ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: นัยคำว่า “สามเณรนาคหลวง”  (อ่าน 243 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28519
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
นัยคำว่า “สามเณรนาคหลวง”
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 17, 2024, 09:30:32 am »
0
.



นัยคำว่า “สามเณรนาคหลวง”

วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗  พลเรือตรี ทองย้อย แสงสินชัย ภาคีสมาชิก ราชบัณฑิตยสภา ได้โพสต์ในเฟชบุ๊คส่วนตัวเล่าอธิบายคำว่า “นาคหลวง” ดังนี้

ในวงการเรียนบาลีและในวงการผู้สนับสนุนให้พระเณรเรียนบาลี ถ้ามีสามเณรอายุยังน้อยเข้ามาเรียนบาลี ก็มักจะกระตุ้นเตือนให้กำลังใจและให้ตั้งความหวังไว้ที่-จะได้เป็น “นาคหลวง”

คำว่า “นาคหลวง” ในความหมายที่โดดเด่นในวงการเรียนบาลีก็คือ ผู้ที่สอบเปรียญธรรม ๙ ประโยคได้ในขณะเป็นสามเณร เพราะมีธรรมเนียมพระมหากษัตริย์จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับการอุปสมบทไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ คือที่เรียกกันว่า เป็นนาคหลวง

แต่พึงเข้าใจว่า คำว่า “นาคหลวง” นอกจากจะเรียกสามเณรที่สอบเปรียญธรรม ๙ ประโยคได้และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับการอุปสมบทไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์แล้ว ยังเรียกบุคคลอื่น ๆ ที่พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับการอุปสมบทไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์อีกด้วย เช่น พระราชวงศ์ ข้าราชบริพาร หรือผู้ใดผู้หนึ่งที่ทรงโปรดเป็นการส่วนพระองค์




ถ้าจะพูดให้ถูก ก็ควรจะบอกว่า “นาคหลวง” ก็คือผู้ที่มีคุณสมบัติบางประการเข้าเกณฑ์ที่พระมหากษัตริย์จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนาคหลวง และในบรรดาเกณฑ์เหล่านั้น ผู้ที่สอบเปรียญธรรม ๙ ประโยคได้ในขณะที่เป็นสามเณรท่านถือเป็นเกณฑ์ข้อหนึ่งที่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนาคหลวง

ธรรมเนียมให้สามเณรที่สอบเปรียญธรรม ๙ ประโยคได้เป็นนาคหลวงนี้แรกมีในรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สามเณรรูปแรกที่สอบเปรียญธรรม ๙ ประโยคได้ในรัชกาลนั้นคือ สามเณรปลด วัดเบญจมบพิตร ทรงโสมนัสเป็นล้นพ้น ว่ากันว่าถึงกับเสด็จเข้าไปอุ้มสามเณรปลดในขณะที่เสด็จไปประทับฟังการสอบ

การสอบบาลีสมัยนั้นสอบด้วยวิธี “แปลปาก” ไม่ใช้วิธีเขียนกระดาษคำตอบเหมือนสมัยนี้ จะให้แปลข้อความตั้งแต่ไหนถึงไหนในคัมภีร์ที่เป็นหลักสูตรในชั้นนั้น ๆ กรรมการจะชี้บอกกันตรงนั้นเลย ไม่ได้แจ้งล่วงหน้า ผู้เข้าสอบต้องแปลให้กรรมการฟังสด ๆ และมีธรรมเนียมพระมหากษัตริย์เสด็จไปประทับฟังการสอบด้วย เป็นเครื่องหมายว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ทรงอุปถัมภ์บำรุงการพระศาสนาอย่างเต็มกำลัง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรับสั่งให้จัดรถหลวงไปส่งสามเณรปลดถึงวัด เมื่อถึงเวลาอุปสมบทเป็นภิกษุก็ทรงรับการอุปสมบทไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์  และถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบมาตั้งแต่ครั้งนั้นว่า สามเณรรูปใดสอบเปรียญธรรม ๙ ประโยคได้ เมื่อถึงคราวอุปสมบทพระมหากษัตริย์จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับการอุปสมบทไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ เป็นที่มาของคำพูดในวงการเรียนบาลีว่า “สามเณรนาคหลวง”





Thank to : https://thebuddh.com/?p=77489
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ