กรรมฐาน มัชฌิมา > ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน

กลอน "สาวกภูมิ" และ คำบรรยาย โดยย่อ ( ธัมมะวังโส )

(1/8) > >>

ธัมมะวังโส:


 สังสารวัฏ ของ มนุษย์ ที่ดำรงชีวิตอยู่นั้น ล้วนแล้ว มีชีิวิต ที่หมุนเวียน เปลี่ยนแปลงเป็นวัฏจักร ที่เรียกว่า ทุกข์ นั้น ประกอบด้วย กิน กาม เกรียติ หนีภัย ซึ่งความเป็นจริง มนุษย์ ที่เิกิดขึ้นมา กับ สัตว์ ดิรัจฉาน ที่เกิดขึ้นมานั้น ก็ล้วนแล้ว เสมอ กันด้วย เหตุ สี่อย่างนี้ แต่ มนุษย์ กับ สัตว์ นั้นแตกต่างกันที่ไหน ?

    ความแตกต่าง ของ มนุษย์ กับ สัตว์ นั้นแตกต่างกันที่ คุณธรรม คุณธรรม ในที่นี้หมายถึง คุณธรรม ที่ต้องการพ้นจากสังสารวัฏ เดิม ๆ นี้ คือ คุณธรรม ของ พระอริยะบุคคล ตั้งแต่ พระโสดาบัน จน ถึง พระอรหันต์ คุณธรรมนี้ ที่ทำให้ มนุษย์ ประเสริฐกว่า สัตว์ เพราะ บรรดาสัตว์ ทั้งหลายนั้นไม่สามารถก้าวเข้าสู่ คุณธรรม นี้ได้

    และ คุณธรรมนี้ นั้น ก็ต้องปรากฏ แก่ มนุษย์ ที่ปรารถนา เป็น สาวกภูมิ เท่่านั้น


่ขอบคุณภาพจาก http://www.oknation.netAeva Debug: 0.0007 seconds.

ธัมมะวังโส:


  สาวกภูมิ จะเป็นได้อย่างไร ? สาวกภูมินั้น เป็นได้ ตรงที่กำลัง ของนิพพิทา คือ ความหน่าย ต่อสังสารวัฏ ที่ถูกบำเพ็ญปลูกฝังสร้าง และ ปรารถนา กันเป็นทุนหลายภพ หลายชาติ ดังนั้นภูมิธรรม ที่เรียกว่า นิพพิทา นั้นจึงไม่ได้มีแก่ มนุษย์ ทุกผู้ ทุกคน หากแต่ มีกลับ บุคคลที่ได้สั่งสมอุปนิสัย การเป็น พุทธสาวก คือ ผู้ปรารถนา สิ้นภพ สิ้นชาติ ไม่ต้องการเกิดอีก

  รู้ได้อย่างไร ว่าเราเป็น สาวกภูมิ ?

  รู้ได้ หนึ่ง เรามีความเลื่อมใสในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มีความปรารถนา เป็นพระพุทธเจ้า

  รู้ได้ สอง เรามีเคารพเลื่อมใสในพระรัตนตรัย คือ พระพุทธจ้า พระธรรม และ พระสงฆ์ อยู่

  รู้ได้ สาม เรามีความเห็นทุกข์ และ เบื่อหน่าย ต่อ ทุกข์ อันมี ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นมูล

  รู้ได้ สี่ เมื่อได้ภาวนาธรรม อันระคนด้วย สติ แม้ไม่มีครูผู้สอน ก็จะรู้สึกถึง ธรรมสังเวช เกิดขึ้นมา รู้สึกปีติในธรรม ปีติในการภาวนา แต่ถึงรู้สึกเยี่ยงนี้ ก็ยังไม่สามารถบรรลุธรรมได้

  ดังนั้น เมื่อรู้ได้ สี่ ประการนี้ แสดงให้เห็นว่า ท่านทั้งหลาย มีภูมิธรรมของสาวกภูมิ เรียกว่า สัญชาตญาณสาวกภูมิ ในภาษาธรรม เรียวว่า โคตรภูบุคคล คือ บุคคลที่มีเหล่ากอของพระอริยะบุคคล จัดว่าดี

  ดังนั้น ท่านทั้งหลาย เมื่อรู้ตัวกันอย่างนี้ แล้ว ก็ควรจะต้องรู้กิจ ของ สาวกภูมิเบื้องต้น เพื่อส่งเสริมคุณธรรม กันต่อไป กิจเบื้องต้น ของ โคตรภู นั้นก็คือ

    ศึกษา เรื่อง มรรค ข้อ ปฏิบัติ พิจารณา ธรรม จากกาย มีลมหายใจ เข้า ออก เป็นต้น เพื่อทำลายความมัวเมา ในตัวตนเบื้องต้น
   
    ศึกษา ในเรื่องสอง คือ สร้างศรัทธา ในพระรัตนตรัยให้เพิ่มขึ้น เป็นอุปนิสัย รู้จักการขอขมากิจ ไม่ล่วงเกินพระรัตนตรัย

    ยังมีต่อนะจ๊ะ
   


ขอบคุณภาพจาก http://www.samathi.comAeva Debug: 0.0004 seconds.Aeva Debug: 0.0005 seconds.

ธัมมะวังโส:


   ศึกษา ในเรื่องที่สาม ก็คือ มรรค อริยสัจจะ ให้เข้าใจ วิถีของมรรค มี ศีล เป็นบาท เป็น ปฐมบท เพื่อรักษา กาย วาจา ให้สงบ เรียบร้อย เป็นผู้มีศีล รักษ์ศีล ไม่หลอก ไม่ลวง ไม่เบียดเบียนตนเอง และ ผู้อื่น โดยมีความเห็นถูกต้อง และ ความมุ่งมั่นในการสร้าง กุศล เป็นแรงสนับสนุน

   ศึกษา ในเรื่องที่ สี่ คือ มรรควิุถึ อันเป็นเรื่องสำคัญ คือ สติ ความเพียร และ สมาธิ อันอยู่ในขอบเขตของ กรรมฐาน อันมีองค์ประกอบ คือ สมถะ และ วิปัสสนา โดยเฉพาะการพิจารณาธรรม ที่ได้ผลที่สุด พร้อมที่สุด ดีที่สุด ก็ตอนที่ อกุศลเบื้องต้นดับ อกุศลเบื้องต้นดับได้อย่างไร ดับได้เพราะจิตเข้า อุปจาระฌาน เป็นต้นไป ดังนั้นผู้ภาวนา จึงต้องมีการทำใจใหสงบ ให้เรียบง่าย ให้สว่างไสวด้วยสติ จึงจักพิจารณา ธรรม อันเรียกว่า กาย จิต นี้ได้

Aeva Debug: 0.0004 seconds.

ธัมมะวังโส:


   บางท่่านอาจจะท้อ และ พยายามภาวนาโดยหลีกเลี่ยง เรื่องการทำสมาธิ ซึ่งความเป็นจริง แล้ว  สติ ความเพียร และ สมาธิ เป็นองค์เดียวกัน นับเนื่อง พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ดังนั้น ถ้าไม่เข้าใจ ก็แนะนำการภาวนาด้วย อนุสสติ ที่ชื่อว่า พุทธานุสสติกรรมฐาน ซึ่งในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ จัดเป็นกรรมฐานกองแรก ที่ต้องภาวนาสำหรับ ทุกจริตเลยเพราะกรรมฐาน ส่วนนี้เป็น ทั้งสมถะ และ วิปัสสนา และมุ่งการสำเร็จบรรลุธรรมเ็ป็นพระอริยะบุคคล เบื้องต้น ดังนั้น ท่านทั้งหลายอย่าท้อถอย ต่อการเจริญภาวนา อันเอื้อเรื่องสมาธิ เพราะ เมื่อ สติ ความเพียร และ สมาธิ เป็นหนึ่งเดียวกัน เมื่อใด เมื่อนั้น ท่านทั้งหลาย จักมองเห็น ตามความเป็นจริงได้

   ปัญญาญาณ หรือ วิปัสสนาญาณ หรือ ความรู้เห้นตามความเป็นจริง มีพื้นฐานจากการเิริ่มเห็น กาย 1 จิต 4 ที่เรียกว่า ขันธ์ 5 มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ หรือ ย่นย่อว่า กาย จิต หรือ รูป นาม หรือ นามรูป ซึ่งการที่ทั้งหลาย มี ศีล มีสมาธิ ย่อมทำให้เกิดปัญญา มองเห็นตามความเป็นจริงได้ ดังนั้น เมื่อเรียนธรรม ไม่เรียนนอกตัว ไม่เรียนในการมองผู้อื่น แต่เรียนเข้ามาที่ตัว พิจารณาที่ตัว ปัญญาญาณย่อมเกิดไปตามลำดับ ในการมองเห็น ตามความเป็นจริง ที่เรียกว่า ยถาภูตญาณทัศศนา คือ การเห็นตามความเป็นจริง ว่า

   นามรูป เป็นอย่างนี้ อันนี้เรียกว่า กาย อันนี้เรียกว่า จิต ย่อมหามูลเหตุแห่งทุกข์ ได้อย่างจริงแท้ ด้วยใจ



 
 ขอบคุณภาพจาก http://www.watpit.makewebeasy.com
  Aeva Debug: 0.0007 seconds.

ธัมมะวังโส:


วิปัสสนาญาณ 16
เป็นอารมณ์ ที่กำหนด สติ รู้รูปนาม รู้พระไตรลักษณ์ รู้มรรค รู้ผล รู้นิพพาน จำแนก ดังนี้
1.นามะรูปปะริจเฉทะญาณ  รู้แจ้งการกำหนด รูป และ นาม รู้ว่าอะไรเป็นรูป อะไรเป็น นาม



สัมปชัญญะ รู้แทงตลอดอย่างชัดเจน
หมายความว่า รู้รูปนาม ตามทวารทั้ง 6 และรู้รูปนามตามอิริยาบถต่าง ๆ
รู้รูปนามตามทวารทั้ง 6 นั้น คือ รู้อย่างนี้
1.เวลา ตา เห็นรูป
2.หู ได้ยิน เสียง
3.จมูก ได้ กลิ่น
4.ลิ้น ได้ลิ้ม รส
5.กาย ถูกต้อง เย็นร้อน อ่อน แข็ง
6.ใจ นึกคิด ธรรมารมณ์
รู้ได้ว่ากระบวนการของ ขันธ์ 5 ได้เกิดขึ้นแล้ว
ยกตัวอย่าง
ตา ได้ เห็น รูป  ตอนนี้ เป็นรูปขันธ์
จักขุประสาท ก็เป็นรูป  รูปกระทบ คือ สี ลักษณะ สัณฐาน ก็เป็นรูป
รูปขันธ์ เมื่อเกิดแล้ว ถ้ารู้สึกสบาย หรือ ไม่สบาย หรือ เป็นกลาง ๆ ตอนนี้ เป็น เวทนาขันธ์
ในขณะนั้น ก็สามารถ จำแนก รูปขันธ์ในบัญญัติ ได้ ทั้งที่จำได้ หรือ จำไม่ได้ ตอนนี้ เป็น สัญญาขันธ์
เมื่อสัญญาขันธ์ เกิดขึ้น ก็เกิดความคิด ปรุงแต่งกับรูปขันธ์  และ เวทนาขันธ์ ด้วยอาการต่าง ๆ ตอนนี้ สังขารขันธ์ ได้เกิดขึ้นแล้ว
เมื่อสังขารขันธ์ เกิดขึ้น ความรู้ก็เกิดขึ้น  วิญญาณขันธ์ ก็เกิดขึ้น
ย่อขันธ์ทั้ง 5 ลง คงเหลือ เพียง รูป และ นาม
รูป คงเป็น รูป 
เวทนา สัญญา  สังขาร และ วิญญาณ เป็นนาม

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป