ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
หน้า: [1] 2 3 ... 10
 1 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 09:29:37 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



ตอน ๑. รู้ไว้ก่อน กันเขว



 :25: :25: :25:

เรื่องเก่าคําเก่า พระพุทธเจ้าสอนให้คิดใหม่ทําใหม่

พูดถึงเรื่องที่ว่าชาวพุทธจะเกี่ยวข้องสัมพันธ์จะทําอะไรๆ ก็ให้มีความรู้เข้าใจ ให้มองด้วยความรู้ ให้มีให้ได้ความรู้ ก็เลยขอพูด กว้างออกไปขอยกตัวอย่างสักหน่อย ที่เรียกกันว่าชาวพุทธเวลานี้ มีอะไร หลายอย่างที่ทําตามๆ กันไป ว่ากันเรื่อยเฉื่อย บางทีก็ทําไปแค่ ตามความรู้สึก คิดได้แค่ที่ถูกความรู้สึกลากไป ถึงเวลาจะต้องมา สะกิดใจนึกว่า เอ๊ะ.. ที่เราทํานั่นทํานี่นั้น เรารู้เรื่อง เราเข้าใจดีไหม

เอาง่ายที่สุด เรื่องสวดมนต์ อย่างพระมานี่ ก็มีการสวดมนต์ สวดปาติโมกข์ เอ๊ะ.. สวดมนต์นี้คืออะไร เราทําไปทําไม มี วัตถุประสงค์อะไรนะ เรารู้เราเข้าใจไหม บอกแล้วว่าพุทธศาสนา เป็นศาสนาของผู้รู้ ถ้าทําไปโดยไม่รู้ว่าไปตามความรู้สึก มันก็ไม่ใช่ ไม่เข้าหลักแล้ว

คําว่า “สวดมนต์” นี่ มามองดูกันหน่อย ว่ากันไปแล้ว มันก็ ไม่ใช่ศัพท์พระพุทธศาสนา ไม่ใช่คําพุทธแท้ด้วยซ้ำ “มนต์” มาจากไหน.? มนต์ คือ มันตะ มาจากบาลีว่า “มนุต” ใช้กันมาแต่เดิมในคัมภีร์ทั้งหลาย เป็นเรื่องของพวกพราหมณ์ พวก ฤๅษี ตรงกับคําสันสกฤตว่า “มนตร” คือ มันตระ แล้วก็มนตร์

ว่ากันตั้งแต่ดั้งเดิม มันตระ คือมนตร์นี่ ในความหมายที่ ๑ ซึ่งเป็นความหมายหลัก ก็คือ คัมภีร์พระเวท ที่เรียกว่าไตรเพท ในพระไตรปิฎกมากหลายแห่ง เมื่อกล่าวถึงพราหมณ์ ใหญ่โตคนสําคัญที่มาเฝ้ามาสนทนา มาโต้ตอบวาทะกับ พระพุทธเจ้าจะบอกว่าพราหมณ์นั้นๆ ผู้เป็น “อชฌายโก มนฺตธโร ติณณ์ เวทาน ปาร์ค..” คือ ผู้คงแก่เรียน ผู้ทรงมันตระ/มนตร์ (อรรถกถามักไขความว่า หมายถึงอาถรรพเวท แต่ก็มีคัมภีร์ที่อธิบายว่า มนต์ มันตระนี้หมายถึงมูลเวท คือพระเวทดั้งเดิม ส่วนทางฝ่ายสันสกฤตว่าคือ ตัวแท้ของพระเวท) จบไตรเพท

มนต์/มนตร์นั้น พวกพราหมณ์พวกฤษีบางทีก็เอาไว้สาปแช่ง คนอื่น แล้วก็มีมนต์ที่เป็นคําขลังศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เช่น มนต์สะกดคน สะกดสัตว์ต่างๆ เช่นจะให้คนอ้าปากค้างพูดไม่ออก จะให้ช้างเชื่อง ให้ช้างให้เสืออยู่ใต้อํานาจ สามารถสั่งบังคับมันได้ ก็ร่ายมนต์ สะกดมัน คือมีมนต์ขลังสารพัดเลย แล้วคนก็มาวุ่นอยู่กับเรื่องขลัง เรื่องศักดิ์สิทธิ์ฤทธิ์อํานาจ ไปๆ มาๆ เมื่อไม่เอาความรู้ ไม่เอาปัญญาเป็นหลัก ก็จะพากันเพลินไปจนหลงเข้ากระแสของไสยศาสตร์

@@@@@@@

ทีนี้ ทําไมในพระพุทธศาสนาเราจึงมีการสวดมนต์ หรือใช้คํา ว่า “สวดมนต์” ด้วย นี่ก็น่าคิด

อย่างที่รู้กัน พระพุทธศาสนานั้นเกิดขึ้นในชมพูทวีป ในสมัย ที่ศาสนาพราหมณ์เป็นใหญ่ เรียกได้ว่าครอบงําสังคมทั้งหมด สภาพสังคม จนถึงบรรยากาศของสังคมเป็นเรื่องของศาสนา พราหมณ์ เช่น ไม่ว่าจะไปไหน ก็มีการสวดสาธยายมนต์ มีพิธีบูชา ยัญ มีการไหว้เทพเจ้าที่มีพระพรหมเป็นใหญ่ ถ้อยคําพูดจาของ ผู้คนก็มีความหมายตามความเข้าใจของคนที่อยู่ในศาสนา พราหมณ์ มีอะไรต่ออะไรที่เป็นเรื่องของศาสนาพราหมณ์ทั้งนั้น

เมื่อพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นมาในสภาพอย่างที่ว่านั้น จะทําอย่างไร เราจะสอนอะไรแปลกใหม่ ก็ไม่มีศัพท์แสงถ้อยคําที่ผู้คน จะเข้าใจ แล้วจะทําอย่างไร ถึงแม้ว่าเราจะมีคําใหม่ๆ ขึ้นมา เราก็ ต้องเอาศัพท์ของเขามาใช้บ้างเป็นธรรมดา แต่คําอย่างของเขาที่ เราใช้นั้น มีความหมายไม่เหมือนกับของเขา เราก็ต้องค่อยๆ ชี้แจง ว่า คําเดียวกับเขาที่เราใช้นี่ มิใช่หมายความอย่างของเขานะ นอกจากนั้น บ่อยครั้ง พระพุทธเจ้าทรงใช้คําของพราหมณ์ เพื่อจะทรงสอนให้เขาเปลี่ยนความคิดความเข้าใจเสียใหม่ คือให้ เลิกคิดเรื่องนั้นๆ ในความหมายเก่าของเขา แต่ให้หันมาคิดมาทําอย่างใหม่

ถ้อยคําสําคัญของพราหมณ์ ที่เป็นหลักการใหญ่ของเขา พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เขาคิดใหม่ทําใหม่ เช่น ในการบูชายัญของ พราหมณ์ เขาเอาแพะ แกะ วัว มาฆ่าบูชายัญ โดยเฉพาะผู้ครอง แผ่นดิน อย่างพระมหากษัตริย์ก็ทรงทําพิธีบูชายัญสําคัญ อย่าง อัศวเมธที่ใหญ่ยิ่ง ก็ฆ่าม้าที่เยี่ยมยอดบูชายัญ พร้อมทั้งฆ่าสารพัด พ่วงไปด้วย แต่ถ้าเป็นพิธีบูชายัญใหญ่ๆ รองลงมา ซึ่งทํากันบ่อย หน่อย ก็ฆ่าวัว ๕๐๐ แพะ ๕๐๐ แกะ ๕๐๐ ดังที่ท่านเล่าไว้ บ่อยครั้งในพระไตรปิฎก

ทีนี้ พระพุทธเจ้าทรงสอนให้คนเลิกบูชายัญ ซึ่งมีเรื่องเล่าไว้ มากในพระไตรปิฎก บางครั้ง พระพุทธเจ้าก็เสด็จไปพบกับ พราหมณ์ใหญ่ที่กําลังจะทําพิธี เช่น พราหมณ์เจ้าเมืองแห่งหนึ่ง กําลังจัดเตรียมพิธีบูชายัญ เริ่มต้นตั้งแต่ให้จับวัว แพะ แกะ เอามา ผูกกับหลักที่บูชายัญ พระพุทธเจ้าเสด็จตรงไปหาเจ้าเมืองผู้ทําพิธีนั้น แล้วก็ทรงสนทนาด้วย

พระพุทธเจ้าตรัสบอกเขาว่า มีวิธีบูชายัญที่ไม่ต้องทําอย่างนี้ คือไม่ต้องทําให้ข้าทาสบริวารลําบากเดือดร้อน และสัตว์ทั้งหลายก็ ไม่ต้องเสียชีวิตถูกฆ่าถูกเฉือน แต่ได้ผลดีกว่าวิธีที่มีการฆ่าแบบนี้ ซึ่งในยุคโบราณก่อนนั้นก็ได้มีมาแล้ว

@@@@@@@@

เขาถามว่า มีอย่างไร พระพุทธเจ้าก็ตรัสบอกให้ โดยสรุป พระพุทธเจ้าได้ทรงสอนวิธีบูชายัญ ด้วยการจัดการทรัพย์สิน โดยให้ผู้ครองเมือง หรือผู้ครองแผ่นดิน จัดตั้งแผนการจัดสรรทรัพย์ โดยรวบรวมทุน แล้วก็จัดสรรแบ่งปันกระจายออกไปให้ทั่วถึงกันแก่คนทุกหมู่เหล่าผู้ทําหน้าที่การงานการอาชีพประเภทนั้นๆ ให้ทั่วจนถึงราษฎรยากจนทั้งแผ่นดิน ให้อยู่กันดีมีพอกินพอใช้พอใจที่จะ ได้ตั้งใจทําการงานอาชีพของตนๆ ต่อไป

เมื่อผู้ครองเมืองบูชายัญแบบนี้ ก็จะเกิดผลดีถึงขั้นที่เรียกว่า "บ้านเรือนไม่ต้องลงกลอน ให้บุตรฟ้อนบนอก”

นี่เป็นสํานวนบาลี หมายความว่า ถ้าทําพิธีบูชายัญแบบนี้ ประชาชนก็จะอยู่กันร่มเย็นเป็นสุข ถึงขั้นที่ว่า “บ้านเรือนไม่ต้องลง กลอน” หมายความว่า ไปไหนก็ไม่ต้องใส่กุญแจบ้าน เพราะไม่มี คนที่จะมาลักขโมย ไม่มีโจรผู้ร้าย

แล้วที่ว่า “ให้บุตรฟ้อนบนอก" ก็หมายความว่า ในบ้านใน ครอบครัวจะมีความสุข ถึงขั้นที่ว่าไม่ต้องห่วงกังวลหวาดกลัวภัย อะไรๆ สามารถเล่นกับลูกน้อยให้เขากระโดดโลดเต้นบนอกของพ่อ แม่ คนจะมีความสุขกันอย่างนี้ นี่คือการบูชายัญตามคติของ พระพุทธศาสนา ไม่ใช่ยัญแบบพราหมณ์ แต่เป็นยัญแบบพุทธ ผู้ปกครองจะต้องทําบ้านเมืองให้คนอยู่กันได้อย่างนี้

เรื่องยัญนี้ พระพุทธศาสนาสอนเยอะ เพราะว่าพวก พราหมณ์นั้นมีพิธีบูชายัญทุกบ้านทุกครอบครัวและเป็นประจําทุกวัน ตั้งแต่เริ่มวันใหม่กันเลย แต่ละบ้านต้องบูชายัญประจําวัน ขาด ไม่ได้ และมีกําหนดว่าต้องทําอย่างนั้นๆ พระพุทธเจ้าเสด็จไปถึง ก็ทรงสอนให้เลิกทํา หรือให้แก้ไขเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด นอกจากการบูชายัญ ก็ทรงยกเลิกระบบวรรณะด้วย

อีกตัวอย่างหนึ่งที่ง่ายๆ คือคําว่า “ทักษิณา” คํานี้เราก็เอา ของพราหมณ์มาใช้ เป็นบาลีว่า “ทักขิณา

ทักษิณา คือ ของตอบแทนที่มอบให้หรือถวายให้แก่พราหมณ์ ผู้ทําพิธีบูชายัญ ถ้าพูดอย่างไม่เกรงใจ ก็คือ ค่าจ้างทําพิธีบูชายัญ ทีนี้พระพุทธศาสนาเกิดขึ้น พระพุทธเจ้าทรงให้เลิกพิธีบูชายัญ ทักษิณาก็เปลี่ยนมามีความหมายใหม่ หมายถึงสิ่งที่นํามาทําบุญ ด้วยใจศรัทธา ที่เชื่อในบุญในกรรมในธรรม ความหมายเปลี่ยนใหม่ แต่สิ่งของก็คล้ายๆกัน คือเป็นของให้ ของถวาย

เรื่องที่ว่าความหมายเปลี่ยนไป หลักการเปลี่ยนไปอย่างนี้ มี ตัวอย่างเยอะแยะทั่วไป คือ คําเก่าเขาใช้มา เราเกิดมาใน สภาพการณ์อย่างนั้น ก็เอาคําของเขามาใช้ แล้วก็ค่อยๆ ให้คน เข้าใจใหม่ให้ถูกต้อง

@@@@@@

รู้จักพุทธมนต์ไว้ พอไม่ให้กลายเป็นไสยศาสตร์

ทีนี้ก็มาดูกันในเรื่องการสวดมนต์ ที่จริงเรามีศัพท์ของเราอยู่ แล้ว และแต่เดิมนั้นเราใช้คําว่า “มนต์” เพียงบางครั้งบางโอกาส โดยเป็นการใช้แบบเทียบเคียงเพื่อให้เขาเข้าใจเรื่องของเรา ด้วยค่าเรียกเรื่องที่เขารู้จักดีอยู่แล้ว

บางทีเราก็ใช้คําว่ามนต์นั้น เป็นเชิงล้อศัพท์ของพราหมณ์ เพื่อให้เห็นความหมายอย่างอื่นต่างออกไป ที่ประชาชนควรเข้าใจจะได้เลิกหลงเลิกติดอยู่กับมนต์ในความหมายอย่างเก่าของพวกพราหมณ์พวกฤษี

อย่างที่ได้บอกแล้วเมื่อกี้นี้ว่า มนต์ (บาลี : มนุต) หรือมนตร์ (สันสกฤต : มนตร) ตามความหมายหลักแต่เดิมมา หมายถึงพระ เวท ที่เป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของพราหมณ์ แล้วรองลงมาก็หมายถึง ค่าขลังศักดิ์สิทธิ์ ที่พวกพราหมณ์พวกฤษนั้นเอามาร่ายมาเสกมา สาธยาย ให้เกิดอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ สาปแช่งคนให้ตายหรือให้ เป็นไปต่างๆ บ้าง ชุบคนตายให้เป็นขึ้นมาบ้าง สะกดคนสะกดสัตว์ ให้อยู่ในบังคับ ให้เป็นไปต่างๆ บ้าง

พวกฤษีนั้นโกรธเกลียดใครมากๆ ก็มักสาปแช่งให้ศีรษะแตก ตายใน ๗ วัน พระโพธิสัตว์ก็เคยถูกสาปแช่งอย่างนั้น โดยฤษีที่มา จากวรรณะพราหมณ์ คือพราหมณ์ที่มาบวชเป็นฤษี

ในเรื่องนั้น พระโพธิสัตว์เกิดเป็นคนจัณฑาล ต้องการปราบ มานะคือความเย่อหยิ่งถือตัวของพวกพราหมณ์ ก็ไปแกล้งฤษี พราหมณ์ แล้วก็ถูกฤษีพราหมณ์นั้นสาปแช่งว่า ให้แกต้องไปทําอย่างนั้นๆ ไม่อย่างนั้นให้ศีรษะแตกใน ๗ วัน แต่พระโพธิสัตว์แก้ไขได้ ไม่เป็นไร จนในที่สุดฤษีพราหมณ์นั้นต้องยอมแพ้ อะไรอย่างนี้มีเยอะ เรื่องผจญกับพวกพราหมณ์ ลัทธิเก่านี่มีมากมาย

@@@@@@@@

ทีนี้ คําว่า มนต์, มนตร์, มันตระนี่ ดังที่ว่าแล้ว เดิมนั้นเป็น เรื่องของพราหมณ์ ไม่ใช่เป็นคําพุทธ แต่บางครั้งท่านนํามาใช้ใน พระพุทธศาสนาในความหมายเชิงเทียบเคียง เช่น ในเรื่องของพระเถรีชื่อว่ากุณฑลเกสี

พระกุณฑลเกสี เป็นพระเถรีสําคัญมาก เป็นมหาสาวิกาองค์ หนึ่ง ท่านมีชื่อเป็นทางการว่า “พระภัททากุณฑลเกสา" พระพุทธเจ้าทรงยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในด้านชิปปาภิญญา คือ ตรัสรู้ฉับพลัน (ค่าไทยว่า “ตรัสรู้” นี้ เท่าที่ค้นได้ สมเด็จพระสังฆราช สมัยก่อน ครั้ง ร.๒ อย่างน้อยถึง ร.5 ทรงใช้สําหรับทุกบุคคลที่บรรลุมรรคผล แต่สมัยนี้จํากัดว่าให้ใช้เฉพาะพระพุทธเจ้า)

พระกุณฑลเกสีเถรีนี้เป็นธิดาของเศรษฐีในเมืองราชคฤห์ มีประวัติเป็นเรื่องผจญทุกข์เผชิญภัย แล้วด้วยปัญญาไวก็เอาชนะ ผ่านมาได้ เป็นเรื่องตื่นเต้นน่าสนใจ แต่ขอเล่ารวบรัดว่า ต่อมาท่านได้เป็นปริพาชิกาในลัทธิภายนอก เที่ยวเดินทางไปแสวงธรรมหาความจริง และเพราะเป็นคนมีปัญญาเยี่ยม ก็เที่ยวท้าหาคนเก่งๆ มาตอบปัญหาโต้วาทะ จนมาเจอกับพระสารีบุตร ท่านถามปัญหา มากมาย พระสารีบุตรตอบได้หมด

แล้วพระสารีบุตรถามบ้าง ท่าน ตอบไม่ได้ และจึงถามด้วยความอยากรู้อยากเรียนว่า ที่พระสารีบุตรถามนั้นเป็นเรื่องอะไร พระสารีบุตรก็ตอบโดยใช้คําว่าเป็น “พุทธมนต์” นี่คือใช้คําว่ามนต์มาสื่อความหมายให้คนภายนอก เข้าใจถึงความสําคัญ ท่านกุณฑลเกสีอยากจะเรียน จึงได้บวช และต่อมาก็ได้เป็นพระภิกษุณีสําคัญ

ดังที่ว่า อย่างไรก็ดี ในเรื่องของพระกุณฑลเกสีเถรีนี้ คําที่ใช้ยังไม่แน่ชัด คือในคัมภีร์ฉบับของพม่า ของสิงหล และฉบับอักษรโรมัน บอกว่าพระสารีบุตรตอบโดยใช้คําว่าเป็น “พุทธปัญหา” ไม่ได้ใช้ คําว่าเป็น “พุทธมนต์” อย่างในฉบับของไทย ก็ไม่เป็นไร ถ้าจะให้ เป็นเรื่องที่แน่ชัดกว่านี้ ก็ต้องเอากรณีที่คนผู้เป็นพราหมณ์ชํานาญเวทมาพบกับพระเถราจารย์องค์สําคัญๆ

พระสาวกองค์สําคัญๆ ของพระพุทธเจ้า ส่วนมากมาบวช โดยสลัดออกจากตระกูลพราหมณ์ เพราะในระบบวรรณะนั้น คนที่เกิดในวรรณะพราหมณ์ถือตัวว่าเป็นชนชั้นสูงสุด เป็นคนพวกเดียว ที่ติดต่อถึงกับพระพรหมผู้เป็นเจ้าได้ และเข้าถึงการศึกษาได้จริงจังเต็มที่ พราหมณ์จึงเป็นทั้งผู้มีอํานาจใหญ่โต และเป็นปัญญาชนของยุคสมัยนั้น

@@@@@@@@

ในที่นี้ จะพูดถึงพราหมณ์ ๒ ท่าน ที่ได้สละความเป็นพราหมณ์ออกมาบวช และได้เป็นบุคคลสําคัญ

ในประวัติศาสตร์ พระพุทธศาสนา ยุคหลังพุทธกาล หลังพุทธปรินิพพาน ๒๐๐ ปี เศษ พระเจ้าอโศกได้เป็น มหาราชปกครองชมพูทวีปในยุคที่อินเดียกว้างใหญ่ไพศาลที่สุด พระองค์ทรงหันมานับถือพระพุทธศาสนา ทรงอุปถัมภ์บํารุงวัด และพระสงฆ์เต็มที่ แล้วก็ได้มีคนจากลัทธิภายนอก ซึ่งอยากได้ ลาภมากมายเพื่อให้เป็นอยู่สุขสบาย เข้ามาบวชและเอาคําสอนที่ ผิดเพี้ยนเข้ามาสั่งสอน เป็นอันตรายต่อพระพุทธศาสนา ทําให้ ความรู้ความเข้าใจหลักธรรมฟันเฟือน พระเจ้าอโศกมหาราชจึงได้ ทรงอุปถัมภ์พระสงฆ์ในการทําสังคายนา (ครั้งที่ ๓) โดยได้พระ โมคคัลลีบุตรติสสเถระเป็นประธานการสังคายนานั้น

พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระนี้ เดิมทีก็เกิดในวรรณะพราหมณ์ มีชื่อว่าติสสะ เป็นเด็กสมองดี จึงเรียนจบไตรเพทตั้งแต่เป็นมาณพ น้อยอายุเพียง ๑๖ ปี แล้ววันหนึ่งมีเหตุการณ์ที่ทําให้พระเถระชื่อว่าสิคควะ มานั่งบนแท่นที่นั่งของเขา ติสสมาณพนั้นถือตัวนัก กลับจากบ้านของอาจารย์มาเห็นเข้า ก็โกรธมากและต่อว่า แล้วลงท้ายก็ถามกันถึงความรู้เรื่องมนต์

พระถามว่า “นี่มาณพน้อย เธอรู้มนต์บ้างไหม.?"
ติสสะตอบว่า “ถ้าคนอย่างข้าไม่รู้ คนอื่นที่ไหนใครจะรู้"
แล้วเขาก็ยกเอาเรื่องที่ยากๆ ในไตรเพทและคัมภีร์สําคัญของพราหมณ์ขึ้นมาพูดและถามพระเถระเพื่อจะข่ม แต่พระสิคควะตอบได้ อธิบายได้หมด เพราะท่านก็ได้เรียนจบไตรเพทมาแล้ว แถมได้ปฏิสัมภิทามีปัญญาแตกฉาน

มาณพหมดภูมิที่จะถามแล้ว พระเถระก็บอกว่า เธอถามมามากแล้ว ฉันถามบ้างได้ไหม ขอข้อเดียวแหละ มาณพบอกว่า ก็ถามมาสิ พระเถระถามว่า
     “จิตของผู้ใดเกิด ไม่ดับ จิตของผู้นั้น จักดับ จักไม่เกิด หรือว่า จิตของผู้ใด จักดับ จักไม่เกิด จิตของผู้นั้น เกิด ไม่ดับ”

มาณพน้อยเมื่อกี้หมดภูมิที่จะถามแล้ว คราวนี้ไม่มีภูมิ ที่จะตอบ คิดทางไหนก็ไปไม่ได้ ในที่สุดจึงถามว่า ที่ท่านถามมานั้น เป็นเรื่องอะไร พระตอบว่าเป็น “พุทธมนต์”

มาณพถามว่าให้ฉันได้ไหม พระตอบว่า ถ้าเธอเป็นเหมือนอย่างฉันนี่ ก็ให้ได้ (คือ ถ้าบวช เป็นพระเป็นเณรเหมือนกันแล้ว ก็จะให้) มาณพน้อยอยากได้พุทธมนต์ ก็ไปขออนุญาตบิดามารดา ฝ่ายพราหมณ์พ่อแม่คิดว่าลูกไปบวชได้มนต์แล้ว ก็จะกลับมาบ้านเอง จึงยอมให้ไป

พระเถระให้มาณพน้อยบวชเป็นสามเณรแล้ว ก็จัดการให้ได้ฝึกได้เรียนพุทธพจน์ จนถึงเวลาก็อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่มีความรู้เชี่ยวชาญทรงพระไตรปิฎก แล้วก็ได้เป็นพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระที่เป็นประธานการสังคายนาครั้งที่ ๓ นั้น ใน พ.ศ. ๒๓๕-๖

@@@@@@@

ในเรื่องนี้จะเห็นว่า พระเถระใช้คําว่า “พุทธมนต์" เพื่อให้ มาณพได้ความคิดความเข้าใจและสนใจโดยเทียบเคียงกับเรื่อง จําพวกไตรเพทที่เขารู้จักอยู่แล้วและเขาถือว่าสําคัญยิ่งใหญ่ แต่ที่จริงพุทธมนต์นั้นก็คือพุทธพจน์ หรือบทธรรมข้อธรรมทั้งหลาย นี่เอง และพุทธมนต์ คือมนต์ของพระพุทธเจ้านี้เป็นเรื่องสําหรับ ศึกษาที่จะต้องเรียนให้รู้เข้าใจด้วยปัญญา ไม่ใช่แค่เอามาจําให้ แม่นใจแล้วว่าให้คล่องปาก โดยไม่รู้ว่าอะไรเป็นอย่างไร

(คําว่า “พุทธมนต์” นี้ มีการใช้ในความหมายแบบที่เป็นมนต์ ของพราหมณ์ด้วย คือหมายถึงมนต์ในคัมภีร์มหาบุรุษลักษณะ ที่ ใช้ทํานายลักษณะของพระพุทธเจ้า และบุคคลสําคัญในระดับใกล้เคียง)

หลังสังคายนาเสร็จแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชทรงพอพระทัยว่าพระพุทธศาสนธรรมจะเจริญมั่นคง และควรจะให้ประเทศถิ่นดินแดนอื่นได้ประโยชน์ด้วย จึงทรงอุปถัมภ์ให้ส่งพระเป็นศาสนทูตไปประกาศพระพุทธศาสนาในดินแดนต่างๆ ๙ สาย รวมทั้งสุวรรณภูมิที่ตั้งประเทศไทยนี้ด้วย โดยเฉพาะที่ถือได้ว่าเป็น หลัก คือสายที่ ๙ สู่ลังกาทวีป ซึ่งพระหัวหน้าสาย คือพระมหินทเถระ เป็นโอรสของพระองค์เอง

สิ่งที่พระมหินทเถระนําไปเพื่อประดิษฐานพระพุทธศาสนาในลังกาทวีป คือ พระไตรปิฎกและอรรถกถาทั้งหลายนั้น (นําไปในตัวพระสงฆ์ ที่สมัยนั้นใช้วิธีสาธยายทรงจําไว้) ได้เป็นฐานที่มั่นสําคัญของพระพุทธศาสนา โดยต่อมาได้จารึกเป็นตัวอักษร และหลายประเทศได้มารับเอาไป รวมทั้งรับกลับไปสู่อินเดียแดนเดิมของพระพุทธศาสนาเอง

ที่ศรีลังกานั่นแหละ ต่อมา พระราชาก็ได้ทรงส่งทูตไปทูล พระเจ้าอโศก ขออาราธนาพระสังฆมิตตาเถรีมาประดิษฐานภิกษุณีสงฆ์ในลังกาทวีป พระสังฆมิตตาเถรีก็คือพระราชธิดาของพระเจ้าอโศกมหาราชเอง และพระเถรีได้นํากิ่งพระศรีมหาโพธิ์ไปปลูกไว้ที่อนุราธปุระซึ่งเป็นเมืองหลวงของศรีลังกาในสมัยนั้นด้วย และในปัจจุบัน พระศรีมหาโพธิ์ต้นนี้ก็ยังยืนต้นอยู่ โดยมีชื่อว่าเป็น ต้นไม้ประวัติศาสตร์ที่มีอายุยืนยาวที่สุดในโลก




รู้จักพุทธมนต์จริง ก็จบพระพุทธศาสนา

ที่เล่าเมื่อกี้นี้เป็นเรื่องราวในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ที่ พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก ซึ่งอยู่ในช่วงเวลา ๓ ศตวรรษแรก แต่หลังจากนั้น พุทธศาสนาในอินเดียก็ประสบภัย ถูก เบียดเบียนเรื่อยมา

บอกแล้วว่าพวกพราหมณ์ถือตัวว่าเป็นวรรณะประเสริฐ สูงสุด เป็นเจ้าคัมภีร์ที่พระพรหมทรงลิขิตชีวิตคนและสังคมไว้ และ พราหมณ์ก็ได้ผลประโยชน์ทุกอย่างจากอํานาจในฐานะของตน แต่เมื่อพระพุทธศาสนาเกิดขึ้น

พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เลิกถือวรรณะ ให้เลิกบูชายัญ ให้รู้ว่าคนมีชีวิตที่เกิดมาตามเหตุปัจจัยของธรรมชาติ ไม่ใช่เกิดจากพระพรหมสร้าง และมนุษย์สามารถฝึกศึกษาพัฒนาตัวให้ดีเลิศประเสริฐได้เหนือพระพรหม นี่ก็เท่ากับโค่นล้มพราหมณ์ลงทั้งหมด

แต่ก็พราหมณ์นั่นแหละจํานวนไม่น้อย ที่ใจดีมีปัญญา ได้ฟัง พระพุทธเจ้าแล้ว ก็เห็นตามที่พระองค์ทรงสอน และสละวรรณะ พราหมณ์ออกมาเป็นพุทธสาวกช่วยพระพุทธเจ้าสอนประชาชนให้ รู้เข้าใจความจริงและดําเนินชีวิตนําทางสังคมอย่างใหม่

เรื่องราวความเป็นไปอย่างที่ว่ามานี้ ทําให้พวกพราหมณ์ที่ยึดถือมั่นไม่พอใจ บ้างก็ถึงกับหาทางกําจัดพระพุทธศาสนา เฉพาะอย่างยิ่ง การบูชายัญเป็นหลักปฏิบัติใหญ่ เป็นที่ใช้อํานาจสิทธิ์ขาด และเป็นที่มาของผลประโยชน์มากมายของ พราหมณ์ เมื่อพระพุทธศาสนาสอนว่าการบูชายัญไม่มีผล และ สอนคนให้เลิกบูชายัญ พราหมณ์ก็ยิ่งผูกความแค้นเคืองอันไว้ จนถึงยุคหลังๆ ต่อมา พราหมณ์ใหญ่ที่ออกมาเป็นฮินดูทั้งหลาย ทั้งสายไวษณพ ที่นับถือพระวิษณุนารายณ์ และสายไศวะ ที่นับ ถือพระศิวะอิศวร ก็พากันพุ่งเป้ามาที่จะต้องกําจัด พระพุทธศาสนาลงให้ได้

เริ่มแต่ในยุคแรก ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (พ.ศ. ๒๑๘- ๒๖๐) ที่ทรงนับถือพระพุทธศาสนา อํานาจและอิทธิพลของ พราหมณ์ยิ่งน้อยลง พระเจ้าอโศก ถึงกับทรงให้เขียนประกาศใน ศิลาจารึกห้ามทําการบูชายัญด้วยชีวิต ไม่ว่าสัตว์ใหญ่น้อยชนิด ไหนๆ นี่คือทําให้พราหมณ์ขัดใจแค้นเคืองมาก

แต่ในเวลาเดียวกัน เมื่อพระเจ้าอโศกไม่ทรงถือวรรณะ พราหมณ์ซึ่งเป็นคนชั้นสูงเจ้าคัมภีร์ก็เข้ามารับราชการเป็นใหญ่เป็นโตโดยสะดวก เหมือนรอเวลาที่จะเอาคืน (เมื่ออังกฤษเข้ามาครองอินเดียเป็นอาณานิคม ก็ใช้อํานาจบังคับ ห้ามเอาคน เอาเด็ก เอาสาวพรหมจารีมาบูชายัญ จนถึงรัฐบาลอินเดียสมัยปัจจุบันก็มีกฎหมายห้าม แต่ขนาดมีกฎหมายให้ลงโทษอย่างแรง ก็ยังมีการลักลอบเอาเด็กหญิงพรหมจารีไปบูชายัญสังเวยเจ้าแม่กาลี นี่คืออํานาจความเชื่อแบบพราหมณ์)

@@@@@@@

เวลาผ่านมาแค่ราว ๑ ศตวรรษ ถึงรัชกาลพระเจ้าพฤหัทรถ ที่เป็นนัตตาหรือปนัดดาของพระเจ้าอโศกมหาราช พวกพราหมณ์ก็ ได้โอกาส โดยพราหมณ์ชื่อว่าบุษยมิตร ซึ่งเข้ามารับราชการจนได้เป็นเสนาบดี ได้วางแผนปลงพระชนม์ในพิธีสวนสนาม ล้มโมริยวงศ์ของพระเจ้าอโศกลงในราว พ.ศ. ๒๕๖ แล้วพราหมณ์ปุษยมิตร ก็ขึ้นเป็นราชา ตั้งราชวงศ์ใหม่ชื่อว่าคุงคะราชาปุษยมิตรได้รื้อฟื้นการบูชายัญขึ้นมา โดยทําพิธีอัศวเมธ (ฆ่าม้าบูชายัญ) อย่างยิ่งใหญ่ และทําลายพระพุทธศาสนา โดยเผาวัด กําจัดพระภิกษุสงฆ์ ถึงกับให้ค่าศีรษะแก่ผู้ฆ่าพระภิกษุ ได้ รูปละ ๑๐๐ ทินาร์

แต่ปุษยมิตรคงทําลายได้ไม่เต็มที่ เพราะแว่นแคว้นแตกแยก ออกไป บางถิ่นก็ยังบํารุงพระพุทธศาสนา เช่น พญามิลินท์ หรือ เมนานเดอร์ กษัตริย์พุทธแห่งแคว้นโยนก หรือ Bactria ซึ่ง ครองราชย์ที่เมืองสาคละ หรือสากละ (ในปัญจาบปัจจุบัน) ก็เป็น องค์อุปถัมภกสําคัญ

ต่อมาอีกราว ๗๐๐ ปี ใน พ.ศ. ๑๐๕๐ เศษ ที่เมืองสาคละ นั่นแหละ กษัตริย์มิตรกุละ (หรือ มหิรกุละ) ซึ่งเป็นชนเผ่าฮั่นขาว หรือหูณะ ที่บุกเข้าอินเดียมาทางอิหร่านและอัฟกานิสถาน ได้ขึ้น ครองราชย์ อยู่ในศาสนาพราหมณ์ โดยเป็นฮินดูนิกายไศวะ (นับ ถือพระศิวะ คืออิศวร) ได้ทําการร้ายตามที่พระถังซัมจั๋งเขียนเล่าไว้ ว่า มิหิรกุละได้สั่งให้กําจัดพุทธศาสนาให้หมดสิ้นจากดินแดนของพระองค์ทุกแห่ง

แต่มิหิรกุละถูกตอบโต้โดยพระเจ้าพาลาทิตย์ กษัตริย์ราชวงศ์ คุปตะ แห่งมคธ แล้วทําสงครามกัน มีหิรกุละถูกจับได้และขังไว้

ต่อมา มีหิรกุละหนีได้ ไปลี้ภัยอยู่ในแคว้นกัษมีระ (แคช เมียร์) แล้วสังหารกษัตริย์กับมีระเสีย ขึ้นเป็นกษัตริย์เอง แล้วรื้อฟื้น แผนการกําจัดพระพุทธศาสนา โดยล้มล้างพระสถูปทั้งหลาย ทําลายวัด ๑,๖๐๐ วัด สังหารพุทธศาสนิกชน ๙๐๐ โกฏิ แต่ใน ที่สุด ได้กระทําอัตวินิบาตกรรม โดยโจนเข้ากองไฟ

ต่อมาอีก ๑๐๐ ปี ราว พ.ศ. ๑๑๕๐ ศาสางกะ ซึ่งอยู่ใน ศาสนาพราหมณ์นั่นแหละ โดยเป็นกษัตริย์ฮินดูนิกายไศวะ เช่นเดียวกัน ครองราชย์ในแคว้นเคาตะ ในเบงกอลปัจจุบันภาค กลาง ได้ปลงพระชนม์กษัตริย์พุทธพระนามว่าราชยวรรธนะ แล้ว ทําลายพุทธศาสนาอย่างมากมาย แม้แต่เหรียญเงินตราของ กษัตริย์นี้ ก็เขียนกํากับชื่อราชาไว้ว่า “ผู้ปราบพุทธศาสนา” พระถังซัมจั๋งเขียนบันทึกไว้ว่า ศาศางกะได้สังหารพระภิกษุ ในแถบกุสินารา (กุศนคร) หมดสิ้น ทําให้สงฆ์พินาศไป และเป็นราชาที่ไปโค่นต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่พุทธคยาลง และขุดรากขึ้นมาเผา กับทั้งนําเอาพระพุทธรูปออกไปจากพระวิหารทางทิศตะวันออกของต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้น นําเอาศิวลึงค์เข้าไปไว้แทน

นอกจากนี้ นักบวชไศวะที่สําคัญคือ กุมารละ และตั้งกราจารย์ ก็เที่ยวสั่งสอนโจมตีพระพุทธศาสนา และไม่เท่านั้น เมื่อเดินทางไปไหน ก็พยายามชักจูงชวนกษัตริย์และคนชั้นสูงที่มีอํานาจ ให้เลิกอุปถัมภ์บํารุงวัดและพระพุทธศาสนา

แล้วสุดท้าย ราว พ.ศ. ๑๗๔๙ กองทัพมุสลิมเตอร์ก ก็บุกทําลายล้างพระพุทธศาสนาหมดสิ้นจากอินเดีย
ที่เล่ามานี้ เป็นตัวอย่างให้เห็นภัยอันตราย ที่ทําให้พระพุทธศาสนาเสื่อมสลาย

@@@@@@@

ทีนี้ก็มาดูเหตุการณ์สําคัญเมื่อใกล้ก่อนถึง พ.ศ. ๑๐๐๐ จะ ได้เห็นว่าเวลานั้น ในอินเดีย พระพุทธศาสนาก็โทรมหนักแล้ว การเล่าเรียนศึกษาธรรมวินัยอ่อนกําลัง ทําได้ยาก

มีเรื่องว่า เมื่อราว พ.ศ. ๙๕๖ ที่อินเดีย ณ ถิ่นใกล้เคียงต้นมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้นั่นเอง ในบ้านพราหมณ์ครอบครัวหนึ่ง มีเด็กฉลาดเกิดขึ้น ชื่อโมสะ มาณพน้อยนี้เรียนจบไตรเพท เก่งกล้าในศิลปศาสตร์ทุกอย่าง และเป็นเจ้าวาทะ จึงได้เดินทางไปในคามนิคมนครราชธานี ทั่วชมพูทวีป เที่ยวถกเถียงทางวิชาการไปทั่ว จนมาถึงวัดหนึ่ง ยังไม่พบใคร

ถึงราตรีก็สาธยายคําสอนของปตัญชลี (ผู้แต่ง “โยคสูตร”) พระมหาเถระที่วัดนั้นชื่อเรวัตได้ยิน ฟังแล้วก็รู้ว่าเขาเป็นคนเก่งมาก คิดว่าควรจะให้เขารู้จักธรรม จึงแกล้งพูดว่าใครหนอมา ร้องเสียงอย่างกับลา

มาณพถามกลับมาว่า ท่านรู้เข้าใจ ความหมายในเสียงลาหรือ พระเถระตอบว่ารู้ มาณพจึงซักถาม ตามหลักวิชาของพราหมณ์ ตั้งแต่ไตรเพท พระเถระก็ตอบได้หมด เสร็จแล้วจึงขอเป็นฝ่ายถามบ้าง (ในพุทธโฆสปปวตฺติกถา ท้าย คัมภีร์วิสุทธิมัคคี ฉบับอักษรไทย คําถามของพระเถระที่นี่ ตรงกับ ในเรื่องของพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ในสมันตปาสาทิกา น่าจะ มีความพลั้งเผลออะไรสักอย่าง จึงขอเล่าพอเป็นเค้าตามคัมภีร์สาสนวงศ์)

โดยถามเรื่องปรมัตถธรรมตามนัยแห่งอภิธรรมมาติกา มาณพตอบไม่ได้ จึงถามว่าเป็นเรื่องอะไร พระเถระก็ตอบว่า เป็น "พุทธมนต์" มาณพก็อยากเรียน แล้วก็ได้บรรพชาและ อุปสมบท และศึกษาพุทธพจน์จนจบพระไตรปิฎก มีชื่อเสียง ปรากฏว่าเป็นพระพุทธโฆส

พระพุทธโฆสนี้มีปรีชาสามารถมาก จึงคิดแต่งตํารา เริ่มด้วยคัมภีร์ญาโณทัย เสร็จแล้วก็จะแต่งอรรถกถาอภิธรรม พระอาจารย์ คือพระมหาเถระเรวัตจึงบอกให้รู้ว่า ในชมพูทวีปนี้มีเหลือแต่พระไตรปิฎกบาลีเท่านั้น ไม่มีอรรถกถาและคัมภีร์อื่นๆ แต่ในสิงหลทวีปมีอรรถกถา ที่พระมหินทเถระจัดรวบรวมไว้เป็นภาษาสิงหล ซึ่งยังสืบกันมา ขอให้พระพุทธโฆสไปที่สิงหลทวีปนั้น สํารวจดูแล้ว แปลกลับมาเป็นภาษามคธคือภาษาบาลี ก็จักก่อเกิดประโยชน์แก่คนทั่วโลก

ด้วยเหตุนี้ พระพุทธโฆสจึงได้ลงเรือเดินทางไปลังกาทวีป เข้าไปอยู่ที่มหาวิหาร ในเมืองอนุราธปุระ และได้ขออนุญาตสังฆะ ที่นั่นในการที่จะแปลอรรถกถาภาษาสิงหลกลับมาเป็นภาษาบาลี เพื่อนํากลับไปใช้ที่ถิ่นแดนเดิมในชมพูทวีป

ทั้งนี้มีเรื่องราวยืดยาว เริ่มตั้งแต่ทดสอบความสามารถด้วย การแต่งคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ แล้วได้รับอนุญาตให้แปลอรรถกถา จนในที่สุดก็สําเร็จจบสิ้นตามปรารถนา และนํากลับมายังชมพูทวีป ดังที่เรามีอรรถกถาภาษาบาลีซึ่งใช้ประกอบการศึกษาพระไตรปิฎกอยู่ในบัดนี้

ขอให้เข้าใจว่า พระพุทธโฆสาจารย์เป็นผู้เริ่มต้นยุคอรรถกถาที่กลับมีเป็นภาษาบาลีขึ้นใหม่ ท่านได้จัดทําอรรถกถาขึ้นเป็นส่วนใหญ่ แต่ไม่ถึงกับครบบริบูรณ์ มีพระอรรถกถาจารย์รูปอื่นๆ ทําส่วนที่ยังขาดอยู่จนเสร็จสิ้น ในระยะเวลาใกล้เคียงกันนั้นและ ต่อจากนั้นไม่นาน

(ยังมีต่อ..)

 2 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 06:30:59 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



'สภากาชาดไทย' จัดสร้างพระ ‘คุรุรินโปเช’ เพื่อพุทธศาสนา ไทย ภูฏาน

การจัดสร้าง 'มหาสิทธาปัทมสัมภวะ คุรุรินโปเช' เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรมราชูปถัมภ์สภากาชาดไทย เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ และสมทบทุนสภากาชาดไทย

สภากาชาดไทย ร่วมกับ บริษัท เฟรชแอร์ เฟสติวัล จำกัด แถลงข่าว โครงการสืบสานมรดกทางพุทธศาสน์ ไทย ภูฏาน เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา จัดสร้าง มหาสิทธาปัทมสัมภวะ คุรุรินโปเช เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรมราชูปถัมภ์สภากาชาดไทย

เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ วันที่ 28 กรกฎาคม 2567 และเพื่อสร้างความสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศไทยและประเทศภูฏาน

รวมถึงเผยแผ่พระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรมภูฏาน และเพื่อนำรายได้หักค่าใช้จ่ายสมทบทุนโครงการเงินทุนฉุกเฉินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ สภากาชาดไทย และเพื่อจัดสร้างวิหาร ณ ประเทศภูฏาน

จัดงานแถลงข่าว จัดสร้าง มหาสิทธาปัทมสัมภวะ คุรุรินโปเช วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 ณ SCBX Next TECH พารากอน



Cr. Kanok Shokjaratkul

โดยมี ขรรค์ ประจวบเหมาะ ผู้อำนวยการสำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย, ม.ร.ว. รุจยาภา อาภากร Chief Operating Officer บริษัทเฟรชแอร์เฟรชติวัล จํากัด, วินิจ เลิศรัตนชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเฟรชแอร์เฟรชติวัล จํากัด, อาจารย์วันชัย รวยอารี ที่ปรึกษาโครงการ, Colonel Kuenzang Wangchuk, มยุรี ชัยพรหมประสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ สายองค์กรสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด, ฉัตรชัย แผ่นผา ผู้รังสรรค์ผลงานปฏิมากรรม


Cr. Kanok Shokjaratkul

    • บังเอิญในโลกนี้ ไม่มีอยู่จริง

วินิจ เลิศรัตนชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเฟรชแอร์เฟสติวัล จํากัด กล่าวว่า เป็นเรื่องราวที่น่าอัศจรรย์ เป็นแรงบันดาลใจอีกครั้งหนึ่งของชีวิต

"ด้วยบุญบารมี และอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของ มหาสิทธาปัทมสัมภวะ คุรุรินโปเช ทุกอย่างในโลกไม่มีความบังเอิญ ทุกอย่างถูกกำหนดมาตั้งแต่เราเริ่มต้นชีวิตแล้ว



Cr. Kanok Shokjaratkul

องค์พระ มหาสิทธาปัทมสัมภวะ คุรุรินโปเช เป็นสัญลักษณ์ของความเลื่อมใส ความศรัทธา ความศักดิ์สิทธิ์ เป็นการเชื่อมต่อความสัมพันธ์ทางพุทธศาสนาของทั้งสองประเทศ คือไทยและภูฏาน

ที่สำคัญ จิตวิญญาณ ประเพณี วัฒนธรรม ผู้คน ภูฏานกับไทย เชื่อมติดกัน ยากที่จะแยก ทั้งสองแผ่นดินมีโอกาสจัดสร้างวิหาร ที่จะเปิดให้พุทธศาสนิกชนทั่วโลกได้เข้าไปนมัสการ และสมทบทุนสภากาชาดไทย



Cr. Kanok Shokjaratkul

เปิดให้จอง และจะมีพิธีพุทธาภิเษก ซึ่งผู้ที่จององค์ใหญ่สุดและองค์กลางจะมีโอกาสได้เข้าร่วมในพิธี และเข้าเฝ้า รับพระราชทานใบเซอร์ทิฟิเคท(Certificate)ด้วย

องค์คุรุรินโปเช มีจำนวนน้อยมาก ผู้ที่สนใจติดต่อได้ที่สภากาชาดไทยและเฟรชแอร์เฟสติวัล"




    • ถ้ามีเงินในกองทุนภัยพิบัติ จะช่วยเหลือคนที่ประสบภัยได้ทันที

ขรรค์ ประจวบเหมาะ ผู้อำนวยการสำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย กล่าวว่า สภากาชาด เป็นองค์กรสาธารณกุศล ดำเนินภารกิจด้านมนุษยธรรม มา131 ปีแล้ว

"ให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับความเดือดร้อน ผู้ยากไร้ ประสบภัยพิบัติต่าง ๆ มาร่วมงานนี้เพื่อหาทุนให้กับกองทุนภัยพิบัติของสภากาชาดไทย

เวลามีอุทกภัย วาตภัย หรือภัยพิบัติเกิดขึ้นกับคนไทยทั่วประเทศ เราสามารถใช้เงินจากกองทุนนี้เข้าไปช่วยเหลือได้ทันท่วงที โดยที่ไม่ต้องไปหาทุนหรือเรี่ยไรเมื่อภัยพิบัติเกิดขึ้น จะสามารถช่วยคนไทยได้อย่างรวดเร็ว



Cr. Kanok Shokjaratkul

มีการจัดสร้างวัตถุมงคล เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว องค์เอกอัครราชูปถัมภก สภากาชาดไทย เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

มวลสารที่ได้มาจากวัดทั่วประเทศในภูฏาน สำนักพระราชวังภูฏานรวบรวม โอกาสที่จะออกมานอกประเทศยากมาก เป็นมวลสารศักดิ์สิทธิ์ ผ่านพิธีจากแต่ละวัด ๆ ที่มีอายุพันกว่าปี มาบรรจุในองค์พระทุกองค์



Cr. Kanok Shokjaratkul

ในการนี้ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จไปทรงเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินร่วมพิธีพุทธาภิเษก

พร้อมด้วย สมเด็จพระพันปี เชอริง เพม วังชุก แห่งราชวงศ์ภูฏาน Her Majesty Queen Tshering Pem Wangchuk ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2567"



Cr. Kanok Shokjaratkul

    • ศาสนาพุทธ เป็นหนึ่งเดียวกัน

วันชัย รวยอารี ที่ปรึกษาโครงการ กล่าวว่า ประเทศภูฏานเป็นประเทศที่สงบและสวยงาม

"พุทธศาสนา เปรียบประดุจสายน้ำที่มาจากต้นน้ำเดียวกัน นั่นคือองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วได้แตกแยกลำธารออกมาหลายสายธาร ไม่ว่า มหายาน วัชรยาน เซ็น เถรวาท

ทุกสายน้ำที่แตกแยกออกไป ไปตามสาวกที่มีจิตเจตนาจะถ่ายทอดออกไปตามความเชื่อ

หลักการพุทธศาสนา แยกออกมาได้สองลักษณะคือ หลักของเหตุผล และหลักของความเป็นจริง ตามพระไตรปิฎก



Cr. Kanok Shokjaratkul

แต่อีกสายธารหนึ่งจะเป็นสายธารแห่งจิตวิญญาณ ใช้พลังจิตวิญญาณของตัวเองดำเนินการให้บรรลุในหลักธรรมคำสั่งสอน และบรรลุนิพพาน นั่นคือ วัชรยาน / ตันตระ หมายถึงการร้อยเรียง การเชื่อมโยง ความผูกพัน

องค์พระ มหาสิทธาปัทมสัมภวะ คุรุรินโปเช ที่จัดสร้าง มี 2 รูปแบบ ได้แก่ องค์ตั้งบูชาหน้าตัก 4 นิ้ว ความสูงรวมฐานหินอ่อน 19 นิ้ว บูชาองค์ละ 299,999 บาท (จัดสร้างจำนวน 108 องค์)

เหรียญมหาสิทธาปัทมสัมภวะ คุรุรินโปเช เนื้อเงินชุบนาค ผลิตจากทองคำบริสุทธิ์ 96.5 หนัก 1 บาท บูชาองค์ละ 199,999 บาท (จัดสร้างจำนวน 593 องค์)"




ฉัตรชัย แผ่นผา ผู้รังสรรค์ผลงานประติมากรรม กล่าวว่า องค์พระ มหาสิทธาปัทมสัมภวะ คุรุรินโปเช เป็นตัวแทนศรัทธาผ่านศิลปะของภูฏาน ความอ่อนช้อยสง่างามของลายกนกไทย เชื่อมโยงสองวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน

ภาพจำลองจากองค์จริง ที่ประดิษฐานอยู่ในโถงถ้ำ ซึ่งสมเด็จพระพันปีหลวง เชอริง เพม วังชุก ทรงสุบินนิมิตเห็นมังกร 9 ตัว บินออกมาจากภูเขา จึงได้มีการสร้างวิหารขึ้นในตำแหน่งนั้น

มังกร 9 ตัว คือสัญลักษณ์แสดงถึงอำนาจจักรพรรดิ วางองค์พระลงบนบัลลังก์ดอกบัว วางฉัพพรรณรังสีไว้ด้านหลังพระเศียร ล้อมด้วยช่อดอกไม้ลายศิลป์ของภูฏาน



Cr. Kanok Shokjaratkul

ผสมผสานกับลายกนกที่เลื้อยสอดรับ กำหนดเส้นโค้งล้อมรอบ แทนความรู้สึกถึงการรวมศูนย์และการแผ่ขยาย สร้างฐานรองรับด้วยก้อนเมฆพันมังกร

มังกรตัวสุดท้ายด้านบนใช้มือทั้งสองข้างกุมก้านดอกบัว 2 ดอก เป็นสัญลักษณ์แทนพุทธะทั้งสองดินแดน และพระนามขององค์ปัทมสัมภวะ



Cr. Kanok Shokjaratkul

วางตำแหน่งของวิหารไว้ด้านหลัง ตั้งรับด้วยก้านกนกเป็นแกนกลางขับเคลื่อนเมฆมังกร โดยมีตราสัญลักษณ์ราชวงศ์ภูฎาน ประดับไว้ส่วนบนด้านหลังวิหาร

องค์มหาสิทธาปัทมสัมภวะ คุรุรินโปเช เป็นศูนย์รวมความมหัศจรรย์ ความงดงามแห่งจิตวิญญาณ และความศักดิ์สิทธิ์แห่งพร 3 ประการ อายุวัฒนะ วรรณะเรืองรุ่ง พร้อมซึ่งปัญญา"



Cr. Kanok Shokjaratkul

    • ผู้เกิดจากดอกบัว

จิระนันท์ พิตรปรีชา ผู้จัดทำเนื้อหาในโครงการฯนี้กล่าวว่า มหาสิทธาคุรุปัทมสัมภว คุรุรินโปเช พระนามท่านแปลว่า ผู้เกิดจากดอกบัว เป็นวัชราจารย์ผู้เผยแผ่พุทธศาสนาสายวัชรยาน นิกายญิงมาปะ

ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-14 คุรุรินโปเช เป็นคำเรียกขานท่านในฐานะ รัตนาจารย์ ตามคติพุทธมหายาน ถือว่า คุรุทางจิตวิญญาณคือดวงแก้วลำดับที่ 4 รองจากพระรัตนตรัย

ยกย่องท่านเป็นครูอาจารย์ผู้ประเสริฐสุด เป็นอริยบุคคลผู้ได้รับความเคารพบูชา จากพุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายาน ทั้งในทิเบต เนปาล ภูฏาน และประเทศใกล้เคียง มีรูปเคารพอยู่ทั่วไปให้กราบไหว้บูชา ขอพร มากว่าหนึ่งพันปี



Cr. Kanok Shokjaratkul

• คาถาบูชา มหาสิทธาปัทมสัมภวะ คุรุรินโปเช

โอม อา หุม วัชร คุรุ ปัทเม สิทธิ หุม

ความหมาย : ด้วย กาย วาจา ใจ น้อมรับ
    - วัชร (สายฟ้า/เพชร สัญลักษณ์ของความแกร่งกล้า ฝ่าฟันบรรลุ จรัสกระจ่าง พ้นจากความมืดบอดในวัฏสงสาร ที่มาของชื่อนิกายวัชรยาน)
    - คุรุ (ครูอาจารย์ผู้มีความสำคัญรองจากพระรัตนตรัย)
    - ปัทมะ (ดอกบัว สัญลักษณ์แทนปัญญาบริสุทธิ์ปราศจากกิเลสมลทิน และเป็นพระนามของท่านปัทมสัมภวะ)
    - สิทธิ (สำเร็จ/บรรลุ)
    - หุม (คำลงท้ายบทคาถา)

ปราชญ์สายวัชรยานท่านหนึ่งได้อธิบายว่า มนตรา 12 พยางค์นี้ แต่ละพยางค์คือคำศักดิ์สิทธิ์ เสมือนพรอันประเสริฐที่กลั่นกรองจากธรรมะ 12 หมวด (แบ่งย่อย 84000 พระธรรมขันธ์) ที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอน


Cr. Kanok Shokjaratkul

หนึ่งในศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์ของประเทศภูฏาน คือ วิหารถ้ำ โกเอน เชอปู เน เป็นจุดหมายของผู้แสวงบุญมานานนับร้อยปี เพื่อบูชาขอพรเรื่องมีอายุยืนยาว เป็นที่ประดิษฐานของ องค์คุรุรินโปเช ปางประทานพร” เชื่อกันว่า การมาบูชา สวดมนต์ภาวนาที่นี่ จะทำให้ได้พรอันวิเศษสุด ทั้งทางโลก และทางธรรม"

• ข้อมูลเพิ่มเติม : บริษัท เฟรชแอร์ เฟสติวัล จำกัด โทร. 02 117 9634

สำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย โทร. 02 256 4623, 02 256 4440-3

รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายสมทบกองทุนฉุกเฉินช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ สภากาชาดไทย และเพื่อบูรณะจัดสร้างวิหาร โกเอน เชอปู เน ณ ประเทศภูฏาน







Thank to : https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/judprakai/1124976
By กนกพร โชคจรัสกุล | จุดประกาย | 02 พ.ค. 2024 เวลา 16:24 น.

 3 
 เมื่อ: พฤษภาคม 02, 2024, 10:35:52 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 4 
 เมื่อ: พฤษภาคม 02, 2024, 10:22:31 pm 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
รับทำชำนาญการ รับทำชำนาญการพิเศษ

รับทำผู้ช่วยศาสตราจารย์ (ผศ.), รองศาสตราจารย์ (รศ.), รับทำเชี่ยวชาญ รับทำชำนาญการพิเศษ, ชำนาญการพิเศษ, เชี่ยวชาญ, เชี่ยวชาญพิเศษ โดยจัดทำเอกสารทางวิชาการที่แสดงถึงคุณภาพของผลงานดีเด่นมีความสมบูรณ์ของเนื้อหาสาระที่มีการเรียบเรียงความสำคัญได้ครบถ้วนเป็นระบบ มีคำอธิบายที่ถูกต้อง ชัดเจน ด้วยการนำความรู้หลักการ วิธีการ หรือข้อกฎหมายมาใช้ได้อย่างถูกต้อง มีการนำผลงานวิจัยหรือผลงานวิชาการอื่น ๆ มาสนับสนุนแนวทางที่สามารถนำไปใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของการทำงานได้จริง อันเป็นต้นแบบในการปฏิบัติงาน นำไปใช้ในการพัฒนาต่อยอด ปรับปรุงแนวทางการดำเนินงานในวงกว้างขึ้นจากเดิมให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดในการสนองนโยบายของส่วนราชการ ช่วยประหยัดงบประมาณ ที่เกิดจากผลการปฏิบัติงานหรือผลสำเร็จของงานในหน้าที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งเป็นการนำเสนอในรูปแบบการสรุปวิเคราะห์ปรับปรุงในระดับที่สูงเป็นพิเศษหรือสูงมากหรือแก้ไขใหม่เป็นครั้งแรกหรือคนแรกของส่วนราชการหรือของประเทศสะท้อนว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ ทักษะ สมรรถนะ ความชำนาญ ความคิดริเริ่ม คิดค้นสร้างประดิษฐ์ขึ้นใหม่และประสบการณ์ในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมาก กำหนดข้อเสนอแนะหรือวางแผนรองรับเหมาะสมกับตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง รวมทั้งสามารถระบุผลสำเร็จหรือประโยชน์ที่เกิดกับหน่วยงานหรือส่วนราชการ ประชาชนและประเทศชาติ



รับทำเชี่ยวชาญ รับทำเชี่ยวชาญพิเศษของข้าราชการทุกกระทรวง ทุกกรม
รับทำคู่มือการปฏิบัติงาน รับทำผลงานเชิงวิเคราะห์หรือสังเคราะห์
รับทำงานวิจัยทุกชนิดรับเขียนบทความทุกประเภท
รับทำตำราและหนังสือ ผลงานนวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่
ที่มีความสมบูรณ์ของเนื้อหาครบถ้วนเป็นระบบ ถูกต้องชัดเจน
ตามหลักการหรือข้อกฎหมาย ที่สามารถนำไปพัฒนางานได้ในระดับที่สูงเป็นพิเศษ
หรือนำมาประยุกต์ใช้เป็นเทคนิคนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลล้ำสมัย
ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างดีเยี่ยมต่อทางราชการ หน่วยงาน ส่วนราชการ ประชาชนหรือต่อประเทศชาติ


รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำปริญญาเอก สอนทำดุษฎีนิพนธ์ สอนทำปริญญาเอก งานทุกชิ้นทำใหม่ทั้งหมดโดยการสังเคราะห์เพื่อต่อยอดความรู้ใหม่ที่เป็นการออกแบบและสร้างแบบจำลอง (MODEL) ต้นแบบ ให้คำปรึกษาที่เหมาะสม
รับทำผู้ช่วยศาสตราจารย์


     รับทำผู้ช่วยศาสตราจารย์ (ผศ.), รองศาสตราจารย์ (รศ.), ชำนาญการ, ชำนาญการพิเศษ, เชี่ยวชาญ, เชี่ยวชาญพิเศษ โดยจัดทำเอกสารทางวิชาการที่แสดงถึงคุณภาพของผลงานดีเด่นมีความสมบูรณ์ของเนื้อหาสาระที่มีการเรียบเรียงความสำคัญได้ครบถ้วนเป็นระบบ มีคำอธิบายที่ถูกต้อง ชัดเจน ด้วยการนำความรู้หลักการ วิธีการ หรือข้อกฎหมายมาใช้ได้อย่างถูกต้อง มีการนำผลงานวิจัยหรือผลงานวิชาการอื่น ๆ มาสนับสนุนแนวทางที่สามารถนำไปใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของการทำงานได้จริง อันเป็นต้นแบบในการปฏิบัติงาน นำไปใช้ในการพัฒนาต่อยอด ปรับปรุงแนวทางการดำเนินงานในวงกว้างขึ้นจากเดิมให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดในการสนองนโยบายของส่วนราชการ ช่วยประหยัดงบประมาณ ที่เกิดจากผลการปฏิบัติงานหรือผลสำเร็จของงานในหน้าที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งเป็นการนำเสนอในรูปแบบการสรุปวิเคราะห์ปรับปรุงในระดับที่สูงเป็นพิเศษหรือสูงมากหรือแก้ไขใหม่เป็นครั้งแรกหรือคนแรกของส่วนราชการหรือของประเทศสะท้อนว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ ทักษะ สมรรถนะ ความชำนาญ ความคิดริเริ่ม คิดค้นสร้างประดิษฐ์ขึ้นใหม่และประสบการณ์ในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาในทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนมาก กำหนดข้อเสนอแนะหรือวางแผนรองรับเหมาะสมกับตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง รวมทั้งสามารถระบุผลสำเร็จหรือประโยชน์ที่เกิดกับหน่วยงานหรือส่วนราชการ ประชาชนและประเทศชาติ



เป็นเจ้าเก่าและเจ้าแรกในประเทศไทย  ทำมานานกว่า 15 ปี

ให้คำปรึกษาจนเสร็จได้ตำแหน่ง รับประกันคุณภาพทุกชนิดงาน

บริการด้วยความรวดเร็ว ส่งงานตรงเวลา
(ค่าบริการเริ่มต้น 5,000 – 30,000 บาท เท่านั้น)



โทร 096-2489571, 096-2485934

ID LINE : bottrade999

แอดไลน์ สอบถาม ????
https://line.me/ti/p/~bottrade999

E-mail: bottradecenter@gmail.com


คำสำคัญ : รับทำชำนาญการ, รับทำชำนาญการพิเศษ;
รับทำเชี่ยวชาญ; รับทำเชี่ยวชาญพิเศษ; รับทำคู่มือการปฏิบัติงาน;
รับทำผลงานเชิงวิเคราะห์หรือสังเคราะห์; รับทำงานวิจัยเพื่อขอตำแหน่ง;
รับเขียนบทความวิชาการ; รับทำตำราและหนังสือ


[size=12pt]รับทำชำนาญการ, รับทำชำนาญการพิเศษ
รับทำเชี่ยวชาญ; รับทำเชี่ยวชาญพิเศษ; รับทำคู่มือการปฏิบัติงาน;
รับทำผลงานเชิงวิเคราะห์หรือสังเคราะห์; รับทำงานวิจัยเพื่อขอตำแหน่ง;
รับเขียนบทความวิชาการ; รับทำตำราและหนังสือ


https://สถาบันวิจัยและพัฒนาผลงานทางวิชาการ.com

เบอร์โทรศัพท์ 096-2489571, 096-2485934

ID: bottrade999

แอดไลน์ สอบถาม ????
https://line.me/ti/p/~bottrade999

E-mail: bottradecenter@gmail.com




 5 
 เมื่อ: พฤษภาคม 02, 2024, 06:27:20 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 6 
 เมื่อ: พฤษภาคม 02, 2024, 03:11:52 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 7 
 เมื่อ: พฤษภาคม 02, 2024, 01:04:37 pm 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

 8 
 เมื่อ: พฤษภาคม 02, 2024, 12:28:15 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 9 
 เมื่อ: พฤษภาคม 02, 2024, 09:41:51 am 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

 10 
 เมื่อ: พฤษภาคม 02, 2024, 07:23:51 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



พระเจ้าพิมพิสาร | ผลแห่งบุญ : วิธีอุทิศทานแด่เปรตที่เคยเป็นพระญาติ

ปริยัติธรรม : หนังสือนิทานบำเพ็ญบุญ 100 เรื่อง



 :25: :25: :25:

พระเจ้าพิมพิสารเคยเป็นเสมียนบำเพ็ญบุญในพระพุทธเจ้าปุสสะ... ชาวบ้านที่ใกล้ชิดกับนายเสมียน ขโมยไทยธรรมกิน...เกิดในนรก

ในสมัยของพระพุทธเจ้าปุสสะ (หรือผุสสะ) ครั้งนั้นพระราชกุมาร ๓ พระองค์ ได้กราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าเสด็จประทับจำพรรษาในชนบท จากนั้น เหล่าพระราชกุมารตรัสสั่งให้ข้าราชบริพารที่ใกล้ชิดช่วยกันอุปัฏฐากบำรุงพระศาสดาและภิกษุสงฆ์ เช่น ให้ดำเนินการจัดการสร้างพระวิหารด้วยกำลังแรงงานของบุรุษจำนวน ๑,๐๐๐ คน

ตลอดกาล ๓ เดือนนั้น พระราชกุมารทั้งสาม ทรงนุ่งห่มผ้ากาสายะ ถวายทาน ฟังธรรม ปฏิบัติธรรมโดยเคารพ, ส่วนนายภัณฑาคาริก (ผู้จัดการทรัพย์สินของเจ้าชายทั้ง ๓)และภรรยาเป็นผู้มีศรัทธา ก็ร่วมกันถวายทาน และอุปัฏฐากภิกษุสงฆ์ นายเสมียนผู้จัดเก็บรายได้ในชนบทส่งเข้าคลังหลวง ได้เชิญชวนให้ชาวชนบทประมาณ ๑๑,๐๐๐ คน ร่วมกันทำบุญฟังธรรมตลอด ๓ เดือน ซึ่งคนเหล่านั้นก็ขวนขวายบุญโดยเคารพ

ชาวชนบทคนอื่น ๆ ได้เห็นการจัดทำมหาทานใหญ่เพื่อถวายพระพุทธเจ้าและหมู่สงฆ์ทุก ๆ วัน ก็เกิดความริษยา จึงขโมยไทยธรรมต่าง ๆ ไปกินบ้าง เมื่อถูกจับขับไล่ออกไปก็แอบกลับมาเผาโรงครัวบ้าง...

พระราชกุมาร ๓ พระองค์สิ้นพระชนม์แล้วอุบัติในสวรรค์, นายภัณฑาคาริกกับภรรยา, นายเสมียนและชาวชนบทผู้ถวายทานโดยเคารพ ก็บังเกิดในสวรรค์ ส่วนชาวชนบทอื่น ๆ ที่ประทุษร้ายทานก็บังเกิดในนรก

เวลาผ่านไปนานถึง ๙๒ กัป...


@@@@@@@

พ้นจากขุมนรกแล้ว เกิดเป็นเปรตเข้าเฝ้าทูลถามพระพุทธเจ้ากัสสปะถึงกาลที่จะพ้นจากความหิวกระหาย...ตรัสบอกว่ารออีก ๙๒ กัป

ครั้นถึงพุทธสมัยของพระพุทธเจ้า "กัสสปะ" (พระพุทธเจ้าก่อนหน้าพระพุทธเจ้าโคตมะของพวกเรา) พวกเขาพ้นจากนรก เศษบาปทำให้มาเกิดเป็นเปรต

เปรตเหล่านี้ได้เห็นมนุษย์ถวายทานแล้วอุทิศว่า "ขอทานที่ถวายครั้งนี้ จงสำเร็จแก่พวกญาติที่ล่วงลับด้วยเถิด" ได้เห็นเปรตที่เคยเป็นญาติของมนุษย์เหล่านั้นอนุโมทนาแล้วได้รับทิพยสมบัติทิพยสุข เช่น มีข้าว น้ำ ผ้า...พวกเปรตกลุ่มนี้จึงอยากได้ทิพยสมบัติทิพยสุขอย่างเปรตพวกนั้นบ้างจึงเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้ากัสสปะ ทูลถามว่า "พวกข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายมีโอกาสจะได้รับทิพยสุขทิพยสมบัติ อย่างเปรตที่มีญาติอุทิศทานให้บ้างหรือไม่?"

พระพุทธเจ้ากัสสปะ ตรัสตอบว่า "ตอนนี้พวกท่านยังไม่สามารถจะรับได้ แต่จะได้รับในอนาคต ในพุทธสมัยที่พระพุทธเจ้ามีพระนามว่า โคตมะ, กาลนั้นจะมีพระราชาพระนามว่าพิมพิสาร ซึ่งเคยเป็นญาติกับพวกท่าน พระองค์จะถวายทานแล้วอุทิศทานให้แก่พวกท่านพวกท่านต้องรออีก ๙๒ กัป" (=๑ พุทธันดร)

เปรตเหล่านั้นฟังแล้วดีใจอย่างยิ่ง ดุจคิดว่ากาลนั้นจะถึงในวันพรุ่งนี้...

@@@@@@@

อดีตเสมียนมาเกิดเป็นพระเจ้าพิมพิสาร... ทรงบรรลุธรรมเป็นพุทธมามกะ ถวายอาหารและพระอุทยาน แต่ทรงลืมอุทิศ พวกเปรตผิดหวังส่งเสียงน่ากลัวให้พระราชาได้ยิน

ครั้นถึงพุทธสมัยแห่งพระพุทธเจ้าโคตมะของพวกเรา

อดีตพระราชกุมารในสมัยนั้น มาเกิดเป็นชฎิล ๓ พี่น้อง (อุรุเวลากัสสปะ นทีกัสสปะและคยากัสสปะ) มีบริวาร ๑,๐๐๐ คน, อดีตคหบดีและภรรยามาเกิดเป็นวิสาขะ (และนางธัมมทินนา) ส่วนนายเสมียนมาเกิดเป็นพระเจ้าพิมพิสาร

หลังพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วประมาณ ๙ เดือน พระองค์ได้เสด็จเข้าเขตกรุงราชคฤห์โปรดชฎิล ๓ พี่น้อง และบริวาร พวกเขาออกบวชแล้ว ได้เสด็จโปรดพระเจ้าพิมพิสารและหมู่ประชาชนราว ๑๑,๐๐๐ คน พระราชาบรรลุโสดาปัตติผล เป็นพระอริยโสดาบันแล้วได้กราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ให้เสด็จไปทรงรับมหาทานที่พระราชนิเวศน์ในวันรุ่งขึ้น

หมู่เปรตเหล่านั้นรู้เห็นแล้วพากันดีใจว่า "ใกล้เวลาที่พระราชาจะทรงอุทิศทานให้พวกเราแล้ว พวกเราจะได้พ้นความทุกข์ยากกันแล้ว"

วันรุ่งขึ้น พระเจ้าพิมพิสารทรงถวายมหาทานแล้ว ทรงสดับธรรมกถาแล้ว ทรงดำริถึงสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้า... แล้วทูลถวายสวนไผ่ "เวฬุวันกลันทกนิวาปะ"(สวนไผ่อันเป็นสถานที่ให้เหยื่อแก่พวกกระรอกกระแต) แต่พระราชาทรงลืมอุทิศทาน มิได้ทรงอุทิศทานให้แก่ใคร ๆ เลย

พวกเปรตเหล่านั้นต่างดีใจ เฝ้ารอคอยการอุทิศทานอยู่ ๑ พุทธันดร เมื่อเห็นพระราชามิได้อุทิศให้ตน ต่างคร่ำครวญว่า "พวกเราเปรตทั้งหลาย อุตส่าห์ตั้งหน้าตั้งตารอคอยรอรับการอุทิศจากท่าน ท่านลืม ท่านพลาดไปได้อย่างไร ความสิ้นหวัง ความผิดหวังความเหือดแห้งใจ ความเศร้าใจ บังเกิดกับพวกเราเป็นหมื่นแสนทวีคูณ ความทุกข์ระทมเกิดกระหน่ำทับถมหัวใจของพวกเรา พระราชาจะทรงรู้ไหมหนอ, หากแม้นเปรตอย่างเรามีหัวใจสักร้อยสักพันดวง.. โอหนอ...ทุกดวงได้ถึงกาลดับแดดิ้นสิ้นไปแล้วในวันนี้ พวกเราจักต้องรอคอยไปอีกนานแสนนานเท่าใดหนอ"

ครั้นตกกลางคืนยังมิทันสงัด ในราตรีนั้น เหล่าเปรตจึงพากันเข้าไปในพระราชนิเวศน์ส่งเสียงโหยหวนกรีดร้องคร่ำครวญด้วยเสียงอันน่าสะพรึงกลัวแบบต่าง ๆ พระเจ้าพิมพิสารทรงได้สดับแล้ว ทรงหวาดกลัว บรรทมหลับไม่สนิท


@@@@@@@

พระพุทธเจ้าตรัสเล่าบุพกรรมของพวกเปรตพระราชาทรงถวายมหาทานแล้วอุทิศพวกเปรตอนุโมทนาแล้วพ้นความหิวกระหาย

เช้าตรู่แล้ว พระเจ้าพิมพิสารเสด็จเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า กราบทูลเรื่องเสียงที่น่าสะพรึงกลัวนั้นว่า จะเป็นนิมิตร้ายแก่ตัวข้าพระองค์หรือไม่? พระพุทธเจ้าจึงตรัสเล่าความเป็นมาของเปรตเหล่านั้นให้ทรงสดับ, ทูลถามว่า "ถ้าหม่อมฉันจะถวายทานในเช้านี้ เพื่ออุทิศทานให้พวกเขาได้หรือไม่?" ตรัสตอบว่า "ได้สิ มหาบพิตร" พระราชาจึงกราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าให้เสด็จเสวยภัตที่พระราชนิเวศน์ เพื่อจะอุทิศทานนั้นให้แก่หมู่เปรต

พระพุทธเจ้าเสด็จดำเนินประทับยังที่เขาจัดไว้ในพระราชนิเวศน์ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เหล่าเปรตรู้เห็นแล้วดีใจว่า "วันนี้พระราชาจะทรงอุทิศทานให้แก่พวกเรา ๆ จะได้ทิพยสมบัติ"จึงพากันมายืนอยู่ตามที่ต่าง ๆ บริเวณพระราชนิเวศน์, พระพุทธเจ้าทรงแสดงพุทธานุภาพทำให้พระราชาทอดพระเนตรเห็นเปรตเหล่านั้นท่ามกลางเบื้องหน้าของพระองค์

เมื่อพระราชาประทับนั่งแล้ว ทรงถวายน้ำทักษิโณทกตรัสอุทิศ (เจาะจง) ว่า "ขอทานนี้จงมีแก่หมู่ญาติของเรา" (อิทํ โน ญาตีนํ โหนตุ) "ขอญาติทั้งหลายจงมีสุขเถิด"(สุขิตา โหนตุ ญาตโย) พวกเปรตได้รับการอุทิศทานแล้วอนุโมทนา ทันใดนั้น ก็ปรากฎสระโบกขรณีเต็มไปด้วยดอกบัว เปรตทั้งหลายเห็นก็ดีใจลงอาบและดื่มน้ำระงับความกระหายและขจัดความเศร้าหมองทางกายได้จากสระงามนั้น

พระราชาทรงถวายข้าวยาคู ของเคี้ยวของกิน แล้วตรัสอุทิศอีก เปรตอนุโมทนาแล้วข้าวยาคู ของเคี้ยว ของกิน อันเป็นทิพย์ ก็ปรากฎแก่พวกเปรต พวกเขาพากันบริโภคอาหารทิพย์นั้นจนมีร่างกายอิ่มเอิบ

พระราชาทรงถวายผ้าและเสนาสนะ (ตั่งและเตียงเป็นต้น) เปรตอนุโมทนาแล้วบังเกิดผ้าทิพย์ ยานทิพย์ ปราสาททิพย์ และที่นอนทิพย์ เป็นต้น... พระราชาทอดพระเนตรแล้วทรงพอพระทัยอย่างยิ่ง

@@@@@@@

องค์ประกอบ ๓ ประการ ที่ทำให้เปรตได้รับความสุขและพระธรรมเทศนา "ติโรกุฑฑสูตร"

ท่านว่า ทักษิณา (การให้, การอุทิศ) จะสำเร็จได้ด้วยองค์ประกอบ ๓ คือ

    1. การอุทิศของทายก (=ผู้ให้ทาน)
    2. เปรตทั้งหลายอนุโมทนาด้วยตนเอง
    3. ผู้รับทานเป็นทักขิไณยบุคคล (เป็นเนื้อนาบุญที่ดี เช่น พระอริยเจ้าทั้งหลาย)

ครั้นพระศาสดาทรงเสวยเสร็จแล้ว ทรงอนุโมทนาด้วยพระธรรมเทศนา "ติโรกุฑฑสูตร" (พระธรรมว่าด้วยหมู่เปรตมายืนอยู่นอกเรือน) สรุปความได้ดังนี้

"หมู่เปรตมายังเรือนญาติ คิดว่าเป็นเรือนของตน ยืนอยู่นอกเรือนบ้าง บานประตูเรือนบ้าง ทาง ๔ แพร่ง และ ๓ แพร่งบ้าง, ญาติทั้งหลายถวายข้าวน้ำแล้ว ลืมอุทิศ ระลึกไม่ได้ เพราะอกุศลกรรมของสัตว์เหล่านั้นเป็นปัจจัย (การไม่ได้รับการอุทิศ เป็นเพราะอกุศลกรรมที่เปรตทำไว้)

แต่ชนเหล่าใด เป็นผู้เอ็นดูญาติผู้ล่วงลับ ให้ข้าวและน้ำแล้ว อุทิศให้หมู่ญาติว่าขอทานนี้แล จงมีแก่ญาติทั้งหลาย ขอญาติทั้งหลายจงมีสุขเถิด

หมู่เปรตที่เป็นญาติมาชุมนุมกันในบริเวณที่ให้ทานนั้น ย่อมอนุโมทนาโดยเคารพดีใจว่า พวกเราได้ทิพยสมบัติ เพราะญาติเป็นเหตุ ขอญาติเหล่านั้นของเราจงมีอายุยืน..."

ในเปตวิสัย (โลกของเปรต) ไม่มีการทำกสิกรรม หรือการค้าขายก็ไม่มี ผู้ได้อัตภาพเป็นเปรต ย่อมดำรงอัตภาพอยู่ได้ด้วยทานที่ญาติให้แล้วจากมนุษย์โลกนี้

น้ำจากที่สูงย่อมไหลไปสู่ที่ลุ่ม ฉันใด ทาน (กุศลทาน) ที่ทายก (ผู้อุทิศ) ให้ไปจากมนุษย์โลกนี้ ย่อมสำเร็จผลแก่หมู่เปรต ฉันนั้นเหมือนกัน

ห้วงน้ำที่เต็มแล้วในแหล่งน้ำต่าง ๆ ย่อมยังสมุทรสาครให้เต็ม ฉันใด ทานที่ทายกในมนุษย์โลกนี้ให้ไป ก็ย่อมสำเร็จผลแก่หมู่เปรต ฉันนั้นเหมือนกัน..."

(ดู ขุ.ขุ.ข้อ ๘, ขุทุกก.อ.๒๑๗-๒๙๒, ขุ.เปต.ข้อ ๙๐, เปต.อ.๓๐-๔๖)


@@@@@@@

คติธรรมสำคัญของเรื่อง : ถ้ารู้ชัดวันเวลาพ้นทุกข์ที่แน่นอน ก็ย่อมอยู่กับทุกข์ได้ดีขึ้น






ขอบคุณ : https://www.nirvanattain.com/สิ่งที่ควรรู้/กรรม/พระเจ้าพิมพิสาร-ผลแห่งบุญ-วิธีอุทิศทานแด่เปรตที่เคยเป็นพระญาติ.html
ปริยัติธรรม : หนังสือนิทานบำเพ็ญบุญ 100 เรื่อง โดย นิรนาม - กรรม | 18 เมษายน 2563

หน้า: [1] 2 3 ... 10