ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สมาธิชาวบ้าน : แนวทางการฝึกจิต(1)  (อ่าน 1434 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
สมาธิชาวบ้าน : แนวทางการฝึกจิต(1)
« เมื่อ: สิงหาคม 23, 2014, 10:40:04 pm »
0


สมาธิชาวบ้าน : แนวทางการฝึกจิต(1)

ในการปฏิบัติธรรมนั้น รูปแบบของการฝึกจิตคือการที่เราพยายามอบรมจิตให้สงบ หรือที่เรียกว่า “การปฏิบัติสมาธิภาวนา” ด้วยการอบรมใจตัวเองในรูปแบบต่างๆ เมื่อใจมันอยู่ไม่นิ่งเราจึงต้องหาอุบายมาอบรมให้ใจมันอยู่นิ่งๆ ไม่คิดไปทางซ้ายที ไปทางขวาที ไปทางหน้า ทางหลัง

ใจที่มันว้าวุ่นเป็นเพราะใจมันมีความคิด คิดเรื่องนู้นเรื่องนี้ คิดไปต่างๆ นานาด้วยอารมณ์กิเลสต่างๆ ความคิดต่างๆ มันก็เป็นสมมติบัญญัติของความคิด มันก็มารุมอยู่ในใจ ในใจก็เป็นความคิด ใจในลักษณะนี้จึงไม่ใช่สมาธิ เพราะใจที่เป็นสมาธิจิตไม่ได้มีอารมณ์เดียว แต่มันจะลึกไปกว่านั้นอีก

สมาธิเป็นอาการของจิตที่ถอยห่างออกจากความคิด จิตพ้นจากอำนาจของความคิดอันเป็นสมมติบัญญัติทั้งหลายที่มาปกคลุมมันอยู่ เมื่อจิตเป็นอิสระจากความคิดเมื่อไร จิตดวงนี้จึงจะรู้ธรรม เห็นธรรม เกิดรู้ความจริงตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบันขณะ จิตรู้ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นเรียกว่า “รู้ธรรม”


 :96: :96: :96: :96:

ภูมิปัญญาในการศึกษาธรรมของแต่ละคนนั้นต่างกัน หากเป็นภูมิปัญญาของผู้ที่ศึกษาธรรมมาเยอะ ก็จะเปรียบได้เหมือนกับการรอน้ำมาเติมเพียงหยดเดียวก็จะเต็ม พอถึงคราวที่มีโอกาสได้ฟังธรรมในข้อที่โดนจึงกระจ่างขึ้นมา เสมือนน้ำหยดสุดท้ายที่ทำให้น้ำในแก้วใบนั้นเต็มพอดี ที่ผ่านมาน้ำอาจจะหยดไม่ลงแก้ว

บางครั้งภูมิปัญญาในระดับที่จะบรรลุพระนิพพานก็ง่ายดายคล้ายกับหญ้าปากคอก พอเราปฏิบัติไปจนพร้อมแล้วภาวะนั้นมาถึง เราก็สามารถเข้าใจได้โดยง่าย แต่ถ้าปฏิบัติยังไม่ถึงก็จะดูว่าซับซ้อนเข้าใจยาก

ธรรมะก็คือความจริง จิตที่ยังอยู่ในความคิดอยู่ย่อมไม่อาจรู้ความจริงได้ จิตที่ยังมีความคิดอยู่จะรู้ก็แต่สมมติบัญญัติที่มาปกคลุมจิต เราจึงต้องหาอุบายให้มันไปอยู่ เช่น ไปอยู่กับลมหายใจ ไปอยู่กับคำภาวนา ฯลฯ เพื่อที่จิตจะได้ห่างจากความคิด อบรมจนจิตกับอุบายกรรมฐานรวมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไม่พรากจากกัน





การใช้อุบายเป็นเครื่องมือ ก็อย่างเช่น ถ้าจิตอยู่กับลมหายใจก็อยู่กันอย่างแนบแน่น ลมเข้าก็รู้ ลมออกก็รู้ อยู่กับลมหายใจราวกับว่าจิตเป็นลมหายใจ ลมหายใจเป็นจิต ตอนที่มันรวมกันนี้ มันไม่พรากจากกันนี้คือจิตกำลังจะได้สมาธิแล้ว อาศัยกรรมฐาน อาศัยอุบายกรรมฐาน ใครถนัดการใช้อุบายวิธีอย่างใดก็ใช้อุบายวิธีอย่างนั้น

พอใช้อุบายกรรมฐานมาเป็นเครื่องรู้ของจิตแทนความคิดแล้ว จิตมันก็จะออกจากความคิดมา ก็ถึงรู้ว่า “อ้อ!..พอมันพ้นอำนาจความคิด สมาธิคือตรงนี้เองความคิดน้อยลง กายเบา จิตเบา”


 st12 st12 st12 st12

กายเบาเพราะว่าความรู้สึกทางกายมันหายไป ความคิดหายไป ขณะที่มันใช้อุบายกรรมฐาน ก็มีอาการอย่างหนึ่ง ขณะที่ลมหายใจเบาลง ไอ้รู้มันก็โตขึ้น ที่มันโตขึ้นก็เพราะว่าลมหายใจมันเบาลง แต่รู้มันโตขึ้น ความรู้สึกทางกายมันจะเริ่มหายไป เหลือแต่จิตดวงเดียวที่เด่นชัดขึ้นมา

เมื่อลมหายใจเบาๆ ไปเรื่อยๆ เรื่อยๆ ลมหายใจหายไป รู้ก็โตขึ้น โตขึ้นอีก เพราะมันรู้ว่าลมหายใจหายไปไหนไม่รู้ แต่มันรู้อยู่ว่าลมหายใจหายไป ความคิดน้อยลง รู้มันก็โตขึ้นอีก ความคิดหายไป รู้มันโตสว่างเบิกบานขึ้น รู้มันจะสว่างชัดขึ้น รู้ว่ากายหาย ลมหายใจหาย ความคิดหาย รู้ตื่นอยู่ ถึงแม้ว่าจะไม่มีอะไรให้รู้ก็ตาม นั่นคือ “ว่าง”.


ที่มา http://www.thaipost.net/tabloid/170814/94734
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: สมาธิชาวบ้าน : แนวทางการฝึกจิต(1)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2014, 09:09:59 am »
0
 st11 st12
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ