศแล้ว.....มานมน
มา............จ่อมจมธราดล.....โลกหล้า
มืด...........มิอาจ ยินยล.....สำเนียง เสียงธรรม
ไป...........ใฝ่ต่ำไขว่คว้า.....แทะทึ้ง โลกีย์...

สว่าง.......เบิกบานจิตพร้อม.....วิชชา
มา............พึ่งพระปัญญา.....แนบเกล้า
สว่าง........ว่างเหตุปัจจยา....ใน-นอก พิสุทธิ์
ไป............ปราศทุกข์รอนร้าว.....จบสิ้น สังสาร....

เครดิตโดยคุณ อธิมุตโต
http://www.palungjit.com/board/forumdisplay.php?f=10



คุณหวานใจครับ ผมขออย่างหนึ่่ง

ช่วยหาคนที่ใช้ user name ว่า หวานตา

มาเป็นสมาชิกเว็บนี้หน่อย จะได้เป็นคู่แฝดกับคุณหวานใจ ไงครับ
28270  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / แด่ผู้ที่ศรัทธาใน สมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) เมื่อ: ธันวาคม 18, 2009, 04:15:44 pm
คุณแสนหวานกับคุณหวานใจ ไม่รู้เป็นคู่แฝดกันรึเปล่า

ผมขอ อนุโมทนา กับศรัทธาในสมเด็จโต ของคุณทั้งสอง

ผมได้หาบทความที่เกี่ยวเนื่่องกับคำถามมาให้พิจารณากัน

สงสัยอะไร ไม่เข้าใจตรงไหน ผมยินดีให้คำตอบทุกเมื่อ

เชิญอ่านได้เลยครับ



ชื่อกระทู้   หลวงปู่โตปรารถนาพุทธภูมิ หรือเข้านิพพาน แล้ว

ตั้งกระทู้โดยคุณ เงินไหลมา

ผมได้ยินอาจารย์ท่านนึงที่ฝึกมโนยิทธิ กำลังใจท่านดี จิตแจ่มใส ท่านบอกทีแรกได้ยินประวัติหลวงปู่โตที่เล่าๆกันมาบอกว่าท่านปรารถนาพุทธภูมิ ท่านก็สงสัย ก็เลยขึ้นไปถามพระครับ(พระในที่นี้คือพระพุทธเจ้า) ท่านก็พาไปพบที่วิมานที่แดนนิพพาน ตอนนี้ท่านลาพุทธภูมิแล้วครับ เข้านิพพานไปแล้ว ถ้าใครอยากพบพี่เขาบอกมาต้องหมั่นฝึกจิตบ่อยๆ ตามแนวมโนยิทธิหรือธรรมกาย ขอบารมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพาไปไปพบในสิ่งที่สงสัย บารมีเต็มเมื่อไหร่เดี๋ยวท่านจะสงเคราะห์เองครับ ถึงแม้ท่านจะเข้านิพพานแล้วแต่ญาณจิตยังอยู่ บารมีหลวงปู่ยังคอยช่วยลูกศิษย์คนที่นับถือศรัทธาท่านอยู่เหมือนเดิมหรือทุก ท่านคิดเห็นประการใดครับ


ความเห็นที่ ๑ โดยคุณ อ็อดจ.ส.
เมื่อ ประมาณ20กว่าปีมาแล้ว หลวงปู่โตเคยเข้าฝัน(มาโปรด) ผมยังถือว่าท่านยังอยู่ดูแลทุกๆๆคนที่ปฏิบัติธรรมและเป็นคนดีเสมอครับ ขอเพียงระลึกถึงท่าน


ความเห็นที่ ๒ โดยคุณ  somdeth

หลวงพ่อโต อยู่ชั้นดุสิตครับ เหมือนกับ พระเจ้าตากสิน และพระนเรศวร ครับ
ยังไม่นิพพานครับ

ความเห็นที่ ๓ โดยคุณ  cap5123
พระโพธิสัตย์

ความเห็นที่ ๔ โดยคุณ  stangdaeng
หลวงปู่ฤาษีฯ ท่านเทศน์บอกไว้ในประวัติสมเด็จโตว่า "หลวงพ่อโตท่านเป็นพระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณ" ครับ หาฟังได้ครับ

ความเห็นที่ ๕ โดยคุณ  b_bom1104
พระเจ้าตากสินท่านนิพานแล้วครับส่วนพระนเรศวรท่านลงมาเกิดแล้วครับ

ความเห็นที่ ๖ โดยคุณ  aodbu
หลวง พ่อโตท่านยังห่วงลูกหลานเชื้อพระวงศ์และประเทศชาติ ท่านจึงไม่ได้บำเพ็ญสายอรหันต์ครับ ธรรมะที่คุณอ่านในเวปนี้เกือบ 100 เปอร์เซนต์ก็มาจากตอนที่ท่านมาเทศน์ที่สำนักปู่สวรรค์ครับ สนใจดูตามลิงค์นี้ครับ
http://www.poosawan.org


ความเห็นที่ ๖ โดยคุณ  เงินไหลมา
หลวง พ่อฤาษีลิงดำท่านเป็นพระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณ หลวงปู่สี วัดถ้ำเขาบุนนาค หลวงปู่บุดดา ถาวโร และอรหันต์อีกหลายองค์ ต่างยกย่องว่าท่านเป็นเลิศยิ่งนักคิดอยากจะรู้อะไรก็รู้หมด ดังนั้นสิ่งไหนที่หลวงพ่อเคยบอกไว้ย่อมเป็นจริงทุกประการ พิสูจน์ได้ด้วยเหตุและผล หากท่านใดที่ยังไม่เชื่อ ก็ต้องลองปฏิบัติให้เป็นผลสำเร็จก่อนจึงค่อยมาพิสูจน์กันการ ที่จะพบพระอริยะเจ้าที่ทรงคุณวิเศษญาณระดับสูงนั้นเป็นเรื่องยาก ทางเดียวที่จะพบได้คือ ต้องหมั่นบริกรรมจิตฝึกกรรมฐานให้เชี่ยวชาญ ให้จิตแจ่มใส ถ้าถามพระ คุยกับพระได้เมื่อไหร่ เมื่อนั้นแหละเราจะเกิดปัญญาตาสว่าง คิดจะรู้อะไรหรือสงสัยอะไร ก็ขึ้นไปถามพระที่แดนนิพพานได้ครับ เหมือนที่หลวงพ่อเคยบอกไว้

ความเห็นที่ ๖ โดยคุณ  ฅนเมืองพริบพรี
มาช่วยยืนยัน นอนยัน อีกอีกว่า
หลวงปู่โต ท่านเข้านิพพานแล้ว ท่านจบกิจเป็นพระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณ

(หลวงพ่อฤาษี ท่านกล่าวไว้ ผมได้ฟังต่อมาจากคุณลุงหมอ สมศักดิ์ สืบสงวนครับ
ด้วยความเคารพ กราบหลวงปู่โต และหลวงพ่อ ครูบาอาจารย์ ด้วยเศียรเกล้า
ขอตามไปอยู่กับท่านในชาตินี้ด้วยเทอญ สาธุ

ที่มา    http://board.palungjit.com



ชื่อเรื่อง  สมเด็จโตว่า "จำเอาไว้นะ ถ้าไปพบที่ไหนเข้า นั่นแหละพระโพธิ์สัตว์มาบำเพ็ญบารมีละ"

โพสต์โดยคุณ พระที่12

เรื่องเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ

ในคราวหนึ่งมีลูกศิษย์เก่าสองคน ได้ปรึกษากันเพื่อจะไปขอหวยต่อเจ้าพระคุณสมเด็จฯ คนหนึ่งเข้าไปนวดเจ้าพระคุณสมเด็จฯ บนหอสวดมนต์ อีกคนหนึ่งแอบฟังอยู่ใต้ถุนคนที่นวดก็พยายามขอหวยต่อเจ้าพระคุณสมเด็จฯๆ ทำนองนิ่งเสียโดยไม่ยอมพูดว่ากระไรเลย เพราะท่านทราบ ด้วยญาณว่า มีอีกคนหนึ่งแอบอยู่ใต้ถุน เกรงว่าถ้ากล่าวถ้อยคำอันใดออกไปเจ้าคนที่อยู่ใต้ถุนจะเอาไปแทงหวย ครั้นพอคะเนว่าถึงบอกให้ ก็จะไปแทงไม่ทัน ท่านจึงกล่าวขึ้นเปรยๆ ว่า "บอกให้ก็ได้ แต่กลัวหวยจะรอดช่อง" หมายความว่ากลัวเจ้าคนที่อยู่ใต้ถุงจะได้ยินเข้า พอคนที่อยู่ใต้ถุนได้ยินเช่นนั้นก็รีบวิ่งออกจากวัดระฆังฯ ไปโดยเร็วตั้งใจจะไปแทงตัว ร. และ ช. แต่ไปไม่ทัน หวยออกเสียก่อนแล้วคือ ร. และตัว ช. นั่นเอง

ในสมัยนั้น มีหมอนวดอยู่คนหนึ่ง ชื่ออะไรจำไม่ได้เสียแล้ว เป็นหมอนวดประจำองค์เจ้าพระคุณสมเด็จฯ แกชำนาญในเรื่องการนวดมาก และเคยนวดเจ้านายและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มาเป็นอันมาก แต่การนวดใครก็ตามไม่เคยประหลาดใจเหมือนนวดเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทั้งนี้ เพราะทุกครั้งที่แกนวดแขนท่าน แกรู้สึกว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯ มีกระดูกแขนท่อนล่างเป็นแท่งเดียว แทนที่จะมีกระดูกคู่เหมือนสามัญชนทั่วไป ใน วันหนึ่งขณะที่แกกำลังนวดเจ้าพระคุณสมเด็จฯ อยู่ ตั้งใจจะกราบเรียนถามถึงเรื่องนี้ แต่ไม่กล้าเอ่ยปากถาม แกจึงนวดแรงๆ อยู่เฉพาะตรง ที่แขนท่องล่างของท่านอยู่เป็นเวลานาน เจ้า พระคุณสมเด็จฯก็ล่วงรู้ความในใจของตาหมอนวดได้ จึงกล่าวเปรยๆ ถามขึ้นว่า "นวดมากี่ปีแล้ว" ตาหมอนวดกราบเรียนว่า "นวดมา ๑๐ กว่าปีแล้ว" เจ้าพระคุณสมเด็จฯถามต่อไปว่า " เคยเห็นคนมีกระดูกแขนชิ้นเดียวไหม?" ตาหมอนวด กราบเรียนว่า "ตั้งแต่นวดมายังไม่เคยเห็นเลยนอกจาก..." แกจะพูดต่อไปว่านอกจากเจ้าพระคุณสมเด็จฯ แต่เจ้าพระคุณสมเด็จฯชิงพูด เสียก่อนว่า "จำเอาไว้นะ ถ้าไปพบที่ไหนเข้า นั่นแหละพระโพธิ์สัตว์มาบำเพ็ญบารมีละ"

ผู้ เขียนขอเรียนด้วยใจจริงว่า มีความเชื่ออย่างแน่นแฟ้นว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯเป็นพระโพธิ์สัตว์ปางหนึ่ง มาบังเกิดในโลกเพื่อสร้างสมพระบารมี และการที่เชื่อถือทั้งนี้มิได้เกิดจากอุปทาน เกิดจากการศึกษาพิจารณาชีวประวัติของท่านอย่างละเอียด และยังไม่เคยมีความศรัทธาในพระสงฆ์รูปใดเท่า ชาติกำเนิดก็ดี และอัจฉริยภาพทุกประการก็ดี ของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯองค์นี้ ซาบซึ้งใจผู้เขียนยิ่งนัก ไม่อาจจะหาพระเกจิอาจารย์ องค์ใดมาเทียบเคียงได้เลย

ในคราวหนึ่ง เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ถูกนิมนต์ให้เข้าไปสวดมนต์ในพระบรมมหาราชวังพระ บาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกำชับกับมหาดเล็ก ผู้ไปนิมนต์ว่า ให้เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ครองไตรแพรมาให้ได้ (ไตรแพรที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงพระราชทานถวาย เป็นรางวัลในคราวที่เทศน์ว่า - ธรรมะใดมหาบพิตรก็ทรงทราบดีแล้ว-) เพื่อมิให้ด้อยกว่าพระสมณศักดิ์อีกหลายรูป ที่ได้รับการนิมนต์คราวเดียวกันนั้น เพราะพระองค์เห็นว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯครองจีวรรุ่มร่ามและเก่าคร่ำคร่าอยู่ เสมอ (ทรงพระราชดำรัสบ่อยๆว่า "ขรัวโตนี่ยิ่งแก่เข้ายิ่งรุ่มร่ามคร่ำคร่า" ซึ่งเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทราบเข้าก็พูดเปรยๆ เสมอว่า "โตดีกลับหาว่าว่าโตบ้า ที่โตบ้ากลับหาว่าโตดี"

หมายความว่า แต่ก่อนเมื่อท่านยังไม่สำเร็จมรรคผลนั้นจึงย่อมมีความหลงผิด ยังยินดีในลาภสักการ ครองผ้าก็รัดกุมสีสดใส ใครๆ ก็ชมว่า ท่านดี ที่แท้ท่านว่าตัวท่านยังบ้าอยู่ แต่พอท่านสำเร็จมรรคผลเป็นบางอย่างจึงละสิ่งเหล่านี้จดหมด กลับมีคนเข้าใจว่าท่านบ้า และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ยังทรงตรัสว่าท่านรุ่มร่าม) เมื่อใกล้จะถึงกำหนดเวลาสวดมนต์ ยังไม่เห็นเจ้าพระคุณสมเด็จฯมา มหาดเล็ก จึงเร่งนิมนต์อีก ครั้นเมื่อไปถึงวัดระฆังฯเห็นเจ้าคุณพระนั่งอยู่บนกุฎิ ตรงหน้ามีลูกสุนัขตัวหนึ่งนอนทับไตรแพอยู่ มหาดเล็กจึ่งเข้าไปนิมนต์ว่า
"เจ้า พระคุณต้องรีบหน่อยเพราะจวนเวลาเต็มที่แล้ว พระทุกรูปมาพร้อมกันหมดแล้ว ยังขาดแต่เจ้าพระคุณ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็เสด็จแล้ว พร้อมทั้งเจ้านายฝ่ายนอกฝ่ายในตลอดจนข้าราชการ" เจ้าพระคุณสมเด็จฯชี้ให้ดูลูกสุนัขที่กำลังนอนหลับไตรแพรนั้น มหาดเล็กจึงกราบเรียนให้ไล่ลูกสุนัขตัวนั้นไปเสีย เจ้าพระคุณสมเด็จฯกล่าวว่า "ไม่ได้ดอกจ้ะ เพราะเราไม่รู้ว่าจะเป็นพระโพธิสัตว์หรือเปล่า" (พระโพธิสัตว์เคยเสวยพระชาติเป็นสุนัขดังความปรากฎในเรื่องชาดก)

ใน หนังสือ "ประวัติขรัวโต" ของพระยาทิพโกษากล่าวว่า แม้เจ้าพระคุณสมเด็จฯ จะเดินไปตามทางซึ่งมีสุนัขนอนขวางอยู่ก็จะกล่าวว่า "ฉันขอไปทีจ้ะ" แล้วก็ค่อยๆ หลีกไปเสียทางหนึ่ง ปรากฏว่าไม่เคยข้ามสุนัขเลย
จาก: www.lekpluto.org/monk/monk01.htm
[/size]
28271  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / การถวายข้าวพระพุทธ โดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เมื่อ: ธันวาคม 18, 2009, 03:09:49 pm
การถวายข้าวพระพุทธ
โดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)


:: ขอกราบเท้าถามหลวงพ่อว่า ทำไมจึงมีการถวายข้าวพระพุทธ โดยมีผู้อธิบายแตกต่างไปหลายนัย

อันการถวายข้าวพระนั้น แต่เดิมครั้งสมัยพุทธันดร ขณะที่องค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังทรงพระชนม์ชีพอยู่ พระอานนท์พุทธอุปฐาก แห่งองค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์กตัญญู มีความเคารพนับถือองค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างยิ่ง ไม่มีอย่างอื่นใดจะเปรียบได้

เมื่อครั้งที่องค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า จักเสด็จไปในที่ใดพระอานนท์พุทธอุปฐากนั้นไซร์ก็ได้ติดตามไปใกล้ชิดพระยุคลบาทมิได้ห่างเหินเลย ครั้นทรงอาพาธด้วยโรคอย่างใด พระอานนท์พุทธอุปฐากก็ได้พยายามปรนนิบัติรักษาอย่างเต็มความสามารถเสมอ

การถวายภัตตาหารก็ดี น้ำฉันก็ดี ปูอาสนะนั่งนอนก็ดีนั้น เป็นหน้าที่ของพระอานนท์พุทธอุปฐาก และได้กระทำสม่ำเสมอมา ไม่ว่าพระพุทธองค์จะทรงเสด็จไปในที่แห่งใด เมื่อเป็นเช่นนี้พระอานนท์จึงเป็นผู้ที่มีความใกล้ชิดต่อองค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างยิ่ง

และยิ่งกว่านั้นยังเป็นผู้ที่กระทำตนให้เหมือนตู้แห่งพระธรรม ที่องค์สมเด็จพระบรมศาสดาฯ ตรัสออกจากพระโอษฐ์เพื่อเทศนาสั่งสอนปุถุชนเวไนยสัตว์ทั้งหลายก็ตาม พระอานนท์ย่อมจะต้องเป็นผู้รับรู้ซึ่งธรรมอันนั้นด้วย

ในการที่จะแก้ปัญหาธรรมและตอบแก่ผู้มาถามทุกฝ่าย การปฏิบัติต่อองค์สมเด็จพระบรมศาสดาฯ ขององค์พระอานนท์พุทธอุปฐากนี้ ย่อมกระทำเป็นกิจวัตรตลอดมา โดยมิได้มีการเปลี่ยนแปลงและกระทำโดยสม่ำเสมอ

เมื่อครั้งองค์สมเด็จพระบรมศาสดาฯ เสด็จดับขันธ์เข้าสู่พระปรินิพพานแล้ว พระอานนท์พุทธอุปฐากก็ยังระลึกถึงองค์สมเด็จพระบรมศาสดาอยู่มิรู้วาย พระอานนท์คิดเสมอเหมือนหนึ่งว่า องค์สมเด็จพระบรมศาสดาฯ ยังทรงพระชนม์ชีพอยู่

แม้ว่าพระพุทธองค์จะเป็นผู้ขันธปรินิพพานไปแล้วก็ตาม แต่การปฏิบัติของพระอานนท์พุทธอุปฐากก็หาได้ยุติลงไม่ เหตุทั้งนี้ก็เพื่อเป็นเครื่องแสดงซึ่งกตัญญูกตเวทิตาคุณต่อองค์สมเด็จพระบรมศาสดาฯ เมื่อภายหลังประชาชนทั้งหลายได้ทราบเรื่อง จึงพากันซุบซิบนินทาว่า พระอานนท์ได้ปฏิบัติการไปนั้นไม่เป็นการถูกต้องสมควร
[/color]
แต่ได้มีพระมหากัสสปเถระผู้เป็นใหญ่ แก้ปัญหาข้อนี้ว่า

การที่พระอานนท์กระทำไปหมายถึงว่า พระอานนท์ได้ระลึกถึงพระคุณขององค์สมเด็จพระบรมศาสดาฯ อยู่ตลอดเวลา การปฏิบัติถวายข้าวพระ น้ำดื่ม ปูอาสนะนั่งนอน แม้เมื่อองค์สมเด็จพระบรมศาสดาฯ ได้เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว ก็ยังแสดงซึ่งกตัญญูกตเวทิตาคุณแก่ผู้มีพระคุณดังนี้

การปูอาสนะที่นั่งนอนและภัตตาหารทั้งหลาย น้ำผลไม้หรืออัฏฐบาล น้ำดื่ม น้ำใช้ทั้งปวง เมื่อพระอานนท์เคยจัดอย่างไร เมื่อสมัยที่พระบรมศาสดาฯ ยังทรงพระชนม์ชีพอยู่ พระอานนท์ก็ได้จัดไว้เช่นนั้น จนตราบเท่าที่พระอานนท์ดับขันธปรินิพพานไปเช่นเดียวกัน

การกระทำเช่นนี้เป็นการแสดงกตเวทิตาธรรม อันวิญญูชนทั้งหลายพึงทราบความเป็นจริง ตามที่กล่าวมานี้ เข้าใจหรือยัง


: คำสั่งสอนอบรม
: โดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

http://www.dhammajak.net/forums/view...p?f=23&t=19706

28272  พระไตรปิฏก / พระธรรมตามพระไตรปิฏก / พระไตรปิฏกมหาจุฬาฯ ภาษาไทย ๔๕ เล่ม ฉบับซีดี-รอม เมื่อ: ธันวาคม 18, 2009, 03:04:38 pm
พระไตรปิฏกมหาจุฬาฯ ภาษาไทย ๔๕ เล่ม ฉบับซีดี-รอม
วันที่29/09/2008


พระไตรปิฎก เป็นแหล่งประมวลหลักธรรมวินัยอันเป็นหลักการใหญ่ของพระพุทธศาสนา เป็นมาตรฐานกลางในการตรวจสอบความถูกต้องทางพระพุทธศาสนา


ตามที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ชำระพระไตรปิฏกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นภาษาสมัยใหม่ ทันสมัย เหมาะแก่การค้นคว้าวิจัย มีเนื้อหาอ่านเข้าใจง่าย ซึ่งได้จัดพิมพ์จำหน่ายหลายต่อหลายครั้ง ต่อมามหาวิทยาลัยได้พัฒนาโปรแกรมการสืบค้นพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จำนวน ๔๕ เล่ม บรรจุในแผ่นซีดี-รอม จำนวน ๒ แผ่น แผ่นที่ ๑ เนื้อหาเกี่ยวกับวิวิฒนาการพระไตรปิฎก ความหมาย ความสำคัญ การทำสังคยนาและพัฒนาของพระไตรปิฎกจากชมพูทวีบ-ถึงประเทศไทยด้วยสื่อมัลติมีเดียที่ร่วมสมัย แผ่นที่ ๒ เนื้อหาประกอบด้วย พระไตรีปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จำนวน ๔๕ เล่ม พร้อมระบบสืบค้น สมบูรณ์แบบ แผ่นซีดี-รอม แผ่นที่สองจะต้องลงทะเบียนผ่านระบบอินเตอร์เน็ต หรือติดต่อยืนยันการลงทะเบียนด้วย โดยได้ป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ไว้ด้วย

มื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา ศาสตราจารย์ ดร. พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้สั่งการให้ดำเนินการผลิตและเผยแผ่พระไตรปิฎกซีดี-รอม ชุดดังกล่าวเพื่อมอบแก่ประมุขสงฆ์และมหาวิทยาลัยต่างๆ ในคราวประชุมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ และการสัมมนาวิชาการระดับนานาชาติครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๑๒-๑๕ กันยายน ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา โดยสำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเจ้าภาพในการพัฒนา

พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับซีดี-รอม จะเป็นประโยชน์มากแก่ผู้ศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก เนื่องจากสามารถค้น "ทรัพย์,วลี,หน้า,เล่ม หรือดรรชนีท้ายเล่ม" เป็นต้น เบื้องต้นมหาวิทยาลัยได้ผลิตจำนวน ๑,๐๐๐ ชุด หรือ ๒,๐๐๐ แผ่น เพื่อเผยแผ่ส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งเพื่อจำหน่ายนำเงินมาเป็นกองทุนพัฒนาปรับปรุงพระไตรปิฏกซีดี-รอมต่อไป

ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ สำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ โทร ๐-๒ ๒๒๖-๖๐๒๘ หรือ www.mcu.ac.th/mcutrai

http://www.mcu.ac.th/site/news_in.php?group_id=1&NEWSID=3497



พระไตรปิฎกคืออะไร


พระไตรปิฎก ก็คือคัมภีร์ที่ประมวลเอาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามาจารึกไว้ พระไตรปิฎกจึงเป็นที่รวบรวม บรรจุไว้ หรือจารึกไว้ ซึ่งพระพุทธศาสนานั้นเอง
ในเมื่อพระพุทธศาสนาแปลว่าคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และพระไตรปิฎกเป็นที่ประมวลไว้ซึ่งพระพุทธศาสนาคือคำสอนของพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น การรักษาพระไตรปิฎกจึงเป็นการรักษาพระพุทธศาสนา

ถ้าตอบอย่างสั้นที่สุด ก็พูดได้ว่า พระไตรปิฎกกับการธำรงพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องเดียวกัน การธำรงพระไตรปิฎกก็คือการธำรงพระพุทธศาสนา นี้เป็นความหมายอย่างง่ายที่สุด

รักษาพระไตรปิฎก เท่ากับรักษาพระพุทธเจ้า

ถ้าพูดให้ลึกลงและให้กว้างออกไป พระไตรปิฎกมีความสำคัญต่อการธำรงรักษาพระพุทธศาสนาอีกหลายอย่าง นอกจากมองพระพุทธศาสนาในความหมายที่เป็นคำสั่งสอนแล้ว พระพุทธศาสนายังหมายถึง การเล่าเรียน การศึกษา การปฏิบัติ และการจัดการต่าง ๆ ให้มีการเล่าเรียนศึกษา และเป็นพระพุทธศาสนาที่ประชาชนทั่วไปเข้าใจ ในความหมายนี้ พระไตรปิฎกก็มีความสำคัญต่อการธำรงพระพุทธศาสนา ดูง่าย ๆ ดังต่อไปนี้

พระพุทธเจ้าตรัสไว้เองก่อนปรินิพพาน ซึ่งเราจำกันแม่นทีเดียวว่า เมื่อพระองค์ปรินิพพานล่วงไป ไม่ได้ทรงตั้งพระภิกษุองค์ใดเป็นศาสดาแทนพระองค์ ชาวพุทธได้รู้กันว่า พระธรรมวินัยนั้นแหละเป็นพระศาสดาแทนพระองค์ พระธรรมวินัยเป็นศาสดาแทนพระพุทธเจ้า พระธรรมวินัยนี้ก็คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้นเอง พระธรรมวินัยจึงเท่ากับเป็นองค์พระศาสดา และเป็นตัวพระพุทธศาสนา
พระธรรมวินัยนี้ประมวลอยู่ในพระไตรปิฎก พระไตรปิฎกจึงเป็นที่สถิตของพระธรรมวินัย พระไตรปิฎกจึงเป็นที่สถิตของพระบรมศาสดาของชาวพุทธ เมื่อรักษาพระไตรปิฎกไว้ จึงเท่ากับดำรงรักษาพระพุทธเจ้าไว้และรักษาพระพุทธศาสนาด้วยนั่นเอง
เพราะฉะนั้น ในความหมายนี้ พระไตรปิฎกก็มีความสำคัญต่อการรักษาพระพุทธศาสนาอย่างเต็มที่ (รู้จักพระไตรปิฎกเพื่อเป็นชาวพุทธที่แท้. พระพรหมคุณาภรณ์ : ป.อ. ปยุตโต)


CD - ROM แผ่นที่ ๑ Graphic&Multimedia
เรียนรู้ความหมาย ความสำคัญ การทำสังคายนา และ การพัฒนาการของพระไตรปิฏกจากชมพูทวีปแดนพุทธภูมิสู่ศรีลังกาสุวรรณภูมิ และประเทศไทย ผ่านสื่อมัลติมิเดียร่วมสมัย

CD - ROM แผ่นที่ ๒ ระบบสืบค้นพระไตรปิฏก
ระบบสืบค้น โดย คำ วลี ระบบสืบค้นแบบเชื่อมโยง การเข้าถึงผ่านสารบัญ เล่ม ข้อ หน้า และผ่านดรรชนีท้ายเล่ม พร้อมบทนำสรุปสาระสำคัญของพระไตรปิฎกทั้ง 45 เล่ม



พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
บน CD – ROM : MCUTARI Version 1.0

อำนวยการผลิต โดย
สำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย


www.mcu.ac.th/mcutrai/menu5.htm[/size]

28273  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ไม่มี"อมิตาพุทธ" มีแต่ เมื่อ: ธันวาคม 18, 2009, 10:05:29 am
ขอนำความเห็นจากเว็บพันธ์ทิพย์และเว็บวาไรตี้ไทยซ่า มาให้พิจารณา

ความเห็นเรื่องอมิตาพุทธ จากเว็บพันธ์ทิพย์
เครดิตโดย คุณ : Dirghayus (dirghayus)

ไม่มี"อมิตาพุทธ" มีแต่......


เห็นเจอหลายท่าน เขียนว่า "อามิตาพุทธ" "อมิตาพุทธ" "อมิตพุทธ" ซึ่งไม่มีในเอกสารเล่มไหน

และไม่เคยได้ยิน นอกจากหนังจีนเรื่อง"ไซอิ๋ว"หรือเรื่องอื่น ๆ ที่มีพระออกมา แล้วท่อง"อา-มิ-ตา-พุทธ"

ก็เข้าใจ ว่าเคยชินครับ

เราท่องตามหนังจีน เนื่องจากภาษาจีนไม่สามารถออกเสียงตามภาษาบาลี-สันสกฤตได้ เลยตัดแค่ว่า"ออ-นี-ทอ-ฮุก"

ออ-นี-ทอ-ฮุก เขียนเต็ม ๆ ว่า"นำ-โมว-ออ-นี-ทอ-ฮุก" มาจาก "นโม อมิตาภพุทฺธาย"

แล้วหวังว่าคงไม่มี"อมิตาพุทธ"โผล่มาอีกนะครับ เพราะมีแต่"อมิตาภพุทธ"
อมิตาภาพุทธ
อมิตา - นับไมได้ วัดไม่ได้ ประมาณไม่ได้
อาภา - แสงสว่าง

อมิตาภาพุทธ - พระพุทธเจ้าผู้ทรงไว้ซึ่งความสว่าง(ปัญญา) อันหาประมาณไม่ได้



[/color]

ความเห็นเรื่องอมิตตพุทธ จาก http://variety.thaiza.com

ชอบอ่านหนังสือกำลังภายใน ชอบหลวงจีนเส้าหลิน หรือคุนลุ้น เวลาประจันกับศัตรูผู้มุ่งร้าย ท่านจะไม่ทำร้ายตอบ ถ้าถูกสถานการณ์บีบบังคับให้ต้อง "ลงมือ" ก็จะเอ่ยคำ "อมิตตพุทธ" ก่อนจะลงมือ ถ้าเมื่อใดหลวงจีนท่านร้อง "อมิตตพุทธ" ละก็ ให้ระวังให้จงหนัก ชั่วพริบตาเดียวอาจจะลงไปกองอยู่กับพื้นโดยไม่ทันรู้ตัวก็ได้ รวดเร็วปานนั้นแหละขอรับ

อมิตตพุทธ คงจะเป็นคำเพี้ยนมาจากอมิตาภพุทธ ซึ่งเป็นคำยาวเกินไป ออกเสียงเร็วๆ มันจึงหดสั้นเข้าเหลือแต่ "อมิตตพุทธ" ดุจดังผู้พิพากษาเหลือเพียง "พูกษา" มหาวิทยาลัยเหลือเพียง "มหาลัย" (หรือถ้าออกเสียงเร็วกว่านั้นจะได้ยินว่า "หมาลัย" เลยทีเดียวไม่เชื่อผมลองสังเกตดีๆ เถอะครับ)

อมิ ตาภพุทธเป็นพระนามพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ซึ่งเกิดจากพระพุทธเจ้าผู้เป็น "ต้นเดิม" (อาทิพุทธ) พูดอย่างนี้ชาวพุทธเถรวาทไม่เข้าใจดอกต้องอธิบาย

ตาม ความเชื่อของชาวพุทธฝ่ายมหายาน เขาเชื่อกันว่า มีพระพุทธเจ้าผู้เป็นองค์เดิมแท้อยู่องค์เดียว เรียกว่า อาทิพุทธ เรียกว่า ธรรมกาย เรียกว่า วัชรสัตว์ พระพุทธเจ้าผู้เป็นองค์เดิมแท้นี้เป็นอมตะ ไม่มีเกิด ไม่มีตาย ประทับอยู่โน่น "พุทธเกษตร" (แดนแห่งพระพุทธะ) หรือชาวจีนเรียกว่า "สุขาวดี"

จาก พระพุทธเจ้าผู้เป็นต้นเดิมแท้นี้ จึงเกิดพระพุทธเจ้าอื่นๆ อีกหลายองค์ เรียกว่า เกิดจากฌานของพระอาทิพุทธ พระพุทธเจ้าเหล่านี้มีมากมายยิ่งกว่าเม็ดทราย นับไม่ถ้วนว่ามีเท่าไร แต่ที่แน่ๆ คือมีมากมายไพศาล

ที่ปรากฏพระนามดังๆ เป็นที่รู้กันทั่วไปก็มี 5 องค์คือ

1.พระไวโรจนพุทธ

2.พระอักโษภยพุทธ

3.พระรัตนสัมภวพุทธ

4.พระอมิตาภพุทธ

5.พระอโมฆสิทธิพุทธ

อมิ ตภพุทธบังเอิญดังกว่าองค์อื่น ทั้งชาวจีน ชาวญี่ปุ่นก็รู้จักกันดี จึงถูกกล่าวขานถึงบ่อยๆ ในหนังกำลังภายในก็จะถูกเอ่ยถึงบ่อย จนกลายเป็นคำอุทาน "อมิตตพุทธ" ดังกล่าวข้างต้น

พระ อมิตาภพุทธเป็นที่เคารพนับถือมาก ถึงกับเชื่อกันว่าถ้าสวดมนต์เอ่ยพระนามพระอมิตาภพุทธบ่อยๆ จะได้รับเข้าไปอยู่ในแดนสุขาวดีของพระองค์ ทำให้เกิดการ "ยึดติด" ในพิธีกรรม คือสวดมนต์อ้อนวอน โดยไม่อยู่บนพื้นฐานของการฝึกฝนอบรมตน

อาจารย์ เซ็นท่านหนึ่งหวังจะเตือนชาวพุทธที่ติดอยู่กับพิธีกรรมอันเป็นเปลือกกระพี้ มากกว่าจะใส่ใจใน "แก่น" ท่านจึงลงทุนปฏิบัติให้เป็นตัวอย่าง โดยทิ้งวัดไปอยู่กับพวกขอทานใต้สะพาน ยังชีพด้วยข้าวคลุก "มิโสะ" เอาชีวิตรอดไปวันๆ

ท่านเอารูปพระอมิตภพุทธออกมาตั้งไว้บนหัวนอน เขียนข้อความว่า "นา ยอมิตาภพุทธเอ๋ย ที่อยู่ไม่สมเกียรติเจ้าเท่าใดนัก อย่าถือสาและอย่าคิดว่าข้าจะสวดอ้อนวอนเจ้าให้เจ้าช่วยให้ข้าไปเกิดในแดน สุขาวดีของเจ้าเป็นอันขาด"

นัยว่าท่านลงทุน "เล่น" กับพระพุทธรูปขนาดนี้ก็เพื่อสะกิดให้ชาวพุทธได้คิดว่า เพียงสวดอ้อนวอนพระพุทธเจ้ามิได้ช่วยให้หลุดพ้นดอก ต้องลงมือปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า จึงจะบรรลุถึงเป้าหมายของชีวิต

พูด ถึงวิธีเตือนสติคนที่ยึดติดในตัวบุคคล นึกถึงอีกเรื่องหนึ่ง อาจารย์เซ็นท่านหนึ่งไปงานศพเพื่อนอาจารย์ด้วยกันที่เพิ่งมรณภาพเห็นบรรดา ศิษย์ร้องห่มร้องไห้หน้าศพอาจารย์จึงเดินอาดๆ เข้าไปเอาไม้เท้าเคาะโลงร้องว่า

"เฮ้ย เพื่อนรัก เพื่อนสอนศาสนาประสาอะไร จึงทำให้เหล่าลูกศิษย์ยึดติดในตัวเพื่อนปานฉะนี้วะ"

ว่าแล้วก็เดินลงศาลาไป

อมิตตพุทธ



28274  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: สัมมาทิฏฐิ คืออะไร? เมื่อ: ธันวาคม 17, 2009, 11:54:38 pm
ผมขอนำข้อธรรมใน พจนานุกรมพุทธศาสน์ ของ ท่าน ป.อ.ปยุตโต
มาปูพื้นให้เข้าใจกันก่อนนะครับ

สัมมาทิฏฐิ หมายถึง เห็นชอบ ได้แก่ ความรู้อริยสัจ ๔ หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท  เป็นธรรมข้อแรกของมรรคมีองค์ ๘

ปัจจัยที่ทำให้เกิดสัมมาทิฏฐิ มีดังนี้

ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ๒ (ทางเกิดแห่งแนวคิดที่ถูกต้อง, ต้นทางของความดีงามทั้งปวง : sources or conditions for the arising of right view)

๑. ปรโตโมสะ (เสียงจากผู้อื่น การกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก คือ การรับฟังคำแนะนำสั่งสอน เล่าเรียนความรู้ สนทนาซักถาม ฟังคำบอกเล่าชักจูงของผู้อื่น โดยเฉพาะการสดับสัทธรรมจากท่านผู้เป็นกัลยาณมิตร : another’ s utterance; inducement by others; hearing or learning from others)
 
๒. โยนิโสมนสิการ (การใช้ความคิดถูกวิธี ความรู้จักคิด คิดเป็น คือกระทำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณา รู้จักสืบสาวหาเหตุผล แยกแยะสิ่งนั้น ๆ หรือปัญหานั้น ๆ ออก ให้เห็นตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย : reasoned attention; systematic attention; genetical reflection; analytical reflection)

ข้อธรรม ๒ อย่างนี้ ได้แก่ ธรรมหมวดที่ (๑) และ (๒) นั่นเอง แปลอย่างปัจจุบันว่า “องค์ประกอบของการศึกษา” หรือ “บุพภาคของการศึกษา” โดยเฉพาะข้อที่ ๑ ในที่นี้ใช้คำกว้าง ๆ แต่ธรรมที่ต้องการเน้น ก็คือ กัลยาณมิตตตา

ปัจจัยให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ ก็มี ๒ อย่าง คือ ปรโตโฆสะ และ อโยนิโสมนสิการ ซึ่งตรงข้ามกับที่กล่าวมานี้.



ต่อไปนี้เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ

พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชโช ได้เคยบอกว่า

พระพุทธเจ้าเคยตรัสว่า

“หากตถาคตไม่รู้แจ้งอริยสัจ จะไม่ประกาศว่าบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ”

ผมเลยสรุปเอาเองว่า พระอรหันตผลเท่านั้น ที่รู้แจ้งอริยสัจ

จากความหมายของสัมมาทิฏฐิข้างต้น ที่หมายถึง การรู้อริยสัจ

ผมเลยสรุปเอาเอง(อีกแล้วครับท่าน)ว่า

“คนที่มีสัมมาทิฏฐิที่สมบูรณ์ ควรจะเป็นอรหันตผลเท่านั้น”

(ผมเคยถามความเห็นนี้กับอาจารย์สนธยา อาจารย์พยักหน้าเห็นด้วย)

หากจะถามว่า แล้ว โสดาบัน สกทาคา  อนาคามี ไม่มีสัมมาทิฏฐิหรือไง

ตอบว่า มี แต่ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากยังตัดกิเลสไม่หมด คือ เห็นและเข้าใจอริยสัจ

ได้เพียงบางส่วนเท่านั้น




จากนี้ขอนำ ข้อความในพระสุตตันตปิฎกบางส่วน มาให้อ่านกัน

๙. สัมมาทิฏฐิสูตร ว่าด้วยความเห็นชอบ

[๑๑๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก
เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว ภิกษุพวกนั้น
รับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ที่เรียกว่า
สัมมาทิฏฐิๆ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไป
ตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ พวกภิกษุกล่าวว่า
ดูกรท่านผู้มีอายุ พวกกระผมมาจากที่ไกล ก็เพื่อจะรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตนี้ ในสำนักของท่าน
พระสารีบุตร ดังพวกกระผมขอโอกาส เนื้อความแห่งภาษิตนี้ จงแจ่มแจ้งกะท่านพระสารีบุตรเถิด
ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อท่านพระสารีบุตรแล้ว จักทรงจำไว้ ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ถ้าอย่างนั้น
จงฟังเถิด ท่านผู้มีอายุ จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุพวกนั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว.

[๑๑๑] ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่ง
อกุศลและรากเง่าอกุศล รู้ชัดซึ่งกุศลและรากเง่าของกุศล แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่า
เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้วประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่
พระสัทธรรมนี้ ก็อกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ
พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ อยากได้ของผู้อื่น ปองร้ายเขา เห็นผิด อันนี้เรียกว่า
อกุศลแต่ละอย่างๆ รากเง่าของอกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ อันนี้เรียกว่ารากเง่า
ของอกุศลแต่ละอย่างๆ กุศลเป็นไฉน? ได้แก่ ความเว้นจากฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิด
ในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ไม่อยากได้ของผู้อื่น ไม่ปองร้ายเขา
เห็นชอบ อันนี้เรียกว่า กุศลแต่ละอย่างๆ รากเง่าของกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ อโลภะ อโทสะ
อโมหะ อันนี้เรียกว่า รากเง่าของกุศลแต่ละอย่างๆ

ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอกุศลและรากเง่าของอกุศลอย่างนี้ๆ
รู้ชัดซึ่งกุศลและรากเง่าของกุศลอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย
ถอนทิฏฐานุสัย และมานานุสัยว่า เรามีอยู่โดยประการทั้งปวง ละอวิชชา
ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันนี้เทียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอัน แน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้


[๑๑๒] ภิกษุเหล่านั้นชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า สาธุ ท่านผู้มีอายุ
แล้วได้ถามปัญหากะท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือปริยายแม้อย่างอื่น
ที่อริยสาวกซึ่งชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใส
อันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.


[๕๒] สัมมาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
   ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย
ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความ
รู้แจ่มแจ้ง  ความค้นคิด  ความใคร่ครวญ  ปัญญาเหมือนแผ่นดิน   ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส
ปัญญาเครื่องนำทาง  ความเห็นแจ้ง  ความรู้ชัด  ปัญญาเหมือนปฏัก  ปัญญา  ปัญญินทรีย์
ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่าง
คือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม
ความเห็นชอบ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ มีในสมัยนั้น.

[/color]
28275  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ผลสมาบัติ คืออะไรครับ เมื่อ: ธันวาคม 17, 2009, 09:41:57 pm
เสี้ยนหนามของทุติยฌาน

          เสี้ยนหนามของปฐมฌานได้แก่เสียง  เสียงเป็นศัตรูคอยทำลายปฐมฌาน เมื่อใดถ้าจิต
ยุ่งกับเสียง คือทนรำคาญไม่ไหว ก็หมายความว่า ปฐมฌานเสื่อมเสียแล้ว สำหรับทุติฌานนี้ มีวิตก
วิจารเป็นเสี้ยนหนามศัตรู  เมื่อขณะที่จิตทรงสมาธิอยู่ในระดับทุติยฌาน  จิตคอยจะเคลื่อนเลื่อน
ลงมาหาอารมณ์ปฐมฌาน คือคอยจะยึดเอาคาถาภาวนาเป็นอารมณ์ เพราะคาถาภาวนาเป็นวิตกวิจาร
จึงจำต้องคอยระมัดระวังไว้ อย่าปล่อยสติสัมปชัญญะให้คลาดเคลื่อน คุมอารมณ์ทุติยฌานอย่าให้
เลือนไปได้ ฝึกหัดตั้งกำหนดเวลาทรงฌานเข้าไว้ แล้วทำให้ชินตามกำหนดเวลา

อานิสงส์ทุติยฌาน

          ฌานทั้งหมด เป็นอารมณ์สมาธิที่ทำจิตใจให้พร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ เวลาจะทำการงาน
ก็มีความทรงจำดี จิตใจไม่เลอะเลือนฟุ้งซ่าน เป็นอารมณ์รักษาโรคประสาทได้ดีที่สุด นอกจากนี้
เวลาจะตายก็มีสติสัมปชัญญะดีไม่หลงตาย ถ้าตายในระหว่างฌานท่านว่าทุติยฌานที่เป็นโลกียฌาน
ให้ผลดังนี้
          ก. ทุติยฌานหยาบ   ให้ผลไปเกิดในพรหมโลกชั้นที่  ๔
          ข. ทุติยฌานกลาง   ให้ผลไปเกิดในพรหมโลกชั้นที่  ๕
          ค. ทุติยฌานละเอียด ให้ผลไปเกิดในพรหมโลกชั้นที่  ๖
          ถ้าเอาอารมณ์ทุติยฌานไปเป็นกำลังของวิปัสสนาญาณแล้ว สมาธิระดับทุติยฌานจะมีกำลัง
ช่วยให้วิปัสสนาญาณกำจัดกิเลสได้ดีและรวดเร็วกว่ากำลังของปฐมฌานมาก ท่านอาจมีหวังถึงที่สุด
ของพรหมจรรย์ในชาติปัจจุบันก็ได้ ถ้าท่านมีความเพียรดี ปฏิบัติตรงต่อพระพุทธพจน์ของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และปฏิบัติพอดีพอควร ไม่ยิ่งหย่อนนัก เรียกว่าปฏิบัติพอเหมาะพอดี การปฏิบัติ
พอเหมาะพอดีนี้ปฏิบัติอย่างไร ท่านก็ศึกษาจากตัวของท่านเองนั่นแหละตรงต่อความเป็นจริง
 
ตติยฌานหรือตติยสมาบัติ

          ปฐม แปลว่าที่ ๑ ทุติยะ แปลว่าที่ ๒ ตติยะ แปลว่าที่ ๓ ตติยฌานจึงแปลว่า ฌานที่ ๓
ตติยสมาบัติ แปลว่า การเข้าถึงอารมณ์ฌานที่ ๓ ฌานที่ ๓ นี้ มีอารมณ์ ๒ คือ
          ๑. สุข ได้แก่ความสุขที่ปราศจากปีติ คือความสุขทางจิตโดยเฉพาะ ไม่มีความสุข
ที่เนื่องด้วยกาย
          ๒. เอกัคคตา มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ที่ไม่มีอารมณ์ห่วงใยในกาย เป็นอาการที่สงัดจากกาย
ฌานนี้ท่านว่าเป็นฌานที่กายกับจิตแยกกันเด็ดขาด
          อาการของฌานที่ ๓ นี้  เป็นอาการที่จิตตัดปีติ ความเอิบอิ่มใจในฌานที่ ๒ ออกเสียได้
เมื่ออารมณ์จิตเข้าถึงฌานที่ ๓ นี้ จะรู้สึกว่า อาการขนพองสยองเกล้าก็ดี น้ำตาไหลก็ดี กายโยกโคลง
ก็ดี อาการซู่ซ่าทางกาย คล้ายกายเบา กายใหญ่ กายสูงจะไม่ปรากฏเลย มีอาการทางกายเครียด
คล้ายกับใครมาจับมัดไว้จนแน่น หรือคล้ายหลักที่ปักจนแน่นไม่มีการโยกโคลงได้ฉันนั้น จงจำไว้ว่า
ตั้งแต่ฌานที่ ๒ เป็นต้นมา ไม่มีการภาวนาเลย ถ้ายังภาวนาอยู่ และหูได้ยินเสียงชัด แต่ไม่รำคาญ
ในเสียง เป็นฌานที่ ๑ ตั้งแต่ฌานที่ ๒ มาไม่มีการภาวนา และเรื่องเสียงเกือบไม่มีความหมาย คือ
ไม่มีความสนใจในเสียงเลย เสียงมีอยู่ก็เหมือนไม่มี เพราะจิตไม่รับเสียง ลมหายใจจะค่อยๆ น้อย
อ่อนระรวยลงทุกขณะ ในฌานที่ ๓ นี้ลมหายใจยังปรากฏ แต่ก็รู้สึกเบาเต็มที่มีอาการคล้าย
จะไม่หายใจ แต่ก็พอรู้สึกน้อยๆ ว่าหายใจ จิตสงัดไม่มีการหวั่นไหว ไม่มืด มีความโพลงอยู่
มีอารมณ์แน่นในสมาธิมากจนรู้ตัวว่าอารมณ์แนบแน่นกว่าสองฌานที่ผ่านมา อย่างนี้ท่านเรียกว่า
เข้าถึงฌานที่ ๓ ต้องฝึกเข้าฌานออกฌานให้แคล่วคล่องว่องไวตามที่กล่าวมาแล้ว
 
เสี้ยนหนามของฌานที่ ๓

          ปีติ เป็นเสี้ยนหนามของ ฌานที่ ๓ เพราะฌานที่ ๓ ตัดปีติเสียได้ แต่ถ้าอารมณ์
ตกลงไปปีติจะปรากฏขึ้น ถ้าปีติปรากฏขึ้นเมื่อไร พึงทราบเถิดว่า ขณะนี้อารมณ์จิตเคลื่อน
จากฌานที่ ๓ มาอยู่ระดับฌาน ๒ แล้วถ้าปรากฏว่ามีการภาวนาด้วย แต่จิตยังไม่รำคาญในเสียง
ก็ยิ่งร้ายใหญ่ เพราะอารมณ์สมาธิไหลออกจนเหลือเพียงฌาน ๑ ท่านให้ระมัดระวังด้วยการทรง
สติสัมปชัญญะ อย่าให้อารมณ์สมาธิรั่วไหลเป็นอันขาด เพราะจะเป็นอันตรายแก่ฌาน ๓

อานิสงส์ฌานที่ ๓


          ฌานที่ ๓ นี้ ถ้าทรงไว้ได้จนตาย ในขณะตาย ตายในระหว่างฌานที่ ๓ ท่านว่าจะไม่
หลงตาย เมื่อมีชีวิตอยู่ ก็จะเป็นคนมีอารมณ์แช่มชื่นเบิกบานตลอดเวลา หน้าตาสดชื่นผ่องใส
เมื่อตายแล้ว ฌาน ๓ ย่อมส่งผลให้เกิดเป็นพรหม คือ
          ๑. ฌานที่ ๓ หยาบ   ให้ผลไปเกิดเป็นพรหมชั้นที่  ๗
          ๒. ฌานที่ ๓ กลาง   ให้ผลไปเกิดเป็นพรหมชั้นที่  ๘
          ๓. ฌานที่ ๓ ละเอียด ให้ผลไปเกิดเป็นพรหมชั้นที่  ๙
          ฌาน  ๓  ที่เป็นโลกียฌานให้ผลอย่างนี้ ถ้าเอาฌาน ๓ ไปเป็นกำลังของวิปัสสนาญาณ
วิปัสสนาจะมีกำลังกล้า ตัดกิเลสให้เด็ดขาดได้โดยรวดเร็ว อาจได้บรรลุมรรคผลเบื้องสูงในชาตินี้
โดยไม่ชักช้านัก ผลของท่านที่ทรงฌาน ๓ ไว้ได้มีผลดังกล่าวมาแล้วนี้

จตุตถฌาน หรือ จตุตถสมาบัติ


          จตุตถะ แปลว่าที่ ๔ จตุตถฌานจึงแปลว่าฌานที่ ๔ ฌานที่ ๔ นี้มีอารมณ์ ๒ เหมือน
ฌาน ๓ แต่ผิดกันที่ฌาน ๓ มีสุขกับเอกัคคตา สำหรับฌานที่ ๔ นี้ ตัดความสุขออกเสียเหลือแต่
เอกัคคตา และเติมอุเบกขาเข้ามาแทน ฉะนั้น อารมณ์ของฌาน ๔ จึงมีอารมณ์ผิดแผกจาก
ฌาน ๓ ตรงที่ตัดความสุขออกไป และเพิ่มการวางเฉยเข้ามาแทนที่

อาการของฌาน ๔ เมื่อปฏิบัติถึง

          ฌาน  ๔ เมื่อนักปฏิบัติ ปฏิบัติถึงมีอาการดังนี้
          ๑. จะไม่ปรากฏลมหายใจเหมือนสภาพฌานอื่นๆ เพราะลมละเอียดจนไม่ปรากฏว่ามี
ลมหายใจ ในวิสุทธิมรรคท่านว่าลมหายใจไม่มีเลย แต่บางอาจารย์ท่านว่า ลมหายใจนั้นมี
แต่ลมหายใจละเอียดจนไม่มีความรู้สึกว่าหายใจ ตามนัยวิสุทธิมรรคท่านกล่าวถึงคนที่ไม่มี
ลมหายใจไว้ ๔ จำพวกด้วยกัน คือ ๑. คนตาย ๒. คนดำน้ำ ๓. เด็กในครรภ์มารดา
๔.ท่านที่เข้าฌาน ๔ รวมความว่า ข้อสังเกตที่สังเกตได้ชัดเจนในฌาน ๔ ที่เข้าถึงก็คือ
ไม่ปรากฏว่ามีลมหายใจการที่ฌาน ๔ เมื่อเข้าถึงแล้ว และขณะที่ทรงอยู่ในระดับของฌาน ๔
ไม่ปรากฏว่ามีลมหายใจนี้เป็นความจริง มีนักปฏิบัติหลายท่านที่พบเข้าแบบนี้ถึงกับร้องเอะอะโวยวาย
บอกว่าไม่เอาแล้ว เพราะเกรงว่าจะตายเพราะไม่มีลมหายใจ บางรายที่อารมณ์สติสมบูรณ์หน่อย
ก็ถึงกับค้นคว้าควานหาลมหายใจ เมื่ออารมณ์จิตตกลงระดับต่ำกว่าฌานที่ ๔ ในที่สุดก็พบลมหายใจ
ที่ปรากฏอยู่กับปลายจมูกนั่นเอง
          ๒.  อารมณ์จิตเมื่อเข้าสู่ระดับฌาน ๔ จะมีอารมณ์สงัดเงียบจากอารมณ์ภายนอกจริง ๆ
ดับเสียง คือ ไม่ได้ยินเสียง ดับสุข ดับทุกข์ทางกายเสียจนหมดสิ้น มีอารมณ์โพลงสว่างไสวเกินกว่า
ฌานอื่นใด มีอารมณ์สงัดเงียบ ไม่เกี่ยวข้องด้วยร่างกายเลย กายจะสุข จะทุกข์ มดจะกิน ริ้นจะกัด
อันตรายใดๆ จะเกิด จิตในระหว่างตั้งอยู่สมาธิที่มีกำลังระดับฌาน ๔ จะไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น เพราะฌานนี้
กายกับจิตแยกกันเด็ดขาดจริงๆ ไม่สนใจข้องแวะกันเลย ดังจะเห็นในเรื่องของลมหายใจ ความจริง
ร่างกายนี้จำเป็นมากในเรื่องหายใจ เพราะลมหายใจเป็นพลังสำคัญของร่างกาย พลังอื่นใดหมดไป
แต่อัสสาสะ ปัสสาสะ คือลมหายใจยังปรากฏ ที่เรียกกันตามภาษาธรรมว่า ผัสสาหารยังมีอยู่ ร่างกายก็ยัง
ไม่สลายตัว ถ้าลมหายใจที่เรียกว่าผัสสาหารหยุดเมื่อไร เมื่อนั้นก็ถึงอวสานของการทรงอยู่ของร่างกาย
ฉะนั้น ผลการปฏิบัติที่เข้าถึงระดับฌาน ๔ จึงจัดว่าลมหายใจยังคงมีตามปกติ ที่ไม่รู้ว่าหายใจก็เพราะ
ว่าจิตแยกออกจากกายอย่างเด็ดขาดโดยไม่รับรู้อาการของร่างกายเลย

อาการที่จิตแยกจากร่างกาย

          เพื่อให้เข้าใจชัดว่า จิตแยกออกจากร่างกายได้จริงเพียงใด เมื่อท่านเจริญสมาธิถึงฌาน ๔
จนคล่องแคล่วชำนิชำนาญดีแล้ว ให้ท่านเข้าสู่ฌาน ๔ แล้วถอยจิตออกมาหยุดอยู่เพียงอุปจารฌาน
แล้วอธิษฐานว่า ขอร่างกายนี้จงเป็นโพรงและกายอีกกายหนึ่งจงปรากฏ แล้วเข้าฌาน ๔ ใหม่ ออกจาก
ฌาน ๔ มาหยุดอยู่เพียงอุปจารฌาน ท่านจะเห็นกายเป็นโพรงใหญ่ มีกายของเราเองปรากฏขึ้นภายใน
กายเดิมอีกกายหนึ่ง ที่ท่านเรียกในมหาสติปัฏฐานว่ากายในกาย จะบังคับให้กายในกายท่องเที่ยวไป
ในร่างกายทุกส่วน แม้แต่เส้นประสาทเล็กๆ กายในกายก็จะไปได้สะดวกสบายเหมือนเดินในถ้ำใหญ่ ๆ
ต่อไปจะบังคับกายใหม่นี้ออกไปสู่ภพใด ๆ  ก็ไปได้ตามประสงค์ ที่ท่านเรียกว่า "มโนมยิทธิ แปลว่า
มีฤทธิ์ทางใจนั่นเอง" พลังของฌาน ๔ มีพลังมากอย่างนี้ ท่านที่ได้ฌาน ๔ แล้วท่านจะฝึกวิชชาสาม
อภิญญาหก หรือปฏิสัมภิทาญาณ ก็ทำได้ทั้งนั้น เพราะวิชชาการที่จะฝึกต่อไปนั้น ก็ใช้พลังจิตระดับ
ฌาน ๔ นั่นเอง จะแตกต่างกันอยู่บ้างก็เพียงอาการในการเคลื่อนไปเท่านั้น ส่วนอารมณ์ที่จะใช้
ก็เพียงฌาน ๔ ซึ่งเป็นของที่มีอยู่แล้วเปรียบเสมือนนักเพาะกำลังกาย  ถ้ามีกำลังกายสมบูรณ์แล้ว
จะทำอะไรก็ทำได้ เพราะกำลังพอ จะมีสะดุดบ้างก็ตรงเปลี่ยนแนวปฏิบัติใหม่ จะยุ่งใจบ้างในระยะต้น
พอเข้าใจเสียแล้วก็ทำได้คล่อง เพราะกำลังพอ ท่านที่ได้ฌาน ๔ แล้วก็เช่นเดียวกัน เพราะงานส่วน
อภิญญาหรือวิชชาสาม ก็ใช้พลังจิตเพียงฌาน ๔ เท่านั้น ท่านที่ได้ฌาน ๔ จึงเป็นผู้มีโอกาสจะทำ
ได้โดยตรง

เสี้ยนหนามของฌาน ๔

          เสี้ยนหนาม หรือศัตรูตัวสำคัญของฌาน ๔ ก็คือ "ลมหายใจ" เพราะถ้าปรากฏว่ามีลมหายใจ
ปรากฏเมื่อเข้าฌาน ๔ ก็จงทราบเถิดว่า จิตของท่านมีสมาธิต่ำกว่าฌาน ๔ แล้ว จงอย่าสนใจกับ
ลมหายใจเลยเป็นอันขาด

อานิสงส์ของฌาน ๔

          ๑. ท่านที่ทรงฌาน ๔ ไว้ได้ ในขณะที่มีชีวิตอยู่ จะมีอารมณ์แช่มชื่นตลอดวันเวลา จะแก้ปัญหา
ของตนเองได้อย่างอัศจรรย์
          ๒. ท่านที่ได้ฌาน ๔ สามารถจะทรงวิชชาสาม อภิญญาหก ปฏิสัมภิทาญาณได้ถ้าท่านต้องการ
          ๓. ท่านที่ได้ฌาน  ๔ สามารถจะเอาฌาน ๔ เป็นกำลังของวิปัสสนาญาณชำระกิเลสให้หมดสิ้นไป
อย่างช้าภายใน ๗ ปี อย่างกลางภายใน ๗ เดือน อย่างเร็วภายใน ๗ วัน
          ๔. หากท่านไม่เจริญวิปัสสนา ท่านทรงฌาน ๔ ไว้มิให้เสื่อม ขณะตาย ตายในระหว่างฌาน
ที่จะได้ไปเกิดในพรหมโลกสองชั้นคือ ชั้นที่ ๑๐ และชั้นที่ ๑๑

รูปสมาบัติหรือรูปฌาน


          ฌานหรือสมาบัติที่กล่าวมาแล้วทั้ง ๔ อย่างนี้ ท่านเรียกว่ารูปฌาน หรือรูปสมาบัติ ถ้ายังไม่สำเร็จ
มรรคผลเพียงใด ท่านเรียกว่าโลกียสมาบัติ หรือโลกียฌาน ถ้าเจริญวิปัสสนาญาณจนสำเร็จมรรคผล
ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ท่านเรียกว่า โลกุตตรสมาบัติ หรือโลกุตตรญาณ ศัพท์ว่า โลกุตตระ ตัดออกเป็น
สองศัพท์ มีรูปเป็น โลกะ และ อุตตระ สนธิคือเอาโลกะกับอุตตระมาต่อกันเข้า เอาตัว อ. ออกเสีย เอา
สระอุผสมกับตัวตัว ก. เป็นโลกุตตระ โลกะ แปลตามศัพท์ว่าโลก อุตตระ แปลว่าสูงกว่า รวมความว่าสูง
กว่าโลก โลกุตตระท่านจึงแปลว่าสูงกว่าโลก โลกุตตรฌาน แปลว่าฌานที่สูงกว่าโลกโลกุตตรสมาบัติ
แปลว่าสมาบัติที่สูงกว่าโลก หมายความว่ากรรมต่างๆ ที่โลกนิยมนั้น ท่านพวกนี้พ้นไปแล้ว แม้บาปกรรม
ที่ชาวโลกต้องเสวยผล ท่านที่ได้โลกุตตระ ท่านก็ไม่ต้องรับผลกรรมนั้นอีก เพราะกรรมของชาวโลก
ให้ผล ท่านไม่ถึง ท่านจึงได้นามว่าโลกุตตรบุคคล
          รวมความว่าฌานประเภทที่กล่าวมาแล้วนั้นเป็นรูปฌาน เพราะมีรูปเป็นอารมณ์ เรียกตามชื่อ
สมาบัติว่า รูปสมาบัติ สำหรับรูปฌาน หรือรูปสมาบัตินั้น มีแยกออกไปอีก ๔ อย่าง ดังจะกล่าวให้ทราบ
ต่อไป

อรูปสมาบัติหรืออรูปฌาน

   
          ๑. อากาสานัญจายตะ เพ่งอากาศ ๆ เป็นอารมณ์
          ๒. วิญญาณัญจายตะ กำหนดหมายเอาวิญญาณเป็นอารมณ์
          ๓. อากิญจัญญายตนะ กำหนดว่าไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์
          ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ กำหนดหมายเอาการไม่มีวิญญาณ คือไม่รับรู้รับทราบ
อะไรเลยเป็นสำคัญ
          ทั้ง ๔ อย่างนี้เรียกว่าอรูปฌาน  เพราะการเจริญไม่กำหนดหมายรูปเป็นอารมณ์ กำหนด
หมายเอาความไม่มีรูปเป็นอารมณ์ จึงเรียกว่าอรูปฌาน ถ้าเรียกเป็นสมาบัติ ถ้าเรียก

สมาบัติ ๘

          ท่านที่ทรงสมาบัติในรูปสมาบัติ ๔ และทรงอรูปสมาบัติอีก ๔ รวมทั้งรูปสมาบัติ ๔
อรูปสมาบัติ ๔ เป็นสมาบัติ ๘

ผลสมาบัติ 

          คำว่าผลสมาบัติ ท่านหมายถึงการเข้าสมาบัติตามผลที่ได้ ผลสมาบัตินี้จะเข้าได้ต้องเป็น
พระอริยเจ้าตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ท่านที่เป็นพระอริยเจ้าที่ไม่ได้สมาบัติแปดมาก่อน ท่านเข้า
นิโรธสมาบัติไม่ได้ ท่านก็เข้าผลสมาบัติ คือท่านเข้าฌานนั่นเอง ท่านได้ฌานระดับใด ท่านก็เข้า
ระดับนั้น แต่ไม่ถึงสมาบัติแปดก็แล้วกัน และท่านเป็นพระอริยเจ้า จะเป็น พระโสดา สกิทาคา อนาคามี
อรหันต์ก็ตาม เมื่อท่านเข้าฌาน ท่านเรียกว่าเข้าผลสมาบัติ ท่านที่ไม่เป็นพระอริยเจ้าเข้าฌาน
ท่านเรียกว่าเข้าฌาน  เพราะไม่มีมรรคผล ต่างกันเท่านี้เอง กิริยาที่เข้าก็เหมือนกัน ต่างกันแต่เพียงว่า
ท่านเป็นพระอริยเจ้า หรือไม่ใช่พระอริยเจ้าเท่านั้นเอง 

นิโรธสมาบัติ

          นิโรธสมาบัติ ท่านที่จะเข้านิโรธสมาบัติได้ ต้องเป็นพระอริยะขั้นต่ำตั้งแต่พระอนาคามี
เป็นต้นไป และพระอรหันต์เท่านั้น และท่านต้องได้สมาบัติแปดมาก่อน ตั้งแต่ท่านเป็นโลกียฌาน
ท่านที่ได้สมาบัติแปด เป็นพระอริยะต่ำกว่าพระอนาคามีก็เข้านิโรธสมาบัติไม่ได้ ต้องได้มรรคผลถึง
อนาคามีเป็นอย่างต่ำจึงเข้าได้

ผลของสมาบัติ

          สมาบัตินี้ นอกจากจะให้ผลแก่ท่านที่ได้แล้ว ยังให้ผลแก่ท่านที่บำเพ็ญกุศลต่อท่านที่ได้
สมาบัติด้วย ท่านสอนว่าพระก่อนบิณฑาตตอนเช้ามืดที่ท่านสอนให้เคาะระฆังก็เพื่อให้พระวิจัย
วิปัสสนาญาณ และเข้าฌานสมาบัติ เพื่อเป็นการสนองความดีของทายกทายิกาผู้สงเคราะห์ในตอนเช้า
พระที่บวชใหม่ก็ทบทวนวิชาความรู้และซักซ้อมสมาธิเท่าที่จะได้ ผลของสมาบัติมีอย่างนี้
          ๑. นิโรธสมาบัติ สมาบัตินี้เข้ายาก ต้องหาเวลาว่างจริง ๆ เพราะเข้าคราวหนึ่งใช้เวลา
อย่างน้อย ๗ วัน อย่างสูงไม่เกิน ๑๕ วัน ใครได้ทำบุญแก่ท่านที่ออกจากนิโรธสมาบัตินี้ จะได้ผลใน
วันนั้น หมายความว่าคนจนก็จะได้เป็นมหาเศรษฐีในวันนั้น
          ๒. ผลสมาบัติ เป็นสมาบัติเฉพาะพระอริยเจ้า ท่านออกจากผลสมาบัติแล้ว สมาบัตินี้เข้าออก
ได้ทุกวันและทุกเวลา ท่านที่ทำบุญแด่ท่านที่ออกจากผลสมาบัติ ท่านผู้นั้นจะมีผลไพบูลย์ในความเป็น
อยู่ คือมีฐานะไม่ฝืดเคือง
          ๓. ฌานสมาบัติ ท่านที่บำเพ็ญกุศลแก่ท่านที่ออกจากฌานสมาบัติ จะทรงฐานะไว้ด้วยดี
ไม่ยากจนกว่าเดิม มีวันแต่จะเจริญงอกงามขึ้นเป็นลำดับ

เข้าผลสมาบัติ

          ก่อนที่จะเลยไปพูดเรื่องอื่น เกิดห่วงการเข้าผลสมาบัติขึ้นมา จึงขอย้ำถึงเรื่องเข้าผลสมาบัติ
เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจสักนิด การเข้าผลสมาบัติ กับเข้าฌานสมาบัติ ต่างกันอยู่หน่อยหนึ่ง คือ
การเข้าฌานสมาบัติ ท่านสอนให้ทำจิตให้ห่างเหินนิวรณ์ คือระมัดระวังมิให้นิวรณ์เข้ามารบกวนใจ
เมื่อจิตว่างจากนิวรณ์แล้ว อารมณ์ของสมาธิก็ไม่มีอะไรรบกวน เข้าฌานสมาบัติได้ทันที สำหรับผล
สมาบัตินั้น  เป็นสมาบัติของพระอริยเจ้าท่านเข้าดังนี้  เมื่อท่านพิจารณาว่าเวลานี้ธุระอย่างอื่นไม่มีแล้ว
มีเวลาว่างพอที่จะเข้าผลสมาบัติได้ ท่านก็เริ่มเข้าสู่ที่สงัด นั่งตั้งกายตรง ดำรงจิตมั่นคงแล้วก็พิจารณา
สังขารตามแบบวิปัสสนาญาณ โดยพิจารณาในวิปัสสนาญาณทั้ง ๘ ย้อนไป ย้อนมา หรือพิจารณาตามแบบ
ขันธ์ห้ารวม คือพิจารณาเห็นว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณทั้งห้าอย่างนี้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
เราไม่มีในขันธ์ห้า ขันธ์ห้าไม่มีในเรา อย่างนี้ก็ได้ตามแต่ท่านจะถนัด รวมความว่า ท่านเป็นพระอริยะ
เพราะท่านพิจารณาวิปัสสนาญาณแบบใดท่านก็พิจารณาแบบนั้น เพราะท่านคล่องของท่านอยู่แล้ว
เมื่อพิจารณาขันธ์ห้าจนอารมณ์ผ่องใสแล้ว ท่านก็เข้าสมาบัติตามกำลังฌานที่ท่านได้ อย่างนี้เป็นวิธี
เข้าผลสมาบัติ เพราะท่านพิจารณาวิปัสสนาญาณก่อนจึงเข้าฌาน นำมากล่าวเพิ่มเติมไว้เพื่อท่านผู้อ่าน
จะได้รับทราบไว้ แต่สำหรับท่านที่เป็นพระอริยเจ้านั้น ไม่มีอะไรจะสอนท่าน
 
 
ที่มา.......คำสอนของ ลพ.ฤาษีลิงดำ จากเว็บพลังจิต
28276  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ผลสมาบัติ คืออะไรครับ เมื่อ: ธันวาคม 17, 2009, 09:35:29 pm
สมาบัติ

          คำว่า สมาบัติ แปลว่าถึงพร้อม แปลเหมือนกันกับคำว่า สมบัติ ศัพท์เดิมว่า สัมปัตติ
แปลว่าถึงพร้อม มาแปลงเป็นบาลีไทย หมายความว่าศัพท์นั้นเป็นศัพท์บาลี แต่เรียกกันเป็นไทย ๆ 
เสีย ก็เลยเพี้ยนไปหน่อย เล่นเอาผู้รับฟังปวดเศียรเวียนเกล้าไปตามๆ กัน
          สมาบัติ แปลว่าเข้าถึงนั้น หมายเอาว่าเข้าถึงอะไร ข้อนี้น่าจะบอกไว้เสียด้วย ขอบอก
ให้รู้ไว้เลยว่า ถึงจุดของอารมณ์ที่เป็นสมาธิหรือที่เรียกว่า ฌาน นั่นเอง เมื่ออารมณ์ของสมาธิที่ยังไม่เข้าระดับฌาน ท่านยังไม่เรียกว่า สมาบัติ เช่น

ขณิกสมาธิ

          ขณิกสมาธิ แปลว่า ตั้งใจมั่นได้เล็กน้อย หรือนิดๆ หน่อยๆ คำว่า สมาธิ แปลว่า
ตั้งใจมั่น ต้องมั่นได้นิดหน่อย เช่น กำหนดจิตคิดตามคำภาวนา ภาวนาได้ประเดี่ยวประด๋าว
จิตก็ไปคว้าเอาความรู้สึกนึกคิดอารมณ์ภายนอกคำภาวนามาคิด ทิ้งองค์ภาวนาเสียแล้ว กว่าจะรู้ตัวว่า
จิตซ่าน ก็คิดตั้งบ้านสร้างเรือนเสียพอใจ อารมณ์ตั้งอยู่ในองค์ภาวนาไม่ได้นานอย่างนี้ ตั้งอยู่ได้
ประเดี๋ยวประด๋าว อารมณ์จิตก็ยังไม่สว่างแจ่มใส ภาวนาไปตามอาจารย์สั่งขาดๆ เกินๆ อย่างนี้แหละ
ที่เรียกว่า ขณิกสมาธิ ท่านยังไม่เรียก ฌาน เพราะอารมณ์ยังไม่เป็นฌาน ท่านจึงไม่เรียกว่า
สมาบัติ เพราะยังไม่เข้าถึงกฎที่ท่านกำหนดไว้

ฌาน


          ขอแปลคำว่าฌานสักนิด ขอคั่นเวลาสักหน่อย ประเดี๋ยวเลยไปจะยุ่ง จะไม่รู้ว่า ฌาน
แปลว่าอะไร คำว่า ฌาน นี้ แปลว่า เพ่ง หมายถึงการเพ่งอารมณ์ตามกฎแห่งการเจริญกรรมฐาน
ถึงอันดับที่ ๑ เรียกว่าปฐมฌาน คือ ฌาน ๑ ถึงอันดับที่ ๒ เรียกว่าทุติยฌาน แปลว่า ฌาน ๒
ถึงอันดับที่ ๓ เรียกว่า ตติยฌาน แปลว่าฌาน ๓ ถึงอันดับที่ ๔ เรียกว่า จตุตถฌาน แปลว่า ฌาน ๔
ถึงอันดับที่แปด คือ ได้อรูปฌานถึงฌาน ๔ ครบทั้ง ๔ อย่าง เรียกว่า ฌาน  ๘
           ถ้าจะเรียกเป็นสมาบัติก็เรียกเหมือนฌาน ฌาน ๑ ท่านก็เรียกว่า ปฐมสมาบัติ ฌานที่ ๒
ท่านก็เรียกว่า ทุติยสมาบัติ ฌาน ๓ ท่านก็เรียก ตติยสมาบัติ ฌาน ๔ ท่านก็เรียกจตุตถสมาบัติ
ฌาน ๘ ท่านเรียก อัฎฐสมาบัติ หรือสมาบัติแปดนั่นเอง

อุปจารสมาธิ

          อุปจารสมาธินี้เรียกอุปจารฌานก็เรียก เป็นสมาธิที่มีความตั้งมั่นใกล้จะถึงปฐมฌานหรือ
ปฐมสมาบัตินั่นเอง อุปจารสมาธิคุมอารมณ์สมาธิไว้ได้นานพอสมควร มีอารมณ์ใสสว่างพอใช้ได้
เป็นพื้นฐานเดิมที่จะฝึกทิพยจักษุญาณได้ อารมณ์ที่อุปจารสมาธิเข้าถึงนั้นมีอาการดังนี้
          ๑. วิตก คือความกำหนดจิตนึกคิดองค์ภาวนาหรือกำหนดรูปกสิณ จิตกำหนดอยู่ได้
ไม่คลาดเคลื่อน ในเวลานานพอสมควร
          ๒. วิจาร การใคร่ครวญในรูปกสิณนิมิต ที่จิตถือเอาเป็นนิมิตที่กำหนด มีอาการเคลื่อนไหว
หรือคงที่ มีสีสันวรรณะเป็นอย่างไร เล็กหรือใหญ่ สูงหรือต่ำ จิตกำหนดรู้ไว้ได้ ถ้าเป็นองค์ภาวนา
ภาวนาครบถ้วนไหม ผิดถูกอย่างไร กำหนดรู้เสมอ ถ้ากำหนดลมหายใจ ก็กำหนดรู้ว่า หายใจเข้า
ออกยาวหรือสั้น เบาหรือแรง รู้อยู่ตลอดเวลาอย่างนี้ เรียกว่าวิจาร
          ๓. ปีติ ความปลาบปลื้มเอิบอิ่มใจ มีจิตใจชุ่มชื่นเบิกบาน ไม่อิ่มไม่เบื่อในการเจริญภาวนา
อารมณ์ผ่องใส ปรากฏว่าเมื่อหลับตาภาวนานั้นไม่มืดเหมือนเดิม มีความสว่างปรากฏคล้ายใคร
นำแสงสว่างมาวางไว้ใกล้ๆ บางคราวก็เห็นภาพและแสงสีปรากฏเป็นครั้งคราว แต่ปรากฏอยู่ไม่นาน
ก็หายไป อาการของปีติมีห้าอย่างคือ
          ๓.๑ มีการขนลุกขนชัน ท่านเรียกว่าขนพองสยองเกล้า
          ๓.๒ มีน้ำตาไหลจากตาโดยไม่มีอะไรไปทำให้ตาระคายเคือง
          ๓.๓ ร่างกายโยกโคลง คล้ายเรือกระทบคลื่น
          ๓.๔ ร่างกายลอยขึ้นเหนือพื้นที่นั่ง บางรายลอยไปได้ไกลๆ และลอยสูงมาก
          ๓.๕ อาการกายซู่ซ่า คล้ายร่างกายโปร่ง และใหญ่โตสูงขึ้นอย่างผิดปกติ
          อาการทั้งห้าอย่างนี้ แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอาการของปีติ ข้อที่ควรสังเกตก็คือ
อารมณ์จิตชุ่มชื่นเบิกบานแม้ร่างกายจะสั่นหวั่นไหว บางรายตัวหมุนเหมือนลูกข่างแต่จิตใจก็เป็นสมาธิ
แนบแน่นไม่หวั่นไหว มีสมาธิตั้งมั่นอยู่เสมอ การกำหนดจิตเข้าสมาธิก็ง่าย คล่อง ทำเมื่อไร เข้าสมาธิได้
ทันที อาการของสมาธิเป็นอย่างนี้
          ๔. สุข ความสุขชื่นบาน เป็นความสุขที่ละเอียดอ่อน ไม่เคยปรากฏการณ์มาก่อนเลยในชีวิต
จะนั่งสมาธินานแสนนานก็ไม่รู้สึกปวดเมื่อย อาการปวดเมื่อยจะมีก็ต่อเมื่อคลายสมาธิแล้ว ส่วนจิตใจ
มีความสุขสำราญตลอดเวลา สมาธิก็ตั้งมั่นมากขึ้น อารมณ์วิตกคือการกำหนดภาวนา ก็ภาวนาได้ตลอด
เวลา การกำหนดรู้ความภาวนาว่าจะถูกต้องครบถ้วนหรือไม่เป็นต้น ก็เป็นไปด้วยดี มีธรรมปีติชุ่มชื่น
ผ่องใส ความสุขใจมีตลอดเวลา สมาธิตั้งมั่น ความสว่างทางใจปรากฏขึ้นในขณะหลับตาภาวนา อาการ
ตามที่กล่าวมาทั้งหมดนี้แหละ ที่เรียกว่า อุปจารสมาธิ หรือเรียกว่า อุปจารฌาน คือเฉียดๆ จะถึง
ปฐมฌานอยู่แล้ว ห่างปฐมฌานเพียงเส้นยาแดงผ่า ๓๒ เท่านั้นเอง ตอนนี้ท่านยังไม่เรียกฌานโดยตรง
เพราะอารมณ์ยังไม่ครบองค์ฌาน ท่านจึงยังไม่ยอมเรียกว่าสมาบัติ เพราะยังไม่ถึงฌาน

ปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัติ

          ปฐมฌาน หรือปฐมสมาบัตินี้ ท่านกำหนดองค์ของปฐมฌาน หรือปฐมสมาบัติไว้ ๕ อย่าง
ดังต่อไปนี้
          ๑. วิตก จิตกำหนดนึกคิด โดยกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ว่าหายใจเข้าหรือออก ถ้าใช้คำ
ภาวนา ก็รู้ว่าเราภาวนาอยู่ คือภาวนาไว้มิให้ขาดสาย ถ้าเพ่งกสิณ ก็กำหนดจับภาพกสิณอยู่ตลอดเวลา
อย่างนี้เรียกว่าวิตก
           ๒. วิจาร ถ้ากำหนดลมหายใจ ก็ใคร่ครวญกำหนดรู้ไว้เสมอว่า เราหายใจเข้าหรือหายใจออก
หายใจเข้าออกยาวหรือสั้น หายใจเบาหรือแรง ในวิสุทธิมรรคท่านให้รู้กำหนดลมสามฐานคือ หายใจเข้า
ลมกระทบจมูก กระทบอก กระทบศูนย์เหนือสะดือนิดหน่อย หายใจออกลมกระทบศูนย์ กระทบอก
กระทบจมูกหรือริมฝีปาก
           ถ้าภาวนา ก็กำหนดรู้ไว้เสมอว่า เราภาวนาถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ประการใด
           ถ้าเพ่งภาพกสิณ ก็กำหนดหมายภาพกสิณว่า เราเพ่งกสิณอะไร มีสีสันวรรณะเป็นอย่างไร
ภาพกสิณเคลื่อนหรือคงสภาพ สีของกสิณเปลี่ยนแปลงไปหรือคงเดิม ภาพที่เห็นอยู่นั้นเป็นภาพกสิณ
ที่เราต้องการ หรือภาพหลอนสอดแทรกเข้ามา ภาพกสิณเล็กหรือใหญ่ สูงหรือต่ำ ดังนี้เป็นต้น อย่างนี้
เรียกว่า วิจาร
          ๓. ปีติ ความชุ่มชื่นเบิกบานใจ มีเป็นปกติ
          ๔. ความสุขเยือกเย็น เป็นความสุขทางกายอย่างประณีต ซึ่งไม่เคยมีมาในกาลก่อน
          ๕. เอกัคคตารมณ์ มีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ ตั้งมั่นอยู่ในองค์ทั้ง ๔ ประการนั้นไม่คลาดเคลื่อน
          ข้อที่ควรสังเกตก็คือ ปฐมฌานหรือปฐมสมาบัตินี้ เมื่อขณะทรงสมาธิอยู่นั้นหูยังได้ยินเสียง
ภายนอกทุกอย่าง แต่ว่าอารมณ์ภาวนาหรือรักษาอารมณ์ไม่คลาดเคลื่อน ไม่รำคาญในเสียง เสียงก็ได้ยิน
แต่จิตก็ทำงานเป็นปกติ อย่างนี้ท่านเรียกว่า ปฐมฌาน คือ อารมณ์เพ่งอยู่ โดยไม่รำคาญในเสียง
ทรงความเป็นหนึ่งไว้ได้ ท่านกล่าวว่า กายกับจิตเริ่มแยกตัวกันเล็กน้อยแล้ว ตามปกติจิตย่อมสนใจ
ในเรื่องของกาย  เช่นหูได้ยินเสียง จิตก็คิดอะไรไม่ออกเพราะรำคาญในเสียง แต่พอจิตเข้าระดับ
ปฐมฌาน กลับเฉยเมยต่อเสียง คิดคำนึงถึงอารมณ์กรรมฐานได้เป็นปกติ ที่ท่านเรียกว่าปฐมสมาบัติ
ก็เพราะอารมณ์สมาธิเข้าถึงเกณฑ์ของปฐมฌาน ที่จิตกับกายเริ่มแยกทางกันบ้างเล็กน้อยแล้วนั่นเอง

อารมณ์ปฐมฌาน และปฐมสมาบัติ

          เพื่อให้จำง่ายเข้า จะขอนำอารมณ์ปฐมฌานมากล่าวโดยย่อเพื่อทราบไว้ อารมณ์ปฐมฌาน
โดยย่อมีดังนี้
          ๑. วิตก ความตรึกนึกคิดถึงอารมณ์ภาวนา
          ๒. วิจาร ความใคร่ครวญทบทวนถึงองค์ภาวนานั้นๆ ครบถ้วนถูกต้องหรือไม่เพียงใด
          ๓. ปีติ ความเอิบอิ่มใจ มีความชุ่มชื่นเบิกบานหรรษา
          ๔. สุข มีความสุขสันต์ทางกายและจิตใจอย่างไม่เคยมีมาในกาลก่อน เป็นความสุขอย่าง
ประณีต
          ๕. เอกัคคตา มีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ ทรงวิตก วิจาร ปีติ สุข ไว้ได้โดยไม่มีอารมณ์อื่นเข้ามา
แทรกแซง
          องค์ปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัติ ๕ อย่างที่กล่าวมาแล้วนี้ ต้องปรากฏพร้อมๆ กันไป คือนึก
คิดถึงองค์ภาวนา ใคร่ครวญในองค์ภาวนานั้น ๆ ว่าครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ประการใด มีความชุ่มชื่น
เบิกบานใจ มีอารมณ์ผ่องใสสว่างไสวในขณะภาวนา มีความสุขสันต์หรรษา มีอารมณ์จับอยู่ในองค์ -
ภาวนา ไม่สนใจต่ออารมณ์ภายนอก แม้แต่เสียงที่ได้ยินสอดแทรกเข้ามาทำให้ได้ยินชัดเจน แต่จิตใจ
ก็ไม่หวั่นไหว ไปตามเสียงนั้น จิตใจคงมั่นคงอยู่กับอารมณ์ภาวนาเป็นปกติ

เสี้ยนหนามของปฐมฌาน


          เสี้ยนหนามหรือศัตรูตัวสำคัญของปฐมฌาน หรือ ปฐมสมาบัตินี้ ก็ได้แก่เสียง เสียงเป็นศัตรู
ที่คอยทำลายอารมณ์ปฐมฌาน ถ้านักปฏิบัติทรงสมาธิอยู่ได้ โดยไม่ต้องระแวงหวั่นไหวในเสียง คือ
ไม่รำคาญเสียงที่รบกวนได้ก็แสดงว่าท่านเข้าถึงปฐมฌานแล้ว ข้อที่ไม่ควรลืมก็คือ ฌานโลกีย์นี้
เป็นฌานระดับต่ำ เป็นฌานที่ปุถุชนคนธรรมดาสามารถจะทำให้ได้ถึงทุกคน เป็นฌานที่เสื่อมโทรมง่าย
หากจิตใจของท่านไปมั่วสุมกับนิวรณ์ห้าประการอย่างใดอย่างหนึ่งเข้า แม้แต่อย่างเดียว ฌานของท่าน
ก็จะเสื่อมทันที ต่อว่าเมื่อไร ท่านขับไล่นิวรณ์ไม่ให้เข้ามารบกวนจิตใจได้ ฌานก็เกิดขึ้นแก่จิตใจของ
ท่านต่อไป ฌานจะเสื่อม หรือ เจริญก็อยู่ที่นิวรณ์ ด้านนิวรณ์ไม่ปรากฏ จิตว่างจากนิวรณ์ จิตก็เข้าถึงฌาน
ถ้านิวรณ์มารบกวนจิตได้ ฌานก็จะสลายตัวไป ฌานตั้งแต่ฌานที่ ๑ ถึง ฌานที่ ๘ มีสภาพเช่นเดียวกัน
คือต้องระมัดระวังนิวรณ์ไม่ให้เข้ามายุ่งแทรกแซงเหมือนกัน ก่อนที่จะพูดถึงฌานที่ ๒ จะขอนำเอานิวรณ์
ศัตรูร้ายผู้คอยทำลายฌานมาให้ท่านรู้จักหน้าตาไว้เสียก่อน
 
นิวรณ์ ๕

          อกุศลธรรมที่คอยทำลายล้างความดีที่เป็นกุศล คือ ฌาน ท่านเรียกว่า นิวรณ์ มี ๕ อย่าง คือ
          ๑. กามฉันทะ ความพอใจใน รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส  อันเป็นวิสัยของกามารมณ์
          ๒. พยาบาท ความผูกโกรธ จองล้างจองผลาญ
          ๓. ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน ในขณะเจริญสมณธรรม
          ๔.อุทธัจจกุกกุจจะ ความคิดฟุ้งซ่าน และความรำคาญหงุดหงิดใจ
          ๕.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในผลของการปฏิบัติ ไม่แน่ใจว่าจะมีผลจริงตามที่คิดไว้หรือไม่
เพียงใด
          อารมณ์ทั้ง ๕ ประการนี้ เป็นเพื่อนสนิทกับจิตใจมานับจำนวนปีไม่ถ้วน ควรจะพูดว่าจิตใจ
ของเราคบกับนิวรณ์มานานหลายร้อยหลายพันชาติ เมื่อจิตใจเราสนิทสนมกับอารมณ์ของนิวรณ์
มานานอย่างนี้ เป็นธรรมดาอยู่เองที่จิตใจจะต้องอดคบหาสมาคมกับนิวรณ์ไม่ได้ เมื่อเรามาแนะนำ
ให้คบหาสมาคมกับฌาน ซึ่งเป็นเพื่อนหน้าใหม่ มีนิสัยตรงข้ามกับเพื่อนเก่าก็เป็นการฝืนอารมณ์
อยู่ไม่น้อย ฉะนั้น ในฐานะที่นิวรณ์กับจิตเป็นเพื่อนสนิทกันมานาน ก็อดที่จะแอบไปคบหาสมาคม
กันไม่ได้ อารมณ์ที่จะคอยหักล้างนิวรณ์ คืออกุศลห้าประการนี้ได้ ก็อารมณ์ ๕ ประการของปฐมฌาน
นั่นเอง เมื่อจิตกับนิวรณ์เป็นมิตรสนิทกันมานาน ฉะนั้น การดำรงจิตอยู่ในอารมณ์ฌานจึงทรงอยู่ได้
ไม่นาน ทรงอยู่ได้ชั่วครู่ชั่วขณะ จิตก็เลื่อนเคลื่อนออกจากอารมณ์ฌานคลานเข้าไปหานิวรณ์ อาการ
อย่างนี้เป็นกฎธรรมดาของท่านที่เข้าถึงฌานในระยะต้น หรือที่มีความช่ำชองชำนาญในฌานยังน้อยอยู่
ต่อเมื่อไรได้ฝึกการดำรงฌาน กำหนดเวลาตามความต้องการได้แล้ว เมื่อนั้นแหละความเข้มข้น
เข้มแข็งของกำลังจิตที่จะทรงฌานอยู่ได้นานตามความต้องการจึงจะปรากฏมีขึ้น ขอนักปฏิบัติจงเข้าใจ
ไว้ด้วยว่าจิตที่เข้าสู่ระดับฌาน คือ ปฐมฌาน หรือฌานอื่นใดก็ตาม ถ้ายังไม่ฝึกฝนจนชำนาญ เข้าฌาน
ออกฌานตามกำหนดเวลาได้แล้ว จิตก็จะยังทรงสมาธิไว้ได้ไม่นาน จิตจะค่อยถอยหลังเข้าหานิวรณ์ ๕
ประการอย่างใดอย่างหนึ่งเมื่ออารมณ์ฌานย่อหย่อน เมื่อมีอาการอย่างนั้นบังเกิดขึ้นก็จงอย่าท้อใจ
หมั่นฝึกฝนเข้าฌานโดยการกำหนดเวลาว่า ต่อแต่นี้ไปเราจะดำรงอยู่ในฌาน ตั้งแต่เวลานี้ถึงเวลา
เท่านั้น แล้วเริ่มทำสมาธิเข้าสู่ระดับฌาน ทรงฌานไว้ตามเวลา จนกว่าเมื่อถึงเวลาแล้วจิตจะเคลื่อน
จากฌาน มีความรู้สึกตามปกติเอง เมื่อทำได้แล้วหัดทำบ่อย ๆ จากเวลาน้อย ไปหาเวลามาก คือ
๑ ชั่วโมง ไปหา ๒-๓-๔-๕-๖ จนถึง ๑ วัน ๒-๓-๔-๕-๖-๗ พอครบกำหนด จิตก็จะคลายตัวออกเอง
โดยไม่ต้องตั้งนาฬิกาปลุกหรือคนเรียก เมื่อชำนาญอย่างนี้ ชื่อว่าท่านเอาชนะนิวรณ์ได้ แต่ก็อย่าประมาท
เพราะฌานโลกีย์ ถึงอย่างไรก็ดี ยังไม่พ้นอำนาจนิวรณ์อยู่นั่นเอง นิวรณ์ที่ไม่มารบกวนนั้น
ไม่ใช่นิวรณ์สูญไปหรือสลายตัวเพียงแต่เพลียไปเท่านั้นเอง ต่อเมื่อไรท่านได้โลกุตตรฌาน คือ บรรลุ
พระอริยะตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปนั่นแหละท่านพอจะไว้ใจตัวได้ว่า ท่านไม่มีวันที่จะต้องตกมาอยู่
ใต้อำนาจนิวรณ์ คืออกุศลธรรมต่อไปอีก เพราะโลกุตตรฌานคือได้ฌานโลกีย์แล้วเจริญวิปัสสนาญาณ
จนบรรลุอริยมรรคอริยผล เป็นพระอริยบุคคลแล้ว อกุศลคือนิวรณ์ ๕ ประการเข้าครองจิตไม่ได้สนิทนัก
สำหรับพระอริยะต้น พอจะกวนบ้างเล็กๆ น้อยๆ แต่ก็จักจูงใจให้ทำตามนิวรณ์สั่งไม่ได้ นิวรณ์บางอย่าง
เช่น กามฉันทะ ความพอใจในความสวยงามของ รูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส ความโกรธ ความขัด -
เคือง พระโสดาบัน พระสกิทาคามียังมี แต่ก็มีเพียงคิดนึกไม่ถึงกับลงมือทำ เรียกว่าอกุศลกวนใจนิด -
หน่อย พอทำได้ แต่จะบังคับให้ทำไม่ได้ สำหรับพระอนาคามี ยังตกอยู่ใต้อำนาจของอุทธัจจะ คือความคิด
ฟุ้งซ่าน แต่ก็คิดไปในส่วนที่เป็นกุศลใหญ่มากกว่า ความคิดฟุ้งเลอะเลือนเล็กๆ น้อย ๆ พอมีบ้าง
แต่ไม่มีอะไรเป็นภัย เพราะพระอนาคามีหมดความโกรธ ความพยาบาทเสียแล้ว
          อำนาจของนิวรณ์มีอย่างนี้ บอกให้รู้ไว้ จะได้คอยยับยั้งชั่งใจคอยระมัดระวังไว้ไม่ปล่อยให้ใจ
ระเริงหลงไปกับนิวรณ์ ที่ชวนให้จิตมีความรู้สึกนึกคิดไปในส่วนที่เป็นอกุศลยับยั้งตนไว้ในอารมณ์ของ
ฌานเป็นปกติ ท่านที่มีอารมณ์จิตเข้าถึงอารมณ์ฌานและเข้าฌานไว้เป็นปกติ ท่านผู้นั้นมีหน้าตาแช่มชื่น
เอิบอิ่มอยู่เสมอ มีอารมณ์เบิกบานไม่หดหู่ เห็นน่ารักอยู่ตลอดเวลา ฌานแม้แต่เพียงปฐมฌานจัดว่า
เป็นฌานเบื้องต้น ก็มีผลไม่น้อยถ้าทรงไว้ได้ไม่ปล่อยให้เสื่อม ตายไปในขณะที่ทรงฌาน ก็สามารถ
ไปเกิดในพรหมโลกได้สามชั้น คือ ปฐมฌานหยาบ เกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๑ ปฐมฌานกลาง เกิดเป็น
พรหมชั้นที่ ๒ ปฐมฌานละเอียด เกิดเป็นพรหมชั้นที่ ๓ ถ้าท่านเอาสมาธิในปฐมฌานมาเป็นกำลังของ
วิปัสสนาญาณแล้วอำนาจสมาธิของปฐมฌานก็สามารถเป็นกำลังให้วิปัสสนาญาณกำจัดกิเลสเป็น
สมุจเฉทปหาน คือตัดกิเลสได้เด็ดขาด จนบรรลุอรหัตตผลได้สมความปรารถนา อำนาจฌานแม้แต่
ฌานที่ ๑ มีอานุภาพมากอย่างนี้ ขอท่านนักปฏิบัติจงอย่าท้อใจ ระมัดระวังใจ อย่าหลงใหลในนิวรณ์
จนเสียผลฌาน

ทุติยฌานหรือทุติยสมาบัติ


          ทุติยฌาน แปลว่าฌานที่ ๒ ทุติยสมาบัติ แปลว่าสมาบัติที่ ๒ ฌานและสมาบัติ ได้อธิบาย
มาแล้วแต่ฌานต้นคือ ปฐมฌาน จะไม่อธิบายอีก ปฐมฌานมีอารมณ์ ๕ ตามที่กล่าวมาแล้วใน
ฌานที่ ๑ สำหรับทุติยฌานนี้ มีอารมณ์ ๓
          อารมณ์ ๓ ของทุติยฌานมีดังต่อไปนี้

อารมณ์ทุติยฌานมี ๓
          ๑. ปีติ ความเอิบอิ่มใจ
          ๒. สุข ความสุขอย่างประณีต
          ๓. เอกัคคตา มีอารมณ์เป็นหนึ่ง
          อารมณ์ทุติยฌานนี้ ก็ตัดเอามาจากอารมณ์ปฐมฌานนั่นเอง ท่านที่ทรงสมาธิเข้าถึง
ทุติยฌานนี้ ท่านตัดวิตก วิจารอันเป็นอารมณ์ของปฐมฌานเสียได้ คงเหลือแต่ ปีติ สุข เอกัคคตา
อาการตัดวิตก วิจารนั้นมีความรู้สึกอย่างไรในเวลาปฏิบัติจริง ข้อนี้นักปฏิบัติสนใจกันมากเป็นพิเศษ 
เพราะเพียงอ่านรู้แล้วยังหาความเข้าใจจริงไม่ได้ การตัดก็มิใช่จะตัดออกไปเฉยๆ ได้ตามอารมณ์ 
วิตกแปลว่าตรึก นึกคิด วิจาร แปลว่า ไตร่ตรอง ใคร่ครวญ ท่านลองพิจารณาดูเถิดว่า วิตกวิจารนี้
เป็นอารมณ์ที่ตัดไม่ได้ง่ายเลย ใคร ๆ ที่ไหนจะมาห้ามความรู้สึกนึกคิดกันง่าย ๆ ได้  เคยฟังท่านสอน
เวลาเรียน ท่านสอนว่าให้ตัดวิตกวิจารออกเสียได้แล้ว ทรงอยู่ในปีติ สุข เอกัคคตา เท่านี้ก็ได้ทุติยฌาน
ท่านพูดของท่านถูก ฟังก็ไม่ยาก แต่ตอนทำเข้าจริง ๆ พอมาเจอตัวตัดวิตก วิจารเข้าจริง ๆ กลับไม่
เข้าใจ จะพูดให้ฟังถึงการตัดวิตกวิจาร

ตัดวิตกวิจารตามผลปฏิบัติ
 
          ตามผลปฏิบัตินั้น วิตกวิจารที่ถูกตัด มิได้ตัดด้วยการยกเว้น คืองดการนึกคิดเอาเอง เฉย ๆ
ท่านตัดด้วยการปฏิบัติเข้าถึงระดับ คือ ในระยะแรกก็เจริญภาวนาคาถา ภาวนาตามท่านอาจารย์สอน
จะภาวนาว่าอย่างไรก็ได้ ท่านไม่ได้จำกัดไว้ คาถาภาวนาเป็นสายเชือกโยงใจเท่านั้น ให้ใจมีหลักเกาะไว้
ไม่ให้สอดส่ายไปในอารมณ์นอกจากคำภาวนา อย่างนี้ท่านเรียกว่า "บริกรรมภาวนา" ขณะที่ภาวนาอยู่
จิตคิดถึงคำภาวนานั้น ท่านเรียกว่า " วิตก" จิตที่คอยประคับประคองคำภาวนา คิดตามว่า เราภาวนา
ถูกตามอาจารย์สอนหรือไม่ ครบถ้วนหรือไม่ อย่างนี้ท่านเรียกว่า " วิจาร " การตัดวิตกวิจาร ก็ภาวนา
ไปอย่างนั้น จนเกิดปีติ สุขและเอกัคคตา คือมีอารมณ์คงที่ จิตไม่สนใจกับอารมณ์ภายนอก รักษาอารมณ์
ภาวนา และอาการเอิบอิ่ม สุขสันต์อยู่ตลอดเวลา ลมหายใจชักจะอ่อนลงทุกที รู้สึกว่าหายใจเบา อารมณ์-
จิตโปร่งแจ่มใส หลับตาแล้ว แต่คล้ายกับมีใครเอาประทีปมาวางไว้ใกล้ ๆ ในระยะนี้เอง จิตจะหยุดภาวนา
เอาเฉยๆ มีอารมณ์นิ่งดิ่งสบายกว่าขณะที่ภาวนามาก รู้สึกว่าลมหายใจอ่อนระรวยลง หูได้ยินเสียงภาย-
นอกแต่เบาลงกว่าเดิม จิตไม่สนใจกับอะไร มีอารมณ์เงียบสงัดดิ่งอยู่ บางรายพอรู้สึกตัวว่าหยุดภาวนา
ก็ตกใจ รีบคิดถึงคำภาวนา บางรายก็คว้าต้นชนปลายไม่ถูก คำภาวนาภาวนามาจนคล่อง กลับคิดไม่ออก
ว่าอะไรเป็นต้นเป็นปลาย กึกกักอึกอักอยู่ครู่หนึ่ง จึงจับต้นชนปลายถูก อาการที่จิตสงัดปล่อยคำภาวนา 
มีอารมณ์เฉยไม่ภาวนานั่นแหละ เป็นการละวิตกวิจาร ละด้วยอารมณ์เข้าถึงสมาธิอันดับฌาน  ๒
ไม่ใช่อยู่ ๆ ก็จะมาหยุดภาวนาไปนั้น ตอนนั้นจิตตกอารมณ์ทุติยฌาน เข้าสู่อารมณ์ปฐมฌานตามเดิม
บางรายก็เข้าสู่ภวังค์คืออารมณ์ปกติธรรมดาเอาเลย
          พูดมาอย่างนี้  คิดว่าท่านผู้อ่านคงจะเข้าใจแล้วว่า การละหรือตัดวิตกวิจารนั้น ก็การที่ภาวนาไป
จนมีอารมณ์สงัด จิตปล่อยคำภาวนานั่นเอง  เมื่อจิตปล่อยคำภาวนาแล้ว ก็เหลือแต่ความชุ่มชื่นหรรษา
มีความสุขสันต์ทางกายอย่างประณีต มีอารมณ์ใจดิ่งอยู่อย่างไม่สนใจกับอารมณ์ใด หูเกือบจะไม่ได้ยิน
เสียงอะไร เป็นอารมณ์จิตที่มีความสุขสบายยอดเยี่ยมกว่าฌานที่ ๑ มาก เพราะฌานที่ ๑ ยังต้องมีกังวล
อยู่กับการภาวนาและต้องระมัดระวังบทภาวนาให้ถูกต้องครบถ้วน จัดว่ามีกังวลมาก สำหรับทุติยฌานนี้
ตัดคำภาวนาออกเสียได้ด้วยการเข้าถึงอารมณ์ที่ละเอียดกว่า มีแต่ความชุ่มชื่นหรรษาด้วยอำนาจปีติ
มีความสุขละเอียดอ่อนประณีต เพราะสู่ความสุขอันประณีตด้วยอำนาจสมาธิที่ตั้งมั่นกว่าปฐมฌาน
จิตเป็นหนึ่ง คือมีอารมณ์สงัดจากอารมณ์ภายนอก แม้แต่คำภาวนาก็ไม่แยแส นี่แหละที่ท่านเรียกว่า
ได้ทุติยฌาน หรือทุติยสมาบัติ เมื่อได้แล้วต้องฝึกฝนให้คล่องว่องไว คิดจะเข้าทุติยฌานเมื่อไร ก็เข้าได้
ทันท่วงที หรือจะทรงทุติยฌานอยู่นานเท่าใด ก็กำหนดเวลาได้ตามความประสงค์ อย่างนี้จึงจะชื่อว่า
ได้ทุติยฌานแน่นอน แต่ทว่าเมื่อได้แล้วก็อย่าประมาท ถ้าพลั้งพลาดปล่อยให้อกุศลมารบกวนใจ หรือ
จิตใจไปใคร่ในอกุศลเข้าเมื่อไร ทุติยฌานก็ทุติยฌานนั่นแหละ เป็นเสื่อมทรามลงทันที ฉะนั้นท่านจึงว่า
ฌานโลกีย์นี้ระมัดระวังยาก ต้องคอยประคับประคองประคบประหงมยิ่งกว่าเด็กอ่อนนอนเบาะเสียอีก
28277  พระไตรปิฏก / พระธรรมตามพระไตรปิฏก / พระไตรปิฎก มีหลายเวอร์ชั่น ครับ เมื่อ: ธันวาคม 17, 2009, 09:06:55 pm
พระไตรปิฎก มีหลายเวอร์ชั่น ครับ  แหล่งที่จัดทำมีอยู่ ๒ สถาบัน คือ


- มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (วัดบวรนิเวศฯ บางลำภู) และ

- มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (วัดมหาธาตุฯ ท่าพระจันทร์)


เวอร์ชั่นที่เป็นมาตรฐาน และได้รับความนิยมมากที่สุด คือ

ฉบับสยามรัฐ 45 เล่ม ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ติดต่อได้ที่

E-mail : books@mahamakuta.inet.co.th
มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
241 ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
โทร. (66) 02-6291417 ต่อ 106 , 2811085  Fax. (66) 02-6294015



แต่ถ้าจะซื้อมาอ่านเองขอแนะนำ
 
พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน(๑ เล่ม) ของ อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ  สุดยอดครับ

ลองไปดูที่  พระไตรปิฏกฉบับประชาชน
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/
รับประกันความผิดหวัง
28278  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: พระพุทธเจ้าในอนาคตกาล ๑๐ พระองค์ เมื่อ: ธันวาคม 17, 2009, 01:12:03 pm
อานิสงส์กถา

พระบรมโพธิสัตว์ อันจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาลเบื้องหน้า ๑๐ พระองค์นั้น
- ที่ ๑ คือพระศรีอาริยเมตไตรย์ พระองค์มีพระชนม์ชีพได้ ๘ หมื่นปี พระสรีระกายสูงได้ ๘๘ ศอก มีไม้กากะทิงเป็นพระมหาโพธิในภัทรกัปป์นี้ฯ
- ที่ ๒ คือพระรามเจ้า พระองค์มีพระชนม์ได้ ๙ หมื่นปี พระสรีรกายสูงได้ ๘๐ ศอก มีไม้จันทร์แดงเป็นพระศรีมหาโพธิ ในมัณฑกัปป์ฯ
- ที่ ๓ คือพระเจ้าปเสนธิโกศล จะได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระธรรมราชา พระองค์มีพระชนม์ได้ ๕ หมื่นปี พระสรีรกายสูงได้ ๑๖ ศอก มีไม้กากะทิงเป็นพระศรีมหาโพธิ ในมัณฑกัปป์ฯ
- ที่ ๔ คือพระยามาราธิราช จะได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระธรรมสามี พระองค์มีพระชนม์ได้ ๑๐ หมื่นปี มีพระสรีระกายสูงได้ ๘๐ ศอก มีไม้รังเป็นพระศรีมหาโพธิ ในสารกัปป์ฯ
- ที่ ๕ คือพระยาอสุรินทราหู จะได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระนารทะ พระองค์มีพระชนม์ได้หมื่นปี มีพระสรีรกายสูงได้ ๒๐ ศอก มีไม้จันทร์เป็นพระศรีมหาโพธิ ในมัณฑกัปป์ฯ
- ที่ ๖ คือโสณพราหมณ์ จะได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระรังสีมุนี พระองค์มีพระชนม์ได้ ๕ พันปี มีพระสรีรกายสูงได้ ๖๐ ศอก มีไม้ดีปลีก็ว่า ไม้เลียบก็ว่าเป็นพระศรีมหาโพธิ ในมัณฑกัปป์ฯ
-ที่ ๗ คือสุภพราหมณ์ จะได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระเทวเทพ พระองค์มีพระชนม์ได้ ๘ หมื่นปี มีพระสรีรกายสูงได้ ๘๐ ศอก มีไม้จำปาเป็นพระศรีมหาโพธิ ในมัณฑกัปป์ฯ
- ที่ ๘ คือโตไทยพราหมณ์ จะได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระนรสีหะ พระองค์มีพระชนม์ได้ ๘๐ ปี มีพระสรีรกายสุงได้ ๖๐ ศอก มีไม้แคฝอยเป็นพระศรีมหาโพธิ ในมัณฑกัปป์ฯ
- ที่ ๙ คือช้างนาฬาคีรี จะได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระติสสะ พระองค์มีพระชนม์ได้ ๘ หมื่นปี มีพระสรีรกายสูงได้ ๘๐ ศอก มีไม้ไทรเป็นพระศรีมหาโพธิ ในมัณฑกัปป์ฯ
- ที่ ๑๐ คือช้างปาลิไลย จะได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระสุมงคล พระองค์มีพระชนม์ได้ ๑๐ หมื่นปี มีพระสรีรกายสูงได้ ๖๐ ศอก มีไม้กากะทิงเป็นพระศรีมหาโพธิ ในมัณฑกัปป์ฯ
รวม ๑๐ พระองค์

นมัสการพระพุทธเจ้าทั้ง ๑๐ พระองค์ว่าดังนี้ฯ
เมตฺเตยฺยา เมตฺเตยฺโย นาม ราโม จ รามสมฺพุทฺโธ
โกสโล ธมฺมราชา จ มารมาโร ธมฺมสานมี
ทีฆชงฺฆี จ นารโท โสโณ รํสิมุนี ตถา
สุภูเต เทวเทโว โตเทยฺโย นรสีหโก
ติสฺโม นาม ธนปาโล ปาลิเลยฺโย สุมงฺคโล
เอเต ทส พุทฺธา นาม ภวิสฺสนฺติ อนาคเต
กปฺปสตสหสฺสานิ ทุคฺคตึ โส น คจฺฉติฯ

นมัสการพระศรีมหาโพธิทั้ง ๑๐ ต้นว่าดังนี้ฯ
เมตฺเตยฺโย นาครุกฺโข จ ไม้กากะทิงฯ
รามพุทโธปิ จนฺทนํ ไม้จันทร์หอมฯ
ธมฺมราชา นาครุกฺโข ไม้กากะทิงฯ
ธมฺมสามี สาลรุกฺโข ไม้รังใหญ่ฯ
นารโท จนฺทนรุกฺโข จ ไม้จันทร์ฯ
รํสิมุนิ จ ปิปฺผลิ ไม้เลียบฯ
เทวเทโว จมฺปโก จ ไม้จำปาฯ
นรสีโห จ ปาตลี ไม้แคฝอยฯ
ติสฺสมฺพุทฺโธ นิโครฺโธ ไม้ไทรฯ
นาครุกฺโข สุมงฺคโล ไม้กากะทิงฯ
เอเต ทส โพธิรุกฺขา ภวิสฺสนฺติ อนาคเต
อิเม ทส จ สมฺพุทฺเธ โย นโรปิ นมสฺสติ
กปฺปสตสหสฺสานิ นิรยํ โส น คจฺฉติฯ

ผู้ใดเจริญได้เป็นนิตย์ปิดอบายภูมิ และคงจะได้ประสพพบพระพุทธองค์เจ้าองค์ใดองค์หนึ่งเป็นเที่ยงแท้ อย่าสนเท่ห์เลยท่านทั้งหลายฯ

เอวัง ก็มี ด้วยประการฉะนี้ฯ
__________________


ที่มา........ http://www.84000.org/anakot/index.html
เครดิตโดย......เว็บพลังจิต โดยคุณWisdom
28279  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: พระพุทธเจ้าในอนาคตกาล ๑๐ พระองค์ เมื่อ: ธันวาคม 17, 2009, 01:11:05 pm
ครั้งนั้นสมเด็จพระผู้ทรงพระภาคเจ้า จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดีแก้ว เราหรือมีนามชื่อว่าพระศาสดาจารย์ คฤหบดีจึงถามอีกว่าฯ ดูก่อนมาณพผู้เจริญท่านมีนามชื่อว่าศาสดาจารย์ด้วยเหตุเป็นดังฤาฯ จึงทรงพระมหากรุณาตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดีแก้ว เราชื่อพระศาสดาจารย์นั้นเพราะเหตุประกอบไปด้วยอาจริยคุณ ๓๑ ประการฯ คฤหบดีจึงถามว่า คุณ ๓๑ ประการแห่งท่านปรากฏเป็นประการใด จึงได้ชื่อว่าอาจริยคุณฯ สมเด็จพระกุกกุสนธเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดีแก้ว คุณเป็นอาทิคือ อิติปิ โส ภควา นี่แหละเป็นคุณแห่งเรา ปรากฏกิตติศัพท์ไปทั่วโลก จึงมีนามว่า พระศาสดา จริยคุณทั้ง ๓๑ ประการฯ เมื่อคฤหบดีแก้วได้สดับพระพุทธวจนะดังนั้น จึงจารึกเอาพระ อิติปิ โส ภควา เป็นอาทิ ลงไว้ในแผ่นทองเป็นตัวอักษรเสร็จแล้ว จึงถามพระผู้ทรงพระภาคเจ้าว่า ดูก่อนมาณพผู้เจริญ ท่านรู้คุณวิเศษมีประมาณเท่านี้แลหรือ หรือว่าคุณวิเศษอย่างอื่นยังมีอยู่เป็นประการใดฯ จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่าดูก่อนคฤหบดีแก้ว อันว่าคุณวิเศษอย่างอื่นแห่งเรามีอยู่เป็นอันมากฯ คฤหบดีแก้วก็ให้พระกุกกุสันธเจ้าแสดงต่อไปฯ สมเด็จพระพุทธเจ้าจึงตรัสพระสัทธรรมเทศนา ทรงแสดงซึ่งคุณในกายคตาสติกัมมัฏฐาน บอกอาการ ๓๒ มี เกศา โลมา เป็นอาทิ ให้แก่คฤหบดีแก้ว คฤหบดีแก้วก็จารึกพระรูปพระโฉมของสมเด็จพระกุกกุสนธเจ้าอันงาม พร้อมด้วยทวัตติงสมหาบุรุษลักษณะเป็นอันดีลงในแผ่นทอง แล้วจึงกำหนดพระองค์สูงประมาณ ๖๐ ศอก ลงในแผ่นทองทั้ง ๒ เสร็จแล้ว คฤหบดีแก้วก็เหาะนิวัตตนากลับมายังสำนักสมเด็จพระบรมจักรมหาปนาทถวายซึ่ง แผ่นพระสุวรรณบัตร ให้ทอดพระเนตรพระรูปพระโฉมของสมเด็จพระกุกกุสนธเจ้า กับทั้งตัวอักษรที่จารึกพระพุทธคุณมานั้นฯ


ฝ่ายสมเด็จพระบรมจักรมหาปนาททอดพระเนตรพระอักษร ซึ่งจารึกพระพุทธคุณในแผ่นพระสุวรรณบัตรนั้นฯ ทรงอ่านแล้วก็มิได้ทรงรู้จักว่าเป้นพระพุทธคุณจึงตรัสถามพราหมณ์ปุโรหิตว่า ดูก่อนท่านอาจารย์ อันว่าอักษรที่คฤหบดีจารึกมานั้น จะเป็นพระพุทธคุณจริงแลหรือประการใด ฝ่ายว่าพราหมณ์ปุรหิตนั้น เป็นผู้ทรงคุณวิชชาไสยศาสตร์ จึงกราบทูลว่า มหาราชข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐอันว่าอักษรนี้เป็นคุณอันวิเศษแน่แล้ว เป็นยอดคุณทั้งปวงสิ้น ก็คุณวิเศษอย่างอื่นๆนั้นจะได้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้หาบ่มิได้ อักษรนี้เป็นพระพุทธคุณเที่ยงแล้ว สมเด็จพระบรมจักรมหาปนาทำด้ทรงฟังพราหมณ์ปุโรหิตกราบทูลดังนั้น ก็ทรงพระโสมนัส ปิติ ปลาบปลื้มพระทัย สลบลงกับที่ฯ ครั้นพระองค์ฟื้นสมประดีแล้ว ตรัสถามพราหมณ์ปุโรหิตว่า ดูก่อนท่านอาจารย์ เราได้ฟังว่า คุณวิเศษนี้เป็นพระพุทธคุณจริงดังนั้นหรือประการใด ปุโรหิตก็กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ อันว่าคุณวิเศษนี้ พระองค์อย่าได้สงสัยในพระกมลหฤทัยเลย เป็นพระพุทธคุณของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเที่ยงแท้แล้ว ครั้นได้ทรงสดับฟังพราหมณ์ปุโรหิตกราบทูลซ้ำอีกดังนั้น พระองค์ทรงปิติ ปลื้มพระทัย สลบลงอีกครั้งหนึ่งเป็นคำรบ ๒ แล้วพระองค์ก็ฟื้นขึ้น จึงตรัสถามปุโรหิตอีกว่ารูปภาพที่คฤหบดีแก้ววาดเขียนมานี้ เป็นอย่างพระพุทธรูปจริงหรือประการใด ปุโรหิตก็กราบทูลว่าพระรูปพระโฉมที่คฤหบดีแก้ววาดเขียนมานี้ คือ พระรูปพระโฉมของสมเด็จพระพุทธเจ้าเที่ยงแท้ พระองค์อย่าได้สงสัยเลยฯ สมเด็จพระบรมจักรมหาปนาทได้ทรงฟังว่าเป็นพระพุทธรูปของสมเด็จพระพุทธเจ้า จริงแน่ ก็สลบสิ้นสติสมปฤดีไปอีกครั้งหนึ่งเป็นคำรบ ๓ ฯ

ครั้นได้พระสติขึ้นมา จึงตรัสแก่คฤหบดีแก้วว่า บัดนี้เราได้ฟังประพฤติเหตุแห่งสมเด็จพระพุทธเจ้าอันเป็นดวงแก้วหาค่ามิได้ เพราะเหตุตัวของท่านอันเราใช้ไป เครื่องสักการบูชาสิ่งอื่นหาควรจะกระทำสักการบูชาแก่ท่านไม่ ด้วยท่านมีความชอบครั้งนี้แก่เราเป็นที่สุด เราจะยกสมบัติจักรพรรดิอันยิ่งในมนุษย์โลกนี้ กระทำสักการบูชาแก่ตัวท่าน ตรัสประภาษสรรเสริญคฤหบดีแก้วดังนี้แล้ว จึงอภิเษกคฤหบดีแก้วให้เสวยศิริราชสมบัติจักรวรรดิยศ ยกให้เป็นบำเหน็จความชอบแก่คฤหบดีแก้ว ในครั้งนั้นคฤหบดีแก้วก็ตั้งอยู่ในศิริราชสมบัติบรมจักร เสวยอิสริยยศสมบัติสืบต่อไปฯ

ส่วนสมเด็จพระบรมจักรมหาปนาทนั้นแต่พระองค์เดียว ก็เสด็จบทจรไต่เต้าไปตามมรรคาหนทางโดยทิศาภาค ในที่สถิตแห่งสมเด็จพระบรมครูกุกกุสนธเจ้านั้นฯ ครั้นไปถึงมหานิโครธไทรใหญ่ต้นหนึ่ง ก็ทรงประทับนั่งอาศัยอยู่ใต้ต้นไทรนั้นพอหายเหนื่อยเป็นอันดีแล้ว ก็ยกอัญชลีประนมถวายนมัสการลงด้วยเบญจางคประดิษฐ์อันได้สดับว่าสมเด็จพระ พุทธเจ้าอยู่ตรงนี้ ทรงกระทำอธิษฐานปรารถนาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระภาคเป็นอันงาม ความปิติโสมนัสแห่งข้าพระพุทธเจ้าบังเกิดมีในพระองค์แล้ว ด้วยเดชะความสัตยืนี้ขอให้เครื่องอัฏฐบริขาร ๘ ประการ อันเป็นทรัพย์มรดกแห่งพระภิกษุสงฆ์ จงเลื่อนลอยมายังสำนักแห่งข้าพระพุทธเจ้า ครั้งนั้นสมเด็จพระกุกกุสนธสัพพัญญูทรงทราบวาระน้ำจิตแห่งบรมจักรมหาปนาท ปรารถนาจะบรรพชาบวชในพระพุทธศาสนา จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า ดูก่อนอัฏฐบริขาร ๘ ประการ บัดนี้บุคคลมีชื่อโน้น ปรารถนาจะทรงบรรพชา ท่านจงไปยังสำนักแห่งบุคคลผู้นั้นเถิดฯ ขณะนั้นเครื่องอัฏฐบริขารทั้ง ๘ ประการ ก็ลอยมาตกลงตรงพระพักตร์แห่งสมเด็จพระเจ้ามหาปนาทด้วยพุทธานุภาพฯ

ครั้นสมเด็จพระบรมจักรมหาปนาท ทรงเห็นเครื่องอัฏฐบริขาร ๘ ประการพร้อมแล้ว ด้วยพระเดชานุภาพแห่งสมเด็จพระพุทธเจ้าเป็นอัศจรรย์ยิ่งนัก ก็ทรงยกเครื่องอัฏฐบริขารขึ้นทูนเหนือพระเศียรเกล้าแล้วออกพระวาจาว่า ดูก่อนอัฏฐบริขาร ๘ ประการผู้เจริญ เราอาศัยซึ่งท่านจักใคร่ออกจากสังสารทุกข์ ให้ได้พบเห็นพระนิพพานอันประเสริฐสุดโลกวิสัย ตรัสเท่านั้นแล้วก็เปลื้องเครื่องราชอาภรณ์ของพระองค์ออกจากพระสรีรกาย ทรงสบง จีวร สังฆาฏิ คาดกายพันมั่นคง ทรงบรรพชาเป็นพระภิกษุภาวะเสร็จแล้ว จึงเอาพระมงกุฎแก้ววางลงในฝ่าพระหัตถ์ตรัสว่า ดูก่อนมงกุฏแก้ว ท่านจงไปยังสำนักแห่งสมเด็จพระพุทธเจ้า กราบทูลแจ้งประพฤติเหตุข่าวศาสน์แก่พระองค์ว่า บัดนี้พระเจ้ามหาปนาทบรมจักร เสียสละศิริราชสมบัติออกทรงบรรพชาในพระพุทธศาสนาแล้ว มีความปรารถนาเพื่อจะมายังสำนักสมเด็จพระทศพลญาณ ท่านจงไปกราบทูลศาสน์แด่องค์สมเด็จพระพุทธองค์ด้วยประการดังนี้ฯ พระองค์ทรงพระอธิษฐานฉะนี้แล้ว มงกุฏแก้วก็ลอยเลื่อนไปในอากาศเวหาประดุจว่าพระยาสุวรรณราชหงส์ลงยังสำนัก แห่งสมเด็จพระพุทธเจ้า ตั้งอยู่แทบฝ่าพระบาท กราบทูลประพฤติเหตุดังนั้นแก่สมเด็จพระกุกกุสนธ ประดุจดังว่ามีจิตวิญญาณ สมเด็จพระบรมโลกุตตมาจารย์ก็มีพระพุทธฎีการับว่าสาธุฯ

ลำดับนั้นพระยามหาปนาทซึ่งทรงเพศเป็นภิกษุ ก็เที่ยวโคจรบิณฑบาตไปตามบ้าน ได้อาหารพอเป็นยาปนมัตต์ บริโภคสำเร็จแล้วก็เจริญพระกัมมัฏฐานอยู่ในที่อันสมควร พิจารณาซึ่งพระพุทธคุณมีพระ อิติปิ โส ภควา เป็นอาทิ และพระกายคตาสติกัมมัฏฐาน มีเกศาเป็นต้น เจริญไปด้วยความอุตสาหะดังนั้น ยังโลกียฌานให้บังเกิดขึ้นในขณะนั้นแล้วเหาะไปโดยอากาศเวหาถึงสำนักสมเด็จ พระพุทธเจ้า ได้ทัศนาการพระรูปพระโฉมของสมเด็จพระกุกกุสนธ อันประดับไปด้วยพระทวัตติงสมหาบุรุษลักษณะ และพระอสีตยานุพยัญชนลักษณะ งามบริบูรณ์พร้อมทุกประการ ก็บังเกิดความปิติเต็มตื้นซาบทั่วสรรพางค์ ตลอดสิ้นสกลกายก็สลบลงในที่นั้น สมเด็จพระภควันตบพิตรเจ้าก็ทรงเอาอุทกวารีมาประพรมลงเหนือพระอุระ ก็ฟื้นสมปฤดีขึ้นมา แล้วถวายนมัสการกราบลงด้วยเบญจางคประดิษฐ์แทบพระบาท กราบทูลอาราธนาให้สมเด็จพระพุทธองค์ทรงประทานพระสัทธรรมเทศนาฯ

ครั้งนั้นสมเด็จพระกุกกุสนธบรมทศพลญาณ ก็ทรงประทานพระสัทธรรมเทศนาว่า ดูก่อนภิกษุ ท่านจงพิจารณาซึ่งสภาวธรรมที่จะนำตนไปสู่พระนิพพานเถิด มีพระพุทธบรรหารตรัสดังนี้ ฝ่ายพระเจ้ามหาปนาทบรมพุทธางกูรได้ทรงสดับกระแสพระพุทธฎีกาตรัสเป็นนัย ดังนั้นพระองค์ก็มีปิติซาบซ่านทั่วสกลกาย จึงทรงพระอธิษฐานเด็ดพระเศียรเกล้าด้วยเล็บของพระองค์ ทรงกระทำสักการบูชาแทบพระบาทมูลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ฝ่ายพระเศียรเกล้านั้นจึงกราบทูลพระกรุณาว่า ภนเต ภควา ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระภาคเจ้า พระองค์ได้โปรดฝูงสัตว์ทั้งหลายก่อนข้าพระบาท ข้าพระบาทก็มีความปรารถนาเป็นเป็นพระพุทธเจ้าเมื่อภายหลัง ด้วยผลศีลทานของข้าพระบาทในครั้งนี้ ขอเชิญองค์อัครมุนีผู้ทรงพระภาคเจ้าจงเสด็จเข้าสู่พระนิพพานก่อนข้าพระบาท เถิด ข้าพระบาทขอตามเสด็จพระพุทธองค์เจ้าเข้าสู่พระนิพพานต่อภายหลัง พอขาดคำลงแล้วพระเจ้ามหาปนาทก็ดับขันธ์สิ้นชีวิตอินทรีย์ ไปบังเกิดในดุสิตาสวรรค์ เสวยทิพยศิริสมบัติเป็นสุขสถาพร ไปในอนาคตกาลเบื้องหน้า จะได้ตรัสเป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่าพระสุมงคลฯ

ดูก่อนสำแดงสารีบุตร ฝูงสัตว์ทั้งหลายไม่ได้มรรคและผลธรรมวิเศษในศาสนาพระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระ ตถาคตเป็นต้น มีพระติสสะเป็นปริโยสานแล้ว ก็ให้มหาชนปรารถนาไปให้พบเห็นพระศาสนาช้างปาลิไลยหัตถี ที่ได้เป็นพระบรมจักรมหาปนาทนี้ ซึ่งจะได้ตรัสเป็นองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าในอนาคตกาลทรงพระนามว่า พระสุมงคลสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น จะได้มรรคและผลธรรมอันวิเศษสิ้นสังสารทุกข์ทั้งปวง เข้าสู่พระอมตะมหานครนิพพานฯ แสดงมาด้วยเรื่องราวช้างปาลิไลยหัตถีบรมโพธิสัตว์เป็นคำรบ ๑๐ ก็สิ้นความยุติแต่เพียงนี้ฯ


__________________

บทสรุป

องค์ สมเด็จพระมหามุนีธิคุณเจ้าแห่งเราทั้งหลายตรัสพระสัทธรรมเทศนาแก่พระสารี บุตรว่า นานไปเบื้องหน้าพระโพธิสัตว์ทั้ง ๑๐ พระองค์นั้น จะได้ตรัสรู้แด่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณเป็นลำดับกันฯ คือ
- องค์พระศรีอาริยเมตไตรยเจ้าเป็นปฐมที่ ๑
- ถัดนั้นจึง พระรามโพธิสัตว์จะได้ตรัสที่ ๒
- ถัดนั้นจึง พระเจ้าปเสนธิโกศลจะได้ตรัสเป็นพระธรรมราชาที่ ๓
- ถัดนั้น พระยามาราธิราช จะได้ตรัสเป็นพระธรรมสามีที่ ๔
- ถัดนั้น อสุรินทราหู จะได้ตรัสเป็นพระนารทะที่ ๕
- ถัดนั้น โสณพราหมณ์ จะได้ตรัสเป็นพระรังสีมุนีที่ ๖
- ถัดนั้น สุภพราหมณ์ จะได้ตรัสเป็นพระเทวเทพที่ ๗
- ถัดนั้น โตไทยพราหมณ์ จะได้ตรัสเป็นพระนรสีหะที่ ๘
- ถัดนั้น ช้างธนบาลหัตถีนาฬาคีรี จะได้ตรัสเป็นพระติสสะที่ ๙
- ถัดนั้น ช้างปาลิไลยหัตถี จะได้ตรัสเป็นพระสุมงคลที่ ๑๐


พระองค์ได้ตรัสเป็นลำดับกันโดยนิยมดังนี้
อันว่าไม้พระศรีมหาโพธิอปราชิตบัลลังค์ที่นั่งทรงพิจารณาพระปฏิจจสมุปบาทธรรม แล้วตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูเจ้านั้น
- พระศรีอาริยเมตไตรยเจ้า คือไม้กากะทิงเป็นที่ตรัส ๑
- พระรามเจ้า คือ ไม้แก่นจันทร์แดงเป็นที่ตรัส ๒
- พระธรรมราชาเจ้า คือ ไม้กากะทิงเป็นที่ตรัส ๓
- พระธรรมสามีเจ้า คือ ไม้รังใหญ่เป็นที่ตรัส ๔
- พระนารทะเจ้า คือ ไม้แก่นจันทร์แดงเป็นที่ตรัส ๕
- พระรังสีมุนีเจ้า คือ ไม้ดีปลีใหญ่เป็นที่ตรัส ๖ (บางคัมภีร์ว่าเป็นไม้เลียบ)
- พระเทวเทพเจ้า คือ ไม้จำปาเป็นที่ตรัส ๗
- พระนรสีหะเจ้า คือ ไม้แคฝอยเป็นที่ตรัส ๘
- พระติสสะเจ้า คือ ไม้ไทรเป็นที่ตรัส ๙
- พระสุมงคลเจ้า คือ ไม้กากะทิงเป็นที่ตรัส ๑๐
อันว่าไม้พระมหาโพธิ ๑๐ ต้นนี้ เป็นที่ได้ตรัสรู้พระสัพพัญญู แห่งสมเด็จพระพุทธเจ้าทั้ง ๑๐ พระองค์ อันจะบังเกิดในอนาคตกาลเบื้องหน้าฯ

อันว่านรชาติหญิงชายทั้งหลายจำพวกใด ได้ถวายนมัสการกราบไหว้ซึ่งสมเด็จพระพุทธเจ้าทั้งสิบพระองค์กับทั้งไม้พระ ศรีมหาโพธิ ๑๐ ต้น ดังพรรณนามานี้ อันว่านรชาติหญิงชายจำพวกนั้นจะมีผลานิสงส์คือ มิได้ไปบังเกิดในนรกสิ้นกาลช้านานถึงแสนกัปป์ ด้วยกุศลเจตนาของอาตมาที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้าทั้งสิบพระองค์นั้นฯ สมเด็จพระสรรเพ็ชญ์พุทธเจ้าของเราทรงบัณฑูรพระธรรมเทศนาว่า แท้จริงกัปป์ที่เรียกสุญญกัปนั้น คือเปล่าเสียจากท่านผู้ทรงพระคุณ กัปป์ที่มิได้สูญจากท่านผู้ทรงพระคุณนั้นมี ๕ ประการ คือ
- สารกัปป์ ๑
- มัณฑกัปป์ ๑
- วรกัปป์ ๑
- สารมัณฑกัปป์ ๑
- ภัทรกัปป์ ๑

อันว่าแผ่นดินทั้ง ๕ ประการนี้ มีสมเด็จพระพุทธเจ้าบังเกิดใน สารกัปนั้น ๑ พระองค์, ในมัณฑกัปป์ ๒ พระองค์, ในวรกัปป์ ๓ พระองค์, ในสารมัณฑกัปป์ ๔ พระองค์, ในภัทรกัปป์ ๕ พระองค์ เหมือนกับแผ่นดินเราทุกวันนี้ ชื่อว่าภัทรกัปบังเกิดพระพุทธเจ้าถึง ๕ พระองค์ฯ คือ
- พระกุกกุสนธเจ้าพระองค์ ๑
- พระโกนาคมนเจ้าพระองค์ ๑
- พระกัสสปเจ้าพระองค์ ๑
- พระพุทธเจ้าของเราอันทรงพระนามว่า พระศรีศากยมุนีโคดมพระองค์ ๑
- ไปในอนาคตเบื้องหน้า พระศรีอาริยเมตไตรยเจ้า ซึ่งจะได้มาตรัสนั้น พระองค์ ๑
เป็นพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ด้วยกัน บังเกิดในภัทรกัปอันนี้ฯ

เมื่อองค์สมเด็จพระศรีอาริยเมตไตรยเจ้า ตรัสแล้วล่วงลับดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพาน สิ้นพระศาสนาของพระองค์เจ้าแล้วล่วงไปจนถึงไฟประลัยโลก สิ้นแผ่นดินแผ่นฟ้าตลอดกาลช้านาน จึงบังเกิดแผ่นดินขึ้นมาใหม่เรียกว่า สุญญกัปป์ เปล่าเสียจากท่านผู้ทรงพระคุณวิเศษนั้นนานถึง อสงไขยแผ่นดิน โลกทั้งหลายมืดสิ้นไม่มีท่านผู้วิเศษเลย ต่อสิ้นกาลช้านานแห่งสุญญกัปป์นั้น นับได้อสงไขยแผ่นดินล่วงไปแล้ว เกิดกัปใหม่ตั้งแผ่นดินขึ้นใหม่เรียกว่ามัณฑกัปป์ จะมีสมเด็จพระพุทธเจ้า พระปัจเจกโพธิเจ้า และสมเด็จบรมจักร ในกาลครั้งนั้นจึงมีพระรามเจ้าเป็นอาทิจะได้ตรัสรู้ก่อน พระบรมโพธิสัตว์ทั้งหลายที่สมควรจะได้ตรัสนั้น ก็ได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธเจ้าสืบๆกันไปตามนัยดังแสดงแล้วแต่ หนหลัง ด้วยวาสนาภูมิบารมีของพระบรมโพธิสัตว์สร้างมานั้นต่างๆกัน
- ที่เป็นอุคฆติตัญญูโพธิสัตว์ สร้างพระบารมี ๔ อสงไขยแสนกัปป์ เรียกชื่อว่า ปัญญาธิกะ ยิ่งด้วยปัญญาฯ
- ที่เป็นวิปจิตัญญูโพธิสัตว์ สร้างพระบารมี ๘ อสงไขยแสนกัปป์ เรียกชื่อว่า สัทธาธิกะ ยิ่งด้วยศรัทธาฯ
- ที่เป็นเนยยโพธิสัตว์ สร้างพระบารมี ๑๖ อสงไขยแสนกัปป์ เรียกชื่อว่า วิริยาธิกะ ยิ่งด้วยความเพียรฯ
ตามประเพณีพุทธภูมิโพธิสัตว์ทั้ง ๓ จำพวก อันมีในคัมภีร์พระอนาคตวงศ์ ตามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราตรัสพระสัทธรรมเทศนา แก่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ก็สิ้นเนื่อความยุติลงแต่เพียงเท่านี้ฯ
__________________

28280  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: พระพุทธเจ้าในอนาคตกาล ๑๐ พระองค์ เมื่อ: ธันวาคม 17, 2009, 01:07:40 pm
ยังเหลืออยู่แต่เจ้าธรรมเสนกุมารผู้เป็นพี่ชาย อาศัยอยู่ในเมืองนั้น ยังมีพระฤๅษีทั้งหลายประมาณ ๘ หมื่น มาแต่ป่าหิมพานต์ เหาะมาโดยอากาศเวหาลงในเมืองนั้น แล้วก็เข้าไปโคจรบิณฑบาตในท่ามกลางเมือง เจ้าธรรมเสนกุมารทัศนาเห็นพระดาบสทั้งหลายเดินตามกันมาเป็นอันมาก จึงคิดว่าเรารู้วิชาการศิลปศาสตร์มาแต่สำนักตักศิลา ก็เรียนมามากอยู่แล้วยังไม่เหาะไปในอากาศได้ พระดาบสทั้งหลายเหล่านี้ ล้วนแต่เหาะได้ด้วยกันสิ้นทุกองค์ จะเป็นเหตุดังฤาหนอ จำจะเข้าไปไต่ถามพระดาบสดูสักหน่อย คิดแล้วเจ้าธรรมเสนก็เข้าไปหาพระดาบสทั้งหลายถามว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายผู้เจริญ พระผู้เป็นเจ้านี้เหาะได้ด้วยเหตุดังฤา พระดาบสทั้งหลายจึงตอบว่า ดูก่อนมาณพพระฤาษีทั้งหลายเหล่านี้ ย่อมไปอาศัยอยู่ในมหาวันต์ราวป่าใหญ่ แล้วได้ซึ่งวิชาการเหาะได้ในอากาศ เหตุดังนั้นเราจึงได้มาถึงเมืองนี้ฯ เจ้าธรรมเสนกุมารจึงว่า ข้าพเจ้าก็มีศิลปะศาสตร์เชี่ยวชาญชำนาญอยู่ ในเมืองจำปากนครหาผู้จะเสมอมิได้ เหตุไรข้าพเจ้าจึงมิอาจเหาะไปได้ฯ ถ้าข้าพเจ้ารู้วิชชาศิลปะศาสตร์เหาะได้ด้วยอุบายของพระผู้เป็นเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะขอเป็นทาสของพระผู้เป็นเจ้า ขอพระผู้เป็นเจ้าจงได้กรุณาข้าพเจ้าด้วยเถิดฯ พระดาบสได้ฟังพระราชกุมารว่าดังนั้นก็มีความเอ็นดูกรุณา แล้วจึงแสดงอิทธิฤทธิ์พากุมารธรรมเสนนั้น เหาะไปยังป่าหิมพานต์ ให้ธรรมเสนราชกุมารบวชเป็นดาบส แล้วก็สอนให้กระทำสมถะบริกรรมภาวนาเจริญฌาน ยังอภิญญาสมาบัติให้บังเกิดบริบูรณ์ ได้ซึ่งตาทิพย์ รู้จิตผู้อื่น ระลึกชาติหนหลังได้ ทรงอิทธิฤทธิ์ เป็นศิลปศาสตร์อันประเสริฐ

พระดาบสธรรมเสนนั้น ได้ซึ่งของอันวิเศษแล้ว ก็คิดว่าเราจะไปแสดงศิลปศาสตร์ให้พระราชบิดาเห็นเป็นอัศจรรย์ คิดแล้วก็ลาพระดาบสทั้งหลายด้วยวาจาว่าจะไปแสดงศิลปศาสตร์แก่พระราชบิดา กราบนมัสการลาพระดาบสแล้วก็เข้าฌานกระทำอิทธิฤทธิ์เหาะมา ในอากาศเวหา มีเฉพาะหน้าเมืองจำปากะฯ ชาวเมืองเห็นพระดาบสธรรมเสนก็ชวนกันสรรเสริญยิ่งนักหนา ฝ่ายพระดาบสธรรมเสนก็เข้าไปสู่สำนักพระราชบิดา พระธรรมราชาธิราชทอดพระเนตรเห็นพระโอรสทรงเพศเป็นบรรพชิตดาบสเข้ามาหาดัง นั้น ก็บังเกิดความเสน่หาเป็นอันมาก ยังพระธรรมเสนดาบสราชโอรสให้นั่งบนตัก แล้วก็ตรัสไต่ถามประพฤติเหตุทั้งปวงว่า ดูก่อนพ่อพระกนิษฐ กุมารทั้ง ๔ คนนั้น ไปอยู่ในที่ดังฤา จึงมาแต่พ่อผู้เดียวดังนี้ฯ พระดาบสธรรมเสนจึงเล่าความแต่หนหลัง ตั้งแต่ต้นจนอวสานให้พระบิดาฟังสิ้นทุกสิ่งทุกประการฯ สมเด็จพระเจ้าธรรมราชาธิราชได้ทรงฟัง จึงตรัสว่า ดูก่อนพ่อธรรมเสนผู้ลูกรัก บัดนี้บิดาแก่ชราอายุมากแล้ว บิดาจะยกศิริราชสมบัติมิ่งมไหศวรรย์เศวตฉัตรมอบให้ในกาลบัดนี้ฯ เมื่อพระธรรมเสนดาบสได้สดับฟังพระบิดาตรัสดังนั้นก็รับเอาศิริราชสมบัติไว้ ตามพระบิดาให้ฯ


จึง มีโจทย์เข้ามาว่า พระธรรมเสนดาบสนั้น ทรงเพศบรรพชิต สำเร็จอิทธิฤทธิ์อภิญญาสมาบัติทุกประการอยู่แล้ว เหตุไรเล่าจึงรับเอาศิริราชสมบัติในครั้งนี้ฯ
พระอรรถกถาจารย์เจ้าผู้เป็นปราชญ์วิสัชนาแก้ว่า พระธรรมเสนนั้นเป็นหน่อพุทธางกูร จะใคร่ก่อสร้างพระบารมีแสวงหาพระโพธิญาณ ถ้ายับยั้งอยู่ด้วยเพศบรรพชิตดังนี้แล้ว ก็มิอาจจะกระทำทานมหาบริจาคอันใดได้ ด้วยไม่มี บุตร ภรรยายอดรัก ข้าทาสหญิงชาย และ โค มหิงส์ ช้าง ม้า ราชรถ สรรพสิ่งทั้งปวง ซึ่งจะสละเป็นมหาบริจาค แม้อยู่เป็นฆราวาสประกอบไปด้วยบุตร ภรรยาแล้ว จึงอาจสามารถยังมหาทานให้บังเกิดกองทานบารมี เป็นปรมัตถมงกุฏได้โดยสะดวก เหตุดังนั้นพระธรรมเสนดาบสบรรพชิตบรมโพธิสัตว์ จึงรับเอาศิริราชสมบัติที่สมเด็จพระราชบิดายกให้ฯ


ครั้งนั้นพระบรมโพธิสัตว์ธรรมเสนก็เปลื้องเครื่องบริขารบรรพชิตออกเสียจาก สรีรกาย ทรงเพศเป็นคฤหัสถ์ แล้วก็กล่าวประกาศถ้อยคำเป็นอธิษฐาน ดูก่อนอัฐบริขารผู้เจริญเอ๋ย ท่านจงไปยังสำนักพระดาบสทั้งหลายเถิด ในขณะขาดคำอธิษฐานแห่งพระบรมโพธิสัตว์เจ้าครั้งนั้น เครื่องบริขารทั้ง ๘ ก็ปลิวลอยไปในอากาศเวหา ลงยังสำนักแห่งพระดาบสทั้งหลาย ส่วนสมเด็จพระธรรมราชาธิราชผู้เป็นพระบิดา ก็ให้ตีกลองร้องป่าวชาวพระนคร ให้มหาชนทั้งหลายสันนิบาตประชุมพร้อมกันแล้ว จึงกระทำอภิเษกสมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ผู้เป็นพระราชโอรส กับด้วยนางลัมภุสสราชเทวี เป็นอัครมเหสีครอบครองกรุงจำปากมหานครเป็นสุขสำราญมา ตนพระราชเทวีอัครมเหสีทรงพระครรภ์ ถ้วนทศมาสแล้วก็คลอดพระราชบุตร เมื่อพระราชบุตรบทจรยกย่างได้ถนัดแล้ว นางก็ทรงครรภ์อีก ประสูติพระราชธิดา ลำดับนั้น พระเจ้าธรรมเสนผู้เป็นบรมกษัตริย์แสวงหาพระโพธิญาณ เสด็จด้วยพระราชโอรส พระราชธิดา และพระราชมเหสี ไปประพาสนอกพระนคร เพื่อจะลงสรงสาครเล่นให้สุขสำราญ กับด้วยราชบริวารสาวสนมกรมในทั้งปวง และหมู่มุขมนตรีทั้งหลายก็ลงเล่นน้ำสำราญใจฯ

ครั้งนั้น ยังมียักษ์ตนหนึ่งได้ทัศนาการเห็นพระกุมาร และกุมารีทั้งสองพระองค์ ก็มีความปรารถนาเพื่อจะกินเป็นภักษาหาร บ่มิอาจอดกลั้นความอยากอยู่ได้ จึงเดินมาสำแดงกานให้ปรากฏเฉพาะหน้าแห่งพระเจ้าธรรมเสนบรมกษัตริย์ แล้วก็ร้องขอด้วยคำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นกษัตริย์อันประเสริฐ ข้าพเจ้ามาบัดนี้มีความปรารถนาจะขอรับพระราชทาน พระกุมาร และพระกุมารี ทั้ง ๒ ของพระองค์ พระองค์จงทรงพระกรุณาข้าพเจ้า โปรดเกล้าพระราชทานกุมาร และกุมารี ให้แก่ข้าพเจ้ากินเป็นภักษาหารในกาลบัดนี้เถิดฯ เมื่อพระเจ้าธรรมเสนบรมโพธิสัตว์ ได้ทรงฟังยักษ์ทูลขอพระลูกรักทั้ง ๒ ดังนั้น ก็เกิดความกรุณาจิตขึ้นมา จึงตรัสว่า ดูก่อนยักษ์ผู้เจริญ ท่านกล่าวถ้อยคำดังนี้เพราะนักเป็นสุนทรวาจาอันยิ่ง ตรัสแล้วก็เสด็จอุฏฐาการ จูงเอาข้อพระหัตถ์กุมาร และกุมารีทั้ง ๒ องค์มาส่งให้แก่ยักษ์ แล้วตรัสว่าเชิญท่านมารับเอาปิยบุตรทานของเรา แล้วก็จับเอาพระเต้าทอง มาหล่อหลั่งอุทกวารีลงเหนือมือยักษ์ จึงตรัสว่า ราชกุมาร และราชกุมารีทั้ง ๒ องคืนี้ ใช่เราจะไม่มีความเสน่หาอาลัยหามิได้ แต่เรามีความรักพระสัพพัญญุตญาณนั้นยิ่งกว่ากุมารทั้ง ๒ ได้ร้อยเท่าพันทวี ด้วยเดชะผลทานของเราที่สละกุมารทั้ง ๒ องค์ให้เป็นทานแก่ท่านบัดนี้ บอให้บังเกิดมีผลเป็นที่สุดถึงพระสัพพัญญูสรรเพชุดาญาณ ในอนาคตกาลเบื้องหน้า พระองค์ประกาศแก่ฝูงเทพเจ้าทั้งหลายแล้ว มหัศจรรย์ก็บังเกิดมีต่างๆนาๆ เป็นต้นว่าแผ่นดินไหวทั่วโลกธาตุฯ ครั้นว่ายักษ์ได้รับพระราชทานแล้ว ก็กินกุมารทั้ง ๒ องค์เป็นอาหาร แล้วก็เข้าสู่อรัญญราวป่าฯ ฝ่ายพระเจ้าธรรมเสนบรมกษัตริย์กับพระราชมเหสีก็เสด็จกลับเข้าพระนครฯ

ในกาลเมื่อเสด็จถึงประตูเมือง พระองค์ทอดพระเนตรบุรุษแก่คนหนึ่งนั่งเป็นทุกข์อยู่ในที่นั้น จึงมรพระราชโองการตรัสถามว่า เหตุไฉนบุรุษแก่ท่านจึงมานั่งเป็นทุกข์อยู่ในที่นี้ บุรุษนั้นจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ จำเดิมแต่เกล้ากระหม่อมเกิดมา จนอายุถึงเพียงนี้แล้ว บุตร ภรรยา ก็หามีไม่ ข้าพระบาทจึงมานั่งเศร้าโศกอยู่ในที่นี้ฯ พระองค์ได้สดับฟังบุรุษแก่กราบทูลดังนั้นฯ จึงตรัสว่าเราจะยกพระราชมเหสีให้เป็นทานบารมีอันยิ่งแก่ท่าน ตรัสแล้วก็จับเอาข้อพระหัตถ์พระราชมเหสีลงจากยานุมาศ พาพระนางเข้าไปให้ใกล้บุรุษแก่นั้นแล้วตรัสว่า ท่านจงมารับเอาองค์พระราชมเหสีของเราไปโดยเร็วเถิด เรายกให้เป็นทานแก่ท่านบัดนี้ แล้วก็หลั่งอุทกวารีให้ตกลงเหนือมือบุรุษแก่ แล้วก็ประกาศด้วยวาจาปรารถนาว่า เดชะผลทานที่เราได้ยกนางลัมภุสสราชเทวีอัครมเหสีให้แก่ท่านครั้งนี้ ขอให้เป็นปัจจัยแก่พระสร้อยสรรเพชุดาญาณเถิดฯ ในกาลครั้งนั้น อัศจรรย์ก็บังเกิดมีแผ่นดินไหวเป็นอาทิ ดุจสำแดงมาแล้วแต่หนหลังฯ ครั้นบุรุษแก่ได้รับพระราชทานพระราชมเหสีแล้ว จึงมีวาจาปราศรัยกับพระนางว่า ดูก่อนเจ้าผู้เจริญ ตัวของเรานี้เป็นคนแก่เฒ่า อนึ่งเล่าทรัพย์สมบัติทั้งปวงก็ไม่มี ดังฤาเจ้าจะอยู่ด้วยพี่ได้ฯ

ครั้นพระเจ้าธรรมเสนได้ทรงฟังบุรุษแก่กล่าววาจากับด้วยพระนางดังนั้น จึงทรงคิดว่าเราจะยกราชสมบัติให้กับบุรุษแก่เสียแล้วจะออกทรงบรรพชาเป็นดาบส เห็นว่าจะประเสริฐ ดำริดังนี้แล้วจึงให้หาตัวบุรุษผู้นั้นมา แล้วก็พระราชทานราชสมบัติทั้งปวงให้แก่บุรุษนั้น แล้วก็ร้องประกาศตั้งความปรารถนาดุจในหนหลัง อัศจรรย์ก็บังเกิดเหมือนแต่ก่อนฯ แล้วก็ทรงพระอธิษฐานว่า ดูก่อนอัฐบริขารทั้ง ๘ ประการ เชิญมายังสำนักแห่งเราในกาลบัดนี้ ในขณะนั้นอันว่าเครื่องบริขารบรรพชิตทั้ง ๘ ประการ ก็เลื่อนลอยมาตกลงตรงพระพักตร์ดุจดังว่ามีจิตวิญญาณ พระบรมโพธิสัตว์ก็ทรงเพศบรรพชาเป็นดาบส เจริญบริกรรมภาวนา ยังอภิญญา ๕ สมาบัติ ๘ ให้บังเกิดขึ้นเหมือนครั้งก่อน แล้วก็เหาะไปในอากาศลงยังป่าพระหิมพานต์ เข้าไปสู่สำนักแห่งหมู่พระฤาษีทั้งหลายฯ

ในกาลครั้งนั้น ยังมีพระอริยะสาวกองค์หนึ่ง แห่งพระโกนาคมนเจ้า เข้าไปสำราญอยู่ในป่าพระหิมพานต์ พระฤาษีทั้งหลายได้ทัศนาเห็นพระอรหันต์อันวิเศษมาก็มีความเลื่อมใสไหว้กราบ สักการบูชาพระอริยสาวกเจ้า นิมนต์ให้ยับยั้งอยู่สิ้นราตรีหนึ่ง ครั้นรุ่งขึ้นเป็นเวลาเช้าพระดาบสธรรมเสนบรมโพธิสัตว์นั้น ก็เหาะมายังสำนักสมเด็จพระโกนาคมนเจ้าพร้อมด้วยพระอริยสาวก แล้วก็เข้าไปกราบนมัสการแทบพระบาทมูลแห่งสมเด็จพระสัพพัญญู พิจารณาดูทวัตติงสมหาบุรุษลักษณะ แล้วก็เกิดความโสมนัสยินดีขึ้นมา จึงกราบทูลอาราธนาพระโกนาคมนเจ้าให้ตรัสพระสัทธรรมเทศนาฯ ครั้งนั้นสมเด็จพระผู้ทรงพระภาคเจ้าจึงทรงพระมหากรุณาตรัสพระสัทธรรมเทศนา ว่าฯ ดูก่อนธรรมเสนดาบสผู้เจริญ บัดนี้สมควรตัวท่านจะพินิจพิจารณาซึ่งกิริยาอันจะให้ไปสู่เมืองแก้ว คือพระอมตมหานครนิพพาน จึงจะชอบแก่ตัวท่านฯ จึงมีพระพุทธฎีกา ตรัสเป็นนัยคัมภีรภาพด้วยประการดังนั้น

พระธรรมเสนดาบสได้สดับก็บังเกิดความเลื่อมใสศรัทธา คิดว่าจะตัดซึ่งเศียรเกล้าออกกระทำสักการบูชาพระสัทธรรมเทศนา แห่งสมเด็จพระโกนาคมนเจ้าเถิด จึงกระทำอธิษฐานเล็บของพระองค์ให้คมดุจดาบ ตรัสซึ่งเศียรเกล้าให้ขาด แล้วก็วางไว้ในฝ่าพระหัตถ์ ชูขึ้นกระทำสักการบูชาสมเด็จพระพุทธเจ้า กล่าวเป็นพระคาถาตั้งความปรารถนาว่า พระองค์ทรงพระนามว่าพระโกนาคมนเจ้า ได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูผู้ประเสริฐแล้ว นานไปในอนาคตกาลเบื้องหน้า ข้าพระบาทขอปรารถนาให้ได้สำเร็จพระศรีสรรเพ็ชญ์พุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ด้วยศีลทานของข้าพระบาทนี้ อนึ่งเล่าพระองค์ผู้ทรงพระมหากรุณาเป็นที่พึ่งแก่ไตรโลกแล้ว จะล่วงลับดับขันธ์เข้าสู่เมืองแก้วก่อนข้าพระบาทเล่า ข้าพระบาทขอปรารถนาให้สำเร็จพระนิพพานในกาลเบื้องหน้า ด้วยเดชะผลศีลทานของข้าพระบาทในครั้งนี้ฯ กล่าวพระคาถาเป็นใจความสองข้อด้วยประการดังนี้แล้ว ดาบสธรรมเสนก็จุติไปบังเกิดในดุสิตาสวรรค์ อัศจรรย์ก็บังเกิดมีดุจในหนหลังฯ

อันว่าช้างนาฬาคีรีเป็นบรมโพธิสัตว์แต่ครั้งสาสนาพระโกนาคมน์ ได้สร้างพระบารมีมาเป็นอันยิ่ง นานไปเบื้องหน้าจะได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระติสสะสัพพัญญูฯ
แสดงมาด้วยเรื่องราว ช้างนาฬาคีรีหัตถีบรมโพธิสัตว์คำรบ ๙ ก็สิ้นเนื้อความยุติลงแต่เท่านี้ฯ
เอวํ ก็มี ด้วยประการฉะนี้
__________________

๑๐. พระสุมงคล (ช้างปาลิไลยกะ)

ภควา อันว่าองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าแห่งเรา ตรัสพระสัทธรรมเทศนาว่า เมื่อองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงพระนามว่า พระติสสะสัพพัญญูพุทธเจ้า เสด็จล่วงลับดับขันธ์เข้าสู่พระปรินิพพานสิ้นกาลช้านานแล้วฯ ในลำดับนั้น อันว่าช้างปาลิไลยหัตถีตัวรี้ก็เป็นพระบรมโพธิสัตว์สร้างพระบารมีมาเป็นอัน มาก จักได้ตรัสเป็นสมเด็จพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าพระสุมงคลในอนาคตกาล พระสุมงคลทศพลญาณเจ้านั้น
- มีพระองค์สูงได้ ๖๐ ศอก
- พระชนมายุมีประมาณแสนปีเป็นกำหนด
- ไม้กากะทิงเป็นพระศรีมหาโพธิ
- ประดับด้วยพระพุทธรัศมีรุ่งเรืองสว่าง ดังสีทองเป็นอันงามประดุจกลางวัน
- แล้วจะบังเกิดมีไม้กัลปพฤกษ์ต้นหนึ่ง ห้อยย้อยไปด้วยสิ่งของเครื่องประดับ มีประการต่างๆด้วยพระพุทธานุภาพ
ฝูงมนุษย์ทั้งหลายในพระศาสนาของพระสุมงคล มิได้กระทำซึ่งกสิกรรม วาณิชกรรม ได้อาศัยซึ่งต้นกัลปพฤกษ์นั้น ประพฤติเลี้ยงชีวิตแห่งอาตมา มนุษย์ทั้งหลายมีความผาสุกสบาย ขวนขวายแต่การเล่นเต้นรำแต่งตัวอยู่เป็นนิจ เสมอเหมือนเทพบุตร เทพธิดา ซึ่งได้ทิพยสมบัติในสวรรค์เทวโลกฯ สมเด็จพระสุมงคลทศพลญาณเจ้า ก่อสร้างพระบารมีมาทั้ง ๑๐ ประการ จึงสำเร็จแก่พระพุทธสมบัติเห็นปานดังนี้ฯ อันว่ากองพระบารมีครั้งหนึ่ง พระองค์กระทำมาแต่ยังเป็นพระบรมโพธิสัตว์อยู่นั้น ปรากฏเป็นปรมัตถบารมีอันยิ่งยอดอย่างเอกอุดมทานฯ

ดูก่อนสำแดงสารีบุตร แต่กาลก่อนล่วงลับไปแล้วช้านาน ช้างปาลิไลยตัวนี้เป็นพระบรมโพธิสัตว์ บังเกิดเป็นสมเด็จพระบรมจักรพรรตราธิราช ทรงพระนามว่าพระเจ้ามหาปนาทบรมจักร ในภัทรกัปป์อันนี้ และมีแก้ว ๗ ประการคือ
- จักรแก้ว ๑
- นางแก้ว ๑
- แก้วมณีโชติ ๑
- ช้างแก้ว ๑
- ม้าแก้ว ๑
- ปรินายกแก้ว ๑
- คฤหบดีแก้ว ๑
สมเด็จพระเจ้ามหาปนาทบรมจักร ได้เสวยศิริราชสมบัติอยู่ในทวีปทั้ง ๔ มีทวีปน้อย ๒ พันเป็นบริวาร พระองค์ทรงพระสำราญอบู่เป็นปรกติ มาจนถึงกาลสมเด็จพระกุกกุสันธสัมมาสัมพุทธเจ้าบังเกิดในโลก กาลครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้ามหาปนาทบรมจักรได้ทรงทราบว่า สมเด็จพระพุทธเจ้าได้ตรัสในโลกแล้ว

จึงตรัสประกาศสั่งจักรแก้วว่า ดูก่อนจักรแก้วผู้เจริญ ท่านจงไปยังท้องพระมหาสมุทรถือเอาซึ่งดวงแก้วมณีมาให้แก่เรา จักรแก้วนั้นก็ไปยังท้องพระมหาสมุทร ดุจดังว่ามีจิตวิญญาณ นำเอาแก้วมณีมาถวายฯ
แล้วอยู่มาภายหลังพระองค์จึงตรัสสั่งช้างแก้วว่า ดูก่อนช้างแก้วผู้เจริญท่านจงไปที่ฉัตรทันต์สระ แล้วพาช้างแก้วมาให้แก่เราฯ ครั้งนั้นช้างแก้วก็เหาะไปยังฉัตรทันต์สระ พาเอาช้างชาติฉัตรทันต์ทั้งหลายประมาณ ๘ หมื่นมาถวายฯ
แล้วพระองค์จึงสั่งกับม้าแก้วว่า ดูก่อนม้าแก้วผู้เจริญท่านจงไปยังท่าสินธพนที แล้วพาม้าแก้วทั้งหลายมาให้แก่เรา ม้าแก้วนั้นก็เหาะไปในอากาศ ถึงริมฝั่งสินธพนที แล้วพาม้าแก้วมาถวายฯ
แล้วพระองค์จึงตรัสสั่งนางแก้วพระราชมเหสีนั้นว่า ภทฺเท ดูก่อนเจเาผู้มีพักตร์อันเจริญ เจ้าจงไปยังแว่นแคว้นอุดรกุรุทวีปพานางแก้วทั้งหลายมาให้แก่เราฯ ขณะนั้นนางแก้วผู้เป็นพระราชมเหสีก็เหาะไปยังอุดรกุรุทวีป พาเอานางแก้วทั้งหลายประมาณ ๘ หมื่นมาถวายฯ
แล้วพระองค์จึงตรัสสั่งแก้วมณีโชติว่า ดูก่อนแก้วมณีโชติผู้เจริญ ท่านจงไปยังเขาวิบุลบรรพต นำเอาแก้วมณีมาให้แก่เราฯ อันว่าแก้วมณีโชติก็เลื่อนลอยไปยังเขาวิบุลบรรพตพาเอาแก้วมณีทั้งหลายประมาณ ๘ หมื่นดวงมาถวายฯ
แล้วพระองค์ตรัสสั่งปรินายกขุนพลแก้วของพระองค์ว่า ดูก่อนปรินายกแก้วผู้เจริญ ท่านจงไปยังอุดรกุรุทวีป และอมรโคยานทวีป และบุพพวิเทหทวีป ทั้ง ๓ ถอดเอาดวงแก้วในยอดเขากัมพูฉัตรมาให้แก่เราฯ ฝ่ายขุนพลแก้วผู้เป็นปรินายกรับพระราชโองการแล้ว ก็เหาะไปยังทวีปทั้ง ๓ จึงถอดเอาดวงแก้วมณีที่ยอดเศวตฉัตรแห่งมหากษัตริย์ผู้เสวยศิริราชสมบัติใน ทวีปทั้ง ๓ มาถวายฯ
แล้วพระองค์ก็ตรัสสั่งคฤหบดีแก้วผู้เป็นขุนคลังว่า ดูก่อนคฤหบดีแก้ว ท่านจงไปในโสฬสมหานครใหญ่ทั้ง ๑๖ เมืองนั้น นำเอาดวงแก้วมณีมาให้แก่เราฯ คฤหบดีแก้วก็เหาะไปในโสฬสมหานคร ครั้นถึงแล้วได้ทัศนาการเห็นสมเด็จพระพุทธกุกกุสนธสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จยับยั้งอยู่ในพระวิหารในกาลนั้น คฤหบดีแก้วก็มิได้รู้จักซึ่งสมเด็จพระกุกกุสนธเจ้า ว่าเป็นองค์พระสัมมาสัมพุทโธ จึงเข้าไปยังสำนักกุกกุสนธเจ้าแล้วถามว่า มณว ดูก่อนมาณพผู้เจริญ ตัวท่านนี้มีนามชื่อไร จึงมีรูปโฉมงามบริสุทธิ์เป็นอันดีฯ

หน้า: 1 ... 705 706 [707] 708 709